SlideShare a Scribd company logo
เอกสารเผยแผ่



      กุนูตศุบหฺ


ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
  อ. อาริฟีน แสงวิมาน
   (สถาบันอัลกุดวะฮ์)




    สิงหาคม 2555
กุนูตศุบหฺ                                                                                                                 1



                                                         สารบัญ
คํานํา ....................................................................................................................... 2
คํานิยามกุนูต ........................................................................................................... 4
หลักฐานกุนูตศุบหฺ ................................................................................................... 4
วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ................................................................................... 14
ปราชญ์ที่ให้การชมเชยและรับรองความเชื่อถืออะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์.................... 15
วิเคราะห์คํากล่าวของบรรดาปราชญ์ที่ทําการวิจารณ์ ............................................ 17
วิเคราะห์คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน............................................................... 22
วิเคราะห์คํากล่าวของท่านอิบนุหะญัร ................................................................... 28
หลักฐานถ้อยคําดุอาอ์กุนูต .................................................................................... 30
ถ้อยคํากุนูตศุบหฺและความหมาย ........................................................................... 34
บรรดาหะดีษที่ปฏิเสธเรื่องกุนูตและบทวิเคราะห์ ................................................... 36
บทส่งท้าย ............................................................................................................. 42
2                                                                            เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์



                                              คํานํา




    เป้าหมายในการเขีย นเรื่องกุนูตศุบ หฺนี้ เพื่อยืน ยัน ว่าผู้ที่ทํากุนูตศุบหฺก็มีการ
หลักฐานตามทัศนะของพวกเขา โดยมิได้อุตริกรรมแต่อย่างใด และเป็นการนําเสนอ
หลักฐานเพื่อยืนยันว่ากุนูตศุบหฺตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์และอิมามาลิกนั้น
เป็นแค่เรื่องสุนัตไม่ใช่หะรอมหรือวาญิบแต่ประการใด
     อนึ่ง เรื่องกุนูตศุบหฺนน ปราชญ์สะละฟุศศอลิห์ได้มีความเห็นที่ต่างกัน มัซฮับอิ
                             ั้
มามอะบู ห ะนี ฟ ะฮ์ แ ละมั ซ ฮั บ อิ ม ามอะหฺ มั ด บิ น ฮั ม บั ล มี ทั ศ นะว่ า ไม่ กุ นู ต ศุ บ หฺ
ส่ ว นมั ซ ฮั บ อิ ม ามมาลิ ก และมั ซ ฮั บ อิ ม ามอั ช ชาฟิ อี ย์ นั้ น มี ทั ศ นะให้ กุ นู ต ศุ บ หฺ
แต่มัซฮับอิมามมาลิกนั้นกุนูตศุบหฺก่อนรุกูอฺ ส่วนมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์กุนูตหลังเงย
ศีรษะขึ้นมาจากรุกูอฺ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่อนุญาตให้เกิดขึ้นได้
    ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนําเสนอหลักฐานกุนูตศุบหฺของมัซฮับของท่านอิมามมาลิก
และอิ ม ามอั ช ชาฟิ อี ย์ แ บบสรุ ป เพื่อ ไม่ ใ ห้ยื ด ยาวจนน่ า เบื่อ และไม่ ใ ห้ สั้ น จนทํ า ให้
บกพร่อ ง เพื่ อให้ท่า นผู้อ่านที่กุนูตศุ บ หฺ ได้ ป ฏิบัติอิ บ าดะฮ์ ด้ว ยจิต ใจที่ส งบมั่น คง
พร้อมกับผู้เขียนให้เกียรติมัซฮับของอิมามอะบูหะนีฟะฮ์และมัซฮับอิมามอะหฺมัด ซึ่ง
มีหลักฐานไม่น้อยเลยในการนํามาวินิจฉัยเพื่อยืนยันทัศนะที่ไม่กุนูตศุบหฺ เพื่อตาม
แบบฉบับ อัน มีคุณธรรมของสะละฟุศศอลิห์เกี่ย วกับ ประเด็น ข้อปลีกย่อยที่มีการ
ขัดแย้งกัน
    ท่านอะบูนุอัยม์ รายงานถึง ท่านอิมามซุฟยาน อัษเษารีย์ ท่านกล่าวว่า
กุนูตศุบหฺ                                                                           3




       “เมื่อท่านเห็นบุรุษท่านหนึ่งได้ปฏิบัติอะมัลหนึ่งที่นักปราชญ์ฟิกห์มีความเห็น
       แตกต่างกัน และท่านก็มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น ท่านจงอย่าไปห้ามเขา”1
                                                               บ่าวผู้ต่ําต้อย
                                                               อาริฟีน แสงวิมาน
                                                               สถาบันอัลกุดวะฮ์




1
    อะบูนุอัยม์, หิลยะตุล เอาลิยาอฺ, เล่ม 6, หน้า 367.
4                                                                                      เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์



คํานิยามกุนูต
    กุนูต ตามหลักภาษาอาหรับ หมายถึง “การฏออัตภักดี, การทําอิบาดะฮ์, การ
ภักดีอย่างสม่ําเสมอ, การละหมาด, การยืนนาน, การขอดุอาอ์, การนอบน้อม, การ
หยุดนิ่ง เป็นต้น”2
    สําหรับ กุนู ต ตามหลั กวิช าการ หมายถึง “ชื่ อหนึ่งของดุอาอ์ ใ นละหมาดที่
เจาะจงกระทําในขณะยืน”3

หลักฐานกุนูตศุบหฺ
     ท่านมุสลิม ได้รายงานว่า




     “จากท่านอะนัส ความว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัย ฮิ
     วะซัลลัม ได้ดุอาอ์กุนูตสาปแช่งกลุ่มชนอาหรับ(มุชริกีน)หนึ่งเดือน หลังจาก
     นั้น ท่านก็ได้ทิ้งมัน”4
     ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานว่า
                                     :



2
  อะบูบักร อิบนุอัลอะร่อบีย,์ อาริเฎาะฮ์ อัลอะห์วะซีย์ บิชัรห์ ศ่อฮิห์ อัตติรมีซีย,์ เล่ม 2, หน้า 178-179.
3
  อิบนุอัลลาน, อัลฟุตูหาต อัรร็อบบานียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 286.
4
  รายงานโดยมุสลิม, หะดีษเลขที่ 677.
กุนูตศุบหฺ                                                                                            5


     “...ได้ เล่ า ให้เ ราทราบโดยอะบูญ ะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จากท่า นอั ร ร่ อ บีอฺ บิ น
     อะนั ส จากท่ า นอะนั ส ร่ อ ฎิ ยั ล ลอฮุ อั น ฮุ ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์
     ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือนโดยขอดุอาอ์สาปแช่ง
     พวกเขาหลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน แต่สําหรับในละหมาดศุบหฺนั้นท่านนะ
     บีย์ยังคงกุนูตจนกระทั่งจากโลกดุนยา”5
     ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า
                .                          :
                                                       1                    :
     “...จากท่านอับดุร เราะห์มาน บิน มะฮ์ดีย์ ในหะดีษของท่านอะนัส ที่ว่า
     ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือน หลังจากนั้น ท่านได้ทิ้งมัน” นั้น
     ท่านอับดุรเราะห์มาน ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺได้
     ละทิ้ง(กุนูต)การสาปแช่งเท่านั้น”6
   สายรายงานนี้บ่งชี้ว่า ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ มิได้รายงานขัดกับหะดีษที่
บอกว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิว ะซัล ลัม ได้กุนูต ในยามจําเป็น หรือมีภัย
บะลาอฺ เพราะท่านนะบีย์ได้ทําการดุอาอ์กุนูตในยามจําเป็นหรือมีภัยบะลาอฺหนึ่ง

5
  รายงานหะดิษนี้ โดยอิมามอะหฺมัด ไว้ในมุสนัด, เล่ม 3, หน้า 162, ดู อัลฟัตหฺ อัรร๊อบบานีย์ เล่ม 3 หน้า 302,
และได้รายงานโดยท่าน อัลบัรซฺาซ โดยที่ อัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์ ได้กล่าวไว้ใน มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด, เล่ม 2
หน้า 139 ว่า บรรดานักรายงานหะดิษนี้ ได้รับความเชื่อถือได้, และท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานไว้ใน อัสสุนัน อัล
กุบรอ ของท่าน เล่ม 2 หน้า 418 และทําการถ่ายทอดการซอเฮี๊ยะหฺของท่านอัลฮากิม และท่านอัลบัยฮะกีย์ก็
ยอมรับในการยืนยันถึงความซอเฮี๊ยะห์, และท่านอัรดารุกุตนีย์ ได้รายงานไว้ใน สุนัน ของท่าน เล่ม 2 หน้า 39,
และท่านอับดุล อัรร๊อซซาก ได้รายงานใน อัลมุศ็อนนัฟ ของท่าน เล่ม 3 หน้า 110, และอิบนุอะบีชัยบะฮฺ กล่าว
ไว้ใน อัลมุศ็อนนัฟ เล่ม 2 หน้า 312, และท่านอัลบุฆอวีย์ ได้รายงานใน ชัรหฺ อัสสุนนะฮฺ เล่มที่ 3 หน้า 124.
6
  อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนันอัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 417. สายรายงานนี้ ศ่อฮีห.ฺ
6                                                                            เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


เดือน หลังจากนั้น ท่านก็ทิ้งกุนูตยามจําเป็น นั้น แต่กุนูตปกติท่านนะบีย์มิได้ทิ้ง
จนกระทั่งจากโลกนี้ไป
    ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า



                                                                 ,
    “หะดีษกุนูตที่รายงายโดยอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นี้ เป็นหะดีษที่ศ่อฮีหฺ ซึ่งได้
    รายงานโดยนักหะดีษกลุ่มหนึ่ง และพวกเขาถือว่าเป็นหะดีษศ่อฮีหฺ และส่วน
    หนึ่งจากผู้ระบุถึงความศ่อฮีหฺของหะดีษนี้นั้น อาธิเช่น อัลฮาฟิซฺ อะบูอับดิล
    ลาฮฺ มุฮัมมัด บิน อลี อัลบัลคีย์, ท่านอัลฮากิม ที่ระบุไว้ในตําราต่างๆ ของ
    ท่าน, ท่านอัลบัยฮะกีย์ และได้รายงานโดยท่าน อัดดาร่อกุฏนีย์ จากหลาย
    สายรายงานซึ่งเป็นสายรายงานทีศ่อฮีห”7
                                     ่    ฺ
    ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวตัดสินหะดีษบทนี้ว่า


    “หะดีษนี้ เป็นหะดีษหะซัน(หะดีษที่ดีหรือสวยงาม) ซึ่งได้นําเสนอรายงาน
    โดยท่านอะหฺมัด จากท่านอับดุรร็อซซ้าก จากท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย”8
                                                                    ์



7
 ดู อันนะวาวีย,์ อัลมัจญฺมูอ,ฺ เล่ม 3, หน้า 504.
8
  นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ, เล่ม 2, หน้า 136. หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ประพันธ์เสร็จสิ้นปี ฮ.ศ. 820 ส่วน
หนังสือ นะตาอิจญฺ อัลอัฟาการ ประพันธ์เสร็จสิ้นประมาณปี ฮ.ศ. 837
กุนูตศุบหฺ                                                                                            7


    คําตัดสินของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร นี้ ผู้เขียนมีความเห็นพ้องและถือว่าเป็น
การตัดสินหะดีษที่มีน้ําหนักมากที่สุด ตามหลักพิจารณาหะดีษที่จะนําเสนอชี้แจง
ต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
   และหะดีษบทนี้ยังมีตัวบทหะดีษของท่านอัลบุคอรีย์ที่มาสนับสนุนให้มีน้ําหนัก
มากยิ่งขึ้นว่าท่านนะบีย์ได้กุนูตเป็นประจําด้วย ซึ่งท่านอัลบุคอรีย์ได้รายงานว่า




     “ได้เล่าให้เราทราบโดยมุซัดดัด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลวา
     หิด บิน ซิยาด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอาซิม เขาได้กล่าวว่า ฉันได้
     ถามท่านอะนัส บิน มาลิก จากเรื่องอัลกุนูต9 ท่านอะนัสกล่าวว่า กุนูตนั้นมี
     ฉันถามว่า (กุนูต)ก่อนรุกูอหรือหลังรุกูอฺ ท่านอะนัสตอบว่า ก่อนรุกูอฺ (อาซิม)
                               ฺ
     ได้กล่าวว่า แท้จริงมีคนหนึ่งบอกฉันว่า ท่านนั้นได้เคยกล่าวว่า(กุนูต)นั้นมี
     หลังรุกูอฺ ท่านอะนัสจึงกล่าวว่า “เขาโกหกแล้ว” เพราะท่านร่อซูลุลลอฮฺ
     ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตหลังรุกูอฺเป็นเวลาหนึ่งเดือน ฉันเห็น

9
 คําว่า [   ] “อัลกุนูต”หมายถึง กุนูตอันเป็นที่รู้กันดีตามหลักวิชาการ ก็คือ การอ่านดุอาอ์กุนูต เพราะ อะลีฟ
และลาม [ ] ของคําว่า “อัลกุนูต” นั้น ให้ความหมายว่า [ ] “เป็นที่รู้จักกันดี” คือการขอดุอาอ์.
8                                                                                       เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


     ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งศ่อฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งที่เป็น
     นักอ่านอัลกุรอานประมาณ 70 คน ไปยังพวกมุชริกีนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งระหว่าง
     พวกเขากับท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มีสนธิสัญญาต่อ
     กัน (เมื่อพวกเขาได้บิดพริ้วทําการสังหารบรรดานักอ่าน) ดังนั้นร่อซูลุลลอฮฺ
     ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงอ่านดุอาอ์กุนูตสาปแช่งพวกเขาหนึ่งเดือน”10
     หะดีษบทนี้บ่งชี้ว่ากุนูตมี 2 ประเภท คือ กุนูตเป็นประจํานั้นก่อนรุกูอฺ11 และ
กุนูตเนื่องจากประสพภัยนั้นหลังรุกูอฺ
     ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าวอธิบายว่า


                                                                               .


     “สิ่งที่ถูกประมวลจากหะดีษที่มาจากท่านอะนัสจากสิ่งดังกล่าว(คือเรื่องกุนูต)
     คือ กุนูตในยามจําเป็น(ยามมีภัยพิบัติ)นั้น ทําหลังรุกูอฺ โดยไม่มีการขัดแย้ง
     กันในสิ่งดังกล่าว และสําหรับกุนูตที่ไม่ได้อยู่ในยามที่จําเป็น(ยามปกติ)
     ที่ศ่อฮีห์จากท่านอะนัสนั้น คือกุนูตก่อนจากรุกูอฺ และแท้จริงการปฏิบัติ
     ของศ่อฮาบะฮ์ในสิ่งดังกล่าว(คือกุนูตในยามปกติก่อนหรือหลังรุกูอฺนั้น) ได้มี

10
   รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที,่ 3870, และมุสลิม, หะดีษเลขที,่ 677, ถ้อยคําหะดีษเป็นของอับุคอรีย.์
11
    กุนูตเป็นประจําก่อนรุกูอฺนั้น เป็นมัซฮับของอิมามมาลิก ส่วนกุนูตเป็นประจําหลังรุกูอฺ เป็นมัซฮับของอิ
มามอัชชาฟิอีย์ ซึ่งแม้ทั้งสองมัซฮับจะมีเห็นต่างกันในด้านของการกุนูตก่อนหรือหลังรุกูอฺซึ่งเป็นสิ่งอนุญาต(มุ
บาห์) เพราะการกุนูตศุบหฺก่อนนรุกูอฺเพื่อรอให้มะอฺมูมที่มาช้าทันรุกูอฺร็อกอะฮ์ที่สอง ส่วนกุนูตหลังรุกูอฺนั้นเพื่อให้
บรรดามะอฺมูมดุอาอ์กุนูตร่วมกัน แต่สิ่งที่สอดคล้องตรงกัน คือ มีการอ่านกุนูตประจําในละหมาดศุบหฺ นี่คือ
เป้าหมายที่ต้องการอ้างอิง ดังนั้นท่านผู้อ่านอย่าสับสนในสิ่งดังกล่าว.
กุนูตศุบหฺ                                                                                             9


     ความเห็นต่างกันและที่ชัดเจนแล้ว(การกุนูตก่อนหรือหลังรุกูอฺนั้น)มันเป็น
     ความเห็นต่างที่อนุญาต(มุบาหฺ)ให้มีได้”12
     ท่านอัลบัซซาร ได้รายงานว่า




     “ได้เล่าให้เราทราบโดยมุฮัมมัด บิน อัลมุษันนา ได้เล่าให้เราทราบโดยยะห์
     ยา บิ น อะบีบุ ก็อยร์ ได้เล่ า ให้ เราทราบโดยอะบู ญะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จาก
     ท่ า นอั ร ร่ อ บี อฺ จากท่ า นอะนั ส ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ
     อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตจนกระทั่งเสียชีวิต ท่านอะบูบักรจนกระทั่ง
     เสียชีวิต และท่านอุมัรจนกระทั่งเสียชีวิต”13
     ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า
     :                                                           :
                                                          :                :        .




12
    ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 2, หน้า 291.
13
    อัลบัซซาร, มุสนัดอัลบัซซาร, เล่ม 2, หน้า 292.และอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์, มัจญฺมะอัซซะวาอิด, เล่ม 2, หน้า
139, และท่านอัลฮัยษะมีย์กล่าว หะดีษนี้มีนักรายงานที่ถูกได้รับความเชื่อถือ. หมายถึง เป็นหะดีษหะซัน(หะดีษ
ที่ดีหรือสวยงาม).
10                                                                                 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


     “ได้ เ ล่ า ให้ เ ราทราบโดย อั ล เอาวาม บิ น ฮั ม ซะฮ์ เขาได้ ก ล่ า วว่ า ฉั น ได้
     ถามอะบูอุษมาน จากเรื่องกุนูต14ในละหมาดศุบหฺ เขาตอบว่า (กุนูตศุบหฺ
     นั้น)หลังรุกูอฺ ฉันจึงกล่าวถามว่า เอามาจากใคร? เขากล่าวว่า จากอะบูบักร
     อุมัร อุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม”15
ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า
                                                                  :


     “จากท่านอะบีอุษมาน อันนะฮ์ดีย์ เขากล่าวว่า ฉันได้ละหมาดตามหลังท่าน
     อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ถึง 6 ปี ปรากฏว่าท่านอุมัรอ่านกุนูตเสมอ”16
     ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวรายงานว่า
14
   คําว่า [      ] “อัลกุนูต” หมายถึง กุนูตอันเป็นที่รู้กันดีตามหลักวิชาการ ก็คือ การอ่านดุอาอ์กุนูต เพราะ อะ
ลีฟและลาม [ ] ของคําว่า “อัลกุนูต” นั้น ให้ความหมายว่า [ ] “เป็นที่รู้จักกันดี” คือการขอดุอาอ์.
15
   ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ มีสายรายงานที่หะซัน(ดี), ดู อัลบัยฮะกีย์, อัสสุนันอัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า
419. ในสายรายงานนี้ มีท่าน อัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า “หะดีษของเขานั้นไม่มีสิ่งใด
(รายงานมากมายนัก)” ท่านอะหฺมัดกล่าวว่า “เขานั้นมีหะดีมุงกัร(หะดีษที่รายงานเพียงลําพังคนเดียว)สามหะ
ดีษ” ท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า “เขานั้น [ ] อ่อนไม่มาก” แต่ท่านอิสหาก บิน รอฮะวัยฮ์กล่าวว่า “เขานั้นเชื่อถือ
ได้” ท่านอะบูซุรอะฮ์กล่าวว่า “เขาคือชัยค์ ดังนั้นท่านอะบูซุรอะฮ์ถูกถามว่า อย่างไรที่ท่านเห็นว่าหะดีษของอัล
เอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ เที่ยงตรง ท่านอะบูซุรอะฮ์ตอบว่า ฉันไม่รู้อะไร(เกี่ยวกับเขา)นอกจากความดีงามเท่านั้น”
ท่านอะบีดาวูดกล่าวว่า “ฉันไม่ทราบเลยว่าเขามีหะดีษมุงกัร” และอะบูดาวูดกล่าวเช่นกันว่า “เขานั้นเชื่อถือได้”
ท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า “เขานั้นไม่เป็นไร” ท่านอิบนุอะดีย์กล่าวว่า “เขานั้นมีหะดีษน้อยและฉันหวังว่าเขานั้น
ไม่เป็นไร” และท่านอิบนุฮิบบาน นํา ท่านอัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ ไปไว้ในหนังสือ บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้
(อัษษิก็อต). ดู ซิยิร อะลาม อันนุบะลาอฺ, เล่ม 6 หน้า 355. และอิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 8, หน้า
145. ดังนั้นท่านอัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ จึงเป็นนักรายงานที่อยู่ในระดับหะซันตามที่ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้ตัดสินไว้
วัลลอฮุอะลัม.
16
   รายงานโดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 421. หะดีษนี้ศ่อฮีห.ฺ
กุนูตศุบหฺ                                                                                            11




     “...รายงานจากท่าน อัลอัสวัด เขากล่าวว่า ฉันได้ละหมาดตามหลังท่านอุมัร
     ทั้งในยามเดินทางและไม่เดินทาง ซึ่งเป็นการละหมาดที่ฉันไม่สามารถจะนับ
     ได้ และท่านอุมัร ก็จะทําการกุนูตร็อกอะฮ์ที่สองในละหมาดศุบหฺและไม่ทํา
     กุนูตในละหมาดอื่นๆ ของท่าน”17
หะดีษบทนี้ บ่งชี้ว่าท่านอุมรทํากุนูตในละหมาดศุบหฺเป็นกิจวัตร
                           ั
     ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า


                                  :               .
                 :       .                                                                   :
                                                      :                           .
             :                                                                :       .


     “จากอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ เขาได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอิบนุอะบียะอฺลา ได้
     เล่าหะดีษจากท่านอัลบะรออฺ จากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
     ว่า ท่านนะบีย์นั้นได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ ท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ได้กล่าวว่า



17
  ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ ศ่อฮีหฺ, ดู อัซซะฮะบีย์, ตันกีหฺ อัตตะห์กีก ฟี อะหาดีษ อัตตะลีก, เล่ม 1,
หน้า 243. และรายงานโดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 420.
12                                                                          เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


     “แล้วฉันก็บอกสิ่งดังกล่าว18ให้แก่ท่านอิบรอฮีม(อันนะค่ออีย์)19ทราบ แล้ว
     ท่านอิบรอฮีมจึงกล่าวว่า “อิบนุอะบียะอฺลาไม่เคยเป็นเหมือนกับลูกศิษย์ของ
     ท่านอับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด)เลย เขาเป็นเพียงผู้ติดตามบรรดาผู้นํา” ดังนั้น
     ฉันจึงกลับไปทิ้งกุนูต แต่ชาวมัสยิดได้กล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ วันนี้
     เรายังไม่เห็นสิ่งหนึ่ง(หมายถึงกุนูตศุบหฺ)ที่ไม่เคยหายไปจากมัสยิดของเรา
     เลย”20 ท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์จึงกล่าวว่า “ดังนั้น ฉันจึงกลับ ไปอ่านกุนูต
     (ศุบหฺ)อีก” จากนั้นเรื่องดังกล่าวได้ทราบถึงท่านอิบรอฮีม แล้วท่านอิบรอฮีม
     ก็ได้พบกับฉัน แล้วกล่าวว่า นี้คือผู้ที่พ่ายแพ้ต่อการละหมาดของเขา”21
    ในสายรายงานที่ศ่อฮีหฺนี้ ยืนยันว่าการกุนูตในละหมาดศุบหฺมีการกระทําอย่าง
ต่อเนื่อ งในบรรดามัส ยิดของสะละฟุ ศศอลิ ห์และกระทําสื บ ทอดมาจากรุ่ น ต่อรุ่ น
ท่านอัลบัยอะกีย์ได้กล่าวต่อไปว่า
                                                                                :




18
   คือบอกว่าอิบนุอะบียะอฺลานั้นได้พูดรายงานจากท่านอัลบะรออฺว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ.
19
   ท่านอิบนุรอฮีม อันนะค่ออีย์ เป็นลูกศิษย์ของท่านอับอัลลอฮฺ อิบนุมัสอูด.
20
   ชาวมัสยิดนั้น คือเหล่าบรรดาสะลัฟจากตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน.
21
   โดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 422. สายรายนีศ่อฮีห.ฺ
                                                                 ้
กุนูตศุบหฺ                                                                                              13


     “ท่ า นอาจารย์ ( คื อ ท่ า นอั ล ฮากิ ม )ได้ ก ล่ า วว่ า นี้ 22ไม่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ พ อใจจาก
     ท่านอิบรอฮีม (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาพวกเราและเขาด้วยเถิด) แต่ทุกวิชา
     ความรู้นั้นมิใช่มีอยู่ที่บรรดาสานุศิษย์ของท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอูดเท่านั้น
     และมิใช่หมายความว่าความรู้ที่อยู่ที่คนอื่น จะยึดถือไม่ได้ แต่สามารถเอา
     ความรู้มาได้เมื่อเขานั้นอยู่ในระดับสูงกว่าบรรดาสานุศิษย์ของท่านอับดุล
     ลอฮฺ อิบนุมัสอูด ทั้งที่ผู้รายงาน23นั้น [ ] “เชื่อถือได้” และท่านอิบนุอะบี
     ยะอฺลานั้นก็ [ ] “เชื่อถือได้” และท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ ก็ได้บอกเล่าจาก
     ชาวมัสยิดว่า แท้จริงกุนูตศุบหฺนั้นไม่เคยหายไปจากมัสยิดของพวกเรา”24
     ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า
                     :


     “ได้เล่าให้เราทราบโดยซุฟยาน จากมุหาริบ จากดิษาร จากอุบยด์ บิน อัลบะ
                                                                  ั
     รออฺ จากท่ านอัล บะรอฺ ว่า แท้จ ริ ง เขา(คือ อัล บะรออฺ) ได้กุนู ต ในละมาด
     ศุบหฺ”25
     ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า



22
   คือคํารายงานของท่านอิบนุอะบียะอฺลาที่ได้พูดรายงานจากท่านอัลบะรออฺว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ
วะซัลลัม ได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ.
23
   หมายถึงท่านอัมร์ บิน มุเราะฮ์ ที่เป็นผู้รายงานเกี่ยวกับท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กุนูตศุบหฺ.
24
   อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 422-423.
25
   เรื่องเดียวกัน, เล่ม 2, หน้า 422.
14                                                                              เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์




       “มัซฮับของเรา(คือมัซฮับชาฟิอีย์) คือ สุนัตให้อ่านกุนูตในละหมาดศุบหฺ ไม่
       ว่าจะมีภัยพิบัติหรือไม่ก็ตาม และชาวสะลัฟส่วนมากและกลุ่มบุคคลหลักจาก
       พวกเขา และบุค คลหลั งจากพวกเขา หรือมากมายจากพวกเขาได้ กล่า ว
       ตามนั้น และส่วนหนึ่งจากผู้ที่กล่าวตาม(แนวทางนี้) คือท่านอะบูบักร อัศศิด
       ดีก อุมัร อิบนุค๊อฏฏอบ อุษมาน อลี อิบนุอับบาส และอัลบะรออฺ บิน อาซิบ
       และได้รายงานจากพวกเขาโดยท่านอัลบัยฮะกีย์ ด้วยบรรดาสายรายงาน
       ที่ศ่อฮีหฺ และได้กล่าวด้วยกับมัน(แนวทางนี้) จากบรรดาตาบิอีนและบุคคล
       หลังจากพวกเขา และแนวทางนี้ก็คือมัซฮับของอิบนุอะบีลัยลา, อัลหะซัน
       บิน ศอลิห,ฺ อิมามมาลิก และดาวูด”26

วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ
     หะดี ษ กุ นู ต ศุ บ หฺ ที่ ผู้ มี ทั ศ นะว่ า กุ นู ต ศุ บ หฺ นํ า มาเป็ น หลั ก ฐานจากท่ า นนะบี ย์
ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม คื อ สายรายงานที่ มี ท่ า นอะบู ญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์
ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานว่า



26
     อันนะวาวีย,์ อัลมัจญฺมูอฺ ชัรหฺ อัลมุฮัซซับ, เล่ม 3, หน้า 336.
กุนูตศุบหฺ                                                                                              15



                                   :



     “...ได้ เล่ า ให้เ ราทราบโดยอะบูญ ะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จากท่า นอั ร ร่ อ บีอฺ บิ น
     อะนั ส จากท่ า นอะนั ส ร่ อ ฎิ ยั ล ลอฮุ อั น ฮุ ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์
     ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือนโดยขอดุอาอ์สาปแช่ง
     พวกเขาหลัง จากนั้ น ท่ านก็ล ะทิ้ งมั น แต่ สํา หรั บ ในละหมาดศุ บ หฺ นั้น ท่า น
     นะบีย์ยังคงกุนูตจนกระทั่งจากโลกดุนยา”27
   หะดีษนี้ได้ถูกรายงานจากด้านของ อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน
อะนัส จากท่านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ
     ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ นั้น มีชื่อว่า “อีซา บิน อะบีอีซา ฮามาน” บ้างก็
บอกว่า ชื่อ “อีซา บิน อะบีอีซา อับดุลลอฮฺ บิน ฮามาน” ท่านเป็นนักรายงานที่
ได้รับการชมเชยจากปราชญ์หะดีษส่วนมากแต่กถูกวิจารณ์ด้วย
                                              ็

ปราชญ์ที่ให้การชมเชยและรับรองความเชื่อถือ
ท่านยะห์ยา บิน มะอีน กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”28
ท่านอะบีค็อยษะมะฮ์ รายงานคําพูดของท่านมะอีนเช่นกันว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์
    นั้น [ ] “เป็นผู้ที่มีคุณธรรม”29

27
   รายงานโดยอะหฺมัด บิน ฮัมบัล, มุสนัดอะหฺมัด, เล่ม 3, หน้า 162. อับดุรร๊อซซ้าก, อัลมุศ็อนนัฟ, เล่ม 3, หน้า
110, และอิบนุอะบีชัยบะฮฺ, อัลมุศ็อนนัฟ, เล่ม 2, หน้า 312. อัดดาร่อกุฏนีย์, สุนันอัดดาร่อกุฏนีย์, เล่ม 2, หน้า
39. อัลบัซซาร, มุสนัดอัลบัซซาร, เล่ม 2, หน้า 292. อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 418.
28
   อิบนุอะบี ฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะดีล, เล่ม 6, หน้า 281.
16                                                                              เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


ท่านฮัมบัล ได้รายงานคําพูดจากท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์
                                      30
    นั้น [          ] “เขานั้นหะดีษดี” หมายถึง ท่านญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ดีเยี่ยม
    ในการรับหะดีษ รายงานหะดีษ บันทึกหะดีษ และในการพิจารณาหะดีษของเขา
ท่านอะลีย์ บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”31
ท่านอิบนุอัมมาร อัลเมาศิลีย์ กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”32
ท่ า นอะบู ฮ าติ ม กล่ า วว่ า อะบู ญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์ นั้ น [                                     ]
     “เชื่อถือได้ พูดสัจจริง และหะดีษดี”33
ท่านอิบนุสะอัด กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”34
ท่านอัลฮากิม กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”35
ท่านอิบนุอับดิลบัรรฺ กล่าวว่า [                          ] “อะบูญะอฺฟัร อัรรอ
    ซีย์ ตามทัศนะของปราชญ์หะดีษนั้น เชื่อถือได้ อีกทั้งเป็นผู้ทรงความรู้ในการ
    ตัฟซีรอัลกุรอาน”36
ท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า

29
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50.
30
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49.
31
   เรื่องเดียวกัน.
32
   เรื่องเดียวกัน.
33
   อิบนุอะบี ฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะดีล, เล่ม 6, หน้า 281.และอิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า
50.
34
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50.
35
   เรื่องเดียวกัน.
36
   เรื่องเดียวกัน.
กุนูตศุบหฺ                                                                                   17




       “ท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีบรรดาหะดีษที่ดี และเที่ยงตรง(ถูกต้อง) ที่
       เขาได้รายงานมันไว้ และบรรดานักหะดีษก็ได้รายงานจากเขา และบรรดา
       หะดี ษ ของเขาทั่ ว ไปแล้ ว เที่ ย งตรง(ถู ก ต้ อ ง) และฉั น หวั ง ว่ า เขานั้ น ไม่
       เป็นไร”37
    ดั ง นั้ น ปราชญ์ นั ก วิ เ คราะห์ ตั ว ผู้ ร ายงานหะดี ษ ส่ ว นมากให้ ค วามเชื่ อ ถื อ กั บ
ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์

วิเคราะห์คํากล่าวของบรรดาปราชญ์ที่ทําการวิจารณ์
     ท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [                        ] “ไม่มี
น้ําหนักพอ” ท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [                         ] “ไม่มี
น้ําหนักพอ”38
       แต่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า
              (      )                                      :    َ
                                                                     (             ):
       “นี้คือ ท่านอันนะซาอีย์ ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่า “ไม่มีน้ําหนักพอ”และท่าน
       อันนะซาอีย์ได้นําเสนอรายงานพวกเขาไว้ในหนังสือของท่าน และแท้จริงคํา


37
     อิบนุอะดีย,์ อัลกามิล, เล่ม 5, หน้า 255.
38
     อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49-50.
18                                                                                    เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


     กล่าวของพวกเราที่ว่า “เขานั้น ไม่ มีน้ําหนักพอ” นั้น มิ ใช่เป็น การตําหนิ
     วิจารณ์ที่ทําให้เสียหาย”39
   ท่านชัยค์ อะบูฆุดดะฮ์ ได้กล่าวชี้แจงไว้ในเชิงอรรถหนังสือ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล
ของท่านอัลลักนาวีย์ ว่า
          )                                                                       :
                                                                                               (
     “ท่ า นอิ ม ามอะหฺ มั ด ได้ ก ล่ า วว่ า “ฎ่ อ อี ฟ โดยเขาไม่ มี น้ํ า หนั ก พอ” แต่
     เป้าหมายของท่านอะหฺมัดที่มีต่อสํานวนที่ว่า “เขาไม่มีน้ําหนักพอ” นั้น คือ
     ผู้ที่ไม่ถูกตัดสินว่าหะดีษของเขาศ่อฮีหฺ แต่เขาเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ถูกตัดสิน
     ว่าเป็นหะดีษหะซัน”40
ด้ว ยเหตุน นี้ ท่านฮัมบัล ได้ร ายงานคําพูดจากท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล เช่น กัน ว่า
                                                         41
อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [            ] “เขานั้นหะดีษดี”
   ท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ นั้น [                                                      ]
“หะดีษของเขาถูกบันทึก แต่เขามีความผิดพลาด(เนื่องจากความจําไม่ด)ี ”42
    ท่านอิบนุค็อรร็อชและท่านอัมรฺ บิน อะลีย์ กล่าวว่า [
                  ] “อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีความฎ่ออีฟอยู่ คือ เขาเป็นผู้ที่สัจ
จริง(ไม่ถูกกล่าวหาโกหก)แต่ความจําไม่ด”43
                                      ี
39
   อัซซะฮะบีย,์ อัลมูกิเซาะฮ์ ฟี อิลมิ มุศฏ่อลาหฺ อัลหะดีษ, หน้า82.
40
   อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 154, อธิบายเชิงอรรถโดย อัชชัยค์ อะบูฆุดดะฮ์.
41
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49.
42
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49-50.
43
   เรื่องเดียวกัน.
กุนูตศุบหฺ                                                                                  19


   ท่านอะบูซุรอะฮ์ กล่าวถึงอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ว่า [                             ] “เขาเป็น
อาจารย์ทคลุมเครือมาก (หมายถึงผิดพลาดเนื่องจากความจํา)”44
        ี่
     ท่านอะบู ซะก่ารียา อัซซาญีย์ กล่าวว่า [                           ] “เขาเป็นคนพูดจริง
(ไม่ถูกกล่าวหาโกหก) แต่เขาไม่ประณีต(ในด้านความจํา)”45
   ท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า [                                          ] “เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้
โดยเขาผิดพลาดในสิ่งที่รายงานจากมุฆีเราะฮ์”46
    ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า [
           ] “เขาเป็นคนพูดสัจจริง(ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าโกหก) แต่ความจําไม่ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรายงานจากมุฆีเราะฮ์ และ(อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์) เป็นผู้
อาวุโสจากนักรายงานระดับรุ่นที่เจ็ด”47
     ดังนั้นการตําหนิวิจารณ์ของบรรดาปราชญ์ดังกล่าวที่มีต่อท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอ
ซีย์เกี่ยวกับเรื่องความจําไม่ดีพร้อมกับมีปราชญ์ส่วนมากให้ความเชื่อถือด้วยนั้น ถือ
ว่าเป็นการตําหนิที่ยังคลุมเครือ [           ]
     ท่านอัลลักนาวีย์ กล่าวว่า
                                                                         :




44
   เรื่องเดียวกัน.
45
   เรื่องเดียวกัน.
46
   เรื่องเดียวกัน.
47
   อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 1, หน้า 629.
20                                                                           เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


       “สิ่งหนึ่งจากการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือ คือคํากล่าวของพวกเขาที่ว่า คน
       หนึ่งมีความจําไม่ดี และเขาไม่ใช่นักจําหะดีษ ถือว่ามิใช่เป็นการตําหนิอย่าง
       สิ้นเชิง แต่ให้มองที่สภาพของผู้รายงานหะดีษและตัวบทหะดีษ”48
       แต่บทสรุปของปราชญ์นักตรวจสอบผูรายงานหะดีษที่มีต่ออะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์
                                                     ้
ก็ คื อ เชื่ อ ถื อ ได้ หะดี ษ ดี พู ด จริ ง ไม่ ถู ก กล่ า วหาโกหก แต่ มี ค วามจํ า ไม่ ดี ห รื อ มี
ข้อผิดพลาดโดยเฉพาะสายรายงานที่มาจากมุฆีเราะฮ์ แต่หะดีษกุนูตนี้ ท่านอะบูญะอฺ
ฟัร อั ร รอซี ย์ รายงานจากท่ านอัร ร่อ บีอฺ บิ น อะนัส และตัว บทหะดีษ กุนู ตก็ มิไ ด้
ขัดแย้งกับหะดีษที่ท่านนะบีย์กุนูตยามจําเป็นเพียงหนึ่งเดือนตามที่ได้ชี้แจงไปแล้ว
ข้างต้น
    ดังนั้น การวิจ ารณ์ท่านอะบูญะอฺฟัร อัร รอซีย์ นั้น เป็น การวิจ ารณ์ตําหนิที่ยัง
คลุมเครือและปราชญ์ส่วนใหญ่ให้การชมเชย เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมถือเอาการชมเชยอยู่
ก่อนการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือ ท่านอิมาม อะบูหะสะนาต อัลลักนาวีย์กล่าวว่า


                                                            .


       “ท่านอัล ฮาฟิซฺ อิบนุห ะญัร ได้เลือกเฟ้น ไว้ ในหนังสือ นุคบะตุล ฟิกัร และ
       หนังสือชัรหุนุคบะติลฟิกัรของท่านว่า แท้จริง การตําหนิวิจารณ์แบบสรุป
       และคลุมเครือนั้นจะถูกรับได้ในผู้ที่ปราศจากการชมเชย(แต่ท่านอะบูญะอฺฟัร
       อัรรอซีย์ได้รับการชมเชยมากกว่าการถูกวิจารณ์)...สําหรับผู้ที่ถูกได้รับความ


48
     อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 102.
กุนูตศุบหฺ                                                                    21


     เชื่อถือและถูกชมเชยนั้น การตําหนิวิจารณ์แบบสรุป(คลุมเครือ)จะยังไม่ถูก
     ตอบรับ”49
     ดังนั้นท่านอิมามอัลลักนาวีย์ ได้สรุปหลักการดังกล่าวไว้ว่า


     “หากพบในตัวผู้รายงานมีทั้งการชมเชยที่คลุมเครือและการตําหนิวิจารณ์ที่
     คลุมเครือ ก็ให้การชมเชยอยู่ก่อน”50
     และท่านได้กล่าวเช่นกันว่า


     “หากพบว่ามีการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือและมีการชมเชยที่ถูกชี้แจง ก็ให้
     การชมเชยอยู่ก่อน”51
    ดังนั้นสถานภาพของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จึงมิ ได้อยู่ ในกลุ่มที่ถูกตัดสิน
ว่าฎ่ออีฟ แต่อยู่ในระดับรองลงมา คือ “หะซัน” นั่นเอง วัลลอฮุอะลัม
   ท่านอิมามอิบนุอัศศ่อลาหฺ กล่าวถึงนักรายงานที่ความจําไม่ดีและไม่ปราณีตแต่
ปราชญ์บางส่วนก็ให้ความเชื่อถือ ความว่า
                                                     :




49
   เรื่องเดียวกัน, หน้า 110.
50
   เรื่องเดียวกัน, หน้า 120.
51
   เรื่องเดียวกัน.
22                                                                    เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


       “ท่านมุฮัมมัด บิน อัมรฺ บิน อัลก่อมะฮ์ เป็นผู้ที่เลื่องลือในเรื่องความสัจจริง
       (ไม่ถูกกล่าวหาว่าโกหก)และบริสุทธิ์จากสิ่งที่ทําให้เสื่อมเสีย แต่เขาเป็นผู้ที่ไม่
       มีความแม่นยํา จนกระทั่งปราชญ์หะดีษบางส่วนตัดสินฎ่ออีฟกับเขาใน
       ด้านของความจําไม่ดและปราชญ์หะดีษบางส่วนได้ให้ความเชื่อถือกับเขา
                            ี
       เนื่องจากมีความสัจจริงและมีเกียรติ ดังนั้นหะดีษของเขาจากด้านนี้ จึงเป็น
       หะดีษหะซัน”52
    ดังนั้นแม้ว่าท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จะมีความจําไม่ดีทางสายรายงานจากมุฆี
เราะฮ์ แต่ท่านได้รับการชมเชยจากปราชญ์ส่วนมากว่า เชื่อถือได้ เป็นผู้ที่พูดจริง ไม่
ถูกกล่าวหาว่าโกหก พราะฉะนั้นหะดีษของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์จากด้านนี้ จึง
เป็นหะดีษหะซัน อินชาอัลลอฮฺ

วิเคราะห์คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน
       กรณีคํากล่าวของท่านอิบนุฮิบบาน ที่มีต่อท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ที่ว่า




       “เขานั้นรายงานเพียงลําพังจากบรรดาผู้มีชื่อเสียงกับบรรดาหะดีษมุงกัร ซึ่ง
       ไม่ประทับใจแก่ฉันเลยการนําหะดีษหนึ่งมาอ้างเป็นหลักฐานนอกจากหะดีษ
       ที่สอดคล้องกับบรรดาผู้ที่เชื่อถือได้”53
     คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบานนั้น มิใช่บ่งชี้ว่าท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ เป็น
นัก รายงานที่ ฎ่ อ อีฟ เสมอไป และไม่ ทํ า ให้ ห ะดี ษ ของท่ า นอะบูญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์
52
     มุก็อดดิมะฮ์ อิบนิ อัศศ่อลาหฺ, เล่ม 1, หน้า 5.
53
     อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50.
กุนูตศุบหฺ                                                                              23


ต้องฎ่ออีฟ เพราะมีนักรายงานหะดีษมากมายที่รายงานหะดีษมุงกัร แต่เขาก็ยังเป็นผู้
ได้รับความเชื่อถือ
       ท่านอัสสะค่อวีย์ ได้กล่าวว่า




       “ท่านอัลฮากิม ได้กล่าวว่า ฉันได้กล่าวกับท่านอัดดารุกุฏนีย์ว่า แล้วสุไลมาน
       บิน บินติชุเราะห์บีลล่ะ? ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์กล่าวว่า เขานั้นเชื่อถือได้ ฉันจึง
       กล่าวว่า ณ ที่เขามีบรรดาหะดีษมุงกัรมิใช่หรือ? ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์ตอบว่า
       เขาได้เล่ารายงานบรรดาหะดีษมุงกัรจากกลุ่มนักรายงานที่ฎ่ออีฟ แต่สําหรับ
       ตัวเขานั้น เชื่อถือได้”54
       ดังนั้นนักรายงานที่รายงานบรรดาหะดีษมุงกัร ก็มิได้หมายความว่าเขาจะเป็นผู้
ที่เชื่อถือไม่ได้ ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า


                “มิใช่ทุกคนที่รายงานบรรดาหะดีษมุงกัร จะถูกตัดสินฎ่ออีฟ”55
ท่านอิมามอัสสุยูฏีย์ กล่าวว่า




54
     อัสสะคอวีย,์ ฟัตหุลมุฆีษ, เล่ม 1, หน้า 373.
55
     อัซซะฮะบีย,์ มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 1, หน้า 259.
24                                                               เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


       “ความจริงการมุงกัรหะดีษนั้น หวนกลับไปยังการรายงานเพีย งลําพังคน
       เดีย ว และการรายงานเพีย งลําพังคนเดีย วนั้น ก็ ไม่จําเป็น ว่าตัว บทหะดี ษ
       จะต้องฎ่ออีฟ”56
   ดังนั้นการที่ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ได้รายงานเพียงลําพังคนเดียวจึงเป็นที่
ตอบรับได้
       และท่านอิบนุฮิบบาน ได้กล่าวถึงท่าน อัรร่อบีอฺ บิน อะนัส เช่นกันว่า




       “ผู้คนทั้งหลาย(หมายถึงปราชญ์)ระวังจากหะดีษของเขา(คือของท่านอัรร่อ
       บีอฺ บิน อะนัส) ที่เป็นหะดีษรายงานจากอะบีญะอฺฟัร (อัรรอซีย์) จากท่านอัร
       ร่อบีอฺ บิน อะนัส เพราะว่าในบรรดาหะดีษของอะบูญะอฺฟัร จากท่านอัรร่อ
       บีอฺนั้น สับสนเป็นอย่างมาก”57
     ความเป็นจริงแล้ว คํากล่าวของท่านอิบนุฮิบบานนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับและเป็น
ความเห็นเพียงลําพังของท่านโดยไม่มีหลักฐานมาชี้แจงยืนยัน แต่ในทางตรงกันข้าม
บรรดานักปราชญ์หะดีษที่เป็นนักตัฟซีรได้นําสายรายงานของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอ
ซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส มารายงานไว้ในตัฟซีรของพวกเขา เช่น ตัฟซีรอิบ
นุอะบีฮาติม, ตัฟซีรอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์, ตัฟซีรอิบนุกะษีร เป็นต้น ปราชญ์ตัฟ
ซีรเหล่านั้นเป็นปราชญ์หะดีษ ดังนั้นคําพูดของท่านอิบนุฮิบบาน จึงมีทัศนะส่วนตัวที่
ไม่มีหลักฐานมายืนยัน

56
     อัสสุยูฏีย,์ อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา, เล่ม 2, หน้า 210.
57
     อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 3, หน้า 207.
กุนูตศุบหฺ                                                                                           25


    ดังนั้นผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่างนักปราชญ์หะดีษที่รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร
อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส ดังนี้
    ท่านคอลิด บิน ยะซีด อัลอุมะรีย์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จาก
ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส58
    ท่านอิสหาก บิน สุไลมาน อัรรอซีย์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จาก
ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส59
    ท่านญะอฺฟัร บิน เอาน์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ
บิน อะนัส60
     ท่านอุบัยดิลลาฮฺ บิน มูซา ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อ
บีอฺ บิน อะนัส61
    ท่านหักกาม บิน สัล ม์ อัร รอซีย์ ได้ร ายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร รอซีย์ จาก
ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส62
    ท่านมุฮัมมัด บิน ซาบิก ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ
บิน อะนัส63


58
   อัลฮากิม, อัลมุสตัดร็อก, หะดีษเลขที่ 2535, เล่ม 2, หน้า 124.
59
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 2998, เล่ม 2, หน้า 277.
60
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3091, เล่ม 2, หน้า 303.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ
ท่านอัลฮากิม.
61
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3412, เล่ม 2, หน้า 405.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ
ท่านอัลฮากิม.
62
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3655, เล่ม 2, หน้า 597.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ
ท่านอัลฮากิม.
26                                                                                เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


    ท่านอิบรอฮีม บิน สุไลมาน ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัร
ร่อบีอฺ บิน อะนัส64
    และยังมีนักรายงานอีกหลายท่านได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จาก
ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส เพื่อยืนยันว่ามีนักรายงานหะดีษหลายท่านได้รายงานหะดีษ
จากท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส
    นอกเหนือจากนั้นท่านอิบนุฮิบบาน ถูกนับว่าเป็นนักวิเคราะห์ผู้รายงานที่เลยเถิด
จนเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตําหนิวิจารณ์นักรายงานเพียงลําพังคนเดียวของ
ท่านอิบนุฮิบบาน
   ท่านอิมามอัลลักนาวีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับปราชญ์นักวิจารณ์ผู้รายงานที่ถูกปฏิเสธ
และเลยเถิดในการวิจารณ์โดยเพียงลําพัง ความว่า




     “ส่วนหนึ่งจากพวกเขา(คือผู้ที่เกินเลยจนเกินไปในการตําหนิวิจารณ์) คือ
     ท่านอะบูฮาติม ท่านอัน นะซาอีย์ ท่านอิบ นุมะอีน ท่านอิบนุอัล ก็อฏฏอน
     ท่านยะห์ยา อัลก็อฏฏอน ท่านอิบนุฮิบบาน และท่านอื่นๆ ซึ่งพวกเขาเป็นที่รู้
     กันว่าเลยเถิดหรือเกินเลยในการตําหนิวิจารณ์ ดังนั้นผู้มีสติปัญญาจงพิสูจน์


63
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3987, เล่ม 2, หน้า 589.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ
ท่านอัลฮากิม.
64
   เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 7668, เล่ม 4, หน้า 289. ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ
ท่านอัลฮากิม.
กุนูตศุบหฺ                                                                                         27


      ให้รอบครอบกับบรรดานักรายงานที่พวกเขาได้ตําหนิวิจารณ์เพียงลําพัง และ
      จงวิเคราะห์ใคร่ควรการตําหนิวิจารณ์ของพวกเขาให้ด”65
                                                     ี
      ท่านอัซซะฮะบีย์และอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า


      “ท่านอิบนุฮิบบานนั้น บางครั้งเขาทําการตําหนิวิจารณ์นักรายงานที่เชื่อถือ
      ได้จนกระทั่งเสมือนว่าเขาไม่รว่าสิ่งใดที่ออกมาจากศีรษะของเขา”66
                                  ู้
      ดังนั้นท่านอิบนุอะดีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธนัยยะการวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน
ว่า




      “ท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีบรรดาหะดีษที่ดี และเที่ยงตรง(ถูกต้อง) ที่
      เขาได้รายงานมันไว้ และบรรดานักหะดีษก็ได้รายงานจากเขา และบรรดาหะ
      ดีษทั่วไปของเขานั้น เที่ยงตรง(ถูกต้อง) และฉันหวังว่า เขานั้นไม่เป็นไร”67
    ส่วนท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส [            ] นั้น ท่านอิบนุอะบีฮาติม กล่าวว่า
ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า “อัรร่อบีอฺ บิน อะนัส [       ] “เป็นคนพูดจริง(ไม่ถูก
กล่าวหาว่าโกหก)”68 ท่านอิจญ์ลีย์ กล่าวว่า “รอเบี๊ยะอฺ บิน อะนัส นั้นเป็นชาวบัศ

65
   อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 102.
66
     อัซซะฮะบีย์, มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 1, หน้า 274. อิบนุหะญัร, อัลเกาลุลมุซัดดัด ฟี อัซซิบบฺ อัน มุ
สนัดอะหฺมัด, หน้า 31.
67
   อิบนุอะดีย,์ อัลกามิล, เล่ม 5, หน้า 255.
68
   อิบนุอะบีฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะอฺดีล, เล่ม 3,หน้า 454.
28                                                                                เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


เราะฮ์ [ ] “เชื่อถือได้”69 และท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า [       ] “อัรร่อบีอฺ บิน
อะนัสนั้นไม่เป็นไร” และท่านอะบูซุรอะฮ์กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัรอัรรอซีย์นั้น [
                              70
  ] พูดจริงอีกทั้งเชื่อถือได้”
    ดังนั้นท่านอัรรอบีอฺ บิน อะนัส อยู่ในระดับหะดีษศ่อฮีหฺหรือระดับหะซันตามที่
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้ตัดสินไว้

วิเคราะห์คํากล่าวของท่านอิบนุหะญัร
    ส่วนคํากล่าวของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ในหนังสืออัตตัลคีศ
อัลหะบีร ของท่านที่ว่า


     “บรรดาหะดีษ(กุนูต)จากท่านอะนัสได้มีการขัดแย้งกันและสับสน ดังนั้นด้วย
     เฉกเช่นนี้ จึงไม่สามารถนํามาเป็นหลักฐานได้”71
    คํากล่าวของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัรนี้ เป็นการอิจญฺติฮาด(วินิจฉัย)เกี่ยวกับ
ตัดสินหะดีษของท่านในช่วงแรก แต่หลังจากนั้น ท่านได้อิจญฺติฮาดใหม่ไว้ในหนังสือ
ฟัตหุลบารีย์เกี่ยวกับการรวมประสานหะดีษ ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า การรวมประสานหะ
ดีษจะทําให้ความขัดแย้งหรือความสับสนของหะดีษหมดไป ดังนั้นท่านอัลฮาฟิซฺ อิบ
นุหะญัร ก็ได้วินิจฉัยและรวมประสานเกี่ยวกับหะดีษกุนูตที่รายงานจากท่านอะนัสไว้
ในหนังสือฟัตหุลบารีย์ของท่านว่า


69
   อัลอัจญฺลีย,์ มะอฺริฟะฮ์ อัษษิก็อต, เล่ม 1, หน้า 350.
70
   อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 3, หน้า 207.และอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 418.
71
   อิบนุหะญัร, อัตตัลคีศ อัลหะบีร, เล่ม 1, หน้า 600.
กุนูตศุบหฺ                                                                                   29




                                                                      .


       “สิ่งที่ถูกประมวลจากหะดีษที่มาจากท่านอะนัสจาก(เรื่องกุนูต)ดังกล่าว คือ
       กุนูตในยามจําเป็นนั้นทําหลังรุกูอฺ โดยไม่มีการขัดแย้งกันในสิ่งดังกล่าว และ
       สํา หรับกุนูต ที่ ไ ม่ ไ ด้อยู่ ใ นยามที่จํา เป็น (ยามปกติ) ที่ศ่อฮีหฺจ ากท่า น
       อะนัสนั้น คือกุนูตก่อนจากรุกูอฺ และแท้จริงการปฏิบัติของศ่อฮาบะฮ์ในสิ่ง
       ดังกล่าว(คือกุนูตในยามปกตินั้นก่อนหรือหลังรุกูอ)ฺ ได้มีความเห็นต่างกันและ
       ที่ชัดเจนแล้วมันเป็นความเห็นต่างที่อนุญาต (มุบาหฺ) ให้เกิดขึ้นได้”72
   ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวตัดสินหะดีษกุนูตจากท่านอะนัส ไว้ในหนังสือ
นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ ว่า


       “หะดี ษ นี้ เป็ น หะดี ษ หะซั น (หะดี ษ ที่ดี ) ซึ่ ง ได้ นํ า เสนอรายงานโดยท่ า น
       อะหฺมัด จากท่านอับดุรร็อซซ้าก จากท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย”73          ์
หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ประพันธ์เสร็จสิ้นในปี ฮ.ศ. 820 ส่วนหนังสือ นะตาอิจญฺ
อัลอัฟาการ เสร็จสิ้นประมาณปี ฮ.ศ. 837 ซึ่งชัดเจนว่าท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้
เปลี่ ย นการวิ นิ จ ฉั ย ในการตั ด สิ น หะดี ษ กุ นู ต ศุ บ หฺ จ ากท่ า นอะนั ส นั้ น เป็ น หะดี ษ
“หะซัน”


72
     ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 2, หน้า 291.
73
     นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ, เล่ม 2, หน้า 136.
30                                                                               เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์


หลักฐานถ้อยคําดุอาอ์กุนูต
     ถ้อยคําดุอาอ์กุนูตนั้น มีสายรายงานระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า


                                                                                   :
                                             :                              :
     “ได้เล่าให้เราทราบโดย อะบูมูซา ได้เล่าให้เราทราบโดย มุฮัมมัด บิน ญะอฺ
     ฟัร ได้เล่าให้เราทราบโดย ชุอฺบะฮ์ จากท่านบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม จาก
     ท่านอะบี อัลเฮาวาอฺ เขาได้กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอัลหะซัน บุตร อะลีย์ ว่า
     อะไรบ้างที่ท่านจดจําได้จากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
     ดังนั้นท่านอัลหะซันจึงตอบว่า ท่านร่อซุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
     ได้สอนแก่เราเกี่ยวกับดุอาอ์นี้ คือ อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...”74
    แต่หะดีษสายรายงานนี้มิได้ระบุเจาะจงว่า ถ้อยคําดุอาอ์ดังกล่าว เป็นดุอาอ์กุนูต
และไม่ได้เจาะจงว่าเป็นดุอาอ์กุนูตศุบหฺหรือกุนูตวิติร ท่านอัลบัยฮะกีย์ กล่าวรายงาน
ว่า


                            :
                                        :

74
   รายงานโดยอิบนุคุซัยมะฮ์, ศ่อฮีหฺอิบนิคุซัยมะฮ์, หะดีษเลขที่ 1096, เล่ม 2, หน้า 152. และท่านอัดดาริมีย์,
สุนัน อัดดาริมีย,์ หะดีษเลขที,่ 1591, เล่ม 1, หน้า 451. หะดีษนีศ่อฮีห.ฺ
                                                               ้
กุนูตศุบหฺ                                                                         31




       “เล่า ให้เราทราบโดยอุบัยดุล ลอฮฺ บิน มูซา เล่า ให้เราทราบโดยอิส รออีล
       จากอะบีอิสหาก จากบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม จากอะบี อัลเฮารออฺ จากท่าน
       หะซันหรือท่านหุซัยน์ บิน อะลีย์ เขาได้กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอ
       ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนฉัน ซึ่งบรรดาถ้อยคํา(ดุอาอ์)ที่ฉันจะกล่าวมันใน
       กุนูต คือ “อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...(จนจบ).”75
     หะดีษบทนี้ ระบุว่าถ้อยคําดุอาอ์ “อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า” เป็นดุอาอ์
กุนูต โดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็นดุอาอ์กุนูตศุบหฺหรือวิติร แต่หะดีษนี้ฎ่ออีฟเนื่องจาก
มีท่านอะบีอิสหาก อัสสุบัยอีย์ ซึ่งท่านเป็นนักรายงานประเภท [ ] “ปิดบังครู
ผู้รายงาน” โดยรายงานด้วยการใช้ถ้อยคําว่า [ ] “จาก....(คนนั้นคนนี้)...” เป็นต้น
นอกจากท่านอะบีอิสหาก ได้รายงานด้วยถ้อยคําชัดเจนว่า [             ] “ฉันได้ยิน...(คน
นั้นคนนี้)กล่าวว่า...” หรือ [    ] “เล่าให้ฉันทราบ(โดยคนนั้นคนนี้)ว่า...” หะดีษ
ของเขาก็จะเป็นที่ถูกตอบรับ แต่ในสายรายงานนี้ไม่ได้ระบุถ้อยคํารายงานที่ชัดเจน
ดังกล่าว ฉะนั้นหะดีษนี้จึง “ฎ่ออีฟ”
    แต่ ยั งมี ส ายรายงานที่ ศ่อ ฮี หฺห รื อหะซั น มาตอกย้ํา ถึ งความถู กต้ อ งของหะดี ษ
ข้างต้นโดยรายงานจากท่าน ยูนุส บิน อะบีอิสหาก จากท่านบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม
ว่าท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านดุอาอ์กุนูตด้วยถ้อยคํา “อัลฮุม
มะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...” ในละหมาดวิติรและละหมาดศุบหฺซึ่งเป็นสายรายงานที่

75
     อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2ม หน้า 428.
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ
กุนูตศุบหฺ

More Related Content

Similar to กุนูตศุบหฺ

รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
Om Muktar
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษMuttakeen Che-leah
 
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
Om Muktar
 
Th faisal siyam_makna_hukum_fadail
Th faisal siyam_makna_hukum_fadailTh faisal siyam_makna_hukum_fadail
Th faisal siyam_makna_hukum_fadail
Loveofpeople
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมWarakorn Pradabyat
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชKumobarick Achiroki
 
หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
Muttakeen Che-leah
 
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
Islamic Invitation
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงMuttakeen Che-leah
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูJani Kp
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
Loveofpeople
 
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษแนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษMuttakeen Che-leah
 

Similar to กุนูตศุบหฺ (15)

รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษ
 
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
เข้าเดือน ออกอีด (ภาษาไทย)
 
Pramote tarorveah
Pramote tarorveahPramote tarorveah
Pramote tarorveah
 
Th faisal siyam_makna_hukum_fadail
Th faisal siyam_makna_hukum_fadailTh faisal siyam_makna_hukum_fadail
Th faisal siyam_makna_hukum_fadail
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
 
หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
 
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ  คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
 
รับน้อง
รับน้องรับน้อง
รับน้อง
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
งานสังคม
งานสังคมงานสังคม
งานสังคม
 
Th asman ramadhan
Th asman ramadhanTh asman ramadhan
Th asman ramadhan
 
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษแนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
 

กุนูตศุบหฺ

  • 1. เอกสารเผยแผ่ กุนูตศุบหฺ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย อ. อาริฟีน แสงวิมาน (สถาบันอัลกุดวะฮ์) สิงหาคม 2555
  • 2.
  • 3. กุนูตศุบหฺ 1 สารบัญ คํานํา ....................................................................................................................... 2 คํานิยามกุนูต ........................................................................................................... 4 หลักฐานกุนูตศุบหฺ ................................................................................................... 4 วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ................................................................................... 14 ปราชญ์ที่ให้การชมเชยและรับรองความเชื่อถืออะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์.................... 15 วิเคราะห์คํากล่าวของบรรดาปราชญ์ที่ทําการวิจารณ์ ............................................ 17 วิเคราะห์คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน............................................................... 22 วิเคราะห์คํากล่าวของท่านอิบนุหะญัร ................................................................... 28 หลักฐานถ้อยคําดุอาอ์กุนูต .................................................................................... 30 ถ้อยคํากุนูตศุบหฺและความหมาย ........................................................................... 34 บรรดาหะดีษที่ปฏิเสธเรื่องกุนูตและบทวิเคราะห์ ................................................... 36 บทส่งท้าย ............................................................................................................. 42
  • 4. 2 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ คํานํา เป้าหมายในการเขีย นเรื่องกุนูตศุบ หฺนี้ เพื่อยืน ยัน ว่าผู้ที่ทํากุนูตศุบหฺก็มีการ หลักฐานตามทัศนะของพวกเขา โดยมิได้อุตริกรรมแต่อย่างใด และเป็นการนําเสนอ หลักฐานเพื่อยืนยันว่ากุนูตศุบหฺตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์และอิมามาลิกนั้น เป็นแค่เรื่องสุนัตไม่ใช่หะรอมหรือวาญิบแต่ประการใด อนึ่ง เรื่องกุนูตศุบหฺนน ปราชญ์สะละฟุศศอลิห์ได้มีความเห็นที่ต่างกัน มัซฮับอิ ั้ มามอะบู ห ะนี ฟ ะฮ์ แ ละมั ซ ฮั บ อิ ม ามอะหฺ มั ด บิ น ฮั ม บั ล มี ทั ศ นะว่ า ไม่ กุ นู ต ศุ บ หฺ ส่ ว นมั ซ ฮั บ อิ ม ามมาลิ ก และมั ซ ฮั บ อิ ม ามอั ช ชาฟิ อี ย์ นั้ น มี ทั ศ นะให้ กุ นู ต ศุ บ หฺ แต่มัซฮับอิมามมาลิกนั้นกุนูตศุบหฺก่อนรุกูอฺ ส่วนมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์กุนูตหลังเงย ศีรษะขึ้นมาจากรุกูอฺ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่อนุญาตให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนําเสนอหลักฐานกุนูตศุบหฺของมัซฮับของท่านอิมามมาลิก และอิ ม ามอั ช ชาฟิ อี ย์ แ บบสรุ ป เพื่อ ไม่ ใ ห้ยื ด ยาวจนน่ า เบื่อ และไม่ ใ ห้ สั้ น จนทํ า ให้ บกพร่อ ง เพื่ อให้ท่า นผู้อ่านที่กุนูตศุ บ หฺ ได้ ป ฏิบัติอิ บ าดะฮ์ ด้ว ยจิต ใจที่ส งบมั่น คง พร้อมกับผู้เขียนให้เกียรติมัซฮับของอิมามอะบูหะนีฟะฮ์และมัซฮับอิมามอะหฺมัด ซึ่ง มีหลักฐานไม่น้อยเลยในการนํามาวินิจฉัยเพื่อยืนยันทัศนะที่ไม่กุนูตศุบหฺ เพื่อตาม แบบฉบับ อัน มีคุณธรรมของสะละฟุศศอลิห์เกี่ย วกับ ประเด็น ข้อปลีกย่อยที่มีการ ขัดแย้งกัน ท่านอะบูนุอัยม์ รายงานถึง ท่านอิมามซุฟยาน อัษเษารีย์ ท่านกล่าวว่า
  • 5. กุนูตศุบหฺ 3 “เมื่อท่านเห็นบุรุษท่านหนึ่งได้ปฏิบัติอะมัลหนึ่งที่นักปราชญ์ฟิกห์มีความเห็น แตกต่างกัน และท่านก็มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น ท่านจงอย่าไปห้ามเขา”1 บ่าวผู้ต่ําต้อย อาริฟีน แสงวิมาน สถาบันอัลกุดวะฮ์ 1 อะบูนุอัยม์, หิลยะตุล เอาลิยาอฺ, เล่ม 6, หน้า 367.
  • 6. 4 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ คํานิยามกุนูต กุนูต ตามหลักภาษาอาหรับ หมายถึง “การฏออัตภักดี, การทําอิบาดะฮ์, การ ภักดีอย่างสม่ําเสมอ, การละหมาด, การยืนนาน, การขอดุอาอ์, การนอบน้อม, การ หยุดนิ่ง เป็นต้น”2 สําหรับ กุนู ต ตามหลั กวิช าการ หมายถึง “ชื่ อหนึ่งของดุอาอ์ ใ นละหมาดที่ เจาะจงกระทําในขณะยืน”3 หลักฐานกุนูตศุบหฺ ท่านมุสลิม ได้รายงานว่า “จากท่านอะนัส ความว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัย ฮิ วะซัลลัม ได้ดุอาอ์กุนูตสาปแช่งกลุ่มชนอาหรับ(มุชริกีน)หนึ่งเดือน หลังจาก นั้น ท่านก็ได้ทิ้งมัน”4 ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานว่า : 2 อะบูบักร อิบนุอัลอะร่อบีย,์ อาริเฎาะฮ์ อัลอะห์วะซีย์ บิชัรห์ ศ่อฮิห์ อัตติรมีซีย,์ เล่ม 2, หน้า 178-179. 3 อิบนุอัลลาน, อัลฟุตูหาต อัรร็อบบานียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 286. 4 รายงานโดยมุสลิม, หะดีษเลขที่ 677.
  • 7. กุนูตศุบหฺ 5 “...ได้ เล่ า ให้เ ราทราบโดยอะบูญ ะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จากท่า นอั ร ร่ อ บีอฺ บิ น อะนั ส จากท่ า นอะนั ส ร่ อ ฎิ ยั ล ลอฮุ อั น ฮุ ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือนโดยขอดุอาอ์สาปแช่ง พวกเขาหลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน แต่สําหรับในละหมาดศุบหฺนั้นท่านนะ บีย์ยังคงกุนูตจนกระทั่งจากโลกดุนยา”5 ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า . : 1 : “...จากท่านอับดุร เราะห์มาน บิน มะฮ์ดีย์ ในหะดีษของท่านอะนัส ที่ว่า ท่านร่อซูลุล ลอฮฺ ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือน หลังจากนั้น ท่านได้ทิ้งมัน” นั้น ท่านอับดุรเราะห์มาน ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ ละทิ้ง(กุนูต)การสาปแช่งเท่านั้น”6 สายรายงานนี้บ่งชี้ว่า ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ มิได้รายงานขัดกับหะดีษที่ บอกว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิว ะซัล ลัม ได้กุนูต ในยามจําเป็น หรือมีภัย บะลาอฺ เพราะท่านนะบีย์ได้ทําการดุอาอ์กุนูตในยามจําเป็นหรือมีภัยบะลาอฺหนึ่ง 5 รายงานหะดิษนี้ โดยอิมามอะหฺมัด ไว้ในมุสนัด, เล่ม 3, หน้า 162, ดู อัลฟัตหฺ อัรร๊อบบานีย์ เล่ม 3 หน้า 302, และได้รายงานโดยท่าน อัลบัรซฺาซ โดยที่ อัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์ ได้กล่าวไว้ใน มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด, เล่ม 2 หน้า 139 ว่า บรรดานักรายงานหะดิษนี้ ได้รับความเชื่อถือได้, และท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานไว้ใน อัสสุนัน อัล กุบรอ ของท่าน เล่ม 2 หน้า 418 และทําการถ่ายทอดการซอเฮี๊ยะหฺของท่านอัลฮากิม และท่านอัลบัยฮะกีย์ก็ ยอมรับในการยืนยันถึงความซอเฮี๊ยะห์, และท่านอัรดารุกุตนีย์ ได้รายงานไว้ใน สุนัน ของท่าน เล่ม 2 หน้า 39, และท่านอับดุล อัรร๊อซซาก ได้รายงานใน อัลมุศ็อนนัฟ ของท่าน เล่ม 3 หน้า 110, และอิบนุอะบีชัยบะฮฺ กล่าว ไว้ใน อัลมุศ็อนนัฟ เล่ม 2 หน้า 312, และท่านอัลบุฆอวีย์ ได้รายงานใน ชัรหฺ อัสสุนนะฮฺ เล่มที่ 3 หน้า 124. 6 อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนันอัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 417. สายรายงานนี้ ศ่อฮีห.ฺ
  • 8. 6 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ เดือน หลังจากนั้น ท่านก็ทิ้งกุนูตยามจําเป็น นั้น แต่กุนูตปกติท่านนะบีย์มิได้ทิ้ง จนกระทั่งจากโลกนี้ไป ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า , “หะดีษกุนูตที่รายงายโดยอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นี้ เป็นหะดีษที่ศ่อฮีหฺ ซึ่งได้ รายงานโดยนักหะดีษกลุ่มหนึ่ง และพวกเขาถือว่าเป็นหะดีษศ่อฮีหฺ และส่วน หนึ่งจากผู้ระบุถึงความศ่อฮีหฺของหะดีษนี้นั้น อาธิเช่น อัลฮาฟิซฺ อะบูอับดิล ลาฮฺ มุฮัมมัด บิน อลี อัลบัลคีย์, ท่านอัลฮากิม ที่ระบุไว้ในตําราต่างๆ ของ ท่าน, ท่านอัลบัยฮะกีย์ และได้รายงานโดยท่าน อัดดาร่อกุฏนีย์ จากหลาย สายรายงานซึ่งเป็นสายรายงานทีศ่อฮีห”7 ่ ฺ ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวตัดสินหะดีษบทนี้ว่า “หะดีษนี้ เป็นหะดีษหะซัน(หะดีษที่ดีหรือสวยงาม) ซึ่งได้นําเสนอรายงาน โดยท่านอะหฺมัด จากท่านอับดุรร็อซซ้าก จากท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย”8 ์ 7 ดู อันนะวาวีย,์ อัลมัจญฺมูอ,ฺ เล่ม 3, หน้า 504. 8 นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ, เล่ม 2, หน้า 136. หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ประพันธ์เสร็จสิ้นปี ฮ.ศ. 820 ส่วน หนังสือ นะตาอิจญฺ อัลอัฟาการ ประพันธ์เสร็จสิ้นประมาณปี ฮ.ศ. 837
  • 9. กุนูตศุบหฺ 7 คําตัดสินของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร นี้ ผู้เขียนมีความเห็นพ้องและถือว่าเป็น การตัดสินหะดีษที่มีน้ําหนักมากที่สุด ตามหลักพิจารณาหะดีษที่จะนําเสนอชี้แจง ต่อไป อินชาอัลลอฮฺ และหะดีษบทนี้ยังมีตัวบทหะดีษของท่านอัลบุคอรีย์ที่มาสนับสนุนให้มีน้ําหนัก มากยิ่งขึ้นว่าท่านนะบีย์ได้กุนูตเป็นประจําด้วย ซึ่งท่านอัลบุคอรีย์ได้รายงานว่า “ได้เล่าให้เราทราบโดยมุซัดดัด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลวา หิด บิน ซิยาด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอาซิม เขาได้กล่าวว่า ฉันได้ ถามท่านอะนัส บิน มาลิก จากเรื่องอัลกุนูต9 ท่านอะนัสกล่าวว่า กุนูตนั้นมี ฉันถามว่า (กุนูต)ก่อนรุกูอหรือหลังรุกูอฺ ท่านอะนัสตอบว่า ก่อนรุกูอฺ (อาซิม) ฺ ได้กล่าวว่า แท้จริงมีคนหนึ่งบอกฉันว่า ท่านนั้นได้เคยกล่าวว่า(กุนูต)นั้นมี หลังรุกูอฺ ท่านอะนัสจึงกล่าวว่า “เขาโกหกแล้ว” เพราะท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตหลังรุกูอฺเป็นเวลาหนึ่งเดือน ฉันเห็น 9 คําว่า [ ] “อัลกุนูต”หมายถึง กุนูตอันเป็นที่รู้กันดีตามหลักวิชาการ ก็คือ การอ่านดุอาอ์กุนูต เพราะ อะลีฟ และลาม [ ] ของคําว่า “อัลกุนูต” นั้น ให้ความหมายว่า [ ] “เป็นที่รู้จักกันดี” คือการขอดุอาอ์.
  • 10. 8 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งศ่อฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งที่เป็น นักอ่านอัลกุรอานประมาณ 70 คน ไปยังพวกมุชริกีนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งระหว่าง พวกเขากับท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มีสนธิสัญญาต่อ กัน (เมื่อพวกเขาได้บิดพริ้วทําการสังหารบรรดานักอ่าน) ดังนั้นร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงอ่านดุอาอ์กุนูตสาปแช่งพวกเขาหนึ่งเดือน”10 หะดีษบทนี้บ่งชี้ว่ากุนูตมี 2 ประเภท คือ กุนูตเป็นประจํานั้นก่อนรุกูอฺ11 และ กุนูตเนื่องจากประสพภัยนั้นหลังรุกูอฺ ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าวอธิบายว่า . “สิ่งที่ถูกประมวลจากหะดีษที่มาจากท่านอะนัสจากสิ่งดังกล่าว(คือเรื่องกุนูต) คือ กุนูตในยามจําเป็น(ยามมีภัยพิบัติ)นั้น ทําหลังรุกูอฺ โดยไม่มีการขัดแย้ง กันในสิ่งดังกล่าว และสําหรับกุนูตที่ไม่ได้อยู่ในยามที่จําเป็น(ยามปกติ) ที่ศ่อฮีห์จากท่านอะนัสนั้น คือกุนูตก่อนจากรุกูอฺ และแท้จริงการปฏิบัติ ของศ่อฮาบะฮ์ในสิ่งดังกล่าว(คือกุนูตในยามปกติก่อนหรือหลังรุกูอฺนั้น) ได้มี 10 รายงานโดยอัลบุคอรีย,์ หะดีษเลขที,่ 3870, และมุสลิม, หะดีษเลขที,่ 677, ถ้อยคําหะดีษเป็นของอับุคอรีย.์ 11 กุนูตเป็นประจําก่อนรุกูอฺนั้น เป็นมัซฮับของอิมามมาลิก ส่วนกุนูตเป็นประจําหลังรุกูอฺ เป็นมัซฮับของอิ มามอัชชาฟิอีย์ ซึ่งแม้ทั้งสองมัซฮับจะมีเห็นต่างกันในด้านของการกุนูตก่อนหรือหลังรุกูอฺซึ่งเป็นสิ่งอนุญาต(มุ บาห์) เพราะการกุนูตศุบหฺก่อนนรุกูอฺเพื่อรอให้มะอฺมูมที่มาช้าทันรุกูอฺร็อกอะฮ์ที่สอง ส่วนกุนูตหลังรุกูอฺนั้นเพื่อให้ บรรดามะอฺมูมดุอาอ์กุนูตร่วมกัน แต่สิ่งที่สอดคล้องตรงกัน คือ มีการอ่านกุนูตประจําในละหมาดศุบหฺ นี่คือ เป้าหมายที่ต้องการอ้างอิง ดังนั้นท่านผู้อ่านอย่าสับสนในสิ่งดังกล่าว.
  • 11. กุนูตศุบหฺ 9 ความเห็นต่างกันและที่ชัดเจนแล้ว(การกุนูตก่อนหรือหลังรุกูอฺนั้น)มันเป็น ความเห็นต่างที่อนุญาต(มุบาหฺ)ให้มีได้”12 ท่านอัลบัซซาร ได้รายงานว่า “ได้เล่าให้เราทราบโดยมุฮัมมัด บิน อัลมุษันนา ได้เล่าให้เราทราบโดยยะห์ ยา บิ น อะบีบุ ก็อยร์ ได้เล่ า ให้ เราทราบโดยอะบู ญะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จาก ท่ า นอั ร ร่ อ บี อฺ จากท่ า นอะนั ส ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตจนกระทั่งเสียชีวิต ท่านอะบูบักรจนกระทั่ง เสียชีวิต และท่านอุมัรจนกระทั่งเสียชีวิต”13 ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า : : : : . 12 ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 2, หน้า 291. 13 อัลบัซซาร, มุสนัดอัลบัซซาร, เล่ม 2, หน้า 292.และอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์, มัจญฺมะอัซซะวาอิด, เล่ม 2, หน้า 139, และท่านอัลฮัยษะมีย์กล่าว หะดีษนี้มีนักรายงานที่ถูกได้รับความเชื่อถือ. หมายถึง เป็นหะดีษหะซัน(หะดีษ ที่ดีหรือสวยงาม).
  • 12. 10 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “ได้ เ ล่ า ให้ เ ราทราบโดย อั ล เอาวาม บิ น ฮั ม ซะฮ์ เขาได้ ก ล่ า วว่ า ฉั น ได้ ถามอะบูอุษมาน จากเรื่องกุนูต14ในละหมาดศุบหฺ เขาตอบว่า (กุนูตศุบหฺ นั้น)หลังรุกูอฺ ฉันจึงกล่าวถามว่า เอามาจากใคร? เขากล่าวว่า จากอะบูบักร อุมัร อุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม”15 ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า : “จากท่านอะบีอุษมาน อันนะฮ์ดีย์ เขากล่าวว่า ฉันได้ละหมาดตามหลังท่าน อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ถึง 6 ปี ปรากฏว่าท่านอุมัรอ่านกุนูตเสมอ”16 ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวรายงานว่า 14 คําว่า [ ] “อัลกุนูต” หมายถึง กุนูตอันเป็นที่รู้กันดีตามหลักวิชาการ ก็คือ การอ่านดุอาอ์กุนูต เพราะ อะ ลีฟและลาม [ ] ของคําว่า “อัลกุนูต” นั้น ให้ความหมายว่า [ ] “เป็นที่รู้จักกันดี” คือการขอดุอาอ์. 15 ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ มีสายรายงานที่หะซัน(ดี), ดู อัลบัยฮะกีย์, อัสสุนันอัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 419. ในสายรายงานนี้ มีท่าน อัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า “หะดีษของเขานั้นไม่มีสิ่งใด (รายงานมากมายนัก)” ท่านอะหฺมัดกล่าวว่า “เขานั้นมีหะดีมุงกัร(หะดีษที่รายงานเพียงลําพังคนเดียว)สามหะ ดีษ” ท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า “เขานั้น [ ] อ่อนไม่มาก” แต่ท่านอิสหาก บิน รอฮะวัยฮ์กล่าวว่า “เขานั้นเชื่อถือ ได้” ท่านอะบูซุรอะฮ์กล่าวว่า “เขาคือชัยค์ ดังนั้นท่านอะบูซุรอะฮ์ถูกถามว่า อย่างไรที่ท่านเห็นว่าหะดีษของอัล เอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ เที่ยงตรง ท่านอะบูซุรอะฮ์ตอบว่า ฉันไม่รู้อะไร(เกี่ยวกับเขา)นอกจากความดีงามเท่านั้น” ท่านอะบีดาวูดกล่าวว่า “ฉันไม่ทราบเลยว่าเขามีหะดีษมุงกัร” และอะบูดาวูดกล่าวเช่นกันว่า “เขานั้นเชื่อถือได้” ท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า “เขานั้นไม่เป็นไร” ท่านอิบนุอะดีย์กล่าวว่า “เขานั้นมีหะดีษน้อยและฉันหวังว่าเขานั้น ไม่เป็นไร” และท่านอิบนุฮิบบาน นํา ท่านอัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ ไปไว้ในหนังสือ บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้ (อัษษิก็อต). ดู ซิยิร อะลาม อันนุบะลาอฺ, เล่ม 6 หน้า 355. และอิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 8, หน้า 145. ดังนั้นท่านอัลเอาวาม บิน ฮัมซะฮ์ จึงเป็นนักรายงานที่อยู่ในระดับหะซันตามที่ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้ตัดสินไว้ วัลลอฮุอะลัม. 16 รายงานโดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 421. หะดีษนี้ศ่อฮีห.ฺ
  • 13. กุนูตศุบหฺ 11 “...รายงานจากท่าน อัลอัสวัด เขากล่าวว่า ฉันได้ละหมาดตามหลังท่านอุมัร ทั้งในยามเดินทางและไม่เดินทาง ซึ่งเป็นการละหมาดที่ฉันไม่สามารถจะนับ ได้ และท่านอุมัร ก็จะทําการกุนูตร็อกอะฮ์ที่สองในละหมาดศุบหฺและไม่ทํา กุนูตในละหมาดอื่นๆ ของท่าน”17 หะดีษบทนี้ บ่งชี้ว่าท่านอุมรทํากุนูตในละหมาดศุบหฺเป็นกิจวัตร ั ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า : . : . : : . : : . “จากอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ เขาได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอิบนุอะบียะอฺลา ได้ เล่าหะดีษจากท่านอัลบะรออฺ จากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านนะบีย์นั้นได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ ท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ได้กล่าวว่า 17 ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ ศ่อฮีหฺ, ดู อัซซะฮะบีย์, ตันกีหฺ อัตตะห์กีก ฟี อะหาดีษ อัตตะลีก, เล่ม 1, หน้า 243. และรายงานโดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 420.
  • 14. 12 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “แล้วฉันก็บอกสิ่งดังกล่าว18ให้แก่ท่านอิบรอฮีม(อันนะค่ออีย์)19ทราบ แล้ว ท่านอิบรอฮีมจึงกล่าวว่า “อิบนุอะบียะอฺลาไม่เคยเป็นเหมือนกับลูกศิษย์ของ ท่านอับดุลลอฮฺ(อิบนุมัสอูด)เลย เขาเป็นเพียงผู้ติดตามบรรดาผู้นํา” ดังนั้น ฉันจึงกลับไปทิ้งกุนูต แต่ชาวมัสยิดได้กล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ วันนี้ เรายังไม่เห็นสิ่งหนึ่ง(หมายถึงกุนูตศุบหฺ)ที่ไม่เคยหายไปจากมัสยิดของเรา เลย”20 ท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์จึงกล่าวว่า “ดังนั้น ฉันจึงกลับ ไปอ่านกุนูต (ศุบหฺ)อีก” จากนั้นเรื่องดังกล่าวได้ทราบถึงท่านอิบรอฮีม แล้วท่านอิบรอฮีม ก็ได้พบกับฉัน แล้วกล่าวว่า นี้คือผู้ที่พ่ายแพ้ต่อการละหมาดของเขา”21 ในสายรายงานที่ศ่อฮีหฺนี้ ยืนยันว่าการกุนูตในละหมาดศุบหฺมีการกระทําอย่าง ต่อเนื่อ งในบรรดามัส ยิดของสะละฟุ ศศอลิ ห์และกระทําสื บ ทอดมาจากรุ่ น ต่อรุ่ น ท่านอัลบัยอะกีย์ได้กล่าวต่อไปว่า : 18 คือบอกว่าอิบนุอะบียะอฺลานั้นได้พูดรายงานจากท่านอัลบะรออฺว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ. 19 ท่านอิบนุรอฮีม อันนะค่ออีย์ เป็นลูกศิษย์ของท่านอับอัลลอฮฺ อิบนุมัสอูด. 20 ชาวมัสยิดนั้น คือเหล่าบรรดาสะลัฟจากตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน. 21 โดยอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 422. สายรายนีศ่อฮีห.ฺ ้
  • 15. กุนูตศุบหฺ 13 “ท่ า นอาจารย์ ( คื อ ท่ า นอั ล ฮากิ ม )ได้ ก ล่ า วว่ า นี้ 22ไม่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ พ อใจจาก ท่านอิบรอฮีม (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาพวกเราและเขาด้วยเถิด) แต่ทุกวิชา ความรู้นั้นมิใช่มีอยู่ที่บรรดาสานุศิษย์ของท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอูดเท่านั้น และมิใช่หมายความว่าความรู้ที่อยู่ที่คนอื่น จะยึดถือไม่ได้ แต่สามารถเอา ความรู้มาได้เมื่อเขานั้นอยู่ในระดับสูงกว่าบรรดาสานุศิษย์ของท่านอับดุล ลอฮฺ อิบนุมัสอูด ทั้งที่ผู้รายงาน23นั้น [ ] “เชื่อถือได้” และท่านอิบนุอะบี ยะอฺลานั้นก็ [ ] “เชื่อถือได้” และท่านอัมร์ บิน มุรเราะฮ์ ก็ได้บอกเล่าจาก ชาวมัสยิดว่า แท้จริงกุนูตศุบหฺนั้นไม่เคยหายไปจากมัสยิดของพวกเรา”24 ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานว่า : “ได้เล่าให้เราทราบโดยซุฟยาน จากมุหาริบ จากดิษาร จากอุบยด์ บิน อัลบะ ั รออฺ จากท่ านอัล บะรอฺ ว่า แท้จ ริ ง เขา(คือ อัล บะรออฺ) ได้กุนู ต ในละมาด ศุบหฺ”25 ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า 22 คือคํารายงานของท่านอิบนุอะบียะอฺลาที่ได้พูดรายงานจากท่านอัลบะรออฺว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กุนูตในละหมาดศุบหฺ. 23 หมายถึงท่านอัมร์ บิน มุเราะฮ์ ที่เป็นผู้รายงานเกี่ยวกับท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กุนูตศุบหฺ. 24 อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 422-423. 25 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 2, หน้า 422.
  • 16. 14 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “มัซฮับของเรา(คือมัซฮับชาฟิอีย์) คือ สุนัตให้อ่านกุนูตในละหมาดศุบหฺ ไม่ ว่าจะมีภัยพิบัติหรือไม่ก็ตาม และชาวสะลัฟส่วนมากและกลุ่มบุคคลหลักจาก พวกเขา และบุค คลหลั งจากพวกเขา หรือมากมายจากพวกเขาได้ กล่า ว ตามนั้น และส่วนหนึ่งจากผู้ที่กล่าวตาม(แนวทางนี้) คือท่านอะบูบักร อัศศิด ดีก อุมัร อิบนุค๊อฏฏอบ อุษมาน อลี อิบนุอับบาส และอัลบะรออฺ บิน อาซิบ และได้รายงานจากพวกเขาโดยท่านอัลบัยฮะกีย์ ด้วยบรรดาสายรายงาน ที่ศ่อฮีหฺ และได้กล่าวด้วยกับมัน(แนวทางนี้) จากบรรดาตาบิอีนและบุคคล หลังจากพวกเขา และแนวทางนี้ก็คือมัซฮับของอิบนุอะบีลัยลา, อัลหะซัน บิน ศอลิห,ฺ อิมามมาลิก และดาวูด”26 วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ หะดี ษ กุ นู ต ศุ บ หฺ ที่ ผู้ มี ทั ศ นะว่ า กุ นู ต ศุ บ หฺ นํ า มาเป็ น หลั ก ฐานจากท่ า นนะบี ย์ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม คื อ สายรายงานที่ มี ท่ า นอะบู ญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์ ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานว่า 26 อันนะวาวีย,์ อัลมัจญฺมูอฺ ชัรหฺ อัลมุฮัซซับ, เล่ม 3, หน้า 336.
  • 17. กุนูตศุบหฺ 15 : “...ได้ เล่ า ให้เ ราทราบโดยอะบูญ ะอฺ ฟัร อัร รอซีย์ จากท่า นอั ร ร่ อ บีอฺ บิ น อะนั ส จากท่ า นอะนั ส ร่ อ ฎิ ยั ล ลอฮุ อั น ฮุ ความว่ า แท้ จ ริ ง ท่ า นนะบี ย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทําการกุนูตหนึ่งเดือนโดยขอดุอาอ์สาปแช่ง พวกเขาหลัง จากนั้ น ท่ านก็ล ะทิ้ งมั น แต่ สํา หรั บ ในละหมาดศุ บ หฺ นั้น ท่า น นะบีย์ยังคงกุนูตจนกระทั่งจากโลกดุนยา”27 หะดีษนี้ได้ถูกรายงานจากด้านของ อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส จากท่านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ นั้น มีชื่อว่า “อีซา บิน อะบีอีซา ฮามาน” บ้างก็ บอกว่า ชื่อ “อีซา บิน อะบีอีซา อับดุลลอฮฺ บิน ฮามาน” ท่านเป็นนักรายงานที่ ได้รับการชมเชยจากปราชญ์หะดีษส่วนมากแต่กถูกวิจารณ์ด้วย ็ ปราชญ์ที่ให้การชมเชยและรับรองความเชื่อถือ ท่านยะห์ยา บิน มะอีน กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”28 ท่านอะบีค็อยษะมะฮ์ รายงานคําพูดของท่านมะอีนเช่นกันว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ นั้น [ ] “เป็นผู้ที่มีคุณธรรม”29 27 รายงานโดยอะหฺมัด บิน ฮัมบัล, มุสนัดอะหฺมัด, เล่ม 3, หน้า 162. อับดุรร๊อซซ้าก, อัลมุศ็อนนัฟ, เล่ม 3, หน้า 110, และอิบนุอะบีชัยบะฮฺ, อัลมุศ็อนนัฟ, เล่ม 2, หน้า 312. อัดดาร่อกุฏนีย์, สุนันอัดดาร่อกุฏนีย์, เล่ม 2, หน้า 39. อัลบัซซาร, มุสนัดอัลบัซซาร, เล่ม 2, หน้า 292. อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 418. 28 อิบนุอะบี ฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะดีล, เล่ม 6, หน้า 281.
  • 18. 16 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ท่านฮัมบัล ได้รายงานคําพูดจากท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล ว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ 30 นั้น [ ] “เขานั้นหะดีษดี” หมายถึง ท่านญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ดีเยี่ยม ในการรับหะดีษ รายงานหะดีษ บันทึกหะดีษ และในการพิจารณาหะดีษของเขา ท่านอะลีย์ บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”31 ท่านอิบนุอัมมาร อัลเมาศิลีย์ กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”32 ท่ า นอะบู ฮ าติ ม กล่ า วว่ า อะบู ญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์ นั้ น [ ] “เชื่อถือได้ พูดสัจจริง และหะดีษดี”33 ท่านอิบนุสะอัด กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”34 ท่านอัลฮากิม กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เชื่อถือได้”35 ท่านอิบนุอับดิลบัรรฺ กล่าวว่า [ ] “อะบูญะอฺฟัร อัรรอ ซีย์ ตามทัศนะของปราชญ์หะดีษนั้น เชื่อถือได้ อีกทั้งเป็นผู้ทรงความรู้ในการ ตัฟซีรอัลกุรอาน”36 ท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า 29 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50. 30 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49. 31 เรื่องเดียวกัน. 32 เรื่องเดียวกัน. 33 อิบนุอะบี ฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะดีล, เล่ม 6, หน้า 281.และอิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50. 34 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50. 35 เรื่องเดียวกัน. 36 เรื่องเดียวกัน.
  • 19. กุนูตศุบหฺ 17 “ท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีบรรดาหะดีษที่ดี และเที่ยงตรง(ถูกต้อง) ที่ เขาได้รายงานมันไว้ และบรรดานักหะดีษก็ได้รายงานจากเขา และบรรดา หะดี ษ ของเขาทั่ ว ไปแล้ ว เที่ ย งตรง(ถู ก ต้ อ ง) และฉั น หวั ง ว่ า เขานั้ น ไม่ เป็นไร”37 ดั ง นั้ น ปราชญ์ นั ก วิ เ คราะห์ ตั ว ผู้ ร ายงานหะดี ษ ส่ ว นมากให้ ค วามเชื่ อ ถื อ กั บ ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ วิเคราะห์คํากล่าวของบรรดาปราชญ์ที่ทําการวิจารณ์ ท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “ไม่มี น้ําหนักพอ” ท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “ไม่มี น้ําหนักพอ”38 แต่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า ( ) : َ ( ): “นี้คือ ท่านอันนะซาอีย์ ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่า “ไม่มีน้ําหนักพอ”และท่าน อันนะซาอีย์ได้นําเสนอรายงานพวกเขาไว้ในหนังสือของท่าน และแท้จริงคํา 37 อิบนุอะดีย,์ อัลกามิล, เล่ม 5, หน้า 255. 38 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49-50.
  • 20. 18 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ กล่าวของพวกเราที่ว่า “เขานั้น ไม่ มีน้ําหนักพอ” นั้น มิ ใช่เป็น การตําหนิ วิจารณ์ที่ทําให้เสียหาย”39 ท่านชัยค์ อะบูฆุดดะฮ์ ได้กล่าวชี้แจงไว้ในเชิงอรรถหนังสือ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล ของท่านอัลลักนาวีย์ ว่า ) : ( “ท่ า นอิ ม ามอะหฺ มั ด ได้ ก ล่ า วว่ า “ฎ่ อ อี ฟ โดยเขาไม่ มี น้ํ า หนั ก พอ” แต่ เป้าหมายของท่านอะหฺมัดที่มีต่อสํานวนที่ว่า “เขาไม่มีน้ําหนักพอ” นั้น คือ ผู้ที่ไม่ถูกตัดสินว่าหะดีษของเขาศ่อฮีหฺ แต่เขาเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ถูกตัดสิน ว่าเป็นหะดีษหะซัน”40 ด้ว ยเหตุน นี้ ท่านฮัมบัล ได้ร ายงานคําพูดจากท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล เช่น กัน ว่า 41 อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น [ ] “เขานั้นหะดีษดี” ท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ นั้น [ ] “หะดีษของเขาถูกบันทึก แต่เขามีความผิดพลาด(เนื่องจากความจําไม่ด)ี ”42 ท่านอิบนุค็อรร็อชและท่านอัมรฺ บิน อะลีย์ กล่าวว่า [ ] “อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีความฎ่ออีฟอยู่ คือ เขาเป็นผู้ที่สัจ จริง(ไม่ถูกกล่าวหาโกหก)แต่ความจําไม่ด”43 ี 39 อัซซะฮะบีย,์ อัลมูกิเซาะฮ์ ฟี อิลมิ มุศฏ่อลาหฺ อัลหะดีษ, หน้า82. 40 อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 154, อธิบายเชิงอรรถโดย อัชชัยค์ อะบูฆุดดะฮ์. 41 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49. 42 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 49-50. 43 เรื่องเดียวกัน.
  • 21. กุนูตศุบหฺ 19 ท่านอะบูซุรอะฮ์ กล่าวถึงอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ว่า [ ] “เขาเป็น อาจารย์ทคลุมเครือมาก (หมายถึงผิดพลาดเนื่องจากความจํา)”44 ี่ ท่านอะบู ซะก่ารียา อัซซาญีย์ กล่าวว่า [ ] “เขาเป็นคนพูดจริง (ไม่ถูกกล่าวหาโกหก) แต่เขาไม่ประณีต(ในด้านความจํา)”45 ท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า [ ] “เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ โดยเขาผิดพลาดในสิ่งที่รายงานจากมุฆีเราะฮ์”46 ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า [ ] “เขาเป็นคนพูดสัจจริง(ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าโกหก) แต่ความจําไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรายงานจากมุฆีเราะฮ์ และ(อะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์) เป็นผู้ อาวุโสจากนักรายงานระดับรุ่นที่เจ็ด”47 ดังนั้นการตําหนิวิจารณ์ของบรรดาปราชญ์ดังกล่าวที่มีต่อท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอ ซีย์เกี่ยวกับเรื่องความจําไม่ดีพร้อมกับมีปราชญ์ส่วนมากให้ความเชื่อถือด้วยนั้น ถือ ว่าเป็นการตําหนิที่ยังคลุมเครือ [ ] ท่านอัลลักนาวีย์ กล่าวว่า : 44 เรื่องเดียวกัน. 45 เรื่องเดียวกัน. 46 เรื่องเดียวกัน. 47 อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 1, หน้า 629.
  • 22. 20 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “สิ่งหนึ่งจากการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือ คือคํากล่าวของพวกเขาที่ว่า คน หนึ่งมีความจําไม่ดี และเขาไม่ใช่นักจําหะดีษ ถือว่ามิใช่เป็นการตําหนิอย่าง สิ้นเชิง แต่ให้มองที่สภาพของผู้รายงานหะดีษและตัวบทหะดีษ”48 แต่บทสรุปของปราชญ์นักตรวจสอบผูรายงานหะดีษที่มีต่ออะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ้ ก็ คื อ เชื่ อ ถื อ ได้ หะดี ษ ดี พู ด จริ ง ไม่ ถู ก กล่ า วหาโกหก แต่ มี ค วามจํ า ไม่ ดี ห รื อ มี ข้อผิดพลาดโดยเฉพาะสายรายงานที่มาจากมุฆีเราะฮ์ แต่หะดีษกุนูตนี้ ท่านอะบูญะอฺ ฟัร อั ร รอซี ย์ รายงานจากท่ านอัร ร่อ บีอฺ บิ น อะนัส และตัว บทหะดีษ กุนู ตก็ มิไ ด้ ขัดแย้งกับหะดีษที่ท่านนะบีย์กุนูตยามจําเป็นเพียงหนึ่งเดือนตามที่ได้ชี้แจงไปแล้ว ข้างต้น ดังนั้น การวิจ ารณ์ท่านอะบูญะอฺฟัร อัร รอซีย์ นั้น เป็น การวิจ ารณ์ตําหนิที่ยัง คลุมเครือและปราชญ์ส่วนใหญ่ให้การชมเชย เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมถือเอาการชมเชยอยู่ ก่อนการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือ ท่านอิมาม อะบูหะสะนาต อัลลักนาวีย์กล่าวว่า . “ท่านอัล ฮาฟิซฺ อิบนุห ะญัร ได้เลือกเฟ้น ไว้ ในหนังสือ นุคบะตุล ฟิกัร และ หนังสือชัรหุนุคบะติลฟิกัรของท่านว่า แท้จริง การตําหนิวิจารณ์แบบสรุป และคลุมเครือนั้นจะถูกรับได้ในผู้ที่ปราศจากการชมเชย(แต่ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ได้รับการชมเชยมากกว่าการถูกวิจารณ์)...สําหรับผู้ที่ถูกได้รับความ 48 อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 102.
  • 23. กุนูตศุบหฺ 21 เชื่อถือและถูกชมเชยนั้น การตําหนิวิจารณ์แบบสรุป(คลุมเครือ)จะยังไม่ถูก ตอบรับ”49 ดังนั้นท่านอิมามอัลลักนาวีย์ ได้สรุปหลักการดังกล่าวไว้ว่า “หากพบในตัวผู้รายงานมีทั้งการชมเชยที่คลุมเครือและการตําหนิวิจารณ์ที่ คลุมเครือ ก็ให้การชมเชยอยู่ก่อน”50 และท่านได้กล่าวเช่นกันว่า “หากพบว่ามีการตําหนิวิจารณ์ที่คลุมเครือและมีการชมเชยที่ถูกชี้แจง ก็ให้ การชมเชยอยู่ก่อน”51 ดังนั้นสถานภาพของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จึงมิ ได้อยู่ ในกลุ่มที่ถูกตัดสิน ว่าฎ่ออีฟ แต่อยู่ในระดับรองลงมา คือ “หะซัน” นั่นเอง วัลลอฮุอะลัม ท่านอิมามอิบนุอัศศ่อลาหฺ กล่าวถึงนักรายงานที่ความจําไม่ดีและไม่ปราณีตแต่ ปราชญ์บางส่วนก็ให้ความเชื่อถือ ความว่า : 49 เรื่องเดียวกัน, หน้า 110. 50 เรื่องเดียวกัน, หน้า 120. 51 เรื่องเดียวกัน.
  • 24. 22 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “ท่านมุฮัมมัด บิน อัมรฺ บิน อัลก่อมะฮ์ เป็นผู้ที่เลื่องลือในเรื่องความสัจจริง (ไม่ถูกกล่าวหาว่าโกหก)และบริสุทธิ์จากสิ่งที่ทําให้เสื่อมเสีย แต่เขาเป็นผู้ที่ไม่ มีความแม่นยํา จนกระทั่งปราชญ์หะดีษบางส่วนตัดสินฎ่ออีฟกับเขาใน ด้านของความจําไม่ดและปราชญ์หะดีษบางส่วนได้ให้ความเชื่อถือกับเขา ี เนื่องจากมีความสัจจริงและมีเกียรติ ดังนั้นหะดีษของเขาจากด้านนี้ จึงเป็น หะดีษหะซัน”52 ดังนั้นแม้ว่าท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จะมีความจําไม่ดีทางสายรายงานจากมุฆี เราะฮ์ แต่ท่านได้รับการชมเชยจากปราชญ์ส่วนมากว่า เชื่อถือได้ เป็นผู้ที่พูดจริง ไม่ ถูกกล่าวหาว่าโกหก พราะฉะนั้นหะดีษของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์จากด้านนี้ จึง เป็นหะดีษหะซัน อินชาอัลลอฮฺ วิเคราะห์คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน กรณีคํากล่าวของท่านอิบนุฮิบบาน ที่มีต่อท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ ที่ว่า “เขานั้นรายงานเพียงลําพังจากบรรดาผู้มีชื่อเสียงกับบรรดาหะดีษมุงกัร ซึ่ง ไม่ประทับใจแก่ฉันเลยการนําหะดีษหนึ่งมาอ้างเป็นหลักฐานนอกจากหะดีษ ที่สอดคล้องกับบรรดาผู้ที่เชื่อถือได้”53 คําวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบานนั้น มิใช่บ่งชี้ว่าท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ เป็น นัก รายงานที่ ฎ่ อ อีฟ เสมอไป และไม่ ทํ า ให้ ห ะดี ษ ของท่ า นอะบูญ ะอฺ ฟั ร อั ร รอซี ย์ 52 มุก็อดดิมะฮ์ อิบนิ อัศศ่อลาหฺ, เล่ม 1, หน้า 5. 53 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 12, หน้า 50.
  • 25. กุนูตศุบหฺ 23 ต้องฎ่ออีฟ เพราะมีนักรายงานหะดีษมากมายที่รายงานหะดีษมุงกัร แต่เขาก็ยังเป็นผู้ ได้รับความเชื่อถือ ท่านอัสสะค่อวีย์ ได้กล่าวว่า “ท่านอัลฮากิม ได้กล่าวว่า ฉันได้กล่าวกับท่านอัดดารุกุฏนีย์ว่า แล้วสุไลมาน บิน บินติชุเราะห์บีลล่ะ? ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์กล่าวว่า เขานั้นเชื่อถือได้ ฉันจึง กล่าวว่า ณ ที่เขามีบรรดาหะดีษมุงกัรมิใช่หรือ? ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์ตอบว่า เขาได้เล่ารายงานบรรดาหะดีษมุงกัรจากกลุ่มนักรายงานที่ฎ่ออีฟ แต่สําหรับ ตัวเขานั้น เชื่อถือได้”54 ดังนั้นนักรายงานที่รายงานบรรดาหะดีษมุงกัร ก็มิได้หมายความว่าเขาจะเป็นผู้ ที่เชื่อถือไม่ได้ ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า “มิใช่ทุกคนที่รายงานบรรดาหะดีษมุงกัร จะถูกตัดสินฎ่ออีฟ”55 ท่านอิมามอัสสุยูฏีย์ กล่าวว่า 54 อัสสะคอวีย,์ ฟัตหุลมุฆีษ, เล่ม 1, หน้า 373. 55 อัซซะฮะบีย,์ มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 1, หน้า 259.
  • 26. 24 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ “ความจริงการมุงกัรหะดีษนั้น หวนกลับไปยังการรายงานเพีย งลําพังคน เดีย ว และการรายงานเพีย งลําพังคนเดีย วนั้น ก็ ไม่จําเป็น ว่าตัว บทหะดี ษ จะต้องฎ่ออีฟ”56 ดังนั้นการที่ท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ได้รายงานเพียงลําพังคนเดียวจึงเป็นที่ ตอบรับได้ และท่านอิบนุฮิบบาน ได้กล่าวถึงท่าน อัรร่อบีอฺ บิน อะนัส เช่นกันว่า “ผู้คนทั้งหลาย(หมายถึงปราชญ์)ระวังจากหะดีษของเขา(คือของท่านอัรร่อ บีอฺ บิน อะนัส) ที่เป็นหะดีษรายงานจากอะบีญะอฺฟัร (อัรรอซีย์) จากท่านอัร ร่อบีอฺ บิน อะนัส เพราะว่าในบรรดาหะดีษของอะบูญะอฺฟัร จากท่านอัรร่อ บีอฺนั้น สับสนเป็นอย่างมาก”57 ความเป็นจริงแล้ว คํากล่าวของท่านอิบนุฮิบบานนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับและเป็น ความเห็นเพียงลําพังของท่านโดยไม่มีหลักฐานมาชี้แจงยืนยัน แต่ในทางตรงกันข้าม บรรดานักปราชญ์หะดีษที่เป็นนักตัฟซีรได้นําสายรายงานของท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอ ซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส มารายงานไว้ในตัฟซีรของพวกเขา เช่น ตัฟซีรอิบ นุอะบีฮาติม, ตัฟซีรอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์, ตัฟซีรอิบนุกะษีร เป็นต้น ปราชญ์ตัฟ ซีรเหล่านั้นเป็นปราชญ์หะดีษ ดังนั้นคําพูดของท่านอิบนุฮิบบาน จึงมีทัศนะส่วนตัวที่ ไม่มีหลักฐานมายืนยัน 56 อัสสุยูฏีย,์ อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา, เล่ม 2, หน้า 210. 57 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 3, หน้า 207.
  • 27. กุนูตศุบหฺ 25 ดังนั้นผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่างนักปราชญ์หะดีษที่รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส ดังนี้ ท่านคอลิด บิน ยะซีด อัลอุมะรีย์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จาก ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส58 ท่านอิสหาก บิน สุไลมาน อัรรอซีย์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จาก ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส59 ท่านญะอฺฟัร บิน เอาน์ ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส60 ท่านอุบัยดิลลาฮฺ บิน มูซา ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อ บีอฺ บิน อะนัส61 ท่านหักกาม บิน สัล ม์ อัร รอซีย์ ได้ร ายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร รอซีย์ จาก ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส62 ท่านมุฮัมมัด บิน ซาบิก ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส63 58 อัลฮากิม, อัลมุสตัดร็อก, หะดีษเลขที่ 2535, เล่ม 2, หน้า 124. 59 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 2998, เล่ม 2, หน้า 277. 60 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3091, เล่ม 2, หน้า 303.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ ท่านอัลฮากิม. 61 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3412, เล่ม 2, หน้า 405.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ ท่านอัลฮากิม. 62 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3655, เล่ม 2, หน้า 597.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ ท่านอัลฮากิม.
  • 28. 26 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ ท่านอิบรอฮีม บิน สุไลมาน ได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัรรอซีย์ จากท่านอัร ร่อบีอฺ บิน อะนัส64 และยังมีนักรายงานอีกหลายท่านได้รายงานจากท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จาก ท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส เพื่อยืนยันว่ามีนักรายงานหะดีษหลายท่านได้รายงานหะดีษ จากท่านอะบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ จากท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส นอกเหนือจากนั้นท่านอิบนุฮิบบาน ถูกนับว่าเป็นนักวิเคราะห์ผู้รายงานที่เลยเถิด จนเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตําหนิวิจารณ์นักรายงานเพียงลําพังคนเดียวของ ท่านอิบนุฮิบบาน ท่านอิมามอัลลักนาวีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับปราชญ์นักวิจารณ์ผู้รายงานที่ถูกปฏิเสธ และเลยเถิดในการวิจารณ์โดยเพียงลําพัง ความว่า “ส่วนหนึ่งจากพวกเขา(คือผู้ที่เกินเลยจนเกินไปในการตําหนิวิจารณ์) คือ ท่านอะบูฮาติม ท่านอัน นะซาอีย์ ท่านอิบ นุมะอีน ท่านอิบนุอัล ก็อฏฏอน ท่านยะห์ยา อัลก็อฏฏอน ท่านอิบนุฮิบบาน และท่านอื่นๆ ซึ่งพวกเขาเป็นที่รู้ กันว่าเลยเถิดหรือเกินเลยในการตําหนิวิจารณ์ ดังนั้นผู้มีสติปัญญาจงพิสูจน์ 63 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 3987, เล่ม 2, หน้า 589.ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ ท่านอัลฮากิม. 64 เรื่องเดียวกัน, หะดีษเลขที่ 7668, เล่ม 4, หน้า 289. ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า หะดีษศ่อฮีหฺ โดยเห็นพ้องกับ ท่านอัลฮากิม.
  • 29. กุนูตศุบหฺ 27 ให้รอบครอบกับบรรดานักรายงานที่พวกเขาได้ตําหนิวิจารณ์เพียงลําพัง และ จงวิเคราะห์ใคร่ควรการตําหนิวิจารณ์ของพวกเขาให้ด”65 ี ท่านอัซซะฮะบีย์และอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า “ท่านอิบนุฮิบบานนั้น บางครั้งเขาทําการตําหนิวิจารณ์นักรายงานที่เชื่อถือ ได้จนกระทั่งเสมือนว่าเขาไม่รว่าสิ่งใดที่ออกมาจากศีรษะของเขา”66 ู้ ดังนั้นท่านอิบนุอะดีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธนัยยะการวิจารณ์ของท่านอิบนุฮิบบาน ว่า “ท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย์นั้น มีบรรดาหะดีษที่ดี และเที่ยงตรง(ถูกต้อง) ที่ เขาได้รายงานมันไว้ และบรรดานักหะดีษก็ได้รายงานจากเขา และบรรดาหะ ดีษทั่วไปของเขานั้น เที่ยงตรง(ถูกต้อง) และฉันหวังว่า เขานั้นไม่เป็นไร”67 ส่วนท่านอัรร่อบีอฺ บิน อะนัส [ ] นั้น ท่านอิบนุอะบีฮาติม กล่าวว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า “อัรร่อบีอฺ บิน อะนัส [ ] “เป็นคนพูดจริง(ไม่ถูก กล่าวหาว่าโกหก)”68 ท่านอิจญ์ลีย์ กล่าวว่า “รอเบี๊ยะอฺ บิน อะนัส นั้นเป็นชาวบัศ 65 อัลลักนาวีย,์ อัรร็อฟอฺ วัต ตักมีล, หน้า 102. 66 อัซซะฮะบีย์, มีซาน อัลอิอฺตะดาล, เล่ม 1, หน้า 274. อิบนุหะญัร, อัลเกาลุลมุซัดดัด ฟี อัซซิบบฺ อัน มุ สนัดอะหฺมัด, หน้า 31. 67 อิบนุอะดีย,์ อัลกามิล, เล่ม 5, หน้า 255. 68 อิบนุอะบีฮาติม, อัลญัรห์ วัต ตะอฺดีล, เล่ม 3,หน้า 454.
  • 30. 28 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ เราะฮ์ [ ] “เชื่อถือได้”69 และท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า [ ] “อัรร่อบีอฺ บิน อะนัสนั้นไม่เป็นไร” และท่านอะบูซุรอะฮ์กล่าวว่า อะบูญะอฺฟัรอัรรอซีย์นั้น [ 70 ] พูดจริงอีกทั้งเชื่อถือได้” ดังนั้นท่านอัรรอบีอฺ บิน อะนัส อยู่ในระดับหะดีษศ่อฮีหฺหรือระดับหะซันตามที่ ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้ตัดสินไว้ วิเคราะห์คํากล่าวของท่านอิบนุหะญัร ส่วนคํากล่าวของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ในหนังสืออัตตัลคีศ อัลหะบีร ของท่านที่ว่า “บรรดาหะดีษ(กุนูต)จากท่านอะนัสได้มีการขัดแย้งกันและสับสน ดังนั้นด้วย เฉกเช่นนี้ จึงไม่สามารถนํามาเป็นหลักฐานได้”71 คํากล่าวของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัรนี้ เป็นการอิจญฺติฮาด(วินิจฉัย)เกี่ยวกับ ตัดสินหะดีษของท่านในช่วงแรก แต่หลังจากนั้น ท่านได้อิจญฺติฮาดใหม่ไว้ในหนังสือ ฟัตหุลบารีย์เกี่ยวกับการรวมประสานหะดีษ ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า การรวมประสานหะ ดีษจะทําให้ความขัดแย้งหรือความสับสนของหะดีษหมดไป ดังนั้นท่านอัลฮาฟิซฺ อิบ นุหะญัร ก็ได้วินิจฉัยและรวมประสานเกี่ยวกับหะดีษกุนูตที่รายงานจากท่านอะนัสไว้ ในหนังสือฟัตหุลบารีย์ของท่านว่า 69 อัลอัจญฺลีย,์ มะอฺริฟะฮ์ อัษษิก็อต, เล่ม 1, หน้า 350. 70 อิบนุหะญัร, ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ, เล่ม 3, หน้า 207.และอัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 418. 71 อิบนุหะญัร, อัตตัลคีศ อัลหะบีร, เล่ม 1, หน้า 600.
  • 31. กุนูตศุบหฺ 29 . “สิ่งที่ถูกประมวลจากหะดีษที่มาจากท่านอะนัสจาก(เรื่องกุนูต)ดังกล่าว คือ กุนูตในยามจําเป็นนั้นทําหลังรุกูอฺ โดยไม่มีการขัดแย้งกันในสิ่งดังกล่าว และ สํา หรับกุนูต ที่ ไ ม่ ไ ด้อยู่ ใ นยามที่จํา เป็น (ยามปกติ) ที่ศ่อฮีหฺจ ากท่า น อะนัสนั้น คือกุนูตก่อนจากรุกูอฺ และแท้จริงการปฏิบัติของศ่อฮาบะฮ์ในสิ่ง ดังกล่าว(คือกุนูตในยามปกตินั้นก่อนหรือหลังรุกูอ)ฺ ได้มีความเห็นต่างกันและ ที่ชัดเจนแล้วมันเป็นความเห็นต่างที่อนุญาต (มุบาหฺ) ให้เกิดขึ้นได้”72 ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้กล่าวตัดสินหะดีษกุนูตจากท่านอะนัส ไว้ในหนังสือ นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ ว่า “หะดี ษ นี้ เป็ น หะดี ษ หะซั น (หะดี ษ ที่ดี ) ซึ่ ง ได้ นํ า เสนอรายงานโดยท่ า น อะหฺมัด จากท่านอับดุรร็อซซ้าก จากท่านอะบีญะอฺฟัร อัรรอซีย”73 ์ หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ประพันธ์เสร็จสิ้นในปี ฮ.ศ. 820 ส่วนหนังสือ นะตาอิจญฺ อัลอัฟาการ เสร็จสิ้นประมาณปี ฮ.ศ. 837 ซึ่งชัดเจนว่าท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้ เปลี่ ย นการวิ นิ จ ฉั ย ในการตั ด สิ น หะดี ษ กุ นู ต ศุ บ หฺ จ ากท่ า นอะนั ส นั้ น เป็ น หะดี ษ “หะซัน” 72 ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย,์ ฟัตหุลบารีย,์ เล่ม 2, หน้า 291. 73 นะตาอิจญฺ อัลอัฟการ, เล่ม 2, หน้า 136.
  • 32. 30 เอกสารเผยแพร่อัลกุดวะฮ์ หลักฐานถ้อยคําดุอาอ์กุนูต ถ้อยคําดุอาอ์กุนูตนั้น มีสายรายงานระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้ ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า : : : “ได้เล่าให้เราทราบโดย อะบูมูซา ได้เล่าให้เราทราบโดย มุฮัมมัด บิน ญะอฺ ฟัร ได้เล่าให้เราทราบโดย ชุอฺบะฮ์ จากท่านบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม จาก ท่านอะบี อัลเฮาวาอฺ เขาได้กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอัลหะซัน บุตร อะลีย์ ว่า อะไรบ้างที่ท่านจดจําได้จากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังนั้นท่านอัลหะซันจึงตอบว่า ท่านร่อซุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนแก่เราเกี่ยวกับดุอาอ์นี้ คือ อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...”74 แต่หะดีษสายรายงานนี้มิได้ระบุเจาะจงว่า ถ้อยคําดุอาอ์ดังกล่าว เป็นดุอาอ์กุนูต และไม่ได้เจาะจงว่าเป็นดุอาอ์กุนูตศุบหฺหรือกุนูตวิติร ท่านอัลบัยฮะกีย์ กล่าวรายงาน ว่า : : 74 รายงานโดยอิบนุคุซัยมะฮ์, ศ่อฮีหฺอิบนิคุซัยมะฮ์, หะดีษเลขที่ 1096, เล่ม 2, หน้า 152. และท่านอัดดาริมีย์, สุนัน อัดดาริมีย,์ หะดีษเลขที,่ 1591, เล่ม 1, หน้า 451. หะดีษนีศ่อฮีห.ฺ ้
  • 33. กุนูตศุบหฺ 31 “เล่า ให้เราทราบโดยอุบัยดุล ลอฮฺ บิน มูซา เล่า ให้เราทราบโดยอิส รออีล จากอะบีอิสหาก จากบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม จากอะบี อัลเฮารออฺ จากท่าน หะซันหรือท่านหุซัยน์ บิน อะลีย์ เขาได้กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนฉัน ซึ่งบรรดาถ้อยคํา(ดุอาอ์)ที่ฉันจะกล่าวมันใน กุนูต คือ “อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...(จนจบ).”75 หะดีษบทนี้ ระบุว่าถ้อยคําดุอาอ์ “อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า” เป็นดุอาอ์ กุนูต โดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็นดุอาอ์กุนูตศุบหฺหรือวิติร แต่หะดีษนี้ฎ่ออีฟเนื่องจาก มีท่านอะบีอิสหาก อัสสุบัยอีย์ ซึ่งท่านเป็นนักรายงานประเภท [ ] “ปิดบังครู ผู้รายงาน” โดยรายงานด้วยการใช้ถ้อยคําว่า [ ] “จาก....(คนนั้นคนนี้)...” เป็นต้น นอกจากท่านอะบีอิสหาก ได้รายงานด้วยถ้อยคําชัดเจนว่า [ ] “ฉันได้ยิน...(คน นั้นคนนี้)กล่าวว่า...” หรือ [ ] “เล่าให้ฉันทราบ(โดยคนนั้นคนนี้)ว่า...” หะดีษ ของเขาก็จะเป็นที่ถูกตอบรับ แต่ในสายรายงานนี้ไม่ได้ระบุถ้อยคํารายงานที่ชัดเจน ดังกล่าว ฉะนั้นหะดีษนี้จึง “ฎ่ออีฟ” แต่ ยั งมี ส ายรายงานที่ ศ่อ ฮี หฺห รื อหะซั น มาตอกย้ํา ถึ งความถู กต้ อ งของหะดี ษ ข้างต้นโดยรายงานจากท่าน ยูนุส บิน อะบีอิสหาก จากท่านบุร็อยด์ บิน อะบีมัรยัม ว่าท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านดุอาอ์กุนูตด้วยถ้อยคํา “อัลฮุม มะฮ์ดินี ฟี มันฮะดัยต้า...” ในละหมาดวิติรและละหมาดศุบหฺซึ่งเป็นสายรายงานที่ 75 อัลบัยฮะกีย,์ อัสสุนัน อัลกุบรอ, เล่ม 2ม หน้า 428.