SlideShare a Scribd company logo
การปฏิรูปการศึกษาไทยกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 :
การใช้“ห้องเรียนกลับทาง”เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาสกร เรืองรอง1
, รุจโรจน์ แก้วอุไร2 *
พันธุ์ทิพย์ ลิมปะพันธุ์3, รัตนาภรณ์ ลอสวัสดิ์4, เพ็ญภรณ์ เหลี่ยวเจริญวัฒน์5,
วสันต์ ศรีหิรัญ6, วินัย ปานโท้7, ยุทธนา พันธ์มี8**
บทคัดย่อ
การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลง โดยยึดบริบทสังคมเป็นหลัก มีการเปลี่ยนอย่าง
เป็นขั้นตอนทาให้ไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของสังคมให้มีคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ โดยเฉพาะการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนทุกคน
จาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การ
อ่าน) Writing (การเขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) ซึ่งนาไปสู่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs
ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิด
สร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
การจัดการเรียนการสอนจากบริบทเดิมควรได้รับการเปลี่ยนแปลง “ห้องเรียนกลับทาง”จึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียน
การสอนที่เหมาะสมกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยการที่ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จากองค์ความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น โดยการแบ่งปันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนผ่านการจัดกิจกรรม โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ หรือเป็น
โค้ชให้กับผู้เรียน นาไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมี
ประสิทธิภาพ แก่ผู้เรียน
คาสาคัญ การปฏิรูปการศึกษา การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ห้องเรียนกลับทาง การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Educational reform in Thailand was changed by the context majorly. It had changed step to step but didn’t be
severe. Truly, educational reform was a change of social members to have desired characteristics and to response
national need especially 21st
century education which students should be improved their knowledge about academic
contents called 3Rs including Reading, Writing, and Arithmetic leaded to learning skills and innovation called 4Cs
included Critical thinking, Communication, Collaboration, and Creativity. Moreover, life and occupation skills and
*อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
**นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
information technology skills were also included in 21st
century skills. From these aims, pedagogy should be changed
in appropriate way. The flipped classroom can be a choice for 21st
century education. Learners will have self-directed
learningand thendiscuss fromtheir knowledge to eachother and share to another learners in community. Teacher will
be a coach or guide for learners to get more information. From this model, it can be said that flipped classroom can be
applied and used for Thailand education to improve Thai primary education to get good and effective results.
Keywords: educational reform, 21st
century education, flipped classroom, Thai primary educational improvement
บทนา
เป็นที่ตระหนักว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนาประเทศใน
ทุกมิติ การมีระบบการศึกษาที่ดีนามาซึ่งความรู้ ความสามารถ มีความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
สุขภายใต้ความหลากหลายของบริบทสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันบนเวที
นานาชาติ ซึ่งการที่จะมีระบบการศึกษาที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และ
ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการเสริมแรงในการจัดการศึกษาของรัฐให้มีความเหมาะสม โดยคานึงถึงสภาพสังคม บริบท
ของการศึกษา และสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ ด้วยปัจจัยที่กล่าวมานี้จึงเป็นแรงผลักดันสู่การปฏิรูป
การศึกษา เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมต่อสังคมไทยและสังคมโลก
ในประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกในปีพ.ศ.2542 เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย มีการ
ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เป็นการมุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัฒน์
ควบคู่ไปกับการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และในปีพุทธศักราช 2552 เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันในทุก
ระดับประเภทการศึกษา จะเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ โดยยึดบริบทสังคมเป็นหลัก มี
การเปลี่ยนอย่างเป็นขั้นตอนทาให้ไม่เกิดความรุนแรง หรือกระทบในทางเสียหาย น้อยที่สุด ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น
เป็นการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของสังคมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ[1]
วิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากจากอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คนไทยมี
โอกาสรับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นและกว้างขึ้นและในทางสร้างสรรค์ โดยเทคโนโลยีได้นาเสนอโอกาสและทางเลือก
ให้บุคคลได้เรียนรู้จากหลายช่องทางหลายรูปแบบทาให้การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นได้ทั้งเวลาและสถานที่ สามารถเรียนรู้
และรับข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามความสนใจของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาตลอดชีวิต เนื่องจากบุคคลจะ
แสวงหาแนวทางและค้นหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และการจัดการเรียนการสอนในอนาคต จะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อ
เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูทาหน้าที่เป็นผู้ให้คาแนะนา ผู้เรียนจะเรียนรู้และสร้างรูปแบบการ
เรียนรู้ของตนเองตามสิ่งที่สนใจ เป็นการเรียนรู้เพื่อสั่งสมประสบการณ์และเพื่อการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง
สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการ
พัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การอ่าน) Writing (การ
เขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) ซึ่งนาไปสู่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิด
วิเคราะห์ (Critical thinking) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิดสร้างสรรค์
(Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
จากบริบทสังคมและคุณลักษณะของผู้เรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่บุคคลผู้ซึ่งมีทักษะในศตวรรษที่ 21
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสาคัญในการอานวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ สู่การคิดวิเคราะห์ และ
สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง การศึกษาควรมีการปฏิรูปให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการและคุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อ
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนาไปสู่การแข่งในเวทีระดับอาเซียน และเวทีโลก ในบทความนี้จึงขอนาเสนอหัวข้อที่มีความ
เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาไทยกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้ Flipped Classroom หรือ ห้องเรียน
กลับด้านเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีประสิทธิภาพ
แก่ผู้เรียน
1. การปฏิรูปการศึกษาไทย
งานวิจัย เรื่องการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย ของ อัญญรัตน์ นาเมือง [4] ได้กล่าวว่า
สาเหตุสาคัญของการปฏิรูปการศึกษา มาจากคากล่าวที่ว่า “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ชี้ชัดให้เห็นว่าการศึกษานั้น
มีความสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดที่ประชาชนมีความรู้สูง ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้น มีความเจริญ
ตามไปด้วย (อ้างถึงทัศนะของวิทยากร เชียงกูล, 2545) สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย [3] ได้ระบุปัญหาของระบบ
การศึกษาไทยที่จะนาไปสู่การปฏิรูปการศึกษากล่าวคือ ระบบการศึกษาใช้ทรัพยากรมากแต่ผลสัมฤทธิ์ต่า โดยในช่วง 10
ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และไม่น้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รายได้
ต่อเดือนของครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและสอนในโรงเรียนรัฐก็เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาทในปี 2544
เป็นประมาณ 2.4-2.5 หมื่นบาทในปี 2553 และครูมีรายได้ไม่น้อยกว่าอาชีพอื่นอีกต่อไป แต่ในทางตรงกันข้าม ผล
คะแนนการทดสอบมาตรฐานของนักเรียนไทยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติกลับมีแนวโน้มลดต่าลง
นอกจากนั้น ระบบการศึกษาของไทยยังมีความเหลื่อมล้าของคุณภาพการศึกษาในระดับสูง และระบบการเรียนการสอน
ไม่เหมาะกับบริบทของศตวรรษที่ 21
2. การศึกษาในศตวรรษที่ 21
ธนกฤตย์ มงคลวงษ์ [2] ได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21
ครูต้องยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ เน้นการสืบค้น ทางานที่มีปฏิสัมพันธ์ บทเรียนมีความยืดหยุ่น ผู้เรียนเคารพคุณค่าของความ
แตกต่างหลากหลายและครูให้การเรียนรู้ที่มีการส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน ครูต้องไม่เน้นที่ “การสอน” แต่ทาหน้าที่สร้าง
แรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียน เน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (coaching)
แนวการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการเน้นการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการ
พัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การอ่าน) Writing (การ
เขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) และทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งนาไปสู่ทักษะการ
เรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical thinking & Problem solving) การ
สื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และ
ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 [1] กล่าวว่า การนา
ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช้ ผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้าน
วิชาการ การที่นักเรียนจะสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยบูรณาการของ
พื้นฐานความรู้ดังกล่าวภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก ผู้เรียนต้องเรียนรู้ทักษะที่จาเป็นเพื่อให้ประสบความสาเร็จ
ในโลกทุกวันนี้ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการร่วมมือกัน โดย
จาเป็นต้องมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จาเป็น ได้แก่ มาตรฐานและการวัดผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนา
วิชาชีพและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นและจบการศึกษาออกไป
ด้วยความพร้อมที่จะประสบความสาเร็จในเศรษฐกิจของโลกทุกวันนี้
กล่าวโดยสรุปคือการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น ครูจะเปลี่ยนเป็นผู้ให้คาปรึกษาหรือผู้อานวย
ความสะดวกให้แก่ผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสงสัย ตั้งคาถาม ใช้เทคโนโลยีในการ
สืบค้นข้อมูลจากสิ่งที่ตนสนใจ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กัน เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยทักษะ
การเรียนรู้และนวัตกรรมเหล่านี้มาจากการสอนด้านเนื้อหาที่มีการสอดแทรกทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21
โดยมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จาเป็น คือ มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 หลักสูตรและวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และ บรรยากาศการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21
ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเครือข่ายได้แผ่ขยายได้กว้างขวางขึ้นจึงทาให้มีความหลากหลายของสื่อ และวิธีการสอน
ที่มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการจัดการเรียน
การสอน จึงมีการปรับเปลี่ยนจากการที่ครูเป็นศูนย์กลาง สู่การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง โดยใช้
เทคโนโลยีเป็นฐาน ดังนั้น ครูจาเป็นจะต้องพัฒนาตนเองให้”เท่าเทียม” กับโลกที่กาลังหมุดไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะ
เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ฐานข้อมูลที่มีมากมายบนระบบอินเทอร์เน็ต การแบ่งปันข้อมูล พูดคุยกันผ่านทาง
Facebook หรือแม้กระทั่งการศึกษาเนื้อหาแบบของจริงจาก Youtube ซึ่งเป็นเว็ปไซต์ที่รวบรวมทั้งความรู้ ความ
บันเทิง ผ่านการบันทึกลงเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ หรือยาวเป็นชั่วโมงเลยก็มี จากสิ่งเหล่านี้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วย
ตนเอง โดยที่เราต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวันของผู้เรียนอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะ
Facebook ซึ่งเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนและครู นักเรียนและเพื่อนนักเรียน
หรือแม้แต่ครูกับเพื่อนครู ถือได้ว่า เป็นสื่อกลางที่สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความรู้ด้าน
นวัตกรรมในส่วนของการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Facebook ยังทาให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ ครูรู้
พื้นฐานทางบ้านหรือนิสัยใจคอของผู้เรียนได้เมื่อได้พบข้อความหรือการกระทาที่นาไปสู่การวิเคราะห์ผู้เรียน
รายบุคคล ครูและผู้ปกครองสามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อ
ผู้เรียน หรือแม้แต่การแบ่งปันสิ่งที่ผู้เรียนคนหนึ่งได้รับรู้ สู่การถ่ายทอดต่อหรือ share เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นๆได้รับ
ความรู้ไปด้วย ขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อให้อนาคต
ของเด็กยุคใหม่ได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ ภายใต้โลกที่ไร้พรมแดน เป็นบุคคลแห่งการเรียนเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์
และแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือ
กันเพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ต่างๆเพื่อช่วยในการพัฒนาการศึกษาต่อไป โดยครูจะเป็นผู้สร้างกิจกรรมการ
เรียนรู้ สร้างสรรค์การเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น
ได้แก่ Flipped classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน
3. Flipped Classroom
Flipped Classroom หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ห้องเรียนกลับด้าน” ซึ่งได้ถูกให้
ความหมายไว้ว่า “The flipped classroom is a pedagogical model in which the typical lecture and homework elements
of a course are reversed.”[5] ซึ่งแปลโดยสรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่กิจกรรมแบบปกติซึ่งก็คือการเรียน
การสอนกับการทาการบ้านของแต่ละรายวิชานั้นสลับกัน นั่นหมายถึง การจัดการเรียนการสอนนั้น นักเรียนจะได้ชม
วิดีโอการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาจากที่บ้านก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน ในขณะที่ในชั้นเรียน นักเรียนทุกคนจะ
อุทิศเวลาให้กับการทาแบบฝึกหัด โครงงาน หรือการอภิปราย การสอนทางวิดีโอนั้นเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งในหลัก
ของห้องเรียนกลับด้านนั้น การสอนเป็นได้ทั้งการสอนที่จัดทาโดยผู้สอนเองและการเลือกมาจากการสอนที่มีอยู่แล้วบน
แหล่งข้อมูลออนไลน์ ในขณะที่การถ่ายข้อมูลวิดีโอการสอนที่ได้มีการเข้าชมลงไปในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นจะกลายเป็น
สิ่งที่สามารถปรากฏได้ทุกหนทุกแห่ง นี่จึงเป็นที่มาของความหมายของ Flipped classroom หรือ ห้องเรียนกลับด้าน
โดยแนวคิดของห้องเรียนกลับด้านนั้นคือผู้เรียนมีความกระตือรือร้น การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การออกแบบ
รายวิชาที่ประกอบขึ้นจากหลายๆส่วน และรายวิชาในรูปของไฟล์เสียงที่สามารถดาวโหลดได้ข้อดีของห้องเรียนกลับ
ด้านอยู่ในการกาหนดจุดมุ่งหมายที่ในเวลาเรียนไปสู่การสถานที่ทางาน ที่ซึ่งนักเรียนทุกคนสามารถค้นคว้าเกี่ยวกับ
เนื้อหาที่สอน ทดสอบทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในกิจกรรมที่มีการร่วมมือกัน ในช่วง
ระหว่างการจัดการเรียนการสอน บทบาทหน้าที่ของผู้สอนคือการเป็นผู้ชี้แนะ หรือผู้ฝึก กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูล
รายบุคคล และสร้างแรงจูงใจในการร่วมมือกันในการทางานของผู้เรียน
ภาพที่ 2 ตัวอย่างห้องเรียนแบบกลับด้าน
ที่มา: http://ctl.utexas.edu/sites/default/files/flippedgraphic(web1100px)_0.png
ห้องเรียนกลับด้าน หรือ the flipped classroom ถูกเริ่มใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปี 2007
โดยครู 2 คน ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา คือ โจนาธาน เบิร์กแมน และ แอรอน แซมส์ ซึ่งได้ถ่ายคลิปวิดีโอการสอน
ของตนเองเอาไว้สาหรับนักเรียนที่ขาดเรียน เมื่อคลิปบทเรียนของครูทั้งสองเริ่มแพร่ขยายออกไป อาทิเช่น Podcasts หรือ
YouTube เพื่อสอนนักเรียนนอกห้องเรียนและสงวนเวลาไว้ในชั้นเรียนไว้สาหรับการรวมกลุ่มทาแบบฝึกหัดหรือทา
กิจกรรมร่วมกัน จากกรณีศึกษานี้ ผลของการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการจัดการเรียนการสอน
แบบเดิม จึงทาให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าว มีความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ทาให้การศึกษาในอเมริกาเปลี่ยนแปลงไป
ในทางที่ดีขึ้นจากการนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ ไปใช้ในโรงเรียนมากขึ้น [8]
ภาพที่ 3 Aaron Sams (ซ้าย) และ Jonathan Bergmann (ขวา) ผู้พัฒนาห้องเรียนกลับด้าน
จากความหมายของห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped classroom และกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียน
การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนั้น มีความตื่นตัวอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดูจากกระแสนิยม และผลลัพธ์ที่
ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม การใช้ห้องเรียนกลับด้านทาให้โรงเรียนสามารถช่วยเหลือนักเรียนควบคู่ไปกับการใช้สื่อการ
สอนอย่างเหมาะสม โดยมีครูที่มีความรู้ทั้งด้านเนื้อหาและด้านการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเป็นผู้ให้คาปรึกษา
เป็นผู้ฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งด้วยตนเองและการทางานเป็นกลุ่ม นาไปสู่การเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนี้ ยังถือว่าเป็ นสิ่งใหม่ต่อบริบทการศึกษาไทย ถึงแม้ว่า
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้เปลี่ยนแปลงบริบท จากการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปให้เป็นไปตามรูปแบบการ
จัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านก็ตาม
เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน มีความชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันในกลุ่มผู้
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นวัยที่ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและ
ชอบความท้าทายในการค้นคว้าหาข้อมูลและการทางานเป็นทีม ผู้เขียนจึงขอนาเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้
“ห้องเรียนกลับด้าน”เพื่อพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
4. การใช้“ห้องเรียนกลับด้าน”เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ห้องเรียนกลับด้าน ถือว่าเป็นรูปแบบของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เป็นสถานที่ซึ่งก็คือ
“ห้องเรียน”ที่สามารถอานวยความสะดวกให้ผู้เรียนจากการค้นคว้าข้อมูล การสนทนาระหว่างกัน การวิเคราะห์ข้อมูล
และการสร้างสิ่งใหม่ๆหรือการเกิดไอเดียขึ้นมาจากปัจจัยเหล่านั้น แต่การที่ห้องเรียนห้องนี้จะสามารถพัฒนาศักยภาพ
ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสาคัญ ปัจจัยหลักที่เป็น
องค์ประกอบของห้องเรียนกลับด้านที่ต้องให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่งคือ
4.1 ผู้สอน
ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียน สู่การเป็นผู้ฝึก หรือเป็น โค้ช (coach)
ให้แก่ผู้เรียน โดยเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทากิจกรรมต่างๆมากขึ้น
[6] ซึ่งในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนี้ สิ่งสาคัญที่จะนาไปสู่การเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีคือ การกาหนด
วัตถุประสงค์ของผู้สอนที่มีความชัดเจนประกอบกับบอกสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องกระทาให้ได้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้จริง ในด้านเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมนั้น ผู้สอนควรคานึงถึงเนื้อหาโดยเรียงจากเนื้อหาที่ง่ายสู่เนื้อหาที่มีความ
ยากมากขึ้นโดยมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนนั้นต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความถนัดที่แตกต่างกันของผู้เรียน โดยอาจมีการเตรียมสื่อการเรียนรู้ วิธีสอน หรือเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียน
บรรลุวัตถุประสงค์
4.2 การสร้างกิจกรรมในชั้นเรียน
สาหรับการสร้างกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทาได้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของ
สถานศึกษา ความพร้อมของผู้เรียน เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ควรเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการ
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน มีส่วนร่วมในการทากิจกรรม มีระบบกลุ่มเพื่อการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และมีการ
นาเสนอซึ่งจะแสดงแนวคิดที่กลุ่มหรือตนเองได้รับจากการทางานชิ้นนั้นๆ โดยผู้สอนสามารถใช้เกม ใช้การวิเคราะห์
วิดีโอหรือคลิปวิดีโอ การเขียนผังความคิด ตัวอย่างกิจกรรมของ McKinney [7] ที่สามารถนามาใช้ในบริบทของ
การศึกษาได้ชัดเจน และสามารถพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้มีดังนี้
1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กาหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน
3-5 นาที (Pair) และนาเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทางานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆละ 3-6 คน
3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนาเกมเข้า
บูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนาเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการ
ประเมินผล
5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่
ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้
ผู้เรียนได้นาเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย(Mini-researchproposalsor project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่
อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกาหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือ
สร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-basedlearning) หรือ
การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)
9. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน
ออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนาเสนอความคิดรวบยอดและความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิดโดยการใช้เส้นเป็นตัว
เชื่อมโยง อาจจัดทาเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนาเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้
ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
4.3 การสร้างสื่อการเรียนการสอน
เนื่องจากต้องคานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน และ Flipped classroom เป็นการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้เวลาร่วมกันในห้องเรียนมากที่สุด ดังนั้นผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาจากนอก
ห้องเรียนก่อนที่จะเข้ามาสู่ในห้องเรียน ผู้สอนต้องออกแบบสื่อให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหารายวิชา
สื่อควรมีหลากหลายเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรมีคู่มือแนะนาการใช้งานที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และ
เข้าถึงได้ง่ายเพื่อให้ผู้เรียนใช้งานได้ง่าย สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีความกระตือรือร้นในการใช้งาน และไม่ก่อให้เกิด
ความเบื่อหน่าย ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบออนไลน์มีการพัฒนามากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้เรียนที่จะได้รับความรู้จากสื่อเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมากขึ้นจากเดิม ผู้สอนสามารถหยิบมาเป็นสื่อหลักในการ
จัดการเรียนการสอน หรือเป็นสื่อเสริมเพื่อสนับสนุนสื่อหลักที่มีอยู่แล้วหรือผลิตขึ้นเอง ตัวอย่างเว็ปไซต์สื่อการเรียนการ
สอนที่มีผู้ให้ความสนใจในการนามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาคือ ทรูปลูกปัญญา (www.trueplookpanya.com)
ซึ่งเป็นเว็ปไซต์การศึกษาที่รวบรวมความรู้ คลังข้อสอบ เรื่องราวที่มีประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่ครู นักเรียนทุก
ระดับชั้น รวมถึงผู้สนใจทั่วไป เป็นต้น
5. สรุป
การปฏิรูปการศึกษานั้น ควรตั้งอยู่บนสภาพปัญหา ความต้องการของสังคมเป็นหลัก โดยเฉพาะการ
ปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่21 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก การจัดการชั้นเรียนจะเป็นการเน้นที่ผู้เรียนได้เกิดการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา มีการติดต่อสื่อสารและเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และช่วยให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสนับสนุนให้การจัดการเรียนรู้เหล่านั้นมีประสิทธิภาพ ดังนั้น
การนา flipped classroom มาใช้ในการจัดการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ตอบสนองการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้ชัดเจนที่สุด
เพื่อให้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีพัฒนาการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดผลลัพธ์ที่ทัดเทียมกับความต้องการของ
สังคมโลก
บรรณานุกรม
[1] เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์http://www.samkha.ac.th/Pramoteweb/21st_Century_Learning_Skills.pdf
[2] ธนกฤตย์ มงคลวงษ์ . 2556. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์
http://202.143.146.22/chon3km/?name=download&file=readdownload&id=
19
[3] สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. 2556. ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้าง
ความรับผิดชอบ. [ออนไลน์]http://www.enn.co.th/6665.
[4] อัญรัตน์ นาเมือง. 2553. การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. Princess of Naradhiwas
University Journal. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.
[5] Educause learning initiative. 2012. 7 things you should know about flipped
classrooms. ออนไลน์ http://educause.edu/eli.
[6] KMUTT Educational development. ม.ป.ป. ทาความรู้จัก Flipped Classroom . ออนไลน์.
http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=flipped_howtostart.
[7] McKinney. 2008. อ้างถึงใน KMUTT Educational development. ม.ป.ป. ทาความรู้จัก
Flipped Classroom . ออนไลน์. http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=flipped_howtostart.
[8] School in Focus. 2555. การศึกษาในศตวรรษที่ 21 แนวทางการสร้างนักเรียนพันธุ์ใหม่.
ปีที่ 4 ฉบับที่11.

More Related Content

Viewers also liked

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Teacher Sophonnawit
 
10 km 1
10 km 110 km 1
Flipped classroom
Flipped classroomFlipped classroom
Flipped classroom
waa edad
 
Classroom
ClassroomClassroom
Classroombeta_t
 
Flipped Learning-Research
Flipped Learning-ResearchFlipped Learning-Research
Flipped Learning-Research
Kittipun Udomseth
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านkrupornpana55
 
บทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classromบทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classrom
Krupol Phato
 
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroomห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
สมใจ จันสุกสี
 
Flipped classroom
Flipped classroomFlipped classroom
Flipped classroom
Khunakon Thanatee
 
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21nanza
 
ห้องเรียนกลับทาง
ห้องเรียนกลับทางห้องเรียนกลับทาง
ห้องเรียนกลับทาง
Komsun See
 
What is a flipped classroom?
What is a flipped classroom?What is a flipped classroom?
What is a flipped classroom?
The International Academy - Amman
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
Sireetorn Buanak
 

Viewers also liked (14)

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
10 km 1
10 km 110 km 1
10 km 1
 
Flipped classroom
Flipped classroomFlipped classroom
Flipped classroom
 
Classroom
ClassroomClassroom
Classroom
 
Flipped Learning-Research
Flipped Learning-ResearchFlipped Learning-Research
Flipped Learning-Research
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
 
บทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classromบทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classrom
 
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroomห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
ห้องเรียนกลับด้าน Flipped classroom
 
Flipped classroom
Flipped classroomFlipped classroom
Flipped classroom
 
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
 
ห้องเรียนกลับทาง
ห้องเรียนกลับทางห้องเรียนกลับทาง
ห้องเรียนกลับทาง
 
What is a flipped classroom?
What is a flipped classroom?What is a flipped classroom?
What is a flipped classroom?
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
 

Similar to การปฏ ร ปการศ_กษาไทยในศตวรรษท__ 21

โครงงานEducation inter
โครงงานEducation interโครงงานEducation inter
โครงงานEducation interพัน พัน
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...โรงเรียนบ้านเสาเล้าฯ สผศ
 
Education inter
Education interEducation inter
Education inter
Saranporn Rungrueang
 
บทที่ 1 นายต้นพิมให้
บทที่ 1 นายต้นพิมให้บทที่ 1 นายต้นพิมให้
บทที่ 1 นายต้นพิมให้Alisa Samansri
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
Piyapong Chaichana
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
wanneemayss
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
nattawad147
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
wanichaya kingchaikerd
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
Theerayut Ponman
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าการกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าaon04937
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 

Similar to การปฏ ร ปการศ_กษาไทยในศตวรรษท__ 21 (20)

โครงงานEducation inter
โครงงานEducation interโครงงานEducation inter
โครงงานEducation inter
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
 
Education inter
Education interEducation inter
Education inter
 
Education inter
Education interEducation inter
Education inter
 
School curiculum
School curiculumSchool curiculum
School curiculum
 
บทที่ 1 นายต้นพิมให้
บทที่ 1 นายต้นพิมให้บทที่ 1 นายต้นพิมให้
บทที่ 1 นายต้นพิมให้
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าการกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
 
พรบ. 2545
พรบ. 2545พรบ. 2545
พรบ. 2545
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 

การปฏ ร ปการศ_กษาไทยในศตวรรษท__ 21

  • 1. การปฏิรูปการศึกษาไทยกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 : การใช้“ห้องเรียนกลับทาง”เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาสกร เรืองรอง1 , รุจโรจน์ แก้วอุไร2 * พันธุ์ทิพย์ ลิมปะพันธุ์3, รัตนาภรณ์ ลอสวัสดิ์4, เพ็ญภรณ์ เหลี่ยวเจริญวัฒน์5, วสันต์ ศรีหิรัญ6, วินัย ปานโท้7, ยุทธนา พันธ์มี8** บทคัดย่อ การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลง โดยยึดบริบทสังคมเป็นหลัก มีการเปลี่ยนอย่าง เป็นขั้นตอนทาให้ไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของสังคมให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ โดยเฉพาะการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนทุกคน จาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การ อ่าน) Writing (การเขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) ซึ่งนาไปสู่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิด สร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางด้าน การจัดการเรียนการสอนจากบริบทเดิมควรได้รับการเปลี่ยนแปลง “ห้องเรียนกลับทาง”จึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียน การสอนที่เหมาะสมกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยการที่ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากองค์ความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น โดยการแบ่งปันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนผ่านการจัดกิจกรรม โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ หรือเป็น โค้ชให้กับผู้เรียน นาไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมี ประสิทธิภาพ แก่ผู้เรียน คาสาคัญ การปฏิรูปการศึกษา การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ห้องเรียนกลับทาง การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน Educational reform in Thailand was changed by the context majorly. It had changed step to step but didn’t be severe. Truly, educational reform was a change of social members to have desired characteristics and to response national need especially 21st century education which students should be improved their knowledge about academic contents called 3Rs including Reading, Writing, and Arithmetic leaded to learning skills and innovation called 4Cs included Critical thinking, Communication, Collaboration, and Creativity. Moreover, life and occupation skills and *อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร **นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 2. information technology skills were also included in 21st century skills. From these aims, pedagogy should be changed in appropriate way. The flipped classroom can be a choice for 21st century education. Learners will have self-directed learningand thendiscuss fromtheir knowledge to eachother and share to another learners in community. Teacher will be a coach or guide for learners to get more information. From this model, it can be said that flipped classroom can be applied and used for Thailand education to improve Thai primary education to get good and effective results. Keywords: educational reform, 21st century education, flipped classroom, Thai primary educational improvement บทนา เป็นที่ตระหนักว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนาประเทศใน ทุกมิติ การมีระบบการศึกษาที่ดีนามาซึ่งความรู้ ความสามารถ มีความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สุขภายใต้ความหลากหลายของบริบทสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันบนเวที นานาชาติ ซึ่งการที่จะมีระบบการศึกษาที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และ ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการเสริมแรงในการจัดการศึกษาของรัฐให้มีความเหมาะสม โดยคานึงถึงสภาพสังคม บริบท ของการศึกษา และสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ ด้วยปัจจัยที่กล่าวมานี้จึงเป็นแรงผลักดันสู่การปฏิรูป การศึกษา เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมต่อสังคมไทยและสังคมโลก ในประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกในปีพ.ศ.2542 เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย มีการ ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เป็นการมุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และในปีพุทธศักราช 2552 เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันในทุก ระดับประเภทการศึกษา จะเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ โดยยึดบริบทสังคมเป็นหลัก มี การเปลี่ยนอย่างเป็นขั้นตอนทาให้ไม่เกิดความรุนแรง หรือกระทบในทางเสียหาย น้อยที่สุด ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของสังคมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ[1] วิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากจากอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คนไทยมี โอกาสรับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นและกว้างขึ้นและในทางสร้างสรรค์ โดยเทคโนโลยีได้นาเสนอโอกาสและทางเลือก
  • 3. ให้บุคคลได้เรียนรู้จากหลายช่องทางหลายรูปแบบทาให้การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นได้ทั้งเวลาและสถานที่ สามารถเรียนรู้ และรับข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามความสนใจของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาตลอดชีวิต เนื่องจากบุคคลจะ แสวงหาแนวทางและค้นหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และการจัดการเรียนการสอนในอนาคต จะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูทาหน้าที่เป็นผู้ให้คาแนะนา ผู้เรียนจะเรียนรู้และสร้างรูปแบบการ เรียนรู้ของตนเองตามสิ่งที่สนใจ เป็นการเรียนรู้เพื่อสั่งสมประสบการณ์และเพื่อการศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการ พัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การอ่าน) Writing (การ เขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) ซึ่งนาไปสู่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิด วิเคราะห์ (Critical thinking) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี จากบริบทสังคมและคุณลักษณะของผู้เรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่บุคคลผู้ซึ่งมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสาคัญในการอานวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ สู่การคิดวิเคราะห์ และ สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง การศึกษาควรมีการปฏิรูปให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการและคุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนาไปสู่การแข่งในเวทีระดับอาเซียน และเวทีโลก ในบทความนี้จึงขอนาเสนอหัวข้อที่มีความ เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาไทยกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้ Flipped Classroom หรือ ห้องเรียน กลับด้านเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีประสิทธิภาพ แก่ผู้เรียน 1. การปฏิรูปการศึกษาไทย งานวิจัย เรื่องการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย ของ อัญญรัตน์ นาเมือง [4] ได้กล่าวว่า สาเหตุสาคัญของการปฏิรูปการศึกษา มาจากคากล่าวที่ว่า “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ชี้ชัดให้เห็นว่าการศึกษานั้น มีความสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดที่ประชาชนมีความรู้สูง ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้น มีความเจริญ ตามไปด้วย (อ้างถึงทัศนะของวิทยากร เชียงกูล, 2545) สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย [3] ได้ระบุปัญหาของระบบ การศึกษาไทยที่จะนาไปสู่การปฏิรูปการศึกษากล่าวคือ ระบบการศึกษาใช้ทรัพยากรมากแต่ผลสัมฤทธิ์ต่า โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และไม่น้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รายได้ ต่อเดือนของครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและสอนในโรงเรียนรัฐก็เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาทในปี 2544 เป็นประมาณ 2.4-2.5 หมื่นบาทในปี 2553 และครูมีรายได้ไม่น้อยกว่าอาชีพอื่นอีกต่อไป แต่ในทางตรงกันข้าม ผล คะแนนการทดสอบมาตรฐานของนักเรียนไทยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติกลับมีแนวโน้มลดต่าลง
  • 4. นอกจากนั้น ระบบการศึกษาของไทยยังมีความเหลื่อมล้าของคุณภาพการศึกษาในระดับสูง และระบบการเรียนการสอน ไม่เหมาะกับบริบทของศตวรรษที่ 21 2. การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ธนกฤตย์ มงคลวงษ์ [2] ได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครูต้องยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ เน้นการสืบค้น ทางานที่มีปฏิสัมพันธ์ บทเรียนมีความยืดหยุ่น ผู้เรียนเคารพคุณค่าของความ แตกต่างหลากหลายและครูให้การเรียนรู้ที่มีการส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน ครูต้องไม่เน้นที่ “การสอน” แต่ทาหน้าที่สร้าง แรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียน เน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (coaching) แนวการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการเน้นการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการ พัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักด้านวิชาการ หรือ 3Rs ซึ่งประกอบด้วย Reading (การอ่าน) Writing (การ เขียน) และArithmetic (ความรอบรู้ด้านคณิตศาสตร์) และทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งนาไปสู่ทักษะการ เรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical thinking & Problem solving) การ สื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทักษะชีวิตและอาชีพ และ ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 [1] กล่าวว่า การนา ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช้ ผู้เรียนทุกคนจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้าน วิชาการ การที่นักเรียนจะสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยบูรณาการของ พื้นฐานความรู้ดังกล่าวภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก ผู้เรียนต้องเรียนรู้ทักษะที่จาเป็นเพื่อให้ประสบความสาเร็จ ในโลกทุกวันนี้ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการร่วมมือกัน โดย จาเป็นต้องมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จาเป็น ได้แก่ มาตรฐานและการวัดผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนา
  • 5. วิชาชีพและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นและจบการศึกษาออกไป ด้วยความพร้อมที่จะประสบความสาเร็จในเศรษฐกิจของโลกทุกวันนี้ กล่าวโดยสรุปคือการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น ครูจะเปลี่ยนเป็นผู้ให้คาปรึกษาหรือผู้อานวย ความสะดวกให้แก่ผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสงสัย ตั้งคาถาม ใช้เทคโนโลยีในการ สืบค้นข้อมูลจากสิ่งที่ตนสนใจ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กัน เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยทักษะ การเรียนรู้และนวัตกรรมเหล่านี้มาจากการสอนด้านเนื้อหาที่มีการสอดแทรกทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จาเป็น คือ มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 หลักสูตรและวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และ บรรยากาศการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเครือข่ายได้แผ่ขยายได้กว้างขวางขึ้นจึงทาให้มีความหลากหลายของสื่อ และวิธีการสอน ที่มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการจัดการเรียน การสอน จึงมีการปรับเปลี่ยนจากการที่ครูเป็นศูนย์กลาง สู่การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง โดยใช้ เทคโนโลยีเป็นฐาน ดังนั้น ครูจาเป็นจะต้องพัฒนาตนเองให้”เท่าเทียม” กับโลกที่กาลังหมุดไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ฐานข้อมูลที่มีมากมายบนระบบอินเทอร์เน็ต การแบ่งปันข้อมูล พูดคุยกันผ่านทาง Facebook หรือแม้กระทั่งการศึกษาเนื้อหาแบบของจริงจาก Youtube ซึ่งเป็นเว็ปไซต์ที่รวบรวมทั้งความรู้ ความ บันเทิง ผ่านการบันทึกลงเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ หรือยาวเป็นชั่วโมงเลยก็มี จากสิ่งเหล่านี้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง โดยที่เราต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวันของผู้เรียนอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะ Facebook ซึ่งเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนและครู นักเรียนและเพื่อนนักเรียน หรือแม้แต่ครูกับเพื่อนครู ถือได้ว่า เป็นสื่อกลางที่สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความรู้ด้าน นวัตกรรมในส่วนของการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Facebook ยังทาให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ ครูรู้ พื้นฐานทางบ้านหรือนิสัยใจคอของผู้เรียนได้เมื่อได้พบข้อความหรือการกระทาที่นาไปสู่การวิเคราะห์ผู้เรียน รายบุคคล ครูและผู้ปกครองสามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้เรียน หรือแม้แต่การแบ่งปันสิ่งที่ผู้เรียนคนหนึ่งได้รับรู้ สู่การถ่ายทอดต่อหรือ share เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นๆได้รับ ความรู้ไปด้วย ขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อให้อนาคต ของเด็กยุคใหม่ได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ ภายใต้โลกที่ไร้พรมแดน เป็นบุคคลแห่งการเรียนเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ มีปฏิสัมพันธ์กับบุคลอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือ
  • 6. กันเพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ต่างๆเพื่อช่วยในการพัฒนาการศึกษาต่อไป โดยครูจะเป็นผู้สร้างกิจกรรมการ เรียนรู้ สร้างสรรค์การเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น ได้แก่ Flipped classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน 3. Flipped Classroom Flipped Classroom หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ห้องเรียนกลับด้าน” ซึ่งได้ถูกให้ ความหมายไว้ว่า “The flipped classroom is a pedagogical model in which the typical lecture and homework elements of a course are reversed.”[5] ซึ่งแปลโดยสรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่กิจกรรมแบบปกติซึ่งก็คือการเรียน การสอนกับการทาการบ้านของแต่ละรายวิชานั้นสลับกัน นั่นหมายถึง การจัดการเรียนการสอนนั้น นักเรียนจะได้ชม วิดีโอการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาจากที่บ้านก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน ในขณะที่ในชั้นเรียน นักเรียนทุกคนจะ อุทิศเวลาให้กับการทาแบบฝึกหัด โครงงาน หรือการอภิปราย การสอนทางวิดีโอนั้นเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งในหลัก ของห้องเรียนกลับด้านนั้น การสอนเป็นได้ทั้งการสอนที่จัดทาโดยผู้สอนเองและการเลือกมาจากการสอนที่มีอยู่แล้วบน แหล่งข้อมูลออนไลน์ ในขณะที่การถ่ายข้อมูลวิดีโอการสอนที่ได้มีการเข้าชมลงไปในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นจะกลายเป็น สิ่งที่สามารถปรากฏได้ทุกหนทุกแห่ง นี่จึงเป็นที่มาของความหมายของ Flipped classroom หรือ ห้องเรียนกลับด้าน โดยแนวคิดของห้องเรียนกลับด้านนั้นคือผู้เรียนมีความกระตือรือร้น การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การออกแบบ รายวิชาที่ประกอบขึ้นจากหลายๆส่วน และรายวิชาในรูปของไฟล์เสียงที่สามารถดาวโหลดได้ข้อดีของห้องเรียนกลับ ด้านอยู่ในการกาหนดจุดมุ่งหมายที่ในเวลาเรียนไปสู่การสถานที่ทางาน ที่ซึ่งนักเรียนทุกคนสามารถค้นคว้าเกี่ยวกับ เนื้อหาที่สอน ทดสอบทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในกิจกรรมที่มีการร่วมมือกัน ในช่วง ระหว่างการจัดการเรียนการสอน บทบาทหน้าที่ของผู้สอนคือการเป็นผู้ชี้แนะ หรือผู้ฝึก กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูล รายบุคคล และสร้างแรงจูงใจในการร่วมมือกันในการทางานของผู้เรียน
  • 7. ภาพที่ 2 ตัวอย่างห้องเรียนแบบกลับด้าน ที่มา: http://ctl.utexas.edu/sites/default/files/flippedgraphic(web1100px)_0.png ห้องเรียนกลับด้าน หรือ the flipped classroom ถูกเริ่มใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปี 2007 โดยครู 2 คน ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา คือ โจนาธาน เบิร์กแมน และ แอรอน แซมส์ ซึ่งได้ถ่ายคลิปวิดีโอการสอน ของตนเองเอาไว้สาหรับนักเรียนที่ขาดเรียน เมื่อคลิปบทเรียนของครูทั้งสองเริ่มแพร่ขยายออกไป อาทิเช่น Podcasts หรือ YouTube เพื่อสอนนักเรียนนอกห้องเรียนและสงวนเวลาไว้ในชั้นเรียนไว้สาหรับการรวมกลุ่มทาแบบฝึกหัดหรือทา กิจกรรมร่วมกัน จากกรณีศึกษานี้ ผลของการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการจัดการเรียนการสอน แบบเดิม จึงทาให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าว มีความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ทาให้การศึกษาในอเมริกาเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นจากการนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ ไปใช้ในโรงเรียนมากขึ้น [8]
  • 8. ภาพที่ 3 Aaron Sams (ซ้าย) และ Jonathan Bergmann (ขวา) ผู้พัฒนาห้องเรียนกลับด้าน จากความหมายของห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped classroom และกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนั้น มีความตื่นตัวอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดูจากกระแสนิยม และผลลัพธ์ที่ ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม การใช้ห้องเรียนกลับด้านทาให้โรงเรียนสามารถช่วยเหลือนักเรียนควบคู่ไปกับการใช้สื่อการ สอนอย่างเหมาะสม โดยมีครูที่มีความรู้ทั้งด้านเนื้อหาและด้านการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเป็นผู้ให้คาปรึกษา เป็นผู้ฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งด้วยตนเองและการทางานเป็นกลุ่ม นาไปสู่การเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนี้ ยังถือว่าเป็ นสิ่งใหม่ต่อบริบทการศึกษาไทย ถึงแม้ว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้เปลี่ยนแปลงบริบท จากการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปให้เป็นไปตามรูปแบบการ จัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านก็ตาม เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน มีความชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันในกลุ่มผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นวัยที่ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและ ชอบความท้าทายในการค้นคว้าหาข้อมูลและการทางานเป็นทีม ผู้เขียนจึงขอนาเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้ “ห้องเรียนกลับด้าน”เพื่อพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ 4. การใช้“ห้องเรียนกลับด้าน”เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ห้องเรียนกลับด้าน ถือว่าเป็นรูปแบบของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เป็นสถานที่ซึ่งก็คือ “ห้องเรียน”ที่สามารถอานวยความสะดวกให้ผู้เรียนจากการค้นคว้าข้อมูล การสนทนาระหว่างกัน การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสิ่งใหม่ๆหรือการเกิดไอเดียขึ้นมาจากปัจจัยเหล่านั้น แต่การที่ห้องเรียนห้องนี้จะสามารถพัฒนาศักยภาพ
  • 9. ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสาคัญ ปัจจัยหลักที่เป็น องค์ประกอบของห้องเรียนกลับด้านที่ต้องให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่งคือ 4.1 ผู้สอน ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียน สู่การเป็นผู้ฝึก หรือเป็น โค้ช (coach) ให้แก่ผู้เรียน โดยเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทากิจกรรมต่างๆมากขึ้น [6] ซึ่งในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านนี้ สิ่งสาคัญที่จะนาไปสู่การเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีคือ การกาหนด วัตถุประสงค์ของผู้สอนที่มีความชัดเจนประกอบกับบอกสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องกระทาให้ได้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้จริง ในด้านเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมนั้น ผู้สอนควรคานึงถึงเนื้อหาโดยเรียงจากเนื้อหาที่ง่ายสู่เนื้อหาที่มีความ ยากมากขึ้นโดยมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนนั้นต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ความถนัดที่แตกต่างกันของผู้เรียน โดยอาจมีการเตรียมสื่อการเรียนรู้ วิธีสอน หรือเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียน บรรลุวัตถุประสงค์ 4.2 การสร้างกิจกรรมในชั้นเรียน สาหรับการสร้างกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทาได้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของ สถานศึกษา ความพร้อมของผู้เรียน เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ควรเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน มีส่วนร่วมในการทากิจกรรม มีระบบกลุ่มเพื่อการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และมีการ นาเสนอซึ่งจะแสดงแนวคิดที่กลุ่มหรือตนเองได้รับจากการทางานชิ้นนั้นๆ โดยผู้สอนสามารถใช้เกม ใช้การวิเคราะห์ วิดีโอหรือคลิปวิดีโอ การเขียนผังความคิด ตัวอย่างกิจกรรมของ McKinney [7] ที่สามารถนามาใช้ในบริบทของ การศึกษาได้ชัดเจน และสามารถพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้มีดังนี้ 1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กาหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนาเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share) 2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทางานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆละ 3-6 คน 3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
  • 10. 4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนาเกมเข้า บูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนาเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการ ประเมินผล 5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม 6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ ผู้เรียนได้นาเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม 7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว 8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย(Mini-researchproposalsor project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกาหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือ สร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-basedlearning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning) 9. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน ออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนาเสนอความคิดรวบยอดและความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิดโดยการใช้เส้นเป็นตัว เชื่อมโยง อาจจัดทาเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนาเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม 4.3 การสร้างสื่อการเรียนการสอน เนื่องจากต้องคานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน และ Flipped classroom เป็นการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้เวลาร่วมกันในห้องเรียนมากที่สุด ดังนั้นผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาจากนอก ห้องเรียนก่อนที่จะเข้ามาสู่ในห้องเรียน ผู้สอนต้องออกแบบสื่อให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหารายวิชา สื่อควรมีหลากหลายเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรมีคู่มือแนะนาการใช้งานที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และ เข้าถึงได้ง่ายเพื่อให้ผู้เรียนใช้งานได้ง่าย สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีความกระตือรือร้นในการใช้งาน และไม่ก่อให้เกิด ความเบื่อหน่าย ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบออนไลน์มีการพัฒนามากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อ
  • 11. ผู้เรียนที่จะได้รับความรู้จากสื่อเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมากขึ้นจากเดิม ผู้สอนสามารถหยิบมาเป็นสื่อหลักในการ จัดการเรียนการสอน หรือเป็นสื่อเสริมเพื่อสนับสนุนสื่อหลักที่มีอยู่แล้วหรือผลิตขึ้นเอง ตัวอย่างเว็ปไซต์สื่อการเรียนการ สอนที่มีผู้ให้ความสนใจในการนามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาคือ ทรูปลูกปัญญา (www.trueplookpanya.com) ซึ่งเป็นเว็ปไซต์การศึกษาที่รวบรวมความรู้ คลังข้อสอบ เรื่องราวที่มีประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่ครู นักเรียนทุก ระดับชั้น รวมถึงผู้สนใจทั่วไป เป็นต้น 5. สรุป การปฏิรูปการศึกษานั้น ควรตั้งอยู่บนสภาพปัญหา ความต้องการของสังคมเป็นหลัก โดยเฉพาะการ ปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่21 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก การจัดการชั้นเรียนจะเป็นการเน้นที่ผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา มีการติดต่อสื่อสารและเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และช่วยให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสนับสนุนให้การจัดการเรียนรู้เหล่านั้นมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การนา flipped classroom มาใช้ในการจัดการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ตอบสนองการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้ชัดเจนที่สุด เพื่อให้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีพัฒนาการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดผลลัพธ์ที่ทัดเทียมกับความต้องการของ สังคมโลก บรรณานุกรม [1] เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์http://www.samkha.ac.th/Pramoteweb/21st_Century_Learning_Skills.pdf [2] ธนกฤตย์ มงคลวงษ์ . 2556. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์ http://202.143.146.22/chon3km/?name=download&file=readdownload&id= 19 [3] สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. 2556. ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้าง
  • 12. ความรับผิดชอบ. [ออนไลน์]http://www.enn.co.th/6665. [4] อัญรัตน์ นาเมือง. 2553. การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. Princess of Naradhiwas University Journal. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม. [5] Educause learning initiative. 2012. 7 things you should know about flipped classrooms. ออนไลน์ http://educause.edu/eli. [6] KMUTT Educational development. ม.ป.ป. ทาความรู้จัก Flipped Classroom . ออนไลน์. http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=flipped_howtostart. [7] McKinney. 2008. อ้างถึงใน KMUTT Educational development. ม.ป.ป. ทาความรู้จัก Flipped Classroom . ออนไลน์. http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=flipped_howtostart. [8] School in Focus. 2555. การศึกษาในศตวรรษที่ 21 แนวทางการสร้างนักเรียนพันธุ์ใหม่. ปีที่ 4 ฉบับที่11.