SlideShare a Scribd company logo
1 of 42
6.3 การกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมลงในแบบงาน
6.3.1 สัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท (Fillet weld symbols)
ในการเชื่อมแบบฟิลเล็ท จะสังเกตจากพื้นที่หน้าตัดของแนวเชื่อมที่เชื่อมแล้วเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งงาน
ที่เชื่อมและมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมจะประกอบไปด้วย รอยต่อมุม ต่อตัวที และรอยต่อเกย
หมายเหตุ การเขียนสัญลักษณ์ลงบนเส้นอ้างอิงมุมฉากของสัญลักษณ์จะตั้งฉากกับเส้นอ้างอิงทางด้าน
ซ้ายมือเสมอ
ต่อตัวที
ต่อมุม
ต่อเกย
รูปที่ 6.11 แสดงแนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมาตรฐาน AWS
การกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท
สามารถกาหนดได้ทั้งทางด้านลูกศรชี้หรือตรงข้ามลูกศรชี้ในกรณีที่ชิ้นงานมีการเชื่อมทั้งสองด้านการกาหนด
สัญลักษณ์ต้องกาหนดไว้ทั้งสองด้านคือบนและล่างของเส้นอ้างอิงดังรูป
รูปที่ 6.12 แสดงการกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมาตรฐาน AWS
การกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท
ในกรณีที่ชิ้นงานประกอบมีชิ้นงานหลักและชิ้นงานย่อยประกอบเข้าด้วยกันการกาหนดสัญลักษณ์ต้องยึดตัวชิ้นงาน
หลักเป็นตัวกาหนดด้านลูกศรชี้หรือด้านตรงข้ามลูกศรชี้ดังรูป
รูปที่ 6.13 แสดงการกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมาตรฐาน AWS
6.3.2 การกาหนดขนาดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท
แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมี leg สองด้าน จะมีขนาดเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
การกาหนดขนาดจะกาหนดทางด้านซ้ายมือของสัญลักษณ์กรณีที่ชิ้นงานมีขนาดของlegเท่ากันจะกาหนดเยงค่าเดียวแต่
ถ้ามีขนาด leg ไม่เท่ากันต้องกาหนดทั้งสองค่าดังรูป
รูปที่ 6.14 การกาหนดขนาดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมาตรฐาน AWS
การกาหนดขนาดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท
สามารถกาหนดได้ทั้งทางด้านลูกศรชี้และด้านตรงข้ามลูกศรชี้หรือทั้งสองด้านซึ่งจะเป็นการกาหนดขนาดlegของแนว
เชื่อมในกรณีของแนวเชื่อมเท่ากันการกาหนดขนาดเพียงค่าเดียวถ้าlegของแนวเชื่อมมีขนาดไม่เท่ากันต้องกาหนดสอง
ค่าดังรูป
รูปที่ 6.15 แสดงการกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทมาตรฐาน AWS
6.3.3 การกาหนดความยาวของแนวเชื่อมแบบฟิลเล็ท
ในการกาหนดขนาดความยาวแนวเชื่อม ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานต้องการจากัดความยาวแนวเชื่อมและเชื่อม
แบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent weld) การกาหนดขนาดความยาวแนวเชื่อมจะเขียนขนาดอยู่ทางด้านขวามือของ
สัญลักษณ์แนวเชื่อมเสมอ
รูปที่ 6.16 แสดงการกาหนดขนาดแบบจากัดความยาว (Limitted weld length) มาตรฐาน AWS
การเชื่อมแบบแนวเชื่อมไม่ต่อเนื่อง (Intermittent weld) การบอกขนาดจะบอกขนาดทางด้านขวามือ
ของสัญลักษณ์แนวเชื่อม ตัวเลขด้านหน้าจะบอกความยาวของแนวเชื่อม ตัวเลขตัวหลังจะบอกระยะ pitch (คือระยะ
จากกึ่งกลางของแนวเชื่อมแนวแรกไปถึงกึ่งกลางแนวเชื่อมแนวที่สอง)
รูปที่ 6.17 แสดงการกาหนดขนาดแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent weld) มาตรฐาน AWS
การเชื่อมแบบแนวเชื่อมสลับกัน และซิกแซกทั้งสองด้าน การเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมต้องเขียน
เยื้องกันครึ่งหนึ่ง การกาหนดความยาวและระยะ pitch ต้องกาหนดทั้งสองด้าน
รูปที่ 6.18 แสดงแนวเชื่อมแบบสลับ (Staggered intermittent weld) มาตรฐาน AWS
การใช้งานและการกาหนดสัญลักษณ์การเชื่อมแบบฟิลเล็ทสามารถกาหนดขนาดได้ตามมาตรฐาน AWS
สามารถกาหนดได้ด้านเดียวและสองด้านหรือกรณีที่แนวเชื่อมเป็นแบบเว้นเป็นช่วงการกาหนดขนาดต้องกาหนดตาม
ความยาวแนวเชื่อมและระยะpitchของแนวเชื่อมด้วยดังรูป
รูปที่ 6.19 แสดงตัวอย่างการใช้งานของสัญลักษณ์การเชื่อมและฟิลเล็ท มาตรฐาน AWS
6.3.4 การเชื่อมรอบ (Weld all around)
สัญลักษณ์การเชื่อมรอบๆ จะเป็นตัวชี้ว่าแนวเชื่อมที่เชื่อมจะเป็นแบบต่อเนื่องและสมบูรณ์รอบๆ
รอยต่อ การเขียนสัญลักษณ์รูปวงกลมอยู่ระหว่างหัวลูกศรต่อกับเส้นอ้างอิง ดังรูป
6.3.5 การเขียนหัวลูกศรชี้หลายจุด (Multiple arrow)
การเขียนจะใช้ชี้ตาแหน่งของรอยเชื่อมที่ต้องการเชื่อมหลายด้านติดต่อกัน แต่ไม่เชื่อมรอบ ซึ่งหัวลูกศร
จะแยกออกจากเส้นอ้างอิง ชี้ไปยังตาแหน่งที่ต้องการเชื่อม ดังรูป
รูปที่ 6.20 แสดงการกาหนดขนาดแบบรอบและหลายจุด มาตรฐาน AWS
6.3.6 การเชื่อมสนาม (Field weld)
ในการเชื่อมชิ้นงานบางชนิด ไม่สามารถกระทาในโรงงานได้ทั้งหมด เพราะชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ต้องทา
เป็นชิ้นๆ ในโรงงาน และนามาทาการเชื่อมประกอบนอกสถานที่ ในขั้นตอนขั้นสุดท้าย เช่น โครงสร้างสะพาน การ
เขียนสัญลักษณ์จะเขียนแยกออกมาระหว่างหัวลูกศรกับเส้นอ้างอิง
รูปที่ 6.21 แสดงการเขียนสัญลักษณ์การเชื่อมสนาม มาตรฐาน AWS
6.3.7 การตกแต่งผิวสาเร็จของการเชื่อมแบบฟิลเล็ท
(Contouring and finishing of fillet)
โดยปกติแล้วแนวเชื่อมแบบฟิลเล็ทจะมีผิวโค้งเล็กน้อย อย่างไรก็ดีเราสามารถทาให้มีผิวเว้าและผิวเรียบ
ได้รอยเชื่อมแบบฟิลเล็ทที่มีผิวเว้าอาจจะเกิดการแตกร้าวได้ วิธีแก้ไขต้องเชื่อมให้มีขนาดของ Throatพอดี รอยเชื่อมที่มี
ผิวเรียบสามารถกระทาได้โดยใช้เครื่องเจีย สกัดเครื่องจักร และการรีด ดังรูป
รูปที่ 6.22 แสดงผิวของแนวเชื่อมฟิลเล็ท มาตรฐาน AWS
6.3.8 การออกแบบร่องรอยต่อ (Groove design)
การออกแบบรอยต่อพื้นฐานที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกได้ 8ชนิดคือ
6.3.8.1 ต่อฉาก (Square grooves)
มีข้อกาหนดเกี่ยวกับความหนาของชิ้นงาน ชิ้นงานต้องมีความหนาไม่เกิน ¼ นิ้ว เพราะชิ้นงาน
มีขนาดความหนามาก จะมีผลต่อความแข็งแรงและการซึมลึกไม่สมบูรณ์
รูปที่ 6.23 แสดงร่องรอยต่อฉากมาตรฐาน AWS
6.3.8.2 การบากหน้างานแบบร่องตัววี (V-grooves)
การออกแบบการบากหน้างานแบบร่องตัววี เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมสามารถเชื่อมให้มีการ
หลอมละลายและซึมลึก 100% ชิ้นงานแบบร่องตัววีต้องมีความหนามากกว่า 1/4.” และสามารถบากได้ทั้งสองด้าน ดัง
รูป
6.3.8.3 การบากหน้าแบบบีเวล (Bevel-grooves)
ชิ้นงานจะถูกบากเพียงชิ้นเดียว การบากจะบากด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดความ
หนาของชิ้นงาน ในการเขียนสัญลักษณ์ลงบนชิ้นงาน หัวลูกศรจะชี้ชิ้นงานที่ถูกบากเท่านั้น ดังรูป
รูปที่ 6.24 แสดงการ
บากหน้างานแบบ V-
grooves และการบาก
หน้างานแบบ
(Bevel-grooves)
มาตรฐาน AWS
6.3.8.4 การบากหน้างานแบบตัวยู (U-grooves)
การบากหน้างานคล้ายตัววี แต่ผิวหน้าของตัวยูจะเป็นผิวเว้าไม่เรียบ ในการเตรียมรอยต่อนิยมใช้กับ
งานเชื่อมสนามและงานก่อสร้าง เพราะสะดวกในการเคลื่อนย้าย การบากหน้างานสามารถบากได้ด้านเดียว หรือสองด้าน
และต้องบากหน้างานทั้งสองชิ้น ดังรูป
รูปที่ 6.25 แสดงการบากหน้างานแบบตัวยู U-grooves มาตรฐาน AWS
6.3.8.5 การบากหน้างานแบบตัวเจ (J-grooves)
การบากหน้างานแบบนี้ จะแตกต่างจากการบากหน้างานแบบตัวยู เพราะจะบากหน้างานเพียง
ชิ้นเดียว สามารถบากได้ทั้งสองด้าน ขึ้นอยู่กับขนาดความหนาของชิ้นงาน การเขียนสัญลักษณ์ลูกศรจะชี้ชิ้นงานที่มี
การบากหน้างาน ดังรูป
6.3.8.6 ร่องบากแบบแฟร์วี (Flare V-grooves)
ร่องแบบแบบแฟร์วี ใช้สาหรับการเชื่อมชิ้นงานที่มีผิวภายนอกโค้ง เช่น เชื่อมท่อกับท่อ หรือ
แท่งเหล็กกลมกับแท่งเหล็กกลม ดังรูป
รูปที่ 6.26 แสดงการบากหน้างานแบบตัวเจ (J-grooves) และร่องบากแบบ Flare V- grooves
มาตรฐาน AWS
6.3.8.7 ร่องบากแบบแฟร์บีเวล (Flare bevel-grooves)
ร่องบากแบบนี้จะมีลักษณ์คล้ายกับร่องบากแบบแฟร์วี แตกต่างกันคือเป็นการเชื่อมงานผิวโค้ง
กับผิวเรียบเข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมท่อกลมกับผิวเรียบ ดังรูป
รูปที่ 6.27 แสดงร่องบากแบบ Flare bevel-grooves มาตรฐาน AWS
6.3.8.8 รอยต่อทาบแนว (Scarf joint)
รอยต่อที่ใช้ในการบัดกรีแข็ง โดยชิ้นงานจะไม่หลอมละลาย แต่จะมี ตัวประสานทาให้
ติดกัน รอยต่อแบบนี้จะแตกต่างจากรอยต่อฉากคือ ชิ้นงานจะตัดเป็นมุมเอียง 45 องศา ดังรูป
รูปที่ 6.28 แสดงรอยต่อทาบแนว (Scarf joint) มาตรฐาน AWS
6.3.9 การกาหนดขนาดร่องรอยบาก
ขนาดความลึกของร่อยรอยบาก และขนาดความกว้างของชิ้นงาน จะเขียนอยู่ทางซ้ายมือของ
สัญลักษณ์ แนวเชื่อมความลึกของร่องรอยต่อจะวัดจากผิวหน้าของชิ้นงานลงมาถึงส่วนร่องบากที่ลึกมากที่สุดของ
ร่องรอยบาก ดังรูป
รูปที่ 6.29 แสดงการการกาหนดขนาดร่องรอยต่อมาตรฐาน AWS
6.3.10 การกาหนดขนาด (Root opening)
มีหลายเงื่อนไขซึ่งรอยต่อแนวเชื่อมต้องการระยะห่างระหว่างรอยต่อของชิ้นงานที่เหมาะสม เพื่อ
การซึมลึกที่สมบูรณ์ ในการกาหนดขนาดของ Root opening ตัวเลขจะเขียนตรงกลางของสัญลักษณ์แนวเชื่อม ดังรูป
รูปที่ 6.30 แสดงการกาหนดขนาด Root opening มาตรฐาน AWS
6.3.11 การกาหนดขนาดมุมรวมของการบากหน้างาน (Included angle
การกาหนดขนาดมุมรอยต่อ มุมรวมของการบากหน้างาน คือการนาเอามุมบากหน้างานของชิ้นงาน
สองชิ้นรวมกัน เป็นสิ่งจาเป็นมาก ที่ช่างเชื่อมจะต้องเตรียมชิ้นงานได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรง ส่วนวิศวกรมีหน้าที่
พิจารณาเกี่ยวกับตาแหน่งท่าเชื่อม ขนาดลวดเชื่อม และความหนาของชิ้นงานเพื่อกาหนดมุมในการบากหน้างาน การ
กาหนดขนาดจะเขียนตัวเลขตรงกลางของสัญลักษณ์แนวเชื่อม ดังรูป
รูปที่ 6.31 แสดงการกาหนดขนาดมุมรวมของการบากหน้างาน มาตรฐาน AWS
การกาหนดขนาดและสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบผสม
การกาหนดขนาดโดยวิธีนี้หมายความว่าในงานชิ้นเดียวสามารถกาหนดรายละเอียดต่างๆได้ครบถ้วนตามต้องการ
เช่นการบากหน้างาน ขนาดของแนวเชื่อม ระยะห่างของชิ้นงาน มุมที่ใช้ในการบากหน้างาน และวิธีการเชื่อม ดังรูป
รูปที่ 6.32 แสดงการกาหนดขนาดและสัญลักษณ์แบบผสมมาตรฐาน AWS
6.3.12 การตกแต่งผิวสาเร็จ (Contouring and Finishing)
ร่องรอยต่อของแนวเชื่อมสามารถจะกาหนดผิวสาเร็จและสามารถกาหนดวิธีการทาผิวสาเร็จได้ และ
สามารถกาหนดตัวอักษรกากับ ดังนี้
M = โดยใช้เครื่องจักร (Machine) G = โดยใช้หินเจีย (Grinding)
C = โดยใช้สกัด (Chipping) R = โดยวิธีการรีด (Rolling)
H = โดยการตีด้วยค้อน (Hammering) U = ไม่กาหนด (Unspecified)
รูปที่
6.33 แสดงการ
กาหนด
สัญลักษณ์การ
ตกแต่งผิว
สาเร็จ
มาตรฐาน
AWS
6.3.13 การกาหนดสัญลักษณ์การซึมลึกที่สมบูรณ์ (Complete Penetration)
ในการเชื่อมให้มีการซึมลึกที่สมบูรณ์ สามารถกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมเป็นตัวอักษร C J P
(Complete Joint Penetration) ไว้บริเวณส่วนหางของสัญลักษณ์งานเชื่อม หรือจะใช้สัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบหลอม
ทะลุ (Melt-through) ซึ่งกาหนดขนาดความสูงของการหลอมทะลุเป็นตัวเลขไว้ทางซ้ายมือของสัญลักษณ์แนวเชื่อม
ดังรูป
รูปที่ 6.34 แสดงการกาหนดสัญลักษณ์การซึมลึกที่สมบูรณ์มาตรฐาน AWS
6.3.14 แนวเชื่อมที่มีแผนรองหลัง (Weld with backing strip)
ในการเขียนสัญลักษณ์ของแผ่นรองหลังจะบอกขนาด และชนิดของแผ่นรองหลังไว้บริเวณส่วน
หางของสัญลักษณ์งานเชื่อม และจะเขียนสัญลักษณ์แผ่นรองหลังไว้ที่เส้นอ้างอิง โดยการเขียนตัวอักษร “R” ไว้ใน
รูปสี่เหลี่ยม ซึ่งหมายความว่า แผ่นรองหลังจะต้องเอาออกหลังการเชื่อมเสร็จแล้ว
6.3.15 การเชื่อมด้านหลังแนวเชื่อม (Back and Backing)
วิธีการเชื่อมด้านหลังของร่องรอยต่อหลังจากเชื่อมด้านหน้าร่องรอยต่อแล้ว ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกัน
ในการเขียนสัญลักษณ์จะเขียนไว้ที่เส้นอ้างอิง และที่ส่วนหางของลูกศรจะเขียนคาว่า “Back” หรือ “Backing” กากับ
ไว้ดังรูป
รูปที่ 6.35 แสดงการเชื่อมแบบมีแผ่นรองหลัง และการเชื่อมด้านหลังแนวเชื่อมมาตรฐาน AWS
6.3.16 การเชื่อมที่มีแผ่นกั้นกลางช่องว่างระหว่างชิ้นงาน (Spacer Symbols)
ในการเชื่อมโดยใช้แผ่นกั้นกลางระหว่างชิ้นงาน เป็นการป้ องกันการเกิดความเค้น ซึ่งอาจจะทาให้
ชิ้นงานเกิดการแตกร้าว ในการเชื่อมชิ้นงานส่วนมากจะเชื่อมทั้งสองด้าน ดังรูป
รูปที่ 6.36 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบ Spacer Symbols มาตรฐาน AWS
รูปที่ 6.37 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบ Consumable inserts มาตรฐาน AWS
6.3.17 การเชื่อมโดยการแทรกวัสดุเสริมในร่องรอยต่อ (Consumable inserts)
ในการเชื่อมโดยวิธีนี้ วัสดุเสริมที่ใส่เข้าไปในร่องรอยต่อจะหลอมละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับ
ชิ้นงาน ซึ่งสามารถจาแนกออกได้ 5 Class ดังรูป
รูปที่ 6.38 แสดงรูปทรงวัสดุเสริมในร่องรอยต่อ 5 Classมาตรฐาน AWS
การเขียนแบบการเชื่อมโดยการแทรกวัสดุเสริมในร่องรอยต่อวัสดุที่ใส่เข้าไปในร่องรอยต่อจะหลอมละลาย
กลายเป็นเนื้อเดียวกันกับวัสดุชิ้นงานซึ่งมีทั้งหมด 5 Classสามารถเลือกใช้ได้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงานดังรูป
รูปที่ 6.39 แสดงการเขียนแบบรูปทรงวัสดุเสริมในร่องรอยต่อ มาตรฐาน AWS
6.3.18 การเชื่อมแบบปลั๊ก (Plug weld symbols)
การเชื่อมแบบปลั๊ก ชิ้นงานจะวางลักษณ์เกยกัน รูเจาะบนแผ่นชิ้นงานจะมีลักษณะกลมเพื่อเติมโลหะ
เชื่อม
การกาหนดขนาดของแนวเชื่อมปลั๊กลงในสัญลักษณ์แนวเชื่อมจะประกอบด้วย
- เส้นผ่าศูนย์กลางของรูเจาะ
- มุมเอียงของรูเจาะ
- ความลึกของรูเติมโลหะ
- ระยะพิทของแนวเชื่อม
- ผิวของแนวเชื่อม
- การตกแต่งผิวสาเร็จ
6.3.19 การเชื่อมแบบสล็อต (Slot weld symbols)
ในการเชื่อมชิ้นงานจะวางเกยกัน รูเจาะบนแผ่นชิ้นงานจะมีลักษณะกลมยาว Slot เพื่อใช้เติมโลหะ
เชื่อม
การกาหนดขนาดของแนวเชื่อมสล็อตลงในสัญลักษณ์แนวเชื่อม ประกอบด้วย
- ความลึกของรูเติมโลหะ (Depth of fill)
- ผิวของแนวเชื่อม (Contour)
- การตกแต่งผิวสาเร็จ (Finishing)
รูปที่ 6.40 แสดงการบากหน้างานแบบตัวยู U-grooves
หมายเหตุ ในการเติมโลหะเชื่อม ต้องเคาะสแลกออกก่อนทุกครั้ง
6.3.20 การเชื่อมพอกผิวแข็ง (Surfacting หรือ Hardfacing Symbols)
การเชื่อมพอกผิวแข็งสาหรับชิ้นงานที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนานทาให้เกิดการชารุดสึกหรอ เช่น
อุปกรณ์บดหิน บดแร่ เพลา เครื่องมือต่างๆ ใบมีดขุดของรถแทรคเตอร์ ต้องมีการเชื่อมพอกผิวใหม่ เพื่อเป็นการลด
ค่าใช้จ่ายในการทางาน การกาหนดความสูงของแนวเชื่อมพอกผิวจะกาหนดทางด้านซ้ายของสัญลักษณ์แนวเชื่อม
รูปที่ 6.41 แสดงภาพการเชื่อมแบบพอกผิวแข็งมาตรฐาน AWS
6.3.21การเชื่อมขอบ (Flange weld symbols)
การเชื่อมขอบ จะใช้เชื่อมโลหะแผ่นบาง 1/8 – 3/16 หรือน้อยกว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. รอยเชื่อมขอบ (Edge flange)
2. แนวเชื่อมมุม (Corner flange)
การกาหนดขนาดและสัญลักษณ์รอยเชื่อมขอบ จะประกอบไปด้วย
R = รัศมี (Radius)
H = ความสูงรอยพับ (Height)
S = ขนาดของแนวเชื่อม (Size of weld)
Ro = ระยะห่างระหว่างชิ้นงาน (Root opening)
รูปที่ 6.42 แสดงภาพการเชื่อมขอบตามมาตรฐาน AWS
รูปที่ 6.43 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมขอบและแนวเชื่อมมุมมาตรฐาน AWS
6.3.22 การเชื่อมแฟรช (Flash weld symbols)
การเชื่อมแบบนี้ ชิ้นงานจะต่อลักษณะต่อชนโดยการใช้กระแสไฟก่อน จึงจะใช้แรงดันช่วยทา
ให้ติดกัน การเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมจะเป็นเหมือนกับการต่อชนแบบขนาน บริเวณเส้นอ้างอิง และจะเขียน
ตัวอักษร FW บริเวณเส้นหางของสัญลักษณ์
6.3.23 การเชื่อมอัฟเซ็ท (Upset weld symbols)
การเชื่อมโลหะวิธีนี้ เหมือนกับการเชื่อมแบบแฟลซ คือชิ้นงานจะต่อกันแบบต่อชน มีขั้นตอน
การเชื่อม คือใช้แรงดันก่อน แล้วจึงใช้กระแสไฟทาให้ชิ้นงานติดกัน
การเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมจะเป็นเหมือนการเชื่อมแฟลซ คือจะเป็นแบบเชื่อมสองด้าน
บริเวณเส้นอ้างอิง และเขียนตัวอักษร uw ไว้บริเวณหางของสัญลักษณ์
ขั้นตอนการเชื่อม
การเชื่อมแฟรช (Flash weld symbols) ใช้กระแสไฟก่อนแล้วใช้แรงดันอัดทาให้
ชิ้นงานติดกัน
การเชื่อมอัฟเซ็ท (Upset weld symbols)ใช้แรงดันดันชิ้นงานให้ติดกันก่อนแล้วจึงใช้กระแสไฟทาให้
ชิ้นงานติดกัน
รูปที่ 6.44 แสดงสัญลักษณ์การเชื่อมแบบแฟลซ และสัญลักษณ์การเชื่อมแบบอัฟเซ็ต
มาตรฐาน AWS
6.3.24 การเชื่อมแบบสตัด (Stud weld)
การเชื่อมโดยวิธีนี้ จะใช้ปืนเชื่อมทาให้เกิดการอาร์คระหว่างสลักและผิวของชิ้นงาน ซึ่งจะต้องใช้
กระแสไฟเพื่อให้เกิดความร้อนและใช้แรงดันช่วยเพื่อทาให้ชิ้นงานติดกัน
การเขียนสัญลักษณ์จะเขียนด้านลูกศรชี้เท่านั้น ขนาดของสลักจะเขียนทางด้านซ้ายของสัญลักษณ์
จานวนของแนวเชื่อมจะเขียนอยู่ด้านล่างของสัญลักษณ์และมีเครื่องหมาย ( ) กากับระยะ Pitch จะเขียนทางด้าน
ขวามือของสัญลักษณ์
ขั้นตอนการเชื่อม
การเชื่อมแบบสตัด ขั้นตอนแรกใช้หัวเชื่อมที่มีฝาครอบยึดตัวสตัด ขั้นตอนที่สองใช้กระแสไฟเพื่อให้เกิดความร้อน
ขั้นตอนที่สามใช้แรงกดทาให้สตัดยึดติดกับชิ้นงาน
รูปที่ 6.45 แสดงขั้นตอนการเชื่อมแบบสตัดมาตรฐาน AWS
6.3.25 การเชื่อมแบบสปอต (Spot weld symbols)
การเชื่อมแบบสปอต เป็นการเชื่อมแบบความต้านทานโดยชิ้นงานจะวางในลักษณะเกยกัน (Lap
joint) เครื่องเชื่อมสปอตจะมีแท่งทองแดงสองแท่ง เพื่อกดอัดชิ้นงาน ทาให้ชิ้นงานเกิดการอาร์คและหลอมละลาย
ติดกัน โดยทั่วไปจะใช้กับชิ้นงานด้านโลหะแผ่น เช่นงานประกอบตัวถังรถยนต์ ลักษณะของรอยเชื่อมจะเป็นจุดเล็กๆ
การกาหนดสัญลักษณ์งานเชื่อม สามารถกาหนดไว้ที่ด้านลูกศรชี้ ตรงข้ามลูกศรชี้หรือกึ่งกลางเส้น
อ้างอิง
การกาหนดขนาดของรอยเชื่อม สปอตจะกาหนดไว้ทางด้านซ้ายมือของสัญลักษณ์
การกาหนดจานวนรอยเชื่อมจะกาหนดทางด้านล่างของสัญลักษณ์
การกาหนดระยะห่างระหว่างรอยเชื่อม(pitch)กาหนดทางด้านขวาของสัญลักษณ์
การกาหนด shear strengthให้เขียนไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์
รูปที่ 6.46 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบสปอตมาตรฐาน AWS
6.3.26 การเชื่อมแบบโปรเจคชั่น (Projection weld symbols)
การเชื่อมแบบความต้านทานเหมือนกับการเชื่อมจุด การเชื่อมแบบนี้ชิ้นงาน จะถูกทาให้เกิดรอย
นูนบริเวณที่จะเชื่อม โดยใช้เครื่องมือกด
การกาหนดสัญลักษณ์จะกาหนดได้ทั้งทางด้านลูกศรชี้และด้านตรงข้ามลูกศรชี้จะเป็นตัวอักษร
RPW ไว้บริเวณส่วนหางของสัญลักษณ์
รูปที่ 6.47 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบโปรเจคชั่นมาตรฐาน AWS
6.3.27 การเชื่อมแบบตะเข็บ (Seam weld symbols)
การเชื่อมแบบความต้านทาน เหมือนการเชื่อมแบบจุด การเชื่อมจะใช้เครื่องเชื่อมที่มีลูกกลิ้งสองตัว
กดลงบนชิ้นงานโลหะแผ่นเกยกัน จะใช้กระแสเหนี่ยวนาทาให้เกิดความต้านทาน และเกิดความร้อน ชิ้นงานติดกัน
การกาหนดสัญลักษณ์แนวเชื่อมจะกาหนดทั้งทางด้านลูกศรชี้ ตรงข้ามลูกศรชี้ และกึ่งกลางเส้น
อ้างอิง
การกาหนดขนาดแนวเชื่อมจะกาหนดด้านซ้ายของสัญลักษณ์
การกาหนดความยาวของแนวเชื่อมจะกาหนดด้านขวาของสัญลักษณ์
การกาหนดระยะห่างระหว่างรอยเชื่อม(pitch)กาหนดทางด้านขวามือของสัญลักษณ์
การกาหนดความแข็งแรงเฉือนไว้ทางด้านซ้ายของสัญลักษณ์
รูปที่ 6.48 แสดงสัญลักษณ์แนวเชื่อมแบบตะเข็บมาตรฐาน AWS

More Related Content

What's hot (20)

2 5
2 52 5
2 5
 
2 9
2 92 9
2 9
 
2 4
2 42 4
2 4
 
2 3
2 32 3
2 3
 
4 1
4 14 1
4 1
 
8 3
8 38 3
8 3
 
402
402402
402
 
5 2
5 25 2
5 2
 
3 3
3 33 3
3 3
 
401
401401
401
 
งานโลหะแผ่น4 1
งานโลหะแผ่น4 1งานโลหะแผ่น4 1
งานโลหะแผ่น4 1
 
9 2
9 29 2
9 2
 
2 6
2 62 6
2 6
 
Solidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐานSolidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐาน
 
1 2
1 21 2
1 2
 
01 bolt and nut - r1
01 bolt and nut - r101 bolt and nut - r1
01 bolt and nut - r1
 
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
 
404
404404
404
 
3 2
3 23 2
3 2
 
01 bolt and nut - r2
01 bolt and nut - r201 bolt and nut - r2
01 bolt and nut - r2
 

More from Pannathat Champakul (20)

เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
 
505
505505
505
 
407
407407
407
 
603
603603
603
 
602
602602
602
 
601
601601
601
 
600
600600
600
 
504
504504
504
 
503
503503
503
 
502
502502
502
 
501
501501
501
 
500
500500
500
 
406
406406
406
 
405
405405
405
 
403
403403
403
 
400
400400
400
 
305
305305
305
 
304
304304
304
 
303
303303
303
 
302
302302
302
 

6 3