SlideShare a Scribd company logo
1 of 24
Download to read offline
บทที่ 8
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข
และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
หากพิจารณาหลักดาเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทางสาธารณสุข จะประกอบไปด้วยการ
คุ้มครองผู้บริโภคใน 2 ลักษณะ คือ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งได้อธิบาย
ในบทที่ผ่านมาแล้ว และอีกลักษณะหนึ่งคือ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับบริการทางสุขภาพ ซึ่ง
บริการสาธารณสุขหรือบริการทางสุขภาพ จะครอบคลุมเนื้อหาทั้งสถานพยาบาล และการประกอบโรค
ศิลปะ นอกจากนี้แล้วยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากในปัจจุบัน คือ สปา ทั้งนี้
เพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณารายละเอียดที่ถูกต้องของสถานที่ให้บริการสาธารณสุข และบริการที่เกี่ยวข้อง
กับสุขภาพ เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเข้ารับบริการจากทั้งสถานพยาบาล และสถานบริการทาง
สุขภาพดังกล่าว
การมีสุขภาพดีเป็นความต้องการพื้นฐานของทุกคน ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีของบุคคลจะมีปัจจัย
หลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา พันธุกรรม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ
โดยมีระบบบริการสาธารณสุขที่รัฐต้องจัดให้เป็นส่วนที่มีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพของบุคคล เพราะ
หากเจ็บป่วยก็ต้องการที่จะได้รับการรักษาทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้หายและกลับคืนสู่
สภาพปกติ ซึ่งบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขถือเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย การดาเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข จะเกี่ยวข้องกับกฎหมาย
หลายฉบับ จึงขออธิบายในประเด็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
สถานพยาบาล
1. ความหมายของสถานพยาบาล
กฎหมายที่ดูแลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพอนามัย คือ พระราชบัญญัติ
สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ซึ่งมีสาระสาคัญดังนี้
สถานพยาบาล หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ
โรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วย
วิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การ
ประกอบวิชาชีพกายภาพบาบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบาบัด หรือการประกอบวิชาชีพ
เทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ทั้งนี้ โดยกระทาเป็นปกติธุระไม่ว่าจะ
ได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ซึ่งประกอบธุรกิจ
ขายยาโดยเฉพาะ
ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การ
พยาบาลการผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบาบัด เทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ
อื่นตามที่รัฐมนตรีกาหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
126
2. ประเภทของสถานพยาบาล (สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558)
กฎหมายกาหนดไว้ 2 ประเภท คือ สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และ
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
2.1 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนขึ้นกับผู้ประกอบวิชาชีพ ดังนี้
2.1.1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีสิทธิได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการตาม
ประเภทและลักษณะการให้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือ
อนุมัติบัตรจากแพทยสภา โดยสถานพยาบาลมีลักษณะการให้บริการเป็นคลินิกเวชกรรม หรือสหคลิก
นิกที่ให้บริการด้านเวชกรรม คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางหรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านเวชกรรมเฉพาะ
ทางโดยจะต้องมีแพทย์จานวน 1 คน
2.1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากทันตแพทย
สภาจานวน 1 คน มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการตามประเภทและลักษณะการให้บริการทาง
การแพทย์ของสถานพยาบาล โดยมีลักษณะการให้บริการเป็น คลินิกทันตกรรม หรือสหคลินิกที่ให้บริการ
ด้านทันตกรรม คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านทันตกรรมเฉพาะทาง
2.1.3 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ
ให้บริการเป็นคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการพยาบาล การดูแล
มารดาและทารกก่อนและหลังคลอด ยกเว้นการทาคลอด
2.1.4 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขากายภาพบาบัด ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก
กายภาพบาบัด หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านกายภาพบาบัด
2.1.5 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาเทคนิคการแพทย์ ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก
เทคนิคการแพทย์ หรือ สหคลินิกที่ให้บริการด้านเทคนิคการแพทย์
2.1.6 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก
การแพทย์แผนไทยหรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
2.1.7 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ลักษณะการให้บริการ
เป็น คลินิกการแพทย์แผนประยุกต์หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์
แผนประยุกต์
127
ตารางที่ 8.1 ลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ลักษณะของ
สถานพยาบาล
ลักษณะการให้บริการ ผู้ดาเนินการ จานวน(คน)
1.คลินิกเวชกรรม จัดให้มีบริการด้านเวชกรรมใน
ระดับเวชปฏิบัติทั่วไป
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ≥1
2.คลินิกเวชกรรม
เฉพาะทาง
จัดให้มีบริการด้านเวชปฏิบัติทั่วไป
และเวชปฏิบัตเฉพาะทาง
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับ
วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรจาก
แพทยสภาในสาขานั้นๆ
สาขาที่ได้รับ
อนุญาต สาขาละ
≥1
3.คลินิกทันตกรรม จัดให้มีบริการด้าน
ทันตกรรมทั่วไป
ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ≥1
4.คลินิกทันตกรรม
เฉพาะทาง
จัดให้มีบริการด้าน
ทันตกรรมทั่วไป และ
ทันตกรรมเฉพาะทาง
ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้รับ
วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรจาก
ทันตแพทยสภาในสาขานั้นๆ
สาขาที่ได้รับ
อนุญาต สาขาละ
≥1
5.คลินิกการ
พยาบาลและการ
ผดุงครรภ์
จัดให้มีบริการการพยาบาลการ
ดูแลมารดาและทารกก่อนและ
หลังคลอด ยกเว้นการทาคลอด
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์
≥1
6.คลินิก
กายภาพบาบัด
จัดให้มีบริการด้านกายภาพบาบัด ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา
กายภาพบาบัด
≥1
7.คลินิกเทคนิค
การแพทย์
จัดให้มีบริการด้านเทคนิค
การแพทย์
ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิค
การแพทย์
≥1
8.คลินิกการแพทย์
แผนไทย
จัดให้มีบริการด้านการประกอบโรค
ศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา
การแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรม
ไทย การผดุงครรภ์ไทย หรืออื่นๆ
ตามที่รัฐมนตรีกาหนด
สาขาที่ได้รับ
อนุญาต สาขา
ละ ≥1
9.คลินิกการแพทย์
แผนไทยประยุกต์
จัดให้มีบริการด้านการประกอบ
โรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์
ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา
การแพทย์แผนไทยประยุกต์
≥1
10.สหคลินิก จัดให้มีบริการตามข้อ 1-9 ตั้งแต่
2 ลักษณะขึ้นไป
ผู้ประกอบวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งที่
ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น
สาขาที่ได้รับ
อนุญาต สาขาละ
≥1
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ข.
128
ข้อปฏิบัติสาหรับสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
1. จะมีป้ายแสดงชื่อคลินิกถูกต้องตรงตามมาตรฐาน ตัวอย่าง เช่น
- ขนาดความกว้างของป้ายไม่น้อยกว่า 40 ซม. และความยาวไม่น้อยกว่า 120 ซม.
- ตัวอักษรแสดงชื่อสถานพยาบาลสูงไม่น้อยกว่า 10 ซม.
- แสดงเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลมีความสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม.
- สีพื้นแผ่นป้ายสีขาว สีตัวอักษรใช้ตามประเภทของสถานพยาบาล
2. แสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดาเนินการสถานพยาบาลไว้
ที่สถานพยาบาลให้เห็นอย่างเด่นชัด
3. มีการแสดงรูปถ่ายแพทย์ผู้ให้บริการบนป้ายสีน้าเงินและมีชื่อตัวอักษรสีขาว ระบุเลขที่ใบ
ประกอบวิชาชีพซึ่งจะต้องตรงกับคนที่ให้บริการรักษาอยู่
4. มีการติดประกาศสิทธิผู้ป่วยในที่เปิดเผย
5. มีการแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาลในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
6. มีการติดป้ายว่าท่านจะสอบถามค่ารักษาพยาบาลได้ที่ใด
7. มีชื่อสถานพยาบาลแสดงไว้หน้าซองหรือฉลากบรรจุยา
ภาพที่ 8.1 ตัวอย่างป้ายของสถานพยาบาลที่ถูกต้อง
ที่มา : สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558
ตารางที่ 8.2 สีตัวอักษรที่ใช้ทาป้ายชื่อสถานพยาบาล
สถานพยาบาล สีตัวอักษร
1. คลินิกเวชกรรม/คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง สีเขียว
2. คลินิกทันตกรรม/คลิกนิกทันตกรรมเฉพาะทาง สีม่วง
3. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สีฟ้า
4. คลินิกกายภาพบาบัด สีชมพู
5. คลินิกเทคนิคการแพทย์ สีเลือดหมู
6. คลินิกการแพทย์แผนไทย สีน้าเงิน
7. คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สีน้าตาล
8. สหคลินิก สีเขียวแก่
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ข.
129
ตารางที่ 8.3 รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสถานพยาบาล
มาตรฐานสถานพยาบาล ผิดมาตรา ฝ่าฝืนมาตรา บทกาหนดโทษ
ไม่แสดงสิ่งต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้
- ใบอนุญาต 31 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ชื่อสถานพยาบาล 32(1) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ 32(2) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- อัตราค่ารักษาพยาบาล/แสดงว่าสอบถามได้ที่ใด 32(3) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
การประกอบวิชาชีพ
- ไม่พบผู้ประกอบวิชาชีพตามลักษณะสถานพยาบาล 35(1) 65 ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ที่มา : สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558
2.2 สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนกับประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ดังนี้
2.2.1 โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ลักษณะการให้บริการเป็น โรงพยาบาล
สถานพยาบาลเวชกรรมหรือดสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
2.2.2 โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ลักษณะการให้บริการเป็นสถานพยาบาล
ทันตกรรม
2.2.3 โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ
ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการผดุงครรภ์หรือสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
2.3.4 โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ
ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการผดุงครรภ์
2.3.5 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขากายภาพบาบัด ลักษณะการให้บริการเป็น
สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
2.3.6 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ลักษณะการให้บริการให้บริการ
เป็นสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย
2.3.7 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ลักษณะการให้บริการ
ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์
3. ลักษณะของสถานที่ตามมาตรฐานสถานพยาบาล
สถานที่ตามมาตรฐานสถานพยาบาล มีลักษณะดังนี้ (สานักสถานพยาบาลและการประกอบ
โรคศิลปะ, 2558)
3.1 ตั้งอยู่ในทาเลที่สะดวก ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.2 ในกรณีใช้พื้นที่ประกอบกิจการสถานพยาบาลในอาคารเดียวกับกิจการอื่น ต้องแบ่ง
สถานที่ให้บริการให้ชัดเจนเป็นสัดส่วน ไม่กระทบกระเทือนต่อการประกอบวิชาชีพ และสามารถ
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้
130
3.3 กรณีมีการให้บริการของสถานพยาบาลหลายลักษณะ หรือหลายสาขารวมอยู่ในอาคาร
เดียวกัน จะต้องแบ่งให้เป็นสัดส่วนชัดเจน และแต่ละส่วนต้องมีพื้นที่และลักษณะตามมาตรฐานของการ
ให้บริการนั้น
3.4 พื้นที่การประกอบกิจการสถานพยาบาลจะต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับร้านขายยา และ
การประกอบวิชาชีพอื่นๆ
3.5 มีห้องน้าห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่างน้อย 1 ห้อง
3.6 อาคารต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่อยู่ในสภาพชารุด และเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สอย
3.7 มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ ไม่มีกลิ่นอับทึบ
3.8 การสัญจรและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องกระทาได้โดยสะดวก
3.9 บริเวณทั้งภายนอกและภายในต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอย
อย่างเหมาะสม และมีสิ่งอานวยความสะดวกผู้ป่วย
3.10 มีห้องตรวจและห้องให้การรักษาเป็นสัดส่วนและมิดชิด
3.11 หากมีการบริการเอกซเรย์ด้วย การบริการจะต้องได้มาตรฐานและได้รับอนุญาตจาก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
3.12 มีการเก็บและกาจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม (ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.
2535)
3.13 มีระบบควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม
3.14 มีความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ในการประกอบวิชาชีพหรือ
การประกอบโรคศิลปะสาขานั้นๆ
4. คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาล
การพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดาเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่า
ผู้ขอรับใบอนุญาตมีคุณสมบัติ ดังนี้ (สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558)
4.1 เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบ วิชาชีพการผดุงครรภ์
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม แต่บุคคลเช่นว่านั้น
จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการ ตามประเภทใด หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้
เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
4.2 ไม่เป็นผู้ดาเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง แต่ในกรณีที่เป็น ผู้ดาเนินการประเภทที่รับ
ผู้ป่วยไว้ค้างคืนอยู่แล้วแห่งหนึ่ง จะอนุญาตให้เป็น ผู้ดาเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอีกแห่งหนึ่ง
ไม่ได้
4.3 เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
ผู้เป็นเจ้าของหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ใช้สถานที่เพื่อประกอบกิจการ
สถานพยาบาล ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- อายุไม่น้อยกว่า 20 ปี
- มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
- ไม่เคยได้รับโทษจาคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทาโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
131
- ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
5. บทลงโทษผู้กระทาผิดกฎหมาย
5.1 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและ เห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
5.2ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณสถานพยาบาลนั้น
5.2.1 ชื่อสถานพยาบาล
5.2.2 รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์
ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งประกอบ วิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น
5.2.3 อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดง
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
5.3 ผู้รับอนุญาตและผู้ดาเนินการของสถานพยาบาลต้อง ควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือ
เยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจาเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้
ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เมื่อให้การ
ช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยแล้ว ถ้ามีความจาเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการ
รักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดาเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยัง
สถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ผู้รับอนุญาตหรือ ผู้ดาเนินการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจาคุกไม่
เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
5.4 ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดาเนินการโฆษณาหรือ ประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณา
หรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาล หรือคุณวุฒิ หรือความสามารถ
ของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดย
ใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสาคัญ
เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดาเนินการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืน ทั้งนี้ จนกว่าจะ
ระงับการโฆษณาดังกล่าว
6. สถานพยาบาลที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายสถานพยาบาล
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ได้ระบุหลักเกณฑ์การยกเว้น
สถานพยาบาลที่ไม่ต้องอยู่ในบังคับของ พรบ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541 คือสถานพยาบาลว่าต้องมี
ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
6.1 เป็นสถานพยาบาลที่จัดให้บริการด้านการรักษาพยาบาลการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพ
อนามัยและการควบคุมและป้องกันโรค ในลักษณะที่เป็นการจัดสวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน
ลูกจ้าง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ได้มีความประสงค์ที่จะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อหวังผลกาไรตอบ
แทน และเป็นการจัดสวัสดิการของ
6.1.1 รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
6.1.2 องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
132
6.1.3 สถานศึกษาของเอกชน
6.1.4 นายจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานและสวัสดิการสังคม
6.1.5 ผู้ให้บริการขนส่งผู้โดยสารในยานพาหนะต่างๆ
6.2 เป็นสถานพยาบาลที่ใช้ยานพาหนะในการออกไปให้บริการเคลื่อนที่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง
เป็นการชั่วคราว และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือสงเคราะห์โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการใดๆ ไม่ว่าจะ
เป็นการจัดให้บริการขององค์กรการกุศลต่างๆ มูลนิธิ สถานพยาบาลเอกชนหรือของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
โดยผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
6.3 เป็นสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ที่ใช้
ยานพาหนะเป็นที่ให้บริการไปยังหน่วยงานที่ร้องขอเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพ พนักงาน นักศึกษา ตาม
สัญญาประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจาปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานนั้น เช่น
6.3.1 รถเอ๊กซเรย์ ต้องมีมาตรฐานและได้รับอนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
และมีนักรังสีวิทยาเป็นผู้ให้บริการ กรณีมีการให้บริการชันสูตรร่วมด้วย ต้องมีนักเทคนิคการแพทย์เป็นผู้
ให้บริการ
6.3.2 รถทันตกรรม ต้องมีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด และให้บริการ
โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
6.3.3 รถปฏิบัติการชันสูตร ต้องมีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด และ
ให้บริการโดยนักเทคนิคการแพทย์
6.3.4 เป็นสถานพยาบาล ณ ที่พานักของผู้ป่วย โดยผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ประกอบการ
วิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ
7. การจัดทาค่ารักษาพยาบาล และการแสดงสิทธิผู้ป่วย
7.1 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการของสถานพยาบาล โดย
จัดทาเป็นบัญชีกาหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการอื่น อาจทาเป็นแผ่นประกาศ แผ่นพับ หรือ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยแสดงไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ชัดเจน ณ สถานพยาบาล
7.2 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วย โดยจัดทาเป็นป้าย ติดแสดง
ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล (ขอป้ายได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สานักงาน
สาธารณสุขจังหวัด)
7.3 จัดทาป้ายให้อ่านได้ชัดเจนด้วยตัวอักษรไทยขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
(ไม่กาหนดขนาดและสีของป้าย) แสดงให้ผู้ป่วยทราบว่าจะสอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาลและ
ค่าบริการของสถานพยาบาลได้ที่ใด โดยแสดงไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน
133
การบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วยซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตาม
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่กาหนดไว้ ดังนี้
1. แสดงรายละเอียดของอัตราค่ารักษาพยาบาลตามบริการที่จัดให้มีของสถานพยาบาลไว้
ดังต่อไปนี้
1.1) ค่าบริการทางการแพทย์ (Hospital Medical Expenses)
1) ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด
2) ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
3) ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต
4) ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา
6) ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา
7) ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ
8) ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์
9) ค่าห้องผ่าตัดและห้องคลอด
10) ค่าบริการทางทันตกรรม
11) ค่าบริการทางกายภาพบาบัด
12) ค่าบริการฝังเข็ม
13) ค่าบริการการพยาบาลของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
14) ค่าบริการของผู้ประกอบโรคศิลปะ
15) ค่าบริการเหมาจ่ายการรักษาพยาบาล
1.2) ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางการแพทย์(Health Professional Fees)
1) ค่าตรวจรักษาทั่วไปของผู้ประกอบวิชาชีพ
2) ค่าทาศัลยกรรมและหัตถการต่างๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพ
3) ค่าปฏิบัติการอื่นๆของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น ออกใบรับรองแพทย์ ค่าปรึกษาแพทย์
ค่าวิสัญญี
2. ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องแสดงรายละเอียดของค่าบริการอื่น
ของสถานพยาบาลตามบริการที่จัดให้มีไว้ ดังต่อไปนี้
2.1) ค่าห้องหรือค่าเตียงผู้ป่วยในประเภทต่างๆ
2.2) ค่าห้องหรือค่าเตียงสาหรับใช้สังเกตอาการ การพักฟื้น หรืออื่นๆ
2.3) ค่าอาหารผู้ป่วยใน
2.4) ค่าบริการและเก็บรักษาศพ
2.5) ค่าบริการอื่นๆ
3. ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องแสดงรายละเอียดถึงสิทธิของผู้ป่วยที่
พึงได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพ
134
สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการ และตระหนักถึงความสาคัญของการให้ความ
ร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา
สภากายภาพบาบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออก
ประกาศรับรองสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ไว้ดังต่อไปนี้ (แพทยสภา, 2558)
สิทธิของผู้ป่วย
1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตาม
มาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการ
เจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้
ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจาเป็นเร่งด่วน และเป็นอันตรายต่อชีวิต
3. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพ
ด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจาเป็นแก่กรณี โดยไม่คานึงถึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
4. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน
5. ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การ
รักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ หรือเปลี่ยน
สถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่
6. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการ
ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย
7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการ
เป็นผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทาวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
8. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏใน
เวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิ
หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น
9. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปด
ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
ภาพที่ 8.2 องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพที่ร่วมกันออกคาประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
ที่มา : แพทยสภา, 2558
135
ข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
1. สอบถามเพื่อทาความเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงนามให้ความยินยอม
หรือไม่ยินยอมรับการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล
2. ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ที่เป็นจริงและครบถ้วนแก่ผู้
ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล
3. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามคาแนะนาของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเกี่ยวกับการ
รักษาพยาบาล ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ให้แจ้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทราบ
4. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานพยาบาล
5. ปฏิบัติต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งผู้ที่มาเยี่ยมเยียนด้วยความสุภาพให้เกียรติ
และไม่กระทาสิ่งที่รบกวนผู้อื่น
6. แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานที่ตนมีให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ
7. ผู้ป่วยพึงรับทราบข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้
7.1 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรม ย่อมได้รับ
ความคุ้มครองตามที่กฎหมายกาหนดและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม
7.2 การแพทย์ในที่นี้ หมายถึง การแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
โดยองค์ความรู้ในขณะนั้นว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษสาหรับผู้ป่วย
7.3 การแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ
7.4 การรักษาพยาบาลทุกชนิด มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ เหตุ
สุดวิสัยอาจเกิดขึ้นได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ ตามภาวะ
วิสัยและพฤติการณ์ในการรักษาพยาบาลนั้นๆ แล้ว
7.5 การตรวจเพื่อการคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามการรักษาโรค อาจให้ผลที่คลาดเคลื่อน
ได้ด้วยข้อจากัดของเทคโนโลยีที่ใช้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามมาตรฐานการ
ปฏิบัติงาน
7.6 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีสิทธิใช้ดุลพินิจในการเลือกกระบวนการรักษาพยาบาล
ตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ตามความสามารถและข้อจากัด ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่มีอยู่
รวมทั้งการปรึกษาหรือส่งต่อโดยคานึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย
7.7 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจให้คาแนะนาหรือส่งต่อ
ผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจาเป็นเร่งด่วนและ
เป็นอันตรายต่อชีวิต
7.8 การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้
ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อกระบวนการรักษาพยาบาล
7.9 ห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาล ใช้สาหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอันจาเป็นเร่งด่วนและเป็น
อันตรายต่อชีวิต
136
สถานบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพเพิ่มจานวนมากขึ้น โดยการประยุกต์เอาเรื่อง
การอาบน้าอบสมุนไพร อบไอน้า การนวด และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ มาประกอบกันใน
การให้บริการ หรือบางแห่งก็นาเอารูปแบบการบริการสปา จากต่างประเทศมาให้บริการก็มี และ
เนื่องจากลักษณะของกิจการ มีลักษณะเป็นสถานอาบ อบ นวด ที่มีผู้ให้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นกิจการที่
เข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตามกฎหมายสถานบริการ และเข้าข่ายเป็นกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
ซึ่งต้องดูแลด้านสุขาภิบาล ได้แก่ เรื่องความสะอาด และสุขลักษณะ ตามกฎหมายการสาธารณสุข
นอกจากนี้แล้ว การจะประกอบกิจการได้ ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม พรบ.ภาษีสรรพสามิตกฎหมายว่าด้วยการ
ควบคุมอาคาร ฯลฯ การประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจึงกฎหมายหลัก และกฎหมายอื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องด้วย เพื่อควบคุมและดูแลให้มีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยรัฐบาลมีนโยบายให้การ
สนับสนุนกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงกาหนดให้
การใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานหนึ่ง ในการควบคุมดูแลกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน
และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้มารับบริการ ผู้ให้บริการ และผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงสถาน
ประกอบการ รวมไปถึงเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติต่อไป
1. ความหมายของสถานบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
สถานบริการที่เกี่ยวข้องทางสุขภาพมีความหลากหลาย ตามลักษณะของการให้บริการ
ดังนั้นจึงต้องทาความเข้าใจ ความหมาย ขอบเขต และลักษณะของบริการให้ถูกต้อง ซึ่งตามกฎหมาย
ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 (กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข) และตาม
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสถานบริการ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.
2546 (กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ) สรุปได้ดังนี้ คือ (กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ง)
กิจการนวดเพื่อสุขภาพ หมายความว่า การประกอบกิจการนวดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การตัด
การดึง การประคบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ต้องไม่มี
สถานที่อาบน้าโดยมีผู้ให้บริการ
กิจการนวดเพื่อเสริมสวย หมายความว่า การประกอบกิจการนวดในสถานที่เฉพาะ เช่น
ร้ามเสริมสวยหรือแต่งผมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ
การประคบ การอบ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามศิลปะการนวดเพื่อเสริมสวย
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และเสริมสร้าง
สุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการใช้น้าเพื่อสุขภาพ โดยอาจมี
บริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบาบัดและการ
ควบคุมอาหาร โยคะ และการทาสมาธิ การใช้สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตลอดจนการแพทย์
ทางเลือกอื่นๆ หรือไม่ก็ได้
137
2. ประเภทของสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
มีการแบ่งประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไว้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะพิจารณาจาก
นิยามขององค์กรสปาระหว่างประเทศ (International Spa Association: ISPAEurope) ซึ่งจัดตั้งขึ้น
เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสปา ได้แบ่งธุรกิจสปาออกเป็น 7 ประเภท
ดังนี้
2.1 เดสทิเนชั่นสปา (Destination Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่มีจุดมุ่งหมายใน
การให้บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง (Fitness) ผู้รับบริการเมื่อเข้าไปรับบริการแล้วจะรู้สึกถึง
ความสุขสดชื่น มีชีวิตชีวา(Rejuvenation) มีบริการหลักประกอบด้วย การนวดและวารีบาบัด โดยมี
บริการเสริมอื่นๆ เช่น การดูแลรักษารูปร่าง การควบคุมน้าหนัก โภชนบาบัด โยคะ การทาสมาธิ ดนตรี
บาบัด อาชีวบาบัด ฯลฯ โดยมีผู้ให้บริการในลักษณะของทีมบาบัด ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์
พนักงานนวด รวมทั้งมีการจัดบริการในลักษณะของการให้คาปรึกษา การตรวจและประเมินสุขภาพ การ
กาหนดโปรแกรมและเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
2.2 โรงแรมและรีสอร์ทสปา (Hotel & Resort Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปา ที่ตั้ง
อยู่ในโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ เป็นบริการเสริมที่โรงแรมและรีสอร์ทเหล่านั้นจัดขึ้นสาหรับลูกค้าที่เข้ามา
พักที่โรงแรมและรีสอร์ท รวมทั้งบุคคลภายนอก เพื่อการผ่อนคลาย เพื่อการเสริมสร้าง ฟื้นฟูความมี
ชีวิตชีวาแก่ผู้มารับบริการ และเพื่อการเสริมสวย เสริมความงาม รายการบริการที่จัดให้มี เช่น การนวด
การใช้น้าเพื่อสุขภาพ การอบ ประคบสมุนไพร การเสริมความงามใบหน้าและร่างกาย อาหารและ
เครื่องดื่มสมุนไพร ฟิตเนส โยคะ สมาธิ เป็นต้น โดยมีผู้ให้บริการประกอบด้วย ผู้ดาเนินการสปา
พนักงานสปา พนักงานนวด จัดบริการในลักษณะของการต้อนรับแนะนาการใช้บริการ และให้บริการ
ตามที่ผู้มารับบริการเลือกใช้ ส่วนใหญ่เป็นรายการบริการที่ใช้ระยะเวลา 1-6 ชั่วโมงต่อครั้งต่อวัน
2.3 เดย์สปา (Day Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่มี
ห้องพัก มีจุดมุ่งหมายการบริการเพื่อการผ่อนคลาย หลังภารกิจประจาวัน หรือ ประจาสัปดาห์ เพื่อการ
ฟื้นฟูหรือเสริมสมรรถนะของร่างกาย การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ การใช้น้าเพื่อสุขภาพ เช่น สระน้า
อ่างน้าวน บ่อน้าร้อน-น้าเย็น การนวด การใช้สมุนไพรเพื่อการอบ ประคบ สุคนธบาบัด (Aromatherapy)
การเสริมสวย ฯลฯ ผู้ให้บริการประกอบด้วย พนักงานนวด พนักงานเสริมสวย โดยมีการจัดบริการให้
ผู้รับบริการเลือกได้ตามรายการที่กาหนด ใช้ระยะเวลาในการให้บริการ 1-6 ชั่วโมงต่อครั้งต่อวัน
2.4 เมดีคอลสปา (Medical Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่ให้บริการในสถานพยาบาล
มีจุดมุ่งหมายเพื่อการบาบัดรักษาโรค (Curative & Treatment) ฟื้นฟูสมรรถภาพจากการเจ็บป่วย
(Rehabilitation) และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ( Health Promotion & Fitness) โดยมีบุคลากรทาง
การแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ให้บริการ
2.5 น้าพุร้อนสปา (Mineral Springs Spa) คือ สปาที่อยู่ใกล้หรือใช้ประโยชน์จากน้าพุร้อน
ธรรมชาติ หรือ น้าแร่ธรรมชาติ โปรแกรมการบริการจะเน้นการบาบัด โดยการใช้ความร้อนของน้า หรือ แร่
ธาตุต่างๆ เช่น ใช้เกลือมาเป็นส่วนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น สปาที่ตั้งอยู่ตามแหล่งบ่อน้าร้อน ในประเทศไทยมี
โอกาสที่จะพัฒนาแหล่งน้าพุร้อนธรรมชาติหลายแห่ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีในอนาคต เช่น
ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ระนอง สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
138
2.6 คลับสปา (Club Spa) คือ สปาที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะสมาชิก (Member) โดยเน้น
การให้ความสะดวกสบาย และครบครันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการออกกาลังกายและดูแลสุขภาพร่างกาย
พร้อมกับบริการด้านอื่นๆ เพื่อสุขภาพหรือการกีฬา เช่น สปาในสนามกอล์ฟ สปาในสถานออกกาลังกาย
(Health Club/Fitness Center)
2.7 สปาบนเรือสาราญ (Cruise Ship Spa) คือ สถานบริการสปาบนเรือสาราญผสานกับ
การออกกาลังกาย และการจัดเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสุขสบาย และรู้สึกผ่อน
คลายในระหว่างการเดินทาง
3. มาตรฐานกิจการสปาเพื่อสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ง)
3.1 มาตรฐานสถานที่
3.1.1 ตั้งอยู่ในทาเลที่มีความสะดวก ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่อยู่
ใกล้ชิด ศาสนสถานในระยะที่จะก่อให้เกิดปัญหา หรืออุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจ
3.1.2 ในกรณีที่ใช้พื้นที่ประกอบกิจการสปา ในอาคารเดียวกันกับการประกอบกิจการอื่น
ซึ่งมิใช่กิจการสถานบริการ ต้องแบ่งสถานที่ให้ชัดเจน และกิจารอื่นนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการ
ให้บริการในกิจการ สปาเพื่อสุขภาพนั้น
3.1.3 พื้นที่สถานประกอบการจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่ติดต่อกับสถานบริการตามกฎหมาย
ว่าด้วยสถานบริการ
3.1.4 กรณีสถานประกอบการ มีการให้บริการหลายลักษณะรวมอยู่ในอาคารเดียวกัน
หรือสถานที่เดียวกัน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน และแต่ละสัดส่วนจะต้องมีพื้นที่และลักษณะ
ตามมาตรฐานของการให้บริการแต่ละประเภท
3.1.5 การจัดบริเวณที่ให้บริการเฉพาะบุคคล จะต้องไม่ให้มิดชิดหรือลับตาจนเกินไป
3.1.6 พื้นที่ที่ให้บริการทั้งภายในภายนอกสถานที่ประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพต้อง
สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
3.1.7 อาคารต้องทาด้วยวัสดุที่มั่นคง ถาวร ไม่ชารุด และไม่มีคราบสิ่งสกปรก
3.1.8 บริเวณพื้นที่ที่มีการใช้น้าในการให้บริการ พื้นควรทาด้วยวัสดุที่ทาความสะอาด
ง่ายและไม่ลื่น
3.1.9 จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอในการให้บริการแต่ละพื้นที่
3.1.10 จัดให้มีการระบายอากาศเพียงพอ
3.1.11 มีการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและน้าเสียที่ถูกหลักสุขาภิบาล
3.1.12 มีการควบคุมพาหะนาโรคอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
3.1.13 จัดให้มีห้องอาบน้า ห้องส้วม อ่างล้างมือ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและตู้เก็บเสื้อผ้า
ที่สะอาดถูกสุขลักษณะและปลอดภัยอย่างเพียงพอ และควรแยกส่วนชาย หญิง
3.1.14 จัดให้มีการตกแต่งสถานที่ที่เหมาะสม โดยจะต้องไม่มีลักษณะที่ทาให้เสื่อมเสีย
ศีลธรรม หรือขัดต่อวัฒนธรรมและประเพณีอันดี
139
3.2 มาตรฐานชื่อสถานประกอบการ
3.2.1 ชื่อสถานประกอบการต้องตรงตามประเภทกิจการ และตรงกับชื่อที่ได้ยื่นคาขอ
ใบรับรองมาตรฐาน โดยจะต้องติดตั้งป้ายชื่อไว้ด้านหน้าสถานประกอบการให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
3.2.2 ไม่สื่อความหมายในทางลามก อนาจาร หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ขนบธรรมเนียม
ศีลธรรมอันดีงาม
3.2.3 หากใช้ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกากับ
3.2.4 ชื่อสถานประกอบการจะต้องไม่ใช้คาหรือข้อความที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกิน
ความเป็นจริงหรือทาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าสถานที่ดังกล่าวมีการให้การบาบัดรักษาโรค
3.3 มาตรฐานผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
3.3.1 ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีผู้ดาเนินการคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการ
ดาเนินการสถานประกอบการนั้น ผู้ดาเนินการจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
1) มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์
2) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
3) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับประกาศนียบัตรในสาขาที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือสาขาที่
คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางรับรอง หรือให้ความเห็นชอบหรือ
ผ่านหลักสูตรผู้ดาเนินการสปาเพื่อสุขภาพที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถาน
ประกอบการกลางรับรอง
4) ผ่านการประเมินความรู้ ความสามารถ ตามที่คณะกรรมการตรวจและประเมิน
มาตรฐานสถานประกอบการกลางกาหนด
5) กรณีเคยเป็นผู้ดาเนินการมาก่อน แต่ถูกเพิกถอนใบประเมินความรู้ความสามารถ
จะต้องพ้นระยะเวลานับแต่วันที่ถูกเพิกถอนไม่น้อยกว่า 2 ปีจึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้
6) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด
ที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7) ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้
7.1) โรคพิษสุราเรื้อรัง
7.2) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
7.3) โรคจิตร้ายแรง
7.4) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินการสถานประกอบการ
7.8) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
7.9) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3.3.2 ผู้ดาเนินการต้องควบคุมดูแลกิจการของสถานประกอบการนั้นได้โดยใกล้ชิดและไม่
เป็นผู้ดาเนินการสถานประกอบการแห่งอื่นอยู่ก่อนแล้ว
3.3.3 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ หรือผู้ดาเนินการ ขาด
คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ผู้ประกอบการจะต้องจัดหาผู้ดาเนินการใหม่ และต้องแจ้งเป็นหนังสือ
ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สาหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขต
140
ท้องที่ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนผู้ดาเนินการ ในระหว่างที่ดาเนินการจัดหา
ผู้ดาเนินการใหม่ ให้กิจการสปาเพื่อสุขภาพนั้น ประกอบกิจการต่อไปได้แต่ไม่เกิน 30 วัน
3.4 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
3.4.1 ควบคุมและดูแลผู้ให้บริการในสถานประกอบการ ให้บริการตามนโยบายและคู่มือ
ปฏิบัติงานของสถานประกอบการแห่งนั้นโดยเคร่งครัด
3.4.2 จัดทาทะเบียนประวัติผู้ให้บริการและพนักงาน
3.4.3 ทุกครั้งที่มีการจัดบริการรายการใหม่หรือปรับปรุงบริการรายการใดๆ ในแบบแสดง
รายการหรือมีการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องดาเนินการให้มีการจัดทาคู่มือปฏิบัติการสาหรับบริการนั้น
หรือจัดทาคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์และพัฒนาผู้ให้บริการให้สามารถให้บริการนั้นๆ ได้ตามคู่มือที่จัดทาขึ้น
3.4.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3.4.5 ควบคุมดูแลมิให้มีการจัดสถานที่ รูปภาพ หรือสื่อชนิดอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถ
เลือกผู้ให้บริการได้
3.4.6 ควบคุมและดูแลผู้ให้บริการในสถานประกอบการมิให้มีการลักลอบ หรือมีการค้า หรือ
ร่วมประเวณีหรือมีการกระทาหรือบริการที่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรมและประเพณีอันดี
3.4.7 ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ต่างๆ ให้ได้มาตรฐานถูก
สุขลักษณะและใช้ได้อย่างปลอดภัย
3.4.8 ห้ามมิให้ผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
1) รับผู้มีอายุต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์เข้าทางาน
2) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติ
ไม่ได้เข้าไปอยู่ในสถานประกอบการระหว่างเวลาทาการ
3) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถาน
ประกอบการ
4) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนาอาวุธเข้าไปในสถานประกอบการโดยฝ่าฝืน
กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
3.4.9 ผู้ดาเนินการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานโดยเคร่งครัด
3.4.10 ผู้ดาเนินการต้องดูแลสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิการในการทา งานของผู้
ให้บริการและพนักงาน และต้องมีมาตรการป้องกันการถูกล่วงละเมิดจากผู้รับบริการ
3.4.11 ผู้ดาเนินการต้องแสดงใบรับรองมาตรฐานไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ
สถานประกอบการนั้น
ในกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่า สถานประกอบการใดมีผู้ดาเนินการขาดคุณสมบัติหรือมี
ลักษณะต้องห้ามตามที่กาหนดหรือไม่ดาเนินการตามที่กาหนด ให้คณะอนุกรรมการตรวจและประเมิน
มาตรฐานสถานประกอบการ แจ้งต่อคณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลาง
เพื่อพิจารณาเพิกถอนใบประเมินความรู้ความสามารถของผู้ดาเนินการ
141
3.5 มาตรฐานผู้ให้บริการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
3.5.1 ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1) มีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์
2) ได้รับการอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ตามหลักสูตรจากหน่วยงานราชการ สถาบัน
หรือสถานศึกษาที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางรับรอง
3) ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้
3.1) โรคพิษสุราเรื้อรัง
3.2) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
3.3) โรคจิตร้ายแรง
3.4) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทางานหรือโรคติดต่อในระยะร้ายแรง
4) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
5) กรณีเคยเป็นผู้ให้บริการมาก่อน แต่ถูกคณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐาน
สถานประกอบการเพิกถอนใบประเมินความรู้ ความสามารถ จะต้องเลยระยะเวลาเพิกถอนไม่น้อยกว่า
2 ปี จึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้
3.5.2 ผู้ให้บริการมีหน้าที่และข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1) ให้บริการแก่ผู้รับบริการตามความรู้และความชานาญตรงตามมาตรฐานวิชาชีพที่ได้
ศึกษาอบรมมา
2) ไม่กลั่นแกล้ง ทาร้าย หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ
3) เก็บความลับของผู้รับบริการ โดยไม่นาข้อมูลหรือเรื่องที่ได้ยินจากผู้รับบริการไป
เปิดเผยจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการหรือบุคคลอื่น
4) ไม่แสดงอาการยั่วยวน กระทาลามกอนาจาร หรือพูดจาในทานองให้ผู้รับบริการ
เข้าใจว่าผู้ให้บริการต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้รับบริการ และต้องไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้รับบริการหรือ
ค้าประเวณี
5) ไม่พูดจาหยอกล้อ หรือล้อเล่น หรือกระทาการใดๆ อันมิใช่หน้าที่ที่จะต้องให้บริการ
กับผู้รับบริการ โดยต้องให้บริการด้วยอาการสุภาพ อ่อนโยน
6) ไม่ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือของมึนเมา หรือยาเสพติด ในขณะให้บริการแก่
ผู้รับบริการ
7) มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ที่กระทาและไม่ลักขโมยทรัพย์สินของผู้รับบริการ
8) มีความรับผิดชอบต่อตนเองโดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และไม่นาโรคติดต่อไป
แพร่แก่ผู้รับบริการและเพื่อนร่วมงาน
9) ห้ามมิให้ผู้ให้บริการใส่เครื่องประดับหรือของมีค่า ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการ
ปฏิบัติงาน
10) เป็นผู้ดารงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
บทที่ 8
บทที่ 8
บทที่ 8
บทที่ 8
บทที่ 8
บทที่ 8
บทที่ 8

More Related Content

What's hot

กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
Drugstore Market Overview Utai Sukviwatsirikul
Drugstore Market Overview Utai SukviwatsirikulDrugstore Market Overview Utai Sukviwatsirikul
Drugstore Market Overview Utai SukviwatsirikulUtai Sukviwatsirikul
 
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพGawewat Dechaapinun
 
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013Vorawut Wongumpornpinit
 
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยสิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยSutthiluck Kaewboonrurn
 
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพGawewat Dechaapinun
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ Utai Sukviwatsirikul
 
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์Kant Weerakant Drive Thailand
 
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Utai Sukviwatsirikul
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค พัน พัน
 
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลอนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลUtai Sukviwatsirikul
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพUtai Sukviwatsirikul
 
ใบความรู้ที่ 3
ใบความรู้ที่ 3ใบความรู้ที่ 3
ใบความรู้ที่ 3paewwaew
 

What's hot (19)

กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
Drugstore Market Overview Utai Sukviwatsirikul
Drugstore Market Overview Utai SukviwatsirikulDrugstore Market Overview Utai Sukviwatsirikul
Drugstore Market Overview Utai Sukviwatsirikul
 
จริยธรรม
จริยธรรมจริยธรรม
จริยธรรม
 
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เนื้อหาบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
 
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
 
Drugstore market 21 oct 2016
Drugstore market  21 oct 2016Drugstore market  21 oct 2016
Drugstore market 21 oct 2016
 
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยสิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
 
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพบท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บท5 การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
 
เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
 
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
 
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุรินพยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
 
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์
คู่มือขอรับมาตรฐาน CE mark สำหรับเครื่องมือแพทย์
 
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค
 
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลอนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
 
Kanniga วพบ แพร่
Kanniga วพบ แพร่Kanniga วพบ แพร่
Kanniga วพบ แพร่
 
ใบความรู้ที่ 3
ใบความรู้ที่ 3ใบความรู้ที่ 3
ใบความรู้ที่ 3
 

Similar to บทที่ 8

(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...Utai Sukviwatsirikul
 
อ แสวง เขียนมาดีมาก
อ แสวง เขียนมาดีมากอ แสวง เขียนมาดีมาก
อ แสวง เขียนมาดีมากSupat Hasuwankit
 
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)Sakarin Habusaya
 
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60Suthee Saritsiri
 
คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.Utai Sukviwatsirikul
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697dentyomaraj
 
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2patientrightsth
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์Utai Sukviwatsirikul
 
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfมาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfOldcat4
 
ธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์taem
 
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน Suthee Saritsiri
 

Similar to บทที่ 8 (13)

(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
(ร่าง) มาตรฐานการบริการทางเภสัชกรรมชุมชน (Standard of Community Pharmacy Serv...
 
อ แสวง เขียนมาดีมาก
อ แสวง เขียนมาดีมากอ แสวง เขียนมาดีมาก
อ แสวง เขียนมาดีมาก
 
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
แนวทางการบริหารงบค่าใช้จ่ายบริการแพทย์แผนไทย ปี 2562 (สปสช.)
 
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60
ทันตกรรมกับความสมบูรณ์ของเวชระเบียน10กพ60
 
คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.คู่มือโฆษณา อย.
คู่มือโฆษณา อย.
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
 
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2
ได้อะไรจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย 1/2
 
7
77
7
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
 
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdfมาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
มาตรฐานรพ ฉบับที่ 5.pdf
 
ธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพ
 
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
 
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน
KMทันตกรรมกับงานเวชระเบียน
 

More from Gawewat Dechaapinun

เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์Gawewat Dechaapinun
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlGawewat Dechaapinun
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsGawewat Dechaapinun
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesGawewat Dechaapinun
 

More from Gawewat Dechaapinun (20)

Chapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defectsChapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defects
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7
 
งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5
 
งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and control
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculationsChapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculations
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classifications
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
 

บทที่ 8

  • 1. บทที่ 8 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หากพิจารณาหลักดาเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทางสาธารณสุข จะประกอบไปด้วยการ คุ้มครองผู้บริโภคใน 2 ลักษณะ คือ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งได้อธิบาย ในบทที่ผ่านมาแล้ว และอีกลักษณะหนึ่งคือ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับบริการทางสุขภาพ ซึ่ง บริการสาธารณสุขหรือบริการทางสุขภาพ จะครอบคลุมเนื้อหาทั้งสถานพยาบาล และการประกอบโรค ศิลปะ นอกจากนี้แล้วยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากในปัจจุบัน คือ สปา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณารายละเอียดที่ถูกต้องของสถานที่ให้บริการสาธารณสุข และบริการที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพ เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเข้ารับบริการจากทั้งสถานพยาบาล และสถานบริการทาง สุขภาพดังกล่าว การมีสุขภาพดีเป็นความต้องการพื้นฐานของทุกคน ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีของบุคคลจะมีปัจจัย หลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา พันธุกรรม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ โดยมีระบบบริการสาธารณสุขที่รัฐต้องจัดให้เป็นส่วนที่มีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพของบุคคล เพราะ หากเจ็บป่วยก็ต้องการที่จะได้รับการรักษาทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้หายและกลับคืนสู่ สภาพปกติ ซึ่งบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขถือเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย การดาเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข จะเกี่ยวข้องกับกฎหมาย หลายฉบับ จึงขออธิบายในประเด็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ สถานพยาบาล 1. ความหมายของสถานพยาบาล กฎหมายที่ดูแลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพอนามัย คือ พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ซึ่งมีสาระสาคัญดังนี้ สถานพยาบาล หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ โรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การ ประกอบวิชาชีพกายภาพบาบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบาบัด หรือการประกอบวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ทั้งนี้ โดยกระทาเป็นปกติธุระไม่ว่าจะ ได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ซึ่งประกอบธุรกิจ ขายยาโดยเฉพาะ ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การ พยาบาลการผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบาบัด เทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ อื่นตามที่รัฐมนตรีกาหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • 2. 126 2. ประเภทของสถานพยาบาล (สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558) กฎหมายกาหนดไว้ 2 ประเภท คือ สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และ สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน 2.1 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนขึ้นกับผู้ประกอบวิชาชีพ ดังนี้ 2.1.1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีสิทธิได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการตาม ประเภทและลักษณะการให้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือ อนุมัติบัตรจากแพทยสภา โดยสถานพยาบาลมีลักษณะการให้บริการเป็นคลินิกเวชกรรม หรือสหคลิก นิกที่ให้บริการด้านเวชกรรม คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางหรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านเวชกรรมเฉพาะ ทางโดยจะต้องมีแพทย์จานวน 1 คน 2.1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากทันตแพทย สภาจานวน 1 คน มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการตามประเภทและลักษณะการให้บริการทาง การแพทย์ของสถานพยาบาล โดยมีลักษณะการให้บริการเป็น คลินิกทันตกรรม หรือสหคลินิกที่ให้บริการ ด้านทันตกรรม คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านทันตกรรมเฉพาะทาง 2.1.3 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ ให้บริการเป็นคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการพยาบาล การดูแล มารดาและทารกก่อนและหลังคลอด ยกเว้นการทาคลอด 2.1.4 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขากายภาพบาบัด ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก กายภาพบาบัด หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านกายภาพบาบัด 2.1.5 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาเทคนิคการแพทย์ ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก เทคนิคการแพทย์ หรือ สหคลินิกที่ให้บริการด้านเทคนิคการแพทย์ 2.1.6 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ลักษณะการให้บริการเป็น คลินิก การแพทย์แผนไทยหรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย 2.1.7 ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ลักษณะการให้บริการ เป็น คลินิกการแพทย์แผนประยุกต์หรือสหคลินิกที่ให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์ แผนประยุกต์
  • 3. 127 ตารางที่ 8.1 ลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ลักษณะของ สถานพยาบาล ลักษณะการให้บริการ ผู้ดาเนินการ จานวน(คน) 1.คลินิกเวชกรรม จัดให้มีบริการด้านเวชกรรมใน ระดับเวชปฏิบัติทั่วไป ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ≥1 2.คลินิกเวชกรรม เฉพาะทาง จัดให้มีบริการด้านเวชปฏิบัติทั่วไป และเวชปฏิบัตเฉพาะทาง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับ วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรจาก แพทยสภาในสาขานั้นๆ สาขาที่ได้รับ อนุญาต สาขาละ ≥1 3.คลินิกทันตกรรม จัดให้มีบริการด้าน ทันตกรรมทั่วไป ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ≥1 4.คลินิกทันตกรรม เฉพาะทาง จัดให้มีบริการด้าน ทันตกรรมทั่วไป และ ทันตกรรมเฉพาะทาง ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้รับ วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรจาก ทันตแพทยสภาในสาขานั้นๆ สาขาที่ได้รับ อนุญาต สาขาละ ≥1 5.คลินิกการ พยาบาลและการ ผดุงครรภ์ จัดให้มีบริการการพยาบาลการ ดูแลมารดาและทารกก่อนและ หลังคลอด ยกเว้นการทาคลอด ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ≥1 6.คลินิก กายภาพบาบัด จัดให้มีบริการด้านกายภาพบาบัด ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา กายภาพบาบัด ≥1 7.คลินิกเทคนิค การแพทย์ จัดให้มีบริการด้านเทคนิค การแพทย์ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิค การแพทย์ ≥1 8.คลินิกการแพทย์ แผนไทย จัดให้มีบริการด้านการประกอบโรค ศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา การแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรม ไทย การผดุงครรภ์ไทย หรืออื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีกาหนด สาขาที่ได้รับ อนุญาต สาขา ละ ≥1 9.คลินิกการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ จัดให้มีบริการด้านการประกอบ โรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ≥1 10.สหคลินิก จัดให้มีบริการตามข้อ 1-9 ตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้นไป ผู้ประกอบวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งที่ ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น สาขาที่ได้รับ อนุญาต สาขาละ ≥1 ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ข.
  • 4. 128 ข้อปฏิบัติสาหรับสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย 1. จะมีป้ายแสดงชื่อคลินิกถูกต้องตรงตามมาตรฐาน ตัวอย่าง เช่น - ขนาดความกว้างของป้ายไม่น้อยกว่า 40 ซม. และความยาวไม่น้อยกว่า 120 ซม. - ตัวอักษรแสดงชื่อสถานพยาบาลสูงไม่น้อยกว่า 10 ซม. - แสดงเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลมีความสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม. - สีพื้นแผ่นป้ายสีขาว สีตัวอักษรใช้ตามประเภทของสถานพยาบาล 2. แสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดาเนินการสถานพยาบาลไว้ ที่สถานพยาบาลให้เห็นอย่างเด่นชัด 3. มีการแสดงรูปถ่ายแพทย์ผู้ให้บริการบนป้ายสีน้าเงินและมีชื่อตัวอักษรสีขาว ระบุเลขที่ใบ ประกอบวิชาชีพซึ่งจะต้องตรงกับคนที่ให้บริการรักษาอยู่ 4. มีการติดประกาศสิทธิผู้ป่วยในที่เปิดเผย 5. มีการแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาลในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย 6. มีการติดป้ายว่าท่านจะสอบถามค่ารักษาพยาบาลได้ที่ใด 7. มีชื่อสถานพยาบาลแสดงไว้หน้าซองหรือฉลากบรรจุยา ภาพที่ 8.1 ตัวอย่างป้ายของสถานพยาบาลที่ถูกต้อง ที่มา : สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558 ตารางที่ 8.2 สีตัวอักษรที่ใช้ทาป้ายชื่อสถานพยาบาล สถานพยาบาล สีตัวอักษร 1. คลินิกเวชกรรม/คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง สีเขียว 2. คลินิกทันตกรรม/คลิกนิกทันตกรรมเฉพาะทาง สีม่วง 3. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สีฟ้า 4. คลินิกกายภาพบาบัด สีชมพู 5. คลินิกเทคนิคการแพทย์ สีเลือดหมู 6. คลินิกการแพทย์แผนไทย สีน้าเงิน 7. คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สีน้าตาล 8. สหคลินิก สีเขียวแก่ ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ข.
  • 5. 129 ตารางที่ 8.3 รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสถานพยาบาล มาตรฐานสถานพยาบาล ผิดมาตรา ฝ่าฝืนมาตรา บทกาหนดโทษ ไม่แสดงสิ่งต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ - ใบอนุญาต 31 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท - ชื่อสถานพยาบาล 32(1) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท - รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ 32(2) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท - อัตราค่ารักษาพยาบาล/แสดงว่าสอบถามได้ที่ใด 32(3) 59 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท การประกอบวิชาชีพ - ไม่พบผู้ประกอบวิชาชีพตามลักษณะสถานพยาบาล 35(1) 65 ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ที่มา : สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558 2.2 สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนกับประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ดังนี้ 2.2.1 โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ลักษณะการให้บริการเป็น โรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรมหรือดสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง 2.2.2 โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ลักษณะการให้บริการเป็นสถานพยาบาล ทันตกรรม 2.2.3 โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการผดุงครรภ์หรือสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง 2.3.4 โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ลักษณะการ ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการผดุงครรภ์ 2.3.5 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขากายภาพบาบัด ลักษณะการให้บริการเป็น สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง 2.3.6 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ลักษณะการให้บริการให้บริการ เป็นสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย 2.3.7 โดยผู้ประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ลักษณะการให้บริการ ให้บริการเป็นสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 3. ลักษณะของสถานที่ตามมาตรฐานสถานพยาบาล สถานที่ตามมาตรฐานสถานพยาบาล มีลักษณะดังนี้ (สานักสถานพยาบาลและการประกอบ โรคศิลปะ, 2558) 3.1 ตั้งอยู่ในทาเลที่สะดวก ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3.2 ในกรณีใช้พื้นที่ประกอบกิจการสถานพยาบาลในอาคารเดียวกับกิจการอื่น ต้องแบ่ง สถานที่ให้บริการให้ชัดเจนเป็นสัดส่วน ไม่กระทบกระเทือนต่อการประกอบวิชาชีพ และสามารถ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้
  • 6. 130 3.3 กรณีมีการให้บริการของสถานพยาบาลหลายลักษณะ หรือหลายสาขารวมอยู่ในอาคาร เดียวกัน จะต้องแบ่งให้เป็นสัดส่วนชัดเจน และแต่ละส่วนต้องมีพื้นที่และลักษณะตามมาตรฐานของการ ให้บริการนั้น 3.4 พื้นที่การประกอบกิจการสถานพยาบาลจะต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับร้านขายยา และ การประกอบวิชาชีพอื่นๆ 3.5 มีห้องน้าห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่างน้อย 1 ห้อง 3.6 อาคารต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่อยู่ในสภาพชารุด และเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สอย 3.7 มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ ไม่มีกลิ่นอับทึบ 3.8 การสัญจรและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องกระทาได้โดยสะดวก 3.9 บริเวณทั้งภายนอกและภายในต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอย อย่างเหมาะสม และมีสิ่งอานวยความสะดวกผู้ป่วย 3.10 มีห้องตรวจและห้องให้การรักษาเป็นสัดส่วนและมิดชิด 3.11 หากมีการบริการเอกซเรย์ด้วย การบริการจะต้องได้มาตรฐานและได้รับอนุญาตจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.12 มีการเก็บและกาจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม (ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535) 3.13 มีระบบควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม 3.14 มีความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ในการประกอบวิชาชีพหรือ การประกอบโรคศิลปะสาขานั้นๆ 4. คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาล การพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดาเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตมีคุณสมบัติ ดังนี้ (สานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, 2558) 4.1 เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบ วิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม แต่บุคคลเช่นว่านั้น จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดาเนินการ ตามประเภทใด หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้ เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง 4.2 ไม่เป็นผู้ดาเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง แต่ในกรณีที่เป็น ผู้ดาเนินการประเภทที่รับ ผู้ป่วยไว้ค้างคืนอยู่แล้วแห่งหนึ่ง จะอนุญาตให้เป็น ผู้ดาเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอีกแห่งหนึ่ง ไม่ได้ 4.3 เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด ผู้เป็นเจ้าของหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ใช้สถานที่เพื่อประกอบกิจการ สถานพยาบาล ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ - อายุไม่น้อยกว่า 20 ปี - มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย - ไม่เคยได้รับโทษจาคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทาโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  • 7. 131 - ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา - ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย - ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 5. บทลงโทษผู้กระทาผิดกฎหมาย 5.1 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและ เห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 5.2ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณสถานพยาบาลนั้น 5.2.1 ชื่อสถานพยาบาล 5.2.2 รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งประกอบ วิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น 5.2.3 อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดง ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 5.3 ผู้รับอนุญาตและผู้ดาเนินการของสถานพยาบาลต้อง ควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือ เยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจาเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เมื่อให้การ ช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยแล้ว ถ้ามีความจาเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการ รักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดาเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยัง สถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ผู้รับอนุญาตหรือ ผู้ดาเนินการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจาคุกไม่ เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 5.4 ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดาเนินการโฆษณาหรือ ประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณา หรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาล หรือคุณวุฒิ หรือความสามารถ ของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดย ใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสาคัญ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดาเนินการผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืน ทั้งนี้ จนกว่าจะ ระงับการโฆษณาดังกล่าว 6. สถานพยาบาลที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายสถานพยาบาล ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ได้ระบุหลักเกณฑ์การยกเว้น สถานพยาบาลที่ไม่ต้องอยู่ในบังคับของ พรบ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541 คือสถานพยาบาลว่าต้องมี ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ 6.1 เป็นสถานพยาบาลที่จัดให้บริการด้านการรักษาพยาบาลการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพ อนามัยและการควบคุมและป้องกันโรค ในลักษณะที่เป็นการจัดสวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ได้มีความประสงค์ที่จะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อหวังผลกาไรตอบ แทน และเป็นการจัดสวัสดิการของ 6.1.1 รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 6.1.2 องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
  • 8. 132 6.1.3 สถานศึกษาของเอกชน 6.1.4 นายจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานและสวัสดิการสังคม 6.1.5 ผู้ให้บริการขนส่งผู้โดยสารในยานพาหนะต่างๆ 6.2 เป็นสถานพยาบาลที่ใช้ยานพาหนะในการออกไปให้บริการเคลื่อนที่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง เป็นการชั่วคราว และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือสงเคราะห์โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการใดๆ ไม่ว่าจะ เป็นการจัดให้บริการขององค์กรการกุศลต่างๆ มูลนิธิ สถานพยาบาลเอกชนหรือของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม 6.3 เป็นสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ที่ใช้ ยานพาหนะเป็นที่ให้บริการไปยังหน่วยงานที่ร้องขอเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพ พนักงาน นักศึกษา ตาม สัญญาประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจาปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานนั้น เช่น 6.3.1 รถเอ๊กซเรย์ ต้องมีมาตรฐานและได้รับอนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีนักรังสีวิทยาเป็นผู้ให้บริการ กรณีมีการให้บริการชันสูตรร่วมด้วย ต้องมีนักเทคนิคการแพทย์เป็นผู้ ให้บริการ 6.3.2 รถทันตกรรม ต้องมีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด และให้บริการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม 6.3.3 รถปฏิบัติการชันสูตร ต้องมีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด และ ให้บริการโดยนักเทคนิคการแพทย์ 6.3.4 เป็นสถานพยาบาล ณ ที่พานักของผู้ป่วย โดยผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ประกอบการ วิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ 7. การจัดทาค่ารักษาพยาบาล และการแสดงสิทธิผู้ป่วย 7.1 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการของสถานพยาบาล โดย จัดทาเป็นบัญชีกาหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการอื่น อาจทาเป็นแผ่นประกาศ แผ่นพับ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยแสดงไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ชัดเจน ณ สถานพยาบาล 7.2 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วย โดยจัดทาเป็นป้าย ติดแสดง ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล (ขอป้ายได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สานักงาน สาธารณสุขจังหวัด) 7.3 จัดทาป้ายให้อ่านได้ชัดเจนด้วยตัวอักษรไทยขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร (ไม่กาหนดขนาดและสีของป้าย) แสดงให้ผู้ป่วยทราบว่าจะสอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาลและ ค่าบริการของสถานพยาบาลได้ที่ใด โดยแสดงไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน
  • 9. 133 การบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วยซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่กาหนดไว้ ดังนี้ 1. แสดงรายละเอียดของอัตราค่ารักษาพยาบาลตามบริการที่จัดให้มีของสถานพยาบาลไว้ ดังต่อไปนี้ 1.1) ค่าบริการทางการแพทย์ (Hospital Medical Expenses) 1) ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด 2) ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา 3) ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต 4) ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา 6) ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา 7) ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ 8) ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ 9) ค่าห้องผ่าตัดและห้องคลอด 10) ค่าบริการทางทันตกรรม 11) ค่าบริการทางกายภาพบาบัด 12) ค่าบริการฝังเข็ม 13) ค่าบริการการพยาบาลของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 14) ค่าบริการของผู้ประกอบโรคศิลปะ 15) ค่าบริการเหมาจ่ายการรักษาพยาบาล 1.2) ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางการแพทย์(Health Professional Fees) 1) ค่าตรวจรักษาทั่วไปของผู้ประกอบวิชาชีพ 2) ค่าทาศัลยกรรมและหัตถการต่างๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพ 3) ค่าปฏิบัติการอื่นๆของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น ออกใบรับรองแพทย์ ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าวิสัญญี 2. ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องแสดงรายละเอียดของค่าบริการอื่น ของสถานพยาบาลตามบริการที่จัดให้มีไว้ ดังต่อไปนี้ 2.1) ค่าห้องหรือค่าเตียงผู้ป่วยในประเภทต่างๆ 2.2) ค่าห้องหรือค่าเตียงสาหรับใช้สังเกตอาการ การพักฟื้น หรืออื่นๆ 2.3) ค่าอาหารผู้ป่วยใน 2.4) ค่าบริการและเก็บรักษาศพ 2.5) ค่าบริการอื่นๆ 3. ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องแสดงรายละเอียดถึงสิทธิของผู้ป่วยที่ พึงได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพ
  • 10. 134 สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการ และตระหนักถึงความสาคัญของการให้ความ ร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบาบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออก ประกาศรับรองสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ไว้ดังต่อไปนี้ (แพทยสภา, 2558) สิทธิของผู้ป่วย 1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตาม มาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2. ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการ เจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจาเป็นเร่งด่วน และเป็นอันตรายต่อชีวิต 3. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจาเป็นแก่กรณี โดยไม่คานึงถึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ 4. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน 5. ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การ รักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ หรือเปลี่ยน สถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่ 6. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการ ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย 7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการ เป็นผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทาวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ 8. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏใน เวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิ หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น 9. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปด ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ ภาพที่ 8.2 องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพที่ร่วมกันออกคาประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ที่มา : แพทยสภา, 2558
  • 11. 135 ข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 1. สอบถามเพื่อทาความเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงนามให้ความยินยอม หรือไม่ยินยอมรับการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล 2. ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ที่เป็นจริงและครบถ้วนแก่ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล 3. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามคาแนะนาของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ให้แจ้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทราบ 4. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานพยาบาล 5. ปฏิบัติต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งผู้ที่มาเยี่ยมเยียนด้วยความสุภาพให้เกียรติ และไม่กระทาสิ่งที่รบกวนผู้อื่น 6. แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานที่ตนมีให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ 7. ผู้ป่วยพึงรับทราบข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้ 7.1 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรม ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามที่กฎหมายกาหนดและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม 7.2 การแพทย์ในที่นี้ หมายถึง การแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยองค์ความรู้ในขณะนั้นว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษสาหรับผู้ป่วย 7.3 การแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ 7.4 การรักษาพยาบาลทุกชนิด มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ เหตุ สุดวิสัยอาจเกิดขึ้นได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ ตามภาวะ วิสัยและพฤติการณ์ในการรักษาพยาบาลนั้นๆ แล้ว 7.5 การตรวจเพื่อการคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามการรักษาโรค อาจให้ผลที่คลาดเคลื่อน ได้ด้วยข้อจากัดของเทคโนโลยีที่ใช้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามมาตรฐานการ ปฏิบัติงาน 7.6 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีสิทธิใช้ดุลพินิจในการเลือกกระบวนการรักษาพยาบาล ตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ตามความสามารถและข้อจากัด ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่มีอยู่ รวมทั้งการปรึกษาหรือส่งต่อโดยคานึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย 7.7 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจให้คาแนะนาหรือส่งต่อ ผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจาเป็นเร่งด่วนและ เป็นอันตรายต่อชีวิต 7.8 การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อกระบวนการรักษาพยาบาล 7.9 ห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาล ใช้สาหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอันจาเป็นเร่งด่วนและเป็น อันตรายต่อชีวิต
  • 12. 136 สถานบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพเพิ่มจานวนมากขึ้น โดยการประยุกต์เอาเรื่อง การอาบน้าอบสมุนไพร อบไอน้า การนวด และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ มาประกอบกันใน การให้บริการ หรือบางแห่งก็นาเอารูปแบบการบริการสปา จากต่างประเทศมาให้บริการก็มี และ เนื่องจากลักษณะของกิจการ มีลักษณะเป็นสถานอาบ อบ นวด ที่มีผู้ให้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นกิจการที่ เข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตามกฎหมายสถานบริการ และเข้าข่ายเป็นกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ซึ่งต้องดูแลด้านสุขาภิบาล ได้แก่ เรื่องความสะอาด และสุขลักษณะ ตามกฎหมายการสาธารณสุข นอกจากนี้แล้ว การจะประกอบกิจการได้ ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม พรบ.ภาษีสรรพสามิตกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร ฯลฯ การประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจึงกฎหมายหลัก และกฎหมายอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องด้วย เพื่อควบคุมและดูแลให้มีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยรัฐบาลมีนโยบายให้การ สนับสนุนกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงกาหนดให้ การใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานหนึ่ง ในการควบคุมดูแลกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้มารับบริการ ผู้ให้บริการ และผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงสถาน ประกอบการ รวมไปถึงเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติต่อไป 1. ความหมายของสถานบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สถานบริการที่เกี่ยวข้องทางสุขภาพมีความหลากหลาย ตามลักษณะของการให้บริการ ดังนั้นจึงต้องทาความเข้าใจ ความหมาย ขอบเขต และลักษณะของบริการให้ถูกต้อง ซึ่งตามกฎหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 (กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข) และตาม พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสถานบริการ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 (กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ) สรุปได้ดังนี้ คือ (กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ง) กิจการนวดเพื่อสุขภาพ หมายความว่า การประกอบกิจการนวดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การตัด การดึง การประคบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ต้องไม่มี สถานที่อาบน้าโดยมีผู้ให้บริการ กิจการนวดเพื่อเสริมสวย หมายความว่า การประกอบกิจการนวดในสถานที่เฉพาะ เช่น ร้ามเสริมสวยหรือแต่งผมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การประคบ การอบ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามศิลปะการนวดเพื่อเสริมสวย กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และเสริมสร้าง สุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการใช้น้าเพื่อสุขภาพ โดยอาจมี บริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบาบัดและการ ควบคุมอาหาร โยคะ และการทาสมาธิ การใช้สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตลอดจนการแพทย์ ทางเลือกอื่นๆ หรือไม่ก็ได้
  • 13. 137 2. ประเภทของสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีการแบ่งประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไว้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะพิจารณาจาก นิยามขององค์กรสปาระหว่างประเทศ (International Spa Association: ISPAEurope) ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสปา ได้แบ่งธุรกิจสปาออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 2.1 เดสทิเนชั่นสปา (Destination Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่มีจุดมุ่งหมายใน การให้บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง (Fitness) ผู้รับบริการเมื่อเข้าไปรับบริการแล้วจะรู้สึกถึง ความสุขสดชื่น มีชีวิตชีวา(Rejuvenation) มีบริการหลักประกอบด้วย การนวดและวารีบาบัด โดยมี บริการเสริมอื่นๆ เช่น การดูแลรักษารูปร่าง การควบคุมน้าหนัก โภชนบาบัด โยคะ การทาสมาธิ ดนตรี บาบัด อาชีวบาบัด ฯลฯ โดยมีผู้ให้บริการในลักษณะของทีมบาบัด ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ พนักงานนวด รวมทั้งมีการจัดบริการในลักษณะของการให้คาปรึกษา การตรวจและประเมินสุขภาพ การ กาหนดโปรแกรมและเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 2.2 โรงแรมและรีสอร์ทสปา (Hotel & Resort Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปา ที่ตั้ง อยู่ในโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ เป็นบริการเสริมที่โรงแรมและรีสอร์ทเหล่านั้นจัดขึ้นสาหรับลูกค้าที่เข้ามา พักที่โรงแรมและรีสอร์ท รวมทั้งบุคคลภายนอก เพื่อการผ่อนคลาย เพื่อการเสริมสร้าง ฟื้นฟูความมี ชีวิตชีวาแก่ผู้มารับบริการ และเพื่อการเสริมสวย เสริมความงาม รายการบริการที่จัดให้มี เช่น การนวด การใช้น้าเพื่อสุขภาพ การอบ ประคบสมุนไพร การเสริมความงามใบหน้าและร่างกาย อาหารและ เครื่องดื่มสมุนไพร ฟิตเนส โยคะ สมาธิ เป็นต้น โดยมีผู้ให้บริการประกอบด้วย ผู้ดาเนินการสปา พนักงานสปา พนักงานนวด จัดบริการในลักษณะของการต้อนรับแนะนาการใช้บริการ และให้บริการ ตามที่ผู้มารับบริการเลือกใช้ ส่วนใหญ่เป็นรายการบริการที่ใช้ระยะเวลา 1-6 ชั่วโมงต่อครั้งต่อวัน 2.3 เดย์สปา (Day Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่มี ห้องพัก มีจุดมุ่งหมายการบริการเพื่อการผ่อนคลาย หลังภารกิจประจาวัน หรือ ประจาสัปดาห์ เพื่อการ ฟื้นฟูหรือเสริมสมรรถนะของร่างกาย การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ การใช้น้าเพื่อสุขภาพ เช่น สระน้า อ่างน้าวน บ่อน้าร้อน-น้าเย็น การนวด การใช้สมุนไพรเพื่อการอบ ประคบ สุคนธบาบัด (Aromatherapy) การเสริมสวย ฯลฯ ผู้ให้บริการประกอบด้วย พนักงานนวด พนักงานเสริมสวย โดยมีการจัดบริการให้ ผู้รับบริการเลือกได้ตามรายการที่กาหนด ใช้ระยะเวลาในการให้บริการ 1-6 ชั่วโมงต่อครั้งต่อวัน 2.4 เมดีคอลสปา (Medical Spa) คือ สถานประกอบกิจการสปาที่ให้บริการในสถานพยาบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อการบาบัดรักษาโรค (Curative & Treatment) ฟื้นฟูสมรรถภาพจากการเจ็บป่วย (Rehabilitation) และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ( Health Promotion & Fitness) โดยมีบุคลากรทาง การแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ให้บริการ 2.5 น้าพุร้อนสปา (Mineral Springs Spa) คือ สปาที่อยู่ใกล้หรือใช้ประโยชน์จากน้าพุร้อน ธรรมชาติ หรือ น้าแร่ธรรมชาติ โปรแกรมการบริการจะเน้นการบาบัด โดยการใช้ความร้อนของน้า หรือ แร่ ธาตุต่างๆ เช่น ใช้เกลือมาเป็นส่วนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น สปาที่ตั้งอยู่ตามแหล่งบ่อน้าร้อน ในประเทศไทยมี โอกาสที่จะพัฒนาแหล่งน้าพุร้อนธรรมชาติหลายแห่ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีในอนาคต เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ระนอง สุราษฏร์ธานี เป็นต้น
  • 14. 138 2.6 คลับสปา (Club Spa) คือ สปาที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะสมาชิก (Member) โดยเน้น การให้ความสะดวกสบาย และครบครันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการออกกาลังกายและดูแลสุขภาพร่างกาย พร้อมกับบริการด้านอื่นๆ เพื่อสุขภาพหรือการกีฬา เช่น สปาในสนามกอล์ฟ สปาในสถานออกกาลังกาย (Health Club/Fitness Center) 2.7 สปาบนเรือสาราญ (Cruise Ship Spa) คือ สถานบริการสปาบนเรือสาราญผสานกับ การออกกาลังกาย และการจัดเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสุขสบาย และรู้สึกผ่อน คลายในระหว่างการเดินทาง 3. มาตรฐานกิจการสปาเพื่อสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข, 2558 ง) 3.1 มาตรฐานสถานที่ 3.1.1 ตั้งอยู่ในทาเลที่มีความสะดวก ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่อยู่ ใกล้ชิด ศาสนสถานในระยะที่จะก่อให้เกิดปัญหา หรืออุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจ 3.1.2 ในกรณีที่ใช้พื้นที่ประกอบกิจการสปา ในอาคารเดียวกันกับการประกอบกิจการอื่น ซึ่งมิใช่กิจการสถานบริการ ต้องแบ่งสถานที่ให้ชัดเจน และกิจารอื่นนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการ ให้บริการในกิจการ สปาเพื่อสุขภาพนั้น 3.1.3 พื้นที่สถานประกอบการจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่ติดต่อกับสถานบริการตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ 3.1.4 กรณีสถานประกอบการ มีการให้บริการหลายลักษณะรวมอยู่ในอาคารเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกัน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน และแต่ละสัดส่วนจะต้องมีพื้นที่และลักษณะ ตามมาตรฐานของการให้บริการแต่ละประเภท 3.1.5 การจัดบริเวณที่ให้บริการเฉพาะบุคคล จะต้องไม่ให้มิดชิดหรือลับตาจนเกินไป 3.1.6 พื้นที่ที่ให้บริการทั้งภายในภายนอกสถานที่ประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพต้อง สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ 3.1.7 อาคารต้องทาด้วยวัสดุที่มั่นคง ถาวร ไม่ชารุด และไม่มีคราบสิ่งสกปรก 3.1.8 บริเวณพื้นที่ที่มีการใช้น้าในการให้บริการ พื้นควรทาด้วยวัสดุที่ทาความสะอาด ง่ายและไม่ลื่น 3.1.9 จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอในการให้บริการแต่ละพื้นที่ 3.1.10 จัดให้มีการระบายอากาศเพียงพอ 3.1.11 มีการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและน้าเสียที่ถูกหลักสุขาภิบาล 3.1.12 มีการควบคุมพาหะนาโรคอย่างถูกหลักสุขาภิบาล 3.1.13 จัดให้มีห้องอาบน้า ห้องส้วม อ่างล้างมือ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและตู้เก็บเสื้อผ้า ที่สะอาดถูกสุขลักษณะและปลอดภัยอย่างเพียงพอ และควรแยกส่วนชาย หญิง 3.1.14 จัดให้มีการตกแต่งสถานที่ที่เหมาะสม โดยจะต้องไม่มีลักษณะที่ทาให้เสื่อมเสีย ศีลธรรม หรือขัดต่อวัฒนธรรมและประเพณีอันดี
  • 15. 139 3.2 มาตรฐานชื่อสถานประกอบการ 3.2.1 ชื่อสถานประกอบการต้องตรงตามประเภทกิจการ และตรงกับชื่อที่ได้ยื่นคาขอ ใบรับรองมาตรฐาน โดยจะต้องติดตั้งป้ายชื่อไว้ด้านหน้าสถานประกอบการให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน 3.2.2 ไม่สื่อความหมายในทางลามก อนาจาร หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ขนบธรรมเนียม ศีลธรรมอันดีงาม 3.2.3 หากใช้ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกากับ 3.2.4 ชื่อสถานประกอบการจะต้องไม่ใช้คาหรือข้อความที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกิน ความเป็นจริงหรือทาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าสถานที่ดังกล่าวมีการให้การบาบัดรักษาโรค 3.3 มาตรฐานผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ 3.3.1 ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีผู้ดาเนินการคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการ ดาเนินการสถานประกอบการนั้น ผู้ดาเนินการจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ 1) มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย 3) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับประกาศนียบัตรในสาขาที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือสาขาที่ คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางรับรอง หรือให้ความเห็นชอบหรือ ผ่านหลักสูตรผู้ดาเนินการสปาเพื่อสุขภาพที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถาน ประกอบการกลางรับรอง 4) ผ่านการประเมินความรู้ ความสามารถ ตามที่คณะกรรมการตรวจและประเมิน มาตรฐานสถานประกอบการกลางกาหนด 5) กรณีเคยเป็นผู้ดาเนินการมาก่อน แต่ถูกเพิกถอนใบประเมินความรู้ความสามารถ จะต้องพ้นระยะเวลานับแต่วันที่ถูกเพิกถอนไม่น้อยกว่า 2 ปีจึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้ 6) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด ที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 7) ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้ 7.1) โรคพิษสุราเรื้อรัง 7.2) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง 7.3) โรคจิตร้ายแรง 7.4) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินการสถานประกอบการ 7.8) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 7.9) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 3.3.2 ผู้ดาเนินการต้องควบคุมดูแลกิจการของสถานประกอบการนั้นได้โดยใกล้ชิดและไม่ เป็นผู้ดาเนินการสถานประกอบการแห่งอื่นอยู่ก่อนแล้ว 3.3.3 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ หรือผู้ดาเนินการ ขาด คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ผู้ประกอบการจะต้องจัดหาผู้ดาเนินการใหม่ และต้องแจ้งเป็นหนังสือ ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สาหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขต
  • 16. 140 ท้องที่ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนผู้ดาเนินการ ในระหว่างที่ดาเนินการจัดหา ผู้ดาเนินการใหม่ ให้กิจการสปาเพื่อสุขภาพนั้น ประกอบกิจการต่อไปได้แต่ไม่เกิน 30 วัน 3.4 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ 3.4.1 ควบคุมและดูแลผู้ให้บริการในสถานประกอบการ ให้บริการตามนโยบายและคู่มือ ปฏิบัติงานของสถานประกอบการแห่งนั้นโดยเคร่งครัด 3.4.2 จัดทาทะเบียนประวัติผู้ให้บริการและพนักงาน 3.4.3 ทุกครั้งที่มีการจัดบริการรายการใหม่หรือปรับปรุงบริการรายการใดๆ ในแบบแสดง รายการหรือมีการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องดาเนินการให้มีการจัดทาคู่มือปฏิบัติการสาหรับบริการนั้น หรือจัดทาคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์และพัฒนาผู้ให้บริการให้สามารถให้บริการนั้นๆ ได้ตามคู่มือที่จัดทาขึ้น 3.4.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3.4.5 ควบคุมดูแลมิให้มีการจัดสถานที่ รูปภาพ หรือสื่อชนิดอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถ เลือกผู้ให้บริการได้ 3.4.6 ควบคุมและดูแลผู้ให้บริการในสถานประกอบการมิให้มีการลักลอบ หรือมีการค้า หรือ ร่วมประเวณีหรือมีการกระทาหรือบริการที่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรมและประเพณีอันดี 3.4.7 ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ต่างๆ ให้ได้มาตรฐานถูก สุขลักษณะและใช้ได้อย่างปลอดภัย 3.4.8 ห้ามมิให้ผู้ดาเนินการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ 1) รับผู้มีอายุต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์เข้าทางาน 2) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติ ไม่ได้เข้าไปอยู่ในสถานประกอบการระหว่างเวลาทาการ 3) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถาน ประกอบการ 4) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนาอาวุธเข้าไปในสถานประกอบการโดยฝ่าฝืน กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน 3.4.9 ผู้ดาเนินการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานโดยเคร่งครัด 3.4.10 ผู้ดาเนินการต้องดูแลสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิการในการทา งานของผู้ ให้บริการและพนักงาน และต้องมีมาตรการป้องกันการถูกล่วงละเมิดจากผู้รับบริการ 3.4.11 ผู้ดาเนินการต้องแสดงใบรับรองมาตรฐานไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการนั้น ในกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่า สถานประกอบการใดมีผู้ดาเนินการขาดคุณสมบัติหรือมี ลักษณะต้องห้ามตามที่กาหนดหรือไม่ดาเนินการตามที่กาหนด ให้คณะอนุกรรมการตรวจและประเมิน มาตรฐานสถานประกอบการ แจ้งต่อคณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลาง เพื่อพิจารณาเพิกถอนใบประเมินความรู้ความสามารถของผู้ดาเนินการ
  • 17. 141 3.5 มาตรฐานผู้ให้บริการกิจการสปาเพื่อสุขภาพ 3.5.1 ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ 1) มีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์ 2) ได้รับการอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ตามหลักสูตรจากหน่วยงานราชการ สถาบัน หรือสถานศึกษาที่คณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการกลางรับรอง 3) ไม่เป็นโรคต้องห้ามดังต่อไปนี้ 3.1) โรคพิษสุราเรื้อรัง 3.2) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง 3.3) โรคจิตร้ายแรง 3.4) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทางานหรือโรคติดต่อในระยะร้ายแรง 4) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 5) กรณีเคยเป็นผู้ให้บริการมาก่อน แต่ถูกคณะกรรมการตรวจและประเมินมาตรฐาน สถานประกอบการเพิกถอนใบประเมินความรู้ ความสามารถ จะต้องเลยระยะเวลาเพิกถอนไม่น้อยกว่า 2 ปี จึงจะขอประเมินความรู้ความสามารถใหม่ได้ 3.5.2 ผู้ให้บริการมีหน้าที่และข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1) ให้บริการแก่ผู้รับบริการตามความรู้และความชานาญตรงตามมาตรฐานวิชาชีพที่ได้ ศึกษาอบรมมา 2) ไม่กลั่นแกล้ง ทาร้าย หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ 3) เก็บความลับของผู้รับบริการ โดยไม่นาข้อมูลหรือเรื่องที่ได้ยินจากผู้รับบริการไป เปิดเผยจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการหรือบุคคลอื่น 4) ไม่แสดงอาการยั่วยวน กระทาลามกอนาจาร หรือพูดจาในทานองให้ผู้รับบริการ เข้าใจว่าผู้ให้บริการต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้รับบริการ และต้องไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้รับบริการหรือ ค้าประเวณี 5) ไม่พูดจาหยอกล้อ หรือล้อเล่น หรือกระทาการใดๆ อันมิใช่หน้าที่ที่จะต้องให้บริการ กับผู้รับบริการ โดยต้องให้บริการด้วยอาการสุภาพ อ่อนโยน 6) ไม่ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือของมึนเมา หรือยาเสพติด ในขณะให้บริการแก่ ผู้รับบริการ 7) มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ที่กระทาและไม่ลักขโมยทรัพย์สินของผู้รับบริการ 8) มีความรับผิดชอบต่อตนเองโดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และไม่นาโรคติดต่อไป แพร่แก่ผู้รับบริการและเพื่อนร่วมงาน 9) ห้ามมิให้ผู้ให้บริการใส่เครื่องประดับหรือของมีค่า ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบัติงาน 10) เป็นผู้ดารงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี