SlideShare a Scribd company logo
1 of 57
Download to read offline
การประเมิน
ผลการดําเนินงาน
โดย
บทที่
วิธีต้นทุนมาตรฐาน
ต้นทุนมาตรฐาน เป็นเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ถูกกําหนดขึ้นล่วงหน้าเพื่อ
นําไปใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการดําเนินงานและประเมินผลการ
ปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น โดยถ้ามีการนําต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงไปเปรียบเทียบกับ
ต้นทุนมาตรฐานแล้วพบว่ามีผลต่างของต้นทุนเกิดขึ้น ข้อมูลผลต่างที่
คํานวณและวิเคราะห์ได้นั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ทราบถึงสาเหตุของ
ผลต่างที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่ในกรณีที่องค์กรมีขนาดใหญ่ โอกาส
ที่จะมีผลต่างจํานวนหลายรายการอาจจะเกิดขึ้นได้ หรือในบางครั้งองค์กร
อาจจะมีการกําหนดนัยสําคัญของผลต่างที่ควรจะต้องตรวจสอบ หรือ
สืบสวน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
เป้าหมาย การกําหนดนัยสําคัญนี้เรียกว่า หลักการบริหารแบบมีข้อยกเว้น
จุดประสงค์หลัก ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการดําเนินงาน
โดยวิธีต้นทุนมาตรฐาน
ความแตกต่างระหว่างต้นทุนมาตรฐานและงบประมาณ
• ต้นทุนมาตรฐาน
จะแสดงในลักษณะที่เป็นจํานวนต้นทุนต่อหน่วย
• งบประมาณ
จะแสดงในลักษณะที่เป็นจํานวนเงินรวมของต้นทุนที่
คาดว่าจะเกิดขึ้น ณ ระดับกิจกรรมใดๆ ในอนาคต
ทําไมต้องมีต้นทุนมาตรฐาน
1. อํานวยความสะดวกในการวางแผนงานของผู้บริหาร
2. กระตุ้นให้พนักงานมีจิตสํานึกในเรื่องของต้นทุนที่เกิดขึ้น
3. ใช้ประโยชน์ในการกําหนดราคาขาย
4. เป็นข้อมูลที่สนับสนุนในด้านการบริหารงาน และการควบคุม
5. นําผลต่างที่เป็นสาระสําคัญมาใช้ในการบริหารงานตามหลักการ
บริหารงานแบบมีข้อยกเว้น
การกําหนดต้นทุนมาตรฐาน
• จะต้องทราบถึงปัจจัยนําเข้าทุกรายการที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อต้นทุน
• นักบัญชีบริหาร เป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความสําคัญต่อกระบวนการในการ
กําหนดต้นทุนมาตรฐานของปัจจัยนําเข้าแต่ละประเภท
• ทําให้ทราบได้ว่ากิจกรรมการดําเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะส่งผล
กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน (โดยประมาณ) หรือไม่อย่างไร
• ฝ่ายบริหารควรพิจารณาทบทวนต้นทุนมาตรฐานอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้
เกิดความมีประสิทธิผลในการควบคุมต้นทุน
ต้นทุนมาตรฐานของการผลิต
การกําหนดมาตรฐานของการผลิตสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมี
ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตแต่ละรายการ คือ
• วัตถุดิบทางตรง
• ค่าแรงงานทางตรง
• ค่าใช้จ่ายการผลิต
ต้นทุนมาตรฐานของต้นทุนการผลิตแต่ละรายการ จะ
ประกอบด้วยราคาตามมาตรฐานที่สามารถจ่ายให้ได้และปริมาณมาตรฐาน
ที่ยอมให้ใช้ได้
วัตถุดิบทางตรง
• ราคามาตรฐานของวัตถุดิบทางตรง
• ปริมาณมาตรฐานของวัตถุดิบทางตรง
ต้นทุนมาตรฐานของวัตถุดิบทางตรงต่อหน่วยสินค้า
สําเร็จรูป คํานวณหาได้จากการนําราคามาตรฐานของวัตถุดิบ
ทางตรง คูณกับปริมาณมาตรฐานของวัตถุดิบทางตรง
• ราคามาตรฐานของค่าแรงงานทางตรง
• ปริมาณมาตรฐานของค่าแรงงานทางตรง
ต้นทุนมาตรฐานของค่าแรงงานทางตรงต่อหน่วยสินค้า
สําเร็จรูป คํานวณหาได้โดยการนําอัตรามาตรฐานของค่าแรงงาน
ทางตรงคูณกับเวลามาตรฐานของค่าแรงงานทางตรง
ค่าแรงงานทางตรง
อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตที่กําหนดไว้ล่วงหน้านี้เป็นการนํา
งบประมาณของค่าใช้จ่ายการผลิต หารด้วยฐานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
ค่าใช้จ่ายการผลิต
อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานคํานวณหาได้จากสูตรดังนี้
ค่าใช้จ่ายการผลิต
ตัวอย่างที่ 1
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตสําหรับปีของบริษัทปรีดา
อุตสาหกรรม ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรเท่ากับ 158,400
บาท และค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เท่ากับ 105,600 บาท งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายการผลิตดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับชั่วโมง
แรงงานทางตรงที่จะใช้ในการผลิต
ปริมาณสินค้าที่คาดว่าจะทําการผลิตสําหรับปีงบประมาณ
เท่ากับ 13,200 หน่วย หรือประมาณ 1,100 หน่วยต่อเดือน การผลิต
สินค้าสําเร็จรูปแต่ละหน่วย จะใช้เวลาในการผลิตประมาณ 2 ชั่วโมง
แรงงานทางตรง ดังนั้นชั่วโมงแรงงานทางตรงรวมตามมาตรฐานจะ
เท่ากับ 26,400 ชั่วโมง (13,200 หน่วย × 2 ชั่วโมง)
สูตรคํานวณ อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
สูตรคํานวณ อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
จากการคํานวณข้างต้นสรุป ได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2
บริษัทปรีดาอุตสาหกรรม กําหนดต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วยสินค้า
สําเร็จรูปไว้เท่ากับ 84 บาท มีรายละเอียดแสดงในบัตรต้นทุนมาตรฐาน (Standard
Cost Card) ดังนี้
บัตรต้นทุนมาตรฐานที่ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าสําหรับการผลิตสินค้าแต่ละ
ชนิดและข้อมูลในบัตรต้นทุนมาตรฐานนี้ จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับการประเมิน
หาค่าผลต่างที่เกิดขึ้นจากมาตรฐานที่กําหนดไว้กับผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง
ผลต่างจากมาตรฐาน
ถ้ามีผลต่างเกิดขึ้นและผลต่างนั้นมีสาระสําคัญที่ต้อง
ได้รับการแก้ไขแล้ว ข้อมูลที่เป็นต้นทุนมาตรฐานเป็น
แนวทางหนึ่งที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์หาสาเหตุ
ของผลต่างเพื่อจะได้นําไปปรับปรุงการปฏิบัติงานให้
สามารถทํางานบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้
ตัวอย่างที่ 3
บริษัทปรีดาอุตสาหกรรม หน่วยผลิตสินค้าสําเร็จรูปสําหรับ
เดือนมกราคม ที่ทําได้จริงเท่ากับ 1,000 หน่วย โดยมีต้นทุนการผลิต
เกิดขึ้นจริงดังนี้
เมื่อนํางบประมาณที่ได้ไปเปรียบเทียบกับต้นทุนรวมที่เกิดขึ้น
จริงแล้ว จะพบว่ามีผลต่างรวมเกิดขึ้นเท่ากับ 5,000 บาท ดังนี้
เมื่อต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นจริงจ่ายสูงเกินกว่างบประมาณตาม
มาตรฐานที่กําหนดไว้ ผลต่างที่ได้จะเป็นผลต่างที่ไม่น่าพอใจ
(Unfavorable : U) ในที่นี้จะมีผลต่างที่ไม่น่าพอใจเกิดขึ้นเท่ากับ
5,000 บาท
การวิเคราะห์ผลต่าง (Analyzing Variances)
ภาพที่ 7.1 ความสัมพันธ์ของผลต่างต้นทุนการผลิต
เป็นผลต่างระหว่างต้นทุนวัตถุดิบทางตรงที่เกิดขึ้นจริงกับ
ต้นทุนมาตรฐานของวัตถุดิบทางตรงที่คิดเข้างาน
ผลต่างวัตถุดิบทางตรง
ผลต่างด้านราคาวัตถุดิบ
ผลต่างด้านปริมาณวัตถุดิบ
ตัวอย่างที่ 4
จากตัวอย่างที่ 1 - 3 ที่ระดับกิจกรรมการผลิตจํานวน 1,000 หน่วย
ปริมาณวัตถุดิบทางตรงที่ซื้อและใช้ในการผลิตจริงเท่ากับ 4,200 กิโลกรัม โดย
ซื้อวัตถุดิบมาในราคากิโลกรัมละ 6.20 บาท
คํานวณหาผลต่างของวัตถุดิบทางตรงที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
ผลต่างวัตถุดิบทางตรง
= (ปริมาณจริง × ราคาจริง) - (ปริมาณมาตรฐาน × ราคามาตรฐาน)
= (4,200 กิโลกรัม × 6.20 บาท) - ((1,000 หน่วย × 4 กิโลกรัม) × 6 บาท)
= 26,040 บาท - 24,000 บาท
= 2,040 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างรวมของวัตถุดิบทางตรงเท่ากับ 2,040 บาท เป็นผลต่างที่ไม่
น่าพอใจ จากผลการคํานวณดังกล่าวนั้นสามารถนํามาวิเคราะห์รายละเอียดที่
เป็นส่วนประกอบของต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่ ราคา (ต้นทุน) และปริมาณ
(การใช้ไป) ได้ดังนี้
ผลต่างด้านราคาวัตถุดิบทางตรง
= (ปริมาณจริง × ราคาจริง) - (ปริมาณจริง × ราคามาตรฐาน)
= (4,200 กิโลกรัม × 6.20 บาท) - (4,200 กิโลกรัม × 6 บาท)
= 26,040 บาท - 25,200 บาท
= 840 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างด้านราคาวัตถุดิบทางตรง
= ปริมาณจริง × (ราคาจริง - ราคามาตรฐาน)
= 4,200 กิโลกรัม × (6.20 บาท - 6 บาท)
= 840 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างด้านปริมาณวัตถุดิบทางตรง
= (ปริมาณจริง × ราคามาตรฐาน) - (ปริมาณมาตรฐาน × ราคามาตรฐาน)
= (4,200 กิโลกรัม × 6 บาท) - (4,000 กิโลกรัม × 6 บาท)
= 25,200 บาท – 24,000 บาท
= 1,200 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างด้านปริมาณวัตถุดิบทางตรง
= ราคามาตรฐาน × (ปริมาณจริง - ปริมาณมาตรฐาน)
= 6 บาท × (4,200 กิโลกรัม - 4,000 กิโลกรัม)
= 1,200 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
จากการคํานวณข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลต่างรวมของวัตถุดิบทางตรง
จํานวน 2,040 บาท (ไม่น่าพอใจ: U) ประกอบด้วยผลต่างดังต่อไปนี้
การคํานวณหาผลต่างวัตถุดิบทางตรง นํามาแสดงในลักษณะ
ของแผนภาพได้ดังนี้
ภาพที่ 7.2 ผลต่างวัตถุดิบทางตรง
• มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กร
• ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบที่จ่ายซื้อ ฝ่ายจัดซื้อควรเป็น
ผู้รับผิดชอบสําหรับผลต่างที่เกิดขึ้นในส่วนนี้
• ผลต่างที่เกิดขึ้นในบางครั้ง อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของฝ่าย
จัดซื้อก็เป็นไปได้
• จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุของผลต่างที่ไม่น่าพอใจ
ของปริมาณวัตถุดิบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กําหนดไว้ควรจะอยู่
ที่ฝ่ายผลิต
สาเหตุของผลต่างวัตถุดิบทางตรง
ผลต่างค่าแรงทางตรง (Direct Labor Variances)
เป็นส่วนต่างระหว่างต้นทุนค่าแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นจริงกับ
ต้นทุนมาตรฐานของค่าแรงงานทางตรงคิดเข้างาน สรุปเป็นสูตรดังนี้
ผลต่างด้านอัตราค่าแรงงานทางตรง
ผลต่างด้านประสิทธิภาพแรงงานทางตรง
ตัวอย่างที่ 5
จากตัวอย่างที่ 1 - 4 ข้อมูลเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นจริง ณ
ระดับกิจกรรมการผลิตจริง 1,000 หน่วย มีดังนี้
ชั่วโมงการทํางานจริง = 2,100 ชั่วโมง
อัตราค่าแรงงานทางตรงที่จ่ายจริง = 19.60 บาทต่อชั่วโมง
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหาผลต่างรวมของค่าแรงงานทางตรงได้ดังนี้
ผลต่างค่าแรงงานทางตรง
= (ชั่วโมงจริง × อัตราจริง) - (ชั่วโมงมาตรฐาน × อัตรามาตรฐาน)
= (2,100 ชั่วโมง × 19.60 บาท) - ((1,000 หน่วย × 2 ชั่วโมง) × 20 บาท)
= 41,160 บาท - 40,000 บาท
= 1,160 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างค่าแรงทางตรงจํานวน 1,160 บาท เป็นผลต่างที่ไม่น่าพอใจ
จากผลการคํานวณดังกล่าวนั้นนํามาวิเคราะห์รายละเอียดที่เป็นส่วนประกอบ
ได้แก่ อัตรา (ต้นทุน) และประสิทธิภาพ (การใช้ทรัพยากร) ได้ดังนี้
ผลต่างอัตราค่าแรงงานทางตรง
= (ชั่วโมงจริง × อัตราจริง) - (ชั่วโมงจริง × อัตรามาตรฐาน)
= (2,100 ชั่วโมง × 19.60 บาท) - (2,100 ชั่วโมง × 20 บาท)
= 41,160 บาท – 42,000 บาท
= - 840 บาท (น่าพอใจ: F)
ผลต่างอัตราค่าแรงงานทางตรง
= ชั่วโมงจริง × (อัตราจริง - อัตรามาตรฐาน)
= 2,100 ชั่วโมง × (19.60 บาท - 20 บาท)
= - 840 บาท (น่าพอใจ: F)
ผลต่างประสิทธิภาพแรงงานทางตรง
= (ชั่วโมงจริง × อัตรามาตรฐาน) - (ชั่วโมงมาตรฐาน × อัตรามาตรฐาน)
= (2,100 ชั่วโมง × 20 บาท) - (2,000 ชั่วโมง × 20 บาท)
= 42,000 บาท - 40,000 บาท
= 2,000 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ผลต่างประสิทธิภาพแรงงานทางตรง
= อัตรามาตรฐาน × (ชั่วโมงจริง - ชั่วโมงมาตรฐาน)
= 20 บาท × (2,100 ชั่วโมง - 2,000 ชั่วโมง)
= 2,000 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
จากการคํานวณข้างต้นสรุปได้ว่า ผลต่างค่าแรงงานทางตรง
(ไม่น่าพอใจ) จํานวน 1,160 บาท นั้นประกอบด้วยผลต่างดังนี้
ภาพที่ 7.3 ผลต่างค่าแรงงานทางตรง
การคํานวณหาผลต่างของค่าแรงงานทางตรงที่กล่าวมาทั้งหมด
นํามาแสดงในลักษณะของแผนภาพได้ดังนี้
1. ค่าจ้างแรงงานที่จ่ายจริง สูงหรือตํ่ากว่าที่ได้คาดการณ์ไว้
2. การบรรจุและคัดเลือกคนงาน ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
ผลต่างประสิทธิภาพแรงงาน โดยทั่วไปนั้นอยู่ในความ
รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในการติดตามควบคุมและดูแล
สาเหตุของผลต่างค่าแรงงานทางตรง
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต
(Manufacturing Overhead Variances)
การวิเคราะห์หาผลต่างของค่าใช้จ่ายการผลิตมีความ
ซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากต้นทุนในส่วนนี้ประกอบด้วยต้นทุน
ผันแปรและต้นทุนคงที่ ในขณะที่การวิเคราะห์ผลต่างวัตถุดิบ
ทางตรง และค่าแรงงานทางตรงดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นการ
วิเคราะห์ต้นทุนที่มีพฤติกรรมผันแปร
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตที่ควบคุมได้
ผลต่างเนื่องจากปริมาณการผลิต
ตัวอย่างที่ 6
จากตัวอย่างที่ 1 - 5 บริษัทปรีดาอุตสาหกรรม มีค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดขึ้น
จริงสําหรับเดือนมกราคม เท่ากับ 21,800 บาท ซึ่งประกอบด้วย
คํานวณหาผลต่างรวมค่าใช้จ่ายการผลิต ได้ดังนี้
ผลต่างรวมค่าใช้จ่ายการผลิต
= ค่าใช้จ่ายการผลิตจริง - ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
= (13,800 บาท + 8,800 บาท) - (1,000 หน่วย × 2 ชั่วโมง × 10 บาทต่อชั่วโมง)
= 21,800 บาท - 20,000 บาท
= 1,800 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ตัวอย่างที่ 7
จากตัวอย่างที่ 1 - 2 อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรต่อชั่วโมงแรงงาน
เท่ากับ 6 บาท ประกอบด้วย
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ ณ ระดับกําลังการผลิตปกติตามแผนงาน 1,100
หน่วยต่อเดือน มีรายละเอียดดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น นํามาจัดทํางบประมาณยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายการผลิตได้ดังนี้
จากงบประมาณการยืดหยุ่นข้างต้นนั้น นํามาแสดงสรุปเป็น
สูตรของงบประมาณยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายการผลิตที่ระดับกิจกรรม
ชั่วโมงการทํางานต่างๆ ได้ดังนี้
งบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิต
= ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร + ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
= (6 บาทต่อชั่วโมง × จํานวนชั่วโมงการทํางาน) + 8,800 บาท
เนื่องจากค่าใช้จ่ายการผลิตมีความสัมพันธ์กับชั่วโมง
แรงงาน จึงใช้ชั่วโมงแรงงานเป็นฐานการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิต
คิดเข้างาน จากตัวอย่างที่ 1 และ 2 กําหนดให้สินค้าสําเร็จรูปหนึ่ง
หน่วยใช้ชั่วโมงแรงงานในการผลิตเท่ากับ 2 ชั่วโมง ในที่นี้บริษัทจึง
มีชั่วโมงการทํางานตามมาตรฐานที่ยอมให้สําหรับการผลิตสินค้า
สําเร็จรูปจํานวน 1,000 หน่วย เท่ากับ 2,000 ชั่วโมง (1,000 หน่วย ×
2 ชั่วโมง)
ดังนั้น งบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับหน่วย
ผลิตจริงคํานวณได้ดังนี้
งบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิต
= ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร + ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
= (6 บาทต่อชั่วโมง × จํานวนชั่วโมงการทํางาน) + 8,800 บาท
= (6 บาท × 2,000 ชั่วโมง) + 8,800 บาท
= 12,000 บาท + 8,800 บาท
= 20,800 บาท
หลังจากคํานวณหางบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิตได้แล้ว
นํามาคํานวณหาผลต่างที่ควบคุมได้ของค่าใช้จ่ายการผลิตได้ดังนี้
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตที่ควบคุมได้
= ค่าใช้จ่ายการผลิตจริง - งบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิต
= 21,800 บาท - 20,800 บาท
= 1,000 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
= ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร - ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
= (6 บาท × 2,000 ชั่วโมง) + (4 บาท × 2,000 ชั่วโมง)
= 12,000 บาท + 8,000 บาท
= 20,000 บาท
จากการคํานวณข้างต้น นํามาคํานวณหาผลต่างค่าใช้จ่ายการ
ผลิตอันเนื่องจากปริมาณการผลิตได้ดังนี้
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตเนื่องจากปริมาณการผลิต
= งบประมาณยืดหยุ่นค่าใช้จ่ายการผลิต – ค่าใช้จ่ายการผลิตคิด
เข้างาน
= 20,800 บาท - 20,000 บาท
= 800 บาท (ไม่น่าพอใจ: U)
แสดงการเปรียบเทียบส่วนประกอบของงบประมาณยืดหยุ่น
ค่าใช้จ่ายการผลิตกับค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานได้ดังนี้
ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตอันเนื่องจากปริมาณการผลิตนั้น มีความ
เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนคงที่แต่เพียงอย่างเดียว สําหรับผลต่างค่าใช้จ่าย
การผลิตอันเนื่องจากปริมาณการผลิตที่คํานวณได้นั้น จะนําไปใช้ในการ
ประเมินค่า ทําให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่คิดเข้างานตํ่าหรือสูงเกินไป
การคํานวณหาผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตเนื่องจากปริมาณการผลิต
ทําได้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยการนําอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่คูณกับ
ผลต่างระหว่างชั่วโมงมาตรฐาน ณ กิจกรรมการผลิตปกติหรือแผนงาน
กับชั่วโมงการทํางานตามมาตรฐานที่ยอมให้
เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
จากการคํานวณหาผลต่างของค่าใช้จ่ายการผลิตที่ได้กล่าว
มาทั้งหมดข้างต้นนั้น สามารถนํามาเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ภาพที่ 7.4 ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต
สาเหตุของผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต
• ผลต่างที่ควบคุมได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับค่าใช้จ่าย
การผลิตผันแปร
• ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิตอันเนื่องจากปริมาณการผลิต จะอยู่
ในความรับผิดชอบของฝ่ายผลิต
การรายงานค่าผลต่าง
• รูปแบบ เนื้อหารายละเอียด และความบ่อยครั้งในการนําเสนอ
รายงานผลต่างนั้น จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ
• วิธีการหนึ่งของการรายงานเพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น คือ การ
จัดทํารายงานประจําสัปดาห์
• ผลต่างด้านราคาวัตถุดิบ จะถูกรายงานไปยังฝ่ายจัดซื้อ
• ผลต่างส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะถูกรายงานไปยังผู้จัดการฝ่ายผลิตที่มี
หน้าที่รับผิดชอบ
ตัวอย่างที่ 8
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการรายงานผลต่างของวัตถุดิบทางตรงที่
เกิดขึ้นประจําเดือนมกราคม
• รายงานผลต่างราคาวัตถุดิบ ควรจะต้องแสดงรายละเอียดของวัตถุดิบ
แต่ละประเภท ปริมาณวัตถุดิบที่ซื้อ ราคาจ่ายซื้อวัตถุดิบที่เกิดขึ้นจริง
ราคาซื้อที่กําหนดตามมาตรฐานและผลต่างราคาของวัตถุดิบแต่ละ
รายการ
• รายงานผลต่างจะถูกนําเสนอไปยังผู้บริหารในระดับที่สูงกว่า ซึ่งโดย
ปกติ ผู้บริหารเลือกที่จะให้ความสนใจจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะ
ส่วนของผลต่างที่มีนัยสําคัญ
• การใช้รายงานผลต่างในการบริหารงานในลักษณะดังกล่าวนี้ เป็น
แนวทางอย่างหนึ่งของหลักการบริหารแบบมีข้อยกเว้น
การนําเสนอผลต่างในงบกําไรขาดทุน
จากข้อมูลของบริษัทปรีดาอุตสาหกรรม กําหนดข้อมูลเพิ่มเติม
ของราคาขายไว้เท่ากับ 120 บาทต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เท่ากับ 6,000 บาท
ต้องนําผลต่างที่เกิดขึ้นมาปรับกระทบยอดกับต้นทุนขายตาม
มาตรฐานหรือกําไรขั้นต้นตามมาตรฐานเพื่อทําให้ทราบถึงต้นทุนขายที่
เกิดขึ้นจริงหรือกําไรขั้นต้นที่เกิดขึ้นจริงสําหรับรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ได้
อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างที่ 9
การนําเสนอผลต่างที่เกิดขึ้นโดยการนําไปปรับกระทบยอดกับกําไร
ขั้นต้นตามมาตรฐาน แสดงได้ดังนี้
จากข้อมูลที่แสดงในงบกําไรขาดทุนจะเห็นได้ว่า ผลต่างรวมทั้งหมด
จํานวน 5,000 บาท ซึ่งเป็นผลต่างที่ไม่น่าพอใจ หมายถึงว่ามีต้นทุนการผลิต
จริงสูงกว่าต้นทุนมาตรฐานที่ได้กําหนดไว้

More Related Content

What's hot

ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารdalarat
 
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภค
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภคChapter4 พฤติกรรมผู้บริโภค
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภคPattapong Promchai
 
05 standard cost & flexible budget
05 standard cost & flexible budget05 standard cost & flexible budget
05 standard cost & flexible budgetpop Jaturong
 
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุนบทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุนOrnkapat Bualom
 
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาดบทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาดOrnkapat Bualom
 
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุน
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุนบทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุน
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุนWannisa Chaisingkham
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนKobwit Piriyawat
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueNattakorn Sunkdon
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์Jiraporn
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...ssuser858855
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีสWijitta DevilTeacher
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณAui Ounjai
 
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่Somporn Amornwech
 
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้าความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้าเรียนฟิสิกส์กับครูเอ็ม Miphukham
 

What's hot (20)

ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภค
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภคChapter4 พฤติกรรมผู้บริโภค
Chapter4 พฤติกรรมผู้บริโภค
 
05 standard cost & flexible budget
05 standard cost & flexible budget05 standard cost & flexible budget
05 standard cost & flexible budget
 
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุนบทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน
บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม และการลงทุน
 
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาดบทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
 
งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)
 
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุน
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุนบทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุน
บทที่ 6 การแตกหุ้น สิทธิซื้อหุ้น เงินกองทุน
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
03 cvp
03 cvp03 cvp
03 cvp
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส2กฎของพาสคัล  และหลักของอาร์คีมิดีส
2กฎของพาสคัล และหลักของอาร์คีมิดีส
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณ
 
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
2.1การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่
 
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้าความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
 
บัญชีต้นทุน1
บัญชีต้นทุน1บัญชีต้นทุน1
บัญชีต้นทุน1
 
กฎของพาสคัล
กฎของพาสคัลกฎของพาสคัล
กฎของพาสคัล
 
แรงเสียดทาน
แรงเสียดทานแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน
 

More from benjamasapi (7)

09 ma
09 ma09 ma
09 ma
 
08 ma
08 ma08 ma
08 ma
 
06 ma
06 ma06 ma
06 ma
 
05 ma
05 ma05 ma
05 ma
 
04 ma
04 ma04 ma
04 ma
 
02 ma
02 ma02 ma
02 ma
 
01 ma
01 ma01 ma
01 ma
 

07 ma