SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
1
                              ความรู้เบื้องต้น

                           เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา




_12-02(001-016)P2.indd 1                                 4/14/12 11:08:57 PM
สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ
                           เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

               1.1	ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) 
                      ทรัพย์สินทางปัญญาตามความหมายทั่วไป หมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจาก

               การลงทุนคิดค้นของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม อันนำมา
               ซึ่งความเจริญต่อสังคม แต่ตามความหมายในทางกฎหมายแล้วทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง
               “สิทธิตามกฎหมายอันเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความคิดหรือสติปัญญาของมนุษย์”
               [องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO), 1995: 5 อ้างถึงใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18]
                        ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องของการที่กฎหมายให้การรับรอง และให้ความคุ้มครองสิทธิ

               ที่เกี่ยวข้องกับผลงานการสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของมนุษย์ สิทธิในที่นี้ หมายถึง
               “สิทธิอันเกิดขึ้นจากผลิตผลทางความคิด มากกว่าจะหมายถึงตัวผลิตผลที่ได้รับการสร้างสรรค์
               ขึ้น” (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 4)
                      ตามความเห็ น ของผู้ เ ขี ย น เมื่ อ บุ ค คลใดสร้ า งสรรค์ ผ ลงานใดขึ้ น มาและผลงานนั้ น มี

               คุณประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคม และกฎหมายให้การรับรองว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา 

               บุคคลนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ให้มีสิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลงาน
               สร้างสรรค์นั้น และจะได้รับความคุ้มครองให้มีสิทธิในการฟ้องร้องผู้กระทำการฝ่าฝืนสิทธิ

               ของตน หรือผูกระทำการละเมิดแก่ผลงานสร้างสรรค์ของตนได้ การทีกฎหมายให้ความคุมครอง
                             ้                                                         ่               ้
               แก่ผู้สร้างสรรค์ให้มีสิทธิดังกล่าว จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้นมา
               อีก และจะเป็นแรงจูงใจให้บุคคลอื่น ๆ ได้คิดค้นแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อันจะเป็น
               ประโยชน์ตอสังคมตามมาอีก 
                           ่

               1.2	กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา 
                      ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาจะได้ รั บ การรั บ รอง และได้ รั บ ความคุ้ ม ครองต่ อ เมื่ อ มี ก ฎหมาย

               ก่อตังรับรูไว้โดยตรงหรือโดยอ้อม (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อ้างถึงใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18)
                    ้ ้
                    ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้วหลายฉบับ

               ในประเทศไทย เช่น 
                    -			พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
               และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 
                    -			พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 




_12-02(001-016)P2.indd 2                                                                                                 4/14/12 11:08:58 PM
ความรู้เบื้องต้น
                                                                            เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา          

                            -			พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
                      (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
                            -			พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดี
                      ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
                            -			พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 
                            -			พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 
                            -			พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 
                            -			พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
                                                                                                                               1
                            -			พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2546
                            -			พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
                             ในด้ า นการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาระหว่ า งประเทศ ได้ มี ก ารจั ด ทำอนุ สั ญ ญา

                      กรุ ง ปารี ส ว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางอุ ต สาหกรรม (Paris Convention for the
                      Protection of Industrial Property) ใน ค.ศ. 1883 (ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้า

                      เป็นภาคีในอนุสัญญากรุงปารีส) และได้มีการจัดทำอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครอง

                      งานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for the Protection of Literary
                      and Artistic Works) ใน ค.ศ. 1886 (ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีใน พ.ศ. 2474) และ
                      ประเทศไทยได้เข้ารับพันธกรณีในฉบับที่มีการแก้ไข ณ กรุงปารีสใน ค.ศ. 1971 ด้วย 
                             หลักการสำคัญของความตกลงระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ คือ หลักการปฏิบัติเยี่ยง

                      คนชาติ (National Treatment) และการกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

                      ขันต่ำ (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33) 
                        ้
                             นอกจากนี้ ยังมีความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
                      ฉบับอื่น ๆ อีก (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33) ที่สำคัญ ได้แก่
                             1.		ความตกลงว่ าด้ว ยสิท ธิในทรัพย์สินทางปัญ ญาเกี่ยวกับการค้า (Agreement on
                      Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า “TRIPs
                      Agreement”) TRIPs Agreement เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

                      จะลดการบิดเบือนและอุปสรรคที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมให้มีการคุ้มครอง

                      สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล รวมทั้งเป็นความตกลงระหว่าง




_12-02(001-016)P2.indd 3                                                                                             4/14/12 11:08:58 PM
สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ
                              เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

               ประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความมั่นใจแก่สมาชิกว่ามาตรการและวิธีดำเนินการที่ใช้บังคับ
               สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่กลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าอันชอบธรรม ประเทศใดต้องการ

               เข้าร่วมในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) จะต้องยอมรับและ
               ปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ WTO ซึ่งรวมถึงความตกลงของ TRIPs
               Agreement ด้วย ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ WTO และได้ลงนามในความตกลงของ
               TRIPs Agreement ตั้งแต่เริ่มต้น (1 มกราคม 2538) 
                     2.		อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (Convention Estab-

               lishing the World Intellectual Property Organization) เป็นอนุสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้อง

               กับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน

               การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่าง
               ประเทศอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าวด้วย (ไชยยศ 

               เหมะรัชตะ, 2539 : 12) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property
               Organization หรือทีเรียกย่อ ๆ ว่า “WIPO”) ทีกอตังขึนตามอนุสญญาฉบับดังกล่าว ปัจจุบน
                                   ่                         ่่ ้ ้        ั                     ั
               เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 12) WIPO มีหน้าทีหลัก
 ่
               ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เพื่อศึกษาถึงอนุสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
               ระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างกฎหมายต้นแบบ (Model Law) เพื่อเป็นแนวทางในการ
               คุมครองสิทธิในทรัพย์สนทางปัญญาแต่ละประเภท (วิมาน เหล่าดุสต, 2541 : 121)
                 ้                   ิ                                   ิ

               1.3 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
                           ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                       ประเภทที่ 1 ทรัพย์สินทางปัญญาทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง
               ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่ง
               ได้แก่
                       -			สิทธิบัตร (Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบ
               ผลิตภัณฑ์ (Product Designs) ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Models) การออกแบบ
               ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Designs) 
                      -			อนุสิทธิบัตร (Petty Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ที่ไม่ถึงขั้นที่จะได้รับ
               สิทธิบัตร แต่มีความใหม่และประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรม 



_12-02(001-016)P2.indd 4                                                                                         4/14/12 11:08:58 PM
ความรู้เบื้องต้น
                                                                                     เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา               

                            -			เครื่องหมายการค้า (Trade Marks) เกี่ยวข้องกับสิทธิในเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้กับ
                      สินค้า รวมถึงเครื่องหมายบริการ (Service Marks)1 เครื่องหมายรับรอง (Certification
                      Marks)2 และเครืองหมายร่วม (Collective Marks)3 
                                        ่
                           -			ชื่อหรือสิ่งกำหนดอันเกี่ยวกับการค้า (Trade Names) เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ
                      ในการใช้ชื่อในการประกอบการค้าของบุคคล 
                             -			ความลับทางการค้า (Trade Secrets) เกี่ยวข้องกับข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน
                      โดยทั่วไปหรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว และเป็นข้อมูล                           1
                      ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ไม่ควรเปิดเผย รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้
                      ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ 
                            -			สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการใช้ชื่อ
                      สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ เพื่อบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่ง
                      ภูมศาสตร์นนเป็นสินค้าทีมคณภาพ ชือเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมศาสตร์ดงกล่าว 
                         ิ          ั้           ่ีุ      ่                                     ิ         ั
                               -			แบบผังภูมิของวงจรรวม (Integrated Circuit Layout-Designs) เกี่ยวข้องกับ
                      แบบแผนผังหรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใด เพื่อให้เห็นถึงการจัดวางให้เป็น
                      วงจรรวมของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่ทางอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบด้วย
                      ชิ้นส่วนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย และส่วนเชื่อมต่อ

                      ที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งได้จัดวางเป็นชั้นในลักษณะที่ผสาน
                      รวมกันอยู่บนหรือในวัตถุกึ่งตัวนำชิ้นเดียวกัน 
                            ประเภทที่ 2 ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาอั น เกี่ ย วกั บ ลิ ข สิ ท ธิ์ (Copyright) และสิ ท ธิ

                      ข้างเคียง (Neighboring Rights) 
                            -			ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรม
                      คอมพิวเตอร์และงานฐานข้อมูล) ศิลปกรรม นาฏกรรม และดนตรีกรรม
                                

                           1	
                            เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการต่าง ๆ	
                          	เครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการ	
                           2
                         3	
                            เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้กันในกลุ่มบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในเครือเดียวกันหรือโดยสมาชิกของ
                      สมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน 




_12-02(001-016)P2.indd 5                                                                                                            4/14/12 11:08:58 PM
สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ
                               เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

                      -			สิทธิข้างเคียง เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นจากการนำเอางานสร้างสรรค์ของผู้อื่นมาสร้างขึ้น
               ได้แก่ สิทธิของศิลปินนักแสดง สิทธิของผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และ
               สิทธิของผู้ทำการแพร่เสียง แพร่ภาพ

               1.4 ความแตกต่างและความเหมือนคล้ายระหว่างทรัพย์สินทางปัญญากับ
               ทรัพย์สินทั่วไป
                            ทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างกับทรัพย์สินทั่วไป 5 ประการ ดังนี้
                           ประการที่ 1 ความแตกต่างในเรื่องวัตถุแห่งสิทธิ
                           ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาเป็ น สิ ท ธิ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผลงานการสร้ า งสรรค์ ข องมนุ ษ ย์ เป็ น

               สิ ท ธิ ที่ เ กิ ด จากการที่ ก ฎหมายกำหนดรั บ รองขึ้ น เพื่ อ ให้ ค วามคุ้ ม ครองแก่ ผู้ ส ร้ า งสรรค์ ให้ ม
            ี
               สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลิตผลที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนแต่เพียง

               ผู้ เ ดี ย ว เป็ น สิ ท ธิ ที่ จ ะหวงกั น ไม่ ใ ห้ บุ ค คลอื่ น ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตนำสิ ท ธิ ดั ง กล่ า วไปแสวงหา

               ผลประโยชน์ ทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิในทางนามธรรมที่จับต้องยึดถือ
               ครอบครองไม่ได้4 เหมือนอย่างทรัพย์สินประเภทอื่นโดยทั่ว ๆ ไป ที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นวัตถุ

               มีรูปร่าง (ยรรยง พวงราช, 2541 : 18, 19) เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ซึ่งสามารถยึดถือ 

               จับต้องได้
                            
                            

                   4	
                        สิทธิในทางนามธรรมหรือสิทธิที่ไม่มีรูปร่างของทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ คือ สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์แต่เพียง
               ผู้เดียว 
                     	 ในกรณี สิ ท ธิ บั ต ร ผู้ ท รงสิ ท ธิ บั ต รผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี สิ ท ธิ ใ นการผลิ ต ใช้ ขาย มี ไ ว้ เ พื่ อ ขาย เสนอขาย หรื อ นำเข้ า มา

               ในราชอาณาจั ก รซึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต ามสิ ท ธิ บั ต ร (พ.ร.บ.สิ ท ธิ บั ต ร พ.ศ. 2522, มาตรา 36) เช่ น ผู้ ท รงสิ ท ธิ บั ต รเครื่ อ ง

               ดักจับยุงก็จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 
                     	 ในกรณีลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน อนุญาต
               ให้ผู้อื่นใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ของตน เช่น ทำซ้ำหรือดัดแปลงและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน (พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537,
               มาตรา 15) เช่น เจ้าของหรือผู้แต่งนวนิยายมีสิทธิอนุญาตให้บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์นำนวนิยายเรื่องนั้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์
               และนำออกฉายได้ 
                     	 ในกรณี เ ครื่ อ งหมายการค้ า เจ้ า ของเครื่ อ งหมายการค้ า เมื่ อ ได้ จ ดทะเบี ย นเครื่ อ งหมายการค้ า แล้ ว ก็ จ ะมี สิ ท ธิ

               แต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้น สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2541,
               มาตรา 44) เช่น เจ้าของเครื่องหมายการค้า คำว่า “ARROW” มีสิทธิใช้เครื่องหมายดังกล่าวกับสินค้าจำพวกเสื้อผ้าผู้ชาย
               เป็นต้น 




_12-02(001-016)P2.indd 6                                                                                                                                        4/14/12 11:08:58 PM
ความรู้เบื้องต้น
                                                                                      เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา                

                            ประการที่ 2 ความแตกต่างในเรื่องอายุความในการใช้ 
                            ทรัพย์สินทางปัญญามีอายุความในการใช้ เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี 

                      นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร5 เครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน 

                      แต่สามารถต่ออายุออกไปได้อก6 ในขณะทีทรัพย์สนโดยทัวไปไม่มกำหนดเวลาในการใช้ 
                                                   ี         ่      ิ     ่      ี
                             ประการที่ 3 ความแตกต่างในเรื่องการได้มา
                             ทรัพย์สินทางปัญญาอาจได้มาโดยการรับโอนทางนิติกรรมเช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป

                      แต่ที่แตกต่างกัน คือ การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรก ต้องได้มาโดยการ
                      สร้างสรรค์และจดทะเบียน (ยกเว้นลิขสิทธิไม่ตองจดทะเบียนการได้มา)
                                                            ์ ้
                                                                                                                                               1
                              ประการที่ 4 ความแตกต่างในเรื่องการใช้สิทธิต่อสู้
                              ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาไม่ ส ามารถที่ จ ะใช้ ต่ อ สู้ ห รื อ ยั น แก่ บุ ค คลทั่ ว ไปได้ ทั่ ว โลกเหมื อ น

                      อย่างกรณีทรัพย์สินทั่วไป ในกรณีทรัพย์สินทั่วไปเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิใช้กรรมสิทธิ์ใน

                      ทรัพย์สินของตนต่อสู้หรือยันกับบุคคลทั่วไปได้ทั่วโลก เช่น นาย ก. มีกรรมสิทธิ์ในกระเป๋าถือ 

                      1 ใบ นาย ก. มีสิทธินำกระเป๋าถือใบนี้เดินทางติดตัวไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก หากมีผู้ใดมาขโมย
                      กระเป๋าถือของนาย ก. ไป นาย ก. สามารถฟ้องร้องเพื่อเอากระเป๋าถือคืนได้ แต่ถ้านาย ก. 

                      ซึ่งเป็นคนไทยได้วาดภาพขึ้นมา 1 รูปภาพ นาย ก. ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในภาพวาดนั้นและได้รับ

                      การคุ้มครองจากกฎหมายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ใดเอาภาพวาดของ นาย ก. ไป

                      พิมพ์ซ้ำดัดแปลงเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ก. ถือว่ากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

                      งานศิลปกรรมของนาย ก. และถ้าการกระทำละเมิดดังกล่าว กระทำขึ้นในประเทศไทย นาย ก.
                      สามารถฟ้องผู้ฝ่าฝืนฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ถ้าภาพวาดของนาย ก. ถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่

                      ในประเทศอื่น เช่นนี้ ต้องพิจารณาว่าประเทศที่การละเมิดลิขสิทธิ์ได้ถูกทำขึ้นนั้นกับประเทศ

                      ไทยเป็นภาคีแห่งความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศฉบับเดียวกันหรือไม่ 

                      ถ้าคำตอบ คือ ไม่เป็น นาย ก. ก็จะฟ้องว่ามีผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมประเภท
                      จิตรกรรมของตนในประเทศนั้นไม่ได้ (ปริญญา ดีผดุง, 2539 : 295, 300) หรือในกรณี

                      

                      


                           5	
                                พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522, มาตรา 35	
                           6
                               	พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534, มาตรา 53	




_12-02(001-016)P2.indd 7                                                                                                             4/14/12 11:08:59 PM
สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ
                           เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

               สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เจ้าของจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศที่

               ได้ไปจดทะเบียนไว้เท่านั้น เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินทางปัญญาใช้ยันกับบุคคลไม่ได้ทั่วโลก
               เหมือนอย่างเช่นทรัพย์สินทั่วไป 
                     ประการที่ 5 ความแตกต่างในเรื่องการแย่งการครอบครอง
                     ทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถได้มาโดยการแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์
               เหมือนอย่างทรัพย์สินทั่วไป 
                    ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนคล้ายกับทรัพย์สินทั่วไป 2 ประการ ดังนี้
                    ประการที่ 1 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนขาย ให้เช่า หรืออนุญาตให้ผู้อื่น

               นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป 
                      ประการที่ 2 ในการใช้ สิ ท ธิ ใ นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา เจ้ า ของสิ ท ธิ ย่ อ มต้ อ งใช้ สิ ท ธิ

               ภายในขอบเขตของกฎหมายเช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินโดยทั่วไป เช่น ถ้าผู้ทรงสิทธิบัตร
               ต้องการให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นตามสิทธิบัตรได้มาตรฐาน ผู้ทรงสิทธิบัตรก็จะต้อง
               ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
               ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องการผลิตสินค้าจากสิ่งประดิษฐ์ของตน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่า
               ด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม หรือในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

               ตามสิทธิบัตร จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตในลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดย

               ไม่เป็นธรรมไม่ได้ ในลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ย่อมมีสิทธิขับขี่รถยนต์

               ของตนบนท้องถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับจราจร เป็นต้น (ยรรยง พวงราช,
               2541: 19)

               1.5 ความสำคัญและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 
                      ท่านพิพรรธน์ อินทรศัพท์ อดีตอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (2542 : 2) ได้กล่าวว่า
                      “ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญาได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของนำมาใช้เพื่อประโยชน์ใน
               ทางการค้าทั้งสิ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายสินค้า เช่น ในการผลิตอาจต้องใช้
               สิทธิบัตร ความลับทางการค้า เป็นต้น ส่วนในการจำหน่ายสินค้า จะต้องใช้เครื่องหมายการค้า
               หรือเครื่องหมายบริการ เป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าในทางพาณิชย์

               และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งและสามารถสร้างตัวเงินได้อย่างมหาศาล”




_12-02(001-016)P2.indd 8                                                                                                   4/14/12 11:08:59 PM
ความรู้เบื้องต้น
                                                                                    เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา               

                             ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นเพราะทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญต่อสังคม
                      เศรษฐกิจ การค้ า และอุ ตสาหกรรม เนื่อ งจากสิ ท ธิบัตรเป็นสิ่งที่ ก่อ ให้เ กิดการผลิตสินค้ า

                      และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะสิทธิบัตรจะเกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์และการออกแบบ
                      ผลิตภัณฑ์ ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนางานทางด้านการศึกษาศิลปะและวรรณกรรม
                      เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเป็นสิ่งที่ช่วยในการขายสินค้าและการให้บริการ 

                      ก่อให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจการค้า 
                           เมื่อทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอง

                      และพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินทาง
                                                                                                                                             1
                      ปัญญาได้แสวงหาผลประโยชน์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของตนอย่างเต็มที่ 

                      โดยปราศจากการล่วงละเมิดจากผู้อื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด 
                            นอกจากกฎหมายจะออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว
                      มองในอีกแง่มุมหนึ่ง การมีกฎหมายให้ความคุ้มครองจะเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้บุคคลคิดค้น

                      และพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เพราะบุคคลมั่นใจว่าผลงาน
                      สร้างสรรค์ของตนจะไม่ถูกล่วงละเมิดได้โดยง่าย 
                             เกี่ ย วกั บ มาตรการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาโดยภาครั ฐ นายศุ ภ ชั ย พานิ ช ภั ก ดิ์ 

                      อดี ต รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ เ คยกล่ า วไว้ ว่ า ภาครั ฐ มี
                      มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา7 โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สิน
                      ทางปัญญาให้แก่บุคคลและหน่วยงานในประเทศเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร




                           7	
                             มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของภาครัฐที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ กล่าวไว้นั้น เป็นการตอบกระทู้ถามของนาย
                      เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น โดยนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
                      ให้เป็นผู้ชี้แจงตอบกระทู้ถามที่ 708 ร. เรื่องมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117
                      ตอนที่ 58 ก วันที่ 19 มิถุนายน 2543, หน้า 31-33.




_12-02(001-016)P2.indd 9                                                                                                           4/14/12 11:08:59 PM
สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ
                    10       เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

               เครื่องหมายการค้า8 และมีมาตรการคุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยใน

               ต่างประเทศ9 นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำการละเมิดทรัพย์สิน

               ทางปัญญามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการทำลายทรัพย์สินที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์

                   8
                        	ภาครัฐได้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
                      	 “	1)	 การเผยแพร่ความรูระดับวงกว้าง ได้ดำเนินการผ่านสือสาธารณะต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
                                                         ้                             ่
               และสิงพิมพ์อน ๆ โดยดำเนินการเผยแพร่ในลักษณะสปอตโฆษณา สารคดี ข่าวสาร และจัดทำจุลสารเผยแพร่ 
                        ่       ื่
                      		 2)	 จัดฝึกอบรม ประชุมสัมมนาเผยแพร่ความรูแบบเข้มข้น มุงกลุมเป้าหมายเป็นการเฉพาะ เช่น ข้าราชการผูบงคับใช้
                                                                            ้              ่ ่                                  ้ ั
               กฎหมาย นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก นักศึกษา ประชาชนอื่น ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังความคิดริเริ่ม
               สร้างสรรค์ และนำประโยชน์ในทรัพย์สนทางปัญญามาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดทำโครงการเผยแพร่ความรู้ ดังนี้ 
                                                           ิ                                     ั
                      				 -	จัดการฝึกอบรมตามโครงการจุดประกายทรัพย์สินทางปัญญาสู่มวลชน โดยวิทยากรไปบรรยายเผยแพร่ความรู้

               ให้แก่สถาบันการศึกษา หอการค้า กลุ่มธุรกิจทั่วประเทศ 
                      				 -	จัดการฝึกอบรมพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ ศาล อัยการ ตำรวจ อุตสาหกรรม
               จังหวัด พาณิชย์จงหวัด หอการค้าจังหวัด ทนายความ สือมวลชน และภาคเอกชนอืน ๆ 
                                             ั                                ่                    ่
                      				 -	จัดการประชุมสัมมนาด้านสิทธิบัตรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 
                      		 3)	 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตรไปสู่การพัฒนาการผลิตของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ความสำคัญของ
               เอกสารสิทธิบตร การสืบค้นข้อมูลจากเอกสารสิทธิบตรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยดำเนินการจัดสัมมนา 
                                   ั                                     ั
                      				 - เรืองข้อมูลสิทธิบตรกับธุรกิจภาคอุตสาหกรรม 
                                       ่               ั
                      				 - เรืองการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสิทธิบตรสูธรกิจภาคอุตสาหกรรมส่งออก 
                                         ่                              ั ุ่
                      				 - เรืองอนุสทธิบตร 
                                           ่     ิ ั
                      				 - เอกสารสิทธิบตรกับการพัฒนาเทคโนโลยีดานอุตสาหกรรมยานยนต์ ชินส่วนยานยนต์ ชินส่วนรถยนต์ 
                                                   ั                            ้                    ้            ้
                      				 - สิทธิบตรกับการพัฒนาสินค้าของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม 
                                               ั
                      		 4)	 จัดประชุมเจ้าของงานลิขสิทธิ์ และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์วรรณกรรม เพื่อรับฟังปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไข อันจะ

               ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แก่ผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ 
                      		 5)	 จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ในงานกาชาด งานประจำปีของจังหวัดและงานวันข้าราชการพลเรือน 
                      		 6)	 ประสานงานกับทบวงมหาวิทยาลัยเพือผลักดันให้ทรัพย์สนทางปัญญาเป็นวิชาบังคับ สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญา
                                                                      ่                  ิ
               ตรีทกสาขา ซึงทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศนโยบายจัดการศึกษาด้านทรัพย์สนทางปัญญา เมือวันที่ 24 ธันวาคม 2541 และจัด
                    ุ                ่                                                         ิ           ่
               คณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรบุคลากร ครู/อาจารย์ เพือดำเนินการในเรืองดังกล่าว 
                                                                                             ่          ่
                      		 7)	 ประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดทำหนังสืออ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
                      		 8)	 จัดระบบข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนในระบบอินเทอร์เน็ต โดยเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 16
               ธันวาคม 2541”
                      9
                        	ภาครัฐได้ดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ ดังนี้ 
                      	 “	1)	 จัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยที่ถูกละเมิดในต่างประเทศและได้ประสานงาน
               กับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง

               การประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ขณะนี้เรื่องส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างดำเนินการ

               เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า หากเป็นผลสำเร็จจะส่งผลให้สินค้าไทยสามารถส่งไปจำหน่ายในประเทศ
               นั้น ๆ ได้ หรือส่งไปจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น และในปัจจุบันได้มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของคนไทยในต่างประเทศเช่นกัน 

               โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหา 
                      		 2)	 ดำเนินโครงการคุมครองเครืองหมายการค้าของผูสงออกไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนี้ 
                                                     ้       ่                    ้่
                      				 -	ได้จัดทำคู่มือและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐ
               ประชาธิปไตยประชาชนลาว และทำการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ 
                      				 -	จัดสัมมนานักธุรกิจการค้าชายแดนไทย-ลาว ให้มความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิในการขอรับการคุมครอง
                                                                                     ี                                            ้
               เครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมทั้งได้จัดส่งเอกสารคู่มือให้

               หน่วยงานทีเกียวข้อง”	
                              ่ ่



_12-02(001-016)P2.indd 10                                                                                                                4/14/12 11:08:59 PM

More Related Content

Viewers also liked

9789740330011
97897403300119789740330011
9789740330011CUPress
 
9789740330233
97897403302339789740330233
9789740330233CUPress
 
9789740329251
97897403292519789740329251
9789740329251CUPress
 
9789740329640
97897403296409789740329640
9789740329640CUPress
 
9749740330264
97497403302649749740330264
9749740330264CUPress
 
9789740329916
97897403299169789740329916
9789740329916CUPress
 
9789740329480
97897403294809789740329480
9789740329480CUPress
 
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้น
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้นเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้น
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้นCUPress
 
9789740329152
97897403291529789740329152
9789740329152CUPress
 

Viewers also liked (9)

9789740330011
97897403300119789740330011
9789740330011
 
9789740330233
97897403302339789740330233
9789740330233
 
9789740329251
97897403292519789740329251
9789740329251
 
9789740329640
97897403296409789740329640
9789740329640
 
9749740330264
97497403302649749740330264
9749740330264
 
9789740329916
97897403299169789740329916
9789740329916
 
9789740329480
97897403294809789740329480
9789740329480
 
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้น
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้นเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้น
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันเบื้องต้น
 
9789740329152
97897403291529789740329152
9789740329152
 

Similar to 9789740329695

ทร พย ส_นทางป_ญญา
ทร พย ส_นทางป_ญญาทร พย ส_นทางป_ญญา
ทร พย ส_นทางป_ญญาIam Champooh
 
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา อ. ทรงศักดิ์
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา  อ. ทรงศักดิ์เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา  อ. ทรงศักดิ์
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา อ. ทรงศักดิ์AY Un
 
ทรัพย์สินทางปัญญา6
ทรัพย์สินทางปัญญา6ทรัพย์สินทางปัญญา6
ทรัพย์สินทางปัญญา6Kochakorn Noiket
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาYosiri
 
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูลเทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูลMrpopovic Popovic
 
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅWatinee Poksup
 

Similar to 9789740329695 (7)

ทร พย ส_นทางป_ญญา
ทร พย ส_นทางป_ญญาทร พย ส_นทางป_ญญา
ทร พย ส_นทางป_ญญา
 
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา อ. ทรงศักดิ์
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา  อ. ทรงศักดิ์เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา  อ. ทรงศักดิ์
เรื่อง ทรัพย์ทางปัญญา อ. ทรงศักดิ์
 
Petty  patent.pptx
Petty  patent.pptxPetty  patent.pptx
Petty  patent.pptx
 
ทรัพย์สินทางปัญญา6
ทรัพย์สินทางปัญญา6ทรัพย์สินทางปัญญา6
ทรัพย์สินทางปัญญา6
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
 
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูลเทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
เทอม 1 คาบ 6 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
 
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ
จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329695

  • 1. 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา _12-02(001-016)P2.indd 1 4/14/12 11:08:57 PM
  • 2. สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ 1.1 ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ทรัพย์สินทางปัญญาตามความหมายทั่วไป หมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจาก การลงทุนคิดค้นของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม อันนำมา ซึ่งความเจริญต่อสังคม แต่ตามความหมายในทางกฎหมายแล้วทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง “สิทธิตามกฎหมายอันเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความคิดหรือสติปัญญาของมนุษย์” [องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO), 1995: 5 อ้างถึงใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18] ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องของการที่กฎหมายให้การรับรอง และให้ความคุ้มครองสิทธิ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานการสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของมนุษย์ สิทธิในที่นี้ หมายถึง “สิทธิอันเกิดขึ้นจากผลิตผลทางความคิด มากกว่าจะหมายถึงตัวผลิตผลที่ได้รับการสร้างสรรค์ ขึ้น” (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 4) ตามความเห็ น ของผู้ เ ขี ย น เมื่ อ บุ ค คลใดสร้ า งสรรค์ ผ ลงานใดขึ้ น มาและผลงานนั้ น มี คุณประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคม และกฎหมายให้การรับรองว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา บุคคลนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ให้มีสิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลงาน สร้างสรรค์นั้น และจะได้รับความคุ้มครองให้มีสิทธิในการฟ้องร้องผู้กระทำการฝ่าฝืนสิทธิ ของตน หรือผูกระทำการละเมิดแก่ผลงานสร้างสรรค์ของตนได้ การทีกฎหมายให้ความคุมครอง ้ ่ ้ แก่ผู้สร้างสรรค์ให้มีสิทธิดังกล่าว จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้นมา อีก และจะเป็นแรงจูงใจให้บุคคลอื่น ๆ ได้คิดค้นแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อันจะเป็น ประโยชน์ตอสังคมตามมาอีก ่ 1.2 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาจะได้ รั บ การรั บ รอง และได้ รั บ ความคุ้ ม ครองต่ อ เมื่ อ มี ก ฎหมาย ก่อตังรับรูไว้โดยตรงหรือโดยอ้อม (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อ้างถึงใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18) ้ ้ ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้วหลายฉบับ ในประเทศไทย เช่น - พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 - พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 _12-02(001-016)P2.indd 2 4/14/12 11:08:58 PM
  • 3. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา - พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 - พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 - พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 - พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 - พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 - พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 1 - พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2546 - พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ในด้ า นการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาระหว่ า งประเทศ ได้ มี ก ารจั ด ทำอนุ สั ญ ญา กรุ ง ปารี ส ว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางอุ ต สาหกรรม (Paris Convention for the Protection of Industrial Property) ใน ค.ศ. 1883 (ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้า เป็นภาคีในอนุสัญญากรุงปารีส) และได้มีการจัดทำอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครอง งานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works) ใน ค.ศ. 1886 (ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีใน พ.ศ. 2474) และ ประเทศไทยได้เข้ารับพันธกรณีในฉบับที่มีการแก้ไข ณ กรุงปารีสใน ค.ศ. 1971 ด้วย หลักการสำคัญของความตกลงระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ คือ หลักการปฏิบัติเยี่ยง คนชาติ (National Treatment) และการกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ขันต่ำ (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33) ้ นอกจากนี้ ยังมีความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับอื่น ๆ อีก (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33) ที่สำคัญ ได้แก่ 1. ความตกลงว่ าด้ว ยสิท ธิในทรัพย์สินทางปัญ ญาเกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า “TRIPs Agreement”) TRIPs Agreement เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ จะลดการบิดเบือนและอุปสรรคที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมให้มีการคุ้มครอง สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล รวมทั้งเป็นความตกลงระหว่าง _12-02(001-016)P2.indd 3 4/14/12 11:08:58 PM
  • 4. สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความมั่นใจแก่สมาชิกว่ามาตรการและวิธีดำเนินการที่ใช้บังคับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่กลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าอันชอบธรรม ประเทศใดต้องการ เข้าร่วมในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) จะต้องยอมรับและ ปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ WTO ซึ่งรวมถึงความตกลงของ TRIPs Agreement ด้วย ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ WTO และได้ลงนามในความตกลงของ TRIPs Agreement ตั้งแต่เริ่มต้น (1 มกราคม 2538) 2. อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (Convention Estab- lishing the World Intellectual Property Organization) เป็นอนุสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้อง กับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่าง ประเทศอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าวด้วย (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 12) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization หรือทีเรียกย่อ ๆ ว่า “WIPO”) ทีกอตังขึนตามอนุสญญาฉบับดังกล่าว ปัจจุบน ่ ่่ ้ ้ ั ั เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 12) WIPO มีหน้าทีหลัก ่ ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เพื่อศึกษาถึงอนุสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างกฎหมายต้นแบบ (Model Law) เพื่อเป็นแนวทางในการ คุมครองสิทธิในทรัพย์สนทางปัญญาแต่ละประเภท (วิมาน เหล่าดุสต, 2541 : 121) ้ ิ ิ 1.3 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทที่ 1 ทรัพย์สินทางปัญญาทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่ง ได้แก่ - สิทธิบัตร (Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ (Product Designs) ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Models) การออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Designs) - อนุสิทธิบัตร (Petty Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ที่ไม่ถึงขั้นที่จะได้รับ สิทธิบัตร แต่มีความใหม่และประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรม _12-02(001-016)P2.indd 4 4/14/12 11:08:58 PM
  • 5. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา - เครื่องหมายการค้า (Trade Marks) เกี่ยวข้องกับสิทธิในเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้กับ สินค้า รวมถึงเครื่องหมายบริการ (Service Marks)1 เครื่องหมายรับรอง (Certification Marks)2 และเครืองหมายร่วม (Collective Marks)3 ่ - ชื่อหรือสิ่งกำหนดอันเกี่ยวกับการค้า (Trade Names) เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ ในการใช้ชื่อในการประกอบการค้าของบุคคล - ความลับทางการค้า (Trade Secrets) เกี่ยวข้องกับข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน โดยทั่วไปหรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว และเป็นข้อมูล 1 ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ไม่ควรเปิดเผย รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ - สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการใช้ชื่อ สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ เพื่อบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่ง ภูมศาสตร์นนเป็นสินค้าทีมคณภาพ ชือเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมศาสตร์ดงกล่าว ิ ั้ ่ีุ ่ ิ ั - แบบผังภูมิของวงจรรวม (Integrated Circuit Layout-Designs) เกี่ยวข้องกับ แบบแผนผังหรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใด เพื่อให้เห็นถึงการจัดวางให้เป็น วงจรรวมของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่ทางอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบด้วย ชิ้นส่วนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย และส่วนเชื่อมต่อ ที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งได้จัดวางเป็นชั้นในลักษณะที่ผสาน รวมกันอยู่บนหรือในวัตถุกึ่งตัวนำชิ้นเดียวกัน ประเภทที่ 2 ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาอั น เกี่ ย วกั บ ลิ ข สิ ท ธิ์ (Copyright) และสิ ท ธิ ข้างเคียง (Neighboring Rights) - ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์และงานฐานข้อมูล) ศิลปกรรม นาฏกรรม และดนตรีกรรม 1 เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการต่าง ๆ เครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการ 2 3 เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้กันในกลุ่มบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในเครือเดียวกันหรือโดยสมาชิกของ สมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน _12-02(001-016)P2.indd 5 4/14/12 11:08:58 PM
  • 6. สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ - สิทธิข้างเคียง เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นจากการนำเอางานสร้างสรรค์ของผู้อื่นมาสร้างขึ้น ได้แก่ สิทธิของศิลปินนักแสดง สิทธิของผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และ สิทธิของผู้ทำการแพร่เสียง แพร่ภาพ 1.4 ความแตกต่างและความเหมือนคล้ายระหว่างทรัพย์สินทางปัญญากับ ทรัพย์สินทั่วไป ทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างกับทรัพย์สินทั่วไป 5 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 ความแตกต่างในเรื่องวัตถุแห่งสิทธิ ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาเป็ น สิ ท ธิ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผลงานการสร้ า งสรรค์ ข องมนุ ษ ย์ เป็ น สิ ท ธิ ที่ เ กิ ด จากการที่ ก ฎหมายกำหนดรั บ รองขึ้ น เพื่ อ ให้ ค วามคุ้ ม ครองแก่ ผู้ ส ร้ า งสรรค์ ให้ ม ี สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลิตผลที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนแต่เพียง ผู้ เ ดี ย ว เป็ น สิ ท ธิ ที่ จ ะหวงกั น ไม่ ใ ห้ บุ ค คลอื่ น ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตนำสิ ท ธิ ดั ง กล่ า วไปแสวงหา ผลประโยชน์ ทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิในทางนามธรรมที่จับต้องยึดถือ ครอบครองไม่ได้4 เหมือนอย่างทรัพย์สินประเภทอื่นโดยทั่ว ๆ ไป ที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นวัตถุ มีรูปร่าง (ยรรยง พวงราช, 2541 : 18, 19) เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ซึ่งสามารถยึดถือ จับต้องได้ 4 สิทธิในทางนามธรรมหรือสิทธิที่ไม่มีรูปร่างของทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ คือ สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์แต่เพียง ผู้เดียว ในกรณี สิ ท ธิ บั ต ร ผู้ ท รงสิ ท ธิ บั ต รผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี สิ ท ธิ ใ นการผลิ ต ใช้ ขาย มี ไ ว้ เ พื่ อ ขาย เสนอขาย หรื อ นำเข้ า มา ในราชอาณาจั ก รซึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต ามสิ ท ธิ บั ต ร (พ.ร.บ.สิ ท ธิ บั ต ร พ.ศ. 2522, มาตรา 36) เช่ น ผู้ ท รงสิ ท ธิ บั ต รเครื่ อ ง ดักจับยุงก็จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในกรณีลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน อนุญาต ให้ผู้อื่นใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ของตน เช่น ทำซ้ำหรือดัดแปลงและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน (พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537, มาตรา 15) เช่น เจ้าของหรือผู้แต่งนวนิยายมีสิทธิอนุญาตให้บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์นำนวนิยายเรื่องนั้นไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และนำออกฉายได้ ในกรณี เ ครื่ อ งหมายการค้ า เจ้ า ของเครื่ อ งหมายการค้ า เมื่ อ ได้ จ ดทะเบี ย นเครื่ อ งหมายการค้ า แล้ ว ก็ จ ะมี สิ ท ธิ แต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้น สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2541, มาตรา 44) เช่น เจ้าของเครื่องหมายการค้า คำว่า “ARROW” มีสิทธิใช้เครื่องหมายดังกล่าวกับสินค้าจำพวกเสื้อผ้าผู้ชาย เป็นต้น _12-02(001-016)P2.indd 6 4/14/12 11:08:58 PM
  • 7. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ประการที่ 2 ความแตกต่างในเรื่องอายุความในการใช้ ทรัพย์สินทางปัญญามีอายุความในการใช้ เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร5 เครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน แต่สามารถต่ออายุออกไปได้อก6 ในขณะทีทรัพย์สนโดยทัวไปไม่มกำหนดเวลาในการใช้ ี ่ ิ ่ ี ประการที่ 3 ความแตกต่างในเรื่องการได้มา ทรัพย์สินทางปัญญาอาจได้มาโดยการรับโอนทางนิติกรรมเช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป แต่ที่แตกต่างกัน คือ การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรก ต้องได้มาโดยการ สร้างสรรค์และจดทะเบียน (ยกเว้นลิขสิทธิไม่ตองจดทะเบียนการได้มา) ์ ้ 1 ประการที่ 4 ความแตกต่างในเรื่องการใช้สิทธิต่อสู้ ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาไม่ ส ามารถที่ จ ะใช้ ต่ อ สู้ ห รื อ ยั น แก่ บุ ค คลทั่ ว ไปได้ ทั่ ว โลกเหมื อ น อย่างกรณีทรัพย์สินทั่วไป ในกรณีทรัพย์สินทั่วไปเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิใช้กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินของตนต่อสู้หรือยันกับบุคคลทั่วไปได้ทั่วโลก เช่น นาย ก. มีกรรมสิทธิ์ในกระเป๋าถือ 1 ใบ นาย ก. มีสิทธินำกระเป๋าถือใบนี้เดินทางติดตัวไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก หากมีผู้ใดมาขโมย กระเป๋าถือของนาย ก. ไป นาย ก. สามารถฟ้องร้องเพื่อเอากระเป๋าถือคืนได้ แต่ถ้านาย ก. ซึ่งเป็นคนไทยได้วาดภาพขึ้นมา 1 รูปภาพ นาย ก. ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในภาพวาดนั้นและได้รับ การคุ้มครองจากกฎหมายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ใดเอาภาพวาดของ นาย ก. ไป พิมพ์ซ้ำดัดแปลงเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ก. ถือว่ากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ งานศิลปกรรมของนาย ก. และถ้าการกระทำละเมิดดังกล่าว กระทำขึ้นในประเทศไทย นาย ก. สามารถฟ้องผู้ฝ่าฝืนฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ถ้าภาพวาดของนาย ก. ถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ ในประเทศอื่น เช่นนี้ ต้องพิจารณาว่าประเทศที่การละเมิดลิขสิทธิ์ได้ถูกทำขึ้นนั้นกับประเทศ ไทยเป็นภาคีแห่งความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศฉบับเดียวกันหรือไม่ ถ้าคำตอบ คือ ไม่เป็น นาย ก. ก็จะฟ้องว่ามีผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมประเภท จิตรกรรมของตนในประเทศนั้นไม่ได้ (ปริญญา ดีผดุง, 2539 : 295, 300) หรือในกรณี 5 พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522, มาตรา 35 6 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534, มาตรา 53 _12-02(001-016)P2.indd 7 4/14/12 11:08:59 PM
  • 8. สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เจ้าของจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศที่ ได้ไปจดทะเบียนไว้เท่านั้น เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินทางปัญญาใช้ยันกับบุคคลไม่ได้ทั่วโลก เหมือนอย่างเช่นทรัพย์สินทั่วไป ประการที่ 5 ความแตกต่างในเรื่องการแย่งการครอบครอง ทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถได้มาโดยการแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ เหมือนอย่างทรัพย์สินทั่วไป ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนคล้ายกับทรัพย์สินทั่วไป 2 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนขาย ให้เช่า หรืออนุญาตให้ผู้อื่น นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป ประการที่ 2 ในการใช้ สิ ท ธิ ใ นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา เจ้ า ของสิ ท ธิ ย่ อ มต้ อ งใช้ สิ ท ธิ ภายในขอบเขตของกฎหมายเช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินโดยทั่วไป เช่น ถ้าผู้ทรงสิทธิบัตร ต้องการให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นตามสิทธิบัตรได้มาตรฐาน ผู้ทรงสิทธิบัตรก็จะต้อง ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องการผลิตสินค้าจากสิ่งประดิษฐ์ของตน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่า ด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม หรือในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตร จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตในลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดย ไม่เป็นธรรมไม่ได้ ในลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ย่อมมีสิทธิขับขี่รถยนต์ ของตนบนท้องถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับจราจร เป็นต้น (ยรรยง พวงราช, 2541: 19) 1.5 ความสำคัญและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ท่านพิพรรธน์ อินทรศัพท์ อดีตอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (2542 : 2) ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญาได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของนำมาใช้เพื่อประโยชน์ใน ทางการค้าทั้งสิ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายสินค้า เช่น ในการผลิตอาจต้องใช้ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า เป็นต้น ส่วนในการจำหน่ายสินค้า จะต้องใช้เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ เป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าในทางพาณิชย์ และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งและสามารถสร้างตัวเงินได้อย่างมหาศาล” _12-02(001-016)P2.indd 8 4/14/12 11:08:59 PM
  • 9. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นเพราะทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญต่อสังคม เศรษฐกิจ การค้ า และอุ ตสาหกรรม เนื่อ งจากสิ ท ธิบัตรเป็นสิ่งที่ ก่อ ให้เ กิดการผลิตสินค้ า และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะสิทธิบัตรจะเกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนางานทางด้านการศึกษาศิลปะและวรรณกรรม เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเป็นสิ่งที่ช่วยในการขายสินค้าและการให้บริการ ก่อให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจการค้า เมื่อทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอง และพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินทาง 1 ปัญญาได้แสวงหาผลประโยชน์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของตนอย่างเต็มที่ โดยปราศจากการล่วงละเมิดจากผู้อื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด นอกจากกฎหมายจะออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว มองในอีกแง่มุมหนึ่ง การมีกฎหมายให้ความคุ้มครองจะเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้บุคคลคิดค้น และพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เพราะบุคคลมั่นใจว่าผลงาน สร้างสรรค์ของตนจะไม่ถูกล่วงละเมิดได้โดยง่าย เกี่ ย วกั บ มาตรการคุ้ ม ครองทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาโดยภาครั ฐ นายศุ ภ ชั ย พานิ ช ภั ก ดิ์ อดี ต รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ เ คยกล่ า วไว้ ว่ า ภาครั ฐ มี มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา7 โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาให้แก่บุคคลและหน่วยงานในประเทศเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 7 มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของภาครัฐที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ กล่าวไว้นั้น เป็นการตอบกระทู้ถามของนาย เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น โดยนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ชี้แจงตอบกระทู้ถามที่ 708 ร. เรื่องมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 58 ก วันที่ 19 มิถุนายน 2543, หน้า 31-33. _12-02(001-016)P2.indd 9 4/14/12 11:08:59 PM
  • 10. สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติ 10 เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า8 และมีมาตรการคุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยใน ต่างประเทศ9 นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการทำลายทรัพย์สินที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ 8 ภาครัฐได้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้ “ 1) การเผยแพร่ความรูระดับวงกว้าง ได้ดำเนินการผ่านสือสาธารณะต่าง ๆ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ้ ่ และสิงพิมพ์อน ๆ โดยดำเนินการเผยแพร่ในลักษณะสปอตโฆษณา สารคดี ข่าวสาร และจัดทำจุลสารเผยแพร่ ่ ื่ 2) จัดฝึกอบรม ประชุมสัมมนาเผยแพร่ความรูแบบเข้มข้น มุงกลุมเป้าหมายเป็นการเฉพาะ เช่น ข้าราชการผูบงคับใช้ ้ ่ ่ ้ ั กฎหมาย นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก นักศึกษา ประชาชนอื่น ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และนำประโยชน์ในทรัพย์สนทางปัญญามาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดทำโครงการเผยแพร่ความรู้ ดังนี้ ิ ั - จัดการฝึกอบรมตามโครงการจุดประกายทรัพย์สินทางปัญญาสู่มวลชน โดยวิทยากรไปบรรยายเผยแพร่ความรู้ ให้แก่สถาบันการศึกษา หอการค้า กลุ่มธุรกิจทั่วประเทศ - จัดการฝึกอบรมพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ ศาล อัยการ ตำรวจ อุตสาหกรรม จังหวัด พาณิชย์จงหวัด หอการค้าจังหวัด ทนายความ สือมวลชน และภาคเอกชนอืน ๆ ั ่ ่ - จัดการประชุมสัมมนาด้านสิทธิบัตรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 3) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตรไปสู่การพัฒนาการผลิตของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ความสำคัญของ เอกสารสิทธิบตร การสืบค้นข้อมูลจากเอกสารสิทธิบตรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยดำเนินการจัดสัมมนา ั ั - เรืองข้อมูลสิทธิบตรกับธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ่ ั - เรืองการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสิทธิบตรสูธรกิจภาคอุตสาหกรรมส่งออก ่ ั ุ่ - เรืองอนุสทธิบตร ่ ิ ั - เอกสารสิทธิบตรกับการพัฒนาเทคโนโลยีดานอุตสาหกรรมยานยนต์ ชินส่วนยานยนต์ ชินส่วนรถยนต์ ั ้ ้ ้ - สิทธิบตรกับการพัฒนาสินค้าของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ั 4) จัดประชุมเจ้าของงานลิขสิทธิ์ และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์วรรณกรรม เพื่อรับฟังปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไข อันจะ ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แก่ผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ 5) จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ในงานกาชาด งานประจำปีของจังหวัดและงานวันข้าราชการพลเรือน 6) ประสานงานกับทบวงมหาวิทยาลัยเพือผลักดันให้ทรัพย์สนทางปัญญาเป็นวิชาบังคับ สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญา ่ ิ ตรีทกสาขา ซึงทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศนโยบายจัดการศึกษาด้านทรัพย์สนทางปัญญา เมือวันที่ 24 ธันวาคม 2541 และจัด ุ ่ ิ ่ คณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรบุคลากร ครู/อาจารย์ เพือดำเนินการในเรืองดังกล่าว ่ ่ 7) ประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดทำหนังสืออ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8) จัดระบบข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนในระบบอินเทอร์เน็ต โดยเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2541” 9 ภาครัฐได้ดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ ดังนี้ “ 1) จัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยที่ถูกละเมิดในต่างประเทศและได้ประสานงาน กับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง การประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ขณะนี้เรื่องส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างดำเนินการ เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า หากเป็นผลสำเร็จจะส่งผลให้สินค้าไทยสามารถส่งไปจำหน่ายในประเทศ นั้น ๆ ได้ หรือส่งไปจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น และในปัจจุบันได้มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของคนไทยในต่างประเทศเช่นกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหา 2) ดำเนินโครงการคุมครองเครืองหมายการค้าของผูสงออกไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนี้ ้ ่ ้่ - ได้จัดทำคู่มือและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และทำการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ - จัดสัมมนานักธุรกิจการค้าชายแดนไทย-ลาว ให้มความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิในการขอรับการคุมครอง ี ้ เครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมทั้งได้จัดส่งเอกสารคู่มือให้ หน่วยงานทีเกียวข้อง” ่ ่ _12-02(001-016)P2.indd 10 4/14/12 11:08:59 PM