SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
1
L.P.N. DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY LIMITED
LUMPINI
MAGISSUE 79 APR - JUN 2015
26ปี
ความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัย
สำ�หรับคนทุกวัย
ลุมพินี
ชุมชนน่าอยู่
2
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
จัดท�ำโดย
ฝ่ายสื่อสารองค์กร
บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)
3 	 Editor Content
4	 Real Pleasure of Living
6	 Happy Together
7	 Vibrant Community Model
11	 Health Tips
12	 Care & Share	
14 	 Idea Room
15	 Chill Out
16	 Chitchat
18	 Lumpini Movement
19	 LPN Green	
LUMPINI
MAG
content
#79
สวัสดีครับ
สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน
ตลอดเวลาที่เราร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ความสุข
ทุกเรื่องราวล้วนเป็นภาพแห่งความประทับใจที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ
ทุกครั้งที่จรดปากกา ก่อนลงมือถ่ายทอดเรื่องราวลงไปใน LUMPINI MAG ...
เราจะนึกถึงความสุขที่เกิดขึ้นท่ามกลางกิจกรรมในวันนั้นไปพร้อมกันกับทุกคน
ท�ำให้ผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี เมื่อท่านหยิบกลับขึ้นมาอ่านใหม่
เจ้าของเรื่องราว หรือสมาชิกครอบครัวในชุมชนนั้นๆ จะมีรอยยิ้มขึ้นมาทันที
รวมถึงสมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน ...เพราะความสุขยังคงอยู่ในนั้น
ความทรงจ�ำเล็กๆ ที่ผ่านมาด้วยกันของแต่ละคน
26 ปี LPN ก็เช่นกัน ประสบการณ์ ความสุข ความทรงจ�ำ ของท่าน
ล้วนเป็นแรงสนับสนุนท�ำให้เรามีวันนี้ ...
จากการบ่มเพาะเรื่องราวดีๆ ที่ทุกท่านร่วมกันสร้างขึ้นมา
ผลักดันให้เราร่วมสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
ขอบคุณทุกก้าวส�ำคัญที่ท่านมอบให้เรามาโดยตลอด 	
จากนี้ไป ไม่ใช่แค่ขาที่ต้องก้าวไปด้วยกัน ผมขอมือของทุกท่านร่วมกันสร้างสรรค์
“ความสุขที่แท้จริงในการอยู่อาศัย” ไปด้วยกันกับ “ชุมชนน่าอยู่” ของเรานะครับ
โอภาส ศรีพยัคฆ์
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน)
1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพีนี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4
แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์ : 02-285-5011-6
E-mail : lumpinimag@lpn.co.th
www.lpn.co.th
บททักทาย
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
3
ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาชมรมรวม
พลคนใจดี ลุมพินีอาสา ได้จัดกิจกรรม
เพื่อดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมภายนอก
โครงการเริ่มต้นที่พื้นที่ใกล้เคียงของกลุ่ม
โครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ มีการ
จัดกิจกรรม “รวมพลคนใจดี พัฒนา
รามอินทรา ซอย 3” ขึ้น ซึ่งกิจกรรม
นี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน
ทั้งเจ้าของร่วมกลุ่มโครงการลุมพินี
รามอินทรา-หลักสี่, กรมทหารราบที่
11 รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่
30, สำ�นักงานเขตบางเขน, บริษัท แฟร์
9350 จำ�กัด และผู้ประกอบการ
ต่างมาร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งการทำ�ความ
สะอาดพื้นที่ในซอย ทาสีเส้นจราจรกับ
ขอบทางเท้าให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อ
เพิ่มความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้รับ
ความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านค้า
ที่ขายของในบริเวณพื้นที่ร่วมทาสีเพื่อ
จัดขอบเขตการวางสิ่งของค้าขายให้
เป็นระเบียบสวยงาม ทำ�ให้พื้นที่บริเวณ
รามอินทราซอย3นั้นดูสวยงามและเป็น
ระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นกว่าเดิม
	
	
	การร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ให้เกิดขึ้นได้นั้น นอกจากการดูแลสังคม
และสิ่งแวดล้อมภายในโครงการแล้ว ภายนอกโครงการของเราก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ที่สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกคนไม่เคยมองข้าม
กิจกรรมเพื่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม
ในประชาคมลุมพินี
Real Pleasure of Living
4
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
อีกหนึ่งกิจกรรม คือ “กิจกรรม
รักษ์เต่า : รักทะเลไทย ปี 2” ที่จัดขึ้น
ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
(เกาะมันใน) จ.ระยอง มีสมาชิกชมรม
ฅนอาสาจำ�นวน 90 ท่าน ร่วมใจกัน
เดินทางไปฟื้นฟูบ่อเต่าที่เสื่อมโทรม ด้วย
การขัดล้างและทาสีบ่อเต่าให้กลับมา
น่ามองอีกครั้ง นอกจากนี้ยังได้ร่วมกัน
เก็บขยะรอบๆ เกาะมันในอีกด้วย ถือ
เป็นการสร้างมิตรภาพและสร้างสิ่ง
แวดล้อมที่ดีให้กับสังคม
	
	 การพัฒนาเรื่องสังคมและ
สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่ได้นั้น
นอกจากเราจะต้องพัฒนาภายในชุมชน
ของเราเองแล้ว ชุมชนแวดล้อมภายนอก
ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลกับที่อยู่อาศัยของเรา
ล้วนเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำ�ให้
เกิดชุมชนน่าอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อ
ทุกคนหันมาใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ในทุกพื้นที่ ก็จะทำ�ให้ทุกที่นั้นกลายเป็น
พื้นที่ที่น่าอยู่ร่วมกัน
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
5
3
1.
2.
3.
3
2
“ ”
1
6
1. 2.
3. 4. 5.
Happy Together
6
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
ชุมชนต้นแบบ
สู่ชุมชนน่าอยู่ยั่งยืน
Vibrant Community Model
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
7
8
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
3. ผูมีสวนรวม
4. วัฒนธรรมการอยูอาศัยแบบชุมชนลุมพินี
MOVIE IN PARK
คณะกรรมการนิติบุคคล เจาของรวม และ ผูพักอาศัย เปนสวน
สำคัญที่รวมสรางสรรคชุมชนนาอยูผานการเสนอแนะ
แสดงความคิดเห็น และใหความรวมมือ
“รวมใจ” “หวงใย” และ “แบงปน”
และ “ชุมชนตนแบบ” เหลานี้ ก็จะเปนตนแบบในการบริหารชุมชน
ใหกับชุมชนลุมพินีและชุมชนอ�นๆ กาวสูการเปน “ชุมชนนาอยูยั่งยืน” ตอไป
เปนการคัดเลือก “ชุมชนที่มีมาตรฐานในการบริหารจัดการอยางเปนรูปธรรม”
มีองคประกอบครบถวน มีการบริหารจัดการที่ไดมาตรฐานผานเกณฑชี้วัดที่
กำหนดไว มีคณะกรรมการและเจาของรวมที่ใหความสำคัญกับการมีสวนรวม
ในทุกๆ ดาน ทำงานรวมกับฝายจัดการฯ โดยมีเปาหมายเพ�อใหเกิด
ความสุขที่แทจริงของการอยูอาศัย
วัตถุประสงคเพ�อ
• เปนมาตรฐาน คุณคา และจิตวิญญาณของ "ชุมชนนาอยู"
• พัฒนาคุณคาเพิ่ม แบบบูรณาการผานชุมชนตนแบบ
• บริหารจัดการทุกชุมชนลุมพินี ใหมีมาตรฐาน "ชุมชนนาอยูยั่งยืน"
• เปนแหลงการเรียนรู การบริหารชุมชนสำหรับสถาบันและองคกรภาคธุรกิจ
“ชุมชนตนแบบ” เพ�อ “ชุมชนนาอยูยั่งยืน”
F
B
L
E
S
90%
85%
การบริหารจัดการทรัพยสวนกลาง
เกณฑการพิจารณา
Facility Management
การบริหารจัดการงบประมาณการเงินBudgeting Management
การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตLife Quality Management
การบริหารจัดการสิ่งแวดลอมEnviroment Management
การบริหารจัดการความปลอดภัยSecurity and Safety Management
วัดผลโดยฝายควบคุมการบริหารชุมชน Community Quality Assurance (CQA)
P
ความพึงพอใจในประสิทธิภาพชุมชน
- เจาของรวม
- กรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
วัดโดยฝายบริหารประสบการณลูกคา Customer Experience Management (CEM)
95%
90%
85%
95%
การคัดเลือกชุมชนตนแบบ
ชุมชนนาอยู ชุมชนตนแบบ
People Management
การบริหารผูเกี่ยวของ
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
9
ความโดดเด่นของการออกแบบ
ชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา คือ
เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการ
ลดใช้พลังงาน ทั้งคณะกรรมการนิติบุคคล
อาคารชุด ฝ่ายจัดการ และผู้พักอาศัยล้วน
มีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันด้านการอนุรักษ์
และลดการใช้พลังงาน มีการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่สนับสนุนการลดใช้พลังงานอย่าง
ต่อเนื่อง เช่น การปิดไฟในห้องชุดแล้วลง
ไปเดินชิลล์ ชิลล์ ทำ�กิจกรรมสานสัมพันธ์
กับเพื่อนบ้านในตลาดนัดชุมชน “Lumpini
Candle Park” ที่ทำ�ให้สวนรวมใจ
ให้สว่างไสวไปด้วยแสงเทียน สร้างความ
โรแมนติกและเติมความสุนทรีย์ด้วยเสียง
ดนตรีเบาๆ ในยามค่ำ�คืน และในบางครั้ง
ยังมีการยกหนังหนังกางแปลงมาตั้งฉาย
กลางคอนโด ทำ�ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับ
กลิ่นอายย้อนยุค คืนความทรงจำ�ดีๆ ให้
ลุมพินี เพลส
พระราม 9-รัชดา
“ชุมชนประหยัดพลังงาน”
	 ชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา เป็นตัวอย่างต้นแบบของ
ชุมชนประหยัดพลังงาน โดยดำ�เนินการตามหลัก “ไคเซ็น” ซึ่งเป็นการ
ปรับปรุงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต่อเนื่อง
คุณพี่คุณน้ารุ่นใหญ่ ซึ่งเป็นบรรยากาศอัน
แสนอบอุ่นที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนงบประมาณ
ล้างแอร์เพื่อให้แอร์ระบายความร้อนได้
ดีขึ้น รวมถึงกิจกรรมด้านความสะอาด
และความปลอดภัยที่จัดเป็นประจำ�อย่าง
ต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการปรับภูมิทัศน์
ให้เป็นชุมชนสีเขียวที่พร้อมด้วยสิ่ง
แวดล้อมที่ดี เหมาะสม และปลอดภัย
	 ผลของการใช้หลักไคเซ็นในการ
ดำ�เนินงาน ทำ�ให้ชุมชนลุมพินี เพลส
พระราม 9 - รัชดา มีมาตรฐานของชุมชน
ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังส่งเสริมให้มูลค่า
ของโครงการสูงขึ้นและมุ่งสู่การเป็นชุมชน
ประหยัดพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ
	 ติดตามเรื่องราวของชุมชน
ต้นแบบ (ปี 2556) ที่เราได้คัดสรรมาฝาก
เพื่อนสมาชิกครอบครัวลุมพินีในฉบับถัดไป
กันนะคะ
นี่เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่นำ�มาฝากกัน
ชุมชน
ต้นแบบ
10
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
สุขภาพที่ดีต้นทุนของการทำ�งาน
	 คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายของเราคือเครื่องมือทำ�มาหากิน
อย่างหนึ่ง การดูแลสุขภาพไว้ให้ดีก็เปรียบเสมือนมีเครื่องมือที่ทรง
ประสิทธิภาพ พร้อมที่จะผลิตงานที่เรารักออกมาให้ทุกคนได้เห็นศักยภาพ
ที่ตัวเรามี
	 อย่างไรก็ตามการออกกำ�ลังกาย
อย่างเดียวไม่สามารถทำ�ให้สุขภาพดี
ได้นะ เหมือนกับรายรับ-รายจ่าย ถ้าเรา
ออกกำ�ลังกายมากๆ แล้วกินเยอะๆ ไม่
ควบคุมเรื่องการกินก็ไม่สามารถที่จะ
ทำ�ให้ร่างกายของเราดีได้ ต้องสมดุลกัน
ทั้งสองอย่าง จะออกกำ�ลังกายอย่างเดียว
แล้วมาใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย กินเหล้า นอนดึก
แบบนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร
	 อยากให้ทุกคนหันมาดูแล
สุขภาพกันนะคะ เพราะการมีสุขภาพ
ที่ดีนั้นเป็นพื้นฐานที่จะทำ�ให้เราทำ�งาน
ได้ดี สมองเราก็จะดี คิดอะไรได้ดี ได้งาน
ที่ดี และมีชีวิตที่ดีค่ะ”
	 คุณแหวว-เจียรนัย อุตะมะ
คือคนหนึ่งที่รักในอาชีพของตนเอง เธอ
ดูแลตัวเองอย่างสมำ�เสมอเพื่อให้ร่างกาย
แข็งแรง จิตใจสดใส กระปรี้กระเปร่า
พร้อมเดินทางตลอดเวลา
	 “อาชีพนักข่าวบางครั้งต้องไป
ทำ�งานในที่ไกลๆ และลำ�บาก เช่น
ต้องไปดูโรงไฟฟ้าหงสา ที่สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ถึงแม้จะนั่งเครื่องบิน ก็ต้องต่อรถ ถนน
คดเคี้ยวไปอีกไกล เราต้องใช้ความเฟิร์ม
ของร่างกาย การออกกำ�ลังกายเป็นการ
วอร์มเพื่อพร้อมรับการทำ�งาน
	 เรามีเวลาว่างไม่ได้ตรงกับคนอื่น
การเล่นกีฬาที่สามารถเล่นได้คนเดียว
อย่างโยคะที่เล่นมาเป็นสิบปี หรือว่ายนำ�
เป็นสิ่งที่ทำ�มาตลอดการว่ายนำ�โดยพื้นฐาน
จะได้ประโยชน์กับทุกส่วนของร่างกาย
โยคะก็เหมือนกัน ทั้งสองอย่างใช้ระบบ
หายใจในการเผาผลาญแคลอรี่ และใช้
สมาธิฝึกหายใจให้เป็นจังหวะ พอได้ย้าย
มาอยู่ที่ลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า ก็ยิ่งทำ�ให้
เราว่ายนำ�ได้สมำ�เสมอมากขึ้น เพราะที่นี่
มีสระว่ายนำ�ที่มีมาตรฐาน
	 นอกจากนี้ก็มีไปวิ่งกับน้องๆ ที่
ทำ�งานด้วยเหมือนกัน การได้เล่นโยคะ
และว่ายนำ�ก็มีส่วนที่ทำ�ให้เราไม่ต้อง
ซ้อมวิ่งมาก เพราะเราฝึกการหายใจ
เป็นจังหวะจากการเล่นโยคะและการ
ว่ายนำ�แล้ว
่
้
้
้ ่
้
้
้
Health Tips
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
1111
ขอแนะนำ�ตัวก่อนเลยครับ ผม
ชื่อ เอก-พิชาภพ กฤตกุลโรจน์ หนึ่งใน Fire
Team ของชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 3
- ริเวอร์วิว ก่อนหน้านี้ผมเคยอยู่ที่ชุมชน
ลุมพินีเพลสสวนพลู-สาทรมานานกว่าสิบปี
เป็นกรรมการเจ้าของร่วมอยู่ที่นั่น
	 ตอนนั้นผมได้ประสบเหตุการณ์
ไฟไหม้ถึงสองครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ชุมชนที่
ผมอยู่ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็เกิดขึ้นที่
หลังสวนพลู ซึ่งเป็นบริเวณชุมชนข้างเคียง
ในเวลานั้นได้เจ้าหน้าที่ชุมชนลุมพินีเข้ามา
ช่วยเหลือ ทำ�ให้เหตุการณ์ไม่ลุกลามไปยัง
ชุมชนของเรา
	 พอเวลาผ่านไปไม่นานก็เกิด
เหตุการณ์ซ้ำ�ขึ้นอีก ครั้งนี้เกิดขึ้นกลางดึก
ในวันที่พวกเรากำ�ลังเตรียมจัดกิจกรรม
ซ้อมหนีไฟในวันรุ่งขึ้น ซึ่งตอนนั้นทุกคน
ต่างกลัวว่าไฟจะลุกลามเข้ามาในอาคาร
ต่างก็วิ่งหนีตายกันลงมาอย่างไม่คิดชีวิต
บางคนถึงกับจะกระโดดจากหน้าต่างลง
มาเลย ในตอนนั้นผมเลยคิดว่า ..ทำ�ไมเรา
ถึงไม่สร้าง Fire Team ขึ้นมา!!? จนเมื่อ
ผมย้ายมาอยู่ที่โครงการลุมพินี เพลส
พระราม 3-ริเวอร์วิว ผมและเพื่อนๆ ที่นี่
ได้รวมตัวกันสร้าง Fire Team ขึ้นมา
	 แต่กว่าจะมี Fire Team อย่าง
ทุกวันนี้ได้ เกิดจากการที่เราได้ทำ�
กิจกรรมชุมชนร่วมกันมาโดยตลอด จนได้
รู้จักและสนิทคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี อย่าง
เวลาจัดกิจกรรมซ้อมหนีไฟ ที่นี่มีผู้เข้า
ร่วมกิจกรรมเป็นร้อยเลยนะครับ พวกเขา
ตั้งใจที่จะมาเรียนรู้เพื่อนำ�ไปปฏิบัติจริง
โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ก็พากัน
ร่วมกันปกป้องอัคคีภัย
ถ้าคุณทอดน้ำ�มันอยู่ แล้วไฟลุกกระทะคุณจะทำ�อย่างไร?
จะเอาน้ำ�ราดไหม? หากคุณเอาน้ำ�ราด มันจะระเบิดเป็น
ทะเลเพลิงเลยล่ะ
นักเขียนลุมพินี : คุณพิชาภพ กฤตกุลโรจน์ สมาชิกครอบครัวลุมพินี เพลส พระราม 3-ริเวอร์วิว
Care & Share
12
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
มานั่งฟัง ที่นี่เด็กบางคนสามารถหยิบจับ
ถังดับเพลิงแล้ววิ่งเข้าไปดับไฟได้ด้วยนะ
ครับ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำ�ให้เรารู้หรอกว่าใคร
เป็นคนเสียสละ ต้องมีการพูดคุยกัน
ถ้าเขามีความสนใจ เราก็ชวนเขาต่อได้
ในการสร้าง Fire Team เราได้เชิญ
วิทยากรที่มีความสามารถ และทักษะใน
การสื่อสารมาสอน โดยมีการสร้างทีมกัน
เป็นรุ่นๆแต่ละรุ่นมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน
อย่างต่อเนื่องเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและ
เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน
	
	 ผมหวังให้ทุกชุมชนของลุมพินีจะ
รักในชุมชนของตัวเอง และร่วมกันสร้าง
Fire Team ขึ้นมา เพื่อเรียนรู้วิธีนำ�พา
ครอบครัวให้อยู่กันอย่างปลอดภัยในเวลาที่
เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา ทุกคนจะ
ได้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เมื่อ
คุณมีโอกาสที่จะร่วมกันปกป้องอัคคีภัย
ให้กับครอบครัวของคุณ เหตุใดจะปล่อย
โอกาสนั้นไปล่ะ น่าเสียดายออกนะครับ
มาร่วมกันสร้าง Fire Team ในชุมชน
ของคุณกันเถอะครับ
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
13
ห้องสวย มีเรื่องเล่า
	 การเดินทางนอกจากจะได้เปิดโลกกว้างแล้ว ยังได้
ความทรงจำ�ดีๆ กลับมามากมาย รวมถึงยังได้เลือกสิ่งของต่างๆ
จากหลายสถานที่มาตกแต่งบ้านอีกด้วย ซึ่งห้องของคุณ Erik
Leif หรือคุณลีฟ สมาชิกครอบครัวลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 77 (2)
สามารถยืนยันคำ�กล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี
	 ห้องของคุณลีฟไม่ได้เริ่มต้นจากโจทย์ แต่เริ่มต้นจาก
การเดินทางท่องเที่ยว เขาได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปยัง
ประเทศต่างๆ ทั้งอินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ
รวมไปถึงประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเวลาที่คุณลีฟ
กลับมาที่นี่ เขามักจะนำ�เฟอร์นิเจอร์ รูปภาพ หรือของน่ารัก
ต่างๆ จากต่างประเทศกลับมาด้วย
	 คุณลีฟว่าหลักสำ�คัญของการแต่งห้อง คือเรื่องโทนสี
ควรเป็นสีที่ชอบ อยู่แล้วสบายตา สบายใจ สำ�หรับตัวคุณลีฟ
นั้นชอบโทนสีกลางๆ จึงเลือกใช้วอลล์เปเปอร์สีโอลด์โรสอ่อนๆ
เพื่อตัดกับเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ที่เป็นไม้สีนำ�ตาลที่เขาชอบ
	 การได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ ก็เป็นส่วนหนึ่ง
ในความทรงจำ�เช่นเดียวกัน คุณลีฟเล่าให้ฟังต่อว่า เฟอร์นิเจอร์
บางชิ้น อย่างชั้นวางรองเท้า และตู้เสื้อผ้าในห้องนอน รวมถึง
โต๊ะในโซนรับแขกนั้น เขาออกแบบเอง แล้วส่งให้กับช่าง
ทำ�เฟอร์นิเจอร์ฝีมือดีในบ้านเราเป็นคนสร้างขึ้นให้เป็นรูปเป็นร่าง
หากทุกอย่างถูกถอดแบบออกมาจากแค็ตตาล็อก เราก็คงจะ
ไม่มีเรื่องเล่าอะไรเลย
	 สำ�หรับ 6 ปีของการอยู่ที่เมืองไทย ทุกๆ ครั้งที่คุณลีฟ
ได้กลับมายัง ลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 77 (2) เขาเรียกได้เต็มปาก
ว่า ที่นี่คือ “บ้าน” เขารู้สึกผ่อนคลายเสมอ บางครั้งแค่ยืนจิบชา
ตรงระเบียงแล้วฟังเสียงเด็กๆ วิ่งเล่นด้านล่าง แค่นั้นเขาก็รู้สึก
สดชื่นเติมเต็มขึ้นมาได้แล้ว
้
idea Room
14
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
14
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
เบค อะ วิช
ต้นตำ�รับเค้กญี่ปุ่นภาคไทย
รายละเอียดร้าน
ที่ตั้ง : ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 19
(วัดบางปะกอก) เขตราษฎร์บูรณะ
สาขาอื่น : สยามพารากอน
วันและเวลาเปิดบริการ :
ทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.
จุดจอดรถ : บริเวณวัดบางปะกอก
มีบริการรถกอล์ฟ
(แต่ต้องยกสายโทรแจ้งด้วยนะ)
โทรศัพท์ : 02-427-3120
Facebook : Bake a wish
Japanese homemade cake
	 เบค อะ วิช เป็นร้านเบเกอรี่โฮมเมดซึ่งเลื่องชื่อเรื่อง
เค้กญี่ปุ่น (ซอฟท์ครีมเค้ก) สูตรโกเบ ทำ�โดยคนไทย และเป็น
แบรนด์คนไทย เมนูเค้กที่ต้องห้ามพลาดได้แก่ ชูครีม (ครีมพัฟ)
ซอฟท์ครีมเค้กขนมปังคุกกี้รวมกว่า40ชนิดละลานตาจนเลือก
ทานไม่ถูก เพราะน่าทานไปหมดทุกชิ้น ชนิดว่าหนุ่มๆ คนไหน
ที่โดนหวานใจงอน พาสาวเจ้าไปร้านนี้เป็นต้องง้อสำ�เร็จแน่ๆ
	 สัมผัสจากเบค อะ วิช ได้ว่าเป็นเค้กที่แป้งนุ่ม ครีมเบา
ไม่หวาน ไม่เลี่ยน เพราะเน้นความสำ�คัญที่รสชาติจากวัตถุดิบ
เป็นรสตามธรรมชาติ (เนเจอรัลเทสต์) โดยวัตถุดิบบางอย่างสั่ง
มาจากฮอกไกโดและใครที่รับรสช็อกโกแลตขมเข้มหรือชาเชียว
แบบเข้มข้นได้ คงสนุกกับการรับประทานเค้กเบค อะ วิช
ได้ไม่ยาก ส่วนใครที่ยังไม่ถึงขั้นนั้นก็ใช่ว่าจะทานลำ�บากนะ
ของแบบนี้ต้องลองกับปากตัวเอง และครีมก็ใช้ไขมันพืชที่ให้
แคลอรี่ตำ� ไร้กังวลเรื่องพลังงานที่รับไม่เยอะจนเกินกว่าที่
ร่างกายจะเผาผลาญออกไป ซึ่งไม่ทำ�ให้อ้วนนั่นเอง (เว้นแต่ว่า
จะหยุดใจไม่ไหวแล้วทานแบบไม่ยั้ง)
	 เบค อะ วิช สาขาสุขสวัสดิ์ 19 ย่านบางปะกอก
เป็นสาขาที่ใกล้กับโครงการลุมพินี เพลส สุขสวัสดิ์-พระราม 2
ซึ่งสมาชิกครอบครัวลุมพินีหลายท่านเริ่มทยอยเข้าอยู่แล้ว
เบค อะ วิช สาขาดังกล่าวนี้เปิดบริการมาแล้ว 9 ปี เป็นตึกแถว
ขนาดหนึ่งคูหา 5 ชั้น ตกแต่งร้านรูปแบบโมเดิร์น เจแปนนิส
เปิดประตูร้านเข้าไปก็สะดุดกับโคมไฟแขวนลงมาราวกับว่า
อยู่ท่ามกลางหมู่ดาวในอวกาศ ซึ่งนอกจากเค้กญี่ปุ่นแล้ว ยังมี
อาหารสัญชาติญี่ปุ่น และบุฟเฟ่ต์บาร์ ในราคาเหมาจ่ายเพียง
350 บาท จัดกันเต็มอิ่มเชียวล่ะ
	 ต้องบอกไว้ก่อนว่า เบค อะ วิช สาขาที่ Chill Out
นำ�มาแนะนำ�นี้ คนเนืองแน่นตั้งแต่เปิดยันปิดร้าน เฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วงเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตกฤษ์ ต้องโทรสำ�รองที่
ล่วงหน้ากันเลยทีเดียว ไม่อย่างนั้นก็เสี่ยงดวงมารอคิวต่อแถว
คอยเต็มสองฟากถนนอย่างภาพที่ขาประจำ�เห็นจนชินตา
นั่นเพราะว่าคุณภาพและความเป็นต้นฉบับในแบบเบค อะ วิช
เป็นเครื่องการันตีความอร่อยของร้าน
่
Chill Out
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
15
ความสุขแบบพอดี
ความสุขที่เลือกเอง
	 ฉบับนี้ขอพาเพื่อนๆ มาทำ�ความรู้จักกับสมาชิกครอบครัวลุมพินีที่
เต็มไปด้วยความสุขในครอบครัวลุมพินี เมกะซิตี้-บางนา โดยคุณวัลยา
สฤษฏ์เลิศวรสิน สาวหน้าใสนักการตลาดกับการตัดสินใจเลือกความสุข
แบบพอดีกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง เธอเล่าให้เราฟังว่า
Chitchat
16
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
“ปกติจะขับรถผ่านย่านบางนา
นี้ทุกวัน เพราะว่าทำ�งานอยู่ที่ตึกเนชั่น
และคุณแม่เองก็ชอบโครงการนี้เนื่องจาก
เดินทางสะดวก เลยตัดสินใจลองเข้ามา
ชมโครงการ ซึ่งก็มาถูกใจที่อาคาร B
โดยห้องที่เลือกเห็นว่าใกล้ลิฟต์ และวิว
ก็ดี อะไรก็ดีไปหมด เลยรู้สึกว่าห้องนี้
โอเคเลยแต่สิ่งหนึ่งที่สำ�คัญและทำ�ให้ชอบ
ห้องของลุมพินีมากๆ ก็คือการออกแบบ
ห้องได้เป็นสัดเป็นส่วนที่ดี ด้วยขนาดห้อง
ที่เราอยู่ก็ไม่ได้ถึงขนาดว่าเล็กจนเกินไป
และไม่ได้ใหญ่เกินความต้องการ มันพอดี
กับความรู้สึกของเรามากๆ”
	 คุณวัลยาเล่าต่อว่า เธอเริ่มย้าย
เข้ามาอยู่เมื่อช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา
ซึ่งประมาณเดือนกันยายนของปีก็เริ่ม
ติดต่อช่างในการดำ�เนินงานตามแบบ
แปลนที่วางไว้ จากนั้นก็ซื้อของตกแต่ง
เข้าห้อง กว่าจะเสร็จทุกอย่างประมาณ
ปลายปีนั่นแหละ
	 นอกจากนี้ เรื่องสภาพแวดล้อม
ในการอยู่อาศัยของที่นี่เธอว่าก็โอเคเลยนะ
ตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัยแม่บ้านล้วนแต่เป็นมิตรและมี
อัธยาศัยดีมาก อย่างเวลาที่เจอกับคุณแม่
หรือตัวเธอเองก็จะทักทายด้วยคำ�ว่า
“สวัสดีค่ะ” ทุกครั้งที่เจอกัน และเพราะ
ทุกคนที่นี่ช่วยกันสร้างให้สภาพแวดล้อม
ในการอยู่อาศัยที่ดีให้เกิดขึ้น เลยส่งผล
ให้ชุมชนของที่นี่น่าอยู่เช่นกัน
	 ในฐานะนักการตลาด คุณวัลยา
มองว่าลุมพินีเป็นอาคารชุดพักอาศัยที่มี
อยู่ครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ
โดยจุดเด่นของลุมพินีที่หลายๆคนเห็นคือ
ทำ�เลที่ตั้ง ถือว่าดีมาก ทำ�ให้การเดินทาง
ไปไหนมาไหนสะดวก และในเรื่องของ
ราคาก็เหมาะสม ที่สำ�คัญมีขนาดห้องให้
เลือกหลายแบบทั้งขนาดเล็กขนาดกลาง
และขนาดใหญ่
	 สำ�หรับเธอจะเน้นเรื่องการ
ออกแบบห้องให้มีพื้นที่ใช้สอยมากที่สุด
เธอเล่าว่าตัวเธอเองเป็นคนไม่ค่อยได้ออก
ไปไหน ถ้าวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็จะ
อยู่ห้องเพื่อทำ�ความสะอาด ถูบ้าน
ซักผ้า รีดผ้า ส่วนห้องที่เป็นมุมโปรดก็
จะเป็นห้องนั่งเล่นกับห้องนอน เวลาที่มี
เพื่อนมาหา ส่วนใหญ่ก็จะชอบที่ห้องจัด
เป็นสัดเป็นส่วนดี
และนี่ก็คือความสุขของคุณวัลยา
ความสุขแบบพอดี ... ความสุขที่
เธอเลือกแล้ว
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
1717
ลุมพินีร่วมใจ ท้าปิดไฟให้โลกพัก
	 หลังจากที่ประชาคมลุมพินีได้ร่วมกันมอบสิ่งดีๆ ให้โลก ด้วยการ
ร่วมกิจกรรมปิดไฟให้โลกพักแล้ว LPN จึงได้คิดกิจกรรมต่อยอดเพื่อ
ขอบคุณในความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกท่าน โดยการจัดกิจกรรม
สนุกๆ ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 1 แสนบาท
	 กิจกรรมนี้มีชื่อว่า“ลุมพินีร่วมใจ
ท้าปิดไฟให้โลกพัก” เปิดรับสมัครผู้เข้า
ร่วมแข่งขันลดค่าไฟฟ้าโดยให้เจ้าของร่วม
นำ�ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนมีนาคม-
เมษายน 2558 มาแสดง แล้วส่งสำ�เนา
ไปให้กับทางนิติเพื่อร่วมสนุก ผู้ชนะ
ของแต่ละโครงการจะได้รับบริการ
เปลี่ยนหลอดไฟฟรี เป็นหลอด LED
ทั้งห้อง และนอกจากนี้ยังมีโชคชั้นที่ 2
ต่ออีก คือ Champ of The Champ ซึ่ง
เป็นการเฟ้นหาผู้ที่สามารถลดค่าไฟฟ้า
ได้มากที่สุดในประชาคมลุมพินี ชิงรางวัล
บัตรกำ�นัลมูลค่า 3,000 บาท พร้อมโล่
เกียรติยศ
	 โดยกิจกรรมครั้งนี้ ผู้ที่เป็น
ChampofTheChampก็คือคุณรัชนก
ฉัตรกาญจนากูล สมาชิกครอบครัวลุมพินี
เมกะซิตี้ บางนา สามารถลดค่าไฟฟ้าได้
50.08% จากเดิมที่เคยเปิดแอร์ตลอด
ทั้งวัน เปลี่ยนเป็นเปิดแอร์ก่อนนอน
คุณรัชนก ฉัตรกาญจนากูล
คุณวิภาวี จันทมัตตุการ
คุณปฎิภาณ ปวรกุล
2 ชม. และปรับเป็นเปิดแอร์เฉพาะเวลา
นอนในที่สุด
	 ส่วนอันดับที่ 2 คือ คุณวิภาวี
จันทมัตตุการ สมาชิกครอบครัวลุมพินี
วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 สามารถ
ลดค่าไฟฟ้าได้ 43.76% และอันดับที่ 3
คุณปฎิภาณ ปวรกุล สมาชิกครอบครัว
ลุมพินี วิลล์ พิบูลสงคราม-ริเวอร์วิว
สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 41.12%
	 ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะ
ในแต่ละโครงการ รวมถึงขอบคุณผู้ที่
เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน นี่เป็นเพียง
กิจกรรมร่วมสนุกเล็กๆน้อยๆที่ตอบแทน
ความร่วมมือร่วมใจของทุกท่านที่
ได้ประหยัดพลังงานเพื่อโลก LPN
ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้เล็งเห็นและให้
ความสำ�คัญในเรื่องการประหยัดพลังงาน
ร่วมกัน
Lumpini Movement
18
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
Ì͹¨Ñ§ âÅ¡àÃÒ¹ÕéÌ͹¢Öé¹·Ø¡ÇѹàŹоÕè Goody
ʧÊÒÃâÅ¡ ÍÂÒ¡¨Ð·ÓÍÐäÃà¾×èÍâÅ¡ºŒÒ§
ᵋäÁ‹¤‹ÍÂÁÕàÇÅÒàÅÂ
ᤋ 1 ªÑèÇâÁ§àͧ
¨Ðª‹ÇÂÅ´âšÌ͹䴌àËÃͤÐ
¡Ô¨¡ÃÃÁ¹Õé·ÑèÇâÅ¡¡ÓÅѧËÇÁÁ×͡ѹ
à¾×èÍâÅ¡¢Í§àÃÒ¤ÃѺ â´ÂàÁ×èÍ»‚·Õ輋ҹÁÒ
ÊÒÁÒö»ÃÐËÂÑ´ä¿¿‡Òä´Œ 1,768 àÁ¡ÐÇѵµ
áÅÐÅ´¡ÒüÅÔµ¡Ò«¤ÒϺ͹ä´ÍÍ¡ä«´ä´Œ 947 µÑ¹
ʋǹ»‚¹ÕéàÃÒÊÒÁÒö»ÃÐËÂÑ´ä¿¿‡Òä´ŒµÑé§ 1,940 àÁ¡ÐÇѵµ
áÅÐÅ´¡ÒüÅÔµ¡Ò«¤ÒϺ͹ä´ÍÍ¡ä«´ä´Œ 1,127 µÑ¹
«Öè§ÊÙ§¡Ç‹Ò»‚·ÕèáÅŒÇ
ÇŒÒÇ!
ÅͧÁÒËÇÁ¡Ñ¹»´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§
à¾×èÍãËŒâÅ¡ä´Œ¾Ñ¡ºŒÒ§´ÕäËÁ¤ÃѺ
¢ÍàªÔުǹ¤Ãͺ¤ÃÑÇÅØÁ¾Ô¹Õ ËÇÁ»´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§ ·Ø¡ÇѹàÊÒÏÊØ´·ŒÒ¢ͧà´×͹
áÅТͺ¤Ø³»ÃЪҤÁÅØÁ¾Ô¹Õ·Ø¡ªØÁª¹·ÕèËÇÁ㨻´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§ ª‹Ç§»ÅÒÂà´×͹
ÁÕ¹Ò¤Á·Õ輋ҹÁÒ ÊÒÁÒöŴ¡ÒÃ㪌俿‡Òä´Œ¶Ö§ 4,769 ¡ÔâÅÇѵµ ¹Ñºà»š¹¨Ø´àÃÔèÁµŒ¹·Õè´Õ
ÂÔè§·Ó ÂÔè§ä´ŒÁÒ¡
ᤋà¾Õ§ 1 ªÑèÇâÁ§ áÁŒ´ÙàËÁ×͹¨Ð¹ŒÍÂ
ᵋ¶ŒÒ·Ø¡¤¹Ã‹ÇÁÁ×͡ѹ¡ç¨Ð¡ÅÒÂ໚¹ÊÔè§ÂÔè§ãËÞ‹ä´Œ
Í‹ÒÅ×Á´ÙáÅâÅ¡¢Í§àÃÒ
à¾×è͵ÑÇàÃÒàͧáÅÐà¾×èͤ¹ÃØ‹¹ËÅѧ´ŒÇ¹ФÃѺ
LPN Green
LPN MAG 79 APR – JUN 2015
19
20
26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
เหตุขัดข้องที่น�ำจ่ายผู้รับไม่ได้
สิ่งตีพิมพ์
1. จ่าหน้าไม่ชัดเจน
2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้าซอง
3. ไม่ยอมรับ
4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้าซอง
5. ไม่มารับภายในก�ำหนด
6. เลิกกิจการ
7. ย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่
8. อื่นๆ.................................
ลงชื่อ....................................
ไม่ถึงมือผู้รับโปรดส่งคืน
ช�ำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน
ใบอนุญาตพิเศษที่ 175/2557
ปณจ. ยานนาวา

More Related Content

Viewers also liked

โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COM
โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COMโครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COM
โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COMPatai Padungtin
 
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industry
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industryเจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industry
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction IndustryBuilk Thailand
 
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างPanu Chaopricha
 
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estate
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estateสตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estate
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real EstatePatai Padungtin
 
Strategic Management - Starbucks Case
Strategic Management - Starbucks CaseStrategic Management - Starbucks Case
Strategic Management - Starbucks CaseWorawisut Pinyoyang
 
กาแฟสตาร์บัคส์
กาแฟสตาร์บัคส์กาแฟสตาร์บัคส์
กาแฟสตาร์บัคส์nualprang
 
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัด
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัดอบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัด
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัดkittisak_d
 
Kaizen วัตถุดิบ
Kaizen   วัตถุดิบKaizen   วัตถุดิบ
Kaizen วัตถุดิบViam Manufacturing
 
Business Process Improvement by Kaizen
Business Process Improvement by KaizenBusiness Process Improvement by Kaizen
Business Process Improvement by KaizenNukool Thanuanram
 
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรม
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรมThe truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรม
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรมmaruay songtanin
 
เถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยเถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยladyployda
 
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทย
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทยคู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทย
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทยKrukit Phutana
 
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยChatchamon Uthaikao
 

Viewers also liked (17)

โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COM
โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COMโครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COM
โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้าง ครึ่งปีแรก 2559 โดย BUILK.COM
 
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industry
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industryเจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industry
เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง - Digital Marketing in Construction Industry
 
Kai Zen
Kai ZenKai Zen
Kai Zen
 
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
แผนที่กลยุทธ์สำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
 
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estate
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estateสตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estate
สตาร์ทอัพ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - Disruption in Construction & Real Estate
 
Strategic Management - Starbucks Case
Strategic Management - Starbucks CaseStrategic Management - Starbucks Case
Strategic Management - Starbucks Case
 
กาแฟสตาร์บัคส์
กาแฟสตาร์บัคส์กาแฟสตาร์บัคส์
กาแฟสตาร์บัคส์
 
Sgc
SgcSgc
Sgc
 
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัด
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัดอบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัด
อบรม Kaizen บริษัท สยามราชธานี จำักัด
 
Kaizen วัตถุดิบ
Kaizen   วัตถุดิบKaizen   วัตถุดิบ
Kaizen วัตถุดิบ
 
Business Process Improvement by Kaizen
Business Process Improvement by KaizenBusiness Process Improvement by Kaizen
Business Process Improvement by Kaizen
 
Starbucks case study
Starbucks case studyStarbucks case study
Starbucks case study
 
Kaizen
Kaizen Kaizen
Kaizen
 
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรม
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรมThe truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรม
The truth about blockchain ห่วงโซ่การบันทึกทางธุรกรรม
 
เถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยเถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อย
 
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทย
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทยคู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทย
คู่มือไคเซ็น บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง ประเทศไทย
 
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
 

Similar to Issue 79 / APR - JUN 2015

แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.ppt
แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.pptแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.ppt
แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.pptNachaNC1
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือboomlonely
 
สวัสดิการผู้สูงอายุ
สวัสดิการผู้สูงอายุสวัสดิการผู้สูงอายุ
สวัสดิการผู้สูงอายุprimpatcha
 
Power point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมPower point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมyahapop
 

Similar to Issue 79 / APR - JUN 2015 (9)

Issue 80 / JUL - SEP 2015
Issue 80 / JUL - SEP 2015Issue 80 / JUL - SEP 2015
Issue 80 / JUL - SEP 2015
 
Issue 81 OCT - DEC 2015
Issue 81 OCT - DEC 2015Issue 81 OCT - DEC 2015
Issue 81 OCT - DEC 2015
 
แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.ppt
แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.pptแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.ppt
แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนppt.ppt
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือ
 
Issue 75 / MAY - JULY 2014
Issue 75 / MAY - JULY 2014Issue 75 / MAY - JULY 2014
Issue 75 / MAY - JULY 2014
 
Issue 75 / MAY - JULY 2014
Issue 75 / MAY - JULY 2014Issue 75 / MAY - JULY 2014
Issue 75 / MAY - JULY 2014
 
สวัสดิการผู้สูงอายุ
สวัสดิการผู้สูงอายุสวัสดิการผู้สูงอายุ
สวัสดิการผู้สูงอายุ
 
Asean camp
Asean campAsean camp
Asean camp
 
Power point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมPower point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคม
 

More from L.P.N. Development PCL.

เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.
เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.
เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2559
รายงานประจำปี 2559รายงานประจำปี 2559
รายงานประจำปี 2559L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2553
รายงานประจำปี 2553รายงานประจำปี 2553
รายงานประจำปี 2553L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2552
รายงานประจำปี 2552รายงานประจำปี 2552
รายงานประจำปี 2552L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2551
รายงานประจำปี 2551รายงานประจำปี 2551
รายงานประจำปี 2551L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2550
รายงานประจำปี 2550รายงานประจำปี 2550
รายงานประจำปี 2550L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2549
รายงานประจำปี 2549รายงานประจำปี 2549
รายงานประจำปี 2549L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2548
รายงานประจำปี 2548รายงานประจำปี 2548
รายงานประจำปี 2548L.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2547
รายงานประจำปี 2547รายงานประจำปี 2547
รายงานประจำปี 2547L.P.N. Development PCL.
 
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิว
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิวลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิว
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิวL.P.N. Development PCL.
 
รายงานประจำปี 2558
รายงานประจำปี 2558รายงานประจำปี 2558
รายงานประจำปี 2558L.P.N. Development PCL.
 

More from L.P.N. Development PCL. (20)

เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.
เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.
เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล. พี. เอ็น.
 
รายงานประจำปี 2559
รายงานประจำปี 2559รายงานประจำปี 2559
รายงานประจำปี 2559
 
รายงานประจำปี 2553
รายงานประจำปี 2553รายงานประจำปี 2553
รายงานประจำปี 2553
 
รายงานประจำปี 2552
รายงานประจำปี 2552รายงานประจำปี 2552
รายงานประจำปี 2552
 
รายงานประจำปี 2551
รายงานประจำปี 2551รายงานประจำปี 2551
รายงานประจำปี 2551
 
รายงานประจำปี 2550
รายงานประจำปี 2550รายงานประจำปี 2550
รายงานประจำปี 2550
 
รายงานประจำปี 2549
รายงานประจำปี 2549รายงานประจำปี 2549
รายงานประจำปี 2549
 
รายงานประจำปี 2548
รายงานประจำปี 2548รายงานประจำปี 2548
รายงานประจำปี 2548
 
รายงานประจำปี 2547
รายงานประจำปี 2547รายงานประจำปี 2547
รายงานประจำปี 2547
 
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิว
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิวลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิว
ลุมพินี วิลล์ นครอินทร์-ริเวอร์วิว
 
Lumpini Mag
Lumpini MagLumpini Mag
Lumpini Mag
 
Lumpini Place Bangna KM.3
Lumpini Place Bangna KM.3Lumpini Place Bangna KM.3
Lumpini Place Bangna KM.3
 
SD Focus ฉบับ 4 ปี 2559
SD Focus ฉบับ 4 ปี 2559SD Focus ฉบับ 4 ปี 2559
SD Focus ฉบับ 4 ปี 2559
 
รายงานประจำปี 2558
รายงานประจำปี 2558รายงานประจำปี 2558
รายงานประจำปี 2558
 
Lumpini Suite Phetcheburi-Makkasan
Lumpini Suite Phetcheburi-MakkasanLumpini Suite Phetcheburi-Makkasan
Lumpini Suite Phetcheburi-Makkasan
 
Issue 77 / OCT - DEC 2014
Issue 77 / OCT - DEC 2014Issue 77 / OCT - DEC 2014
Issue 77 / OCT - DEC 2014
 
LPN Newsletter Q2 / 2013
LPN Newsletter Q2 / 2013LPN Newsletter Q2 / 2013
LPN Newsletter Q2 / 2013
 
Issue 68 / Nov - DEC 2012
Issue 68 / Nov - DEC 2012Issue 68 / Nov - DEC 2012
Issue 68 / Nov - DEC 2012
 
City life 6
City life 6City life 6
City life 6
 
Issue 73 / Nov - DEC 2013
Issue 73 / Nov - DEC 2013Issue 73 / Nov - DEC 2013
Issue 73 / Nov - DEC 2013
 

Issue 79 / APR - JUN 2015

  • 1. LPN MAG 79 APR – JUN 2015 1 L.P.N. DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY LIMITED LUMPINI MAGISSUE 79 APR - JUN 2015 26ปี ความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัย สำ�หรับคนทุกวัย ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 2. 2 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 3. จัดท�ำโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) 3 Editor Content 4 Real Pleasure of Living 6 Happy Together 7 Vibrant Community Model 11 Health Tips 12 Care & Share 14 Idea Room 15 Chill Out 16 Chitchat 18 Lumpini Movement 19 LPN Green LUMPINI MAG content #79 สวัสดีครับ สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน ตลอดเวลาที่เราร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ความสุข ทุกเรื่องราวล้วนเป็นภาพแห่งความประทับใจที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ ทุกครั้งที่จรดปากกา ก่อนลงมือถ่ายทอดเรื่องราวลงไปใน LUMPINI MAG ... เราจะนึกถึงความสุขที่เกิดขึ้นท่ามกลางกิจกรรมในวันนั้นไปพร้อมกันกับทุกคน ท�ำให้ผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี เมื่อท่านหยิบกลับขึ้นมาอ่านใหม่ เจ้าของเรื่องราว หรือสมาชิกครอบครัวในชุมชนนั้นๆ จะมีรอยยิ้มขึ้นมาทันที รวมถึงสมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกท่าน ...เพราะความสุขยังคงอยู่ในนั้น ความทรงจ�ำเล็กๆ ที่ผ่านมาด้วยกันของแต่ละคน 26 ปี LPN ก็เช่นกัน ประสบการณ์ ความสุข ความทรงจ�ำ ของท่าน ล้วนเป็นแรงสนับสนุนท�ำให้เรามีวันนี้ ... จากการบ่มเพาะเรื่องราวดีๆ ที่ทุกท่านร่วมกันสร้างขึ้นมา ผลักดันให้เราร่วมสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ขอบคุณทุกก้าวส�ำคัญที่ท่านมอบให้เรามาโดยตลอด จากนี้ไป ไม่ใช่แค่ขาที่ต้องก้าวไปด้วยกัน ผมขอมือของทุกท่านร่วมกันสร้างสรรค์ “ความสุขที่แท้จริงในการอยู่อาศัย” ไปด้วยกันกับ “ชุมชนน่าอยู่” ของเรานะครับ โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพีนี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 02-285-5011-6 E-mail : lumpinimag@lpn.co.th www.lpn.co.th บททักทาย LPN MAG 79 APR – JUN 2015 3
  • 4. ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาชมรมรวม พลคนใจดี ลุมพินีอาสา ได้จัดกิจกรรม เพื่อดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมภายนอก โครงการเริ่มต้นที่พื้นที่ใกล้เคียงของกลุ่ม โครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ มีการ จัดกิจกรรม “รวมพลคนใจดี พัฒนา รามอินทรา ซอย 3” ขึ้น ซึ่งกิจกรรม นี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งเจ้าของร่วมกลุ่มโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่, กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ 30, สำ�นักงานเขตบางเขน, บริษัท แฟร์ 9350 จำ�กัด และผู้ประกอบการ ต่างมาร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งการทำ�ความ สะอาดพื้นที่ในซอย ทาสีเส้นจราจรกับ ขอบทางเท้าให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อ เพิ่มความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้รับ ความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านค้า ที่ขายของในบริเวณพื้นที่ร่วมทาสีเพื่อ จัดขอบเขตการวางสิ่งของค้าขายให้ เป็นระเบียบสวยงาม ทำ�ให้พื้นที่บริเวณ รามอินทราซอย3นั้นดูสวยงามและเป็น ระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นกว่าเดิม การร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ให้เกิดขึ้นได้นั้น นอกจากการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมภายในโครงการแล้ว ภายนอกโครงการของเราก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง ที่สมาชิกครอบครัวลุมพินีทุกคนไม่เคยมองข้าม กิจกรรมเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ในประชาคมลุมพินี Real Pleasure of Living 4 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 5. อีกหนึ่งกิจกรรม คือ “กิจกรรม รักษ์เต่า : รักทะเลไทย ปี 2” ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (เกาะมันใน) จ.ระยอง มีสมาชิกชมรม ฅนอาสาจำ�นวน 90 ท่าน ร่วมใจกัน เดินทางไปฟื้นฟูบ่อเต่าที่เสื่อมโทรม ด้วย การขัดล้างและทาสีบ่อเต่าให้กลับมา น่ามองอีกครั้ง นอกจากนี้ยังได้ร่วมกัน เก็บขยะรอบๆ เกาะมันในอีกด้วย ถือ เป็นการสร้างมิตรภาพและสร้างสิ่ง แวดล้อมที่ดีให้กับสังคม การพัฒนาเรื่องสังคมและ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่ได้นั้น นอกจากเราจะต้องพัฒนาภายในชุมชน ของเราเองแล้ว ชุมชนแวดล้อมภายนอก ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลกับที่อยู่อาศัยของเรา ล้วนเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำ�ให้ เกิดชุมชนน่าอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อ ทุกคนหันมาใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ในทุกพื้นที่ ก็จะทำ�ให้ทุกที่นั้นกลายเป็น พื้นที่ที่น่าอยู่ร่วมกัน LPN MAG 79 APR – JUN 2015 5
  • 6. 3 1. 2. 3. 3 2 “ ” 1 6 1. 2. 3. 4. 5. Happy Together 6 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 8. 8 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 9. 3. ผูมีสวนรวม 4. วัฒนธรรมการอยูอาศัยแบบชุมชนลุมพินี MOVIE IN PARK คณะกรรมการนิติบุคคล เจาของรวม และ ผูพักอาศัย เปนสวน สำคัญที่รวมสรางสรรคชุมชนนาอยูผานการเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น และใหความรวมมือ “รวมใจ” “หวงใย” และ “แบงปน” และ “ชุมชนตนแบบ” เหลานี้ ก็จะเปนตนแบบในการบริหารชุมชน ใหกับชุมชนลุมพินีและชุมชนอ�นๆ กาวสูการเปน “ชุมชนนาอยูยั่งยืน” ตอไป เปนการคัดเลือก “ชุมชนที่มีมาตรฐานในการบริหารจัดการอยางเปนรูปธรรม” มีองคประกอบครบถวน มีการบริหารจัดการที่ไดมาตรฐานผานเกณฑชี้วัดที่ กำหนดไว มีคณะกรรมการและเจาของรวมที่ใหความสำคัญกับการมีสวนรวม ในทุกๆ ดาน ทำงานรวมกับฝายจัดการฯ โดยมีเปาหมายเพ�อใหเกิด ความสุขที่แทจริงของการอยูอาศัย วัตถุประสงคเพ�อ • เปนมาตรฐาน คุณคา และจิตวิญญาณของ "ชุมชนนาอยู" • พัฒนาคุณคาเพิ่ม แบบบูรณาการผานชุมชนตนแบบ • บริหารจัดการทุกชุมชนลุมพินี ใหมีมาตรฐาน "ชุมชนนาอยูยั่งยืน" • เปนแหลงการเรียนรู การบริหารชุมชนสำหรับสถาบันและองคกรภาคธุรกิจ “ชุมชนตนแบบ” เพ�อ “ชุมชนนาอยูยั่งยืน” F B L E S 90% 85% การบริหารจัดการทรัพยสวนกลาง เกณฑการพิจารณา Facility Management การบริหารจัดการงบประมาณการเงินBudgeting Management การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตLife Quality Management การบริหารจัดการสิ่งแวดลอมEnviroment Management การบริหารจัดการความปลอดภัยSecurity and Safety Management วัดผลโดยฝายควบคุมการบริหารชุมชน Community Quality Assurance (CQA) P ความพึงพอใจในประสิทธิภาพชุมชน - เจาของรวม - กรรมการนิติบุคคลอาคารชุด วัดโดยฝายบริหารประสบการณลูกคา Customer Experience Management (CEM) 95% 90% 85% 95% การคัดเลือกชุมชนตนแบบ ชุมชนนาอยู ชุมชนตนแบบ People Management การบริหารผูเกี่ยวของ LPN MAG 79 APR – JUN 2015 9
  • 10. ความโดดเด่นของการออกแบบ ชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา คือ เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการ ลดใช้พลังงาน ทั้งคณะกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด ฝ่ายจัดการ และผู้พักอาศัยล้วน มีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันด้านการอนุรักษ์ และลดการใช้พลังงาน มีการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่สนับสนุนการลดใช้พลังงานอย่าง ต่อเนื่อง เช่น การปิดไฟในห้องชุดแล้วลง ไปเดินชิลล์ ชิลล์ ทำ�กิจกรรมสานสัมพันธ์ กับเพื่อนบ้านในตลาดนัดชุมชน “Lumpini Candle Park” ที่ทำ�ให้สวนรวมใจ ให้สว่างไสวไปด้วยแสงเทียน สร้างความ โรแมนติกและเติมความสุนทรีย์ด้วยเสียง ดนตรีเบาๆ ในยามค่ำ�คืน และในบางครั้ง ยังมีการยกหนังหนังกางแปลงมาตั้งฉาย กลางคอนโด ทำ�ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับ กลิ่นอายย้อนยุค คืนความทรงจำ�ดีๆ ให้ ลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา “ชุมชนประหยัดพลังงาน” ชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา เป็นตัวอย่างต้นแบบของ ชุมชนประหยัดพลังงาน โดยดำ�เนินการตามหลัก “ไคเซ็น” ซึ่งเป็นการ ปรับปรุงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต่อเนื่อง คุณพี่คุณน้ารุ่นใหญ่ ซึ่งเป็นบรรยากาศอัน แสนอบอุ่นที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนงบประมาณ ล้างแอร์เพื่อให้แอร์ระบายความร้อนได้ ดีขึ้น รวมถึงกิจกรรมด้านความสะอาด และความปลอดภัยที่จัดเป็นประจำ�อย่าง ต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการปรับภูมิทัศน์ ให้เป็นชุมชนสีเขียวที่พร้อมด้วยสิ่ง แวดล้อมที่ดี เหมาะสม และปลอดภัย ผลของการใช้หลักไคเซ็นในการ ดำ�เนินงาน ทำ�ให้ชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 9 - รัชดา มีมาตรฐานของชุมชน ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังส่งเสริมให้มูลค่า ของโครงการสูงขึ้นและมุ่งสู่การเป็นชุมชน ประหยัดพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ ติดตามเรื่องราวของชุมชน ต้นแบบ (ปี 2556) ที่เราได้คัดสรรมาฝาก เพื่อนสมาชิกครอบครัวลุมพินีในฉบับถัดไป กันนะคะ นี่เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่นำ�มาฝากกัน ชุมชน ต้นแบบ 10 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 11. สุขภาพที่ดีต้นทุนของการทำ�งาน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายของเราคือเครื่องมือทำ�มาหากิน อย่างหนึ่ง การดูแลสุขภาพไว้ให้ดีก็เปรียบเสมือนมีเครื่องมือที่ทรง ประสิทธิภาพ พร้อมที่จะผลิตงานที่เรารักออกมาให้ทุกคนได้เห็นศักยภาพ ที่ตัวเรามี อย่างไรก็ตามการออกกำ�ลังกาย อย่างเดียวไม่สามารถทำ�ให้สุขภาพดี ได้นะ เหมือนกับรายรับ-รายจ่าย ถ้าเรา ออกกำ�ลังกายมากๆ แล้วกินเยอะๆ ไม่ ควบคุมเรื่องการกินก็ไม่สามารถที่จะ ทำ�ให้ร่างกายของเราดีได้ ต้องสมดุลกัน ทั้งสองอย่าง จะออกกำ�ลังกายอย่างเดียว แล้วมาใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย กินเหล้า นอนดึก แบบนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อยากให้ทุกคนหันมาดูแล สุขภาพกันนะคะ เพราะการมีสุขภาพ ที่ดีนั้นเป็นพื้นฐานที่จะทำ�ให้เราทำ�งาน ได้ดี สมองเราก็จะดี คิดอะไรได้ดี ได้งาน ที่ดี และมีชีวิตที่ดีค่ะ” คุณแหวว-เจียรนัย อุตะมะ คือคนหนึ่งที่รักในอาชีพของตนเอง เธอ ดูแลตัวเองอย่างสมำ�เสมอเพื่อให้ร่างกาย แข็งแรง จิตใจสดใส กระปรี้กระเปร่า พร้อมเดินทางตลอดเวลา “อาชีพนักข่าวบางครั้งต้องไป ทำ�งานในที่ไกลๆ และลำ�บาก เช่น ต้องไปดูโรงไฟฟ้าหงสา ที่สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ถึงแม้จะนั่งเครื่องบิน ก็ต้องต่อรถ ถนน คดเคี้ยวไปอีกไกล เราต้องใช้ความเฟิร์ม ของร่างกาย การออกกำ�ลังกายเป็นการ วอร์มเพื่อพร้อมรับการทำ�งาน เรามีเวลาว่างไม่ได้ตรงกับคนอื่น การเล่นกีฬาที่สามารถเล่นได้คนเดียว อย่างโยคะที่เล่นมาเป็นสิบปี หรือว่ายนำ� เป็นสิ่งที่ทำ�มาตลอดการว่ายนำ�โดยพื้นฐาน จะได้ประโยชน์กับทุกส่วนของร่างกาย โยคะก็เหมือนกัน ทั้งสองอย่างใช้ระบบ หายใจในการเผาผลาญแคลอรี่ และใช้ สมาธิฝึกหายใจให้เป็นจังหวะ พอได้ย้าย มาอยู่ที่ลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า ก็ยิ่งทำ�ให้ เราว่ายนำ�ได้สมำ�เสมอมากขึ้น เพราะที่นี่ มีสระว่ายนำ�ที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ก็มีไปวิ่งกับน้องๆ ที่ ทำ�งานด้วยเหมือนกัน การได้เล่นโยคะ และว่ายนำ�ก็มีส่วนที่ทำ�ให้เราไม่ต้อง ซ้อมวิ่งมาก เพราะเราฝึกการหายใจ เป็นจังหวะจากการเล่นโยคะและการ ว่ายนำ�แล้ว ่ ้ ้ ้ ่ ้ ้ ้ Health Tips LPN MAG 79 APR – JUN 2015 1111
  • 12. ขอแนะนำ�ตัวก่อนเลยครับ ผม ชื่อ เอก-พิชาภพ กฤตกุลโรจน์ หนึ่งใน Fire Team ของชุมชนลุมพินี เพลส พระราม 3 - ริเวอร์วิว ก่อนหน้านี้ผมเคยอยู่ที่ชุมชน ลุมพินีเพลสสวนพลู-สาทรมานานกว่าสิบปี เป็นกรรมการเจ้าของร่วมอยู่ที่นั่น ตอนนั้นผมได้ประสบเหตุการณ์ ไฟไหม้ถึงสองครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ชุมชนที่ ผมอยู่ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็เกิดขึ้นที่ หลังสวนพลู ซึ่งเป็นบริเวณชุมชนข้างเคียง ในเวลานั้นได้เจ้าหน้าที่ชุมชนลุมพินีเข้ามา ช่วยเหลือ ทำ�ให้เหตุการณ์ไม่ลุกลามไปยัง ชุมชนของเรา พอเวลาผ่านไปไม่นานก็เกิด เหตุการณ์ซ้ำ�ขึ้นอีก ครั้งนี้เกิดขึ้นกลางดึก ในวันที่พวกเรากำ�ลังเตรียมจัดกิจกรรม ซ้อมหนีไฟในวันรุ่งขึ้น ซึ่งตอนนั้นทุกคน ต่างกลัวว่าไฟจะลุกลามเข้ามาในอาคาร ต่างก็วิ่งหนีตายกันลงมาอย่างไม่คิดชีวิต บางคนถึงกับจะกระโดดจากหน้าต่างลง มาเลย ในตอนนั้นผมเลยคิดว่า ..ทำ�ไมเรา ถึงไม่สร้าง Fire Team ขึ้นมา!!? จนเมื่อ ผมย้ายมาอยู่ที่โครงการลุมพินี เพลส พระราม 3-ริเวอร์วิว ผมและเพื่อนๆ ที่นี่ ได้รวมตัวกันสร้าง Fire Team ขึ้นมา แต่กว่าจะมี Fire Team อย่าง ทุกวันนี้ได้ เกิดจากการที่เราได้ทำ� กิจกรรมชุมชนร่วมกันมาโดยตลอด จนได้ รู้จักและสนิทคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี อย่าง เวลาจัดกิจกรรมซ้อมหนีไฟ ที่นี่มีผู้เข้า ร่วมกิจกรรมเป็นร้อยเลยนะครับ พวกเขา ตั้งใจที่จะมาเรียนรู้เพื่อนำ�ไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ก็พากัน ร่วมกันปกป้องอัคคีภัย ถ้าคุณทอดน้ำ�มันอยู่ แล้วไฟลุกกระทะคุณจะทำ�อย่างไร? จะเอาน้ำ�ราดไหม? หากคุณเอาน้ำ�ราด มันจะระเบิดเป็น ทะเลเพลิงเลยล่ะ นักเขียนลุมพินี : คุณพิชาภพ กฤตกุลโรจน์ สมาชิกครอบครัวลุมพินี เพลส พระราม 3-ริเวอร์วิว Care & Share 12 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 13. มานั่งฟัง ที่นี่เด็กบางคนสามารถหยิบจับ ถังดับเพลิงแล้ววิ่งเข้าไปดับไฟได้ด้วยนะ ครับ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำ�ให้เรารู้หรอกว่าใคร เป็นคนเสียสละ ต้องมีการพูดคุยกัน ถ้าเขามีความสนใจ เราก็ชวนเขาต่อได้ ในการสร้าง Fire Team เราได้เชิญ วิทยากรที่มีความสามารถ และทักษะใน การสื่อสารมาสอน โดยมีการสร้างทีมกัน เป็นรุ่นๆแต่ละรุ่นมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน อย่างต่อเนื่องเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผมหวังให้ทุกชุมชนของลุมพินีจะ รักในชุมชนของตัวเอง และร่วมกันสร้าง Fire Team ขึ้นมา เพื่อเรียนรู้วิธีนำ�พา ครอบครัวให้อยู่กันอย่างปลอดภัยในเวลาที่ เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา ทุกคนจะ ได้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เมื่อ คุณมีโอกาสที่จะร่วมกันปกป้องอัคคีภัย ให้กับครอบครัวของคุณ เหตุใดจะปล่อย โอกาสนั้นไปล่ะ น่าเสียดายออกนะครับ มาร่วมกันสร้าง Fire Team ในชุมชน ของคุณกันเถอะครับ LPN MAG 79 APR – JUN 2015 13
  • 14. ห้องสวย มีเรื่องเล่า การเดินทางนอกจากจะได้เปิดโลกกว้างแล้ว ยังได้ ความทรงจำ�ดีๆ กลับมามากมาย รวมถึงยังได้เลือกสิ่งของต่างๆ จากหลายสถานที่มาตกแต่งบ้านอีกด้วย ซึ่งห้องของคุณ Erik Leif หรือคุณลีฟ สมาชิกครอบครัวลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 77 (2) สามารถยืนยันคำ�กล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี ห้องของคุณลีฟไม่ได้เริ่มต้นจากโจทย์ แต่เริ่มต้นจาก การเดินทางท่องเที่ยว เขาได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปยัง ประเทศต่างๆ ทั้งอินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ รวมไปถึงประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเวลาที่คุณลีฟ กลับมาที่นี่ เขามักจะนำ�เฟอร์นิเจอร์ รูปภาพ หรือของน่ารัก ต่างๆ จากต่างประเทศกลับมาด้วย คุณลีฟว่าหลักสำ�คัญของการแต่งห้อง คือเรื่องโทนสี ควรเป็นสีที่ชอบ อยู่แล้วสบายตา สบายใจ สำ�หรับตัวคุณลีฟ นั้นชอบโทนสีกลางๆ จึงเลือกใช้วอลล์เปเปอร์สีโอลด์โรสอ่อนๆ เพื่อตัดกับเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ที่เป็นไม้สีนำ�ตาลที่เขาชอบ การได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ในความทรงจำ�เช่นเดียวกัน คุณลีฟเล่าให้ฟังต่อว่า เฟอร์นิเจอร์ บางชิ้น อย่างชั้นวางรองเท้า และตู้เสื้อผ้าในห้องนอน รวมถึง โต๊ะในโซนรับแขกนั้น เขาออกแบบเอง แล้วส่งให้กับช่าง ทำ�เฟอร์นิเจอร์ฝีมือดีในบ้านเราเป็นคนสร้างขึ้นให้เป็นรูปเป็นร่าง หากทุกอย่างถูกถอดแบบออกมาจากแค็ตตาล็อก เราก็คงจะ ไม่มีเรื่องเล่าอะไรเลย สำ�หรับ 6 ปีของการอยู่ที่เมืองไทย ทุกๆ ครั้งที่คุณลีฟ ได้กลับมายัง ลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 77 (2) เขาเรียกได้เต็มปาก ว่า ที่นี่คือ “บ้าน” เขารู้สึกผ่อนคลายเสมอ บางครั้งแค่ยืนจิบชา ตรงระเบียงแล้วฟังเสียงเด็กๆ วิ่งเล่นด้านล่าง แค่นั้นเขาก็รู้สึก สดชื่นเติมเต็มขึ้นมาได้แล้ว ้ idea Room 14 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่ 14 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 15. เบค อะ วิช ต้นตำ�รับเค้กญี่ปุ่นภาคไทย รายละเอียดร้าน ที่ตั้ง : ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 19 (วัดบางปะกอก) เขตราษฎร์บูรณะ สาขาอื่น : สยามพารากอน วันและเวลาเปิดบริการ : ทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-20.00 น. จุดจอดรถ : บริเวณวัดบางปะกอก มีบริการรถกอล์ฟ (แต่ต้องยกสายโทรแจ้งด้วยนะ) โทรศัพท์ : 02-427-3120 Facebook : Bake a wish Japanese homemade cake เบค อะ วิช เป็นร้านเบเกอรี่โฮมเมดซึ่งเลื่องชื่อเรื่อง เค้กญี่ปุ่น (ซอฟท์ครีมเค้ก) สูตรโกเบ ทำ�โดยคนไทย และเป็น แบรนด์คนไทย เมนูเค้กที่ต้องห้ามพลาดได้แก่ ชูครีม (ครีมพัฟ) ซอฟท์ครีมเค้กขนมปังคุกกี้รวมกว่า40ชนิดละลานตาจนเลือก ทานไม่ถูก เพราะน่าทานไปหมดทุกชิ้น ชนิดว่าหนุ่มๆ คนไหน ที่โดนหวานใจงอน พาสาวเจ้าไปร้านนี้เป็นต้องง้อสำ�เร็จแน่ๆ สัมผัสจากเบค อะ วิช ได้ว่าเป็นเค้กที่แป้งนุ่ม ครีมเบา ไม่หวาน ไม่เลี่ยน เพราะเน้นความสำ�คัญที่รสชาติจากวัตถุดิบ เป็นรสตามธรรมชาติ (เนเจอรัลเทสต์) โดยวัตถุดิบบางอย่างสั่ง มาจากฮอกไกโดและใครที่รับรสช็อกโกแลตขมเข้มหรือชาเชียว แบบเข้มข้นได้ คงสนุกกับการรับประทานเค้กเบค อะ วิช ได้ไม่ยาก ส่วนใครที่ยังไม่ถึงขั้นนั้นก็ใช่ว่าจะทานลำ�บากนะ ของแบบนี้ต้องลองกับปากตัวเอง และครีมก็ใช้ไขมันพืชที่ให้ แคลอรี่ตำ� ไร้กังวลเรื่องพลังงานที่รับไม่เยอะจนเกินกว่าที่ ร่างกายจะเผาผลาญออกไป ซึ่งไม่ทำ�ให้อ้วนนั่นเอง (เว้นแต่ว่า จะหยุดใจไม่ไหวแล้วทานแบบไม่ยั้ง) เบค อะ วิช สาขาสุขสวัสดิ์ 19 ย่านบางปะกอก เป็นสาขาที่ใกล้กับโครงการลุมพินี เพลส สุขสวัสดิ์-พระราม 2 ซึ่งสมาชิกครอบครัวลุมพินีหลายท่านเริ่มทยอยเข้าอยู่แล้ว เบค อะ วิช สาขาดังกล่าวนี้เปิดบริการมาแล้ว 9 ปี เป็นตึกแถว ขนาดหนึ่งคูหา 5 ชั้น ตกแต่งร้านรูปแบบโมเดิร์น เจแปนนิส เปิดประตูร้านเข้าไปก็สะดุดกับโคมไฟแขวนลงมาราวกับว่า อยู่ท่ามกลางหมู่ดาวในอวกาศ ซึ่งนอกจากเค้กญี่ปุ่นแล้ว ยังมี อาหารสัญชาติญี่ปุ่น และบุฟเฟ่ต์บาร์ ในราคาเหมาจ่ายเพียง 350 บาท จัดกันเต็มอิ่มเชียวล่ะ ต้องบอกไว้ก่อนว่า เบค อะ วิช สาขาที่ Chill Out นำ�มาแนะนำ�นี้ คนเนืองแน่นตั้งแต่เปิดยันปิดร้าน เฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตกฤษ์ ต้องโทรสำ�รองที่ ล่วงหน้ากันเลยทีเดียว ไม่อย่างนั้นก็เสี่ยงดวงมารอคิวต่อแถว คอยเต็มสองฟากถนนอย่างภาพที่ขาประจำ�เห็นจนชินตา นั่นเพราะว่าคุณภาพและความเป็นต้นฉบับในแบบเบค อะ วิช เป็นเครื่องการันตีความอร่อยของร้าน ่ Chill Out LPN MAG 79 APR – JUN 2015 15
  • 16. ความสุขแบบพอดี ความสุขที่เลือกเอง ฉบับนี้ขอพาเพื่อนๆ มาทำ�ความรู้จักกับสมาชิกครอบครัวลุมพินีที่ เต็มไปด้วยความสุขในครอบครัวลุมพินี เมกะซิตี้-บางนา โดยคุณวัลยา สฤษฏ์เลิศวรสิน สาวหน้าใสนักการตลาดกับการตัดสินใจเลือกความสุข แบบพอดีกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง เธอเล่าให้เราฟังว่า Chitchat 16 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 17. “ปกติจะขับรถผ่านย่านบางนา นี้ทุกวัน เพราะว่าทำ�งานอยู่ที่ตึกเนชั่น และคุณแม่เองก็ชอบโครงการนี้เนื่องจาก เดินทางสะดวก เลยตัดสินใจลองเข้ามา ชมโครงการ ซึ่งก็มาถูกใจที่อาคาร B โดยห้องที่เลือกเห็นว่าใกล้ลิฟต์ และวิว ก็ดี อะไรก็ดีไปหมด เลยรู้สึกว่าห้องนี้ โอเคเลยแต่สิ่งหนึ่งที่สำ�คัญและทำ�ให้ชอบ ห้องของลุมพินีมากๆ ก็คือการออกแบบ ห้องได้เป็นสัดเป็นส่วนที่ดี ด้วยขนาดห้อง ที่เราอยู่ก็ไม่ได้ถึงขนาดว่าเล็กจนเกินไป และไม่ได้ใหญ่เกินความต้องการ มันพอดี กับความรู้สึกของเรามากๆ” คุณวัลยาเล่าต่อว่า เธอเริ่มย้าย เข้ามาอยู่เมื่อช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งประมาณเดือนกันยายนของปีก็เริ่ม ติดต่อช่างในการดำ�เนินงานตามแบบ แปลนที่วางไว้ จากนั้นก็ซื้อของตกแต่ง เข้าห้อง กว่าจะเสร็จทุกอย่างประมาณ ปลายปีนั่นแหละ นอกจากนี้ เรื่องสภาพแวดล้อม ในการอยู่อาศัยของที่นี่เธอว่าก็โอเคเลยนะ ตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยแม่บ้านล้วนแต่เป็นมิตรและมี อัธยาศัยดีมาก อย่างเวลาที่เจอกับคุณแม่ หรือตัวเธอเองก็จะทักทายด้วยคำ�ว่า “สวัสดีค่ะ” ทุกครั้งที่เจอกัน และเพราะ ทุกคนที่นี่ช่วยกันสร้างให้สภาพแวดล้อม ในการอยู่อาศัยที่ดีให้เกิดขึ้น เลยส่งผล ให้ชุมชนของที่นี่น่าอยู่เช่นกัน ในฐานะนักการตลาด คุณวัลยา มองว่าลุมพินีเป็นอาคารชุดพักอาศัยที่มี อยู่ครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ โดยจุดเด่นของลุมพินีที่หลายๆคนเห็นคือ ทำ�เลที่ตั้ง ถือว่าดีมาก ทำ�ให้การเดินทาง ไปไหนมาไหนสะดวก และในเรื่องของ ราคาก็เหมาะสม ที่สำ�คัญมีขนาดห้องให้ เลือกหลายแบบทั้งขนาดเล็กขนาดกลาง และขนาดใหญ่ สำ�หรับเธอจะเน้นเรื่องการ ออกแบบห้องให้มีพื้นที่ใช้สอยมากที่สุด เธอเล่าว่าตัวเธอเองเป็นคนไม่ค่อยได้ออก ไปไหน ถ้าวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็จะ อยู่ห้องเพื่อทำ�ความสะอาด ถูบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ส่วนห้องที่เป็นมุมโปรดก็ จะเป็นห้องนั่งเล่นกับห้องนอน เวลาที่มี เพื่อนมาหา ส่วนใหญ่ก็จะชอบที่ห้องจัด เป็นสัดเป็นส่วนดี และนี่ก็คือความสุขของคุณวัลยา ความสุขแบบพอดี ... ความสุขที่ เธอเลือกแล้ว LPN MAG 79 APR – JUN 2015 1717
  • 18. ลุมพินีร่วมใจ ท้าปิดไฟให้โลกพัก หลังจากที่ประชาคมลุมพินีได้ร่วมกันมอบสิ่งดีๆ ให้โลก ด้วยการ ร่วมกิจกรรมปิดไฟให้โลกพักแล้ว LPN จึงได้คิดกิจกรรมต่อยอดเพื่อ ขอบคุณในความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกท่าน โดยการจัดกิจกรรม สนุกๆ ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 1 แสนบาท กิจกรรมนี้มีชื่อว่า“ลุมพินีร่วมใจ ท้าปิดไฟให้โลกพัก” เปิดรับสมัครผู้เข้า ร่วมแข่งขันลดค่าไฟฟ้าโดยให้เจ้าของร่วม นำ�ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนมีนาคม- เมษายน 2558 มาแสดง แล้วส่งสำ�เนา ไปให้กับทางนิติเพื่อร่วมสนุก ผู้ชนะ ของแต่ละโครงการจะได้รับบริการ เปลี่ยนหลอดไฟฟรี เป็นหลอด LED ทั้งห้อง และนอกจากนี้ยังมีโชคชั้นที่ 2 ต่ออีก คือ Champ of The Champ ซึ่ง เป็นการเฟ้นหาผู้ที่สามารถลดค่าไฟฟ้า ได้มากที่สุดในประชาคมลุมพินี ชิงรางวัล บัตรกำ�นัลมูลค่า 3,000 บาท พร้อมโล่ เกียรติยศ โดยกิจกรรมครั้งนี้ ผู้ที่เป็น ChampofTheChampก็คือคุณรัชนก ฉัตรกาญจนากูล สมาชิกครอบครัวลุมพินี เมกะซิตี้ บางนา สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 50.08% จากเดิมที่เคยเปิดแอร์ตลอด ทั้งวัน เปลี่ยนเป็นเปิดแอร์ก่อนนอน คุณรัชนก ฉัตรกาญจนากูล คุณวิภาวี จันทมัตตุการ คุณปฎิภาณ ปวรกุล 2 ชม. และปรับเป็นเปิดแอร์เฉพาะเวลา นอนในที่สุด ส่วนอันดับที่ 2 คือ คุณวิภาวี จันทมัตตุการ สมาชิกครอบครัวลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 สามารถ ลดค่าไฟฟ้าได้ 43.76% และอันดับที่ 3 คุณปฎิภาณ ปวรกุล สมาชิกครอบครัว ลุมพินี วิลล์ พิบูลสงคราม-ริเวอร์วิว สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 41.12% ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะ ในแต่ละโครงการ รวมถึงขอบคุณผู้ที่ เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน นี่เป็นเพียง กิจกรรมร่วมสนุกเล็กๆน้อยๆที่ตอบแทน ความร่วมมือร่วมใจของทุกท่านที่ ได้ประหยัดพลังงานเพื่อโลก LPN ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้เล็งเห็นและให้ ความสำ�คัญในเรื่องการประหยัดพลังงาน ร่วมกัน Lumpini Movement 18 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่
  • 19. Ì͹¨Ñ§ âÅ¡àÃÒ¹ÕéÌ͹¢Öé¹·Ø¡ÇѹàŹоÕè Goody ʧÊÒÃâÅ¡ ÍÂÒ¡¨Ð·ÓÍÐäÃà¾×èÍâÅ¡ºŒÒ§ ᵋäÁ‹¤‹ÍÂÁÕàÇÅÒàÅ ᤋ 1 ªÑèÇâÁ§àͧ ¨Ðª‹ÇÂÅ´âšÌ͹䴌àËÃͤР¡Ô¨¡ÃÃÁ¹Õé·ÑèÇâÅ¡¡ÓÅѧËÇÁÁ×͡ѹ à¾×èÍâÅ¡¢Í§àÃÒ¤ÃѺ â´ÂàÁ×èÍ»‚·Õ輋ҹÁÒ ÊÒÁÒö»ÃÐËÂÑ´ä¿¿‡Òä´Œ 1,768 àÁ¡ÐÇѵµ áÅÐÅ´¡ÒüÅÔµ¡Ò«¤ÒϺ͹ä´ÍÍ¡ä«´ä´Œ 947 µÑ¹ ʋǹ»‚¹ÕéàÃÒÊÒÁÒö»ÃÐËÂÑ´ä¿¿‡Òä´ŒµÑé§ 1,940 àÁ¡ÐÇѵµ áÅÐÅ´¡ÒüÅÔµ¡Ò«¤ÒϺ͹ä´ÍÍ¡ä«´ä´Œ 1,127 µÑ¹ «Öè§ÊÙ§¡Ç‹Ò»‚·ÕèáÅŒÇ ÇŒÒÇ! ÅͧÁÒËÇÁ¡Ñ¹»´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§ à¾×èÍãËŒâÅ¡ä´Œ¾Ñ¡ºŒÒ§´ÕäËÁ¤ÃѺ ¢ÍàªÔުǹ¤Ãͺ¤ÃÑÇÅØÁ¾Ô¹Õ ËÇÁ»´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§ ·Ø¡ÇѹàÊÒÏÊØ´·ŒÒ¢ͧà´×͹ áÅТͺ¤Ø³»ÃЪҤÁÅØÁ¾Ô¹Õ·Ø¡ªØÁª¹·ÕèËÇÁ㨻´ä¿ 1 ªÑèÇâÁ§ ª‹Ç§»ÅÒÂà´×͹ ÁÕ¹Ò¤Á·Õ輋ҹÁÒ ÊÒÁÒöŴ¡ÒÃ㪌俿‡Òä´Œ¶Ö§ 4,769 ¡ÔâÅÇѵµ ¹Ñºà»š¹¨Ø´àÃÔèÁµŒ¹·Õè´Õ ÂÔè§·Ó ÂÔè§ä´ŒÁÒ¡ ᤋà¾Õ§ 1 ªÑèÇâÁ§ áÁŒ´ÙàËÁ×͹¨Ð¹ŒÍ ᵋ¶ŒÒ·Ø¡¤¹Ã‹ÇÁÁ×͡ѹ¡ç¨Ð¡ÅÒÂ໚¹ÊÔè§ÂÔè§ãËÞ‹ä´Œ Í‹ÒÅ×Á´ÙáÅâÅ¡¢Í§àÃÒ à¾×è͵ÑÇàÃÒàͧáÅÐà¾×èͤ¹ÃØ‹¹ËÅѧ´ŒÇ¹ФÃѺ LPN Green LPN MAG 79 APR – JUN 2015 19
  • 20. 20 26 ปี ลุมพินี ชุมชนน่าอยู่ เหตุขัดข้องที่น�ำจ่ายผู้รับไม่ได้ สิ่งตีพิมพ์ 1. จ่าหน้าไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้าซอง 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้าซอง 5. ไม่มารับภายในก�ำหนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่นๆ................................. ลงชื่อ.................................... ไม่ถึงมือผู้รับโปรดส่งคืน ช�ำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตพิเศษที่ 175/2557 ปณจ. ยานนาวา