SlideShare a Scribd company logo
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                    วิชาภาษาไทย     ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                     หน้าที่ 1
      ใบความรู้ เรื่อ ง    หลัก การแต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์
หลัก การแต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์
            นักเรียนได้เรียนรู้การแต่งคำาประพันธ์กาพย์ กลอน โคลง
และร่ายมาแล้วในชั้นก่อนในชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การแต่งคำา
ประพันธ์ประเภทฉันท์ซึ่งเป็นคำาประพันธ์ที่แต่งยาก และอ่านยากกว่าคำา
ประพนธ์ทุกชนิด เพราะฉันท์มีข้อบังคับเรื่องคำาครุลหุเพิ่มขึ้นและคำาที่ใช้
ในการแต่งฉันท์นั้นส่วนใหญ่เป็นคำาที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต
เพราะคำาไทยหาคำาลหุที่มีความหมายได้ยาก
       การศึกษาให้เข้าใจรูปแบบและลักษณะบังคับของฉันท์ จะช่วยให้
ผู้อ่านเข้าใจคำาประพันธ์ประเภทฉันท์ สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง
และเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความรู้เรื่องฉันท์ที่จะกล่าวถึงต่อ
ไปในบทนี้ มีจดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะบังคับหรือฉันท์
                ุ
ของฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่ง และปรากฏอยู่ในวรรณคดีประเภทคำาฉันท์
ของไทย เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการแต่งฉันท์ และใน
การอ่านวรรณคดีไทยให้เข้าใจยิ่งขึ้น
ความหมายของฉัน ท์
             ฉันท์ หมายถึง คำาประพันธ์ชนิดหนึ่งของไทยที่มีข้อบังคับ
เรื่อง ครุ ลหุ เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากเรื่องคณะและสัมผัสซึ่งเป็นข้อ
บังคับในคำาประพันธ์ชนิดอื่น

คำา ครุแ ละคำา ลหุ
      ครุ              คำาเสียงหนัก มีลักษณะดังนี้
          - พยางค์ที่มีตัวสะกด
          - พยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมด้วนสระเสียงยาว
          - พยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำา ไอ ใอ เอา
      ลหุ        คำาเสียงเบา มีลักษณะดังนี้
          - พยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมด้วนสระเสียงสั้น

ที่ม าของฉัน ท์
      ไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตำาราฉันทศาสตร์ว่าด้วยการแต่ง
ฉันท์ คือ คัมภีร์วุตโตทัย และคัมภีร์สุโพธาลังการ จากพระไตรปิฎก
      คัมภีร์วุตโตทัย กล่าวว่าฉันท์มี 108 ชนิด แบ่งเป็น 2 พวก
คือ
      1.ฉันท์วรรณพฤติ
      2.ฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์วรรณพฤติกำาหนดคณะของฉันท์ 8 คณะ
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                     วิชาภาษาไทย   ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                      หน้าที่ 2
     คณะของฉัน ท์ คณะ หมายถึง ลักษณะการเรียงของเสียงครุ
     และลหุ กลุ่มละ 3 เสียง เป็น 1 คณะ
มี 8    คณะ คือ
        - มะ                         - ชะ
        - นะ                         - ระ
        - ภะ                         - สะ
        - ยะ                         - ตะ
ประเภทของฉัน ท์
            ฉันท์มากมายหลายชนิด การแบ่งชนิดของฉันท์ตาม
ฉันทลักษณ์ให้สะดวกแก่การศึกษาอาจแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
      ประเภทที่ ๑ ฉัน ท์ ๑๑ ฉัน ท์ ๑๒ และฉัน ท์ ๑๔ ฉันท์ประเภทนี้แบ่ง
เป็น ๒ บาท มีสัมผัสเหมือนกัน แต่ลักษณะการอ่านแตกต่างกันตามตำาแหน่ง
คำาครุ ลหุ มีสัมผัสบังคับ คือ สัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบท คือ คำา
สุดท้ายของบทเอก ( บาทที่หนึ่ง) ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายในวรรคแรกของ
บาทโท ( บาทที่สอง) ถ้ามากกว่าหนึ่งบท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำา
สุดท้ายของบทแรกจะต้องส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของบาทเอกในบทต่อไป
ส่วนสัมผัสที่เป็นเส้นประในแผนผัง เป็นสัมผัสระหว่างวรรคแรกส่งสัมผัสไป
ยังคำาที่สามของวรรคที่สองในบาทเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ บางบทจะมี
สัมผัสดังกล่าว แต่บางบทก็ไม่มี
     ฉัน ท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุ ลหุ บาทละ ๑๑ คำา
เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ อุเปนทรวิเชียรฉันท์  อุปชาติฉันท์ สาลินีฉันท์
     ๑ อินทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




                      พวกราชมัลโดย           พลโบยมิใช่เบา
               สุดหัตถแห่งเขา                ขณะหวดสิพึงกลัว
                      บงเนื้อก็เนื้อเต้น     พิศเส้นสรีร์รัว
               ทั่วร่างและทั้งตัว            ก็ระริกระริวรัว
                                                   ( สามัคคีเภทคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                 วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                  หน้าที่ 3
     อินทรวิเชียรฉันท์บทหนึ่งมีสองบทบาท บาทที่หนึ่งมีสองวรรค วรรค
แรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๖ คำา รวมบทที่มี ๒๒ คำา
     ๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้




                    พระราชบุตรลิจ              ฉวิมิตรจิตเมิน
               ณ กันและกันเหิน                 คณะห่างก็ต่างถือ
                    ทะนงชนกตน                  พลล้นเถลิงลือ
               ก็หาญกระเหิมฮือ                 มนฮึก บ นึกขาม
ข้อสังเกต
      อุเปนทรวิเชียรฉันท์ มีคณะเหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ ต่างกันที่
ตำาแหน่งคำาต้นบาทของอุเปนทรวิเชียรฉันท์เป็นคำาลหุ แต่อินทรวิเชียรฉันท์
เป็นคำาครุ
      ๓. อุปชาติฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่แต่งประสมกันระหว่างอุเปนทรวิ
เชียรฉันท์กับอินทรวิเชียรฉันท์ ในการแต่งจึงต้องอย่างน้อยสองบท เพราะ
กำาหนดให้บาทที่หนึ่งของบทแรก กับบทที่สองเป็นอุเปนทรวิเชียร และให้
บาทที่สองของบทแรกกับบทที่สองเป็นอินทรวิเชียรฉันท์ ตามแผนผังและ
ตัวอย่าง ดังนี้




                                                          สดับ
          ประกาศิต       ระบุกิจวโรงการ
              จึงราชสมภาร               พจนารถประภาษไป
                   เราคิดจะใคร่ยก       พยุห์พลสกลไกร
              ประชุมประชิดชัย           รณรัฐวัชชี
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                   วิชาภาษาไทย   ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                    หน้าที่ 4
ข้อสังเกต
       อุปชาติฉันท์มีคณะเหมือนอุเปนทรวิเชียรฉันท์ในบาทที่ ๑ และ
อินทรวิเชียรฉันท์ในบาทที่ ๔
๔. สาลินีฉันท์ เป็นฉันท์ที่มีครุมาก มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง
ดังนี้




                       พราหมณ์ครูรู้สังเกต      ตระหนักเหตุถนัดครัน
                ราชาวัชชีสรร                    พจักสู่พินาศสม
                       ยินดีบัดนี้กิจ           จะสัมฤทธิ์มนารมณ์
                เริ่มมาด้วยปรากรม               และอุตสาหแห่งตน
                                                     ( สามัคคีเภทฉันท์)
ข้อสังเกต
      สาลินีฉันท์บทหนึ่งมีสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำา
วรรคหลังมี ๖ คำา เหมือนกับอินทรวิเชียรฉันท์ ต่างกันเพียงตำาแหน่งคำาครุ
ลหุ วรรคแรกเป็นครุล้วน
      ฉัน ท์ ๑๒ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุ ลหุบาทละ ๑๒ คำา
      ขอให้นักเรียนสังเกตอินทรวงศ์ฉันท์ และวังสัฏฐฉันท์ ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายกับอินทรวิเชียรฉันท์ และอุเปนทรวิเชียร แต่บาทที่ ๒ และบาทที่ ๔ มี
ตำาแหน่งคำาครุ ลหุ ต่างกัน
      ๑. อินทรวงศ์ฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้




                     โอ้ว่าอนาถใจ         ละไฉนนะเป็นฉนี้
                แต่ไรก็ไม่มี          มะนะนึกระเหระหน
                     ไม่เคยจะเชื่อว่า     รตินั้นจะสัประดน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                วิชาภาษาไทย   ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                 หน้าที่ 5
               มาสู่ ณ ใจตน             และจะต้องระทมระทวย
                                            ( มัทนะพาธา)
ข้อสังเกต
      อินทรวงศ์ฉันท์ บทหนึ่งมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสอง
วรรค วรรคแรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๗ คำา
      ๒. วังสัฏฐฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผัง และตัวอย่างต่อไปนี้




      ประชุมกษัตริย์รา          ชสภาสดับคะนึง
                 คะเนณทุกข์รึง                 อุระอัดประหวัดประวิง
                       ประกอบระกำาพา     หิรกายน่าจะจริง
                 มิใช่จะแอบอิง                 กลอำากระทำาอุบาย
                                               (สามัคคีเภทคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
      วัสัฏฐฉันท์ บทหนึ่งมีสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำา
วรรคหลังมี ๗ คำา ตำาแหน่งคำาครุลหุและจำานวนคำาของฉันท์นี้คล้ายกับ
อินทรวงศ์ฉันท์ ต่างกันตรงที่คำาแรกในวรรคหน้าของอิรนทรฉันท์เป็นครุ
แต่วังสัฏฐฉันท์เป็นคำาลหุ
      ๓. กมลฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




          อิลโอนศิโรเพฐน์     พจขอมาภัย
               ศิวะทรงพิโรธใน     ธ กระทำากระลำาพร
                    บมิทรงประสาทโทษ อิลโอดสำาออยวอน
               วรองค์อุมาอร            อนุกูลกำาลูนครัน
                                       ( อิลราชาคำาฉันท์)
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                 วิชาภาษาไทย     ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                  หน้าที่ 6
ข้อสังเกต
       กมลฉันท์บทหนึ่งมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสอง วรรค
หนึ่งมี ๖ คำา การวางตำาแหน่งครุลหุคล้ายอุเปนอินทรวิเชียรฉันท์ เพียงแต่
เพิ่มคำาลหุหน้าวรรคแรกอีกหนึ่งคำา

     ๔. โตฎกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




                                                                ศิวะแป
ลงวรรูป         วิยหญิงยุวดี
          พระอุมาพระก็มี             สุมนัสนิยม
          ดรุสัตว์บริเวณ             พะพระเวทอุดม
          สละเพศพิศสม                ศิวะเพศพระจำาแลง
                                           ( อิลราชาคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
      โตฎกฉันท์หนึ่งบทมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค
วรรคละหกคำาเหมือนกมลฉันท์ ต่างกันที่ตำาแหน่ง ครุ ลหุ
      ๕. ภุชงคประยาตฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้




               ชะโดดุกกระดี่โดด         สลาดโลดยะหยอยหยอย
          กระเพื่อมนำ้าพะพรำ่าพรอย               กระฉอกฉานกระฉ่อนชล
               กระสร้อยซ่าสวายชิว       ระรี่ริ้วละวาดวน
          ประมวลมัจฉะแปมปน              ประหลาดเหลือจะรำาพัน
                                        ( อิลราชาคำาฉันท์)
ข้อสังเกต ภุชงคประยาตฉันท์บทหนึ่งมี ๒๔คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่ง
มีสองวรรค วรรคละหกคำา
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                  วิชาภาษาไทย   ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                   หน้าที่ 7
     ฉัน ท์ ๑๔ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุลหุบาทละ ๑๔ คำา ฉันท์
๑๔ ที่กวีไทยนิยมแต่ง คือ วสันตดิลกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและ
ตัวอย่าง ดังนี้




                     เรืองรองพระมนทิรพิจิตร           กลพิศพิมานบน
                     ก่องแก้วและกาญจนระคน รุจิเรขอลงกรณ์
                     ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด       ดลฟากทิฆัมพร
                     บราลีพิไลพิศบวร             นภศูลสล้างลอย
                                           ( อิลราชาคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
       วสันตดิลกฉันท์ บทหนึ่งมี ๒๘ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งสอง
วรรค วรรคแรกมี ๘ คำา วรรคหลังมี ๖ คำา
       ประเภทที่ ๒ ฉัน ท์ ๘ ฉันท์ประเภทนี้ บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี
๘ คำา แบ่งเป็น ๒ วรรค มีสัมผัสบังคับแบบเดียวกัน คือ คำาสุดท้ายของวรรค
ที่สองส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สาม คำาสุดท้ายของวรรคที่สี่ ส่ง
สัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่หก คำาสุดท้ายของวรรคที่หกส่งสัมผัสไป
ยังคำาสุดท้ายของวรรคที่เจ็ด ถ้าแต่งมากกว่าหนึ่งบทจะต้องมีสัมผัสระหว่าง
บท คือ คำาสุดท้ายของบทต้น ( คำาสุดท้ายของวรรคที่แปด) จะต้องส่ง
สัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สี่ในบทถนัดไป
            ตัวอย่างฉันท์ ๘ เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ จิตรปทา
ฉันท์
            ๑. วิชชุมมาลาฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง
ดังนี้
                    แรกทางกลางเถื่อน         ห่างเพื่อนหาผู้
            หนึ่งใดนึกดู                     เห็นใครไป่มี
            หลายวันถั่นล่วง                  เมืองหลวงธานี
            นามเวสาลี                  ดุ่มเดาเข้าไป
                    ผูกไมตรีจิต              เชิงชิดชอบเชื่อง
            กับหมู่ชาวเมือง                  ฉันอัชฌาลัย
            เล่าเรื่องเคืองขุ่น              ว้าวุ่นวายใจ
            จำาเป็นมาใน                      ด้าวต่างแดนตน
                                             ( สามัคคีเภทคำาฉันท์)
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                 วิชาภาษาไทย       ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                  หน้าที่ 8
ข้อสังเกต
      วิชชุมมาลาฉันท์บทหนึ่งมีสี่บาท รวมแปดวรรค บาทหนึ่งมีสองวรรค
วรรคละ ๔ คำาแต่ละวรรคใช้คำาครุล้วน
      หากเปรียบเทียบระหว่างวิชชุมมาลาฉันท์กับกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
จะพบว่ามีลักษณะบังคับที่คล้ายคลึงกันมาก ทั้งในเรื่องจำานวนคำาในแต่ละ
วรรคซึ่งมีสี่คำาเท่ากัน และในเรื่องสัมผัสบังคับ ต่างกันเพียงวิชชุมมาลา
ฉันท์มีจำานวนคำามากกว่ากาพย์สุรางคนางค์อยู่หนึ่งวรรค และทุกคำาในวิชชุ
มมาลาฉันท์ เป็นคำาครุล้วน แต่กาพย์สุรางคนางค์ไม่บังคับครุลหุ
      2. มาณวกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




               อย่าติและหลู่         ครูจะเฉลย
          เธอน่ะเสวย           ภัตกะอะไร
          ในทินนี่                   ดีฤไฉน
          พอหฤทัย              ยิ่งละกระมัง
               ราช ธ ก็เล่า          เค้า ณ ประโยค
          ตนบริโภค             แล้วขณะหลัง
          วาทประเทือง                เรื่องสิประทัง
          อาคมยัง                    สิกขสภา
                                     ( สามัมคีเภทคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
      มาณวกฉันท์มีจำานวนคำาในแต่ละบท แต่ละบาท และแต่ละวรรคเหมือน
คณะของวิชชุมมาลาฉันท์ ต่างกันแต่มาณวกฉันท์กำาหนดคำาลหุอยู่กลางสอง
คำา จึงทำาให้มีจังหวะเร็วกว่าวิชชุมมาลาฉันท์

     ๓. จิตรปทาฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                  วิชาภาษาไทย       ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                   หน้าที่ 9




                 นาครธา                อลเวงไป
          เห็นริปุมี            พลมากมาย
          ข้ามดิรชล             ก็ลุพ้นหมาย
          มุ่งจะทลาย            พระนครตน
                 ต่างก็ตระหนก          มนอกเต้น
          ตื่นบมิเว้น           ตะละผู้คน
          ทั่วบุรคา             มจลาจล
          เสียงอลวน             อลเวงไม
                                       (สามัคคีเภทคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
       จิตรปทาฉันท์ต่างจากมาณวกฉันท์ตรงที่กำาหนดตำาแหน่งคำาลหุใน
วรรคหลังให้อยู่หน้าทั้งสองคำา แล้วตามด้วยคำาครุสองคำา
       ประเภทที่ ๓ ฉัน ท์ป ระเภท ๓ วรรค ฉันท์ประเภทนี้บทหนึ่ง
แบ่งเป็น ๓ วรรค ใช้สัมผัสแบบเดียวกัน คือ คำาสุดท้ายของวรรคแรก
ส่งสัมผัสไปย้งคำาสุดท้ายของวรรคที่สอง คำาสุดท้ายของวรรคที่สาม (คำา
สุดท้ายของบท) ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคในบทต่อไป ลักษณะ
สัมผัสคล้ายกาพย์ฉบัง ๑๖
       ตัวอย่างฉันท์ประเภทนี้ เช่น มาลินีฉันท์ ๑๕ ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์
๑๙ อีทิสังฉันท์ ๒๐
            ๑. มาลินีฉันท์ ๑๕ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง
ดังนี้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                 วิชาภาษาไทย     ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                  หน้าที่ 10
          มธุรพจนรำาพัน        พื้นพิเศษสรรพ์        สถาพร
          มธุรพจนสารสอน        เชิญวิมลสมร           บำารุงองค์
ข้อสังเกต
       มาลินีฉันท์บทหนึ่ง มี ๑๕ คำา วรรคที่หนึ่งมี ๘ คำา วรรคที่สองมี
๔ คำา วรรคที่สามมี ๓ คำา
       ๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง
ดังนี้




               ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ
          ยอดศาสตาจารย์                       มุนี
               อีกคุณสุนทรธรรมคัมภีรวิธี
          พุทธพจน์ประชุมตรี                   ปิฏก
                                         (สามัคคีเภทคำาฉันท์)
ข้อสังเกต
      ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์บทหนี่งมี ๑๙ คำา วรรคแรกมี ๑๒ คำา วรรคที่
สองมี ๕ คำา วรรคที่สามมี ๒ คำา
      ๓. อีทิสังฉันท์ ๒๐ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




               เอออุเหม่นะมึงซิช่างกระไร
          ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน                     ก็มาเป็น
               ศึก บ ถึงและมึงก็ยังมิเห็น
          จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น                ประการใด
                                                (สามัคคีเภทคำาฉันท์)
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                      วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                       หน้าที่ 11
ข้อสังเกต
      อีทิสังฉันท์บทหนึ่งมี ๒๐ คำา วรรคแรกมี ๙ คำา วรรคที่สองมี ๘
คำา และวรรคที่สามมี ๓ คำา
นอกจากนี้ ยังมีฉันท์ที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทดังกล่าวได้ เช่น
        ๔.สัทธราฉันท์ ๒๑ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้




             ฟั่นเฟือนเลือนลืมเพราะอารมณ์           วิปริตกระอุกรม
     เดือดบได้สม                              ประฤาดี
             อย่างทรงเศร้าโศกพิโยคมี                ทุมนสบมิดี
     สำ่าสุเมธี                               ติเตียนนัก
                                                          (อิลราชคำาฉันท์)
      ข้อสังเกต
            สัทธราฉันท์บทหนึ่ง มี ๒๑ คำา แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคแรกและ
วรรคที่สองมีวรรคละ ๗ คำา วรรคที่สามมี ๔ คำา วรรคที่สี่มี ๓ คำา คำา
สุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สอง และคำา
สุดท้ายของวรรคที่สองส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สาม คำาสุดท้าย
ของวรรคที่สี่ในบทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคแรกในบทถัดไป
      การเลือ กใช้ฉ ัน ท์ใ ห้เ หมาะสมกับ เนื้อ ความ
            เนื่องจากฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาไม่เหมือนกัน กวีจึงนิยมเลือกฉันท์
ให้เหมาะสมกับเนื้อความที่ต้องการแต่ง ดังนี้
      ๑. บทไว้ครู บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทสรรเสริญพระเกียรติ ที่
ต้องการให้มีความขลัง นิยมใช้ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์
      ๒. บทพรรณนา บทชม หรือบทครำ่าครวญ เช่น พรรณนาความงาม
ธรรมชาติ พรรณนาความงามของบ้านเมือง ชมความงามของผู้หญิง
พรรณนาความรักและความเศร้าโศก เป็นต้น นิยมใช้วสันตดิลกฉันท์ หรือ
อินทรวิเชียรฉันท์
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                     วิชาภาษาไทย     ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                      หน้าที่ 12
       ๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น และวิตกกังวล
เป็นต้น หรือบรรยายเกี่ยวกับความรักที่เน้นอารมณ์สะเทือนใจ นิยมใช้
อีทิสังฉันท์ เพราะฉันท์นี้มีเสียงหนักเบาสลับกันทำาให้แสดงอารมณ์ได้ดี
       ๔. บทพรรณนา หรือบรรยายความที่น่าตื่นเต้นประทับใจ แสดง
ความร่าเริง สนุกสนานรวดเร็ว นิยมใช้ภุชงคประยาตฉันท์ โตฎกฉันท์
หรือมาณวกฉันท์
       ๕. บทบรรยายความที่เป็นไปอย่างเรียบ ๆ นิยมใช้อุเปนทรวิเชียร
ฉันท์ อินทวงค์ฉันท์             วังลัฏฐฉันท์ อุปชาติฉันท์
       ๖. บทบรรยายเรื่องที่มีลักษณะสับสนต่อเนื่องกัน นิยมใช้มาลีนีฉันท์
ซึ่งมีลหุในวรรคแรกถึงหกพยางค์ มีลีลาจังหวะเร็วและช้าลงในตอนท้าย
แต่ฉันท์นี้แต่งยาก จึงใช้กับบทบรรยายที่ไม่ยาวนัก
       ความนิยมในการเลือกใช้ฉันท์แต่งให้เหมาะสมกับเนื้อความที่กล่าวมา
นี้ มิได้เป็นข้อกำาหนดตายตัวเป็นเพียงข้อสังเกต สำาหรับใช้เป็นแนวทางใน
การพิจารณาเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะกับเนื้อความเท่านั้น
       การอ่า นฉัน ท์
             เนื่องจากฉันท์เป็นคำาประพันธ์ที่บังคับครุลหุ การอ่านฉันท์จึงต้อง
อ่านให้ถูกต้องตามตำาแหน่งคำาครุลหุ และลีลาจังหวะของฉันท์แต่ละชนิด
คำาบางคำาที่ปกติอ่านออกเสียงเป็นครุ เช่น คำาว่า สุข (สุก) อาจจะออกเสีย
บงเป็นลหุสองพยางค์ว่า สุ-ขะ หรือออกเสียงว่า สุก-ขะ เมื่อบังคับให้อ่าน
เป็นครุเรียงกัน ดังตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ในสามัคคีเภทคำาฉันท์ต่อ
ไปนี้
                        แว่นแคว้นมคธนครรา             ชคฤห์ฐานบุรี
                        สืบราชวัตรวิธทวี        ทศธรรมจรรยา




         การอ่านวสันตดิลกฉันท์บทนี้ต้องออกเสียงอ่านตามตำาแหน่งครุ ลหุ
ดังนี้
      แว่น แคว้น / มะ คด / ทะ นะ คะ รา                   ชะ ครึ ถา
/ นะ บู รี
      สืบ ราด / ชะ / วัด / วิ ทะ ทะวี                ทะ สะ ทัน / มะ
จัน ยา
      ในการอ่านฉันท์นั้น นอกจากต้องออกเสียงครุลหุให้ถูกต้องตาม
แผนผังคับของฉันท์แต่ละประเภทแล้ว ต้องเว้นจังหวะตอนในการอ่านให้ถูก
ต้องด้วย โดยมีช่วงหยุดเล็กน้อยข้างหลังคำาที่ลงจังหวะ และจะต้องลง
จังหวะที่คำาครุเสมอไป การแบ่งจังหวะในการอ่านฉัท์ประเภทต่าง ๆ ขอให้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                   วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                    หน้าที่ 13
นักเรียนศึกษาจากแผนผังของฉันท์กแต่ละชนิด ซึ่งได้แสดงไว้แล้วอย่าง
ชัดเจน
      ถ้านักเรียนได้อ่านออกเสียงฉันท์แต่ละชนิดหลาย ๆ ครั้ง แล้วฟัง
จังหวะด้วยตนเอง ก็จะทราบได้ว่าฉันท์แต่ละชนิดมีจังหวะอย่างไร ควรจะ
เน้นเสียง ทอดเสียงในการอ่านอย่างไร จึงจะฟังไพเราะ แม้จะไม่ได้อ่าน
เป็นทำานองเสนาะก็ตาม ผู้อ่านก็จะจำาลักษณะบังคับครุลหุให้ได้จึงจะอ่านได้
ถูกต้องตามลักษณะบังคับของฉันท์แต่ละชนิด

      การฝึก แต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์
            แม้ว่าฉันท์จะเป็นคำาประพันธ์ที่แต่งยาก แต่หากนักเรียนได้ฝึก
แต่ง นักเรียนจะพบว่าการแต่งฉันท์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ทั้งยังเกิดความ
สนุกสนานในการเลือกสรรถ้วยคำามาให้ตรงตำาแหน่งครุ ลหุ ของฉันท์ ใน
การฝึกแต่งฉันท์นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้
            ๑. ศึกษาฉันท์ลักษณ์ของฉันท์ชนิดที่นักเรียนต้องการแต่งให้
เข้าใจ
            ๒. ในขั้นฝึกหัดควรเลือกฉันท์ที่แต่งได้ง่าย ไม่มีครุลหุซับซ้อน
เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกาพย์สุรางคนางค์ อินทรวิเชียร
ฉันท์ ซึงลักษณะคล้ายกาพย์ยานี เพราะกาพย์ทั้งสองชนิดนี้นักเรียนเคย
เรียนรู้มาแล้วในช่วงชั้นที่ ๓ เมื่อมีความชำานาญจึงเลือกแต่งฉันท์ที่ยากขึ้น
            ๓. เลือกหัวข้อง่าย ๆ ที่นักเรียนมีประสบการณ์ อาจจะเป็นเรื่อง
ในชีวิตประจำาวันของนักเรียน เช่น การศึกษา การสนทนา การท่องเที่ยว
เป็นต้น
            ๔. ไม่ควรใช้คำาที่ยาก หรือเป็นคำาศัพท์ระดับสูง ควรเลือกใช้
ถ้อยคำาง่าย ๆ มาเรียงร้อยให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                  ภุช งคประยาดฉัน ท์ ๑๒
                        จะเหลียวซ้ายก็งามตา        จะเหลือบขวาก็เพลินใจ
                  จะดูเบื้องพบูไป                  ตลอดล้วนจะชวนแล
                        ผิพิศสูงลิแสงโสม           อร่ามโคมโพยมแข
                  ตะลึงหลงพะวงแด                   ฤดีงงเพราะความงาม
                        ณ ชายหาดสะอาดทราย               และกรวดทราย
ประกายวาม
                  วะวาบวับระยับยาม                 ผสานแสงพระจันทร์เพ็ญ
                        ทะเลแลกระแสหลั่ง           อุทกพสั่งถะถั่งเห็น
                  ผสมสีขจีเป็น                     ประหนึ่งแก้วตระการ
เขียว
                        พระพายฮือกระพือหวน              ประมวลม้วนสมุทร
เกลียว
                  ระดมพัด ณ บัดเดี๋ยว              ขยายแยกและแตกฉาน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                   วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                    หน้าที่ 14
                                            (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต
บุรทัด)
      จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น
นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย
แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา
ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์



                     **************************
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                   วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                    หน้าที่ 14
                                            (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต
บุรทัด)
      จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น
นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย
แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา
ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์



                     **************************
เอกสารประกอบการเรียนการสอน                   วิชาภาษาไทย    ท 43102
ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์                    หน้าที่ 14
                                            (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต
บุรทัด)
      จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น
นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย
แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา
ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์



                     **************************

More Related Content

What's hot

นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดนิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดNam M'fonn
 
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกPPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกKruBowbaro
 
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภา
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภาจิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภา
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภาJiraprapa Noinoo
 
ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพkhorntee
 
สามัคคีเภทคำฉันท์Pdf
สามัคคีเภทคำฉันท์Pdfสามัคคีเภทคำฉันท์Pdf
สามัคคีเภทคำฉันท์PdfMind Candle Ka
 
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
Aum Orrawan
 
ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2
ssuser456899
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗Milky' __
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงLakkana Wuittiket
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนChittraporn Phalao
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
Panomporn Chinchana
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
Warodom Techasrisutee
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดMethaporn Meeyai
 
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
rattasath
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
Watcharapol Wiboolyasarin
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Parn Parai
 
pretest - postest
pretest - postestpretest - postest
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖baicha1006
 

What's hot (20)

นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดนิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
 
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกPPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก
PPT รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก
 
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภา
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภาจิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภา
จิตรปทา ฉันท์ 8 จิรประภา
 
ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพ
 
สามัคคีเภทคำฉันท์Pdf
สามัคคีเภทคำฉันท์Pdfสามัคคีเภทคำฉันท์Pdf
สามัคคีเภทคำฉันท์Pdf
 
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นพับ ลิลิตตะเลงพ่าย
 
ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ม.4
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
 
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
วิธีการสร้างคำในภาษาไทย
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
pretest - postest
pretest - postestpretest - postest
pretest - postest
 
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖
บทเรียนสำเร็จรูปกาพย์ฉบัง๑๖
 

Similar to ใบความรู้ ฉันท์

ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์krudow14
 
Phuchongkhaprayatachan
PhuchongkhaprayatachanPhuchongkhaprayatachan
Phuchongkhaprayatachan
Piyarerk Bunkoson
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองNimnoi Kamkiew
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองPairor Singwong
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรองMong Chawdon
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
Piyarerk Bunkoson
 
Kamalachan
KamalachanKamalachan
Kamalachan
Piyarerk Bunkoson
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
Ruangrat Watthanasaowalak
 
Manawakachan
ManawakachanManawakachan
Manawakachan
Piyarerk Bunkoson
 

Similar to ใบความรู้ ฉันท์ (20)

ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์
 
Satthatharachan
SatthatharachanSatthatharachan
Satthatharachan
 
Phuchongkhaprayatachan
PhuchongkhaprayatachanPhuchongkhaprayatachan
Phuchongkhaprayatachan
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
ร้อยกรอง
ร้อยกรองร้อยกรอง
ร้อยกรอง
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
 
Kamalachan
KamalachanKamalachan
Kamalachan
 
Upenthrawichianchan
UpenthrawichianchanUpenthrawichianchan
Upenthrawichianchan
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
Manawakachan
ManawakachanManawakachan
Manawakachan
 

ใบความรู้ ฉันท์

  • 1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 1 ใบความรู้ เรื่อ ง หลัก การแต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์ หลัก การแต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์ นักเรียนได้เรียนรู้การแต่งคำาประพันธ์กาพย์ กลอน โคลง และร่ายมาแล้วในชั้นก่อนในชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การแต่งคำา ประพันธ์ประเภทฉันท์ซึ่งเป็นคำาประพันธ์ที่แต่งยาก และอ่านยากกว่าคำา ประพนธ์ทุกชนิด เพราะฉันท์มีข้อบังคับเรื่องคำาครุลหุเพิ่มขึ้นและคำาที่ใช้ ในการแต่งฉันท์นั้นส่วนใหญ่เป็นคำาที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต เพราะคำาไทยหาคำาลหุที่มีความหมายได้ยาก การศึกษาให้เข้าใจรูปแบบและลักษณะบังคับของฉันท์ จะช่วยให้ ผู้อ่านเข้าใจคำาประพันธ์ประเภทฉันท์ สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง และเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความรู้เรื่องฉันท์ที่จะกล่าวถึงต่อ ไปในบทนี้ มีจดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะบังคับหรือฉันท์ ุ ของฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่ง และปรากฏอยู่ในวรรณคดีประเภทคำาฉันท์ ของไทย เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการแต่งฉันท์ และใน การอ่านวรรณคดีไทยให้เข้าใจยิ่งขึ้น ความหมายของฉัน ท์ ฉันท์ หมายถึง คำาประพันธ์ชนิดหนึ่งของไทยที่มีข้อบังคับ เรื่อง ครุ ลหุ เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากเรื่องคณะและสัมผัสซึ่งเป็นข้อ บังคับในคำาประพันธ์ชนิดอื่น คำา ครุแ ละคำา ลหุ ครุ คำาเสียงหนัก มีลักษณะดังนี้ - พยางค์ที่มีตัวสะกด - พยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมด้วนสระเสียงยาว - พยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำา ไอ ใอ เอา ลหุ คำาเสียงเบา มีลักษณะดังนี้ - พยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมด้วนสระเสียงสั้น ที่ม าของฉัน ท์ ไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตำาราฉันทศาสตร์ว่าด้วยการแต่ง ฉันท์ คือ คัมภีร์วุตโตทัย และคัมภีร์สุโพธาลังการ จากพระไตรปิฎก คัมภีร์วุตโตทัย กล่าวว่าฉันท์มี 108 ชนิด แบ่งเป็น 2 พวก คือ 1.ฉันท์วรรณพฤติ 2.ฉันท์มาตราพฤติ ฉันท์วรรณพฤติกำาหนดคณะของฉันท์ 8 คณะ
  • 2. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 2 คณะของฉัน ท์ คณะ หมายถึง ลักษณะการเรียงของเสียงครุ และลหุ กลุ่มละ 3 เสียง เป็น 1 คณะ มี 8 คณะ คือ - มะ - ชะ - นะ - ระ - ภะ - สะ - ยะ - ตะ ประเภทของฉัน ท์ ฉันท์มากมายหลายชนิด การแบ่งชนิดของฉันท์ตาม ฉันทลักษณ์ให้สะดวกแก่การศึกษาอาจแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ ๑ ฉัน ท์ ๑๑ ฉัน ท์ ๑๒ และฉัน ท์ ๑๔ ฉันท์ประเภทนี้แบ่ง เป็น ๒ บาท มีสัมผัสเหมือนกัน แต่ลักษณะการอ่านแตกต่างกันตามตำาแหน่ง คำาครุ ลหุ มีสัมผัสบังคับ คือ สัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบท คือ คำา สุดท้ายของบทเอก ( บาทที่หนึ่ง) ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายในวรรคแรกของ บาทโท ( บาทที่สอง) ถ้ามากกว่าหนึ่งบท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำา สุดท้ายของบทแรกจะต้องส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของบาทเอกในบทต่อไป ส่วนสัมผัสที่เป็นเส้นประในแผนผัง เป็นสัมผัสระหว่างวรรคแรกส่งสัมผัสไป ยังคำาที่สามของวรรคที่สองในบาทเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ บางบทจะมี สัมผัสดังกล่าว แต่บางบทก็ไม่มี ฉัน ท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุ ลหุ บาทละ ๑๑ คำา เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อุปชาติฉันท์ สาลินีฉันท์ ๑ อินทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวรัว ( สามัคคีเภทคำาฉันท์) ข้อสังเกต
  • 3. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 3 อินทรวิเชียรฉันท์บทหนึ่งมีสองบทบาท บาทที่หนึ่งมีสองวรรค วรรค แรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๖ คำา รวมบทที่มี ๒๒ คำา ๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้ พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน ณ กันและกันเหิน คณะห่างก็ต่างถือ ทะนงชนกตน พลล้นเถลิงลือ ก็หาญกระเหิมฮือ มนฮึก บ นึกขาม ข้อสังเกต อุเปนทรวิเชียรฉันท์ มีคณะเหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ ต่างกันที่ ตำาแหน่งคำาต้นบาทของอุเปนทรวิเชียรฉันท์เป็นคำาลหุ แต่อินทรวิเชียรฉันท์ เป็นคำาครุ ๓. อุปชาติฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่แต่งประสมกันระหว่างอุเปนทรวิ เชียรฉันท์กับอินทรวิเชียรฉันท์ ในการแต่งจึงต้องอย่างน้อยสองบท เพราะ กำาหนดให้บาทที่หนึ่งของบทแรก กับบทที่สองเป็นอุเปนทรวิเชียร และให้ บาทที่สองของบทแรกกับบทที่สองเป็นอินทรวิเชียรฉันท์ ตามแผนผังและ ตัวอย่าง ดังนี้ สดับ ประกาศิต ระบุกิจวโรงการ จึงราชสมภาร พจนารถประภาษไป เราคิดจะใคร่ยก พยุห์พลสกลไกร ประชุมประชิดชัย รณรัฐวัชชี
  • 4. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 4 ข้อสังเกต อุปชาติฉันท์มีคณะเหมือนอุเปนทรวิเชียรฉันท์ในบาทที่ ๑ และ อินทรวิเชียรฉันท์ในบาทที่ ๔ ๔. สาลินีฉันท์ เป็นฉันท์ที่มีครุมาก มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน ราชาวัชชีสรร พจักสู่พินาศสม ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ เริ่มมาด้วยปรากรม และอุตสาหแห่งตน ( สามัคคีเภทฉันท์) ข้อสังเกต สาลินีฉันท์บทหนึ่งมีสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๖ คำา เหมือนกับอินทรวิเชียรฉันท์ ต่างกันเพียงตำาแหน่งคำาครุ ลหุ วรรคแรกเป็นครุล้วน ฉัน ท์ ๑๒ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุ ลหุบาทละ ๑๒ คำา ขอให้นักเรียนสังเกตอินทรวงศ์ฉันท์ และวังสัฏฐฉันท์ ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับอินทรวิเชียรฉันท์ และอุเปนทรวิเชียร แต่บาทที่ ๒ และบาทที่ ๔ มี ตำาแหน่งคำาครุ ลหุ ต่างกัน ๑. อินทรวงศ์ฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้ โอ้ว่าอนาถใจ ละไฉนนะเป็นฉนี้ แต่ไรก็ไม่มี มะนะนึกระเหระหน ไม่เคยจะเชื่อว่า รตินั้นจะสัประดน
  • 5. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 5 มาสู่ ณ ใจตน และจะต้องระทมระทวย ( มัทนะพาธา) ข้อสังเกต อินทรวงศ์ฉันท์ บทหนึ่งมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสอง วรรค วรรคแรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๗ คำา ๒. วังสัฏฐฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผัง และตัวอย่างต่อไปนี้ ประชุมกษัตริย์รา ชสภาสดับคะนึง คะเนณทุกข์รึง อุระอัดประหวัดประวิง ประกอบระกำาพา หิรกายน่าจะจริง มิใช่จะแอบอิง กลอำากระทำาอุบาย (สามัคคีเภทคำาฉันท์) ข้อสังเกต วัสัฏฐฉันท์ บทหนึ่งมีสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำา วรรคหลังมี ๗ คำา ตำาแหน่งคำาครุลหุและจำานวนคำาของฉันท์นี้คล้ายกับ อินทรวงศ์ฉันท์ ต่างกันตรงที่คำาแรกในวรรคหน้าของอิรนทรฉันท์เป็นครุ แต่วังสัฏฐฉันท์เป็นคำาลหุ ๓. กมลฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ อิลโอนศิโรเพฐน์ พจขอมาภัย ศิวะทรงพิโรธใน ธ กระทำากระลำาพร บมิทรงประสาทโทษ อิลโอดสำาออยวอน วรองค์อุมาอร อนุกูลกำาลูนครัน ( อิลราชาคำาฉันท์)
  • 6. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 6 ข้อสังเกต กมลฉันท์บทหนึ่งมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสอง วรรค หนึ่งมี ๖ คำา การวางตำาแหน่งครุลหุคล้ายอุเปนอินทรวิเชียรฉันท์ เพียงแต่ เพิ่มคำาลหุหน้าวรรคแรกอีกหนึ่งคำา ๔. โตฎกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ ศิวะแป ลงวรรูป วิยหญิงยุวดี พระอุมาพระก็มี สุมนัสนิยม ดรุสัตว์บริเวณ พะพระเวทอุดม สละเพศพิศสม ศิวะเพศพระจำาแลง ( อิลราชาคำาฉันท์) ข้อสังเกต โตฎกฉันท์หนึ่งบทมี ๒๔ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคละหกคำาเหมือนกมลฉันท์ ต่างกันที่ตำาแหน่ง ครุ ลหุ ๕. ภุชงคประยาตฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่างดังนี้ ชะโดดุกกระดี่โดด สลาดโลดยะหยอยหยอย กระเพื่อมนำ้าพะพรำ่าพรอย กระฉอกฉานกระฉ่อนชล กระสร้อยซ่าสวายชิว ระรี่ริ้วละวาดวน ประมวลมัจฉะแปมปน ประหลาดเหลือจะรำาพัน ( อิลราชาคำาฉันท์) ข้อสังเกต ภุชงคประยาตฉันท์บทหนึ่งมี ๒๔คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่ง มีสองวรรค วรรคละหกคำา
  • 7. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 7 ฉัน ท์ ๑๔ หมายถึง ฉันท์ที่มีจำานวนคำาครุลหุบาทละ ๑๔ คำา ฉันท์ ๑๔ ที่กวีไทยนิยมแต่ง คือ วสันตดิลกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและ ตัวอย่าง ดังนี้ เรืองรองพระมนทิรพิจิตร กลพิศพิมานบน ก่องแก้วและกาญจนระคน รุจิเรขอลงกรณ์ ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย ( อิลราชาคำาฉันท์) ข้อสังเกต วสันตดิลกฉันท์ บทหนึ่งมี ๒๘ คำา แบ่งเป็นสองบาท บาทหนึ่งสอง วรรค วรรคแรกมี ๘ คำา วรรคหลังมี ๖ คำา ประเภทที่ ๒ ฉัน ท์ ๘ ฉันท์ประเภทนี้ บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๘ คำา แบ่งเป็น ๒ วรรค มีสัมผัสบังคับแบบเดียวกัน คือ คำาสุดท้ายของวรรค ที่สองส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สาม คำาสุดท้ายของวรรคที่สี่ ส่ง สัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่หก คำาสุดท้ายของวรรคที่หกส่งสัมผัสไป ยังคำาสุดท้ายของวรรคที่เจ็ด ถ้าแต่งมากกว่าหนึ่งบทจะต้องมีสัมผัสระหว่าง บท คือ คำาสุดท้ายของบทต้น ( คำาสุดท้ายของวรรคที่แปด) จะต้องส่ง สัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สี่ในบทถนัดไป ตัวอย่างฉันท์ ๘ เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ จิตรปทา ฉันท์ ๑. วิชชุมมาลาฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ แรกทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้ หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง กับหมู่ชาวเมือง ฉันอัชฌาลัย เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ จำาเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน ( สามัคคีเภทคำาฉันท์)
  • 8. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 8 ข้อสังเกต วิชชุมมาลาฉันท์บทหนึ่งมีสี่บาท รวมแปดวรรค บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคละ ๔ คำาแต่ละวรรคใช้คำาครุล้วน หากเปรียบเทียบระหว่างวิชชุมมาลาฉันท์กับกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จะพบว่ามีลักษณะบังคับที่คล้ายคลึงกันมาก ทั้งในเรื่องจำานวนคำาในแต่ละ วรรคซึ่งมีสี่คำาเท่ากัน และในเรื่องสัมผัสบังคับ ต่างกันเพียงวิชชุมมาลา ฉันท์มีจำานวนคำามากกว่ากาพย์สุรางคนางค์อยู่หนึ่งวรรค และทุกคำาในวิชชุ มมาลาฉันท์ เป็นคำาครุล้วน แต่กาพย์สุรางคนางค์ไม่บังคับครุลหุ 2. มาณวกฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ อย่าติและหลู่ ครูจะเฉลย เธอน่ะเสวย ภัตกะอะไร ในทินนี่ ดีฤไฉน พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง ราช ธ ก็เล่า เค้า ณ ประโยค ตนบริโภค แล้วขณะหลัง วาทประเทือง เรื่องสิประทัง อาคมยัง สิกขสภา ( สามัมคีเภทคำาฉันท์) ข้อสังเกต มาณวกฉันท์มีจำานวนคำาในแต่ละบท แต่ละบาท และแต่ละวรรคเหมือน คณะของวิชชุมมาลาฉันท์ ต่างกันแต่มาณวกฉันท์กำาหนดคำาลหุอยู่กลางสอง คำา จึงทำาให้มีจังหวะเร็วกว่าวิชชุมมาลาฉันท์ ๓. จิตรปทาฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
  • 9. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 9 นาครธา อลเวงไป เห็นริปุมี พลมากมาย ข้ามดิรชล ก็ลุพ้นหมาย มุ่งจะทลาย พระนครตน ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น ตื่นบมิเว้น ตะละผู้คน ทั่วบุรคา มจลาจล เสียงอลวน อลเวงไม (สามัคคีเภทคำาฉันท์) ข้อสังเกต จิตรปทาฉันท์ต่างจากมาณวกฉันท์ตรงที่กำาหนดตำาแหน่งคำาลหุใน วรรคหลังให้อยู่หน้าทั้งสองคำา แล้วตามด้วยคำาครุสองคำา ประเภทที่ ๓ ฉัน ท์ป ระเภท ๓ วรรค ฉันท์ประเภทนี้บทหนึ่ง แบ่งเป็น ๓ วรรค ใช้สัมผัสแบบเดียวกัน คือ คำาสุดท้ายของวรรคแรก ส่งสัมผัสไปย้งคำาสุดท้ายของวรรคที่สอง คำาสุดท้ายของวรรคที่สาม (คำา สุดท้ายของบท) ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคในบทต่อไป ลักษณะ สัมผัสคล้ายกาพย์ฉบัง ๑๖ ตัวอย่างฉันท์ประเภทนี้ เช่น มาลินีฉันท์ ๑๕ ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ อีทิสังฉันท์ ๒๐ ๑. มาลินีฉันท์ ๑๕ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
  • 10. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 10 มธุรพจนรำาพัน พื้นพิเศษสรรพ์ สถาพร มธุรพจนสารสอน เชิญวิมลสมร บำารุงองค์ ข้อสังเกต มาลินีฉันท์บทหนึ่ง มี ๑๕ คำา วรรคที่หนึ่งมี ๘ คำา วรรคที่สองมี ๔ คำา วรรคที่สามมี ๓ คำา ๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ ยอดศาสตาจารย์ มุนี อีกคุณสุนทรธรรมคัมภีรวิธี พุทธพจน์ประชุมตรี ปิฏก (สามัคคีเภทคำาฉันท์) ข้อสังเกต ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์บทหนี่งมี ๑๙ คำา วรรคแรกมี ๑๒ คำา วรรคที่ สองมี ๕ คำา วรรคที่สามมี ๒ คำา ๓. อีทิสังฉันท์ ๒๐ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ เอออุเหม่นะมึงซิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึก บ ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด (สามัคคีเภทคำาฉันท์)
  • 11. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 11 ข้อสังเกต อีทิสังฉันท์บทหนึ่งมี ๒๐ คำา วรรคแรกมี ๙ คำา วรรคที่สองมี ๘ คำา และวรรคที่สามมี ๓ คำา นอกจากนี้ ยังมีฉันท์ที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทดังกล่าวได้ เช่น ๔.สัทธราฉันท์ ๒๑ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้ ฟั่นเฟือนเลือนลืมเพราะอารมณ์ วิปริตกระอุกรม เดือดบได้สม ประฤาดี อย่างทรงเศร้าโศกพิโยคมี ทุมนสบมิดี สำ่าสุเมธี ติเตียนนัก (อิลราชคำาฉันท์) ข้อสังเกต สัทธราฉันท์บทหนึ่ง มี ๒๑ คำา แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคแรกและ วรรคที่สองมีวรรคละ ๗ คำา วรรคที่สามมี ๔ คำา วรรคที่สี่มี ๓ คำา คำา สุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สอง และคำา สุดท้ายของวรรคที่สองส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคที่สาม คำาสุดท้าย ของวรรคที่สี่ในบทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำาสุดท้ายของวรรคแรกในบทถัดไป การเลือ กใช้ฉ ัน ท์ใ ห้เ หมาะสมกับ เนื้อ ความ เนื่องจากฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาไม่เหมือนกัน กวีจึงนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะสมกับเนื้อความที่ต้องการแต่ง ดังนี้ ๑. บทไว้ครู บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทสรรเสริญพระเกียรติ ที่ ต้องการให้มีความขลัง นิยมใช้ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๒. บทพรรณนา บทชม หรือบทครำ่าครวญ เช่น พรรณนาความงาม ธรรมชาติ พรรณนาความงามของบ้านเมือง ชมความงามของผู้หญิง พรรณนาความรักและความเศร้าโศก เป็นต้น นิยมใช้วสันตดิลกฉันท์ หรือ อินทรวิเชียรฉันท์
  • 12. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 12 ๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น และวิตกกังวล เป็นต้น หรือบรรยายเกี่ยวกับความรักที่เน้นอารมณ์สะเทือนใจ นิยมใช้ อีทิสังฉันท์ เพราะฉันท์นี้มีเสียงหนักเบาสลับกันทำาให้แสดงอารมณ์ได้ดี ๔. บทพรรณนา หรือบรรยายความที่น่าตื่นเต้นประทับใจ แสดง ความร่าเริง สนุกสนานรวดเร็ว นิยมใช้ภุชงคประยาตฉันท์ โตฎกฉันท์ หรือมาณวกฉันท์ ๕. บทบรรยายความที่เป็นไปอย่างเรียบ ๆ นิยมใช้อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ อินทวงค์ฉันท์ วังลัฏฐฉันท์ อุปชาติฉันท์ ๖. บทบรรยายเรื่องที่มีลักษณะสับสนต่อเนื่องกัน นิยมใช้มาลีนีฉันท์ ซึ่งมีลหุในวรรคแรกถึงหกพยางค์ มีลีลาจังหวะเร็วและช้าลงในตอนท้าย แต่ฉันท์นี้แต่งยาก จึงใช้กับบทบรรยายที่ไม่ยาวนัก ความนิยมในการเลือกใช้ฉันท์แต่งให้เหมาะสมกับเนื้อความที่กล่าวมา นี้ มิได้เป็นข้อกำาหนดตายตัวเป็นเพียงข้อสังเกต สำาหรับใช้เป็นแนวทางใน การพิจารณาเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะกับเนื้อความเท่านั้น การอ่า นฉัน ท์ เนื่องจากฉันท์เป็นคำาประพันธ์ที่บังคับครุลหุ การอ่านฉันท์จึงต้อง อ่านให้ถูกต้องตามตำาแหน่งคำาครุลหุ และลีลาจังหวะของฉันท์แต่ละชนิด คำาบางคำาที่ปกติอ่านออกเสียงเป็นครุ เช่น คำาว่า สุข (สุก) อาจจะออกเสีย บงเป็นลหุสองพยางค์ว่า สุ-ขะ หรือออกเสียงว่า สุก-ขะ เมื่อบังคับให้อ่าน เป็นครุเรียงกัน ดังตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ในสามัคคีเภทคำาฉันท์ต่อ ไปนี้ แว่นแคว้นมคธนครรา ชคฤห์ฐานบุรี สืบราชวัตรวิธทวี ทศธรรมจรรยา การอ่านวสันตดิลกฉันท์บทนี้ต้องออกเสียงอ่านตามตำาแหน่งครุ ลหุ ดังนี้ แว่น แคว้น / มะ คด / ทะ นะ คะ รา ชะ ครึ ถา / นะ บู รี สืบ ราด / ชะ / วัด / วิ ทะ ทะวี ทะ สะ ทัน / มะ จัน ยา ในการอ่านฉันท์นั้น นอกจากต้องออกเสียงครุลหุให้ถูกต้องตาม แผนผังคับของฉันท์แต่ละประเภทแล้ว ต้องเว้นจังหวะตอนในการอ่านให้ถูก ต้องด้วย โดยมีช่วงหยุดเล็กน้อยข้างหลังคำาที่ลงจังหวะ และจะต้องลง จังหวะที่คำาครุเสมอไป การแบ่งจังหวะในการอ่านฉัท์ประเภทต่าง ๆ ขอให้
  • 13. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 13 นักเรียนศึกษาจากแผนผังของฉันท์กแต่ละชนิด ซึ่งได้แสดงไว้แล้วอย่าง ชัดเจน ถ้านักเรียนได้อ่านออกเสียงฉันท์แต่ละชนิดหลาย ๆ ครั้ง แล้วฟัง จังหวะด้วยตนเอง ก็จะทราบได้ว่าฉันท์แต่ละชนิดมีจังหวะอย่างไร ควรจะ เน้นเสียง ทอดเสียงในการอ่านอย่างไร จึงจะฟังไพเราะ แม้จะไม่ได้อ่าน เป็นทำานองเสนาะก็ตาม ผู้อ่านก็จะจำาลักษณะบังคับครุลหุให้ได้จึงจะอ่านได้ ถูกต้องตามลักษณะบังคับของฉันท์แต่ละชนิด การฝึก แต่ง คำา ประพัน ธ์ป ระเภทฉัน ท์ แม้ว่าฉันท์จะเป็นคำาประพันธ์ที่แต่งยาก แต่หากนักเรียนได้ฝึก แต่ง นักเรียนจะพบว่าการแต่งฉันท์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ทั้งยังเกิดความ สนุกสนานในการเลือกสรรถ้วยคำามาให้ตรงตำาแหน่งครุ ลหุ ของฉันท์ ใน การฝึกแต่งฉันท์นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ศึกษาฉันท์ลักษณ์ของฉันท์ชนิดที่นักเรียนต้องการแต่งให้ เข้าใจ ๒. ในขั้นฝึกหัดควรเลือกฉันท์ที่แต่งได้ง่าย ไม่มีครุลหุซับซ้อน เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกาพย์สุรางคนางค์ อินทรวิเชียร ฉันท์ ซึงลักษณะคล้ายกาพย์ยานี เพราะกาพย์ทั้งสองชนิดนี้นักเรียนเคย เรียนรู้มาแล้วในช่วงชั้นที่ ๓ เมื่อมีความชำานาญจึงเลือกแต่งฉันท์ที่ยากขึ้น ๓. เลือกหัวข้อง่าย ๆ ที่นักเรียนมีประสบการณ์ อาจจะเป็นเรื่อง ในชีวิตประจำาวันของนักเรียน เช่น การศึกษา การสนทนา การท่องเที่ยว เป็นต้น ๔. ไม่ควรใช้คำาที่ยาก หรือเป็นคำาศัพท์ระดับสูง ควรเลือกใช้ ถ้อยคำาง่าย ๆ มาเรียงร้อยให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ภุช งคประยาดฉัน ท์ ๑๒ จะเหลียวซ้ายก็งามตา จะเหลือบขวาก็เพลินใจ จะดูเบื้องพบูไป ตลอดล้วนจะชวนแล ผิพิศสูงลิแสงโสม อร่ามโคมโพยมแข ตะลึงหลงพะวงแด ฤดีงงเพราะความงาม ณ ชายหาดสะอาดทราย และกรวดทราย ประกายวาม วะวาบวับระยับยาม ผสานแสงพระจันทร์เพ็ญ ทะเลแลกระแสหลั่ง อุทกพสั่งถะถั่งเห็น ผสมสีขจีเป็น ประหนึ่งแก้วตระการ เขียว พระพายฮือกระพือหวน ประมวลม้วนสมุทร เกลียว ระดมพัด ณ บัดเดี๋ยว ขยายแยกและแตกฉาน
  • 14. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 14 (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต บุรทัด) จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ **************************
  • 15. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 14 (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต บุรทัด) จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ **************************
  • 16. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ท 43102 ชั้น ม.6 เรื่อง ฉันท์ หน้าที่ 14 (ข้าพเจ้านั่งอยู่ชายทะเล – ชิต บุรทัด) จะเห็นได้ว่าฉันท์บทนี้มีศัพท์ยากอยู่ไม่กี่คำา เช่น พบู โพยม เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นคำาศัพท์ที่นักเรียนเข้าใจความหมายนับได้ว่ากวีเป็น “นาย แห่งถ้อยคำา” อย่างแท้จริง เพราะสามารถเรียงร้อยถ้อยคำาสามัญให้เป็นคำา ฉันท์ได้อย่างไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ **************************