SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
หนังสือเล่มนี้เกิดจากความตระหนักถึงความส�ำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทางการ
เมือง และการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคมของไทย (Thai social culture)
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย (Thai political culture) อันสะท้อน
ถึงแบบแผน ค่านิยม ความรู้ ความเชื่อ ความชอบ หรือบุคลิกภาพทางการเมืองของสังคมไทย ตัว
แสดงทางการเมือง (political player) อาทิ ผู้เล่นการเมือง ผู้เกี่ยวข้องกับการเมือง และการรับรู้ระบบ
การเมืองของประชาชนไทย ความเข้าใจและการให้คุณค่าต่อสถาบันการเมือง (political institution)
ของประชาชน อาทิ ความเข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะของพลเมือง บทบาทของรัฐบาล รัฐสภา
องค์กรอิสระ กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มกดดันต่างๆ ทางการเมือง และอุดมการณ์หรือความเชื่อ
ลึกๆ ที่ประชาชนไทยมีต่อความเป็นประชาธิปไตย ผู้เขียนมีความเชื่อในเบื้องต้นว่า วัฒนธรรมของ
สังคมแห่งหนึ่งย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะหรือรูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมืองและการท�ำให้เป็น
ประชาธิปไตยของสังคมนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนต้องการหาค�ำตอบให้กับค�ำถามที่ว่า วัฒนธรรม
ทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยมี
ข้อสมมติว่าวัฒนธรรมทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมแบบพีระมิด (Pyramid culture) หรือวัฒนธรรม
แบบอ�ำนาจนิยม (Authoritarian culture) ซึ่งเป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย โดย
ผู้เขียนอาศัยการศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมเรื่อง “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ใน 3 ระดับ คือ 1) ระดับ
บรรทัดฐานหรือความสัมพันธ์ทางสังคมทั่วไป ในครอบครัว โรงเรียน และระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
2) ระดับองค์การ หรือสถานที่ท�ำงาน ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง 3) ระดับการเมืองหรือในระดับ
ของรัฐระหว่างผู้น�ำกับประชาชน หากระยะห่างของอ�ำนาจทั้ง 3 ระดับยิ่งมีมาก การเสริมสร้าง
ประชาธิปไตยให้เข้มแข็งก็ยิ่งน้อยลง
บทน�ำ
2 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
	 การเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์จากความเติบโตของศตวรรษที่ 20 ที่ขับเคลื่อนโดย
กระบวนทัศน์ “เทคโนโลยี-ตลาด” มาสู่ความเติบโตของศตวรรษที่ 21 ที่ขับเคลื่อนโดยกระบวนทัศน์
“สังคม-นิเวศวิทยา” ท�ำให้เกิดความเข้าใจชุดใหม่ขึ้นในสังคมโลก (Green, 2010) ความท้าทายใหม่ๆ
ทางสังคมที่เป็นแรงกดดันและมีอิทธิพล ได้แก่ ประชากรสูงอายุ ความเจ็บป่วย การเปลี่ยนแปลง
ของสภาวะอากาศในโลก การว่างงาน การขาดแคลนพลังงาน ฯลฯ เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัจจัยก�ำหนด
ความต้องการและความเติบโตของประชากรโลกในรุ่นต่อไป ซึ่งต่างจากแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
ในยุคเดิมที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค แต่ทัศนะของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้เป็นทัศนะ
ของความคิดที่แปลกไปจากแบบแผนเดิม โดยเป็นทัศนะที่ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดโครงสร้าง
และการบริหารองค์การในรูปแบบใหม่ องค์การในทัศนะเดิมอาจเป็นบริษัทขนาดใหญ่ โรงเรียน
หรือสถาบันต่างๆ ในภาครัฐ ซึ่งมีโครงสร้างการควบคุมแบบง่ายๆ คือการบังคับบัญชาตามล�ำดับ
ชั้นด้วยวัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม องค์การพีระมิดเหล่านี้อาศัยการสั่งการและการควบคุมเพื่อให้
สิ่งต่างๆ บรรลุผลส�ำเร็จ การบริหารจัดการผ่านระบบบริหารท�ำได้โดยเพิ่มระดับการบริหารในระดับ
จุลภาคให้สูงขึ้น มีการรายงานความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายที่จะท�ำให้ทุกอย่างอยู่ในมาตรฐาน
เดียวกัน เพื่อควบคุมความซับซ้อน ในกระบวนทัศน์ดังกล่าว ผู้บริหารได้ลดความส�ำคญของสิ่งที่เป็น
ความต้องการมากที่สุดของสังคมโลกในศตวรรษนี้ลง ความต้องการเหล่านั้น ได้แก่ การริเริ่ม การ
สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ และการยอมเสี่ยง นักวิชาการอย่าง โจเซฟีน กรีน (Josephine Green,
2010) เสนอให้ผู้บริหารองค์การและสังคมอาศัยแบบจ�ำลอง “แพนเค้ก” ซึ่งมีโครงสร้างแบบราบและ
มีความเหมาะสมกับยุคสมัยที่ซับซ้อน ไร้ระเบียบและต้องการกระจายอ�ำนาจเพื่อแทนที่แบบจ�ำลอง
“พีระมิด” เช่นเดียวกับเลวิส (Lewis, 2002) และดรักเกอร์ (Drucker, 2005) ที่ได้ย�้ำถึงการมีอ�ำนาจ
ในการตัดสินใจด้วยตนเองและความคิดที่ส�ำคัญเกี่ยวกับ “การจัดการตนเอง” ของผู้ปฏิบัติงานที่มี
ความรู้ในธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมการท�ำงานอย่างใหม่ในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับ
การที่พลเมืองสมัยใหม่ของสังคมจะมีวัฒนธรรมแบบแพนเค้กซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ยินยอมให้อ�ำนาจ
ในองค์การและสังคมถูกแจกจ่ายออกไปยังสมาชิก การบริหารที่มีประสิทธิผลจึงเกิดจากความพร้อม
ที่จะเปลี่ยนไปสู่แบบจ�ำลองธรรมาภิบาล โดยละทิ้งล�ำดับชั้นบังคับบัญชาของแบบจ�ำลองพีระมิดไป
สู่ความเหนียวแน่นของการรวมกลุ่มในแบบจ�ำลองแพนเค้ก การดิ้นรนไปสู่การจรรโลงประชาธิปไตย
ที่เข้มแข็งจ�ำเป็นต้องลดระยะห่างของอ�ำนาจและทลายล�ำดับชั้นของพีระมิดลง
	 เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก เนื้อหาส่วนแรก ได้แก่ เนื้อหาในส่วนที่
เป็นภาคทฤษฎี ซึ่งแสดงไว้ในบทที่ 1-5 เพื่อเป็นการเสนอแนวความคิดหลักในเรื่องวัฒนธรรมทาง
สังคมหรือวัฒนธรรมชาติ วัฒนธรรมพีระมิด วัฒนธรรมแพนเค้ก การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย และ
ระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมให้กับผู้อ่าน เนื้อหาส่วนที่ 2 ได้แก่ เนื้อหาในส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติ ซึ่ง
แสดงไว้ในบทที่ 6-8 เพื่อเป็นการเสนอถึงวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในสังคมไทยในมิติ 4 ด้าน ได้แก่
3บทน�ำ
มิติด้านวัฒนธรรม มิติด้านสังคมวิทยาประวัติศาสตร์ มิติด้านการจัดองค์การทางสังคมและมิติด้าน
เศรษฐศาสตร์การเมือง สภาวะของการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย และวัฒนธรรมอ�ำนาจ
นิยมกับการดิ้นรนสู่การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย จากการรับรู้วัฒนธรรมของประชาชนหรือพลเมือง
ในสังคมไทยทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการ แบ่งออกเป็นกลุ่มข้าราชการประจ�ำและกลุ่มข้าราชการ
การเมือง กับกลุ่มประชาชนจากอาชีพต่างๆ รวมจ�ำนวน 13 กลุ่ม ในภูมิภาคทั้ง 6 แห่งของประเทศไทย
เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพของการน�ำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ และช่วยให้เข้าใจถึงการรับรู้วัฒนธรรม
อ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิด ผ่านการศึกษาตัวแปร “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ซึ่งมีระดับสูงทั้ง
3 ระดับซึ่งเป็นเนื้อหาในส่วนที่เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นทางออกในการ
ส่งเสริมประชาธิปไตยด้วยวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรม และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวชี้
วัดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย ส�ำหรับเนื้อหาในบทส่งท้ายเป็นการอภิปราย
ถึงกระบวนทัศน์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 การปรับเปลี่ยนทัศนะจากแบบจ�ำลอง
พีระมิดสู่แบบจ�ำลองแพนเค้ก ความเข้าใจชนิดใหม่ที่อาจน�ำมาซึ่งความตายของวัฒนธรรมในระบบ
ราชการ และการลดระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมเพื่อก้าวไปสู่บทสนทนาร่วมทางประชาธิปไตยใน
วัฒนธรรมแพนเค้ก
	 ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของธรรมชาติของวัฒนธรรมทางสังคมหรือ
วัฒนธรรมชาติในความหมายทั่วไปที่มีนักวิชาการนิยามไว้ ตลอดจนคุณค่าความส�ำคัญของวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นประเด็นร่วมสมัยองค์ประกอบของวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ความหมายที่เป็นจริงทาง
สังคมและวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ ภาษา และการรับรู้วัฒนธรรมในโลกทัศน์ของส�ำนัก
ตีความ เพื่อปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความผันแปรและมิติที่หลากหลายในการท�ำความเข้าใจพื้นฐาน
เรื่อง “วัฒนธรรมทางสังคม” หรือ “วัฒนธรรมชาติ” และความส�ำคัญเกี่ยวกับความแตกต่างทาง
วัฒนธรรมระหว่างชาติต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมในมิติที่เกี่ยวข้องกับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ใน
สังคมหรือชาติแห่งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลถึงการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยต่อไป	
	 ผู้เขียนได้อาศัยการส�ำรวจการรับรู้ทางวัฒนธรรมในมิติ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ของประชาชน
ในสังคมไทย	 โดยประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสอบถามเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางสังคม
ทั้งหมด 13 กลุ่ม จากทุกภาคส่วนของประเทศ การสอบถามท�ำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
และโดยการติดต่อผู้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล จ�ำนวน 1,640 ชุดไปยังกลุ่มประชาชนผู้มี
ส่วนได้เสียทั้งหมดในสังคมไทย จ�ำนวน 13 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการการเมือง กลุ่มข้าราชการประจ�ำ 
กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมภาค
เอกชน กลุ่มพนักงานองค์การเอกชน กลุ่มนักสื่อสารมวลชนกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้
มีอาชีพรับจ้าง กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา กลุ่มผู้ทุพพลภาพ และอื่นๆ นอกจากนั้นยังสัมภาษณ์
รายบุคคลประชากรในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางสังคมทั้ง 13 กลุ่มอีกรวม 73 ราย การสอบถามใช้
4 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ที่ผู้เขียนท�ำการปรับปรุงเพิ่มเติมจากแนวคิดการศึกษาเรื่องวัฒนธรรม
ทางสังคมโดยการวัดเรื่อง “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ของ เกียร์ ฮอฟสตีด นอกจากการสอบถามและ
การสัมภาษณ์แล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลยังท�ำโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเฉพาะราย การปรึกษา
หารือและการรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในกลุ่มต่างๆ
	 บทที่ 2 ผู้เขียนน�ำเสนอหลักฐานทางวรรณกรรมจ�ำนวนมากที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของ
วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยทั้งจากข้อเสนอของนักทฤษฎีตะวันตกและนักวิชาการของไทย โดย  
ปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจถึงบริบทของวัฒนธรรมไทยซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยค่านิยมแบบตะวันออกซึ่งแตกต่าง
จากค่านิยมแบบตะวันตก ดังนั้น ค่านิยมของสังคมไทยจึงมีลักษณะเฉพาะบางประการและค่านิยม
บางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทยปัจจุบัน ในการศึกษาวัฒนธรรมทางสังคมไทยนั้นจ�ำแนก
ออกเป็นหลายลักษณะ อาทิ วัฒนธรรมอ่อน วัฒนธรรมหลวม วัฒนธรรมปัจเจกบุคคล วัฒนธรรม
ความเป็นหญิง วัฒนธรรมแบบเน้นบทบาทซึ่งรองรับด้วยวัฒนธรรมแบบสโมสร วัฒนธรรมอ�ำนาจ
นิยม วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ ตามที่นักวิชาการได้วิเคราะห์ไว้โดยอาศัยมุมมองที่เกิดจากการรับรู้ใน
หลากหลายมิติ ทั้งในด้านสังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งมาจากภูมิหลังและความเชื่อต่างๆ
ต่อจากนั้นผู้เขียนได้จัดแบ่งบริบทของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ มิติด้าน
วัฒนธรรม ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมแบบ “อ�ำนาจนิยม” (Authoritarianism) มิติด้านสังคมวิทยา
ประวัติศาสตร์ ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมแบบ “พ่อปกครองลูก” (Paternalism) วัฒนธรรมแบบ
“ศักดินานิยม” (Feudalism) และวัฒนธรรมแบบ “ระบบอุปถัมภ์” (Patronage System) มิติด้านการ
จัดองค์การทางสังคม ซึ่งเป็นบริบทของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมอุตสาหกรรมและทุนนิยมทั่วโลก
ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมทุนนิยมแบบแสวงประโยชน์และครอบง�ำ วัฒนธรรมแบบเครื่องจักรใน
สังคมอุตสาหกรรม วัฒนธรรมล�ำดับชั้นในองค์การที่รุนแรง และวัฒนธรรมการเสพติดงานเพื่อยก
ระดับความส�ำเร็จ และมิติด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมในฐานะกลไกของ
รัฐในด้านอุดมการณ์และจิตส�ำนึกทางการเมือง วัฒนธรรมในฐานะการครองชีวิตจิตใจ และวัฒนธรรม
ของบรรษัทข้ามชาติ หลักฐานทางวรรณกรรมทั้งหมดที่ผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ในบทนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน
มองเห็นภาพของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยที่มีความเป็นพหุลักษณ์ได้อย่างชัดเจน
	 บทที่ 3 ในการท�ำนายว่าสังคมหรือชาติต่างๆ จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตสามารถค้นพบ
ได้โดยการส�ำรวจตรวจสอบประวัติศาสตร์ทางสังคมของวัฒนธรรม ซึ่งเรียกว่าเป็น “ความส�ำเร็จทาง
วัฒนธรรมของอารยธรรมที่แตกต่างกัน” ระหว่างชนชาติต่างๆ โลกทัศน์ 2 แบบที่ถูกน�ำมาเปรียบ
เทียบกัน ได้แก่ แบบจ�ำลองพีระมิด และแบบจ�ำลองแพนเค้ก ที่ผู้เขียนน�ำเสนอไว้ในบทนี้จะช่วยให้
ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของวัฒนธรรมทั้งสองประเภทผ่านภาพอุปมา ทั้งรูปทรง โครงสร้าง เนื้อหา
ประโยชน์ และความเป็นสากล ขนมแพนเค้กนั้นเปรียบเสมือนภาพอุปมาของวัฒนธรรมแบบมีส่วน
ร่วม ซึ่งมีนัยที่สื่อถึงความเป็นประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับสังคมหรือชาตินั้นๆ
5บทน�ำ
ผู้คนทั่วโลกรับประทานแพนเค้กได้ทั้งในชีวิตประจ�ำวันละในเทศกาลพิเศษ แพนเค้กเป็นทั้งอาหาร
ตามข้างถนน (street-food) ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยสามารถซื้อรับประทานได้ง่าย เป็นอาหารของคน
ท�ำงานที่ใช้แรงงาน (working-class food) แต่ในเวลาเดียวกัน แพนเค้กก็ยังจัดได้ว่าเป็นอาหารเย็นที่
ประณีตและมีรสชาติเอร็ดอร่อย (fine-dining) (Ken Albala, 2008) ดังนั้น ลักษณะของความเป็นสากล
ที่ท�ำให้คนทั่วไปในชาติต่างๆ ทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมอาหารได้จึงท�ำให้แพนเค้ก
เป็นภาพอุปมาที่ชัดเจนของ “การมีส่วนร่วม” ในขณะที่แบบจ�ำลองรูปทรงพีระมิดเป็นลักษณะที่
ประกอบขึ้นจากการท�ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (standardization) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะท�ำนาย
ผลลัพธ์และควบคุม และเป็นความเชื่อในเรื่องของความขาดแคลนหายากที่จะช่วยเชิดชูเรื่องการ
แข่งขัน เพราะการแข่งขันเป็นหลักการสูงสุดที่จะท�ำให้สังคมก้าวหน้าและเติบโตและเคลื่อนที่ไป
ผู้เขียนได้ชี้ถึงลักษณะของ “วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม” หรือ “วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก” ปัจจัยสนับสนุน
ให้เกิด “วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม” หรือ “วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก” และสรุปความเป็นพหุลักษณ์
ของวัฒนธรรมแบบแพนเค้กไว้ 10 ประการ ก่อนจะจ�ำกัดความหมายวัฒนธรรมแพนเค้กส�ำหรับน�ำ
ไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป
	 บทที่ 4 แนวคิดเรื่องการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) นั้นบางครั้งดูเป็นเสมือน
เพียงจุดหมายในฝันหรือความเป็นจริงที่ไม่มีวันเอื้อมถึง หากพิเคราะห์ถึงองค์ประกอบส�ำคัญในแนวคิด
ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมประชาธิปไตย ในบทนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาและน�ำเสนอ
ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแนวคิดส�ำคัญที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง “การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย” ได้แก่ แนวคิดเรื่อง
เสรีภาพกับอ�ำนาจ  แนวคิดเรื่องเสรีภาพของปัจเจกบุคคล แนวคิดเรื่องรูปแบบเสรีประชาธิปไตยและ
ผู้น�ำ แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แนวคิดเรื่องสภาวะของการเปลี่ยนผ่าน
กับชนชั้น แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน และแนวคิดเรื่องการศึกษากับสังคม
ที่เคารพความแตกต่าง ต่อจากนั้นผู้เขียนได้พิจารณาถึงปัจจัยและองค์ประกอบส�ำคัญของ “การ
ท�ำให้เป็นประชาธิปไตย” จากหลักฐานทางวรรณกรรมจ�ำนวนมากที่เสนอโดยเหล่านักวิชาการซึ่ง
สะท้อนถึงความจ�ำเป็นที่สังคมหรือชาติซึ่งต้องการประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้องพัฒนาให้องค์ประกอบ
“ประชาธิปไตย” เหล่านี้มีความเข้มแข็ง ได้แก่ องค์ประกอบดังต่อไปนี้ การบริหารแบบมีส่วนร่วมและ
ความเสมอภาค วัฒนธรรมพลเมืองและคุณค่าของความไว้วางใจ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการ
ศึกษา ทุนนิยมและความมั่นคง การลดระยะห่างของอ�ำนาจในสังคม ประชากรที่คล้ายคลึงกันและ
ประสบการณ์ทางประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ทฤษฎี “The Resource Curse Theory”
และการพัฒนามนุษย์ ต่อจากนั้น ผู้เขียนได้นิยามความหมายการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยส�ำหรับน�ำ
ไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป
	 บทที่ 5 ผู้เขียนต้องการเสนอให้ผู้อ่านเกิดความตระหนักถึงความส�ำคัญของมิติทางวัฒนธรรม
มิติหนึ่งที่เสนอโดยนักวิชาการด้านวัฒนธรรมจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะ เกียร์ ฮอฟสตีด (Geert Hof-
6 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
stede, 1987, 2005) รอบบินส์ (Robbins, 2004) และเฮ้าส์ (House, 2004) นั่นคือ “ระยะห่างของ
อ�ำนาจ” (power of distance) ซึ่งเป็นมิติวัฒนธรรมทางสังคมที่ผู้เขียนได้น�ำมาใช้เป็นหลักในการศึกษา
ครั้งนี้ โดย “ระยะห่างของอ�ำนาจ” จะสามารถสะท้อนลักษณะของวัฒนธรรมอ�ำนาจในสังคมไทยซึ่งมี
รากฐานมาจากบริบททางสังคมไทยใน 4 มิติ อันส่งผลต่อไปยังวัฒนธรรมการเมืองได้ การที่ลักษณะ
วัฒนธรรมการเมืองของไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากวัฒนธรรมทางสังคมของไทยที่ห่อหุ้มอยู่ เป็น
ปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตย ผลลัพธ์ที่ได้จากระดับการรับ
รู้ของประชาชนที่มีต่อเรื่องระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมทั้ง 3 ระดับจะเป็นเครื่องสะท้อนว่าสังคมไทย
มีวัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม (วัฒนธรรมแบบพีระมิด) ที่กีดขวางการจรรโลงประชาธิปไตย หรือว่ามี
วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม (วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก) ที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่เข้ม
แข็ง ดังนั้น นอกจากความหมายที่นักวิชาการได้นิยามถึงระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมแล้ว ผู้เขียนได้
น�ำเสนอให้เห็นว่า ระยะห่างของอ�ำนาจสามารถกีดขวางหรือสนับสนุนการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
ในสังคมหรือชาติหนึ่งได้อย่างไร โดยเฉพาะการที่ระยะห่างของอ�ำนาจกลายเป็นอุปสรรคที่กีดขวาง
การจรรโลงประชาธิปไตยในสังคมไทยผ่านวิธีการต่างๆ ได้แก่ การมีวัฒนธรรมการเมืองแบบอ�ำนาจ
นิยม การครอบง�ำของโมเดลเอเชียตะวันออก และลักษณะค่านิยมและความเชื่อทางการเมืองใน
สังคมไทย ผู้เขียนยังได้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมพีระมิดสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการนิยมอ�ำนาจและ
การมีระยะห่างในสังคมของไทยในลักษณะต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง อาทิ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่
เป็นเครื่องมือในการแสวงประโยชน์ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่เป็นโครงสร้างและกฎเหล็กของผู้มี
อ�ำนาจ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่ส่งเสริมระยะห่างของอ�ำนาจในสังคม วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะ
ที่มีพลังในการต่อสู้กับวัฒนธรรมประชาธิปไตย และวัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่สะท้อนระยะห่าง
ของพลังอ�ำนาจรัฐกับพลังอ�ำนาจเงิน ต่อจากนั้นผู้เขียนได้ประมวลสรุปลักษณะวัฒนธรรมพีระมิดที่
เด่นชัดในสังคมไทยจากข้อเสนอที่พ้องกันของนักวิชาการไทย และชี้ให้เห็นหลักฐานต่างๆ ที่เป็นการ
ศึกษามิติ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่สัมพันธ์กับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยจากประสบการณ์ของ
ชาติต่างๆ อาทิ ชาติที่มีระยะห่างของอ�ำนาจสูง ทั้งประเทศจีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม และคิวบา
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้มีรูปแบบการบริหารที่เน้นเรื่องระดับของสถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันอย่าง
รุนแรง หรือชาติที่มีระยะห่างของอ�ำนาจต�่ำ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรีย เดนมาร์ก ไอร์แลนด์
อิสราเอล และนิวซีแลนด์ ซึ่งประชาชนคาดหวังและให้การยอมรับว่าวัฒนธรรมทางสังคมของตน     
มีความเป็นประชาธิปไตยและมีการปรึกษาหารือกันแบบมีส่วนร่วม ต่อจากนั้นผู้เขียนได้นิยามความ
หมายระยะห่างของอ�ำนาจส�ำหรับน�ำไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป
	 บทที่ 6 ผู้เขียนได้น�ำเสนอผลจากการศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมทางสังคมของไทยว่าเป็น
วัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม หรือวัฒนธรรมพีระมิดที่กีดขวางการจรรโลงประชาธิปไตยตามข้อสมมติ
หรือไม่ อย่างไร โดยน�ำเสนอผลการรับรู้วัฒนธรรมพีระมิด 3 ระดับ ที่ได้จากข้อค้นพบเชิงประจักษ์
7บทน�ำ
ได้แก่ วัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในระดับทั่วไปในสังคม ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่
ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก พ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียนหรือลูกศิษย์กับอาจารย์ วัฒนธรรม
อ�ำนาจนิยมในระดับองค์การหรือสถานที่ท�ำงาน ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่ใน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือหัวหน้ากับลูกน้อง   
ในองค์การ และ วัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในระดับรัฐหรือระดับการเมือง ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะ
ห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำรัฐบาลกับประชาชนในรัฐ ชนชั้นที่ปกครองกับ
ชนชั้นที่ถูกปกครอง ซึ่งอยู่ในการรับรู้ของประชาชนทั้ง 13 กลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามข้อสมมติของ            
ผู้เขียนคือ วัฒนธรรมทางสังคมของไทยมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิด
เนื่องจากระยะห่างของอ�ำนาจที่ส�ำรวจได้ทั้ง 3 ระดับอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง นอกจากนี้ ผู้เขียน
ยังพบสาเหตุของวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในสังคมไทยจากหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งสอดคล้องตามข้อ
เสนอของหลักฐานที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมในภาคทฤษฎี	
	 บทที่ 7 จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผู้เขียนรวบรวมได้น�ำมาสู่ข้อค้นพบถึงสภาวะการท�ำให้
เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยที่สัมพันธ์กับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ทั้ง 3 ระดับค่อนข้างสูง ท�ำให้
สภาวะการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่เข้มแข็ง จากการส�ำรวจการรับรู้
ของประชาชนจึงน�ำมาสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับความอ่อนแอทางประชาธิปไตยของสังคมไทยในประเด็นต่างๆ
ซึ่งผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ในบทที่ 7 ดังต่อไปนี้ ได้แก่ การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของ
ประชาชน อ�ำนาจนิยมกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย ความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความ
มีธรรมาภิบาลในสังคม ความก้าวหน้าทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ส�ำรวจ
ได้ยังท�ำให้ผู้เขียนสามารถประมวลอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่ขัดขวางการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของ
สังคมไทยไว้ในบทนี้ด้วย ได้แก่ อุปสรรคเกี่ยวกับปัจจัยคุณภาพการศึกษา การคอร์รัปชัน การที่ผู้น�ำ
หรือผู้มีอ�ำนาจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว การที่สื่อมวลชนขาดความมีอิสระ ความไม่เสมอภาคทาง
สังคม การขาดหลักการประชาธิปไตย ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม และการที่เศรษฐกิจไม่ก้าวหน้า
ซึ่งประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ อาทิ กลุ่มข้าราชการการเมือง กลุ่มข้าราชการประจ�ำ กลุ่มพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ กลุ่มเจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเอกชน กลุ่มผู้มีอาชีพ
รับจ้างและกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาและกลุ่มนักสื่อสารมวลชน ได้ให้ทัศนะเกี่ยว
กับวัฒนธรรมทางสังคมของไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของไทยไว้อย่างน่า
สนใจตามประสบการณ์การรับรู้วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยของประชาชนแต่ละกลุ่มอาชีพ
	 บทที่ 8 ผู้เขียนได้เสนอแนวทางที่ได้จากการสังเคราะห์ทฤษฎีที่ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ
ของการที่สังคมไทยจะมุ่งหน้าจากสังคมที่มีระยะห่างของอ�ำนาจไปสู่สังคมที่มีความเข้มแข็งทาง
ประชาธิปไตย พร้อมกับหลักฐานเชิงประจักษ์และหลักฐานทางทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยนั้นเป็น
8 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
สังคมที่ก�ำลังดิ้นรนฟันฝ่าจากวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิดไปสู่สังคมที่มีวัฒนธรรมของ
การมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรมแพนเค้กด้วยสภาวะความยากล�ำบากอย่างไร อุปสรรคในมิติด้านต่างๆ
ได้แก่อะไรบ้าง และมาตรการที่เป็นทางออกหรือวัฒนธรรมแพนเค้กซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่พึงประสงค์
นั้นจะได้มาด้วยแนวทางอย่างไร ในบทนี้ผู้เขียนเสนอถึงองค์ประกอบที่ส�ำคัญในด้านต่างๆ ที่จะช่วย
สนับสนุนวัฒนธรรมแพนเค้ก ได้แก่ ด้านบทบาทของรัฐและผู้น�ำรัฐบาลที่มีความเป็นประชาธิปไตย
ด้านวัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยและด้านสิทธิเสรีภาพ
ของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประชาธิปไตยนอกจากมาตรการที่เป็นทางออกแล้ว
ผู้เขียนได้ประมวลตัวชี้วัดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยในทุกระดับ
และทุกมิติไว้ในบทนี้ด้วย	 	 	 	
	 บทส่งท้ายข้อเสนอส�ำหรับวงวิชาการในหนังสือเล่มนี้เป็นการส่งเสริมแนวคิดการปรับ
เปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับโลกซึ่งก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงด้วยด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ     
“สังคม-เทคโนโลยี-เศรษฐกิจ” และบริบทของสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนผ่านจากสังคมอ�ำนาจ
นิยมที่มีระยะห่างของอ�ำนาจสูงอย่างสังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้องอาศัยการปรับ
เปลี่ยนวัฒนธรรมจากวัฒนธรรมอ�ำนาจแบบพีระมิดไปสู่วัฒนธรรมความร่วมมือแบบแพนเค้ก การ
เปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เชื่อมโยงไปถึงสังคมที่ให้อ�ำนาจกับประชาชนซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีการ
สนทนาติดต่อกับเครือข่ายของเพื่อนในสังคมมากยิ่งขึ้น มีการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อื่น
มากขึ้น มีการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของความคิด และเป็นสังคมที่มีโครงสร้างการ
กระจายอ�ำนาจผสมผสานมากยิ่งขึ้นในแบบของสังคมเสรีประชาธิปไตย ผู้เขียนได้สรุปบทเรียนและ
การศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต โดยสรุปข้อเสนอในบทส่งท้ายนี้ว่า วัฒนธรรมอย่างใหม่ที่จะเข้ามา
แทนที่วัฒนธรรมพีระมิดอยู่ในแบบจ�ำลองหรือภาพอุปมาของขนมแพนเค้กซึ่งกระจายเสรีภาพและ
ความเสมอภาคออกไปสู่ประชาชนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน การท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคม
ไทยอาจจ�ำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าการแข่งขันก็เป็นได้
	 ผลงานเขียนชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดพิมพ์และการศึกษาวิจัย โดยเป็นโครงการร่วม
อยู่ในโครงการของ ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย (Thailand Democracy Watch) คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนได้รับความสนับสนุนอย่างดียิ่งจากศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย                 
ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เป็นทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและ
เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญในการเรียนรู้อย่างแท้จริงของผู้เขียน กรุณาให้ค�ำปรึกษาและกรุณารับ
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน รวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ
ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผู้อ�ำนวยการศูนย์การวิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย กรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา ภาควิชา
9บทน�ำ
รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาให้ค�ำปรึกษาและกรุณารับเป็น
ผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน รองศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ เสงี่ยมพงษ์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณารับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านรวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับ
หนังสือเล่มนี้ รองศาสตราจารย์วันชัย มีชาติ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย กรุณารับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านรวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้
รองศาสตราจารย์สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้อ�ำนวยการโครงการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทยในการ
อ�ำนวยการโครงการ ซึ่งผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านคณาจารย์เป็นอย่างสูง ตลอดเจ้าหน้าที่โครงการ
ศูนย์เฝ้าติดตามประชาธิปไตยไทย คุณจิรายุ ชาญเลขา คุณจิราภรณ์ ด�ำจันทร์ และคุณบุรฉัตร
พานธงรักษ์ ที่ประสานงานในการร่วมโครงการและในการจัดท�ำหนังสืออย่างดียิ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลเชิง
ประจักษ์ที่ส�ำรวจได้จากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลภาคสนามจากคุณยุพา คงสวัสดิ์พร และคุณจาพิกรณ์ เผือกโสภา รวมทั้งความอนุเคราะห์ใน
การประสานข้อมูลจากคุณสาโรช เลขะวัฒนะ และคุณนิรมล มหิตพงษ์ รวมทั้งกัลยาณมิตรอีกหลาย
ท่านที่มิได้เอ่ยนาม กระทั่งหนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี
	 ส�ำหรับการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ผู้เขียนได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิต รุจิวโรดม กรรมการผู้อ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์
ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ รองผู้อ�ำนวยการ คุณวาสนา ซ�ำเซ็น ผู้ประสานโครงการ ตลอดจนกอง
บรรณาธิการจัดท�ำต้นฉบับ คุณกนิษฐา กิตติคุณ และคุณปุญญิสา บุญเปี่ยม ที่ช่วยตรวจสอบให้
หนังสือเล่มนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์ และคุณวัชรวีร์ อาสาสุ ที่ช่วยออกแบบให้หนังสือเล่มนี้มีความ
สวยงาม ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
	 ผู้เขียนมีความคาดหวังส่วนตัวว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านซึ่งสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับ
การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในมิติด้านวัฒนธรรม ตลอดจนผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องวัฒนธรรม
ในสังคมไทย ได้มีมุมมองใหม่และมีความเข้าใจในเรื่องการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยผ่านมิติ ทาง
วัฒนธรรมเกี่ยวกับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ในสังคมหรือ “วัฒนธรรมอ�ำนาจ” รวมทั้งมีความเข้าใจที่
ลึกซึ้งขึ้นถึงแบบแผนวัฒนธรรมของสังคมไทยที่ตนเองอาศัยอยู่ในมิติที่หลากหลาย ประการส�ำคัญคือ
เกิดความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านของสังคมหนึ่งจากวัฒนธรรมพีระมิดในโลกทัศน์แบบเดิมที่ให้คุณค่า
กับการมีอ�ำนาจไปสู่วัฒนธรรมแพนเค้กในโลกทัศน์แบบใหม่ของศตวรรษนี้ที่ให้คุณค่ากับความเท่า
เทียมกัน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
อย่างแท้จริง
10 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย
บรรณานุกรมท้ายบทน�ำ
Albala, K. (2008). Pancake: A Global History. London: Reaktion Books, Ltd.
Green, J. (2010). “Engaging with the Future Differently From Scarcity to Abundance.” The
Abstract Book of Peter Drucker Forum (November, 2010).
Hofstede, G. H. (1987). Culture’s Consequences: International Differences in Work-Related
Values. Beverly Hills: Sage Pub.
Hofstede, G. H. and Hofstede, G. J. (2005). Cultures and Organizations: Software of the
Mind.New York: McGraw-Hill.
House, R. J. (2004). Culture, Leadership, and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies.
	 California: Sage Publications.
Lewis, M. (2002). Next: The Future Just Happened. New York: W. W. Norton & Company, Inc.
Robbins, S. P. (2004). Organisational Behaviour: Global and Southern African Perspectives.
South Africa: Prentice-Hall.

More Related Content

Similar to 9789740335498

People Politic
People PoliticPeople Politic
People Politicpailinsarn
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรDental Faculty,Phayao University.
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีsaovapa nisapakomol
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง daSaiiew
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1Yota Bhikkhu
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59Taraya Srivilas
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุFURD_RSU
 
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)Weera Wongsatjachock
 
ความดี
ความดีความดี
ความดีroh1109
 

Similar to 9789740335498 (20)

People Politic
People PoliticPeople Politic
People Politic
 
57
5757
57
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดี
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
Politics1
Politics1Politics1
Politics1
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
07 chapter 1
07 chapter 107 chapter 1
07 chapter 1
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
 
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
สถาบันนิยมใหม่กับการศึกษารัฐธรรมนูญ (New Institutionalism and Constitution)
 
ธรรมชาติ
ธรรมชาติธรรมชาติ
ธรรมชาติ
 
387442 1
387442 1387442 1
387442 1
 
ความดี
ความดีความดี
ความดี
 
123456
123456123456
123456
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑๐
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑๐แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑๐
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑๐
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335498

  • 1. หนังสือเล่มนี้เกิดจากความตระหนักถึงความส�ำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทางการ เมือง และการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคมของไทย (Thai social culture) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย (Thai political culture) อันสะท้อน ถึงแบบแผน ค่านิยม ความรู้ ความเชื่อ ความชอบ หรือบุคลิกภาพทางการเมืองของสังคมไทย ตัว แสดงทางการเมือง (political player) อาทิ ผู้เล่นการเมือง ผู้เกี่ยวข้องกับการเมือง และการรับรู้ระบบ การเมืองของประชาชนไทย ความเข้าใจและการให้คุณค่าต่อสถาบันการเมือง (political institution) ของประชาชน อาทิ ความเข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะของพลเมือง บทบาทของรัฐบาล รัฐสภา องค์กรอิสระ กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มกดดันต่างๆ ทางการเมือง และอุดมการณ์หรือความเชื่อ ลึกๆ ที่ประชาชนไทยมีต่อความเป็นประชาธิปไตย ผู้เขียนมีความเชื่อในเบื้องต้นว่า วัฒนธรรมของ สังคมแห่งหนึ่งย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะหรือรูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมืองและการท�ำให้เป็น ประชาธิปไตยของสังคมนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนต้องการหาค�ำตอบให้กับค�ำถามที่ว่า วัฒนธรรม ทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยมี ข้อสมมติว่าวัฒนธรรมทางสังคมของไทยเป็นวัฒนธรรมแบบพีระมิด (Pyramid culture) หรือวัฒนธรรม แบบอ�ำนาจนิยม (Authoritarian culture) ซึ่งเป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย โดย ผู้เขียนอาศัยการศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมเรื่อง “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ใน 3 ระดับ คือ 1) ระดับ บรรทัดฐานหรือความสัมพันธ์ทางสังคมทั่วไป ในครอบครัว โรงเรียน และระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ 2) ระดับองค์การ หรือสถานที่ท�ำงาน ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง 3) ระดับการเมืองหรือในระดับ ของรัฐระหว่างผู้น�ำกับประชาชน หากระยะห่างของอ�ำนาจทั้ง 3 ระดับยิ่งมีมาก การเสริมสร้าง ประชาธิปไตยให้เข้มแข็งก็ยิ่งน้อยลง บทน�ำ
  • 2. 2 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์จากความเติบโตของศตวรรษที่ 20 ที่ขับเคลื่อนโดย กระบวนทัศน์ “เทคโนโลยี-ตลาด” มาสู่ความเติบโตของศตวรรษที่ 21 ที่ขับเคลื่อนโดยกระบวนทัศน์ “สังคม-นิเวศวิทยา” ท�ำให้เกิดความเข้าใจชุดใหม่ขึ้นในสังคมโลก (Green, 2010) ความท้าทายใหม่ๆ ทางสังคมที่เป็นแรงกดดันและมีอิทธิพล ได้แก่ ประชากรสูงอายุ ความเจ็บป่วย การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะอากาศในโลก การว่างงาน การขาดแคลนพลังงาน ฯลฯ เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัจจัยก�ำหนด ความต้องการและความเติบโตของประชากรโลกในรุ่นต่อไป ซึ่งต่างจากแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ในยุคเดิมที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค แต่ทัศนะของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้เป็นทัศนะ ของความคิดที่แปลกไปจากแบบแผนเดิม โดยเป็นทัศนะที่ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดโครงสร้าง และการบริหารองค์การในรูปแบบใหม่ องค์การในทัศนะเดิมอาจเป็นบริษัทขนาดใหญ่ โรงเรียน หรือสถาบันต่างๆ ในภาครัฐ ซึ่งมีโครงสร้างการควบคุมแบบง่ายๆ คือการบังคับบัญชาตามล�ำดับ ชั้นด้วยวัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม องค์การพีระมิดเหล่านี้อาศัยการสั่งการและการควบคุมเพื่อให้ สิ่งต่างๆ บรรลุผลส�ำเร็จ การบริหารจัดการผ่านระบบบริหารท�ำได้โดยเพิ่มระดับการบริหารในระดับ จุลภาคให้สูงขึ้น มีการรายงานความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายที่จะท�ำให้ทุกอย่างอยู่ในมาตรฐาน เดียวกัน เพื่อควบคุมความซับซ้อน ในกระบวนทัศน์ดังกล่าว ผู้บริหารได้ลดความส�ำคญของสิ่งที่เป็น ความต้องการมากที่สุดของสังคมโลกในศตวรรษนี้ลง ความต้องการเหล่านั้น ได้แก่ การริเริ่ม การ สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ และการยอมเสี่ยง นักวิชาการอย่าง โจเซฟีน กรีน (Josephine Green, 2010) เสนอให้ผู้บริหารองค์การและสังคมอาศัยแบบจ�ำลอง “แพนเค้ก” ซึ่งมีโครงสร้างแบบราบและ มีความเหมาะสมกับยุคสมัยที่ซับซ้อน ไร้ระเบียบและต้องการกระจายอ�ำนาจเพื่อแทนที่แบบจ�ำลอง “พีระมิด” เช่นเดียวกับเลวิส (Lewis, 2002) และดรักเกอร์ (Drucker, 2005) ที่ได้ย�้ำถึงการมีอ�ำนาจ ในการตัดสินใจด้วยตนเองและความคิดที่ส�ำคัญเกี่ยวกับ “การจัดการตนเอง” ของผู้ปฏิบัติงานที่มี ความรู้ในธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมการท�ำงานอย่างใหม่ในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับ การที่พลเมืองสมัยใหม่ของสังคมจะมีวัฒนธรรมแบบแพนเค้กซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ยินยอมให้อ�ำนาจ ในองค์การและสังคมถูกแจกจ่ายออกไปยังสมาชิก การบริหารที่มีประสิทธิผลจึงเกิดจากความพร้อม ที่จะเปลี่ยนไปสู่แบบจ�ำลองธรรมาภิบาล โดยละทิ้งล�ำดับชั้นบังคับบัญชาของแบบจ�ำลองพีระมิดไป สู่ความเหนียวแน่นของการรวมกลุ่มในแบบจ�ำลองแพนเค้ก การดิ้นรนไปสู่การจรรโลงประชาธิปไตย ที่เข้มแข็งจ�ำเป็นต้องลดระยะห่างของอ�ำนาจและทลายล�ำดับชั้นของพีระมิดลง เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก เนื้อหาส่วนแรก ได้แก่ เนื้อหาในส่วนที่ เป็นภาคทฤษฎี ซึ่งแสดงไว้ในบทที่ 1-5 เพื่อเป็นการเสนอแนวความคิดหลักในเรื่องวัฒนธรรมทาง สังคมหรือวัฒนธรรมชาติ วัฒนธรรมพีระมิด วัฒนธรรมแพนเค้ก การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย และ ระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมให้กับผู้อ่าน เนื้อหาส่วนที่ 2 ได้แก่ เนื้อหาในส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติ ซึ่ง แสดงไว้ในบทที่ 6-8 เพื่อเป็นการเสนอถึงวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในสังคมไทยในมิติ 4 ด้าน ได้แก่
  • 3. 3บทน�ำ มิติด้านวัฒนธรรม มิติด้านสังคมวิทยาประวัติศาสตร์ มิติด้านการจัดองค์การทางสังคมและมิติด้าน เศรษฐศาสตร์การเมือง สภาวะของการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย และวัฒนธรรมอ�ำนาจ นิยมกับการดิ้นรนสู่การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย จากการรับรู้วัฒนธรรมของประชาชนหรือพลเมือง ในสังคมไทยทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการ แบ่งออกเป็นกลุ่มข้าราชการประจ�ำและกลุ่มข้าราชการ การเมือง กับกลุ่มประชาชนจากอาชีพต่างๆ รวมจ�ำนวน 13 กลุ่ม ในภูมิภาคทั้ง 6 แห่งของประเทศไทย เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพของการน�ำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ และช่วยให้เข้าใจถึงการรับรู้วัฒนธรรม อ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิด ผ่านการศึกษาตัวแปร “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ซึ่งมีระดับสูงทั้ง 3 ระดับซึ่งเป็นเนื้อหาในส่วนที่เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นทางออกในการ ส่งเสริมประชาธิปไตยด้วยวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรม และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวชี้ วัดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย ส�ำหรับเนื้อหาในบทส่งท้ายเป็นการอภิปราย ถึงกระบวนทัศน์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 การปรับเปลี่ยนทัศนะจากแบบจ�ำลอง พีระมิดสู่แบบจ�ำลองแพนเค้ก ความเข้าใจชนิดใหม่ที่อาจน�ำมาซึ่งความตายของวัฒนธรรมในระบบ ราชการ และการลดระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมเพื่อก้าวไปสู่บทสนทนาร่วมทางประชาธิปไตยใน วัฒนธรรมแพนเค้ก ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของธรรมชาติของวัฒนธรรมทางสังคมหรือ วัฒนธรรมชาติในความหมายทั่วไปที่มีนักวิชาการนิยามไว้ ตลอดจนคุณค่าความส�ำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นร่วมสมัยองค์ประกอบของวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ความหมายที่เป็นจริงทาง สังคมและวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ ภาษา และการรับรู้วัฒนธรรมในโลกทัศน์ของส�ำนัก ตีความ เพื่อปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความผันแปรและมิติที่หลากหลายในการท�ำความเข้าใจพื้นฐาน เรื่อง “วัฒนธรรมทางสังคม” หรือ “วัฒนธรรมชาติ” และความส�ำคัญเกี่ยวกับความแตกต่างทาง วัฒนธรรมระหว่างชาติต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมในมิติที่เกี่ยวข้องกับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ใน สังคมหรือชาติแห่งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลถึงการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยต่อไป ผู้เขียนได้อาศัยการส�ำรวจการรับรู้ทางวัฒนธรรมในมิติ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ของประชาชน ในสังคมไทย โดยประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสอบถามเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางสังคม ทั้งหมด 13 กลุ่ม จากทุกภาคส่วนของประเทศ การสอบถามท�ำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และโดยการติดต่อผู้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล จ�ำนวน 1,640 ชุดไปยังกลุ่มประชาชนผู้มี ส่วนได้เสียทั้งหมดในสังคมไทย จ�ำนวน 13 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการการเมือง กลุ่มข้าราชการประจ�ำ กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมภาค เอกชน กลุ่มพนักงานองค์การเอกชน กลุ่มนักสื่อสารมวลชนกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ มีอาชีพรับจ้าง กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา กลุ่มผู้ทุพพลภาพ และอื่นๆ นอกจากนั้นยังสัมภาษณ์ รายบุคคลประชากรในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางสังคมทั้ง 13 กลุ่มอีกรวม 73 ราย การสอบถามใช้
  • 4. 4 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ที่ผู้เขียนท�ำการปรับปรุงเพิ่มเติมจากแนวคิดการศึกษาเรื่องวัฒนธรรม ทางสังคมโดยการวัดเรื่อง “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ของ เกียร์ ฮอฟสตีด นอกจากการสอบถามและ การสัมภาษณ์แล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลยังท�ำโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเฉพาะราย การปรึกษา หารือและการรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในกลุ่มต่างๆ บทที่ 2 ผู้เขียนน�ำเสนอหลักฐานทางวรรณกรรมจ�ำนวนมากที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะของ วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยทั้งจากข้อเสนอของนักทฤษฎีตะวันตกและนักวิชาการของไทย โดย ปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจถึงบริบทของวัฒนธรรมไทยซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยค่านิยมแบบตะวันออกซึ่งแตกต่าง จากค่านิยมแบบตะวันตก ดังนั้น ค่านิยมของสังคมไทยจึงมีลักษณะเฉพาะบางประการและค่านิยม บางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทยปัจจุบัน ในการศึกษาวัฒนธรรมทางสังคมไทยนั้นจ�ำแนก ออกเป็นหลายลักษณะ อาทิ วัฒนธรรมอ่อน วัฒนธรรมหลวม วัฒนธรรมปัจเจกบุคคล วัฒนธรรม ความเป็นหญิง วัฒนธรรมแบบเน้นบทบาทซึ่งรองรับด้วยวัฒนธรรมแบบสโมสร วัฒนธรรมอ�ำนาจ นิยม วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ ตามที่นักวิชาการได้วิเคราะห์ไว้โดยอาศัยมุมมองที่เกิดจากการรับรู้ใน หลากหลายมิติ ทั้งในด้านสังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งมาจากภูมิหลังและความเชื่อต่างๆ ต่อจากนั้นผู้เขียนได้จัดแบ่งบริบทของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ มิติด้าน วัฒนธรรม ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมแบบ “อ�ำนาจนิยม” (Authoritarianism) มิติด้านสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมแบบ “พ่อปกครองลูก” (Paternalism) วัฒนธรรมแบบ “ศักดินานิยม” (Feudalism) และวัฒนธรรมแบบ “ระบบอุปถัมภ์” (Patronage System) มิติด้านการ จัดองค์การทางสังคม ซึ่งเป็นบริบทของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมอุตสาหกรรมและทุนนิยมทั่วโลก ซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมทุนนิยมแบบแสวงประโยชน์และครอบง�ำ วัฒนธรรมแบบเครื่องจักรใน สังคมอุตสาหกรรม วัฒนธรรมล�ำดับชั้นในองค์การที่รุนแรง และวัฒนธรรมการเสพติดงานเพื่อยก ระดับความส�ำเร็จ และมิติด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองซึ่งมีหลักฐานชี้ถึงวัฒนธรรมในฐานะกลไกของ รัฐในด้านอุดมการณ์และจิตส�ำนึกทางการเมือง วัฒนธรรมในฐานะการครองชีวิตจิตใจ และวัฒนธรรม ของบรรษัทข้ามชาติ หลักฐานทางวรรณกรรมทั้งหมดที่ผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ในบทนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน มองเห็นภาพของวัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยที่มีความเป็นพหุลักษณ์ได้อย่างชัดเจน บทที่ 3 ในการท�ำนายว่าสังคมหรือชาติต่างๆ จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตสามารถค้นพบ ได้โดยการส�ำรวจตรวจสอบประวัติศาสตร์ทางสังคมของวัฒนธรรม ซึ่งเรียกว่าเป็น “ความส�ำเร็จทาง วัฒนธรรมของอารยธรรมที่แตกต่างกัน” ระหว่างชนชาติต่างๆ โลกทัศน์ 2 แบบที่ถูกน�ำมาเปรียบ เทียบกัน ได้แก่ แบบจ�ำลองพีระมิด และแบบจ�ำลองแพนเค้ก ที่ผู้เขียนน�ำเสนอไว้ในบทนี้จะช่วยให้ ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของวัฒนธรรมทั้งสองประเภทผ่านภาพอุปมา ทั้งรูปทรง โครงสร้าง เนื้อหา ประโยชน์ และความเป็นสากล ขนมแพนเค้กนั้นเปรียบเสมือนภาพอุปมาของวัฒนธรรมแบบมีส่วน ร่วม ซึ่งมีนัยที่สื่อถึงความเป็นประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับสังคมหรือชาตินั้นๆ
  • 5. 5บทน�ำ ผู้คนทั่วโลกรับประทานแพนเค้กได้ทั้งในชีวิตประจ�ำวันละในเทศกาลพิเศษ แพนเค้กเป็นทั้งอาหาร ตามข้างถนน (street-food) ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยสามารถซื้อรับประทานได้ง่าย เป็นอาหารของคน ท�ำงานที่ใช้แรงงาน (working-class food) แต่ในเวลาเดียวกัน แพนเค้กก็ยังจัดได้ว่าเป็นอาหารเย็นที่ ประณีตและมีรสชาติเอร็ดอร่อย (fine-dining) (Ken Albala, 2008) ดังนั้น ลักษณะของความเป็นสากล ที่ท�ำให้คนทั่วไปในชาติต่างๆ ทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมอาหารได้จึงท�ำให้แพนเค้ก เป็นภาพอุปมาที่ชัดเจนของ “การมีส่วนร่วม” ในขณะที่แบบจ�ำลองรูปทรงพีระมิดเป็นลักษณะที่ ประกอบขึ้นจากการท�ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (standardization) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะท�ำนาย ผลลัพธ์และควบคุม และเป็นความเชื่อในเรื่องของความขาดแคลนหายากที่จะช่วยเชิดชูเรื่องการ แข่งขัน เพราะการแข่งขันเป็นหลักการสูงสุดที่จะท�ำให้สังคมก้าวหน้าและเติบโตและเคลื่อนที่ไป ผู้เขียนได้ชี้ถึงลักษณะของ “วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม” หรือ “วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก” ปัจจัยสนับสนุน ให้เกิด “วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม” หรือ “วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก” และสรุปความเป็นพหุลักษณ์ ของวัฒนธรรมแบบแพนเค้กไว้ 10 ประการ ก่อนจะจ�ำกัดความหมายวัฒนธรรมแพนเค้กส�ำหรับน�ำ ไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป บทที่ 4 แนวคิดเรื่องการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) นั้นบางครั้งดูเป็นเสมือน เพียงจุดหมายในฝันหรือความเป็นจริงที่ไม่มีวันเอื้อมถึง หากพิเคราะห์ถึงองค์ประกอบส�ำคัญในแนวคิด ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมประชาธิปไตย ในบทนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาและน�ำเสนอ ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแนวคิดส�ำคัญที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง “การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย” ได้แก่ แนวคิดเรื่อง เสรีภาพกับอ�ำนาจ แนวคิดเรื่องเสรีภาพของปัจเจกบุคคล แนวคิดเรื่องรูปแบบเสรีประชาธิปไตยและ ผู้น�ำ แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แนวคิดเรื่องสภาวะของการเปลี่ยนผ่าน กับชนชั้น แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน และแนวคิดเรื่องการศึกษากับสังคม ที่เคารพความแตกต่าง ต่อจากนั้นผู้เขียนได้พิจารณาถึงปัจจัยและองค์ประกอบส�ำคัญของ “การ ท�ำให้เป็นประชาธิปไตย” จากหลักฐานทางวรรณกรรมจ�ำนวนมากที่เสนอโดยเหล่านักวิชาการซึ่ง สะท้อนถึงความจ�ำเป็นที่สังคมหรือชาติซึ่งต้องการประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้องพัฒนาให้องค์ประกอบ “ประชาธิปไตย” เหล่านี้มีความเข้มแข็ง ได้แก่ องค์ประกอบดังต่อไปนี้ การบริหารแบบมีส่วนร่วมและ ความเสมอภาค วัฒนธรรมพลเมืองและคุณค่าของความไว้วางใจ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการ ศึกษา ทุนนิยมและความมั่นคง การลดระยะห่างของอ�ำนาจในสังคม ประชากรที่คล้ายคลึงกันและ ประสบการณ์ทางประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ทฤษฎี “The Resource Curse Theory” และการพัฒนามนุษย์ ต่อจากนั้น ผู้เขียนได้นิยามความหมายการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยส�ำหรับน�ำ ไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป บทที่ 5 ผู้เขียนต้องการเสนอให้ผู้อ่านเกิดความตระหนักถึงความส�ำคัญของมิติทางวัฒนธรรม มิติหนึ่งที่เสนอโดยนักวิชาการด้านวัฒนธรรมจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะ เกียร์ ฮอฟสตีด (Geert Hof-
  • 6. 6 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย stede, 1987, 2005) รอบบินส์ (Robbins, 2004) และเฮ้าส์ (House, 2004) นั่นคือ “ระยะห่างของ อ�ำนาจ” (power of distance) ซึ่งเป็นมิติวัฒนธรรมทางสังคมที่ผู้เขียนได้น�ำมาใช้เป็นหลักในการศึกษา ครั้งนี้ โดย “ระยะห่างของอ�ำนาจ” จะสามารถสะท้อนลักษณะของวัฒนธรรมอ�ำนาจในสังคมไทยซึ่งมี รากฐานมาจากบริบททางสังคมไทยใน 4 มิติ อันส่งผลต่อไปยังวัฒนธรรมการเมืองได้ การที่ลักษณะ วัฒนธรรมการเมืองของไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากวัฒนธรรมทางสังคมของไทยที่ห่อหุ้มอยู่ เป็น ปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตย ผลลัพธ์ที่ได้จากระดับการรับ รู้ของประชาชนที่มีต่อเรื่องระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมทั้ง 3 ระดับจะเป็นเครื่องสะท้อนว่าสังคมไทย มีวัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม (วัฒนธรรมแบบพีระมิด) ที่กีดขวางการจรรโลงประชาธิปไตย หรือว่ามี วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม (วัฒนธรรมแบบแพนเค้ก) ที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่เข้ม แข็ง ดังนั้น นอกจากความหมายที่นักวิชาการได้นิยามถึงระยะห่างของอ�ำนาจในสังคมแล้ว ผู้เขียนได้ น�ำเสนอให้เห็นว่า ระยะห่างของอ�ำนาจสามารถกีดขวางหรือสนับสนุนการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย ในสังคมหรือชาติหนึ่งได้อย่างไร โดยเฉพาะการที่ระยะห่างของอ�ำนาจกลายเป็นอุปสรรคที่กีดขวาง การจรรโลงประชาธิปไตยในสังคมไทยผ่านวิธีการต่างๆ ได้แก่ การมีวัฒนธรรมการเมืองแบบอ�ำนาจ นิยม การครอบง�ำของโมเดลเอเชียตะวันออก และลักษณะค่านิยมและความเชื่อทางการเมืองใน สังคมไทย ผู้เขียนยังได้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมพีระมิดสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการนิยมอ�ำนาจและ การมีระยะห่างในสังคมของไทยในลักษณะต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง อาทิ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่ เป็นเครื่องมือในการแสวงประโยชน์ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่เป็นโครงสร้างและกฎเหล็กของผู้มี อ�ำนาจ วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่ส่งเสริมระยะห่างของอ�ำนาจในสังคม วัฒนธรรมพีระมิดในฐานะ ที่มีพลังในการต่อสู้กับวัฒนธรรมประชาธิปไตย และวัฒนธรรมพีระมิดในฐานะที่สะท้อนระยะห่าง ของพลังอ�ำนาจรัฐกับพลังอ�ำนาจเงิน ต่อจากนั้นผู้เขียนได้ประมวลสรุปลักษณะวัฒนธรรมพีระมิดที่ เด่นชัดในสังคมไทยจากข้อเสนอที่พ้องกันของนักวิชาการไทย และชี้ให้เห็นหลักฐานต่างๆ ที่เป็นการ ศึกษามิติ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่สัมพันธ์กับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยจากประสบการณ์ของ ชาติต่างๆ อาทิ ชาติที่มีระยะห่างของอ�ำนาจสูง ทั้งประเทศจีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม และคิวบา รัฐบาลของประเทศเหล่านี้มีรูปแบบการบริหารที่เน้นเรื่องระดับของสถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันอย่าง รุนแรง หรือชาติที่มีระยะห่างของอ�ำนาจต�่ำ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรีย เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ อิสราเอล และนิวซีแลนด์ ซึ่งประชาชนคาดหวังและให้การยอมรับว่าวัฒนธรรมทางสังคมของตน มีความเป็นประชาธิปไตยและมีการปรึกษาหารือกันแบบมีส่วนร่วม ต่อจากนั้นผู้เขียนได้นิยามความ หมายระยะห่างของอ�ำนาจส�ำหรับน�ำไปใช้ในการศึกษาในภาคปฏิบัติต่อไป บทที่ 6 ผู้เขียนได้น�ำเสนอผลจากการศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมทางสังคมของไทยว่าเป็น วัฒนธรรมแบบอ�ำนาจนิยม หรือวัฒนธรรมพีระมิดที่กีดขวางการจรรโลงประชาธิปไตยตามข้อสมมติ หรือไม่ อย่างไร โดยน�ำเสนอผลการรับรู้วัฒนธรรมพีระมิด 3 ระดับ ที่ได้จากข้อค้นพบเชิงประจักษ์
  • 7. 7บทน�ำ ได้แก่ วัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในระดับทั่วไปในสังคม ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่ ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก พ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียนหรือลูกศิษย์กับอาจารย์ วัฒนธรรม อ�ำนาจนิยมในระดับองค์การหรือสถานที่ท�ำงาน ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่ใน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือหัวหน้ากับลูกน้อง ในองค์การ และ วัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในระดับรัฐหรือระดับการเมือง ซึ่งเป็นการศึกษา “ระยะ ห่างของอ�ำนาจ” ที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำรัฐบาลกับประชาชนในรัฐ ชนชั้นที่ปกครองกับ ชนชั้นที่ถูกปกครอง ซึ่งอยู่ในการรับรู้ของประชาชนทั้ง 13 กลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามข้อสมมติของ ผู้เขียนคือ วัฒนธรรมทางสังคมของไทยมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิด เนื่องจากระยะห่างของอ�ำนาจที่ส�ำรวจได้ทั้ง 3 ระดับอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง นอกจากนี้ ผู้เขียน ยังพบสาเหตุของวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมในสังคมไทยจากหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งสอดคล้องตามข้อ เสนอของหลักฐานที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมในภาคทฤษฎี บทที่ 7 จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผู้เขียนรวบรวมได้น�ำมาสู่ข้อค้นพบถึงสภาวะการท�ำให้ เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยที่สัมพันธ์กับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ทั้ง 3 ระดับค่อนข้างสูง ท�ำให้ สภาวะการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่เข้มแข็ง จากการส�ำรวจการรับรู้ ของประชาชนจึงน�ำมาสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับความอ่อนแอทางประชาธิปไตยของสังคมไทยในประเด็นต่างๆ ซึ่งผู้เขียนได้น�ำเสนอไว้ในบทที่ 7 ดังต่อไปนี้ ได้แก่ การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของ ประชาชน อ�ำนาจนิยมกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย ความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความ มีธรรมาภิบาลในสังคม ความก้าวหน้าทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ส�ำรวจ ได้ยังท�ำให้ผู้เขียนสามารถประมวลอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่ขัดขวางการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของ สังคมไทยไว้ในบทนี้ด้วย ได้แก่ อุปสรรคเกี่ยวกับปัจจัยคุณภาพการศึกษา การคอร์รัปชัน การที่ผู้น�ำ หรือผู้มีอ�ำนาจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว การที่สื่อมวลชนขาดความมีอิสระ ความไม่เสมอภาคทาง สังคม การขาดหลักการประชาธิปไตย ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม และการที่เศรษฐกิจไม่ก้าวหน้า ซึ่งประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ อาทิ กลุ่มข้าราชการการเมือง กลุ่มข้าราชการประจ�ำ กลุ่มพนักงาน รัฐวิสาหกิจ กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ กลุ่มเจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเอกชน กลุ่มผู้มีอาชีพ รับจ้างและกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาและกลุ่มนักสื่อสารมวลชน ได้ให้ทัศนะเกี่ยว กับวัฒนธรรมทางสังคมของไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของไทยไว้อย่างน่า สนใจตามประสบการณ์การรับรู้วัฒนธรรมพีระมิดในสังคมไทยของประชาชนแต่ละกลุ่มอาชีพ บทที่ 8 ผู้เขียนได้เสนอแนวทางที่ได้จากการสังเคราะห์ทฤษฎีที่ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ ของการที่สังคมไทยจะมุ่งหน้าจากสังคมที่มีระยะห่างของอ�ำนาจไปสู่สังคมที่มีความเข้มแข็งทาง ประชาธิปไตย พร้อมกับหลักฐานเชิงประจักษ์และหลักฐานทางทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยนั้นเป็น
  • 8. 8 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย สังคมที่ก�ำลังดิ้นรนฟันฝ่าจากวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมหรือวัฒนธรรมพีระมิดไปสู่สังคมที่มีวัฒนธรรมของ การมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรมแพนเค้กด้วยสภาวะความยากล�ำบากอย่างไร อุปสรรคในมิติด้านต่างๆ ได้แก่อะไรบ้าง และมาตรการที่เป็นทางออกหรือวัฒนธรรมแพนเค้กซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ นั้นจะได้มาด้วยแนวทางอย่างไร ในบทนี้ผู้เขียนเสนอถึงองค์ประกอบที่ส�ำคัญในด้านต่างๆ ที่จะช่วย สนับสนุนวัฒนธรรมแพนเค้ก ได้แก่ ด้านบทบาทของรัฐและผู้น�ำรัฐบาลที่มีความเป็นประชาธิปไตย ด้านวัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยและด้านสิทธิเสรีภาพ ของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประชาธิปไตยนอกจากมาตรการที่เป็นทางออกแล้ว ผู้เขียนได้ประมวลตัวชี้วัดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคมไทยในทุกระดับ และทุกมิติไว้ในบทนี้ด้วย บทส่งท้ายข้อเสนอส�ำหรับวงวิชาการในหนังสือเล่มนี้เป็นการส่งเสริมแนวคิดการปรับ เปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับโลกซึ่งก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงด้วยด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ “สังคม-เทคโนโลยี-เศรษฐกิจ” และบริบทของสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนผ่านจากสังคมอ�ำนาจ นิยมที่มีระยะห่างของอ�ำนาจสูงอย่างสังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้องอาศัยการปรับ เปลี่ยนวัฒนธรรมจากวัฒนธรรมอ�ำนาจแบบพีระมิดไปสู่วัฒนธรรมความร่วมมือแบบแพนเค้ก การ เปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เชื่อมโยงไปถึงสังคมที่ให้อ�ำนาจกับประชาชนซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีการ สนทนาติดต่อกับเครือข่ายของเพื่อนในสังคมมากยิ่งขึ้น มีการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อื่น มากขึ้น มีการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของความคิด และเป็นสังคมที่มีโครงสร้างการ กระจายอ�ำนาจผสมผสานมากยิ่งขึ้นในแบบของสังคมเสรีประชาธิปไตย ผู้เขียนได้สรุปบทเรียนและ การศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต โดยสรุปข้อเสนอในบทส่งท้ายนี้ว่า วัฒนธรรมอย่างใหม่ที่จะเข้ามา แทนที่วัฒนธรรมพีระมิดอยู่ในแบบจ�ำลองหรือภาพอุปมาของขนมแพนเค้กซึ่งกระจายเสรีภาพและ ความเสมอภาคออกไปสู่ประชาชนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน การท�ำให้เป็นประชาธิปไตยของสังคม ไทยอาจจ�ำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าการแข่งขันก็เป็นได้ ผลงานเขียนชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดพิมพ์และการศึกษาวิจัย โดยเป็นโครงการร่วม อยู่ในโครงการของ ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย (Thailand Democracy Watch) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนได้รับความสนับสนุนอย่างดียิ่งจากศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เป็นทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและ เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญในการเรียนรู้อย่างแท้จริงของผู้เขียน กรุณาให้ค�ำปรึกษาและกรุณารับ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน รวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผู้อ�ำนวยการศูนย์การวิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา ภาควิชา
  • 9. 9บทน�ำ รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาให้ค�ำปรึกษาและกรุณารับเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน รองศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ เสงี่ยมพงษ์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณารับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านรวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับ หนังสือเล่มนี้ รองศาสตราจารย์วันชัย มีชาติ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กรุณารับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านรวมทั้งกรุณาเขียนค�ำนิยมให้กับหนังสือเล่มนี้ รองศาสตราจารย์สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้อ�ำนวยการโครงการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทยในการ อ�ำนวยการโครงการ ซึ่งผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านคณาจารย์เป็นอย่างสูง ตลอดเจ้าหน้าที่โครงการ ศูนย์เฝ้าติดตามประชาธิปไตยไทย คุณจิรายุ ชาญเลขา คุณจิราภรณ์ ด�ำจันทร์ และคุณบุรฉัตร พานธงรักษ์ ที่ประสานงานในการร่วมโครงการและในการจัดท�ำหนังสืออย่างดียิ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลเชิง ประจักษ์ที่ส�ำรวจได้จากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งในการเก็บรวบรวม ข้อมูลภาคสนามจากคุณยุพา คงสวัสดิ์พร และคุณจาพิกรณ์ เผือกโสภา รวมทั้งความอนุเคราะห์ใน การประสานข้อมูลจากคุณสาโรช เลขะวัฒนะ และคุณนิรมล มหิตพงษ์ รวมทั้งกัลยาณมิตรอีกหลาย ท่านที่มิได้เอ่ยนาม กระทั่งหนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี ส�ำหรับการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ผู้เขียนได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิต รุจิวโรดม กรรมการผู้อ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ รองผู้อ�ำนวยการ คุณวาสนา ซ�ำเซ็น ผู้ประสานโครงการ ตลอดจนกอง บรรณาธิการจัดท�ำต้นฉบับ คุณกนิษฐา กิตติคุณ และคุณปุญญิสา บุญเปี่ยม ที่ช่วยตรวจสอบให้ หนังสือเล่มนี้มีความถูกต้องสมบูรณ์ และคุณวัชรวีร์ อาสาสุ ที่ช่วยออกแบบให้หนังสือเล่มนี้มีความ สวยงาม ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ผู้เขียนมีความคาดหวังส่วนตัวว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านซึ่งสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับ การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในมิติด้านวัฒนธรรม ตลอดจนผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องวัฒนธรรม ในสังคมไทย ได้มีมุมมองใหม่และมีความเข้าใจในเรื่องการท�ำให้เป็นประชาธิปไตยผ่านมิติ ทาง วัฒนธรรมเกี่ยวกับ “ระยะห่างของอ�ำนาจ” ในสังคมหรือ “วัฒนธรรมอ�ำนาจ” รวมทั้งมีความเข้าใจที่ ลึกซึ้งขึ้นถึงแบบแผนวัฒนธรรมของสังคมไทยที่ตนเองอาศัยอยู่ในมิติที่หลากหลาย ประการส�ำคัญคือ เกิดความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านของสังคมหนึ่งจากวัฒนธรรมพีระมิดในโลกทัศน์แบบเดิมที่ให้คุณค่า กับการมีอ�ำนาจไปสู่วัฒนธรรมแพนเค้กในโลกทัศน์แบบใหม่ของศตวรรษนี้ที่ให้คุณค่ากับความเท่า เทียมกัน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การท�ำให้เป็นประชาธิปไตย อย่างแท้จริง
  • 10. 10 วัฒนธรรมพีระมิดกับการท�ำให้เป็นประชาธิปไตย บรรณานุกรมท้ายบทน�ำ Albala, K. (2008). Pancake: A Global History. London: Reaktion Books, Ltd. Green, J. (2010). “Engaging with the Future Differently From Scarcity to Abundance.” The Abstract Book of Peter Drucker Forum (November, 2010). Hofstede, G. H. (1987). Culture’s Consequences: International Differences in Work-Related Values. Beverly Hills: Sage Pub. Hofstede, G. H. and Hofstede, G. J. (2005). Cultures and Organizations: Software of the Mind.New York: McGraw-Hill. House, R. J. (2004). Culture, Leadership, and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies. California: Sage Publications. Lewis, M. (2002). Next: The Future Just Happened. New York: W. W. Norton & Company, Inc. Robbins, S. P. (2004). Organisational Behaviour: Global and Southern African Perspectives. South Africa: Prentice-Hall.