SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
1 
ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย1 
ผมขอขอบคุณผู้จัดที่ให้เกียรติ ชวนผมมาคุยในวันนี้ แม้ผมจะไม่ได้มีประสบการณ์ตรงในการทางานร่วมกับ สมัชชาคนจน แต่ในฐานะคนที่สนใจติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของคนจน คนด้อยโอกาส และทางาน พัฒนาชนบทมาบ้าง ก่อนที่จะมาสอนหนังสือ ผมคงพอมีประเด็นแลกเปลี่ยนอยู่บ้าง ตามสติปัญญาจะอานวย 
ผมขอเริ่มจากความเชื่อโดยพื้นฐานก่อน คือ ผมเชื่อว่า ความยากจน คนจน ความเหลื่อมล้า ระหว่างคนจนกับ คนรวยนั้น มีส่วนอย่างมากจากการกาหนดนโยบายของรัฐ ดังนั้นการเข้าไปมีอิทธิพลต่อนโยบายรัฐ ไม่ว่าจะ โดยอ้อมที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งพรรคการเมืองเข้าไปเป็นรัฐบาล หรือ โดยทางตรง ที่ผ่านกระบวนการ พูดคุย เจรจา ประท้วง ต่อรองกับภาคปฏิบัติของนโยบายรัฐ ผมถือว่าเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตยทั้งสิ้น และก็ เชื่อว่าประชาธิปไตยทั้ง 2 รูปแบบ จะช่วยทาให้คาแถลงของสมัชชาคนจนที่ว่า “เราต้องการประชาธิปไตยที่ กินได้ และการเมืองที่เห็นหัวคนจน” เข้าใกล้ความเป็นจริงได้มากขึ้นเรื่อยๆ 2 
ที่กล่าวไปนั้นหากมองผ่านเรื่องของอานาจ เราอาจพูดได้ว่า ประชาธิปไตยแบบหนึ่งเป็นแบบที่เราอยากจะ สร้างอานาจนา คือ ลงคะแนนให้ตัวแทนของเราเข้าไปมีอานาจในรัฐ แล้วใช้อานาจรัฐทากฎหมายและนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มันไม่ชอบธรรม ไม่เป็นธรรม ขณะที่อีกแบบหนึ่ง เป็นแบบที่เราเรียกมันว่า เป็นการ ต่อรองอานาจ อ้อล้อกับอานาจรัฐ ไม่ให้มันถูกใช้อย่างไม่เห็นหัวเรา ไม่ให้มันถูกใช้เพื่อผลประโยชน์ของคนบาง กลุ่ม บางพวกเท่านั้น 
ซึ่งในตอนท้าย ผมคงต้องวกกลับมาเพื่อตั้งคาถามว่าแล้วต่อจากนี้ ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมที่รอบด้าน ไม่เหมือนเดิม และความอ่อนล้าของ สมัชชาคนจน ขบวนคนจน หรือรวมถึง พี่เลี้ยง NGO และ นักวิชาการ เราจะเลือกใช้อานาจในรูปแบบใดเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย 
1 วีรบูรณ์ วิสารทสกุล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : เวทีสาธารณะ เหลียวหลังแลหน้าสถานการณ์คนจน วันที่ 4 ธันวาคม 2557 ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
2 แถลงการณ์ สมัชชาคนจน 10 ธันวาคม 2549 http://www.prachatai.com/journal/2006/12/10868 ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 
ผมขอเริ่มต้นจากมุมมองระดับกว้าง เพื่อยืนยันว่า คนจนต่างหากที่มีทัศนะและปฏิบัติการต่อประชาธิปไตย อย่างเข้มข้นมาโดยตลอด ซึ่งเอาเข้าจริงคงมากกว่าที่ผมมีเสียด้วยซ้า งานวิจัยนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Poverty, Participation, and Democracy: A Global Perspective ซึ่งมี อนิรุธ กฤษณะ (Anirudh Krishna) เป็น บก. (2008) และเป็นทีมที่ทางานวิจัยเชิงสารวจเกี่ยวกับการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยของ คนยากคนจนในประเทศที่ยังมีเศรษฐกิจไม่ดี ครอบคลุมตัวอย่างทั้งหมด 24 ประเทศ จาก 3 ทวีป ได้แก่ ทวีป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ 
ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าคนจนในประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้ให้คุณค่าแก่ประชาธิปไตยด้อยไปกว่าคนที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าในประเทศเดียวกัน ขณะที่ มีความศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยของคนจน เท่าๆ กับประชาชนกลุ่มอื่นๆ และคนจนยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองไม่ได้แตกต่างจากคนกลุ่มอื่นๆ ใน สังคมเดียวกันมากนัก นักวิจัยยังชี้อีกว่า แม้ว่าอิทธิพลทางการเมืองของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงไม่หมด ไป แต่มันกาลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยได้ค่อยๆ ปลูกฝังอยู่ใน สานึก และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาดีขึ้นในระยะยาว3 
เสียดายงานชิ้นนี้ไม่ได้มาทาในเมืองไทย 
แต่รูปธรรมในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ผมเห็นว่าขบวนการสมัชชาคนจนได้สร้างคุณูปการต่อการเปิด พื้นที่ของสิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยที่กินได้ให้กับสังคมไว้แล้ว โดยขบวนการชาวบ้านได้เข้าไปเรียกร้อง ต่อต้าน เดินขบวนเพื่อคัดค้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน นิคมอุตสาหกรรม โรงแยกกาซ โรงไฟฟ้า เหมือง ที่ดิน ป่าไม้ การค้าระหว่างประเทศ ยา เรื่องราวเหล่านี้มันได้ โผล่ปรากฏบนสื่อทุกชนิด มันช่วยเปิดพื้นที่การรับรู้ของคนหนุ่ม คนสาว คนในเมือง ให้เห็นประชาธิปไตย ในทางปฏิบัติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจาวัน ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปจะสามารถเข้าไปมีส่วนอย่างแท้จริงใน กระบวนการพัฒนาประเทศ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องลาบากแสนสาหัส และมีคนบางส่วนเห็นว่าเป็นการขัดขวาง ความเจริญของประเทศก็ตาม 
จนถึงปัจจุบัน ปฏิบัติการของประชาธิปไตยเช่นที่ว่านี้ ได้แพร่กระจายผ่าน social media อย่างรวดเร็ว ไม่ว่า จะเป็นกรณีเหมืองทองที่เลย ที่พิจิตร โรงไฟฟ้าในภาคใต้ ท่าเรือน้าลึกปากบารา เชพรอน ที่นคร รวมถึงกรณี การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องกฎหมาย 4 ฉบับ โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน ผมเห็นว่ามันเป็นบทเรียนสาคัญที่ สังคมไทยจะได้เรียนรู้ประชาธิปไตยทางตรงที่มากขึ้น และทาความเข้าใจว่า มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ปัจเจกจะ สามารถทาได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกฉีกไปเมื่อ 6 เดือนก่อน 3 ดร.สติธร ธนานิธิโชติ เปิดมุมมองใหม่..ประชาธิปไตยของคนจนๆ http://goo.gl/swoJGL
3 
มากไปกว่านั้นในการเปิดพื้นที่เจรจาต่อรองบนท้องถนน นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา เมื่องานวิจัยไทบ้านเล่ม แรกในชื่อ “แม่มูน: การกลับมาของคนหาปลา” ถูกเผยแพร่ออกมาโดย เครือข่ายแม่น้าเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (ตุลาคม 2545) ยิ่งทาให้การเคลื่อนไหวของขบวนการคนจนเพื่อการต่อรองต่างๆ มีน้าหนักมากยิ่งขึ้น เพราะมีข้อมูลจากการทางานวิชาการของชาวบ้านในนาม “การวิจัยไทบ้าน” มาสนับสนุน โดยเฉพาะการ แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและผลกระทบที่จะเกิดต่อชีวิตความเป็นอยู่จากการดาเนิน โครงการ เพราะบ่อยครั้งก็ต้องยอมรับว่าการเรียกร้องคัดค้านของชาวบ้านมักถูกมองจากคนอยู่ไกลพื้นที่ ว่า เป็นเพียงความรู้สึก และไม่น่าเชื่อถือ งาน “แม่มูน: การกลับมาของคนหาปลา” ชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นผลกระทบทางบวกของพันธุ์ปลาที่กลับมาภายหลัง การเปิดประตูเขื่อนปากมูล กล่าวคือ ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของขบวนการของสมัชชาและไม่มีงานวิจัยไทบ้าน ก็คงจะมีแต่งานวิจัยจากสถาบันวิชาการ จากมหาวิทยาลัยที่จะใช้ชี้ชะตาเรื่องการการเปิดหรือปิดประตูเขื่อน เท่านั้น และก็คงไม่มีบทสนทนา ไม่มีการต่อรองทางนโยบายเกิดขึ้น 
จากนั้นมา กล่าวได้ว่า งานวิจัยไทบ้านถูกนาไปใช้งานอย่างกว้างขวาง อาทิ “งานวิจัยไทบ้าน วิถีแม่น้า วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน” เป็นงานวิจัยที่ทาโดยนักวิจัยปกากญอ สาละวิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาต่อรอง กับการสร้างเขื่อนสาละวินในฝั่งไทย และโครงการผันน้าสาละวิน หรือ “งานวิจัยไทบ้านเชียงของ-เวียงแก่น” และ “งานวิจัยไทบ้านแก่งเสือเต้น” เป็นต้น แม้ว่าทั้งหมดอาจไม่ได้นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงการขนาด ใหญ่ทุกโครงการก็ตาม แต่อย่างน้อยมันได้สร้างบทสนทนากับกระบวนการพัฒนาประเทศกระแสหลัก และ สื่อสารกับสังคมส่วนที่เหลือ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน 
เหล่านี้ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นสิ่งเดียวกับที่ อ.ประภาส ได้เคยเขียนบทความเรื่อง การขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะโดยภาคประชาสังคม ว่าเป็น กระบวนการนโนบายแบบปรึกษาหารือ หรือถกแถลง (deliberative policy)4 ในกระบวนการปรึกษาหารือเช่นนี้ย่อมมีแต่จะส่งเสริมให้เกิดการบรรยากาศประชาธิปไตยที่กินได้ ประชาธิปไตยที่เห็นหัวกันและกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในงานศึกษาเรื่อง “ผลสะเทือนจากการต่อสู้ของ ขบวนการคนจนและคนด้อยอานาจในสังคมไทย ตั้งแต่ปี 2531–2549” ของ เอกพล เสียงดัง ซึ่งได้รับรางวัล วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ สาหรับวิทยานิพนธ์เพื่อคนจน (2551) ก็ได้ยืนยันคุณูปการของขบวนการเคลื่อนไหว ของคนจนต่อความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะเช่นนี้ ไว้เช่นกัน5 
ผลสืบเนื่องของงานวิจัยไทบ้านในทศวรรษก่อน ผมคิดว่ามันช่วยขยายอาณาบริเวณของการวิจัยที่ให้ชาวบ้านที่ ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่เข้ามามีบทบาทในการวิจัยด้วย และน่าจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อ 
4 ประภาส ปิ่นตบแต่ง การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยภาคประชาสังคม http://goo.gl/3h73lc 
5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของ เอกพล เสียงดัง http://www.learningcitizen.com/images/article/vanidabook.pdf
4 
การพัฒนาเครื่องมือการวิจัยอย่าง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน หรือ CHIA (Community Health Impact Assessment) ซึ่งริเริ่มโดยสานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และได้ถูกสถาปนาใน ฐานะเครื่องมือวิจัยของชาวบ้านที่มีที่ยืนทางกฎหมายและนโยบาย (อย่างน้อยก็ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ) และอย่างที่กล่าวแล้วในข้างต้น แม้ว่า ผลของการทางานวิจัยจะไม่สามารถหยุดยั้งโครงการที่จะมีผลกระทบต่อ สุขภาพและวิถีชีวิตได้ทุกโครงการ แต่ก็มีบางโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ต้องยอมแพ้ต่อเหตุผล และข้อมูล งานวิจัยจากชาวบ้าน เช่น โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสารวจและผลิต ปิโตรเลียมในอ่าวไทย ของ เชพรอน ที่ท่าศาลา หรือ กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 600 เมกะวัตต์ ที่ เขาหินซ้อน หรือ กรณีเหมืองทอง ที่ จ.เลย ที่นามาสู่ข้อถกเถียงใหญ่ในขณะนี้ เป็นต้น 
นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า ขบวนการคนจนที่เข้มแข็งในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนอย่างมากที่ทาให้ พรรคไทยรักไทย ก้าวขึ้นเป็นรัฐบาลในปี 2544 และแม้ว่าในที่สุด พรรคไทยรักไทย กับ ขบวนการคนจนจะแยกไปคนละทาง 6 แต่นั่นก็ไม่ได้ทาให้ข้อเท็จจริงที่ว่า พลังของขบวนการคนจน สามารถมีอิทธิพลและมีส่วนในการกาหนด นโยบายที่เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียม และการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านคูหาการเลือกตั้งนั้น ดูเบาบาง ลงไป 
แต่อย่างที่ผมชวนให้ตั้งข้อสงสัยไว้ในตอนต้น ถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ของสถานการณ์เศรษฐกิจ และสังคม และของรุ่นคน และความอ่อนล้าของขบวนคนจนและพี่เลี้ยง ซึ่งผมจะขอขยายความสัก เล็กน้อย 
โดยการเปลี่ยนแปลงแรกที่ผมขอพูดถึง คือ สภาพการณ์ของคนจนในวันนี้ มีความแตกต่างจากเมื่อ 2 ทศวรรษ ที่แล้วอย่างมาก ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่า สังคมไทย มีคนจน และความยากจน ที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นการ วัดจาก รายได้ตามเส้นความยากจน หรือ จะวัดจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยในปี 38 เรามีคนจน ประมาณ 9-10 ล้านคน แต่ในปีนี้ คนจนลดลงเหลือไม่ถึง 5 ล้านคน7 (แม้ว่าตัวเลขจากแต่ละแหล่งข้อมูลจะไม่ ตรงกัน แต่มันมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ในขณะที่ความรุนแรงของความยากจนในกลุ่มประชากรที่ใช้ชีวิตอยู่ ภายใต้เส้นความยากจนในปีปัจจุบัน ก็พบความรุนแรงของความยากจน น้อยกว่า ประชากรที่ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ เส้นความจนในปี 2538 เช่นกัน8 
6 โปรดดูรายละเอียดใน เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน บทวิพากษ์ : การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย ข้อจากัดของแนววิเคราะห์และ ยุทธศาสตร์การเมืองแบบ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ https://thaipoliticalprisoners.files.wordpress.com/2009/01/fadiewkan_20091.pdf 
7 ชวินทร์ ลีนะบรรจง สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย http://goo.gl/Tyj4yU 
8 สองทศวรรษความยากจน http://v-reform.org/v-report/two_decades_poor/
5 
หรือ งานศึกษาของ อ.อภิชาติ อ.ยุกติ และ อ.นิติ ใน ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย9 ก็ชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยใน รอบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “ชนชั้นกลางรุ่นใหม่” ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตทาง เศรษฐกิจจึงทาให้ความยากจนลดลงไปมาก ส่วนชนชั้นใหม่นี้จะมี ประมาณ 40% ของครัวเรือนไทย ในปี 2552 ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม ชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งเกิดมาในช่วงที่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เปิดพื้นที่ทางสังคมอย่างกว้างขวาง 
การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 2 คือ พละกาลังของขบวนการคนจน กาลังอ่อนล้าลง เมื่อก่อนเราอาจเห็น สมาพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เครือข่ายสลัม ที่หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเป็นการเคลื่อนไหวกันทั้งประเทศ ทุกภาคพร้อมที่จะขยับ แต่เดี๋ยวนี้ ภาพการขยับทั้งประเทศแบบนั้นคงหาได้ยาก หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งทั้ง อุเชนทร์ เชียงเสน / สุวิทย์ วัดหนู และ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล10 ต่างมีข้อสังเกตไปในทางเดียวกันว่า ความอ่อนแอดังกล่าวเกิดจากปัจจัย ภายใน ที่หลายกลุ่มปัญหามุ่งตอบสนองการแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า (ที่รัฐบาลทักษิณคอยจัดให้) มากกว่าจะเชื่อมโยงและพัฒนายกระดับการต่อสู้ในประเด็นเฉพาะของตนเองเข้ากับปัญหาเชิงโครงสร้าง 
การเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่ 3 คือ การนิยามว่า เราเป็นใคร คนจน ขบวนคนจน ขบวนการภาคประชาชนที่ เมื่อก่อน เราอาจพูดหรือนิยามตัวเองชัดและเต็มปาก โดยเฉพาะในฐานะคู่ตรงข้ามกับรัฐ และสามารถบอกเล่า ได้ว่ามีส่วนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างไร 
แต่มาในปัจจุบัน คาเรียกเหล่านี้มันถูกทาให้เบลอ หรือทาให้มีความหมายแตกต่างไปจากเดิม โดยฝ่ายอื่นๆ 
ทั้ง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2548 และ มวลมหาประชาชน (กปปส.) ในปี 2556 ต่างก็ ประกาศว่าตัวเอง เป็นขบวนการประชาชน เป็นการเมืองภาคพลเมือง แต่มันมีคาถามใหญ่ว่า เหตุใดคาว่า “ขบวนการประชาชน” (ที่เคยอ้างว่ามีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูประชาธิปไตย) จึงกลายมาเป็นปฏิปักษ์ต่อ ประชาธิปไตยเสียเอง 
และที่ต้องยอมรับมากกว่านั้น ก็คือ ขบวนการคนจน / พี่เลี้ยง อย่าง NGO หรือนักวิชาการเองบางส่วนก็เข้า ร่วมกับพันธมิตร เข้าร่วมกับมวลมหาประชาชน และอาจอยู่ในฐานะแกนนาเสียด้วยซ้า สิ่งเหล่านี้ผมไม่ได้บอก ว่าอะไรถูกหรือผิด แต่มันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และเราต้องทาความเข้าใจกับมันว่าทาไมจึงเป็นเช่นนั้น 
9 อภิชาติ สถิตนิราม ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัครพันธุ์ ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย 
http://www.polsci.chula.ac.th/pitch/modernthaipolitics2013/Politics1.pdf 
10 เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน (อ้างแล้ว)
6 
การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 4 คือ ความเหลื่อมล้า โดยในท่ามกลางตัวเลข คนจน – ความยากจนที่ลดลง ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่ง อ.ผาสุก11 บอกว่าเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐที่มีลักษณะ ไม่เน้นการกระจายรายได้ ความมั่นคงอย่างทั่วถึง มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ใช้แรงงานราคาถูก ละเลยภาคเกษตร ส่งผลให้ความ เติบโตทางเศรษฐกิจนั้นถูกแบ่งปันไปอย่างลักลั่น ความมั่งคั่ง กระจุกตัวสูงอยู่ในกลุ่มคนจานวนน้อย ส่วน อ. เสกสรรค์12 ก็เรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่า “การโอนถ่ายอานาจอธิปไตยจากรัฐชาติไปให้ตลาด” จนเกิดภาวะ หนึ่งรัฐ สองสังคม 
ตัวเลขของสานักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 ได้สารวจข้อมูลความมั่งคั่งของครัวเรือนไทยเป็นครั้งแรก (ครอบคลุมเรื่องการเป็นเป็นเจ้าของ ที่ดิน บ้าน รถ ทรัพย์สินทางการเงินและอื่นๆ) พบว่า ช่องว่างระหวางกลุ่ม คนมั่งมีที่สุด ร้อยละ 20 กับกลุ่มคนมีน้อยที่สุด ร้อยละ 20 สูงถึง 69 เท่า (อันดับหนึ่งของอาเซียน) อันนี้ในเชิง ตัวเลข อ.ผาสุกยังชี้ว่า นอกจาก ข้อเท็จจริงเชิงตัวเลขความมั่งคั่งแล้ว ยังมีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของ ความไม่เท่าเทียมตกค้างอยู่ในสังคมด้วย โดยอ้างงานสารวจของ TDRI ที่สุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของทั้ง ประเทศพบว่ากว่า 3 ใน 4 ของตัวอย่างที่สอบถาม เชื่อว่าช่องว่างด้านรายได้สูงเกินไป / 1 ใน 3 คิดว่า ห่างกันมากจนรับไม่ได้ สาหรับกลุ่มรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 สัดส่วนที่บอกว่ารับไม่ได้มีสูงถึงเกือบร้อยละ 50 และ อ.ผาสุก ยังอ้างงานของ อ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ (2553)13 ซึ่งสุ่ม ตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของทั้งประเทศเหมือนกัน ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 บอกว่าตัวเองยากจน ทั้งที่ ตัวเลขของทางการบอกว่าคนจนมีร้อยละ 8 ทั่วประเทศ 
การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 5 นอกจากตัวเลขความเหลื่อมล้าข้างต้นแล้ว อ.เสกสรรค์ ยังชี้ว่า ผลของ “การ โอนถ่ายอานาจอธิปไตยจากรัฐชาติไปให้ตลาด” ทาให้เกิด 
 ระบอบประชาธิปไตยที่ไร้อธิปไตยอันสาคัญในบางด้านบางส่วนไป เพราะถูกตลาดยึดตามกระแสโลกาภิวัตน์ 
 การใช้อานาจของรัฐบาลประชาธิปไตยที่ขาดฉันทานุมัติ ได้แต่เอะอะก็อ้างความชอบธรรมจากการ ชนะเลือกตั้งสี่ปีครั้ง และอ้างชาตินามธรรมลอยๆ อย่างลวงตาและกลวงเปล่า เพื่อปัดปฏิเสธและกลบ เกลื่อนผลประโยชน์รูปธรรมของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ท้องถิ่นต่างๆ ที่ถูกหาว่าเป็น “คนส่วนน้อย” ของ ชาติเสมอ 
เหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนในด้านเศรษฐกิจสังคม และข้อจากัดของประชาธิปไตยแบบตัวแทนใน ระบอบรัฐสภาไทย นอกจากนี้เรากาลังพบกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของสิทธิเหนือทรัพยากร แบบเดิมซึ่งเป็นจุดกาเนิดของสมัชชา เช่น กลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน แรงงานนอกระบบยังขาดหลักประกัน 
11 ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2554) ภาพรวมของความเหลื่อมล้าและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศ ไทย http://www.cuurp.org/thaiequity/resources/1st/1st%20Agenda.pdf 
12 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล (2548) การเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 
13 อ้างใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (อ้างแล้ว)
7 
รายได้รองรับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ (ซึ่งกาลังมีจานวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ) หรือ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง ครอบครัวที่วัยแรงงานน้อยลง แต่ต้องรับผิดชอบผู้สูงอายุในสัดส่วนที่มากขึ้น ซึ่งยิ่งสูงอายุก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่ สูงขึ้น และไม่มีใครดูแล 
ส่งท้าย..จะฟื้นฟูประชาธิปไตยด้วยการจัดการกับอานาจแบบใด? 
ผมอยากจะจบในส่วนของผมไว้ตรงที่ว่า ประสบการณ์ของขบวนการคนจนใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ แบ่งปันอานาจรัฐเพื่อมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือนโยบาย จากการ identify ตัวเองในฐานะคู่ตรง ข้ามกับรัฐได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันการทาเช่นนั้นน่าจะยุ่งยากไม่น้อย เพราะความหลากหลายและซับซ้อน มันมากกว่าเดิม อีกทั้ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ภารกิจคนจนในการ ฟื้นฟูประชาธิปไตยด้วยการจัดการกับอานาจจะเป็นแบบใด 
ข้อเสนอของ อ.เก่งกิจ และเควิน ฮิววิสัน14 ซึ่งได้ทาการ วิเคราะห์สถานการณ์ของ “การเมืองภาคประชาชน” ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาไว้อย่างละเอียดลออนั้น ได้เสนอให้ ขบวนคนจนกลับมารื้อฟื้นการเมืองของการ แบ่งขั้วทางชนชั้น การมีพรรคการเมืองของชนชั้นล่างที่ยึดโยงกันผ่านโครงสร้างทางการเมืองที่ นอกเหนือไปจากการเมืองทางเลือกในระบบทุนนิยม และก็ชวนให้ กลับมารื้อฟื้น ความเข้าใจของชนชั้นกัน ใหม่ ที่ภายในชนชั้นเดียวกัน ภายในพื้นที่ประชาสังคม ขบวนการประชาชนเหมือนกัน ก็ไม่ได้มีความเป็นเนื้อ เดียวกันทั้งหมด มีทั้งแข่งขัน ขัดแย้งและร่วมมือในบางที และเราจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร 
แต่ภายใต้ สถานการณ์ที่ชนชั้น ไม่ชัดเจน และแตกแยกย่อย ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน ถือคุณค่า อุดมการณ์คนละ ชุดเช่นนี้ เราจะหาทางพัฒนาอุดมการณ์นาที่จะดึงเอาความหลากหลายของความเชื่อ อุดมการณ์ของกลุ่ม ย่อยๆ เข้าสู่ความเป็นหนึ่งได้อย่างไร15 นั่นก็คงเป็นเรื่องต้องค้นคิดกันหนักต่อไป เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจได้ พรรคการเมืองคนจนที่อยากทาแต่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องๆ ไป 
ถึงที่สุดในการจัดการกับอานาจด้วยการสร้างอานาจนา ผ่านประชาธิปไตยตามระบบเลือกตั้งนั้น ผมคิดไม่ ออกว่าเราจะมีส่วนในการพัฒนามันต่อไปอย่างไรได้บ้าง 
ส่วนตัวผมนั้น ค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการจัดการอานาจ ผ่านกระบวนการต่อรอง อยากให้มันดาเนินไปอย่าง ต่อเนื่อง ให้มันมีบทสนทนา ให้มันมีเนื้อหา มีข้อมูลส่งผ่านให้สังคมได้รับรู้และเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพคน ผมเชื่อว่าในสังคมที่มันมีลักษณะพหุเช่นนี้ เราน่าจะให้ความสนใจกับกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ที่มีประมาณ 40% ของครัวเรือนไทย ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม และให้ความสนใจกับกลุ่มคนที่ไม่จน แต่ 
14 เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน (อ้างแล้ว) 
15 ในทัศนะนี้ กรัมชี่ เชื่อว่า ประชาชนผู้ไร้สมบัติจะสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นผู้ปกครองได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาเอาชนะการครอบงาทาง วัฒนธรรมและอุดมการณ์ของพวกนายทุนเจ้าของสมบัติได้
8 
รู้สึกรู้สาว่าสังคมมันเหลื่อมล้า ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียม ซึ่งคนกลุ่มนี้มีอยู่มากกว่า 50% หรืออาจจะสูงถึง 70% ของประชากรทั้งประเทศ และเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้มันควรต้องเปลี่ยนแปลง 
อีกทั้ง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในมิติของคน ไม่ว่าจะเป็น คนจน เกษตรกรรายย่อย ประมงพื้นบ้าน แรงงาน เพื่อนบ้าน และความสัมพันธ์เชื่อมโยงในมิติของประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ใน ท้องทะเล ผืนป่า ผลกระทบต่อวิถีชีวิตสุขภาพจากโครงการขนาดใหญ่ อย่างเช่นเหมืองทอง ท่าเทียบเรือน้าลึก กฎหมายคนจน 4 ฉบับ สิ่งเหล่านี้มันถูกเชื่อมโยงกับสังคมใหญ่ ณ ปัจจุบันมันถูกสนทนากับคนทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค ตั้งแต่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าที่ขายของ online พนักงาน office ไปจนถึงนักการเมืองหลาย พรรค อย่างผนึกแน่นผ่านสื่อ social media ทุกๆ นาที 
ผมเชื่อในพลังของการมีพื้นที่ มี platform ที่หลากหลาย ที่ให้ผู้คนในสังคมพหุแบบนี้ ได้ปรึกษาหารือ ถกแถลง ในข้อมูล ในผลดี ผลเสีย ไตร่ตรองอย่างรอบคอบรอบด้านในประเด็นสาธารณะในประเด็นส่วนรวม ถ้ามันมี พื้นที่ มีกระบวนการ มีข้อมูลที่ต่อเนื่องเช่นนี้ ผมเชื่อว่ามันจะเป็นหนทางในการฟื้นฟูประชาธิปไตยใน ชีวิตประจาวันของเราได้ ...และผมอยากจะย้าว่ามันก็เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแล้ว นับตั้งแต่กรณีเขื่อนปากมูลที่ สมัชชาคนจนได้ริเริ่มเอาไว้ 
ถึงที่สุด ผมไม่อาจโยนคาถามและภาระรับผิดชอบทั้งหมดกลับไปให้ขบวนการคนจน สมัชชาคนจนแต่เพียงฝ่าย เดียวได้ แต่อาจยังต้องตั้งคาถามเผื่อแผ่ไปยังเพื่อนนักวิชาการ เพื่อน NGO และตัวผมเอง ว่าในสถานการณ์ เช่นนี้ เราทาอะไรได้บ้างและทามากพอหรือยัง 
ในท้ายนี้ ผมขอนาคาประกาศลาน้ามูล เมื่อ 15 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการคนจนที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย และโดยตัวคาประกาศยังคงทันสมัยและเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน มากล่าว ณ ที่นี้ "เรามีความเห็นร่วมกันว่า แนวความคิดที่สนับสนุนแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ และภาคธุรกิจ เอกชน เป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนและต่อการพัฒนาสังคม จึงถือเป็นการจาเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความคิด ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติใน กระบวนการพัฒนา ทั้งของรัฐและบรรษัทธุรกิจเอกชนเสียใหม่ ตามแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของ มวลมนุษยชาติที่ไร้พรมแดน" 
ขอบคุณครับ

More Related Content

Similar to ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย

ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาSaiiew
 
South thailand conflict
South thailand conflictSouth thailand conflict
South thailand conflictTeeranan
 
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าสื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าSoraj Hongladarom
 
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553guest39c8e4a2
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเราfreelance
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเราfreelance
 
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทยเครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทยPoramate Minsiri
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1tongsuchart
 
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558T Ton Ton
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง daSaiiew
 
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลWiroj Suknongbueng
 
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าPoramate Minsiri
 
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016LDPThailand
 
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016Q Kuma Ranger
 
South East Asia: Country Analysis for Brand Communcation
South East Asia: Country Analysis for Brand CommuncationSouth East Asia: Country Analysis for Brand Communcation
South East Asia: Country Analysis for Brand CommuncationBangkok University
 

Similar to ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย (20)

ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
 
South thailand conflict
South thailand conflictSouth thailand conflict
South thailand conflict
 
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่าสื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
สื่อเลือกข้างผิดหลักจริยธรรมหรือเปล่า
 
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553
จดหมายข่าวจัสพีส ประจำเดือนเมษายน 2553
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3
 
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทยเครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย
เครือข่ายพลังบวก ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1
 
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
กิตติกรรมประกาศ 9-05-2558
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล
 
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
 
การพัฒนาคุณภาพประชากรโลก
การพัฒนาคุณภาพประชากรโลกการพัฒนาคุณภาพประชากรโลก
การพัฒนาคุณภาพประชากรโลก
 
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
 
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bdc412 s3016
 
South East Asia: Country Analysis for Brand Communcation
South East Asia: Country Analysis for Brand CommuncationSouth East Asia: Country Analysis for Brand Communcation
South East Asia: Country Analysis for Brand Communcation
 

More from weeraboon wisartsakul

ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.
ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.
ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.weeraboon wisartsakul
 
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...weeraboon wisartsakul
 
จำนำข้าว ความยากจน
จำนำข้าว ความยากจนจำนำข้าว ความยากจน
จำนำข้าว ความยากจนweeraboon wisartsakul
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพweeraboon wisartsakul
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบweeraboon wisartsakul
 
โลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยโลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยweeraboon wisartsakul
 
โลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยโลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยweeraboon wisartsakul
 
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการ
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการการจัดการลุ่มน้ำบูรณาการ
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการweeraboon wisartsakul
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณweeraboon wisartsakul
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณweeraboon wisartsakul
 
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ weeraboon wisartsakul
 
รายงานการศึกษาร่างแรก
รายงานการศึกษาร่างแรกรายงานการศึกษาร่างแรก
รายงานการศึกษาร่างแรกweeraboon wisartsakul
 
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูล
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูลความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูล
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูลweeraboon wisartsakul
 
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อนคู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อนweeraboon wisartsakul
 

More from weeraboon wisartsakul (14)

ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.
ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.
ความซับซ้อนและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง นำเสนอ มธ.
 
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...
รายงานการศึกษา “บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเ...
 
จำนำข้าว ความยากจน
จำนำข้าว ความยากจนจำนำข้าว ความยากจน
จำนำข้าว ความยากจน
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
 
โลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยโลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัย
 
โลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัยโลกที่เสี่ยงภัย
โลกที่เสี่ยงภัย
 
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการ
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการการจัดการลุ่มน้ำบูรณาการ
การจัดการลุ่มน้ำบูรณาการ
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
 
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
 
รายงานการศึกษาร่างแรก
รายงานการศึกษาร่างแรกรายงานการศึกษาร่างแรก
รายงานการศึกษาร่างแรก
 
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูล
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูลความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูล
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งเชิงข้อมูล
 
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อนคู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
 

ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย

  • 1. 1 ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย1 ผมขอขอบคุณผู้จัดที่ให้เกียรติ ชวนผมมาคุยในวันนี้ แม้ผมจะไม่ได้มีประสบการณ์ตรงในการทางานร่วมกับ สมัชชาคนจน แต่ในฐานะคนที่สนใจติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของคนจน คนด้อยโอกาส และทางาน พัฒนาชนบทมาบ้าง ก่อนที่จะมาสอนหนังสือ ผมคงพอมีประเด็นแลกเปลี่ยนอยู่บ้าง ตามสติปัญญาจะอานวย ผมขอเริ่มจากความเชื่อโดยพื้นฐานก่อน คือ ผมเชื่อว่า ความยากจน คนจน ความเหลื่อมล้า ระหว่างคนจนกับ คนรวยนั้น มีส่วนอย่างมากจากการกาหนดนโยบายของรัฐ ดังนั้นการเข้าไปมีอิทธิพลต่อนโยบายรัฐ ไม่ว่าจะ โดยอ้อมที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งพรรคการเมืองเข้าไปเป็นรัฐบาล หรือ โดยทางตรง ที่ผ่านกระบวนการ พูดคุย เจรจา ประท้วง ต่อรองกับภาคปฏิบัติของนโยบายรัฐ ผมถือว่าเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตยทั้งสิ้น และก็ เชื่อว่าประชาธิปไตยทั้ง 2 รูปแบบ จะช่วยทาให้คาแถลงของสมัชชาคนจนที่ว่า “เราต้องการประชาธิปไตยที่ กินได้ และการเมืองที่เห็นหัวคนจน” เข้าใกล้ความเป็นจริงได้มากขึ้นเรื่อยๆ 2 ที่กล่าวไปนั้นหากมองผ่านเรื่องของอานาจ เราอาจพูดได้ว่า ประชาธิปไตยแบบหนึ่งเป็นแบบที่เราอยากจะ สร้างอานาจนา คือ ลงคะแนนให้ตัวแทนของเราเข้าไปมีอานาจในรัฐ แล้วใช้อานาจรัฐทากฎหมายและนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มันไม่ชอบธรรม ไม่เป็นธรรม ขณะที่อีกแบบหนึ่ง เป็นแบบที่เราเรียกมันว่า เป็นการ ต่อรองอานาจ อ้อล้อกับอานาจรัฐ ไม่ให้มันถูกใช้อย่างไม่เห็นหัวเรา ไม่ให้มันถูกใช้เพื่อผลประโยชน์ของคนบาง กลุ่ม บางพวกเท่านั้น ซึ่งในตอนท้าย ผมคงต้องวกกลับมาเพื่อตั้งคาถามว่าแล้วต่อจากนี้ ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมที่รอบด้าน ไม่เหมือนเดิม และความอ่อนล้าของ สมัชชาคนจน ขบวนคนจน หรือรวมถึง พี่เลี้ยง NGO และ นักวิชาการ เราจะเลือกใช้อานาจในรูปแบบใดเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย 1 วีรบูรณ์ วิสารทสกุล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : เวทีสาธารณะ เหลียวหลังแลหน้าสถานการณ์คนจน วันที่ 4 ธันวาคม 2557 ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 2 แถลงการณ์ สมัชชาคนจน 10 ธันวาคม 2549 http://www.prachatai.com/journal/2006/12/10868 ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • 2. 2 ผมขอเริ่มต้นจากมุมมองระดับกว้าง เพื่อยืนยันว่า คนจนต่างหากที่มีทัศนะและปฏิบัติการต่อประชาธิปไตย อย่างเข้มข้นมาโดยตลอด ซึ่งเอาเข้าจริงคงมากกว่าที่ผมมีเสียด้วยซ้า งานวิจัยนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Poverty, Participation, and Democracy: A Global Perspective ซึ่งมี อนิรุธ กฤษณะ (Anirudh Krishna) เป็น บก. (2008) และเป็นทีมที่ทางานวิจัยเชิงสารวจเกี่ยวกับการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยของ คนยากคนจนในประเทศที่ยังมีเศรษฐกิจไม่ดี ครอบคลุมตัวอย่างทั้งหมด 24 ประเทศ จาก 3 ทวีป ได้แก่ ทวีป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าคนจนในประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้ให้คุณค่าแก่ประชาธิปไตยด้อยไปกว่าคนที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าในประเทศเดียวกัน ขณะที่ มีความศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยของคนจน เท่าๆ กับประชาชนกลุ่มอื่นๆ และคนจนยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองไม่ได้แตกต่างจากคนกลุ่มอื่นๆ ใน สังคมเดียวกันมากนัก นักวิจัยยังชี้อีกว่า แม้ว่าอิทธิพลทางการเมืองของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงไม่หมด ไป แต่มันกาลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยได้ค่อยๆ ปลูกฝังอยู่ใน สานึก และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาดีขึ้นในระยะยาว3 เสียดายงานชิ้นนี้ไม่ได้มาทาในเมืองไทย แต่รูปธรรมในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ผมเห็นว่าขบวนการสมัชชาคนจนได้สร้างคุณูปการต่อการเปิด พื้นที่ของสิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยที่กินได้ให้กับสังคมไว้แล้ว โดยขบวนการชาวบ้านได้เข้าไปเรียกร้อง ต่อต้าน เดินขบวนเพื่อคัดค้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน นิคมอุตสาหกรรม โรงแยกกาซ โรงไฟฟ้า เหมือง ที่ดิน ป่าไม้ การค้าระหว่างประเทศ ยา เรื่องราวเหล่านี้มันได้ โผล่ปรากฏบนสื่อทุกชนิด มันช่วยเปิดพื้นที่การรับรู้ของคนหนุ่ม คนสาว คนในเมือง ให้เห็นประชาธิปไตย ในทางปฏิบัติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจาวัน ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปจะสามารถเข้าไปมีส่วนอย่างแท้จริงใน กระบวนการพัฒนาประเทศ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องลาบากแสนสาหัส และมีคนบางส่วนเห็นว่าเป็นการขัดขวาง ความเจริญของประเทศก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ปฏิบัติการของประชาธิปไตยเช่นที่ว่านี้ ได้แพร่กระจายผ่าน social media อย่างรวดเร็ว ไม่ว่า จะเป็นกรณีเหมืองทองที่เลย ที่พิจิตร โรงไฟฟ้าในภาคใต้ ท่าเรือน้าลึกปากบารา เชพรอน ที่นคร รวมถึงกรณี การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องกฎหมาย 4 ฉบับ โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน ผมเห็นว่ามันเป็นบทเรียนสาคัญที่ สังคมไทยจะได้เรียนรู้ประชาธิปไตยทางตรงที่มากขึ้น และทาความเข้าใจว่า มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ปัจเจกจะ สามารถทาได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกฉีกไปเมื่อ 6 เดือนก่อน 3 ดร.สติธร ธนานิธิโชติ เปิดมุมมองใหม่..ประชาธิปไตยของคนจนๆ http://goo.gl/swoJGL
  • 3. 3 มากไปกว่านั้นในการเปิดพื้นที่เจรจาต่อรองบนท้องถนน นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา เมื่องานวิจัยไทบ้านเล่ม แรกในชื่อ “แม่มูน: การกลับมาของคนหาปลา” ถูกเผยแพร่ออกมาโดย เครือข่ายแม่น้าเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (ตุลาคม 2545) ยิ่งทาให้การเคลื่อนไหวของขบวนการคนจนเพื่อการต่อรองต่างๆ มีน้าหนักมากยิ่งขึ้น เพราะมีข้อมูลจากการทางานวิชาการของชาวบ้านในนาม “การวิจัยไทบ้าน” มาสนับสนุน โดยเฉพาะการ แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและผลกระทบที่จะเกิดต่อชีวิตความเป็นอยู่จากการดาเนิน โครงการ เพราะบ่อยครั้งก็ต้องยอมรับว่าการเรียกร้องคัดค้านของชาวบ้านมักถูกมองจากคนอยู่ไกลพื้นที่ ว่า เป็นเพียงความรู้สึก และไม่น่าเชื่อถือ งาน “แม่มูน: การกลับมาของคนหาปลา” ชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นผลกระทบทางบวกของพันธุ์ปลาที่กลับมาภายหลัง การเปิดประตูเขื่อนปากมูล กล่าวคือ ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของขบวนการของสมัชชาและไม่มีงานวิจัยไทบ้าน ก็คงจะมีแต่งานวิจัยจากสถาบันวิชาการ จากมหาวิทยาลัยที่จะใช้ชี้ชะตาเรื่องการการเปิดหรือปิดประตูเขื่อน เท่านั้น และก็คงไม่มีบทสนทนา ไม่มีการต่อรองทางนโยบายเกิดขึ้น จากนั้นมา กล่าวได้ว่า งานวิจัยไทบ้านถูกนาไปใช้งานอย่างกว้างขวาง อาทิ “งานวิจัยไทบ้าน วิถีแม่น้า วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน” เป็นงานวิจัยที่ทาโดยนักวิจัยปกากญอ สาละวิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาต่อรอง กับการสร้างเขื่อนสาละวินในฝั่งไทย และโครงการผันน้าสาละวิน หรือ “งานวิจัยไทบ้านเชียงของ-เวียงแก่น” และ “งานวิจัยไทบ้านแก่งเสือเต้น” เป็นต้น แม้ว่าทั้งหมดอาจไม่ได้นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงการขนาด ใหญ่ทุกโครงการก็ตาม แต่อย่างน้อยมันได้สร้างบทสนทนากับกระบวนการพัฒนาประเทศกระแสหลัก และ สื่อสารกับสังคมส่วนที่เหลือ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เหล่านี้ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นสิ่งเดียวกับที่ อ.ประภาส ได้เคยเขียนบทความเรื่อง การขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะโดยภาคประชาสังคม ว่าเป็น กระบวนการนโนบายแบบปรึกษาหารือ หรือถกแถลง (deliberative policy)4 ในกระบวนการปรึกษาหารือเช่นนี้ย่อมมีแต่จะส่งเสริมให้เกิดการบรรยากาศประชาธิปไตยที่กินได้ ประชาธิปไตยที่เห็นหัวกันและกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในงานศึกษาเรื่อง “ผลสะเทือนจากการต่อสู้ของ ขบวนการคนจนและคนด้อยอานาจในสังคมไทย ตั้งแต่ปี 2531–2549” ของ เอกพล เสียงดัง ซึ่งได้รับรางวัล วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ สาหรับวิทยานิพนธ์เพื่อคนจน (2551) ก็ได้ยืนยันคุณูปการของขบวนการเคลื่อนไหว ของคนจนต่อความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะเช่นนี้ ไว้เช่นกัน5 ผลสืบเนื่องของงานวิจัยไทบ้านในทศวรรษก่อน ผมคิดว่ามันช่วยขยายอาณาบริเวณของการวิจัยที่ให้ชาวบ้านที่ ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่เข้ามามีบทบาทในการวิจัยด้วย และน่าจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อ 4 ประภาส ปิ่นตบแต่ง การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยภาคประชาสังคม http://goo.gl/3h73lc 5 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของ เอกพล เสียงดัง http://www.learningcitizen.com/images/article/vanidabook.pdf
  • 4. 4 การพัฒนาเครื่องมือการวิจัยอย่าง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน หรือ CHIA (Community Health Impact Assessment) ซึ่งริเริ่มโดยสานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และได้ถูกสถาปนาใน ฐานะเครื่องมือวิจัยของชาวบ้านที่มีที่ยืนทางกฎหมายและนโยบาย (อย่างน้อยก็ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ) และอย่างที่กล่าวแล้วในข้างต้น แม้ว่า ผลของการทางานวิจัยจะไม่สามารถหยุดยั้งโครงการที่จะมีผลกระทบต่อ สุขภาพและวิถีชีวิตได้ทุกโครงการ แต่ก็มีบางโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ต้องยอมแพ้ต่อเหตุผล และข้อมูล งานวิจัยจากชาวบ้าน เช่น โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสารวจและผลิต ปิโตรเลียมในอ่าวไทย ของ เชพรอน ที่ท่าศาลา หรือ กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 600 เมกะวัตต์ ที่ เขาหินซ้อน หรือ กรณีเหมืองทอง ที่ จ.เลย ที่นามาสู่ข้อถกเถียงใหญ่ในขณะนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า ขบวนการคนจนที่เข้มแข็งในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนอย่างมากที่ทาให้ พรรคไทยรักไทย ก้าวขึ้นเป็นรัฐบาลในปี 2544 และแม้ว่าในที่สุด พรรคไทยรักไทย กับ ขบวนการคนจนจะแยกไปคนละทาง 6 แต่นั่นก็ไม่ได้ทาให้ข้อเท็จจริงที่ว่า พลังของขบวนการคนจน สามารถมีอิทธิพลและมีส่วนในการกาหนด นโยบายที่เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียม และการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านคูหาการเลือกตั้งนั้น ดูเบาบาง ลงไป แต่อย่างที่ผมชวนให้ตั้งข้อสงสัยไว้ในตอนต้น ถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ของสถานการณ์เศรษฐกิจ และสังคม และของรุ่นคน และความอ่อนล้าของขบวนคนจนและพี่เลี้ยง ซึ่งผมจะขอขยายความสัก เล็กน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงแรกที่ผมขอพูดถึง คือ สภาพการณ์ของคนจนในวันนี้ มีความแตกต่างจากเมื่อ 2 ทศวรรษ ที่แล้วอย่างมาก ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่า สังคมไทย มีคนจน และความยากจน ที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นการ วัดจาก รายได้ตามเส้นความยากจน หรือ จะวัดจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยในปี 38 เรามีคนจน ประมาณ 9-10 ล้านคน แต่ในปีนี้ คนจนลดลงเหลือไม่ถึง 5 ล้านคน7 (แม้ว่าตัวเลขจากแต่ละแหล่งข้อมูลจะไม่ ตรงกัน แต่มันมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ในขณะที่ความรุนแรงของความยากจนในกลุ่มประชากรที่ใช้ชีวิตอยู่ ภายใต้เส้นความยากจนในปีปัจจุบัน ก็พบความรุนแรงของความยากจน น้อยกว่า ประชากรที่ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ เส้นความจนในปี 2538 เช่นกัน8 6 โปรดดูรายละเอียดใน เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน บทวิพากษ์ : การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย ข้อจากัดของแนววิเคราะห์และ ยุทธศาสตร์การเมืองแบบ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ https://thaipoliticalprisoners.files.wordpress.com/2009/01/fadiewkan_20091.pdf 7 ชวินทร์ ลีนะบรรจง สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย http://goo.gl/Tyj4yU 8 สองทศวรรษความยากจน http://v-reform.org/v-report/two_decades_poor/
  • 5. 5 หรือ งานศึกษาของ อ.อภิชาติ อ.ยุกติ และ อ.นิติ ใน ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย9 ก็ชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยใน รอบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “ชนชั้นกลางรุ่นใหม่” ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตทาง เศรษฐกิจจึงทาให้ความยากจนลดลงไปมาก ส่วนชนชั้นใหม่นี้จะมี ประมาณ 40% ของครัวเรือนไทย ในปี 2552 ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม ชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งเกิดมาในช่วงที่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เปิดพื้นที่ทางสังคมอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 2 คือ พละกาลังของขบวนการคนจน กาลังอ่อนล้าลง เมื่อก่อนเราอาจเห็น สมาพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เครือข่ายสลัม ที่หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเป็นการเคลื่อนไหวกันทั้งประเทศ ทุกภาคพร้อมที่จะขยับ แต่เดี๋ยวนี้ ภาพการขยับทั้งประเทศแบบนั้นคงหาได้ยาก หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งทั้ง อุเชนทร์ เชียงเสน / สุวิทย์ วัดหนู และ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล10 ต่างมีข้อสังเกตไปในทางเดียวกันว่า ความอ่อนแอดังกล่าวเกิดจากปัจจัย ภายใน ที่หลายกลุ่มปัญหามุ่งตอบสนองการแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้า (ที่รัฐบาลทักษิณคอยจัดให้) มากกว่าจะเชื่อมโยงและพัฒนายกระดับการต่อสู้ในประเด็นเฉพาะของตนเองเข้ากับปัญหาเชิงโครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่ 3 คือ การนิยามว่า เราเป็นใคร คนจน ขบวนคนจน ขบวนการภาคประชาชนที่ เมื่อก่อน เราอาจพูดหรือนิยามตัวเองชัดและเต็มปาก โดยเฉพาะในฐานะคู่ตรงข้ามกับรัฐ และสามารถบอกเล่า ได้ว่ามีส่วนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างไร แต่มาในปัจจุบัน คาเรียกเหล่านี้มันถูกทาให้เบลอ หรือทาให้มีความหมายแตกต่างไปจากเดิม โดยฝ่ายอื่นๆ ทั้ง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2548 และ มวลมหาประชาชน (กปปส.) ในปี 2556 ต่างก็ ประกาศว่าตัวเอง เป็นขบวนการประชาชน เป็นการเมืองภาคพลเมือง แต่มันมีคาถามใหญ่ว่า เหตุใดคาว่า “ขบวนการประชาชน” (ที่เคยอ้างว่ามีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูประชาธิปไตย) จึงกลายมาเป็นปฏิปักษ์ต่อ ประชาธิปไตยเสียเอง และที่ต้องยอมรับมากกว่านั้น ก็คือ ขบวนการคนจน / พี่เลี้ยง อย่าง NGO หรือนักวิชาการเองบางส่วนก็เข้า ร่วมกับพันธมิตร เข้าร่วมกับมวลมหาประชาชน และอาจอยู่ในฐานะแกนนาเสียด้วยซ้า สิ่งเหล่านี้ผมไม่ได้บอก ว่าอะไรถูกหรือผิด แต่มันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และเราต้องทาความเข้าใจกับมันว่าทาไมจึงเป็นเช่นนั้น 9 อภิชาติ สถิตนิราม ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัครพันธุ์ ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย http://www.polsci.chula.ac.th/pitch/modernthaipolitics2013/Politics1.pdf 10 เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน (อ้างแล้ว)
  • 6. 6 การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 4 คือ ความเหลื่อมล้า โดยในท่ามกลางตัวเลข คนจน – ความยากจนที่ลดลง ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่ง อ.ผาสุก11 บอกว่าเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐที่มีลักษณะ ไม่เน้นการกระจายรายได้ ความมั่นคงอย่างทั่วถึง มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ใช้แรงงานราคาถูก ละเลยภาคเกษตร ส่งผลให้ความ เติบโตทางเศรษฐกิจนั้นถูกแบ่งปันไปอย่างลักลั่น ความมั่งคั่ง กระจุกตัวสูงอยู่ในกลุ่มคนจานวนน้อย ส่วน อ. เสกสรรค์12 ก็เรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่า “การโอนถ่ายอานาจอธิปไตยจากรัฐชาติไปให้ตลาด” จนเกิดภาวะ หนึ่งรัฐ สองสังคม ตัวเลขของสานักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 ได้สารวจข้อมูลความมั่งคั่งของครัวเรือนไทยเป็นครั้งแรก (ครอบคลุมเรื่องการเป็นเป็นเจ้าของ ที่ดิน บ้าน รถ ทรัพย์สินทางการเงินและอื่นๆ) พบว่า ช่องว่างระหวางกลุ่ม คนมั่งมีที่สุด ร้อยละ 20 กับกลุ่มคนมีน้อยที่สุด ร้อยละ 20 สูงถึง 69 เท่า (อันดับหนึ่งของอาเซียน) อันนี้ในเชิง ตัวเลข อ.ผาสุกยังชี้ว่า นอกจาก ข้อเท็จจริงเชิงตัวเลขความมั่งคั่งแล้ว ยังมีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของ ความไม่เท่าเทียมตกค้างอยู่ในสังคมด้วย โดยอ้างงานสารวจของ TDRI ที่สุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของทั้ง ประเทศพบว่ากว่า 3 ใน 4 ของตัวอย่างที่สอบถาม เชื่อว่าช่องว่างด้านรายได้สูงเกินไป / 1 ใน 3 คิดว่า ห่างกันมากจนรับไม่ได้ สาหรับกลุ่มรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 สัดส่วนที่บอกว่ารับไม่ได้มีสูงถึงเกือบร้อยละ 50 และ อ.ผาสุก ยังอ้างงานของ อ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ (2553)13 ซึ่งสุ่ม ตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของทั้งประเทศเหมือนกัน ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 บอกว่าตัวเองยากจน ทั้งที่ ตัวเลขของทางการบอกว่าคนจนมีร้อยละ 8 ทั่วประเทศ การเปลี่ยนแปลงประเด็นที่ 5 นอกจากตัวเลขความเหลื่อมล้าข้างต้นแล้ว อ.เสกสรรค์ ยังชี้ว่า ผลของ “การ โอนถ่ายอานาจอธิปไตยจากรัฐชาติไปให้ตลาด” ทาให้เกิด  ระบอบประชาธิปไตยที่ไร้อธิปไตยอันสาคัญในบางด้านบางส่วนไป เพราะถูกตลาดยึดตามกระแสโลกาภิวัตน์  การใช้อานาจของรัฐบาลประชาธิปไตยที่ขาดฉันทานุมัติ ได้แต่เอะอะก็อ้างความชอบธรรมจากการ ชนะเลือกตั้งสี่ปีครั้ง และอ้างชาตินามธรรมลอยๆ อย่างลวงตาและกลวงเปล่า เพื่อปัดปฏิเสธและกลบ เกลื่อนผลประโยชน์รูปธรรมของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ท้องถิ่นต่างๆ ที่ถูกหาว่าเป็น “คนส่วนน้อย” ของ ชาติเสมอ เหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนในด้านเศรษฐกิจสังคม และข้อจากัดของประชาธิปไตยแบบตัวแทนใน ระบอบรัฐสภาไทย นอกจากนี้เรากาลังพบกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของสิทธิเหนือทรัพยากร แบบเดิมซึ่งเป็นจุดกาเนิดของสมัชชา เช่น กลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน แรงงานนอกระบบยังขาดหลักประกัน 11 ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2554) ภาพรวมของความเหลื่อมล้าและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศ ไทย http://www.cuurp.org/thaiequity/resources/1st/1st%20Agenda.pdf 12 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล (2548) การเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 13 อ้างใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (อ้างแล้ว)
  • 7. 7 รายได้รองรับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ (ซึ่งกาลังมีจานวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ) หรือ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง ครอบครัวที่วัยแรงงานน้อยลง แต่ต้องรับผิดชอบผู้สูงอายุในสัดส่วนที่มากขึ้น ซึ่งยิ่งสูงอายุก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่ สูงขึ้น และไม่มีใครดูแล ส่งท้าย..จะฟื้นฟูประชาธิปไตยด้วยการจัดการกับอานาจแบบใด? ผมอยากจะจบในส่วนของผมไว้ตรงที่ว่า ประสบการณ์ของขบวนการคนจนใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ แบ่งปันอานาจรัฐเพื่อมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือนโยบาย จากการ identify ตัวเองในฐานะคู่ตรง ข้ามกับรัฐได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันการทาเช่นนั้นน่าจะยุ่งยากไม่น้อย เพราะความหลากหลายและซับซ้อน มันมากกว่าเดิม อีกทั้ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ภารกิจคนจนในการ ฟื้นฟูประชาธิปไตยด้วยการจัดการกับอานาจจะเป็นแบบใด ข้อเสนอของ อ.เก่งกิจ และเควิน ฮิววิสัน14 ซึ่งได้ทาการ วิเคราะห์สถานการณ์ของ “การเมืองภาคประชาชน” ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาไว้อย่างละเอียดลออนั้น ได้เสนอให้ ขบวนคนจนกลับมารื้อฟื้นการเมืองของการ แบ่งขั้วทางชนชั้น การมีพรรคการเมืองของชนชั้นล่างที่ยึดโยงกันผ่านโครงสร้างทางการเมืองที่ นอกเหนือไปจากการเมืองทางเลือกในระบบทุนนิยม และก็ชวนให้ กลับมารื้อฟื้น ความเข้าใจของชนชั้นกัน ใหม่ ที่ภายในชนชั้นเดียวกัน ภายในพื้นที่ประชาสังคม ขบวนการประชาชนเหมือนกัน ก็ไม่ได้มีความเป็นเนื้อ เดียวกันทั้งหมด มีทั้งแข่งขัน ขัดแย้งและร่วมมือในบางที และเราจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร แต่ภายใต้ สถานการณ์ที่ชนชั้น ไม่ชัดเจน และแตกแยกย่อย ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน ถือคุณค่า อุดมการณ์คนละ ชุดเช่นนี้ เราจะหาทางพัฒนาอุดมการณ์นาที่จะดึงเอาความหลากหลายของความเชื่อ อุดมการณ์ของกลุ่ม ย่อยๆ เข้าสู่ความเป็นหนึ่งได้อย่างไร15 นั่นก็คงเป็นเรื่องต้องค้นคิดกันหนักต่อไป เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจได้ พรรคการเมืองคนจนที่อยากทาแต่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องๆ ไป ถึงที่สุดในการจัดการกับอานาจด้วยการสร้างอานาจนา ผ่านประชาธิปไตยตามระบบเลือกตั้งนั้น ผมคิดไม่ ออกว่าเราจะมีส่วนในการพัฒนามันต่อไปอย่างไรได้บ้าง ส่วนตัวผมนั้น ค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการจัดการอานาจ ผ่านกระบวนการต่อรอง อยากให้มันดาเนินไปอย่าง ต่อเนื่อง ให้มันมีบทสนทนา ให้มันมีเนื้อหา มีข้อมูลส่งผ่านให้สังคมได้รับรู้และเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพคน ผมเชื่อว่าในสังคมที่มันมีลักษณะพหุเช่นนี้ เราน่าจะให้ความสนใจกับกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ที่มีประมาณ 40% ของครัวเรือนไทย ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม และให้ความสนใจกับกลุ่มคนที่ไม่จน แต่ 14 เก่งกิจ เรียงลาภ และเควิน ฮิววิสัน (อ้างแล้ว) 15 ในทัศนะนี้ กรัมชี่ เชื่อว่า ประชาชนผู้ไร้สมบัติจะสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นผู้ปกครองได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาเอาชนะการครอบงาทาง วัฒนธรรมและอุดมการณ์ของพวกนายทุนเจ้าของสมบัติได้
  • 8. 8 รู้สึกรู้สาว่าสังคมมันเหลื่อมล้า ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียม ซึ่งคนกลุ่มนี้มีอยู่มากกว่า 50% หรืออาจจะสูงถึง 70% ของประชากรทั้งประเทศ และเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้มันควรต้องเปลี่ยนแปลง อีกทั้ง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในมิติของคน ไม่ว่าจะเป็น คนจน เกษตรกรรายย่อย ประมงพื้นบ้าน แรงงาน เพื่อนบ้าน และความสัมพันธ์เชื่อมโยงในมิติของประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ใน ท้องทะเล ผืนป่า ผลกระทบต่อวิถีชีวิตสุขภาพจากโครงการขนาดใหญ่ อย่างเช่นเหมืองทอง ท่าเทียบเรือน้าลึก กฎหมายคนจน 4 ฉบับ สิ่งเหล่านี้มันถูกเชื่อมโยงกับสังคมใหญ่ ณ ปัจจุบันมันถูกสนทนากับคนทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค ตั้งแต่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าที่ขายของ online พนักงาน office ไปจนถึงนักการเมืองหลาย พรรค อย่างผนึกแน่นผ่านสื่อ social media ทุกๆ นาที ผมเชื่อในพลังของการมีพื้นที่ มี platform ที่หลากหลาย ที่ให้ผู้คนในสังคมพหุแบบนี้ ได้ปรึกษาหารือ ถกแถลง ในข้อมูล ในผลดี ผลเสีย ไตร่ตรองอย่างรอบคอบรอบด้านในประเด็นสาธารณะในประเด็นส่วนรวม ถ้ามันมี พื้นที่ มีกระบวนการ มีข้อมูลที่ต่อเนื่องเช่นนี้ ผมเชื่อว่ามันจะเป็นหนทางในการฟื้นฟูประชาธิปไตยใน ชีวิตประจาวันของเราได้ ...และผมอยากจะย้าว่ามันก็เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแล้ว นับตั้งแต่กรณีเขื่อนปากมูลที่ สมัชชาคนจนได้ริเริ่มเอาไว้ ถึงที่สุด ผมไม่อาจโยนคาถามและภาระรับผิดชอบทั้งหมดกลับไปให้ขบวนการคนจน สมัชชาคนจนแต่เพียงฝ่าย เดียวได้ แต่อาจยังต้องตั้งคาถามเผื่อแผ่ไปยังเพื่อนนักวิชาการ เพื่อน NGO และตัวผมเอง ว่าในสถานการณ์ เช่นนี้ เราทาอะไรได้บ้างและทามากพอหรือยัง ในท้ายนี้ ผมขอนาคาประกาศลาน้ามูล เมื่อ 15 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการคนจนที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย และโดยตัวคาประกาศยังคงทันสมัยและเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน มากล่าว ณ ที่นี้ "เรามีความเห็นร่วมกันว่า แนวความคิดที่สนับสนุนแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ และภาคธุรกิจ เอกชน เป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนและต่อการพัฒนาสังคม จึงถือเป็นการจาเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความคิด ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติใน กระบวนการพัฒนา ทั้งของรัฐและบรรษัทธุรกิจเอกชนเสียใหม่ ตามแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความก้าวหน้าของ มวลมนุษยชาติที่ไร้พรมแดน" ขอบคุณครับ