SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
มหัศจรรย์
ป่าสาคู
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
กันทิมา จารุมา
โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข
สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
125
เกือบสิ้นท่า หากเสียป่าสาคู
รัฐพร คำ�หอม
โพสต์ทูเดย์ 26 ส.ค. 51
	 เป็นครั้งแรกที่ได้ไปเยือน จ.ตรัง และเป็นครั้งแรกที่ได้ฟังเรื่องราวของ “ป่าสาคู”
เกือบเสียดายถ้าไม่ได้รู้ เกือบไม่ได้ดูถ้าป่าสาคูถูกทำ�ลาย ขอบคุณชาว อ.นาโยง จ.ตรัง
ที่เขารวมกลุ่มกันอนุรักษ์ไว้พูดถึง “สาคู” เชื่อว่าส่วนใหญ่จะนึกถึงสาคูไส้หมู แป้งสาคู
เม็ดกลมผสมน้ำ�นวดให้เป็นเนื้อเดียว ห่อไส้หมูสับ ถั่วลิสงตำ� ไชโป๊ว ปรุงรสหวานนำ�เค็ม
นิด ตั้งรังถึงให้น้ำ�ร้อน นึ่งจนสาคูเม็ดใสเห็นไส้ตรงกลางดูน่ากิน ค่อยบรรจงห่อเข้ากับใบ
ผักกาดหอม ตามด้วยผักชี และพริกขี้หนู ยิ่งได้ลูกโดดยิ่งอร่อยล้ำ�แบบน้ำ�ตาเอ่อ
	 หากภาพของขนมสาคูที่ได้ไปเห็นแตกต่างกันลิบลับกับสาคูไส้หมูที่เคยคุ้น
เมื่อแกะห่อใบตองได้เห็นขนมแป้งกวนสีน้ำ�ตาลขุ่นที่รู้ได้ทันทีนี่คือสีธรรมชาติ
ไร้วิทยาศาสตร์ หรือสารเคมีใดมาร่วมปรุงแต่ง รสและกลิ่นเฉพาะตัวของแป้งสาคูที่
บรรยายออกมาได้ยากนอกจากให้ลองชิมเอง รสชาติหวานปะแล่ม โดยรวมแล้วอร่อย
แปลกลิ้น ทั้งกลิ่นหอมจากใบตองที่ห่อ และกลิ่นแป้งสาคู ทั้งหมดทั้งมวลรวมกันบ่งบอก
ตัวตนว่า “นี่คือวิถีแห่งท้องถิ่นไทย” แล้วยิ่งทำ�ความรู้จักลึกลงไป สาคูไม่ใช่พืชที่แสดงภูมิ
รู้ของชาวบ้านเพื่อมาใช้ทำ�อาหารและขนมเท่านั้น แต่ประโยชน์มีอีกมากเหลือหลาย
	 สรุปให้รู้กันง่ายๆ ก่อน ...ถ้าป่าชายเลนมีต้นโกงกางเป็นแหล่งกำ�เนิดชีวิต และ
ความอิ่มปากอิ่มท้อง ต้นสาคูก็ถือเป็นโกงกางแห่งลุ่มน้ำ�จืด ที่ทรงคุณค่าไม่ได้น้อยไปกว่า
กัน
ความเจริญรุกวิถีชีวิต
มหัศจรรย์ป่าสาคู
126
ความเจริญรุกวิถีชีวิต
ความยั่งยืนก็หายไปหลังจากลืมตาขึ้นมาเผชิญความจริงเช่นกัน
อ.สมนึก โออินทร์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าสาคูแห่งนาโยง ค่อยเล่าย้อนอดีตที่แม้
น้ำ�เสียงจะแผ่วเบาแต่หนักแน่นด้วยความทรงจำ�และความหวังที่จะเห็นความอุดม“ในน้ำ�
มีปลาในนามีข้าว”คงคู่กับนาโยงไปชั่วลูกหลานผู้อาวุโสบอกว่าป่าสาคูนั้นสร้างแหล่งอุดม
ของอาหารการกินคำ�ว่าป่าสาคูนั้นจริงๆแล้วไม่ต้องออกเดินทางไกลไปกว่าบริเวณบ้านเลย
เพราะบ้านเรือนที่มักตั้งกันอยู่ตามแม่น้ำ�ลำ�คลองท้องถิ่นตรังนั้น มีต้นสาคูเป็นแนวควบคู่
ไปตลอด ที่ดินบ้านไหนมากหน่อยสาคูก็กินบริเวณกว้าง แต่เรียกได้ว่าไม่มีบ้านริมคลอง
ไหน ที่ต้นสาคูจะไม่ขึ้นอยู่คู่เคียง
คุณสมบัติของต้นสาคูที่เป็นมิตรกับพืชผักพื้นบ้านนานาพันธ์ อ.สมนึก บอกว่า
ลำ�พังแค่ผักก็มีอยู่ 70 - 80 ชนิด สมุนไพรอีกไม่ต่ำ�กว่า 40 ชนิด แค่เดินวนๆ เวียนๆ ก็ได้
ผักกำ�ใหญ่มาต้มยำ�ทำ�แกง ส่วนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นเหรอ กุ้ง หอย ปู ปลา ก็หาได้จาก
ลุ่มน้ำ�เดียวกันนั่นล่ะ ปลาดุกย่าง ผักหนามดอง ย้อนหลังกลับไปก่อนปี 2544 สิ่งที่เกิดขึ้นใน
พื้นที่ อ.นาโยง และหลายอำ�เภอของ จ.ตรัง คือการเร่งปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ ยางพารา
ปาล์ม นาข้าวถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้ง หลายพื้นที่จึงถูกแผ้วถางรวมไปถึงดงป่าสาคูด้วย
ส่วนนาข้าวที่มีอยู่ก็ไม่รู้ว่าถูกอะไรเลือนตา มองว่าต้นสาคูที่เรียงรายระเกะระกะริมคลอง
เป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ�ที่เป็นปัจจัยหลักของการทำ�นา ชาวบ้านเองตัดทำ�ลายต้นสาคู แล้ว
(อาจหรือทำ�เป็น)ไม่รู้จากทางการผสมเข้าไปอีกส่งเจ้าหน้าที่เครื่องไม้เครื่องมือมาขุดลอก
ระบายคลอง ตัดต้นสาคูเสียเหี้ยน หวังให้ทางน้ำ�ไหลคล่อง
“แต่เมื่อการพัฒนามันเข้ามา มันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนก็ไปตามกระแสใหม่ สาคู
ถูกทำ�ลายถูกลืมถูกโค่นหันไปปลูกยางปลูกปาล์มกันแต่เพียงพักเดียวเท่านั้นแหละวิถีแห่ง
ความอุดมก็หายไปของที่เคยหากินง่ายๆก็ต้องใช้การซื้อคนยากคนจนที่เคยหากินริมคลอง
ก็หมดปัญญา หมดรายได้ ทางน้ำ�ที่ทางการมาช่วยขุด ก็กลายเป็นว่าไหลคล่องร่องสะดวก
แต่ไม่เกิดการกักเก็บจากที่ไม่เคยเจอน้ำ�ท่วมมาก่อนก็กลับเกิดเมื่อถึงหน้าแล้งก็ลำ�คลองแห้ง
ไม่มีน้ำ�ท่าปูปลาหายไปหมดเป็นความเสียหายที่มีแต่ทำ�ให้น้ำ�ตารินไหลเดิมนั้นคนนาโยง
ขึ้นชื่อว่ามีนาดีคลองอุดม”แอบสังเกตได้ว่าสายตาของผู้อาวุโสแห่งนาโยงเศร้าซึมเมื่อนึกถึง
อดีตที่เคยผ่านช่วงเลวร้าย ที่รก...ไม่ได้เรื้อ
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
127
	 คงเป็นเพราะความคุ้นเคยหรือใกล้ตาจนเกินไป จึงทำ�ให้เห็นต้นสาคูที่อัดแน่นอยู่
มากมายกลายเป็นความรกเรื้อ การตัดการทำ�ลายจึงค่อยๆ เริ่มขึ้น แต่ภายใต้ความรกนั้น
จริงๆ แล้ว เป็นปราการธรรมชาติที่ทั้งช่วยป้องกันและสร้าง ไม่ใช่ทำ�ลาย เหตุแห่งน้ำ�ท่วมนั้น
เพราะไม่มีต้นสาคูมาช่วยชะลอความเร็วแรงยามน้ำ�หลาก และที่ร้ายกว่านั้นยามหน้าแล้ง
เกิดเป็นความแล้งจัดเพราะไม้อื่นที่นำ�มาปลูกแทนไม่มีคุณสมบัติการอุ้มน้ำ�เหมือนต้นสาคู
ดินแยกแตกระแหง อย่าว่าแต่ข้าวไม่ขึ้นหญ้ายังไม่อยากแทงกอเดือดร้อนกันไปทั่ว
ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งเป็นหลักแห่งนาโยงที่เป็นหลักยึดอย่างแท้จริง ไม่ใช่เก่าแก่กันไป
ตามกาลเวลาอย่างไม่ยอมลุกขึ้นสู้ รวมตัวกันขึ้นมาอนุรักษ์และปลูกเพิ่มต้นสาคู รวมกับ
กำ�ลังที่ค่อยเพิ่มเสริมแรง ไม่เพียง อ.สมนึก แต่ยังมีอาจารย์รุ่นใหม่อย่าง อ.กันทิมา จารุมา
ครูโรงเรียนนาโยงวิทยาคม ป้าละเมียด ป้าเอียด พ่อเฒ่าเยียม นายอำ�เภอ อบต. และอีก
หลายคนที่รวมกลุ่มเข้ามา มีชุมชนที่ผู้ใหญ่เหล่านี้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้
มีเด็กๆ จากโรงเรียนนาโยงวิทยาคม ร่วมรับสืบทอด แถมยังทำ�หน้าที่บอกต่อออก
ไปต่างถิ่น ที่ผู้ใหญ่ถึงกับชมเปาะ “รุ่นเด็กเขาพูดคุย อธิบายได้เก่งกว่าเรา”
	 นอกจากนี้ ยังได้นักพัฒนาอาชีพ จากสมาคมหยาดฝน มาร่วมช่วยเหลือ
พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานสมาคมหยาดฝน บอกว่าที่เข้ามาทำ�งานร่วมกับชาวบ้านนั้น
เพราะเห็นว่าแนวทางการอนุรักษ์ที่ชาวบ้านทำ�ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ควรเพิ่มความ
รู้เข้าไปอีก เพิ่มให้เป็นป่าชุมชน ป่าต้นน้ำ� เพื่อรักษาระบบนิเวศ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ�
จืดต่างๆ และทำ�ให้เกิดเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ป่าสาคูของภาคใต้ขึ้นมา เพราะต้นสาคูนั้น
ไม่ใช่เป็นพืชถิ่นลำ�พังของนาโยง แต่เป็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ�ในภาคใต้ทั่วไป รวมไปถึง
ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเขาก็พยายามหาประโยชน์ สร้างเศรษฐกิจจากป่าสาคูอยู่
เช่นกัน
	 “ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องไม้เศรษฐกิจ สาคูอาจทำ�เงินได้มากกว่ายางพาราเสียอีก
เพราะถ้าเทียบในเรื่องการทำ�แป้ง ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกสาคูได้ 80 ต้น จะทำ�รายได้เป็นแสน
บาทเลยทีเดียว ยังไม่นับรวมคุณสมบัติความเป็นพืชอุ้มน้ำ� ไม่นับกุ้ง หอย ปู ปลา พืชผัก ที่
จะเกิดในป่าสาคูอีกไม่รู้เท่าไหร่ เราจึงอยากเข้ามาช่วยตรงนี้ เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วย
งานใดมาช่วยอย่างจริงจัง”
มหัศจรรย์ป่าสาคู
128
	 ความเขียวชอุ่มจึงค่อยกลับมาสู่นาโยง ภาพนาข้าวที่น้ำ�อุดมคงบ่งบอกได้ชัด
คู่เคียงไปกับต้นสาคูริมคลองที่ขึ้นคู่ขนานไปกับริมนา ต้นไหนถึงเวลาตายไปตามอายุขัย
ก็ค่อยปลูกทดแทน ที่หายไปเลยก็ปลูกใหม่ เพิ่มพื้นที่ให้ป่าสาคูได้กลับมา แม้จะจำ�นวน
เท่าเดิมแต่ก็ยังดีกว่าให้ขาดหายไป...ชาวนาโยงรู้ซึ้งแล้วประโยชน์มากหลาย
	 สาคูเป็นไม้ตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ขึ้นในภาคใต้โดยเฉพาะใน จ.ตรัง พัทลุง
นครศรีธรรมราช ปัตตานี และนราธิวาส สาคูที่พบมี 2 ชนิด คือ ชนิดยอดสีแดงขนาด
ต้นโตกว่าชนิดยอดสีขาว และยอดสีขาวชนิดนี้ใบสั้นและเปราะกว่า
	 สาคูเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและเมล็ดเป็นพืชที่ต้องการ
ปริมาณน้ำ�สูงมีฝนตกสม่ำ�เสมอหรือค่อนข้างตกชุกชอบความชุ่มชื้นแต่อากาศร้อนชอบขึ้น
ในที่ลุ่ม เป็นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำ�จืดขังตลอดปี เช่น ในพรุ แต่ถ้าหากน้ำ�ท่วมหรือน้ำ�แห้งเป็น
ระยะสาคูก็สามารถทนต่อสภาพนั้นได้
	 ใน จ.ตรัง พบได้ทั่วไป ขึ้นตามแหล่งน้ำ�จืดตั้งแต่เชิงเขาถึงชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะ
ตามพรุ หนอง บึง หรือตามชายคลองริมห้วย แหล่งที่พบมากใน จ.ตรัง คือ อ.ห้วยยอด
อ.เมืองและอ.นาโยงหรืออาจกล่าวได้ว่าสาคูขึ้นอยู่ชุกชุมแถบลุ่มน้ำ�ตรังส่วนใหญ่วิถีชีวิต
ชาวบ้านแถบนี้ผูกพันกับสาคูมาตั้งแต่อดีต มีการบำ�รุงรักษาตามวิธีการพื้นบ้าน หากขึ้น
ในคลองขวางทางน้ำ�ก็จะตัดแต่งแยกเอาทางหรือวัชพืชออกให้น้ำ�ไหลสะดวกพอฤดูฝนน้ำ�
ก็จะไหลเข้านาให้ได้ทำ�นากันทุกปี ทุ่งนาใกล้ป่าสาคูจึงอุดมสมบูรณ์ข้าวงามและภูมิทัศน์
ที่สวยงาม
	 ใบสาคูใช้ใบสาคูเย็บเป็นตับสำ�หรับมุงหลังคาและกั้นฝามีความทนทานกว่าจาก
ที่ทำ�จากใบไม้ชนิดอื่นๆโดยปกติจะมีอายุการใช้ประโยชน์6-10ปีและถ้านำ�ไปแช่น้ำ�เสีย
ก่อนประมาณ 15 วัน ถึง 1 เดือน อาจใช้งานได้นานกว่า 10 ปี
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
129 129
	 ทางสาคูที่มีความยาวประมาณ3-4เมตรเลยส่วนกาบขึ้นไปจะกลมและเรียวไป
หาปลายทางถ้าตัดปลายทิ้งให้เหลือยาวประมาณ1-2เมตรนำ�มาลอกเอาส่วนเปลือกนอก
ซึ่งเรียกว่า “หน้าสาคู” ทำ�เป็นตอก ใช้สาน เสื่อ กระบุง กระด้ง รวมทั้งทำ�เครื่องมือประมง
ถ้านำ�ทางสาคูมาตากให้แห้งใช้ทำ�คอกเป็ด ไก่ มีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1 - 2 ปี หรือ
ทำ�รั้วกั้นสวนผัก นำ�มาตกแต่งโรงร้านก็ได้ ไส้ในทางสาคูทำ�จุกขวด หรือใช้บอดกระบอก
ข้าวหลาม หรือนำ�มาใช้แทนโฟม ยางสาคู ถ้าตัดทางสาคูสดจากลำ�ต้น แล้วตัดเป็นท่อน
ยาวประมาณท่อนละ 1 คืบ ทิ้งไว้ประมาณ 20 - 30 นาที จะมียางไหลออกมาทางรอยตัด
ทั้ง 2 ข้าง ยางเป็นสีใส และมีความเหนียวใช้แทนกาวปิดกระดาษได้ ผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายหญิง
ยังแอบกระซิบบอกด้วยว่า ยางสาคูเนี่ย ตอนสาวๆ เอามาทาหน้ารักษาผิวพรรณกันด้วย
	 การทำ�เป็นอาหารการกินนั้น นอกจากเป็นขนมแป้งกวนอย่างที่ได้เห็น ป้าเมียด
มือดัดแปลงยังนำ�มาทำ�เป็นเส้นพาสตาเสียหรู ป้าเอียด น้องอ๋อ เด็กรุ่นใหม่ ที่พาชมสถาน
ที่ยังชี้ชวนชมสาคูต้นใหญ่ ใกล้ออกดอก ที่สามารถนำ�ไส้ลำ�ต้นมาบดละเอียด ทำ�แป้งสาคู
และเม็ดสาคู ตัวด้วงสาคู (คงเหมือนหนอนไม้ไผ่ หรือเมนูรถด่วนของทางเหนือ) ที่เกิดจาก
ต้นสาคูที่ล้มเอามาคั่วใส่เกลืออร่อยมันสุดๆ
ประโยชน์ของต้นสาคู ยังเป็นพืชที่ทำ�ให้น้ำ�ในลำ�ห้วยใส เป็นที่วางไข่ของปลา เป็นที่กรอง
สิ่งสกปรกที่ไหลมากับน้ำ�
ศัตรูเพียงอย่างเดียวของป่าสาคู ที่มีคือ คนที่ขุดลอก ทำ�ลายป่าสาคู เกือบไปแล้วไหมล่ะ
เกือบจะสิ้นท่าเลยนะ...ป่าสาคู
ที่มา : โพสต์ทูเดย์  วันที่ 26/08/2008

More Related Content

Viewers also liked

8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมครู กัน
 
9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคูครู กัน
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคูครู กัน
 
Right2Change Trademark Presentation
Right2Change Trademark PresentationRight2Change Trademark Presentation
Right2Change Trademark PresentationDave Gibney
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคูครู กัน
 
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวานครู กัน
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคูครู กัน
 
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียงครู กัน
 
19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรมครู กัน
 

Viewers also liked (11)

8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
 
7ด้วง
7ด้วง7ด้วง
7ด้วง
 
9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
 
Right2Change Trademark Presentation
Right2Change Trademark PresentationRight2Change Trademark Presentation
Right2Change Trademark Presentation
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
 
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
 
7ด้วง
7ด้วง7ด้วง
7ด้วง
 
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
 
19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม
 

17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู

  • 2. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 125 เกือบสิ้นท่า หากเสียป่าสาคู รัฐพร คำ�หอม โพสต์ทูเดย์ 26 ส.ค. 51 เป็นครั้งแรกที่ได้ไปเยือน จ.ตรัง และเป็นครั้งแรกที่ได้ฟังเรื่องราวของ “ป่าสาคู” เกือบเสียดายถ้าไม่ได้รู้ เกือบไม่ได้ดูถ้าป่าสาคูถูกทำ�ลาย ขอบคุณชาว อ.นาโยง จ.ตรัง ที่เขารวมกลุ่มกันอนุรักษ์ไว้พูดถึง “สาคู” เชื่อว่าส่วนใหญ่จะนึกถึงสาคูไส้หมู แป้งสาคู เม็ดกลมผสมน้ำ�นวดให้เป็นเนื้อเดียว ห่อไส้หมูสับ ถั่วลิสงตำ� ไชโป๊ว ปรุงรสหวานนำ�เค็ม นิด ตั้งรังถึงให้น้ำ�ร้อน นึ่งจนสาคูเม็ดใสเห็นไส้ตรงกลางดูน่ากิน ค่อยบรรจงห่อเข้ากับใบ ผักกาดหอม ตามด้วยผักชี และพริกขี้หนู ยิ่งได้ลูกโดดยิ่งอร่อยล้ำ�แบบน้ำ�ตาเอ่อ หากภาพของขนมสาคูที่ได้ไปเห็นแตกต่างกันลิบลับกับสาคูไส้หมูที่เคยคุ้น เมื่อแกะห่อใบตองได้เห็นขนมแป้งกวนสีน้ำ�ตาลขุ่นที่รู้ได้ทันทีนี่คือสีธรรมชาติ ไร้วิทยาศาสตร์ หรือสารเคมีใดมาร่วมปรุงแต่ง รสและกลิ่นเฉพาะตัวของแป้งสาคูที่ บรรยายออกมาได้ยากนอกจากให้ลองชิมเอง รสชาติหวานปะแล่ม โดยรวมแล้วอร่อย แปลกลิ้น ทั้งกลิ่นหอมจากใบตองที่ห่อ และกลิ่นแป้งสาคู ทั้งหมดทั้งมวลรวมกันบ่งบอก ตัวตนว่า “นี่คือวิถีแห่งท้องถิ่นไทย” แล้วยิ่งทำ�ความรู้จักลึกลงไป สาคูไม่ใช่พืชที่แสดงภูมิ รู้ของชาวบ้านเพื่อมาใช้ทำ�อาหารและขนมเท่านั้น แต่ประโยชน์มีอีกมากเหลือหลาย สรุปให้รู้กันง่ายๆ ก่อน ...ถ้าป่าชายเลนมีต้นโกงกางเป็นแหล่งกำ�เนิดชีวิต และ ความอิ่มปากอิ่มท้อง ต้นสาคูก็ถือเป็นโกงกางแห่งลุ่มน้ำ�จืด ที่ทรงคุณค่าไม่ได้น้อยไปกว่า กัน ความเจริญรุกวิถีชีวิต
  • 3. มหัศจรรย์ป่าสาคู 126 ความเจริญรุกวิถีชีวิต ความยั่งยืนก็หายไปหลังจากลืมตาขึ้นมาเผชิญความจริงเช่นกัน อ.สมนึก โออินทร์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าสาคูแห่งนาโยง ค่อยเล่าย้อนอดีตที่แม้ น้ำ�เสียงจะแผ่วเบาแต่หนักแน่นด้วยความทรงจำ�และความหวังที่จะเห็นความอุดม“ในน้ำ� มีปลาในนามีข้าว”คงคู่กับนาโยงไปชั่วลูกหลานผู้อาวุโสบอกว่าป่าสาคูนั้นสร้างแหล่งอุดม ของอาหารการกินคำ�ว่าป่าสาคูนั้นจริงๆแล้วไม่ต้องออกเดินทางไกลไปกว่าบริเวณบ้านเลย เพราะบ้านเรือนที่มักตั้งกันอยู่ตามแม่น้ำ�ลำ�คลองท้องถิ่นตรังนั้น มีต้นสาคูเป็นแนวควบคู่ ไปตลอด ที่ดินบ้านไหนมากหน่อยสาคูก็กินบริเวณกว้าง แต่เรียกได้ว่าไม่มีบ้านริมคลอง ไหน ที่ต้นสาคูจะไม่ขึ้นอยู่คู่เคียง คุณสมบัติของต้นสาคูที่เป็นมิตรกับพืชผักพื้นบ้านนานาพันธ์ อ.สมนึก บอกว่า ลำ�พังแค่ผักก็มีอยู่ 70 - 80 ชนิด สมุนไพรอีกไม่ต่ำ�กว่า 40 ชนิด แค่เดินวนๆ เวียนๆ ก็ได้ ผักกำ�ใหญ่มาต้มยำ�ทำ�แกง ส่วนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นเหรอ กุ้ง หอย ปู ปลา ก็หาได้จาก ลุ่มน้ำ�เดียวกันนั่นล่ะ ปลาดุกย่าง ผักหนามดอง ย้อนหลังกลับไปก่อนปี 2544 สิ่งที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ อ.นาโยง และหลายอำ�เภอของ จ.ตรัง คือการเร่งปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ ยางพารา ปาล์ม นาข้าวถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้ง หลายพื้นที่จึงถูกแผ้วถางรวมไปถึงดงป่าสาคูด้วย ส่วนนาข้าวที่มีอยู่ก็ไม่รู้ว่าถูกอะไรเลือนตา มองว่าต้นสาคูที่เรียงรายระเกะระกะริมคลอง เป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ�ที่เป็นปัจจัยหลักของการทำ�นา ชาวบ้านเองตัดทำ�ลายต้นสาคู แล้ว (อาจหรือทำ�เป็น)ไม่รู้จากทางการผสมเข้าไปอีกส่งเจ้าหน้าที่เครื่องไม้เครื่องมือมาขุดลอก ระบายคลอง ตัดต้นสาคูเสียเหี้ยน หวังให้ทางน้ำ�ไหลคล่อง “แต่เมื่อการพัฒนามันเข้ามา มันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนก็ไปตามกระแสใหม่ สาคู ถูกทำ�ลายถูกลืมถูกโค่นหันไปปลูกยางปลูกปาล์มกันแต่เพียงพักเดียวเท่านั้นแหละวิถีแห่ง ความอุดมก็หายไปของที่เคยหากินง่ายๆก็ต้องใช้การซื้อคนยากคนจนที่เคยหากินริมคลอง ก็หมดปัญญา หมดรายได้ ทางน้ำ�ที่ทางการมาช่วยขุด ก็กลายเป็นว่าไหลคล่องร่องสะดวก แต่ไม่เกิดการกักเก็บจากที่ไม่เคยเจอน้ำ�ท่วมมาก่อนก็กลับเกิดเมื่อถึงหน้าแล้งก็ลำ�คลองแห้ง ไม่มีน้ำ�ท่าปูปลาหายไปหมดเป็นความเสียหายที่มีแต่ทำ�ให้น้ำ�ตารินไหลเดิมนั้นคนนาโยง ขึ้นชื่อว่ามีนาดีคลองอุดม”แอบสังเกตได้ว่าสายตาของผู้อาวุโสแห่งนาโยงเศร้าซึมเมื่อนึกถึง อดีตที่เคยผ่านช่วงเลวร้าย ที่รก...ไม่ได้เรื้อ
  • 4. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 127 คงเป็นเพราะความคุ้นเคยหรือใกล้ตาจนเกินไป จึงทำ�ให้เห็นต้นสาคูที่อัดแน่นอยู่ มากมายกลายเป็นความรกเรื้อ การตัดการทำ�ลายจึงค่อยๆ เริ่มขึ้น แต่ภายใต้ความรกนั้น จริงๆ แล้ว เป็นปราการธรรมชาติที่ทั้งช่วยป้องกันและสร้าง ไม่ใช่ทำ�ลาย เหตุแห่งน้ำ�ท่วมนั้น เพราะไม่มีต้นสาคูมาช่วยชะลอความเร็วแรงยามน้ำ�หลาก และที่ร้ายกว่านั้นยามหน้าแล้ง เกิดเป็นความแล้งจัดเพราะไม้อื่นที่นำ�มาปลูกแทนไม่มีคุณสมบัติการอุ้มน้ำ�เหมือนต้นสาคู ดินแยกแตกระแหง อย่าว่าแต่ข้าวไม่ขึ้นหญ้ายังไม่อยากแทงกอเดือดร้อนกันไปทั่ว ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งเป็นหลักแห่งนาโยงที่เป็นหลักยึดอย่างแท้จริง ไม่ใช่เก่าแก่กันไป ตามกาลเวลาอย่างไม่ยอมลุกขึ้นสู้ รวมตัวกันขึ้นมาอนุรักษ์และปลูกเพิ่มต้นสาคู รวมกับ กำ�ลังที่ค่อยเพิ่มเสริมแรง ไม่เพียง อ.สมนึก แต่ยังมีอาจารย์รุ่นใหม่อย่าง อ.กันทิมา จารุมา ครูโรงเรียนนาโยงวิทยาคม ป้าละเมียด ป้าเอียด พ่อเฒ่าเยียม นายอำ�เภอ อบต. และอีก หลายคนที่รวมกลุ่มเข้ามา มีชุมชนที่ผู้ใหญ่เหล่านี้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ มีเด็กๆ จากโรงเรียนนาโยงวิทยาคม ร่วมรับสืบทอด แถมยังทำ�หน้าที่บอกต่อออก ไปต่างถิ่น ที่ผู้ใหญ่ถึงกับชมเปาะ “รุ่นเด็กเขาพูดคุย อธิบายได้เก่งกว่าเรา” นอกจากนี้ ยังได้นักพัฒนาอาชีพ จากสมาคมหยาดฝน มาร่วมช่วยเหลือ พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานสมาคมหยาดฝน บอกว่าที่เข้ามาทำ�งานร่วมกับชาวบ้านนั้น เพราะเห็นว่าแนวทางการอนุรักษ์ที่ชาวบ้านทำ�ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ควรเพิ่มความ รู้เข้าไปอีก เพิ่มให้เป็นป่าชุมชน ป่าต้นน้ำ� เพื่อรักษาระบบนิเวศ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ� จืดต่างๆ และทำ�ให้เกิดเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ป่าสาคูของภาคใต้ขึ้นมา เพราะต้นสาคูนั้น ไม่ใช่เป็นพืชถิ่นลำ�พังของนาโยง แต่เป็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ�ในภาคใต้ทั่วไป รวมไปถึง ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเขาก็พยายามหาประโยชน์ สร้างเศรษฐกิจจากป่าสาคูอยู่ เช่นกัน “ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องไม้เศรษฐกิจ สาคูอาจทำ�เงินได้มากกว่ายางพาราเสียอีก เพราะถ้าเทียบในเรื่องการทำ�แป้ง ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกสาคูได้ 80 ต้น จะทำ�รายได้เป็นแสน บาทเลยทีเดียว ยังไม่นับรวมคุณสมบัติความเป็นพืชอุ้มน้ำ� ไม่นับกุ้ง หอย ปู ปลา พืชผัก ที่ จะเกิดในป่าสาคูอีกไม่รู้เท่าไหร่ เราจึงอยากเข้ามาช่วยตรงนี้ เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วย งานใดมาช่วยอย่างจริงจัง”
  • 5. มหัศจรรย์ป่าสาคู 128 ความเขียวชอุ่มจึงค่อยกลับมาสู่นาโยง ภาพนาข้าวที่น้ำ�อุดมคงบ่งบอกได้ชัด คู่เคียงไปกับต้นสาคูริมคลองที่ขึ้นคู่ขนานไปกับริมนา ต้นไหนถึงเวลาตายไปตามอายุขัย ก็ค่อยปลูกทดแทน ที่หายไปเลยก็ปลูกใหม่ เพิ่มพื้นที่ให้ป่าสาคูได้กลับมา แม้จะจำ�นวน เท่าเดิมแต่ก็ยังดีกว่าให้ขาดหายไป...ชาวนาโยงรู้ซึ้งแล้วประโยชน์มากหลาย สาคูเป็นไม้ตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ขึ้นในภาคใต้โดยเฉพาะใน จ.ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี และนราธิวาส สาคูที่พบมี 2 ชนิด คือ ชนิดยอดสีแดงขนาด ต้นโตกว่าชนิดยอดสีขาว และยอดสีขาวชนิดนี้ใบสั้นและเปราะกว่า สาคูเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและเมล็ดเป็นพืชที่ต้องการ ปริมาณน้ำ�สูงมีฝนตกสม่ำ�เสมอหรือค่อนข้างตกชุกชอบความชุ่มชื้นแต่อากาศร้อนชอบขึ้น ในที่ลุ่ม เป็นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำ�จืดขังตลอดปี เช่น ในพรุ แต่ถ้าหากน้ำ�ท่วมหรือน้ำ�แห้งเป็น ระยะสาคูก็สามารถทนต่อสภาพนั้นได้ ใน จ.ตรัง พบได้ทั่วไป ขึ้นตามแหล่งน้ำ�จืดตั้งแต่เชิงเขาถึงชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะ ตามพรุ หนอง บึง หรือตามชายคลองริมห้วย แหล่งที่พบมากใน จ.ตรัง คือ อ.ห้วยยอด อ.เมืองและอ.นาโยงหรืออาจกล่าวได้ว่าสาคูขึ้นอยู่ชุกชุมแถบลุ่มน้ำ�ตรังส่วนใหญ่วิถีชีวิต ชาวบ้านแถบนี้ผูกพันกับสาคูมาตั้งแต่อดีต มีการบำ�รุงรักษาตามวิธีการพื้นบ้าน หากขึ้น ในคลองขวางทางน้ำ�ก็จะตัดแต่งแยกเอาทางหรือวัชพืชออกให้น้ำ�ไหลสะดวกพอฤดูฝนน้ำ� ก็จะไหลเข้านาให้ได้ทำ�นากันทุกปี ทุ่งนาใกล้ป่าสาคูจึงอุดมสมบูรณ์ข้าวงามและภูมิทัศน์ ที่สวยงาม ใบสาคูใช้ใบสาคูเย็บเป็นตับสำ�หรับมุงหลังคาและกั้นฝามีความทนทานกว่าจาก ที่ทำ�จากใบไม้ชนิดอื่นๆโดยปกติจะมีอายุการใช้ประโยชน์6-10ปีและถ้านำ�ไปแช่น้ำ�เสีย ก่อนประมาณ 15 วัน ถึง 1 เดือน อาจใช้งานได้นานกว่า 10 ปี
  • 6. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 129 129 ทางสาคูที่มีความยาวประมาณ3-4เมตรเลยส่วนกาบขึ้นไปจะกลมและเรียวไป หาปลายทางถ้าตัดปลายทิ้งให้เหลือยาวประมาณ1-2เมตรนำ�มาลอกเอาส่วนเปลือกนอก ซึ่งเรียกว่า “หน้าสาคู” ทำ�เป็นตอก ใช้สาน เสื่อ กระบุง กระด้ง รวมทั้งทำ�เครื่องมือประมง ถ้านำ�ทางสาคูมาตากให้แห้งใช้ทำ�คอกเป็ด ไก่ มีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1 - 2 ปี หรือ ทำ�รั้วกั้นสวนผัก นำ�มาตกแต่งโรงร้านก็ได้ ไส้ในทางสาคูทำ�จุกขวด หรือใช้บอดกระบอก ข้าวหลาม หรือนำ�มาใช้แทนโฟม ยางสาคู ถ้าตัดทางสาคูสดจากลำ�ต้น แล้วตัดเป็นท่อน ยาวประมาณท่อนละ 1 คืบ ทิ้งไว้ประมาณ 20 - 30 นาที จะมียางไหลออกมาทางรอยตัด ทั้ง 2 ข้าง ยางเป็นสีใส และมีความเหนียวใช้แทนกาวปิดกระดาษได้ ผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายหญิง ยังแอบกระซิบบอกด้วยว่า ยางสาคูเนี่ย ตอนสาวๆ เอามาทาหน้ารักษาผิวพรรณกันด้วย การทำ�เป็นอาหารการกินนั้น นอกจากเป็นขนมแป้งกวนอย่างที่ได้เห็น ป้าเมียด มือดัดแปลงยังนำ�มาทำ�เป็นเส้นพาสตาเสียหรู ป้าเอียด น้องอ๋อ เด็กรุ่นใหม่ ที่พาชมสถาน ที่ยังชี้ชวนชมสาคูต้นใหญ่ ใกล้ออกดอก ที่สามารถนำ�ไส้ลำ�ต้นมาบดละเอียด ทำ�แป้งสาคู และเม็ดสาคู ตัวด้วงสาคู (คงเหมือนหนอนไม้ไผ่ หรือเมนูรถด่วนของทางเหนือ) ที่เกิดจาก ต้นสาคูที่ล้มเอามาคั่วใส่เกลืออร่อยมันสุดๆ ประโยชน์ของต้นสาคู ยังเป็นพืชที่ทำ�ให้น้ำ�ในลำ�ห้วยใส เป็นที่วางไข่ของปลา เป็นที่กรอง สิ่งสกปรกที่ไหลมากับน้ำ� ศัตรูเพียงอย่างเดียวของป่าสาคู ที่มีคือ คนที่ขุดลอก ทำ�ลายป่าสาคู เกือบไปแล้วไหมล่ะ เกือบจะสิ้นท่าเลยนะ...ป่าสาคู ที่มา : โพสต์ทูเดย์  วันที่ 26/08/2008