SlideShare a Scribd company logo
1 of 3
Download to read offline
แผ่นดินไหว (Earthquake)
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุ
ใหญ่สาเหตุแรกเกิดจากการกระทาของมนุษย์ และการ
เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของ
แผ่นเปลือกโลกทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหว
ที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ
ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลกโดย
แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง
โก่งตัวอย่างฉับพลันและเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุโดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน เมื่อรอย
เลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมากพร้อมทั้งปลดปล่อย
พลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน
อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่าง
ฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้น
เปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ
แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยใน
บริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค ( lithosphere) เรียก
แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (
interplate
earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)
แผ่นดินไหวจากการกระทาของมนุษย์
มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทาเหมือง สร้างอ่างเก็บน้าหรือเขื่อนใกล้รอย
เลื่อน การทางานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
คลื่นในแผ่นดินไหว
คลื่นแผ่นดินไหวถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่ง
ได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศ
ทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ
2. คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่น
เคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง
2. คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด
1. คลื่น L (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตัง
ฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
2. คลื่น R (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศ
ทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทาให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง
ขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว
ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูป
ของการสั่นสะเทือน คานวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วย
เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วย
เป็น " ริคเตอร์"
ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่
วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้
มาตราเมอร์แคลลี่ สาหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลาดับความรุนแรง
แผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก
มาตราริคเตอร์ ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้
ศูนย์กลาง
ขนาด
ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
1-2.9
เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน
ศีรษะ
3-3.9
เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
4-4.9
เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึง
การ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9
เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9
เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป
เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดิน
แยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
มาตราเมอร์แคลลี่
อันดับที่
I
II
III
IV
V
VI
VII
VIII
IX
X
XI
XII

ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
พอรู้สึกได้สาหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
พอรู้สึกได้สาหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน
พื้นดินอ่อน
ทาลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

รอยเลื่อนบริเวณประเทศไทย
1. รอยเลื่อนเชียงแสน
2. รอยเลื่อนแพร่
3. รอยเลื่อนแม่ทา
4. รอยเลื่อนเถิน
5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
7. รอยเลื่อนเจดีสามองค์
8. รอยเลื่อนระนอง
9. รอยเลื่อนคลองมะรุย
ที่มา: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

More Related Content

Similar to แผ่นดินไหว

บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงnarongsakday
 
แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1apiwan
 
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)gamertense
 
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงสื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงพัน พัน
 
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหว
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหวโลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหว
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหวMoukung'z Cazino
 
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลงTa Lattapol
 

Similar to แผ่นดินไหว (8)

บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1
 
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
 
Physical geology 1 3
Physical geology 1 3Physical geology 1 3
Physical geology 1 3
 
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)
แผ่นดินไหว ดาราศาสตร์ (Earthquake - Astronomy class)
 
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงสื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
 
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหว
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหวโลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหว
โลกดาราศาสตร์ เรื่อง แผ่นดินไหว
 
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง
 

More from Nattha Namm

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวNattha Namm
 
ธาตุหมู่ 6A
ธาตุหมู่ 6Aธาตุหมู่ 6A
ธาตุหมู่ 6ANattha Namm
 
ดินถล่ม
ดินถล่มดินถล่ม
ดินถล่มNattha Namm
 
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปNattha Namm
 
สงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนามสงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนามNattha Namm
 
หลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนหลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนNattha Namm
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Nattha Namm
 
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัยNattha Namm
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมNattha Namm
 
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยา
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยาตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยา
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยาNattha Namm
 
ใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นNattha Namm
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นNattha Namm
 

More from Nattha Namm (13)

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
 
ธาตุหมู่ 6A
ธาตุหมู่ 6Aธาตุหมู่ 6A
ธาตุหมู่ 6A
 
ดินถล่ม
ดินถล่มดินถล่ม
ดินถล่ม
 
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป
 
สงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนามสงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนาม
 
หลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนหลักการทรูแมน
หลักการทรูแมน
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
 
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยา
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยาตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยา
ตามรอยภาพความเจริญสมัยอยุธยา
 
ใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้น
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 

แผ่นดินไหว

  • 1. แผ่นดินไหว (Earthquake) สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุ ใหญ่สาเหตุแรกเกิดจากการกระทาของมนุษย์ และการ เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลกทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหว ที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลกโดย แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลันและเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุโดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน เมื่อรอย เลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมากพร้อมทั้งปลดปล่อย พลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่าง ฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้น เปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยใน บริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค ( lithosphere) เรียก แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น ( interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake) แผ่นดินไหวจากการกระทาของมนุษย์ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทาเหมือง สร้างอ่างเก็บน้าหรือเขื่อนใกล้รอย เลื่อน การทางานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น คลื่นในแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่ง ได้เป็น 2 ชนิดคือ
  • 2. 1. คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศ ทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ 2. คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่น เคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง 2. คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด 1. คลื่น L (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตัง ฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น 2. คลื่น R (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศ ทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทาให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง ขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูป ของการสั่นสะเทือน คานวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วย เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วย เป็น " ริคเตอร์" ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่ วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สาหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลาดับความรุนแรง แผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก มาตราริคเตอร์ ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ ศูนย์กลาง ขนาด ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง 1-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ 3-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน 4-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึง การ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว 5-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่ 6-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดิน แยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
  • 3. มาตราเมอร์แคลลี่ อันดับที่ I II III IV V VI VII VIII IX X XI XII ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ พอรู้สึกได้สาหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ พอรู้สึกได้สาหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน ทาลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน รอยเลื่อนบริเวณประเทศไทย 1. รอยเลื่อนเชียงแสน 2. รอยเลื่อนแพร่ 3. รอยเลื่อนแม่ทา 4. รอยเลื่อนเถิน 5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี 6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ 7. รอยเลื่อนเจดีสามองค์ 8. รอยเลื่อนระนอง 9. รอยเลื่อนคลองมะรุย ที่มา: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม