SlideShare a Scribd company logo
Child-Centered Education : Prove Theory
Nipapan Jensantikul
M.P.A. (Public Administration), Lecturer
Public Administration Program
Nakhon Pathom Rajabhat University
Abstract
Child-centered education based on philosophy of education and consist of a teacher
and a learner has collaborated to learn. The teacher is a facilitator to help learner thinking in
rational analysis and practice.
This objective of this article were to prove theory from analyse six researches. The
findingrevealthattheproblemofchild-centerededucationcomposeofmonitoringandevaluating
learning process focus that score of learner, role of teacher is interested in content of education
and lack of media for learning.
Key words : Child-Centered Education, Body of Knowledge, Qroup Learning
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทางทฤษฎี
นิภาพรรณ เจนสันติกุล
รปม. (รัฐประศาสนศาสนมหาบัณฑิต), อาจารย์
โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีที่มาจากปรัชญาการศึกษาโดยการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะมีบทบาทในการ
เป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยให้ผู้เรียน คิด วิเคราะห์เชิงตรรกะ และปฏิบัติ
วัตถุประสงค์บทความนี้ คือ เพื่อนำเสนอบทพิสูจน์ทางทฤษฎี จากการวิเคราะห์งานวิจัยทั้ง
6 เล่ม พบว่า ปัญหาสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย กระบวนการ
ติดตามประเมินผลการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการให้คะแนนบทบาทของผู้สอนที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา
การสอน การขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์
คำสำคัญ : การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, องค์ความรู้, การเรียนการสอนแบบกลุ่ม
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
36
บทนำ
กระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวว่าการศึกษา
หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญ
งอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอด
ความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทาง
วิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการ
จัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต ซึ่งจากความหมายนี้จะเห็นว่าการศึกษาจะ
ช่วยในการสร้างคนหรือบุคคลให้เจริญงอกงาม
และส่งผลต่อสังคมในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งซึ่ง
แต่ละบุคคลจะเข้ามาอยู่รวมกันเป็นสังคม และ
มีความสอดคล้องตรงกับประโยคที่ว่าการศึกษา
สร้างคน คนสร้างชาติและสถานศึกษาที่เป็น
แหล่งการเรียนรู้ มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุ
ประสงค์ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคน โดย
การจัดการศึกษานั้นได้มีการแบ่งออกเป็น
หลายระดับ อาทิ การจัดการศึกษาระดับก่อน
ประถมศึกษาระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ประกอบกับมาตรา 26
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 คือ การมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนประเมินการ
เรียนรู้ของผู้เรียนควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลัก
และจากสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ผ่านมา
พบว่าการเรียนการสอนมีลักษณะมุ่งเน้นที่เนื้อหา
การสอนมากกว่าการให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์
และการประเมินผลการเรียนรู้ส่วนใหญ่ให้
ความสำคัญในเรื่องของคะแนน ดังนั้นการเรียน
การสอนที่มีคุณภาพควรมีการประเมินระหว่างเรียน
เพื่อให้ทราบข้อมูลย้อนกลับว่ากระบวนการ
เรียนการสอนมีคุณภาพหรือไม่(Ovando,1994)
การให้ข้อมูลย้อนกลับในกระบวนการประเมิน
ระหว่างเรียนเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความก้าวหน้า
ในการเรียนของผู้เรียน (Tunstall and Gipps,
1996) เพราะข้อมูลที่ได้จะมีผลในการปรับปรุง
การเรียนรู้และช่วยให้การเรียนการสอนมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลจากการ
ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 17,562
แห่งคิดเป็นร้อยละ 49 ของสถานศึกษาทั่ว
ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ.
15,984 แห่งหรือร้อยละ 25.8 ผลการประเมิน
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่า การปฏิรูปการศึกษา
6 ปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนมี
คุณลักษณะตรงตามที่การปฏิรูปการศึกษา
ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน
คิดเป็น ทำเป็น มีความสามารถในเชิงวิเคราะห์
ผลการประเมิน พบว่า มีโรงเรียนเพียงร้อยละ
39.2ที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญได้มีคุณภาพระดับดี และพบว่ามี
สถานศึกษาเพียงร้อยละ 34.2 มีครูที่มีความ
สามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมี
ประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้
รายงานของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(2544)พบว่าสาเหตุที่ผู้เรียนยังไม่ได้รับการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้
1. หลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป
การเรียนรู้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ ความเข้า
ใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวปฏิบัติในเรื่องเกี่ยว
กับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ปัญหาเกี่ยวกับกฎระเบียบที่ไม่เอื้อ
อำนวย
3. ครูมีภาระงานอื่นที่นอกเหนือจาก
การจัดการเรียนการสอนมาก เช่น งานแนะแนว
งานพัสดุ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
37
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
4. ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญ
กับงานปฏิรูปการเรียนการสอนของครูเท่าที่ควร
5. ขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
6. การดำเนินงานของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องมีลักษณะต่างคนต่างทำ ดังนั้นเพื่อให้
การพัฒนาประชากรไทยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์การจัด
การศึกษาที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้
ทีส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
สามารถรับถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์
แนวคิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญมีส่วนในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียน
การสอนให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งมีที่
มาจากฐานปรัชญาการศึกษาและทฤษฎี
การเรียนต่างๆ ได้แก่ ปรัชญาพิพัฒนนิยม
(Progressivism) ที่มองว่าการศึกษาจะต้อง
พัฒนาผู้เรียนทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
สังคม อาชีพ และสติปัญญา โดยจัดตาม
ความสนใจ ความถนัดและคุณลักษณะของเขา
ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เป็น
รูปแบบและแนวคิดที่พัฒนามาจากปรัชญา
พิพัฒนนิยม จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา
ตามปรัชญานี้ คือ การศึกษาจะต้องเป็นไปเพื่อ
การปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่
ที่ดีและเหมาะสมกว่า ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม
(Existentialism) ปรัชญาการศึกษานี้เห็นว่า
มนุษย์ควรมีสิทธิและโอกาสที่จะเลือกสรรสิ่ง
ต่างๆ ด้วยตัวของเขาเองมากกว่าจะให้ใครมา
ป้อนหรือมอบหมาย ดังนั้นเป้าหมายของ
การศึกษา คือ การมุ่งมั่นพัฒนาให้คนมี
อิสรภาพและมีความรับผิดชอบ และปรัชญา
การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ (Buddhistic
Philosophy of Education) เป็นปรัชญาที่อาศัย
หลักไตรสิขาคือศีลสมาธิปัญญาในการอธิบาย
เรื่องราวชีวิต โลก ปรากฎการณ์ต่างๆ โดยมี
ความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะสามารถขจัด
กิเลสและควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปใน
แนวทางที่ดีได้ (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542,
2-3)
และจากปรัชญาดังกล่าวข้างต้น การเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงเกิดขึ้นจาก
พื้นฐานความเชื่อที่ว่า เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ
การจัดการศึกษา คือ การจัดให้ผู้เรียนแต่ละคน
เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้สูงสุดตาม
ศักยภาพของตน แนวคิดเกี่ยวกับการจัด
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี
ลักษณะการให้ความสำคัญกับผู้เรียน ผู้เรียนมี
บทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน แต่
อย่างไรก็ตามผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ทั้งในด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด
และทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้
ในการเรียนรู้ ทักษะของมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทักษะเหล่านั้นประกอบด้วย ทักษะเก่งคิด
ทักษะเก่งปฏิบัติ และทักษะเชิงเทคนิค ซึ่งจะต้อง
ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากความสามารถในการ
ฟัง พูด อ่าน เขียน วิเคราะห์ ระดับสติปัญญา
และการแสดงผลออกมาจากการเรียนรู้ Carl
R. Rogers (อ้างถึงใน วัฒนาพร ระงับทุกข์,
2542) เป็นผู้คิดค้นและใช้คำว่าผู้เรียนเป็นศูนย์
กลาง (Child-Centered) เป็นครั้งแรก โดยกล่าวถึง
ลักษณะของครูผู้สอนว่าครูจะต้องเชื่อและศรัทธา
ในความเป็นมนุษย์ความเชื่อและความไว้วางใจ
จะช่วยให้บุคคลพัฒนาศักยภาพของตน ครูต้อง
จริงใจ ไม่เสแสร้ง และต้องพยายามสื่อให้ผู้เรียน
ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดด้านดีที่ครูมีให้เขา รวม
ทั้งให้เกียรติผู้เรียนทั้งในแง่ความรู้สึกและ
ความคิดเห็น นั่นหมายความว่าผู้เรียนจะได้รับ
การส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
38
เต็มที่ต่อการเรียนรู้ของตนผู้เรียนแต่ละคนมีคุณ
ค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ แนวทางนี้จึง
สามารถผลักดันผู้เรียนให้บรรลุศักยภาพของตน
โดยส่งเสริมความคิดและอำนวยความสะดวกให้
ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2537) ได้กล่าวว่า
การจัดการเรียนรู้ที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด คือ
การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วย
ตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการสร้างผลผลิตที่มี
ความหมายกับตัวเองการเรียนรู้ที่มีพลังความคิด
มากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง
สิ่งที่ดีมีความหมายต่อตนเองผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
จึงไม่ใช่วิธีสอนแต่เป็นเทคนิคการจัดการเพื่อให้
การเรียนรู้กับผู้เรียนเป็นสิ่งเดียวกัน หรือมีความ
สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-
Centered) มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เป้าหมายที่
สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา และการจัด
การเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของ
ผู้เรียน ให้อิสระกับผู้เรียนในการเลือกทำสิ่ง
ต่างๆ เสริมสร้างทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ
และทักษะการเรียนรู้ และทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึง
ความเป็นเจ้าของการเรียนรู้(Senseofbelonging)
ร่วมกัน ทั้งในด้าน การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
ประเมินค่าและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งแนวคิด
ดังกล่าวมีส่วนช่วยพัฒนาการเรียนการสอน
จากเดิมที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระการเรียนการสอน
การท่องจำ การประเมินผลการเรียนที่มุ่งเน้น
การให้คะแนนมาเป็นการให้ความสำคัญทั้ง
กระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น การเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีที่มาจากฐาน
ปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนต่างๆ
มากมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายความสำคัญ
ของการศึกษา ความสามารถ สติปัญญาที่แตก
ต่างกันของมนุษย์
แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากการค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี
ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ พบว่า ทฤษฎีที่อธิบายเรื่องการจัด
การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้
1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ
Piaget (1964) ได้มีการอธิบายแนวทางของ
พัฒนาการทางสมองไว้เป็นลำดับขั้น ซึ่งลำดับ
ขั้นหมายถึงการที่พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลง
ไปในด้านคุณภาพเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดย
แบ่งพัฒนาการของสมองออกเป็น 4 ลำดับขั้น
ดังนี้
1) Sensorimotor stage (0-2 ปี) ระยะนี้
เด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และการมองเห็น
เรียนรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมโดยการสัมผัสและ
มีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาแบบลองผิด
ลองถูก
2) Pre-Operational stage (2-7 ปี)
เด็กระยะนี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษา แต่ยัง
คิดแบบเป็นนามธรรมไม่ได้ต้องเห็นเป็นรูปธรรม
ที่ชัดเจนเช่นเรียนรู้จากธรรมชาติวัตถุมีความคิด
รวบยอดและมีเหตุผลบ้าง
3) Concrete Operation (7-11 ปี)
ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องความคิด
รวบยอด และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ
ได้บ้างและมีการเรียนรู้ผ่านการกระทำ มีเหตุผล
สามารถคิดกลับไปกลับมาได้ มองสิ่งต่างๆ ได้
หลายแง่หลายมุมมากขึ้น สามารถแบ่งแยก
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
39
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
หมวดหมู่ได้มากขึ้น
4) Formal Operation (11-15 ปี)
เด็กในระยะนี้จะมีความคิดเห็นเหมือนผู้ใหญ่
คิดซับซ้อนมากขึ้น มีความคิดแบบมีวิจารณญาณ
ไตร่ตรอง สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
ดีมากขึ้นสามารถใช้เหตุผลมาอธิบายแก้ปัญหา
ตัดสินใจและมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้
ลำดับขั้นเหล่านี้ได้แสดงให้เห็น
กระบวนการของการปรับและการจัดระเบียบ
การปรับ คือสมดุลที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปฏิกิริยา
โต้ตอบสิ่งแวดล้อมการจัดระเบียบ คือมโนภาพ
ของการโต้ตอบสิ่งแวดล้อมได้รวมกันเข้ามา
เป็นหน่วยรวม
สรุปได้ว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสติ
ปัญญา เป็นทฤษฎีที่มีการอธิบายถึงความ
สามารถอันสลับซับซ้อนของสมองหรือสติ
ปัญญาที่จะมีการค่อยๆ ขยายหรือคลี่คลาย
ออกในระยะเวลาที่เด็กค่อยๆ เติบโตจากเด็ก
ไปสู่วัยผู้ใหญ่ ทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองหรือ
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กในช่วงวัยต่างๆ
สามารถที่จะพัฒนาความสามารถของเด็กให้มี
ความเหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสมองได้
ซึ่งจะเป็นการใช้กระบวนการทางสติปัญญา
หรือทางสมองของตน ในการคิดกลั่นกรอง
รวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูล เชื่อมโยง
ข้อมูล และสร้างความหมายข้อมูลได้เองตาม
ระดับความสามารถของตนเอง และการเรียนรู้
โดยการยึดตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วง
วัยนี้ จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจที่ศึกษาหา
ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ และจะส่งผลทำให้เด็ก
มีความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้มากขึ้น อีกทั้งยัง
สามารถคงความรู้ที่ได้รับเหล่านั้นได้มากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้และ
สร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามแนวทางของ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual
Development) โดยที่ครูจะทำหน้าที่เป็นเพียง
ผู้ให้คำแนะนำหรือคอยดูแลให้คำปรึกษา จึงเป็น
แนวคิดที่จะสามารถนำมาใช้เสริมในการเรียน
การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี
2. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้
(ConstructivismTheory)เป็นทฤษฎีที่มีรากฐาน
มาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพี
ยเจต์ (Piaget) เรียกว่า Cognitive Constructivist
และ วีก็อตสกี(Vygotsky)ซึ่งเน้นเกี่ยวกับบริบท
ทางสังคมเรียกว่า Social Constructivist ซึ่งมี
รายละเอียด ดังนี้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2544)
2.1 Cognitive Constructivist ซึ่งมี
แนวคิดมาจาก Piaget คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง
ความรู้โดยการลงมือกระทำ Piaget เชื่อว่าถ้า
ผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความ
ขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) หรือ
เกิดการเสียสมดุลทางปัญญา (Disequilibrium)
ผู้เรียนต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญา
(Cognitive Structuring) ให้เข้าสู่ภาวะสมดุล
(Equilibrium) โดยวิธีการดูดซึมความรู้
(Assimilation)โดยรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อม
เข้าไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา และโดยวิธีการ
ปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
โดยการเชื่อมโยงโครงสร้างทางปัญญาเดิม หรือ
ความรู้เดิมที่มีมาก่อนกับข้อมูลข่าวสารใหม่
จนกระทั่งผู้เรียนสามารถปรับโครงสร้างทาง
ปัญญาเข้าสู่ภาวะสมดุล หรือสามารถที่จะสร้าง
ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
2.2 Social Constructivist เป็นทฤษฎี
ที่มีรากฐานมาจาก Vygotsky ซึ่งมีแนวคิดที่
สำคัญที่ว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญ
ในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา รวมทั้งแนวคิด
เกี่ยวกับศักยภาพในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
40
ที่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาที่
เรียกว่าZoneofProximalDevelopmentถ้าผู้เรียน
ที่ต่ำกว่า Zone of Proximal Development ก็จำ
เป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือในการเรียนรู้ที่
เรียกว่าScaffoldingและVygotskyเชื่อว่าผู้เรียน
สร้างความรู้โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
กับผู้อื่น ได้แก่ เด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู และเพื่อน
ในขณะที่เด็กอยู่ในบริบทของสังคมและ
วัฒนธรรม (Social Cultural Context) และ
แนวคิดสำคัญ มีดังนี้
2.2.1 ความรู้ คือ โครงสร้าง
ทางปัญญาที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็น
ปัญหาและใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
หรืออธิบายสถานการณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
2.2.2 ครู มีหน้าที่ จัดการให้
นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของ
นักเรียนเอง ภายใต้สมมุติฐานดังนี้
1) สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ทางปัญญา (Cognitive Conflict)
2) ความขัดแย้งทางปัญญา เป็นแรง
จูงใจภายใน ทำให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรอง
เพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น
3) การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์
และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ภายใต้การมี
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้าง
โครงสร้างใหม่ทางปัญญาแนวคิดของทฤษฎีนี้
มุ่งเน้นการสร้างมากกว่าการรับความรู้โดยเชื่อว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของ
ผู้เรียน โดยมีผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ (Construct)
จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้
ความเข้าใจเดิมที่มีมาก่อนโดยพยายามนำความ
เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์
ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา
(Cognitive Conflict) หรือที่เรียกว่า สกีมา
(Schema)ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโครงสร้าง
ทางปัญญาหรือโครงสร้างของความรู้ในสมอง
โครงสร้างทางปัญญานี้จะประกอบด้วยความหมาย
ของสิ่งต่างๆที่ใช้ภาษาหรือเกี่ยวกับเหตุการณ์
หรือสิ่งที่แต่ละบุคคล โครงสร้างทางปัญญาของ
บุคคลจะมีการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการดูดซึม
(Assimilation) ซึ่งเป็นการนำเอาสิ่งแวดล้อม
ภายนอกเข้ากับความรู้ใหม่เข้ามาไว้ในโครงสร้าง
ทางปัญญา และการปรับโครงสร้างทางปัญญา
(Accommodation) เป็นการปรับโครงสร้างทาง
ปัญญาของตนเองในการรับสิ่งแวดล้อมหรือ
ความรู้ใหม่ โดยการเชื่อมกับประสบการณ์เดิม
หรือสกีมาของตนเอง เพื่อให้โครงสร้างทาง
ปัญญาของแต่ละบุคคลเข้าสู่สภาพสมดุล
(Equilibrium) หรือเกิดการเรียนรู้นั้นเอง
Henderson (1996) ได้อธิบายว่า ในการสรรค์
สร้างความรู้จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน
ด้วยกัน คือ จุดมุ่งหมายหรือความต้องการของ
ผู้เรียน ความรู้เดิมหรือสิ่งที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน
และสาระหรือสิ่งใหม่ที่จะเรียนรู้ ดังนั้นจึง
สามารถอธิบายในอีกนัยหนึ่งได้ว่า โครงสร้าง
ทางสติปัญญาของผู้เรียน ประกอบไปด้วยโครง
สร้างความรู้ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน และขยาย
ออกไปได้ โดยอาศัยองค์ประกอบอย่างน้อย 3
ประการ คือ
1. ความรู้เดิมหรือโครงสร้างความรู้เดิม
ที่มีอยู่
2. ความรู้ใหม่ ได้แก่ ข้อมูล ข้อเท็จจริง
ความรู้ ความรู้สึก ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่บุคคล
รับเข้าไป
3. กระบวนการทางสติปัญญา เป็น
กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการทำความเข้าใจ
ความรู้ที่รับมา และใช้ในการเชื่อมโยง และปรับ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
41
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
ความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
จากสองทฤษฎีข้างต้นทำให้ผู้เขียนนำ
มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิด โดยก่อนที่จะมีการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะ
ต้องมีการศึกษาพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การรับรู้ก่อนเพื่อช่วยในการออกแบบกระบวน
การเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้
ทักษะการคิด ทักษะการตัดสินใจ การเข้ามามี
ส่วนร่วมของผู้เรียนจะส่งผลให้การเรียนรู้เกิดขึ้น
ได้ดี มีโอกาสได้รับข้อมูลประสบการณ์ใหม่ๆ
และใช้กระบวนการทางสติปัญญาของตน ใน
การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และ
สร้างความหมายข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง แสดง
ดังแผนภาพ
ผูเรียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางดานสติปญญา
ทฤษฎีการสรรคสรางความรู
การหลอหลอมกลอมเกลา
ทางสังคม
สภาพแวดลอมภายใน
สภาพแวดลอมภายนอก
กระบวนการเรียนการสอน, สื่อการเรียน
ปฏิสัมพันธ, นิสัยการเรียน, อุปกรณการเรียน
ความสนใจ, พฤติกรรมผูเรียน การมีสวนรวม
แผนภาพกรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
42
กรอบแนวความคิดข้างต้น เป็นการเชื่อมโยงให้
เห็นว่า ผู้เรียนที่เป็นศูนย์กลางจะมีประสิทธิภาพ
การเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีได้นั้นต้อง
มีรากฐานทางการศึกษา อันประกอบไปด้วย
กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสื่อการเรียน
ที่มีคุณภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
หน้าที่หลักของผู้สอนเริ่มจากการทบทวนบทบาท
ของผู้สอนในการทำความเข้าใจความแตกต่าง
ของแต่ละบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
และการปฏิบัติอย่างแท้จริง ปรับบทบาทเดิม
จากการเรียนการสอนที่เน้นเนื้อหาเปลี่ยนเป็น
การเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิด
กระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่ม อย่างไรก็
ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรคคือเรื่องของพฤติกรรม
ของผู้เรียน การมีส่วนร่วม ความสนใจ และ
ความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอน หาก
รากฐานเหล่านี้มีความพร้อมและเข้มแข็งก็จะนำ
ไปสู่การหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมที่ดี
(Socialization) และต้องมีการประเมินสภาพ
แวดล้อมภายใน ได้แก่ สถาบันการศึกษา และ
สภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ
สภาพสังคม สภาพการเมือง และนโยบายของ
รัฐบาลที่ให้การสนับสนุนเรื่องของการศึกษา
อย่างต่อเนื่องและองค์ความรู้สูงสุดคือการที่ผู้เรียน
มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเหมาะสมกับ
อายุ และสามารถที่จะสร้างสรรค์ความรู้ คิด
วิเคราะห์เชิงตรรกะ (Logical Analysis) ได้
อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับความเป็นจริง
แนวการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัด
การเรียนการสอน
นอกจากนี้ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2544,
143) ได้กล่าวถึงแนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่าหมายถึง แนวการจัด
การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้
ด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางปัญญา
(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม
(กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์
และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไป
ประยุกต์ได้ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน การจัด
การเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับความสนใจ
ความสามารถและความถนัด เน้นการบูรณาการ
ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ให้หลากหลายวิธีสอน
หลากหลายแหล่งความรู้ ความสามารถพัฒนา
ปัญญาได้หลากหลาย คือพัฒนาพหุปัญญา
รวมทั้งใช้วิธีการวัดผลที่หลากหลายวิธี"
กระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงมี
ลักษณะของการออกแบบให้เหมาะสมและมี
ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ซึ่งอาศัยหลักการ
เทคนิค วิธีการ กระบวนการที่แตกต่างกันไป
อย่างเช่นงานของทิศนา แขมมณี (วัฒนาพร
ระงับทุกข์, 2541, 8) ได้เสนอหลักการจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีลักษณะดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวน
การเรียนรู้ โดยเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้
ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจ สร้างความหมายของ
สาระความรู้ให้แก่ตนเองและค้นพบข้อความรู้
นั้นๆ ด้วยตนเอง
2.ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์(Interaction)
ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกันได้
แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ความคิดและประสบการณ์
แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วม
(Participation) ในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้กระบวนการ
(Process) ควบคู่ไปกับผลงาน (Product)
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
43
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
5. ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน
ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง (Application)
คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการศึกษา
(2543, 36) ได้กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การเรียนรู้ตามแนว
พุทธธรรมเน้น คน ทั้งในลักษณะที่เป็น
ปัจเจกชน (คือแต่ละคน) และการพัฒนา กลุ่ม
คนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เมื่อคนมีความ
สำคัญสูงสุดของการเรียนรู้ วิธีการฝึกอบรมจึง
เป็นการพัฒนาทุกองค์ประกอบของความเป็น
คนในขณะที่ วรภัทร ภู่เจริญ (2543, 107-
108) ได้เสนอแนะหลักการสอนโดยเน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางไว้ดังต่อไปนี้
1. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ติองเหมาะสมกับ
ความต้องการของประเทศชาติทั้งในปัจจุบัน
และอนาคต
2. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ต้องเหมาะสมกับ
ความต้องการของผู้เรียน ทั้งในปัจจุบันและ
อนาคต
3. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ต้องเหมาะสมกับ
ศีลธรรม (อย่าให้จิตวิญญาณที่ดีถูกทำลายไป
ให้เป็นคนดี)
4. วิธีสอนต้องเหมาะสมกับธรรมชาติ
(อย่าฝืนใจตนเองและผู้เรียนถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
เหนื่อย ก็หาแนวทางใหม่อย่าระบายอารมณ์กับ
ผู้เรียน คุมอารมณ์ให้ได้)
5.ต้องคำนึงถึงความสามารถในการสอน
(อย่ามั่ว อย่าโกหก)
6. ต้องคำนึงถึงจังหวะอารมณ์ที่จะสอน
ทั้งผู้เรียนและผู้สอน (รู้กาลเทศะ รู้ลักษณะ
การเรียนรู้)
7. ต้องคำนึงถึง ความสามารถและ
ความสนใจของผู้เรียน
8. หมั่นปลุกเร้าให้อยากเรียนรู้บ่อยๆ
(เรียนไปทำไม เรียนแล้วได้อะไร เอาไปใช้
ตอนไหน)
9. หมั่น ตรวจสอบ ความก้าวหน้าใน
การเรียนรู้และลักษณะการเรียนรู้ (สอนให้รู้
วิธีเรียน ไม่ใช่ต้องเรียนรู้อะไร)
สำหรับ Driver and Bell (1986) ได้
กำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้
1. ขั้นนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียน
จะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียน
บทเรียน
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation
of the prior knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดง
ออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับ
เรื่องที่จะเรียน การให้ผู้เรียนแสดงออก อาจทำ
ได้โดยการอภิปรายกลุ่ม การให้ผู้เรียนออก
แบบโปสเตอร์ หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อ
แสดงความรู้ความเข้าใจทีมีอยู่ผู้เรียนอาจเสนอ
ความรู้ด้วยเทคนิคผังกราฟฟิก (Graphic
Organizers)ขั้นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
(Cognitive Conflict) หรือเกิดภาวะไม่สมดุล
(Unequilibrium)
3.ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด(Turning
restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
หรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว constructivism
ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
3.1 ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ระหว่างกันและกัน (Clarification and
exchange of ideas) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อ
ได้พิจารณาความแตกต่างและความขัดแย้ง
ระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ครูจะ
มีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนด
ประเด็น กระตุ้นให้คิด ได้แก่ การเรียนรู้
3.2 สร้างความคิดใหม่ (Construction
of new ideas) จากการอภิปรายและการสาธิต
ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลาย
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
44
ในการตีความปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ แล้ว
กำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่
3.3ประเมินความคิดใหม่(Evaluationof
the new ideas) โดยการทดลองหรือการคิด
อย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดใน
การทดสอบความคิดหรือความรู้ ในขั้นตอนนี้
ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้า
ใจที่เคยมีอยู่ เนื่องจากหลักฐานการทดลอง
สนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application
ofideas)เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิด
หรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ใน
สถานการณ์ต่างๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย
เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้
เรียกว่า เรียนหนังสือไม่ใช่เรียนรู้
5. ขั้นทบทวน (Review)เป็นขั้นตอน
สุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่าความคิดความ
เข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบ
ความคิดเมื่อเริ่มต้นทบทวนบทเรียนกับความคิด
ของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน ความรู้ที่ผู้เรียนสร้าง
ด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา
(Cognitive Structure) ปรากฏในช่วงความจำ
ระยะยาว (Long-term Memory) เป็นการเรียน
รู้อย่างมีความหมายผู้เรียนสามารถจำได้ถาวร
และสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆเพราะ
โครงสร้างทางปัญญา คือกรอบของความหมาย
หรือแบบแผนที่บุคคลร้างขึ้นใช้เป็นเครื่องมือ
ในการตีความหมายให้เหตุผลแก้ปัญหาตลอดจน
ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างโครงสร้างทาง
ปัญญาใหม่ นอกจากนี้ยังทบทวนเกี่ยวกับ
ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทบทวนว่าจะนำความรู้ไปใช้
อย่างไรและมีเรื่องใดที่ยังสงสัยอยู่อีกบ้าง
จากเอกสารทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เทคนิค
การออกแบบ กระบวนการต่างกัน ซึ่งอาจมี
ปัจจัยบางอย่างสามารถร่วมกันได้ ทั้งนี้ต้อง
พิจารณาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
บทพิสูจน์ทางทฤษฎี
จากทฤษฎีต่างๆ ข้างต้น สามารถ
อธิบายได้ว่า หลักการต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่างมุ่งหวัง
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน
งานวิจัยหลายเรื่องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาทิ
งานวิจัยของเผด็จ อุทุมสกุลรัตน์ (2545) ได้
ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาการดำเนินการใน
การจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
เขตการศึกษา 1 ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่โรงเรียน
ส่วนใหญ่ดำเนินการได้เหมาะสมแล้ว คือ
การกำหนดนโยบายการจัดทำแผนงาน/โครงการ
การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากร การจัด
ระบบนิเทศภายในโรงเรียน ส่วนสิ่งที่โรงเรียน
ควรจัดให้มีหรือปรับปรุงแก้ไข คือ งบประมาณ
สื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี จำนวนผู้เรียน
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดย
งานวิจัยฉบับนี้ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับเรื่อง
การกำหนดนโยบาย ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า ใน
การจัดทำนโยบายการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย
ควรพิจารณาปัญหาการเรียน การสอนให้เข้าใจ
อย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะกำหนดออกมาในรูป
ของนโยบายที่ผ่านการตัดสินใจอย่างรอบคอบ
ปฏิบัติและประเมินผลเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปสู่
กระบวนการแก้ไขอย่างถูกต้อง สำหรับงานวิจัย
ของบันเทิง จันทร์นิเวศน์ (2547) ได้ทำการ
วิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษา
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
45
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาโดย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านการเตรียมการสอน
ครูมีแผนการสอนที่เป็นปัจจุบัน มีการผสม
ผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วน ด้านการ
จัดกิจกรรมการสอน ครูมีการนำเข้าสู่บทเรียน
และให้ผู้เรียนสอบถามปัญหา และข้อสงสัยได้
ตลอดเวลา มีการชมเชยผู้เรียนที่มีผลงานดีและ
ให้กำลังใจผลงานที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ด้าน
การประเมินผล ครูมีการประเมินผลผู้เรียนตาม
สภาพจริงเป็นรายบุคคลและได้นำผลการประเมิน
มาปรับปรุงและพัฒนาการสอน ปัญหาในการจัด
การศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
การขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ
ประกอบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการนำเข้า
สู่บทเรียนไม่น่าสนใจ การจัดกิจกรรมการสอน
ไม่เป็นไปตามแผน ผู้เรียนขาดความสนใจใน
ช่วงใกล้หมดเวลาเรียน ครูไม่สามารถประเมิน
ผลควบคู่ไปกับการสอน เป็นงานวิจัยที่ให้ผล
การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของผู้เรียนมากขึ้น จึง
อาจมองภาพรวมได้ว่าการเรียนการสอนที่ดียัง
คงมีปัจจัยหลายประการที่เข้ามาเกี่ยวข้องและ
ยังมีตัวแปรซ้อนที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้
ล่วงหน้าเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้งานวิจัยของ
สถาพร ดียิ่ง (2548) ได้ทำการวิจัยเรื่องผล
ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลางโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือสำหรับ
นักศึกษาครู ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดย
วิธีการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษาครู
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน
การทำงานกลุ่มก่อนและหลังเรียนแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์
กลางโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ มีผลทำให้
นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ
สามารถในการทำงานกลุ่มหลังเรียนสูงขึ้นกว่า
ก่อนเรียน แต่การจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยวิธีการเรียนแบบ
ร่วมมือ มีผลทำให้นักศึกษาครูมีความรับผิดชอบ
ก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน 2. การจัด
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษา
ครูมีความสามารถทางการสอนและความพึงพอใจ
ต่อการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่
กำหนด 3. นักศึกษาครูที่มีระดับเจตคติต่อ
วิชาชีพครูแตกต่างกัน (ระดับ ปานกลางและ
ระดับสูง) มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสามารถในการทำงานกลุ่มและความ
รับผิดชอบก่อนเรียนไม่แตกต่างกันและหลังเรียน
ก็ไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษาครูที่มีระดับเจตคติ
ต่อวิชาชีพครูแตกต่างกัน (ระดับปานกลาง และ
ระดับสูง) มีความสามารถทางการสอนและ
ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนหลังเรียนไม่
แตกต่างกัน และจากการสืบค้นข้อมูลโดยใช้
คำสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พบว่ามีงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจำนวน
3 เล่ม ที่มุ่งเน้นปัญหาการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมีประเด็นที่สำคัญ
คือครู/ผู้สอนเช่นงานวิจัยของสมจิตร์กลิ่นน้อย
(2546) เรื่อง ปัญหาการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูธุรกิจ สังกัดกรม
สามัญศึกษาจังหวัดเพชรบุรีงานวิจัยของลางสาด
พุ่มดอกไม้ (2546) เรืองปัญหาการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูประถมศึกษาโรงเรียน
เอกชนจังหวัดเพชรบุรีและงานวิจัยของประเสริฐ
ลีอำนนต์กุล(2546)เรื่องการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์วิทยาลัย
พณิชยการเชตุพน และวิทยาลัยอาชีวศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
46
เอี่ยมลออ โดยผลการวิจัยทั้ง 3 เล่มได้เสนอ
ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญว่ามีสาเหตุมาจากการเตรียมการสอน/สื่อ
การเรียนการสอนของผู้สอนการวัดและการและ
การประเมินผลของผู้สอน และปัญหาสำคัญที่น่า
สนใจคือ ผู้สอนยังไม่เข้าใจความหมาย/แนวคิด
ของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำ
ให้การเรียนการสอนเป็นแบบบรรยาย เน้น
การถ่ายทอดความรู้ เน้นเนื้อหาการสอน และ
ใช้คะแนนเป็นเกณฑ์การตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการเรียนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. จากการศึกษางานวิจัย 6 เล่มข้างต้น
พบว่า ปัญหาที่สำคัญ คือ กระบวนการติดตาม
ประเมินผล การดำเนินการวัดและประเมิน
การเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 จะต้องมีความสอดคล้องกับ
บทบัญญัติพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 โดยผู้เขียนมีความเห็นว่าการประเมินผล
การเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
อย่างมีแบบแผนที่มีกระบวนการวิเคราะห์ลำดับ
ความสำคัญของกิจกรรมก่อนหลังกำหนดเป้าหมาย
หลักของการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการคิด/
กระบวนการกลุ่ม (Group Process) และ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์(Attribute)ของผู้เรียน
รวมทั้งสร้างแบบวัดเพื่อประเมินผู้เรียนให้ครอบ
คลุมทั้งด้านทักษะเก่งคิด ทักษะเก่งปฏิบัติ และ
ทักษะเชิงเทคนิค โดยเป็นการประเมินแบบภาพ
รวม(ComprehensiveEvaluation)และพิจารณา
บริบทสภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อม
ภายนอกอย่างรอบด้านรวมทั้งการประเมิน
ปัจจัยนำเข้า อันได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหาร
4 M (Man, Money, Material, Management) ที่
มีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน และผลลัพธ์
ที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน
สำหรับกระบวนการประเมินควร
ครอบคลุม ด้านพุทธพิสัย(CognitiveDomain)
ตามแนวความคิดของ Benjamin Bloom (อ้างถึง
ใน พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข,
ม.ป.ป.) ได้แบ่งระดับเป็น 6 ระดับ ได้แก่
ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์ และการประเมินค่า เพื่อวัดความรู้
ความเข้าใจ การนำไปใช้แบบมีเหตุผล ต่อมาควร
ทำการประเมินด้านจิตพิสัย(AffectiveDomain)
แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เริ่มตั้งแต่ การรับรู้
หรือเอาใจใส่ การตอบสนอง การเห็นคุณค่า
การจัดระบบหรือการสร้างความเชื่อและ การสร้าง
นิสัยหรือค่านิยมเพื่อวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้เรียน ตามหลักการที่ว่า นอกจากผู้เรียน
จะเป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนดีด้วย และด้าน
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ได้แก่
การกระทำเลียนแบบ การกระทำตามแบบ
การกระทำตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนด และการ
กระทำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพิจารณาทักษะการ
ปฏิบัติ ความคล่องแคล่ว และการตัดสินใจ
2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะต้องทำการประเมินผล
อย่างต่อเนื่อง และสมํ่าเสมอเพื่อนำผลที่ได้
(Feed Back) กลับมาปรับปรุง เพื่อให้ผู้เรียน
ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ร่วมกัน
3. รูปแบบการเรียนการสอนต้อง
พยายามปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งสถานการณ์
ดังกล่าวจะต้องมีการบูรณาการองค์ความรู้แบบ
สหวิทยาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พฤติกรรม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
47
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
ศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา
ข้อเสนอแนะการนำไปปฏิบัติ
ด้านผู้สอน
1. ผู้สอนควรมีการเตรียมการสอน/สื่อ
การเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และควรมีการ
สังเกตผู้เรียนเพื่อวิเคราะห์ความสามารถ และ
พยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย
ตนเองด้วย
2. ผู้สอนควรปรับกระบวนการเรียน
การสอนและพยายามให้ผู้เรียนกระตุ้นการใช้
ความคิด การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ไม่ควร
เน้นเนื้อหาและบรรยายมากเกินไป
ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน
1.ควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อ
สื่อการเรียนรู้วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็น
ให้เพียงพอต่อผู้เรียน
2. ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบกลุ่ม (group learning)
บทสรุป
องค์ประกอบสำคัญของระบบการศึกษา
ประกอบด้วยปรัชญาการศึกษาหลักสูตรการสอน
การประเมิน และการวิจัย โดยการสอนนั้นเป็น
กระบวนการที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนา
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยมีเงื่อนไข
ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ประเทศและสถาบัน รวมถึงการสอนเป็นทั้ง
ศาสตร์และศิลป์ อาศัยการฝึก การสะสม
ประสบการณ์ และการพัฒนาแก้ไขปรับปรุง
อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญเป็นการเน้นให้ learning how to
learn, learn to do, learning to be, learning to
know และ learning to live together ที่อาศัย
แหล่งการเรียนรู้หลากหลายทั้งภายในและภายนอก
การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็น
แนวคิดที่มีการกล่าวถึงอย่างมาก แต่อย่างไรก็
ตามแนวคิดดังกล่าวก็สามารถใช้ได้จริงกับบางกลุ่ม
บางสถานศึกษาเท่านั้น สืบเนื่องมาจากการเรียน
ที่ไม่ได้ยึดหลักของการวิเคราะห์ความแตกต่าง
ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ที่มีความพร้อมผ่านกระบวนการหล่อหลอม
กล่อมเกลาทางสังคม และผนวกเอาทฤษฎี
พัฒนาการต่างๆ ในการปรับสมดุลให้เกิดขึ้นทั้ง
ผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้นการเรียนจะไม่ใช่เรื่องที่
น่าเบื่อและเน้นไปที่การท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถคิด
วิเคราะห์เชิงตรรกะได้อย่างแท้จริง
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
48
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รายงานการประชุมบทบาทนักวิจัยในโครงการ
โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษา (ร่าง). (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.
กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
บันเทิง จันทร์นิเวศน์. (2547). สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยเน้นนักเรียนเป็น
สำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล. (2546). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมลออ. สารนิพนธ์ กศ.ม.
(ธุรกิจศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เผด็จ อุทุมสกุลรัตน์. (2542). การศึกษาการดำเนินการในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1. ม.ป.ท.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). แนวคิดและตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญสู่แผนการสอน การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดวิธี และ
เทคนิคการสอน 1. ในพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : บริษัทเดอร์
มาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (ม.ป.ป.). กระบวนการออกแบบย้อนกลับ การ พัฒนา
หลักสูตรและออกแบบการสอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
ลางสาด พุ่มดอกไม้. (2546). ปัญหาการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูประถมศึกษา
โรงเรียนเอกชน จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรภัทร ภู่เจริญ. (2543). การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์นจัดพิมพ์.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ : แอล ทีเพรส.
สถาพร ดียิ่ง. (2548). ผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยวิธีการ
เรียนแบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาครู. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (วิทยาศาสตรศึกษา)
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี
49
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554
สมจิตร์ กลิ่นน้อย. (2546). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู
ธุรกิจสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา) บัณทิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2544). แนวโน้มของการวิจัยสื่อทางปัญญา. ขอนแก่น : ภาควิชาเทคโนโลยี
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Driver, R. and Bell, B. (1986). Students' thinking and the learning of science : A
constructivist view. School Science Review, 67, 443-456.
Henderson. (1960). ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นได้จาก http://www.sobkroo.com/
detial_room_main3.php?nid=1050. [เข้าถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2553].
Ovando, M.N. (1994). Constructive feedback: A Key to successful teaching and
learning. International Journal of Educational Management, 8(6), 19-22.
Piaget, J. (1964). Development and learning, Dans: Piaget rediscovered: A report of the
Conference on cognitive studies and curriculum development. Ithaca (NY), Cornell
University Press, 7-20.
Tunstall,P. and Gipps, C. (1996). Teacher feedback to young children in formative
assessment : A typology. British Educational Research Journal, 22 (4), 389 - 404.
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง
ทฤษฎี

More Related Content

What's hot

04 instructional system_design
04 instructional system_design04 instructional system_design
04 instructional system_design
Athit Thongkum
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeajaacllassic
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
Piyapong Chaichana
 
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑TooNz Chatpilai
 
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2เนตร นภา
 
plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
จุลี สร้อยญานะ
 
บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1
luanrit
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ ข้าเจ้า.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้   ข้าเจ้า.Pptจิตวิทยาการเรียนรู้   ข้าเจ้า.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้ ข้าเจ้า.Pptjaacllassic
 
ทฤษฎีการออกแบบการสอน
ทฤษฎีการออกแบบการสอนทฤษฎีการออกแบบการสอน
ทฤษฎีการออกแบบการสอนdeathnote04011
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2
Real PN
 
งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2
lalidawan
 
กลวิธีการสอน
กลวิธีการสอนกลวิธีการสอน
ภาระกิจการเรียนรู้
ภาระกิจการเรียนรู้ภาระกิจการเรียนรู้
ภาระกิจการเรียนรู้
Piyatida Krunsuntia
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมUraiwan Chankan
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
นางสาวอัมพร แสงมณี
 

What's hot (18)

04 instructional system_design
04 instructional system_design04 instructional system_design
04 instructional system_design
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน๒๕๕๑
 
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา Chapter2
 
Chapter 2
Chapter 2Chapter 2
Chapter 2
 
plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
 
บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1บทความวิจัย 1
บทความวิจัย 1
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ ข้าเจ้า.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้   ข้าเจ้า.Pptจิตวิทยาการเรียนรู้   ข้าเจ้า.Ppt
จิตวิทยาการเรียนรู้ ข้าเจ้า.Ppt
 
ทฤษฎีการออกแบบการสอน
ทฤษฎีการออกแบบการสอนทฤษฎีการออกแบบการสอน
ทฤษฎีการออกแบบการสอน
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2
 
งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2
 
กลวิธีการสอน
กลวิธีการสอนกลวิธีการสอน
กลวิธีการสอน
 
ภาระกิจการเรียนรู้
ภาระกิจการเรียนรู้ภาระกิจการเรียนรู้
ภาระกิจการเรียนรู้
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 

Similar to Techer-centered

การสอน
การสอนการสอน
การสอน
guest283582b
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมAiphie Sonia Haji
 
4 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar554 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar55
Miss.Yupawan Triratwitcha
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
widsanusak srisuk
 
1414339429 chakeaw chapter9 (1)
1414339429 chakeaw chapter9 (1)1414339429 chakeaw chapter9 (1)
1414339429 chakeaw chapter9 (1)
Siri Siripirom
 
Chapter9mii
Chapter9miiChapter9mii
Chapter9mii
siri123001
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
Adun Sailektim
 
A1
A1A1
ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1Aekapong Hemathulin
 
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3warijung2012
 
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริงเอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
talktomongkol
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยNoppasorn Boonsena
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...โรงเรียนบ้านเสาเล้าฯ สผศ
 

Similar to Techer-centered (20)

การสอน
การสอนการสอน
การสอน
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
4 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar554 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar55
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกระบวนการฐานวิจัยที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ รายว...
 
1414339429 chakeaw chapter9 (1)
1414339429 chakeaw chapter9 (1)1414339429 chakeaw chapter9 (1)
1414339429 chakeaw chapter9 (1)
 
Chapter9mii
Chapter9miiChapter9mii
Chapter9mii
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 
A1
A1A1
A1
 
Chapter 2
Chapter 2Chapter 2
Chapter 2
 
ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1
 
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3
ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3
 
Kku5
Kku5Kku5
Kku5
 
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริงเอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
เอกสารคู่มือประเมินตามสภาพจริง
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
C
CC
C
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
 

Techer-centered

  • 1. Child-Centered Education : Prove Theory Nipapan Jensantikul M.P.A. (Public Administration), Lecturer Public Administration Program Nakhon Pathom Rajabhat University Abstract Child-centered education based on philosophy of education and consist of a teacher and a learner has collaborated to learn. The teacher is a facilitator to help learner thinking in rational analysis and practice. This objective of this article were to prove theory from analyse six researches. The findingrevealthattheproblemofchild-centerededucationcomposeofmonitoringandevaluating learning process focus that score of learner, role of teacher is interested in content of education and lack of media for learning. Key words : Child-Centered Education, Body of Knowledge, Qroup Learning
  • 2. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทางทฤษฎี นิภาพรรณ เจนสันติกุล รปม. (รัฐประศาสนศาสนมหาบัณฑิต), อาจารย์ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม บทคัดย่อ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีที่มาจากปรัชญาการศึกษาโดยการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะมีบทบาทในการ เป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยให้ผู้เรียน คิด วิเคราะห์เชิงตรรกะ และปฏิบัติ วัตถุประสงค์บทความนี้ คือ เพื่อนำเสนอบทพิสูจน์ทางทฤษฎี จากการวิเคราะห์งานวิจัยทั้ง 6 เล่ม พบว่า ปัญหาสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย กระบวนการ ติดตามประเมินผลการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการให้คะแนนบทบาทของผู้สอนที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา การสอน การขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์ คำสำคัญ : การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, องค์ความรู้, การเรียนการสอนแบบกลุ่ม
  • 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 36 บทนำ กระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวว่าการศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญ งอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอด ความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทาง วิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการ จัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัย เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต ซึ่งจากความหมายนี้จะเห็นว่าการศึกษาจะ ช่วยในการสร้างคนหรือบุคคลให้เจริญงอกงาม และส่งผลต่อสังคมในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งซึ่ง แต่ละบุคคลจะเข้ามาอยู่รวมกันเป็นสังคม และ มีความสอดคล้องตรงกับประโยคที่ว่าการศึกษา สร้างคน คนสร้างชาติและสถานศึกษาที่เป็น แหล่งการเรียนรู้ มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุ ประสงค์ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคน โดย การจัดการศึกษานั้นได้มีการแบ่งออกเป็น หลายระดับ อาทิ การจัดการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษาระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ประกอบกับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 คือ การมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนประเมินการ เรียนรู้ของผู้เรียนควบคู่ไปกับการเรียนการสอน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนเป็นหลัก และจากสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่าการเรียนการสอนมีลักษณะมุ่งเน้นที่เนื้อหา การสอนมากกว่าการให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์ และการประเมินผลการเรียนรู้ส่วนใหญ่ให้ ความสำคัญในเรื่องของคะแนน ดังนั้นการเรียน การสอนที่มีคุณภาพควรมีการประเมินระหว่างเรียน เพื่อให้ทราบข้อมูลย้อนกลับว่ากระบวนการ เรียนการสอนมีคุณภาพหรือไม่(Ovando,1994) การให้ข้อมูลย้อนกลับในกระบวนการประเมิน ระหว่างเรียนเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความก้าวหน้า ในการเรียนของผู้เรียน (Tunstall and Gipps, 1996) เพราะข้อมูลที่ได้จะมีผลในการปรับปรุง การเรียนรู้และช่วยให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลจากการ ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 17,562 แห่งคิดเป็นร้อยละ 49 ของสถานศึกษาทั่ว ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. 15,984 แห่งหรือร้อยละ 25.8 ผลการประเมิน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่า การปฏิรูปการศึกษา 6 ปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะตรงตามที่การปฏิรูปการศึกษา ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น มีความสามารถในเชิงวิเคราะห์ ผลการประเมิน พบว่า มีโรงเรียนเพียงร้อยละ 39.2ที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญได้มีคุณภาพระดับดี และพบว่ามี สถานศึกษาเพียงร้อยละ 34.2 มีครูที่มีความ สามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ รายงานของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544)พบว่าสาเหตุที่ผู้เรียนยังไม่ได้รับการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้ 1. หลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป การเรียนรู้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ ความเข้า ใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวปฏิบัติในเรื่องเกี่ยว กับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ปัญหาเกี่ยวกับกฎระเบียบที่ไม่เอื้อ อำนวย 3. ครูมีภาระงานอื่นที่นอกเหนือจาก การจัดการเรียนการสอนมาก เช่น งานแนะแนว งานพัสดุ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 4. 37 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 4. ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญ กับงานปฏิรูปการเรียนการสอนของครูเท่าที่ควร 5. ขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง 6. การดำเนินงานของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องมีลักษณะต่างคนต่างทำ ดังนั้นเพื่อให้ การพัฒนาประชากรไทยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์การจัด การศึกษาที่สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ ทีส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถรับถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ แนวคิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญมีส่วนในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียน การสอนให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งมีที่ มาจากฐานปรัชญาการศึกษาและทฤษฎี การเรียนต่างๆ ได้แก่ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism) ที่มองว่าการศึกษาจะต้อง พัฒนาผู้เรียนทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา โดยจัดตาม ความสนใจ ความถนัดและคุณลักษณะของเขา ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เป็น รูปแบบและแนวคิดที่พัฒนามาจากปรัชญา พิพัฒนนิยม จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา ตามปรัชญานี้ คือ การศึกษาจะต้องเป็นไปเพื่อ การปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ ที่ดีและเหมาะสมกว่า ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ปรัชญาการศึกษานี้เห็นว่า มนุษย์ควรมีสิทธิและโอกาสที่จะเลือกสรรสิ่ง ต่างๆ ด้วยตัวของเขาเองมากกว่าจะให้ใครมา ป้อนหรือมอบหมาย ดังนั้นเป้าหมายของ การศึกษา คือ การมุ่งมั่นพัฒนาให้คนมี อิสรภาพและมีความรับผิดชอบ และปรัชญา การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ (Buddhistic Philosophy of Education) เป็นปรัชญาที่อาศัย หลักไตรสิขาคือศีลสมาธิปัญญาในการอธิบาย เรื่องราวชีวิต โลก ปรากฎการณ์ต่างๆ โดยมี ความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะสามารถขจัด กิเลสและควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปใน แนวทางที่ดีได้ (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542, 2-3) และจากปรัชญาดังกล่าวข้างต้น การเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงเกิดขึ้นจาก พื้นฐานความเชื่อที่ว่า เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ การจัดการศึกษา คือ การจัดให้ผู้เรียนแต่ละคน เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้สูงสุดตาม ศักยภาพของตน แนวคิดเกี่ยวกับการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี ลักษณะการให้ความสำคัญกับผู้เรียน ผู้เรียนมี บทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน แต่ อย่างไรก็ตามผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ ในการเรียนรู้ ทักษะของมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทักษะเหล่านั้นประกอบด้วย ทักษะเก่งคิด ทักษะเก่งปฏิบัติ และทักษะเชิงเทคนิค ซึ่งจะต้อง ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากความสามารถในการ ฟัง พูด อ่าน เขียน วิเคราะห์ ระดับสติปัญญา และการแสดงผลออกมาจากการเรียนรู้ Carl R. Rogers (อ้างถึงใน วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542) เป็นผู้คิดค้นและใช้คำว่าผู้เรียนเป็นศูนย์ กลาง (Child-Centered) เป็นครั้งแรก โดยกล่าวถึง ลักษณะของครูผู้สอนว่าครูจะต้องเชื่อและศรัทธา ในความเป็นมนุษย์ความเชื่อและความไว้วางใจ จะช่วยให้บุคคลพัฒนาศักยภาพของตน ครูต้อง จริงใจ ไม่เสแสร้ง และต้องพยายามสื่อให้ผู้เรียน ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดด้านดีที่ครูมีให้เขา รวม ทั้งให้เกียรติผู้เรียนทั้งในแง่ความรู้สึกและ ความคิดเห็น นั่นหมายความว่าผู้เรียนจะได้รับ การส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 38 เต็มที่ต่อการเรียนรู้ของตนผู้เรียนแต่ละคนมีคุณ ค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ แนวทางนี้จึง สามารถผลักดันผู้เรียนให้บรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดและอำนวยความสะดวกให้ ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ วิชัย วงศ์ใหญ่ (2537) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วย ตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการสร้างผลผลิตที่มี ความหมายกับตัวเองการเรียนรู้ที่มีพลังความคิด มากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง สิ่งที่ดีมีความหมายต่อตนเองผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงไม่ใช่วิธีสอนแต่เป็นเทคนิคการจัดการเพื่อให้ การเรียนรู้กับผู้เรียนเป็นสิ่งเดียวกัน หรือมีความ สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child- Centered) มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เป้าหมายที่ สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา และการจัด การเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของ ผู้เรียน ให้อิสระกับผู้เรียนในการเลือกทำสิ่ง ต่างๆ เสริมสร้างทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ และทักษะการเรียนรู้ และทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึง ความเป็นเจ้าของการเรียนรู้(Senseofbelonging) ร่วมกัน ทั้งในด้าน การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งแนวคิด ดังกล่าวมีส่วนช่วยพัฒนาการเรียนการสอน จากเดิมที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระการเรียนการสอน การท่องจำ การประเมินผลการเรียนที่มุ่งเน้น การให้คะแนนมาเป็นการให้ความสำคัญทั้ง กระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น การเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีที่มาจากฐาน ปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนต่างๆ มากมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายความสำคัญ ของการศึกษา ความสามารถ สติปัญญาที่แตก ต่างกันของมนุษย์ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ พบว่า ทฤษฎีที่อธิบายเรื่องการจัด การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้ 1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget (1964) ได้มีการอธิบายแนวทางของ พัฒนาการทางสมองไว้เป็นลำดับขั้น ซึ่งลำดับ ขั้นหมายถึงการที่พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลง ไปในด้านคุณภาพเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดย แบ่งพัฒนาการของสมองออกเป็น 4 ลำดับขั้น ดังนี้ 1) Sensorimotor stage (0-2 ปี) ระยะนี้ เด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และการมองเห็น เรียนรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมโดยการสัมผัสและ มีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาแบบลองผิด ลองถูก 2) Pre-Operational stage (2-7 ปี) เด็กระยะนี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษา แต่ยัง คิดแบบเป็นนามธรรมไม่ได้ต้องเห็นเป็นรูปธรรม ที่ชัดเจนเช่นเรียนรู้จากธรรมชาติวัตถุมีความคิด รวบยอดและมีเหตุผลบ้าง 3) Concrete Operation (7-11 ปี) ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องความคิด รวบยอด และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้บ้างและมีการเรียนรู้ผ่านการกระทำ มีเหตุผล สามารถคิดกลับไปกลับมาได้ มองสิ่งต่างๆ ได้ หลายแง่หลายมุมมากขึ้น สามารถแบ่งแยก การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 6. 39 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 หมวดหมู่ได้มากขึ้น 4) Formal Operation (11-15 ปี) เด็กในระยะนี้จะมีความคิดเห็นเหมือนผู้ใหญ่ คิดซับซ้อนมากขึ้น มีความคิดแบบมีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ดีมากขึ้นสามารถใช้เหตุผลมาอธิบายแก้ปัญหา ตัดสินใจและมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ ลำดับขั้นเหล่านี้ได้แสดงให้เห็น กระบวนการของการปรับและการจัดระเบียบ การปรับ คือสมดุลที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปฏิกิริยา โต้ตอบสิ่งแวดล้อมการจัดระเบียบ คือมโนภาพ ของการโต้ตอบสิ่งแวดล้อมได้รวมกันเข้ามา เป็นหน่วยรวม สรุปได้ว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสติ ปัญญา เป็นทฤษฎีที่มีการอธิบายถึงความ สามารถอันสลับซับซ้อนของสมองหรือสติ ปัญญาที่จะมีการค่อยๆ ขยายหรือคลี่คลาย ออกในระยะเวลาที่เด็กค่อยๆ เติบโตจากเด็ก ไปสู่วัยผู้ใหญ่ ทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองหรือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กในช่วงวัยต่างๆ สามารถที่จะพัฒนาความสามารถของเด็กให้มี ความเหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสมองได้ ซึ่งจะเป็นการใช้กระบวนการทางสติปัญญา หรือทางสมองของตน ในการคิดกลั่นกรอง รวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูล เชื่อมโยง ข้อมูล และสร้างความหมายข้อมูลได้เองตาม ระดับความสามารถของตนเอง และการเรียนรู้ โดยการยึดตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วง วัยนี้ จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจที่ศึกษาหา ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ และจะส่งผลทำให้เด็ก มีความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้มากขึ้น อีกทั้งยัง สามารถคงความรู้ที่ได้รับเหล่านั้นได้มากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้และ สร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามแนวทางของ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development) โดยที่ครูจะทำหน้าที่เป็นเพียง ผู้ให้คำแนะนำหรือคอยดูแลให้คำปรึกษา จึงเป็น แนวคิดที่จะสามารถนำมาใช้เสริมในการเรียน การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี 2. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (ConstructivismTheory)เป็นทฤษฎีที่มีรากฐาน มาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพี ยเจต์ (Piaget) เรียกว่า Cognitive Constructivist และ วีก็อตสกี(Vygotsky)ซึ่งเน้นเกี่ยวกับบริบท ทางสังคมเรียกว่า Social Constructivist ซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2544) 2.1 Cognitive Constructivist ซึ่งมี แนวคิดมาจาก Piaget คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้โดยการลงมือกระทำ Piaget เชื่อว่าถ้า ผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) หรือ เกิดการเสียสมดุลทางปัญญา (Disequilibrium) ผู้เรียนต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structuring) ให้เข้าสู่ภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยวิธีการดูดซึมความรู้ (Assimilation)โดยรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อม เข้าไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา และโดยวิธีการ ปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) โดยการเชื่อมโยงโครงสร้างทางปัญญาเดิม หรือ ความรู้เดิมที่มีมาก่อนกับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งผู้เรียนสามารถปรับโครงสร้างทาง ปัญญาเข้าสู่ภาวะสมดุล หรือสามารถที่จะสร้าง ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง 2.2 Social Constructivist เป็นทฤษฎี ที่มีรากฐานมาจาก Vygotsky ซึ่งมีแนวคิดที่ สำคัญที่ว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา รวมทั้งแนวคิด เกี่ยวกับศักยภาพในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 7. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 40 ที่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาที่ เรียกว่าZoneofProximalDevelopmentถ้าผู้เรียน ที่ต่ำกว่า Zone of Proximal Development ก็จำ เป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือในการเรียนรู้ที่ เรียกว่าScaffoldingและVygotskyเชื่อว่าผู้เรียน สร้างความรู้โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กับผู้อื่น ได้แก่ เด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู และเพื่อน ในขณะที่เด็กอยู่ในบริบทของสังคมและ วัฒนธรรม (Social Cultural Context) และ แนวคิดสำคัญ มีดังนี้ 2.2.1 ความรู้ คือ โครงสร้าง ทางปัญญาที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็น ปัญหาและใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา หรืออธิบายสถานการณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ 2.2.2 ครู มีหน้าที่ จัดการให้ นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของ นักเรียนเอง ภายใต้สมมุติฐานดังนี้ 1) สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางปัญญา (Cognitive Conflict) 2) ความขัดแย้งทางปัญญา เป็นแรง จูงใจภายใน ทำให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรอง เพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น 3) การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์ และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ภายใต้การมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้าง โครงสร้างใหม่ทางปัญญาแนวคิดของทฤษฎีนี้ มุ่งเน้นการสร้างมากกว่าการรับความรู้โดยเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของ ผู้เรียน โดยมีผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ (Construct) จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจเดิมที่มีมาก่อนโดยพยายามนำความ เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Conflict) หรือที่เรียกว่า สกีมา (Schema)ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโครงสร้าง ทางปัญญาหรือโครงสร้างของความรู้ในสมอง โครงสร้างทางปัญญานี้จะประกอบด้วยความหมาย ของสิ่งต่างๆที่ใช้ภาษาหรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสิ่งที่แต่ละบุคคล โครงสร้างทางปัญญาของ บุคคลจะมีการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการดูดซึม (Assimilation) ซึ่งเป็นการนำเอาสิ่งแวดล้อม ภายนอกเข้ากับความรู้ใหม่เข้ามาไว้ในโครงสร้าง ทางปัญญา และการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) เป็นการปรับโครงสร้างทาง ปัญญาของตนเองในการรับสิ่งแวดล้อมหรือ ความรู้ใหม่ โดยการเชื่อมกับประสบการณ์เดิม หรือสกีมาของตนเอง เพื่อให้โครงสร้างทาง ปัญญาของแต่ละบุคคลเข้าสู่สภาพสมดุล (Equilibrium) หรือเกิดการเรียนรู้นั้นเอง Henderson (1996) ได้อธิบายว่า ในการสรรค์ สร้างความรู้จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ด้วยกัน คือ จุดมุ่งหมายหรือความต้องการของ ผู้เรียน ความรู้เดิมหรือสิ่งที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน และสาระหรือสิ่งใหม่ที่จะเรียนรู้ ดังนั้นจึง สามารถอธิบายในอีกนัยหนึ่งได้ว่า โครงสร้าง ทางสติปัญญาของผู้เรียน ประกอบไปด้วยโครง สร้างความรู้ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน และขยาย ออกไปได้ โดยอาศัยองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. ความรู้เดิมหรือโครงสร้างความรู้เดิม ที่มีอยู่ 2. ความรู้ใหม่ ได้แก่ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่บุคคล รับเข้าไป 3. กระบวนการทางสติปัญญา เป็น กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการทำความเข้าใจ ความรู้ที่รับมา และใช้ในการเชื่อมโยง และปรับ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 8. 41 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 ความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน จากสองทฤษฎีข้างต้นทำให้ผู้เขียนนำ มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิด โดยก่อนที่จะมีการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะ ต้องมีการศึกษาพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การรับรู้ก่อนเพื่อช่วยในการออกแบบกระบวน การเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ ทักษะการคิด ทักษะการตัดสินใจ การเข้ามามี ส่วนร่วมของผู้เรียนจะส่งผลให้การเรียนรู้เกิดขึ้น ได้ดี มีโอกาสได้รับข้อมูลประสบการณ์ใหม่ๆ และใช้กระบวนการทางสติปัญญาของตน ใน การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และ สร้างความหมายข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง แสดง ดังแผนภาพ ผูเรียน ทฤษฎีพัฒนาการทางดานสติปญญา ทฤษฎีการสรรคสรางความรู การหลอหลอมกลอมเกลา ทางสังคม สภาพแวดลอมภายใน สภาพแวดลอมภายนอก กระบวนการเรียนการสอน, สื่อการเรียน ปฏิสัมพันธ, นิสัยการเรียน, อุปกรณการเรียน ความสนใจ, พฤติกรรมผูเรียน การมีสวนรวม แผนภาพกรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 9. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 42 กรอบแนวความคิดข้างต้น เป็นการเชื่อมโยงให้ เห็นว่า ผู้เรียนที่เป็นศูนย์กลางจะมีประสิทธิภาพ การเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีได้นั้นต้อง มีรากฐานทางการศึกษา อันประกอบไปด้วย กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสื่อการเรียน ที่มีคุณภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หน้าที่หลักของผู้สอนเริ่มจากการทบทวนบทบาท ของผู้สอนในการทำความเข้าใจความแตกต่าง ของแต่ละบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และการปฏิบัติอย่างแท้จริง ปรับบทบาทเดิม จากการเรียนการสอนที่เน้นเนื้อหาเปลี่ยนเป็น การเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิด กระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่ม อย่างไรก็ ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรคคือเรื่องของพฤติกรรม ของผู้เรียน การมีส่วนร่วม ความสนใจ และ ความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอน หาก รากฐานเหล่านี้มีความพร้อมและเข้มแข็งก็จะนำ ไปสู่การหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมที่ดี (Socialization) และต้องมีการประเมินสภาพ แวดล้อมภายใน ได้แก่ สถาบันการศึกษา และ สภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพการเมือง และนโยบายของ รัฐบาลที่ให้การสนับสนุนเรื่องของการศึกษา อย่างต่อเนื่องและองค์ความรู้สูงสุดคือการที่ผู้เรียน มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเหมาะสมกับ อายุ และสามารถที่จะสร้างสรรค์ความรู้ คิด วิเคราะห์เชิงตรรกะ (Logical Analysis) ได้ อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับความเป็นจริง แนวการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัด การเรียนการสอน นอกจากนี้ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2544, 143) ได้กล่าวถึงแนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่าหมายถึง แนวการจัด การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไป ประยุกต์ได้ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน การจัด การเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัด เน้นการบูรณาการ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ให้หลากหลายวิธีสอน หลากหลายแหล่งความรู้ ความสามารถพัฒนา ปัญญาได้หลากหลาย คือพัฒนาพหุปัญญา รวมทั้งใช้วิธีการวัดผลที่หลากหลายวิธี" กระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงมี ลักษณะของการออกแบบให้เหมาะสมและมี ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ซึ่งอาศัยหลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นงานของทิศนา แขมมณี (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2541, 8) ได้เสนอหลักการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีลักษณะดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวน การเรียนรู้ โดยเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้ ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจ สร้างความหมายของ สาระความรู้ให้แก่ตนเองและค้นพบข้อความรู้ นั้นๆ ด้วยตนเอง 2.ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์(Interaction) ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกันได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ความคิดและประสบการณ์ แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3. ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วม (Participation) ในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด 4. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้กระบวนการ (Process) ควบคู่ไปกับผลงาน (Product) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 10. 43 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 5. ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง (Application) คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการศึกษา (2543, 36) ได้กล่าวเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การเรียนรู้ตามแนว พุทธธรรมเน้น คน ทั้งในลักษณะที่เป็น ปัจเจกชน (คือแต่ละคน) และการพัฒนา กลุ่ม คนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เมื่อคนมีความ สำคัญสูงสุดของการเรียนรู้ วิธีการฝึกอบรมจึง เป็นการพัฒนาทุกองค์ประกอบของความเป็น คนในขณะที่ วรภัทร ภู่เจริญ (2543, 107- 108) ได้เสนอแนะหลักการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลางไว้ดังต่อไปนี้ 1. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ติองเหมาะสมกับ ความต้องการของประเทศชาติทั้งในปัจจุบัน และอนาคต 2. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ต้องเหมาะสมกับ ความต้องการของผู้เรียน ทั้งในปัจจุบันและ อนาคต 3. สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ต้องเหมาะสมกับ ศีลธรรม (อย่าให้จิตวิญญาณที่ดีถูกทำลายไป ให้เป็นคนดี) 4. วิธีสอนต้องเหมาะสมกับธรรมชาติ (อย่าฝืนใจตนเองและผู้เรียนถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เหนื่อย ก็หาแนวทางใหม่อย่าระบายอารมณ์กับ ผู้เรียน คุมอารมณ์ให้ได้) 5.ต้องคำนึงถึงความสามารถในการสอน (อย่ามั่ว อย่าโกหก) 6. ต้องคำนึงถึงจังหวะอารมณ์ที่จะสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอน (รู้กาลเทศะ รู้ลักษณะ การเรียนรู้) 7. ต้องคำนึงถึง ความสามารถและ ความสนใจของผู้เรียน 8. หมั่นปลุกเร้าให้อยากเรียนรู้บ่อยๆ (เรียนไปทำไม เรียนแล้วได้อะไร เอาไปใช้ ตอนไหน) 9. หมั่น ตรวจสอบ ความก้าวหน้าใน การเรียนรู้และลักษณะการเรียนรู้ (สอนให้รู้ วิธีเรียน ไม่ใช่ต้องเรียนรู้อะไร) สำหรับ Driver and Bell (1986) ได้ กำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้ 1. ขั้นนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียน บทเรียน 2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of the prior knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดง ออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับ เรื่องที่จะเรียน การให้ผู้เรียนแสดงออก อาจทำ ได้โดยการอภิปรายกลุ่ม การให้ผู้เรียนออก แบบโปสเตอร์ หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อ แสดงความรู้ความเข้าใจทีมีอยู่ผู้เรียนอาจเสนอ ความรู้ด้วยเทคนิคผังกราฟฟิก (Graphic Organizers)ขั้นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) หรือเกิดภาวะไม่สมดุล (Unequilibrium) 3.ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด(Turning restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ หรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้ 3.1 ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกันและกัน (Clarification and exchange of ideas) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อ ได้พิจารณาความแตกต่างและความขัดแย้ง ระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ครูจะ มีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนด ประเด็น กระตุ้นให้คิด ได้แก่ การเรียนรู้ 3.2 สร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas) จากการอภิปรายและการสาธิต ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลาย การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 11. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 44 ในการตีความปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ แล้ว กำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่ 3.3ประเมินความคิดใหม่(Evaluationof the new ideas) โดยการทดลองหรือการคิด อย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดใน การทดสอบความคิดหรือความรู้ ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้า ใจที่เคยมีอยู่ เนื่องจากหลักฐานการทดลอง สนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า 4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application ofideas)เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิด หรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ใน สถานการณ์ต่างๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี ความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้ เรียกว่า เรียนหนังสือไม่ใช่เรียนรู้ 5. ขั้นทบทวน (Review)เป็นขั้นตอน สุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่าความคิดความ เข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบ ความคิดเมื่อเริ่มต้นทบทวนบทเรียนกับความคิด ของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน ความรู้ที่ผู้เรียนสร้าง ด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) ปรากฏในช่วงความจำ ระยะยาว (Long-term Memory) เป็นการเรียน รู้อย่างมีความหมายผู้เรียนสามารถจำได้ถาวร และสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆเพราะ โครงสร้างทางปัญญา คือกรอบของความหมาย หรือแบบแผนที่บุคคลร้างขึ้นใช้เป็นเครื่องมือ ในการตีความหมายให้เหตุผลแก้ปัญหาตลอดจน ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างโครงสร้างทาง ปัญญาใหม่ นอกจากนี้ยังทบทวนเกี่ยวกับ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทบทวนว่าจะนำความรู้ไปใช้ อย่างไรและมีเรื่องใดที่ยังสงสัยอยู่อีกบ้าง จากเอกสารทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เทคนิค การออกแบบ กระบวนการต่างกัน ซึ่งอาจมี ปัจจัยบางอย่างสามารถร่วมกันได้ ทั้งนี้ต้อง พิจารณาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บทพิสูจน์ทางทฤษฎี จากทฤษฎีต่างๆ ข้างต้น สามารถ อธิบายได้ว่า หลักการต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่างมุ่งหวัง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน งานวิจัยหลายเรื่องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาทิ งานวิจัยของเผด็จ อุทุมสกุลรัตน์ (2545) ได้ ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาการดำเนินการใน การจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1 ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่โรงเรียน ส่วนใหญ่ดำเนินการได้เหมาะสมแล้ว คือ การกำหนดนโยบายการจัดทำแผนงาน/โครงการ การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากร การจัด ระบบนิเทศภายในโรงเรียน ส่วนสิ่งที่โรงเรียน ควรจัดให้มีหรือปรับปรุงแก้ไข คือ งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี จำนวนผู้เรียน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดย งานวิจัยฉบับนี้ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับเรื่อง การกำหนดนโยบาย ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า ใน การจัดทำนโยบายการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย ควรพิจารณาปัญหาการเรียน การสอนให้เข้าใจ อย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะกำหนดออกมาในรูป ของนโยบายที่ผ่านการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ปฏิบัติและประเมินผลเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปสู่ กระบวนการแก้ไขอย่างถูกต้อง สำหรับงานวิจัย ของบันเทิง จันทร์นิเวศน์ (2547) ได้ทำการ วิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 12. 45 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านการเตรียมการสอน ครูมีแผนการสอนที่เป็นปัจจุบัน มีการผสม ผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วน ด้านการ จัดกิจกรรมการสอน ครูมีการนำเข้าสู่บทเรียน และให้ผู้เรียนสอบถามปัญหา และข้อสงสัยได้ ตลอดเวลา มีการชมเชยผู้เรียนที่มีผลงานดีและ ให้กำลังใจผลงานที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ด้าน การประเมินผล ครูมีการประเมินผลผู้เรียนตาม สภาพจริงเป็นรายบุคคลและได้นำผลการประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาการสอน ปัญหาในการจัด การศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ ประกอบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการนำเข้า สู่บทเรียนไม่น่าสนใจ การจัดกิจกรรมการสอน ไม่เป็นไปตามแผน ผู้เรียนขาดความสนใจใน ช่วงใกล้หมดเวลาเรียน ครูไม่สามารถประเมิน ผลควบคู่ไปกับการสอน เป็นงานวิจัยที่ให้ผล การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของผู้เรียนมากขึ้น จึง อาจมองภาพรวมได้ว่าการเรียนการสอนที่ดียัง คงมีปัจจัยหลายประการที่เข้ามาเกี่ยวข้องและ ยังมีตัวแปรซ้อนที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ ล่วงหน้าเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้งานวิจัยของ สถาพร ดียิ่ง (2548) ได้ทำการวิจัยเรื่องผล ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือสำหรับ นักศึกษาครู ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดย วิธีการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษาครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน การทำงานกลุ่มก่อนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์ กลางโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ มีผลทำให้ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ สามารถในการทำงานกลุ่มหลังเรียนสูงขึ้นกว่า ก่อนเรียน แต่การจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยวิธีการเรียนแบบ ร่วมมือ มีผลทำให้นักศึกษาครูมีความรับผิดชอบ ก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน 2. การจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษา ครูมีความสามารถทางการสอนและความพึงพอใจ ต่อการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนด 3. นักศึกษาครูที่มีระดับเจตคติต่อ วิชาชีพครูแตกต่างกัน (ระดับ ปานกลางและ ระดับสูง) มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการทำงานกลุ่มและความ รับผิดชอบก่อนเรียนไม่แตกต่างกันและหลังเรียน ก็ไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษาครูที่มีระดับเจตคติ ต่อวิชาชีพครูแตกต่างกัน (ระดับปานกลาง และ ระดับสูง) มีความสามารถทางการสอนและ ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนหลังเรียนไม่ แตกต่างกัน และจากการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ คำสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่ามีงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจำนวน 3 เล่ม ที่มุ่งเน้นปัญหาการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมีประเด็นที่สำคัญ คือครู/ผู้สอนเช่นงานวิจัยของสมจิตร์กลิ่นน้อย (2546) เรื่อง ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูธุรกิจ สังกัดกรม สามัญศึกษาจังหวัดเพชรบุรีงานวิจัยของลางสาด พุ่มดอกไม้ (2546) เรืองปัญหาการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูประถมศึกษาโรงเรียน เอกชนจังหวัดเพชรบุรีและงานวิจัยของประเสริฐ ลีอำนนต์กุล(2546)เรื่องการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์วิทยาลัย พณิชยการเชตุพน และวิทยาลัยอาชีวศึกษา การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 13. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 46 เอี่ยมลออ โดยผลการวิจัยทั้ง 3 เล่มได้เสนอ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญว่ามีสาเหตุมาจากการเตรียมการสอน/สื่อ การเรียนการสอนของผู้สอนการวัดและการและ การประเมินผลของผู้สอน และปัญหาสำคัญที่น่า สนใจคือ ผู้สอนยังไม่เข้าใจความหมาย/แนวคิด ของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำ ให้การเรียนการสอนเป็นแบบบรรยาย เน้น การถ่ายทอดความรู้ เน้นเนื้อหาการสอน และ ใช้คะแนนเป็นเกณฑ์การตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการเรียนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. จากการศึกษางานวิจัย 6 เล่มข้างต้น พบว่า ปัญหาที่สำคัญ คือ กระบวนการติดตาม ประเมินผล การดำเนินการวัดและประเมิน การเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะต้องมีความสอดคล้องกับ บทบัญญัติพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 โดยผู้เขียนมีความเห็นว่าการประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างมีแบบแผนที่มีกระบวนการวิเคราะห์ลำดับ ความสำคัญของกิจกรรมก่อนหลังกำหนดเป้าหมาย หลักของการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการคิด/ กระบวนการกลุ่ม (Group Process) และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์(Attribute)ของผู้เรียน รวมทั้งสร้างแบบวัดเพื่อประเมินผู้เรียนให้ครอบ คลุมทั้งด้านทักษะเก่งคิด ทักษะเก่งปฏิบัติ และ ทักษะเชิงเทคนิค โดยเป็นการประเมินแบบภาพ รวม(ComprehensiveEvaluation)และพิจารณา บริบทสภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อม ภายนอกอย่างรอบด้านรวมทั้งการประเมิน ปัจจัยนำเข้า อันได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหาร 4 M (Man, Money, Material, Management) ที่ มีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน และผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน สำหรับกระบวนการประเมินควร ครอบคลุม ด้านพุทธพิสัย(CognitiveDomain) ตามแนวความคิดของ Benjamin Bloom (อ้างถึง ใน พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข, ม.ป.ป.) ได้แบ่งระดับเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้แบบมีเหตุผล ต่อมาควร ทำการประเมินด้านจิตพิสัย(AffectiveDomain) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เริ่มตั้งแต่ การรับรู้ หรือเอาใจใส่ การตอบสนอง การเห็นคุณค่า การจัดระบบหรือการสร้างความเชื่อและ การสร้าง นิสัยหรือค่านิยมเพื่อวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้เรียน ตามหลักการที่ว่า นอกจากผู้เรียน จะเป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนดีด้วย และด้าน ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ได้แก่ การกระทำเลียนแบบ การกระทำตามแบบ การกระทำตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนด และการ กระทำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพิจารณาทักษะการ ปฏิบัติ ความคล่องแคล่ว และการตัดสินใจ 2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะต้องทำการประเมินผล อย่างต่อเนื่อง และสมํ่าเสมอเพื่อนำผลที่ได้ (Feed Back) กลับมาปรับปรุง เพื่อให้ผู้เรียน ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ร่วมกัน 3. รูปแบบการเรียนการสอนต้อง พยายามปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งสถานการณ์ ดังกล่าวจะต้องมีการบูรณาการองค์ความรู้แบบ สหวิทยาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พฤติกรรม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 14. 47 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 ศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ข้อเสนอแนะการนำไปปฏิบัติ ด้านผู้สอน 1. ผู้สอนควรมีการเตรียมการสอน/สื่อ การเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และควรมีการ สังเกตผู้เรียนเพื่อวิเคราะห์ความสามารถ และ พยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย ตนเองด้วย 2. ผู้สอนควรปรับกระบวนการเรียน การสอนและพยายามให้ผู้เรียนกระตุ้นการใช้ ความคิด การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ไม่ควร เน้นเนื้อหาและบรรยายมากเกินไป ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 1.ควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อ สื่อการเรียนรู้วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็น ให้เพียงพอต่อผู้เรียน 2. ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอน แบบกลุ่ม (group learning) บทสรุป องค์ประกอบสำคัญของระบบการศึกษา ประกอบด้วยปรัชญาการศึกษาหลักสูตรการสอน การประเมิน และการวิจัย โดยการสอนนั้นเป็น กระบวนการที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยมีเงื่อนไข ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประเทศและสถาบัน รวมถึงการสอนเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์ อาศัยการฝึก การสะสม ประสบการณ์ และการพัฒนาแก้ไขปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญเป็นการเน้นให้ learning how to learn, learn to do, learning to be, learning to know และ learning to live together ที่อาศัย แหล่งการเรียนรู้หลากหลายทั้งภายในและภายนอก การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็น แนวคิดที่มีการกล่าวถึงอย่างมาก แต่อย่างไรก็ ตามแนวคิดดังกล่าวก็สามารถใช้ได้จริงกับบางกลุ่ม บางสถานศึกษาเท่านั้น สืบเนื่องมาจากการเรียน ที่ไม่ได้ยึดหลักของการวิเคราะห์ความแตกต่าง ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่มีความพร้อมผ่านกระบวนการหล่อหลอม กล่อมเกลาทางสังคม และผนวกเอาทฤษฎี พัฒนาการต่างๆ ในการปรับสมดุลให้เกิดขึ้นทั้ง ผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้นการเรียนจะไม่ใช่เรื่องที่ น่าเบื่อและเน้นไปที่การท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น แต่ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถคิด วิเคราะห์เชิงตรรกะได้อย่างแท้จริง การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 15. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 48 เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รายงานการประชุมบทบาทนักวิจัยในโครงการ โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษา (ร่าง). (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. บันเทิง จันทร์นิเวศน์. (2547). สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาโดยเน้นนักเรียนเป็น สำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล. (2546). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมลออ. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เผด็จ อุทุมสกุลรัตน์. (2542). การศึกษาการดำเนินการในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1. ม.ป.ท. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). แนวคิดและตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญสู่แผนการสอน การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดวิธี และ เทคนิคการสอน 1. ในพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : บริษัทเดอร์ มาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (ม.ป.ป.). กระบวนการออกแบบย้อนกลับ การ พัฒนา หลักสูตรและออกแบบการสอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. ลางสาด พุ่มดอกไม้. (2546). ปัญหาการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูประถมศึกษา โรงเรียนเอกชน จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วรภัทร ภู่เจริญ. (2543). การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). วิชัย วงศ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์นจัดพิมพ์. วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ. วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : แอล ทีเพรส. สถาพร ดียิ่ง. (2548). ผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยวิธีการ เรียนแบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาครู. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (วิทยาศาสตรศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี
  • 16. 49 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. -เม.ย. 2554 สมจิตร์ กลิ่นน้อย. (2546). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู ธุรกิจสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา) บัณทิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุมาลี ชัยเจริญ. (2544). แนวโน้มของการวิจัยสื่อทางปัญญา. ขอนแก่น : ภาควิชาเทคโนโลยี การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Driver, R. and Bell, B. (1986). Students' thinking and the learning of science : A constructivist view. School Science Review, 67, 443-456. Henderson. (1960). ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นได้จาก http://www.sobkroo.com/ detial_room_main3.php?nid=1050. [เข้าถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2553]. Ovando, M.N. (1994). Constructive feedback: A Key to successful teaching and learning. International Journal of Educational Management, 8(6), 19-22. Piaget, J. (1964). Development and learning, Dans: Piaget rediscovered: A report of the Conference on cognitive studies and curriculum development. Ithaca (NY), Cornell University Press, 7-20. Tunstall,P. and Gipps, C. (1996). Teacher feedback to young children in formative assessment : A typology. British Educational Research Journal, 22 (4), 389 - 404. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : บทพิสูจน์ทาง ทฤษฎี