SlideShare a Scribd company logo
1 of 68
สงวนลิขสิทธิ์โดยสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย พ.ศ. 2555 D D หนา 1
Copyright 2012 Thailand Securities Institute (TSI), The Stock Exchange of Thailand, All rights reserved.
สถาบันกองทุนเพื่อการพัฒนาตลาดทุน
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มิถุนายน 2555
โดย
กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข และ กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เอกสารการสอนเศรษฐศาสตร์ ระดับ ป.1 ถึง ม.3
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สารบัญ
หน้า
ประถมศึกษาปีที่ 1
สินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน 6
ผู้บริโภค 5
ใช้สอยทรัพยากรอย่างประหยัด 7
การหารายได้ 8
ประถมศึกษาปีที่ 2
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) 10
การหารายได้ 8
การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ – รายจ่าย) 11
การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Barter) 13
ประถมศึกษาปีที่ 3
ความต้องการและความจาเป็น (Want vs. Need) 15
การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ – รายจ่าย) 11
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) 10
ภาษี (Tax) 16
ยิ่งแข่งขัน ราคายิ่งลด? 18
ประถมศึกษาปีที่ 4
การเลือก (Choice) 19
สิ่งจูงใจ (Incentives) 21
สิทธิของผู้บริโภค 23
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) 24
หน้าที่ของเงิน 27
ประถมศึกษาปีที่ 5
ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ 29
บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงิน 30
การกู้ยืมเงิน 32
ประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 33
บทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน 35
ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 36
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) 24
มัธยมศึกษาปีที่ 1
เศรษฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร 38
ค่านิยมและการบริโภค 39
บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงิน 30
การพึ่งพากันในระบบเศรษฐกิจ 41
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกาหนดอุปสงค์และอุปทาน 43
ทรัพย์สินทางปัญญา 46
มัธยมศึกษาปีที่ 2
การลงทุนและการออม 47
การผลิตสินค้าและบริการ 49
คุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค 51
ประเภทของระบบเศรษฐกิจ 53
การแข่งขันและการพึ่งพาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย 55
เศรษฐกิจโลก (Global Economy) 56
มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลไกราคา 58
บทบาทภาครัฐในระบบเศรษฐกิจ 60
การค้าระหว่างประเทศ 63
เงินเฟ้อและเงินฝืด 66
การว่างงาน 68
4
สินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.1
ตัวชี้วัด 1 ระบุสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
สินค้าและบริการเป็นคาที่นักเศรษฐศาสตร์ มักจะใช้เพื่ออธิบายถึงการที่มนุษย์ทุกคนจะมี
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ให้บริการ และอาจจะเป็นผู้บริโภคในการซื้อ
สินค้าและบริการเหล่านั้น ผ่านกลไกตลาด ซึ่งจะเป็นเรื่องหลักของการเข้าใจกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
คนโดยทั่วไป
บริการเป็นการดาเนินการโดยบุคคลผู้ให้บริการ ในการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
ตัวอย่างเช่น การนวดแผนไทย นักแสดงละคร การให้บริการล้างรถยนต์ ในขณะที่สินค้านั้น เป็นการ
สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะได้รับอรรถประโยชน์จากสินค้านั้น ด้วยการจับต้อง
และใช้ประโยชน์สินค้าในทางกายภาพ ในขณะที่บริการเป็นการได้รับอรรถประโยชน์จากการกระทาของ
ผู้ให้บริการ ซึ่งในการให้บริการจะต้องมีการจัดหา (Provide) ต่างจากสินค้าที่จะต้องมีการผลิต
(Produce) ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์ การให้บริการ จึงใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีการใช้ความรู้ ทักษะ ที่มี
ของแต่ละคน (Human Capital) หรือที่เรียกว่าทุนมนุษย์ ในการให้บริการ ในขณะที่การผลิตสินค้าจะใช้
ทุน (Capital) ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) และทุน เครื่องมือ วัตถุดิบ เพื่อใช้ใน
การผลิตสินค้าจาหน่าย
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• นักเรียนจะสามารถแยกแยะลักษณะของสินค้าและบริการ ด้วยการเขียนตัวอักษร ก ข ค ง บน
กระดาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า จากอักษรเหล่านั้นจะมีสินค้า และ บริการอะไร ที่ขึ้นต้น
ด้วยอักษรเหล่านั้น
• ให้กิจกรรมนักเรียน เมื่อไปพบปะผู้คน ให้นักเรียนถามอาชีพของผู้คน และแยกแยะให้ได้ว่าเป็น
การให้บริการ หรือเป็นการผลิตสินค้า แล้วสัมภาษณ์คนเหล่านั้นว่า ลูกค้าเป็นใคร แล้วเค้าได้รับ
ประโยชน์จากสินค้าและบริการนั้นอย่างไร แล้วนามาอภิปรายในชั้นเรียน
5
ผู้บริโภค
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.1
ตัวชี้วัด 2 ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจาวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์
ของการออม
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
คนโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจล้วนแต่มีกิจกรรมของการบริโภค ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่คนเหล่านั้นมี
กิจกรรมของ “การซื้อ” “การครอบครอง” “การใช้ประโยชน์” สินค้าและบริการ โดยได้รับประโยชน์และ
ความพึงพอใจจากการบริโภคสินค้าและบริการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางด้านจิตใจ
อาทิ การรับประทานอาหารเลิศรสในภัตตาคาร การซื้อเสื้อผ้าเนื้อดี รูปแบบสวยงาม เหล่านี้ผู้คน
โดยทั่วไปจะมีความพึงพอใจโดยมีส่วนผสมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้คนต้อง
คานึงถึงต่อมาก็คือในการเลือกซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น ผู้คนโดยทั่วไปจะมีความต้องการที่ไม่จากัด
และประสงค์ที่จะซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงที่สร้างความพึงพอใจมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติ
ของคนโดยทั่วไป แต่แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จะอธิบายถึงข้อจากัดของแต่ละคนภายใต้ทรัพยากรที่
ตนเองมีอยู่นั้น จะทาการเลือกเพื่อการบริโภคอย่างไร ดังนั้นผู้คนที่จะเลือกซื้อของภายใต้ข้อจากัดของ
งบประมาณ ข้อมูล เวลา เป็นต้น จะมีการเปรียบเทียบถึงค่าเสียโอกาสของการเลือกบริโภคสิค้าและ
บริการชนิดใดๆ ว่าจะตอบสนองประโยชน์ที่ผู้บริโภคคาดหวัง เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรที่ต้องเสีย
ไป มากน้อยเพียงใด
หากผู้บริโภคคานึงถึงข้อจากัดข้างต้นดังที่ได้กล่าวไปแล้วขณะตัดสินใจจับจ่ายใช้สอย ผู้บริโภค
จะมีพฤติกรรมที่ใช้จ่ายไม่เกินข้อจากัดที่ตนเองมี โดยเฉพาะข้อจากัดทางด้านงบประมาณหรือเงินที่
ผู้บริโภคมี จะทาให้ไม่มีการใช้จ่ายเกินตัวจนต้องกู้ยืมเงินผู้อื่นมาใช้จ่ายจนเกิดหนี้สิน นอกจากนี้การใช้
จ่ายที่ไม่เกินตัวยังจะทาให้ผู้บริโภคมีเงินออม เพื่อสะสมไว้เพื่อรองรับการใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นใน
อนาคต เช่นการซื้อสินค้าที่จาเป็นที่มีราคาแพง เช่น บ้าน รถ เป็นต้น หรือการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่น
การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• นักเรียนมักจะเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการในทุกๆ วันอยู่แล้วเช่น ปากกา ยางลบ อาหาร
กลางวัน รถรับส่ง ดังนั้นหากในทุกวันที่นักเรียนมาโรงเรียนแล้วไม่เกิดการบริโภคขึ้น แล้วจะมีผล
อย่างไรต่อตัวนักเรียนและต่อคนรอบข้าง
• ให้นักเรียนลองร่วมกันคิดว่าในแต่ละวันนักเรียนใช้จ่ายเงินไปเพื่อจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการใน
การบริโภคอย่างไร และให้นักเรียนลองแยกแยะว่าสินค้าและบริการนั้นตอบสนองประโยชน์ที่
6
คาดหวังได้หรือไม่ และถ้าหากนักเรียนทาได้ จะบริโภคสินค้าชนิดใดอีกในแต่ละวัน และที่ทาไม่ได้
เพราะเหตุใด
• ให้นักเรียนอภิปรายปัจจัยที่จะมีผลต่อการตัดสินใจบริโภค หรือเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น
การโฆษณา การทาตามศิลปินคนโปรด การเลียนแบบผู้ใหญ่ การลดราคาสินค้า ว่ามีผลต่อตัว
นักเรียน ครอบครัว และสังคมอย่างไร
7
ใช้สอยทรัพยากรอย่างประหยัด
มาตรฐาน ส 3.1 ป.1
ตัวชี้วัด 3 ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจาวันอย่างประหยัด
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
สินค้าและบริการที่ต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวปลาอาหาร ดินสอ ยางลบ
รองเท้า ฯลฯ ล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆในการผลิต เช่น ดินสอ ก็ต้องใช้ ต้นไม้ แร่แกร์ไฟต์ (ทาไส้
ดินสอ) ไฟฟ้า แรงคน ในการผลิต เป็นต้น ทรัพยากรจึงมีความสาคัญกับการดารงชีวิต อย่างไรก็ดีโลก
เรามีทรัพยากรเหล่านี้ในจานวนจากัด และเพราะว่าทรัพยากรเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อ
ใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผลิตสินค้าแล้ว เราจะเหลือทรัพยากรไว้ใช้ประโยชน์น้อยลง ดังนั้นจึงหมายความว่า
โลกเราไม่มีทรัพยากรมากเพียงพอที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการให้เราได้ตลอดไป
ดังนั้นเราจึงควรใช้สินค้าและบริการในชีวิตประจาวันอย่างคุ้มค่า และใช้เท่าที่จาเป็น เพื่อ
ประหยัดเงินของเราเอง และเพื่อให้เหลือทรัพยากรไว้ใช้ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดี มีสินค้าและบริการ
บางประเภท ที่มักถูกใช้อย่างไม่มีการดูแลรักษาจากผู้ใช้เท่าที่ควร เพราะผู้ใช้ไม่ได้จ่ายเงินซื้อสินค้าและ
บริการนั้นมาโดยตรง จึงไม่มีแรงจูงใจให้ดูแลรักษา เช่น โต๊ะเรียน ของเล่นในสนามเด็ก ห้องน้าโรงเรียน
เป็นต้น สินค้าและบริการเหล่านี้จะต้องใช้ร่วมกันหลายคน หากมีการชารุดทรุดโทรม ก็ต้องมีการ
ซ่อมแซม หรือสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากร ดังนั้นแม้ สิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่น จึงต้อง
คานึงเสมอว่า เราเป็นเจ้าของสิ่งนั้นร่วมกัน เมื่อใช้แล้วเราก็ควรดูแลให้มีสภาพที่ดีเพื่อให้ผู้อื่นสามารถใช้
ต่อจากเราได้ การกระทาดังกล่าวถือว่าเป็นการประหยัดทรัพยากร เนื่องจากเมื่อสินค้าไม่ชารุดบ่อย ก็ไม่
ต้องใช้ทรัพยากรในการซ่อมบ่อยๆ
สรุป ไม่ว่าสินค้าหรือบริการนั้น เราจะเสียเงินซื้อมาเพื่อใช้คนเดียว เช่น ดินสอ ของเล่น หรือ
ได้มาฟรีๆ แต่ต้องใช่ร่วมกับผู้อื่น สวนสาธารณะ โต๊ะเรียน เราก็ต้องใช้อย่างประหยัด และดูแลรักษาเป็น
อย่างดี เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรไม่ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (หรือให้อาจารย์ยกตัวอย่าง) ว่า สินค้าหรือบริการใด ที่นักเรียนหรือ
ผู้ปกครองนักเรียนเสียเงินซื้อมาใช้ส่วนตัว และสินค้าหรือบริการใดที่ได้ใช้โดยไม่ต้องเสียเงินแต่
ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น และให้นักเรียนตอบว่า นักเรียนใช้สินค้านั้นๆอย่างไร เป็นการใช้ที่ประหยัด
ทรัพยากรหรือไม่ หากไม่จะแก้ไขอย่างไร
8
การหารายได้
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.2
ตัวชี้วัด 2 บอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว
มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป. 1
ตัวชี้วัด 1 อธิบายเหตุผลความจาเป็นที่คนต้องทางานอย่างสุจริต
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
คนทั่วไปจะมีการแสวงหารายได้จากการทางานในหลายๆ รูปแบบทั้งการเป็นพนักงาน ลูกจ้าง
การเป็นผู้ประกอบการ เป็นเกษตรกร เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นผู้คนจึงใช้ทรัพยากรที่
ตนเองมีอยู่ทั้ง ทรัพยากรมนุษย์ (ความรู้ ประสบการณ์ ร่างกายที่แข็งแรง สติปัญญา) ทรัพยากรทุน และ
ต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดรายได้ เป็น ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าเช่า
ผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นต้น
รายได้ที่ผู้คนจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับ ในช่วงเวลานั้นระบบเศรษฐกิจและผู้ว่าจ้างให้คุณค่ากับ
ตาแหน่งงานใด หากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการแรงงานด้านคอมพิวเตอร์สูงมาก ก็จะยินดีที่จะจ่าย
ค่าจ้างสาหรับตาแหน่งงานนักคอมพิวเตอร์ในระดับสูง เนื่องจากนักคอมพิวเตอร์สามารถสร้างสรรค์
สินค้าและบริการที่ทาให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้มากเพียงพอจนคุ้มที่จะจ้างนักคอมพิวเตอร์
ในค่าจ้างที่สูงได้ และนอกจากนั้น หากในระดับอาชีพเดียวกันตลาดแรงงานจะให้คุณค่ากับผู้ที่มี
ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่มีความสามารถในการผลิตสูงกว่า เช่น ใช้เวลาเท่ากัน แต่
ผลิตงานได้มากกว่า หรือมีคุณภาพสูงกว่า เป็นต้น
ดังนั้นผู้คนจะสามารถเลือกได้ว่า ตนเองนั้นมีทักษะและความสามารถในด้านใด หากสามารถ
พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น มีความสามารถมากขึ้นผ่านกระบวนการเรียน และการศึกษาในด้านต่างๆ
รวมทั้งการพัฒนาตนเองไปในวิชาชีพที่ต้องการ ภายใต้พื้นฐานความเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและคุณธรรมที่
เหมาะสม ดังนั้นนักเรียนทุกคนล้วนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป หากสามารถพัฒนา
ตนเองไปในทิศทางที่เหมาะสมกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ และความสามารถของตนเองแล้ว ก็
จะทาให้นักเรียนสามารถประกอบอาชีพและประสบความสาเร็จได้
ภายใต้สภาวะการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจ นักเรียนควรจะมีความตระหนักในการศึกษาตลอด
ชีวิต ไม่ได้หยุดเพียงแต่ในห้องเรียน หรือกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้เท่านั้น นักเรียนควรที่จะเรียนรู้ใน
หลายๆ ด้าน ทั้งดนตรี ภาษา การทาอาหาร ศิลปะ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ ตามความสนใจของ
นักเรียน
9
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน
• ให้นักเรียนไปสัมภาษณ์คนที่มีอาชีพต่างๆ กันถึงรูปแบบการทางาน ทาไมถึงเลือกทาอาชีพนี้
ถ้าจะทาให้ได้ดีต้องมีคุณสมบัติใดเป็นพิเศษ และให้นาเสนอในห้องเรียน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นกันในห้องเรียน
• คุณครูออกแบบเกม โดยให้มีรูปหมวกหรือสัญลักษณ์ของอาชีพต่างๆ ตามที่ต้องการ แล้วให้
นักเรียนทายคุณสมบัติและลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมกับอาชีพเหล่านั้น จากนั้นให้นักเรียน
เขียนรายงาน เส้นทางไปยังอาชีพที่ใฝ่ฝัน อาทิ หมวกทหาร พยาบาล ไมโครโฟน เสื้อกั๊ก
มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ
• ให้คุณครูสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทุกอย่างที่เป็นการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้
อย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ ศาสตร์ที่นักเรียนสนใจ
10
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource)
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.2 และ ป.3
ตัวชี้วัด 1 สาหรับ ป.2
และตัวชี้วัด 3 สาหรับ ป.3
ป.2 ระบุทรัพยากรที่นามาผลิตสินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน
ป.3 อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จากัดมีผลต่อการผลิตและบริโภคสินค้า
และบริการ
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ ทะเล เป็นสิ่งที่ประเทศได้รับจากธรรมชาติ ตามทาเล
ที่ตั้งของพื้นที่ ไม่ได้มีใครมาทาให้ ปกติแล้วทรัพยากรธรรมชาติใช้แล้วจะหมดไป แต่มนุษย์สามารถ
คิดค้นนวัตกรรมในการประหยัดการใช้ และสังเคราะห์ทรัพยากรอื่นๆ มาใช้ทดแทนกัน ดังนั้นจะพบว่า
ทรัพยากรธรรมชาติ มักจะเป็นวัตถุดิบพื้นฐานสาหรับการผลิตสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ อย่างไร
ก็ตาม จากเหตุผลของการที่ทรัพยากรมีทั้งที่มาจากธรรมชาติ ที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น จึงทาให้สับสนใน
การแยกแยะประเภทของทรัพยากรได้ ตัวอย่างเช่น อิฐที่ใช้นามาสร้างบ้าน เป็นทรัพยากรที่มนุษย์
พัฒนามาจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่างจากไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติจริงๆ ดังนั้นในการผลิตของ
ระบบเศรษฐกิจ จึงมีกระบวนการคิดค้นว่าทาอย่างไร ผู้ประกอบการจึงจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
อย่างประหยัด คุ้มค่ามากที่สุด โดยทั่วไปแล้วในระบบเศรษฐกิจผู้ประกอบการจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ร่วมกันกับทรัพยากรมนุษย์ และทุน เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการ
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน
• ให้นักเรียนช่วยกันเขียนกลอนหรือบทกวี หรือบทความ เกี่ยวกับธรรมชาติที่ตนเองประทับใจ
• ให้นักเรียนช่วยกันจดรายชื่อของทรัพยากรธรรมชาติขั้นต้น จากนั้นให้อธิบายต่อว่า
ทรัพยากรธรรมชาตินั้นสามารถนาไปผลิตเป็นสินค้าอะไรในขั้นที่สอง แล้วสามารถนาไป
สร้างสรรค์หรือผลิตเป็นสินค้าและบริการใดอีกในขั้นที่สาม
• ให้นักเรียนเล่นเกม โดยหากคุณครูเอ่ยถึงทรัพยากร ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติในขั้นต้น แล้ว
ให้นักเรียนลุกขึ้นยืนตอบว่าจะสามารถนาไปผลิตเป็นสินค้าขั้นที่สองอะไรได้บ้าง ให้ทาโดยเร็ว
และแข่งกันเป็นกลุ่ม โดยการแพ้ชนะ เป็นความถูกต้องและรวดเร็ว ของแต่ละกลุ่ม หากใครทา
ได้หลายครั้งกว่า ก็จะชนะ
• ให้คุณครูจัดทารายชื่อทรัพยากรธรรมชาติ 5 ชนิดแล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อคิด
เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับทรัพยากรทั้ง 5 ชนิดนั้น โดยให้ประเด็นในด้านจานวนและการใช้
ประโยชน์ของทรัพยากร ประเด็นด้านการประหยัดทรัพยากร เป็นต้น
11
การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ - รายจ่าย)
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป. 2 และ ป.3
ตัวชี้วัด 3 และ 4 สาหรับ ป.2
ตัวชี้วัด 2 สาหรับ ป.3
ป.2 ตัวชี้วัด 3 บันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง, ตัวชี้วัด 4 สรุปผลดีของ
การใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และการออม
ป.3 ตัวชี้วัด 2 วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดให้
พอเพียงกับความต้องการ จึงต้องมีกระบวนการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
เพื่อจะเป็นส่วนสาคัญของข้อมูลในการนามาวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างจากัดว่าเพียงพอต่อความจาเป็นหรือไม่ คานึงถึงสิ่งแวดล้อมและส่วนรวม อีกทั้งมีการป้องกันความ
เสี่ยงในชีวิตของตนเองหรือไม่อย่างไร
การจดบันทึกรายรับรายจ่าย จะเป็นกระบวนการทบทวนการใช้จ่ายของตนเอง เพื่อแสดงให้เห็น
ถึงความเหมาะสมในการจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างจากัดให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด ในกระบวนการบันทึก จะมี
การจดและแยกหมวดหมู่ ไปตามวิถีการใช้ชีวิต เช่น หมวดอาหาร หมวดของเล่น หมวดขนมขบเคี้ยว
หมวดเครื่องใช้ในการเรียน หมวดค่าเดินทาง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีการจดบันทึกข้อมูล จะต้องมีการ
นาเอาข้อมูลมีวิเคราะห์เพื่อทาความเข้าใจกับพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง เพื่อแยกแยะว่าพฤติกรรม
การใช้จ่ายใด ที่สามารถลด ละ เลิกได้ รวมทั้งสามารถนาเอาเงินส่วนที่เหลือนั้น มาออมเพื่อวัตถุประสงค์
อื่นๆ ในอนาคต เช่น การเก็บเงินไว้ซื้อเครื่องดนตรีเพื่อฝึกฝนฝีมือ การนาเงินไปออมเผื่อเหตุฉุกเฉินใน
ชีวิต รวมไปถึงการออมเงินเพื่อประโยชน์อื่นๆ ในอนาคตที่เหมาะสมของนักเรียน ดังนั้น ในการ
กระบวนการวิเคราะห์และแยกแยะประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะอาศัยแนวคิด
ของการเปรียบเทียบ ต้นทุน และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของนักเรียน จากพฤติกรรมการใช้จ่ายนั้น
เมื่อได้ข้อมูลแล้ว นักเรียนจะจัดทา “งบประมาณรายจ่าย” ซึ่งเป็นการวางแผนในเดือนต่อไป โดย
จะมีการวางกรอบการใช้จ่ายให้กับตนเองตามแผนการที่ได้เตรียมไว้ในกรอบงบประมาณรายจ่าย เมื่อได้
ผ่านการใช้ชีวิตกับกรอบงบประมาณรายจ่ายแล้ว นักเรียนจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว
ให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่ตนเองนั้นมีอยู่ได้อย่างดี
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน
• ให้นักเรียน จดบันทึกรายการประจาวันของ รายได้และรายจ่ายของตนเอง ในระยะเวลาสั้นๆ
เพื่อจะนามาออกแบบการแยกประเภทของรายจ่ายของนักเรียนที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต อาจจะ
12
เสริมในเรื่องของการเขียนบันทึกประจาวัน (Diary) เพื่อบันทึกความทรงจาถึงกิจกรรมในแต่ละ
วันของตนเองด้วย
• ให้นักเรียนทาการวิเคราะห์รายจ่ายของตนเอง และร่วมกลุ่มทากิจกรรมเพื่อวิเคราะห์
พฤติกรรมของตนเองในการใช้จ่าย แล้ววางกรอบงบประมาณเพื่อให้สามารถออมเงินได้
เพิ่มขึ้น โดยให้มีการออมเงินก่อนการนาเอาไปใช้
• ให้นักเรียนเขียนถึงเป้าหมายที่ต้องการ และสร้างกระบวนการออมเงินเพื่อไปถึงเป้าหมายที่
ต้องการ
13
การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Barter)
มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป.2
ตัวชี้วัด 1
ตัวชี้วัด 2
อธิบายการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยวิธีต่างๆ
บอกความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ประชาชนทั่วไป จะแลกเปลี่ยนสินค้าแลบริการโดยสมัครใจ เพราะคนโดยทั่วไปจะมีความยินดี
อยู่แล้วที่จะได้บริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากที่ตนเองสามารถผลิตได้ ดังนั้นข้อเท็จจริงอย่าง
หนึ่งของการเปิดการค้าก็คือประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการได้รับการบริโภคสินค้าและ
บริการที่แตกต่างจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้คนในระบบเศรษฐกิจในอดีต จะเป็นการแลกเปลี่ยน
โดยไม่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยจะเป็นการใช้ของแลกของเลย (Barter Trade)
ต่อมาภายหลังเมื่อมีความนิยมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นทาให้เกิดเงิน (Money) ขึ้น
เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ซึ่งลดปัญหาของกระบวนการแลกเปลี่ยนสินค้าและ
บริการแบบเดิมที่มีความแตกต่างในการเปรียบเทียบมูลค่า รวมถึงน้าหนักในการขนส่งเพื่อแลกเปลี่ยน
กัน การเก็บรักษาสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งความต้องการสินค้าและบริการของแต่ละฝ่ายก็มีความ
แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา จึงทาให้เงินกลายเป็นสื่อกลางหลักที่อานวยความสะดวกการแลกเปลี่ยน
สินค้าและบริการ และยิ่งทวีความสาคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคสมัยของระบบเศรษฐกิจที่ใช้
มาตรฐานเงินตราในการทาธุรกรรมทางการค้าและบริการ
อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในรูปแบบของสินค้าแลกกับสินค้า (Barter
Trade) ยังคงมีปรากฏอยู่บ้าง อาทิ การค้าระหว่างรัฐต่อรัฐ เช่น ข้าวแลกน้ามัน เป็นต้น
2) แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
• คุณครูให้กระดาษนักเรียนคนละ 2-3 ชิ้น แล้วให้นักเรียนเขียนสินค้าและบริการที่ตนเองคิดว่ามีอยู่
จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนต่อรอง แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของตนเองกับเพื่อน เมื่อดาเนิน
ไปได้สักพักก็จะหยุด สารวจดูว่า เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการหรือไม่ ถ้ามีเกิดขึ้น
ปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดมีการการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเหล่านั้นขึ้น และนักเรียนที่
ยอมแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ พึงพอใจในประโยชน์สินค้าที่ได้มาอย่างไร เปรียบเทียบกับ
สินค้าที่ตนเองแลกไป
• สมมติว่านักเรียนยอมแลกอาหารกลางวัน กับน้าดื่ม ถ้าจะให้นักเรียนยอมแลกเปลี่ยน นักเรียนจะ
มีปัจจัยใดสนับสนุนการตัดสินใจนั้น และจะแลกในสัดส่วนและจานวนเท่าใด
14
• ให้แบ่งกระดานออกเป็น 2 ด้าน เขียนด้านซ้ายว่า “เหตุผลที่ยอมแลกเปลี่ยนสินค้า” และด้านขวา
ว่า “เหตุผลที่ไม่ยอมแลกเปลี่ยนสินค้า” จากนั้นให้คุณครูสมมติ หรือมีภาพ สินค้าและบริการ
ต่างๆ ว่าถ้าหากนักเรียนมีสินค้าเหล่านี้แล้ว จะยอมแลกกับสินค้าอีกประเภทหรือไม่ โดยให้ใน
ห้องเรียนเขียนเหตุผลของการยอมแลกและไม่ยอมแลกสินค้าและบริการเหล่านั้น
• ให้คุณครูจาลองเหตุการณ์ของการให้ด้วยจิตอาสา กับการทาให้เพื่อหวังการแลกเปลี่ยนตอบแทน
ต่างกันอย่างไร ให้นักเรียนแยกแยะและอภิปรายในชั้นเรียน
15
ความต้องการและความจาเป็น (Want vs. Need)
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.3
ตัวชี้วัด 1 จาแนกความต้องการและความจาเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการ
ดารงชีวิต
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ความต้องการเป็นกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ว่าพึงพอใจในการบริโภคสินค้าและบริการ
ด้วยการสัมผัสทางกายภาพ อารมณ์ และเหตุผลต่างๆ ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีความต้องการที่หลากหลาย
ไม่จากัด ดังจะสังเกตได้จากสินค้าประเภทเดียวแต่มีหลายรูปแบบ เช่น แชมพูสระผม ที่มีความแตกต่าง
ทั้งกลิ่น สี ขนาด ส่วนผสม การบารุง เป็นต้น แต่ผู้บริโภคมีทรัพยากรที่จากัด จึงไม่สามารถหาสินค้า
และบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของตนเองที่ไม่จากัดได้หมด
สิ่งที่นักเรียนควรจะแยกแยะให้ได้คือการจัดกลุ่มสินค้าที่ตนเองพึงพอใจได้ว่า เป็นความต้องการ
(Want) หรือเป็นความจาเป็น (Need) ซึ่งในการระบุถึงสินค้าและบริการที่ต้องการ และสินค้าและบริการ
ที่จาเป็นนั้น ของแต่คนจะไม่จาเป็นต้องเหมือนกัน เช่น รถยนต์ หากบ้านนักเรียนอยู่ใกล้โรงเรียนและ
ผู้ปกครองเปิดร้านขายของที่บ้าน อาจจะไม่จาเป็นต้องมีรถยนต์ แต่หากเป็นนักเรียนที่บ้านอยู่ไกลใน
ซอยลึก รถยนต์จะกลายเป็นที่ที่จาเป็นทันที โดยสินค้าที่เป็นความต้องการ (Want) มักจะเป็นสินค้าและ
บริการที่สามารถรอเวลา หรือยังไม่ต้องบริโภคในเวลานี้ก็ได้ แต่หากเป็นสินค้าที่เป็นความจาเป็น
(Need) แล้วผู้บริโภคจะพิจารณาว่าสินค้าและบริการเหล่านั้นเป็นของเร่งด่วนหากไม่ได้หรือไม่บริโภค
แล้วจะเกิดความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือเสื้อผ้า เป็นต้น
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• วิธีที่จะทาให้นักเรียนเข้าใจและแยกแยะได้จึงเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนคิดถึงสินค้า
และบริการที่ตนเองอยากได้ และสามารถเรียงลาดับตามความจาเป็น ภายใต้สถานการณ์ที่ตนเอง
เป็นอยู่ รวมทั้งข้อจากัดด้านงบประมาณและประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าเหล่านั้น ดังนั้นเมื่อ
นักเรียนเข้าใจแล้ว ให้นักเรียนเริ่มวิเคราะห์ให้ยากขึ้น เช่นถ้าอาหารและเสื้อผ้าเป็นสินค้าจาเป็น
แล้ว แต่หากเป็นอาหารในภัตตาคาร เสื้อผ้าที่ออกแบบโดยนักออกแบบในต่างประเทศ จะเป็น
สินค้าและบริการที่จาเป็น (Need) หรือว่าต้องการ (Want) และวิเคราะห์มากขึ้นไปอีกว่าหากเป็น
กลุ่มบุคคลผู้มีรายได้สูง เช่น ดารา นางแบบ เป็นต้น และผู้มีรายได้น้อย แล้วสินค้าเหล่านี้จะเป็น
สิ่งจาเป็นหรือเป็นสิ่งที่ต้องการ
16
ภาษี (Tax)
มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป. 3
ตัวชี้วัด 1
และตัวชี้วัด 2
บอกสินค้าและบริการที่รัฐจัดหาและให้บริการแก่ประชาชน
บอกความสาคัญของภาษีและบทบาทของประชาชนในการเสียภาษี
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ภาษีเป็นการโอนทรัพยากรที่เกิดจากบุคคล หรือ ธุรกิจซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนบุคคล ไปเป็น
ทรัพยากรของสาธารณะ ซึ่งเป็นของทุกๆ คนในสังคม เป้าหมายของการจัดเก็บภาษีคือการที่ระบบ
เศรษฐกิจจะต้องมีการจัดการสร้างสินค้าและบริการบางประเภท ที่ต้องใช้ร่วมกันของคนหลายคน หาก
บริษัทเอกชนเป็นผู้ทาแล้ว ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอาจจะไม่คุ้มค่า จึงให้รัฐบาลซึ่งเป็น
ตัวแทนของทุกคนในระบบเศรษฐกิจ ทาหน้าที่ในการสร้างสินค้าและบริการสาธารณะแทน เช่น ถนน
โรงเรียน โรงพยาบาล การป้องกันประเทศ ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนในประเทศสามารถใช้
ประโยชน์ได้ โดยทุกคนจะร่วมกันจ่ายภาษี เพื่อเป็นรายได้ให้กับรัฐบาล อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีการ
จัดเก็บภาษีที่หลากหลาย และมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และภาษีหลายประเภทถือเป็นสิ่งจูงใจ
(รูปแบบของการลงโทษ) เพื่อไม่ให้ประชาชนเลือกบริโภคสินค้าประเภทนั้นมากเกินไป
รัฐบาล จะมีการเก็บภาษีโดย กรมสรรพากร กรมสรรพามิตร และกรมศุลกากร โดย
กรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นส่วนสาคัญของ
รายได้ของรัฐบาล ซึ่งภาษีเหล่านี้จะเก็บจากผู้ที่มีรายได้ หากมีรายได้สูงก็จะถูกจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มีรายได้ต่าที่จะเสียภาษีในอัตราต่า หรือได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จึง
เป็นส่วนสาคัญในการลดช่องว่างระหว่างความรวยและความจน นอกเหนือจากนั้นกรมสรรพากรจะ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added Tax, VAT) ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าและบริการที่ประชาชนซื้อ
มาในการอุปโภคบริโภค ดังนั้นหากประชาชนไม่ได้บริโภคสินค้าชนิดนั้นก็จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในขณะที่กรมสรรพสามิต จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นสินค้าที่รัฐบาลพิจารณาว่าเป็นสินค้า
ฟุ่มเฟือย หรือรัฐบาลต้องการลดการบริโภคของประชาชน เช่น รถยนต์ น้ามัน บุหรี่ สุรา เป็นต้น
ในขณะที่กรมศุลกากรจะจัดเก็บภาษีศุลกากรสาหรับสินค้านาเข้าและส่งออก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบต. อบจ.) จะเก็บภาษีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดูแล เพื่อจัดทา
บริการสาธารณะบางส่วน เช่น การจัดการขยะ การจัดการสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ดูแลขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นนั้น ได้แก่ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบารุงท้องที่ เป็นต้น นอกจานี้ส่วนราชการ
อื่น เช่น กรมการขนส่งทางบก ทาหน้าที่จัดเก็บภาษีรถยนต์ประจาปี เป็นต้น
เป็นเรื่องปกติที่ไม่มีใครอยากเสียภาษี แต่ทุกคนควรจะต้องเข้าใจบทบาทในฐานะของพลเมืองที่
ดีในประเทศนั้น หากไม่มีใครเสียภาษี หรือ หลีกเลี่ยงการเสียภาษี รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างสินค้าและ
บริการสาธารณะที่ดีให้กับประชาชนในประเทศได้ใช้ประโยชน์
17
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน
• ให้นักเรียนรวมกลุ่มกัน จดว่าสินค้าและบริการใดบ้างที่รัฐบาลเป็นผู้ดาเนินการ ซึ่งอาจจะ
รวมถึงนโยบาย กระบวนการดาเนินงานของรัฐบาล เมื่อได้ภาษีมา
• ให้นักเรียนจดว่า ในค่าใช้จ่ายในแต่ละวันนั้น นักเรียนจ่ายเงินเป็นค่าสินค้า และภาษี แยกกัน
ได้อย่างไร และหัดในการคานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
18
ยิ่งแข่งขัน ราคายิ่งลด?
มาตรฐาน ส 3.2 ป.3
ตัวชี้วัด 3 อธิบายเหตุผลการแข่งขันทางการค้าที่มีผลทาให้ราคาสินค้าลดลง
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
หากพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ เรามักจะได้ยินคาว่า “การแข่งขัน” บ่อยเป็นพิเศษ เพราะนัก
เศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อในทฤษฎีที่ว่า หากปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้บริโภค มีอิสระในการ
ดาเนินการ จะทาให้การแข่งขัน และจะทาให้ได้ผลที่ดีต่อสังคมโดยรวม คือ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพ สินค้ามีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าจะมีราคาถูกลง เพราะเหตุใด
การแข่งขันจึงทาให้เกิดผลดีเช่นนั้น โดยเฉพาะทาให้มีราคาถูกลง?
การแข่งขันในที่นี้จะหมายถึง การปล่อยให้ผู้ผลิตทาการค้าอย่างเสรี สามารถเลือกได้ว่าจะอะไร
อย่างละเท่าไหร่ มีลักษณะคุณภาพอย่างไร โดยภาครัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการตัดสินใจดังกล่าว
รัฐจะทาหน้าที่เพียง สอดส่องดูแลให้มีลักษณะเอื้อต่อการแข่งขัน ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบใน
การแข่งขัน
เมื่อมีการแข่งขันแล้ว ผู้ผลิตจะมีอิสระในการผลิตสินค้า ผู้ผลิตก็จะทาการศึกษาว่าผู้บริโภค
ต้องการสินค้าลักษณะใด จะทาให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการให้เลือกหลากหลาย และตรงตามความ
ต้องการ นอกจากนี้การแข่งขัน ผู้ผลิตจะต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด เพื่อผลกาไรที่ดีขึ้น
เป็นผลทาให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และผู้ผลิตจะเสนอราคาถูกลง เพื่อแย่งลูกค้า จะเห็น
ได้ว่าการแข่งขันจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค เพราะจะได้สินค้าราคาที่สมเหตุสมผลและตรงตามความ
ต้องการ สังคมก็ได้รับประโยชน์ เพราะว่ามีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• ยกตัวอย่างเหตุการณ์ การแข่งขันทางการค้า ที่มีผลทาให้ราคาสินค้าถูกลง
19
การเลือก (Choice)
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.4
ตัวชี้วัด 1 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
เมื่อคนโดยทั่วไป ซึ่งมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจเป็นผู้บริโภค ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้บริโภคที่
มีความต้องการที่ไม่จากัดในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับ
อรรถประโยชน์จากการบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้คนมักจะมีข้อจากัดในด้านทรัพยากรที่
ตนเองมีอยู่ อาทิ งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ จึงมีความจาเป็น ดังนั้นผู้บริโภคจะต้องมีกระบวนการ
เลือก เพื่อให้ความต้องการของตนเองให้เหมาะสมกับข้อจากัดต่างๆ เหล่านั้น โดยการสร้างกระบวนการ
จัดลาดับความต้องการเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่
ผู้บริโภคโดยทั่วไปจะมีการตัดสินใจโดยคานึงถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ที่เกิดขึ้นใน
แต่ละทางเลือก โดยพิจารณาทั้งตัวสินค้าและตัวผู้บริโภคเอง หากมีทางเลือกมากกว่า 1 ทางเลือก
ผู้บริโภคจะพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เปรียบเทียบกับต้นทุนทั้งต้นทุนของตนเอง และต้นทุนของ
สังคมที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทาให้สินค้าและบริการแต่ละประเภทมีค่าเสียโอกาสในตัวของมันเองไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น หากผู้ปกครองนักเรียนเดิมเคยรับราชการมีเงินเดือนๆ ละ 20,000 บาท แล้วลาออกเพื่อ
มาเปิดร้านอาหาร โดยอาศัยตึกแถวที่เดิมมีคนเช่าอยู่เดือนละ 10,000 บาทเพื่อทาเป็นร้านอาหาร ดังนั้น
เมื่อสิ้นปีสมมติผู้ปกครองมีรายได้ทั้งปีหักค่าใช้จ่ายแล้วปีละ 360,000 บาทหรือตกเดือนละ 30,000 บาท
หากผู้ปกครองบอกว่าตนเองมีรายได้ดีกว่าตอนเป็นข้าราชการเสียอีก แบบนี้ไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้
คานึงถึงค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเช่าตึกแถว ซึ่งหากไม่เอามาทาเป็นร้านอาหารแล้ว ตึกแถวจะ
สร้างรายได้ให้เดือนละ 10,000 บาท รวมทั้งค่าแรงของผู้ปกครองซึ่งหากยังรับราชการอยู่จะมีรายได้
เดือนละ 20,000 บาท ดังนั้นหากพิจารณาจริงๆ จากค่าเสียโอกาสแล้วผู้ปกครองลาออกมาไม่ได้มีอะไรดี
ขึ้นเลย เพราะกาไรที่เป็นตัวเงินเดือนละ 30,000 บาทนั้น หากหักค่าเสียโอกาสที่ไม่เป็นตัวเงินแล้ว (ซึ่ง
เท่ากับเดือนละ 30,000 บาทเช่นกัน) ในกรณีนี้จึงเท่ากับว่าไม่ว่าจะรับราชการหรือลาออกมาเปิด
ร้านอาหารจะให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน
ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าชนิดใดแล้วก็จะเสียโอกาสที่จะได้บริโภคสินค้าอีก
ชนิดหนึ่ง ซึ่งเราเรียกสิ่งที่เกิดนี้ว่า กระบวนการแลกได้แลกเสีย หรือได้อย่างเสียอย่าง (Trade Off) ซึ่ง
ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งกับ ประโยชน์ที่สูญเสีย
ไปจากการไม่บริโภคสินค้าอีกชนิดหนึ่ง (ค่าเสียโอกาส)
ผู้บริโภคมักจะมีการตั้งกฎเกณฑ์ (Criteria) เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบแต่ละทางเลือก แล้วจึง
ทาการวิเคราะห์เลือกสินค้าและบริการ ดังนั้นหากทาการฝึกฝนเพื่อทาความเข้าใจถึงกระบวนการเลือก
20
การตั้งกฎเกณฑ์ การวิเคราะห์ค่าเสียโอกาส และการเลือกที่ทาให้มีการแลกได้แลกเสียเกิดขึ้น นักเรียน
จะสามารถเข้าใจพื้นฐานของการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• นักเรียนมักจะต้องมีการเลือกในทุกๆ วันอยู่แล้ว เช่น เมื่อกลับไปถึงบ้านจะเลือกดู TV ก่อน หรือ
จะทาการบ้านก่อน แม้กระทั่งการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้ออาหารกลางวันที่โรงเรียนว่าจะเลือกทาน
อาหารประเภทใด จะมีการตั้งเกณฑ์พิจารณาประโยชน์ที่จะได้รับ เปรียบเทียบกับเงินที่จะเสียไป
รวมถึงความชอบ ก็จะเป็นการพิจารณาค่าเสียโอกาส และเมื่อเลือกซื้ออาหารจานใดไป ก็จะเกิด
การแลกได้แลกเสียขึ้น เพราะไม่สามารถทานอาหารทุกประเภทได้พร้อมกันหมด ดังนั้นในการฝึก
วิเคราะห์เช่นนี้ นักเรียนจะสามารถทาความเข้าใจกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ง่ายขึ้น
• นักเรียนบางคนเชื่อว่าการได้รับเงิน อาหาร และของเล่นต่างๆ จากผู้ปกครองเป็นการได้มาฟรีๆ
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นที่ไม่ถูกต้อง เพราะผู้ปกครองจะต้องเสียโอกาสในการลดการบริโภคสินค้า
ประเภทอื่นๆลง แล้วนาเงินนั้นมาซื้ออาหาร หรือของเล่นต่างๆ ที่นักเรียนต้องการ
• นอกเหนือจากนั้นสินค้าสาธารณะบางประเภทที่รัฐบาลจัดหา อาทิ ถนน เรียนฟรี เป็นต้น เป็น
สินค้าที่ทุกคนได้มาฟรี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะรัฐบาลจะต้องมีการเก็บภาษีหลายประเภท
หลายรูปแบบ เพื่อนามาใช้จ่าย ยิ่งรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายในการทาโครงการต่างๆ เพิ่ม
มากเท่าใด ก็จะต้องมีการแสวงหารายได้เพื่อมาใช้ในโครงการต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงมีคา
กล่าวทางเศรษฐศาสตร์ไว้ว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” เพราะทุกสิ่งล้วนแต่มีค่าเสียโอกาสด้วยกัน
ทั้งสิ้น
21
สิ่งจูงใจ (Incentives)
มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.4
ตัวชี้วัด 1 ป.4 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
สิ่งจูงใจจะเป็นการให้รางวัล (Reward) หรือการลงโทษ (Penalty) เพื่อกระตุ้นให้คนหรือกลุ่มคน
ตอบสนองต่อสิ่งจูงใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การให้ส่วนลดสาหรับลูกค้า การให้วันหยุดพิเศษ การเก็บ
ภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์จึงใช้สิ่งจูงใจในการช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของคน
ในสังคม และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป สิ่งจูงใจได้แก่ ราคาสินค้า ค่าจ้างแรงงาน กาไรของ
ผู้ผลิต การอุดหนุนราคาสินค้า การเก็บภาษี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจูงใจในทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นใน
การดาเนินการด้านนโยบายของรัฐบาล การทากลยุทธ์การตลาดของภาคเอกชนจะมีการวางแผนใช้
กลไกการตัดสินใจโดยการตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปสามารถที่จะเลือก
เปรียบเทียบต้นทุนและผลดีที่จะได้รับ จากสิ่งจูงใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสามารถใช้กลไกภาษีใน
การจูงใจให้ประชาชนทาในบางสิ่ง เช่น การเก็บภาษีสรรพสามิตในเหล้าและบุหรี่ในอัตราที่สูง เพื่อจูงใจ
ให้คนลดการบริโภคบุหรี่และสุรา การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับบริษัทต่างประเทศที่จะมาลงทุน
สร้างโรงงานในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการสร้างงานและการผลิตในประเทศ การอุดหนุนราคาสินค้า
เกษตร อาทิ การรับจานาข้าว การประกันราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถทา
การส่งเสริมการตลาด อาทิ การลดราคาสินค้า การจัดโปรโมชั่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการดาเนินการ
ผ่านการสร้างแรงจูงใจ หากดาเนินการมากจนเกินไป จะส่งผลต่อการบิดเบือนกลไกตลาด ทาให้เกิด
ความลักลั่น ได้เปรียบ เสียเปรียบ ได้ อาทิ การอุดหนุนราคาพลังงานน้ามันดีเซล เพื่อสนับสนุนภาคการ
ผลิตไม่ให้มีต้นทุนสูงเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้ ทาให้ประชาชนเลือกซื้อรถ
ดีเซล มากกว่าการซื้อรถเบนซิน ถึงแม้ว่าจะมีความจาเป็นเพียงแค่การเดินทางไปทาธุระ ไม่ได้มีการ
บรรทุกสินค้าทุกๆ วัน ก็จะเลือกซื้อรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน
• ตั้งคาถามกับนักเรียนให้จดเรื่องที่นักเรียนตอบสนองต่อการจูงใจ 3 เรื่อในชีวิตประจาวันทั้งใน
ด้านการให้รางวัล และการลงโทษ จากนั้นให้นักเรียนอธิบายว่าในแต่ละสิ่งจูงใจนั้น นักเรียนจะ
ตอบสนองต่อสิ่งจูงใจเหล่านั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
• ให้คุณครูจัดเตรียมโฆษณาลดราคาสินค้าจากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือกิจกรรมทางการตลาดใน
ร้านค้าที่นักเรียนคุ้นเคย แล้วให้นักเรียนช่วยกันให้ความเห็นว่า จากสิ่งจูงใจเหล่านั้น จะมีผล
ต่อตัวนักเรียน ครอบครัวของนักเรียนอย่างไร จากนั้นให้คุณครูจาลองแนวคิดของการทาธุรกิจ
22
หรือมีธุรกิจที่นักเรียนเห็นอยู่เป็นประจา เช่น ร้านค้าในโรงเรียน แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิด
กิจกรรมทางการตลาดว่าจะมีกิจกรรมใดที่สามารถสร้างลูกค้าใหม่ๆ แล้วคาดการณ์กันว่าหาก
ดาเนินการตามกิจกรรมเหล่านั้นแล้ว จะมีผลอย่างไร มีต้นทุนของการดาเนินการอย่างไร และ
คุ้มที่จะดาเนินการหรือไม่
• ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่า ในสินค้าและบริการหลายๆ ประเภท เช่น อาหารอินทรีย์ การใช้ซ้า
(Recycle) การลดการใช้ถุงพลาสติก การผลิตสินค้าที่ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม ว่าจะมีการสร้าง
สิ่งจูงใจทั้งด้านการให้รางวัลและการลงโทษอย่างไร
23
สิทธิของผู้บริโภค
มาตรฐาน ส 3.1 ป.4
ตัวชี้วัด 2 บอกสิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะ
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้ในชีวิตประจาวัน ผู้บริโภคย่อมคาดหวังว่า
จะได้ใช้สินค้าและบริการได้คุ้มกับเงินที่เสียไป หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือได้รับอันตรายจากการใช้
ผู้บริโภคมีสิทธิ์เปลี่ยนสินค้านั้นใหม่ได้ หรือมีสิทธิ์รับค่าชดเชยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี
ผู้บริโภคก็จะต้องมีความรับผิดชอบในการใช้สินค้านั้นเสียก่อน จึงจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าว หน้าที่ของ
ผู้บริโภค เช่น ปฎิบัติตามคาแนะนาที่ติดมากับสินค้า ใช้สินค้าด้วยความระมัดระวัง บอกข้อบกพร่องของ
สินค้ากับผู้ผลิตเพื่อให้ผู้ผลิตนาไปปรับปรุง เป็นต้น
สิทธิที่ผู้บริโภคได้รับจะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับหน้าที่ของผู้บริโภค เช่น สิทธิที่จะได้รับข่าวสารที่
ถูกต้องเกี่ยวกับตัวสินค้า ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กับหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะต้องใช้ข่าวสารนั้นประกอบการ
ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ดี สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ที่จะต้องเกิดควบคู่กับหน้าที่
ของผู้บริโภคที่จะต้องเลือกซื้อสินค้าอย่างมีเหตุมีผล หน้าที่ของผู้บริโภคอีกประการหนึ่งที่มีความสาคัญ
ก็คือ การตรวจสอบว่าสินค้ามีการรับประกันหรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไร เพราะเมื่อหาสินค้ามีปัญหาภายใต้
เงื่อนไขของการรับประกัน ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิ์ในการเปลี่ยน หรือได้รับการซ่อมแซมได้
ปัจจุบันไทยมีหน่วยงานของทั้งรัฐและเอกชน ที่ทาหน้าที่รักษาสิทธิของผู้บริโภค เช่น สานักงาน
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นต้น ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน
หน่วยงานเหล่านี้ได้หากไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ หรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิต
2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
• จัดกลุ่มอภิปรายว่าสินค้าในชีวิตประจาวันของนักเรียน มีอะไรบ้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และที่ผ่านมา
มีแนวทางแก้ไขหรือใช้สิทธิ์อย่างไร
• ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลว่า จะสามารถร้องเรียนกับสานักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้อย่างไร
• ยกตัวอย่างการเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบ
24
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป.4 และ ป.6
ตัวชี้วัด 1 ป.4 อธิบายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน
ป.6 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาล
1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ระบบเศรษฐกิจ คือความสัมพันธ์ของแต่องค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ระบบตลาด
สินค้าและบริการ ระบบตลาดปัจจัยการผลิต ระบบตลาดการเงินและสถาบันการเงิน รวมทั้งบทบาทของ
รัฐบาล ในการจัดบริการสาธารณะ โดยความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
โดยจุดเริ่มต้นจะพิจารณาจากแบบจาลอง
Circular Flow ซึ่งจะแสดงถึงความสัมพันธ์ของ
ภาคครัวเรือนและหน่วยผลิต (ธุรกิจและกิจการ
ต่างๆ) ในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะแสดงผ่านการไหล
ของสินค้าและบริการ และกระแสของรายได้ โดย
ตอนเริ่มต้นของ Circular Flow จะสมมติว่าระบบ
เศรษฐกิจเป็นระบบแบบปิด กล่าวคือไม่ทาการ
ค้าขายและการโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
และการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ
นั้น จะไม่มีการเกิดของสินค้าคงคลังเลย เป็นการผลิตและใช้หมดไป โดยผู้ผลิตสินค้าและบริการ จะเป็น
ผู้ที่จัดหาวัตถุดิบผ่านกลไกตลาดปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ แรงงาน ที่ดิน และทุน โดยอาศัยการ
ประกอบการของตนเองในการผลิตสินค้าและบริการ เมื่อผลิตสินค้าและบริการออกขายผ่านตลาดสินค้า
และบริการ ครัวเรือนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเหล่านั้นมาบริโภค จะมีการจ่ายเงินเป็นค่าสินค้าและบริการ
เหล่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ก็จะเป็นรายได้ของผู้ผลิตนั่นเอง ในขณะเดียวกันผู้ผลิตซึ่งซื้อปัจจัย
การผลิตมาจากตลาดปัจจัยการผลิต จะจ่ายเงินเป็นค่าปัจจัยการผลิตเหล่านั้น ได้แก่ ค่าจ้างเงินเดือน ค่า
เช่า และดอกเบี้ยและปันผล ให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตซึ่งก็คือครัวเรือน ดังนั้นครัวเรือนจึงมีรายได้จาก
การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
ดังนั้น เมื่อเราพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของแต่หน่วยในกิจกรรมการผลิตในระบบเศรษฐกิจ จะ
พบถึงความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านี้ผ่านกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์
สูงสุด
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final
Economics for kids final

More Related Content

Similar to Economics for kids final

บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ Sutasinee Phu-on
 
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาดkroowachirongkham
 
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อบทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อTeetut Tresirichod
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนfreelance
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Nawanan Theera-Ampornpunt
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)Tophit Sampootong
 
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติMacro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติOrnkapat Bualom
 
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศการตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศNaresuan University Library
 
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศบท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศPa'rig Prig
 
9789740329848
97897403298489789740329848
9789740329848CUPress
 
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทย
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทยการก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทย
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทยsomporn Isvilanonda
 

Similar to Economics for kids final (19)

ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
 
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด
602 การบริโภคอย่างชาญฉลาด
 
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อบทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
Electronic Health Records: What Does The HITECH Act Teach Thailand?
 
Econ
EconEcon
Econ
 
Econ
EconEcon
Econ
 
The Value of Nature
The Value of NatureThe Value of Nature
The Value of Nature
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติMacro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
 
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศการตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
 
Spa edit
Spa editSpa edit
Spa edit
 
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศบท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
 
9789740329848
97897403298489789740329848
9789740329848
 
Energy Plus_Oct - Dec 2013
Energy Plus_Oct - Dec 2013Energy Plus_Oct - Dec 2013
Energy Plus_Oct - Dec 2013
 
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทย
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทยการก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทย
การก้าวข้ามกำแพง Ntb ของสินค้าเกษตรไทย
 
กลุ่ม4
กลุ่ม4กลุ่ม4
กลุ่ม4
 

Economics for kids final

  • 1. สงวนลิขสิทธิ์โดยสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย พ.ศ. 2555 D D หนา 1 Copyright 2012 Thailand Securities Institute (TSI), The Stock Exchange of Thailand, All rights reserved. สถาบันกองทุนเพื่อการพัฒนาตลาดทุน ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มิถุนายน 2555 โดย กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข และ กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เอกสารการสอนเศรษฐศาสตร์ ระดับ ป.1 ถึง ม.3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • 2. สารบัญ หน้า ประถมศึกษาปีที่ 1 สินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน 6 ผู้บริโภค 5 ใช้สอยทรัพยากรอย่างประหยัด 7 การหารายได้ 8 ประถมศึกษาปีที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) 10 การหารายได้ 8 การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ – รายจ่าย) 11 การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Barter) 13 ประถมศึกษาปีที่ 3 ความต้องการและความจาเป็น (Want vs. Need) 15 การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ – รายจ่าย) 11 ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) 10 ภาษี (Tax) 16 ยิ่งแข่งขัน ราคายิ่งลด? 18 ประถมศึกษาปีที่ 4 การเลือก (Choice) 19 สิ่งจูงใจ (Incentives) 21 สิทธิของผู้บริโภค 23 ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) 24 หน้าที่ของเงิน 27 ประถมศึกษาปีที่ 5 ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ 29 บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงิน 30 การกู้ยืมเงิน 32 ประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 33 บทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน 35 ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 36 ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) 24
  • 3. มัธยมศึกษาปีที่ 1 เศรษฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร 38 ค่านิยมและการบริโภค 39 บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงิน 30 การพึ่งพากันในระบบเศรษฐกิจ 41 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกาหนดอุปสงค์และอุปทาน 43 ทรัพย์สินทางปัญญา 46 มัธยมศึกษาปีที่ 2 การลงทุนและการออม 47 การผลิตสินค้าและบริการ 49 คุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค 51 ประเภทของระบบเศรษฐกิจ 53 การแข่งขันและการพึ่งพาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย 55 เศรษฐกิจโลก (Global Economy) 56 มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลไกราคา 58 บทบาทภาครัฐในระบบเศรษฐกิจ 60 การค้าระหว่างประเทศ 63 เงินเฟ้อและเงินฝืด 66 การว่างงาน 68
  • 4. 4 สินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัด 1 ระบุสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สินค้าและบริการเป็นคาที่นักเศรษฐศาสตร์ มักจะใช้เพื่ออธิบายถึงการที่มนุษย์ทุกคนจะมี กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ให้บริการ และอาจจะเป็นผู้บริโภคในการซื้อ สินค้าและบริการเหล่านั้น ผ่านกลไกตลาด ซึ่งจะเป็นเรื่องหลักของการเข้าใจกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ คนโดยทั่วไป บริการเป็นการดาเนินการโดยบุคคลผู้ให้บริการ ในการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ ตัวอย่างเช่น การนวดแผนไทย นักแสดงละคร การให้บริการล้างรถยนต์ ในขณะที่สินค้านั้น เป็นการ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะได้รับอรรถประโยชน์จากสินค้านั้น ด้วยการจับต้อง และใช้ประโยชน์สินค้าในทางกายภาพ ในขณะที่บริการเป็นการได้รับอรรถประโยชน์จากการกระทาของ ผู้ให้บริการ ซึ่งในการให้บริการจะต้องมีการจัดหา (Provide) ต่างจากสินค้าที่จะต้องมีการผลิต (Produce) ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์ การให้บริการ จึงใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีการใช้ความรู้ ทักษะ ที่มี ของแต่ละคน (Human Capital) หรือที่เรียกว่าทุนมนุษย์ ในการให้บริการ ในขณะที่การผลิตสินค้าจะใช้ ทุน (Capital) ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) และทุน เครื่องมือ วัตถุดิบ เพื่อใช้ใน การผลิตสินค้าจาหน่าย 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • นักเรียนจะสามารถแยกแยะลักษณะของสินค้าและบริการ ด้วยการเขียนตัวอักษร ก ข ค ง บน กระดาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า จากอักษรเหล่านั้นจะมีสินค้า และ บริการอะไร ที่ขึ้นต้น ด้วยอักษรเหล่านั้น • ให้กิจกรรมนักเรียน เมื่อไปพบปะผู้คน ให้นักเรียนถามอาชีพของผู้คน และแยกแยะให้ได้ว่าเป็น การให้บริการ หรือเป็นการผลิตสินค้า แล้วสัมภาษณ์คนเหล่านั้นว่า ลูกค้าเป็นใคร แล้วเค้าได้รับ ประโยชน์จากสินค้าและบริการนั้นอย่างไร แล้วนามาอภิปรายในชั้นเรียน
  • 5. 5 ผู้บริโภค มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัด 2 ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจาวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ ของการออม 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ คนโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจล้วนแต่มีกิจกรรมของการบริโภค ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่คนเหล่านั้นมี กิจกรรมของ “การซื้อ” “การครอบครอง” “การใช้ประโยชน์” สินค้าและบริการ โดยได้รับประโยชน์และ ความพึงพอใจจากการบริโภคสินค้าและบริการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางด้านจิตใจ อาทิ การรับประทานอาหารเลิศรสในภัตตาคาร การซื้อเสื้อผ้าเนื้อดี รูปแบบสวยงาม เหล่านี้ผู้คน โดยทั่วไปจะมีความพึงพอใจโดยมีส่วนผสมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้คนต้อง คานึงถึงต่อมาก็คือในการเลือกซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น ผู้คนโดยทั่วไปจะมีความต้องการที่ไม่จากัด และประสงค์ที่จะซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงที่สร้างความพึงพอใจมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของคนโดยทั่วไป แต่แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จะอธิบายถึงข้อจากัดของแต่ละคนภายใต้ทรัพยากรที่ ตนเองมีอยู่นั้น จะทาการเลือกเพื่อการบริโภคอย่างไร ดังนั้นผู้คนที่จะเลือกซื้อของภายใต้ข้อจากัดของ งบประมาณ ข้อมูล เวลา เป็นต้น จะมีการเปรียบเทียบถึงค่าเสียโอกาสของการเลือกบริโภคสิค้าและ บริการชนิดใดๆ ว่าจะตอบสนองประโยชน์ที่ผู้บริโภคคาดหวัง เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรที่ต้องเสีย ไป มากน้อยเพียงใด หากผู้บริโภคคานึงถึงข้อจากัดข้างต้นดังที่ได้กล่าวไปแล้วขณะตัดสินใจจับจ่ายใช้สอย ผู้บริโภค จะมีพฤติกรรมที่ใช้จ่ายไม่เกินข้อจากัดที่ตนเองมี โดยเฉพาะข้อจากัดทางด้านงบประมาณหรือเงินที่ ผู้บริโภคมี จะทาให้ไม่มีการใช้จ่ายเกินตัวจนต้องกู้ยืมเงินผู้อื่นมาใช้จ่ายจนเกิดหนี้สิน นอกจากนี้การใช้ จ่ายที่ไม่เกินตัวยังจะทาให้ผู้บริโภคมีเงินออม เพื่อสะสมไว้เพื่อรองรับการใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นใน อนาคต เช่นการซื้อสินค้าที่จาเป็นที่มีราคาแพง เช่น บ้าน รถ เป็นต้น หรือการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่น การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • นักเรียนมักจะเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการในทุกๆ วันอยู่แล้วเช่น ปากกา ยางลบ อาหาร กลางวัน รถรับส่ง ดังนั้นหากในทุกวันที่นักเรียนมาโรงเรียนแล้วไม่เกิดการบริโภคขึ้น แล้วจะมีผล อย่างไรต่อตัวนักเรียนและต่อคนรอบข้าง • ให้นักเรียนลองร่วมกันคิดว่าในแต่ละวันนักเรียนใช้จ่ายเงินไปเพื่อจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการใน การบริโภคอย่างไร และให้นักเรียนลองแยกแยะว่าสินค้าและบริการนั้นตอบสนองประโยชน์ที่
  • 6. 6 คาดหวังได้หรือไม่ และถ้าหากนักเรียนทาได้ จะบริโภคสินค้าชนิดใดอีกในแต่ละวัน และที่ทาไม่ได้ เพราะเหตุใด • ให้นักเรียนอภิปรายปัจจัยที่จะมีผลต่อการตัดสินใจบริโภค หรือเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น การโฆษณา การทาตามศิลปินคนโปรด การเลียนแบบผู้ใหญ่ การลดราคาสินค้า ว่ามีผลต่อตัว นักเรียน ครอบครัว และสังคมอย่างไร
  • 7. 7 ใช้สอยทรัพยากรอย่างประหยัด มาตรฐาน ส 3.1 ป.1 ตัวชี้วัด 3 ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจาวันอย่างประหยัด 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สินค้าและบริการที่ต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวปลาอาหาร ดินสอ ยางลบ รองเท้า ฯลฯ ล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆในการผลิต เช่น ดินสอ ก็ต้องใช้ ต้นไม้ แร่แกร์ไฟต์ (ทาไส้ ดินสอ) ไฟฟ้า แรงคน ในการผลิต เป็นต้น ทรัพยากรจึงมีความสาคัญกับการดารงชีวิต อย่างไรก็ดีโลก เรามีทรัพยากรเหล่านี้ในจานวนจากัด และเพราะว่าทรัพยากรเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อ ใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผลิตสินค้าแล้ว เราจะเหลือทรัพยากรไว้ใช้ประโยชน์น้อยลง ดังนั้นจึงหมายความว่า โลกเราไม่มีทรัพยากรมากเพียงพอที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการให้เราได้ตลอดไป ดังนั้นเราจึงควรใช้สินค้าและบริการในชีวิตประจาวันอย่างคุ้มค่า และใช้เท่าที่จาเป็น เพื่อ ประหยัดเงินของเราเอง และเพื่อให้เหลือทรัพยากรไว้ใช้ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดี มีสินค้าและบริการ บางประเภท ที่มักถูกใช้อย่างไม่มีการดูแลรักษาจากผู้ใช้เท่าที่ควร เพราะผู้ใช้ไม่ได้จ่ายเงินซื้อสินค้าและ บริการนั้นมาโดยตรง จึงไม่มีแรงจูงใจให้ดูแลรักษา เช่น โต๊ะเรียน ของเล่นในสนามเด็ก ห้องน้าโรงเรียน เป็นต้น สินค้าและบริการเหล่านี้จะต้องใช้ร่วมกันหลายคน หากมีการชารุดทรุดโทรม ก็ต้องมีการ ซ่อมแซม หรือสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากร ดังนั้นแม้ สิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่น จึงต้อง คานึงเสมอว่า เราเป็นเจ้าของสิ่งนั้นร่วมกัน เมื่อใช้แล้วเราก็ควรดูแลให้มีสภาพที่ดีเพื่อให้ผู้อื่นสามารถใช้ ต่อจากเราได้ การกระทาดังกล่าวถือว่าเป็นการประหยัดทรัพยากร เนื่องจากเมื่อสินค้าไม่ชารุดบ่อย ก็ไม่ ต้องใช้ทรัพยากรในการซ่อมบ่อยๆ สรุป ไม่ว่าสินค้าหรือบริการนั้น เราจะเสียเงินซื้อมาเพื่อใช้คนเดียว เช่น ดินสอ ของเล่น หรือ ได้มาฟรีๆ แต่ต้องใช่ร่วมกับผู้อื่น สวนสาธารณะ โต๊ะเรียน เราก็ต้องใช้อย่างประหยัด และดูแลรักษาเป็น อย่างดี เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรไม่ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (หรือให้อาจารย์ยกตัวอย่าง) ว่า สินค้าหรือบริการใด ที่นักเรียนหรือ ผู้ปกครองนักเรียนเสียเงินซื้อมาใช้ส่วนตัว และสินค้าหรือบริการใดที่ได้ใช้โดยไม่ต้องเสียเงินแต่ ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น และให้นักเรียนตอบว่า นักเรียนใช้สินค้านั้นๆอย่างไร เป็นการใช้ที่ประหยัด ทรัพยากรหรือไม่ หากไม่จะแก้ไขอย่างไร
  • 8. 8 การหารายได้ มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.2 ตัวชี้วัด 2 บอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป. 1 ตัวชี้วัด 1 อธิบายเหตุผลความจาเป็นที่คนต้องทางานอย่างสุจริต 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ คนทั่วไปจะมีการแสวงหารายได้จากการทางานในหลายๆ รูปแบบทั้งการเป็นพนักงาน ลูกจ้าง การเป็นผู้ประกอบการ เป็นเกษตรกร เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นผู้คนจึงใช้ทรัพยากรที่ ตนเองมีอยู่ทั้ง ทรัพยากรมนุษย์ (ความรู้ ประสบการณ์ ร่างกายที่แข็งแรง สติปัญญา) ทรัพยากรทุน และ ต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดรายได้ เป็น ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าเช่า ผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นต้น รายได้ที่ผู้คนจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับ ในช่วงเวลานั้นระบบเศรษฐกิจและผู้ว่าจ้างให้คุณค่ากับ ตาแหน่งงานใด หากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการแรงงานด้านคอมพิวเตอร์สูงมาก ก็จะยินดีที่จะจ่าย ค่าจ้างสาหรับตาแหน่งงานนักคอมพิวเตอร์ในระดับสูง เนื่องจากนักคอมพิวเตอร์สามารถสร้างสรรค์ สินค้าและบริการที่ทาให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้มากเพียงพอจนคุ้มที่จะจ้างนักคอมพิวเตอร์ ในค่าจ้างที่สูงได้ และนอกจากนั้น หากในระดับอาชีพเดียวกันตลาดแรงงานจะให้คุณค่ากับผู้ที่มี ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่มีความสามารถในการผลิตสูงกว่า เช่น ใช้เวลาเท่ากัน แต่ ผลิตงานได้มากกว่า หรือมีคุณภาพสูงกว่า เป็นต้น ดังนั้นผู้คนจะสามารถเลือกได้ว่า ตนเองนั้นมีทักษะและความสามารถในด้านใด หากสามารถ พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น มีความสามารถมากขึ้นผ่านกระบวนการเรียน และการศึกษาในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาตนเองไปในวิชาชีพที่ต้องการ ภายใต้พื้นฐานความเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ เหมาะสม ดังนั้นนักเรียนทุกคนล้วนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป หากสามารถพัฒนา ตนเองไปในทิศทางที่เหมาะสมกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ และความสามารถของตนเองแล้ว ก็ จะทาให้นักเรียนสามารถประกอบอาชีพและประสบความสาเร็จได้ ภายใต้สภาวะการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจ นักเรียนควรจะมีความตระหนักในการศึกษาตลอด ชีวิต ไม่ได้หยุดเพียงแต่ในห้องเรียน หรือกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้เท่านั้น นักเรียนควรที่จะเรียนรู้ใน หลายๆ ด้าน ทั้งดนตรี ภาษา การทาอาหาร ศิลปะ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ ตามความสนใจของ นักเรียน
  • 9. 9 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน • ให้นักเรียนไปสัมภาษณ์คนที่มีอาชีพต่างๆ กันถึงรูปแบบการทางาน ทาไมถึงเลือกทาอาชีพนี้ ถ้าจะทาให้ได้ดีต้องมีคุณสมบัติใดเป็นพิเศษ และให้นาเสนอในห้องเรียน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันในห้องเรียน • คุณครูออกแบบเกม โดยให้มีรูปหมวกหรือสัญลักษณ์ของอาชีพต่างๆ ตามที่ต้องการ แล้วให้ นักเรียนทายคุณสมบัติและลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมกับอาชีพเหล่านั้น จากนั้นให้นักเรียน เขียนรายงาน เส้นทางไปยังอาชีพที่ใฝ่ฝัน อาทิ หมวกทหาร พยาบาล ไมโครโฟน เสื้อกั๊ก มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ • ให้คุณครูสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทุกอย่างที่เป็นการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ อย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ ศาสตร์ที่นักเรียนสนใจ
  • 10. 10 ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.2 และ ป.3 ตัวชี้วัด 1 สาหรับ ป.2 และตัวชี้วัด 3 สาหรับ ป.3 ป.2 ระบุทรัพยากรที่นามาผลิตสินค้าและบริการในชีวิตประจาวัน ป.3 อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จากัดมีผลต่อการผลิตและบริโภคสินค้า และบริการ 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ ทะเล เป็นสิ่งที่ประเทศได้รับจากธรรมชาติ ตามทาเล ที่ตั้งของพื้นที่ ไม่ได้มีใครมาทาให้ ปกติแล้วทรัพยากรธรรมชาติใช้แล้วจะหมดไป แต่มนุษย์สามารถ คิดค้นนวัตกรรมในการประหยัดการใช้ และสังเคราะห์ทรัพยากรอื่นๆ มาใช้ทดแทนกัน ดังนั้นจะพบว่า ทรัพยากรธรรมชาติ มักจะเป็นวัตถุดิบพื้นฐานสาหรับการผลิตสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ อย่างไร ก็ตาม จากเหตุผลของการที่ทรัพยากรมีทั้งที่มาจากธรรมชาติ ที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น จึงทาให้สับสนใน การแยกแยะประเภทของทรัพยากรได้ ตัวอย่างเช่น อิฐที่ใช้นามาสร้างบ้าน เป็นทรัพยากรที่มนุษย์ พัฒนามาจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่างจากไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติจริงๆ ดังนั้นในการผลิตของ ระบบเศรษฐกิจ จึงมีกระบวนการคิดค้นว่าทาอย่างไร ผู้ประกอบการจึงจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างประหยัด คุ้มค่ามากที่สุด โดยทั่วไปแล้วในระบบเศรษฐกิจผู้ประกอบการจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกันกับทรัพยากรมนุษย์ และทุน เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน • ให้นักเรียนช่วยกันเขียนกลอนหรือบทกวี หรือบทความ เกี่ยวกับธรรมชาติที่ตนเองประทับใจ • ให้นักเรียนช่วยกันจดรายชื่อของทรัพยากรธรรมชาติขั้นต้น จากนั้นให้อธิบายต่อว่า ทรัพยากรธรรมชาตินั้นสามารถนาไปผลิตเป็นสินค้าอะไรในขั้นที่สอง แล้วสามารถนาไป สร้างสรรค์หรือผลิตเป็นสินค้าและบริการใดอีกในขั้นที่สาม • ให้นักเรียนเล่นเกม โดยหากคุณครูเอ่ยถึงทรัพยากร ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติในขั้นต้น แล้ว ให้นักเรียนลุกขึ้นยืนตอบว่าจะสามารถนาไปผลิตเป็นสินค้าขั้นที่สองอะไรได้บ้าง ให้ทาโดยเร็ว และแข่งกันเป็นกลุ่ม โดยการแพ้ชนะ เป็นความถูกต้องและรวดเร็ว ของแต่ละกลุ่ม หากใครทา ได้หลายครั้งกว่า ก็จะชนะ • ให้คุณครูจัดทารายชื่อทรัพยากรธรรมชาติ 5 ชนิดแล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อคิด เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับทรัพยากรทั้ง 5 ชนิดนั้น โดยให้ประเด็นในด้านจานวนและการใช้ ประโยชน์ของทรัพยากร ประเด็นด้านการประหยัดทรัพยากร เป็นต้น
  • 11. 11 การบริหารทรัพยากรส่วนบุคคล (บัญชีรายรับ - รายจ่าย) มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป. 2 และ ป.3 ตัวชี้วัด 3 และ 4 สาหรับ ป.2 ตัวชี้วัด 2 สาหรับ ป.3 ป.2 ตัวชี้วัด 3 บันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง, ตัวชี้วัด 4 สรุปผลดีของ การใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และการออม ป.3 ตัวชี้วัด 2 วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดให้ พอเพียงกับความต้องการ จึงต้องมีกระบวนการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อจะเป็นส่วนสาคัญของข้อมูลในการนามาวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจากัดว่าเพียงพอต่อความจาเป็นหรือไม่ คานึงถึงสิ่งแวดล้อมและส่วนรวม อีกทั้งมีการป้องกันความ เสี่ยงในชีวิตของตนเองหรือไม่อย่างไร การจดบันทึกรายรับรายจ่าย จะเป็นกระบวนการทบทวนการใช้จ่ายของตนเอง เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความเหมาะสมในการจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างจากัดให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด ในกระบวนการบันทึก จะมี การจดและแยกหมวดหมู่ ไปตามวิถีการใช้ชีวิต เช่น หมวดอาหาร หมวดของเล่น หมวดขนมขบเคี้ยว หมวดเครื่องใช้ในการเรียน หมวดค่าเดินทาง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีการจดบันทึกข้อมูล จะต้องมีการ นาเอาข้อมูลมีวิเคราะห์เพื่อทาความเข้าใจกับพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง เพื่อแยกแยะว่าพฤติกรรม การใช้จ่ายใด ที่สามารถลด ละ เลิกได้ รวมทั้งสามารถนาเอาเงินส่วนที่เหลือนั้น มาออมเพื่อวัตถุประสงค์ อื่นๆ ในอนาคต เช่น การเก็บเงินไว้ซื้อเครื่องดนตรีเพื่อฝึกฝนฝีมือ การนาเงินไปออมเผื่อเหตุฉุกเฉินใน ชีวิต รวมไปถึงการออมเงินเพื่อประโยชน์อื่นๆ ในอนาคตที่เหมาะสมของนักเรียน ดังนั้น ในการ กระบวนการวิเคราะห์และแยกแยะประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะอาศัยแนวคิด ของการเปรียบเทียบ ต้นทุน และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของนักเรียน จากพฤติกรรมการใช้จ่ายนั้น เมื่อได้ข้อมูลแล้ว นักเรียนจะจัดทา “งบประมาณรายจ่าย” ซึ่งเป็นการวางแผนในเดือนต่อไป โดย จะมีการวางกรอบการใช้จ่ายให้กับตนเองตามแผนการที่ได้เตรียมไว้ในกรอบงบประมาณรายจ่าย เมื่อได้ ผ่านการใช้ชีวิตกับกรอบงบประมาณรายจ่ายแล้ว นักเรียนจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว ให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่ตนเองนั้นมีอยู่ได้อย่างดี 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน • ให้นักเรียน จดบันทึกรายการประจาวันของ รายได้และรายจ่ายของตนเอง ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อจะนามาออกแบบการแยกประเภทของรายจ่ายของนักเรียนที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต อาจจะ
  • 12. 12 เสริมในเรื่องของการเขียนบันทึกประจาวัน (Diary) เพื่อบันทึกความทรงจาถึงกิจกรรมในแต่ละ วันของตนเองด้วย • ให้นักเรียนทาการวิเคราะห์รายจ่ายของตนเอง และร่วมกลุ่มทากิจกรรมเพื่อวิเคราะห์ พฤติกรรมของตนเองในการใช้จ่าย แล้ววางกรอบงบประมาณเพื่อให้สามารถออมเงินได้ เพิ่มขึ้น โดยให้มีการออมเงินก่อนการนาเอาไปใช้ • ให้นักเรียนเขียนถึงเป้าหมายที่ต้องการ และสร้างกระบวนการออมเงินเพื่อไปถึงเป้าหมายที่ ต้องการ
  • 13. 13 การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Barter) มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป.2 ตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด 2 อธิบายการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยวิธีต่างๆ บอกความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ประชาชนทั่วไป จะแลกเปลี่ยนสินค้าแลบริการโดยสมัครใจ เพราะคนโดยทั่วไปจะมีความยินดี อยู่แล้วที่จะได้บริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากที่ตนเองสามารถผลิตได้ ดังนั้นข้อเท็จจริงอย่าง หนึ่งของการเปิดการค้าก็คือประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการได้รับการบริโภคสินค้าและ บริการที่แตกต่างจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้คนในระบบเศรษฐกิจในอดีต จะเป็นการแลกเปลี่ยน โดยไม่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยจะเป็นการใช้ของแลกของเลย (Barter Trade) ต่อมาภายหลังเมื่อมีความนิยมในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นทาให้เกิดเงิน (Money) ขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ซึ่งลดปัญหาของกระบวนการแลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการแบบเดิมที่มีความแตกต่างในการเปรียบเทียบมูลค่า รวมถึงน้าหนักในการขนส่งเพื่อแลกเปลี่ยน กัน การเก็บรักษาสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งความต้องการสินค้าและบริการของแต่ละฝ่ายก็มีความ แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา จึงทาให้เงินกลายเป็นสื่อกลางหลักที่อานวยความสะดวกการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการ และยิ่งทวีความสาคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคสมัยของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ มาตรฐานเงินตราในการทาธุรกรรมทางการค้าและบริการ อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในรูปแบบของสินค้าแลกกับสินค้า (Barter Trade) ยังคงมีปรากฏอยู่บ้าง อาทิ การค้าระหว่างรัฐต่อรัฐ เช่น ข้าวแลกน้ามัน เป็นต้น 2) แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน • คุณครูให้กระดาษนักเรียนคนละ 2-3 ชิ้น แล้วให้นักเรียนเขียนสินค้าและบริการที่ตนเองคิดว่ามีอยู่ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนต่อรอง แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของตนเองกับเพื่อน เมื่อดาเนิน ไปได้สักพักก็จะหยุด สารวจดูว่า เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการหรือไม่ ถ้ามีเกิดขึ้น ปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดมีการการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเหล่านั้นขึ้น และนักเรียนที่ ยอมแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ พึงพอใจในประโยชน์สินค้าที่ได้มาอย่างไร เปรียบเทียบกับ สินค้าที่ตนเองแลกไป • สมมติว่านักเรียนยอมแลกอาหารกลางวัน กับน้าดื่ม ถ้าจะให้นักเรียนยอมแลกเปลี่ยน นักเรียนจะ มีปัจจัยใดสนับสนุนการตัดสินใจนั้น และจะแลกในสัดส่วนและจานวนเท่าใด
  • 14. 14 • ให้แบ่งกระดานออกเป็น 2 ด้าน เขียนด้านซ้ายว่า “เหตุผลที่ยอมแลกเปลี่ยนสินค้า” และด้านขวา ว่า “เหตุผลที่ไม่ยอมแลกเปลี่ยนสินค้า” จากนั้นให้คุณครูสมมติ หรือมีภาพ สินค้าและบริการ ต่างๆ ว่าถ้าหากนักเรียนมีสินค้าเหล่านี้แล้ว จะยอมแลกกับสินค้าอีกประเภทหรือไม่ โดยให้ใน ห้องเรียนเขียนเหตุผลของการยอมแลกและไม่ยอมแลกสินค้าและบริการเหล่านั้น • ให้คุณครูจาลองเหตุการณ์ของการให้ด้วยจิตอาสา กับการทาให้เพื่อหวังการแลกเปลี่ยนตอบแทน ต่างกันอย่างไร ให้นักเรียนแยกแยะและอภิปรายในชั้นเรียน
  • 15. 15 ความต้องการและความจาเป็น (Want vs. Need) มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.3 ตัวชี้วัด 1 จาแนกความต้องการและความจาเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการ ดารงชีวิต 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ความต้องการเป็นกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ว่าพึงพอใจในการบริโภคสินค้าและบริการ ด้วยการสัมผัสทางกายภาพ อารมณ์ และเหตุผลต่างๆ ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีความต้องการที่หลากหลาย ไม่จากัด ดังจะสังเกตได้จากสินค้าประเภทเดียวแต่มีหลายรูปแบบ เช่น แชมพูสระผม ที่มีความแตกต่าง ทั้งกลิ่น สี ขนาด ส่วนผสม การบารุง เป็นต้น แต่ผู้บริโภคมีทรัพยากรที่จากัด จึงไม่สามารถหาสินค้า และบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของตนเองที่ไม่จากัดได้หมด สิ่งที่นักเรียนควรจะแยกแยะให้ได้คือการจัดกลุ่มสินค้าที่ตนเองพึงพอใจได้ว่า เป็นความต้องการ (Want) หรือเป็นความจาเป็น (Need) ซึ่งในการระบุถึงสินค้าและบริการที่ต้องการ และสินค้าและบริการ ที่จาเป็นนั้น ของแต่คนจะไม่จาเป็นต้องเหมือนกัน เช่น รถยนต์ หากบ้านนักเรียนอยู่ใกล้โรงเรียนและ ผู้ปกครองเปิดร้านขายของที่บ้าน อาจจะไม่จาเป็นต้องมีรถยนต์ แต่หากเป็นนักเรียนที่บ้านอยู่ไกลใน ซอยลึก รถยนต์จะกลายเป็นที่ที่จาเป็นทันที โดยสินค้าที่เป็นความต้องการ (Want) มักจะเป็นสินค้าและ บริการที่สามารถรอเวลา หรือยังไม่ต้องบริโภคในเวลานี้ก็ได้ แต่หากเป็นสินค้าที่เป็นความจาเป็น (Need) แล้วผู้บริโภคจะพิจารณาว่าสินค้าและบริการเหล่านั้นเป็นของเร่งด่วนหากไม่ได้หรือไม่บริโภค แล้วจะเกิดความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือเสื้อผ้า เป็นต้น 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • วิธีที่จะทาให้นักเรียนเข้าใจและแยกแยะได้จึงเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนคิดถึงสินค้า และบริการที่ตนเองอยากได้ และสามารถเรียงลาดับตามความจาเป็น ภายใต้สถานการณ์ที่ตนเอง เป็นอยู่ รวมทั้งข้อจากัดด้านงบประมาณและประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าเหล่านั้น ดังนั้นเมื่อ นักเรียนเข้าใจแล้ว ให้นักเรียนเริ่มวิเคราะห์ให้ยากขึ้น เช่นถ้าอาหารและเสื้อผ้าเป็นสินค้าจาเป็น แล้ว แต่หากเป็นอาหารในภัตตาคาร เสื้อผ้าที่ออกแบบโดยนักออกแบบในต่างประเทศ จะเป็น สินค้าและบริการที่จาเป็น (Need) หรือว่าต้องการ (Want) และวิเคราะห์มากขึ้นไปอีกว่าหากเป็น กลุ่มบุคคลผู้มีรายได้สูง เช่น ดารา นางแบบ เป็นต้น และผู้มีรายได้น้อย แล้วสินค้าเหล่านี้จะเป็น สิ่งจาเป็นหรือเป็นสิ่งที่ต้องการ
  • 16. 16 ภาษี (Tax) มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป. 3 ตัวชี้วัด 1 และตัวชี้วัด 2 บอกสินค้าและบริการที่รัฐจัดหาและให้บริการแก่ประชาชน บอกความสาคัญของภาษีและบทบาทของประชาชนในการเสียภาษี 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ภาษีเป็นการโอนทรัพยากรที่เกิดจากบุคคล หรือ ธุรกิจซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนบุคคล ไปเป็น ทรัพยากรของสาธารณะ ซึ่งเป็นของทุกๆ คนในสังคม เป้าหมายของการจัดเก็บภาษีคือการที่ระบบ เศรษฐกิจจะต้องมีการจัดการสร้างสินค้าและบริการบางประเภท ที่ต้องใช้ร่วมกันของคนหลายคน หาก บริษัทเอกชนเป็นผู้ทาแล้ว ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอาจจะไม่คุ้มค่า จึงให้รัฐบาลซึ่งเป็น ตัวแทนของทุกคนในระบบเศรษฐกิจ ทาหน้าที่ในการสร้างสินค้าและบริการสาธารณะแทน เช่น ถนน โรงเรียน โรงพยาบาล การป้องกันประเทศ ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนในประเทศสามารถใช้ ประโยชน์ได้ โดยทุกคนจะร่วมกันจ่ายภาษี เพื่อเป็นรายได้ให้กับรัฐบาล อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีการ จัดเก็บภาษีที่หลากหลาย และมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และภาษีหลายประเภทถือเป็นสิ่งจูงใจ (รูปแบบของการลงโทษ) เพื่อไม่ให้ประชาชนเลือกบริโภคสินค้าประเภทนั้นมากเกินไป รัฐบาล จะมีการเก็บภาษีโดย กรมสรรพากร กรมสรรพามิตร และกรมศุลกากร โดย กรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นส่วนสาคัญของ รายได้ของรัฐบาล ซึ่งภาษีเหล่านี้จะเก็บจากผู้ที่มีรายได้ หากมีรายได้สูงก็จะถูกจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มีรายได้ต่าที่จะเสียภาษีในอัตราต่า หรือได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จึง เป็นส่วนสาคัญในการลดช่องว่างระหว่างความรวยและความจน นอกเหนือจากนั้นกรมสรรพากรจะ จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added Tax, VAT) ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าและบริการที่ประชาชนซื้อ มาในการอุปโภคบริโภค ดังนั้นหากประชาชนไม่ได้บริโภคสินค้าชนิดนั้นก็จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่กรมสรรพสามิต จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นสินค้าที่รัฐบาลพิจารณาว่าเป็นสินค้า ฟุ่มเฟือย หรือรัฐบาลต้องการลดการบริโภคของประชาชน เช่น รถยนต์ น้ามัน บุหรี่ สุรา เป็นต้น ในขณะที่กรมศุลกากรจะจัดเก็บภาษีศุลกากรสาหรับสินค้านาเข้าและส่งออก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบต. อบจ.) จะเก็บภาษีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดูแล เพื่อจัดทา บริการสาธารณะบางส่วน เช่น การจัดการขยะ การจัดการสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ดูแลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น ได้แก่ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบารุงท้องที่ เป็นต้น นอกจานี้ส่วนราชการ อื่น เช่น กรมการขนส่งทางบก ทาหน้าที่จัดเก็บภาษีรถยนต์ประจาปี เป็นต้น เป็นเรื่องปกติที่ไม่มีใครอยากเสียภาษี แต่ทุกคนควรจะต้องเข้าใจบทบาทในฐานะของพลเมืองที่ ดีในประเทศนั้น หากไม่มีใครเสียภาษี หรือ หลีกเลี่ยงการเสียภาษี รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างสินค้าและ บริการสาธารณะที่ดีให้กับประชาชนในประเทศได้ใช้ประโยชน์
  • 17. 17 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน • ให้นักเรียนรวมกลุ่มกัน จดว่าสินค้าและบริการใดบ้างที่รัฐบาลเป็นผู้ดาเนินการ ซึ่งอาจจะ รวมถึงนโยบาย กระบวนการดาเนินงานของรัฐบาล เมื่อได้ภาษีมา • ให้นักเรียนจดว่า ในค่าใช้จ่ายในแต่ละวันนั้น นักเรียนจ่ายเงินเป็นค่าสินค้า และภาษี แยกกัน ได้อย่างไร และหัดในการคานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • 18. 18 ยิ่งแข่งขัน ราคายิ่งลด? มาตรฐาน ส 3.2 ป.3 ตัวชี้วัด 3 อธิบายเหตุผลการแข่งขันทางการค้าที่มีผลทาให้ราคาสินค้าลดลง 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ หากพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ เรามักจะได้ยินคาว่า “การแข่งขัน” บ่อยเป็นพิเศษ เพราะนัก เศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อในทฤษฎีที่ว่า หากปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้บริโภค มีอิสระในการ ดาเนินการ จะทาให้การแข่งขัน และจะทาให้ได้ผลที่ดีต่อสังคมโดยรวม คือ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ สินค้ามีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าจะมีราคาถูกลง เพราะเหตุใด การแข่งขันจึงทาให้เกิดผลดีเช่นนั้น โดยเฉพาะทาให้มีราคาถูกลง? การแข่งขันในที่นี้จะหมายถึง การปล่อยให้ผู้ผลิตทาการค้าอย่างเสรี สามารถเลือกได้ว่าจะอะไร อย่างละเท่าไหร่ มีลักษณะคุณภาพอย่างไร โดยภาครัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการตัดสินใจดังกล่าว รัฐจะทาหน้าที่เพียง สอดส่องดูแลให้มีลักษณะเอื้อต่อการแข่งขัน ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบใน การแข่งขัน เมื่อมีการแข่งขันแล้ว ผู้ผลิตจะมีอิสระในการผลิตสินค้า ผู้ผลิตก็จะทาการศึกษาว่าผู้บริโภค ต้องการสินค้าลักษณะใด จะทาให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการให้เลือกหลากหลาย และตรงตามความ ต้องการ นอกจากนี้การแข่งขัน ผู้ผลิตจะต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด เพื่อผลกาไรที่ดีขึ้น เป็นผลทาให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และผู้ผลิตจะเสนอราคาถูกลง เพื่อแย่งลูกค้า จะเห็น ได้ว่าการแข่งขันจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค เพราะจะได้สินค้าราคาที่สมเหตุสมผลและตรงตามความ ต้องการ สังคมก็ได้รับประโยชน์ เพราะว่ามีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • ยกตัวอย่างเหตุการณ์ การแข่งขันทางการค้า ที่มีผลทาให้ราคาสินค้าถูกลง
  • 19. 19 การเลือก (Choice) มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.4 ตัวชี้วัด 1 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อคนโดยทั่วไป ซึ่งมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจเป็นผู้บริโภค ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้บริโภคที่ มีความต้องการที่ไม่จากัดในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับ อรรถประโยชน์จากการบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้คนมักจะมีข้อจากัดในด้านทรัพยากรที่ ตนเองมีอยู่ อาทิ งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ จึงมีความจาเป็น ดังนั้นผู้บริโภคจะต้องมีกระบวนการ เลือก เพื่อให้ความต้องการของตนเองให้เหมาะสมกับข้อจากัดต่างๆ เหล่านั้น โดยการสร้างกระบวนการ จัดลาดับความต้องการเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ ผู้บริโภคโดยทั่วไปจะมีการตัดสินใจโดยคานึงถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ที่เกิดขึ้นใน แต่ละทางเลือก โดยพิจารณาทั้งตัวสินค้าและตัวผู้บริโภคเอง หากมีทางเลือกมากกว่า 1 ทางเลือก ผู้บริโภคจะพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เปรียบเทียบกับต้นทุนทั้งต้นทุนของตนเอง และต้นทุนของ สังคมที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทาให้สินค้าและบริการแต่ละประเภทมีค่าเสียโอกาสในตัวของมันเองไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น หากผู้ปกครองนักเรียนเดิมเคยรับราชการมีเงินเดือนๆ ละ 20,000 บาท แล้วลาออกเพื่อ มาเปิดร้านอาหาร โดยอาศัยตึกแถวที่เดิมมีคนเช่าอยู่เดือนละ 10,000 บาทเพื่อทาเป็นร้านอาหาร ดังนั้น เมื่อสิ้นปีสมมติผู้ปกครองมีรายได้ทั้งปีหักค่าใช้จ่ายแล้วปีละ 360,000 บาทหรือตกเดือนละ 30,000 บาท หากผู้ปกครองบอกว่าตนเองมีรายได้ดีกว่าตอนเป็นข้าราชการเสียอีก แบบนี้ไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ คานึงถึงค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเช่าตึกแถว ซึ่งหากไม่เอามาทาเป็นร้านอาหารแล้ว ตึกแถวจะ สร้างรายได้ให้เดือนละ 10,000 บาท รวมทั้งค่าแรงของผู้ปกครองซึ่งหากยังรับราชการอยู่จะมีรายได้ เดือนละ 20,000 บาท ดังนั้นหากพิจารณาจริงๆ จากค่าเสียโอกาสแล้วผู้ปกครองลาออกมาไม่ได้มีอะไรดี ขึ้นเลย เพราะกาไรที่เป็นตัวเงินเดือนละ 30,000 บาทนั้น หากหักค่าเสียโอกาสที่ไม่เป็นตัวเงินแล้ว (ซึ่ง เท่ากับเดือนละ 30,000 บาทเช่นกัน) ในกรณีนี้จึงเท่ากับว่าไม่ว่าจะรับราชการหรือลาออกมาเปิด ร้านอาหารจะให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าชนิดใดแล้วก็จะเสียโอกาสที่จะได้บริโภคสินค้าอีก ชนิดหนึ่ง ซึ่งเราเรียกสิ่งที่เกิดนี้ว่า กระบวนการแลกได้แลกเสีย หรือได้อย่างเสียอย่าง (Trade Off) ซึ่ง ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งกับ ประโยชน์ที่สูญเสีย ไปจากการไม่บริโภคสินค้าอีกชนิดหนึ่ง (ค่าเสียโอกาส) ผู้บริโภคมักจะมีการตั้งกฎเกณฑ์ (Criteria) เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบแต่ละทางเลือก แล้วจึง ทาการวิเคราะห์เลือกสินค้าและบริการ ดังนั้นหากทาการฝึกฝนเพื่อทาความเข้าใจถึงกระบวนการเลือก
  • 20. 20 การตั้งกฎเกณฑ์ การวิเคราะห์ค่าเสียโอกาส และการเลือกที่ทาให้มีการแลกได้แลกเสียเกิดขึ้น นักเรียน จะสามารถเข้าใจพื้นฐานของการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • นักเรียนมักจะต้องมีการเลือกในทุกๆ วันอยู่แล้ว เช่น เมื่อกลับไปถึงบ้านจะเลือกดู TV ก่อน หรือ จะทาการบ้านก่อน แม้กระทั่งการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้ออาหารกลางวันที่โรงเรียนว่าจะเลือกทาน อาหารประเภทใด จะมีการตั้งเกณฑ์พิจารณาประโยชน์ที่จะได้รับ เปรียบเทียบกับเงินที่จะเสียไป รวมถึงความชอบ ก็จะเป็นการพิจารณาค่าเสียโอกาส และเมื่อเลือกซื้ออาหารจานใดไป ก็จะเกิด การแลกได้แลกเสียขึ้น เพราะไม่สามารถทานอาหารทุกประเภทได้พร้อมกันหมด ดังนั้นในการฝึก วิเคราะห์เช่นนี้ นักเรียนจะสามารถทาความเข้าใจกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ง่ายขึ้น • นักเรียนบางคนเชื่อว่าการได้รับเงิน อาหาร และของเล่นต่างๆ จากผู้ปกครองเป็นการได้มาฟรีๆ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นที่ไม่ถูกต้อง เพราะผู้ปกครองจะต้องเสียโอกาสในการลดการบริโภคสินค้า ประเภทอื่นๆลง แล้วนาเงินนั้นมาซื้ออาหาร หรือของเล่นต่างๆ ที่นักเรียนต้องการ • นอกเหนือจากนั้นสินค้าสาธารณะบางประเภทที่รัฐบาลจัดหา อาทิ ถนน เรียนฟรี เป็นต้น เป็น สินค้าที่ทุกคนได้มาฟรี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะรัฐบาลจะต้องมีการเก็บภาษีหลายประเภท หลายรูปแบบ เพื่อนามาใช้จ่าย ยิ่งรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายในการทาโครงการต่างๆ เพิ่ม มากเท่าใด ก็จะต้องมีการแสวงหารายได้เพื่อมาใช้ในโครงการต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงมีคา กล่าวทางเศรษฐศาสตร์ไว้ว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” เพราะทุกสิ่งล้วนแต่มีค่าเสียโอกาสด้วยกัน ทั้งสิ้น
  • 21. 21 สิ่งจูงใจ (Incentives) มาตรฐาน ส 3.1 ชั้น ป.4 ตัวชี้วัด 1 ป.4 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สิ่งจูงใจจะเป็นการให้รางวัล (Reward) หรือการลงโทษ (Penalty) เพื่อกระตุ้นให้คนหรือกลุ่มคน ตอบสนองต่อสิ่งจูงใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การให้ส่วนลดสาหรับลูกค้า การให้วันหยุดพิเศษ การเก็บ ภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้นในทางเศรษฐศาสตร์จึงใช้สิ่งจูงใจในการช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของคน ในสังคม และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป สิ่งจูงใจได้แก่ ราคาสินค้า ค่าจ้างแรงงาน กาไรของ ผู้ผลิต การอุดหนุนราคาสินค้า การเก็บภาษี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจูงใจในทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นใน การดาเนินการด้านนโยบายของรัฐบาล การทากลยุทธ์การตลาดของภาคเอกชนจะมีการวางแผนใช้ กลไกการตัดสินใจโดยการตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปสามารถที่จะเลือก เปรียบเทียบต้นทุนและผลดีที่จะได้รับ จากสิ่งจูงใจเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสามารถใช้กลไกภาษีใน การจูงใจให้ประชาชนทาในบางสิ่ง เช่น การเก็บภาษีสรรพสามิตในเหล้าและบุหรี่ในอัตราที่สูง เพื่อจูงใจ ให้คนลดการบริโภคบุหรี่และสุรา การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับบริษัทต่างประเทศที่จะมาลงทุน สร้างโรงงานในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการสร้างงานและการผลิตในประเทศ การอุดหนุนราคาสินค้า เกษตร อาทิ การรับจานาข้าว การประกันราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถทา การส่งเสริมการตลาด อาทิ การลดราคาสินค้า การจัดโปรโมชั่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการดาเนินการ ผ่านการสร้างแรงจูงใจ หากดาเนินการมากจนเกินไป จะส่งผลต่อการบิดเบือนกลไกตลาด ทาให้เกิด ความลักลั่น ได้เปรียบ เสียเปรียบ ได้ อาทิ การอุดหนุนราคาพลังงานน้ามันดีเซล เพื่อสนับสนุนภาคการ ผลิตไม่ให้มีต้นทุนสูงเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้ ทาให้ประชาชนเลือกซื้อรถ ดีเซล มากกว่าการซื้อรถเบนซิน ถึงแม้ว่าจะมีความจาเป็นเพียงแค่การเดินทางไปทาธุระ ไม่ได้มีการ บรรทุกสินค้าทุกๆ วัน ก็จะเลือกซื้อรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน • ตั้งคาถามกับนักเรียนให้จดเรื่องที่นักเรียนตอบสนองต่อการจูงใจ 3 เรื่อในชีวิตประจาวันทั้งใน ด้านการให้รางวัล และการลงโทษ จากนั้นให้นักเรียนอธิบายว่าในแต่ละสิ่งจูงใจนั้น นักเรียนจะ ตอบสนองต่อสิ่งจูงใจเหล่านั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด • ให้คุณครูจัดเตรียมโฆษณาลดราคาสินค้าจากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือกิจกรรมทางการตลาดใน ร้านค้าที่นักเรียนคุ้นเคย แล้วให้นักเรียนช่วยกันให้ความเห็นว่า จากสิ่งจูงใจเหล่านั้น จะมีผล ต่อตัวนักเรียน ครอบครัวของนักเรียนอย่างไร จากนั้นให้คุณครูจาลองแนวคิดของการทาธุรกิจ
  • 22. 22 หรือมีธุรกิจที่นักเรียนเห็นอยู่เป็นประจา เช่น ร้านค้าในโรงเรียน แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิด กิจกรรมทางการตลาดว่าจะมีกิจกรรมใดที่สามารถสร้างลูกค้าใหม่ๆ แล้วคาดการณ์กันว่าหาก ดาเนินการตามกิจกรรมเหล่านั้นแล้ว จะมีผลอย่างไร มีต้นทุนของการดาเนินการอย่างไร และ คุ้มที่จะดาเนินการหรือไม่ • ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่า ในสินค้าและบริการหลายๆ ประเภท เช่น อาหารอินทรีย์ การใช้ซ้า (Recycle) การลดการใช้ถุงพลาสติก การผลิตสินค้าที่ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม ว่าจะมีการสร้าง สิ่งจูงใจทั้งด้านการให้รางวัลและการลงโทษอย่างไร
  • 23. 23 สิทธิของผู้บริโภค มาตรฐาน ส 3.1 ป.4 ตัวชี้วัด 2 บอกสิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะ 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้ในชีวิตประจาวัน ผู้บริโภคย่อมคาดหวังว่า จะได้ใช้สินค้าและบริการได้คุ้มกับเงินที่เสียไป หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือได้รับอันตรายจากการใช้ ผู้บริโภคมีสิทธิ์เปลี่ยนสินค้านั้นใหม่ได้ หรือมีสิทธิ์รับค่าชดเชยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคก็จะต้องมีความรับผิดชอบในการใช้สินค้านั้นเสียก่อน จึงจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าว หน้าที่ของ ผู้บริโภค เช่น ปฎิบัติตามคาแนะนาที่ติดมากับสินค้า ใช้สินค้าด้วยความระมัดระวัง บอกข้อบกพร่องของ สินค้ากับผู้ผลิตเพื่อให้ผู้ผลิตนาไปปรับปรุง เป็นต้น สิทธิที่ผู้บริโภคได้รับจะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับหน้าที่ของผู้บริโภค เช่น สิทธิที่จะได้รับข่าวสารที่ ถูกต้องเกี่ยวกับตัวสินค้า ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กับหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะต้องใช้ข่าวสารนั้นประกอบการ ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ดี สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ที่จะต้องเกิดควบคู่กับหน้าที่ ของผู้บริโภคที่จะต้องเลือกซื้อสินค้าอย่างมีเหตุมีผล หน้าที่ของผู้บริโภคอีกประการหนึ่งที่มีความสาคัญ ก็คือ การตรวจสอบว่าสินค้ามีการรับประกันหรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไร เพราะเมื่อหาสินค้ามีปัญหาภายใต้ เงื่อนไขของการรับประกัน ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิ์ในการเปลี่ยน หรือได้รับการซ่อมแซมได้ ปัจจุบันไทยมีหน่วยงานของทั้งรัฐและเอกชน ที่ทาหน้าที่รักษาสิทธิของผู้บริโภค เช่น สานักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นต้น ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน หน่วยงานเหล่านี้ได้หากไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ หรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิต 2) แนวทางในการจัดการเรียนการสอน • จัดกลุ่มอภิปรายว่าสินค้าในชีวิตประจาวันของนักเรียน มีอะไรบ้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และที่ผ่านมา มีแนวทางแก้ไขหรือใช้สิทธิ์อย่างไร • ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลว่า จะสามารถร้องเรียนกับสานักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้อย่างไร • ยกตัวอย่างการเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบ
  • 24. 24 ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) มาตรฐาน ส 3.2 ชั้น ป.4 และ ป.6 ตัวชี้วัด 1 ป.4 อธิบายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ป.6 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาล 1) คาจากัดความและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ คือความสัมพันธ์ของแต่องค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ระบบตลาด สินค้าและบริการ ระบบตลาดปัจจัยการผลิต ระบบตลาดการเงินและสถาบันการเงิน รวมทั้งบทบาทของ รัฐบาล ในการจัดบริการสาธารณะ โดยความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยจุดเริ่มต้นจะพิจารณาจากแบบจาลอง Circular Flow ซึ่งจะแสดงถึงความสัมพันธ์ของ ภาคครัวเรือนและหน่วยผลิต (ธุรกิจและกิจการ ต่างๆ) ในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะแสดงผ่านการไหล ของสินค้าและบริการ และกระแสของรายได้ โดย ตอนเริ่มต้นของ Circular Flow จะสมมติว่าระบบ เศรษฐกิจเป็นระบบแบบปิด กล่าวคือไม่ทาการ ค้าขายและการโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นั้น จะไม่มีการเกิดของสินค้าคงคลังเลย เป็นการผลิตและใช้หมดไป โดยผู้ผลิตสินค้าและบริการ จะเป็น ผู้ที่จัดหาวัตถุดิบผ่านกลไกตลาดปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ แรงงาน ที่ดิน และทุน โดยอาศัยการ ประกอบการของตนเองในการผลิตสินค้าและบริการ เมื่อผลิตสินค้าและบริการออกขายผ่านตลาดสินค้า และบริการ ครัวเรือนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเหล่านั้นมาบริโภค จะมีการจ่ายเงินเป็นค่าสินค้าและบริการ เหล่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ก็จะเป็นรายได้ของผู้ผลิตนั่นเอง ในขณะเดียวกันผู้ผลิตซึ่งซื้อปัจจัย การผลิตมาจากตลาดปัจจัยการผลิต จะจ่ายเงินเป็นค่าปัจจัยการผลิตเหล่านั้น ได้แก่ ค่าจ้างเงินเดือน ค่า เช่า และดอกเบี้ยและปันผล ให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตซึ่งก็คือครัวเรือน ดังนั้นครัวเรือนจึงมีรายได้จาก การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเราพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของแต่หน่วยในกิจกรรมการผลิตในระบบเศรษฐกิจ จะ พบถึงความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านี้ผ่านกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด