SlideShare a Scribd company logo
Environmental Archaeology
ขอบข่ายและกรอบความคิดของโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
Environmental Archaeology
Q1: โบราณคดีสิ่งแวดล้อมคืออะไร ?
คานิยามของโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
โดย W.E. Boyd
Q2: โบราณคดีสิ่งแวดล้อม
เป็ นศาสตร์เป็ นของตัวเองหรือไม่ ?
“โบราณคดีสิ่งแวดล้อม”
“วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม”
หรือ
คำถำม 3
Q3: โบราณคดีสิ่งแวดล้อม
มีขอบเขตถึงไหน ?
ความสัมพันธ์ของ…
โบราณคดี กับ โบราณคดีสิ่งแวดล้อม
คำถำมที่ 4
Q4: โบราณคดีสิ่งแวดล้อม
มีกรอบแนวคิดอย่างไร ?
แบบจาลองกรอบแนวคิด 9 ประการ
อธิบายอดีตอย่างกว้างๆ
ประสบการณ์ในการวิเคราะห์หลักฐาน
ตีความให้สอดคล้องกับสมมติฐาน
อภิปรายผลการศึกษาด้วยเหตุผล
เน้นการสืบค้นข้อมูล, ปฏิบัติการจริง
ใช้ศัพท์ชีววิทยาและธรณีวิทยา
เน้น Spaceและ Time
ใช้ข้อมูลสถิติ (ปริมาณและคุณภาพ)
Uniformitarianism
ข้อจากัดของโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
โดย M.G. Bell
ขาดงบประมาณสนับสนุน
ความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
คำถำมจำกมำร์ติน โจนส์จาก Martin Jones ถึง W.E.Boyd
คานิยามของโบราณคดีสิ่งแวดล้อมคืออะไร?
โบราณคดีสิ่งแวดล้อมเป็ น
เครื่องรับใช้วิทยาศาสตร์หรือไม่ ?
Environmental Archaeology
ภูมิศาสตร์ ชีววิทยา
ผู้ที่สังกัดมหาวิทยาลัย สอนและทางานวิจัย
ในพื้นที่ที่ตระหนักว่าเป็ นโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
ผู้ที่สังกัดในหน่วยงานใดๆ สอนและทางานวิจัย
ในพื้นที่ที่ไม่ถูกตระหนักว่าเป็ นโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
ผู้ที่สังกัดในองค์การแห่งชาติ หรือองค์กรท้องถิ่น
เป็ นนักโบราณคดีสิ่งแวดล้อมที่คอยศึกษา
หลักฐานทางชีววิทยา
ความร่วมมือทางโบราณคดีสิงแวดล้อม
ข้อกังขำเกี่ยวกับภูมิศำสจตร์
• บอกถึงความเป็นอิสระของมัน
โบราณคดีสิ่งแวดล้อม กับ ภูมิศาสตร์
เหมือน
ต่าง
ผลการศึกษา
ระเบียบวิธีการศึกษา
ทัศนะขัดแย้ง
โดย K.D.Thomas
ศึกษาในทุกมิติ
รอบด้าน
ระวัง!!!
Site Formation
Process
“โบราณคดีสิ่งแวดล้อม”
ก็คือ
“โบราณคดี”
โดย M. van de Veen
การตอบกลับของ W.E.Boyd
“…คานิยามของโบราณคดีสิ่งแวดล้อม
ยังคงเป็ นเรื่องคลุมเครือ”
“อย่างไรก็ตามเราควรศึกษา
โบราณคดีในทุกด้านทุกมิติ…”
การตอบกลับของ W.E.Boyd
แนวคิด
Martin Jones
แนวคิด
นักโบราณคดีกลุ่มจารีตนิยม
Showme where youlive,
andI will tell youwho youare.

More Related Content

Similar to 2(1) environmental archaeology

ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
Taweesak Poochai
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2sangworn
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2kuraek1530
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 
1ธรรมชาติของฟิสิกส์
1ธรรมชาติของฟิสิกส์1ธรรมชาติของฟิสิกส์
1ธรรมชาติของฟิสิกส์
ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์Kruorawan Kongpila
 
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR) Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
Borwornsom Leerapan
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1วรรณา ไชยศรี
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1วรรณา ไชยศรี
 

Similar to 2(1) environmental archaeology (12)

ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2
 
6บทที่2
6บทที่2 6บทที่2
6บทที่2
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
1ธรรมชาติของฟิสิกส์
1ธรรมชาติของฟิสิกส์1ธรรมชาติของฟิสิกส์
1ธรรมชาติของฟิสิกส์
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR) Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
Introduction to Mixed-Methods Research (MMR)
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
 

2(1) environmental archaeology

Editor's Notes

  1. เรียนอาจารย์ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนครับ วันนี้กลุ่มของเรามานำเสนอเรื่องขอบข่ายและกอบความคิดของโบราณคดีสิ่งแวดล้อมครับ
  2. เริ่มด้วยที่บทความของ W.E.Boyd กันก่อนเลยนะครับ Click1 จุดเริ่มต้นของงานนี้นะครับเกิดขึ้นมาจากที่บอยด์คิดว่า การที่เราจะศึกษาโบราณคดีสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของโบราณคดีสิ่งแวดล้อมก่อน ซึ่งมันทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมากมาย ดังนี้ครับ
  3. มาด้วยคำถามแรกนะครับ โบราณคดีสิ่งแวดล้อมคืออะไรกันแน่
  4. ตามความเห็นของบอยด์นะครับ บอยด์เห็นว่าโบราณคดีสิ่งแวดล้อมคือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมที่ผลต่อกิจกรรมของมนุษย์ โดยเริ่มจาก… Click1 การศึกษาวัตถุหลักฐาน Click2 แล้วตามด้วยการศึกษาสภาพแวดล้อม Click3 ท้ายสุดที่สำคัญที่สุดก็คือ การศึกษากิจกรรมของมนุษย์ นั่นเอง
  5. แล้วโบราณคดีมันเป็นศาสตร์เฉพาะของตัวเองหรือไม่ หรือแค่เป็นสาขาย่อยของศาสตร์อื่นกันแน่
  6. ตามความเห็นของบอยด์ บอยด์เชื่อว่า Environmental Archaeology click1เป็นศาสตร์เฉพาะในตัวมันเอง เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมของมนุษย์กับสภาพแวดล้อม Click2 แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า click3 หรือมันแค่เป็นเพียงวิทยาศาสตร์ของสิ่งแวดล้อม ที่ก็ศึกษาสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ในทุกช่วงเวลา ทั้งปัจจุบันและอดีตด้วย
  7. สำหรับคำถามข้อต่อไปคือ แล้วโบราณคดีสิ่งแวดล้อมมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง บอยด์กล่าวว่าจะว่าไป โบราณคดีสิ่งแวดล้อมก็มึความสัมพันธ์ทับซ้อนกับหลายศาสตร์สาขาวิชาเป็นอย่างมาก ทั้งธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ชีววิทยา
  8. แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจน คือ โบราณคดีสิ่งแวดล้อมในงานโบราณคดี Click อย่างแรกเลย โบราณคดีจะนำความรู้ด้านโบราณคดีสิ่งแวดล้อมมาใช้วิเคราะห์และแยกโบราณวัตถุประเภทต่างๆ Click2 โบราณคดีสิ่งแวดล้อมจะช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตซึ่งอาจมีผลต่อกิจกรรมของมนุษย์นั่นเองครับ
  9. สำหรับคำถามสุดท้าย แล้วโบราณคดีมีคอนเซปต์การศึกษาอย่างไรบ้าง
  10. ซึ่งจากคำถามดังกล่าวนี้นะครับ บอยด์ได้เสนอโมเดลคอนเซปต์การศึกษาทั้ง 9 ประการตามนี้เลยนะครับ Click1 - 4
  11. และ Click 5 – 9 ซึ่งโมเดลทั้ง 9 ก็จะสามารช่วยตอบคำถามเรื่องโครงสร้างกาศึกษาแนวโบราณคดีสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนนะครับ
  12. คราวนี้เรามาดูบทความของ M.G.Bell ที่เขียนถึงโบราณคดีสิ่งแวดล้อม กันบ้างนะครับ เบลมองถึงเรื่องข้อจำกัดหรืออาจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาของการศึกษาโบราณคดีสิ่งแวดล้อมนะครับ Click1 อย่างแรก การขาดงบประมาณในการสนับสนุน เพราะส่วนใหญ่แล้วงบประมาณมักจะเทไปที่การศึกษาเรื่องอื่นมากกว่า ง่ายๆ ก็คือไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับศาสตร์นี้เท่าไรนัก Click2 นอกจากนี้ยังเกิดจากความไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดของผู้คนว่า โบราณคดีสิ่งแวดล้อมเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีววิทยา งานส่วนใหญ่จึงเป็นแค่การเก็บหลักฐานและวิเคราะห์แยกแยะประเภทของหลักฐานเท่านั้น ไม่ได้มีการตีความต่อหรือพัฒนาแนวคิดทฤษฎีหรืออย่างไร โบราณคดีสิ่งแวดล้อมเลยหยุดนิ่งและมีประโยชน์ในการศึกษาวิจัยน้อย แต่อย่างไรก็ตามบอยด์ก็ได้ทำให้นักโบราณคดีสิ่งแวดล้อมตื่นตัวและเริ่มหันมาวิพากษ์งานของตนเองว่า มีแค่การวิเคราะห์แยกประเภทของหลักฐานเท่านั้นหรือ หรือเราควรที่จะแปลความเพื่ออธิบายอดีตในมุมกว้าง รวมทั้งพูดถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมด้วย
  13. สำหรับบทความของมาร์ติน โจนส์นั้น เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่บอยด์ได้เขียนไว้ โดยโจนส์กล่าวว่า บอยด์ได้วางรากฐานให้กับโบราณคดีสิ่งแวดล้อม ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับนิยามของมันเพื่อคนจะได้เข้าใจมันมากขึ้น และอีกอย่างโจนส์เห็นด้วยกับบอยด์ว่าโบราณคดีไม่ควรเป็นแค่เครื่องรับใช้วิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ควรจะมีความเฉพาะของศาสตร์ของตนเอง จึงเป็นผลให้บอยด์ได้ทำโมเดลคอนเซปต์การศึกษาทั้ง 9 ประการนั่นเอง
  14. สำหรับบทความของ เค.ดี.โทมัส ได้เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า โบราณคดีสิ่งแวดล้อมมีธรรมชาติและความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับศาสตร์ใดมากกว่ากัน เพราะถ้าเป็นแนวคิดแบบอเมริกาจะเห็นว่าใกล้เคียงกับภูมิศาสตร์และธรณีวิทยามากที่สุด แต่ถ้าในแนวคิดแบบยุโรปจะกล่าวว่ามีความเป็นชีววิทยามากกว่านั่นเอง
  15. เพื่อที่จะเข้าใจโครงสร้างการทำงานโบราณคดีสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงได้มีการจัดประเภทนักโบราณคดีสิ่งแวดล้อมออกเป็น 3 แบบ คือ Click1 กลุ่มผู้ที่สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ในการสอนและทำวิจัยในแหล่งที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในงานโบราณคดี Click2 กลุ่มผู้ที่สังกัดในองค์กรแห่งชาติ หรือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยมีหน้าที่ศึกษาและจัดจำแนกประเภทของหลักฐานโดยเฉพาะหลักฐานทางชีววิทยา ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะถูกเรียกว่านักชีววิทยา Click3 กลุ่มผู้ที่สังกัดหน่วยงานใดๆ ก็ได้ แต่ทำหน้าที่ในการสอนและทำวิจัยในแหล่งที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับโบราณคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่งบุคคลทั้ง 3 กลุ่มจะถูกเรียกชื่ออาชีพแตกต่างกันออกไป แต่ในความหมายก็ดูจะเป็นนักโบราณคดีสิ่งแวดล้อมกันทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างการปฏิบัติงานจะเหมือนกันด้วย แต่ยิ่งทำให้ดูสับสนในตนเอง
  16. จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือทางโบราณคดีสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1.พัฒนาโครงสร้างการปฏิบัติงานให้ดูชัดเจนและมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน 2.เพื่อพัฒนาศาสตร์ที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมทางโบราณคดี นั่นเองครับ
  17. จากการที่โทมัสได้อ่านงานของบอยด์ก็รู้สึกว่าบอยด์มีความโน้นเอียงว่าโบราณคดีสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกับภูมิศาสตร์ที่สุด โทมัสจึงย้อนกลับมาดูว่าแล้วอะไรที่ทั้งสองศาสตร์นี้สัมพันธ์กัน Click1 อย่างแรกก็คือความเหมือนในผลของการศึกษาในเชิงภูมิศาสตร์หรือสภาพแวดล้อม Click2 แต่ระเบียบในการศึกษาของทั้งสองศาสตร์นั้นต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของมิติเวลา
  18. ดังนั้นทางที่นักโบราณคดีจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีตในทุกๆ มิติ รอบด้าน ทั้งภูมิศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ หรือชาติพันธุ์วรรณา และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การระมัดระวังเรื่องกระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดี ที่ไมเคิล ชิฟเฟอร์ได้เคยเสนอไว้ ดังนั้นถ้าจะศึกษาในแนวภูมิศาสตร์หรือนิเวศวิทยาแบบบอยด์ ก็ต้องพึงระวังเรื่องพวกนี้ด้วย เพราะสภาพแวดล้อมก่อนที่จะเรานักโบราณคดีจะมาเห็นมันมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
  19. สำหรับความเห็นของแวนเดอวีน กล่าวว่า อย่างไรก็ตามโบราณคดีสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นโบราณคดีอยู่นั่นเอง เพราะไม่ว่าจะศึกษาด้วยอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายแล้วก็ต้องตอบคำถามและอธิบายวัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีตในทุกๆ มิติให้ได้ ซึ่งนั่นก็คือหัวใจของการศึกษาโบราณคดี
  20. จากความคิดเห็นต่างๆ ที่เสนอขึ้นมาทั้งของ เบล, มาร์ติน โจนส์, โทมัส และแวนเดอวีน ก็จะมีมีทั้งสนับสนุนและขัดแย้ง ซึ่งทำให้บอยด์ต้องเขียนตอบกลับคำวิจารณ์เหล่านั้น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นข้อสรุปของบทความทั้งหมดนี้ก็ได้ Click1 อย่างแรกบอยด์เห็นว่าคำนิยามของโบราณคดีสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถจำกัดได้อย่างแน่ชัด ยังคงคลุมเครืออยู่เหมือนเดิม Click2 แต่บอยด์ก็เห็นด้วยกับโทมัสที่ว่านักโบราณคดีควรจะศึกษาเรื่องราวในอดีตให้ได้อย่างรอบด้านทุกมิติ
  21. และสิ่งที่สำคัญที่สุดการจะให้ข้อสรุปเกี่ยวกับธรรมชาติของงานโบราณคดีสิ่งแวดล้อมนั้นจะเป็นอย่างไร ก็จะขึ้นอยู่กับคนๆ นั้นด้วย เช่นมาร์ติน โจนส์ เห็นว่าโบราณคดีสิ่งแวดล้อมเปรียบเหมือนหมอวัตสัน ที่ไม่ได้เป็นตัวหลักในการศึกษาวิจัย แต่ก็เป็นตัวช่วยที่นำไปสู่การไขข้อสงสัยที่สำคัญมาก ส่วนนักโบราณคดีกลุ่มจารีตนิยมก็เห็นว่าเปรียบเสมือนเชอร็อคโฮล์ม ถึงแม้จะเป็นตัวหลักสำคัญในการไขปริศนาในอดีต แต่ก็ทำอะไรดูคลุมเครือไม่ชัดเจน จนไม่อยากให้นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยโดดๆ หรือเรียกง่ายๆ ว่าถ้าเป็นคนคงไม่อยากให้มาร่วมงานใหญ่ๆ ด้วยนั่นเอง
  22. ท้ายที่สุดข้อสรุปของงานชิ้นนี้ก็คือยังไม่มีบทสรุปสำหรับโบราณคดีสิ่งแวดล้อมที่แน่ชัด โบราณคดีสิ่งแวดล้อมจะหมายถึงอะไรก็ขึ้นอยู่กับคนๆ นั้นจะให้นิยาม ดังที่บอยด์ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ในบทความว่า “…”