SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
COMPUTER PROJECT
โครงงานคอมพิวเตอร์
PRESENTATION
CONTENTS
01
02
ประเภทของโครงงาน
คอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทําโครงงาน
คอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 3
ประเภทของ
โครงงาน
คอมพิวเตอร์
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
(Educational Media)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะ
ต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคําถามคําตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอน
โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนา
บทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชา
คณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทําความเข้าใจ
ยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรม
แบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
(Tools Development)
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็น
ในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน
ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สําหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้าง
ขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่อง
คอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนําไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สําหรับ
ซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สําหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น
โปรแกรมประเภท 3D
3. โครงงานประเภทจําลองทฤษฎี
(TheoryExperiment)
เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจําลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงาน
ที่ผู้ทําต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่าง
ลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจําลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่
ในรูปของสมการ สูตร หรือคําอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนําเสนอวิธีการจําลองทฤษฎีด้วย
คอมพิวเตอร์ การทําโครงงานประเภทนี้มีจุดสําคัญอยู่ที่ผู้ทําต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ
เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
(Application)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงใน
ชีวิตประจําวัน เช่น ซอฟต์แวร์สําหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สําหรับ
การผสมสี ซอฟต์แวร์สําหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการ
ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือ
ปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้
จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการ
ออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทํางานหรือทดสอบ
คุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกม
หมากฮอส เกมการคํานวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมอง
เพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้
น่าสนใจเเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย
ขั้นตอนการทําโครงงาน
คอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนํามาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คําถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ
จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนํามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสําคัญ ดังนี้
1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคําปรึกษา
4. มีเวลาเพียงพอ
5. มีงบประมาณเพียงพอ
6. มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคําปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกําหนด
ขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผน
ดําเนินการทําโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คําตอบว่า
1. จะทํา อะไร
2. ทําไมต้องทํา
3. ต้องการให้เกิดอะไร
4. ทําอย่างไร
5. ใช้ทรัพยากรอะไร
6. ทํากับใคร
7. เสนอผลอย่างไร
3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
ชื่อโครงงาน : ทําอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ประเภทโครงงาน : วิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้
ชื่อผู้จัดทําโครงงาน : ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
ครูที่ปรึกษาโครงงาน : ครู-อาจารย์ผู้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการทําโครงงานของนักเรียน
ครูที่ปรึกษาร่วม : ครู-อาจารย์ผู้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คําแนะนําในการทําโครงงานของนักเรียน
ระยะเวลาดําเนินงาน : ระยะเวลาการดําเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กําหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้
แนวคิด ที่มา และความสําคัญ : สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์ : สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี : หลักการและทฤษฎีที่นํามาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดําเนินงาน : กิจกรรมหรือขั้นตอนการดําเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ
ขั้นตอนการปฏิบัติ : วัน เวลา และกิจกรรมดําเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิง : สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นํามาใช้ในการดําเนินงาน
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทําโครงงานได้
ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
4.1 การเตรียมการ
การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควร
เตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สําหรับบันทึกการทํากิจกรรมต่างๆ ระหว่างทํา
โครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
4.2 การลงมือพัฒนา
1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทําให้ผลงานดีขึ้น
2. จัดระบบการทํางานโดยทําส่วนที่เป็นหลักสําคัญๆให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทํา ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้
โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทํา ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
4. การลงมือทําโครงงาน
4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจําเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทํางานได้ถูกต้องตรงกับ
ความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทําด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทําสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่ง
ที่ค้นพบจากการทําโครงงาน และทําการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนํา ไปหาความสัมพันธ์กับ
หลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนําหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการ
อภิปรายผลที่ได้ด้วย
4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทําโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สําคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็น
ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
5. การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและ
ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุม
หัวข้อต่างๆเหล่านี้
5.1 ส่วนนํา
ส่วนนํา เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทําโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คําขอบคุณ เป็นคํากล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทําให้โครงงานสําเร็จ
5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสําคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดําเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
5.2 บทนํา
บทนําเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
1. ที่มาและความสําคัญของโครงงาน
2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
3. ขอบเขตของโครงงาน
5.3 หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนํามาใช้ในการพัฒนา
โครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนํามาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
5.4 วิธีดําเนินการ
วิธีดําเนินการ อธิบายขั้นตอนการดําเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้อง
ใช้ในการทํางาน
5.5 ผลการศึกษา
ผลการศึกษา นําเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คํานึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทํา งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือ
ยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนํา ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทําโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สําคัญ หรือข้อผิดพลาด
บางประการที่เกิดขึ้นจากการทํา โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทํานองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
5.7 ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนําผลงานของโครงงานไปใช้
ด้วย
5.8 บรรณานุกรม
บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทํา โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นํามาใช้
ประโยชน์ในการทํา โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
5.9 การจัดทําคู่มือการใช้งาน
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทําเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทําคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อผลงาน
2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทํางานได้อย่างสมบูรณ์
4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทํา หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคําสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทํางานในฟังก์ชันหนึ่งๆ
6. การนําเสนอและแสดงโครงงาน
การนําเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สําคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทําโครงงาน เพื่อแสดงออกถึง
ผลิตผลความคิด ความพยายามในการทํางานที่ผู้ทําโครงงานได้ทุ่มเทและเป็นวิธีทําให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงาน
นั้น การเสนอผลงานอาจทําได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงาน
ด้วยคําพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคําพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นํามาเสนอหรือจัด
แสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทําโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คําอธิบายถึงที่มาและความสําคัญของโครงงาน
5. วิธีการดําเนินการที่สําคัญ
6. การสาธิตผลงาน
7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสําคัญที่ได้จากการทําโครงงาน
ถ้าเป็นการรายงานด้วยคําพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้
1) จัดลําดับความคิดในการนําเสนออย่างมีระบบ และนําเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจ
ง่าย
2) ทําความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบาย รวมไปถึงการเตรียมข้อมูลที่อาจจะต้องใช้ในการตอบคําถาม
3) หลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน
4) ควรมองไปยังผู้ฟังรายงาน
5) ตอบคําถามอย่างตรงไปตรงมา
6) รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
7) ควรใช้สื่อ เช่น สไลด์ แผ่นใส ประกอบการรายงาน
8) ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง
9) ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทํางานได้เป็นอย่างดี
การทําโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นําความรู้ทางคอมพิวเตอร์
มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะ
ทํางานวิจัย และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทําโครงงาน
คอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
ผู้จัดทํา
นาย ชุติมันต์ ดุมดก
ม. 6/8 เลขที่ 24
นาย วชิรวิทย์ อินถามา
ม. 6/8 เลขที่ 33
THANK
YOU

More Related Content

What's hot

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Sippapas Wathanapinanachai
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์Pum Pep
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8chanakanp
 
ใบงานที่2-16
ใบงานที่2-16ใบงานที่2-16
ใบงานที่2-16PrinceKs
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3dreamee
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Jp Eternally
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์noeiinoii
 
โครงงานคอมพิวเตอร
โครงงานคอมพิวเตอร โครงงานคอมพิวเตอร
โครงงานคอมพิวเตอร noeiinoii
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมCharisma An
 
ใบงานที่4
ใบงานที่4ใบงานที่4
ใบงานที่4juice1414
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8Jp Eternally
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8Kii Kik
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์supatra2011
 
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวี
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวีโครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวี
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวีNattaphong Kaewtathip
 

What's hot (19)

กิจกรรมที่ 2-4 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 2-4 โครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 2-4 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 2-4 โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
ใบงานที่2-16
ใบงานที่2-16ใบงานที่2-16
ใบงานที่2-16
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3
โครงงานคอมพิวเตอร์ 2-3
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร
โครงงานคอมพิวเตอร โครงงานคอมพิวเตอร
โครงงานคอมพิวเตอร
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
ใบงานที่4
ใบงานที่4ใบงานที่4
ใบงานที่4
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวี
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวีโครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวี
โครงงานคอมพิวเตอเจลต้าวีวี
 
Computer_615_03
Computer_615_03Computer_615_03
Computer_615_03
 
Comp2 4
Comp2 4Comp2 4
Comp2 4
 
Comp2 4
Comp2 4Comp2 4
Comp2 4
 

Similar to Kk3

Type of computer project
Type of computer projectType of computer project
Type of computer projectjungkookjin
 
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน
ประเภทและขั้นตอนของโครงงานประเภทและขั้นตอนของโครงงาน
ประเภทและขั้นตอนของโครงงานPloy Pony
 
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์Ploy Pony
 
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2Ploy Pony
 
Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)Napisx
 
Com3 602 1718
Com3 602 1718Com3 602 1718
Com3 602 1718KUMBELL
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Tai MerLin
 
กิจกรรมที่2+3
กิจกรรมที่2+3กิจกรรมที่2+3
กิจกรรมที่2+3PaiwarinLuanginta
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8chanakanp
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์dekkok552
 

Similar to Kk3 (20)

03 14-2562-presentation3
03 14-2562-presentation303 14-2562-presentation3
03 14-2562-presentation3
 
Type of computer project
Type of computer projectType of computer project
Type of computer project
 
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน
ประเภทและขั้นตอนของโครงงานประเภทและขั้นตอนของโครงงาน
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน
 
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2
ประเภทและขั้นตอนของโครงงาน2
 
Work 3
Work 3Work 3
Work 3
 
Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)
 
Com3 602 1718
Com3 602 1718Com3 602 1718
Com3 602 1718
 
2 3
2 32 3
2 3
 
กิจกรรม2 3
กิจกรรม2 3กิจกรรม2 3
กิจกรรม2 3
 
P
PP
P
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Computer project 3
Computer project 3Computer project 3
Computer project 3
 
Work 3
Work 3Work 3
Work 3
 
Yrc 606
Yrc 606Yrc 606
Yrc 606
 
กิจกรรมที่2+3
กิจกรรมที่2+3กิจกรรมที่2+3
กิจกรรมที่2+3
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
กิจกรรม 2 3 4
กิจกรรม 2 3 4กิจกรรม 2 3 4
กิจกรรม 2 3 4
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 

More from mew46716

Final project.pp
Final project.ppFinal project.pp
Final project.ppmew46716
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project mew46716
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project mew46716
 

More from mew46716 (8)

Final01
Final01Final01
Final01
 
Final project.pp
Final project.ppFinal project.pp
Final project.pp
 
Final
FinalFinal
Final
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project
 
Project 3
Project 3Project 3
Project 3
 
Project 3
Project 3Project 3
Project 3
 
Work2 nc
Work2 nc Work2 nc
Work2 nc
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 

Kk3

  • 4. 1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะ ต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคําถามคําตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนา บทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชา คณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทําความเข้าใจ ยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรม แบบทดสอบวิชาต่าง ๆ ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
  • 5. 2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็น ในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สําหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้าง ขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนําไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สําหรับ ซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สําหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
  • 6. 3. โครงงานประเภทจําลองทฤษฎี (TheoryExperiment) เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจําลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงาน ที่ผู้ทําต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่าง ลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจําลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ ในรูปของสมการ สูตร หรือคําอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนําเสนอวิธีการจําลองทฤษฎีด้วย คอมพิวเตอร์ การทําโครงงานประเภทนี้มีจุดสําคัญอยู่ที่ผู้ทําต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว
  • 7. 4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงใน ชีวิตประจําวัน เช่น ซอฟต์แวร์สําหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สําหรับ การผสมสี ซอฟต์แวร์สําหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการ ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือ ปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้ จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการ ออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทํางานหรือทดสอบ คุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์
  • 8. 5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development) เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกม หมากฮอส เกมการคํานวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมอง เพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้ น่าสนใจเเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย
  • 10. 1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ โดยทั่วไปเรื่องที่จะนํามาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คําถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนํามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสําคัญ ดังนี้ 1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา 2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคําปรึกษา 4. มีเวลาเพียงพอ 5. มีงบประมาณเพียงพอ 6. มีความปลอดภัย
  • 11. 2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคําปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกําหนด ขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผน ดําเนินการทําโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คําตอบว่า 1. จะทํา อะไร 2. ทําไมต้องทํา 3. ต้องการให้เกิดอะไร 4. ทําอย่างไร 5. ใช้ทรัพยากรอะไร 6. ทํากับใคร 7. เสนอผลอย่างไร
  • 12. 3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน ชื่อโครงงาน : ทําอะไร กับใคร เพื่ออะไร ประเภทโครงงาน : วิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ชื่อผู้จัดทําโครงงาน : ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้ ครูที่ปรึกษาโครงงาน : ครู-อาจารย์ผู้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการทําโครงงานของนักเรียน ครูที่ปรึกษาร่วม : ครู-อาจารย์ผู้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คําแนะนําในการทําโครงงานของนักเรียน ระยะเวลาดําเนินงาน : ระยะเวลาการดําเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กําหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้ แนวคิด ที่มา และความสําคัญ : สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล วัตถุประสงค์ : สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต หลักการและทฤษฎี : หลักการและทฤษฎีที่นํามาใช้ในการพัฒนาโครงงาน วิธีดําเนินงาน : กิจกรรมหรือขั้นตอนการดําเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนการปฏิบัติ : วัน เวลา และกิจกรรมดําเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ผลที่คาดว่าจะได้รับ : สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ เอกสารอ้างอิง : สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นํามาใช้ในการดําเนินงาน
  • 13. เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทําโครงงานได้ ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้ 4.1 การเตรียมการ การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควร เตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สําหรับบันทึกการทํากิจกรรมต่างๆ ระหว่างทํา โครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ 4.2 การลงมือพัฒนา 1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทําให้ผลงานดีขึ้น 2. จัดระบบการทํางานโดยทําส่วนที่เป็นหลักสําคัญๆให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทํา ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้ โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทํา ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย 3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 4. การลงมือทําโครงงาน
  • 14. 4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจําเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทํางานได้ถูกต้องตรงกับ ความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทําด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทําสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่ง ที่ค้นพบจากการทําโครงงาน และทําการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนํา ไปหาความสัมพันธ์กับ หลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนําหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการ อภิปรายผลที่ได้ด้วย 4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทําโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สําคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็น ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
  • 15. 5. การเขียนรายงาน การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและ ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุม หัวข้อต่างๆเหล่านี้ 5.1 ส่วนนํา ส่วนนํา เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย 1. ชื่อโครงงาน 2. ชื่อผู้ทําโครงงาน 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 4. คําขอบคุณ เป็นคํากล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทําให้โครงงานสําเร็จ 5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสําคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดําเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ 5.2 บทนํา บทนําเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย 1. ที่มาและความสําคัญของโครงงาน 2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า 3. ขอบเขตของโครงงาน 5.3 หลักการและทฤษฎี หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนํามาใช้ในการพัฒนา โครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนํามาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
  • 16. 5.4 วิธีดําเนินการ วิธีดําเนินการ อธิบายขั้นตอนการดําเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้อง ใช้ในการทํางาน 5.5 ผลการศึกษา ผลการศึกษา นําเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คํานึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก 5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทํา งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือ ยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนํา ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทําโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สําคัญ หรือข้อผิดพลาด บางประการที่เกิดขึ้นจากการทํา โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทํานองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย 5.7 ประโยชน์ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนําผลงานของโครงงานไปใช้ ด้วย 5.8 บรรณานุกรม บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทํา โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นํามาใช้ ประโยชน์ในการทํา โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย 5.9 การจัดทําคู่มือการใช้งาน หาโครงงานที่นักเรียนจัดทําเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทําคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย 1. ชื่อผลงาน 2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้ 3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทํางานได้อย่างสมบูรณ์ 4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทํา หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก 5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคําสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทํางานในฟังก์ชันหนึ่งๆ
  • 17. 6. การนําเสนอและแสดงโครงงาน การนําเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สําคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทําโครงงาน เพื่อแสดงออกถึง ผลิตผลความคิด ความพยายามในการทํางานที่ผู้ทําโครงงานได้ทุ่มเทและเป็นวิธีทําให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงาน นั้น การเสนอผลงานอาจทําได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงาน ด้วยคําพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคําพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นํามาเสนอหรือจัด แสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 1. ชื่อโครงงาน 2. ชื่อผู้จัดทําโครงงาน 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 4. คําอธิบายถึงที่มาและความสําคัญของโครงงาน 5. วิธีการดําเนินการที่สําคัญ 6. การสาธิตผลงาน 7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสําคัญที่ได้จากการทําโครงงาน
  • 18. ถ้าเป็นการรายงานด้วยคําพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้ 1) จัดลําดับความคิดในการนําเสนออย่างมีระบบ และนําเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจ ง่าย 2) ทําความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบาย รวมไปถึงการเตรียมข้อมูลที่อาจจะต้องใช้ในการตอบคําถาม 3) หลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน 4) ควรมองไปยังผู้ฟังรายงาน 5) ตอบคําถามอย่างตรงไปตรงมา 6) รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด 7) ควรใช้สื่อ เช่น สไลด์ แผ่นใส ประกอบการรายงาน 8) ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง 9) ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทํางานได้เป็นอย่างดี การทําโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นําความรู้ทางคอมพิวเตอร์ มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะ ทํางานวิจัย และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทําโครงงาน คอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
  • 19. ผู้จัดทํา นาย ชุติมันต์ ดุมดก ม. 6/8 เลขที่ 24 นาย วชิรวิทย์ อินถามา ม. 6/8 เลขที่ 33