SlideShare a Scribd company logo
เอกสารเผยแพร่



บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ


  ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
     อาริฟีน แสงวิมาน




     พฤศจิกายน 2555
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                                     1


                                               บทนํา




                                     ...


      เอกสารเผยแผ่นี้ ได้ถอดความมาจากหนังสือ “อัลลามัซฮะบียะฮ์ อัคฏ่อรุ
บิดอะฮ์ ตุฮัดดิดุ อัชชะรีอะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์” หน้า 133-148 ของท่าน อัลลามะฮ์
ศาสตราจารย์ มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะฎอน อัลบูฏีย์ เกี่ยวกับบทสนทนาระหว่าง
ผู้ประพันธ์หนังสือกับผู้ที่ไม่มีมัซฮับ ซึ่งเป็นการสนทนาที่น่าสนใจมาก ผู้แปลจึง
ถอดความเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้และแง่คิดทีเป็นประโยชน์ อินชาอัลลอฮฺ
                                                    ่
      อนึ่ ง กลุ่ ม ไม่ มี มั ซ ฮั บ กล่ า วกั บ กลุ่ ม ที่ ต ามมั ซ ฮั บ ทั้ ง สี่ ว่ า “อั ล ลอฮฺ ท รง
กําหนดให้ฏออัตต่อพระองค์และฏออัตต่อร่อซูลของพระองค์ แต่พวกท่านกลับฏอ
อัตต่อบรรดาอิหม่ามทั้งสี่แทนการฏออัตต่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ ดังนั้น
หากการฏออั ตบรรดาอุล ะมาอฺ เ ป็น ที่ ย อมรับ ได้ แน่ น อนการฏออั ตต่ อ บรรดา
ศ่อฮาบะฮ์ย่อมเหมาะสมกว่าอิหม่ามทั้งสี่และบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆ”
       เราขอตอบว่ า บรรดาอิ ห ม่ ามหรือ มัซ ฮั บ ทั้ งสี่ นั้ น มิ ใช่ สิ่ งที่ มาแทนที่ก าร
ตามอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และบรรดาตําราของอิหม่ามทั้งสี่นั้นมิใช่มา
แข่งขันกับกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮฺ แต่มัซฮับทั้งสี่เป็นผู้ทํา
หน้าที่อธิบายอัลกุรอานและซุนนะฮ์ คอยช่วยเหลือและแจกแจงผู้ที่ต้องการเข้าใจ
อายะฮ์ต่างๆ ของอัลกุรอานและตัวบทต่างๆ ของซุนนะฮ์นั่นเอง
2                                                                       เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


          และเช่นเดียวกัน บรรดาอิหม่ามทั้งสี่มิใช่มาแทนที่เหล่าศ่อฮาบะฮ์และมิใช่
มาคัดค้านกับพวกเขา เนื่องจากบรรดาศ่อฮาบะฮ์นั้นมิได้เขียนตํารา มิได้ทําการ
พูดเรื่องฟิกฮฺนอกจากปัญหาข้อปลีกย่อยที่เกิดขึ้นในสมัยของพวกเขาเท่านั้นโดย
พวกเขาไม่พูด ในทุกประเด็น ดังนั้น ผู้ใดที่ต้องการตามเหล่าศ่อฮาบะฮ์ เขาก็ไม่
สามารถกระทําสิ่งดังกล่าวได้นอกจากต้องรวบรวมคําพูดของศ่อฮาบะฮ์ทั้งหมด
เท่ านั้ น แต่ค วามจริง บรรดาอิ ห ม่ ามทั้ งสี่ ไ ด้ร วบรวมไว้ห มดแล้ว เพราะฉะนั้ น
อิห ม่า มทั้ง สี่ คือ ผู้ม ารับ ใช้วิ ช าการของเหล่ า ศ่อ ฮาบะฮ์ แ ละตาบิ อีน ด้ว ยเหตุ นี้
ประชาชาติอิสลามจึงตามมัซฮับทั้งสี่ก็เพราะพวกเขารับใช้กิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์
และรับใช้ฟิกฮฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ ดังนั้นการไม่สนใจฟิกฮฺของมัซฮับทั้งสี่ ก็ย่อม
เป็นการกระทําเบาความกับองค์ความรูทเกี่ยวกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั่นเอง1
                                              ้ ี่
                                                                          อารีฟีน แสงวิมาน
                                                                          สถาบันอัลกุดวะฮ์




1
  แต่ผู้ที่ยกย่องตนเองว่าตามกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ แต่เมื่อต้องการเข้าใจรายละเอียดของอัลกุรอานและซุน
นะฮ์ ก็จะไปศึกษาคําอธิบายและการวินิจฉัยจากอุละมาอฺมัซฮับทั้งสี่และบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆ โดยไม่
อ้างอิง แล้วหลังจากนั้นก็เลือกทัศนะที่ตนเองพอใจ และอ้างว่านี่แหละคือทัศนะของฉันที่ตามกิตาบุลลอฮฺและ
ซุนนะฮ์ ซึ่งการกระทําเยี่ยงดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นการขโมยของเข้าใจของอุละมาอฺและวิชาความรู้ของเขาจะ
ไม่บะร่อกัตไม่มีความจําเริญในการทําให้หัวใจเข้าหาและผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺตะอาลา คือสมองได้เพียงแค่
ข้อมูลความรู้แต่หัวใจไม่ได้รับเตาฟีก.
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                                        3




                 บทสนทนาระหว่างอัลลามะฮ์ อัลบูฏีย์กับผู้ไม่มีมัซฮับ


       ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัย ค์ มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะฎอน อัลบูฏีย์ ได้กล่าวว่า:
บางทีห มวดนี้มีความสําคัญยิ่งกว่าหมวดอื่น ๆ ในหนังสือเล่มนี้ และสาเหตุที่มี
ความสําคัญนั้น มิใช่เพราะมีหลักฐานเชิงวิชาการใหม่ๆ แต่สาเหตุสําคัญก็คือ ท่าน
จะพบถึงปรากฏการณ์แห่งความตะอัศศุบหรือความมีมานะทิฐิที่ท่านไม่เคยพบมัน
มาก่อนจากสติปัญญาของมนุษย์คนใดเลย คือพวกเขากล่าวหาว่าเรานั้นตะอัศศุบ
แต่ท่านจะพบในหมวดนี้ว่า พวกเขามีความตะอัศศุบที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง
         ในหมวดนี้ ท่านจะไม่พบว่าข้าพเจ้าได้พูดขึ้นมาเองหรือทําการละเมิดต่อ
ผู้ใด... และข้าพเจ้าก็จะไม่นํามาแม้สักถ้อยคําเดียวที่มาจากการคิดจินตนาการ2
และขอยืนยันว่า ข้าพเจ้าได้พูดกับพี่น้องผู้ร่วมสนทนาท่านหนึ่งว่า “ฉันจะนําสิ่งที่
ท่านพูดไปเผยแพร่” ซึ่งที่ข้าพเจ้าพูดไปนั้นมิใช่อื่นใดนอกจากต้องการปลุกให้เขา
คิดใคร่ครวญในสิ่งที่เขาได้พูดออกมา แต่เขาพูดขึ้นเสียงกับข้าพเจ้าว่า “ท่านจง
นําไปเผยแพร่ตามทีท่านต้องการเถอะ เพราะฉันไม่กลัวหรอก!”
                    ่
     ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะหลีกเลี่ยงการเปิดเผยชื่อของเขา แต่เพียงพอแล้วที่ท่าน
ทราบว่าเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้ที่ไม่มีมัซฮับ แต่พร้อมกันนั้นเขาก็เป็นคนดีและมี

2
   ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัยค์ อัลบูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในเชิงอรรถว่า “คําพูดของข้าพเจ้านี้ คือการโต้ตอบของเราต่อผู้
ที่มาอ้างในวันนี้ว่าเราได้ทําการเปลี่ยนแปลงและบิดเบือนเนื้อหาเสวนา... ถ้าหากความเกรงกลัวอัลลอฮฺไม่
ยับยั้งเราให้กระทําสิ่งดังกล่าว แน่นอนว่าพยานผู้รู้เห็นเกือบสิบคนทีประจักษ์ด้วยสายตาและได้ยินด้วยหูของ
                                                                    ่
พวกเขาก็จะทําการคัดค้านเราอย่างแน่นอน. ดูเชิงอรรถ หน้า 133.
4                                                                      เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


คุณธรรมหากว่าไม่มรอยด่างพร้อยนี้มาเปรอะเปื้อนความคิดของเขาจนทําให้ดิ่งลง
                  ี
สู่ก้นเหวแห่งความตะอัศศุบอย่างน่าแปลกประหลาดนี้
        เขาผู้ นี้ ไ ด้ ม าพร้ อ มกั บ ชายหนุ่ ม ที่ บุ ค ลิ ก ดี และอุ ป นิ สั ย ของเขานั้ น ชอบ
ค้นคว้าหาความจริงตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่สมควรแก่การค้นคว้า ข้าพเจ้าจึง
เริ่มทําการสนทนากับเขา
ข้าพเจ้า กล่า วกับเขาว่า : อะไรคือแนวทางของท่านเกี่ยวกับหลักหุกุ่มต่างๆ
      ของอัลลอฮฺ ท่านจะยึดเอาหุกุ่มต่างๆ จากกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ หรือยึด
      เอามาจากบรรดาอุละมาอฺที่วินิจฉัยได้?
เขาตอบว่า: ฉันจะทําการตีแผ่ทัศนะของบรรดาอุละมาอฺและหลักฐานต่างๆ ของ
     พวกเขา หลั ง จากนั้ น ฉั น ก็ จ ะยึ ด ทั ศ นะที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ หลั ก ฐานของ
     กิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์!
ข้าพเจ้าถามเขาว่า: ณ ที่ท่านมีเงินอยู่ 5000 ลีร่า(ซีเรีย) และระยะเวลาได้ผ่านไป
      6 เดือนโดยเงินยังถูกเก็บไว้ที่ท่าน หลังจากนั้นท่านก็นําเงินมาซื้อสินค้าและ
      นํามาทําการค้าขาย ดังนั้นซะกาตของสินค้านี้จะถูกจ่ายเมื่อใด? หลังจาก
      อีก 6 เดือน หรือหลังจากครบรอบ 1 ปีบริบูรณ์?
เขาคิดไตร่ตรองครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า “คําถามของท่านนี้หมายถึง ท่านกําลังจะ
บอกว่า บรรดาทรัพย์สินการค้านั้น จําเป็นต้องจ่ายซะกาตใช่ไหม?”
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ฉันกําลังถามท่าน และสิ่งที่ต้องการคือให้ท่านตอบฉันด้วย
      วิธีการที่เฉพาะของท่าน และนี่ก็คือห้องสมุดอยู่ที่ต่อหน้าท่านแล้ว ใน
      ห้องสมุดก็มีบรรดาตําราตัฟซีร หะดีษ และตําราต่างๆ ของอุละมาอฺที่อยู่ใน
      ระดับวินิจฉัยได้
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                 5


ชายคนนี้จึงทําการคิดไตร่ตรองครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า “ท่านครับ นี่เป็นเรื่องศาสนา
ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย การตอบเรื่องนี้มิใช่จะตอบได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้
จําเป็นต้องทําการพิจารณาไตร่ตรอง ทบทวน และศึกษาวิเคราะห์ และสิ่งดังกล่าว
ทั้งหมดนี้ จําเป็นต้องใช้เวลา ดังนันเรามาวิเคราะห์เรื่องอื่นกันเถอะ”
                                   ้
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงละจากคําถามนี้ และข้าพเจ้าจึงกล่าวกับเขาว่า “ก็ดี... แล้ว
จําเป็นไหมที่มุสลิมทุกคนจะต้องตีแผ่หลักฐานของบรรดาอุละมาอฺ หลังจากนั้นก็
ยึดเอาบรรดาหลักฐานที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์มากที่สุด”
เขาตอบว่า: ใช่ครับ
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ดังกล่าวนั้นก็หมายความว่า มนุษย์ทุกคนสามารถครอบครอง
      ศักยภาพในการอิจญฺติฮาด(วินิจฉัย)เช่นเดียวกับสิ่งที่ปราชญ์มัซฮับต่างๆ
      ครอบครอง ยิ่งกว่านั้นพวกเขาจะได้ครอบครองศักยภาพที่ยิ่งใหญ่และ
      ความสมบูรณ์ยิ่งกว่า เพราะผู้ที่มีความสามารถจะตัดสินทัศนะของบรรดา
      อิหม่ามหรือมีความสามารถตัดสินให้ทัศนะของบรรดาอิหม่ามยู่บนบรรทัด
      ฐานของอัลกุรอานและซุนนะห์ได้นั้น แน่นอนเขาจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้
      มากกว่าบรรดาอิหม่ามเหล่านันทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
                                   ้
เขากล่าวว่า: ความจริงแล้ว มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 จําพวก คือ 1) มุก็อลลิด
     (       ) ผู้ปฏิบัติตามผู้อื่น 2) มุตตะบิอฺ ( ) ผู้เจริญรอยตาม และ 3)
     มุจญฺตะฮิด (              ) ผู้วินิจฉัยเองได้ ดังนั้นผู้ที่สามารถเปรียบเทีย บ
     ระหว่างมัซฮับได้และสามารถคัดสรรทัศนะที่ใกล้เคียงกับอัลกุรอานมาก
     ที่สุดได้นั้น เขาคือมุตตะบิอฺ (ผู้ที่เจริญรอยตาม) โดยเขาอยู่ในระดับกลาง
     ระหว่างการตักลีดตามผู้อื่นกับการวินิจฉัยเองได้
6                                                                        เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ข้าพเจ้ากล่าวว่า: อะไรคือหน้าที่ของคนมุก็อลลิด?
เขาตอบว่า: คนมุก็อลลิดจะต้องปฏิบัติตามบรรดาปราชญ์มุจญฺตะฮิดที่เขาเห็น
     พ้อง
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: และจะเป็นบาปแก่คนมุก็อลลิดหรือไม่ จากการที่เขาต้องไป
      ตามปราชญ์ท่านหนึ่งจากบรรดาปราชญ์ที่อยู่ในระดับมุจญฺตะฮิด โดยเขา
      ยังคงสังกัดกับปราชญ์มุจญฺตะฮิดคนนั้นอยู่ตลอดโดยไม่แปรเปลี่ยนไปจาก
      เขาเลย
เขากล่าวว่า: ใช่แล้ว เรื่องดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)แก่เขา
ข้าพเจ้าถามว่า: อะไรคือหลักฐานห้ามในเรื่องดังกล่าว?
เขาตอบว่ า : หลัก ฐานก็ คือ การที่เ ขาได้ เจาะจงกระทํา สิ่ง หนึ่ งที่อั ล ลอฮฺ ไม่ เคย
     กําหนดแก่เขา
ข้าพเจ้าถามว่า: กิรออะฮ์(วิธีการอ่าน)ใดจากกิรออะฮ์ทง 7 ที่ท่านใช้อ่านคัมภีร์อัล
                                                   ั้
      กุรอาน?
เขาตอบว่า: กิรออะห์หฟศ์3
                    ั
ข้าพเจ้าถามว่า: ท่านได้อ่านอัลกุรอานด้วยกิรออะฮ์หัฟศ์เป็นประจําหรือไม่? หรือ
      ว่าในแต่ละวันท่านได้อ่านอัลกุรอานแบบกิรออะฮ์อื่นที่สลับเปลี่ยนกันไป?
เขาตอบว่า: ฉันประจําอยู่กับการอ่านอัลกุรอานแบบกิรออะฮ์หฟศ์
                                                       ั


3
  กิรออะฮ์ [     ] คือแบบการอ่านหนึ่งจากแบบการอ่านทั้ง 7 ซึ่งกิรออะฮ์หัฟศ์นี้ คือกิรออะฮ์ที่เราและคน
ส่วนใหญ่อ่านกันในปัจจุบัน.
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                              7


ข้า พเจ้า ถามว่า : แล้ว อะไรทํา ให้ท่านเจาะจงอยู่กับ การอ่านแบบดังกล่าว ทั้ ง
       ที่ อั ล ลอฮฺ ก็ มิ ไ ด้ กํ า หนดให้ แ ก่ ท่ า น นอกจากพระองค์ เ พี ย งให้ ท่ า นอ่ า น
       อั ล กุ ร อานตามที่ มี ร ายงานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง(มุ ต ะวาติ ร )จากท่ า นนะบี ย์
       ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เท่านั้น
    เขาตอบว่า: เพราะว่าฉันไม่พร้อมที่จะศึกษาการอ่านแบบอื่น และมันไม่ใช่เรื่อง
        ง่ายสําหรับฉันที่จะอ่านนอกจากอ่านแบบวิธีน4เท่านั้น
                                                 ี้
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: บุคคลหนึ่งได้ศึกษาฟิกฮฺมัซฮับอัชชาฟีอีย์ โดยที่เขาก็คืออีกผู้
      หนึ่งที่ไม่พร้อมที่จะศึกษามัซฮับอื่นๆ และเขาก็ไม่สะดวกที่จะทําความ
      เข้าใจกับหุกุ่มต่างๆ ทางด้านศาสนานอกจากตามอิหม่ามท่านนี้ ดังนั้นหาก
      ท่านบังคับให้เขาต้องรู้จักข้อวินิจฉัยต่างๆ ของปวงปราชญ์ทั้งหมด ก็จําเป็น
      บนท่ า นเช่ น เดี ย วกั น ที่ จ ะต้ อ งศึ ก ษากิ ร ออะฮ์ ( หลั ก วิ ธี ก ารอ่ า น)ทั้ ง หมด
      จนกระทั่งท่านสามารถอ่านมันทั้งหมดได้ แต่ถ้าหากท่านได้ผ่อนปรนให้แก่
      ตัว ของท่า นเนื่องจากไม่มีความสามารถ ก็จําเป็น บนท่านต้อ งผ่อนปรน
      ให้แก่คนมุก็อลลิดนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ท่านเอามาจากไหนที่บอกว่า
      คนมุก็อลลิดนั้นจะต้องเปลี่ยนมัซฮับหนึ่งไปยังอีกมัซฮับหนึ่งทั้งที่อัลลอฮฺไม่
      เคยกําหนดสิ่งดังกล่าวแก่เขาเลย หมายถึง เสมือนกับ ที่พระองค์ไม่เคย
      กําหนดให้เขาต้องคงอยู่กับ มัซฮับ หนึ่งเป็น การเฉพาะ พระองค์ก็ไม่เคย
      กําหนดให้เขาต้องเปลี่ยนย้ายมัซฮับอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
เขากล่าวว่า: แท้จริงสิ่งที่ห้ามแก่เขาก็คือ การยึดติดอยู่กับมัซฮับหนึ่งพร้อมเชื่อมั่น
      ว่า อัลลอฮฺทรงสั่งใช้เขาให้ยึดมัซฮับดังกล่าว


4
    คืออ่านแบบกิรออะฮ์หัฟศ์เท่านั้น.
8                                                                               เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ข้ า พเจ้ า กล่ า วว่ า : นี่ มั น คนละเรื่ อ งกั น และ(การเชื่ อ ว่ า อั ล ลอฮฺ ท รงใช้ ใ ห้ เ ขา
       สังกัดมัซฮับใดมัซฮับ หนึ่งนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม)มัน ก็คือความจริงที่ไม่ต้อง
       สงสัย และไม่มีการคัดแย้ง ใดๆ แต่การที่เขาจะสังกัดมัซฮับ ปราชญ์มุจ ญฺ
       ตะฮิดเป็นการเฉพาะโดยเขาตระหนักรู้อยู่เสมอว่าอัลลอฮฺไม่เคยบังคับให้
       กระทําสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นบาปบนเขาหรือไม่?
เขากล่าวว่า: ไม่เป็นบาปแก่เขา
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่เจ้าของหนังสือปกอ่อน5 ที่ท่านได้นํามาสอนอยู่นั้น ได้กล่าว
      ขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านได้ยืนยันว่า “การสังกัดมัซฮับอิหม่ามเป็นการเฉพาะนั้น
      หะรอม” แต่ยิ่งกว่านั้น ในหนังสือปกอ่อนกลับยืนยันในบางหน้าว่า “บุคคล
      ที่ตาม(มัซฮับ)ของอิหม่ามท่านหนึ่งเป็นการเจาะจงอย่างเป็นประจําโดยไม่
      เปลี่ยนจาก(มัซฮับ)ของอิหม่ามท่านนั้นเลย ถือว่าเป็น กุฟุร!”
ชายคนนั้นกล่าวว่า: ไหนหรือ? แล้วเขาก็กลับไปทบทวนหนังสือปกอ่อนดังกล่าว
    ทําการใคร่ครวญถึงตัวบทและสํานวนต่างๆ และเขาก็ทําการใคร่ครวญ
    คําพูดเจ้าของหนังสือปกอ่อนที่ว่า “แต่ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่ยึดอิหม่ามคนหนึ่งเป็น
    การเฉพาะเจาะจงในทุกๆ ประเด็น(ข้อปลีกย่อยต่างๆ ของศาสนา)นั้น เขา
    ย่อมเป็นผู้ตะอัศศุบ(มีมานะทิฐิ) เป็นผู้ที่กระทําความผิด ตักลีดตามแบบตา
    บอด เขานั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่แบ่งแยกในศาสนาของพวกเขาและ
    พวกเขาก็แตกเป็นกลุ่มๆ” ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า จุดมุ่งหมายของอัลมะอฺซู
    มีย(์ เจ้าของหนังสือปกอ่อน) จากการยึดตามมัซฮับอิหม่ามคนเดียวเป็นการ


5
  คือ ชัยค์มุฮัมมัด ซุลฏอน อัลคุญันดีย์ อัลมะอฺซูมีย์ ผู้แต่งหนังสือปกอ่อนชื่อ “มุสลิมต้องสังกัมมัซฮับเป็นการ
เฉพาะจากมัซฮับทั้งสี่หรือไม่?”
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                            9


      เฉพาะนั้นเป็นกุฟุร คือหมายถึง เขายึดมั่นว่าดังกล่าวเป็นสิ่งที่วาญิบตาม
      หลักศาสนา ซึ่งสํานวนในหนังสือของอัลมะซูมีย์นี้มันตกไป
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: อะไรคือหลักฐานที่เขาได้มีเป้าหมายเช่นนี้ และเหตุใดท่านถึงไม่
      กล่าวว่า “ผู้แต่งหนังสือ(คืออัลมะซูมีย)์ ผิดพลาด?”
แต่ชายคนนี้พยายามยืนกรานว่าสํานวนของหนังสือถูกต้องแล้ว และสํานวน
หนังสือต้องอยู่บนการสมมุติถ้อยความที่ถูกตัดไป และผู้แต่งหนังสือได้รับการ
ปกป้องจากความผิดพลาดจากสํานวนการเขียนในหนังสือเล่มดังกล่าว
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่สํานวนของการสมมุติถ้อยคํานี้ ไม่สามารถมาแก้ต่างผู้ที่มา
      คัดค้านได้เลย และไม่มีประโยชน์อันใดทั้งสิ้น เพราะไม่มีมุสลิมคนใดเลย
      นอกจากเขารู้ว่าการตามอิหม่ามคนหนึ่งเป็นการเฉพาะจากอิหม่ามมัซฮับ
      ทั้งสี่นั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่วาญิบตามหลักของศาสนา และไม่มีมุสลิมคนใดทํา
      การยึดสังกัดมัซฮับหนึ่งเป็นการเฉพาะนอกจากว่าเขาได้มีความปรารถนา
      และมีความสมัครใจจากตัวของเขาเอง
เขากล่าวว่า: มันเป็นอย่างไรหรือ? ทั้งที่ความจริงฉันได้ยินผู้คนมากมายและผู้มี
     ความรู้บางส่วนได้กล่าวว่า จําเป็นต้องสังกัดมัซฮับเป็นการเฉพาะตามหลัก
     ของศาสนา จนกระทั่งไม่อนุญาตให้เขาเปลี่ยนไปยังมัซฮับอื่น
ข้าพเจ้ากล่าวแก่เขาว่า: ท่านจงกล่าวนามชื่อมาให้ฉันสักหนึ่งคนซิ จากสามัญชน
      หรือผู้รู้ ที่เขาได้กล่าวคําพูดเช่นนี้แก่ท่าน
ชายคนนั้นจึงหยุดนิ่ง แต่ทว่าเขารู้สึกแปลกใจที่คําพูดของฉันถูกต้อง และเขาก็
ยังคงลังเลสงสัยว่า ทุกสิ่งที่เขาได้จินตนาการนั้น คือผู้คนมากมายห้ามทําการ
ย้ายมัซฮับหนึ่งไปยังอีกมัซฮับหนึ่ง
10                                                                    เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ในวันนี้ท่านจะไม่พบผู้ใดสักคนที่เชื่อแบบคลุมเครือ
      เหลวไหลนี้ แต่พวกเขาได้รายงานเล่าจากยุคหลังบางช่วงในสมัยของอ็อตโต
      มัน(อุษมานียะฮ์) ว่า “พวกเขาถือเป็นบาปใหญ่การที่ผู้ยึดถือมัซฮับหะ
      นะฟีย์ได้เปลี่ยนจากมัซฮับของเขาไปยังมัซฮับอื่น” ซึ่งไม่สงสัยเลยว่า คําพูด
      ของพวกเขาดังกล่าวนั้น - หากการถ่ายทอดรายงานมีความถูกต้องจริง – ก็
      ถือเป็นความเขลาและมีมานะทิฐิที่คลั่งไคล้แบบตาบอด
หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ท่านเอามาจากไหนหรือ? ในกรณีการ
      แบ่งแยกระหว่างคําว่า มุก็อลลิด (ผู้ตามคนอื่น) กับมุตตะบิอฺ (ผู้ตามโดยรู้
      หลักฐาน) มันเป็นการแบ่งแยกศัพท์ทางภาษาหรือศัพท์ทางวิชาการ?
เขาตอบว่า: ระหว่างทั้งสองคํานั้น มีความแตกต่างด้านศัพท์ทางภาษา
และข้ า พเจ้ า ได้ นํ า ตํ า ราอ้ า งอิ ง ทางด้ า นภาษาอาหรั บ เพื่ อ ให้ เ ขายื น ยั น ถึ ง การ
แบ่งแยกศัพท์ทางภาษาระหว่างสองคํานี้ แต่เขาไม่สามารถพบความแตกต่างได้
เลย
หลังจากนั้นข้าพเจ้ากล่าวว่า: แท้จริงท่านอะบูบักร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวแก่
      ชายชนบทที่ทําการคัดค้านรายได้(ต่อเดือนในการเป็นค่อลีฟะฮ์ของท่าน)ที่
      บรรดามุสลิมทั้งหลายให้การยอมรับว่า


        “เมื่อบรรดามุฮาญิรีนพอใจ แท้จริงพวกท่าน(ชาวอันศ็อร)ย่อมเป็นผู้ที่ตาม”
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                            11


          ท่านอะบูบักรได้ใช้สํานวนที่ว่า [ ] บนความหมายของการเห็นพ้องโดย
          ไม่มีสิทธิ์ในการพิจารณา วิเคราะห์ และโต้แย้งได้เลย6
เขากล่าวว่า: มันเป็นการแบ่งแยกศัพท์เชิงวิชาการ และฉันไม่มีสิทธิ์ในการให้ศัพท์
      เชิงวิชาการกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยกระนั้นหรือ?
ข้าพเจ้าตอบว่า: มิใช่เช่นนั้น แต่การให้ศัพท์เชิงวิชาการของท่านนี้ ไม่สามารถ
      เปลี่ยนข้อเท็จจริงได้หรอก เพราะว่าบุคคลที่ท่านเรียกเขาว่า “มุตตะบิอฺ”(ผู้
      เจริญตาม)นั้น บางครั้งเขาทราบถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ รู้วิธีการต่างๆ ใน
      การวินิจฉัย(อิจญฺติฮาด) แน่นอนว่าเขาย่อมเป็น “มุจญ์ตะฮิด(ผู้วินิจฉัยได้)”
      แต่หากว่าเขาไม่ทราบถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ อีกทั้งไม่สามารถวินิจฉัย
      หุกุ่มจากหลักฐานนั้นได้ แน่นอนเขาย่อมเป็นคน “มุก็อลลิด” และหากว่า
      ประเด็นปัญหาบางส่วนเขารู้หลักฐานเช่นนั้นเช่นนี้และในอีกบางประเด็น
      ปัญหาเขาไม่รู้หลักฐาน แน่นอนว่า เขาย่อมเป็นคนมุก็อลลิดในบางประเด็น
      และเป็นมุจญ์ตะฮิดในบางประเด็น ดังนั้นการแบ่งแยกจึงมีเพียงแค่สอง
      จําพวกในทุกกรณี7 และสถานะของทั้งสองนี้ ย่อมมีความชัดเจนและเป็นที่
      ทราบกันดี


6
    เช่นเดียวกัน คือคําตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ความว่า

"เมื่อกลุ่มชน(จากบรรดาชัยฏอนที่ลุ่มหลง)ที่ถูกตามได้ปลีกเอาตัวรอดจากกลุ่มชน(จากพวกมนุษย์)ที่ถือตาม
ในขณะพวกเหล่านั้นได้มองเห็นการลงโทษแล้ว(ในโลกหน้า) และบรรดาสัมพันธภาพก็ได้ขาดสะบั้นไปแล้ว
จากพวกเขา" [อัลบะกอเราะฮ์: 166]. ดังนั้นเราจะพบว่าอัลลอฮฺได้ตรัสสํานวนคําว่า    "การตาม" ณ ที่นี้
เป็นภาพลักษณ์ที่ต่ําต้อยยิ่งกว่าการตักลีดเสียอีก.
7
  คือแบ่งเป็นมุจญฺตะฮิดกับคนมุก็อลลิดเท่านั้น.
12                                                              เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


เขากล่าวว่า: แท้จริงคนมุตตะบิอฺ (เจริญรอยตาม) นั้น เขาคือผู้ที่สามารถแยกแยะ
      บรรดาทัศนะและหลักฐานต่างๆ ได้ และสามารถให้น้ําหนัก(ตัรญีห์) ทัศนะ
      หนึ่งเหนืออีกทัศนะหนึ่งได้ และนีก็คือระดับที่มีความโดดเด่นกว่าผู้ตักลีด
                                      ่
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: หากท่านมีเป้าหมาย ในการแยกแยะระหว่างทัศนะต่างๆ คือ
      การแยกแยะบางทั ศ นะที่ มีห ลั ก ฐานแข็ ง แรงและหลัก ฐานที่ อ่อ นได้ นั้ น
      ดังกล่าวย่อมอยู่ในระดับอิจญ์ติฮาดขั้นสูง ดังนั้นท่านสามารถที่จะทําให้ตัว
      ของท่านเองเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่?
เขากล่าวว่า: ฉันจะกระทําสิ่งดังกล่าวให้สุดความสามารถของฉัน
ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ฉันรู้ว่าท่านได้ทําการฟัตวาว่า การฏ่อล๊าก(หย่า) 3 ใน
      ครั้งเดียวนั้น ตกแค่ 1 ฏ่อล๊าก ดังนั้นก่อนที่ท่านจะทําการฟัตวานี้ ท่านได้
      กลับไปทบทวนคํากล่าวของบรรดาอุละมาอฺและบรรดาหลักฐานต่างๆ ของ
      พวกเขาเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวแล้วหรือยัง? จากนั้นท่านก็ทําการแยกแยะแจก
      แจงระหว่างบรรดาหลักฐานเหล่านั้น แล้วทําการฟัตวาโดยอยู่บน(พื้นฐาน
      การทราบถึงทัศนะและบรรดาหลักฐานต่างๆ ของพวกเขา)แล้วหรือไม่?
      “แท้จริง อุวัยมิร อัลอิจญ์ลานีย์ ได้ทําการหย่าภรรยาของเขาทีเดียว 3 ครั้ง
      ต่อหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากที่เขาได้ทํา
      การลิอาน (การกล่าวสาบานว่าภรรยาของตนทําซินาเพื่อปฏิเสธความอับ
      อายที่ มี ต่อ เขา) แต่ภ ายหลั งจากนั้ น เขาได้ก ล่ าวว่ า โอ้ท่ านร่ อซู ลุ ล ลอฮฺ
      ความจริงฉันโกหกต่อนาง หากฉันได้ทําการกักตัวนาง (จะได้หรือไม่?) ทั้งที่
      นางได้ถูกหย่า 3 แล้ว (แต่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ได้ทํา
      การแยกระหว่างทั้งสองเนื่องจากหย่าทีเดียว 3 ครั้งถือว่าตก 3 ฏ่อล๊าก)
      ดังนั้นท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหะดีษนี้ และท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับข้อบ่งชี้
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                                13


        ของหะดีษตามหลักวินิจฉัยของมัซฮับของปราชญ์ส่วนมากและมัซฮับของ
        ท่านอิบนุตัยมียะฮ์?
เขากล่าวว่า: ฉันไม่เคยทราบถึงหะดีษนี้มาก่อนเลย
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ได้อย่างไรกัน การที่ท่านได้ทําการฟัตวาประเด็นปัญหานี้ โดย
      ขัด แย้ ง กั บ สิ่ง ที่ บ รรดามัซ ฮั บ ทั้ ง สี่ ไ ด้ล งมติ แ ล้ ว และท่ า นก็ มิไ ด้ ท ราบถึ ง
      บรรดาหลักฐานของพวกเขาทั้งในแง่ของความอ่อนหรือความมีน้ําหนักของ
      หลักฐาน! ดังนั้นท่านได้กลายเป็นผู้ทิ้งอุดมการณ์ที่ท่านได้เคยกล่าวไว้ โดย
      ท่านกําหนดอุดมการณ์แก่ตัวของท่านเองและพยายามให้เรายึดอุดมการณ์
      นั้นด้วย ซึ่งก็คืออุดมการณ์แห่งการ อิตติบาอฺ (การตามโดยรู้หลักฐาน)
      ตามที่ท่านได้ให้คํานิยามไว้!
เขากล่าวว่า: ในเรื่องดังกล่าวนั้น ณ ที่ฉัน ไม่มีตําราอย่างเพียงพอสําหรับการ
     นํามาตีแผ่มัซฮับของปวงปราชญ์และหลักฐานต่างๆ ของพวกเขาเลย
ข้าพเจ้ากล่าวว่า : อะไรที่ทําให้ท่านต้องรีบด่วนในการฟัตวา โดยขัดแย้งกับ
      ปราชญ์มุสลิมีนส่วนมาก ทั้งที่ท่านไม่เคยทราบถึงหลักฐานต่างๆ ของพวก
      เขาเลย?
เขากล่าวว่า: แล้วจะให้ฉันทําอย่างไร ในเมื่อฉันถูกถาม โดยในขณะนั้นฉันไม่มี
     อะไร นอกจากมีตําราอ้างอิงที่จํากัด
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ความจริงท่านมีความสามารถเฉกเช่นเดียวกับบรรดาอุละมาอฺ
      และบรรดาอิหม่ามทั้งหมด ก็คือ ท่านสามารถกล่าวว่า “ฉันไม่รู้” หรือท่าน
      สามารถทําการถ่ายทอดทัศนะของมัซฮับทั้งสี่ให้แก่ผู้ที่มาขอฟัตวา และ
      นําเสนอทัศนะของผู้ขัดแย้งกับมัซฮับทั้งสี่โดยมิต้องทําการฟัตวา(เจาะจง
14                                                           เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


       ฟันธง)กับทัศนะใดจากทั้งสอง ซึ่งท่านก็มีความสามารถที่จะกระทําสิ่ง
       ดังกล่าวได้ ยิ่งกว่านั้น มันเป็นหน้าที่ของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาที่
       ได้เกิดขึ้นกับท่านนั้น มันทําให้ท่านต้องหาทางออกแบบไหนก็ได้กระนั้น
       หรือ?
       ส่ว นการที่ท่านได้ทําการฟัต วาด้ว ยทัศนะความเห็น ที่ขัด แย้งกับ มติของ
       อิหม่ามทั้งสี่ โดยท่าน -ให้การยอมรับเองว่า– ไม่ได้ทราบถึงบรรดาหลักฐาน
       ของพวกเขา เนื่ อ งจากท่ า นถื อ ว่ า เป็ น ความเพี ย งพอแล้ ว ในการเปิ ด ใจ
       ยอมรับหลักฐานต่างๆ ของผู้ที่มีทัศนะขัดแย้ง(กับมัซฮับทั้งสี่)นั้น ถือว่าเป็น
       ความตะอัศศุบ(มีความทิฐ)ิ เป็นที่สุดที่พวกท่านมักนํามากล่าวหาพวกเรา
เขากล่าวว่า: ขอยืนยันว่า ฉันได้ทําการดูทัศนะต่างๆ ของอิมามทั้งสี่ในหนังสือ
     (นั ย ลุ ล เอาฏ็ อ ร) ของท่ า นอั ช เชากานี ย์ หนั ง สื อ สุ บุ ลุ ส สลาม (ของ
     ท่านอัสศ็อนอานีย)์ และหนังสือฟิกฮุสซุนนะฮ์ ของท่าน ซัยยิด ซาบิก แล้ว
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เหล่านี้เป็นตําราคู่ปรับของอิหม่ามทั้งสี่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา
      นี้ ซึ่งตําราทั้งหมดนี้ พูดเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และทําการนําเสนอหลักฐาน
      ต่างๆ เพื่อให้น้ําหนักทางฝ่ายตนเท่านั้น ดังนั้นท่านจะพอใจกระนั้นหรือ
      การที่ท่านได้ตัดสินสองคู่กรณี โดยรับฟังคําพูดเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งรับฟัง
      คําพูดของบรรดาพยานและญาติใกล้ชิดเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น?
เขาตอบว่า: ความจริงฉันไม่เห็นว่าการกระทําของฉันนี้ เป็นสิ่งที่น่าตําหนิแต่
     ประการใด และขอยืนยันว่า จําเป็นบนฉันต้องทําการฟัตวาให้กับผู้ที่มาถาม
     และนีก็คือขนาดความรู้ที่ฉันสามารถเข้าถึงด้วยความเข้าใจของฉันได้
          ่
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                           15


ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านเคยกล่าวว่า ท่านนั้นมุตตะบิอฺ (ผู้เจริญรอยตามโดยทราบ
      หลักฐานไม่ใช่ผู้ตักลีด) และจําเป็นบนเราทั้งหมดที่ต้องเป็นเช่นนั้นด้วย
      และท่านเองก็ได้เคยอธิบายมาแล้วว่า การอิตติบาอฺนั้น คือการนําเสนอตีแผ่
      ทัศนะต่างๆ ของมัซฮับทั้งหมด แล้วทําการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ
      และยึดมัซฮับที่ใกล้เคียงกับหลักฐานที่ถูกต้องที่สุด แต่ทว่าการกระทําของ
      ท่านเองนั้น ได้ขว้างอุดมการณ์ของท่านไปยังกําแพงเสียแล้ว ซึ่งท่านก็
      ทราบดีแล้วว่า มัซฮับทั้งสี่ได้ลงมติแล้วว่า การหย่าฏ่อล๊ากทีเดียวสามครั้ง
      ทําให้ตกสาม และท่านก็รู้ดีว่า พวกเขามีบรรดาหลักฐานยืนยันต่อสิ่ง
      ดังกล่าวโดยท่านไม่ยอมดูมันเลย พร้อมกันนั้นท่านก็ทําการเปลี่ยนจากการ
      ลงมติ(อิจญ์มาอฺ)ของพวกเขาไปยังทัศนะความเห็นที่ตัวท่านเองชื่น ชอบ
      หรือว่าท่านมีความมั่นใจมาก่อนแล้วว่า บรรดาหลักฐานของอิหม่ามทั้งสี่นั้น
      เป็นหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง?
เขาตอบว่า: ไม่ แต่ทว่าฉันนั้นไม่เคยดูหลักฐานต่างๆ ของพวกเขาเลย เนื่องจาก
     ณ ที่ฉันไม่มีตําราอ้างอิงเกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าว
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ดังนั้น เหตุใดท่านจึงไม่รอคอยก่อนเล่า? เหตุใดท่านจึงรีบร้อน?
      และอั ล ลอฮฺ ก็ มิ ไ ด้ บั ง คั บ ให้ ท่ า นต้ อ งกระทํ า การรี บ ร้ อ นในการฟั ต วาสิ่ ง
      ดังกล่าวเลย? หรือการที่ท่านไม่ได้ดูบรรดาหลักฐานต่างๆ ของปราชญ์ส่วน
      ใหญ่นั้น ทําให้ทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มีน้ําหนัก? แล้วการตะอัศศุบ
      (ความมานะทิฐิ) ที่พวกท่านได้พยายามกล่าวหาเราอย่างผิดๆ นั้นคือสิ่งอื่น
      ที่ไม่ใช่รูปแบบทีเหมือนกับการกระทําของท่านอันนี?
                       ่                                           ้
16                                                          เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


เขากล่าวว่า: ความจริงการที่ฉันได้เห็นว่าในตําราต่างๆ ที่เพียบพร้อมไปด้วย
     หลักฐานที่มีอยู่ ณ ที่ฉันนั้น ทําให้ฉันพอใจ และอัลลอฮฺก็มิได้บังคับแก่ฉัน
     มากกว่านี้
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เมื่อมุสลิมคนหนึ่งได้ดูตําราต่างๆ แล้วพบหลักฐานบทหนึ่งนั้น
      ถือว่าเป็นความเพียงพอสําหรับเขาแล้วหรือไม่ ในการที่จะทิ้งบรรดามัซฮับ
      ที่ขัดแย้งกับความเข้าใจของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยดูบรรดาหลักฐาน
      ของมัซฮับต่างๆ เหล่านั้นก็ตาม?
เขาตอบว่า: ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นเพียงสําหรับเขาแล้ว !
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ชายหนุ่มคนหนึ่งเพิ่งเข้ารับศาสนาอิสลามใหม่ๆ ซึ่งเขาไม่มีส่วน
      ใดๆ จากการเรียนรู้อิสลามเลย แล้วเขาก็อ่านคําตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา
      ที่ว่า


      “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
      ดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หัน
      ไป) แท้จริงอัลลอฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง” [อัลบะกอเราะฮ์ : 115]
      ดังนั้นสิ่งที่เข้าใจได้จากคําตรัสของพระองค์ก็คือ อนุญาตให้มุสลิมทําการ
      หันไปทางทิศใดก็ได้ตามที่เขาต้องการในการละหมาดตามความหมายผิว
      เผินของถ้อยคําที่ได้บ่งชี้ไว้ในอัลกุรอาน แต่ทว่าเขาได้ยินบรรดาอิหม่ามทั้งสี่
      ได้ลงมติว่าจําเป็นบนผู้ละหมาดต้องหันไปทางกะบะฮ์ และเขาก็รู้ดีว่า
      บรรดาอิหม่ามทั้งสี่นั้นก็มีหลักฐานยืนยันในสิ่งดังกล่าว แต่ทว่าเขาไม่เคยไป
      ดูหลักฐานเหล่านั้นเลย ดังนั้นจะให้เขาทําอย่างไรเมื่อเขาได้ทําการละหมาด
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                                      17


         จะให้เขาตามความพอใจของตนเองจากหลักฐานที่เขาได้รับ หรือว่าตาม
         บรรดาอิหม่ามที่มีมติค้านกับสิ่งที่เขาได้เข้าใจ?
เขาตอบว่า: ให้เขาตามความพอใจของตนเอง!!
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เขาได้ทําการละหมาดโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นต้น
      และการละหมาดของเขาจะใช้ได้หรือไม่?
เขาตอบว่า: ใช้ได้ เนื่องจากเขาถูกบัญญัติใช้ให้ตามความพอใจของตนเอง(ไม่ใช่
     คนอื่น)
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านจงใคร่ครวญเถิดว่า ความพอใจส่วนตัวของเขานั้น อาจจะ
      บ่งบอกให้เขาทราบว่า ไม่เป็นบาปแก่เขาที่จะทําการซินาภรรยาเพื่อนบ้าน
      ของเขา และไม่บาปที่เขาจะดื่มสุราให้เต็มท้องของเขา และไม่เป็นบาปที่
      เขาจะทําการปล้นทรัพย์สินของผู้คนโดยมิชอบ ดังนั้นอัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติ
      สิ่งดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เขาด้วยความพึงพอใจส่วนตัวกระนั้นหรือ?
ชายคนนั้นหยุดนิ่งครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า: ทุกๆ รูปแบบที่ท่านได้ถามฉันนี้ เป็น
    รูปแบบที่สมมุติขึ้นมาโดยมิได้เกิดขึ้นจริง
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: มันมิใช่รูปแบบที่สมมุติขึ้น แต่ส่วนมากแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
      และเป็นเรื่องที่แปลกอย่างยิ่ง ก็คือ ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่มีความรู้ใดๆ
      เกี่ยวกับอิสลาม ไม่รู้เกี่ยวกับกิตาบุลลอฮฺ และซุนนะฮ์ และเขาก็ได้ยินหรือ
      ได้อ่านพบอายะฮ์นี้8โดยบังเอิญ แล้วเขาก็รู้จากอายะฮ์นี้เหมือนกับคน

8
   คืออายะฮ์ที่: 115 ซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ ที่ว่า “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็น
สิทธิ์ของอัลลอฮฺดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หันไป) แท้จริงอัลลอ
ฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง”
18                                                          เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


      อาหรับทั่วไปที่รู้ถึงความหมายผิวเผิน(ของอายะฮ์ดังกล่าวนั้น)ว่า ไม่เป็น
      บาปในการที่ผู้ละหมาดทําการหันไปยังทิศใดก็ได้ตามที่เขาต้องการ ทั้งที่
      เขาได้เห็น ผู้คนทํ าการหัน ไปยังกะบะฮ์ก็ ตามที ซึ่งดั งกล่า วเป็น เรื่อ ง
      ธรรมชาติที่สามารถจินตนาการและเกิดขึ้นกันได้ตราบใดที่ในบรรดามุสลิ
      มีนนั้นยังมีผู้ที่ไม่รู้หลักการใดๆ ของอิสลาม
      อย่างไรก็ตาม ท่านได้ทําการหุกุ่มตัดสินตามรูปแบบนี้ (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ
      ที่ส มมุติขึ้น หรือเกิดขึ้น จริงก็ตาม)ด้วยหุกุ่มที่เกิดขึ้นจริงและท่านมองว่า
      ความพอใจส่วนตัวนั้น คือ ตัวตัดสิน ในทุกๆ กรณี แต่การตัดสินของท่านนี้
      มันไปค้านในกรณีที่ท่านได้แบ่งผู้คนออกเป็น 3 จําพวก คือ พวกที่ตักลีดอุ
      ละมาอฺโดยไม่รู้หลักฐาน(มุก็อลลิด), พวกที่ตามอุละมาอฺโดยรู้หลักฐาน
      (มุตตะบิอ)ฺ , ผู้ที่วิเคราะห์วินิจฉัยหลักฐานได้(มุจญ์ตะฮิด)
เขากล่าวว่า: แท้จริงจําเป็นบนเขา ต้องทําการค้นคว้า เขาไม่เคยอ่านสักหะดีษ
     หนึ่งหรือไม่เคยอ่านอายะฮ์อื่นๆ เลยกระนั้นหรือ?
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ก็ ณ ที่เขา ไม่มีแหล่งตําราอ้างอิงค้นคว้าอย่างพร้อมสรรพเลย
      ซึ่งเหมือนกับที่ท่านไม่มีตําราอย่างพร้อมสรรพในขณะที่ทําการฟัตวาใน
      เรื่องฏ่อล๊าก(การหย่า 3) และชายคนนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะได้อ่านอายะฮ์
      อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ใช้ให้เจาะจงหันหน้าไปทางกิบละฮ์ ดังนั้นท่าน
      ยังคงยืนกรานว่า เขานั้นตามความพอใจส่วนตัวหรือเขาขัดมติของปวง
      ปราชญ์?
เขาตอบว่า: ใช่ (ยังคงยืนกรานเช่นนั้น) เมื่อเขาไม่มีความสามารถที่จะติดตามการ
     วิเคราะห์พิจารณาอย่างต่อเนื่องได้ แน่นอนว่าเขาจะถูกผ่อนปรนให้ และ
     เพียงพอแล้วที่เขาจะยึดในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ชี้นําให้เขาพิจารณาและวิเคราะห์!
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                                             19


ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ต่อไปฉันจะเผยแพร่คําพูดของท่านนี้ ซึ่งมันเป็นคําพูดที่เสี่ยง
      และแปลก!
เขากล่า วว่า : ท่านจงนํา ไปเผยแพร่ตามที่ท่านต้องการเถอะ เพราะฉัน ไม่กลัว
     หรอก
ข้า พเจ้า กล่า วว่า : ท่านจะกลัว ฉั น ได้อย่า งไร ในเมื่อท่านไม่ ได้กลั ว อัล ลอฮฺ
       ตะอาลา เนื่องจากด้วยคําพูดของท่านนี้ ท่านได้ทิ้งขว้างคําตรัสของอัลลอฮฺ
       ตะอาลา ที่ว่า “พวกท่านจงถามผู้ที่มีความรู้หากพวกท่านไม่รู้” [อันนะห์ลิ:
       43] ไปทีกําแพง(อย่างไม่สนใจมัน)เสียแล้ว!
                ่
ชายผู้นั้นกล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ บรรดาอิหม่ามทั้งสี่เหล่านั้นไม่มะอฺซูม(คือไม่ได้
      รับการปกป้องจากความผิด) สําหรับอายะฮ์ที่ท่านได้ยึดอยู่นั้น เป็นคําตรัส
      ของ(อัลลอฮฺ)ผู้ปราศจากความผิดพลาด ดังนั้นอย่างไรกัน ที่ชายหนุ่มคนนั้น
      จะทิ้ ง (คํ า ตรั ส ของอั ล ลอฮฺ ) ผู้ ป ราศจากความผิ ด แต่ ไ ปยึ ด ตามผู้ ที่ ไ ม่ ถู ก
      ปกป้องจากความผิด(มะซูม)?9
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ สิ่งที่มะอฺซูม (ได้รับการปกป้องจากความผิดนั้น) ก็
      คือความหมายที่แท้จริงที่อัลลอฮฺทรงต้องการจากคําตรัสของพระองค์ที่ว่า
      “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

9
   ปัจจุบันมาเราจะพบผู้ที่ยกย่องทัศนะที่ตนเองเลือกว่า ตามกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ เพื่อให้คนทั่วไปรู้ว่า
ทัศนะที่เขาเลือกนั้นถูกต้องไม่มีผิด ทั้งที่ความจริงแล้วทัศนะที่เขาเลือกเป็นเพียงความเข้าใจในแง่มุมหนึ่งจาก
ตัวบทของอัลกุรอานและซุนนะฮ์เท่านั้นเอง ซึ่งความจริงแล้ว ตัวบทนั้นมะอฺซูมแต่ความเข้าใจของพวกเขานั้น
ไม่มะอฺซูม ซึ่งเราต้องแยกแยะให้ได้ แต่ปัญหาปัจจุบันก็คือ พวกเขายังคงยกย่องทัศนะตนเองว่าเป็นทัศนะ
ของอั ล ลอฮฺ แ ละร่ อ ซู ล เพื่ อ เก็ บ เกี่ ย วและสร้ า งความเข้ า ใจอั น ผิ ด กั บ คนเอาวามที่ ไ ม่ ส ามารถแยกแยะ
รายละเอียดในเรื่องศาสนาได้ ซึ่งการพยายามแอบอ้างเช่นนี้ เป็นความผิดเนื่องจากยกย่องตนเองและขัดกับ
หลักคุณธรรมของศ่อฮาบะฮ์และสะละฟุศศอลิห.์
20                                                              เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


           ดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หัน
           ไป) แท้จริงอัลลอฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง” [อัลบะกอเราะฮ์ : 115]
           แต่สิ่งที่ไม่มะอฺซูมนั้น คือความเข้าใจของชายหนุ่มคนนี้ที่ห่างไกลจากการ
           เรียนรู้หลักการต่างๆ ของอิสลามและธรรมชาติของอัลกุรอาน กล่าวคือ
           การเปรียบเทียบที่ฉันได้ถามท่านนั้น คือเป็นการเปรียบเทียบระหว่างสอง
           ความเข้าใจ คือ ระหว่างความเข้าใจของชายหนุ่มผู้ไม่มีความรู้กับความ
           เข้าใจของบรรดาอิหม่ามผู้วินิจ ฉัยได้ ซึ่งความเข้าใจของทั้งสองนั้นไม่
           มะอฺซูมหรอก แต่จะมีบุคคลหนึ่งจากทั้งสองที่เขาตกไปอยู่ในความโง่เขลา
           และเบี่ยงเบนจากความถูกต้อง(คือชายหนุ่มคนนี้) และอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมี
           ความลึกซึ้งในการวิจัย มีความรู้ และมีความละเอียดละออ (คือบรรดา
           อิหม่ามผู้วินิจฉัยได้)
ชายคนนั้นกล่าวว่า: แท้จริงอัลลอฮฺไม่ได้บัญญัติตกหนักบนเขามากไปกว่าสิ่งเขาที่
     ได้ทุ่มเทไป!
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านจงตอบคําถามฉันต่อไปนี้ : ชายคนหนึ่งมีบุตรที่กําลังป่วย
      เป็นโรคผื่น(เรื้อรัง) บรรดาแพทย์ของเมืองนั้นทั้งหมดได้ทําการตรวจดู และ
      พวกเขาก็ลงมติกันว่า ต้องให้เด็กได้รับการเยียวที่เป็นการเฉพาะ ดังนั้น
      บรรดาแพทย์จึงเตือนบิดาของเด็กให้ระวังการฉีดยารักษาบุตรของเขาด้วย
      เพนนิซิลลิน10 และบรรดานายแพทย์ก็บอกเขาว่า หากทําการฉีดด้ว ย
      ยาเพนซิลลิน ก็จะทําให้เด็กถึงแก่ชีวิตได้ แต่บิดาของเด็กเคยทราบจากการ
      อ่านข้อแจกแจงทางการแพทย์ว่า เพนนิซิลลินนั้นมีประโยชน์ในการรักษา
      โรคผื่น(เรื้อรัง) ดังนั้น เขาจึงยึดถือข้อมูลที่เคยทราบมา และทิ้งคําแนะนํา

10
     ยาปฏิชีวนะมีฤทธิฆาเชื้อราแบคทีเรีย.
                     ์ ่
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                                 21


       ของบรรดาแพทย์ เนื่องจากเขาไม่รู้ถึงหลักฐานของนายแพทย์ที่จะมายืนยัน
       ในสิ่งที่พวกเขาได้พูด(ว่าการเพนนิซิลลินเป็นอันตราย) ปรากฏว่าบิดาของ
       เด็กก็กระทําตามความพอใจส่วนตัว แล้วทําการเยียวยารักษาบุตรของเขา
       ด้วยการฉีดเพนนิซิลลิน ปรากฏว่าผลการฉีดเพนนิซิลลินนั้นทําให้เด็กต้อง
       กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ ดังนั้นบิดาของเด็กจะถูกหมายเรียกมา
       สอบสอบสวนหรือเขาได้ก่ออาชญากรรมต่อสิ่งที่เขาได้กระทําหรือไม่?
       ชายคนนั้นจึงคิดพิจารณาสักครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า กรณี(บิดาของเด็ก)นี้มิใช่
       เหมือนกับกรณี(ชายหนุ่ม)ดังกล่าว
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่ความจริงมันเป็นกรณีเดียวกัน กล่าวคือ บิดาของเด็กได้ยิน
      การลงมติของบรรดาแพทย์ ซึ่งเหมือนกับชายหนุ่มคนนั้นได้ยินมติของปวง
      ปราชญ์ว่าให้ละหมาดหันหน้าไปทางกิบละฮ์ แต่พ่อของเด็กยึดรายละเอียด
      ทางการแพทย์ ที่ เ ขาได้ อ่ า นเองโดยไม่ ยึ ด คํ า แนะนํ า อื่ น ที่ บ รรดาแพทย์
      ปัจจุบันได้บอกไว้ เช่นเดียวกันกับ ชายคนหนึ่งที่ได้ยึดปฏิบัติเรื่องการ
      ละหมาดหันไปทางทิศไหนก็ได้ตามตัวบทที่ได้อ่าน(จากซูเราะฮ์อัลบะก่อ
      เราะฮ์อายะฮ์ที่ 115) โดยไม่พิจารณาหลักฐานอื่นและพ่อของเด็กก็ได้ทํา
      การฉีดพินนิซิลลีน นี้ด้ว ยความพอใจส่ว นตัว เหมือนกับ ที่ชายหนุ่มได้
      ปฏิบัติการละหมาดหันไปทางทิศไหนก็ได้ด้วยความพอใจส่วนตัวเช่นกัน!
ชายคนนั้นกล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ อัลกุรอาน คือรัศมี คือรัศมี และรัศมีในข้อบ่งชี้
     ของอัลกุรอานนั้นมันจะเหมือนกับคําพูดอื่นหรือ?
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: รัศมีของอัลกุรอานมันจะสะท้อนไปยังสติปัญญาของของผู้
      พิจ ารณาและผู้ อ่ า นคนใดก็ ต าม หลั งจากนั้น เขาก็ จ ะสามารถเข้ า ใจอั ล
      กุรอานที่เป็นดังรัศมีตรงตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์กระนั้นหรือ? แล้วอะไร
22                                                                     เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์


        คือข้อแตกต่างระหว่างผู้มีความรู้และผู้ที่ไม่มีความรู้ตราบที่พวกเขาทั้งหมด
        ต่างก็กระหายจากรัศมี(ของอัลกุรอาน)นี?  ้
        ทั้งสองตัวอย่าง มีความเท่าเทียมกัน (คือตัวอย่างการหันหน้าไปทางกิบละฮ์
        และฉีดยาให้แก่เด็ก) โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองเลย และจําเป็น
        ที่ท่านจะต้องตอบฉันว่า เกี่ยวกับกรณีนี้จะให้นักค้นคว้าวิชาความรู้ตาม
        ความพอใจส่วนตนหรือให้เขาตามผู้ที่ชํานาญเฉพาะทาง?
ชายคนนั้นกล่าวว่า: แต่ความพอใจส่วนตัวนั้น คือหลักเดิม(ต้องยึดปฏิบัต)ิ
ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ให้เขาใช้ความพอใจส่วนตัว แล้วต่อมาสิ่งดังกล่าวทําให้เด็ก
      เสียชีวิต ดังนั้นเขาจะต้องรับผิดชอบตามหลักการศาสนาหรือต้องคดี
      หรือไม่?
ชายคนนั้นกล่าวเต็มปากเลยว่า: เขาไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ!
ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า: เราจงจบการวิเคราะห์และการสนทนากันเถิด หลังจาก
      ถ้อยคําที่ท่านได้พูดมันออกไปนี้ ระยะทางเดินร่วมกันระหว่างฉันกับท่านที่
      จะสามารถวิเคราะห์กันได้นั้นได้ขาดสะบั้นลงแล้ว และถือว่าเพียงพอที่ท่าน
      จะนําคําตอบที่แปลกประหลาดอันนี้ออกจากมติของศาสนาอิสลามทั้งหมด
      ไม่ซ.ิ .. ขอยืนยันหากพวกท่านไม่ใช่เป็นผู้ที่ตะอัศศุบ(คลั่งไคล้)เลยเถิด ก็จะ
      ไม่ มี ค วามหมายใดสํ า หรั บ การตะอั ศ ศุ บ (คลั่ ง ไคล้ ) อย่ า งเกิ น เลยบนผื น
      แผ่นดินนี้อีกแล้ว11



11
  หมายความว่าชายคนนั้นมีความตะอัศศุบเป็นอย่างมาก ซึ่งหากชายคนนั้นไม่ได้อยู่ในพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึง
ความตะอัศศุบ ต่อไปบนผืนแผ่นดินนี้ ก็คงหาความหมายตะอัศศุบไม่ได้อีกแล้ว.
บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ
            ้ ั                                                            23


        มุสลิมที่ไม่รู้(ญาฮิล) ที่ใช้ความพอใจส่วนตัวมาทําความเข้าใจสิ่งที่เขาได้
ศึกษาจากอัลกุรอาน ทําการละหมาดผินหน้าไปทางอื่นจากกิบละฮ์โดยขัดแย้งกับ
บรรดามุสลิมีนทั้งหมด แล้วการละหมาดของเขาใช้ได้! (กระนั้นหรือ?!) ชาย
ธรรมดาคนหนึ่งได้ใช้ความพอใจส่วนตัว ทําตนเองให้กลายเป็นแพทย์รักษาผู้ใดก็
ได้ตามที่เขาต้องการ และต่อไปผู้ป่วยก็จะตายด้วยน้ํามือของเขา แล้วถูกกล่าวแก่
ผู้ป่วยว่า อัลลอฮฺจะทรงทําให้ท่านหายป่วยเองกระนั้นหรือ!
      ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า เหตุใดที่พวกไม่มีมัซฮับเหล่านั้นถึงไม่ปล่อยให้เราใช้
ความพอใจส่วนตัวเช่นกันในการให้คนที่ไม่รู้หุกุ่มและหลักฐานต่างๆ ของศาสนา
ทําการยึดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งจากบรรดามัซฮับของปราชญ์มุจญฺตะฮิด เนื่องจาก
พวกเขามีความรู้แจ้งเห็นจริงในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ยิ่งกว่า

More Related Content

What's hot

คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
Islamic Invitation
 
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
Om Muktar
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
Loveofpeople
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมWarakorn Pradabyat
 
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
Om Muktar
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
How to know god thai
How to know god thaiHow to know god thai
How to know god thaiWorldBibles
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชKumobarick Achiroki
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์thnaporn999
 
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนาอิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
islam house
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามthnaporn999
 

What's hot (16)

คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 
ศาสนาอิสลาม 402
ศาสนาอิสลาม 402ศาสนาอิสลาม 402
ศาสนาอิสลาม 402
 
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
 
360
360360
360
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
 
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
อีดตรงกับวันศุกร์ (ภาษาไทย)
 
ค็อฏฏ๊อบ.Doc
 ค็อฏฏ๊อบ.Doc  ค็อฏฏ๊อบ.Doc
ค็อฏฏ๊อบ.Doc
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
How to know god thai
How to know god thaiHow to know god thai
How to know god thai
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนาอิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
 
555
555555
555
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 

Similar to บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ

สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
Panda Jing
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
Gawewat Dechaapinun
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบKumobarick Achiroki
 
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
freelance
 
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chayตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
Peter Chay
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงSongsarid Ruecha
 
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
freelance
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Nopporn Thepsithar
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
niralai
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
ตายแล้วไปไหน
ตายแล้วไปไหนตายแล้วไปไหน
ตายแล้วไปไหนPanda Jing
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1thnaporn999
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)อัมพร ศรีพิทักษ์
 

Similar to บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ (20)

Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
 
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
 
5 laws for nida
5 laws for nida5 laws for nida
5 laws for nida
 
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chayตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
ตัวคนเดียว(เปลี่ยวแต่ไม่เหงา) by Peter chay
 
Pramote maolid
Pramote maolidPramote maolid
Pramote maolid
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวง
 
ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
ตายแล้วไปไหน
ตายแล้วไปไหนตายแล้วไปไหน
ตายแล้วไปไหน
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
 

บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ

  • 2.
  • 3. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 1 บทนํา ... เอกสารเผยแผ่นี้ ได้ถอดความมาจากหนังสือ “อัลลามัซฮะบียะฮ์ อัคฏ่อรุ บิดอะฮ์ ตุฮัดดิดุ อัชชะรีอะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์” หน้า 133-148 ของท่าน อัลลามะฮ์ ศาสตราจารย์ มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะฎอน อัลบูฏีย์ เกี่ยวกับบทสนทนาระหว่าง ผู้ประพันธ์หนังสือกับผู้ที่ไม่มีมัซฮับ ซึ่งเป็นการสนทนาที่น่าสนใจมาก ผู้แปลจึง ถอดความเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้และแง่คิดทีเป็นประโยชน์ อินชาอัลลอฮฺ ่ อนึ่ ง กลุ่ ม ไม่ มี มั ซ ฮั บ กล่ า วกั บ กลุ่ ม ที่ ต ามมั ซ ฮั บ ทั้ ง สี่ ว่ า “อั ล ลอฮฺ ท รง กําหนดให้ฏออัตต่อพระองค์และฏออัตต่อร่อซูลของพระองค์ แต่พวกท่านกลับฏอ อัตต่อบรรดาอิหม่ามทั้งสี่แทนการฏออัตต่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ ดังนั้น หากการฏออั ตบรรดาอุล ะมาอฺ เ ป็น ที่ ย อมรับ ได้ แน่ น อนการฏออั ตต่ อ บรรดา ศ่อฮาบะฮ์ย่อมเหมาะสมกว่าอิหม่ามทั้งสี่และบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆ” เราขอตอบว่ า บรรดาอิ ห ม่ ามหรือ มัซ ฮั บ ทั้ งสี่ นั้ น มิ ใช่ สิ่ งที่ มาแทนที่ก าร ตามอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และบรรดาตําราของอิหม่ามทั้งสี่นั้นมิใช่มา แข่งขันกับกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮฺ แต่มัซฮับทั้งสี่เป็นผู้ทํา หน้าที่อธิบายอัลกุรอานและซุนนะฮ์ คอยช่วยเหลือและแจกแจงผู้ที่ต้องการเข้าใจ อายะฮ์ต่างๆ ของอัลกุรอานและตัวบทต่างๆ ของซุนนะฮ์นั่นเอง
  • 4. 2 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ และเช่นเดียวกัน บรรดาอิหม่ามทั้งสี่มิใช่มาแทนที่เหล่าศ่อฮาบะฮ์และมิใช่ มาคัดค้านกับพวกเขา เนื่องจากบรรดาศ่อฮาบะฮ์นั้นมิได้เขียนตํารา มิได้ทําการ พูดเรื่องฟิกฮฺนอกจากปัญหาข้อปลีกย่อยที่เกิดขึ้นในสมัยของพวกเขาเท่านั้นโดย พวกเขาไม่พูด ในทุกประเด็น ดังนั้น ผู้ใดที่ต้องการตามเหล่าศ่อฮาบะฮ์ เขาก็ไม่ สามารถกระทําสิ่งดังกล่าวได้นอกจากต้องรวบรวมคําพูดของศ่อฮาบะฮ์ทั้งหมด เท่ านั้ น แต่ค วามจริง บรรดาอิ ห ม่ ามทั้ งสี่ ไ ด้ร วบรวมไว้ห มดแล้ว เพราะฉะนั้ น อิห ม่า มทั้ง สี่ คือ ผู้ม ารับ ใช้วิ ช าการของเหล่ า ศ่อ ฮาบะฮ์ แ ละตาบิ อีน ด้ว ยเหตุ นี้ ประชาชาติอิสลามจึงตามมัซฮับทั้งสี่ก็เพราะพวกเขารับใช้กิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ และรับใช้ฟิกฮฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ ดังนั้นการไม่สนใจฟิกฮฺของมัซฮับทั้งสี่ ก็ย่อม เป็นการกระทําเบาความกับองค์ความรูทเกี่ยวกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั่นเอง1 ้ ี่ อารีฟีน แสงวิมาน สถาบันอัลกุดวะฮ์ 1 แต่ผู้ที่ยกย่องตนเองว่าตามกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ แต่เมื่อต้องการเข้าใจรายละเอียดของอัลกุรอานและซุน นะฮ์ ก็จะไปศึกษาคําอธิบายและการวินิจฉัยจากอุละมาอฺมัซฮับทั้งสี่และบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆ โดยไม่ อ้างอิง แล้วหลังจากนั้นก็เลือกทัศนะที่ตนเองพอใจ และอ้างว่านี่แหละคือทัศนะของฉันที่ตามกิตาบุลลอฮฺและ ซุนนะฮ์ ซึ่งการกระทําเยี่ยงดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นการขโมยของเข้าใจของอุละมาอฺและวิชาความรู้ของเขาจะ ไม่บะร่อกัตไม่มีความจําเริญในการทําให้หัวใจเข้าหาและผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺตะอาลา คือสมองได้เพียงแค่ ข้อมูลความรู้แต่หัวใจไม่ได้รับเตาฟีก.
  • 5. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 3 บทสนทนาระหว่างอัลลามะฮ์ อัลบูฏีย์กับผู้ไม่มีมัซฮับ ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัย ค์ มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะฎอน อัลบูฏีย์ ได้กล่าวว่า: บางทีห มวดนี้มีความสําคัญยิ่งกว่าหมวดอื่น ๆ ในหนังสือเล่มนี้ และสาเหตุที่มี ความสําคัญนั้น มิใช่เพราะมีหลักฐานเชิงวิชาการใหม่ๆ แต่สาเหตุสําคัญก็คือ ท่าน จะพบถึงปรากฏการณ์แห่งความตะอัศศุบหรือความมีมานะทิฐิที่ท่านไม่เคยพบมัน มาก่อนจากสติปัญญาของมนุษย์คนใดเลย คือพวกเขากล่าวหาว่าเรานั้นตะอัศศุบ แต่ท่านจะพบในหมวดนี้ว่า พวกเขามีความตะอัศศุบที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ในหมวดนี้ ท่านจะไม่พบว่าข้าพเจ้าได้พูดขึ้นมาเองหรือทําการละเมิดต่อ ผู้ใด... และข้าพเจ้าก็จะไม่นํามาแม้สักถ้อยคําเดียวที่มาจากการคิดจินตนาการ2 และขอยืนยันว่า ข้าพเจ้าได้พูดกับพี่น้องผู้ร่วมสนทนาท่านหนึ่งว่า “ฉันจะนําสิ่งที่ ท่านพูดไปเผยแพร่” ซึ่งที่ข้าพเจ้าพูดไปนั้นมิใช่อื่นใดนอกจากต้องการปลุกให้เขา คิดใคร่ครวญในสิ่งที่เขาได้พูดออกมา แต่เขาพูดขึ้นเสียงกับข้าพเจ้าว่า “ท่านจง นําไปเผยแพร่ตามทีท่านต้องการเถอะ เพราะฉันไม่กลัวหรอก!” ่ ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะหลีกเลี่ยงการเปิดเผยชื่อของเขา แต่เพียงพอแล้วที่ท่าน ทราบว่าเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้ที่ไม่มีมัซฮับ แต่พร้อมกันนั้นเขาก็เป็นคนดีและมี 2 ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัยค์ อัลบูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในเชิงอรรถว่า “คําพูดของข้าพเจ้านี้ คือการโต้ตอบของเราต่อผู้ ที่มาอ้างในวันนี้ว่าเราได้ทําการเปลี่ยนแปลงและบิดเบือนเนื้อหาเสวนา... ถ้าหากความเกรงกลัวอัลลอฮฺไม่ ยับยั้งเราให้กระทําสิ่งดังกล่าว แน่นอนว่าพยานผู้รู้เห็นเกือบสิบคนทีประจักษ์ด้วยสายตาและได้ยินด้วยหูของ ่ พวกเขาก็จะทําการคัดค้านเราอย่างแน่นอน. ดูเชิงอรรถ หน้า 133.
  • 6. 4 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ คุณธรรมหากว่าไม่มรอยด่างพร้อยนี้มาเปรอะเปื้อนความคิดของเขาจนทําให้ดิ่งลง ี สู่ก้นเหวแห่งความตะอัศศุบอย่างน่าแปลกประหลาดนี้ เขาผู้ นี้ ไ ด้ ม าพร้ อ มกั บ ชายหนุ่ ม ที่ บุ ค ลิ ก ดี และอุ ป นิ สั ย ของเขานั้ น ชอบ ค้นคว้าหาความจริงตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่สมควรแก่การค้นคว้า ข้าพเจ้าจึง เริ่มทําการสนทนากับเขา ข้าพเจ้า กล่า วกับเขาว่า : อะไรคือแนวทางของท่านเกี่ยวกับหลักหุกุ่มต่างๆ ของอัลลอฮฺ ท่านจะยึดเอาหุกุ่มต่างๆ จากกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ หรือยึด เอามาจากบรรดาอุละมาอฺที่วินิจฉัยได้? เขาตอบว่า: ฉันจะทําการตีแผ่ทัศนะของบรรดาอุละมาอฺและหลักฐานต่างๆ ของ พวกเขา หลั ง จากนั้ น ฉั น ก็ จ ะยึ ด ทั ศ นะที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ หลั ก ฐานของ กิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์! ข้าพเจ้าถามเขาว่า: ณ ที่ท่านมีเงินอยู่ 5000 ลีร่า(ซีเรีย) และระยะเวลาได้ผ่านไป 6 เดือนโดยเงินยังถูกเก็บไว้ที่ท่าน หลังจากนั้นท่านก็นําเงินมาซื้อสินค้าและ นํามาทําการค้าขาย ดังนั้นซะกาตของสินค้านี้จะถูกจ่ายเมื่อใด? หลังจาก อีก 6 เดือน หรือหลังจากครบรอบ 1 ปีบริบูรณ์? เขาคิดไตร่ตรองครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า “คําถามของท่านนี้หมายถึง ท่านกําลังจะ บอกว่า บรรดาทรัพย์สินการค้านั้น จําเป็นต้องจ่ายซะกาตใช่ไหม?” ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ฉันกําลังถามท่าน และสิ่งที่ต้องการคือให้ท่านตอบฉันด้วย วิธีการที่เฉพาะของท่าน และนี่ก็คือห้องสมุดอยู่ที่ต่อหน้าท่านแล้ว ใน ห้องสมุดก็มีบรรดาตําราตัฟซีร หะดีษ และตําราต่างๆ ของอุละมาอฺที่อยู่ใน ระดับวินิจฉัยได้
  • 7. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 5 ชายคนนี้จึงทําการคิดไตร่ตรองครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า “ท่านครับ นี่เป็นเรื่องศาสนา ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย การตอบเรื่องนี้มิใช่จะตอบได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ จําเป็นต้องทําการพิจารณาไตร่ตรอง ทบทวน และศึกษาวิเคราะห์ และสิ่งดังกล่าว ทั้งหมดนี้ จําเป็นต้องใช้เวลา ดังนันเรามาวิเคราะห์เรื่องอื่นกันเถอะ” ้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงละจากคําถามนี้ และข้าพเจ้าจึงกล่าวกับเขาว่า “ก็ดี... แล้ว จําเป็นไหมที่มุสลิมทุกคนจะต้องตีแผ่หลักฐานของบรรดาอุละมาอฺ หลังจากนั้นก็ ยึดเอาบรรดาหลักฐานที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์มากที่สุด” เขาตอบว่า: ใช่ครับ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ดังกล่าวนั้นก็หมายความว่า มนุษย์ทุกคนสามารถครอบครอง ศักยภาพในการอิจญฺติฮาด(วินิจฉัย)เช่นเดียวกับสิ่งที่ปราชญ์มัซฮับต่างๆ ครอบครอง ยิ่งกว่านั้นพวกเขาจะได้ครอบครองศักยภาพที่ยิ่งใหญ่และ ความสมบูรณ์ยิ่งกว่า เพราะผู้ที่มีความสามารถจะตัดสินทัศนะของบรรดา อิหม่ามหรือมีความสามารถตัดสินให้ทัศนะของบรรดาอิหม่ามยู่บนบรรทัด ฐานของอัลกุรอานและซุนนะห์ได้นั้น แน่นอนเขาจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มากกว่าบรรดาอิหม่ามเหล่านันทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ้ เขากล่าวว่า: ความจริงแล้ว มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 จําพวก คือ 1) มุก็อลลิด ( ) ผู้ปฏิบัติตามผู้อื่น 2) มุตตะบิอฺ ( ) ผู้เจริญรอยตาม และ 3) มุจญฺตะฮิด ( ) ผู้วินิจฉัยเองได้ ดังนั้นผู้ที่สามารถเปรียบเทีย บ ระหว่างมัซฮับได้และสามารถคัดสรรทัศนะที่ใกล้เคียงกับอัลกุรอานมาก ที่สุดได้นั้น เขาคือมุตตะบิอฺ (ผู้ที่เจริญรอยตาม) โดยเขาอยู่ในระดับกลาง ระหว่างการตักลีดตามผู้อื่นกับการวินิจฉัยเองได้
  • 8. 6 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: อะไรคือหน้าที่ของคนมุก็อลลิด? เขาตอบว่า: คนมุก็อลลิดจะต้องปฏิบัติตามบรรดาปราชญ์มุจญฺตะฮิดที่เขาเห็น พ้อง ข้าพเจ้ากล่าวว่า: และจะเป็นบาปแก่คนมุก็อลลิดหรือไม่ จากการที่เขาต้องไป ตามปราชญ์ท่านหนึ่งจากบรรดาปราชญ์ที่อยู่ในระดับมุจญฺตะฮิด โดยเขา ยังคงสังกัดกับปราชญ์มุจญฺตะฮิดคนนั้นอยู่ตลอดโดยไม่แปรเปลี่ยนไปจาก เขาเลย เขากล่าวว่า: ใช่แล้ว เรื่องดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)แก่เขา ข้าพเจ้าถามว่า: อะไรคือหลักฐานห้ามในเรื่องดังกล่าว? เขาตอบว่ า : หลัก ฐานก็ คือ การที่เ ขาได้ เจาะจงกระทํา สิ่ง หนึ่ งที่อั ล ลอฮฺ ไม่ เคย กําหนดแก่เขา ข้าพเจ้าถามว่า: กิรออะฮ์(วิธีการอ่าน)ใดจากกิรออะฮ์ทง 7 ที่ท่านใช้อ่านคัมภีร์อัล ั้ กุรอาน? เขาตอบว่า: กิรออะห์หฟศ์3 ั ข้าพเจ้าถามว่า: ท่านได้อ่านอัลกุรอานด้วยกิรออะฮ์หัฟศ์เป็นประจําหรือไม่? หรือ ว่าในแต่ละวันท่านได้อ่านอัลกุรอานแบบกิรออะฮ์อื่นที่สลับเปลี่ยนกันไป? เขาตอบว่า: ฉันประจําอยู่กับการอ่านอัลกุรอานแบบกิรออะฮ์หฟศ์ ั 3 กิรออะฮ์ [ ] คือแบบการอ่านหนึ่งจากแบบการอ่านทั้ง 7 ซึ่งกิรออะฮ์หัฟศ์นี้ คือกิรออะฮ์ที่เราและคน ส่วนใหญ่อ่านกันในปัจจุบัน.
  • 9. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 7 ข้า พเจ้า ถามว่า : แล้ว อะไรทํา ให้ท่านเจาะจงอยู่กับ การอ่านแบบดังกล่าว ทั้ ง ที่ อั ล ลอฮฺ ก็ มิ ไ ด้ กํ า หนดให้ แ ก่ ท่ า น นอกจากพระองค์ เ พี ย งให้ ท่ า นอ่ า น อั ล กุ ร อานตามที่ มี ร ายงานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง(มุ ต ะวาติ ร )จากท่ า นนะบี ย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เท่านั้น เขาตอบว่า: เพราะว่าฉันไม่พร้อมที่จะศึกษาการอ่านแบบอื่น และมันไม่ใช่เรื่อง ง่ายสําหรับฉันที่จะอ่านนอกจากอ่านแบบวิธีน4เท่านั้น ี้ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: บุคคลหนึ่งได้ศึกษาฟิกฮฺมัซฮับอัชชาฟีอีย์ โดยที่เขาก็คืออีกผู้ หนึ่งที่ไม่พร้อมที่จะศึกษามัซฮับอื่นๆ และเขาก็ไม่สะดวกที่จะทําความ เข้าใจกับหุกุ่มต่างๆ ทางด้านศาสนานอกจากตามอิหม่ามท่านนี้ ดังนั้นหาก ท่านบังคับให้เขาต้องรู้จักข้อวินิจฉัยต่างๆ ของปวงปราชญ์ทั้งหมด ก็จําเป็น บนท่ า นเช่ น เดี ย วกั น ที่ จ ะต้ อ งศึ ก ษากิ ร ออะฮ์ ( หลั ก วิ ธี ก ารอ่ า น)ทั้ ง หมด จนกระทั่งท่านสามารถอ่านมันทั้งหมดได้ แต่ถ้าหากท่านได้ผ่อนปรนให้แก่ ตัว ของท่า นเนื่องจากไม่มีความสามารถ ก็จําเป็น บนท่านต้อ งผ่อนปรน ให้แก่คนมุก็อลลิดนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ท่านเอามาจากไหนที่บอกว่า คนมุก็อลลิดนั้นจะต้องเปลี่ยนมัซฮับหนึ่งไปยังอีกมัซฮับหนึ่งทั้งที่อัลลอฮฺไม่ เคยกําหนดสิ่งดังกล่าวแก่เขาเลย หมายถึง เสมือนกับ ที่พระองค์ไม่เคย กําหนดให้เขาต้องคงอยู่กับ มัซฮับ หนึ่งเป็น การเฉพาะ พระองค์ก็ไม่เคย กําหนดให้เขาต้องเปลี่ยนย้ายมัซฮับอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เขากล่าวว่า: แท้จริงสิ่งที่ห้ามแก่เขาก็คือ การยึดติดอยู่กับมัซฮับหนึ่งพร้อมเชื่อมั่น ว่า อัลลอฮฺทรงสั่งใช้เขาให้ยึดมัซฮับดังกล่าว 4 คืออ่านแบบกิรออะฮ์หัฟศ์เท่านั้น.
  • 10. 8 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ข้ า พเจ้ า กล่ า วว่ า : นี่ มั น คนละเรื่ อ งกั น และ(การเชื่ อ ว่ า อั ล ลอฮฺ ท รงใช้ ใ ห้ เ ขา สังกัดมัซฮับใดมัซฮับ หนึ่งนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม)มัน ก็คือความจริงที่ไม่ต้อง สงสัย และไม่มีการคัดแย้ง ใดๆ แต่การที่เขาจะสังกัดมัซฮับ ปราชญ์มุจ ญฺ ตะฮิดเป็นการเฉพาะโดยเขาตระหนักรู้อยู่เสมอว่าอัลลอฮฺไม่เคยบังคับให้ กระทําสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นบาปบนเขาหรือไม่? เขากล่าวว่า: ไม่เป็นบาปแก่เขา ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่เจ้าของหนังสือปกอ่อน5 ที่ท่านได้นํามาสอนอยู่นั้น ได้กล่าว ขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านได้ยืนยันว่า “การสังกัดมัซฮับอิหม่ามเป็นการเฉพาะนั้น หะรอม” แต่ยิ่งกว่านั้น ในหนังสือปกอ่อนกลับยืนยันในบางหน้าว่า “บุคคล ที่ตาม(มัซฮับ)ของอิหม่ามท่านหนึ่งเป็นการเจาะจงอย่างเป็นประจําโดยไม่ เปลี่ยนจาก(มัซฮับ)ของอิหม่ามท่านนั้นเลย ถือว่าเป็น กุฟุร!” ชายคนนั้นกล่าวว่า: ไหนหรือ? แล้วเขาก็กลับไปทบทวนหนังสือปกอ่อนดังกล่าว ทําการใคร่ครวญถึงตัวบทและสํานวนต่างๆ และเขาก็ทําการใคร่ครวญ คําพูดเจ้าของหนังสือปกอ่อนที่ว่า “แต่ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่ยึดอิหม่ามคนหนึ่งเป็น การเฉพาะเจาะจงในทุกๆ ประเด็น(ข้อปลีกย่อยต่างๆ ของศาสนา)นั้น เขา ย่อมเป็นผู้ตะอัศศุบ(มีมานะทิฐิ) เป็นผู้ที่กระทําความผิด ตักลีดตามแบบตา บอด เขานั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่แบ่งแยกในศาสนาของพวกเขาและ พวกเขาก็แตกเป็นกลุ่มๆ” ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า จุดมุ่งหมายของอัลมะอฺซู มีย(์ เจ้าของหนังสือปกอ่อน) จากการยึดตามมัซฮับอิหม่ามคนเดียวเป็นการ 5 คือ ชัยค์มุฮัมมัด ซุลฏอน อัลคุญันดีย์ อัลมะอฺซูมีย์ ผู้แต่งหนังสือปกอ่อนชื่อ “มุสลิมต้องสังกัมมัซฮับเป็นการ เฉพาะจากมัซฮับทั้งสี่หรือไม่?”
  • 11. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 9 เฉพาะนั้นเป็นกุฟุร คือหมายถึง เขายึดมั่นว่าดังกล่าวเป็นสิ่งที่วาญิบตาม หลักศาสนา ซึ่งสํานวนในหนังสือของอัลมะซูมีย์นี้มันตกไป ข้าพเจ้ากล่าวว่า: อะไรคือหลักฐานที่เขาได้มีเป้าหมายเช่นนี้ และเหตุใดท่านถึงไม่ กล่าวว่า “ผู้แต่งหนังสือ(คืออัลมะซูมีย)์ ผิดพลาด?” แต่ชายคนนี้พยายามยืนกรานว่าสํานวนของหนังสือถูกต้องแล้ว และสํานวน หนังสือต้องอยู่บนการสมมุติถ้อยความที่ถูกตัดไป และผู้แต่งหนังสือได้รับการ ปกป้องจากความผิดพลาดจากสํานวนการเขียนในหนังสือเล่มดังกล่าว ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่สํานวนของการสมมุติถ้อยคํานี้ ไม่สามารถมาแก้ต่างผู้ที่มา คัดค้านได้เลย และไม่มีประโยชน์อันใดทั้งสิ้น เพราะไม่มีมุสลิมคนใดเลย นอกจากเขารู้ว่าการตามอิหม่ามคนหนึ่งเป็นการเฉพาะจากอิหม่ามมัซฮับ ทั้งสี่นั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่วาญิบตามหลักของศาสนา และไม่มีมุสลิมคนใดทํา การยึดสังกัดมัซฮับหนึ่งเป็นการเฉพาะนอกจากว่าเขาได้มีความปรารถนา และมีความสมัครใจจากตัวของเขาเอง เขากล่าวว่า: มันเป็นอย่างไรหรือ? ทั้งที่ความจริงฉันได้ยินผู้คนมากมายและผู้มี ความรู้บางส่วนได้กล่าวว่า จําเป็นต้องสังกัดมัซฮับเป็นการเฉพาะตามหลัก ของศาสนา จนกระทั่งไม่อนุญาตให้เขาเปลี่ยนไปยังมัซฮับอื่น ข้าพเจ้ากล่าวแก่เขาว่า: ท่านจงกล่าวนามชื่อมาให้ฉันสักหนึ่งคนซิ จากสามัญชน หรือผู้รู้ ที่เขาได้กล่าวคําพูดเช่นนี้แก่ท่าน ชายคนนั้นจึงหยุดนิ่ง แต่ทว่าเขารู้สึกแปลกใจที่คําพูดของฉันถูกต้อง และเขาก็ ยังคงลังเลสงสัยว่า ทุกสิ่งที่เขาได้จินตนาการนั้น คือผู้คนมากมายห้ามทําการ ย้ายมัซฮับหนึ่งไปยังอีกมัซฮับหนึ่ง
  • 12. 10 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ในวันนี้ท่านจะไม่พบผู้ใดสักคนที่เชื่อแบบคลุมเครือ เหลวไหลนี้ แต่พวกเขาได้รายงานเล่าจากยุคหลังบางช่วงในสมัยของอ็อตโต มัน(อุษมานียะฮ์) ว่า “พวกเขาถือเป็นบาปใหญ่การที่ผู้ยึดถือมัซฮับหะ นะฟีย์ได้เปลี่ยนจากมัซฮับของเขาไปยังมัซฮับอื่น” ซึ่งไม่สงสัยเลยว่า คําพูด ของพวกเขาดังกล่าวนั้น - หากการถ่ายทอดรายงานมีความถูกต้องจริง – ก็ ถือเป็นความเขลาและมีมานะทิฐิที่คลั่งไคล้แบบตาบอด หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ท่านเอามาจากไหนหรือ? ในกรณีการ แบ่งแยกระหว่างคําว่า มุก็อลลิด (ผู้ตามคนอื่น) กับมุตตะบิอฺ (ผู้ตามโดยรู้ หลักฐาน) มันเป็นการแบ่งแยกศัพท์ทางภาษาหรือศัพท์ทางวิชาการ? เขาตอบว่า: ระหว่างทั้งสองคํานั้น มีความแตกต่างด้านศัพท์ทางภาษา และข้ า พเจ้ า ได้ นํ า ตํ า ราอ้ า งอิ ง ทางด้ า นภาษาอาหรั บ เพื่ อ ให้ เ ขายื น ยั น ถึ ง การ แบ่งแยกศัพท์ทางภาษาระหว่างสองคํานี้ แต่เขาไม่สามารถพบความแตกต่างได้ เลย หลังจากนั้นข้าพเจ้ากล่าวว่า: แท้จริงท่านอะบูบักร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวแก่ ชายชนบทที่ทําการคัดค้านรายได้(ต่อเดือนในการเป็นค่อลีฟะฮ์ของท่าน)ที่ บรรดามุสลิมทั้งหลายให้การยอมรับว่า “เมื่อบรรดามุฮาญิรีนพอใจ แท้จริงพวกท่าน(ชาวอันศ็อร)ย่อมเป็นผู้ที่ตาม”
  • 13. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 11 ท่านอะบูบักรได้ใช้สํานวนที่ว่า [ ] บนความหมายของการเห็นพ้องโดย ไม่มีสิทธิ์ในการพิจารณา วิเคราะห์ และโต้แย้งได้เลย6 เขากล่าวว่า: มันเป็นการแบ่งแยกศัพท์เชิงวิชาการ และฉันไม่มีสิทธิ์ในการให้ศัพท์ เชิงวิชาการกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยกระนั้นหรือ? ข้าพเจ้าตอบว่า: มิใช่เช่นนั้น แต่การให้ศัพท์เชิงวิชาการของท่านนี้ ไม่สามารถ เปลี่ยนข้อเท็จจริงได้หรอก เพราะว่าบุคคลที่ท่านเรียกเขาว่า “มุตตะบิอฺ”(ผู้ เจริญตาม)นั้น บางครั้งเขาทราบถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ รู้วิธีการต่างๆ ใน การวินิจฉัย(อิจญฺติฮาด) แน่นอนว่าเขาย่อมเป็น “มุจญ์ตะฮิด(ผู้วินิจฉัยได้)” แต่หากว่าเขาไม่ทราบถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ อีกทั้งไม่สามารถวินิจฉัย หุกุ่มจากหลักฐานนั้นได้ แน่นอนเขาย่อมเป็นคน “มุก็อลลิด” และหากว่า ประเด็นปัญหาบางส่วนเขารู้หลักฐานเช่นนั้นเช่นนี้และในอีกบางประเด็น ปัญหาเขาไม่รู้หลักฐาน แน่นอนว่า เขาย่อมเป็นคนมุก็อลลิดในบางประเด็น และเป็นมุจญ์ตะฮิดในบางประเด็น ดังนั้นการแบ่งแยกจึงมีเพียงแค่สอง จําพวกในทุกกรณี7 และสถานะของทั้งสองนี้ ย่อมมีความชัดเจนและเป็นที่ ทราบกันดี 6 เช่นเดียวกัน คือคําตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ความว่า "เมื่อกลุ่มชน(จากบรรดาชัยฏอนที่ลุ่มหลง)ที่ถูกตามได้ปลีกเอาตัวรอดจากกลุ่มชน(จากพวกมนุษย์)ที่ถือตาม ในขณะพวกเหล่านั้นได้มองเห็นการลงโทษแล้ว(ในโลกหน้า) และบรรดาสัมพันธภาพก็ได้ขาดสะบั้นไปแล้ว จากพวกเขา" [อัลบะกอเราะฮ์: 166]. ดังนั้นเราจะพบว่าอัลลอฮฺได้ตรัสสํานวนคําว่า "การตาม" ณ ที่นี้ เป็นภาพลักษณ์ที่ต่ําต้อยยิ่งกว่าการตักลีดเสียอีก. 7 คือแบ่งเป็นมุจญฺตะฮิดกับคนมุก็อลลิดเท่านั้น.
  • 14. 12 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ เขากล่าวว่า: แท้จริงคนมุตตะบิอฺ (เจริญรอยตาม) นั้น เขาคือผู้ที่สามารถแยกแยะ บรรดาทัศนะและหลักฐานต่างๆ ได้ และสามารถให้น้ําหนัก(ตัรญีห์) ทัศนะ หนึ่งเหนืออีกทัศนะหนึ่งได้ และนีก็คือระดับที่มีความโดดเด่นกว่าผู้ตักลีด ่ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: หากท่านมีเป้าหมาย ในการแยกแยะระหว่างทัศนะต่างๆ คือ การแยกแยะบางทั ศ นะที่ มีห ลั ก ฐานแข็ ง แรงและหลัก ฐานที่ อ่อ นได้ นั้ น ดังกล่าวย่อมอยู่ในระดับอิจญ์ติฮาดขั้นสูง ดังนั้นท่านสามารถที่จะทําให้ตัว ของท่านเองเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่? เขากล่าวว่า: ฉันจะกระทําสิ่งดังกล่าวให้สุดความสามารถของฉัน ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่เขาว่า: ฉันรู้ว่าท่านได้ทําการฟัตวาว่า การฏ่อล๊าก(หย่า) 3 ใน ครั้งเดียวนั้น ตกแค่ 1 ฏ่อล๊าก ดังนั้นก่อนที่ท่านจะทําการฟัตวานี้ ท่านได้ กลับไปทบทวนคํากล่าวของบรรดาอุละมาอฺและบรรดาหลักฐานต่างๆ ของ พวกเขาเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวแล้วหรือยัง? จากนั้นท่านก็ทําการแยกแยะแจก แจงระหว่างบรรดาหลักฐานเหล่านั้น แล้วทําการฟัตวาโดยอยู่บน(พื้นฐาน การทราบถึงทัศนะและบรรดาหลักฐานต่างๆ ของพวกเขา)แล้วหรือไม่? “แท้จริง อุวัยมิร อัลอิจญ์ลานีย์ ได้ทําการหย่าภรรยาของเขาทีเดียว 3 ครั้ง ต่อหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากที่เขาได้ทํา การลิอาน (การกล่าวสาบานว่าภรรยาของตนทําซินาเพื่อปฏิเสธความอับ อายที่ มี ต่อ เขา) แต่ภ ายหลั งจากนั้ น เขาได้ก ล่ าวว่ า โอ้ท่ านร่ อซู ลุ ล ลอฮฺ ความจริงฉันโกหกต่อนาง หากฉันได้ทําการกักตัวนาง (จะได้หรือไม่?) ทั้งที่ นางได้ถูกหย่า 3 แล้ว (แต่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ได้ทํา การแยกระหว่างทั้งสองเนื่องจากหย่าทีเดียว 3 ครั้งถือว่าตก 3 ฏ่อล๊าก) ดังนั้นท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหะดีษนี้ และท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับข้อบ่งชี้
  • 15. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 13 ของหะดีษตามหลักวินิจฉัยของมัซฮับของปราชญ์ส่วนมากและมัซฮับของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์? เขากล่าวว่า: ฉันไม่เคยทราบถึงหะดีษนี้มาก่อนเลย ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ได้อย่างไรกัน การที่ท่านได้ทําการฟัตวาประเด็นปัญหานี้ โดย ขัด แย้ ง กั บ สิ่ง ที่ บ รรดามัซ ฮั บ ทั้ ง สี่ ไ ด้ล งมติ แ ล้ ว และท่ า นก็ มิไ ด้ ท ราบถึ ง บรรดาหลักฐานของพวกเขาทั้งในแง่ของความอ่อนหรือความมีน้ําหนักของ หลักฐาน! ดังนั้นท่านได้กลายเป็นผู้ทิ้งอุดมการณ์ที่ท่านได้เคยกล่าวไว้ โดย ท่านกําหนดอุดมการณ์แก่ตัวของท่านเองและพยายามให้เรายึดอุดมการณ์ นั้นด้วย ซึ่งก็คืออุดมการณ์แห่งการ อิตติบาอฺ (การตามโดยรู้หลักฐาน) ตามที่ท่านได้ให้คํานิยามไว้! เขากล่าวว่า: ในเรื่องดังกล่าวนั้น ณ ที่ฉัน ไม่มีตําราอย่างเพียงพอสําหรับการ นํามาตีแผ่มัซฮับของปวงปราชญ์และหลักฐานต่างๆ ของพวกเขาเลย ข้าพเจ้ากล่าวว่า : อะไรที่ทําให้ท่านต้องรีบด่วนในการฟัตวา โดยขัดแย้งกับ ปราชญ์มุสลิมีนส่วนมาก ทั้งที่ท่านไม่เคยทราบถึงหลักฐานต่างๆ ของพวก เขาเลย? เขากล่าวว่า: แล้วจะให้ฉันทําอย่างไร ในเมื่อฉันถูกถาม โดยในขณะนั้นฉันไม่มี อะไร นอกจากมีตําราอ้างอิงที่จํากัด ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ความจริงท่านมีความสามารถเฉกเช่นเดียวกับบรรดาอุละมาอฺ และบรรดาอิหม่ามทั้งหมด ก็คือ ท่านสามารถกล่าวว่า “ฉันไม่รู้” หรือท่าน สามารถทําการถ่ายทอดทัศนะของมัซฮับทั้งสี่ให้แก่ผู้ที่มาขอฟัตวา และ นําเสนอทัศนะของผู้ขัดแย้งกับมัซฮับทั้งสี่โดยมิต้องทําการฟัตวา(เจาะจง
  • 16. 14 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ฟันธง)กับทัศนะใดจากทั้งสอง ซึ่งท่านก็มีความสามารถที่จะกระทําสิ่ง ดังกล่าวได้ ยิ่งกว่านั้น มันเป็นหน้าที่ของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาที่ ได้เกิดขึ้นกับท่านนั้น มันทําให้ท่านต้องหาทางออกแบบไหนก็ได้กระนั้น หรือ? ส่ว นการที่ท่านได้ทําการฟัต วาด้ว ยทัศนะความเห็น ที่ขัด แย้งกับ มติของ อิหม่ามทั้งสี่ โดยท่าน -ให้การยอมรับเองว่า– ไม่ได้ทราบถึงบรรดาหลักฐาน ของพวกเขา เนื่ อ งจากท่ า นถื อ ว่ า เป็ น ความเพี ย งพอแล้ ว ในการเปิ ด ใจ ยอมรับหลักฐานต่างๆ ของผู้ที่มีทัศนะขัดแย้ง(กับมัซฮับทั้งสี่)นั้น ถือว่าเป็น ความตะอัศศุบ(มีความทิฐ)ิ เป็นที่สุดที่พวกท่านมักนํามากล่าวหาพวกเรา เขากล่าวว่า: ขอยืนยันว่า ฉันได้ทําการดูทัศนะต่างๆ ของอิมามทั้งสี่ในหนังสือ (นั ย ลุ ล เอาฏ็ อ ร) ของท่ า นอั ช เชากานี ย์ หนั ง สื อ สุ บุ ลุ ส สลาม (ของ ท่านอัสศ็อนอานีย)์ และหนังสือฟิกฮุสซุนนะฮ์ ของท่าน ซัยยิด ซาบิก แล้ว ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เหล่านี้เป็นตําราคู่ปรับของอิหม่ามทั้งสี่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา นี้ ซึ่งตําราทั้งหมดนี้ พูดเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และทําการนําเสนอหลักฐาน ต่างๆ เพื่อให้น้ําหนักทางฝ่ายตนเท่านั้น ดังนั้นท่านจะพอใจกระนั้นหรือ การที่ท่านได้ตัดสินสองคู่กรณี โดยรับฟังคําพูดเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งรับฟัง คําพูดของบรรดาพยานและญาติใกล้ชิดเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น? เขาตอบว่า: ความจริงฉันไม่เห็นว่าการกระทําของฉันนี้ เป็นสิ่งที่น่าตําหนิแต่ ประการใด และขอยืนยันว่า จําเป็นบนฉันต้องทําการฟัตวาให้กับผู้ที่มาถาม และนีก็คือขนาดความรู้ที่ฉันสามารถเข้าถึงด้วยความเข้าใจของฉันได้ ่
  • 17. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 15 ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านเคยกล่าวว่า ท่านนั้นมุตตะบิอฺ (ผู้เจริญรอยตามโดยทราบ หลักฐานไม่ใช่ผู้ตักลีด) และจําเป็นบนเราทั้งหมดที่ต้องเป็นเช่นนั้นด้วย และท่านเองก็ได้เคยอธิบายมาแล้วว่า การอิตติบาอฺนั้น คือการนําเสนอตีแผ่ ทัศนะต่างๆ ของมัซฮับทั้งหมด แล้วทําการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ และยึดมัซฮับที่ใกล้เคียงกับหลักฐานที่ถูกต้องที่สุด แต่ทว่าการกระทําของ ท่านเองนั้น ได้ขว้างอุดมการณ์ของท่านไปยังกําแพงเสียแล้ว ซึ่งท่านก็ ทราบดีแล้วว่า มัซฮับทั้งสี่ได้ลงมติแล้วว่า การหย่าฏ่อล๊ากทีเดียวสามครั้ง ทําให้ตกสาม และท่านก็รู้ดีว่า พวกเขามีบรรดาหลักฐานยืนยันต่อสิ่ง ดังกล่าวโดยท่านไม่ยอมดูมันเลย พร้อมกันนั้นท่านก็ทําการเปลี่ยนจากการ ลงมติ(อิจญ์มาอฺ)ของพวกเขาไปยังทัศนะความเห็นที่ตัวท่านเองชื่น ชอบ หรือว่าท่านมีความมั่นใจมาก่อนแล้วว่า บรรดาหลักฐานของอิหม่ามทั้งสี่นั้น เป็นหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง? เขาตอบว่า: ไม่ แต่ทว่าฉันนั้นไม่เคยดูหลักฐานต่างๆ ของพวกเขาเลย เนื่องจาก ณ ที่ฉันไม่มีตําราอ้างอิงเกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าว ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ดังนั้น เหตุใดท่านจึงไม่รอคอยก่อนเล่า? เหตุใดท่านจึงรีบร้อน? และอั ล ลอฮฺ ก็ มิ ไ ด้ บั ง คั บ ให้ ท่ า นต้ อ งกระทํ า การรี บ ร้ อ นในการฟั ต วาสิ่ ง ดังกล่าวเลย? หรือการที่ท่านไม่ได้ดูบรรดาหลักฐานต่างๆ ของปราชญ์ส่วน ใหญ่นั้น ทําให้ทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มีน้ําหนัก? แล้วการตะอัศศุบ (ความมานะทิฐิ) ที่พวกท่านได้พยายามกล่าวหาเราอย่างผิดๆ นั้นคือสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่รูปแบบทีเหมือนกับการกระทําของท่านอันนี? ่ ้
  • 18. 16 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ เขากล่าวว่า: ความจริงการที่ฉันได้เห็นว่าในตําราต่างๆ ที่เพียบพร้อมไปด้วย หลักฐานที่มีอยู่ ณ ที่ฉันนั้น ทําให้ฉันพอใจ และอัลลอฮฺก็มิได้บังคับแก่ฉัน มากกว่านี้ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เมื่อมุสลิมคนหนึ่งได้ดูตําราต่างๆ แล้วพบหลักฐานบทหนึ่งนั้น ถือว่าเป็นความเพียงพอสําหรับเขาแล้วหรือไม่ ในการที่จะทิ้งบรรดามัซฮับ ที่ขัดแย้งกับความเข้าใจของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยดูบรรดาหลักฐาน ของมัซฮับต่างๆ เหล่านั้นก็ตาม? เขาตอบว่า: ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นเพียงสําหรับเขาแล้ว ! ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ชายหนุ่มคนหนึ่งเพิ่งเข้ารับศาสนาอิสลามใหม่ๆ ซึ่งเขาไม่มีส่วน ใดๆ จากการเรียนรู้อิสลามเลย แล้วเขาก็อ่านคําตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หัน ไป) แท้จริงอัลลอฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง” [อัลบะกอเราะฮ์ : 115] ดังนั้นสิ่งที่เข้าใจได้จากคําตรัสของพระองค์ก็คือ อนุญาตให้มุสลิมทําการ หันไปทางทิศใดก็ได้ตามที่เขาต้องการในการละหมาดตามความหมายผิว เผินของถ้อยคําที่ได้บ่งชี้ไว้ในอัลกุรอาน แต่ทว่าเขาได้ยินบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ ได้ลงมติว่าจําเป็นบนผู้ละหมาดต้องหันไปทางกะบะฮ์ และเขาก็รู้ดีว่า บรรดาอิหม่ามทั้งสี่นั้นก็มีหลักฐานยืนยันในสิ่งดังกล่าว แต่ทว่าเขาไม่เคยไป ดูหลักฐานเหล่านั้นเลย ดังนั้นจะให้เขาทําอย่างไรเมื่อเขาได้ทําการละหมาด
  • 19. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 17 จะให้เขาตามความพอใจของตนเองจากหลักฐานที่เขาได้รับ หรือว่าตาม บรรดาอิหม่ามที่มีมติค้านกับสิ่งที่เขาได้เข้าใจ? เขาตอบว่า: ให้เขาตามความพอใจของตนเอง!! ข้าพเจ้ากล่าวว่า: เขาได้ทําการละหมาดโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นต้น และการละหมาดของเขาจะใช้ได้หรือไม่? เขาตอบว่า: ใช้ได้ เนื่องจากเขาถูกบัญญัติใช้ให้ตามความพอใจของตนเอง(ไม่ใช่ คนอื่น) ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านจงใคร่ครวญเถิดว่า ความพอใจส่วนตัวของเขานั้น อาจจะ บ่งบอกให้เขาทราบว่า ไม่เป็นบาปแก่เขาที่จะทําการซินาภรรยาเพื่อนบ้าน ของเขา และไม่บาปที่เขาจะดื่มสุราให้เต็มท้องของเขา และไม่เป็นบาปที่ เขาจะทําการปล้นทรัพย์สินของผู้คนโดยมิชอบ ดังนั้นอัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติ สิ่งดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เขาด้วยความพึงพอใจส่วนตัวกระนั้นหรือ? ชายคนนั้นหยุดนิ่งครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า: ทุกๆ รูปแบบที่ท่านได้ถามฉันนี้ เป็น รูปแบบที่สมมุติขึ้นมาโดยมิได้เกิดขึ้นจริง ข้าพเจ้ากล่าวว่า: มันมิใช่รูปแบบที่สมมุติขึ้น แต่ส่วนมากแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และเป็นเรื่องที่แปลกอย่างยิ่ง ก็คือ ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับอิสลาม ไม่รู้เกี่ยวกับกิตาบุลลอฮฺ และซุนนะฮ์ และเขาก็ได้ยินหรือ ได้อ่านพบอายะฮ์นี้8โดยบังเอิญ แล้วเขาก็รู้จากอายะฮ์นี้เหมือนกับคน 8 คืออายะฮ์ที่: 115 ซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ ที่ว่า “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็น สิทธิ์ของอัลลอฮฺดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หันไป) แท้จริงอัลลอ ฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง”
  • 20. 18 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ อาหรับทั่วไปที่รู้ถึงความหมายผิวเผิน(ของอายะฮ์ดังกล่าวนั้น)ว่า ไม่เป็น บาปในการที่ผู้ละหมาดทําการหันไปยังทิศใดก็ได้ตามที่เขาต้องการ ทั้งที่ เขาได้เห็น ผู้คนทํ าการหัน ไปยังกะบะฮ์ก็ ตามที ซึ่งดั งกล่า วเป็น เรื่อ ง ธรรมชาติที่สามารถจินตนาการและเกิดขึ้นกันได้ตราบใดที่ในบรรดามุสลิ มีนนั้นยังมีผู้ที่ไม่รู้หลักการใดๆ ของอิสลาม อย่างไรก็ตาม ท่านได้ทําการหุกุ่มตัดสินตามรูปแบบนี้ (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ที่ส มมุติขึ้น หรือเกิดขึ้น จริงก็ตาม)ด้วยหุกุ่มที่เกิดขึ้นจริงและท่านมองว่า ความพอใจส่วนตัวนั้น คือ ตัวตัดสิน ในทุกๆ กรณี แต่การตัดสินของท่านนี้ มันไปค้านในกรณีที่ท่านได้แบ่งผู้คนออกเป็น 3 จําพวก คือ พวกที่ตักลีดอุ ละมาอฺโดยไม่รู้หลักฐาน(มุก็อลลิด), พวกที่ตามอุละมาอฺโดยรู้หลักฐาน (มุตตะบิอ)ฺ , ผู้ที่วิเคราะห์วินิจฉัยหลักฐานได้(มุจญ์ตะฮิด) เขากล่าวว่า: แท้จริงจําเป็นบนเขา ต้องทําการค้นคว้า เขาไม่เคยอ่านสักหะดีษ หนึ่งหรือไม่เคยอ่านอายะฮ์อื่นๆ เลยกระนั้นหรือ? ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ก็ ณ ที่เขา ไม่มีแหล่งตําราอ้างอิงค้นคว้าอย่างพร้อมสรรพเลย ซึ่งเหมือนกับที่ท่านไม่มีตําราอย่างพร้อมสรรพในขณะที่ทําการฟัตวาใน เรื่องฏ่อล๊าก(การหย่า 3) และชายคนนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะได้อ่านอายะฮ์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ใช้ให้เจาะจงหันหน้าไปทางกิบละฮ์ ดังนั้นท่าน ยังคงยืนกรานว่า เขานั้นตามความพอใจส่วนตัวหรือเขาขัดมติของปวง ปราชญ์? เขาตอบว่า: ใช่ (ยังคงยืนกรานเช่นนั้น) เมื่อเขาไม่มีความสามารถที่จะติดตามการ วิเคราะห์พิจารณาอย่างต่อเนื่องได้ แน่นอนว่าเขาจะถูกผ่อนปรนให้ และ เพียงพอแล้วที่เขาจะยึดในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ชี้นําให้เขาพิจารณาและวิเคราะห์!
  • 21. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 19 ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ต่อไปฉันจะเผยแพร่คําพูดของท่านนี้ ซึ่งมันเป็นคําพูดที่เสี่ยง และแปลก! เขากล่า วว่า : ท่านจงนํา ไปเผยแพร่ตามที่ท่านต้องการเถอะ เพราะฉัน ไม่กลัว หรอก ข้า พเจ้า กล่า วว่า : ท่านจะกลัว ฉั น ได้อย่า งไร ในเมื่อท่านไม่ ได้กลั ว อัล ลอฮฺ ตะอาลา เนื่องจากด้วยคําพูดของท่านนี้ ท่านได้ทิ้งขว้างคําตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า “พวกท่านจงถามผู้ที่มีความรู้หากพวกท่านไม่รู้” [อันนะห์ลิ: 43] ไปทีกําแพง(อย่างไม่สนใจมัน)เสียแล้ว! ่ ชายผู้นั้นกล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ บรรดาอิหม่ามทั้งสี่เหล่านั้นไม่มะอฺซูม(คือไม่ได้ รับการปกป้องจากความผิด) สําหรับอายะฮ์ที่ท่านได้ยึดอยู่นั้น เป็นคําตรัส ของ(อัลลอฮฺ)ผู้ปราศจากความผิดพลาด ดังนั้นอย่างไรกัน ที่ชายหนุ่มคนนั้น จะทิ้ ง (คํ า ตรั ส ของอั ล ลอฮฺ ) ผู้ ป ราศจากความผิ ด แต่ ไ ปยึ ด ตามผู้ ที่ ไ ม่ ถู ก ปกป้องจากความผิด(มะซูม)?9 ข้าพเจ้ากล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ สิ่งที่มะอฺซูม (ได้รับการปกป้องจากความผิดนั้น) ก็ คือความหมายที่แท้จริงที่อัลลอฮฺทรงต้องการจากคําตรัสของพระองค์ที่ว่า “และ(ทั่วทั้ง)ทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกล้วนเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ 9 ปัจจุบันมาเราจะพบผู้ที่ยกย่องทัศนะที่ตนเองเลือกว่า ตามกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮ์ เพื่อให้คนทั่วไปรู้ว่า ทัศนะที่เขาเลือกนั้นถูกต้องไม่มีผิด ทั้งที่ความจริงแล้วทัศนะที่เขาเลือกเป็นเพียงความเข้าใจในแง่มุมหนึ่งจาก ตัวบทของอัลกุรอานและซุนนะฮ์เท่านั้นเอง ซึ่งความจริงแล้ว ตัวบทนั้นมะอฺซูมแต่ความเข้าใจของพวกเขานั้น ไม่มะอฺซูม ซึ่งเราต้องแยกแยะให้ได้ แต่ปัญหาปัจจุบันก็คือ พวกเขายังคงยกย่องทัศนะตนเองว่าเป็นทัศนะ ของอั ล ลอฮฺ แ ละร่ อ ซู ล เพื่ อ เก็ บ เกี่ ย วและสร้ า งความเข้ า ใจอั น ผิ ด กั บ คนเอาวามที่ ไ ม่ ส ามารถแยกแยะ รายละเอียดในเรื่องศาสนาได้ ซึ่งการพยายามแอบอ้างเช่นนี้ เป็นความผิดเนื่องจากยกย่องตนเองและขัดกับ หลักคุณธรรมของศ่อฮาบะฮ์และสะละฟุศศอลิห.์
  • 22. 20 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ ดังนั้นไม่ว่าเจ้าจะหันไปทางใดก็ตาม ณ ที่นั่น ย่อมเป็นทิศ(ที่)อัลลอฮฺ(ให้หัน ไป) แท้จริงอัลลอฮฺทรงไพศาลและทรงรอบรู้ยิ่ง” [อัลบะกอเราะฮ์ : 115] แต่สิ่งที่ไม่มะอฺซูมนั้น คือความเข้าใจของชายหนุ่มคนนี้ที่ห่างไกลจากการ เรียนรู้หลักการต่างๆ ของอิสลามและธรรมชาติของอัลกุรอาน กล่าวคือ การเปรียบเทียบที่ฉันได้ถามท่านนั้น คือเป็นการเปรียบเทียบระหว่างสอง ความเข้าใจ คือ ระหว่างความเข้าใจของชายหนุ่มผู้ไม่มีความรู้กับความ เข้าใจของบรรดาอิหม่ามผู้วินิจ ฉัยได้ ซึ่งความเข้าใจของทั้งสองนั้นไม่ มะอฺซูมหรอก แต่จะมีบุคคลหนึ่งจากทั้งสองที่เขาตกไปอยู่ในความโง่เขลา และเบี่ยงเบนจากความถูกต้อง(คือชายหนุ่มคนนี้) และอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมี ความลึกซึ้งในการวิจัย มีความรู้ และมีความละเอียดละออ (คือบรรดา อิหม่ามผู้วินิจฉัยได้) ชายคนนั้นกล่าวว่า: แท้จริงอัลลอฮฺไม่ได้บัญญัติตกหนักบนเขามากไปกว่าสิ่งเขาที่ ได้ทุ่มเทไป! ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ท่านจงตอบคําถามฉันต่อไปนี้ : ชายคนหนึ่งมีบุตรที่กําลังป่วย เป็นโรคผื่น(เรื้อรัง) บรรดาแพทย์ของเมืองนั้นทั้งหมดได้ทําการตรวจดู และ พวกเขาก็ลงมติกันว่า ต้องให้เด็กได้รับการเยียวที่เป็นการเฉพาะ ดังนั้น บรรดาแพทย์จึงเตือนบิดาของเด็กให้ระวังการฉีดยารักษาบุตรของเขาด้วย เพนนิซิลลิน10 และบรรดานายแพทย์ก็บอกเขาว่า หากทําการฉีดด้ว ย ยาเพนซิลลิน ก็จะทําให้เด็กถึงแก่ชีวิตได้ แต่บิดาของเด็กเคยทราบจากการ อ่านข้อแจกแจงทางการแพทย์ว่า เพนนิซิลลินนั้นมีประโยชน์ในการรักษา โรคผื่น(เรื้อรัง) ดังนั้น เขาจึงยึดถือข้อมูลที่เคยทราบมา และทิ้งคําแนะนํา 10 ยาปฏิชีวนะมีฤทธิฆาเชื้อราแบคทีเรีย. ์ ่
  • 23. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 21 ของบรรดาแพทย์ เนื่องจากเขาไม่รู้ถึงหลักฐานของนายแพทย์ที่จะมายืนยัน ในสิ่งที่พวกเขาได้พูด(ว่าการเพนนิซิลลินเป็นอันตราย) ปรากฏว่าบิดาของ เด็กก็กระทําตามความพอใจส่วนตัว แล้วทําการเยียวยารักษาบุตรของเขา ด้วยการฉีดเพนนิซิลลิน ปรากฏว่าผลการฉีดเพนนิซิลลินนั้นทําให้เด็กต้อง กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ ดังนั้นบิดาของเด็กจะถูกหมายเรียกมา สอบสอบสวนหรือเขาได้ก่ออาชญากรรมต่อสิ่งที่เขาได้กระทําหรือไม่? ชายคนนั้นจึงคิดพิจารณาสักครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า กรณี(บิดาของเด็ก)นี้มิใช่ เหมือนกับกรณี(ชายหนุ่ม)ดังกล่าว ข้าพเจ้ากล่าวว่า: แต่ความจริงมันเป็นกรณีเดียวกัน กล่าวคือ บิดาของเด็กได้ยิน การลงมติของบรรดาแพทย์ ซึ่งเหมือนกับชายหนุ่มคนนั้นได้ยินมติของปวง ปราชญ์ว่าให้ละหมาดหันหน้าไปทางกิบละฮ์ แต่พ่อของเด็กยึดรายละเอียด ทางการแพทย์ ที่ เ ขาได้ อ่ า นเองโดยไม่ ยึ ด คํ า แนะนํ า อื่ น ที่ บ รรดาแพทย์ ปัจจุบันได้บอกไว้ เช่นเดียวกันกับ ชายคนหนึ่งที่ได้ยึดปฏิบัติเรื่องการ ละหมาดหันไปทางทิศไหนก็ได้ตามตัวบทที่ได้อ่าน(จากซูเราะฮ์อัลบะก่อ เราะฮ์อายะฮ์ที่ 115) โดยไม่พิจารณาหลักฐานอื่นและพ่อของเด็กก็ได้ทํา การฉีดพินนิซิลลีน นี้ด้ว ยความพอใจส่ว นตัว เหมือนกับ ที่ชายหนุ่มได้ ปฏิบัติการละหมาดหันไปทางทิศไหนก็ได้ด้วยความพอใจส่วนตัวเช่นกัน! ชายคนนั้นกล่าวว่า: โอ้ ท่านครับ อัลกุรอาน คือรัศมี คือรัศมี และรัศมีในข้อบ่งชี้ ของอัลกุรอานนั้นมันจะเหมือนกับคําพูดอื่นหรือ? ข้าพเจ้ากล่าวว่า: รัศมีของอัลกุรอานมันจะสะท้อนไปยังสติปัญญาของของผู้ พิจ ารณาและผู้ อ่ า นคนใดก็ ต าม หลั งจากนั้น เขาก็ จ ะสามารถเข้ า ใจอั ล กุรอานที่เป็นดังรัศมีตรงตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์กระนั้นหรือ? แล้วอะไร
  • 24. 22 เอกสารเผยแผ่อัลกุดวะฮ์ คือข้อแตกต่างระหว่างผู้มีความรู้และผู้ที่ไม่มีความรู้ตราบที่พวกเขาทั้งหมด ต่างก็กระหายจากรัศมี(ของอัลกุรอาน)นี? ้ ทั้งสองตัวอย่าง มีความเท่าเทียมกัน (คือตัวอย่างการหันหน้าไปทางกิบละฮ์ และฉีดยาให้แก่เด็ก) โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองเลย และจําเป็น ที่ท่านจะต้องตอบฉันว่า เกี่ยวกับกรณีนี้จะให้นักค้นคว้าวิชาความรู้ตาม ความพอใจส่วนตนหรือให้เขาตามผู้ที่ชํานาญเฉพาะทาง? ชายคนนั้นกล่าวว่า: แต่ความพอใจส่วนตัวนั้น คือหลักเดิม(ต้องยึดปฏิบัต)ิ ข้าพเจ้ากล่าวว่า: ให้เขาใช้ความพอใจส่วนตัว แล้วต่อมาสิ่งดังกล่าวทําให้เด็ก เสียชีวิต ดังนั้นเขาจะต้องรับผิดชอบตามหลักการศาสนาหรือต้องคดี หรือไม่? ชายคนนั้นกล่าวเต็มปากเลยว่า: เขาไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ! ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า: เราจงจบการวิเคราะห์และการสนทนากันเถิด หลังจาก ถ้อยคําที่ท่านได้พูดมันออกไปนี้ ระยะทางเดินร่วมกันระหว่างฉันกับท่านที่ จะสามารถวิเคราะห์กันได้นั้นได้ขาดสะบั้นลงแล้ว และถือว่าเพียงพอที่ท่าน จะนําคําตอบที่แปลกประหลาดอันนี้ออกจากมติของศาสนาอิสลามทั้งหมด ไม่ซ.ิ .. ขอยืนยันหากพวกท่านไม่ใช่เป็นผู้ที่ตะอัศศุบ(คลั่งไคล้)เลยเถิด ก็จะ ไม่ มี ค วามหมายใดสํ า หรั บ การตะอั ศ ศุ บ (คลั่ ง ไคล้ ) อย่ า งเกิ น เลยบนผื น แผ่นดินนี้อีกแล้ว11 11 หมายความว่าชายคนนั้นมีความตะอัศศุบเป็นอย่างมาก ซึ่งหากชายคนนั้นไม่ได้อยู่ในพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึง ความตะอัศศุบ ต่อไปบนผืนแผ่นดินนี้ ก็คงหาความหมายตะอัศศุบไม่ได้อีกแล้ว.
  • 25. บทสนทนากับผูไม่มีมซฮับ ้ ั 23 มุสลิมที่ไม่รู้(ญาฮิล) ที่ใช้ความพอใจส่วนตัวมาทําความเข้าใจสิ่งที่เขาได้ ศึกษาจากอัลกุรอาน ทําการละหมาดผินหน้าไปทางอื่นจากกิบละฮ์โดยขัดแย้งกับ บรรดามุสลิมีนทั้งหมด แล้วการละหมาดของเขาใช้ได้! (กระนั้นหรือ?!) ชาย ธรรมดาคนหนึ่งได้ใช้ความพอใจส่วนตัว ทําตนเองให้กลายเป็นแพทย์รักษาผู้ใดก็ ได้ตามที่เขาต้องการ และต่อไปผู้ป่วยก็จะตายด้วยน้ํามือของเขา แล้วถูกกล่าวแก่ ผู้ป่วยว่า อัลลอฮฺจะทรงทําให้ท่านหายป่วยเองกระนั้นหรือ! ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า เหตุใดที่พวกไม่มีมัซฮับเหล่านั้นถึงไม่ปล่อยให้เราใช้ ความพอใจส่วนตัวเช่นกันในการให้คนที่ไม่รู้หุกุ่มและหลักฐานต่างๆ ของศาสนา ทําการยึดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งจากบรรดามัซฮับของปราชญ์มุจญฺตะฮิด เนื่องจาก พวกเขามีความรู้แจ้งเห็นจริงในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ยิ่งกว่า