SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
1
	 สรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีพิษ แม้แต่น�้ำเปล่าหรือน�้ำบริสุทธิ์ก็เป็นพิษได้ หากได้รับเข้า         
สู่ร่างกายในปริมาณมากภายในช่วงเวลาสั้น จนเกิดภาวะน�้ำเกิน (water overload) และภาวะน�้ำ             
เป็นพิษ (water intoxication) อาจเป็นผลจากการรักษาด้วยการให้สารน�้ำทางหลอดเลือดมากไป             
การดื่มน�้ำแทนกินอาหารเพื่อลดความอ้วน การดื่มน�้ำเพื่อล้างสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายตามความเชื่อ
หรือความงมงาย เช่นที่เคยเป็นข่าว “น�้ำมนต์มรณะไล่ผี ฝาแฝดตาย 1 สาหัส 1 เมื่อคืนวันที่ 5 ตุลาคม
พ.ศ. 2556 ชายอายุ 16 ปี ชาวหาดใหญ่เสียชีวิตในช่วงปฏิบัติธรรมถือศีลกินเจกับญาติที่บ้านพัก              
ในเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา แฝดผู้พี่อาการสาหัส เมื่อฟื้นได้เล่าให้พ่อฟังว่า น้องชายพยายามดื่ม        
น�้ำมนต์ปริมาณ 18 ลิตรให้หมดภายในวันเดียวเพื่อไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายตามที่
ร่างทรงบอก แพทย์ลงความเห็น เสียชีวิตจากน�้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลว และสมองบวม” หรือเป็น        
ผลจากการถูกบังคับให้ดื่ม ตามที่เคยเป็นข่าว “เมื่อ พ.ศ. 2550 นักเรียนเตรียมทหารปี 2 หลับยาม          
โดนรุ่นพี่ปี 3 ลงโทษ ด้วยการให้ดื่มน�้ำหลายสิบลิตรอย่างต่อเนื่อง จนอุจจาระ-ปัสสาวะราด มีเลือด       
ปนน�้ำไหลออกทางปากและจมูก และเสียชีวิตจากภาวะน�้ำท่วมปอดและหัวใจวาย”
	 ฟิลิปปัส (Philippus von Hohenheim) แพทย์ชาวเยอรมัน-สวิส ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดา     
แห่งพิษวิทยา (toxicology) กล่าวว่า “All things are poison and nothing is without poison;
only the dose makes that a thing is no poison.” หรือ “ทุกสิ่งมีพิษ ขึ้นกับขนาดหรือปริมาณ
ที่ร่างกายได้รับ” หากพิจารณาในกรณีน�้ำเป็นพิษ ความเป็นพิษยังขึ้นกับวิถีหรือรูปแบบการรับสาร       
และระยะเวลาของการได้รับสารเข้าสู่ร่างกายด้วยสารปลอดภัยอย่างน�้ำเปล่า หากได้รับในปริมาณมาก
ภายในเวลาสั้นโดยเฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีปริมาณในร่างกายเกินความต้องการของร่างกาย
กรณีกินเข้าไป จะอาเจียนเพื่อขับทิ้งสารปริมาณส่วนเกินออก ร่างกายจะพยายามขับสารส่วนเกินทิ้ง
ทางปัสสาวะ อุจจาระ เหงื่อ และสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ แต่หากยังคงได้รับเข้าสู่ร่างกายต่อไป ปริมาณสาร
จะเกินกว่าขีดความสามารถที่ร่างกายทนรับ (threshold) หรือปรับแก้ (compensate) ได้ และเกิด
ความผิดปกติของร่างกายหรือความเป็นพิษ52, 84, 155, 343
สารที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือพิษกับร่างกายอาจ
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้ (ภาพที่ 1-1)
บทที่
สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้
2
ภาพที่ 1-1 สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้
สารอันตราย82, 340
	 สารบางชนิดเป็นสารอันตราย (hazardous chemical) ก่ออันตรายกับร่างกายทางอ้อม              
โดยท�ำให้สภาพแวดล้อมนอกร่างกายเป็นอันตราย เช่น การติดไฟง่าย (flammable) ท�ำให้เกิดเพลิง
ไหม้หรือระเบิด การแขวนลอยในอากาศก่อให้เกิดหมอกควัน (smog) หนาจนมองไม่เห็นและเกิด
อุบัติเหตุ การไวต่อปฏิกิริยา (highly reactive) กับสารอื่นโดยเฉพาะออกซิเจนและน�้ำในสิ่งแวดล้อม
จนเกิดประกายไฟหรือสารพิษ การแทนที่ออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไปจนก่อให้เกิดภาวะขาด
อากาศหรือขาดออกซิเจน (asphyxia, suffocation) การท�ำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ จนมีรังสี             
ยูวีซี (ultraviolet C, UV-C) ผ่านลงมากระทบร่างกาย การก่อชั้นแก๊สหนาในบรรยากาศปิดกั้นการ
ระเหยความร้อนจากผิวโลก จนเกิดภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวนและน�้ำท่วม ตัวอย่างสารอันตราย
เช่น แก๊สธรรมชาติที่พบในถังแก๊สในครัวเรือนหรือในรถ [LPG, NGV, CNG) หรือแก๊สชีวภาพที่ได้          
จากการหมักมูลสัตว์ สามารถติดไฟง่าย หากถูกประกายไฟจะเกิดไฟไหม้หรือระเบิด หากรั่วเข้าสู่
บรรยากาศ จะแทนที่ออกซิเจนในอากาศ ท�ำให้ผู้ที่หายใจเข้าไปเกิดภาวะขาดออกซิเจน สารบางชนิด
เป็นทั้งสารพิษและสารอันตราย เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide, SO2) ในบรรยากาศ  
เป็นสารอันตราย เมื่อถูกน�้ำฝนจะกลายเป็นฝนกรด (acid rain) มีฤทธิ์กัดกร่อน และเป็นสารพิษ             
เมื่อหายใจเข้าไปจะไปแย่งที่ออกซิเจนจับกับเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ก่อให้เกิดภาวะขาด         
ออกซิเจน ดินปืนหรือดินประสิวในพลุหรือดอกไม้ไฟเป็นสารอันตราย ติดไฟง่าย หากถูกประกายไฟ  
จะเกิดการระเบิด และเป็นสารพิษหากน�ำไปใส่ในอาหารจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ เขม่าหรือควันไฟจาก  
สภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
สารก่อภูมิแพ้
สารพิษ
สารอันตราย
เซลล์ทำ�งานผิดปกติ เซลล์ตาย
เซลล์มะเร็ง
เซลล์กลายพันธ์ุ
เมแทบอไลต์
สารอนุมูลอิสระ สาร
3
การเผาป่า เผาหญ้า เผาขยะ หรือจากการระเบิดของภูเขาไฟ เป็นสารอันตราย ผงถ่านในควันจะ
แขวนลอยในอากาศ บดบังการมองเห็นจนเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกและทางอากาศ และใน        
ควันมีสารพิษก่อระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ ฯลฯ
สารพิษ84, 140, 155, 340, 343
	
	 สารพิษ (poison, toxic substance) คือ สารที่ร่างกายสัมผัสหรือได้รับเข้าไปแล้วไปท�ำลาย
หรือท�ำปฏิกิริยากับสารชีวโมเลกุลหรือส่วนประกอบของเซลล์ ท�ำให้เซลล์ตาย เซลล์หยุดการแบ่งตัว            
เพิ่มจ�ำนวน เซลล์แบ่งตัวมากเกินไปจนเป็นมะเร็ง หรือท�ำให้เซลล์ท�ำงานผิดปกติ ท�ำงานมากผิดปกติ
จะน�ำไปสู่การล้าและการตายของเซลล์ ท�ำงานน้อยผิดปกติหรือไม่สามารถท�ำงานได้ จะท�ำให้เซลล์        
ขาดปัจจัยจ�ำเป็นต่อการอยู่รอด จนเซลล์ตาย การตายของเซลล์จากพิษของสารจะเป็นแบบนีโครซิส
(necrosis) ซึ่งจะชักน�ำระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ให้ตอบสนอง ท�ำให้เกิดการอักเสบ
(inflammation) และการท�ำลายเนื้อเยื่อในระบบหรืออวัยวะนั้น จนเกิดอาการเจ็บปวด (pain)        
เนื้อเยื่อแดง (erythema) ร้อนและบวมน�้ำ (swelling, edema) ผลของสารพิษต่อการท�ำงานหรือ       
การอยู่รอดของเซลล์ในระบบหรืออวัยวะหนึ่ง จะส่งผลต่อการท�ำงานและการอยู่รอดของระบบหรือ
อวัยวะอื่น เช่น การท�ำลายปอด จะท�ำให้อวัยวะอื่นได้รับออกซิเจนลดลง จนเกิดภาวะขาดออกซิเจน  
มีปริมาณออกซิเจนในเลือดน้อย (hypoxia) เกิดภาวะตัวเขียวคล�้ำ (cyanosis)
สารก่อภูมิแพ้11, 149, 226
	
	 ความเป็นพิษจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายมากหรือไวเกินไปต่อสารปริมาณน้อย
เรียกว่า ภาวะแพ้สาร (allergy) หรือภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะบางคนหรือ        
บางครอบครัว มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic) จะไม่ปรากฏอาการหรือเกิดพิษใน
การรับหรือสัมผัสสารในครั้งแรก จะปรากฎอาการแพ้สารเมื่อได้รับหรือสัมผัสสารในครั้งถัดไป  ซึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่สามารถคาดได้ แต่เมื่อมีประวัติเคยแพ้สารใดแล้ว ต้องป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัส        
หรือรับสารนั้นเข้าสู่ร่างกาย เช่น จดจ�ำชื่อยาที่แพ้ งดกินอาหารที่แพ้ เลิกใช้เครื่องส�ำอางที่แพ้ ความ
รุนแรงของภาวะแพ้สารไม่สัมพันธ์กับปริมาณสารที่สัมผัสหรือได้รับเข้าสู่ร่างกาย แต่ขึ้นกับตัวบุคคล
หรือลักษณะทางพันธุกรรม บางคนมีอาการแพ้เล็กน้อย บางคนมีอาการแพ้รุนแรง ซึ่งในกรณีที่รุนแรง
หากได้รับการรักษาล่าช้าอาจท�ำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังเช่นที่เคยเป็นข่าว “เมื่อ พ.ศ. 2548                     
ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ร้องศาลจังหวัดนนทบุรีให้ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าเสียหาย  
จากการที่แพทย์ของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งฉีดยารักษาอาการไข้หวัดให้ แล้วต่อมาเกิดภาวะ           
แพ้ยากลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน (Steven Johnson syndrome) มีการอักเสบของผิวหนัง เยื่อบุ
4
และดวงตา จนตาทั้ง 2 ข้างเกือบบอด” และข่าว “ดาวตลกท่านหนึ่งมีภาวะภูมิแพ้หอบหืด ถูกส่ง         
ถึงโรงพยาบาลช้า ท�ำให้สมองขาดออกซิเจน กลายเป็นเจ้าชายนิทรา ฯลฯ สารที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิแพ้
เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจมีผลให้เกิดอาการบริเวณที่สัมผัสหรือได้รับสาร (local)           
เช่น ผื่นแพ้สายนาฬิกา หรืออาจเกิดขึ้นกับเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่น (systemic) เช่น กินยาหรืออาหาร         
ที่แพ้ แล้วเกิดอาการที่ผิวหนังและทางเดินหายใจ ท�ำให้เกิดผื่นลมพิษหรือเห่อ (urticaria) หายใจ            
ไม่ออก หอบหืด
	 ภาวะภูมิแพ้หรือภูมิไวเกินแบ่งเป็น 4 แบบ คือ แบบ 1 แบบเฉียบพลัน (immediate/
anaphylactic type) เป็นภาวะภูมิแพ้ที่พบบ่อยและบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ปรากฏอาการ         
ทันทีหลังสัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย อาการอาจเป็นเพียงผื่นคัน ผื่นลมพิษ คันตาและจมูก            
หรือมีอาการรุนแรง ใบหน้าบวม หลอดลมหดตัวและมีเมือกมากจนอากาศผ่านเข้า-ออกไม่ได้ หายใจ
ล�ำบาก หายใจมีเสียงหวีด (wheeze) หรือหอบหืด (asthma) ผนังหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis,
angioedema) หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดต�่ำ ช็อกจากภาวะแพ้ (anaphylactic shock) และ
เสียชีวิต สารก่อภูมิแพ้แบบ 1 ที่มีรายงาน ได้แก่ อาหาร อากาศหรือฝุ่นละอองเกสร แมลงกัด-ต่อย
เป็นต้น ภาวะภูมิไวเกินแบบ 2 แบบพิษต่อเซลล์ (cytotoxic type) ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารภูมิคุ้มกัน
หรือแอนติบอดี (antibody) จากการถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ แล้วแอนติบอดีที่สร้างขึ้นไปท�ำลาย
เซลล์ของร่างกาย เช่น แพ้ยาเพนิซิลลิน (penicillin) ท�ำให้มีแอนติบอดีไปจับท�ำลายเม็ดเลือดแดง
(immunemediated hemolysis) ภาวะภูมิไวเกินแบบ 3แบบพิษจากสารเชิงซ้อนของแอนติเจนและ
แอนติบอดี (immune complex mediated type) ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีไปจับกับสาร         
ก่อภูมิแพ้ ได้สารเชิงซ้อนที่ละลายในกระแสเลือดและไหลเวียนไปเกาะติดเนื้อเยื่อ แล้วชักน�ำให้เกิด      
การอักเสบของเนื้อเยื่อที่สารเชิงซ้อนไปเกาะติด เช่น แพ้สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส
(streptococcus)แล้วเกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูรัสในไต(glomeru-lonephritis)  
ภูมิไวเกินแบบ 4 แบบล่าช้า (delayed type hypersensitivity, DTH) ก่อให้เกิดอาการหลังสัมผัสสาร
ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่ออาการเฉพาะที่ผิวหนังบริเวณสัมผัส ท�ำให้ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส          
กับสารก่อภูมิแพ้หรือผื่นภูมิแพ้ (allergic contact dermatitis) เป็นผื่นแดงคัน ผื่นพุพอง ตุ่มน�้ำใส      
ผิวลอก หรือแผลอักเสบ
วิถีการได้รับสาร84, 140, 155, 343
	 สารเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง สารที่สัมผัสกับผิวหนังหากสามารถละลายในไขมันได้ดีหรือ      
มีโมเลกุลเล็ก จะแพร่ผ่านผิวหนังชั้นนอกหรือหนังก�ำพร้า (epidermis) เข้าไปถึงผิวหนังชั้นในหรือ       
หนังแท้ (dermis) และผ่านหลอดเลือดในชั้นหนังแท้เข้าสู่กระแสเลือด ผิวหนังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
เช่น ถูกข่วนหรือเกา (scratch) ถูไถหรือถลอก (abrasion) กัด (bite) ต่อย (sting) บาดหรือตัด (cut,
5
incise) แทง (puncture, stab) ไฟหรือของร้อนลวก (burn) จะท�ำให้สารผ่านเข้าไปได้ง่ายขึ้น แก๊ส
สารระเหย หรืออนุภาคขนาดเล็ก ผ่านเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ การดื่ม-กินเป็นอีกวิถีที่สารเข้าสู่
ร่างกายบ่อย วิถีการเข้าสู่ร่างกายของสารอื่น ๆ เช่น การฉีดเข้าหลอดเลือด การสอดใส่หรือฝังเข้าไป      
ในร่างกาย การปนเปื้อนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา (needle) สายยางให้อาหารทาง       
จมูก (nasogastric tube) ท่อสวนปัสสาวะ (urinary catheter) สารพิษอาจปนเปื้อนในอาหารเหลว
หรือสารน�้ำหรือยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือด (IV, intravenous) เป็นต้น สารอาจเป็นส่วนประกอบหรือสาร           
ปนเปื้อนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดใส่หรือฝังในร่างกาย การฉีดสารเข้าสู่กระแสเลือดจะท�ำให้
ร่างกายได้สารปริมาณมากและเฉียบพลัน การผ่านของสารจากการฝังหรือสอดใส่เข้าไปในร่างกาย        
จะท�ำให้มีสารซึมออกไปก่อพิษอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง
	 การกินหรือดื่มสารอาจอยู่ในรูปสารพิษ เช่น ดื่มยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าตัวตาย หรือในรูปการ             
ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารก�ำจัดแมลงที่ปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ สารที่ปนเปื้อนในอาหาร
อาจมาจากภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร เช่น พธาเลต (phthalate) จากกล่องโฟมหรือจานพลาสติก
ตะกั่วจากหม้อลวกก๋วยเตี๋ยว การกินหรือดื่ม หากท�ำอย่างรวดเร็ว ขณะตกใจ หรือถูกป้อนให้กินหรือ
ดื่มขณะไม่รู้สึกตัว การอาเจียนขณะไม่รู้สึกตัว อาจเกิดการส�ำลัก (choking, aspiration) ท�ำให้สาร          
ในปากตกเข้าไปและก่อพิษในทางเดินหายใจได้ ภายในปากมีเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เหงือก กระพุ้งแก้ม
เพดานปาก หากมีแผลฉีกขาดจากการถูกบาดหรือหลังถูกถอนฟัน บริเวณแผลเปิดนี้จะเป็นทางผ่าน
ของสารและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้ เช่น การใช้ปากที่มีแผลในช่องปากดูดพิษงูจากรอยแผล             
งูกัดของผู้อื่น ผู้ดูดพิษอาจได้รับพิษงูเข้าทางแผลในช่องปากได้ เป็นต้น ในโพรงจมูก (nare, nasal
cavity) และเพดานอ่อน (soft palate) ในล�ำคอมีเยื่อบุเชื่อมต่อกับฐานสมอง สารที่สูดดมหรือ           
หายใจเข้าไป หากระเหยง่าย โมเลกุลเล็ก หรือละลายในไขมันได้ดี เช่น นิโคตินในควันบุหรี่ โทลูอีน        
ในกาว จะแพร่ผ่านเยื่อบุนี้เข้าไปออกฤทธิ์และก่อพิษในสมองได้
เจตนากับการได้รับสารพิษ84, 140, 343
	 การได้รับพิษอาจเกิดขึ้นอย่างจงใจหรือเจตนา (intention) อย่างไม่รู้หรือไม่เจตนา (uninten-
tion) หรืออย่างรู้ว่ามีพิษแต่ต้องสัมผัสหรือรับเข้าสู่ร่างกายเพื่อประโยชน์บางประการ เช่น ยารักษา       
โรค หรือสารเคมีที่ต้องท�ำงานด้วย การรับสารเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เจตนา ไม่รู้ตัว หรือไม่รู้ว่ามีพิษหรือ                
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ พบมากในเด็กเล็ก ในผู้ใหญ่มักเกิดจากการถูกวางยาหรือฆาตกรรม (homicide)
อาชญากรรม (crime) การใช้เป็นอาวุธเคมีภัณฑ์ (chemical warfare) หรืออาวุธชีวภาพ (biological
warfare) และจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม การเจตนารับสารพิษ เช่น การกินเหล้า การสูบบุหรี่ การใช้       
สารเสพติด การกินยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าตัวตาย (suicide) การท�ำงานในเหมืองแร่ การท�ำงานกับ        
แอมโมเนียในการผลิตเครื่องท�ำความเย็น ฯลฯ การได้รับพิษอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจ�ำวัน จาก
6
การประกอบอาชีพ (occupation) จากสิ่งแวดล้อม จากอุบัติเหตุ (accident) หรือจากการก่อ
วินาศกรรม (terrorism) อาชญากรรม และสงคราม
การปกป้องตนเองจากสารพิษ84, 140, 343
	 แม้ว่าสารทุกชนิดสามารถก่อพิษได้ แต่การเกิดพิษไม่ได้เกิดขึ้นง่าย สารจ�ำนวนมากที่รับหรือ
สัมผัสในชีวิตประจ�ำวันไม่ก่อพิษ เพราะร่างกายมีระบบปกป้องตนเอง (self defense mechanism)
ตั้งแต่ผิวหนังส่วนนอกหรือหนังก�ำพร้าท�ำหน้าที่ป้องกันสารนอกร่างกายที่สัมผัสหรือจับต้องไม่ให้ผ่าน
เข้าสู่ร่างกาย กะโหลกศีรษะปกป้องเนื้อสมองไม่ให้สัมผัสกับสารภายนอก ขนจมูก เมือกหรือมูกใน      
โพรงจมูก และเซลล์ขนบุทางเดินหายใจ (ciliated respiratory epithelial cell) ช่วยดักจับและ          
โบกพัดฝุ่นผงหรือสารที่ไม่ละลายน�้ำให้ออกไปจากทางเดินหายใจ การไอหรือจามช่วยขจัดสารที่เข้าไป
ในทางเดินหายใจส่วนต้น หนังตาที่ปิดทันทีที่มีสารพุ่งหรือกระเด็นเข้าตา น�้ำตาช่วยหล่อลื่น เจือจาง
และขับสารออกจากดวงตา การอาเจียนหรือท้องเสียช่วยขจัดสารที่กินเข้าไป เป็นต้น
	 การปกป้องตนเองจากความเป็นพิษยังเกิดจากระบบประสาทรับความรู้สึกที่ถูกประมวลผลใน
สมองให้ต้องหลีกหนี เช่น หากได้กลิ่นเหม็นฉุน แสบตาแสบจมูก จะทนไม่ไหวและรีบเดินหนีหรือ           
ออกห่างจากบริเวณนั้น รสขมหรือเปรี้ยวจัด กินแล้วอาจแสบปาก คลื่นไส้ ปวดท้อง ท�ำให้ต้องหยุดกิน
หรือคายทิ้ง การกินหรือดื่มมากเกินไป จะท�ำให้รู้สึกอิ่ม เอียน หรือกลืนไม่ลง จนต้องหยุดกินหรือ      
อาเจียนส่วนเกินออก ดังเช่นที่พบบ่อยในการแข่งกินอาหาร ความเป็นพิษของสารยังเกิดจากการรับรู้
และจดจ�ำจากประสบการณ์หรือการบอกต่อ เช่น ควันบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด ส่วนที่ด�ำไหม้เกรียม
บนเนื้อย่างเป็นสารก่อมะเร็ง สลอดก่อให้เกิดอาการท้องเสีย หมามุ่ยท�ำให้คัน ฯลฯ ท�ำให้ป้องกัน      
ตนเองโดยการหลีกเลี่ยง ไม่รับหรือสัมผัสสารนั้น ซึ่งการป้องกันตนเองจากสารพิษโดยประสบการณ์
หรือการเรียนรู้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ในเด็กเล็กมีประสบการณ์และการเรียนรู้น้อย ท�ำให้เด็กเล็กเสี่ยง        
ต่อการได้รับพิษมากกว่าผู้ใหญ่
	 นอกจากการปกป้องตนเองของร่างกาย วิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท�ำให้            
มีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต การท�ำงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนอยู่หรือ         
ท�ำงานกับสารได้อย่างปลอดภัย เช่น โรงงานมีระบบระบายอากาศ ป้องกันพิษต่อคนงาน มีระบบ        
บ�ำบัดน�้ำเสียหรือขจัดสารพิษ ท�ำลายความเป็นพิษก่อนปล่อยออกนอกโรงงงานหรือเข้าสู่สิ่งแวดล้อม
การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรท�ำงานกับสารเคมีแทนคน การปฏิบัติตามวิธีการใช้สารอย่างปลอดภัย
หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ถุงมือ (glove) แว่นตา (goggle) หน้ากากหรือผ้าปิดปาก-จมูก      
(mask) เสื้อคลุม (gown) รองเท้าบูต (boot)
2
	 สารพิษต่างจากสารก่อภูมิแพ้ ความเป็นพิษของสารพิษเกิดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่สัมผัสหรือได้รับ
สารเข้าสู่ร่างกาย และก่อพิษกับทุกคนในลักษณะที่คล้ายกัน การเกิดพิษจากสารพิษจึงคาดเดาหรือ       
บ่งบอกได้ล่วงหน้า สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เช่น พิษจากการได้รับยาเกินขนาด (drug
overdose) พิษเหล้า พิษยาฆ่าแมลง พิษตะกั่ว ฯลฯ ในคนทั่วไป ความรุนแรงของอาการพิษขึ้นกับ
ปริมาณหรือขนาดของสารที่ได้รับในแต่ละครั้งเทียบกับขนาดและน�้ำหนักตัวของผู้ได้รับสาร โอกาส       
เกิดพิษและความรุนแรงของอาการพิษจะมากขึ้นในคนที่มีปัจจัยเสริมการเกิดพิษ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ
อักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง การขจัดสารพิษออกจากร่างกายจะลดลง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง การขับทิ้ง
สารพิษออกไปกับปัสสาวะจะลดลง ปัจจัยเสริมการเกิดพิษยังรวมถึงความบกพร่องทางพันธุกรรม       
เช่น มียีนสร้างเอนไซม์ขจัดสารพิษที่กลายพันธ์ุ ท�ำให้สร้างเอนไซม์ได้น้อย หรือสร้างเอนไซม์ที่สามารถ
ท�ำงานได้น้อย สารพิษจึงถูกขจัดออกจากร่างกายช้า1-6
ความเป็นพิษ84, 140, 155, 343
	 ความเป็นพิษอาจแบ่งตามระยะเวลาการปรากฏอาการหลังสัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย        
ซึ่งจะแบ่งเป็นการเกิดพิษแบบเฉียบพลัน (acute) ปรากฏอาการพิษทันทีหลังสัมผัสหรือได้รับสาร           
เข้าสู่ร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง การเกิดพิษแบบล่าช้า (delayed) อาการพิษปรากฏหลังสัมผัสหรือ         
ได้รับสารเข้าสู่ร่างกายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง สารบางชนิดก่อให้เกิดอาการพิษหลังสัมผัสหรือได้รับ        
สารเข้าสู่ร่างกายนานกว่า 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3 วัน อาจเรียกว่า การเกิดพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน
(subacute) อาจแบ่งตามระยะเวลาการเกิดพิษเป็นแบบเฉียบพลัน หากไม่ถึงขั้นเสียชีวิต อาการพิษ
จะหายภายใน 6 เดือน และแบบเรื้อรัง (chronic) ปรากฏอาการพิษนานกว่า 6 เดือนหลังได้รับ             
หรือสัมผัสสารครั้งแรก สารบางชนิดก่อพิษแบบเฉียบพลันเท่านั้น เช่น กรดเกลือในน�้ำยาล้างห้องน�้ำ 
โซดาไฟในน�้ำยาขจัดสิ่งอุดตันในท่อสารบางชนิดก่อพิษแบบเรื้อรังเท่านั้นเช่นสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่             
สารบางชนิดก่อพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ขึ้นกับปริมาณที่ได้รับในแต่ละครั้ง
บทที่
การเกิดพิษ
8
และความถี่ในการได้รับสาร เช่น แอลกอฮอล์ในเหล้า หากดื่มเหล้าในปริมาณมากภายในช่วงเวลาสั้น
จะเกิดภาวะหยุดหายใจและเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน หากดื่มในปริมาณหนึ่งจะเกิดภาวะเลือดออกใน
ทางเดินอาหารและตับอักเสบ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาหลายปีจะเกิดภาวะ
ตับแข็งหรือมะเร็งตับ
	 สารบางชนิดไม่เป็นพิษ แต่เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายกลับถูกแปรสภาพโดยเซลล์ในร่างกายได้เป็น
สารพิษ เช่น เมทานอล (methanol) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเซลล์ตับแปรสภาพเป็นน�้ำยาดองศพหรือ
ฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งจะระเหยให้ฟอร์มาลิน (formalin) เข้าไปท�ำลายเซลล์ และฟอร์มาลดีไฮด์ถูกแปร
สภาพต่อเป็นกรดฟอร์มิก (formic acid) ที่ท�ำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด สารบางชนิดในปริมาณหนึ่ง
ปลอดภัยต่อร่างกาย แต่หากรับในปริมาณมากเกินไปจะถูกแปรสภาพเป็นสารพิษ เช่น ยาแก้ปวด-           
ลดไข้ชนิดพาราเซตามอล (paracetamol, acetaminophen) หากกินในปริมาณมากในครั้งเดียว         
หรือกินปริมาณหนึ่งติดต่อกันมากกว่า 5 วัน เซลล์ตับจะแปรสภาพยาเป็นสารพิษแนพคิ (NAPQI,
N-acetyl-p-benzoquinone imine) ไปท�ำลายเซลล์ตับ ท�ำให้ตับอักเสบ (chemical induced
hepatitis) และอาจรุนแรงถึงขึ้นตับวาย (liver failure) สารบางอย่างไม่เป็นพิษ แต่หากได้รับร่วม        
กับอาหาร ยา หรือสารอื่นจะก่อพิษ เช่น สารสกัดจากกระเทียม มีสรรพคุณทางยามากมาย รวมทั้ง      
การยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากได้รับร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างเช่นแอสไพริน          
(aspirin) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุด (bleeding disorder) ได้
	 ความเป็นพิษอาจเกิดขึ้นเฉพาะที่ (local toxicity) ท�ำอันตรายเนื้อเยื่อเฉพาะบริเวณที่สัมผัส
หรือทางที่สารผ่าน เช่น ผื่นพุพองที่ผิวหนังบริเวณสัมผัส แผลในช่องปากหรือการอักเสบของเยื่อบุ        
ทางเดินอาหารจากการดื่ม-กินสาร ความเป็นพิษอาจเกิดขึ้นเชิงระบบ (systemic toxicity) เมื่อสาร
ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดจะไปก่อพิษกับระบบหรืออวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการ        
ท�ำงานและการอยู่รอดของระบบหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น สารไปก่อพิษกับระบบประสาท        
ท�ำให้ระบบประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อหยุดการท�ำงาน กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต กล้ามเนื้อ
ช่วยการหายใจเป็นอัมพาต ท�ำให้หยุดหายใจ และเสียชีวิตจากการขาดอากาศ
	 สารบางชนิดออกฤทธิ์กับเซลล์หรือเนื้อเยื่อจ�ำเพาะ เช่น สารก�ำจัดวัชพืชชนิดพาราควอต
(paraquat) เมื่อไหลเวียนผ่านไปกับกระแสเลือด จะเลือกผ่านเข้าไปท�ำลายเซลล์ปอด (pneumo-       
cyte) จนปอดไม่สามารถท�ำงานได้และเสียชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจน สารก�ำจัดแมลงกลุ่มออกาโน-
ฟอสเฟต (organophosphate) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะเลือกไปก่อพิษกับระบบประสาทอัตโนมัติ       
พาราซิมพาเทติก (parasympathetic) ท�ำให้ต่อมหลั่งสารคัดหลั่งมาก มีเหงื่อออกมาก น�้ำลาย                
ฟูมปาก ปัสสาวะและอุจจาระราด สารบางชนิดก่อพิษแบบไม่เจาะจงเซลล์ ก่อพิษกับทุกเซลล์ เช่น
ไซยาไนด์ (cyanide, CN-) ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการหายใจหรือการสร้างพลังงานของ
เซลล์ (oxidative phosphorylation) เป็นพิษกับเซลล์ทุกระบบหรืออวัยวะ สารบางชนิดก่อพิษกับ
หลายระบบหรืออวัยวะด้วยกลไกที่ต่างกัน เช่น ตะกั่ว พิษที่ไต จะเข้าไปท�ำลายเซลล์บุท่อหน่วยไต
9
พิษต่อระบบเลือด จะเข้าไปยับยั้งการท�ำงานของเอนไซม์สร้างเฮโมโกลบิน ฯลฯ การกล่าวถึงสาร               
ที่เป็นพิษกับหลายระบบหรืออวัยวะ มักให้ความส�ำคัญกับระบบหรืออวัยวะที่พบการเกิดพิษบ่อย          
หรือภาวะพิษที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เช่น โลหะหนักมีพิษกับหลายระบบ แต่ที่ให้ความส�ำคัญมาก
คือ การก่อพิษกับเซลล์ประสาทที่พบได้บ่อย และพิษต่อไตที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต
ปัจจัยต่อการเกิดพิษ62, 84,127, 140, 155, 343, 459
	 การเกิดพิษของสารขึ้นกับลักษณะของสาร คุณสมบัติของผู้รับสัมผัสหรือได้รับสาร และปัจจัย
แวดล้อมและการเข้าถึงสาร (ภาพที่ 2-1)
ภาพที่ 2-1 ปัจจัยต่อการเกิดพิษ
	 ลักษณะของสารทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น องค์ประกอบของโมเลกุล น�้ำหนัก              
ขนาด และรูปร่างของโมเลกุล ความเสถียรของโมเลกุล สถานะเป็นแก๊ส ของแข็งหรือของเหลว              
ความเป็นกรด-ด่าง ความสามารถในการละลายน�้ำ (hydrophilic) ความสามารถในการละลายใน            
ไขมัน (hydrophobic, lipophilic) ความสามารถในการระเหยเป็นไอ ความเข้มข้น ความสามารถ         
ในการสะสมในร่างกาย ความคงตัวหรืออัตราการสลายตัวโดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการ               
เกิดพิษ เช่น กรดแก่ในความเข้มข้นสูง แม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ก่อพิษอย่างรุนแรง แอมโมเนีย
(ammonia, NH3) เป็นแก๊ส จึงสามารถแพร่เข้าไปและรบกวนการท�ำงานของสมองได้ การดื่มน�้ำ            
ที่ปนเปื้อนสารหนูทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จะท�ำให้ได้รับสารหนูเข้าไปสะสมในร่างกายจนเกิดพิษ            
สาร
การเกิดพิษ
ผู้ได้รับสาร ปัจจัยแวดล้อม
10
สารกัมมันตรังสี หากอยู่นอกร่างกาย ความเป็นพิษจะเกิดจากรังสีที่แพร่ออกมา แต่หากได้รับสาร
กัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย สารกัมมันตรังสีจะแพร่รังสีออกไปท�ำลายเนื้อเยื่ออย่างต่อเนื่องจนเกิด      
พิษรุนแรง สารเคมีหลายชนิดจึงมีเอกสารก�ำกับด้านความปลอดภัย (material safety data sheet,
MSDS) ซึ่งจะระบุชื่อสาร สูตรและโครงสร้างทางเคมี สถานะ ลักษณะทางกายภาพและเคมี การก่อ      
พิษ และแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดพิษ
	 การน�ำสารไปใช้อย่างไม่เหมาะสมมีผลให้เกิดพิษ เช่น ยาทาภายนอก ออกแบบให้ใช้ได้อย่าง
ปลอดภัยหากใช้ทาที่ผิวหนัง แต่หากน�ำไปกินจะก่อพิษได้ หรือยาเม็ดที่ออกแบบมาเพื่อให้กินเข้าไป
หากน�ำไปละลายน�้ำและฉีดเข้าหลอดเลือดจะได้ผงแป้งของเม็ดยาเข้าไปในกระแสเลือดและไปก่อ         
การอักเสบกับเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในได้ รูปแบบของสารที่รับเข้าไปมีผลต่อการเกิดพิษเช่นที่         
ปรากฏเป็นข่าว ยาสมุนไพรตามภูมิปัญญาชาวบ้าน จะใช้ชิ้นส่วนของพืช (crude raw material) เช่น
ใบ ดอก หรือราก น�ำไปกินสด ตากแห้ง ต้ม หรือท�ำเป็นอาหาร ซึ่งจะปลอดภัยหรือมีพิษน้อย แต่
พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสนองความต้องการให้ได้ยาสมุนไพรในรูปที่กินง่าย มีสารออกฤทธิ์
(active ingredient) เข้มข้น หรือกินในปริมาณน้อยแต่ได้ผลการรักษามาก ท�ำให้มีการแยกสกัด
(extraction) เอาเฉพาะสารออกฤทธิ์มาท�ำเป็นผงหรือแคปซูล (capsule) รายงานที่ปรากฏจ�ำนวน
หนึ่งคือ ความเป็นพิษของยาสมุนไพรสกัดจากการได้รับสารออกฤทธิ์เข้าไปมากจนก่อพิษ เช่น สาร      
สกัดบาราคอล (barakol) จากใบขี้เหล็ก มีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง แต่ถ้ากินในปริมาณมาก จะ
ท�ำให้ตับอักเสบ
	 ปัจจัยต่อการเกิดพิษจากคุณสมบัติของผู้ที่สัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น อายุ เด็กเล็ก      
มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย จากพฤติกรรม ความไร้เดียงสา ขาดประสบการณ์             
ไม่รู้จักการป้องกันตนเอง ช่างส�ำรวจ ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก มีขนาดร่างกายและน�้ำหนักตัวน้อย          
จึงเกิดพิษได้ที่ความเข้มข้นของสารต�่ำ อวัยวะที่ก�ำลังเจริญและพัฒนา เช่น สมอง กระดูก มีความไว       
ต่อการได้รับสารพิษและการเกิดพิษ ระบบป้องกันตนเองของร่างกาย เช่น ผิวหนัง หรือระบบ            
เกราะก�ำบังเลือดในสมอง (BBB, blood brain barier) และอวัยวะก�ำจัดสารพิษอย่างตับและไต ยัง
พัฒนาไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ท�ำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงยอมให้สารผ่านเข้าสู่อวัยวะเป้าหมาย และขจัด
สารพิษออกจากร่างกายได้ช้า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดพิษง่ายเช่นกัน จากความเสื่อมชราของระบบ
ภูมิคุ้มกันและอวัยวะต่าง ๆ จนท�ำงานได้ไม่ดี ไตเสื่อม ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ลดลง และมักมี
โรคประจ�ำตัว ท�ำให้ต้องกินยาเป็นประจ�ำ ซึ่งยาที่กินอาจเสริมความเป็นพิษของสารที่ได้รับเข้าไปได้    
เพศหญิงและชายมีโครงสร้างร่างกายและระบบฮอร์โมนที่ต่างกัน การเกิดพิษในเพศหญิงขึ้นกับสถานะ
ขณะได้รับสารพิษด้วย หากอยู่ในขณะตั้งครรภ์ ความเป็นพิษอาจมีผลต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์  
หากอยู่ในขณะให้นมบุตร สารพิษอาจปนเปื้อนในน�้ำนมไปก่อพิษกับทารกได้ เชื้อชาติหรือลักษณะ        
ทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดพิษ ผู้ที่มียีนผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้สาร โมเลกุลเป้าหมายใน
การก่อพิษของสารและเอนไซม์ที่ใช้ในการขจัดพิษของสารถูกควบคุมการสร้างทั้งเชิงคุณภาพการ
11
ท�ำงานและปริมาณโดยยีนหรือสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA, deoxyribonucleic acid) ผู้ที่มียีน          
สร้างสารชีวโมเลกุลผิดปกติ จะไว (sensitive) ต่อการเกิดพิษ หรือปริมาณสารเพียงเล็กน้อยสามารถ
ก่อพิษได้รุนแรงกว่าคนทั่วไป
	 โรคประจ�ำตัวหรือภาวะผิดปกติที่เป็นอยู่โดยเฉพาะโรคไตหรือโรคตับจะท�ำให้เกิดการคั่งของสาร
จนถึงระดับก่อพิษได้ ระบบภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนเอง มีผลต่อการป้องกันไม่ให้สารเข้าสู่ร่างกาย
หากภูมิคุ้มกันหรือระบบป้องกันตนเองบกพร่อง เช่น มีแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ไม่สามารถสร้างเมือกหรือเม็ดเลือดขาวไปก�ำจัดเชื้อโรคและสารพิษได้ จะท�ำให้ได้รับสารพิษได้ง่าย  
ปัจจัยจากการด�ำรงชีพ พฤติกรรมและสุขอนามัยส่วนบุคคล และสุขอนามัยของคนในชุมชนมีผลต่อ
การได้รับพิษ เช่น การดื่มเหล้าจะท�ำให้หลอดเลือดขยายตัว กระแสเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ  
ได้มาก หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไป สารพิษในกระแสเลือดจะผ่านไปก่อพิษที่อวัยวะต่าง ๆ ได้เร็ว
ขึ้น การกินผักหรือผลไม้โดยไม่ล้างจะเสี่ยงได้รับสารก�ำจัดศัตรูพืชหรือปุ๋ยที่ปนเปื้อน การกินอาหารใส่
สีหรือลูกชิ้นเด้ง ย่อมได้รับโลหะหนักจากสีหรือบอแรกซ์จากผงกรอบ  การอยู่ในบริเวณที่มีการจราจร
หนาแน่นย่อมได้รับสารพิษจากควันท่อไอเสีย
	 ปัจจัยต่อการเกิดพิษจากปัจจัยแวดล้อมและการเข้าถึงสารปัจจัยแวดล้อมเช่นอุณหภูมิมีผลต่อ
การกลายเป็นไอระเหยของสาร ความชื้นหรือปริมาณไอน�้ำในอากาศ มีผลต่อการแปรสภาพและ       
ความเป็นพิษของสาร การถ่ายเทอากาศ กระแสลม กระแสน�้ำ มีผลต่อการแพร่กระจายของสาร       
เป็นต้น การเข้าถึงสารคือ การมีสารในบริเวณนั้น การผลิต น�ำเข้า หรือจ�ำหน่ายสาร การจัดเก็บสาร
การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารนั้นเป็นส่วนประกอบ และการเป็นมลพิษของสาร สารพิษในสิ่งแวดล้อมหรือ
มลพิษเป็นสิ่งที่คนในชุมชนต้องเผชิญหรือเข้าถึงมากกว่าคนที่อยู่ห่างไกลออกไป การแพร่กระจาย           
ของมลพิษไปกับกระแสลม พายุ น�้ำฝน กระแสน�้ำ หรือผ่านไปในห่วงโซ่อาหาร ท�ำให้สารกระจายไป
ก่อพิษกับคนที่ห่างไกลออกไป แก๊ส สารระเหย และฝุ่นผง หากกระจายในที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
จะถูกเจือจางจนก่อพิษได้น้อย แต่หากรวมตัวในสถานที่ปิดจะก่อพิษรุนแรง การท�ำงานกับสารเคมี
ปริมาณมาก มีโอกาสได้รับสารเข้าสู่ร่างกายมาก การขนส่งสารปริมาณมาก หรือการเก็บสารปริมาณ
มากในห้องเก็บสาร หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถขนส่งสารคว�่ำ การรั่วไหลของสารจากถังเก็บ จะก่อให้
เกิดการแพร่กระจายของสารในสิ่งแวดล้อม เป็นพิษต่อคนงานและคนในชุมชน
	 ภูมิประเทศมีผลต่อการเข้าถึงสารพิษ ประเทศที่อยู่ติดทะเล เช่น ญี่ปุ่น ประชาชนมีโอกาส             
ได้รับพิษจากสัตว์ทะเลหรืออาหารทะเล ประเทศเขตหนาวมีการใช้เอทิลีนไกลคอล (ethylene          
glycol) เป็นสารต้านการแช่แข็ง (anti-freezer) ในหม้อน�้ำรถจึงพบการเกิดพิษจากเอทิลีนไกลคอล                       
ได้ ประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย แมลงศัตรูพืชและเชื้อโรคเจริญได้ดี ความเป็นพิษจึงมักเกิด          
จากการใช้สารก�ำจัดศัตรูพืช สารระงับหรือฆ่าเชื้อโรค และยาปฏิชีวนะ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม       
และสิ่งที่ถือปฏิบัติในชุมชน มีผลต่อการได้รับสารพิษ เช่น ความนิยมเคี้ยวหมาก อมยาเส้นของคนไทย
ในอดีต ท�ำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก การเกิดมะเร็งในประเทศอุตสาหกรรม มักมีสาเหตุจากมลพิษใน
12
สิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศเกษตรกรรม สาเหตุของมะเร็งมักเกิดจากการติดเชื้อและสารพิษจาก               
เชื้อโรค เช่น อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) จากเชื้อรากับการเกิดมะเร็งตับ ปัจจัยแวดล้อมยังรวมถึง           
สิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารที่ร่างกายได้รับพร้อมกัน อาจเป็นแบบ         
เสริมพิษกัน (additive effect) ก่อพิษที่โมเลกุลหรือเซลล์เป้าหมายเดียวกัน แบบเพิ่มพิษทวีคูณ
(synergistic effect) ก่อพิษที่เป้าหมายต่างกันแต่ให้ผลเหมือนหรือคล้ายกัน หรือแบบเพิ่มศักยภาพ
การก่อพิษ (potentiation) สารหนึ่งไม่เป็นพิษแต่เมื่อได้รับร่วมกับอีกสารหนึ่งกลับกลายเป็นพิษ
	 ความเป็นพิษ ประมาณ 5% เกิดจากการมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ (ภาพที่ 2-2) กรณีนี้จะท�ำให้      
สารที่ไม่เป็นพิษหรือมีพิษไม่ร้ายแรงกับคนทั่วไป กลายเป็นสารพิษหรือมีพิษรุนแรงในคนที่มียีน                   
ผิดปกติ เช่น ผู้ที่มียีนผิดปกติท�ำให้สร้างเอนไซม์จี 6 พีดี (G-6PD, glucose-6-phosphate
dehydrogenase) ได้น้อยหรือมีภาวะพร่องเอนไซม์จี 6 พีดี (G6PD deficiency) หากกินถั่วปากอ้า   
(fava bean) หรือยารักษาโรค เช่น แอสไฟริน วิตามินซี วิตามินเค ควินิน (quinine) หรือยาซัลฟาใน
ขนาดรักษา (therapeutic dose) จะเกิดพิษกับเม็ดเลือดแดง มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis)  
เป็นต้น ความเป็นพิษ ประมาณ 40% เกิดจากการมียีนผิดปกติร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ท�ำให้
บุคคลที่มียีนผิดปกติไวต่อการเกิดพิษของสาร เช่น ผู้ที่มียีนควบคุมการสร้างเอนไซม์แอลดีไฮด์ดี                
ไฮโดรจีเนส (aldehyde dehydrogenase) บกพร่อง สร้างเอนไซม์ได้น้อย จะเกิดอาการหน้าแดง          
ตัวแดง คลื่นไส้ และมึนศีรษะ ภายหลังดื่มเหล้าปริมาณเล็กน้อย เนื่องจากมีการคั่งสะสมของแอลดีไฮด์
ในกระแสเลือด ความเป็นพิษ ประมาณ 55% เป็นผลจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมหรือการได้รับสารพิษใน
ปริมาณก่อพิษ เช่น การชักเกร็งจากพิษบาดทะยัก การปวดกระดูกจากพิษปรอท
ภาพที่ 2-2 การเกิดพิษจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม + พันธุกรรม
พันธุกรรม

More Related Content

Similar to 9789740333494

โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.25554LIFEYES
 
โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2Wan Ngamwongwan
 
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdf
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdfAllergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdf
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdfApisekPhonchiangsa
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)Thitaree Samphao
 
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมสมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมวิศิษฏ์ ชูทอง
 
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)Wan Ngamwongwan
 
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
นำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อนำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อpissamaiza Kodsrimoung
 
นำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อนำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อnuting
 
วนิดา
วนิดาวนิดา
วนิดาsupphawan
 
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจโรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจWan Ngamwongwan
 
Lepto flood officer
Lepto flood officerLepto flood officer
Lepto flood officerAimmary
 
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองWan Ngamwongwan
 

Similar to 9789740333494 (20)

Asthma
AsthmaAsthma
Asthma
 
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
โรคภูมิแพ้ 15.5.2555
 
โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2โรคภูมิแพ้ 2
โรคภูมิแพ้ 2
 
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdf
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdfAllergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdf
Allergy โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ แก้ได้.pdf
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
 
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมสมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
 
Urticaria
UrticariaUrticaria
Urticaria
 
Leptospirosis
LeptospirosisLeptospirosis
Leptospirosis
 
Liver detox ล้างพิษตับ
Liver detox ล้างพิษตับLiver detox ล้างพิษตับ
Liver detox ล้างพิษตับ
 
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)
ชีววิทยา(ม.4 4) เรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ (1)
 
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
โรคที่มีสาเหตุเนื่องจากบุหรี่
 
นำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อนำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อ
 
นำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อนำเสนอโรคติดต่อ
นำเสนอโรคติดต่อ
 
Respiratory1 2
Respiratory1 2Respiratory1 2
Respiratory1 2
 
วนิดา
วนิดาวนิดา
วนิดา
 
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจโรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจ
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Lepto flood officer
Lepto flood officerLepto flood officer
Lepto flood officer
 
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพอง
 
Cpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in childrenCpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in children
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333494

  • 1. 1 สรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีพิษ แม้แต่น�้ำเปล่าหรือน�้ำบริสุทธิ์ก็เป็นพิษได้ หากได้รับเข้า สู่ร่างกายในปริมาณมากภายในช่วงเวลาสั้น จนเกิดภาวะน�้ำเกิน (water overload) และภาวะน�้ำ เป็นพิษ (water intoxication) อาจเป็นผลจากการรักษาด้วยการให้สารน�้ำทางหลอดเลือดมากไป การดื่มน�้ำแทนกินอาหารเพื่อลดความอ้วน การดื่มน�้ำเพื่อล้างสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายตามความเชื่อ หรือความงมงาย เช่นที่เคยเป็นข่าว “น�้ำมนต์มรณะไล่ผี ฝาแฝดตาย 1 สาหัส 1 เมื่อคืนวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ชายอายุ 16 ปี ชาวหาดใหญ่เสียชีวิตในช่วงปฏิบัติธรรมถือศีลกินเจกับญาติที่บ้านพัก ในเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา แฝดผู้พี่อาการสาหัส เมื่อฟื้นได้เล่าให้พ่อฟังว่า น้องชายพยายามดื่ม น�้ำมนต์ปริมาณ 18 ลิตรให้หมดภายในวันเดียวเพื่อไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายตามที่ ร่างทรงบอก แพทย์ลงความเห็น เสียชีวิตจากน�้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลว และสมองบวม” หรือเป็น ผลจากการถูกบังคับให้ดื่ม ตามที่เคยเป็นข่าว “เมื่อ พ.ศ. 2550 นักเรียนเตรียมทหารปี 2 หลับยาม โดนรุ่นพี่ปี 3 ลงโทษ ด้วยการให้ดื่มน�้ำหลายสิบลิตรอย่างต่อเนื่อง จนอุจจาระ-ปัสสาวะราด มีเลือด ปนน�้ำไหลออกทางปากและจมูก และเสียชีวิตจากภาวะน�้ำท่วมปอดและหัวใจวาย” ฟิลิปปัส (Philippus von Hohenheim) แพทย์ชาวเยอรมัน-สวิส ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดา แห่งพิษวิทยา (toxicology) กล่าวว่า “All things are poison and nothing is without poison; only the dose makes that a thing is no poison.” หรือ “ทุกสิ่งมีพิษ ขึ้นกับขนาดหรือปริมาณ ที่ร่างกายได้รับ” หากพิจารณาในกรณีน�้ำเป็นพิษ ความเป็นพิษยังขึ้นกับวิถีหรือรูปแบบการรับสาร และระยะเวลาของการได้รับสารเข้าสู่ร่างกายด้วยสารปลอดภัยอย่างน�้ำเปล่า หากได้รับในปริมาณมาก ภายในเวลาสั้นโดยเฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีปริมาณในร่างกายเกินความต้องการของร่างกาย กรณีกินเข้าไป จะอาเจียนเพื่อขับทิ้งสารปริมาณส่วนเกินออก ร่างกายจะพยายามขับสารส่วนเกินทิ้ง ทางปัสสาวะ อุจจาระ เหงื่อ และสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ แต่หากยังคงได้รับเข้าสู่ร่างกายต่อไป ปริมาณสาร จะเกินกว่าขีดความสามารถที่ร่างกายทนรับ (threshold) หรือปรับแก้ (compensate) ได้ และเกิด ความผิดปกติของร่างกายหรือความเป็นพิษ52, 84, 155, 343 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือพิษกับร่างกายอาจ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้ (ภาพที่ 1-1) บทที่ สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้
  • 2. 2 ภาพที่ 1-1 สารอันตราย สารพิษ และสารก่อภูมิแพ้ สารอันตราย82, 340 สารบางชนิดเป็นสารอันตราย (hazardous chemical) ก่ออันตรายกับร่างกายทางอ้อม โดยท�ำให้สภาพแวดล้อมนอกร่างกายเป็นอันตราย เช่น การติดไฟง่าย (flammable) ท�ำให้เกิดเพลิง ไหม้หรือระเบิด การแขวนลอยในอากาศก่อให้เกิดหมอกควัน (smog) หนาจนมองไม่เห็นและเกิด อุบัติเหตุ การไวต่อปฏิกิริยา (highly reactive) กับสารอื่นโดยเฉพาะออกซิเจนและน�้ำในสิ่งแวดล้อม จนเกิดประกายไฟหรือสารพิษ การแทนที่ออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไปจนก่อให้เกิดภาวะขาด อากาศหรือขาดออกซิเจน (asphyxia, suffocation) การท�ำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ จนมีรังสี ยูวีซี (ultraviolet C, UV-C) ผ่านลงมากระทบร่างกาย การก่อชั้นแก๊สหนาในบรรยากาศปิดกั้นการ ระเหยความร้อนจากผิวโลก จนเกิดภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวนและน�้ำท่วม ตัวอย่างสารอันตราย เช่น แก๊สธรรมชาติที่พบในถังแก๊สในครัวเรือนหรือในรถ [LPG, NGV, CNG) หรือแก๊สชีวภาพที่ได้ จากการหมักมูลสัตว์ สามารถติดไฟง่าย หากถูกประกายไฟจะเกิดไฟไหม้หรือระเบิด หากรั่วเข้าสู่ บรรยากาศ จะแทนที่ออกซิเจนในอากาศ ท�ำให้ผู้ที่หายใจเข้าไปเกิดภาวะขาดออกซิเจน สารบางชนิด เป็นทั้งสารพิษและสารอันตราย เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide, SO2) ในบรรยากาศ เป็นสารอันตราย เมื่อถูกน�้ำฝนจะกลายเป็นฝนกรด (acid rain) มีฤทธิ์กัดกร่อน และเป็นสารพิษ เมื่อหายใจเข้าไปจะไปแย่งที่ออกซิเจนจับกับเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ก่อให้เกิดภาวะขาด ออกซิเจน ดินปืนหรือดินประสิวในพลุหรือดอกไม้ไฟเป็นสารอันตราย ติดไฟง่าย หากถูกประกายไฟ จะเกิดการระเบิด และเป็นสารพิษหากน�ำไปใส่ในอาหารจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ เขม่าหรือควันไฟจาก สภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อชีวิต สารก่อภูมิแพ้ สารพิษ สารอันตราย เซลล์ทำ�งานผิดปกติ เซลล์ตาย เซลล์มะเร็ง เซลล์กลายพันธ์ุ เมแทบอไลต์ สารอนุมูลอิสระ สาร
  • 3. 3 การเผาป่า เผาหญ้า เผาขยะ หรือจากการระเบิดของภูเขาไฟ เป็นสารอันตราย ผงถ่านในควันจะ แขวนลอยในอากาศ บดบังการมองเห็นจนเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกและทางอากาศ และใน ควันมีสารพิษก่อระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ ฯลฯ สารพิษ84, 140, 155, 340, 343 สารพิษ (poison, toxic substance) คือ สารที่ร่างกายสัมผัสหรือได้รับเข้าไปแล้วไปท�ำลาย หรือท�ำปฏิกิริยากับสารชีวโมเลกุลหรือส่วนประกอบของเซลล์ ท�ำให้เซลล์ตาย เซลล์หยุดการแบ่งตัว เพิ่มจ�ำนวน เซลล์แบ่งตัวมากเกินไปจนเป็นมะเร็ง หรือท�ำให้เซลล์ท�ำงานผิดปกติ ท�ำงานมากผิดปกติ จะน�ำไปสู่การล้าและการตายของเซลล์ ท�ำงานน้อยผิดปกติหรือไม่สามารถท�ำงานได้ จะท�ำให้เซลล์ ขาดปัจจัยจ�ำเป็นต่อการอยู่รอด จนเซลล์ตาย การตายของเซลล์จากพิษของสารจะเป็นแบบนีโครซิส (necrosis) ซึ่งจะชักน�ำระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ให้ตอบสนอง ท�ำให้เกิดการอักเสบ (inflammation) และการท�ำลายเนื้อเยื่อในระบบหรืออวัยวะนั้น จนเกิดอาการเจ็บปวด (pain) เนื้อเยื่อแดง (erythema) ร้อนและบวมน�้ำ (swelling, edema) ผลของสารพิษต่อการท�ำงานหรือ การอยู่รอดของเซลล์ในระบบหรืออวัยวะหนึ่ง จะส่งผลต่อการท�ำงานและการอยู่รอดของระบบหรือ อวัยวะอื่น เช่น การท�ำลายปอด จะท�ำให้อวัยวะอื่นได้รับออกซิเจนลดลง จนเกิดภาวะขาดออกซิเจน มีปริมาณออกซิเจนในเลือดน้อย (hypoxia) เกิดภาวะตัวเขียวคล�้ำ (cyanosis) สารก่อภูมิแพ้11, 149, 226 ความเป็นพิษจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายมากหรือไวเกินไปต่อสารปริมาณน้อย เรียกว่า ภาวะแพ้สาร (allergy) หรือภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะบางคนหรือ บางครอบครัว มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic) จะไม่ปรากฏอาการหรือเกิดพิษใน การรับหรือสัมผัสสารในครั้งแรก จะปรากฎอาการแพ้สารเมื่อได้รับหรือสัมผัสสารในครั้งถัดไป ซึ่งเป็น สิ่งที่ไม่สามารถคาดได้ แต่เมื่อมีประวัติเคยแพ้สารใดแล้ว ต้องป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือรับสารนั้นเข้าสู่ร่างกาย เช่น จดจ�ำชื่อยาที่แพ้ งดกินอาหารที่แพ้ เลิกใช้เครื่องส�ำอางที่แพ้ ความ รุนแรงของภาวะแพ้สารไม่สัมพันธ์กับปริมาณสารที่สัมผัสหรือได้รับเข้าสู่ร่างกาย แต่ขึ้นกับตัวบุคคล หรือลักษณะทางพันธุกรรม บางคนมีอาการแพ้เล็กน้อย บางคนมีอาการแพ้รุนแรง ซึ่งในกรณีที่รุนแรง หากได้รับการรักษาล่าช้าอาจท�ำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังเช่นที่เคยเป็นข่าว “เมื่อ พ.ศ. 2548 ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ร้องศาลจังหวัดนนทบุรีให้ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าเสียหาย จากการที่แพทย์ของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งฉีดยารักษาอาการไข้หวัดให้ แล้วต่อมาเกิดภาวะ แพ้ยากลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน (Steven Johnson syndrome) มีการอักเสบของผิวหนัง เยื่อบุ
  • 4. 4 และดวงตา จนตาทั้ง 2 ข้างเกือบบอด” และข่าว “ดาวตลกท่านหนึ่งมีภาวะภูมิแพ้หอบหืด ถูกส่ง ถึงโรงพยาบาลช้า ท�ำให้สมองขาดออกซิเจน กลายเป็นเจ้าชายนิทรา ฯลฯ สารที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจมีผลให้เกิดอาการบริเวณที่สัมผัสหรือได้รับสาร (local) เช่น ผื่นแพ้สายนาฬิกา หรืออาจเกิดขึ้นกับเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่น (systemic) เช่น กินยาหรืออาหาร ที่แพ้ แล้วเกิดอาการที่ผิวหนังและทางเดินหายใจ ท�ำให้เกิดผื่นลมพิษหรือเห่อ (urticaria) หายใจ ไม่ออก หอบหืด ภาวะภูมิแพ้หรือภูมิไวเกินแบ่งเป็น 4 แบบ คือ แบบ 1 แบบเฉียบพลัน (immediate/ anaphylactic type) เป็นภาวะภูมิแพ้ที่พบบ่อยและบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ปรากฏอาการ ทันทีหลังสัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย อาการอาจเป็นเพียงผื่นคัน ผื่นลมพิษ คันตาและจมูก หรือมีอาการรุนแรง ใบหน้าบวม หลอดลมหดตัวและมีเมือกมากจนอากาศผ่านเข้า-ออกไม่ได้ หายใจ ล�ำบาก หายใจมีเสียงหวีด (wheeze) หรือหอบหืด (asthma) ผนังหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis, angioedema) หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดต�่ำ ช็อกจากภาวะแพ้ (anaphylactic shock) และ เสียชีวิต สารก่อภูมิแพ้แบบ 1 ที่มีรายงาน ได้แก่ อาหาร อากาศหรือฝุ่นละอองเกสร แมลงกัด-ต่อย เป็นต้น ภาวะภูมิไวเกินแบบ 2 แบบพิษต่อเซลล์ (cytotoxic type) ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี (antibody) จากการถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ แล้วแอนติบอดีที่สร้างขึ้นไปท�ำลาย เซลล์ของร่างกาย เช่น แพ้ยาเพนิซิลลิน (penicillin) ท�ำให้มีแอนติบอดีไปจับท�ำลายเม็ดเลือดแดง (immunemediated hemolysis) ภาวะภูมิไวเกินแบบ 3แบบพิษจากสารเชิงซ้อนของแอนติเจนและ แอนติบอดี (immune complex mediated type) ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีไปจับกับสาร ก่อภูมิแพ้ ได้สารเชิงซ้อนที่ละลายในกระแสเลือดและไหลเวียนไปเกาะติดเนื้อเยื่อ แล้วชักน�ำให้เกิด การอักเสบของเนื้อเยื่อที่สารเชิงซ้อนไปเกาะติด เช่น แพ้สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส (streptococcus)แล้วเกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูรัสในไต(glomeru-lonephritis) ภูมิไวเกินแบบ 4 แบบล่าช้า (delayed type hypersensitivity, DTH) ก่อให้เกิดอาการหลังสัมผัสสาร ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่ออาการเฉพาะที่ผิวหนังบริเวณสัมผัส ท�ำให้ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส กับสารก่อภูมิแพ้หรือผื่นภูมิแพ้ (allergic contact dermatitis) เป็นผื่นแดงคัน ผื่นพุพอง ตุ่มน�้ำใส ผิวลอก หรือแผลอักเสบ วิถีการได้รับสาร84, 140, 155, 343 สารเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง สารที่สัมผัสกับผิวหนังหากสามารถละลายในไขมันได้ดีหรือ มีโมเลกุลเล็ก จะแพร่ผ่านผิวหนังชั้นนอกหรือหนังก�ำพร้า (epidermis) เข้าไปถึงผิวหนังชั้นในหรือ หนังแท้ (dermis) และผ่านหลอดเลือดในชั้นหนังแท้เข้าสู่กระแสเลือด ผิวหนังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกข่วนหรือเกา (scratch) ถูไถหรือถลอก (abrasion) กัด (bite) ต่อย (sting) บาดหรือตัด (cut,
  • 5. 5 incise) แทง (puncture, stab) ไฟหรือของร้อนลวก (burn) จะท�ำให้สารผ่านเข้าไปได้ง่ายขึ้น แก๊ส สารระเหย หรืออนุภาคขนาดเล็ก ผ่านเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ การดื่ม-กินเป็นอีกวิถีที่สารเข้าสู่ ร่างกายบ่อย วิถีการเข้าสู่ร่างกายของสารอื่น ๆ เช่น การฉีดเข้าหลอดเลือด การสอดใส่หรือฝังเข้าไป ในร่างกาย การปนเปื้อนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา (needle) สายยางให้อาหารทาง จมูก (nasogastric tube) ท่อสวนปัสสาวะ (urinary catheter) สารพิษอาจปนเปื้อนในอาหารเหลว หรือสารน�้ำหรือยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือด (IV, intravenous) เป็นต้น สารอาจเป็นส่วนประกอบหรือสาร ปนเปื้อนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดใส่หรือฝังในร่างกาย การฉีดสารเข้าสู่กระแสเลือดจะท�ำให้ ร่างกายได้สารปริมาณมากและเฉียบพลัน การผ่านของสารจากการฝังหรือสอดใส่เข้าไปในร่างกาย จะท�ำให้มีสารซึมออกไปก่อพิษอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง การกินหรือดื่มสารอาจอยู่ในรูปสารพิษ เช่น ดื่มยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าตัวตาย หรือในรูปการ ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารก�ำจัดแมลงที่ปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ สารที่ปนเปื้อนในอาหาร อาจมาจากภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร เช่น พธาเลต (phthalate) จากกล่องโฟมหรือจานพลาสติก ตะกั่วจากหม้อลวกก๋วยเตี๋ยว การกินหรือดื่ม หากท�ำอย่างรวดเร็ว ขณะตกใจ หรือถูกป้อนให้กินหรือ ดื่มขณะไม่รู้สึกตัว การอาเจียนขณะไม่รู้สึกตัว อาจเกิดการส�ำลัก (choking, aspiration) ท�ำให้สาร ในปากตกเข้าไปและก่อพิษในทางเดินหายใจได้ ภายในปากมีเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หากมีแผลฉีกขาดจากการถูกบาดหรือหลังถูกถอนฟัน บริเวณแผลเปิดนี้จะเป็นทางผ่าน ของสารและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้ เช่น การใช้ปากที่มีแผลในช่องปากดูดพิษงูจากรอยแผล งูกัดของผู้อื่น ผู้ดูดพิษอาจได้รับพิษงูเข้าทางแผลในช่องปากได้ เป็นต้น ในโพรงจมูก (nare, nasal cavity) และเพดานอ่อน (soft palate) ในล�ำคอมีเยื่อบุเชื่อมต่อกับฐานสมอง สารที่สูดดมหรือ หายใจเข้าไป หากระเหยง่าย โมเลกุลเล็ก หรือละลายในไขมันได้ดี เช่น นิโคตินในควันบุหรี่ โทลูอีน ในกาว จะแพร่ผ่านเยื่อบุนี้เข้าไปออกฤทธิ์และก่อพิษในสมองได้ เจตนากับการได้รับสารพิษ84, 140, 343 การได้รับพิษอาจเกิดขึ้นอย่างจงใจหรือเจตนา (intention) อย่างไม่รู้หรือไม่เจตนา (uninten- tion) หรืออย่างรู้ว่ามีพิษแต่ต้องสัมผัสหรือรับเข้าสู่ร่างกายเพื่อประโยชน์บางประการ เช่น ยารักษา โรค หรือสารเคมีที่ต้องท�ำงานด้วย การรับสารเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เจตนา ไม่รู้ตัว หรือไม่รู้ว่ามีพิษหรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ พบมากในเด็กเล็ก ในผู้ใหญ่มักเกิดจากการถูกวางยาหรือฆาตกรรม (homicide) อาชญากรรม (crime) การใช้เป็นอาวุธเคมีภัณฑ์ (chemical warfare) หรืออาวุธชีวภาพ (biological warfare) และจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม การเจตนารับสารพิษ เช่น การกินเหล้า การสูบบุหรี่ การใช้ สารเสพติด การกินยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าตัวตาย (suicide) การท�ำงานในเหมืองแร่ การท�ำงานกับ แอมโมเนียในการผลิตเครื่องท�ำความเย็น ฯลฯ การได้รับพิษอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจ�ำวัน จาก
  • 6. 6 การประกอบอาชีพ (occupation) จากสิ่งแวดล้อม จากอุบัติเหตุ (accident) หรือจากการก่อ วินาศกรรม (terrorism) อาชญากรรม และสงคราม การปกป้องตนเองจากสารพิษ84, 140, 343 แม้ว่าสารทุกชนิดสามารถก่อพิษได้ แต่การเกิดพิษไม่ได้เกิดขึ้นง่าย สารจ�ำนวนมากที่รับหรือ สัมผัสในชีวิตประจ�ำวันไม่ก่อพิษ เพราะร่างกายมีระบบปกป้องตนเอง (self defense mechanism) ตั้งแต่ผิวหนังส่วนนอกหรือหนังก�ำพร้าท�ำหน้าที่ป้องกันสารนอกร่างกายที่สัมผัสหรือจับต้องไม่ให้ผ่าน เข้าสู่ร่างกาย กะโหลกศีรษะปกป้องเนื้อสมองไม่ให้สัมผัสกับสารภายนอก ขนจมูก เมือกหรือมูกใน โพรงจมูก และเซลล์ขนบุทางเดินหายใจ (ciliated respiratory epithelial cell) ช่วยดักจับและ โบกพัดฝุ่นผงหรือสารที่ไม่ละลายน�้ำให้ออกไปจากทางเดินหายใจ การไอหรือจามช่วยขจัดสารที่เข้าไป ในทางเดินหายใจส่วนต้น หนังตาที่ปิดทันทีที่มีสารพุ่งหรือกระเด็นเข้าตา น�้ำตาช่วยหล่อลื่น เจือจาง และขับสารออกจากดวงตา การอาเจียนหรือท้องเสียช่วยขจัดสารที่กินเข้าไป เป็นต้น การปกป้องตนเองจากความเป็นพิษยังเกิดจากระบบประสาทรับความรู้สึกที่ถูกประมวลผลใน สมองให้ต้องหลีกหนี เช่น หากได้กลิ่นเหม็นฉุน แสบตาแสบจมูก จะทนไม่ไหวและรีบเดินหนีหรือ ออกห่างจากบริเวณนั้น รสขมหรือเปรี้ยวจัด กินแล้วอาจแสบปาก คลื่นไส้ ปวดท้อง ท�ำให้ต้องหยุดกิน หรือคายทิ้ง การกินหรือดื่มมากเกินไป จะท�ำให้รู้สึกอิ่ม เอียน หรือกลืนไม่ลง จนต้องหยุดกินหรือ อาเจียนส่วนเกินออก ดังเช่นที่พบบ่อยในการแข่งกินอาหาร ความเป็นพิษของสารยังเกิดจากการรับรู้ และจดจ�ำจากประสบการณ์หรือการบอกต่อ เช่น ควันบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด ส่วนที่ด�ำไหม้เกรียม บนเนื้อย่างเป็นสารก่อมะเร็ง สลอดก่อให้เกิดอาการท้องเสีย หมามุ่ยท�ำให้คัน ฯลฯ ท�ำให้ป้องกัน ตนเองโดยการหลีกเลี่ยง ไม่รับหรือสัมผัสสารนั้น ซึ่งการป้องกันตนเองจากสารพิษโดยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ในเด็กเล็กมีประสบการณ์และการเรียนรู้น้อย ท�ำให้เด็กเล็กเสี่ยง ต่อการได้รับพิษมากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากการปกป้องตนเองของร่างกาย วิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท�ำให้ มีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต การท�ำงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนอยู่หรือ ท�ำงานกับสารได้อย่างปลอดภัย เช่น โรงงานมีระบบระบายอากาศ ป้องกันพิษต่อคนงาน มีระบบ บ�ำบัดน�้ำเสียหรือขจัดสารพิษ ท�ำลายความเป็นพิษก่อนปล่อยออกนอกโรงงงานหรือเข้าสู่สิ่งแวดล้อม การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรท�ำงานกับสารเคมีแทนคน การปฏิบัติตามวิธีการใช้สารอย่างปลอดภัย หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ถุงมือ (glove) แว่นตา (goggle) หน้ากากหรือผ้าปิดปาก-จมูก (mask) เสื้อคลุม (gown) รองเท้าบูต (boot)
  • 7. 2 สารพิษต่างจากสารก่อภูมิแพ้ ความเป็นพิษของสารพิษเกิดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่สัมผัสหรือได้รับ สารเข้าสู่ร่างกาย และก่อพิษกับทุกคนในลักษณะที่คล้ายกัน การเกิดพิษจากสารพิษจึงคาดเดาหรือ บ่งบอกได้ล่วงหน้า สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เช่น พิษจากการได้รับยาเกินขนาด (drug overdose) พิษเหล้า พิษยาฆ่าแมลง พิษตะกั่ว ฯลฯ ในคนทั่วไป ความรุนแรงของอาการพิษขึ้นกับ ปริมาณหรือขนาดของสารที่ได้รับในแต่ละครั้งเทียบกับขนาดและน�้ำหนักตัวของผู้ได้รับสาร โอกาส เกิดพิษและความรุนแรงของอาการพิษจะมากขึ้นในคนที่มีปัจจัยเสริมการเกิดพิษ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ อักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง การขจัดสารพิษออกจากร่างกายจะลดลง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง การขับทิ้ง สารพิษออกไปกับปัสสาวะจะลดลง ปัจจัยเสริมการเกิดพิษยังรวมถึงความบกพร่องทางพันธุกรรม เช่น มียีนสร้างเอนไซม์ขจัดสารพิษที่กลายพันธ์ุ ท�ำให้สร้างเอนไซม์ได้น้อย หรือสร้างเอนไซม์ที่สามารถ ท�ำงานได้น้อย สารพิษจึงถูกขจัดออกจากร่างกายช้า1-6 ความเป็นพิษ84, 140, 155, 343 ความเป็นพิษอาจแบ่งตามระยะเวลาการปรากฏอาการหลังสัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะแบ่งเป็นการเกิดพิษแบบเฉียบพลัน (acute) ปรากฏอาการพิษทันทีหลังสัมผัสหรือได้รับสาร เข้าสู่ร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง การเกิดพิษแบบล่าช้า (delayed) อาการพิษปรากฏหลังสัมผัสหรือ ได้รับสารเข้าสู่ร่างกายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง สารบางชนิดก่อให้เกิดอาการพิษหลังสัมผัสหรือได้รับ สารเข้าสู่ร่างกายนานกว่า 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3 วัน อาจเรียกว่า การเกิดพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) อาจแบ่งตามระยะเวลาการเกิดพิษเป็นแบบเฉียบพลัน หากไม่ถึงขั้นเสียชีวิต อาการพิษ จะหายภายใน 6 เดือน และแบบเรื้อรัง (chronic) ปรากฏอาการพิษนานกว่า 6 เดือนหลังได้รับ หรือสัมผัสสารครั้งแรก สารบางชนิดก่อพิษแบบเฉียบพลันเท่านั้น เช่น กรดเกลือในน�้ำยาล้างห้องน�้ำ โซดาไฟในน�้ำยาขจัดสิ่งอุดตันในท่อสารบางชนิดก่อพิษแบบเรื้อรังเท่านั้นเช่นสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่ สารบางชนิดก่อพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ขึ้นกับปริมาณที่ได้รับในแต่ละครั้ง บทที่ การเกิดพิษ
  • 8. 8 และความถี่ในการได้รับสาร เช่น แอลกอฮอล์ในเหล้า หากดื่มเหล้าในปริมาณมากภายในช่วงเวลาสั้น จะเกิดภาวะหยุดหายใจและเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน หากดื่มในปริมาณหนึ่งจะเกิดภาวะเลือดออกใน ทางเดินอาหารและตับอักเสบ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาหลายปีจะเกิดภาวะ ตับแข็งหรือมะเร็งตับ สารบางชนิดไม่เป็นพิษ แต่เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายกลับถูกแปรสภาพโดยเซลล์ในร่างกายได้เป็น สารพิษ เช่น เมทานอล (methanol) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเซลล์ตับแปรสภาพเป็นน�้ำยาดองศพหรือ ฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งจะระเหยให้ฟอร์มาลิน (formalin) เข้าไปท�ำลายเซลล์ และฟอร์มาลดีไฮด์ถูกแปร สภาพต่อเป็นกรดฟอร์มิก (formic acid) ที่ท�ำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด สารบางชนิดในปริมาณหนึ่ง ปลอดภัยต่อร่างกาย แต่หากรับในปริมาณมากเกินไปจะถูกแปรสภาพเป็นสารพิษ เช่น ยาแก้ปวด- ลดไข้ชนิดพาราเซตามอล (paracetamol, acetaminophen) หากกินในปริมาณมากในครั้งเดียว หรือกินปริมาณหนึ่งติดต่อกันมากกว่า 5 วัน เซลล์ตับจะแปรสภาพยาเป็นสารพิษแนพคิ (NAPQI, N-acetyl-p-benzoquinone imine) ไปท�ำลายเซลล์ตับ ท�ำให้ตับอักเสบ (chemical induced hepatitis) และอาจรุนแรงถึงขึ้นตับวาย (liver failure) สารบางอย่างไม่เป็นพิษ แต่หากได้รับร่วม กับอาหาร ยา หรือสารอื่นจะก่อพิษ เช่น สารสกัดจากกระเทียม มีสรรพคุณทางยามากมาย รวมทั้ง การยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากได้รับร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างเช่นแอสไพริน (aspirin) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุด (bleeding disorder) ได้ ความเป็นพิษอาจเกิดขึ้นเฉพาะที่ (local toxicity) ท�ำอันตรายเนื้อเยื่อเฉพาะบริเวณที่สัมผัส หรือทางที่สารผ่าน เช่น ผื่นพุพองที่ผิวหนังบริเวณสัมผัส แผลในช่องปากหรือการอักเสบของเยื่อบุ ทางเดินอาหารจากการดื่ม-กินสาร ความเป็นพิษอาจเกิดขึ้นเชิงระบบ (systemic toxicity) เมื่อสาร ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดจะไปก่อพิษกับระบบหรืออวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการ ท�ำงานและการอยู่รอดของระบบหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น สารไปก่อพิษกับระบบประสาท ท�ำให้ระบบประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อหยุดการท�ำงาน กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต กล้ามเนื้อ ช่วยการหายใจเป็นอัมพาต ท�ำให้หยุดหายใจ และเสียชีวิตจากการขาดอากาศ สารบางชนิดออกฤทธิ์กับเซลล์หรือเนื้อเยื่อจ�ำเพาะ เช่น สารก�ำจัดวัชพืชชนิดพาราควอต (paraquat) เมื่อไหลเวียนผ่านไปกับกระแสเลือด จะเลือกผ่านเข้าไปท�ำลายเซลล์ปอด (pneumo- cyte) จนปอดไม่สามารถท�ำงานได้และเสียชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจน สารก�ำจัดแมลงกลุ่มออกาโน- ฟอสเฟต (organophosphate) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะเลือกไปก่อพิษกับระบบประสาทอัตโนมัติ พาราซิมพาเทติก (parasympathetic) ท�ำให้ต่อมหลั่งสารคัดหลั่งมาก มีเหงื่อออกมาก น�้ำลาย ฟูมปาก ปัสสาวะและอุจจาระราด สารบางชนิดก่อพิษแบบไม่เจาะจงเซลล์ ก่อพิษกับทุกเซลล์ เช่น ไซยาไนด์ (cyanide, CN-) ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการหายใจหรือการสร้างพลังงานของ เซลล์ (oxidative phosphorylation) เป็นพิษกับเซลล์ทุกระบบหรืออวัยวะ สารบางชนิดก่อพิษกับ หลายระบบหรืออวัยวะด้วยกลไกที่ต่างกัน เช่น ตะกั่ว พิษที่ไต จะเข้าไปท�ำลายเซลล์บุท่อหน่วยไต
  • 9. 9 พิษต่อระบบเลือด จะเข้าไปยับยั้งการท�ำงานของเอนไซม์สร้างเฮโมโกลบิน ฯลฯ การกล่าวถึงสาร ที่เป็นพิษกับหลายระบบหรืออวัยวะ มักให้ความส�ำคัญกับระบบหรืออวัยวะที่พบการเกิดพิษบ่อย หรือภาวะพิษที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เช่น โลหะหนักมีพิษกับหลายระบบ แต่ที่ให้ความส�ำคัญมาก คือ การก่อพิษกับเซลล์ประสาทที่พบได้บ่อย และพิษต่อไตที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต ปัจจัยต่อการเกิดพิษ62, 84,127, 140, 155, 343, 459 การเกิดพิษของสารขึ้นกับลักษณะของสาร คุณสมบัติของผู้รับสัมผัสหรือได้รับสาร และปัจจัย แวดล้อมและการเข้าถึงสาร (ภาพที่ 2-1) ภาพที่ 2-1 ปัจจัยต่อการเกิดพิษ ลักษณะของสารทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น องค์ประกอบของโมเลกุล น�้ำหนัก ขนาด และรูปร่างของโมเลกุล ความเสถียรของโมเลกุล สถานะเป็นแก๊ส ของแข็งหรือของเหลว ความเป็นกรด-ด่าง ความสามารถในการละลายน�้ำ (hydrophilic) ความสามารถในการละลายใน ไขมัน (hydrophobic, lipophilic) ความสามารถในการระเหยเป็นไอ ความเข้มข้น ความสามารถ ในการสะสมในร่างกาย ความคงตัวหรืออัตราการสลายตัวโดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการ เกิดพิษ เช่น กรดแก่ในความเข้มข้นสูง แม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ก่อพิษอย่างรุนแรง แอมโมเนีย (ammonia, NH3) เป็นแก๊ส จึงสามารถแพร่เข้าไปและรบกวนการท�ำงานของสมองได้ การดื่มน�้ำ ที่ปนเปื้อนสารหนูทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จะท�ำให้ได้รับสารหนูเข้าไปสะสมในร่างกายจนเกิดพิษ สาร การเกิดพิษ ผู้ได้รับสาร ปัจจัยแวดล้อม
  • 10. 10 สารกัมมันตรังสี หากอยู่นอกร่างกาย ความเป็นพิษจะเกิดจากรังสีที่แพร่ออกมา แต่หากได้รับสาร กัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย สารกัมมันตรังสีจะแพร่รังสีออกไปท�ำลายเนื้อเยื่ออย่างต่อเนื่องจนเกิด พิษรุนแรง สารเคมีหลายชนิดจึงมีเอกสารก�ำกับด้านความปลอดภัย (material safety data sheet, MSDS) ซึ่งจะระบุชื่อสาร สูตรและโครงสร้างทางเคมี สถานะ ลักษณะทางกายภาพและเคมี การก่อ พิษ และแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดพิษ การน�ำสารไปใช้อย่างไม่เหมาะสมมีผลให้เกิดพิษ เช่น ยาทาภายนอก ออกแบบให้ใช้ได้อย่าง ปลอดภัยหากใช้ทาที่ผิวหนัง แต่หากน�ำไปกินจะก่อพิษได้ หรือยาเม็ดที่ออกแบบมาเพื่อให้กินเข้าไป หากน�ำไปละลายน�้ำและฉีดเข้าหลอดเลือดจะได้ผงแป้งของเม็ดยาเข้าไปในกระแสเลือดและไปก่อ การอักเสบกับเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในได้ รูปแบบของสารที่รับเข้าไปมีผลต่อการเกิดพิษเช่นที่ ปรากฏเป็นข่าว ยาสมุนไพรตามภูมิปัญญาชาวบ้าน จะใช้ชิ้นส่วนของพืช (crude raw material) เช่น ใบ ดอก หรือราก น�ำไปกินสด ตากแห้ง ต้ม หรือท�ำเป็นอาหาร ซึ่งจะปลอดภัยหรือมีพิษน้อย แต่ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสนองความต้องการให้ได้ยาสมุนไพรในรูปที่กินง่าย มีสารออกฤทธิ์ (active ingredient) เข้มข้น หรือกินในปริมาณน้อยแต่ได้ผลการรักษามาก ท�ำให้มีการแยกสกัด (extraction) เอาเฉพาะสารออกฤทธิ์มาท�ำเป็นผงหรือแคปซูล (capsule) รายงานที่ปรากฏจ�ำนวน หนึ่งคือ ความเป็นพิษของยาสมุนไพรสกัดจากการได้รับสารออกฤทธิ์เข้าไปมากจนก่อพิษ เช่น สาร สกัดบาราคอล (barakol) จากใบขี้เหล็ก มีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง แต่ถ้ากินในปริมาณมาก จะ ท�ำให้ตับอักเสบ ปัจจัยต่อการเกิดพิษจากคุณสมบัติของผู้ที่สัมผัสหรือได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น อายุ เด็กเล็ก มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย จากพฤติกรรม ความไร้เดียงสา ขาดประสบการณ์ ไม่รู้จักการป้องกันตนเอง ช่างส�ำรวจ ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก มีขนาดร่างกายและน�้ำหนักตัวน้อย จึงเกิดพิษได้ที่ความเข้มข้นของสารต�่ำ อวัยวะที่ก�ำลังเจริญและพัฒนา เช่น สมอง กระดูก มีความไว ต่อการได้รับสารพิษและการเกิดพิษ ระบบป้องกันตนเองของร่างกาย เช่น ผิวหนัง หรือระบบ เกราะก�ำบังเลือดในสมอง (BBB, blood brain barier) และอวัยวะก�ำจัดสารพิษอย่างตับและไต ยัง พัฒนาไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ท�ำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงยอมให้สารผ่านเข้าสู่อวัยวะเป้าหมาย และขจัด สารพิษออกจากร่างกายได้ช้า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดพิษง่ายเช่นกัน จากความเสื่อมชราของระบบ ภูมิคุ้มกันและอวัยวะต่าง ๆ จนท�ำงานได้ไม่ดี ไตเสื่อม ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ลดลง และมักมี โรคประจ�ำตัว ท�ำให้ต้องกินยาเป็นประจ�ำ ซึ่งยาที่กินอาจเสริมความเป็นพิษของสารที่ได้รับเข้าไปได้ เพศหญิงและชายมีโครงสร้างร่างกายและระบบฮอร์โมนที่ต่างกัน การเกิดพิษในเพศหญิงขึ้นกับสถานะ ขณะได้รับสารพิษด้วย หากอยู่ในขณะตั้งครรภ์ ความเป็นพิษอาจมีผลต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ หากอยู่ในขณะให้นมบุตร สารพิษอาจปนเปื้อนในน�้ำนมไปก่อพิษกับทารกได้ เชื้อชาติหรือลักษณะ ทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดพิษ ผู้ที่มียีนผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแพ้สาร โมเลกุลเป้าหมายใน การก่อพิษของสารและเอนไซม์ที่ใช้ในการขจัดพิษของสารถูกควบคุมการสร้างทั้งเชิงคุณภาพการ
  • 11. 11 ท�ำงานและปริมาณโดยยีนหรือสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA, deoxyribonucleic acid) ผู้ที่มียีน สร้างสารชีวโมเลกุลผิดปกติ จะไว (sensitive) ต่อการเกิดพิษ หรือปริมาณสารเพียงเล็กน้อยสามารถ ก่อพิษได้รุนแรงกว่าคนทั่วไป โรคประจ�ำตัวหรือภาวะผิดปกติที่เป็นอยู่โดยเฉพาะโรคไตหรือโรคตับจะท�ำให้เกิดการคั่งของสาร จนถึงระดับก่อพิษได้ ระบบภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนเอง มีผลต่อการป้องกันไม่ให้สารเข้าสู่ร่างกาย หากภูมิคุ้มกันหรือระบบป้องกันตนเองบกพร่อง เช่น มีแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่สามารถสร้างเมือกหรือเม็ดเลือดขาวไปก�ำจัดเชื้อโรคและสารพิษได้ จะท�ำให้ได้รับสารพิษได้ง่าย ปัจจัยจากการด�ำรงชีพ พฤติกรรมและสุขอนามัยส่วนบุคคล และสุขอนามัยของคนในชุมชนมีผลต่อ การได้รับพิษ เช่น การดื่มเหล้าจะท�ำให้หลอดเลือดขยายตัว กระแสเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้มาก หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไป สารพิษในกระแสเลือดจะผ่านไปก่อพิษที่อวัยวะต่าง ๆ ได้เร็ว ขึ้น การกินผักหรือผลไม้โดยไม่ล้างจะเสี่ยงได้รับสารก�ำจัดศัตรูพืชหรือปุ๋ยที่ปนเปื้อน การกินอาหารใส่ สีหรือลูกชิ้นเด้ง ย่อมได้รับโลหะหนักจากสีหรือบอแรกซ์จากผงกรอบ การอยู่ในบริเวณที่มีการจราจร หนาแน่นย่อมได้รับสารพิษจากควันท่อไอเสีย ปัจจัยต่อการเกิดพิษจากปัจจัยแวดล้อมและการเข้าถึงสารปัจจัยแวดล้อมเช่นอุณหภูมิมีผลต่อ การกลายเป็นไอระเหยของสาร ความชื้นหรือปริมาณไอน�้ำในอากาศ มีผลต่อการแปรสภาพและ ความเป็นพิษของสาร การถ่ายเทอากาศ กระแสลม กระแสน�้ำ มีผลต่อการแพร่กระจายของสาร เป็นต้น การเข้าถึงสารคือ การมีสารในบริเวณนั้น การผลิต น�ำเข้า หรือจ�ำหน่ายสาร การจัดเก็บสาร การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารนั้นเป็นส่วนประกอบ และการเป็นมลพิษของสาร สารพิษในสิ่งแวดล้อมหรือ มลพิษเป็นสิ่งที่คนในชุมชนต้องเผชิญหรือเข้าถึงมากกว่าคนที่อยู่ห่างไกลออกไป การแพร่กระจาย ของมลพิษไปกับกระแสลม พายุ น�้ำฝน กระแสน�้ำ หรือผ่านไปในห่วงโซ่อาหาร ท�ำให้สารกระจายไป ก่อพิษกับคนที่ห่างไกลออกไป แก๊ส สารระเหย และฝุ่นผง หากกระจายในที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี จะถูกเจือจางจนก่อพิษได้น้อย แต่หากรวมตัวในสถานที่ปิดจะก่อพิษรุนแรง การท�ำงานกับสารเคมี ปริมาณมาก มีโอกาสได้รับสารเข้าสู่ร่างกายมาก การขนส่งสารปริมาณมาก หรือการเก็บสารปริมาณ มากในห้องเก็บสาร หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถขนส่งสารคว�่ำ การรั่วไหลของสารจากถังเก็บ จะก่อให้ เกิดการแพร่กระจายของสารในสิ่งแวดล้อม เป็นพิษต่อคนงานและคนในชุมชน ภูมิประเทศมีผลต่อการเข้าถึงสารพิษ ประเทศที่อยู่ติดทะเล เช่น ญี่ปุ่น ประชาชนมีโอกาส ได้รับพิษจากสัตว์ทะเลหรืออาหารทะเล ประเทศเขตหนาวมีการใช้เอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) เป็นสารต้านการแช่แข็ง (anti-freezer) ในหม้อน�้ำรถจึงพบการเกิดพิษจากเอทิลีนไกลคอล ได้ ประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย แมลงศัตรูพืชและเชื้อโรคเจริญได้ดี ความเป็นพิษจึงมักเกิด จากการใช้สารก�ำจัดศัตรูพืช สารระงับหรือฆ่าเชื้อโรค และยาปฏิชีวนะ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และสิ่งที่ถือปฏิบัติในชุมชน มีผลต่อการได้รับสารพิษ เช่น ความนิยมเคี้ยวหมาก อมยาเส้นของคนไทย ในอดีต ท�ำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก การเกิดมะเร็งในประเทศอุตสาหกรรม มักมีสาเหตุจากมลพิษใน
  • 12. 12 สิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศเกษตรกรรม สาเหตุของมะเร็งมักเกิดจากการติดเชื้อและสารพิษจาก เชื้อโรค เช่น อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) จากเชื้อรากับการเกิดมะเร็งตับ ปัจจัยแวดล้อมยังรวมถึง สิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารที่ร่างกายได้รับพร้อมกัน อาจเป็นแบบ เสริมพิษกัน (additive effect) ก่อพิษที่โมเลกุลหรือเซลล์เป้าหมายเดียวกัน แบบเพิ่มพิษทวีคูณ (synergistic effect) ก่อพิษที่เป้าหมายต่างกันแต่ให้ผลเหมือนหรือคล้ายกัน หรือแบบเพิ่มศักยภาพ การก่อพิษ (potentiation) สารหนึ่งไม่เป็นพิษแต่เมื่อได้รับร่วมกับอีกสารหนึ่งกลับกลายเป็นพิษ ความเป็นพิษ ประมาณ 5% เกิดจากการมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ (ภาพที่ 2-2) กรณีนี้จะท�ำให้ สารที่ไม่เป็นพิษหรือมีพิษไม่ร้ายแรงกับคนทั่วไป กลายเป็นสารพิษหรือมีพิษรุนแรงในคนที่มียีน ผิดปกติ เช่น ผู้ที่มียีนผิดปกติท�ำให้สร้างเอนไซม์จี 6 พีดี (G-6PD, glucose-6-phosphate dehydrogenase) ได้น้อยหรือมีภาวะพร่องเอนไซม์จี 6 พีดี (G6PD deficiency) หากกินถั่วปากอ้า (fava bean) หรือยารักษาโรค เช่น แอสไฟริน วิตามินซี วิตามินเค ควินิน (quinine) หรือยาซัลฟาใน ขนาดรักษา (therapeutic dose) จะเกิดพิษกับเม็ดเลือดแดง มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) เป็นต้น ความเป็นพิษ ประมาณ 40% เกิดจากการมียีนผิดปกติร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ท�ำให้ บุคคลที่มียีนผิดปกติไวต่อการเกิดพิษของสาร เช่น ผู้ที่มียีนควบคุมการสร้างเอนไซม์แอลดีไฮด์ดี ไฮโดรจีเนส (aldehyde dehydrogenase) บกพร่อง สร้างเอนไซม์ได้น้อย จะเกิดอาการหน้าแดง ตัวแดง คลื่นไส้ และมึนศีรษะ ภายหลังดื่มเหล้าปริมาณเล็กน้อย เนื่องจากมีการคั่งสะสมของแอลดีไฮด์ ในกระแสเลือด ความเป็นพิษ ประมาณ 55% เป็นผลจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมหรือการได้รับสารพิษใน ปริมาณก่อพิษ เช่น การชักเกร็งจากพิษบาดทะยัก การปวดกระดูกจากพิษปรอท ภาพที่ 2-2 การเกิดพิษจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม + พันธุกรรม พันธุกรรม