SlideShare a Scribd company logo
เอกสารเผยแพร่



การละหมาดตะรอวีหฺ


ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
  อ. อารีฟีน แสงวิมาน
 (ผอ. สถาบันอัลกุดวะฮ์)


   กรกฎาคม 2555
ละหมาดตะรอวีห์                                                           1


                                   บทนํา




                           ...


       ทุกปีมักจะมีคําถามเกี่ยวกับการละหมาดตะรอวีหฺ ว่า มี 8 ร็อกอะฮ์ หรือมี
20 ร็อกอะฮ์ ว่าอย่างไหนดีกว่า ผมขอตอบว่าประเด็นนี้ไม่มีหลักฐานที่ท่านนะบีย์
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กําหนดร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺแบบชัดเจน
เอาไว้ แต่มีตัวบทหะดีษได้ระบุถึงความดีงามของการละหมาดตะรอวีหฺในแง่ของ
การละหมาดที่มีความศรัทธาเชื่อในสัญญาของอัลลอฮฺพร้อมกับมีความหวังและมี
ความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์นั้น พระองค์ก็จะอภัยโทษบาปที่ผ่านพ้นมาแล้วแก่เขา
       ท่านอัลบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุ
อันฮุ ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า



      “ผู้ ใดที่ดํารง(ละหมาด)ในเดือนร่อมะฎอนโดยมีความศรัทธา(ต่อ
      สัญญาของอัลลอฮฺ) และมีความบริสุทธิ์ใจ(หรือแสวงหาความเมตตา
      จากพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว”
     ดังนั้น ประเด็นความดีงามของการละหมาดตะรอวีหฺมันอยู่ที่หัวใจของ
ความศรัทธาต่อสัญญาของอัลลอฮฺตะอาลาและมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ และ
2                                                   เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


ไม่ว่าจะละหมาดกีร็อกอะฮ์ ทุกคนก็มีเป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อแสวงหาความพึง
                ่
พอพระทัยของอัลลอฮฺตาอาลา เพราะฉะนั้นเราจึงไม่นิยมความเลยเถิดและคลั่ง
ไคล้ในทัศนะของตนจนเป็นเหตุต้องตัดสินทัศนะอื่น
       อัลลอฮฺตะอาลาเท่านั้น เราวอนขอต่อพระองค์ทรงประทานความบริสุทธิ์ใจ
แก่เราในการรับใช้ศาสนาของพระองค์
                                                   อาริฟีน แสงวิมาน
                                                    สถาบันอัลกุดวะฮ์
ละหมาดตะรอวีห์                                                                         3



ละหมาดตะรอวีหฺและคํานิยาม
            คํา ว่ า อั ต ตะรอวี หฺ (  ) หมายถึ ง การหยุ ด พั ก และตามหลั ก ภาษา
อาหรับ เป็นพหุพจน์จากคําว่า อัตตัรวีหะฮ์ (                        ) ท่านอิบนุ มันซูรให้
ความหมายว่า การเรียก “อัตตัรวีหะฮ์” (                   ) ในเดือนร่อมะฎอนนั้น เพราะ
ผู้ที่ ทํ า ละหมาดจะทํ า การหยุ ด พั กในทุ ก สี่ ร็ อ กอะฮ์ ... และคํ าว่ า อั ต ตะรอวี หฺ
                                                                                          1
(            ) เป็นพหุพจน์จากคําว่า อัตตัรวีหะฮ์ (         ) ซึ่งหมายถึง พักหนึ่งครั้ง...”
       หากพิจารณาความหมายในเชิงภาษา ก็ปรากฏชัดแล้วว่าการละหมาดตะ
รอวีหฺนั้นมีมากกว่า 8 ร็อกอะฮ์ เพราะการหยุดพักหนึ่งครั้ง (         ) หลังจาก
ละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ หากหยุดพัก 2 ครั้ง (           ) หลังจากละหมาดมาแล้ว 8
ร็อกอะฮ์ ดังนั้น การละหมาด 8 ร็อกอะฮ์ จึงไม่เรียกว่าละหมาด (         ) ในเชิง
ของคํานิยามละหมาดตะรอวีหฺ เนื่องจากคําว่าตะรอวีหฺ (       ) นั้น ต้องหยุดพัก
หลาย ๆ ครั้ง หรือมากกว่าสองครั้งขึ้นไป
       ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า “การละหมาดตะรอวีหฺ คือการละหมาด
ยามค่ําคืนของเดือนร่อมะฎอน”2




1
    อิบนุ มันซูร, ลิซานุลอะหรับ, เล่ม 1 หน้า 615.
2
    อันนะวาวีย,์ ชัรห์ศ่อฮีหฺมุสลิม, เล่ม 6 หน้า 39.
4                                                                     เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


ผู้ทําการละหมาดตะรอวีหฺคนแรก
        ท่ า นรอซู ลุ ล ลอฮฺ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม คื อ บุ ค คลแรกที่ ทํ า การ
ละหมาดตะรอวีหฺ อั ล บุ คอรี ย์แ ละมุ ส ลิ มรายงาน จากท่ านอบูฮุ ร็อยเราะฮ์
ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า



          “ผู้ใดที่ยืนขึ้นมา(ละหมาด)ในเดือนร่อมะฎอนโดยมีความศรัทธา(ต่อ
          สัญญาของอัลลอฮฺ) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของ
          พระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว”3




          “ผู้ใดถือศีลอดในเดือนร่อมะฎอนโดย มีความศรัทธา(ต่อสัญญา
          ของอั ล ลอฮฺ ) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของ
          พระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและผู้ใด
          ยืน ขึ้น มา(ละหมาด)ในคื น ลั ย ละตุ ล ก็ อดรฺ โ ดยมี ความศรั ทธาและ
          แสวงหาการตอบแทน เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่าน
          มาแล้ว”4



3
    รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 36, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1266.
4
    รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 37, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1268.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                    5


     ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ ได้รายงาน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา
ความว่า




          “แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาด
          ในค่ําคื น หนึ่ง ที่มัส ยิ ด บรรดาผู้คนจึ ง ได้การละหมาดตามการ
          ละหมาดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจาก
          นั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ทําการละหมาดในคืนต่อไป ผู้คนจึงมากขึ้น
          หลังจากนั้นพวกเขาได้ทําการละหมาดรวมกันในคืนที่สามหรือคืนที่
          สี่ โดยที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ได้ออกมา
          ยังพวกเขา ดังนั้น เมื่อถึงเวลาซุบฮิ ท่านนบีได้กล่าวว่า ฉันได้เห็นสิ่ง
          ที่พวกท่านได้กระทําแล้ว โดยไม่มีสิ่งใดที่มาห้ามฉันให้ออกไปยังพวก
          ท่าน นอกจากเสีย ว่า ฉัน เกรงว่ามัน จะถูกฟัร ฎูเหนือพวกท่าน
          ต่างหาก และเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นอยู่ในช่วงของเดือนร่อมะฎอน”5
ท่านอัลบุคอรีย์ ได้รายงานเช่นกันว่า



5
    รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 1129, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 761.
6                                                               เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์




                                                                          .

                                       .


          “จาก อับดุรเราะหฺมาน บุตร อับดุลกอรี เขากล่าวว่า ฉันได้ออกไป
          ยังมัสยิดพร้อมกับท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ ในเดือนร่อมะฎอน
          ทันใดนั้นเราพบว่าประชาชนได้แยกกันเป็นกลุ่มๆ คนหนึ่งละหมาด
          คนเดียวตามลําพัง คนหนึ่งมีสองสามคนละหมาดตาม ท่านอุมัรได้
          กล่าวขึ้นว่า ถ้าหากพวกเขารวมกันละหมาดตามคนที่อ่านถูกต้อง
          เพียงคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง ต่อมาท่านอุมัรก็ได้รวบรวมผู้คนให้
          ละหมาดตามอุบัยย์ บิน กะอับ จากนั้นฉันได้ออกไปพร้อมกับท่าน
          อุมัรในอีกคืนหนึ่ง โดยประชาชนกําลังละหมาดตามนักอ่านของพวก
          เขา ท่านอุมัร กล่าวว่า “นี่เป็น บิดอะฮ์ (สิ่งที่เกิดขึ้น มาใหม่) ที่ดี”
          และช่ว งเวลาที่พ วกเขานอนกั น นั้น ดีกว่ าช่ว งเวลาที่ พวกเขา
          ละหมาด ท่านอุมัรหมายถึงช่วงเวลาท้ายคืน(นั้นละหมาดดีกว่า) แต่
          ประชาชนจะละหมาดในช่วงแรกของคืน”6

6
    รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 2010.
ละหมาดตะรอวีห์                                                               7




จํานวนร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺ
        นักปราชญ์แห่งประชาชาติอิสลามทั้งสะลัฟและค่อลัฟ ลงมติ (อิจญมาอฺ)
ว่า การละหมาดตะรอวีหฺนั้นมี 20 ร็อกอะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือโดยมัซฮับทัง
สี่ คือ มัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับที่เลื่องลือของมาลิกีย์ มัซฮับชาฟิอีย์ และมัซฮับฮัม
บาลีย์ และปราชญ์สะลัฟท่านอื่นๆ
      ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนัน อัตติรมีซีย์ ว่า




      “นักปราชญ์ส่วนมาก ได้ดําเนินอยู่กับสิ่งที่รายงานจากท่านอุมัรและ
      ท่ า นอะลี และท่ า นอื่ น ๆ จากบรรดาศ่ อ ฮาบะฮ์ ข องท่ า นนบี
      ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า (ละหมาดตะรอวีหฺ) มี 20 ร็อกอะฮ์
      และมันคือทัศนะของท่านซุฟยาน อัษเษารีย์, ท่านอิบนุ มุบาร็อก,
      ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์, และท่านอิมามอัชชาฟิอีย์กล่าวว่า เช่นนี้
8                                                                         เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


        แหละ ที่ฉันได้พบที่เมืองมักกะฮ์ของเรา พวกเขาได้ทําการละหมาด
        20 ร็อกอะฮ์”7
ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า




        “และฉั น ได้ เ ห็ น พวกเขาเหล่ า นั้ น (ชาวมะดี น ะฮ์ ) ที่ น ครมะดี น ะฮ์
        พวกเขาได้ทําการละหมาด 39 ร็อกอะฮ์8 และที่รักยิ่งสําหรับฉัน
        มากที่สุดคือ 20 ร็อกอะฮ์ เพราะได้รายงานจากท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอ
        ฮุอันฮุ และเช่นดังกล่าวนี้พวกเขาได้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์ที่มักกะฮ์
        และทําละหมาดวิติร 3 ร็อกอะฮ์”9


เหล่าศ่อฮาบะฮ์ทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์
      มี ส ายรายงานที่ ศ อฮี ห์ แ ละมี น้ํ า หนั ก ได้ ยื น ยั น ว่ า เหล่ า ศ่ อ ฮาบะฮ์ ไ ด้ ทํ า
ละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วละหมาดตะรอวีหฺ 20
ร็อกอะฮ์เป็นอิจญฺมาอฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ในสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชีดีน

7
  อัตติรมีซีย,์ สุนันอัตติรมีซีย,์ เล่ม 3, หน้า 170.
8
  ทํา 20 ร็อกอะฮ์ แล้วเพิ่มอีก 16 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นทําละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์
9
  อัลมุซะนีย,์ มุคตะศ็อร อัลมุซะนีย,์ หน้า 21.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                   9


สายรายงานที่หนึ่ง: ท่านอิบนุ อะบี ชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า
                          :


        “ได้ เ ล่ า ให้ เ ราทราบโดย อิ บ นุ นุ มั ย ร์ จากอั บ ดุ ล มาลิ ก จาก
        ท่านอะฏออฺ (บิน อะบีร่อบาห์) เขาได้กล่าวว่า ฉันได้รู้ว่าประชาชน
        ทั้งหลาย(คื อเหล่าศ่อ ฮาบะฮ์) ได้ทําการละหมาด 23 ร็อกอะฮ์10
        พร้อมวิติร”11
      นักรายงานของหะดีษนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม นอกจาก
อับดุลมาลิก บิน อะบีสุไลมาน เขาเป็นนักรายงานของท่านมุสลิมเท่านั้น
        ท่านอะฏออฺเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 114 หรือ 117 ซึ่งอายุของท่านประมาณ
100 ปี หรือ 90 ปี หรือ 88 ปี ตามที่ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร ได้กล่าวไว้ใน
หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบของท่าน12 ดังนั้นท่านอะฏออฺจึงเกิดในช่วงแรกๆ ของ
การเป็นค่อลีฟะฮ์ของท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ในกรณีที่เราถือว่าท่านอะฏออฺมี
อายุ 100 ปี ซึ่งท่านอะฏออฺก็อยู่ในช่วงอายุที่รู้เดียงสาและสามารถรับรู้ได้แล้ว
และถ้าหากเราถือว่าท่านอะฏออฺมีอายุ 88 ปี โดยเสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 117 หรือ 114
ซึ่งแน่นอนว่าท่านอะฏออฺจะเกิดในปี ฮ.ศ. ที่ 29 หรือ 32 โดยท่านอะฏออฺจะมี
อายุ 7 ปีในช่วงท้ายของค่อลีฟะฮ์อุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ หรือในช่วงท้ายของค่อ
ลีฟะฮ์อะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ, แต่นักปราชญ์หะดีษได้ให้น้ําหนักว่า ท่านอะฏออฺ

10
   หมายถึงละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์.
11
   อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนิ อะบีชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7688.
12
   อิบนุ หะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 7, หน้า 182.
10                                                                              เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


เกิดในขณะที่ท่านอุษมานเป็นค่อลีฟะฮ์ได้ 2 ปีแล้ว ดังนั้นท่านอะฏออฺก็จะทําการ
รายงานหะดี ษ ในช่ ว งปี ที่ 9 13 ของการเป็ น ค่ อ ลี ฟ ะฮ์ ข องท่ า นอุ ษ มาน, และ
ท่านอะฏออฺมีอายุ 16 ปีในช่วงที่สิ้นสุดยุคสมัยอัลคุละฟาอฺอัรรอชิดีน ในปี ฮ.ศ.
40 ดังนั้นท่านอะฏออฺจึงเป็นผู้รายงานการละหมาดตะรอวีหฺในยุคสมัยของอัล
คุละฟาอฺอัรรอชิดีนอย่างแน่นอนและเด็ดขาด และศ่อฮาบะฮ์ในยุคนั้นก็ยังมี
มากมาย ซึ่งไม่มีผู้ใดให้การตําหนิการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ดังกล่าว
เลย14


สายรายงานที่สอง: ท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้รายงานว่า
                                     :




           “จากยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ จาก อัซซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า
           พวกเขาได้ ทํ า การละหมาดในสมั ย ท่ า นอุ มั ร อิ บ นุ อั ล ค็ อ ฏฏ็ อ บ
           ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ในเดือนร่อมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์ อัซซาอิบ บิน ยะ
           ซีด กล่าวอีกว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ทําการอ่านถึง 200 อายะฮ์ โดย



13
     เพราะการรู้เดียงสาหรือการรับรู้ได้นั้นอยู่ช่วงอายุประมาณ 6 ปี หรือ 7 ปี.
14
     มะห์มูด อะห์มัด อัซซัยน์, ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ ฟี ซุนนะตินนะบีย,์ หน้า 6.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                                        11


         พวกเขาได้ ทํ า การค้ํ า ยั น ด้ ว ยไม้ เ ท้ า ในสมั ย ของท่ า นอุ ษ มาน
         ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เนื่องจากมีการยืนนาน”15
       อาจจะมีผู้ทคัดค้านการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ในปัจจุบันที่พยายาม
                   ี่
ตัดสินสายรายงานนี้ว่าเป็นสายรายงานที่ฎ่ออีฟเพราะมี ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์
เนื่องจากท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า “มุงกะรุลหะดีษ” (                   ) แต่
ท่านอัลอัษร็อม ได้รายงานเช่นเดียวกันว่า ท่านอะห์มัดได้กล่าวถึง ยะซีด บิน
คุศ็อยฟะฮ์ว่า “เชื่อถือได้” ( )16 ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวว่า ยะ
ซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น “เชื่อถือได้” ( )17 และท่านอิบนุลก็อฏฏอนได้กล่าวว่า
                                                                         18
“ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ เชื่อถือได้โดยไม่มีการขัดแย้งกัน” (               )
       ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ หะญัร ได้กล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับ ยะซีด บิน คุศ็อย
ฟะฮ์ ว่า




15
   อัลบัยฮะกีย,์ สุนันอัลบัยฮะกีย,์ เล่ม 2, หน้า 496. ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้ตัดสินศ่อฮีหฺกับหะดีษนี้ไว้ใน
มัจญฺมุอฺของท่าน เล่ม 4, หน้า 32. ท่านอัซซัยละอีย์ได้ตัดสินศ่อฮีหฺเอาไว้ใน นัศบุรรอยะฮ์, เล่ม 2, หน้า
154, และท่านอิบนุ อัลอิรอกีย์ ได้ตัดสินศ่อฮีหฺไว้ใน ฏ็อรห์ อัตตัษรีบ, เล่ม 3, หน้า 97.
16
   อัซซะฮะบีย,์ มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 7, หน้า 250.
17
   อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 2, หน้า 327.
18
   อิบนุลก็อฏฏอน, บะยานุลวะฮ์มิ วัลอีฮาม, เล่ม 5, หน้า 298.
12                                                                     เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์




        “ยะซี ด บิ น อั บ ดิ ล ลาฮฺ บิ น คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ อั ล กิ น ดี ย์ บางครั้ ง เขา
        พาดพิ งเชื้อ สายไปยัง ปู่ ของเขา(คือ คุศ็ อยฟะฮ์ ) ท่ า นอิ บ นุ มะอี น
        กล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น “เชื่อถือได้และเป็นหลักฐานได้”
        และท่านอะห์มัดได้รับรองยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “เชื่อถือได้” ใน
        สายรายงานของอัลอัษร็อม และท่านอะบูหาติม ท่านอันนะซาอีย์
        และท่านอิบนุสะอัด ได้รับรองความ “เชื่อถือได้” ให้กับยาซีด บิน
        คุศ็อยฟะฮ์ เช่นกัน และท่านอุบัยด์ อัลอาญุร รีย์ ได้ร ายงานจาก
        ท่า นอะบู ด าวู ด จากท่ า นอะห์ มัด ว่ า ยะซี ด บิน คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ นั้ น
        “มุ ง กั ร หะดี ษ ” ข้ า พเจ้ า 19ขอกล่ า วว่ า ถ้ อ ยคํ า (มุ ง กั ร หะดี ษ )ที่
        ท่านอะห์มัดนํามาใช้พูดนี้ จะใช้กับผู้ที่ร ายงานหะดีษเดี่ย วเหนือ
        ผู้รายงานรุ่นเดียวกัน20 ซึ่งสามารถรู้สงดังกล่าวได้ด้วยการตรวจสอบ
                                                  ิ่
        สภาพของเขา และท่านมาลิกและบรรดาปราชญ์ทั้งหมดได้นํา ยะ
        ซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์มาเป็นหลักฐานได้”21
        ดังนั้น คําพูดของท่านอะห์มัดต่อ ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “มุงกัรหะดีษ”
นั้นมิใช่เป็นการตําหนิตัวผู้รายงาน ยิ่งกว่านั้นยังมีสายรายงานของอัลอัษร็อมระบุ
ว่าท่านอะห์มัดได้รับรองความเชื่อถือของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ซึ่งสอดคล้องกับ

19
   คือท่านอิบนุหะญัร.
20
   หมายถึงชอบทําการรายงานหะดีษเดี่ยวที่นักรายงานท่านอื่นๆ ไม่ได้รายงานกัน ซึ่งมิใช่เป็นข้อตําหนิของ
นักรายงานเสมอไป.
21
   อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 1, หน้า 453.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                    13


การรั บ รองความเชื่ อ ถื อ ของปราชญ์ ห ะดี ษ ท่ า นอื่ น ๆ โดยเฉพาะท่ า นอิ บ นุ ล
ก็อฏฏอนได้กล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น เชื่อถือได้โดยไม่มีการขัดแย้งและ
ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า บรรดาปราชญ์หะดีษทั้งหมดได้นํายะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์
มาเป็นหลักฐานได้ เพราะฉะนั้นการพยายามที่จะทําให้ ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ฎ่อ
อีฟนั้น ไม่ถูกต้องตามหลักการพิจารณาหะดีษ
       สําหรับผู้ที่คัดค้านการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ในปัจจุบันบางส่วน
พยายามตัดสินสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่าเป็นหะดีษที่ชาซฺ(เพี้ยน)
เนื่องจากไปคัดแย้งกับสายรายงานของ “มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ” ที่น่าเชื่อถือมากกว่า
นั้น เราจะนําเสนอชี้แจงต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
สายรายงานที่สาม: ท่านอับดุรร็อกซาก ได้รายงานว่า




          “จากดาวูด บิน ก็อยส์ และท่านอื่นๆ จาก มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ จาก
          อั ส สาอิ บ บิ น ยะซี ด ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นอุ มั ร ได้ ร วบรวม
          ประชาชนในเดือนร่อมะฎอนให้ละหมาดตามอุบัยย์และตะมีม อัดดา
          รีย์ 21 ร็อกอะฮ์22”23
      สายรายงานนี้มีนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิมนอกจากดาวูด บิน
ก็อยซ์ เขาเป็น นักรายงานของมุส ลิมเท่านั้น และการที่ท่านอับดุร ร็อซซากมี
22
     คือละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์.
23
     อับดุรร็อซซาก, มุศ็อนนัฟ อับดุรร็อซซาก, หะดีษเลขที่ 7730.
14                                                                          เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


ความจําเปลี่ยนไปหลังจากตาบอดนั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด เพราะ
ท่านอับดุรร็อซซากได้ประพันธ์หนังสือ อัลมุศ็อนนัฟของท่านก่อนที่ตาจะบอด
      และสายรายงานนี้ก็ไม่ค้านกับสายรายงานของท่านมาลิก จาก มุฮัมมัด บิน
ยูซฟ อีกสายรายงานหนึ่งที่รายงานจากท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด ความว่า
   ุ




        “ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้สั่งใช้ให้อุบัยย์ บิน กะอับ และตะมีม
        อัดดารีย์ ทําการละหมาดนําประชาชน 11 ร็อกอะฮ์”24
                                                                                    25
เพราะสามารถรวมหรือประสาน (                        ) ระหว่างสองรายงานนี้ได้ ตามที่อิหม่าม
อัลบัยฮะกีย์ ได้กล่าวว่า




        “และสามารถทําการรวมประสานระหว่างสองรายงานได้เพราะพวก
        เขาได้ เ คยละหมาด 11 ร็ อ กอะฮ์ หลั งจากนั้น พวกเขาได้ ทํา การ
        ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์พร้อมกับวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์ วัลลอฮุอะลัม”26
แต่ถ้าหากเราสมมุติว่าสองรายงานนี้ค้านกัน แน่นอนว่าสายรายงานของมุฮัมมัด
บิน ยูซุฟ ที่สอดคล้องกับนักรายงานท่านอื่นๆ ที่ระบุละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อก

24
   มาลิก บิน อะนัส, อัลมุวัฏเฏาะอฺ, หะดีษเลขที่ 379. และอัลบัยฮะกีย,์ สุนันอัลบัยฮะกีย,์ เล่ม 2, หน้า 496.
25
   คือสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ที่รายงานทั้ง 11 ร็อกอะฮ์และ 21 ร็อกอะฮ์.
26
   เรื่องเดียวกัน.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                             15


อะฮ์นั้น ย่อมดีกว่า เพราะสายรายงานของพวกเขาจะทําให้สายรายงานของมุฮัม
มัด บิน ยูซุฟ ที่ระบุละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เพิ่มน้ําหนักยิ่งขึ้น
      ผู้ ที่ ก ล่ า วว่ า สองสายรายงานค้ า นกั น และให้ น้ํ า หนั ก สายรายงานที่ ร ะบุ
ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์แล้วกล่าวว่ารายงานที่ระบุ 21 ร็อกอะฮ์27เพี้ยนนั้น ด้วยคํา
กล่าวอ้าง 2 ประการ
     1 บรรดานักรายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์จากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นเชื่อถือ
       ได้มากกว่าบรรดานักรายงานละหมาด 21 ร็อกอะฮ์ซึ่งมี ดาวูด บิน ก็อยซ์
       ได้รายงานเพียงลําพังคนเดียว และท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า ดาวูด บิน
                                           28
       ก็อยซ์นั้น ศอลิหุลหะดีษ (          ) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ํากว่า ( )
       “เชื่อถือได้” อย่างมิต้องสงสัย
     2 มุฮั ม มั ด บิ น ยู ซุ ฟ เชื่ อ ถือ ได้ ม ากกว่า ยะซี ด บิน คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ เพราะ
       ท่านอิบ นุหะญัร อัล อัส ก่อลานีย์ ได้กล่าวถึง มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ไว้ ใน
       หนัง สือตั กรี บ อั ตตะฮ์ซี บ ว่า (             ) “เชื่ อถื อ ได้ อี ก ทั้ ง มั่ น คง” และ
       กล่าวถึง ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า ( ) “เชื่อถือได้” เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น
       อิหม่ามอะห์มัดยังกล่าวถึง ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “มุงกัรหะดีษ”29


ชี้แจงข้ออ้างดังกล่าว


27
   คือละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์.
28
   ศอลิหุลหะดีษ หมายถึง มีการรายงานและรับหะดีษเป็นอย่างดีโดยไม่มีข้อผิดพลาดในการรายงาน.
29
   ทบทวนรายละเอียดข้อเท็จจริงในหน้าที่ 11-22 ที่ผ่านมา.
16                                                             เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


        1. การให้น้ําหนักนั้นยังไม่มีความจําเป็นหากสามารถรวมประสานกันได้
เพราะการรวมประสานกันนั้นจะขจัดความขัดแย้งออกไป ดังนั้นถ้าหากว่าทั้งสอง
หะดีษที่ขัดแย้งกันแบบผิวเผิน แล้วเราทําการให้น้ําหนักก่อนการรวมประสานกัน
ระหว่างทั้งสองนั้น ก็จะทําให้ซุนนะฮ์มากมายต้องหายไปด้วยการอ้างว่าเป็นหะ
ดีษเพี้ยน(ซาซฺ) แต่การรวมประสานนั้น ในที่นี้สามารถกระทําได้ตามที่อิห ม่าม
อัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวไว้ข้างต้น30
           ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า
                                                       :   :
                                                                    ....
           “ตั ว บทที่ ขั ด แย้ ง กั น นั้ น มี 2 ประเภท หนึ่ ง : สามารถรวม
           ประสานกันได้ระหว่างทั้งสองด้วยหนทางใดหนทางหนึ่งที่มีความ
           ถูกต้อง ก็จําเป็นต้องรวมประสานกัน....”31
        ดังนั้น ตัว บทที่ร ายงานโดยมุฮัมมัด บิน ยูซุฟที่ร ะบุ ให้ล ะหมาด 11 ร็อก
อะฮ์นั้ น คือ ท่ านอุมั ร ได้ ใช้ ให้ กระทํา ในช่ว งแรก หลั งจากนั้ น พวกเขาก็ทํ าการ
ละหมาด 21 หรือ 23 ร็อกอะฮ์ เพื่อรวมประสานกันระหว่างสองหลักฐานนี้
           ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า




30
     ทบทวนรายละเอียดหน้าที่ 14.
31
     อันนะวาวีย,์ ตัดรีบ อัรรอวีย,์ เล่ม 2 หน้า 176.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                  17


           “และจะไม่มีการพาดพิงสองหะดีษให้มีการขัดแย้งกันตราบใดที่ทั้ง
           สองหะดีษนั้นมีหนทางหนึ่งที่สามารถไปกันได้พร้อมๆ กัน แต่หะดีษ
           ที่ขัดแย้งกัน คือตัวบทที่ไปกันไม่ได้นอกจากอีกตัวบทหนึ่งต้องตก
           ไป”32
           ดังนั้นสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ทั้งสองนี้สามารถรวมประสานและ
ไปกันได้เนื่องจากเราทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ก็รวมอยู่ในการทําละหมาด
8 ร็อกอะฮ์แล้วนั่นเองโดยไม่ต้องตัดสายรายงานใดทิ้งไป ด้วยเหตุนี้ การที่มีสาย
รายงานที่ศอฮีห์แต่มีจํานวนนักรายงานน้อยกว่าหรือมีความจําน้อยกว่า ไม่ถูก
นับว่าเป็นสายรายงานที่เพี้ยนหรือซาซฺเสมอไป เพราะหะดีษชาซฺนั้น คือ “หะดีษ
ที่ผู้ที่เชื่อถือได้รายงานขัดแย้งกับผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า (โดยไม่สามารถรวมกันได้)”
แต่สายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟทั้งสองนี้ไม่ได้ค้านกันเนื่องจากสามารถรวม
ประสานและเดินไปพร้อมกันได้
       2. คํากล่าวของพวกเขาที่ว่า ดาวูด บิน ก็อยซฺ แค่ ศอลิหุลหะดีษ (
       ) นั้น เมื่ออยู่พร้อมกับการถูกรับรองความเชื่อถือตามที่ท่านอิบนุอะบีฮาติม
ได้กล่าวชมเชย ดาวูด บิน ก็อยซฺว่า (                   ) “เขาหะดีษดีอีกทั้งเชื่อถือ
    33
ได้” ซึ่งไม่ทําให้ความเชื่อถือต้องลดลงไป ยิ่งกว่านั้น ถ้อยคําที่ว่า (              )
ตรงนี้ หมายถึงไม่มีความผิดพลาดในการรายงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ
ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุหะญัรจึงกล่าวว่า ดาวูด บิน ก็อยซฺนั้น (           ) “เชื่อถือได้




32
     อัชชาฟิอีย,์ อัรริซาละฮ์, หน้า 342.
33
     อิบนุ อะบี หาติม, อัลญัรห์ วัตตะอฺดีล, เล่ม 3, หน้า 423.
18                                                                  เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


อีกทั้งประเสริฐ”34 ยิ่งกว่านั้นดาวูด บิน ก็อยซฺ ยังเป็นนักรายงานของท่านอิหม่าม
มุสลิมอีกด้วย
        3. การอ้างว่า “บรรดานักรายงานจากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นมีมากกว่าและ
เชื่อถือได้มากกว่าดาวูด บิน ก็อยซฺนั้น ทําให้เพิ่มน้ําหนักถึงความถูกต้องในการ
รายงานจากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ว่า ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ใช้ให้ประชาชน
ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์” แต่สิ่งดังกล่าวมิได้เพิ่มน้ําหนักในสายรายงานที่ผ่านอัซ
ซาอิบ บิน ยะซีด35 เพราะมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นก็ได้รายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์
จากอัซซาอิบ บิน ยะซีด และมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ เองก็ทําการรายงานละหมาด 21
ร็อกอะฮ์จากอัซซาอิบ บิน ยะซีด เช่นเดียวกัน แต่สายรายงานแรก36มุฮัมมัด บิน
ยูซุฟ ได้รายงานคนเดียวจากท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด ส่วนสายรายงานที่สอง37นั้น
มุฮัมมัด บิน ยูซุฟกับยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ได้ร่วมกันจากอัซซาอิบ บิน ยะซีด
        สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ
• สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์นั้นมี:
        1. มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ            ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด
• สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้นมี:
        1. มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ             ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด

34
   อิบนุ หะญัร, ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 1, หน้า 199.
35
     คือไม่ได้เพิ่มน้ําหนักสายรายงานของอัซซาอิบ บิน ยะซีซฺ ที่รายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์,
ทบทวนสายรายงานดังกล่าว หน้าที่ 13.
36
   สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์.
37
   สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 21 ร็อกอะฮ์.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                      19


        2. ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์           ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด
และทั้งมุฮัมมัด บิน ยูซุฟและยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นี้ต่างก็ทันอยู่ในสมัยของท่าน
อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ หากแม้ท่านจะกล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์จะมีระดับ
ความน่าเชื่อน้ อยกว่ ามุฮั มมัด บิน ยูซุฟ ก็ตาม แต่ส ายรายงานของยะซี ด บิ น
คุศ็อยฟะฮ์ที่รายงานละหมาด 20 ร็อกอะฮ์นั้นก็สามารถมาสนับสนุนสายรายงาน
ละหมาด 21 ร็อกอะฮ์38ของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ดังกล่าวจึ งทํา ให้ส ายรายงาน
ละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์มีน้ําหนักยิ่งกว่านั่นเอง
       4. สายรายงานของละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์สอดคล้องและร่วมกัน
ระหว่างมุฮัมมัด บิน ยูซุฟกับยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ยังมีบรรดาหะดีษมุรซัลอีก 3
กระแสมาสนับ สนุน39 และพร้อมกัน นั้น ก็ยังมีส ายรายงานของท่านอะฏออฺ40ที่
รายงานสอดคล้องกับสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟและยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์
ในแง่ มุ ม ที่ ว่า การละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็ อกอะฮ์ ไ ด้ ก ระทํ า กั น ในยุ ค สมั ย อั ล คุ
ละฟาอฺอัรรอชิดีน
         5. ส่วนการอ้างว่า “สายรายงานหนึ่งของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้น ‘ท่านอุมัรได้
สั่งใช้ให้ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์’ ส่วนสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้นระบุ
เพียงว่า ‘พวกเขาได้ทําการละหมาด 23 ร็อกอะฮ์ในสมัยท่านอุมัร’ ซึ่งเป็นเพียง
แค่การยอมรับของท่านอุมัรเท่านั้น แต่การสั่งใช้ให้กระทําย่อมมีน้ําหนักมากกว่า
การยอมรับ” นั้น ขอชี้แจงว่า สายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นมิได้บอกถึงว่า
บรรดาศ่อฮาบะฮ์ได้กระทําตามคําสั่งของท่านอุมัร แต่รายงานของยะซีด บิน
38
   คือละหมาด 20 ร็อกอะฮ์และหลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์.
39
   ดู หน้าหน้าที่ 20-23.
40
   ทบทวนหน้าที่ 8.
20                                                   เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


คุศ็อยฟะฮ์ บอกถึงการกระทําของเหล่าศ่อฮาบะฮ์และการยอมรับของท่านอุมัรที่มี
ต่อพวกเขา ดังนั้นสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ได้บอกถึงการอิจญฺมาอฺ
(       ) ของเหล่าศ่อฮาบะฮ์มากมายที่อยู่นครมะดีนะฮ์ในการละหมาดตะรอวีหฺ
20 ร็อกอะฮ์ ฉะนั้นการอิจญฺมาอฺของศ่อฮาบะฮ์พร้อมกับการยอมรับของท่านอุมัร
นั้นย่อมมีน้ําหนักยิงกว่าการที่ท่านอุมัรออกคําสั่งใช้เพียงอย่างเดียว
                    ่
       และเมื่อเราพิจารณาสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ อีกกระแสหนึ่งที่
ระบุว่า “ท่านอุมัรได้รวบรวมประชาชนในเดือนร่อมะฎอนให้ละหมาดตามอุบัยย์
และตะมีม อัดดารีย์ 21 ร็อกอะฮ์”41 เราจะพบว่า ท่านอุมัรได้สั่งใช้ให้ละหมาด
20 ร็อกอะฮ์โดยนัยแล้ว เนื่องจากเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านอุมัรได้ทําการรวบรวม
ประชาชนทั้งหลายให้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์โดยที่ท่านไม่ได้สั่งใช้พวกเขา ดังนั้น
สายรายงานที่ระบุว่าให้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์นั้นย่อมมีน้ําหนักยิ่งกว่า


บรรดาสายรายงานที่มุรซัล
       นอกเหนือจากบรรดาสายรายงานทั้ง 3 ที่เชื่อมต่อกับยุคสมัยของท่านอุมัร
และยุคสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชิดีนที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีสายรายงาน
จากตาบิอีนอีก 3 ท่านที่ไม่ทันสมัยของท่านอุมัร ได้ยืนยันว่าการละหมาดตะรอ
วีหฺในสมัยของท่านอุมัรนั้นมี 20 ร็อกอะฮ์
      อนึ่ง ตาบิอีนนั้นเมื่อได้รายงานหะดีษถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ
วะซัลลัม ถือว่าการรายงานของเขาเป็นหะดีษมุรซัลที่ถูกยอมรับได้และนํามาเป็น

41
     ทบทวนหน้าที่ 13.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                                   21


หลักฐานได้ตามทัศนะของท่านอิหม่ามมาลิก ท่านอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ และท่าน
อิหม่ามอะห์มัด ซึ่งเป็นทัศนะที่ต่างกับท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และถ้าหากตา
บิอีนได้รายงานหะดีษถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยไม่อ้างถึงศ่อ
ฮาบะฮ์42 พร้อมกับมีหะดีษสายรายงานอื่นอีกที่เชื่อมถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอ
ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แน่นอนว่าสายรายงานที่เชื่อมถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะ
ลัยฮิวะซัลลัม ก็จะมีน้ําหนักยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
สายรายงานที่หนึ่ง: ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า


                                                                                     :


          “ได้เล่าให้เราทราบ โดยหุมัยด์ บิน อับดิรเราะห์มาน, จากหะซัน
          (บิน ศอลิห์), จากอับ ดุล อะซีซ บิน รุฟัย อฺ เขาได้กล่าวว่า ท่าน
          อุบัยยฺได้นําละหมาดประชาชนในเดือนร่อมะฎอนที่นครมะดีนะฮ์
          20 ร็อกอะฮ์และทําละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์”43
สายรายงานนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม นอกจากอัลหะซัน เป็น
นักรายงานของมุสลิมเท่านั้น
     แต่ผู้ที่มีทัศนะว่าสายรายงานละหมาด 20 ร็อกอะฮ์ฎ่ออีฟอ้างว่า สาย
รายงานนี้ฎ่ออีฟ 2 ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง: หะดีษนี้มุรซัลเพราะอับดุลอะซีซ


42
     การรายงานแบบนี้เรียกว่า หะดีษมุรซัล เพราะระหว่างตาบิอีนกับท่านนะบีย์นั้นได้ตกศ่อฮาบะฮ์ไป.
43
     อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7684.
22                                                                      เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


บิน รุฟัยอฺ ไม่ทันพบกับท่านอุมัร และสอง: สายรายงานนี้ขัดแย้ง(มุคอลิฟะฮ์)กับ
สายรายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์
ข้อชี้แจง
       การที่สายรายงานมุรซัลถูกตัดสินว่าฎ่ออีฟนั้น ก็ต่อเมื่อนํามันมาอ้างเป็น
หลักฐานเพียงลําพัง แต่ความจริงแล้ว การนําสายรายงานมุรซัลนี้มาอ้างเป็น
หลักฐานก็เพียงเพื่อนํามาสนับ สนุน สายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์เท่า
นั้นเอง และหะดีษมุรซัลนั้นสามารถที่จะทําให้มีน้ําหนักกับสายงานอื่นได้ตาม
ทัศนะของปราชญ์หะดีษที่มีทัศนะว่าหะดีษมุรซัลนั้นฎ่ออีฟ ท่านอิหม่ามอิบนุศ่อ
ลาห์ ได้กล่าวว่า
                               :



           “ท่านอิ ห ม่ามอัช ชาฟิอีย์ ร่ อฎิยัล ลอฮุอั น ฮุ ได้ กล่าวระบุเ กี่ย วกั บ
           บรรดาหะดีษมุรซัลของตาบิอีนไว้ว่า แท้จริงจะถูกตอบรับ(ทําให้มี
           น้ํ า หนั ก )กั บ หะดี ษ มุ ร ซั ล ที่ มี อี ก สายรายงานหนึ่ ง แบบเดี ย วกั น ที่
           อ้างอิงไปยังท่านนะบีย์(มาสนับสนุน) และเช่นเดียวกัน หากมีหะดีษ
           มุ ร ซั ล สายรายงานอื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ ส ายรายงานของตาบิ อี น คนแรกได้
           รายงานสอดคล้องกัน”44
สายรายงานที่สอง: ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า

44
     อิบนุศ่อลาห์, มุก็อดดิมะฮ์ อิบนุ ศ่อลาห์, หน้า 20.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                  23




           “วะกีอฺได้เล่าให้เราทราบ จากมาลิก บิน อะนัส จากยะห์ยา บิน
           สะอีด ความว่า แท้จริงท่านอุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ ได้ใช้ให้ชายคน
           หนึ่งนําละหมาดพวกเขา 20 ร็อกอะฮ์”45
สายรายงานหะดีษนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม และการนําสาย
รายงานมุรซัลนี้มาอ้างอิงโดยมีหลักการและเหตุผลเดียวกับสายรายงานที่หนึ่ง
สายรายงานที่สาม: ท่านอิหม่ามมาลิก ได้รายงานว่า




           “จากยะซีด บิน รูมาน แท้จริงเขาได้กล่าวว่า ประชาชนในสมัยท่าน
           อุ มั ร อิ บ นุ อั ล ค็ อ ฏฏ็ อ บได้ ล ะหมาดในเดื อ นร่ อ มะฎอน 23
           ร็อกอะฮ์”46
ยะซีด บิน รูมาน เป็นนักรายงานหะดีษของอัลบุคอรีย์และมุสลิม
         ดัง นั้ น บรรดาสายรายงานมุ ร ซั ล ทั้ ง สามนี้ เมื่ อนํ า มารวมประสานและ
สนับ สนุน ต่อกัน ก็จะทําให้มีน้ําหนัก และเหมาะสมที่จ ะนํามาสนับ สนุน ให้มี
น้ําหนักยิ่งขึ้นกับสายรายงานที่ศ่อฮีหฺของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ และยะซีด บิน คุศ็อย
ฟะฮ์ ที่ ร ายงานว่ า การละหมาดตะรอวี หฺ มี 20 ร็ อ กอะฮ์ ใ นสมั ย ของท่ า นอุ มั ร

45
     อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7682.
46
     มาลิก บิน อะนัส, อัลมุวัฏเฏาะอ์, เล่ม 1, หน้า 115.
24                                                                           เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ และการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นอิจญฺมาอฺ(มติ)
ของศ่อ ฮาบะฮ์ที่ มี ความเสถี ย รและมั่ น คงในที่ สุด และมี ก ารปฏิบั ติ กัน ต่ อเนื่ อ ง
หลังจากนั้น


วิเคราะห์สายรายงานละหมาด 8 ร็อกอะฮ์
สายรายงานของท่านญาบิร: ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า
                                   :


         “จากท่านอีซา บิน ญาริยะฮ์ จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ เขา
         กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาด
         กับพวกเราในเดือนร่อมะฎอน 8 ร็อกอะฮ์และทําวิติร”47
        หะดีษ นี้ฎ่ อ อีฟ เพราะมี นัก รายงานชื่ อ อี ซา บิ น ญาริ ย ะฮ์ ซึ่ งบรรดา
ปราชญ์หะดีษหลายท่านกล่าวว่าเขานั้นฎ่ออีฟ48 ท่านอะบูดาวูด และท่านอันนะ
                                                                                 49
ซาอี ย์ ก ล่ า วว่ า อี ซ า บิ น ญาริ ย ะฮ์ นั้ น “หะดี ษ เขาถู ก ทิ้ ง ” (     )
ท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า “บรรดาหะดีษทั้งหมดของ อีซา บิน ญารียะฮ์นั้น ไม่ถูก
รักษาไว้(คือมีหะดีษที่รายงานขัดกับ ผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า)”50 ท่านอิบนุมะอีน

47
   รายงานโดยอิบนุ คุซัยมะฮ์, ศ่อฮีหฺ อิบนิ คุซัยมะฮ์, เล่ม 2, หน้า 138.
48
   ดู อัซซะฮะบีย,์ มีซานุลอิอฺติดาล, เล่ม 5, หน้า 374-375. อัลอุกอยลีย,์ อัฎฎุอะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 383.
                                                                  ็
49
   อันนะซาอีย,์ อัฎฎุอะฟาอฺ วัล มัตรูกีน, เล่ม 1, หน้า 216. อิบนุ อัลเญาซีย์, อัฎฎุอะฟาอฺ วัล มัตรูกีน, เล่ม
2, หน้า 238. อัลมิซซีย,์ ตะฮ์ซีบ อัลกะมาล, เล่ม 22, หน้า 589.
50
   อิบนุ อะดีย,์ อัลกามิล ฟี ฎุอะฟาอฺ อัรริญาล, เล่ม 5, หน้า 249.
ละหมาดตะรอวีห์                                                              25


กล่าวว่า “ณ ที่ อีซา บิน ญาริยะฮ์ มีหะดีษมุงกัรมาก(คือที่รายงานเพียงลําพังคน
เดียวหรือมีหะดีษที่รายงานขัดแย้งกับผู้อื่น)”51


สายรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา: ผู้ที่กล่าวว่าละหมาดตะ
รอวีหมี 8 ร็อกอะฮ์นั้น เพราะอ้างหลักฐานจากหะดิษท่านหญิงอาอิชะฮ์ที่ว่า
     ฺ


                                                      :

                                          :
                                                                        :
          “จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอ
          ฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอน
          หรืออื่นจากเดือนร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร็อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4
          ร็อกอะฮ์ และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน
          แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและ
          ยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ท่านหญิง
          อาอิชะฮ์เล่าว่า ฉันได้กล่าวถามว่า โอ้ร่อซูลุลลอฮฺ ท่านจะนอนก่อน
          ละหมาดวิติรหรือไม่? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสอง
          ดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ”52
51
     อัซซะฮะบีย,์ อัลกาชิฟ, เล่ม 2, หน้า 109.
52
     รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 1096, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 738.
26                                                                         เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


         ท่านชัยค์ อับดุลฆ่อฟูร อัลมะลีบารีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้ที่นําหะดีษบทนี้ไปอ้าง
เป็นหลักฐานว่าละหมาดตะรอวีหมี 8 หรือ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นการอ้างหลักฐาน
                                   ฺ
ที่ใช้ไม่ได้ เพราะเป้าหมายของหะดีษนี้มิใช่ละหมาดตะรอวีหฺ ดังที่ถ้อยคําของหะ
ดีษระบุว่า (                         ) “ไม่เคยละหมาดในร่อมะฎอนหรืออื่นจากร่อ
มะฎอน...” เพราะละหมาดตะรอวีหฺเป็นละหมาดที่ทําเฉพาะในเดือนร่อมะฎอน
ส่ว นละหมาดที่ทําทั้ง ในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากเดือนร่อมะฎอนนั้น มิ ใช่
ละหมาดตะรอวีหฺอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากหะดีษนี้กล่าวถึงละหมาดตะรอวีหฺ
ก็สามารถทําละหมาดตะรอวีหฺได้ในเดือนอื่นจากร่อมะฎอนเช่นกัน แต่ไม่มีมุสลิม
คนใดเคยกระทํามันเลยจวบจนถึงปัจจุบันนี้และไม่มีปราชญ์มุจญตะฮิดท่านใด
กล่าวว่าละหมาดตะรอวีหฺมี 8 ร็อกอะฮ์ด้วยการอ้างหลักฐานจากหะดีษนี้...แต่
ปราชญ์ส่วนใหญ่ของเรากล่าวว่า เป้าหมายของหะดีษนี้ คือละหมาดวิติรที่เป็นซุน
นะฮ์เน้นย้ําให้กระทําในทุกคืน ซึ่งละหมาดวิติรที่สมบูรณ์ที่สุดมี 11 ร็อกอะฮ์”53
      ท่านอิหม่ามอันนะซาอียเองก็ ได้กล่าวบทว่าด้วยเรื่อง “จํานวนเท่าไหร่ของ
                           ์
การละหมาดวิติร” ด้วยการรายงานหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอัน
ฮาเช่นกัน54
           ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดวิติรว่า


                                                                       ]
                                     [

53
     อับดุลฆ็อฟฟาร อัลอัลมะลีบารีย,์ ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ มัชรูอียะตุฮา วะ อะดะดุฮา, หน้า 27-28.
54
     รายงานโดยอันนะซาอีย,์ หะดีษเลขที่ 1697.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                27


           “ละหมาดวิติรมากสุดมี 11 ร็อกอะฮ์เพราะมีหะดีษอัลบุคอรีย์และ
           มุสลิม รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ซึ่งท่านนางรู้ถึงสภาพของ
           ท่านนะบีย์ดีกว่าผู้อื่น ความว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะ
           ลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยเพิ่มในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากร่อมะฎอน
           มากกว่าไป 11 ร็อกอะฮ์”55
ท่านอัลคอฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า
                                     :



           “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ เพราะมีบรรดาหะดีษ
           ทีศ่อฮีหยืนยัน ส่วนหนึ่งคือ “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ
             ่     ฺ
           วะซัลลัม ไม่เพิ่มในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากร่อมะฎอน มากไป
           กว่า 11 ร็อกอะฮ์”56
ท่านอิมามอัลบัยญูรีย์ กล่าวว่า


                                                                       :




55
     อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย,์ ตุะหฺฟะตุลมุหตาจญ์, เล่ม 1, หน้า 375.
                                             ฺ
56
     อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนย,์ มุฆนิลมุหตาจญ์, เล่ม 1, หน้า 415.
                        ี            ฺ
28                                                           เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


           “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ และสิ่งที่บ่งชี้ถึงสิ่ง
           ดังกล่าว คือบรรดาหะดีษศ่อฮีหฺ เช่น หะดีษของท่านหญิงอาอิ
           ชะฮ์ ความว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่
           เพิ่ ม ในเดื อ นร่ อ มะฎอนและอื่ น จากร่ อ มะฎอน มากไปกว่ า 11
           ร็อกอะฮ์”57
       ท่านอิหม่ามอันนะซาอีย์ ได้กล่าวรายงานหะดีษเกี่ยวกับวิธีการทําละหมาด
วิติร 11 ร็อกอะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกเช่นกันว่า




57
     อัลบัยญูรีย,์ หาชียะฮ์อัลบัยญูรีย,์ เล่ม 1, หน้า 441.
ละหมาดตะรอวีห์                                                                 29


          “รายงานจากท่านซุรอเราะฮ์ บิน เอาฟา ความว่า แท้จริงท่านสะ
          อัด บิน ฮิชาม บิน อามิรนั้น ในขณะที่เขาได้มาหาพวกเรา เขาได้
          เล่าให้พวกเราฟังว่า เขาได้พบกับท่านอิบนุอับบาส แล้วถามเรื่อง
          ละหมาดวิติร ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า พึงทราบเถิด ฉันจะบอกให้
          ท่านทราบถึงบุคคลที่รู้ดีที่สุดในผืนแผ่นดินนี้เกี่ยวเรื่องการละหมาด
          วิติรของท่านนะบีย์จะเอาไหม? เขาตอบว่า เอาครับ ท่านอิบนุอับ
          บาส กล่าวว่า เขาคือ อาอิชะฮ์ ดังนั้น ฉัน(คือสะอัด บิน ฮิชาม) ถาม
          ว่า โอ้มารดาแห่งศรัทธาชน ท่านโปรดบอกให้ฉันทราบเกี่ยวกับการ
          ละหมาดวิติรของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมด้วย
          เถิด ท่านนางจึงกล่าวว่า เราได้ตระเตรียมไม้ถูฟันซิว๊ากให้แก่ท่าน
          ร่อซูลุลลอฮฺและตระเตรียมน้ําเพื่อใช้อาบน้ําละหมาด แล้วอัลลอฮฺก็
          ทรงให้ท่านร่อซูลุลลอฮฺตื่นตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ตื่นขึ้นมาใน
          ยามค่ําคืน ดังนั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺจึงถูฟันด้วยไม้ซิว๊ากและอาบน้ํา
          ละหมาด หลังจากนั้นท่านได้ทําการละหมาด 9 ร็อกอะฮ์ โดยไม่นั่ง
          (พัก)ในระหว่างนั้นเลย นอกจากร็อกอะฮ์ที่ 8 ท่านได้นั่งทําการ
          สรรเสริญอัลลอฮฺ ทําการซิกรุลลอฮฺ และขอดุอาอ์ หลังจากนั้นท่าน
          ได้ให้สลามหนึ่งครั้งจนทําให้เราได้ยิน หลังจากให้สะลาม ท่านได้
          ละหมาดร็อกอะฮ์ที่ 9 โดยท่านั่งและหลังจากนั้นท่านได้ทําละหมาด
          อีก 2 ร็อกอะฮ์ ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจึงเป็น 11 ร็อกอะฮ์ โอ้ลูกน้อย
          เอ๋ย”58
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

58
     รายงานโดยอันนะซาอีย,์ หะดีษเลขที่ 1612.
30                                                       เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์




           “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ เพราะมีหะดีษที่ท่าน
           หญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า แท้จริงท่านนะบีย์
           ศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น ท่านได้ล ะหมาดยามค่ําคืน 11
           ร็อกอะฮ์ โดยทําเป็นจํานวนคี่ด้วยหนึ่งร็อกอะฮ์”59
       ดังนั้นผู้ที่นําหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์มาเป็นหลักฐานละหมาดตะรอวีหฺ
11 ร็อกอะฮ์นั้น มิใช่เป็นหลักฐานของละหมาดตะรอวีหฺโดยตรงที่ทําเฉพาะเดือน
ร่อมะฎอนและท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็มิได้บอกว่าเป็นละหมาด
ตะรอวีหฺ แต่การนํามาเป็นหลักฐานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นเพียง
แค่ทัศนะที่ผ่านความเข้าใจหรือการอิจญฺติฮาดเท่านั้นเอง ซึ่งการอิจญฺติฮาดนั้น
ย่อมมีผิดและมีถูก เราจะฟันธงไม่ได้ว่าฉันละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์เพราะ
ทําตามท่ านนะบีย์ ศ็อ ลลัล ลอฮุ อะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลัม เพราะการอิจ ญฺมาอฺของศ่ อ
ฮาบะฮ์ ในการทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้น ย่อมมีความชัดเจนและมี
น้ําหนักมากกว่าในการกําหนดจํานวนร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺ
       และถ้าหากสายรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวถึงละหมาดตะรอวีหฺ
จริง แน่นอนว่าท่านหญิงอาอิชะฮ์จะไม่นิ่งเฉยในขณะที่ศ่อฮาบะฮ์ทําการละหมาด
ตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เนื่องจากไปขัดแย้งกับละหมาดตะรอวีหฺของท่านนะบีย์
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

59
     อันนะวาวีย,์ มัจญฺมอ,ฺ เล่ม 4, หน้า 11.
                        ู
ละหมาดตะรอวีห์                                                                                 31




อิหม่ามอัลบุคอรีย์กับหะดีษละหมาด 11 ร็อกอะฮ์
       อาจจะมีผู้ที่กล่าวว่า หะดีษท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องละหมาดตะ
รอวีหฺ เพราะท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์ได้นําไปไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาดตะ
รอวีหฺ คําตอบคือ ท่านชัยค์อับดุลฆ็อฟฟาร อัลมะลีบารีย์ ได้กล่าวว่า “บางที
เป้าหมายที่ท่านอัล บุคอรีย์ ได้นํ าหะดีษ ของท่านหญิงอาอิช ะฮ์ ไ ปไว้ ในบทเรื่อ ง
ละหมาดตะรอวีหฺเพื่อยืนยันว่าท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ทํา
ละหมาดตะรอวีหฺอีกหลังจากที่ท่านเกรงว่าจะเป็นฟัรฎูเหนือประชาชาติของท่าน
หลังจากนั้นท่านอัลบุคอรีย์ก็นําหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ที่ว่า “ท่านรอซูลุลลอ
ฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอนหรืออื่นจากเดือน
ร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร๊อกอะฮ์” ซึ่งหะดีษนี้เกี่ยวกับละหมาดวิติรไม่ใช่ละหมาด
ตะรอวีหฺ กล่าวคือ ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการละหมาด
วิติร 11 ร็อกอะฮ์ทั้งในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากเดือนร่อมะฎอน60
       หากมี ผู้ ก ล่ า วว่ า แม้ จ ะเป็ น ละหมาดวิ ติ ร ก็ ต าม แต่ ห ากทํ า ในเดื อ นร่ อ
มะฎอนเรียกว่าตะรอวีหฺหรือกิยามร่อมะฎอน แต่ทว่าการกล่าวเช่นนี้ จะทําให้
ละหมาดวิติร มีสองชื่อ คือในเดือนร่อมะฎอนเรีย กว่าตะรอวีหฺ ส่ว นเดือนอื่น
เรียกว่าวิติร และหากเป็นเช่นนั้นจริง แน่นอนว่าการละหมาดวิติรในเดือนร่อ
มะฎอนด้วยการเหนียตเป็นละหมาดตะรอวีหฺ ก็ถือว่าใช้ได้?! ซึ่งเป็นหลักการที่ไม่
มีปราชญ์มุจญตะฮิดท่านใดกล่าวไว้เช่นนี้


60
     อับดุลฆ็อฟฟาร อัลอัลมะลีบารีย,์ ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ มัชรูอียะตุฮา วะ อะดะดุฮา, หน้า 29-30.
32                                                              เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


       และสิ่ง ที่ ม าตอกย้ํา ว่ าสายรายงานของท่ า นหญิ ง อาอิ ช ะฮ์ ว่ าอยู่ ใ นเรื่ อ ง
ละหมาดวิติรนั้น คือท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร ได้นําหะดีษของท่านหญิงอาอิ
ชะฮ์ดังกล่าวไปไว้ในหนังสือบุลูฆุลมะรอมของท่าน ในหมวดหะดีษที่เกี่ยวกับเรื่อง
ละหมาดวิติร61
       ท่านอิบนุกุดามะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนีย์ ว่า “รายงานถึงท่านอิ
มามอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านได้ ใช้ ให้คนหนึ่งทําการนําละหมาดผู้คน
ทั้งหลาย ในเดือนร่อมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์ ดังกล่าวนี้ถือว่าเสมือนกับเป็นการอิจญ์
มาอฺ (มติของศ่อฮาบะฮ์)” ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า “สิ่งที่บรรดาศ่อฮาบะฮ์
ของท่านร่อซูลุลลอฮฺได้กระทํานั้น ย่อมดีกว่า และเหมาะสมยิ่งกว่าสําหรับการ
เจริญรอยตาม และได้มีรายงานว่า แท้จริง ท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เดิน
ผ่านมัสยิดต่างๆ ซึ่งในมัสยิดเหล่านั้น มี(การจุด)ตะเกียงในเดือนร่อมะฎอน ดังนั้น
ท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ขออัลลอฮฺโปรดทรงให้รัศมีสว่างแก่กุบูรของ
ท่านอุมัร เหมือนกับกับที่พระองค์ทรงให้แสงสว่างกับบรรดามัสยิดของเรา”62
      และมัสยิดหะรอมที่มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ก็ทําการละหมาดตะรอวีหฺ 20
ร็อกอะฮ์ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจ จุบัน นี้ เพราะปฏิบัติตามแนวทางของท่านค่อ
ลีฟะฮ์อุมัร ค่อลีฟะฮ์อุษมาน ค่อลีฟะฮ์อะลีย์ และการอิจญมาอฺ (มติ) จากการ
กระทําของบรรดาศ่อฮาบะฮ์


ทัศนะปราชญ์อัสสะละฟุศศอลิห์

61
     ดู อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ บุลูฆุลมะรอม, หน้า 44.
62
     อิบนุ กุดามะฮ์, อัลมุฆนีย,์ เล่ม 2, หน้า 167.
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน

More Related Content

What's hot

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชKumobarick Achiroki
 
หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
Muttakeen Che-leah
 
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
Om Muktar
 
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
Islamic Invitation
 
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรมหลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
Islamic Invitation
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
Loveofpeople
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูPor Waragorn
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงMuttakeen Che-leah
 
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนาอิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
islam house
 
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอนความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอนMuhammadrusdee Almaarify
 

What's hot (15)

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
 
Mazhab
MazhabMazhab
Mazhab
 
หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
 
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
 
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 
Pramote maolid
Pramote maolidPramote maolid
Pramote maolid
 
360
360360
360
 
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรมหลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
หลากหลายคำถามที่นำชาวชีอะฮฺสู่สัจธรรม
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
 
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนาอิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
อิสลามกับหัวใจของศาสนาและความเข้าใจระหว่างศาสนา
 
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอนความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน
ความประเสริฐของ 10 คืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน
 

(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน

  • 1. เอกสารเผยแพร่ การละหมาดตะรอวีหฺ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย อ. อารีฟีน แสงวิมาน (ผอ. สถาบันอัลกุดวะฮ์) กรกฎาคม 2555
  • 2.
  • 3. ละหมาดตะรอวีห์ 1 บทนํา ... ทุกปีมักจะมีคําถามเกี่ยวกับการละหมาดตะรอวีหฺ ว่า มี 8 ร็อกอะฮ์ หรือมี 20 ร็อกอะฮ์ ว่าอย่างไหนดีกว่า ผมขอตอบว่าประเด็นนี้ไม่มีหลักฐานที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กําหนดร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺแบบชัดเจน เอาไว้ แต่มีตัวบทหะดีษได้ระบุถึงความดีงามของการละหมาดตะรอวีหฺในแง่ของ การละหมาดที่มีความศรัทธาเชื่อในสัญญาของอัลลอฮฺพร้อมกับมีความหวังและมี ความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์นั้น พระองค์ก็จะอภัยโทษบาปที่ผ่านพ้นมาแล้วแก่เขา ท่านอัลบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุ อันฮุ ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ ใดที่ดํารง(ละหมาด)ในเดือนร่อมะฎอนโดยมีความศรัทธา(ต่อ สัญญาของอัลลอฮฺ) และมีความบริสุทธิ์ใจ(หรือแสวงหาความเมตตา จากพระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว” ดังนั้น ประเด็นความดีงามของการละหมาดตะรอวีหฺมันอยู่ที่หัวใจของ ความศรัทธาต่อสัญญาของอัลลอฮฺตะอาลาและมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ และ
  • 4. 2 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ไม่ว่าจะละหมาดกีร็อกอะฮ์ ทุกคนก็มีเป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อแสวงหาความพึง ่ พอพระทัยของอัลลอฮฺตาอาลา เพราะฉะนั้นเราจึงไม่นิยมความเลยเถิดและคลั่ง ไคล้ในทัศนะของตนจนเป็นเหตุต้องตัดสินทัศนะอื่น อัลลอฮฺตะอาลาเท่านั้น เราวอนขอต่อพระองค์ทรงประทานความบริสุทธิ์ใจ แก่เราในการรับใช้ศาสนาของพระองค์ อาริฟีน แสงวิมาน สถาบันอัลกุดวะฮ์
  • 5. ละหมาดตะรอวีห์ 3 ละหมาดตะรอวีหฺและคํานิยาม คํา ว่ า อั ต ตะรอวี หฺ ( ) หมายถึ ง การหยุ ด พั ก และตามหลั ก ภาษา อาหรับ เป็นพหุพจน์จากคําว่า อัตตัรวีหะฮ์ ( ) ท่านอิบนุ มันซูรให้ ความหมายว่า การเรียก “อัตตัรวีหะฮ์” ( ) ในเดือนร่อมะฎอนนั้น เพราะ ผู้ที่ ทํ า ละหมาดจะทํ า การหยุ ด พั กในทุ ก สี่ ร็ อ กอะฮ์ ... และคํ าว่ า อั ต ตะรอวี หฺ 1 ( ) เป็นพหุพจน์จากคําว่า อัตตัรวีหะฮ์ ( ) ซึ่งหมายถึง พักหนึ่งครั้ง...” หากพิจารณาความหมายในเชิงภาษา ก็ปรากฏชัดแล้วว่าการละหมาดตะ รอวีหฺนั้นมีมากกว่า 8 ร็อกอะฮ์ เพราะการหยุดพักหนึ่งครั้ง ( ) หลังจาก ละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ หากหยุดพัก 2 ครั้ง ( ) หลังจากละหมาดมาแล้ว 8 ร็อกอะฮ์ ดังนั้น การละหมาด 8 ร็อกอะฮ์ จึงไม่เรียกว่าละหมาด ( ) ในเชิง ของคํานิยามละหมาดตะรอวีหฺ เนื่องจากคําว่าตะรอวีหฺ ( ) นั้น ต้องหยุดพัก หลาย ๆ ครั้ง หรือมากกว่าสองครั้งขึ้นไป ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า “การละหมาดตะรอวีหฺ คือการละหมาด ยามค่ําคืนของเดือนร่อมะฎอน”2 1 อิบนุ มันซูร, ลิซานุลอะหรับ, เล่ม 1 หน้า 615. 2 อันนะวาวีย,์ ชัรห์ศ่อฮีหฺมุสลิม, เล่ม 6 หน้า 39.
  • 6. 4 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ผู้ทําการละหมาดตะรอวีหฺคนแรก ท่ า นรอซู ลุ ล ลอฮฺ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม คื อ บุ ค คลแรกที่ ทํ า การ ละหมาดตะรอวีหฺ อั ล บุ คอรี ย์แ ละมุ ส ลิ มรายงาน จากท่ านอบูฮุ ร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ยืนขึ้นมา(ละหมาด)ในเดือนร่อมะฎอนโดยมีความศรัทธา(ต่อ สัญญาของอัลลอฮฺ) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของ พระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว”3 “ผู้ใดถือศีลอดในเดือนร่อมะฎอนโดย มีความศรัทธา(ต่อสัญญา ของอั ล ลอฮฺ ) และแสวงหาการตอบแทน(จากความเมตตาของ พระองค์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและผู้ใด ยืน ขึ้น มา(ละหมาด)ในคื น ลั ย ละตุ ล ก็ อดรฺ โ ดยมี ความศรั ทธาและ แสวงหาการตอบแทน เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่าน มาแล้ว”4 3 รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 36, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1266. 4 รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 37, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 1268.
  • 7. ละหมาดตะรอวีห์ 5 ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ ได้รายงาน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ความว่า “แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาด ในค่ําคื น หนึ่ง ที่มัส ยิ ด บรรดาผู้คนจึ ง ได้การละหมาดตามการ ละหมาดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจาก นั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ทําการละหมาดในคืนต่อไป ผู้คนจึงมากขึ้น หลังจากนั้นพวกเขาได้ทําการละหมาดรวมกันในคืนที่สามหรือคืนที่ สี่ โดยที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ได้ออกมา ยังพวกเขา ดังนั้น เมื่อถึงเวลาซุบฮิ ท่านนบีได้กล่าวว่า ฉันได้เห็นสิ่ง ที่พวกท่านได้กระทําแล้ว โดยไม่มีสิ่งใดที่มาห้ามฉันให้ออกไปยังพวก ท่าน นอกจากเสีย ว่า ฉัน เกรงว่ามัน จะถูกฟัร ฎูเหนือพวกท่าน ต่างหาก และเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นอยู่ในช่วงของเดือนร่อมะฎอน”5 ท่านอัลบุคอรีย์ ได้รายงานเช่นกันว่า 5 รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 1129, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 761.
  • 8. 6 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ . . “จาก อับดุรเราะหฺมาน บุตร อับดุลกอรี เขากล่าวว่า ฉันได้ออกไป ยังมัสยิดพร้อมกับท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ ในเดือนร่อมะฎอน ทันใดนั้นเราพบว่าประชาชนได้แยกกันเป็นกลุ่มๆ คนหนึ่งละหมาด คนเดียวตามลําพัง คนหนึ่งมีสองสามคนละหมาดตาม ท่านอุมัรได้ กล่าวขึ้นว่า ถ้าหากพวกเขารวมกันละหมาดตามคนที่อ่านถูกต้อง เพียงคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง ต่อมาท่านอุมัรก็ได้รวบรวมผู้คนให้ ละหมาดตามอุบัยย์ บิน กะอับ จากนั้นฉันได้ออกไปพร้อมกับท่าน อุมัรในอีกคืนหนึ่ง โดยประชาชนกําลังละหมาดตามนักอ่านของพวก เขา ท่านอุมัร กล่าวว่า “นี่เป็น บิดอะฮ์ (สิ่งที่เกิดขึ้น มาใหม่) ที่ดี” และช่ว งเวลาที่พ วกเขานอนกั น นั้น ดีกว่ าช่ว งเวลาที่ พวกเขา ละหมาด ท่านอุมัรหมายถึงช่วงเวลาท้ายคืน(นั้นละหมาดดีกว่า) แต่ ประชาชนจะละหมาดในช่วงแรกของคืน”6 6 รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 2010.
  • 9. ละหมาดตะรอวีห์ 7 จํานวนร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺ นักปราชญ์แห่งประชาชาติอิสลามทั้งสะลัฟและค่อลัฟ ลงมติ (อิจญมาอฺ) ว่า การละหมาดตะรอวีหฺนั้นมี 20 ร็อกอะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือโดยมัซฮับทัง สี่ คือ มัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับที่เลื่องลือของมาลิกีย์ มัซฮับชาฟิอีย์ และมัซฮับฮัม บาลีย์ และปราชญ์สะลัฟท่านอื่นๆ ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนัน อัตติรมีซีย์ ว่า “นักปราชญ์ส่วนมาก ได้ดําเนินอยู่กับสิ่งที่รายงานจากท่านอุมัรและ ท่ า นอะลี และท่ า นอื่ น ๆ จากบรรดาศ่ อ ฮาบะฮ์ ข องท่ า นนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า (ละหมาดตะรอวีหฺ) มี 20 ร็อกอะฮ์ และมันคือทัศนะของท่านซุฟยาน อัษเษารีย์, ท่านอิบนุ มุบาร็อก, ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์, และท่านอิมามอัชชาฟิอีย์กล่าวว่า เช่นนี้
  • 10. 8 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ แหละ ที่ฉันได้พบที่เมืองมักกะฮ์ของเรา พวกเขาได้ทําการละหมาด 20 ร็อกอะฮ์”7 ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า “และฉั น ได้ เ ห็ น พวกเขาเหล่ า นั้ น (ชาวมะดี น ะฮ์ ) ที่ น ครมะดี น ะฮ์ พวกเขาได้ทําการละหมาด 39 ร็อกอะฮ์8 และที่รักยิ่งสําหรับฉัน มากที่สุดคือ 20 ร็อกอะฮ์ เพราะได้รายงานจากท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ และเช่นดังกล่าวนี้พวกเขาได้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์ที่มักกะฮ์ และทําละหมาดวิติร 3 ร็อกอะฮ์”9 เหล่าศ่อฮาบะฮ์ทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ มี ส ายรายงานที่ ศ อฮี ห์ แ ละมี น้ํ า หนั ก ได้ ยื น ยั น ว่ า เหล่ า ศ่ อ ฮาบะฮ์ ไ ด้ ทํ า ละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เป็นอิจญฺมาอฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ในสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชีดีน 7 อัตติรมีซีย,์ สุนันอัตติรมีซีย,์ เล่ม 3, หน้า 170. 8 ทํา 20 ร็อกอะฮ์ แล้วเพิ่มอีก 16 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นทําละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์ 9 อัลมุซะนีย,์ มุคตะศ็อร อัลมุซะนีย,์ หน้า 21.
  • 11. ละหมาดตะรอวีห์ 9 สายรายงานที่หนึ่ง: ท่านอิบนุ อะบี ชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า : “ได้ เ ล่ า ให้ เ ราทราบโดย อิ บ นุ นุ มั ย ร์ จากอั บ ดุ ล มาลิ ก จาก ท่านอะฏออฺ (บิน อะบีร่อบาห์) เขาได้กล่าวว่า ฉันได้รู้ว่าประชาชน ทั้งหลาย(คื อเหล่าศ่อ ฮาบะฮ์) ได้ทําการละหมาด 23 ร็อกอะฮ์10 พร้อมวิติร”11 นักรายงานของหะดีษนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม นอกจาก อับดุลมาลิก บิน อะบีสุไลมาน เขาเป็นนักรายงานของท่านมุสลิมเท่านั้น ท่านอะฏออฺเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 114 หรือ 117 ซึ่งอายุของท่านประมาณ 100 ปี หรือ 90 ปี หรือ 88 ปี ตามที่ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบของท่าน12 ดังนั้นท่านอะฏออฺจึงเกิดในช่วงแรกๆ ของ การเป็นค่อลีฟะฮ์ของท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ในกรณีที่เราถือว่าท่านอะฏออฺมี อายุ 100 ปี ซึ่งท่านอะฏออฺก็อยู่ในช่วงอายุที่รู้เดียงสาและสามารถรับรู้ได้แล้ว และถ้าหากเราถือว่าท่านอะฏออฺมีอายุ 88 ปี โดยเสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 117 หรือ 114 ซึ่งแน่นอนว่าท่านอะฏออฺจะเกิดในปี ฮ.ศ. ที่ 29 หรือ 32 โดยท่านอะฏออฺจะมี อายุ 7 ปีในช่วงท้ายของค่อลีฟะฮ์อุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ หรือในช่วงท้ายของค่อ ลีฟะฮ์อะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ, แต่นักปราชญ์หะดีษได้ให้น้ําหนักว่า ท่านอะฏออฺ 10 หมายถึงละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์. 11 อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนิ อะบีชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7688. 12 อิบนุ หะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 7, หน้า 182.
  • 12. 10 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ เกิดในขณะที่ท่านอุษมานเป็นค่อลีฟะฮ์ได้ 2 ปีแล้ว ดังนั้นท่านอะฏออฺก็จะทําการ รายงานหะดี ษ ในช่ ว งปี ที่ 9 13 ของการเป็ น ค่ อ ลี ฟ ะฮ์ ข องท่ า นอุ ษ มาน, และ ท่านอะฏออฺมีอายุ 16 ปีในช่วงที่สิ้นสุดยุคสมัยอัลคุละฟาอฺอัรรอชิดีน ในปี ฮ.ศ. 40 ดังนั้นท่านอะฏออฺจึงเป็นผู้รายงานการละหมาดตะรอวีหฺในยุคสมัยของอัล คุละฟาอฺอัรรอชิดีนอย่างแน่นอนและเด็ดขาด และศ่อฮาบะฮ์ในยุคนั้นก็ยังมี มากมาย ซึ่งไม่มีผู้ใดให้การตําหนิการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ดังกล่าว เลย14 สายรายงานที่สอง: ท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้รายงานว่า : “จากยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ จาก อัซซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า พวกเขาได้ ทํ า การละหมาดในสมั ย ท่ า นอุ มั ร อิ บ นุ อั ล ค็ อ ฏฏ็ อ บ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ในเดือนร่อมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์ อัซซาอิบ บิน ยะ ซีด กล่าวอีกว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ทําการอ่านถึง 200 อายะฮ์ โดย 13 เพราะการรู้เดียงสาหรือการรับรู้ได้นั้นอยู่ช่วงอายุประมาณ 6 ปี หรือ 7 ปี. 14 มะห์มูด อะห์มัด อัซซัยน์, ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ ฟี ซุนนะตินนะบีย,์ หน้า 6.
  • 13. ละหมาดตะรอวีห์ 11 พวกเขาได้ ทํ า การค้ํ า ยั น ด้ ว ยไม้ เ ท้ า ในสมั ย ของท่ า นอุ ษ มาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เนื่องจากมีการยืนนาน”15 อาจจะมีผู้ทคัดค้านการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ในปัจจุบันที่พยายาม ี่ ตัดสินสายรายงานนี้ว่าเป็นสายรายงานที่ฎ่ออีฟเพราะมี ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ เนื่องจากท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า “มุงกะรุลหะดีษ” ( ) แต่ ท่านอัลอัษร็อม ได้รายงานเช่นเดียวกันว่า ท่านอะห์มัดได้กล่าวถึง ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “เชื่อถือได้” ( )16 ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวว่า ยะ ซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น “เชื่อถือได้” ( )17 และท่านอิบนุลก็อฏฏอนได้กล่าวว่า 18 “ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ เชื่อถือได้โดยไม่มีการขัดแย้งกัน” ( ) ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ หะญัร ได้กล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับ ยะซีด บิน คุศ็อย ฟะฮ์ ว่า 15 อัลบัยฮะกีย,์ สุนันอัลบัยฮะกีย,์ เล่ม 2, หน้า 496. ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้ตัดสินศ่อฮีหฺกับหะดีษนี้ไว้ใน มัจญฺมุอฺของท่าน เล่ม 4, หน้า 32. ท่านอัซซัยละอีย์ได้ตัดสินศ่อฮีหฺเอาไว้ใน นัศบุรรอยะฮ์, เล่ม 2, หน้า 154, และท่านอิบนุ อัลอิรอกีย์ ได้ตัดสินศ่อฮีหฺไว้ใน ฏ็อรห์ อัตตัษรีบ, เล่ม 3, หน้า 97. 16 อัซซะฮะบีย,์ มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 7, หน้า 250. 17 อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 2, หน้า 327. 18 อิบนุลก็อฏฏอน, บะยานุลวะฮ์มิ วัลอีฮาม, เล่ม 5, หน้า 298.
  • 14. 12 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “ยะซี ด บิ น อั บ ดิ ล ลาฮฺ บิ น คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ อั ล กิ น ดี ย์ บางครั้ ง เขา พาดพิ งเชื้อ สายไปยัง ปู่ ของเขา(คือ คุศ็ อยฟะฮ์ ) ท่ า นอิ บ นุ มะอี น กล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น “เชื่อถือได้และเป็นหลักฐานได้” และท่านอะห์มัดได้รับรองยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “เชื่อถือได้” ใน สายรายงานของอัลอัษร็อม และท่านอะบูหาติม ท่านอันนะซาอีย์ และท่านอิบนุสะอัด ได้รับรองความ “เชื่อถือได้” ให้กับยาซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ เช่นกัน และท่านอุบัยด์ อัลอาญุร รีย์ ได้ร ายงานจาก ท่า นอะบู ด าวู ด จากท่ า นอะห์ มัด ว่ า ยะซี ด บิน คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ นั้ น “มุ ง กั ร หะดี ษ ” ข้ า พเจ้ า 19ขอกล่ า วว่ า ถ้ อ ยคํ า (มุ ง กั ร หะดี ษ )ที่ ท่านอะห์มัดนํามาใช้พูดนี้ จะใช้กับผู้ที่ร ายงานหะดีษเดี่ย วเหนือ ผู้รายงานรุ่นเดียวกัน20 ซึ่งสามารถรู้สงดังกล่าวได้ด้วยการตรวจสอบ ิ่ สภาพของเขา และท่านมาลิกและบรรดาปราชญ์ทั้งหมดได้นํา ยะ ซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์มาเป็นหลักฐานได้”21 ดังนั้น คําพูดของท่านอะห์มัดต่อ ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “มุงกัรหะดีษ” นั้นมิใช่เป็นการตําหนิตัวผู้รายงาน ยิ่งกว่านั้นยังมีสายรายงานของอัลอัษร็อมระบุ ว่าท่านอะห์มัดได้รับรองความเชื่อถือของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ซึ่งสอดคล้องกับ 19 คือท่านอิบนุหะญัร. 20 หมายถึงชอบทําการรายงานหะดีษเดี่ยวที่นักรายงานท่านอื่นๆ ไม่ได้รายงานกัน ซึ่งมิใช่เป็นข้อตําหนิของ นักรายงานเสมอไป. 21 อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 1, หน้า 453.
  • 15. ละหมาดตะรอวีห์ 13 การรั บ รองความเชื่ อ ถื อ ของปราชญ์ ห ะดี ษ ท่ า นอื่ น ๆ โดยเฉพาะท่ า นอิ บ นุ ล ก็อฏฏอนได้กล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้น เชื่อถือได้โดยไม่มีการขัดแย้งและ ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า บรรดาปราชญ์หะดีษทั้งหมดได้นํายะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ มาเป็นหลักฐานได้ เพราะฉะนั้นการพยายามที่จะทําให้ ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ฎ่อ อีฟนั้น ไม่ถูกต้องตามหลักการพิจารณาหะดีษ สําหรับผู้ที่คัดค้านการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ในปัจจุบันบางส่วน พยายามตัดสินสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่าเป็นหะดีษที่ชาซฺ(เพี้ยน) เนื่องจากไปคัดแย้งกับสายรายงานของ “มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ” ที่น่าเชื่อถือมากกว่า นั้น เราจะนําเสนอชี้แจงต่อไป อินชาอัลลอฮฺ สายรายงานที่สาม: ท่านอับดุรร็อกซาก ได้รายงานว่า “จากดาวูด บิน ก็อยส์ และท่านอื่นๆ จาก มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ จาก อั ส สาอิ บ บิ น ยะซี ด ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นอุ มั ร ได้ ร วบรวม ประชาชนในเดือนร่อมะฎอนให้ละหมาดตามอุบัยย์และตะมีม อัดดา รีย์ 21 ร็อกอะฮ์22”23 สายรายงานนี้มีนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิมนอกจากดาวูด บิน ก็อยซ์ เขาเป็น นักรายงานของมุส ลิมเท่านั้น และการที่ท่านอับดุร ร็อซซากมี 22 คือละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์. 23 อับดุรร็อซซาก, มุศ็อนนัฟ อับดุรร็อซซาก, หะดีษเลขที่ 7730.
  • 16. 14 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ความจําเปลี่ยนไปหลังจากตาบอดนั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด เพราะ ท่านอับดุรร็อซซากได้ประพันธ์หนังสือ อัลมุศ็อนนัฟของท่านก่อนที่ตาจะบอด และสายรายงานนี้ก็ไม่ค้านกับสายรายงานของท่านมาลิก จาก มุฮัมมัด บิน ยูซฟ อีกสายรายงานหนึ่งที่รายงานจากท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด ความว่า ุ “ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้สั่งใช้ให้อุบัยย์ บิน กะอับ และตะมีม อัดดารีย์ ทําการละหมาดนําประชาชน 11 ร็อกอะฮ์”24 25 เพราะสามารถรวมหรือประสาน ( ) ระหว่างสองรายงานนี้ได้ ตามที่อิหม่าม อัลบัยฮะกีย์ ได้กล่าวว่า “และสามารถทําการรวมประสานระหว่างสองรายงานได้เพราะพวก เขาได้ เ คยละหมาด 11 ร็ อ กอะฮ์ หลั งจากนั้น พวกเขาได้ ทํา การ ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์พร้อมกับวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์ วัลลอฮุอะลัม”26 แต่ถ้าหากเราสมมุติว่าสองรายงานนี้ค้านกัน แน่นอนว่าสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ที่สอดคล้องกับนักรายงานท่านอื่นๆ ที่ระบุละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อก 24 มาลิก บิน อะนัส, อัลมุวัฏเฏาะอฺ, หะดีษเลขที่ 379. และอัลบัยฮะกีย,์ สุนันอัลบัยฮะกีย,์ เล่ม 2, หน้า 496. 25 คือสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ที่รายงานทั้ง 11 ร็อกอะฮ์และ 21 ร็อกอะฮ์. 26 เรื่องเดียวกัน.
  • 17. ละหมาดตะรอวีห์ 15 อะฮ์นั้น ย่อมดีกว่า เพราะสายรายงานของพวกเขาจะทําให้สายรายงานของมุฮัม มัด บิน ยูซุฟ ที่ระบุละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เพิ่มน้ําหนักยิ่งขึ้น ผู้ ที่ ก ล่ า วว่ า สองสายรายงานค้ า นกั น และให้ น้ํ า หนั ก สายรายงานที่ ร ะบุ ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์แล้วกล่าวว่ารายงานที่ระบุ 21 ร็อกอะฮ์27เพี้ยนนั้น ด้วยคํา กล่าวอ้าง 2 ประการ 1 บรรดานักรายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์จากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นเชื่อถือ ได้มากกว่าบรรดานักรายงานละหมาด 21 ร็อกอะฮ์ซึ่งมี ดาวูด บิน ก็อยซ์ ได้รายงานเพียงลําพังคนเดียว และท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า ดาวูด บิน 28 ก็อยซ์นั้น ศอลิหุลหะดีษ ( ) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ํากว่า ( ) “เชื่อถือได้” อย่างมิต้องสงสัย 2 มุฮั ม มั ด บิ น ยู ซุ ฟ เชื่ อ ถือ ได้ ม ากกว่า ยะซี ด บิน คุ ศ็ อ ยฟะฮ์ เพราะ ท่านอิบ นุหะญัร อัล อัส ก่อลานีย์ ได้กล่าวถึง มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ไว้ ใน หนัง สือตั กรี บ อั ตตะฮ์ซี บ ว่า ( ) “เชื่ อถื อ ได้ อี ก ทั้ ง มั่ น คง” และ กล่าวถึง ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า ( ) “เชื่อถือได้” เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น อิหม่ามอะห์มัดยังกล่าวถึง ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ว่า “มุงกัรหะดีษ”29 ชี้แจงข้ออ้างดังกล่าว 27 คือละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์. 28 ศอลิหุลหะดีษ หมายถึง มีการรายงานและรับหะดีษเป็นอย่างดีโดยไม่มีข้อผิดพลาดในการรายงาน. 29 ทบทวนรายละเอียดข้อเท็จจริงในหน้าที่ 11-22 ที่ผ่านมา.
  • 18. 16 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ 1. การให้น้ําหนักนั้นยังไม่มีความจําเป็นหากสามารถรวมประสานกันได้ เพราะการรวมประสานกันนั้นจะขจัดความขัดแย้งออกไป ดังนั้นถ้าหากว่าทั้งสอง หะดีษที่ขัดแย้งกันแบบผิวเผิน แล้วเราทําการให้น้ําหนักก่อนการรวมประสานกัน ระหว่างทั้งสองนั้น ก็จะทําให้ซุนนะฮ์มากมายต้องหายไปด้วยการอ้างว่าเป็นหะ ดีษเพี้ยน(ซาซฺ) แต่การรวมประสานนั้น ในที่นี้สามารถกระทําได้ตามที่อิห ม่าม อัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวไว้ข้างต้น30 ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า : : .... “ตั ว บทที่ ขั ด แย้ ง กั น นั้ น มี 2 ประเภท หนึ่ ง : สามารถรวม ประสานกันได้ระหว่างทั้งสองด้วยหนทางใดหนทางหนึ่งที่มีความ ถูกต้อง ก็จําเป็นต้องรวมประสานกัน....”31 ดังนั้น ตัว บทที่ร ายงานโดยมุฮัมมัด บิน ยูซุฟที่ร ะบุ ให้ล ะหมาด 11 ร็อก อะฮ์นั้ น คือ ท่ านอุมั ร ได้ ใช้ ให้ กระทํา ในช่ว งแรก หลั งจากนั้ น พวกเขาก็ทํ าการ ละหมาด 21 หรือ 23 ร็อกอะฮ์ เพื่อรวมประสานกันระหว่างสองหลักฐานนี้ ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า 30 ทบทวนรายละเอียดหน้าที่ 14. 31 อันนะวาวีย,์ ตัดรีบ อัรรอวีย,์ เล่ม 2 หน้า 176.
  • 19. ละหมาดตะรอวีห์ 17 “และจะไม่มีการพาดพิงสองหะดีษให้มีการขัดแย้งกันตราบใดที่ทั้ง สองหะดีษนั้นมีหนทางหนึ่งที่สามารถไปกันได้พร้อมๆ กัน แต่หะดีษ ที่ขัดแย้งกัน คือตัวบทที่ไปกันไม่ได้นอกจากอีกตัวบทหนึ่งต้องตก ไป”32 ดังนั้นสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ทั้งสองนี้สามารถรวมประสานและ ไปกันได้เนื่องจากเราทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ก็รวมอยู่ในการทําละหมาด 8 ร็อกอะฮ์แล้วนั่นเองโดยไม่ต้องตัดสายรายงานใดทิ้งไป ด้วยเหตุนี้ การที่มีสาย รายงานที่ศอฮีห์แต่มีจํานวนนักรายงานน้อยกว่าหรือมีความจําน้อยกว่า ไม่ถูก นับว่าเป็นสายรายงานที่เพี้ยนหรือซาซฺเสมอไป เพราะหะดีษชาซฺนั้น คือ “หะดีษ ที่ผู้ที่เชื่อถือได้รายงานขัดแย้งกับผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า (โดยไม่สามารถรวมกันได้)” แต่สายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟทั้งสองนี้ไม่ได้ค้านกันเนื่องจากสามารถรวม ประสานและเดินไปพร้อมกันได้ 2. คํากล่าวของพวกเขาที่ว่า ดาวูด บิน ก็อยซฺ แค่ ศอลิหุลหะดีษ ( ) นั้น เมื่ออยู่พร้อมกับการถูกรับรองความเชื่อถือตามที่ท่านอิบนุอะบีฮาติม ได้กล่าวชมเชย ดาวูด บิน ก็อยซฺว่า ( ) “เขาหะดีษดีอีกทั้งเชื่อถือ 33 ได้” ซึ่งไม่ทําให้ความเชื่อถือต้องลดลงไป ยิ่งกว่านั้น ถ้อยคําที่ว่า ( ) ตรงนี้ หมายถึงไม่มีความผิดพลาดในการรายงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ท่านอิบนุหะญัรจึงกล่าวว่า ดาวูด บิน ก็อยซฺนั้น ( ) “เชื่อถือได้ 32 อัชชาฟิอีย,์ อัรริซาละฮ์, หน้า 342. 33 อิบนุ อะบี หาติม, อัลญัรห์ วัตตะอฺดีล, เล่ม 3, หน้า 423.
  • 20. 18 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ อีกทั้งประเสริฐ”34 ยิ่งกว่านั้นดาวูด บิน ก็อยซฺ ยังเป็นนักรายงานของท่านอิหม่าม มุสลิมอีกด้วย 3. การอ้างว่า “บรรดานักรายงานจากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นมีมากกว่าและ เชื่อถือได้มากกว่าดาวูด บิน ก็อยซฺนั้น ทําให้เพิ่มน้ําหนักถึงความถูกต้องในการ รายงานจากมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ว่า ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ใช้ให้ประชาชน ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์” แต่สิ่งดังกล่าวมิได้เพิ่มน้ําหนักในสายรายงานที่ผ่านอัซ ซาอิบ บิน ยะซีด35 เพราะมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นก็ได้รายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์ จากอัซซาอิบ บิน ยะซีด และมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ เองก็ทําการรายงานละหมาด 21 ร็อกอะฮ์จากอัซซาอิบ บิน ยะซีด เช่นเดียวกัน แต่สายรายงานแรก36มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ได้รายงานคนเดียวจากท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด ส่วนสายรายงานที่สอง37นั้น มุฮัมมัด บิน ยูซุฟกับยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ได้ร่วมกันจากอัซซาอิบ บิน ยะซีด สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ • สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์นั้นมี: 1. มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด • สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้นมี: 1. มุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด 34 อิบนุ หะญัร, ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 1, หน้า 199. 35 คือไม่ได้เพิ่มน้ําหนักสายรายงานของอัซซาอิบ บิน ยะซีซฺ ที่รายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์, ทบทวนสายรายงานดังกล่าว หน้าที่ 13. 36 สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์. 37 สายรายงานละหมาดตะรอวีหฺ 21 ร็อกอะฮ์.
  • 21. ละหมาดตะรอวีห์ 19 2. ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ถึงท่านอัซซาอิบ บิน ยะซีด และทั้งมุฮัมมัด บิน ยูซุฟและยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นี้ต่างก็ทันอยู่ในสมัยของท่าน อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ หากแม้ท่านจะกล่าวว่า ยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์จะมีระดับ ความน่าเชื่อน้ อยกว่ ามุฮั มมัด บิน ยูซุฟ ก็ตาม แต่ส ายรายงานของยะซี ด บิ น คุศ็อยฟะฮ์ที่รายงานละหมาด 20 ร็อกอะฮ์นั้นก็สามารถมาสนับสนุนสายรายงาน ละหมาด 21 ร็อกอะฮ์38ของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ ดังกล่าวจึ งทํา ให้ส ายรายงาน ละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์มีน้ําหนักยิ่งกว่านั่นเอง 4. สายรายงานของละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์สอดคล้องและร่วมกัน ระหว่างมุฮัมมัด บิน ยูซุฟกับยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ยังมีบรรดาหะดีษมุรซัลอีก 3 กระแสมาสนับ สนุน39 และพร้อมกัน นั้น ก็ยังมีส ายรายงานของท่านอะฏออฺ40ที่ รายงานสอดคล้องกับสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟและยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ในแง่ มุ ม ที่ ว่า การละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็ อกอะฮ์ ไ ด้ ก ระทํ า กั น ในยุ ค สมั ย อั ล คุ ละฟาอฺอัรรอชิดีน 5. ส่วนการอ้างว่า “สายรายงานหนึ่งของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้น ‘ท่านอุมัรได้ สั่งใช้ให้ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์’ ส่วนสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์นั้นระบุ เพียงว่า ‘พวกเขาได้ทําการละหมาด 23 ร็อกอะฮ์ในสมัยท่านอุมัร’ ซึ่งเป็นเพียง แค่การยอมรับของท่านอุมัรเท่านั้น แต่การสั่งใช้ให้กระทําย่อมมีน้ําหนักมากกว่า การยอมรับ” นั้น ขอชี้แจงว่า สายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟนั้นมิได้บอกถึงว่า บรรดาศ่อฮาบะฮ์ได้กระทําตามคําสั่งของท่านอุมัร แต่รายงานของยะซีด บิน 38 คือละหมาด 20 ร็อกอะฮ์และหลังจากนั้นละหมาดวิติรอีก 1 ร็อกอะฮ์. 39 ดู หน้าหน้าที่ 20-23. 40 ทบทวนหน้าที่ 8.
  • 22. 20 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ คุศ็อยฟะฮ์ บอกถึงการกระทําของเหล่าศ่อฮาบะฮ์และการยอมรับของท่านอุมัรที่มี ต่อพวกเขา ดังนั้นสายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์ ได้บอกถึงการอิจญฺมาอฺ ( ) ของเหล่าศ่อฮาบะฮ์มากมายที่อยู่นครมะดีนะฮ์ในการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ ฉะนั้นการอิจญฺมาอฺของศ่อฮาบะฮ์พร้อมกับการยอมรับของท่านอุมัร นั้นย่อมมีน้ําหนักยิงกว่าการที่ท่านอุมัรออกคําสั่งใช้เพียงอย่างเดียว ่ และเมื่อเราพิจารณาสายรายงานของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ อีกกระแสหนึ่งที่ ระบุว่า “ท่านอุมัรได้รวบรวมประชาชนในเดือนร่อมะฎอนให้ละหมาดตามอุบัยย์ และตะมีม อัดดารีย์ 21 ร็อกอะฮ์”41 เราจะพบว่า ท่านอุมัรได้สั่งใช้ให้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์โดยนัยแล้ว เนื่องจากเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านอุมัรได้ทําการรวบรวม ประชาชนทั้งหลายให้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์โดยที่ท่านไม่ได้สั่งใช้พวกเขา ดังนั้น สายรายงานที่ระบุว่าให้ละหมาด 20 ร็อกอะฮ์นั้นย่อมมีน้ําหนักยิ่งกว่า บรรดาสายรายงานที่มุรซัล นอกเหนือจากบรรดาสายรายงานทั้ง 3 ที่เชื่อมต่อกับยุคสมัยของท่านอุมัร และยุคสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชิดีนที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีสายรายงาน จากตาบิอีนอีก 3 ท่านที่ไม่ทันสมัยของท่านอุมัร ได้ยืนยันว่าการละหมาดตะรอ วีหฺในสมัยของท่านอุมัรนั้นมี 20 ร็อกอะฮ์ อนึ่ง ตาบิอีนนั้นเมื่อได้รายงานหะดีษถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ถือว่าการรายงานของเขาเป็นหะดีษมุรซัลที่ถูกยอมรับได้และนํามาเป็น 41 ทบทวนหน้าที่ 13.
  • 23. ละหมาดตะรอวีห์ 21 หลักฐานได้ตามทัศนะของท่านอิหม่ามมาลิก ท่านอิหม่ามอะบูหะนีฟะฮ์ และท่าน อิหม่ามอะห์มัด ซึ่งเป็นทัศนะที่ต่างกับท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ และถ้าหากตา บิอีนได้รายงานหะดีษถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยไม่อ้างถึงศ่อ ฮาบะฮ์42 พร้อมกับมีหะดีษสายรายงานอื่นอีกที่เชื่อมถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แน่นอนว่าสายรายงานที่เชื่อมถึงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะ ลัยฮิวะซัลลัม ก็จะมีน้ําหนักยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ สายรายงานที่หนึ่ง: ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า : “ได้เล่าให้เราทราบ โดยหุมัยด์ บิน อับดิรเราะห์มาน, จากหะซัน (บิน ศอลิห์), จากอับ ดุล อะซีซ บิน รุฟัย อฺ เขาได้กล่าวว่า ท่าน อุบัยยฺได้นําละหมาดประชาชนในเดือนร่อมะฎอนที่นครมะดีนะฮ์ 20 ร็อกอะฮ์และทําละหมาดวิติรอีก 3 ร็อกอะฮ์”43 สายรายงานนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม นอกจากอัลหะซัน เป็น นักรายงานของมุสลิมเท่านั้น แต่ผู้ที่มีทัศนะว่าสายรายงานละหมาด 20 ร็อกอะฮ์ฎ่ออีฟอ้างว่า สาย รายงานนี้ฎ่ออีฟ 2 ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง: หะดีษนี้มุรซัลเพราะอับดุลอะซีซ 42 การรายงานแบบนี้เรียกว่า หะดีษมุรซัล เพราะระหว่างตาบิอีนกับท่านนะบีย์นั้นได้ตกศ่อฮาบะฮ์ไป. 43 อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7684.
  • 24. 22 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ บิน รุฟัยอฺ ไม่ทันพบกับท่านอุมัร และสอง: สายรายงานนี้ขัดแย้ง(มุคอลิฟะฮ์)กับ สายรายงานละหมาด 11 ร็อกอะฮ์ ข้อชี้แจง การที่สายรายงานมุรซัลถูกตัดสินว่าฎ่ออีฟนั้น ก็ต่อเมื่อนํามันมาอ้างเป็น หลักฐานเพียงลําพัง แต่ความจริงแล้ว การนําสายรายงานมุรซัลนี้มาอ้างเป็น หลักฐานก็เพียงเพื่อนํามาสนับ สนุน สายรายงานของยะซีด บิน คุศ็อยฟะฮ์เท่า นั้นเอง และหะดีษมุรซัลนั้นสามารถที่จะทําให้มีน้ําหนักกับสายงานอื่นได้ตาม ทัศนะของปราชญ์หะดีษที่มีทัศนะว่าหะดีษมุรซัลนั้นฎ่ออีฟ ท่านอิหม่ามอิบนุศ่อ ลาห์ ได้กล่าวว่า : “ท่านอิ ห ม่ามอัช ชาฟิอีย์ ร่ อฎิยัล ลอฮุอั น ฮุ ได้ กล่าวระบุเ กี่ย วกั บ บรรดาหะดีษมุรซัลของตาบิอีนไว้ว่า แท้จริงจะถูกตอบรับ(ทําให้มี น้ํ า หนั ก )กั บ หะดี ษ มุ ร ซั ล ที่ มี อี ก สายรายงานหนึ่ ง แบบเดี ย วกั น ที่ อ้างอิงไปยังท่านนะบีย์(มาสนับสนุน) และเช่นเดียวกัน หากมีหะดีษ มุ ร ซั ล สายรายงานอื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ ส ายรายงานของตาบิ อี น คนแรกได้ รายงานสอดคล้องกัน”44 สายรายงานที่สอง: ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮ์ ได้รายงานว่า 44 อิบนุศ่อลาห์, มุก็อดดิมะฮ์ อิบนุ ศ่อลาห์, หน้า 20.
  • 25. ละหมาดตะรอวีห์ 23 “วะกีอฺได้เล่าให้เราทราบ จากมาลิก บิน อะนัส จากยะห์ยา บิน สะอีด ความว่า แท้จริงท่านอุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ ได้ใช้ให้ชายคน หนึ่งนําละหมาดพวกเขา 20 ร็อกอะฮ์”45 สายรายงานหะดีษนี้ เป็นนักรายงานของอัลบุคอรีย์และมุสลิม และการนําสาย รายงานมุรซัลนี้มาอ้างอิงโดยมีหลักการและเหตุผลเดียวกับสายรายงานที่หนึ่ง สายรายงานที่สาม: ท่านอิหม่ามมาลิก ได้รายงานว่า “จากยะซีด บิน รูมาน แท้จริงเขาได้กล่าวว่า ประชาชนในสมัยท่าน อุ มั ร อิ บ นุ อั ล ค็ อ ฏฏ็ อ บได้ ล ะหมาดในเดื อ นร่ อ มะฎอน 23 ร็อกอะฮ์”46 ยะซีด บิน รูมาน เป็นนักรายงานหะดีษของอัลบุคอรีย์และมุสลิม ดัง นั้ น บรรดาสายรายงานมุ ร ซั ล ทั้ ง สามนี้ เมื่ อนํ า มารวมประสานและ สนับ สนุน ต่อกัน ก็จะทําให้มีน้ําหนัก และเหมาะสมที่จ ะนํามาสนับ สนุน ให้มี น้ําหนักยิ่งขึ้นกับสายรายงานที่ศ่อฮีหฺของมุฮัมมัด บิน ยูซุฟ และยะซีด บิน คุศ็อย ฟะฮ์ ที่ ร ายงานว่ า การละหมาดตะรอวี หฺ มี 20 ร็ อ กอะฮ์ ใ นสมั ย ของท่ า นอุ มั ร 45 อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, มุศ็อนนัฟ อิบนุ อะบี ชัยบะฮ์, หะดีษเลขที่ 7682. 46 มาลิก บิน อะนัส, อัลมุวัฏเฏาะอ์, เล่ม 1, หน้า 115.
  • 26. 24 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ และการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นอิจญฺมาอฺ(มติ) ของศ่อ ฮาบะฮ์ที่ มี ความเสถี ย รและมั่ น คงในที่ สุด และมี ก ารปฏิบั ติ กัน ต่ อเนื่ อ ง หลังจากนั้น วิเคราะห์สายรายงานละหมาด 8 ร็อกอะฮ์ สายรายงานของท่านญาบิร: ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า : “จากท่านอีซา บิน ญาริยะฮ์ จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ เขา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาด กับพวกเราในเดือนร่อมะฎอน 8 ร็อกอะฮ์และทําวิติร”47 หะดีษ นี้ฎ่ อ อีฟ เพราะมี นัก รายงานชื่ อ อี ซา บิ น ญาริ ย ะฮ์ ซึ่ งบรรดา ปราชญ์หะดีษหลายท่านกล่าวว่าเขานั้นฎ่ออีฟ48 ท่านอะบูดาวูด และท่านอันนะ 49 ซาอี ย์ ก ล่ า วว่ า อี ซ า บิ น ญาริ ย ะฮ์ นั้ น “หะดี ษ เขาถู ก ทิ้ ง ” ( ) ท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า “บรรดาหะดีษทั้งหมดของ อีซา บิน ญารียะฮ์นั้น ไม่ถูก รักษาไว้(คือมีหะดีษที่รายงานขัดกับ ผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า)”50 ท่านอิบนุมะอีน 47 รายงานโดยอิบนุ คุซัยมะฮ์, ศ่อฮีหฺ อิบนิ คุซัยมะฮ์, เล่ม 2, หน้า 138. 48 ดู อัซซะฮะบีย,์ มีซานุลอิอฺติดาล, เล่ม 5, หน้า 374-375. อัลอุกอยลีย,์ อัฎฎุอะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 383. ็ 49 อันนะซาอีย,์ อัฎฎุอะฟาอฺ วัล มัตรูกีน, เล่ม 1, หน้า 216. อิบนุ อัลเญาซีย์, อัฎฎุอะฟาอฺ วัล มัตรูกีน, เล่ม 2, หน้า 238. อัลมิซซีย,์ ตะฮ์ซีบ อัลกะมาล, เล่ม 22, หน้า 589. 50 อิบนุ อะดีย,์ อัลกามิล ฟี ฎุอะฟาอฺ อัรริญาล, เล่ม 5, หน้า 249.
  • 27. ละหมาดตะรอวีห์ 25 กล่าวว่า “ณ ที่ อีซา บิน ญาริยะฮ์ มีหะดีษมุงกัรมาก(คือที่รายงานเพียงลําพังคน เดียวหรือมีหะดีษที่รายงานขัดแย้งกับผู้อื่น)”51 สายรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา: ผู้ที่กล่าวว่าละหมาดตะ รอวีหมี 8 ร็อกอะฮ์นั้น เพราะอ้างหลักฐานจากหะดิษท่านหญิงอาอิชะฮ์ที่ว่า ฺ : : : “จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอ ฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอน หรืออื่นจากเดือนร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร็อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและ ยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ท่านหญิง อาอิชะฮ์เล่าว่า ฉันได้กล่าวถามว่า โอ้ร่อซูลุลลอฮฺ ท่านจะนอนก่อน ละหมาดวิติรหรือไม่? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสอง ดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ”52 51 อัซซะฮะบีย,์ อัลกาชิฟ, เล่ม 2, หน้า 109. 52 รายงานโดยบุคอรีย,์ หะดีษเลขที่ 1096, และมุสลิม, หะดีษเลขที่ 738.
  • 28. 26 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ท่านชัยค์ อับดุลฆ่อฟูร อัลมะลีบารีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้ที่นําหะดีษบทนี้ไปอ้าง เป็นหลักฐานว่าละหมาดตะรอวีหมี 8 หรือ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นการอ้างหลักฐาน ฺ ที่ใช้ไม่ได้ เพราะเป้าหมายของหะดีษนี้มิใช่ละหมาดตะรอวีหฺ ดังที่ถ้อยคําของหะ ดีษระบุว่า ( ) “ไม่เคยละหมาดในร่อมะฎอนหรืออื่นจากร่อ มะฎอน...” เพราะละหมาดตะรอวีหฺเป็นละหมาดที่ทําเฉพาะในเดือนร่อมะฎอน ส่ว นละหมาดที่ทําทั้ง ในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากเดือนร่อมะฎอนนั้น มิ ใช่ ละหมาดตะรอวีหฺอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากหะดีษนี้กล่าวถึงละหมาดตะรอวีหฺ ก็สามารถทําละหมาดตะรอวีหฺได้ในเดือนอื่นจากร่อมะฎอนเช่นกัน แต่ไม่มีมุสลิม คนใดเคยกระทํามันเลยจวบจนถึงปัจจุบันนี้และไม่มีปราชญ์มุจญตะฮิดท่านใด กล่าวว่าละหมาดตะรอวีหฺมี 8 ร็อกอะฮ์ด้วยการอ้างหลักฐานจากหะดีษนี้...แต่ ปราชญ์ส่วนใหญ่ของเรากล่าวว่า เป้าหมายของหะดีษนี้ คือละหมาดวิติรที่เป็นซุน นะฮ์เน้นย้ําให้กระทําในทุกคืน ซึ่งละหมาดวิติรที่สมบูรณ์ที่สุดมี 11 ร็อกอะฮ์”53 ท่านอิหม่ามอันนะซาอียเองก็ ได้กล่าวบทว่าด้วยเรื่อง “จํานวนเท่าไหร่ของ ์ การละหมาดวิติร” ด้วยการรายงานหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอัน ฮาเช่นกัน54 ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดวิติรว่า ] [ 53 อับดุลฆ็อฟฟาร อัลอัลมะลีบารีย,์ ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ มัชรูอียะตุฮา วะ อะดะดุฮา, หน้า 27-28. 54 รายงานโดยอันนะซาอีย,์ หะดีษเลขที่ 1697.
  • 29. ละหมาดตะรอวีห์ 27 “ละหมาดวิติรมากสุดมี 11 ร็อกอะฮ์เพราะมีหะดีษอัลบุคอรีย์และ มุสลิม รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ซึ่งท่านนางรู้ถึงสภาพของ ท่านนะบีย์ดีกว่าผู้อื่น ความว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะ ลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยเพิ่มในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากร่อมะฎอน มากกว่าไป 11 ร็อกอะฮ์”55 ท่านอัลคอฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า : “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ เพราะมีบรรดาหะดีษ ทีศ่อฮีหยืนยัน ส่วนหนึ่งคือ “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ ่ ฺ วะซัลลัม ไม่เพิ่มในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากร่อมะฎอน มากไป กว่า 11 ร็อกอะฮ์”56 ท่านอิมามอัลบัยญูรีย์ กล่าวว่า : 55 อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย,์ ตุะหฺฟะตุลมุหตาจญ์, เล่ม 1, หน้า 375. ฺ 56 อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนย,์ มุฆนิลมุหตาจญ์, เล่ม 1, หน้า 415. ี ฺ
  • 30. 28 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ และสิ่งที่บ่งชี้ถึงสิ่ง ดังกล่าว คือบรรดาหะดีษศ่อฮีหฺ เช่น หะดีษของท่านหญิงอาอิ ชะฮ์ ความว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ เพิ่ ม ในเดื อ นร่ อ มะฎอนและอื่ น จากร่ อ มะฎอน มากไปกว่ า 11 ร็อกอะฮ์”57 ท่านอิหม่ามอันนะซาอีย์ ได้กล่าวรายงานหะดีษเกี่ยวกับวิธีการทําละหมาด วิติร 11 ร็อกอะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกเช่นกันว่า 57 อัลบัยญูรีย,์ หาชียะฮ์อัลบัยญูรีย,์ เล่ม 1, หน้า 441.
  • 31. ละหมาดตะรอวีห์ 29 “รายงานจากท่านซุรอเราะฮ์ บิน เอาฟา ความว่า แท้จริงท่านสะ อัด บิน ฮิชาม บิน อามิรนั้น ในขณะที่เขาได้มาหาพวกเรา เขาได้ เล่าให้พวกเราฟังว่า เขาได้พบกับท่านอิบนุอับบาส แล้วถามเรื่อง ละหมาดวิติร ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า พึงทราบเถิด ฉันจะบอกให้ ท่านทราบถึงบุคคลที่รู้ดีที่สุดในผืนแผ่นดินนี้เกี่ยวเรื่องการละหมาด วิติรของท่านนะบีย์จะเอาไหม? เขาตอบว่า เอาครับ ท่านอิบนุอับ บาส กล่าวว่า เขาคือ อาอิชะฮ์ ดังนั้น ฉัน(คือสะอัด บิน ฮิชาม) ถาม ว่า โอ้มารดาแห่งศรัทธาชน ท่านโปรดบอกให้ฉันทราบเกี่ยวกับการ ละหมาดวิติรของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมด้วย เถิด ท่านนางจึงกล่าวว่า เราได้ตระเตรียมไม้ถูฟันซิว๊ากให้แก่ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺและตระเตรียมน้ําเพื่อใช้อาบน้ําละหมาด แล้วอัลลอฮฺก็ ทรงให้ท่านร่อซูลุลลอฮฺตื่นตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ตื่นขึ้นมาใน ยามค่ําคืน ดังนั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺจึงถูฟันด้วยไม้ซิว๊ากและอาบน้ํา ละหมาด หลังจากนั้นท่านได้ทําการละหมาด 9 ร็อกอะฮ์ โดยไม่นั่ง (พัก)ในระหว่างนั้นเลย นอกจากร็อกอะฮ์ที่ 8 ท่านได้นั่งทําการ สรรเสริญอัลลอฮฺ ทําการซิกรุลลอฮฺ และขอดุอาอ์ หลังจากนั้นท่าน ได้ให้สลามหนึ่งครั้งจนทําให้เราได้ยิน หลังจากให้สะลาม ท่านได้ ละหมาดร็อกอะฮ์ที่ 9 โดยท่านั่งและหลังจากนั้นท่านได้ทําละหมาด อีก 2 ร็อกอะฮ์ ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจึงเป็น 11 ร็อกอะฮ์ โอ้ลูกน้อย เอ๋ย”58 ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า 58 รายงานโดยอันนะซาอีย,์ หะดีษเลขที่ 1612.
  • 32. 30 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “มากสุดของละหมาดวิติร มี 11 ร็อกอะฮ์ เพราะมีหะดีษที่ท่าน หญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น ท่านได้ล ะหมาดยามค่ําคืน 11 ร็อกอะฮ์ โดยทําเป็นจํานวนคี่ด้วยหนึ่งร็อกอะฮ์”59 ดังนั้นผู้ที่นําหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์มาเป็นหลักฐานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์นั้น มิใช่เป็นหลักฐานของละหมาดตะรอวีหฺโดยตรงที่ทําเฉพาะเดือน ร่อมะฎอนและท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็มิได้บอกว่าเป็นละหมาด ตะรอวีหฺ แต่การนํามาเป็นหลักฐานละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นเพียง แค่ทัศนะที่ผ่านความเข้าใจหรือการอิจญฺติฮาดเท่านั้นเอง ซึ่งการอิจญฺติฮาดนั้น ย่อมมีผิดและมีถูก เราจะฟันธงไม่ได้ว่าฉันละหมาดตะรอวีหฺ 11 ร็อกอะฮ์เพราะ ทําตามท่ านนะบีย์ ศ็อ ลลัล ลอฮุ อะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลัม เพราะการอิจ ญฺมาอฺของศ่ อ ฮาบะฮ์ ในการทําละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์นั้น ย่อมมีความชัดเจนและมี น้ําหนักมากกว่าในการกําหนดจํานวนร็อกอะฮ์ของละหมาดตะรอวีหฺ และถ้าหากสายรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวถึงละหมาดตะรอวีหฺ จริง แน่นอนว่าท่านหญิงอาอิชะฮ์จะไม่นิ่งเฉยในขณะที่ศ่อฮาบะฮ์ทําการละหมาด ตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เนื่องจากไปขัดแย้งกับละหมาดตะรอวีหฺของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 59 อันนะวาวีย,์ มัจญฺมอ,ฺ เล่ม 4, หน้า 11. ู
  • 33. ละหมาดตะรอวีห์ 31 อิหม่ามอัลบุคอรีย์กับหะดีษละหมาด 11 ร็อกอะฮ์ อาจจะมีผู้ที่กล่าวว่า หะดีษท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องละหมาดตะ รอวีหฺ เพราะท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์ได้นําไปไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาดตะ รอวีหฺ คําตอบคือ ท่านชัยค์อับดุลฆ็อฟฟาร อัลมะลีบารีย์ ได้กล่าวว่า “บางที เป้าหมายที่ท่านอัล บุคอรีย์ ได้นํ าหะดีษ ของท่านหญิงอาอิช ะฮ์ ไ ปไว้ ในบทเรื่อ ง ละหมาดตะรอวีหฺเพื่อยืนยันว่าท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ทํา ละหมาดตะรอวีหฺอีกหลังจากที่ท่านเกรงว่าจะเป็นฟัรฎูเหนือประชาชาติของท่าน หลังจากนั้นท่านอัลบุคอรีย์ก็นําหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ที่ว่า “ท่านรอซูลุลลอ ฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอนหรืออื่นจากเดือน ร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร๊อกอะฮ์” ซึ่งหะดีษนี้เกี่ยวกับละหมาดวิติรไม่ใช่ละหมาด ตะรอวีหฺ กล่าวคือ ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการละหมาด วิติร 11 ร็อกอะฮ์ทั้งในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากเดือนร่อมะฎอน60 หากมี ผู้ ก ล่ า วว่ า แม้ จ ะเป็ น ละหมาดวิ ติ ร ก็ ต าม แต่ ห ากทํ า ในเดื อ นร่ อ มะฎอนเรียกว่าตะรอวีหฺหรือกิยามร่อมะฎอน แต่ทว่าการกล่าวเช่นนี้ จะทําให้ ละหมาดวิติร มีสองชื่อ คือในเดือนร่อมะฎอนเรีย กว่าตะรอวีหฺ ส่ว นเดือนอื่น เรียกว่าวิติร และหากเป็นเช่นนั้นจริง แน่นอนว่าการละหมาดวิติรในเดือนร่อ มะฎอนด้วยการเหนียตเป็นละหมาดตะรอวีหฺ ก็ถือว่าใช้ได้?! ซึ่งเป็นหลักการที่ไม่ มีปราชญ์มุจญตะฮิดท่านใดกล่าวไว้เช่นนี้ 60 อับดุลฆ็อฟฟาร อัลอัลมะลีบารีย,์ ศ่อลาตุตตะรอวีหฺ มัชรูอียะตุฮา วะ อะดะดุฮา, หน้า 29-30.
  • 34. 32 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ และสิ่ง ที่ ม าตอกย้ํา ว่ าสายรายงานของท่ า นหญิ ง อาอิ ช ะฮ์ ว่ าอยู่ ใ นเรื่ อ ง ละหมาดวิติรนั้น คือท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร ได้นําหะดีษของท่านหญิงอาอิ ชะฮ์ดังกล่าวไปไว้ในหนังสือบุลูฆุลมะรอมของท่าน ในหมวดหะดีษที่เกี่ยวกับเรื่อง ละหมาดวิติร61 ท่านอิบนุกุดามะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนีย์ ว่า “รายงานถึงท่านอิ มามอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านได้ ใช้ ให้คนหนึ่งทําการนําละหมาดผู้คน ทั้งหลาย ในเดือนร่อมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์ ดังกล่าวนี้ถือว่าเสมือนกับเป็นการอิจญ์ มาอฺ (มติของศ่อฮาบะฮ์)” ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า “สิ่งที่บรรดาศ่อฮาบะฮ์ ของท่านร่อซูลุลลอฮฺได้กระทํานั้น ย่อมดีกว่า และเหมาะสมยิ่งกว่าสําหรับการ เจริญรอยตาม และได้มีรายงานว่า แท้จริง ท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เดิน ผ่านมัสยิดต่างๆ ซึ่งในมัสยิดเหล่านั้น มี(การจุด)ตะเกียงในเดือนร่อมะฎอน ดังนั้น ท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ขออัลลอฮฺโปรดทรงให้รัศมีสว่างแก่กุบูรของ ท่านอุมัร เหมือนกับกับที่พระองค์ทรงให้แสงสว่างกับบรรดามัสยิดของเรา”62 และมัสยิดหะรอมที่มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ก็ทําการละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจ จุบัน นี้ เพราะปฏิบัติตามแนวทางของท่านค่อ ลีฟะฮ์อุมัร ค่อลีฟะฮ์อุษมาน ค่อลีฟะฮ์อะลีย์ และการอิจญมาอฺ (มติ) จากการ กระทําของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ ทัศนะปราชญ์อัสสะละฟุศศอลิห์ 61 ดู อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ บุลูฆุลมะรอม, หน้า 44. 62 อิบนุ กุดามะฮ์, อัลมุฆนีย,์ เล่ม 2, หน้า 167.