SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ1 รหัสวิชา ว31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อาหาร จำนวน 19 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ 13 เรื่อง ไขมันและน้ำมัน จำนวน 3 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย
และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.5/14 ระบุสารประกอบอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจากสูตรโครงสร้าง
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (K)
1) นักเรียนอธิบายความหมายของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้
2) นักเรียนระบุสารประกอบอินทรีย์ประเภทไฮโดรเจนคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจากสูตร
โครงสร้างได้
3.2 ด้านกระบวนการ (P)
1) นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าได้
3.3 ด้านคุณลักษณะ (A)
1) ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
4. สาระสำคัญ
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และวิตามินเป็น
สารประกอบอินทรีย์ ส่วนเกลือแร่เป็นไอออนหรือสารประกอบไอออนิก สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบของ
ธาตุคาร์บอนซึ่งอาจมีธาตุอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ไขมันมีทั้ง
ชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวซึ่งพิจารณาได้จากชนิดพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมในกรดไขมัน ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกับ
สารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอน คาร์โบไฮเดรตที่เป็นมอนอเมอร์และพอลิเมอร์มีสมบัติแตกต่างกัน โปรตีนเป็น
พอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์เป็นกรดแอมิโนซึ่งมีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโน จึงแสดงสมบัติความเป็นกรด-เบสได้
วิตามินแต่ละชนิดมีสภาพขั้วแตกต่างกัน ทำให้บางชนิดละลายได้ในน้ำมัน บางชนิดละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งเป็นไปตาม
หลักการ like dissolves like ส่วนเกลือแร่แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารส่วนใหญ่
ทำมาจากพลาสติกซึ่งเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ มีทั้งชนิดพอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกและพอลิเมอร์เทอร์มอเซตซึ่งใช้
งานได้แตกต่างกัน พลาสติกย่อยสลายได้ยากและมีการใช้ในปริมาณมาก จึงก่อให้เกิดปัญหาขยะ การลดการใช้ การ
ใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการช่วยปัญหาได้ทางหนึ่ง
5. สาระการเรียนรู้
5.1 ความรู้
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาหารให้พลังงาน หรือใช้กลไกในการทำงาน
ของระบบภายในร่างกาย อาหารแต่ละชนิดมีสารองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์
(organic compound) ยกเว้นเกลือแร่
สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบ ธาตุคาร์บอนใน
สารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน (H) หรือกับธาตุคาร์บอน (C) ด้วย
กันเอง นอกจากนี้สารประกอบอินทรีย์ยังมีธาตุชนิดอื่น เช่น O N S Cl เป็นองค์ประกอบร่วมกัน
สารประกอบอินทรีย์อาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตหรือการสังเคราะห์ ส่วนสารประกอบอื่นที่ไม่ใช่สารประกอบ
อินทรีย์ เรียกว่า สารประกอบอนินทรีย์ ซึ่งมีสารประกอบของคาร์บอนบางชนิดจัดเป็นสารประกอบ
อนินทรีย์ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดคาร์บอนิก
รูป 3.1 สูตรโครงสร้างสารประกอบอินทรีย์บางชนิด
ไขมันและน้ำมัน
ในชีวิตประจำวันอาหารที่บริโภคส่วนใหญ่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบ เช่น ไก่ทอด
ไอศกรีม ผัดผัก ขนมเค้ก เครื่องดื่มผสมครีมเทียม ไขมันและน้ำมันแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน
การเลือกบริโภคไขมันและน้ำมันอย่างเหมาะสมจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพของร่างกาย
ไขมันและน้ำมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน พบมากในอาหารจำพวกน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ นม เนย
ไขมันและน้ำมันจัดเป็นสารในกลุ่มไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ที่มีโครงสร้างประกอบด้วยส่วนที่มาจาก
กลีเซอรอล (glycerol) และกรดไขมัน (fatty acid) ดังรูป 3.3
รูป 3.3 โครงสร้างของไตรกลีเซอไรด์
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของไตรกลีเซอไรด์ในไขมันและน้ำมันแต่ละชนิดจะมีส่วนที่มาจากกลีเซอรอล
เหมือนกัน แต่จะมีส่วนที่มาจากกรดไขมันที่แตกต่างกัน โดยส่วนที่เป็นกรดไขมันถ้ามีพันธะ C=C อยู่ในโครงสร้าง
เรียกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ส่วนกรดไขมันที่มีเฉพาะพันธะเดี่ยวอยู่ในโครงสร้าง
เรียกว่า กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) โดยกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง
ส่วนกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
หลักการพิจารณาความอิ่มตัวของกรดไขมันเป็นหลักการเดียวกันกับการพิจารณาความอิ่มตัวของ
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน
และไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตร
โครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ ดังรูป 3.4
รูป 3.4 ตัวอย่างโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว
5.2 กระบวนการ
1) ความสามารถในการสื่อสาร (อ่าน ฟัง พูด เขียน)
2) ความสามารถในการคิด (สังเกต วิเคราะห์ จัดกลุ่ม สรุป)
3) ความสามารถในการแก้ปัญหา (แสวงหาความรู้)
4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (ความรับผิดชอบ)
5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ใช้การสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์)
5.3 คุณลักษณะและค่านิยม
ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.1 ความสามารถในการคิด
- กระบวนการคิดวิเคราะห์
- กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
- กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการคิดสร้างสรรค์
1.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา
- การสืบค้นข้อมูล
- การทดลอง
- การอธิบาย
1.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการทำงานกลุ่ม
7. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
1.1 ครูให้นักเรียนทำตรวจสอบความรู้ก่อนเรียนในหนังสือเรียน หน้า 65
1.2 ครูทวนคำถามตรวจสอบความรู้ก่อนเรียนให้นักเรียนตอบร่วมกัน พร้อมเฉลย
1.3 ครูตั้งคำถามให้นักเรียนคิด เพื่อนำไปสู่กิจกรรม
1) อาหารให้พลังงานแก่ร่างกายหรือไม่ อาหารที่ให้พลังงานได้แก่ (แนวการตอบ อาหาร
ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน)
2) นักเรียนคิดว่าอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด คืออะไร (แนวการตอบ ไขมัน)
3) เกลือแร่เป็นสารประกอบอินทรีย์หรือไม่ (แนวการตอบ ไม่)
4) สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีธาตุในเป็นองค์ประกอบ (แนวการตอบ ธาตุ
คาร์บอน (C))
5) ไขมันและน้ำมันเป็นอาหารที่ให้พลังงาน นักเรียนคิดว่าพบในอาหารจำพวกใดบ้าง
(แนวการตอบ น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ นม เนย)
1.4 ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารต่อการดำรงชีวิตของ
มนุษย์และสิ่งมีชีวิต แหล่งของสารอาหารแต่ละชนิดซึ่งได้มาจากสิ่งมีชีวิต และเชื่อมโยงว่าไขมันและน้ำมัน
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และวิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ ยกเว้นเกลือแร่
1.5 ครูอธิบายเกี่ยวกับชนิดของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบอินทรีย์ และสารประกอบ
อนินทรีย์ แล้วให้นักเรียนตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
2.1 ครูให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับไขมันและน้ำมัน ตามหนังสือเรียน หน้า 60-61
2.2 นักเรียนทำแบบฝึกหัด 3.1 ข้อที่ 1-3 ในหนังสือเรียน หน้า 62 ลงในสมุด
2.3 นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุด
- สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) คือ (แนวการตอบ
เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
มีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ)
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
3.1 ครูสุ่มนักเรียน 3 คน (สุ่มเลขที่) ออกมาเฉลยแบบฝึกหัด 3.1 หน้าชั้นเรียน
3.2 ครูให้นักเรียนทุกคนช่วยกันตรวจสอบคำตอบพร้อมกันว่าถูกต้องหรือไม่
3.3 ครูนำนักเรียนอภิปรายเพื่อนำไปสู่การสรุป เรื่อง ไขมันและน้ำมัน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
1) ไขมันและน้ำมันจัดเป็นสารในกลุ่มใด (แนวการ กลุ่มไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides))
2) กรดไขมันถ้ามีพันธะ C=C อยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า
(แนวการตอบ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid))
3) กรดไขมันที่มีเฉพาะพันธะเดี่ยวอยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า
(แนวการตอบ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid))
4) กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวอย่างไรอุณหภูมิห้อง
(แนวการตอบ ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง)
5) กรดไขมันอิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวอย่างไรอุณหภูมิห้อง
(แนวการตอบ สูงกว่าอุณหภูมิห้อง)
6) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) คือ (แนวการตอบ
เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
มีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ)
3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เรื่อง ไขมันและน้ำมัน
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกรดไขมันประเภทโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ตามรายละเอียดใน
หนังสือเรียนหน้า 61
4.2 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับร้อยละของกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวบางชนิด ตามรายละเอียด
ในหนังสือเรียนหน้า 63-64
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล
5.1 ครูตรวจสมุดของนักเรียน ในการทำแบบฝึกหัด 3.1
5.2 ครูตรวจสมุดของนักเรียนในการตอบคำถามเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอน
5.3 นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายที่ 3 ข้อที่ 1 หน้า 91
ประยุกต์และตอบแทนสังคม
ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำความรู้ที่เรียนไปค้นคว้าเพิ่มเติมที่ห้องสมุด หรือเว็บไซต์ แล้วนำเสนอใน
ชั้นเรียน
8. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
8.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
8.2 อินเทอร์เน็ต
8.3 ห้องสมุด
9. การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้ (K)
1) นักเรียนอธิบายความหมายของ
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้
2) นักเรียนระบุสารประกอบอินทรีย์
ประเภทไฮโดรเจนคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่
อิ่มตัวจากสูตรโครงสร้างได้
1) ถามคำถามจำนวน
1 ข้อ
2) ตรวจแบบฝึกหัด
ท้ายที่ 3 ข้อที่ 1
1) แบบประเมินการ
ทำกิจกรรม
2) คำถามจำนวน 1
ข้อ
3) แบบฝึกหัดท้ายที่
3 ข้อที่ 1
1) นักเรียนตอบ
คำถาม ได้ระดับดี
ผ่านเกณฑ์2)
นักเรียนสามารถทำ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่
3 ข้อที่ 1 ได้ระดับดี
ผ่านเกณฑ์
ด้านกระบวนการ (P)
1) นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อ
ความหมายของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าได้
1) ตรวจแบบฝึกหัด
3.1 ข้อที่ 1-3
1) แบบประเมินการ
ทำกิจกรรม
1) นักเรียนสามารถ
ทำแบบฝึกหัด 3.1
ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์
ด้านคุณลักษณะ (A)
1) ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการ
ทำงาน
1) ถามคำถามจำนวน
1 ข้อ
2) ตรวจแบบฝึกหัด
ท้ายที่ 3 ข้อที่ 1
3) ตรวจแบบฝึกหัด
3.1 ข้อที่ 1-3
1) แบบประเมินการ
ทำกิจกรรม
1) นักเรียนทำภาระ
งานที่ได้รับมอบหมาย
ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์
10. เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน
เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics ของการทำกิจกรรม เรื่อง ไขมันและน้ำมัน
ประเด็นการ
ประเมิน
ค่าน้ำหนัก
คะแนน
แนวทางการให้คะแนน
ด้านความรู้
(K)
3 ตอบคำถามได้ถูกต้องครบถ้วน
2 ตอบคำถามได้ แต่ถูกต้องครบถ้วน
1 ตอบคำถาม แต่ไม่ถูกต้อง
3 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 ถูกต้องครบถ้วน
2 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 ถูกต้องบางส่วน
1 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 แต่ไม่ถูกต้อง
ด้าน
กระบวนการ
(P)
3 ทำแบบฝึกหัด 3.1 ได้ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 3 ข้อ
2 ทำแบบฝึกหัด 3.1 ได้ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 1-2 ข้อ
1 ทำแบบฝึกหัด 3.1 แต่ไม่ถูกต้อง
ด้าน
คุณลักษณะ
(A)
3 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จภายในเวลาที่กำหนด และเรียบร้อยถูกต้องครบถ้วน
2 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่งานยังผิดพลาดบางส่วน
1 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จ แต่ล่าช้า และเกิดข้อผิดพลาดบางส่วน
ระดับคะแนน
คะแนน 3 หมายถึง ระดับดีมาก
คะแนน 2 หมายถึง ระดับดี
คะแนน 1 หมายถึง ระดับพอใช้
หมายเหตุ หาค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ (K) คะแนนเต็ม เท่ากับ 3
ลงชื่อ นางสาวเกตุวรี ยศยิ่งยง ผู้สอน

More Related Content

What's hot

ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารPinutchaya Nakchumroon
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุCoverslide Bio
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสAomiko Wipaporn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสัน
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสันแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสัน
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสันKatewaree Yosyingyong
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59Wan Ngamwongwan
 
สมบัติของสารและการจำแนก
สมบัติของสารและการจำแนกสมบัติของสารและการจำแนก
สมบัติของสารและการจำแนกSupaluk Juntap
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบJariya Jaiyot
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงานdnavaroj
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวPacharee Nammon
 
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสสารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสWuttipong Tubkrathok
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้าPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2dnavaroj
 
ไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 pptไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 ppt10846
 

What's hot (20)

ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสาร
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสัน
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสันแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสัน
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบจำลองอะตอมของดอลตันและทอมสัน
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
 
สมบัติของสารและการจำแนก
สมบัติของสารและการจำแนกสมบัติของสารและการจำแนก
สมบัติของสารและการจำแนก
 
Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)
 
แรง (Force)
แรง (Force)แรง (Force)
แรง (Force)
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัว
 
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสสารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบส
 
ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)
 
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
ไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 pptไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 ppt
 

Similar to แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.

องค์ประกอบของสารอาหาร
องค์ประกอบของสารอาหารองค์ประกอบของสารอาหาร
องค์ประกอบของสารอาหารNapasorn Juiin
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่กันธิชา เพชรดี
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2Wichai Likitponrak
 
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11Maruko Supertinger
 
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11kruaoipcccr
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง10846
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1Wichai Likitponrak
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนPew Juthiporn
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2krupornpana55
 
การแนะนำบทเรียน ม6-1
การแนะนำบทเรียน ม6-1การแนะนำบทเรียน ม6-1
การแนะนำบทเรียน ม6-1Wichai Likitponrak
 
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐาน
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐานโครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐาน
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐานKrupol Phato
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้citylong117
 
Course Syllabus
Course SyllabusCourse Syllabus
Course SyllabusKusonwan
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์Boonlert Aroonpiboon
 

Similar to แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม. (20)

Curri bio 61m4-6
Curri bio 61m4-6Curri bio 61m4-6
Curri bio 61m4-6
 
องค์ประกอบของสารอาหาร
องค์ประกอบของสารอาหารองค์ประกอบของสารอาหาร
องค์ประกอบของสารอาหาร
 
สุขภาพ
สุขภาพสุขภาพ
สุขภาพ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการเกิดฯและชนิดฯเผยแพร่
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
 
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
 
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ11
 
Curri bio 51m4-6
Curri bio 51m4-6Curri bio 51m4-6
Curri bio 51m4-6
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโน
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
 
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
โครงสร้างตัวชี้วัดวิทย์.Doc ม.3 ภาค 2
 
การแนะนำบทเรียน ม6-1
การแนะนำบทเรียน ม6-1การแนะนำบทเรียน ม6-1
การแนะนำบทเรียน ม6-1
 
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐาน
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐานโครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐาน
โครงการสอน ชีววิทยาพื้นฐาน
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
 
Course Syllabus
Course SyllabusCourse Syllabus
Course Syllabus
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 
Punmanee study 8
Punmanee study 8Punmanee study 8
Punmanee study 8
 

More from Katewaree Yosyingyong

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdfแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdfKatewaree Yosyingyong
 
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdf
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdfแผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdf
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdfKatewaree Yosyingyong
 
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdf
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdfบทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdf
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdfKatewaree Yosyingyong
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหารวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหารKatewaree Yosyingyong
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำKatewaree Yosyingyong
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศKatewaree Yosyingyong
 

More from Katewaree Yosyingyong (7)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdfแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
 
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdf
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdfแผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdf
แผนที่ 27 สารกัมมันตรังสี 1 ชม..pdf
 
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdf
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdfบทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdf
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติธาตุ.pdf
 
พลังงาน
พลังงานพลังงาน
พลังงาน
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหารวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อากาศ
 

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไขมันและน้ำมัน 3ชม.

  • 1. แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ1 รหัสวิชา ว31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อาหาร จำนวน 19 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ 13 เรื่อง ไขมันและน้ำมัน จำนวน 3 ชั่วโมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. ตัวชี้วัด ว 2.1 ม.5/14 ระบุสารประกอบอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจากสูตรโครงสร้าง 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 ด้านความรู้ (K) 1) นักเรียนอธิบายความหมายของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ 2) นักเรียนระบุสารประกอบอินทรีย์ประเภทไฮโดรเจนคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจากสูตร โครงสร้างได้ 3.2 ด้านกระบวนการ (P) 1) นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าได้ 3.3 ด้านคุณลักษณะ (A) 1) ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน 4. สาระสำคัญ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และวิตามินเป็น สารประกอบอินทรีย์ ส่วนเกลือแร่เป็นไอออนหรือสารประกอบไอออนิก สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบของ ธาตุคาร์บอนซึ่งอาจมีธาตุอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ไขมันมีทั้ง ชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวซึ่งพิจารณาได้จากชนิดพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมในกรดไขมัน ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกับ สารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอน คาร์โบไฮเดรตที่เป็นมอนอเมอร์และพอลิเมอร์มีสมบัติแตกต่างกัน โปรตีนเป็น พอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์เป็นกรดแอมิโนซึ่งมีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโน จึงแสดงสมบัติความเป็นกรด-เบสได้ วิตามินแต่ละชนิดมีสภาพขั้วแตกต่างกัน ทำให้บางชนิดละลายได้ในน้ำมัน บางชนิดละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งเป็นไปตาม หลักการ like dissolves like ส่วนเกลือแร่แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารส่วนใหญ่ ทำมาจากพลาสติกซึ่งเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ มีทั้งชนิดพอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกและพอลิเมอร์เทอร์มอเซตซึ่งใช้ งานได้แตกต่างกัน พลาสติกย่อยสลายได้ยากและมีการใช้ในปริมาณมาก จึงก่อให้เกิดปัญหาขยะ การลดการใช้ การ ใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการช่วยปัญหาได้ทางหนึ่ง 5. สาระการเรียนรู้ 5.1 ความรู้ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาหารให้พลังงาน หรือใช้กลไกในการทำงาน ของระบบภายในร่างกาย อาหารแต่ละชนิดมีสารองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (organic compound) ยกเว้นเกลือแร่
  • 2. สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบ ธาตุคาร์บอนใน สารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน (H) หรือกับธาตุคาร์บอน (C) ด้วย กันเอง นอกจากนี้สารประกอบอินทรีย์ยังมีธาตุชนิดอื่น เช่น O N S Cl เป็นองค์ประกอบร่วมกัน สารประกอบอินทรีย์อาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตหรือการสังเคราะห์ ส่วนสารประกอบอื่นที่ไม่ใช่สารประกอบ อินทรีย์ เรียกว่า สารประกอบอนินทรีย์ ซึ่งมีสารประกอบของคาร์บอนบางชนิดจัดเป็นสารประกอบ อนินทรีย์ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดคาร์บอนิก รูป 3.1 สูตรโครงสร้างสารประกอบอินทรีย์บางชนิด ไขมันและน้ำมัน ในชีวิตประจำวันอาหารที่บริโภคส่วนใหญ่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบ เช่น ไก่ทอด ไอศกรีม ผัดผัก ขนมเค้ก เครื่องดื่มผสมครีมเทียม ไขมันและน้ำมันแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกบริโภคไขมันและน้ำมันอย่างเหมาะสมจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพของร่างกาย ไขมันและน้ำมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน พบมากในอาหารจำพวกน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ นม เนย ไขมันและน้ำมันจัดเป็นสารในกลุ่มไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ที่มีโครงสร้างประกอบด้วยส่วนที่มาจาก กลีเซอรอล (glycerol) และกรดไขมัน (fatty acid) ดังรูป 3.3 รูป 3.3 โครงสร้างของไตรกลีเซอไรด์ เมื่อพิจารณาโครงสร้างของไตรกลีเซอไรด์ในไขมันและน้ำมันแต่ละชนิดจะมีส่วนที่มาจากกลีเซอรอล เหมือนกัน แต่จะมีส่วนที่มาจากกรดไขมันที่แตกต่างกัน โดยส่วนที่เป็นกรดไขมันถ้ามีพันธะ C=C อยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ส่วนกรดไขมันที่มีเฉพาะพันธะเดี่ยวอยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) โดยกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง ส่วนกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง หลักการพิจารณาความอิ่มตัวของกรดไขมันเป็นหลักการเดียวกันกับการพิจารณาความอิ่มตัวของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน
  • 3. และไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตร โครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ ดังรูป 3.4 รูป 3.4 ตัวอย่างโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว 5.2 กระบวนการ 1) ความสามารถในการสื่อสาร (อ่าน ฟัง พูด เขียน) 2) ความสามารถในการคิด (สังเกต วิเคราะห์ จัดกลุ่ม สรุป) 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา (แสวงหาความรู้) 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (ความรับผิดชอบ) 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ใช้การสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์) 5.3 คุณลักษณะและค่านิยม ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน 6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.1 ความสามารถในการคิด - กระบวนการคิดวิเคราะห์ - กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ - กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล - กระบวนการคิดสร้างสรรค์ 1.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา - การสืบค้นข้อมูล - การทดลอง - การอธิบาย 1.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการทำงานกลุ่ม 7. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ 1.1 ครูให้นักเรียนทำตรวจสอบความรู้ก่อนเรียนในหนังสือเรียน หน้า 65 1.2 ครูทวนคำถามตรวจสอบความรู้ก่อนเรียนให้นักเรียนตอบร่วมกัน พร้อมเฉลย 1.3 ครูตั้งคำถามให้นักเรียนคิด เพื่อนำไปสู่กิจกรรม 1) อาหารให้พลังงานแก่ร่างกายหรือไม่ อาหารที่ให้พลังงานได้แก่ (แนวการตอบ อาหาร ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน) 2) นักเรียนคิดว่าอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด คืออะไร (แนวการตอบ ไขมัน) 3) เกลือแร่เป็นสารประกอบอินทรีย์หรือไม่ (แนวการตอบ ไม่) 4) สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีธาตุในเป็นองค์ประกอบ (แนวการตอบ ธาตุ คาร์บอน (C))
  • 4. 5) ไขมันและน้ำมันเป็นอาหารที่ให้พลังงาน นักเรียนคิดว่าพบในอาหารจำพวกใดบ้าง (แนวการตอบ น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ นม เนย) 1.4 ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารต่อการดำรงชีวิตของ มนุษย์และสิ่งมีชีวิต แหล่งของสารอาหารแต่ละชนิดซึ่งได้มาจากสิ่งมีชีวิต และเชื่อมโยงว่าไขมันและน้ำมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และวิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ ยกเว้นเกลือแร่ 1.5 ครูอธิบายเกี่ยวกับชนิดของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบอินทรีย์ และสารประกอบ อนินทรีย์ แล้วให้นักเรียนตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา 2.1 ครูให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับไขมันและน้ำมัน ตามหนังสือเรียน หน้า 60-61 2.2 นักเรียนทำแบบฝึกหัด 3.1 ข้อที่ 1-3 ในหนังสือเรียน หน้า 62 ลงในสมุด 2.3 นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุด - สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) คือ (แนวการตอบ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ) ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป 3.1 ครูสุ่มนักเรียน 3 คน (สุ่มเลขที่) ออกมาเฉลยแบบฝึกหัด 3.1 หน้าชั้นเรียน 3.2 ครูให้นักเรียนทุกคนช่วยกันตรวจสอบคำตอบพร้อมกันว่าถูกต้องหรือไม่ 3.3 ครูนำนักเรียนอภิปรายเพื่อนำไปสู่การสรุป เรื่อง ไขมันและน้ำมัน โดยใช้คำถามต่อไปนี้ 1) ไขมันและน้ำมันจัดเป็นสารในกลุ่มใด (แนวการ กลุ่มไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides)) 2) กรดไขมันถ้ามีพันธะ C=C อยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า (แนวการตอบ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid)) 3) กรดไขมันที่มีเฉพาะพันธะเดี่ยวอยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า (แนวการตอบ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid)) 4) กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวอย่างไรอุณหภูมิห้อง (แนวการตอบ ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง) 5) กรดไขมันอิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวอย่างไรอุณหภูมิห้อง (แนวการตอบ สูงกว่าอุณหภูมิห้อง) 6) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compound) คือ (แนวการตอบ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โดยสูตรโครงสร้างของสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ) 3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เรื่อง ไขมันและน้ำมัน ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ 4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกรดไขมันประเภทโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ตามรายละเอียดใน หนังสือเรียนหน้า 61 4.2 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับร้อยละของกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวบางชนิด ตามรายละเอียด ในหนังสือเรียนหน้า 63-64
  • 5. ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล 5.1 ครูตรวจสมุดของนักเรียน ในการทำแบบฝึกหัด 3.1 5.2 ครูตรวจสมุดของนักเรียนในการตอบคำถามเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอน 5.3 นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายที่ 3 ข้อที่ 1 หน้า 91 ประยุกต์และตอบแทนสังคม ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำความรู้ที่เรียนไปค้นคว้าเพิ่มเติมที่ห้องสมุด หรือเว็บไซต์ แล้วนำเสนอใน ชั้นเรียน 8. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 8.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) 8.2 อินเทอร์เน็ต 8.3 ห้องสมุด 9. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน ด้านความรู้ (K) 1) นักเรียนอธิบายความหมายของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ 2) นักเรียนระบุสารประกอบอินทรีย์ ประเภทไฮโดรเจนคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่ อิ่มตัวจากสูตรโครงสร้างได้ 1) ถามคำถามจำนวน 1 ข้อ 2) ตรวจแบบฝึกหัด ท้ายที่ 3 ข้อที่ 1 1) แบบประเมินการ ทำกิจกรรม 2) คำถามจำนวน 1 ข้อ 3) แบบฝึกหัดท้ายที่ 3 ข้อที่ 1 1) นักเรียนตอบ คำถาม ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์2) นักเรียนสามารถทำ แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์ ด้านกระบวนการ (P) 1) นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อ ความหมายของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าได้ 1) ตรวจแบบฝึกหัด 3.1 ข้อที่ 1-3 1) แบบประเมินการ ทำกิจกรรม 1) นักเรียนสามารถ ทำแบบฝึกหัด 3.1 ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์ ด้านคุณลักษณะ (A) 1) ใฝ่เรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการ ทำงาน 1) ถามคำถามจำนวน 1 ข้อ 2) ตรวจแบบฝึกหัด ท้ายที่ 3 ข้อที่ 1 3) ตรวจแบบฝึกหัด 3.1 ข้อที่ 1-3 1) แบบประเมินการ ทำกิจกรรม 1) นักเรียนทำภาระ งานที่ได้รับมอบหมาย ได้ระดับดี ผ่านเกณฑ์
  • 6. 10. เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics ของการทำกิจกรรม เรื่อง ไขมันและน้ำมัน ประเด็นการ ประเมิน ค่าน้ำหนัก คะแนน แนวทางการให้คะแนน ด้านความรู้ (K) 3 ตอบคำถามได้ถูกต้องครบถ้วน 2 ตอบคำถามได้ แต่ถูกต้องครบถ้วน 1 ตอบคำถาม แต่ไม่ถูกต้อง 3 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 ถูกต้องครบถ้วน 2 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 ถูกต้องบางส่วน 1 ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ข้อที่ 1 แต่ไม่ถูกต้อง ด้าน กระบวนการ (P) 3 ทำแบบฝึกหัด 3.1 ได้ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 3 ข้อ 2 ทำแบบฝึกหัด 3.1 ได้ถูกต้องครบถ้วน จำนวน 1-2 ข้อ 1 ทำแบบฝึกหัด 3.1 แต่ไม่ถูกต้อง ด้าน คุณลักษณะ (A) 3 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จภายในเวลาที่กำหนด และเรียบร้อยถูกต้องครบถ้วน 2 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่งานยังผิดพลาดบางส่วน 1 ทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จ แต่ล่าช้า และเกิดข้อผิดพลาดบางส่วน ระดับคะแนน คะแนน 3 หมายถึง ระดับดีมาก คะแนน 2 หมายถึง ระดับดี คะแนน 1 หมายถึง ระดับพอใช้ หมายเหตุ หาค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ (K) คะแนนเต็ม เท่ากับ 3 ลงชื่อ นางสาวเกตุวรี ยศยิ่งยง ผู้สอน