SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา
ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ดร. กรกต อารมย์ดี
นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก
จัดโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ผู้นำเสนอ
ดร. กรกต อารมณ์ดี
นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ผู้ถอดความ: กฤตภัค พรหมมานุวัติ
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
1
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า
และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย1
ดร. กรกต อารมณ์ดี
วันนี้ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกับคณะอาจารย์ ในเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จาก
ภูมิปัญญาพื้นบ้านจนกลายเป็นผลงานสร้างสรรค์
ผมเข้ามาเรียนปริญญาเอกที่ศิลปากร เพื่อที่อยากจะให้การออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมีแนวทางสร้างเป็น
งานวิชาการ เพื่อจะทำให้น้อง ๆ ที่เรียนออกแบบ มีเส้นทางลัด จะได้ประสบความสำเร็จในการที่จะเอาเรื่องของ
วัสดุที่เป็นเส้นใยธรรมชาติที่อยู่หลังบ้านของเรา ไปทำให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่า แล้วก็สร้างชุมชน และ
สามารถที่จะทำให้บุคลากรที่อยู่ในระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ได้รับประโยชน์ด้วย
ผมก็จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตมา เรื่องแรกก็คือเรื่องของแผนที่ระบบภูมิศาสตร์ของจังหวัด
เพชรบุรี ตอนที่ยังเรียนอยู่ ผมกำลังเปลี่ยนวิธีการ painting เพราะว่า วิธีการ paint ของผมเป็นวิธีการเขียนภาพสี
น้ำมันเกี่ยวกับชีวิตของคนข้างถนน เป็นความรันทดใจ แล้วก็เป็นเรื่องของคนที่นอนซอมซ่ออยู่ข้างทาง อาจารย์
มานิตย์ ภู่อารีย์ เขาก็เลยบอกว่า ไม่มีใครเขาเอาภาพที่รันทดใจไปแต่งบ้านหรอก ก็เลยต้องเปลี่ยน พอเรียน
ปริญญาโท เราต้องเปลี่ยนแนวทางของเรา แล้วมันก็มีวิชา Folk Arts ก็คือศิลปะพื้นบ้าน วิชานี้เป็นเรื่องของการ
อธิบายเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ความเป็นสุนทรียะ ความงามของความเป็นชุมชน ความงดงามของการเดินทางไป
อยู่ในชนบท แล้วก็ดูเรื่องของพื้นที่ อากาศ ดินต่าง ๆ แล้วเราก็ถ่ายภาพมา แล้วผมก็รู้สึกว่าประทับใจ ทีนี้พอ
ประทับใจแล้วก็กลับไปที่บ้าน พอกลับไปที่บ้านก็สังเกตเรื่องของแผนผัง แผนผังของจังหวัดเพชรบุรี มันแบ่งเขต
ตามภูมิศาสตร์ ผมเริ่มตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็คือ ดิน มีภูเขา มีพื้นราบ มีชายทะเล มีทราย แล้วก็ น้ำ จากแม่น้ำ
ลุ่มน้ำ ที่ดอน ชายฝั่ง ลำธาร น้ำตก ฝน ทะเล น้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อย พวกนี้จะมีบทบาทในการเกิดขึ้นของพืชในที่
1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิดยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข
ภาวะ (สสส.) ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว.
2
แห่งนั้น ต่อมาก็คือ ลม ถ้าเป็นพื้นบ้านผม จะมีลมที่เกี่ยวกับลมประมง อันนี้เป็นชื่อเรียกของลมประมง (ภาพที่ 1)
แล้วก็ ไฟ ก็คือ แดด อุณหภูมิ บรรยากาศกลางคืนกลางวัน ดาว เมฆ ฤดูกาล มรสุม ความร้อน ความเย็น
ความรู้สึก สิ่งเหล่านี้เป็น keyword ที่สำคัญ
ภาพที่ 1 ชื่อเรียกของลมประมง
ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
อำเภอบ้านแหลมจะเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณที่เป็นสีฟ้า (ภาพที่ 2) สีฟ้าคือชายทะเล พื้นราบจะเป็นพื้นที่ปลูก
ข้าว ส่วนสีเขียวก็จะเป็นแก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง ทีนี้ ในแต่ละพื้นที่ผมก็ตั้งข้อสังเกตว่า หนองหญ้าปล้องจะมี
พืชภูเขา ไผ่ ไม้ต่าง ๆ การเกษตร ประมงน้ำจืด ส่วนแก่งกระจานจะมีพืชที่ขึ้นตามเขตมรสุม พืชพวกนี้จะขึ้นตาม
3
ดิน พื้นที่ทั้งสองจะมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น เพชรบุรีจึงเป็นพื้นที่ที่มีพืชที่แตกต่างกันมาก ส่วนชะอำ บ้าน
แหลม ก็จะเป็นพื้นที่ประมง แล้วก็ชะอำนั้นเป็นพื้นที่สูง ซึ่งมันก็ไม่ได้มีน้ำมาก แต่ว่ามี “ป่านศรนารายณ์” มาก ซึ่ง
เอาไว้ทำเชือกสำหรับประมงด้วย ทีนี้ บ้านแหลมซึ่งติดทะเล เมื่อชาวบ้านเขาเห็นพื้นดินมีประกายเป็นแสงดาวใน
เวลากลางวัน นั่นแปลว่ามันมีผลึกเกลืออยู่ จากนั้นก็สังเกตลม แดด แล้วก็จัดผังภูมิทัศน์ในการทำนาเกลือ อันนี้ก็
เป็นเรื่องของภูมิปัญญาที่เกิดจากการสังเกตธรรมชาติ ทีนี้ พื้นที่ที่ไม่ติดทะเลของบ้านแหลมมีสองพื้นที่ที่ คือตำบล
ท่าแร้งและบางครก สองตำบลนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีหมู่บ้านมุสลิม ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ทำนาข้าว แล้วเขาก็ทำเชือกด้วย
เขาก็จะเอาเชือกเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์กับการทำประมงพื้นบ้าน โดยเชือกจะเอาไว้สำหรับการทำยุ้งเกลือ ทำอวน
ประมง ทำเชือกสำหรับการร้อยประมง อันนี้ก็จัดว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่ามันประกอบไปด้วย
ระบบของพื้นที่ภูมิศาสตร์ เรื่องของวัสดุที่เป็นพืชที่มันเกิดขึ้น และทักษะที่คนเอาไว้ใช้ทำงาน
ภาพที่ 2 แผนที่จังหวัดเพชรบุรี
ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
4
ต่อมาก็สังเกตว่า พอมีเรือประมง มันก็เกิดช่างต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น ช่างทาสีเรือ ช่างทำเรือประมง ช่างเรข
ศิลป์ แล้วก็ไต้ก๋ง แล้วก็มีเรื่องของการถักเชือก การทำโป๊ะลอยแพ การทำเรื่องของการผูก เมื่อมีการผูกก็มีเงื่อน
แบบต่าง ๆ นี่คือสิ่งที่มันเชื่อมโยงกับภาพที่ผมเห็น โป๊ะกลางทะเลก็จะใช้ไม้ไผ่ทำ ไม้ไผ่จากเขาย้อย และแก่ง
กระจานจะถูกส่งให้กับบ้านแหลมเป็นส่วนใหญ่ ที่ใช้ไม้ไผ่เพราะว่ามันมีความยืดหยุ่น ส่วนการผูกรอบไซ ซึ่งเป็น
เครื่องจับสัตว์ที่อยู่ในทะเลจะไม่ใช่โลหะเพราะว่ามันจะเกิดเป็นสนิม จึงต้องใช้เชือก ด้วยวิธีการมัดแบบขันชะเนาะ
ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
บ้านของผมก็จะทำอาชีพตากปลาหมึก แม่ผมจะเป็นคนที่ใช้อวนที่เรียกว่า “อวนแขก” โดยแม่จะอยู่ที่
หาดเจ้า เขาจะต้องดำน้ำลงไป แล้วก็ฟังเสียงฝูงปลา แล้วก็เอาอวนไปครอบกับฝูงปลา อวนแขกนี้เป็นภูมิปัญญาที่
ชาวอาหรับเขาขึ้นมาสอน บ้านแหลมก็จะมีเรือใบที่มาจากทางมุสลิมด้วย เขาจะเข้ามาเอาเกลือ เอาน้ำตาล เรื่อง
ของอวนประมงนี้ ก็คือภูมิปัญญาในเรื่องการมัด การผูก
ผมเรียนรู้ประเด็นเหล่านี้ แล้วก็เอาไปทำ exploration ก็คือค้นคว้าดูว่าบ้านแหลมมีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่
เอาไว้ใช้ในครัวเรือน ก็พบว่ามีตะกร้า แล้วก็เครื่องจับสัตว์ ตะกร้านี้จะอยู่ในครัว แล้วก็เครื่องจับสัตว์ก็จะใช้งาน
เวลาออกไปนอกบ้าน เพราะฉะนั้น ตะกร้าคือแม่บ้านในครัวเรือน การจับสัตว์ก็คือพ่อบ้าน ต่อมาก็คืออวนประมง
พื้นบ้าน แล้วก็ว่าวที่เป็นการละเล่น แล้วก็เครื่องใช้ในบ้านต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบ้านแหลมนี้ ใช้วัสดุแค่
2 ชนิดเท่านั้นเอง ก็คือไม่ไผ่ และเชือก นี่คือความรับรู้ที่มันเกิดขึ้นเป็นทักษะของชุมชน ผมก็ตั้งข้อสังเกตต่อไป
แล้วก็เรียนรู้เรื่องเงื่อนมัด เงื่อนผูกต่าง ๆ ว่าเขาใช้เงื่อนอะไรบ้าง ได้ข้อสังเกตมาว่า มันก็คือเงื่อนทั้งหมด 10 แบบที่
อยู่ในวิชาลูกเสือชาวบ้านนั่นแหละ (ภาพที่ 3) ก็ไปเห็นว่ามันเป็นเงื่อนพิรอด ชัดสมาธิ ผูกซุง ตะกรุดเบ็ด พวกนี้ใช้
ในกลไกของเครื่องมือหากินต่าง ๆ ของชาวบ้าน ในการทำประมง เงื่อนเหล่านี้เอาไว้ต่อเชือก เอาไว้ทำอวนประมง
พื้นบ้าน เอาไว้สำหรับผูกโยงเรือ เอาไว้สำหรับผูกโรงเรือนด้วย ทีนี้ ในเรื่องของการทำว่าว จะสังเกตดูว่ามันมีการ
ผูกด้วยเงื่อนแบบใด ทีนี้ ในเรื่องของเครื่องจักรสาน ผมก็มาสังเกตดู เรื่องของกระบุง ตะกร้า เรื่องของการใช้เส้นใย
ธรรมชาติ แล้วก็การเลือกวัสดุ พวกนี้เป็นเรื่องของการเลือกวัสดุ เพราะฉะนั้น ในแนวทางของการใช้งาน ก็คือมี
วัสดุที่เป็นไม่ไผ่เป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะของ primary research ก็คือการวิจัยในขั้นพื้นฐาน ด้วยกับ
การวิจัยตัวเอง วิจัยทุกอย่างที่มันเกี่ยวข้องรอบตัว วิจัยตัวเองเพื่อไปช่วยเหลือคนอื่น หลาย ๆ อย่างเป็นเรื่อง
ของการสังเกต ทีนี้ การสังเกตง่าย ๆ ของผม ก็คือการ drawing นั่นเอง เพราะผมเรียนศิลปะ
ผมสังเกตว่าไม้ไผ่ที่มันขึ้นตามเขตมรสุมของเพชรบุรีจะมี 5 ชนิด ก็คือไม้ไผ่รวก ไผ่ซางนวล หรือไผ่นวล
ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง และไผ่ศรีสุข แล้วก็ดูว่าไผ่พวกนี้มีความหนาเท่าไหร่ เราใช้แบบไหน ทีนี้ วิธีการเหลาแบบโครง ก็จะ
มีการเหลาแตกต่างกัน ในการทำเครื่องจักรสาน ไม้ไผ่จะมีมอดเยอะ เพราะว่าเนื้อไผ่มีความหยาบ พอเนื้อมัน
5
หยาบมันก็จะมีแป้งกับน้ำตาลในไม้ไผ่มาก มอดจะขึ้นได้ง่าย ส่วนถ้าเป็นผิว เวลาเราใช้ทำว่าวมันจะไม่ค่อยมีมอด
เพราะว่าผิวมันมีเส้นใยที่แน่นมาก เราจะต้องรู้จักไผ่แต่ละชนิด รู้จักลักษณะของมัน รู้จักกรรมวิธีในการจัดการ
กับมัน รู้ว่าส่วนไหนจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร
ภาพที่ 3 เงื่อนผูกแบบต่าง ๆ ทั้ง 10 แบบ
ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
แนวความคิดต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น มักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชีวิตประจำวัน พวก
ตะกร้าต่าง ๆ ที่ผมได้อธิบายไปเมื่อสักครู่นี้ มันมีความงามแบบ “function” คือ เป็น “esthetic” แบบ
“function” แต่ผมซึ่งอยู่ในฐานะที่ทำงานศิลปะด้วยการใช้วัสดุ จะต้องทำให้กลายเป็นเรื่องของความงาม ฉะนั้น
ผมต้องออกแบบให้เป็น “esthetic” แบบ “beauty” หรือ “esthetic” แบบ “design” ทีนี้ ผมก็ดูเรื่องของ
6
แนวความคิดต่าง ๆ ดูสิ่งแวดล้อมประจำวัน การทำงานทุกวัน แล้วก็เรียนรู้ด้วยสมาธิ แล้วก็ฝึกทำ เพื่อฝึก
ประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญ แล้วก็สังเกตสิ่งต่าง ๆ โดยใช้แรงบันดาลใจจากรูปทรงจากธรรมชาติ
พอผมเรียนจบแล้ว ผมก็เอาผลงานของผมไปเสนอที่กระทรวงพาณิชย์ แล้วก็เอาไปเสนอกับคุณสุวรรณ คง
ขุนเทียน ก็เอา thesis ไปให้เขาดู เขาบอกเขาไม่ได้อยากจะดู thesis แล้วจะทำยังไงให้เขาเชื่อถือว่า เรามีอะไรไป
แสดงเป็นผลงาน กล่าวคือ จะเชื่อมโยงเรื่องของวิชาเรียนให้เป็นวิชาชีพได้อย่างไร นั่นคือเรื่องของการค้นคว้าหาเท-
รนด์ สิ่งที่ผมทำคือ หนึ่ง การดู music video ของทางยุโรป เพราะว่า อุปกรณ์ประกอบฉากต่าง ๆ ที่จัดข้างหลัง
ฉากต่าง ๆ มันต้องใช้วัสดุในการทำขึ้นมา สอง ก็คือศึกษาเรื่องของการแต่งบ้าน สาม ก็คือดูหนัง ดูว่าเขาทำอย่างไร
นี่คือการเรียนรู้เรื่องงาน design เป็นการทำงานร่วมกันของสามสิ่ง ก็คือ วัสดุ ช่าง และทักษะ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่
ในพื้นบ้านของผม ควบคู่กับ designer
ในเรื่องของการหาความรู้ ก็คือว่าเมื่อเราเรียนรู้ เราจะต้องอ่าน ดู เห็น สงสัย สังเกต สเกต เขียน
บันทึก จำ แล้วก็วาด ตรงนี้เป็นพื้นฐานของงานที่เราจะต้องทำทุกวัน เป็นเรื่องของการฝึกหัด ลองทำ สังเกต
คิด แล้วก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด บางครั้งผมจะไปหาก๋ง เพราะบางเรื่องอย่างเช่นเรื่องว่าว อาจารย์ก็ไม่รู้
จะสอนผมอย่างไร ทีนี้ก่อนที่จะไปถามก๋งผมก็อ่านหนังสือ เป็นหนังสือกติกาการเล่นว่าวจุฬาปักเป้า ทั้งของพี่เป็ด
ซุปเปอร์แมน แล้วก็ของทางบุญรอดบริวเวอรี่ที่เขียนตำราเอาไว้ แล้วผมก็จะฝึกทำ ฝึกเหลาก่อน มันจะเกิดคำถาม
มันเกิดประเด็นสงสัย ที่ผมต้องทำกระบวนการเหล่านี้ก่อนไปหาก๋งก็เพราะว่า ถ้าผมไปหาก๋งเลย ผมจะไม่มีคำถาม
ให้ก๋งเลย ถ้าผมไม่รู้อะไรเลย ผมก็คุยกับก๋งไม่รู้เรื่อง ผมคิดว่า ตรงนี้มันน่าจะเป็นกระบวนการที่สำคัญส่วนหนึ่งที่
เอาไว้สำหรับค้นคว้าวิจัย เมื่อการทดลองมันเกิดปัญหา ผมจึงไปคุยกับก๋ง ตั้งแต่ 8 โมงเช้ายัน 3 ทุ่ม ก็ไม่เลิกคุย
เพราะว่าผมสนุกกับมันมาก พอเวลาไปเจอก๋งแล้วได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ผมจะรู้สึกตื่นเต้น และประหลาดใจกับ
การทดลองต่าง ๆ การวิเคราะห์สังเกตผล แล้วก็สเกตออกมาอีก มันจะเกิดเป็นประสบการณ์ สะสมจนเกิดเป็นเรื่อง
ของทักษะ แล้วก็จะกลายเป็นความชำนาญในที่สุด เขาเรียกว่า “ทฤษฎีของประสบการณ์” คือการสร้างสรรค์
ประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญของ John Dewey
ทีนี้ พอเริ่มสร้างสรรค์งานต่าง ๆ มันก็จะกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นต้นแบบ ทีนี้พอเรา
สร้างสรรค์มาก เราก็สามารถควบคุมลำดับขั้นของการทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเราก็ได้รับออเดอร์มาจากอังกฤษ แต่เขา
อยากจะได้สัก 4 พันชิ้น ผมก็ไม่สามารถผลิตได้เพราะว่าเรามีคนไม่มาก เราเอาเงินไปไม่มาก เราเริ่มต้นจากการที่
เรียนจบแล้วไปลองของเลย มันไม่มีทุน ผมก็ไปลองเสี่ยงดู แล้วเราก็ขายได้หมด กลับมาก็เก็บเงินไว้แล้วก็เพิ่ม
คนงานอีก 8 คน ลูกค้าชาวฝรั่งเศสขาก็ตามมาซื้องานของเรา
7
ผมได้คลี่คลายประเด็นออกมาเป็นเรื่องของกระบวนการการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบ คุณลุงท่านหนึ่งในชุมชนก็
จะใช้ภูมิปัญญาในการเลือกไม้ไผ่ แล้วก็มาส่งให้เรา ซึ่งแกเหลาไม้ไผ่ทำเข่งทำหลัวอยู่แล้ว ตรงนี้ก็ได้เรียนรู้ทักษะ
การเหลาไม้ไผ่เพิ่มขึ้นมา แล้วก็วัยรุ่นที่ตากปลาหมึก พอหมึกมันไม่มีก็พามาช่วยกันทำงานกับเรา วัยรุ่นพวกนี้เขา
เห็นพ่อแม่ ผูกเงื่อนต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก พอเวลาเราไปสอนนิดเดียว เขาก็สามารถทำได้ แล้วจะมีการเอานักเรียน
ฝึกงานเข้ามาฝึกด้วย เรามีช่างต่อเรือประมง ซึ่งไม่ได้ทำงานต่อเรือมา 8 ปีแล้ว แกก็มาสร้างเป็นทีมช่างที่เอาไว้ทำ
โครงสร้างของบ้าน ซึ่งแกมีทักษะที่เก่งมาก การตีความของงานออกมาก็มีแค่เรื่องของรูปแบบ การใช้งาน และก็
ความงาม รวมไปถึงเรื่องของโครงสร้างทางวิศวกรรมด้วย ก็คือ การสร้างแรงรับให้ปลอดภัย แล้วก็เรื่องของ
กระบวนการ แล้วก็วัสดุที่เราจะเอามาใช้ ส่งผลออกมาเป็นพวกงานแบบ design process presentation แล้วก็
เป็น contemporary art
ในเรื่องของผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นงานโคมไฟกุหลาบนี้ (ภาพที่ 4) จะมีโครงสร้างที่เกิดจากวิธีการมัดการผูก
การขึ้นรูปทรง แล้วก็กลายเป็นเรื่องของการทำงานผลิตภัณฑ์โดยใช้วิธีการมัดการผูกทั้งหมด เอาไปประกวดที่
ฮ่องกงก็ชนะ เพราะว่าตัวนี้เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ทีนี้ ในสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ ผมจะอธิบายว่า ในโคมไฟหนึ่งชิ้นนั้น
มันเริ่มต้นด้วยการใช้เกษตรกร เป็นคนปลูกไม้ไผ่หนึ่งคน แล้วก็ช่างตัดไผ่ แล้วก็ช่างเหลาไม้ไผ่ ช่างขึ้นโครงสร้าง
ช่างปิดรูปทรง แล้วก็ช่างเก็บรายละเอียด แล้วก็มีช่างไฟ ช่างโครงเหล็กเอาไว้สำหรับยึด แล้วก็เรื่องของการตลาด
แล้วก็เอาไปขายนักออกแบบ ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเป็นตลาดที่เกี่ยวกับนักออกแบบภายใน สถาปนิก และเจ้าของ
กิจการต่าง ๆ แล้วก็งานภาพประดับต่าง ๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้าด้วย แล้วก็อันนี้เป็นว่าวปักเป้า มันจะเกี่ยวข้อง
กับแรงดึง ผมก็เอามาทำตัวผมนี้ เป็นการมันการผูกทั้งหมด (ภาพที่ 5)
สิ่งที่ควรจะมีคือการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเองไปเรื่อย ๆ ทั้งในเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ
เรื่องของภาษา social network สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เป็นตัวช่วยส่งเสริมในเรื่องช่างพื้นบ้าน
เพราะเราสามารถที่จะดัดแปลงให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ในตลาดปัจจุบันได้
สุดท้ายนี้ ก๋งเคยบอกไว้ว่า ทำอะไรก็ทำอย่างเดียว ทำให้เขารู้จัก ก๋งเสียชีวิตไปแล้วตอนอายุ 91 ปี แต่ทว่า
ตอนนี้ก็ทิ้งเรื่องของวิชาความรู้เอาไว้ให้มากมาย ขอบคุณครับ
8
ภาพที่ 4 โคมไฟกุหลาบ
ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
ภาพที่ 5 ผลงานที่ได้ต้นแบบมาจากว่าวปักเป้า
ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
9
คำถาม – คำตอบ
คำถามที่ 1 อยากจะถามว่า ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่อาจารย์มีความผูกพันอยู่ กับเด็กรุ่นใหม่ที่เราเห็นเขาใน
กระบวนการเรียนรู้ทางภูมิปัญญา ณ ปัจจุบันนี้ที่เทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสำคัญกับชีวิตเป็นอย่าง
มาก มันก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากเดิมที่อาจารย์เคยเรียนรู้มาหรือไม่
คำตอบ แตกต่างกันมาก ประเด็นก็คือว่าในช่วงประมาณ 2 ปีของสถานการณ์โควิดนี้ เด็ก ๆ ไม่มีประสบกาณ์
เกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริงเลย เขาจะไม่รู้เลยว่าวิชาที่เขาเรียนอยู่จะเป็นวิชาชีพได้อย่างไร น้องที่มาฝึกงานจาก
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผมให้ลงสนามจริงทุกอย่าง เขายังไม่รู้เลยว่าสว่านสำหรับเจาะฝาผนังที่เป็นคอนกรีตกับยิปซัม
มันเป็นดอกแบบไหน นี่คือเรื่องของการใช้ประสบการณ์ตรง ถึงแม้ว่าเขาจะสัมผัสกับข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ใน social
media ก็จริงอยู่ แต่เขาไม่ได้สัมผัสกับประสบการณ์การทำงานจริง ๆ ซึ่งถ้าหากว่าเราไม่มีโควิด แล้วนักศึกษาได้
ลองฝึกประสบการณ์จากของจริง เขาจะไปได้ไว เขาต้องอยู่กับพื้นฐานของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ นี่คือการ
เรียนรู้โดยตรง สิ่งที่ผมทำ ผมได้เรียนรู้ และรักมันมาก แล้วก็ตั้งใจตั้งแต่เด็กเลยว่าผมจะต้องทำงานศิลปะ แล้วผม
ก็เรียนรู้การทำงานต่าง ๆ จากก๋ง น้อง ๆ ที่มาทำงานในปัจจุบันนี้ เขามีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ตมาก
ทีเดียว แต่ว่าเขาไม่มีประสบการณ์ในการทำ ดังนั้น เราต้องกลับไปรากฐานก็คือการฝึกปรือ เขาจะต้องเรียนรู้
เรื่องของสมาธิ เรื่องของการมีจิตใจจดจ่อ เรื่องของความขยันหมั่นเพียร นั่นคือ จิตตะ วิริยะ ฉันทะ วิมังสา ซึ่ง
ก็คือ อิทธิบาท 4 อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องกลับไปที่กระบวนการเหล่านี้ วิธีนี้มันเป็นวิธีที่มหาวิทยาลัยไม่มีสอน แต่
สิ่งที่สอนคือครอบครัว เพราะเด็กเห็นพ่อแม่ทำมาก่อน เราแค่ไปสนับสนุนและถ่ายทอดมันออกมาเป็นวิชาเรียน
เรื่องบางเรื่อง ถ้าเราไม่ลองปฏิบัติจริง เราจะไม่รู้อะไรเลย
คำถาม 2 นักศึกษาเมื่อเรียนจบไปแล้วจะกลับไปพัฒนาชุมชนของเขาได้อย่างไร เพราะเด็กส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมาย
คือ อยากรับราชการ อยากทำงานในเมือง อยากหนีออกจากชุมชนของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ชุมชนของตัวเองบางครั้งก็มี
สิ่งที่ดีอยู่ สามารถสร้างรายได้สร้างมูลค่าได้ แต่มันขาดกระบวนการของวิธีคิด ในการปรับวิธีคิดของคนในชุมชน
ของเยาวชน เราจะช่วยกันอย่างไรได้บ้าง ทุกวันนี้เรารู้สึกว่าตัวเราลำบาก เราอยากให้ลูกสบาย ไม่ต้องทำอะไรมาก
ลูกก็เล่นเกม กิจกรรมงานบ้านอะไรก็ไม่ต้องทำ คำตอบบางอย่างเราก็ไม่มีให้เขาเวลาเขาถาม เราจะมีวิธีการ
อย่างไรในการที่ช่วยกันผลักดันให้เยาวชนของเราเหล่านี้มีวิธีคิดที่เราจะสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่มันอยู่ในชุมชน
ของเราเพื่อให้มันสร้างมูลค่าได้ แล้วก็ให้คนทั่วไปเขารู้สึกว่า การที่เราทำงานอยู่ที่ชุมชนของเราก็ก่อให้เกิดการสร้าง
รายได้
10
คำตอบ เรามีหน้าที่แค่สร้างความมั่นใจให้เขา คือเราเรียนรู้จากการปฏิบัติจากพ่อแม่ของเรา นั่นคือท่านปฏิบัติทุก
อย่างเลย ถ้าเด็กเขาเห็นตรงนี้ ดังนั้น เราก็ต้องปฏิบัติให้เขาเห็น พอมาถึงสถาบัน อาจารย์ก็ต้องปฏิบัติสอนให้เขา
เห็น เรามีหน้าที่แค่บอก เขาจะฟังหรือไม่ฟัง มันเป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่มาฝึกงานกับผม
ค่อนข้างจะมีทักษะที่ต่ำมาก แต่ผมก็บอกว่า เอาอย่างนี้ เดี๋ยวมาทำงานด้วยกัน ให้ลงสนามจริงเลย คือเขาก็จะเห็น
สิ่งต่าง ๆ จากการที่เราพาไปทุกที่ ไปไซต์งานต่าง ๆ ไปคุยงานต่าง ๆ แล้วก็ให้นึกถึงวิชาความรู้ที่เราจะต้องเอามา
ใช้ คือต้องคิดว่าบทบาทที่เราจะเอาไปประกอบเป็นผลงาน สุดท้ายแล้วมันจะเป็นอย่างไร ส่วน social media
อย่างน้อยมันก็มีประโยชน์ ลูกผมเองก็เล่นเกม แต่ว่า ผมก็ให้เขาทำงานบ้านด้วยเหมือนกัน ยังไงเราก็ต้องเหนื่อยใน
การบ่นลูกหน่อย แล้วเราก็ต้องปฏิบัติให้เขาเห็นด้วย เราต้องสอนแบบ “เซน” คือไม่พูดมาก แต่ทำให้เห็น พอ
เห็นแล้วก็ให้เขารู้ว่าวิชาที่เขาเรียนจะไปสู่วิชาชีพอย่างไรโดยการให้เขาลงสนามทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการจัด
กิจกรรมขายของในมหาวิทยาลัย หรือแสดงนิทรรศการผลงานของเขาเอง ผมคิดว่าตรงนี้มันจะเป็นประสบการณ์
สถานศึกษาที่ทำให้เกิดการรู้จักกาทำงานในอนาคตได้ พอเวลาจบมา เขาจะได้สร้างงานในกิจการของตัวเองได้ ผม
สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมให้เด็กได้ทำบ้าง แม้ว่ามันจะล้มเหลวก็ตาม มันอาจจะขาดทุน แต่การขาดทุนนี้
จะกลายเป็นกำไรในอนาคต การทำกิจกรรมมันคือการได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้เลย นอกจากนี้เราก็ ยังได้
connection ด้วย เป็นการสร้างมิตรภาพตอนเรียน พอเด็กในรุ่นนี้โตขึ้นมาก็ได้ connection ในการทำงาน
นอกจากนี้ จะต้องเอาผลงานของเราไปประกวดด้วย เพื่อทำให้ผลงานของเราเป็นที่รู้จัก และใช้เป็นช่องทางในการ
สื่อสารผลงานของเราออกไปให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ สิ่งนี้จะทำให้โอกาสของภูมิปัญญาหรือว่านำสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา
ไปสร้างรายได้ แล้วเขาก็จะกลับไปสู่ชุมชนได้ พอกลับมาสู่ชุมชน เขาก็หาต้นความคิด ก็คือวัสดุในชุมชน ช่างฝีมือ
ในชุมชน ผมว่าการปฏิบัติสอนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตัวเราเองก็เรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติสอนเองได้เช่นกัน อีกทั้งผม
เดินทางอยู่บ่อย ๆ มันก็เหมือนกับการเปิดโลก พอมีโอกาสก็ชวนเขาเดินทางไปดูสิ่งต่าง ๆ แล้วเขาจะได้เห็นว่า สิ่ง
ที่เขาทำมันสามารถที่จะกลับมาสู่ชุมชนเขาได้อย่างไร
คำถาม 3 จากการที่คุณกรกตเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง เลยอยากทราบว่า ความสามารถทางภูมิปัญญา
ของชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยยังมีอยู่อีกเยอะไหม
คำตอบ ตอนนี้ในประเทศไทยของเรามี "artisan" ที่มีความเป็นช่างในชุมชนมากอยู่ทีเดียว ผมชอบเดินทางไปด้วย
การขับรถเอง นี่ก็เป็นเรื่องของการเรียนรู้เหมือนกัน เพราะว่าเราต้องไปสัมผัส นี่การเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
เช่นเดียวกัน ผมชอบดูต้นไม้ ผมชอบดูพื้นราบ แล้วก็ผมชอบดูต้นไม้ที่มันขึ้นตามถิ่นเฉพาะ เช่นผมเดินทางตั้งแต่
จังหวัดสุรินทร์จนถึงอุดรธานี ผมเห็นทุ่งกุลาร้องไห้ที่มันมีดิน แล้วก็มีทรายสีชมพู แล้วเวลาแดดมันส่องลงมา ผมคิด
ว่ามันสวยมาก แล้วมันก็มีพื้นที่ที่เขาทำให้เกิดภูมิปัญญาได้ โดยการที่เขาสามารถเอาเส้นใยจากตัวหนอนมาทำเป็น
ผ้าทอที่สง่างามมากของพระมหากษัตริย์ของเรา พอขึ้นไปบนอีสานตอนบน ทางจังหวัดสกลนคร และนครพนม ก็
11
จะทอผ้าฝ้าย ซึ่งลักษณะการย้อมด้วยครามของเขามีเอกลักษณ์มาก นี่คือการใช้พืชกับสัตว์เข้ามาเกี่ยวของกับเส้น
ใยที่เป็นเรื่องของเครื่องนุ่งห่ม อีกทั้ง เราควรไปเรียนรู้กับคนที่เป็น artisan ต่าง ๆ แม้กระทั่ง ช่างตัดผม คนถีบ
สามล้อ คนขายพวงมาลัย ผมชอบสัมผัสกับความเป็นศิลปะพื้นบ้านซึ่งมันเป็นความงาม ทำให้เรารู้สึกว่า สิ่งนี้มัน
เป็นความหลากหลายที่อยู่ในประเทศไทย แล้วก็เป็นเรื่องของสิ่งที่มันเป็นสีสัน เวลาผมไปในที่ต่าง ๆ แต่ละภาคของ
ประเทศไทย มันก็จะมีความแตกต่างหลากหลายอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิต มันเป็นเรื่องของการที่เราได้เสพความ
เป็นสุนทรียะ แล้วมันก็เป็นการเดินทางไปหาแรงบันดาลใจของตัวเอง ในชีวิตประจำวันของเรา เราอยู่ด้วยภูมิ
ปัญญาแล้วเรารู้สนุกกับมัน ก็มีความสุขมากทีเดียว แล้วเราก็จะรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่อยู่ทุกวัน
คำถาม 4 จากที่ฟังคุณกรกตเล่าเกี่ยวกับการลงทำงานร่วมกับชุมชน ทำอย่างไรให้กลุ่มคนในชุมชนเขาจะมีภูมิ
ปัญญา แล้วดึงเขาให้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม ๆ ที่เขาเคยทำมาให้ได้
คำตอบ ส่วนนี้มันเป็นเทรนด์ในเรื่องของการที่จะออกแบบให้กับทีมช่าง ก็ให้ลองไปหาค้นคว้าเทรนด์ต่าง ๆ เลย
แล้วเอามาพัฒนาแบบให้กับเขา พอเวลาออกแบบแล้ว ถ้าในท้ายที่สุดเขามองไม่เห็นปลายทางจากประสบการณ์ที่
เราไปออกแบบให้เขา เขาไม่เห็นจะขายอะไรได้เลย เมื่อเป็นแบบนี้ เราจะต้องหาเทรนด์จากระบบนิเวศที่อยู่
รอบตัวของคนในชุมชน ในการที่จะยกระดับเขาขึ้นมา คุณจะต้องพาเขาไปลงสนามการทำงานจริงให้ได้ เช่น พา
ไปออกงานแฟร์ต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศของเขา เขาจะได้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมของการ
ออกแบบเหล่านั้นอยู่ในระบบนิเวศของเขา ที่สำคัญ จะต้องทำเรื่องการตลาดให้กับเขาด้วย ถ้าเขาทำเองไม่ได้ คุณ
จะต้องเป็น sub design ให้เขา ขอเพียงแค่ให้เขาได้ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ที่เขาจะทำ
มันขึ้นมา

More Related Content

More from Klangpanya

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 

ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี

  • 1. รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ผู้นำเสนอ ดร. กรกต อารมณ์ดี นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เวทีระดับโลก รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ผู้ถอดความ: กฤตภัค พรหมมานุวัติ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
  • 3. 1 ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย1 ดร. กรกต อารมณ์ดี วันนี้ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกับคณะอาจารย์ ในเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จาก ภูมิปัญญาพื้นบ้านจนกลายเป็นผลงานสร้างสรรค์ ผมเข้ามาเรียนปริญญาเอกที่ศิลปากร เพื่อที่อยากจะให้การออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมีแนวทางสร้างเป็น งานวิชาการ เพื่อจะทำให้น้อง ๆ ที่เรียนออกแบบ มีเส้นทางลัด จะได้ประสบความสำเร็จในการที่จะเอาเรื่องของ วัสดุที่เป็นเส้นใยธรรมชาติที่อยู่หลังบ้านของเรา ไปทำให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่า แล้วก็สร้างชุมชน และ สามารถที่จะทำให้บุคลากรที่อยู่ในระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ได้รับประโยชน์ด้วย ผมก็จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตมา เรื่องแรกก็คือเรื่องของแผนที่ระบบภูมิศาสตร์ของจังหวัด เพชรบุรี ตอนที่ยังเรียนอยู่ ผมกำลังเปลี่ยนวิธีการ painting เพราะว่า วิธีการ paint ของผมเป็นวิธีการเขียนภาพสี น้ำมันเกี่ยวกับชีวิตของคนข้างถนน เป็นความรันทดใจ แล้วก็เป็นเรื่องของคนที่นอนซอมซ่ออยู่ข้างทาง อาจารย์ มานิตย์ ภู่อารีย์ เขาก็เลยบอกว่า ไม่มีใครเขาเอาภาพที่รันทดใจไปแต่งบ้านหรอก ก็เลยต้องเปลี่ยน พอเรียน ปริญญาโท เราต้องเปลี่ยนแนวทางของเรา แล้วมันก็มีวิชา Folk Arts ก็คือศิลปะพื้นบ้าน วิชานี้เป็นเรื่องของการ อธิบายเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ความเป็นสุนทรียะ ความงามของความเป็นชุมชน ความงดงามของการเดินทางไป อยู่ในชนบท แล้วก็ดูเรื่องของพื้นที่ อากาศ ดินต่าง ๆ แล้วเราก็ถ่ายภาพมา แล้วผมก็รู้สึกว่าประทับใจ ทีนี้พอ ประทับใจแล้วก็กลับไปที่บ้าน พอกลับไปที่บ้านก็สังเกตเรื่องของแผนผัง แผนผังของจังหวัดเพชรบุรี มันแบ่งเขต ตามภูมิศาสตร์ ผมเริ่มตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็คือ ดิน มีภูเขา มีพื้นราบ มีชายทะเล มีทราย แล้วก็ น้ำ จากแม่น้ำ ลุ่มน้ำ ที่ดอน ชายฝั่ง ลำธาร น้ำตก ฝน ทะเล น้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อย พวกนี้จะมีบทบาทในการเกิดขึ้นของพืชในที่ 1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิดยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาวะ (สสส.) ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว.
  • 4. 2 แห่งนั้น ต่อมาก็คือ ลม ถ้าเป็นพื้นบ้านผม จะมีลมที่เกี่ยวกับลมประมง อันนี้เป็นชื่อเรียกของลมประมง (ภาพที่ 1) แล้วก็ ไฟ ก็คือ แดด อุณหภูมิ บรรยากาศกลางคืนกลางวัน ดาว เมฆ ฤดูกาล มรสุม ความร้อน ความเย็น ความรู้สึก สิ่งเหล่านี้เป็น keyword ที่สำคัญ ภาพที่ 1 ชื่อเรียกของลมประมง ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565 อำเภอบ้านแหลมจะเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณที่เป็นสีฟ้า (ภาพที่ 2) สีฟ้าคือชายทะเล พื้นราบจะเป็นพื้นที่ปลูก ข้าว ส่วนสีเขียวก็จะเป็นแก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง ทีนี้ ในแต่ละพื้นที่ผมก็ตั้งข้อสังเกตว่า หนองหญ้าปล้องจะมี พืชภูเขา ไผ่ ไม้ต่าง ๆ การเกษตร ประมงน้ำจืด ส่วนแก่งกระจานจะมีพืชที่ขึ้นตามเขตมรสุม พืชพวกนี้จะขึ้นตาม
  • 5. 3 ดิน พื้นที่ทั้งสองจะมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น เพชรบุรีจึงเป็นพื้นที่ที่มีพืชที่แตกต่างกันมาก ส่วนชะอำ บ้าน แหลม ก็จะเป็นพื้นที่ประมง แล้วก็ชะอำนั้นเป็นพื้นที่สูง ซึ่งมันก็ไม่ได้มีน้ำมาก แต่ว่ามี “ป่านศรนารายณ์” มาก ซึ่ง เอาไว้ทำเชือกสำหรับประมงด้วย ทีนี้ บ้านแหลมซึ่งติดทะเล เมื่อชาวบ้านเขาเห็นพื้นดินมีประกายเป็นแสงดาวใน เวลากลางวัน นั่นแปลว่ามันมีผลึกเกลืออยู่ จากนั้นก็สังเกตลม แดด แล้วก็จัดผังภูมิทัศน์ในการทำนาเกลือ อันนี้ก็ เป็นเรื่องของภูมิปัญญาที่เกิดจากการสังเกตธรรมชาติ ทีนี้ พื้นที่ที่ไม่ติดทะเลของบ้านแหลมมีสองพื้นที่ที่ คือตำบล ท่าแร้งและบางครก สองตำบลนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีหมู่บ้านมุสลิม ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ทำนาข้าว แล้วเขาก็ทำเชือกด้วย เขาก็จะเอาเชือกเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์กับการทำประมงพื้นบ้าน โดยเชือกจะเอาไว้สำหรับการทำยุ้งเกลือ ทำอวน ประมง ทำเชือกสำหรับการร้อยประมง อันนี้ก็จัดว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่ามันประกอบไปด้วย ระบบของพื้นที่ภูมิศาสตร์ เรื่องของวัสดุที่เป็นพืชที่มันเกิดขึ้น และทักษะที่คนเอาไว้ใช้ทำงาน ภาพที่ 2 แผนที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
  • 6. 4 ต่อมาก็สังเกตว่า พอมีเรือประมง มันก็เกิดช่างต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น ช่างทาสีเรือ ช่างทำเรือประมง ช่างเรข ศิลป์ แล้วก็ไต้ก๋ง แล้วก็มีเรื่องของการถักเชือก การทำโป๊ะลอยแพ การทำเรื่องของการผูก เมื่อมีการผูกก็มีเงื่อน แบบต่าง ๆ นี่คือสิ่งที่มันเชื่อมโยงกับภาพที่ผมเห็น โป๊ะกลางทะเลก็จะใช้ไม้ไผ่ทำ ไม้ไผ่จากเขาย้อย และแก่ง กระจานจะถูกส่งให้กับบ้านแหลมเป็นส่วนใหญ่ ที่ใช้ไม้ไผ่เพราะว่ามันมีความยืดหยุ่น ส่วนการผูกรอบไซ ซึ่งเป็น เครื่องจับสัตว์ที่อยู่ในทะเลจะไม่ใช่โลหะเพราะว่ามันจะเกิดเป็นสนิม จึงต้องใช้เชือก ด้วยวิธีการมัดแบบขันชะเนาะ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น บ้านของผมก็จะทำอาชีพตากปลาหมึก แม่ผมจะเป็นคนที่ใช้อวนที่เรียกว่า “อวนแขก” โดยแม่จะอยู่ที่ หาดเจ้า เขาจะต้องดำน้ำลงไป แล้วก็ฟังเสียงฝูงปลา แล้วก็เอาอวนไปครอบกับฝูงปลา อวนแขกนี้เป็นภูมิปัญญาที่ ชาวอาหรับเขาขึ้นมาสอน บ้านแหลมก็จะมีเรือใบที่มาจากทางมุสลิมด้วย เขาจะเข้ามาเอาเกลือ เอาน้ำตาล เรื่อง ของอวนประมงนี้ ก็คือภูมิปัญญาในเรื่องการมัด การผูก ผมเรียนรู้ประเด็นเหล่านี้ แล้วก็เอาไปทำ exploration ก็คือค้นคว้าดูว่าบ้านแหลมมีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่ เอาไว้ใช้ในครัวเรือน ก็พบว่ามีตะกร้า แล้วก็เครื่องจับสัตว์ ตะกร้านี้จะอยู่ในครัว แล้วก็เครื่องจับสัตว์ก็จะใช้งาน เวลาออกไปนอกบ้าน เพราะฉะนั้น ตะกร้าคือแม่บ้านในครัวเรือน การจับสัตว์ก็คือพ่อบ้าน ต่อมาก็คืออวนประมง พื้นบ้าน แล้วก็ว่าวที่เป็นการละเล่น แล้วก็เครื่องใช้ในบ้านต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบ้านแหลมนี้ ใช้วัสดุแค่ 2 ชนิดเท่านั้นเอง ก็คือไม่ไผ่ และเชือก นี่คือความรับรู้ที่มันเกิดขึ้นเป็นทักษะของชุมชน ผมก็ตั้งข้อสังเกตต่อไป แล้วก็เรียนรู้เรื่องเงื่อนมัด เงื่อนผูกต่าง ๆ ว่าเขาใช้เงื่อนอะไรบ้าง ได้ข้อสังเกตมาว่า มันก็คือเงื่อนทั้งหมด 10 แบบที่ อยู่ในวิชาลูกเสือชาวบ้านนั่นแหละ (ภาพที่ 3) ก็ไปเห็นว่ามันเป็นเงื่อนพิรอด ชัดสมาธิ ผูกซุง ตะกรุดเบ็ด พวกนี้ใช้ ในกลไกของเครื่องมือหากินต่าง ๆ ของชาวบ้าน ในการทำประมง เงื่อนเหล่านี้เอาไว้ต่อเชือก เอาไว้ทำอวนประมง พื้นบ้าน เอาไว้สำหรับผูกโยงเรือ เอาไว้สำหรับผูกโรงเรือนด้วย ทีนี้ ในเรื่องของการทำว่าว จะสังเกตดูว่ามันมีการ ผูกด้วยเงื่อนแบบใด ทีนี้ ในเรื่องของเครื่องจักรสาน ผมก็มาสังเกตดู เรื่องของกระบุง ตะกร้า เรื่องของการใช้เส้นใย ธรรมชาติ แล้วก็การเลือกวัสดุ พวกนี้เป็นเรื่องของการเลือกวัสดุ เพราะฉะนั้น ในแนวทางของการใช้งาน ก็คือมี วัสดุที่เป็นไม่ไผ่เป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะของ primary research ก็คือการวิจัยในขั้นพื้นฐาน ด้วยกับ การวิจัยตัวเอง วิจัยทุกอย่างที่มันเกี่ยวข้องรอบตัว วิจัยตัวเองเพื่อไปช่วยเหลือคนอื่น หลาย ๆ อย่างเป็นเรื่อง ของการสังเกต ทีนี้ การสังเกตง่าย ๆ ของผม ก็คือการ drawing นั่นเอง เพราะผมเรียนศิลปะ ผมสังเกตว่าไม้ไผ่ที่มันขึ้นตามเขตมรสุมของเพชรบุรีจะมี 5 ชนิด ก็คือไม้ไผ่รวก ไผ่ซางนวล หรือไผ่นวล ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง และไผ่ศรีสุข แล้วก็ดูว่าไผ่พวกนี้มีความหนาเท่าไหร่ เราใช้แบบไหน ทีนี้ วิธีการเหลาแบบโครง ก็จะ มีการเหลาแตกต่างกัน ในการทำเครื่องจักรสาน ไม้ไผ่จะมีมอดเยอะ เพราะว่าเนื้อไผ่มีความหยาบ พอเนื้อมัน
  • 7. 5 หยาบมันก็จะมีแป้งกับน้ำตาลในไม้ไผ่มาก มอดจะขึ้นได้ง่าย ส่วนถ้าเป็นผิว เวลาเราใช้ทำว่าวมันจะไม่ค่อยมีมอด เพราะว่าผิวมันมีเส้นใยที่แน่นมาก เราจะต้องรู้จักไผ่แต่ละชนิด รู้จักลักษณะของมัน รู้จักกรรมวิธีในการจัดการ กับมัน รู้ว่าส่วนไหนจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ภาพที่ 3 เงื่อนผูกแบบต่าง ๆ ทั้ง 10 แบบ ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565 แนวความคิดต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น มักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชีวิตประจำวัน พวก ตะกร้าต่าง ๆ ที่ผมได้อธิบายไปเมื่อสักครู่นี้ มันมีความงามแบบ “function” คือ เป็น “esthetic” แบบ “function” แต่ผมซึ่งอยู่ในฐานะที่ทำงานศิลปะด้วยการใช้วัสดุ จะต้องทำให้กลายเป็นเรื่องของความงาม ฉะนั้น ผมต้องออกแบบให้เป็น “esthetic” แบบ “beauty” หรือ “esthetic” แบบ “design” ทีนี้ ผมก็ดูเรื่องของ
  • 8. 6 แนวความคิดต่าง ๆ ดูสิ่งแวดล้อมประจำวัน การทำงานทุกวัน แล้วก็เรียนรู้ด้วยสมาธิ แล้วก็ฝึกทำ เพื่อฝึก ประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญ แล้วก็สังเกตสิ่งต่าง ๆ โดยใช้แรงบันดาลใจจากรูปทรงจากธรรมชาติ พอผมเรียนจบแล้ว ผมก็เอาผลงานของผมไปเสนอที่กระทรวงพาณิชย์ แล้วก็เอาไปเสนอกับคุณสุวรรณ คง ขุนเทียน ก็เอา thesis ไปให้เขาดู เขาบอกเขาไม่ได้อยากจะดู thesis แล้วจะทำยังไงให้เขาเชื่อถือว่า เรามีอะไรไป แสดงเป็นผลงาน กล่าวคือ จะเชื่อมโยงเรื่องของวิชาเรียนให้เป็นวิชาชีพได้อย่างไร นั่นคือเรื่องของการค้นคว้าหาเท- รนด์ สิ่งที่ผมทำคือ หนึ่ง การดู music video ของทางยุโรป เพราะว่า อุปกรณ์ประกอบฉากต่าง ๆ ที่จัดข้างหลัง ฉากต่าง ๆ มันต้องใช้วัสดุในการทำขึ้นมา สอง ก็คือศึกษาเรื่องของการแต่งบ้าน สาม ก็คือดูหนัง ดูว่าเขาทำอย่างไร นี่คือการเรียนรู้เรื่องงาน design เป็นการทำงานร่วมกันของสามสิ่ง ก็คือ วัสดุ ช่าง และทักษะ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ ในพื้นบ้านของผม ควบคู่กับ designer ในเรื่องของการหาความรู้ ก็คือว่าเมื่อเราเรียนรู้ เราจะต้องอ่าน ดู เห็น สงสัย สังเกต สเกต เขียน บันทึก จำ แล้วก็วาด ตรงนี้เป็นพื้นฐานของงานที่เราจะต้องทำทุกวัน เป็นเรื่องของการฝึกหัด ลองทำ สังเกต คิด แล้วก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด บางครั้งผมจะไปหาก๋ง เพราะบางเรื่องอย่างเช่นเรื่องว่าว อาจารย์ก็ไม่รู้ จะสอนผมอย่างไร ทีนี้ก่อนที่จะไปถามก๋งผมก็อ่านหนังสือ เป็นหนังสือกติกาการเล่นว่าวจุฬาปักเป้า ทั้งของพี่เป็ด ซุปเปอร์แมน แล้วก็ของทางบุญรอดบริวเวอรี่ที่เขียนตำราเอาไว้ แล้วผมก็จะฝึกทำ ฝึกเหลาก่อน มันจะเกิดคำถาม มันเกิดประเด็นสงสัย ที่ผมต้องทำกระบวนการเหล่านี้ก่อนไปหาก๋งก็เพราะว่า ถ้าผมไปหาก๋งเลย ผมจะไม่มีคำถาม ให้ก๋งเลย ถ้าผมไม่รู้อะไรเลย ผมก็คุยกับก๋งไม่รู้เรื่อง ผมคิดว่า ตรงนี้มันน่าจะเป็นกระบวนการที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ เอาไว้สำหรับค้นคว้าวิจัย เมื่อการทดลองมันเกิดปัญหา ผมจึงไปคุยกับก๋ง ตั้งแต่ 8 โมงเช้ายัน 3 ทุ่ม ก็ไม่เลิกคุย เพราะว่าผมสนุกกับมันมาก พอเวลาไปเจอก๋งแล้วได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ผมจะรู้สึกตื่นเต้น และประหลาดใจกับ การทดลองต่าง ๆ การวิเคราะห์สังเกตผล แล้วก็สเกตออกมาอีก มันจะเกิดเป็นประสบการณ์ สะสมจนเกิดเป็นเรื่อง ของทักษะ แล้วก็จะกลายเป็นความชำนาญในที่สุด เขาเรียกว่า “ทฤษฎีของประสบการณ์” คือการสร้างสรรค์ ประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญของ John Dewey ทีนี้ พอเริ่มสร้างสรรค์งานต่าง ๆ มันก็จะกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นต้นแบบ ทีนี้พอเรา สร้างสรรค์มาก เราก็สามารถควบคุมลำดับขั้นของการทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเราก็ได้รับออเดอร์มาจากอังกฤษ แต่เขา อยากจะได้สัก 4 พันชิ้น ผมก็ไม่สามารถผลิตได้เพราะว่าเรามีคนไม่มาก เราเอาเงินไปไม่มาก เราเริ่มต้นจากการที่ เรียนจบแล้วไปลองของเลย มันไม่มีทุน ผมก็ไปลองเสี่ยงดู แล้วเราก็ขายได้หมด กลับมาก็เก็บเงินไว้แล้วก็เพิ่ม คนงานอีก 8 คน ลูกค้าชาวฝรั่งเศสขาก็ตามมาซื้องานของเรา
  • 9. 7 ผมได้คลี่คลายประเด็นออกมาเป็นเรื่องของกระบวนการการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบ คุณลุงท่านหนึ่งในชุมชนก็ จะใช้ภูมิปัญญาในการเลือกไม้ไผ่ แล้วก็มาส่งให้เรา ซึ่งแกเหลาไม้ไผ่ทำเข่งทำหลัวอยู่แล้ว ตรงนี้ก็ได้เรียนรู้ทักษะ การเหลาไม้ไผ่เพิ่มขึ้นมา แล้วก็วัยรุ่นที่ตากปลาหมึก พอหมึกมันไม่มีก็พามาช่วยกันทำงานกับเรา วัยรุ่นพวกนี้เขา เห็นพ่อแม่ ผูกเงื่อนต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก พอเวลาเราไปสอนนิดเดียว เขาก็สามารถทำได้ แล้วจะมีการเอานักเรียน ฝึกงานเข้ามาฝึกด้วย เรามีช่างต่อเรือประมง ซึ่งไม่ได้ทำงานต่อเรือมา 8 ปีแล้ว แกก็มาสร้างเป็นทีมช่างที่เอาไว้ทำ โครงสร้างของบ้าน ซึ่งแกมีทักษะที่เก่งมาก การตีความของงานออกมาก็มีแค่เรื่องของรูปแบบ การใช้งาน และก็ ความงาม รวมไปถึงเรื่องของโครงสร้างทางวิศวกรรมด้วย ก็คือ การสร้างแรงรับให้ปลอดภัย แล้วก็เรื่องของ กระบวนการ แล้วก็วัสดุที่เราจะเอามาใช้ ส่งผลออกมาเป็นพวกงานแบบ design process presentation แล้วก็ เป็น contemporary art ในเรื่องของผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นงานโคมไฟกุหลาบนี้ (ภาพที่ 4) จะมีโครงสร้างที่เกิดจากวิธีการมัดการผูก การขึ้นรูปทรง แล้วก็กลายเป็นเรื่องของการทำงานผลิตภัณฑ์โดยใช้วิธีการมัดการผูกทั้งหมด เอาไปประกวดที่ ฮ่องกงก็ชนะ เพราะว่าตัวนี้เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ทีนี้ ในสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ ผมจะอธิบายว่า ในโคมไฟหนึ่งชิ้นนั้น มันเริ่มต้นด้วยการใช้เกษตรกร เป็นคนปลูกไม้ไผ่หนึ่งคน แล้วก็ช่างตัดไผ่ แล้วก็ช่างเหลาไม้ไผ่ ช่างขึ้นโครงสร้าง ช่างปิดรูปทรง แล้วก็ช่างเก็บรายละเอียด แล้วก็มีช่างไฟ ช่างโครงเหล็กเอาไว้สำหรับยึด แล้วก็เรื่องของการตลาด แล้วก็เอาไปขายนักออกแบบ ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเป็นตลาดที่เกี่ยวกับนักออกแบบภายใน สถาปนิก และเจ้าของ กิจการต่าง ๆ แล้วก็งานภาพประดับต่าง ๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้าด้วย แล้วก็อันนี้เป็นว่าวปักเป้า มันจะเกี่ยวข้อง กับแรงดึง ผมก็เอามาทำตัวผมนี้ เป็นการมันการผูกทั้งหมด (ภาพที่ 5) สิ่งที่ควรจะมีคือการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเองไปเรื่อย ๆ ทั้งในเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ เรื่องของภาษา social network สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เป็นตัวช่วยส่งเสริมในเรื่องช่างพื้นบ้าน เพราะเราสามารถที่จะดัดแปลงให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ในตลาดปัจจุบันได้ สุดท้ายนี้ ก๋งเคยบอกไว้ว่า ทำอะไรก็ทำอย่างเดียว ทำให้เขารู้จัก ก๋งเสียชีวิตไปแล้วตอนอายุ 91 ปี แต่ทว่า ตอนนี้ก็ทิ้งเรื่องของวิชาความรู้เอาไว้ให้มากมาย ขอบคุณครับ
  • 10. 8 ภาพที่ 4 โคมไฟกุหลาบ ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565 ภาพที่ 5 ผลงานที่ได้ต้นแบบมาจากว่าวปักเป้า ที่มา: จากการนำเสนอของ ดร. กรกต อารมณ์ดี ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
  • 11. 9 คำถาม – คำตอบ คำถามที่ 1 อยากจะถามว่า ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่อาจารย์มีความผูกพันอยู่ กับเด็กรุ่นใหม่ที่เราเห็นเขาใน กระบวนการเรียนรู้ทางภูมิปัญญา ณ ปัจจุบันนี้ที่เทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสำคัญกับชีวิตเป็นอย่าง มาก มันก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากเดิมที่อาจารย์เคยเรียนรู้มาหรือไม่ คำตอบ แตกต่างกันมาก ประเด็นก็คือว่าในช่วงประมาณ 2 ปีของสถานการณ์โควิดนี้ เด็ก ๆ ไม่มีประสบกาณ์ เกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริงเลย เขาจะไม่รู้เลยว่าวิชาที่เขาเรียนอยู่จะเป็นวิชาชีพได้อย่างไร น้องที่มาฝึกงานจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผมให้ลงสนามจริงทุกอย่าง เขายังไม่รู้เลยว่าสว่านสำหรับเจาะฝาผนังที่เป็นคอนกรีตกับยิปซัม มันเป็นดอกแบบไหน นี่คือเรื่องของการใช้ประสบการณ์ตรง ถึงแม้ว่าเขาจะสัมผัสกับข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ใน social media ก็จริงอยู่ แต่เขาไม่ได้สัมผัสกับประสบการณ์การทำงานจริง ๆ ซึ่งถ้าหากว่าเราไม่มีโควิด แล้วนักศึกษาได้ ลองฝึกประสบการณ์จากของจริง เขาจะไปได้ไว เขาต้องอยู่กับพื้นฐานของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ นี่คือการ เรียนรู้โดยตรง สิ่งที่ผมทำ ผมได้เรียนรู้ และรักมันมาก แล้วก็ตั้งใจตั้งแต่เด็กเลยว่าผมจะต้องทำงานศิลปะ แล้วผม ก็เรียนรู้การทำงานต่าง ๆ จากก๋ง น้อง ๆ ที่มาทำงานในปัจจุบันนี้ เขามีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ตมาก ทีเดียว แต่ว่าเขาไม่มีประสบการณ์ในการทำ ดังนั้น เราต้องกลับไปรากฐานก็คือการฝึกปรือ เขาจะต้องเรียนรู้ เรื่องของสมาธิ เรื่องของการมีจิตใจจดจ่อ เรื่องของความขยันหมั่นเพียร นั่นคือ จิตตะ วิริยะ ฉันทะ วิมังสา ซึ่ง ก็คือ อิทธิบาท 4 อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องกลับไปที่กระบวนการเหล่านี้ วิธีนี้มันเป็นวิธีที่มหาวิทยาลัยไม่มีสอน แต่ สิ่งที่สอนคือครอบครัว เพราะเด็กเห็นพ่อแม่ทำมาก่อน เราแค่ไปสนับสนุนและถ่ายทอดมันออกมาเป็นวิชาเรียน เรื่องบางเรื่อง ถ้าเราไม่ลองปฏิบัติจริง เราจะไม่รู้อะไรเลย คำถาม 2 นักศึกษาเมื่อเรียนจบไปแล้วจะกลับไปพัฒนาชุมชนของเขาได้อย่างไร เพราะเด็กส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมาย คือ อยากรับราชการ อยากทำงานในเมือง อยากหนีออกจากชุมชนของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ชุมชนของตัวเองบางครั้งก็มี สิ่งที่ดีอยู่ สามารถสร้างรายได้สร้างมูลค่าได้ แต่มันขาดกระบวนการของวิธีคิด ในการปรับวิธีคิดของคนในชุมชน ของเยาวชน เราจะช่วยกันอย่างไรได้บ้าง ทุกวันนี้เรารู้สึกว่าตัวเราลำบาก เราอยากให้ลูกสบาย ไม่ต้องทำอะไรมาก ลูกก็เล่นเกม กิจกรรมงานบ้านอะไรก็ไม่ต้องทำ คำตอบบางอย่างเราก็ไม่มีให้เขาเวลาเขาถาม เราจะมีวิธีการ อย่างไรในการที่ช่วยกันผลักดันให้เยาวชนของเราเหล่านี้มีวิธีคิดที่เราจะสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่มันอยู่ในชุมชน ของเราเพื่อให้มันสร้างมูลค่าได้ แล้วก็ให้คนทั่วไปเขารู้สึกว่า การที่เราทำงานอยู่ที่ชุมชนของเราก็ก่อให้เกิดการสร้าง รายได้
  • 12. 10 คำตอบ เรามีหน้าที่แค่สร้างความมั่นใจให้เขา คือเราเรียนรู้จากการปฏิบัติจากพ่อแม่ของเรา นั่นคือท่านปฏิบัติทุก อย่างเลย ถ้าเด็กเขาเห็นตรงนี้ ดังนั้น เราก็ต้องปฏิบัติให้เขาเห็น พอมาถึงสถาบัน อาจารย์ก็ต้องปฏิบัติสอนให้เขา เห็น เรามีหน้าที่แค่บอก เขาจะฟังหรือไม่ฟัง มันเป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่มาฝึกงานกับผม ค่อนข้างจะมีทักษะที่ต่ำมาก แต่ผมก็บอกว่า เอาอย่างนี้ เดี๋ยวมาทำงานด้วยกัน ให้ลงสนามจริงเลย คือเขาก็จะเห็น สิ่งต่าง ๆ จากการที่เราพาไปทุกที่ ไปไซต์งานต่าง ๆ ไปคุยงานต่าง ๆ แล้วก็ให้นึกถึงวิชาความรู้ที่เราจะต้องเอามา ใช้ คือต้องคิดว่าบทบาทที่เราจะเอาไปประกอบเป็นผลงาน สุดท้ายแล้วมันจะเป็นอย่างไร ส่วน social media อย่างน้อยมันก็มีประโยชน์ ลูกผมเองก็เล่นเกม แต่ว่า ผมก็ให้เขาทำงานบ้านด้วยเหมือนกัน ยังไงเราก็ต้องเหนื่อยใน การบ่นลูกหน่อย แล้วเราก็ต้องปฏิบัติให้เขาเห็นด้วย เราต้องสอนแบบ “เซน” คือไม่พูดมาก แต่ทำให้เห็น พอ เห็นแล้วก็ให้เขารู้ว่าวิชาที่เขาเรียนจะไปสู่วิชาชีพอย่างไรโดยการให้เขาลงสนามทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการจัด กิจกรรมขายของในมหาวิทยาลัย หรือแสดงนิทรรศการผลงานของเขาเอง ผมคิดว่าตรงนี้มันจะเป็นประสบการณ์ สถานศึกษาที่ทำให้เกิดการรู้จักกาทำงานในอนาคตได้ พอเวลาจบมา เขาจะได้สร้างงานในกิจการของตัวเองได้ ผม สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมให้เด็กได้ทำบ้าง แม้ว่ามันจะล้มเหลวก็ตาม มันอาจจะขาดทุน แต่การขาดทุนนี้ จะกลายเป็นกำไรในอนาคต การทำกิจกรรมมันคือการได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้เลย นอกจากนี้เราก็ ยังได้ connection ด้วย เป็นการสร้างมิตรภาพตอนเรียน พอเด็กในรุ่นนี้โตขึ้นมาก็ได้ connection ในการทำงาน นอกจากนี้ จะต้องเอาผลงานของเราไปประกวดด้วย เพื่อทำให้ผลงานของเราเป็นที่รู้จัก และใช้เป็นช่องทางในการ สื่อสารผลงานของเราออกไปให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ สิ่งนี้จะทำให้โอกาสของภูมิปัญญาหรือว่านำสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา ไปสร้างรายได้ แล้วเขาก็จะกลับไปสู่ชุมชนได้ พอกลับมาสู่ชุมชน เขาก็หาต้นความคิด ก็คือวัสดุในชุมชน ช่างฝีมือ ในชุมชน ผมว่าการปฏิบัติสอนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตัวเราเองก็เรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติสอนเองได้เช่นกัน อีกทั้งผม เดินทางอยู่บ่อย ๆ มันก็เหมือนกับการเปิดโลก พอมีโอกาสก็ชวนเขาเดินทางไปดูสิ่งต่าง ๆ แล้วเขาจะได้เห็นว่า สิ่ง ที่เขาทำมันสามารถที่จะกลับมาสู่ชุมชนเขาได้อย่างไร คำถาม 3 จากการที่คุณกรกตเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง เลยอยากทราบว่า ความสามารถทางภูมิปัญญา ของชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยยังมีอยู่อีกเยอะไหม คำตอบ ตอนนี้ในประเทศไทยของเรามี "artisan" ที่มีความเป็นช่างในชุมชนมากอยู่ทีเดียว ผมชอบเดินทางไปด้วย การขับรถเอง นี่ก็เป็นเรื่องของการเรียนรู้เหมือนกัน เพราะว่าเราต้องไปสัมผัส นี่การเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ผมชอบดูต้นไม้ ผมชอบดูพื้นราบ แล้วก็ผมชอบดูต้นไม้ที่มันขึ้นตามถิ่นเฉพาะ เช่นผมเดินทางตั้งแต่ จังหวัดสุรินทร์จนถึงอุดรธานี ผมเห็นทุ่งกุลาร้องไห้ที่มันมีดิน แล้วก็มีทรายสีชมพู แล้วเวลาแดดมันส่องลงมา ผมคิด ว่ามันสวยมาก แล้วมันก็มีพื้นที่ที่เขาทำให้เกิดภูมิปัญญาได้ โดยการที่เขาสามารถเอาเส้นใยจากตัวหนอนมาทำเป็น ผ้าทอที่สง่างามมากของพระมหากษัตริย์ของเรา พอขึ้นไปบนอีสานตอนบน ทางจังหวัดสกลนคร และนครพนม ก็
  • 13. 11 จะทอผ้าฝ้าย ซึ่งลักษณะการย้อมด้วยครามของเขามีเอกลักษณ์มาก นี่คือการใช้พืชกับสัตว์เข้ามาเกี่ยวของกับเส้น ใยที่เป็นเรื่องของเครื่องนุ่งห่ม อีกทั้ง เราควรไปเรียนรู้กับคนที่เป็น artisan ต่าง ๆ แม้กระทั่ง ช่างตัดผม คนถีบ สามล้อ คนขายพวงมาลัย ผมชอบสัมผัสกับความเป็นศิลปะพื้นบ้านซึ่งมันเป็นความงาม ทำให้เรารู้สึกว่า สิ่งนี้มัน เป็นความหลากหลายที่อยู่ในประเทศไทย แล้วก็เป็นเรื่องของสิ่งที่มันเป็นสีสัน เวลาผมไปในที่ต่าง ๆ แต่ละภาคของ ประเทศไทย มันก็จะมีความแตกต่างหลากหลายอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิต มันเป็นเรื่องของการที่เราได้เสพความ เป็นสุนทรียะ แล้วมันก็เป็นการเดินทางไปหาแรงบันดาลใจของตัวเอง ในชีวิตประจำวันของเรา เราอยู่ด้วยภูมิ ปัญญาแล้วเรารู้สนุกกับมัน ก็มีความสุขมากทีเดียว แล้วเราก็จะรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่อยู่ทุกวัน คำถาม 4 จากที่ฟังคุณกรกตเล่าเกี่ยวกับการลงทำงานร่วมกับชุมชน ทำอย่างไรให้กลุ่มคนในชุมชนเขาจะมีภูมิ ปัญญา แล้วดึงเขาให้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม ๆ ที่เขาเคยทำมาให้ได้ คำตอบ ส่วนนี้มันเป็นเทรนด์ในเรื่องของการที่จะออกแบบให้กับทีมช่าง ก็ให้ลองไปหาค้นคว้าเทรนด์ต่าง ๆ เลย แล้วเอามาพัฒนาแบบให้กับเขา พอเวลาออกแบบแล้ว ถ้าในท้ายที่สุดเขามองไม่เห็นปลายทางจากประสบการณ์ที่ เราไปออกแบบให้เขา เขาไม่เห็นจะขายอะไรได้เลย เมื่อเป็นแบบนี้ เราจะต้องหาเทรนด์จากระบบนิเวศที่อยู่ รอบตัวของคนในชุมชน ในการที่จะยกระดับเขาขึ้นมา คุณจะต้องพาเขาไปลงสนามการทำงานจริงให้ได้ เช่น พา ไปออกงานแฟร์ต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศของเขา เขาจะได้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมของการ ออกแบบเหล่านั้นอยู่ในระบบนิเวศของเขา ที่สำคัญ จะต้องทำเรื่องการตลาดให้กับเขาด้วย ถ้าเขาทำเองไม่ได้ คุณ จะต้องเป็น sub design ให้เขา ขอเพียงแค่ให้เขาได้ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ที่เขาจะทำ มันขึ้นมา