SlideShare a Scribd company logo
1 of 53
Download to read offline
การวิเคราะห์
การลงทุน
บทที่
กิจการต่างๆ ใช้การวิเคราะห์การลงทุนเพื่อช่วยในการประเมินค่าการลงทุนใน
ระยะยาว การวิเคราะห์การลงทุนหรืองบประมาณเงินลงทุน (Capital
Budgeting) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการวางแผน การประเมินค่า และการ
ควบคุมการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ใช้ในการดําเนินงาน เนื่องจาก
การลงทุนในโครงการลงทุนนั้นเป็นการสร้างพันธะผูกพันต่อเงินทุนของ
กิจการในระยะยาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานเป็นเวลาหลายปี ดังนั้น
ในการวิเคราะห์การลงทุนนั้น จะต้องใช้ความระมัดระวังและใช้วิธีการ
วิเคราะห์ที่มีความซับซ้อนในหลายลักษณะ เพื่อจะช่วยลดข้อผิดพลาด หรือเพื่อ
ลดข้อจํากัดของวิธีการวิเคราะห์การลงทุนในลักษณะต่างๆ เพื่อตัดสินใจลงทุน
ในโครงการที่มีความเหมาะสมกับเงื่อนไขข้อจํากัดต่างๆ ของธุรกิจนั้นๆ
จุดประสงค์หลัก ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุน
วิธีการประเมินค่าข้อเสนอการลงทุน
(Methods of Evaluating Capital Investment Proposals)
1. วิธีที่ไม่ได้คํานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน ประกอบด้วย
- วิธีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย
- วิธีระยะเวลาเงินสดคืนทุน
2. วิธีที่คํานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน ประกอบด้วย
- วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
- วิธีอัตราผลตอบแทนภายใน
กระบวนการประเมินค่างบประมาณการลงทุน
• ในปีหนึ่งๆ กิจการมักจะมีข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการลงทุนใน
ลักษณะต่างๆ และจะถูกนํามาพิจารณาโดยคณะกรรมการบริหาร
งบประมาณดําเนินงาน
• ต้องรวบรวมข้อมูลจากบุคคลในหน่วยงานย่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล
ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารต่อไป
• ผู้บริหารระดับสูงจะตัดสินใจเลือกและอนุมัติงบประมาณเพื่อการ
ลงทุนที่จะให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
ภาพที่ 8.1 กระบวนการประเมินค่างบประมาณการลงทุน
แสดงขั้นตอนหรือกระบวนการในการประเมินค่าโครงการ
ลงทุนได้ดังภาพที่ 8.1
ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสด
(Cash Flow Information)
• การจดบันทึกข้อมูลทางการบัญชีจะใช้เกณฑ์คงค้างในการรับรู้
รายได้และค่าใช้จ่าย มากกว่าจะเป็นกระแสเงินสดรับ และ
กระแสเงินสดจ่าย
• สําหรับการตัดสินใจบริหารงบประมาณการลงทุนนั้น การ
ประมาณการเกี่ยวกับกระแสเงินสดรับและการแสเงินสดจ่ายจะ
ให้ข้อมูลสําคัญที่เป็นประโยชน์เพื่อประกอบการวิเคราะห์การ
ลงทุนได้มากกว่า
ตารางที่ 8.1
ตัวอย่างกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในงบประมาณการลงทุน
กระแสเงินสดจ่าย กระแสเงินสดรับ
เงินลงทุนเริ่มแรก เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์เก่า
ค่าซ่อมบํารุงรักษา เงินสดรับที่เพิ่มขึ้นจากการขาย หรือ
ให้บริการ
ต้นทุนการดําเนินงานที่เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดจ่ายในการดําเนินงาน
ที่ลดลง
ต้นทุนการยกเครื่อง (ปรับปรุงใหม่) มูลค่าซากของสินทรัพย์ใหม่
เมื่อหมดอายุโครงการ
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท เอเอสซี จํากัด กําลังพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการ
ลงทุนในเครื่องจักรใหม่ซึ่งมีความต้องการใช้เงินงบประมาณจํานวน
585,000 บาท โดยคาดว่าอายุการให้ประโยชน์ของเครื่องจักรใหม่
ประมาณ 10 ปี เมื่อครบกําหนดแล้วมูลค่าที่เหลือของเครื่องจักรจะ
เท่ากับศูนย์
ข้อมูลกระแสเงินสดรับรายปีโดยประมาณเท่ากับ 900,000
บาท ในขณะที่กระแสเงินสดจ่ายรายปีประมาณ 792,000 บาทต่อปี
ข้อมูลของกระแสเงินสดข้างต้นนั้น จะถูกนําไปใช้เป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในงบประมาณการลงทุนด้วยเทคนิควิธีการ
ต่างๆ ต่อไป
ตารางที่ 8.2
ตัวอย่างข้อมูลสําหรับการวิเคราะห์งบประมาณการลงทุน
ปัจจัยอื่นๆ ที่ควรนํามาพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
1. ความสามารถในการจัดหาเงินทุน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างโครงการลงทุนต่างๆ
3. แนวทางพื้นฐานในการตัดสินใจลงทุน
4. ความเสี่ยงของแต่ละโครงการ
เทคนิควิธีการวิเคราะห์การลงทุนที่ไม่คํานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน
• เป็นวิธีการพื้นฐานที่นําใช้ในการประเมินค่าโครงการลงทุน
เนื่องจากวิธีการคํานวณไม่ยุ่งยาก
• นํามาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์งบประมาณการลงทุนที่มีอายุ
โครงการในช่วงสั้นๆ
• ผู้บริหารมุ่งประเด็นไปที่มูลค่าของกําไรที่คาดว่าจะได้รับจากการ
ลงทุน หรือกระแสเงินสดรับสุทธิที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อัตราผลตอบแทนทางการบัญชี
หรืออัตราผลตอบแทนรายปี
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย
ตัวอย่างที่ 2
กิจการแห่งหนึ่งกําลังพิจารณาตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ ซึ่ง
ต้องใช้เงินงบประมาณลงทุนประมาณ 250,000 บาท เครื่องจักรดังกล่าวจะมี
อายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ณ วันสิ้นปีที่ 5 เครื่องจักรมีมูลค่าที่เหลือประมาณ
50,000 บาท
ผลกําไรขาดทุนสุทธิโดยประมาณแต่ละปี มีรายละเอียดดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหากําไรสุทธิถัวเฉลี่ยตลอดอายุโครงการได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 3
ผู้บริหารกิจการแห่งหนึ่ง กําลังพิจารณาตัดสินใจในโครงการลงทุน
ซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือในการผลิตรุ่นใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจํานวน
650,000 บาท สินทรัพย์ดังกล่าวคาดว่าจะมีอายุการใช้ประโยชน์ได้ประมาณ
5 ปี และไม่มีมูลค่าที่เหลือเมื่อครบอายุ 5 ปี นโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาใช้วิธี
เส้นตรง
การลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือในการผลิตเหล่านั้นมาใช้ จะทํา
ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ 1,000,000 บาท ต้นทุนการผลิต
เพิ่มขึ้น (ไม่รวมค่าเสื่อมราคา) 660,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหารงานเพิ่มขึ้น 110,000 บาท อัตราภาษีเงินได้20%
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหากําไรสุทธิได้ดังนี้
กําไรสุทธิถัวเฉลี่ยตลอดระยะเวลาโครงการลงทุนเท่ากับ 80,000 บาทต่อปี
หลักเกณฑ์การตัดสินใจโดยใช้วิธีนี้คือ จะเลือกโครงการลงทุนที่มี
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นตํ่าของกิจการ และจะ
ปฏิเสธโครงการลงทุนที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของโครงการตํ่ากว่าอัตรา
ผลตอบแทนขั้นตํ่าที่ต้องการ
ตัวอย่างที่ 4
ผู้บริหารของกิจการแห่งหนึ่ง กําลังพิจารณาเพื่อจัดลําดับความ
น่าสนใจในโครงการลงทุนต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลประมาณการเพื่อนํามาใช้ในการ
คํานวณหาค่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของแต่ละโครงการ ดังต่อไปนี้
ถ้าใช้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงอย่างเดียวในการพิจารณา
เพื่อตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า
สามารถจัดลําดับความน่าสนใจในการลงทุนได้โดยเรียงลําดับจาก
โครงการลงทุนที่มีความน่าสนใจมากที่สุดไปยังโครงการลงทุนที่มี
ความน่าสนใจน้อยที่สุดได้ดังนี้
จากรายละเอียดของวิธีการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้อัตรา
ผลตอบแทน เฉลี่ยที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าเทคนิควิธี
ดังกล่าวมีข้อดี 2 ประการ คือ
1. การคํานวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. ข้อมูลกําไรขาดทุนโดยประมาณที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ
ดําเนินกิจกรรมในลักษณะใดๆ ในอนาคต เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ต้อง
จัดทําอยู่แล้ว
• เป็นการคํานวณหาจํานวนเวลาที่จะได้รับเงินสดคืนเท่ากับจํานวน
เงินจ่ายลงทุนของโครงการ
• เทคนิควิธีนี้จะทําให้ทราบว่าในปีใดที่กระแสเงินสดรับสุทธิรายปี
จะมีมูลค่ารวมเท่ากับเงินสดที่ได้จ่ายลงทุนไปในโครงการหนึ่งๆ
• กระแสเงินสดรับสุทธิรายปี เป็นการประมาณการโดยนํากําไร
สุทธิบวกกลับด้วยค่าเสื่อมราคา
ระยะเวลาเงินสดคืนทุน
เมื่อต้องการประมาณการถึงกระแสเงินสดรับสุทธิรายปี
จะต้องนําค่าเสื่อมราคาบวกกลับคืน สําหรับการคํานวณหาระยะเวลา
เงินสดคืนทุนนั้นสามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 5
จากตัวอย่างที่ 3 คํานวณหาระยะเวลาเงินสดคืนทุนได้ดังนี้
ในกรณีของตัวอย่างข้างต้นนี้ กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีเท่ากัน
ปีละ 210,000 บาท แต่ถ้าในกรณีของกระแสเงินสดรับสุทธิรายปีไม่เท่ากัน
จะต้องคํานวณหาจากการสะสมมูลค่าของกระแสเงินสดรับสุทธิแต่ละปีไป
เรื่อยๆ จนกระทั่งมูลค่ารวมของกระแสเงินสดรับสุทธิเท่ากับมูลค่าของเงินจ่าย
ลงทุนของโครงการ
สูตรการคํานวณหาระยะเวลาเงินสดคืนทุน ในกรณีที่กระแสเงินสด
รับรายปีไม่เท่ากัน แสดงได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 6
โครงการลงทุนในเครื่องจักรมีราคา 800,000 บาท กระแส
เงินสดรับสุทธิแต่ละปีมีดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหากระแสเงินสดรับให้เท่ากับ
เงินสดจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการได้ดังนี้
จากการสะสมกระแสเงินสดรับสุทธิข้างต้น คํานวณ
ระยะเวลาเงินสดคืนทุนได้ดังนี้
เมื่อครบระยะเวลา 4 ปี มูลค่าของกระแสเงินสดรับสุทธินั้น
มีจํานวนเท่ากับเงินลงทุนสุทธิของโครงการ คือ 800,000 บาท
ดังนั้น ระยะเวลาเงินสดคืนทุนของโครงการดังกล่าวนั้นจึงเท่ากับ
4 ปี
ตัวอย่างที่ 7
จากตัวอย่างที่ 6 ถ้าเงินจ่ายลงทุนเริ่มแรกของโครงการลงทุนใน
เครื่องจักรเท่ากับ 900,000 บาท
คํานวณกระแสเงินสดรับ
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหากระแสเงินสดรับให้เท่ากับเงินสดจ่าย
ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการได้ดังนี้
จากการสะสมกระแสเงินสดรับสุทธิข้างต้น คํานวณ
ระยะเวลาเงินสดคืนทุนได้ดังนี้
เมื่อครบระยะเวลา 4.5 ปี มูลค่าของกระแสเงินสดรับสุทธิ
นั้นมีจํานวนเท่ากับเงินลงทุนสุทธิของโครงการ คือ 900,000 บาท
ดังนั้น ระยะเวลาเงินสดคืนทุนของโครงการจึงเท่ากับ 4.5 ปี
การตัดสินใจโดยใช้เทคนิควิธีระยะเวลาเงินสดคืนทุน
- จะให้ความสนใจกับโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาเงินสด
คืนทุนที่สั้นกว่า
- มีความสําคัญต่อการจัดหาเงินทุน ถ้าโครงการลงทุนใดมี
ระยะเวลาเงินสดคืนทุนที่สั้นกว่า น่าจะมีความสามารถในการจ่าย
ชําระคืนหนี้สินได้เร็วกว่า
- ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ละเลยที่จะทําการวิเคราะห์กระแสเงินสด
รับสุทธิที่ยังคงเกิดขึ้นหลังจากครบระยะเวลาเงินสดคืนทุนไปแล้ว
วิธีที่คํานึงถึงมูลค่าปัจจุบัน
• นําปัจจัยของกระแสเงินสดสุทธิทั้งหมดที่เกิดขึ้นตลอดอายุ
โครงการ และปัจจัยของช่วงเวลาของการเกิดกระแสเงินสดสุทธิ
มาพิจารณาเข้าด้วยกัน
• ทําให้ทราบถึงความสามารถในการชดเชยเงินลงทุน และ
ความสามารถในการทํากําไรของโครงการลงทุนโดยคิดเทียบ
มูลค่าเงินที่ช่วงเวลาเดียวกัน
• กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นก่อนหรือเข้ามาก่อน จะมีค่ามากกว่า
กระแสเงินสดที่รับเข้ามาในลําดับหลัง
• จะนํากระแสเงินสดรับเข้ามาคิดลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบันและ
นําไปเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดจ่ายที่ต้องการนําไปลงทุนใน
วันเริ่มแรก
• หลักการตัดสินใจ คือ ควรยอมรับข้อเสนอของโครงการลงทุน
เมื่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับศูนย์หรือเป็นบวก
วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
ภาพที่ 8.2 หลักการตัดสินใจเมื่อใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
ตัวอย่างที่ 8
ผู้บริหารกิจการแห่งหนึ่ง กําลังพิจารณาโครงการลงทุนซื้อ
อุปกรณ์ชุดใหม่ที่เงินสดจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการเท่ากับ 260,000
บาท อายุโครงการ 10 ปี สินทรัพย์ดังกล่าวไม่มีมูลค่าที่เหลือเมื่ออายุ
การใช้งานครบ 10 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเท่ากับ 12% ต่อปี
คาดการณ์ว่ากระแสเงินสดรับรายปีที่เท่ากันแต่ละปีในอนาคตจะ
เท่ากับ 48,000 บาท
คํานวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการเพื่อประกอบการ
ตัดสินใจได้ดังนี้
โครงการลงทุนดังกล่าวสามารถยอมรับได้เนื่องจากมูลค่า
ปัจจุบันสุทธิเป็นบวก แสดงว่าให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนได้
มากกว่า 12% ต่อปี
ตัวอย่างที่ 9
จากตัวอย่างที่ 8 ถ้ากระแสเงินสดรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแต่ละปี
ในอนาคตแสดงได้ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น ถ้าใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิประกอบการตัดสินใจลงทุน
คํานวณหามูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับที่เกิดขึ้นในแต่ละปีโดยรวมได้ดังนี้
ในตัวอย่างนี้ มูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับมากกว่าเงินสดจ่าย
ลงทุนทําให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวก แสดงว่าโครงการนี้สามารถ
ให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า 12% จึงยอมรับโครงการ
ลงทุนนี้ได้
ในกรณีที่โครงการลงทุนที่ต้องเลือก มีจํานวนเงินจ่ายลงทุนใน
แต่ละโครงการแตกต่างกันไป สามารถนํามาจัดลําดับข้อเสนอของ
โครงการ โดยใช้แนวคิดของดัชนีมูลค่าปัจจุบันได้ดังสูตรนี้
• คํานวณหาอัตราผลตอบแทนซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ
ลงทุน ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนภายใน
• อัตราผลตอบแทนภายใน เป็นอัตราดอกเบี้ยที่จะนํามาคิดลด
กระแสเงินสดรับในอนาคต
• หลักเกณฑ์การตัดสินใจ คือ ควรยอมรับโครงการลงทุนเมื่ออัตรา
ผลตอบแทนภายในเท่ากับหรือมากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นตํ่าที่
ต้องการ
วิธีอัตราผลตอบแทนภายใน
ภาพที่ 8.3 การตัดสินใจโดยใช้อัตราผลตอบแทนภายใน
ตัวอย่างที่ 10
ฝ่ายบริหารของกิจการแห่งหนึ่งกําลังพิจารณาเพื่อจัดลําดับ
โครงการลงทุน 3 โครงการ ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของแต่ละ
โครงการลงทุน ได้ดังนี้
จากผลการคํานวณข้างต้น ถ้าใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิใน
การตัดสินใจว่าโครงการใดมีความสามารถในการให้ผลตอบแทน
มากกว่ากัน สามารถจัดลําดับโครงการลงทุน ได้ดังนี้
ถ้าพิจารณาจํานวนเงินสดจ่ายลงทุนของสามโครงการ
เปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า มีขนาดของโครงการลงทุนที่
แตกต่างกัน
แสดงการคํานวณหาดัชนีมูลค่าปัจจุบันของแต่ละโครงการได้ดังนี้
จากผลการคํานวณข้างต้น ถ้าใช้วิธีดัชนีมูลค่าปัจจุบันใน
การตัดสินใจว่าโครงการใดมีความสามารถในการให้ผลตอบแทน
มากกว่ากัน สามารถจัดลําดับโครงการลงทุนได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 11
ผู้บริหารกําลังประเมินค่าข้อเสนอที่ต้องการใช้งบประมาณ
เงินลงทุนในเครื่องจักรใหม่จํานวน 670,600 บาท ซึ่งคาดว่าข้อเสนอ
ดังกล่าวจะทําให้ได้รับกระแสเงินสดรับสุทธิรายปี จํานวน 200,000
บาทต่อปี เป็นเวลา 5 ปี กําหนดให้อัตราผลตอบแทนขั้นตํ่าที่ต้องการ
เท่ากับ 12% ต่อปี
จากข้อมูลข้างต้น ในขั้นแรกจะต้องคํานวณหามูลค่าปัจจุบัน
สุทธิของข้อเสนอดังกล่าวที่อัตราผลตอบแทนขั้นตํ่าที่ต้องการ
เสียก่อน
แสดงการคํานวณได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่า มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับที่ใช้อัตรา
ผลตอบแทน 12% เป็นฐานในการปรับคิดลดค่าเงิน มีมูลค่าเท่ากับ
720,960 บาท ซึ่งสูงกว่าเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกเป็นเงิน 50,360
ในขั้นต่อไป จึงต้องทดลองสุ่มอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 12%
สมมติว่าเลือกสุ่มที่ 15% เพื่อคํานวณหามูลค่าปัจจุบันอีกครั้ง แสดงการ
คํานวณประกอบได้ดังนี้
มูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดรับเท่ากับ 670,440 บาท
ซึ่งมีจํานวนน้อยกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุนเท่ากับ
- 160 บาท ดังนั้น อัตราผลตอบแทนภายในจะต้องน้อยกว่า 15%
ถ้าต้องการอัตราผลตอบแทนภายในที่ชัดเจนขึ้น ทําได้โดยให้
เทียบบัญญัติไตรยางศ์เพื่อคํานวณหาส่วนต่างที่ต้องการดังนี้
วิธีการคํานวณหาอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการตาม
ขั้นตอนข้างต้นนั้น เรียกว่าเป็นวิธีการสุ่มทดลอง (Trial – and – Error –
Procedures) แต่ในกรณีกระแสเงินสดรับในแต่ละปีเท่ากัน อาจใช้วิธีการ
ได้อีกลักษณะหนึ่ง ดังนี้
1. ในขั้นแรก ประมาณการหาค่า PVA Factor (PVIFA) โดยการนํา
จํานวนเงินจ่ายลงทุนหารด้วยกระแสเงินสดรับเข้ารายปี เขียนเป็นสูตรได้
ดังนี้
ในกรณีของตัวอย่างนี้ สามารถแทนค่าได้ดังนี้
2. นําค่า PVA Factor ที่ได้ในข้อที่ 1 ไปเปิดตารางปัจจัยดอกเบี้ยที่
แสดงมูลค่าปัจจุบันสําหรับเงินรายปีทุก 1 บาท โดยพิจารณาจากอายุของ
โครงการเป็นจุดเริ่มต้น แล้วตรวจเช็คไปตามลําดับเปอร์เซ็นต์ เพื่อหาค่า
PVA Factor ที่เท่ากันกับที่คํานวณว่าได้ตรงกับเปอร์เซ็นต์ที่เท่าใด
เปอร์เซ็นต์นั้นแสดงถึงอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ
ในที่นี้พบว่า ค่า 3.3530 ใกล้เคียงกับค่า 3.3522 ซึ่งตรงกับ
เปอร์เซ็นต์ที่ 15% จึงสรุปได้ว่าโครงการนี้มีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน
โดยประมาณ 15% นั่นเอง
ค่าที่ได้ข้างต้นเป็นการประมาณการ ถ้าต้องการค่าที่มีความ
ชัดเจนมากกว่านี้ ให้เปรียบเทียบส่วนต่างเพื่อเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ดังนี้

More Related Content

What's hot

การเงินธุรกิจ
การเงินธุรกิจการเงินธุรกิจ
การเงินธุรกิจ
smile-girl
 
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
Khwanchai Phunchanat
 
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
Pa'rig Prig
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
Wareerut Hunter
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
พัน พัน
 
การเกิดลม
การเกิดลมการเกิดลม
การเกิดลม
dnavaroj
 

What's hot (20)

การเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความการเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความ
 
การเงินธุรกิจ
การเงินธุรกิจการเงินธุรกิจ
การเงินธุรกิจ
 
บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์
 
03 ma
03 ma03 ma
03 ma
 
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
 
แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้นแผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
แผนการสอนหลักสูตรระยะสั้น
 
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
บทที่ 1 การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
 
Financial table
Financial tableFinancial table
Financial table
 
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีบทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
 
รายงาน Om
รายงาน Omรายงาน Om
รายงาน Om
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
 
เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอนเครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน
 
มูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลามูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลา
 
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบายหน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
 
การประเมินโครงการลงทุน
การประเมินโครงการลงทุนการประเมินโครงการลงทุน
การประเมินโครงการลงทุน
 
ใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อนใบความรู้เรื่องคำซ้อน
ใบความรู้เรื่องคำซ้อน
 
การเกิดลม
การเกิดลมการเกิดลม
การเกิดลม
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
 

Similar to 08 ma

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
Peerasak C.
 

Similar to 08 ma (6)

แผนธุรกิจ
แผนธุรกิจแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ
 
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางการบัญชี.pdf
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางการบัญชี.pdfบทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางการบัญชี.pdf
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางการบัญชี.pdf
 
LPN Newsletter Q2 / 2014
LPN Newsletter Q2 / 2014LPN Newsletter Q2 / 2014
LPN Newsletter Q2 / 2014
 
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
 
Business model to Business plan
Business model to Business planBusiness model to Business plan
Business model to Business plan
 
Internal Audit Planning
Internal Audit PlanningInternal Audit Planning
Internal Audit Planning
 

More from benjamasapi (6)

09 ma
09 ma09 ma
09 ma
 
07 ma
07 ma07 ma
07 ma
 
06 ma
06 ma06 ma
06 ma
 
04 ma
04 ma04 ma
04 ma
 
02 ma
02 ma02 ma
02 ma
 
01 ma
01 ma01 ma
01 ma
 

08 ma