SlideShare a Scribd company logo
Begin with the end    :  เกมชีวิต  “ เริ่มต้นที่ตอนจบ  “ บทความ ของ วนิษา เรซ  ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพ  ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด
มีคนชอบถามหนูดี ว่า จะใช้สมองอย่างไร  ?...  ถึงจะคุ้มค่า  จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไร  ?.... ถึงจะถือว่าสมองของเราไม่ได้สูญเปล่า      ด้วยความที่หนูดี เรียนมาด้านสมอง และทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ  จึงถูกถามในเรื่องนี้เป็นประจำ  และก็เป็นคำถามที่ทำให้หนูดี สนุกมากที่จะตอบเสมอ เพราะคำถามชนิดนี้ มีคำตอบได้มากมาย ไม่เคยตายตัว  ใครตอบก็ไม่มีวันซ้ำกัน
วันนี้ลองมาฟัง นักวิจัยด้านสมองตอบคำถามนี้ดูกันเล่น ๆ ไหมคะ สมัยที่หนูดี เรียนอยู่ที่อเมริกา เคยถูกให้ทำแบบฝึกหัดหนึ่ง  ซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตหนูดี ไปตลอดกาลเลย  คือเกม  “ เริ่มต้นที่ตอนจบ ”   โดยเกมนี้เล่นไม่ยาก แต่ใช้เวลาพอสมควร  หนูดี เคยนำมาฝึกกับลูกศิษย์   ของหนูดีบ่อย ๆ  มีคนนั่งหลับตาไป ร้องไห้ไป มาหลายคนแล้ว  เพราะเป็นเกมที่ทำให้เราได้ ย้อนหลังกลับไปมองชีวิต  ไม่ใช่แต่ต้นจนอวสาน  แต่ว่ามองจากอวสาน มาตอนต้น
ถ้าพูดเปรียบเทียบเป็นภาษานักธุรกิจก็ต้องบอกว่า  Begin with the end in mind.  ก็คือ   การเริ่มต้นมาจากการมองเห็นภาพตอนจบ หรือสัมฤทธิผลของเรื่อง เกมนี้เริ่มที่ หนูดีจะขอให้ผู้อ่าน ลองหาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเอง  ในตอนที่เราไม่มีเรื่องรีบร้อนอันใดต้องไปทำ  แล้วให้นั่งลง หลับตาจินตนาการภาพตัวเรา ตอนอายุสักแปดสิบ โดยให้สมมติว่า เราจะต้องตายตอนอายุสักแปดสิบ และตอนนั้น เราเจ็บป่วย นอนอยู่บนเตียง   หลังจากนั้น ให้เราลองจินตนาการ ย้อนกลับไปมองทั้งชีวิตของเราว่า  ที่ผ่านมา เราได้ใช้มันไปอย่างไรบ้าง  เราใช้เวลาของเราทำอะไรไป เราวิ่งตามอะไร เราวุ่นวายกับอะไร  เรารักใคร   เราไม่รักใคร ความสุข ความทุกข์ของเราเป็นผลจากอะไร
แต่สองคำถามที่สำคัญที่สุด ก็คือ  เราจะเสียดายที่สุด หากเราตายไปโดยไม่ได้ทำอะไร  ..  เราจะเสียดายที่สุด หากเราไม่ได้ใช้เวลากับใคร หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้ อย่างกระจ่างชัด  ก็จะมีเวลาบางช่วงที่เราจะไม่ใช้ไปอย่างที่เราใช้อยู่ จะมีกิจการบางกิจการ ที่เราไม่เลือกจะก่อตั้ง  มีเพื่อนบางคนที่เราอาจจะเลิกคบ  มีเงินบางก้อนที่เราจะปฏิเสธ  ไม่รับสารพัดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ถ้าเรามีเวลาถอยออกมาจากชีวิต  แล้วย้อนกลับไปมอง  เหมือนกับว่า เรากำลังดูหนังวิดีโอชีวิตของคนอื่นอยู่  แล้วก็วิจารณ์ว่า  เขาคนนั้นตอนยังมีชีวิตอยู่   น่าจะทำอะไรที่ควรทำ
ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่ง่ายดายและลึกซึ้ง  เมื่อหนูดี ลองทำแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถึงขั้น  หนูดี เปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิต เพราะจากที่เคยคิดอย่างเด็กอายุยี่สิบ หนูดี กระโดดข้ามไปคิดแบบแปดสิบได้  ตอนนี้เลยเหมือนย้อนกลับมาใช้ชีวิตรอบสอง โดยอายุยังไม่ครบสามสิบเลย  เหมือนมีสองชีวิตเลยค่ะ เมื่อก่อนหนูดี เคยคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตก็เหมือนกับ การหาของใส่กล่อง  คนเก่งกว่าก็ใช้เวลาเป็น ใช้ชีวิตคุ้ม ก็หาของมาใส่กล่องได้เร็วและมากกว่าคนอื่น แต่อีกปัจจัยที่ทำให้กล่องเต็มได้ที่หนูดีไม่เคยคิดมาก่อนจะเล่นเกมนี้ ก็คือ  แค่เราเปลี่ยนขนาดกล่องให้เล็กลงซะ มันก็เต็มได้โดยไม่ยากเย็นเลย
ดังนั้น  การใช้สมองให้เต็มที่ คุ้มค่า  เพื่อให้ชีวิตมีสุขได้ครบด้านและง่ายดาย  น่าจะอยู่ที่ศักยภาพในการถอยออกมา แล้วมองชีวิตจากมุมห่างออกไปอีกหน่อย   มองย้อนกลับจากวันสุดท้ายของชีวิต  ก็เป็นความท้าทายที่น่าสนุกอีกแบบหนึ่ง  มันเปลี่ยนชีวิตหนูดี มาแล้ว    ในทางที่ดีขึ้นอย่างมหัศจรรย์  ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม แล้ววันนี้ ท่านผู้อ่านของหนูดี  คิดว่า ชีวิตนี้ ไม่ได้ทำอะไรแล้วจะเสียดายที่สุดคะ  และไม่ได้ใช้เวลากับใครแล้วจะเสียดายที่สุดคะ
ทิปส์ในการพัฒนาสมอง 1.  จิบน้ำบ่อย ๆ   สมองประกอบด้วยน้ำ  85 %  เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง  ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า  กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ 2.  กินไขมันดี  คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ  แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย  ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี  ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3.  นั่งสมาธิวันละ  12  นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ  12  นาที  เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น  Theta  ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ  ทำให้สมองมี  Mental Imagery  สามารถจินตนาการเห็นภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์   ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า  )  ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน 4.  ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวัน สมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ  เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5.  หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ  ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข  หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ 6.  เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น  เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน  และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์  ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7.  ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่เราการไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง  การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง 8.  เขียนบันทึก  Graceful Journal   ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก  เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น  เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา  ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9.  ฝึกหายใจลึก ๆ   สมองใช้ออกชิเจน  20-25 %  ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย  การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น  ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก  20 % สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ  2  ของน้ำหนักร่างกาย แต่สมองใช้ออกซิเจนร้อยละ  25  หรือ  1  ใน  4  ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด  การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่าง ในโลกที่เรียนรู้ได้  แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน  ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม
หนูดี วนิษา เรซ ... ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ   หลายคนอาจจะพอคุ้นๆ หน้าตา และชื่อของเธอกันมาบ้างแล้ว  โดยเฉพาะหลังจากที่เธอได้มาออกรายการจับเข่าคุย  ( ออกอากาศเมื่อวันที่  14  ก . ค . 50)  ... ทำให้เธอดังข้ามคืนเลยทีเดียว  เพราะหลายคนต่างทึ่งในความเก่ง ความคิด ความสามารถ  และความน่ารักของเธอ

More Related Content

Similar to Begin With The End

อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
เด็กหญิงณัฏฐนารี เด็กหญิงรุงรัง
 
9 อาหารกินแล้วฉลาด !
9 อาหารกินแล้วฉลาด !9 อาหารกินแล้วฉลาด !
9 อาหารกินแล้วฉลาด !New Nan
 
อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้Krangkir Kanjapan
 
Brain Development
Brain DevelopmentBrain Development
Brain Developmentngumngim
 
7 food brain-boosting food
7 food brain-boosting food7 food brain-boosting food
7 food brain-boosting food
HealthAddict
 
เทคนิคการดูแลสมอง
เทคนิคการดูแลสมองเทคนิคการดูแลสมอง
เทคนิคการดูแลสมอง
อลงกรณ์ อารามกูล
 
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
Prawwadee Chaikao
 
พราววดี ไชยขาว 2_3
พราววดี ไชยขาว 2_3พราววดี ไชยขาว 2_3
พราววดี ไชยขาว 2_3Prawwadee Chaikao
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้Phairot Odthon
 
1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)giftsairudee
 
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
เด็กหญิงณัฏฐนารี เด็กหญิงรุงรัง
 
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
4LIFEYES
 
อัจฉริยสร้างได้ -
อัจฉริยสร้างได้  -อัจฉริยสร้างได้  -
อัจฉริยสร้างได้ -
isaramak
 
อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้Melody Moon
 

Similar to Begin With The End (20)

อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
 
9 อาหารกินแล้วฉลาด !
9 อาหารกินแล้วฉลาด !9 อาหารกินแล้วฉลาด !
9 อาหารกินแล้วฉลาด !
 
Brain
BrainBrain
Brain
 
อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้
 
Brain Development
Brain DevelopmentBrain Development
Brain Development
 
7 food brain-boosting food
7 food brain-boosting food7 food brain-boosting food
7 food brain-boosting food
 
เทคนิคการดูแลสมอง
เทคนิคการดูแลสมองเทคนิคการดูแลสมอง
เทคนิคการดูแลสมอง
 
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
10วิธีทำตัวเองให้ฉลาดขึ้น
 
พราววดี ไชยขาว 2_3
พราววดี ไชยขาว 2_3พราววดี ไชยขาว 2_3
พราววดี ไชยขาว 2_3
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
 
1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)
 
อาหารสำหรับสมอง
อาหารสำหรับสมองอาหารสำหรับสมอง
อาหารสำหรับสมอง
 
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
อาหารบำรุงสมองตอบสนองวัยเรียน 3
 
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
5อ 1พ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว
 
งานที่2 2
งานที่2 2งานที่2 2
งานที่2 2
 
งานที่2 2
งานที่2 2งานที่2 2
งานที่2 2
 
Smart
SmartSmart
Smart
 
อัจฉริยสร้างได้ -
อัจฉริยสร้างได้  -อัจฉริยสร้างได้  -
อัจฉริยสร้างได้ -
 
Smart
SmartSmart
Smart
 
อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้อัจฉริยะสร้างได้
อัจฉริยะสร้างได้
 

Recently uploaded

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 

Recently uploaded (10)

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 

Begin With The End

  • 1. Begin with the end   : เกมชีวิต “ เริ่มต้นที่ตอนจบ “ บทความ ของ วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยภาพ ปริญญาโท จากฮาร์วาร์ด
  • 2. มีคนชอบถามหนูดี ว่า จะใช้สมองอย่างไร ?... ถึงจะคุ้มค่า จะใช้ชีวิต ใช้เวลาอย่างไร ?.... ถึงจะถือว่าสมองของเราไม่ได้สูญเปล่า    ด้วยความที่หนูดี เรียนมาด้านสมอง และทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ จึงถูกถามในเรื่องนี้เป็นประจำ และก็เป็นคำถามที่ทำให้หนูดี สนุกมากที่จะตอบเสมอ เพราะคำถามชนิดนี้ มีคำตอบได้มากมาย ไม่เคยตายตัว ใครตอบก็ไม่มีวันซ้ำกัน
  • 3. วันนี้ลองมาฟัง นักวิจัยด้านสมองตอบคำถามนี้ดูกันเล่น ๆ ไหมคะ สมัยที่หนูดี เรียนอยู่ที่อเมริกา เคยถูกให้ทำแบบฝึกหัดหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตหนูดี ไปตลอดกาลเลย คือเกม “ เริ่มต้นที่ตอนจบ ” โดยเกมนี้เล่นไม่ยาก แต่ใช้เวลาพอสมควร หนูดี เคยนำมาฝึกกับลูกศิษย์   ของหนูดีบ่อย ๆ มีคนนั่งหลับตาไป ร้องไห้ไป มาหลายคนแล้ว เพราะเป็นเกมที่ทำให้เราได้ ย้อนหลังกลับไปมองชีวิต ไม่ใช่แต่ต้นจนอวสาน แต่ว่ามองจากอวสาน มาตอนต้น
  • 4. ถ้าพูดเปรียบเทียบเป็นภาษานักธุรกิจก็ต้องบอกว่า Begin with the end in mind. ก็คือ   การเริ่มต้นมาจากการมองเห็นภาพตอนจบ หรือสัมฤทธิผลของเรื่อง เกมนี้เริ่มที่ หนูดีจะขอให้ผู้อ่าน ลองหาเวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเอง ในตอนที่เราไม่มีเรื่องรีบร้อนอันใดต้องไปทำ แล้วให้นั่งลง หลับตาจินตนาการภาพตัวเรา ตอนอายุสักแปดสิบ โดยให้สมมติว่า เราจะต้องตายตอนอายุสักแปดสิบ และตอนนั้น เราเจ็บป่วย นอนอยู่บนเตียง หลังจากนั้น ให้เราลองจินตนาการ ย้อนกลับไปมองทั้งชีวิตของเราว่า ที่ผ่านมา เราได้ใช้มันไปอย่างไรบ้าง เราใช้เวลาของเราทำอะไรไป เราวิ่งตามอะไร เราวุ่นวายกับอะไร เรารักใคร   เราไม่รักใคร ความสุข ความทุกข์ของเราเป็นผลจากอะไร
  • 5. แต่สองคำถามที่สำคัญที่สุด ก็คือ เราจะเสียดายที่สุด หากเราตายไปโดยไม่ได้ทำอะไร .. เราจะเสียดายที่สุด หากเราไม่ได้ใช้เวลากับใคร หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้ อย่างกระจ่างชัด ก็จะมีเวลาบางช่วงที่เราจะไม่ใช้ไปอย่างที่เราใช้อยู่ จะมีกิจการบางกิจการ ที่เราไม่เลือกจะก่อตั้ง มีเพื่อนบางคนที่เราอาจจะเลิกคบ มีเงินบางก้อนที่เราจะปฏิเสธ ไม่รับสารพัดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น
  • 6. ถ้าเรามีเวลาถอยออกมาจากชีวิต แล้วย้อนกลับไปมอง เหมือนกับว่า เรากำลังดูหนังวิดีโอชีวิตของคนอื่นอยู่ แล้วก็วิจารณ์ว่า เขาคนนั้นตอนยังมีชีวิตอยู่   น่าจะทำอะไรที่ควรทำ
  • 7. ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่ง่ายดายและลึกซึ้ง เมื่อหนูดี ลองทำแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถึงขั้น หนูดี เปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิต เพราะจากที่เคยคิดอย่างเด็กอายุยี่สิบ หนูดี กระโดดข้ามไปคิดแบบแปดสิบได้ ตอนนี้เลยเหมือนย้อนกลับมาใช้ชีวิตรอบสอง โดยอายุยังไม่ครบสามสิบเลย เหมือนมีสองชีวิตเลยค่ะ เมื่อก่อนหนูดี เคยคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตก็เหมือนกับ การหาของใส่กล่อง คนเก่งกว่าก็ใช้เวลาเป็น ใช้ชีวิตคุ้ม ก็หาของมาใส่กล่องได้เร็วและมากกว่าคนอื่น แต่อีกปัจจัยที่ทำให้กล่องเต็มได้ที่หนูดีไม่เคยคิดมาก่อนจะเล่นเกมนี้ ก็คือ แค่เราเปลี่ยนขนาดกล่องให้เล็กลงซะ มันก็เต็มได้โดยไม่ยากเย็นเลย
  • 8. ดังนั้น การใช้สมองให้เต็มที่ คุ้มค่า เพื่อให้ชีวิตมีสุขได้ครบด้านและง่ายดาย น่าจะอยู่ที่ศักยภาพในการถอยออกมา แล้วมองชีวิตจากมุมห่างออกไปอีกหน่อย   มองย้อนกลับจากวันสุดท้ายของชีวิต ก็เป็นความท้าทายที่น่าสนุกอีกแบบหนึ่ง มันเปลี่ยนชีวิตหนูดี มาแล้ว   ในทางที่ดีขึ้นอย่างมหัศจรรย์ ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม แล้ววันนี้ ท่านผู้อ่านของหนูดี คิดว่า ชีวิตนี้ ไม่ได้ทำอะไรแล้วจะเสียดายที่สุดคะ และไม่ได้ใช้เวลากับใครแล้วจะเสียดายที่สุดคะ
  • 9. ทิปส์ในการพัฒนาสมอง 1. จิบน้ำบ่อย ๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ 2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
  • 10. 3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน 4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวัน สมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
  • 11. 5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ 6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • 12. 7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่เราการไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง 8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
  • 13. 9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 % สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกาย แต่สมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่าง ในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม
  • 14. หนูดี วนิษา เรซ ... ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ หลายคนอาจจะพอคุ้นๆ หน้าตา และชื่อของเธอกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่เธอได้มาออกรายการจับเข่าคุย ( ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 ก . ค . 50) ... ทำให้เธอดังข้ามคืนเลยทีเดียว เพราะหลายคนต่างทึ่งในความเก่ง ความคิด ความสามารถ และความน่ารักของเธอ