SlideShare a Scribd company logo
1 of 130
Download to read offline
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I I I
เรืองไร โตกฤษณะ
กุลภา กุลดิลก
กุลภา บุญชูวงศ์
เบญจวรรณ คงขน
และ ธันย์ธาดา มะวงศ์ไว
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนII
เอกสารเล่มนี้ เป็นการสังเคราะห์จากงานวิจัย เรื่อง
	 “การสร้างเสริมความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าว
เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: สถานภาพและการมองไปข้างหน้า”
ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ภายใต้สัญญาเลขที่ RDG5520063
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.--กรุงเทพฯ:สถาบันคลังสมองของชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
จ�ำนวน : 128 หน้า
1. การเพาะเลี้ยงในน�้ำ. I. ชื่อเรื่อง
639.3
ISBN:	 978-616-395-640-8
เอกสารเผยแพร่ โดยส�ำนักประสานงานชุดโครงการ
“งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย”
สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ผู้เขียน:	 เรืองไร โตกฤษณะ, กุลภา กุลดิลก, กุลภา บุญชูวงศ์,
	 เบญจวรรณ คงขน และ ธันย์ธาดา มะวงศ์ไว
บรรณาธิการ:	 ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ สมพร อิศวิลานนท์
จ�ำนวน:	 1,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 1:	 ธันวาคม 2558
	 เอกสารวิชาการหมายเลข 9
จัดท�ำโดย:	 สถาบันคลังสมองของชาติ
	 ชั้น 22B อาคารมหานครยิบซั่ม
	 เลขที่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี
	 กรุงเทพฯ 10400
	 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
	 ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์
	 เลขที่ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน
	 เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ออกแบบและจัดพิมพ์:	 บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จ�ำกัด
		 โทร 02-938-3306-8 โทรสาร 02-938-0188
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I III I
	 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจในการสนับสนุนทุนวิจัยการพัฒนา
นักวิจัย การบริหารจัดการงานวิจัย และพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา
ประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ในทิศทางที่จะสร้างการเติบโต
อย่างยั่งยืนให้กับประเทศ เป้าหมายส�ำคัญของ สกว. คือ การพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัย
ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและ
ความเข้มแข็งของระบบวิจัยเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงน�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถ
ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
	 ทศวรรษต่อไปของ สกว. การสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเป็นการบริหารจัดการความรู้
อีกรูปแบบหนึ่งที่สกว.ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการสังเคราะห์ความรู้เป็นทั้งกลไกบูรณาการ
ระหว่างงานวิจัยเรื่องต่างๆ สาขาต่างๆ และเป็นการยกระดับการข้อค้นพบจากงานวิจัยภายใต้
ประเด็นวิจัยเดียวกันที่กระจัดกระจายให้มีความชัดเจนและได้ข้อสรุปเพียงพอที่จะน�ำไปต่อยอด
และจัดท�ำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อันเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้งานวิจัยมีเส้นทางไปสู่การใช้
ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านนโยบายและด้านสาธารณะ ตลอดจนสร้างผลกระทบ
ให้เกิดขึ้นกับสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย
	 เอกสารวิชาการเรื่อง “สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย ในบริบทของประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน” เป็นผลงานวิจัยของ รองศาสตรจารย์ ดร.เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ โดยมี
ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิง
นโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นบรรณาธิการให้กับเอกสารวิชาการนี้ ซึ่ง สกว. ขอแสดง
ความชื่นชมและขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
	 สกว.หวังว่างานสังเคราะห์ความรู้สถานภาพและศักยภาพของ“การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย”
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างทัน
สถานการณ์
ค�ำนิยม
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนIV
บรรณาธิการ
พฤศจิกายน 2558
	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา
ด้านหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลผลิตสัตว์น�้ำที่จับได้จากแหล่งน�้ำตามธรรมชาติและอีกด้านหนึ่ง
เป็นผลจากการขยายตัวของความต้องการสินค้าสัตว์น�้ำทั้งในส่วนของตลาดการค้าภายในประเทศ
และตลาดการค้าระหว่างประเทศ ท�ำให้เกิดการพัฒนาการวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำหลากหลาย
ชนิดเพื่อเป็นสินค้าทดแทนสินค้าสัตว์น�้ำที่จับได้แหล่งธรรมชาติ
	 อีกทั้ง การที่ภูมิภาคอาเซียนได้ก้าวสู่การเปิดเสรีทาง การค้าและการลงทุนเพื่อหลอมรวม
ให้เป็นฐานการผลิตและการตลาดอันเดียวกันภายใต้การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะ
ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของไทยในทิศทางใด ซึ่งข้อความรู้ดังกล่าวมี
จ�ำกัดและกระจัดกระจายเอกสารเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์เนื้อหาจากรายงานเรื่อง“โครงการการ
เสริมสร้างความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม
อาเซียน: สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองไร โตกฤษณะ
เป็นหัวหน้าโครงการและได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ภายใต้สัญญาที่ RDG5520063 ทั้งนี้เพื่อให้เอกสารเล่มนี้เป็นข้อความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยและประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
	 เนื้อหาในเอกสารเล่มนี้แบ่งออกเป็น7บทโดยในบทที่1เป็นการเกริ่นน�ำประเด็นการเพาะ
เลี้ยงสัตว์น�้ำไทยกับการก้าวสู่นโยบายการเปิดเสรี ภาพนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย
ภาพรวมของสัตว์น�้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึง
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภาพรวมของอาเซียนและอธิบายถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้ำของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น การค้าสินค้าสัตว์น�้ำและศักยภาพการส่งออก
จะกล่าวไว้ในบทที่ 3 ส่วนบทที่ 4 - 6 จะเป็นน�ำเสนอข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย ด้านการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำกร่อย ในทะเล และในน�้ำจืด บทสุดท้ายจะเป็นการวิเคราะห์โอกาส
ในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย แยกรายละเอียดของสัตว์น�้ำในแต่ละชนิด และ
แนวทางการเพิ่มความสามารถของเกษตรกรไทย
	 ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงาน
วิจัยเชิงนโยบาย” เห็นว่างานวิจัยนี้ ได้น�ำเสนอข้อมูลเชิงเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ซึ่งเป็นข้อ
ความรู้ อันน�ำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่
ประเทศในอนาคตซึ่งส�ำนักประสานงานฯใคร่ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ดร.เรืองไรโตกฤษณะ
และคณะ ที่ได้เป็นผู้จัดท�ำสังเคราะห์ข้อความรู้จากรายงานวิจัยขึ้นเป็นเอกสารวิชาการเล่มนี้
มา ณ โอกาสนี้
ค�ำน�ำ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I V I
ค�ำนิยม
ค�ำน�ำ
สารบัญ
สารบัญตาราง	
บทที่ 1	 บทน�ำ	
	 1.1	 เกริ่นน�ำ
	 1.2	 ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย
	 1.3	 สัตว์น�้ำส�ำคัญที่มีการเพาะเลี้ยงในอาเซียน
	 1.4	 การเปิดเสรีของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจ
		 อาเซียน
บทที่ 2	 สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศ ในประชาคมอาเซียน
	 2.1	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม
	 2.2 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศอินโดนีเซีย
	 2.3 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศเวียดนาม	
	 2.4 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศฟิลิปปินส์	
	 2.5 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย
	 2.6 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของสหภาพพม่า
	 2.7 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศมาเลเซีย	
	 2.8 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของ สปป.ลาว
	 2.9 	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศกัมพูชา
	 2.10 	การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศสิงคโปร์
	 2.11 	การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศบรูไน
บทที่ 3	 การค้าสินค้าสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน และศักยภาพ
	 การส่งออก
	 3.1 	 การใช้ผลผลิตสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน
	 3.2 	 ศักยภาพการผลิตจากแหล่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย
	 3.3 	 การส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากประเทศสมาชิกอาเซียนไปตลาด
		 ปลายทางหลัก
	 3.4	 การส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากประเทศสมาชิกอาเซียนไปตลาด
		 อาเซียน
III
IV
V
VII
1
1
2
3
5
7
7
9
11
12
14
17
18
20
21
23
24
26
27
28
30
33
สารบัญ
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนVI
บทที่ 4	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำกร่อยของประเทศไทย
	 4.1	 การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
	 4.2 	 การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว	
	 4.3 	 การเพาะเลี้ยงปลากะรัง	
บทที่ 5	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในทะเลของประเทศไทย
	 5.1 	 การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
	 5.2 	 การเพาะเลี้ยงหอยแครง
	 5.3 	 การเพาะเลี้ยงหอยนางรม
บทที่ 6	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำจืดของประเทศไทย
	 6.1	 การเพาะเลี้ยงปลานิล	
	 6.2 	 การเพาะเลี้ยงปลาดุก
	 6.3	 การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน
	 6.4 	 การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
	 6.5 	 การเพาะเลี้ยงปลาสลิด
	 6.6 	 การเพาะเลี้ยงปลาสวาย
บทที่ 7	 แนวทางการพัฒนาเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย
	 7.1	 โอกาสพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย
	 7.2 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแต่ละชนิด
		 7.2.1	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
		 7.2.2	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล
		 7.2.3 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุก
		 7.2.4 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน
		 7.2.5 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
		 7.2.6 	 โอกาสการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว
		 7.2.7 	 โอกาสการเพาะเลี้ยงปลากะรัง
		 7.2.8 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสวาย
		 7.2.9 	 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสลิด
		 7.2.10	โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแครง
		 7.2.11	โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
		 7.2.12	โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยนางรม
	 7.3	 แนวทางการเพิ่มความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ
		 ในประเทศไทย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
38
38
43
47
52
52
56
59
62
62
67
71
75
78
81
90
90
93
93
95
96
97
97
98
100
100
102
103
104
104
105
111
115
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I VII I
ตารางที่ 2.1	 โครงสร้างผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและการท�ำประมงจาก
	 แหล่งน�้ำธรรมชาติ ปี 2554
ตารางที่ 2.2	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศอินโดนีเซียปี2554
ตารางที่ 2.3	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศเวียดนาม ปี 2554
ตารางที่ 2.4	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2554
ตารางที่ 2.5	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศไทย ปี 2554
ตารางที่ 2.6	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในสหภาพพม่า ปี 2554
ตารางที่ 2.7	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศมาเลเซีย ปี 2554	
ตารางที่ 2.8	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญใน สปป.ลาว ปี 2554
ตารางที่ 2.9	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศกัมพูชา ปี 2554
ตารางที่ 2.10	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศสิงคโปร์ ปี 2554
ตารางที่ 2.11	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศบรูไน ปี 2554
ตารางที่ 3.1	 การใช้ผลผลิตจากภาคการประมงของประเทศสมาชิกอาเซียน
	 และรวมทุกประเทศในโลก ปี 2552
ตารางที่ 3.2	 เปรียบเทียบต�ำแหน่งการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก
	 อาเซียนในตลาดปลายทางที่ส�ำคัญ ในช่วงปี 2550 - 2553
ตารางที่ 3.3	 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก
	 อาเซียนในตลาดปลายทางที่ส�ำคัญโดยเฉลี่ย ในช่วงปี 2550 - 2553
	 (ปริมาณ: ตัน/ปี มูลค่า: ล้านบาท/ปี)
ตารางที่ 3.4	 เปรียบเทียบต�ำแหน่งการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก
	 อาเซียนในตลาดอาเซียนในช่วงปี 2550 - 2553
ตารางที่ 3.5	 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก
	 อาเซียนในตลาดอาเซียนโดยเฉลี่ยในช่วงปี2550-2553(ปริมาณ:
	 ตัน/ปี มูลค่า: ล้านบาท/ปี)
ตารางที่ 4.1	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยผลผลิตกุ้งขาว
	 ในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 4.2	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
ตารางที่ 4.3	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตมูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตปลากะพงขาว
	 จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 4.4	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
ตารางที่ 4.5	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตปลากะรังจากการเพาะเลี้ยงของ
	 แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 4.6	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลากะรังในกระชัง
ตารางที่ 5.1	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตหอยแมลงภู่ของแต่ละประเทศสมาชิก
	 อาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 5.2	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่	
สารบัญตาราง
8
10
12
14
17
18
19
21
22
23
25
28
32
33
34
35
40
41
45
46
48
50
53
55
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนVIII
ตารางที่ 5.3	 เปรียบเทียบมูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตหอยแครงจากการเพาะเลี้ยง
	 ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 5.4	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยแครง
ตารางที่ 5.5	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของหอยนางรม
	 จากการเพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 5.6	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยนางรม
ตารางที่ 6.1	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยจากการเพาะเลี้ยง
	 ปลานิลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.2	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลานิล
ตารางที่ 6.3	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาดุกที่ได้
	 จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.4	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาดุก
ตารางที่ 6.5	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาตะเพียน
	 แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.6	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน
ตารางที่ 6.7	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของกุ้งก้ามกราม
	 ที่เพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.8	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ตารางที่ 6.9	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสลิดที่ได้
	 จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.10	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสลิด
ตารางที่ 6.11	 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสวาย
	 จากการเพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
ตารางที่ 6.12	 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสวายและปลาสวายโมง
ตารางผนวกที่ 1	 ร้อยละของปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเปรียบเทียบ
	 ผลผลิตจากภาคประมงโดยรวมของอาเซียนและแต่ละประเทศ
	 สมาชิกอาเซียน ปี 2523 - 2554
ตารางผนวกที่ 2	 ปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของเกษตรกรไทย
ตารางผนวกที่ 3	 ความต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ
	 ของเกษตรกรไทย
ตารางผนวกที่ 4	 ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในความเห็น
	 ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย
ตารางผนวกที่ 5	 เปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงปลากะรังในประเทศไทยอินโดนีเซีย
	 ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่า และมาเลเซีย
ตารางผนวกที่ 6	 เปรียบเทียบการเลี้ยงปลานิลในไทยเวียดนามฟิลิปปินส์และ
	 สหภาพพม่า
ตารางผนวกที่ 7	 เปรียบเทียบการเลี้ยงปลาสวายในไทย เวียดนาม และ
	 สหภาพพม่า
57
57
59
60
63
66
68
69
72
73
76
77
79
80
84
88
115
116
116
117
118
119
120
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 1 I
1.1	 เกริ่นน�ำ
	 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าประมงที่ส�ำคัญของโลก โดยผลผลิตจาก
ภาคการประมงประกอบด้วยสัตว์น�้ำที่ได้จากแหล่งน�้ำธรรมชาติและสัตว์น�้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
อย่างไรก็ตามผลการจับสัตว์น�้ำจากแหล่งน�้ำธรรมชาติโดยเฉพาะจากการท�ำประมงทะเลมี
แนวโน้มลดลง ในขณะที่ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่มขึ้นและเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามา
ทดแทนผลการจับสัตว์น�้ำที่ลดลงจากการท�ำประมงในแหล่งน�้ำธรรมชาติได้บางส่วน จากข้อมูล
ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี 2554 พบว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ 
ของประเทศไทยมีส่วนแบ่งในผลผลิตรวมจากภาคการประมงอยู่ร้อยละ35.12แม้ว่าจะมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนการลดลงของผลการจับสัตว์น�้ำจากการท�ำประมงได้เต็มที่
	 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่ส�ำคัญของโลก โดยในปี 2551
ประเทศไทยมีฐานะเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอันดับที่ห้าของโลก มีส่วนแบ่งของผลผลิตจากการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของโลกประมาณร้อยละ2.6เป็นรองจากเวียดนามและอินโดนีเชียหากพิจารณา
เฉพาะภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน โดยประเทศทั้งสองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 4.7 และ 3.2 ตามล�ำดับ
	 โดยรวมแล้วในภูมิภาคอาเซียนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงคิดเป็นร้อยละ47.67ของผลผลิต
จากภาคประมง(ทั้งที่จับจากแหล่งน�้ำธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยง)ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีส่วน
แบ่งจากผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าเกณฑ์นี้แล้ว ได้แก่ สปป.ลาว สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยผลผลิตจากการท�ำประมงลดลงแต่ยังไม่สามารถเพิ่ม
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำให้ขึ้นมาถึงเกณฑ์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เมื่อเกิดปัญหาใน
การเพาะเลี้ยงกุ้งผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำลดลงอย่างชัดเจน
	 การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) ที่จะ
เกิดขึ้นในปี2558ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเข้าเป็นฐานการผลิตและการตลาดเดียว
ซึ่งนอกจากจะก้าวสู่นโยบายการค้าเสรีแล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเสรีเพิ่มขึ้นตามมา
ส�ำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำก็เช่นกัน การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนดังกล่าวของไทยจะเป็น
โอกาสของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจฟาร์มซึ่งจะเคลื่อนย้ายทุนและมองหาช่อง
บทที่
1 บทน�ำ
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน2
ทางในการเข้าถึงทรัพยากรในการเพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าแต่ส�ำหรับผู้ที่ท�ำกิจกรรม
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยอันประกอบด้วยเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงขนาดเล็กจ�ำนวนมาก ซึ่งมี
ขนาดของทุนจ�ำกัดและยังขาดทั้งความรู้และวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การเปิดเสรีการค้า
และการลงทุนย่อมหมายถึงแรงกดดันที่จะน�ำไปสู่ภาวะวิกฤตที่จะต้องสูญเสียอาชีพตามมาหรือ
เปลี่ยนสถานะไปเป็นลูกจ้างนักลงทุนต่างชาติ แทนที่จะเป็นเจ้าของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ 
ขนาดเล็กของตนเองดังที่เคยท�ำมา
	 อีกทั้งในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่เกิดจากการลงทุนข้ามชาติอาจน�ำมาซึ่งการล่มสลายของ
ผู้เพาะเลี้ยงรายย่อยในประเทศไทยแล้วยังอาจน�ำมาซึ่งปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบ
นิเวศหากไม่มีการควบคุมดูแลที่มีประสิทธิผล หรือปล่อยให้มีการลงทุนเพาะเลี้ยงมากจนเกินขีด
ความสามารถในการรองรับของพื้นที่การหาแนวทางในการยกระดับความสามารถของเกษตรกร
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้เมื่อมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายสินค้า
และการลงทุนก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นเอกสารชิ้นนี้เป็นการ
ส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อความรู้จากงานวิจัยเพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลอันเป็นผล
จากการศึกษา ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้น�ำเสนอเป็นการประมวลสังเคราะห์มาจากรายงานฉบับสมบูรณ์
เรื่อง “การเสริมสร้างความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)โดยในการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้จัดท�ำการส�ำรวจ
ข้อความรู้เพื่อให้เข้าใจถึงสถานภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยและประเทศใน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีสัตว์น�้ำที่เกี่ยวข้องจ�ำนวน 12 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์น�้ำที่
เพาะเลี้ยงในน�้ำกร่อย 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งขาว ปลากะพงขาว และ ปลากะรัง สัตว์น�้ำที่เพาะเลี้ยง
ในทะเล 3 ชนิด ได้แก่ หอยแมลงภู่ หอยแครง และ หอยนางรม และสัตว์น�้ำจืด 6 ชนิดได้แก่
ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสวาย และกุ้งก้ามกราม
1.2	 ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย
	 ในด้านนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ กรมประมงได้จัดท�ำแผนแม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ 
ของประเทศไทยปีพ.ศ.2555-2559โดยก�ำหนดวิสัยทัศน์ไว้เป็น“เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำยั่งยืนผลผลิต
มั่นคงและปลอดภัย” และก�ำหนดยุทธศาสตร์ไว้เจ็ดด้าน ประกอบด้วยการเพิ่มผลผลิตสัตว์น�้ำ 
การส่งเสริมและฟื้นฟูแหล่งเลี้ยงสัตว์น�้ำ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการพัฒนาการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้ำให้มีคุณภาพปลอดภัยและได้มาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดการสร้างเสริม
ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการ
พัฒนาศักยภาพขององค์กร/บุคลากรด้านการบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ที่ผ่านมายังมี
การจัดท�ำยุทธศาสตร์กุ้ง(พ.ศ.2553-2556)และยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล(พ.ศ.2553-2557)
ในแผนแม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำและยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล แม้จะได้รวมเอาการ
พัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรเข้าไว้ในการก�ำหนดนโยบาย แต่
โดยรวมแล้วนโยบายการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทยยังให้ความส�ำคัญหลักใน
การพัฒนาเพื่อท�ำรายได้จากการส่งออกเป็นส�ำคัญ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 3 I
1.3	 สัตว์น�้ำส�ำคัญที่มีการเพาะเลี้ยงในอาเซียน
	 สัตว์น�้ำที่เพาะเลี้ยงกันมากในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กุ้งขาว ปลานิล
ปลานวลจันทร์ทะเลปลาสวายปลาไนหอยแมลงภู่ปลายี่สกเทศและปลาตะเพียนชนิดของสัตว์
น�้ำที่เพาะเลี้ยงมีแนวโน้มหลากหลายมากขึ้นในระยะหลัง (Lymeret al. 2008) ประเทศไทยเป็น
ผู้น�ำการผลิตกุ้งขาวในภูมิภาคอาเซียน แต่ยังเป็นรองประเทศจีน ซึ่งมีผลผลิตมากกว่าไทยถึง
หนึ่งเท่าผู้ผลิตกุ้งขาวจากภูมิภาคอาเซียนในอันดับรองลงไปจากไทยคือเวียดนามและอินโดนีเซีย
	 ส�ำหรับปลานิล จีนเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับที่สี่ และยังมี มาเลเซีย สปป.ลาว และ สหภาพพม่า เป็นผู้ผลิตที่ส�ำคัญใน
กลุ่มอาเซียน แต่ในการส่งออกปลานิล จีนเป็นผู้น�ำการส่งออก ตามมาด้วยไต้หวันไทยเป็นผู้ส่ง
ออกปลานิลอันดับที่สามโดยปริมาณการส่งออกยังน้อยกว่าจีนและไต้หวันอยู่มาก
	 ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish Chanos chanos) เลี้ยงกันมากในฟิลิปปินส์ ผลผลิตจาก
การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลรองจากฟิลิปปินส์คืออินโดนีเซียทั้งสองประเทศเป็นผู้น�ำในการ
เพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในภูมิภาคนี้การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ในประเทศไทยมีรายงาน
เฉพาะการเลี้ยงปลานวลจันทร์ในน�้ำจืดที่เรียกกันว่านวลจันทร์เทศ (Ctirrhinusmrigala) เป็นคน
ละชนิดกับปลานวลจันทร์ทะเล
	 ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาสวาย ซึ่งเป็นชนิด Pangasius boucouti ที่
รู้จักกันในประเทศไทยในชื่อปลาเผาะหรือปลาโมง เป็นส�ำคัญ เวียดนามได้พัฒนาการเพาะเลี้ยง
ปลาสวายอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าไปครองตลาดสหภาพยุโรปได้ถึงร้อยละ 40 ของตลาด
ปลาน�้ำจืดชนิดที่แล่เป็นชิ้น (Fillet) ในตลาดนี้ เวียดนามสามารถพัฒนาผลผลิตปลาน�้ำจืดชนิดนี้
ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ
ในเวียดนามพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
	 ในกลุ่มของปลาไนมีปลาหลากหลายชนิดและเมื่อรวมกลุ่มปลาตะเพียนไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นผู้น�ำในการผลิตสัตว์น�้ำในกลุ่มนี้ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า ไทย และ
สปป.ลาว ตามล�ำดับ
	 ส�ำหรับหอยแมลงภู่ผู้น�ำในการผลิตจากอาเซียนคือ ไทย และ ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่าเป็น
ผู้น�ำในการเพาะเลี้ยงปลายี่สกเทศในอาเซียน มีการเลี้ยงปลายี่สกเทศ ใน สปป.ลาว และ
ประเทศไทย แต่มีปริมาณน้อยเป็นประมาณร้อยละสิบและร้อยละห้าของที่เลี้ยงในสหภาพพม่า
มีโอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำจากอุปสงค์สัตว์น�้ำที่เพิ่มขึ้น และการเข้าไปทดแทน
ผลผลิตที่ลดลงจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติ แต่จ�ำเป็นต้องพัฒนาผลผลิตให้มี
คุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยต้องมีการ
ปรับกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ควรมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างเสริมศักยภาพ
ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ อนึ่งควรมีการปรับปรุงอาหารสัตว์น�้ำที่ใช้ให้ได้มาตรฐานและมีต้นทุนที่
ลดลงเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้ใช้ ในส่วนของการบริหารจัดการของรัฐควรมีการด�ำเนินการ
จดทะเบียนเพื่อสนับสนุนการสืบมาตรฐาน(Traceability)การออกใบรับรอง(Certification)และ
การวางแผนการใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างบูรณาการร่วมกับภาคการผลิตอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้
พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอย่างเหมาะสม
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน4
	 ในการประชุมMeetingSocialandEconomicChallengesonAquacultureinSoutheast
Asia ที่จัดขึ้นโดย Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC) ในปี ค.ศ. 2010
Tokrisnaรายงานว่าการพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภูมิภาคอาเซียนมีผลทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมควรมีการประเมินค่าผลที่เกิดขึ้นแก่ระบบนิเวศและน�ำมาประกอบการ
ตัดสินใจลงทุนพัฒนา นอกจากนั้นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำยังอาจมีผลต่อกิจกรรม
อื่นๆในพื้นที่เช่นการท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องตั้งแต่ต้นน�้ำ คือ
การเพาะฟัก การผลิตอาหารสัตว์น�้ำไปจนถึงปลายน�้ำ คือ การแปรรูป ทั้งยังเป็นแหล่งรายได้
ไม่ว่าในรูปของค่าจ้างเพื่อการท�ำงานในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในรูปรายได้ของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย
หรือ ในรูปมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตที่ตกแก่อุตสาหกรรม ผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ 
เป็นแหล่งอาหารที่ให้ความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งท�ำรายได้จากการส่งออก ประเด็นที่ควร
พิจารณาในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำควรเป็นไปในลักษณะยั่งยืน
ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งควรให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการวิธีการ
เพาะเลี้ยงที่น�ำมาใช้ควรเป็นวิธีที่ไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ หรือ อย่างน้อยต้องค�ำนึงถึงผลกระทบ
วงนอก(Externalities)ที่เกิดขึ้นและน�ำมาคิดเป็นต้นทุนแก่ผู้ก่อผลกระทบเพื่อควบคุมการพัฒนา
ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมควรพัฒนาผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในเรื่องของ
มาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การรวมกลุ่มในลักษณะของประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนสามารถเพิ่มอ�ำนาจการต่อรองเพื่อลดปัญหาการกีดกันการค้าสินค้าสัตว์น�้ำลงได้เพื่อให้
ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐานควรมีเกณฑ์ความร่วมมือที่พัฒนาขึ้นเป็นสากลที่สามารถน�ำมาใช้และ
ขยายผลในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงได้ เช่น Better Management Practice (BMP), Good Aquaculture
Practice (GAP), Code of Conduct for Responsible Aquaculture Practice (CCRAP), Euro
Retailer Produce Working Group of Good Agriculture Practice (EUREPGAP) และ Global
PartnershipofGoodAgriculturePractice(GPGAP)ภาครัฐควรถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้เพาะเลี้ยง
สัตว์น�้ำได้รับทราบเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติและพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ส�ำหรับการส่งออก ตลอดจนพัฒนาแนวทางการออกใบรับรองส�ำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ
ซึ่งควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันส�ำหรับในภูมิภาคอาเซียนที่ส�ำคัญคือ การสร้างเสริมความ
สามารถของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย โดย การพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมโดยภาครัฐ
ทั้งในเรื่องของแหล่งทุนและการถ่ายทอดความรู้และการตลาดทั้งนี้อาจเริ่มจากการประเมินสภาวะ
เศรษฐกิจสังคมของชุมชนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพื่อให้เข้าใจสถานะของเกษตรกรและสภาวะแวดล้อม
รวมทั้งสภาวะทางกายภาพของพื้นที่เครื่องมือที่จะน�ำมาใช้ประเมินชุมชนได้แก่Context-Input-
Process-Product (CIPP) Strength-Weakness-Opportunity-Threat (SWOT) การวิเคราะห์ตลาด
และการจัดการโซ่อุปทานเพื่อน�ำมาวางแผนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในพื้นที่สร้างเสริมความ
สามารถให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ (Tokrisna 2010)
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 5 I
1.4	 การเปิดเสรีของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
	 แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ภายใต้กรอบความตกลงACIA1
ไทยมีพันธกรณีจะต้องเปิดเสรีการลงทุนโดยจะต้องเปิดให้นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียน
สามารถเข้ามาลงทุนถือหุ้นในการประกอบกิจการได้สูงสุดร้อยละ100ของทุนจดทะเบียนภายใน
วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA ไม่จ�ำเป็นที่ประเทศ
สมาชิกอาเซียนจะต้องน�ำสาขากิจการ/มาตรการที่จ�ำกัดการลงทุนมาเปิดเสรีให้กับนักลงทุนจาก
ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้าถือหุ้นประกอบกิจการ 100% หรือยกเลิกมาตรการนั้นๆ ไปเท่านั้น
แต่ยังให้สมาชิกสามารถน�ำสาขากิจการ/มาตรการมาปรับปรุงการเปิดเสรีที่เพิ่มขึ้น โดยผ่อนปรน
ข้อจ�ำกัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น ซึ่งการด�ำเนินการปรับปรุงและผ่อนปรนสาขา
กิจการ/มาตรการดังกล่าว ถือว่าได้เป็นการเปิดเสรีการลงทุนให้กับนักลงทุนอาเซียนเช่นกัน
	 การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมุมมองหนึ่งเห็นว่า
อาจเป็นผลดีในข้อที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน
ประเทศให้มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอาจมีทางเลือกในการ
เลือกซื้อปัจจัยการผลิตทั้งพันธุ์และอาหารสัตว์น�้ำมากขึ้น รวมทั้งทางเลือกในการขายผลผลิต
สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในประเทศ ดังที่เคยเป็นมาในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ
ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในระยะที่เริ่มการพัฒนา แต่ใน
ขณะเดียวกันหากไม่มีการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่เกิดขึ้น
ก็อาจน�ำไปสู่ความสูญเสียดังที่เกิดขึ้นในการล่มสลายของการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ2
อันเป็นเหตุ
ให้ประเทศไทยต้องหันมาเลี้ยงกุ้งขาวอยู่ในปัจจุบัน
	 นอกจากในเรื่องของการลงทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ 
ประเทศไทยยังอาจได้รับโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมีโอกาสการจ้าง
งานมากขึ้น ตลอดจนอาจมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในรูปแบบฟาร์มพันธะสัญญา
(Contract farming) ผู้ประกอบธุรกิจก็อาจมีช่องทางการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น
มีโอกาสมากขึ้นในการร่วมมือกันส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากภูมิภาค (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย 2555)
	 แต่ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือ อาจท�ำให้กิจการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเปลี่ยนไปเป็นของนักลงทุนต่างชาติ หากไม่มีระเบียบการเคลื่อนย้าย เงินทุนที่
เหมาะสมนักลงทุนต่างชาติอาจเคลื่อนย้ายผลประโยชน์กลับไปประเทศของตนได้เกษตรกรราย
ย่อยอาจแข่งขันไม่ได้ต้องเลิกอาชีพนี้ไปนักลงทุนต่างชาติอาจน�ำเข้าสินค้าสัตว์น�้ำที่มีราคาถูกเข้า
มาตีตลาดสินค้าสัตว์น�้ำไทย และหากขาดการควบคุมที่เหมาะสม อาจเกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ
ในประเทศนักลงทุนต่างชาติอาจน�ำเข้าพันธุ์สัตว์น�้ำที่ไม่มีในประเทศไทยและอาจเป็นภัยต่อพันธุ์
สัตว์น�้ำในประเทศ (Invasive alien species) ตลอดจนอาจน�ำพันธุ์สัตว์น�้ำที่ควรสงวนไว้ใน
ประเทศไทยไปใช้ในต่างประเทศ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2555)
1	
ASEAN Comprehensive Investment Agreement
2	
ดูรายละเอียดใน Tokrisna ( 2006)
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน6
	 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าสินค้าสัตว์น�้ำคือการที่เกษตรกร
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนใหญ่ของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีต้นทุนการผลิตสูงอาจไม่สามารถ
แข่งขันกับการลงทุนของต่างชาติได้อาจมีปัญหาการเข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศโดยนักลงทุน
ต่างชาติทั้งเกษตรกรไทยอาจยังขาดข่าวสารข้อมูลการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจ�ำเป็นที่
จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อให้แข่งขันได้ในประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนทั้งในด้านทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการแปรรูป
ทักษะทางการตลาดตลอดจนการรวมกลุ่มการผลิตและการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้และความ
เข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยของประเทศไทย (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย 2555)
	 กรมประมงได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน
ประเทศไทยไว้ดังนี้จุดแข็งของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทยอยู่ที่การมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ของประเทศอยู่ในจุดที่เหมาะสมมีองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เกษตรกรมีทักษะพร้อม
ที่จะปรับตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออ�ำนวยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เข้มแข็งภาครัฐและเอกชนพร้อมที่จะปรับตัวตามมาตรฐานสากลมีเครือข่าย
ถ่ายทอดองค์ความรู้ และควบคุมก�ำกับดูแลรัฐสนับสนุนการขยายตลาดภายในประเทศและ
การยกระดับมาตรฐานสินค้า ทั้งยังมีสัตว์น�้ำหลายชนิดที่สามารถพัฒนาเป็นสัตว์น�้ำเศรษฐกิจได้ แต่ก็
มีจุดอ่อน คือ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ ข้อมูลยัง
ขาดความชัดเจนยังไม่มีการบูรณาการกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องท�ำให้ไม่สามารถน�ำมาใช้ควบคุมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ยังไม่สามารถ
รวมกลุ่มได้อย่างเข้มแข็งในส่วนของโอกาสจากปัจจัยภายนอกคือแนวโน้มความต้องการบริโภค
สัตว์น�้ำของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยต้องอาศัยผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเข้ามาทดแทนผลจับ
ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติที่ลดลงในส่วนของอุปสรรค ได้แก่ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบ
ที่ไม่ใช่ภาษี ผลกระทบเชิงลบที่มีต่อระบบนิเวศที่อาจเกิดขึ้น ความผันผวนของราคาที่เกิดจาก
ปัจจัยภายนอกเช่นค่าเงินบาทและผลผลิตของประเทศอื่นๆและภัยธรรมชาติเช่นอุทกภัยตลอด
จนความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีผลต่ออุณหภูมิและความเค็มของน�้ำ (กรมประมง 2554) ควรน�ำ 
ปัจจัยเหล่านี้มาประเมินเพื่อประกอบการหาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้ำไทย
	 ในบทต่อไปจะได้น�ำเสนอถึงสถานภาพของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่ส�ำคัญบางชนิดใน
อาเซียน ปริมาณสัดส่วนของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง รวมถึงประเภทของการเพาะเลี้ยงเพื่อ
สะท้อนและเปรียบเทียบให้เห็นระดับการจัดการ และการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงของแต่ละ
ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 7 I
	 การท�ำประมงมากจนเกินระดับที่เหมาะสมท�ำให้ผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำ
ธรรมชาติตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมและไม่อาจเพิ่มปริมาณการจับขึ้นได้ทันกับความต้องการบริโภค
ที่เพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนประชากรและน�ำไปสู่ภาวะการขาดแคลนแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น�้ำซึ่ง
เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญของประชากรโลกการตระหนักถึงปัญหาการชะลอตัวลง
ของผลผลิตที่ท�ำประมงได้ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติ และการหาแนวทางแก้ไขด้วยการเพิ่มผลผลิต
จากการเพาะเลี้ยงจึงเป็นทางออกของการทดแทนสินค้าสัตว์น�้ำที่ได้จากการจับจากธรรมชาติ
ดังจะเห็นได้ว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 7.347 ล้านตันในปี 2523 คิดเป็น
ร้อยละ 9.72 ของผลผลิตรวมจากภาคการประมง 75.613 ล้านตัน (มีผลผลิตจากการท�ำประมง
ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติอยู่68.266ล้านตัน)เป็น83.729ล้านตันในปี2554คิดเป็นร้อยละ46.95
ของผลผลิตรวมจากภาคประมง เกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมจากภาคประมงที่มีอยู่ 178.323
ล้านตัน(มีผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติอยู่94.594ล้านตัน)ในภูมิภาคอาเซียน
ก็มีแนวโน้มการพัฒนาผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงมาทดแทนการจับสัตว์น�้ำที่ได้จาก
แหล่งน�้ำธรรมชาติเช่นกันในบทนี้จะกล่าวถึงผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิก
อาเซียนโดยรวมและในรายประเทศ
2.1	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม
	 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมเป็น 16.112 ล้านตัน
ในปี2554หรือร้อยละ19.24ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของโลกเกือบครึ่งหนึ่ง(7.937ล้านตัน)
มาจากการเพาะเลี้ยงในอินโดนีเซียรองลงไปเป็นเวียดนาม(3.053ล้านตัน)ตามมาด้วยฟิลิปปินส์
(2.608ล้านตัน)ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สี่(1.008ล้านตัน)ประเทศ
ที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในหลักแสนตัน คือ สหภาพพม่า (0.817 ล้านตัน) มาเลเซีย (0.527
ล้านตัน) ที่มีผลผลิตในหลักหมื่นตันได้แก่ สปป.ลาว (0.086 ล้านตัน) กัมพูชา (0.072 ล้านตัน)
ที่มีผลผลิตในหลักพันตันคือสิงคโปร์(3,972ตัน)และที่มีผลผลิตในหลักร้อยตันคือบรูไน(530ตัน)
(ตารางที่ 2.1)
บทที่
2 สถานภาพ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศ
ในประชาคมอาเซียน
>> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน8
	 แนวโน้มโครงสร้างผลผลิตจากภาคประมงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นเช่นเดียวกัน
กับของโลกสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ12.03ในปี2523เพิ่มขึ้นรวดเร็ว
นับแต่ปี 2541 เป็นร้อยละ 20.71 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47.67 ในปี 2554 เป็นปีแรกที่อาเซียน
มีสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าสัดส่วนรวมของโลกการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน
กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทวีความส�ำคัญขึ้นอย่างรวดเร็วเข้ามาทดแทนผลผลิตจากการ
ท�ำประมงจากแหล่งน�้ำธรรมชาติในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศที่ประสบความส�ำเร็จ
ในการเพาะเลี้ยงสามารถมีสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นในระดับสูงกว่ากลุ่มอาเซียน
โดยรวม ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว และสิงคโปร์ประเทศที่มีสัดส่วนผลผลิตจาก
การเพาะเลี้ยงต�่ำกว่าระดับของกลุ่มอาเซียนโดยรวมได้แก่ไทยมาเลเซียบรูไนสหภาพพม่าและ
กัมพูชา ตามล�ำดับ (ตารางผนวกที่ 1)
ตารางที่ 2.1	 โครงสร้างผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและการท�ำประมงจากแหล่งน�้ำธรรมชาติ
			 ปี 2554
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
	 อินโดนีเซีย	 7.937	 5.714	 13.651
	 เวียดนาม	 3.053	 2.503	 5.555
	 ฟิลิปปินส์	 2.608	 2.367	 4.975
	 ไทย	 1.008	 1.862	 2.870
	 สหภาพพม่า	 0.817	 3.333	 4.150
	 มาเลเซีย	 0.527	 1.383	 1.909
	 สปป.ลาว	 0.086	 0.031	 0.117
	 กัมพูชา	 0.072	 0.490	 0.562
	 สิงคโปร์	 0.004	 0.002	 0.006
	 บรูไน	 0.001	 0.002	 0.003
	 รวมอาเซียน	 16.112	 17.687	 33.799
	 รวมทั่วโลก	 83.729	 94.594	 178.323
	 สัดส่วน (ร้อยละ)
	 อินโดนีเซีย	 58.14	 41.86	 100.00
	 เวียดนาม	 54.95	 45.05	 100.00
	 ฟิลิปปินส์	 52.42	 47.58	 100.00
	 ไทย	 35.12	 64.88	 100.00
	 สหภาพพม่า	 19.69	 80.31	 100.00
	 มาเลเซีย	 27.58	 72.42	 100.00
	 สปป.ลาว	 73.57	 26.43	 100.00
	 กัมพูชา	 12.81	 87.19	 100.00
	 สิงคโปร์	 71.06	 28.94	 100.00
	 บรูไน	 20.15	 79.85	 100.00
	 รวมอาเซียน	 47.67	 52.33	 100.00
	 รวมทั่วโลก	 46.95	 53.05	 100.00
ปริมาณผลผลิต (ล้านตัน)
รายการ
จากการเพาะเลี้ยง จากการท�ำประมง รวมจากภาคการ
ประมง
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 9 I
	 ในด้านปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงประเทศไทยยังเป็นรองอินโดนีเซียเวียดนามและ
ฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในสามประเทศนี้มีผลผลิตจาก
การเพาะเลี้ยงสาหร่าย ซึ่งหากไม่รวมผลผลิตสาหร่าย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในทั้งสามประเทศนี้
จะเป็น 2.767, 2.846 และ 0.767 ล้านตัน ตามล�ำดับ ในรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของ
ประเทศไทยไม่มีผลผลิตจากสาหร่าย หากไม่รวมสาหร่าย ประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ
ที่สาม มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมากกว่าฟิลิปปินส์อยู่กว่าสองแสนตัน แต่ปริมาณ
ผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงของไทยยังมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เวียดนามและอินโดนีเซียเพาะ
เลี้ยงได้ในด้านการเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่ง
น�้ำธรรมชาติ สัดส่วนที่ทดแทนได้ของประเทศไทย ยังเป็นรองทั้งสามประเทศที่กล่าวข้างต้น และ
ยังเป็นรอง สปป.ลาว ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเลจึงต้องเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเป็นส�ำคัญ และ
เป็นรองสิงคโปร์ซึ่งได้เร่งพัฒนาผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงตลอดมาอย่างไรก็ตามปริมาณผลผลิต
จากการเพาะเลี้ยงของทั้ง สปป.ลาว และสิงคโปร์ยังต�่ำกว่าปริมาณที่ไทยเพาะเลี้ยงได้อยู่มาก
กล่าวได้ว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย
ยังเป็นรองอินโดนีเซียและเวียดนาม
2.2	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศอินโดนีเซีย
	 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำสูงที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียน มีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่ 45.19 ล้านไร่ แต่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในทะเลซึ่งยังน�ำ
มาใช้น้อยมาก ส่วนมากใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย และยังมีการเลี้ยงปลากะรังในทะเลซึ่งอินโดนีเซีย
สามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังชนิด Humpback grouper และ Tiger grouper ได้ กับการเลี้ยง
ปลากะพงและเลี้ยงหอยในทะเลพื้นที่ใช้เพาะเลี้ยงในทะเลส่วนมากอยู่แถบเกาะสุลาเวสีรองลง
ไปอยู่ในบริเวณบาหลีและนุสาเตงการาหากสามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงในทะเลได้อินโดนีเซีย
ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงที่จะน�ำมาใช้อีกมาก รองลงไป ร้อยละ 30.85 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้ำจืด
13.941 ล้านไร่ ซึ่งน�ำมาใช้ยังไม่ถึงหนึ่งในห้าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในเกาะชะวารองลงไปเป็นพื้นที่
ในเกาะสุมาตราทั้งแถบตะวันตกและตอนใต้ มีทั้งที่เลี้ยงในบ่อและในกระชัง พื้นที่เพาะเลี้ยงอีก
ร้อยละ 16.94 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้ำกร่อย 7.656 ล้านไร่ น�ำมาใช้ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่
เป็นการเลี้ยงในบ่อและมักจะเป็นการเลี้ยงกุ้งพบมากในเกาะชะวาและมีในสุลาเวสีตอนใต้และ
ลัมพุงแต่การเลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียก็มีปัญหาโรคระบาดคล้ายกับที่พบในประเทศไทยอินโดนีเซีย
ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่อีกมากที่สามารถน�ำมาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำได้ แต่ปัญหาคือพื้นที่เหล่านี้
ยังกระจัดกระจาย ระบบการขนส่งในประเทศยังมีข้อจ�ำกัด เนื่องจากเป็นพื้นที่เกาะหลายๆ เกาะ
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงที่รัฐด�ำริเป็นการพัฒนาโดยอาศัยชุมชนเป็นแกนน�ำ การเพาะเลี้ยงใน
อินโดนีเซียเป็นไปเพื่อผลิตอาหารทดแทนผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติผลผลิต
ที่ได้จึงยังใช้บริโภคในประเทศมากถึงกว่าร้อยละแปดสิบของที่ผลิตได้ การพัฒนาเพาะเลี้ยงมี
บทบาทส�ำคัญในการสร้างอาชีพรายได้และการจ้างงานให้แก่คนในประเทศการพัฒนาการเพาะ
เลี้ยงมีการขยายตัวรวดเร็วในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียให้ความส�ำคัญแก่การ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตที่ลดลงจากการท�ำประมง โดยเฉพาะหลังจากการห้าม
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย
เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย

More Related Content

What's hot

Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...
Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...
Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...Rajesh Chudasama
 
Koi Magur breeding technique
Koi Magur breeding techniqueKoi Magur breeding technique
Koi Magur breeding techniqueAsrafurTalha1
 
food and feeding habbits of rohu
food and feeding habbits of rohufood and feeding habbits of rohu
food and feeding habbits of rohuKavitha Cingam
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมMaikeed Tawun
 
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larva
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larvafisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larva
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larvaPutra putra
 
Pat2 กรกฎาคม 2553
Pat2 กรกฎาคม 2553Pat2 กรกฎาคม 2553
Pat2 กรกฎาคม 2553Gitniphat Prom
 
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษาเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษาOhm Tarit
 
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systems
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systemsScience forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systems
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systemsWorldFish
 
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
ไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราPannee Ponlawat
 

What's hot (20)

Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...
Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...
Current Status; Problems and Prospects for Seed Production of Commercially Im...
 
Koi Magur breeding technique
Koi Magur breeding techniqueKoi Magur breeding technique
Koi Magur breeding technique
 
food and feeding habbits of rohu
food and feeding habbits of rohufood and feeding habbits of rohu
food and feeding habbits of rohu
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
 
Aquaculture
AquacultureAquaculture
Aquaculture
 
Ijso biology 2561
Ijso biology 2561Ijso biology 2561
Ijso biology 2561
 
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
 
BIOFLOC TECHNOLOGY BASED AQUACULTURE
BIOFLOC TECHNOLOGY BASED AQUACULTUREBIOFLOC TECHNOLOGY BASED AQUACULTURE
BIOFLOC TECHNOLOGY BASED AQUACULTURE
 
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larva
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larvafisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larva
fisiologi tingkah laku larva ikan sub bahasan ekofisologi larva
 
O-net วิทยาศาสตร์ 2556
O-net วิทยาศาสตร์ 2556O-net วิทยาศาสตร์ 2556
O-net วิทยาศาสตร์ 2556
 
ASIAN SEABASS CULTURE
ASIAN SEABASS CULTUREASIAN SEABASS CULTURE
ASIAN SEABASS CULTURE
 
Other marine mammals
Other marine mammalsOther marine mammals
Other marine mammals
 
Rice fish integrated farming
Rice fish integrated farmingRice fish integrated farming
Rice fish integrated farming
 
Pat2 กรกฎาคม 2553
Pat2 กรกฎาคม 2553Pat2 กรกฎาคม 2553
Pat2 กรกฎาคม 2553
 
การเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคนการเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคน
 
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2559
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2559เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2559
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2559
 
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษาเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป 19-59 ปี โดย กรมพลศึกษา
 
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systems
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systemsScience forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systems
Science forum Day 2 - Jharendu Pant - Integrated agriculture aquaculture systems
 
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
 
ไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอรา
 

Viewers also liked

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมงbluezbens
 
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)somporn Isvilanonda
 
โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงAbnPlathong Ag'
 
โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงAbnPlathong Ag'
 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎา
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎาดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎา
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎาDrDanai Thienphut
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...nawaporn khamseanwong
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคน ขี้เล่า
 
Google Font Reference
Google Font ReferenceGoogle Font Reference
Google Font ReferenceCTRServices
 
Facebook Cheat Sheet
Facebook Cheat SheetFacebook Cheat Sheet
Facebook Cheat SheetCrowd Siren
 
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...Catalogic Software
 
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15Crowd Siren
 
Maya Spa - Sales Strategies
Maya Spa - Sales StrategiesMaya Spa - Sales Strategies
Maya Spa - Sales StrategiesDr. C. K. Anoop
 
What is lifeguard safety hose technology?
What is lifeguard safety hose technology?What is lifeguard safety hose technology?
What is lifeguard safety hose technology?Andy Abrams
 
Sacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationSacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationricardmedina
 
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Catalogic Software
 
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conducta
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conductaCarlson 2006-fisiologia-de-la-conducta
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conductaITZI VIZCAINO GARCIA
 
4 Marketing Trends of 2015
4 Marketing Trends of 20154 Marketing Trends of 2015
4 Marketing Trends of 2015Crowd Siren
 

Viewers also liked (20)

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการประมง
 
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไทยภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 29 ก.ค. 59.pptx (1)
 
โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมง
 
โครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมงโครงการพัฒนาการประมง
โครงการพัฒนาการประมง
 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎา
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎาดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎา
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : Change 1ธุรกิจในเครืออิสระวัฒนา VS. ธุรกิจในเครือกฤษฎา
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
Google Font Reference
Google Font ReferenceGoogle Font Reference
Google Font Reference
 
Facebook Cheat Sheet
Facebook Cheat SheetFacebook Cheat Sheet
Facebook Cheat Sheet
 
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...
6 Ways of Solve Your Oracle Dev-Test Problems Using All-Flash Storage and Cop...
 
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15
Top 5 Video Advertisements on YouTube: February '15
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
Maya Spa - Sales Strategies
Maya Spa - Sales StrategiesMaya Spa - Sales Strategies
Maya Spa - Sales Strategies
 
What is lifeguard safety hose technology?
What is lifeguard safety hose technology?What is lifeguard safety hose technology?
What is lifeguard safety hose technology?
 
Sacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentationSacred purpose youth presentation
Sacred purpose youth presentation
 
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
 
Photobook
PhotobookPhotobook
Photobook
 
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conducta
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conductaCarlson 2006-fisiologia-de-la-conducta
Carlson 2006-fisiologia-de-la-conducta
 
Ela mod1 lssn4
Ela mod1 lssn4Ela mod1 lssn4
Ela mod1 lssn4
 
4 Marketing Trends of 2015
4 Marketing Trends of 20154 Marketing Trends of 2015
4 Marketing Trends of 2015
 

More from somporn Isvilanonda

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19somporn Isvilanonda
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculturesomporn Isvilanonda
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price risesomporn Isvilanonda
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019somporn Isvilanonda
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19somporn Isvilanonda
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetsomporn Isvilanonda
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบsomporn Isvilanonda
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform somporn Isvilanonda
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchsomporn Isvilanonda
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้somporn Isvilanonda
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืนsomporn Isvilanonda
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยsomporn Isvilanonda
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economysomporn Isvilanonda
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555somporn Isvilanonda
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017somporn Isvilanonda
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯsomporn Isvilanonda
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยsomporn Isvilanonda
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายsomporn Isvilanonda
 

More from somporn Isvilanonda (20)

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
 
World rice market and covid 19
World rice market and covid 19World rice market and covid 19
World rice market and covid 19
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculture
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price rise
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial asset
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward research
 
Agricultural product innovation
Agricultural product innovationAgricultural product innovation
Agricultural product innovation
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economy
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
 

เอกสารวิชาการสถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย

  • 1.
  • 2. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I I I เรืองไร โตกฤษณะ กุลภา กุลดิลก กุลภา บุญชูวงศ์ เบญจวรรณ คงขน และ ธันย์ธาดา มะวงศ์ไว
  • 3. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนII เอกสารเล่มนี้ เป็นการสังเคราะห์จากงานวิจัย เรื่อง “การสร้างเสริมความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าว เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้สัญญาเลขที่ RDG5520063 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.--กรุงเทพฯ:สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, 2558. จ�ำนวน : 128 หน้า 1. การเพาะเลี้ยงในน�้ำ. I. ชื่อเรื่อง 639.3 ISBN: 978-616-395-640-8 เอกสารเผยแพร่ โดยส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้เขียน: เรืองไร โตกฤษณะ, กุลภา กุลดิลก, กุลภา บุญชูวงศ์, เบญจวรรณ คงขน และ ธันย์ธาดา มะวงศ์ไว บรรณาธิการ: ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ สมพร อิศวิลานนท์ จ�ำนวน: 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 1: ธันวาคม 2558 เอกสารวิชาการหมายเลข 9 จัดท�ำโดย: สถาบันคลังสมองของชาติ ชั้น 22B อาคารมหานครยิบซั่ม เลขที่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ เลขที่ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ออกแบบและจัดพิมพ์: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จ�ำกัด โทร 02-938-3306-8 โทรสาร 02-938-0188
  • 4. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I III I ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจในการสนับสนุนทุนวิจัยการพัฒนา นักวิจัย การบริหารจัดการงานวิจัย และพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ในทิศทางที่จะสร้างการเติบโต อย่างยั่งยืนให้กับประเทศ เป้าหมายส�ำคัญของ สกว. คือ การพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัย ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและ ความเข้มแข็งของระบบวิจัยเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงน�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ ทศวรรษต่อไปของ สกว. การสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเป็นการบริหารจัดการความรู้ อีกรูปแบบหนึ่งที่สกว.ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการสังเคราะห์ความรู้เป็นทั้งกลไกบูรณาการ ระหว่างงานวิจัยเรื่องต่างๆ สาขาต่างๆ และเป็นการยกระดับการข้อค้นพบจากงานวิจัยภายใต้ ประเด็นวิจัยเดียวกันที่กระจัดกระจายให้มีความชัดเจนและได้ข้อสรุปเพียงพอที่จะน�ำไปต่อยอด และจัดท�ำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อันเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้งานวิจัยมีเส้นทางไปสู่การใช้ ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านนโยบายและด้านสาธารณะ ตลอดจนสร้างผลกระทบ ให้เกิดขึ้นกับสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย เอกสารวิชาการเรื่อง “สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย ในบริบทของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน” เป็นผลงานวิจัยของ รองศาสตรจารย์ ดร.เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ โดยมี ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิง นโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นบรรณาธิการให้กับเอกสารวิชาการนี้ ซึ่ง สกว. ขอแสดง ความชื่นชมและขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สกว.หวังว่างานสังเคราะห์ความรู้สถานภาพและศักยภาพของ“การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย” และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างทัน สถานการณ์ ค�ำนิยม ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • 5. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนIV บรรณาธิการ พฤศจิกายน 2558 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ด้านหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลผลิตสัตว์น�้ำที่จับได้จากแหล่งน�้ำตามธรรมชาติและอีกด้านหนึ่ง เป็นผลจากการขยายตัวของความต้องการสินค้าสัตว์น�้ำทั้งในส่วนของตลาดการค้าภายในประเทศ และตลาดการค้าระหว่างประเทศ ท�ำให้เกิดการพัฒนาการวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำหลากหลาย ชนิดเพื่อเป็นสินค้าทดแทนสินค้าสัตว์น�้ำที่จับได้แหล่งธรรมชาติ อีกทั้ง การที่ภูมิภาคอาเซียนได้ก้าวสู่การเปิดเสรีทาง การค้าและการลงทุนเพื่อหลอมรวม ให้เป็นฐานการผลิตและการตลาดอันเดียวกันภายใต้การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะ ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของไทยในทิศทางใด ซึ่งข้อความรู้ดังกล่าวมี จ�ำกัดและกระจัดกระจายเอกสารเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์เนื้อหาจากรายงานเรื่อง“โครงการการ เสริมสร้างความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน: สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองไร โตกฤษณะ เป็นหัวหน้าโครงการและได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้สัญญาที่ RDG5520063 ทั้งนี้เพื่อให้เอกสารเล่มนี้เป็นข้อความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยและประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื้อหาในเอกสารเล่มนี้แบ่งออกเป็น7บทโดยในบทที่1เป็นการเกริ่นน�ำประเด็นการเพาะ เลี้ยงสัตว์น�้ำไทยกับการก้าวสู่นโยบายการเปิดเสรี ภาพนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย ภาพรวมของสัตว์น�้ำที่นิยมเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึง สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภาพรวมของอาเซียนและอธิบายถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น การค้าสินค้าสัตว์น�้ำและศักยภาพการส่งออก จะกล่าวไว้ในบทที่ 3 ส่วนบทที่ 4 - 6 จะเป็นน�ำเสนอข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทย ด้านการ เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำกร่อย ในทะเล และในน�้ำจืด บทสุดท้ายจะเป็นการวิเคราะห์โอกาส ในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย แยกรายละเอียดของสัตว์น�้ำในแต่ละชนิด และ แนวทางการเพิ่มความสามารถของเกษตรกรไทย ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงาน วิจัยเชิงนโยบาย” เห็นว่างานวิจัยนี้ ได้น�ำเสนอข้อมูลเชิงเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ซึ่งเป็นข้อ ความรู้ อันน�ำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ ประเทศในอนาคตซึ่งส�ำนักประสานงานฯใคร่ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ดร.เรืองไรโตกฤษณะ และคณะ ที่ได้เป็นผู้จัดท�ำสังเคราะห์ข้อความรู้จากรายงานวิจัยขึ้นเป็นเอกสารวิชาการเล่มนี้ มา ณ โอกาสนี้ ค�ำน�ำ
  • 6. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I V I ค�ำนิยม ค�ำน�ำ สารบัญ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทน�ำ 1.1 เกริ่นน�ำ 1.2 ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย 1.3 สัตว์น�้ำส�ำคัญที่มีการเพาะเลี้ยงในอาเซียน 1.4 การเปิดเสรีของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน บทที่ 2 สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศ ในประชาคมอาเซียน 2.1 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม 2.2 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศอินโดนีเซีย 2.3 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศเวียดนาม 2.4 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศฟิลิปปินส์ 2.5 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย 2.6 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของสหภาพพม่า 2.7 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศมาเลเซีย 2.8 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของ สปป.ลาว 2.9 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศกัมพูชา 2.10 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศสิงคโปร์ 2.11 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศบรูไน บทที่ 3 การค้าสินค้าสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน และศักยภาพ การส่งออก 3.1 การใช้ผลผลิตสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน 3.2 ศักยภาพการผลิตจากแหล่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย 3.3 การส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากประเทศสมาชิกอาเซียนไปตลาด ปลายทางหลัก 3.4 การส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากประเทศสมาชิกอาเซียนไปตลาด อาเซียน III IV V VII 1 1 2 3 5 7 7 9 11 12 14 17 18 20 21 23 24 26 27 28 30 33 สารบัญ
  • 7. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนVI บทที่ 4 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำกร่อยของประเทศไทย 4.1 การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว 4.2 การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว 4.3 การเพาะเลี้ยงปลากะรัง บทที่ 5 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในทะเลของประเทศไทย 5.1 การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ 5.2 การเพาะเลี้ยงหอยแครง 5.3 การเพาะเลี้ยงหอยนางรม บทที่ 6 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในน�้ำจืดของประเทศไทย 6.1 การเพาะเลี้ยงปลานิล 6.2 การเพาะเลี้ยงปลาดุก 6.3 การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน 6.4 การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม 6.5 การเพาะเลี้ยงปลาสลิด 6.6 การเพาะเลี้ยงปลาสวาย บทที่ 7 แนวทางการพัฒนาเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทย 7.1 โอกาสพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย 7.2 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแต่ละชนิด 7.2.1 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว 7.2.2 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล 7.2.3 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุก 7.2.4 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน 7.2.5 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม 7.2.6 โอกาสการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว 7.2.7 โอกาสการเพาะเลี้ยงปลากะรัง 7.2.8 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสวาย 7.2.9 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสลิด 7.2.10 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแครง 7.2.11 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ 7.2.12 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยนางรม 7.3 แนวทางการเพิ่มความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ในประเทศไทย บรรณานุกรม ภาคผนวก 38 38 43 47 52 52 56 59 62 62 67 71 75 78 81 90 90 93 93 95 96 97 97 98 100 100 102 103 104 104 105 111 115
  • 8. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I VII I ตารางที่ 2.1 โครงสร้างผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและการท�ำประมงจาก แหล่งน�้ำธรรมชาติ ปี 2554 ตารางที่ 2.2 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศอินโดนีเซียปี2554 ตารางที่ 2.3 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศเวียดนาม ปี 2554 ตารางที่ 2.4 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2554 ตารางที่ 2.5 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศไทย ปี 2554 ตารางที่ 2.6 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในสหภาพพม่า ปี 2554 ตารางที่ 2.7 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศมาเลเซีย ปี 2554 ตารางที่ 2.8 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญใน สปป.ลาว ปี 2554 ตารางที่ 2.9 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศกัมพูชา ปี 2554 ตารางที่ 2.10 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศสิงคโปร์ ปี 2554 ตารางที่ 2.11 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�ำคัญในประเทศบรูไน ปี 2554 ตารางที่ 3.1 การใช้ผลผลิตจากภาคการประมงของประเทศสมาชิกอาเซียน และรวมทุกประเทศในโลก ปี 2552 ตารางที่ 3.2 เปรียบเทียบต�ำแหน่งการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก อาเซียนในตลาดปลายทางที่ส�ำคัญ ในช่วงปี 2550 - 2553 ตารางที่ 3.3 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก อาเซียนในตลาดปลายทางที่ส�ำคัญโดยเฉลี่ย ในช่วงปี 2550 - 2553 (ปริมาณ: ตัน/ปี มูลค่า: ล้านบาท/ปี) ตารางที่ 3.4 เปรียบเทียบต�ำแหน่งการค้าสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก อาเซียนในตลาดอาเซียนในช่วงปี 2550 - 2553 ตารางที่ 3.5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำของแต่ประเทศสมาชิก อาเซียนในตลาดอาเซียนโดยเฉลี่ยในช่วงปี2550-2553(ปริมาณ: ตัน/ปี มูลค่า: ล้านบาท/ปี) ตารางที่ 4.1 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยผลผลิตกุ้งขาว ในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 4.2 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตมูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตปลากะพงขาว จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 4.4 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ตารางที่ 4.5 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตปลากะรังจากการเพาะเลี้ยงของ แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 4.6 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลากะรังในกระชัง ตารางที่ 5.1 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตหอยแมลงภู่ของแต่ละประเทศสมาชิก อาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 5.2 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ สารบัญตาราง 8 10 12 14 17 18 19 21 22 23 25 28 32 33 34 35 40 41 45 46 48 50 53 55
  • 9. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนVIII ตารางที่ 5.3 เปรียบเทียบมูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตหอยแครงจากการเพาะเลี้ยง ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 5.4 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยแครง ตารางที่ 5.5 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของหอยนางรม จากการเพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 5.6 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงหอยนางรม ตารางที่ 6.1 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยจากการเพาะเลี้ยง ปลานิลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.2 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลานิล ตารางที่ 6.3 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาดุกที่ได้ จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.4 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาดุก ตารางที่ 6.5 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาตะเพียน แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.6 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน ตารางที่ 6.7 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของกุ้งก้ามกราม ที่เพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.8 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตารางที่ 6.9 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสลิดที่ได้ จากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.10 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสลิด ตารางที่ 6.11 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสวาย จากการเพาะเลี้ยงในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554 ตารางที่ 6.12 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสวายและปลาสวายโมง ตารางผนวกที่ 1 ร้อยละของปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเปรียบเทียบ ผลผลิตจากภาคประมงโดยรวมของอาเซียนและแต่ละประเทศ สมาชิกอาเซียน ปี 2523 - 2554 ตารางผนวกที่ 2 ปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของเกษตรกรไทย ตารางผนวกที่ 3 ความต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ของเกษตรกรไทย ตารางผนวกที่ 4 ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในความเห็น ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทย ตารางผนวกที่ 5 เปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงปลากะรังในประเทศไทยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่า และมาเลเซีย ตารางผนวกที่ 6 เปรียบเทียบการเลี้ยงปลานิลในไทยเวียดนามฟิลิปปินส์และ สหภาพพม่า ตารางผนวกที่ 7 เปรียบเทียบการเลี้ยงปลาสวายในไทย เวียดนาม และ สหภาพพม่า 57 57 59 60 63 66 68 69 72 73 76 77 79 80 84 88 115 116 116 117 118 119 120
  • 10. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 1 I 1.1 เกริ่นน�ำ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าประมงที่ส�ำคัญของโลก โดยผลผลิตจาก ภาคการประมงประกอบด้วยสัตว์น�้ำที่ได้จากแหล่งน�้ำธรรมชาติและสัตว์น�้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง อย่างไรก็ตามผลการจับสัตว์น�้ำจากแหล่งน�้ำธรรมชาติโดยเฉพาะจากการท�ำประมงทะเลมี แนวโน้มลดลง ในขณะที่ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่มขึ้นและเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามา ทดแทนผลการจับสัตว์น�้ำที่ลดลงจากการท�ำประมงในแหล่งน�้ำธรรมชาติได้บางส่วน จากข้อมูล ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี 2554 พบว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ของประเทศไทยมีส่วนแบ่งในผลผลิตรวมจากภาคการประมงอยู่ร้อยละ35.12แม้ว่าจะมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนการลดลงของผลการจับสัตว์น�้ำจากการท�ำประมงได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่ส�ำคัญของโลก โดยในปี 2551 ประเทศไทยมีฐานะเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอันดับที่ห้าของโลก มีส่วนแบ่งของผลผลิตจากการ เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของโลกประมาณร้อยละ2.6เป็นรองจากเวียดนามและอินโดนีเชียหากพิจารณา เฉพาะภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน โดยประเทศทั้งสองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 4.7 และ 3.2 ตามล�ำดับ โดยรวมแล้วในภูมิภาคอาเซียนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงคิดเป็นร้อยละ47.67ของผลผลิต จากภาคประมง(ทั้งที่จับจากแหล่งน�้ำธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยง)ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีส่วน แบ่งจากผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าเกณฑ์นี้แล้ว ได้แก่ สปป.ลาว สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยผลผลิตจากการท�ำประมงลดลงแต่ยังไม่สามารถเพิ่ม ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำให้ขึ้นมาถึงเกณฑ์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เมื่อเกิดปัญหาใน การเพาะเลี้ยงกุ้งผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำลดลงอย่างชัดเจน การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) ที่จะ เกิดขึ้นในปี2558ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเข้าเป็นฐานการผลิตและการตลาดเดียว ซึ่งนอกจากจะก้าวสู่นโยบายการค้าเสรีแล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเสรีเพิ่มขึ้นตามมา ส�ำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำก็เช่นกัน การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนดังกล่าวของไทยจะเป็น โอกาสของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจฟาร์มซึ่งจะเคลื่อนย้ายทุนและมองหาช่อง บทที่ 1 บทน�ำ
  • 11. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน2 ทางในการเข้าถึงทรัพยากรในการเพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าแต่ส�ำหรับผู้ที่ท�ำกิจกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยอันประกอบด้วยเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงขนาดเล็กจ�ำนวนมาก ซึ่งมี ขนาดของทุนจ�ำกัดและยังขาดทั้งความรู้และวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การเปิดเสรีการค้า และการลงทุนย่อมหมายถึงแรงกดดันที่จะน�ำไปสู่ภาวะวิกฤตที่จะต้องสูญเสียอาชีพตามมาหรือ เปลี่ยนสถานะไปเป็นลูกจ้างนักลงทุนต่างชาติ แทนที่จะเป็นเจ้าของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ขนาดเล็กของตนเองดังที่เคยท�ำมา อีกทั้งในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่เกิดจากการลงทุนข้ามชาติอาจน�ำมาซึ่งการล่มสลายของ ผู้เพาะเลี้ยงรายย่อยในประเทศไทยแล้วยังอาจน�ำมาซึ่งปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบ นิเวศหากไม่มีการควบคุมดูแลที่มีประสิทธิผล หรือปล่อยให้มีการลงทุนเพาะเลี้ยงมากจนเกินขีด ความสามารถในการรองรับของพื้นที่การหาแนวทางในการยกระดับความสามารถของเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้เมื่อมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายสินค้า และการลงทุนก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นเอกสารชิ้นนี้เป็นการ ส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อความรู้จากงานวิจัยเพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลอันเป็นผล จากการศึกษา ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้น�ำเสนอเป็นการประมวลสังเคราะห์มาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การเสริมสร้างความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : สถานภาพและการมองไปข้างหน้า” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)โดยในการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้จัดท�ำการส�ำรวจ ข้อความรู้เพื่อให้เข้าใจถึงสถานภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของไทยและประเทศใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีสัตว์น�้ำที่เกี่ยวข้องจ�ำนวน 12 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์น�้ำที่ เพาะเลี้ยงในน�้ำกร่อย 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งขาว ปลากะพงขาว และ ปลากะรัง สัตว์น�้ำที่เพาะเลี้ยง ในทะเล 3 ชนิด ได้แก่ หอยแมลงภู่ หอยแครง และ หอยนางรม และสัตว์น�้ำจืด 6 ชนิดได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสวาย และกุ้งก้ามกราม 1.2 ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย ในด้านนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ กรมประมงได้จัดท�ำแผนแม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ของประเทศไทยปีพ.ศ.2555-2559โดยก�ำหนดวิสัยทัศน์ไว้เป็น“เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำยั่งยืนผลผลิต มั่นคงและปลอดภัย” และก�ำหนดยุทธศาสตร์ไว้เจ็ดด้าน ประกอบด้วยการเพิ่มผลผลิตสัตว์น�้ำ การส่งเสริมและฟื้นฟูแหล่งเลี้ยงสัตว์น�้ำ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการพัฒนาการเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำให้มีคุณภาพปลอดภัยและได้มาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดการสร้างเสริม ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของเกษตรกร/องค์กรเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการ พัฒนาศักยภาพขององค์กร/บุคลากรด้านการบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ที่ผ่านมายังมี การจัดท�ำยุทธศาสตร์กุ้ง(พ.ศ.2553-2556)และยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล(พ.ศ.2553-2557) ในแผนแม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำและยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล แม้จะได้รวมเอาการ พัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรเข้าไว้ในการก�ำหนดนโยบาย แต่ โดยรวมแล้วนโยบายการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทยยังให้ความส�ำคัญหลักใน การพัฒนาเพื่อท�ำรายได้จากการส่งออกเป็นส�ำคัญ
  • 12. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 3 I 1.3 สัตว์น�้ำส�ำคัญที่มีการเพาะเลี้ยงในอาเซียน สัตว์น�้ำที่เพาะเลี้ยงกันมากในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กุ้งขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์ทะเลปลาสวายปลาไนหอยแมลงภู่ปลายี่สกเทศและปลาตะเพียนชนิดของสัตว์ น�้ำที่เพาะเลี้ยงมีแนวโน้มหลากหลายมากขึ้นในระยะหลัง (Lymeret al. 2008) ประเทศไทยเป็น ผู้น�ำการผลิตกุ้งขาวในภูมิภาคอาเซียน แต่ยังเป็นรองประเทศจีน ซึ่งมีผลผลิตมากกว่าไทยถึง หนึ่งเท่าผู้ผลิตกุ้งขาวจากภูมิภาคอาเซียนในอันดับรองลงไปจากไทยคือเวียดนามและอินโดนีเซีย ส�ำหรับปลานิล จีนเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับที่สี่ และยังมี มาเลเซีย สปป.ลาว และ สหภาพพม่า เป็นผู้ผลิตที่ส�ำคัญใน กลุ่มอาเซียน แต่ในการส่งออกปลานิล จีนเป็นผู้น�ำการส่งออก ตามมาด้วยไต้หวันไทยเป็นผู้ส่ง ออกปลานิลอันดับที่สามโดยปริมาณการส่งออกยังน้อยกว่าจีนและไต้หวันอยู่มาก ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish Chanos chanos) เลี้ยงกันมากในฟิลิปปินส์ ผลผลิตจาก การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลรองจากฟิลิปปินส์คืออินโดนีเซียทั้งสองประเทศเป็นผู้น�ำในการ เพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในภูมิภาคนี้การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ในประเทศไทยมีรายงาน เฉพาะการเลี้ยงปลานวลจันทร์ในน�้ำจืดที่เรียกกันว่านวลจันทร์เทศ (Ctirrhinusmrigala) เป็นคน ละชนิดกับปลานวลจันทร์ทะเล ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาสวาย ซึ่งเป็นชนิด Pangasius boucouti ที่ รู้จักกันในประเทศไทยในชื่อปลาเผาะหรือปลาโมง เป็นส�ำคัญ เวียดนามได้พัฒนาการเพาะเลี้ยง ปลาสวายอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าไปครองตลาดสหภาพยุโรปได้ถึงร้อยละ 40 ของตลาด ปลาน�้ำจืดชนิดที่แล่เป็นชิ้น (Fillet) ในตลาดนี้ เวียดนามสามารถพัฒนาผลผลิตปลาน�้ำจืดชนิดนี้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ในเวียดนามพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มของปลาไนมีปลาหลากหลายชนิดและเมื่อรวมกลุ่มปลาตะเพียนไว้ในกลุ่มนี้ด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นผู้น�ำในการผลิตสัตว์น�้ำในกลุ่มนี้ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า ไทย และ สปป.ลาว ตามล�ำดับ ส�ำหรับหอยแมลงภู่ผู้น�ำในการผลิตจากอาเซียนคือ ไทย และ ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่าเป็น ผู้น�ำในการเพาะเลี้ยงปลายี่สกเทศในอาเซียน มีการเลี้ยงปลายี่สกเทศ ใน สปป.ลาว และ ประเทศไทย แต่มีปริมาณน้อยเป็นประมาณร้อยละสิบและร้อยละห้าของที่เลี้ยงในสหภาพพม่า มีโอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำจากอุปสงค์สัตว์น�้ำที่เพิ่มขึ้น และการเข้าไปทดแทน ผลผลิตที่ลดลงจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติ แต่จ�ำเป็นต้องพัฒนาผลผลิตให้มี คุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยต้องมีการ ปรับกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ควรมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างเสริมศักยภาพ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ อนึ่งควรมีการปรับปรุงอาหารสัตว์น�้ำที่ใช้ให้ได้มาตรฐานและมีต้นทุนที่ ลดลงเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้ใช้ ในส่วนของการบริหารจัดการของรัฐควรมีการด�ำเนินการ จดทะเบียนเพื่อสนับสนุนการสืบมาตรฐาน(Traceability)การออกใบรับรอง(Certification)และ การวางแผนการใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างบูรณาการร่วมกับภาคการผลิตอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอย่างเหมาะสม
  • 13. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน4 ในการประชุมMeetingSocialandEconomicChallengesonAquacultureinSoutheast Asia ที่จัดขึ้นโดย Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC) ในปี ค.ศ. 2010 Tokrisnaรายงานว่าการพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภูมิภาคอาเซียนมีผลทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมควรมีการประเมินค่าผลที่เกิดขึ้นแก่ระบบนิเวศและน�ำมาประกอบการ ตัดสินใจลงทุนพัฒนา นอกจากนั้นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำยังอาจมีผลต่อกิจกรรม อื่นๆในพื้นที่เช่นการท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องตั้งแต่ต้นน�้ำ คือ การเพาะฟัก การผลิตอาหารสัตว์น�้ำไปจนถึงปลายน�้ำ คือ การแปรรูป ทั้งยังเป็นแหล่งรายได้ ไม่ว่าในรูปของค่าจ้างเพื่อการท�ำงานในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในรูปรายได้ของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย หรือ ในรูปมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตที่ตกแก่อุตสาหกรรม ผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เป็นแหล่งอาหารที่ให้ความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งท�ำรายได้จากการส่งออก ประเด็นที่ควร พิจารณาในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำควรเป็นไปในลักษณะยั่งยืน ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งควรให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการวิธีการ เพาะเลี้ยงที่น�ำมาใช้ควรเป็นวิธีที่ไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ หรือ อย่างน้อยต้องค�ำนึงถึงผลกระทบ วงนอก(Externalities)ที่เกิดขึ้นและน�ำมาคิดเป็นต้นทุนแก่ผู้ก่อผลกระทบเพื่อควบคุมการพัฒนา ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมควรพัฒนาผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในเรื่องของ มาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การรวมกลุ่มในลักษณะของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนสามารถเพิ่มอ�ำนาจการต่อรองเพื่อลดปัญหาการกีดกันการค้าสินค้าสัตว์น�้ำลงได้เพื่อให้ ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐานควรมีเกณฑ์ความร่วมมือที่พัฒนาขึ้นเป็นสากลที่สามารถน�ำมาใช้และ ขยายผลในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงได้ เช่น Better Management Practice (BMP), Good Aquaculture Practice (GAP), Code of Conduct for Responsible Aquaculture Practice (CCRAP), Euro Retailer Produce Working Group of Good Agriculture Practice (EUREPGAP) และ Global PartnershipofGoodAgriculturePractice(GPGAP)ภาครัฐควรถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้เพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำได้รับทราบเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติและพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส�ำหรับการส่งออก ตลอดจนพัฒนาแนวทางการออกใบรับรองส�ำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ซึ่งควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันส�ำหรับในภูมิภาคอาเซียนที่ส�ำคัญคือ การสร้างเสริมความ สามารถของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย โดย การพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมโดยภาครัฐ ทั้งในเรื่องของแหล่งทุนและการถ่ายทอดความรู้และการตลาดทั้งนี้อาจเริ่มจากการประเมินสภาวะ เศรษฐกิจสังคมของชุมชนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพื่อให้เข้าใจสถานะของเกษตรกรและสภาวะแวดล้อม รวมทั้งสภาวะทางกายภาพของพื้นที่เครื่องมือที่จะน�ำมาใช้ประเมินชุมชนได้แก่Context-Input- Process-Product (CIPP) Strength-Weakness-Opportunity-Threat (SWOT) การวิเคราะห์ตลาด และการจัดการโซ่อุปทานเพื่อน�ำมาวางแผนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในพื้นที่สร้างเสริมความ สามารถให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ (Tokrisna 2010)
  • 14. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 5 I 1.4 การเปิดเสรีของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ภายใต้กรอบความตกลงACIA1 ไทยมีพันธกรณีจะต้องเปิดเสรีการลงทุนโดยจะต้องเปิดให้นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สามารถเข้ามาลงทุนถือหุ้นในการประกอบกิจการได้สูงสุดร้อยละ100ของทุนจดทะเบียนภายใน วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA ไม่จ�ำเป็นที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนจะต้องน�ำสาขากิจการ/มาตรการที่จ�ำกัดการลงทุนมาเปิดเสรีให้กับนักลงทุนจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้าถือหุ้นประกอบกิจการ 100% หรือยกเลิกมาตรการนั้นๆ ไปเท่านั้น แต่ยังให้สมาชิกสามารถน�ำสาขากิจการ/มาตรการมาปรับปรุงการเปิดเสรีที่เพิ่มขึ้น โดยผ่อนปรน ข้อจ�ำกัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น ซึ่งการด�ำเนินการปรับปรุงและผ่อนปรนสาขา กิจการ/มาตรการดังกล่าว ถือว่าได้เป็นการเปิดเสรีการลงทุนให้กับนักลงทุนอาเซียนเช่นกัน การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมุมมองหนึ่งเห็นว่า อาจเป็นผลดีในข้อที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน ประเทศให้มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอาจมีทางเลือกในการ เลือกซื้อปัจจัยการผลิตทั้งพันธุ์และอาหารสัตว์น�้ำมากขึ้น รวมทั้งทางเลือกในการขายผลผลิต สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในประเทศ ดังที่เคยเป็นมาในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในระยะที่เริ่มการพัฒนา แต่ใน ขณะเดียวกันหากไม่มีการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่เกิดขึ้น ก็อาจน�ำไปสู่ความสูญเสียดังที่เกิดขึ้นในการล่มสลายของการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ2 อันเป็นเหตุ ให้ประเทศไทยต้องหันมาเลี้ยงกุ้งขาวอยู่ในปัจจุบัน นอกจากในเรื่องของการลงทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ประเทศไทยยังอาจได้รับโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมีโอกาสการจ้าง งานมากขึ้น ตลอดจนอาจมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในรูปแบบฟาร์มพันธะสัญญา (Contract farming) ผู้ประกอบธุรกิจก็อาจมีช่องทางการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น มีโอกาสมากขึ้นในการร่วมมือกันส่งออกสินค้าสัตว์น�้ำจากภูมิภาค (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย 2555) แต่ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือ อาจท�ำให้กิจการ เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเปลี่ยนไปเป็นของนักลงทุนต่างชาติ หากไม่มีระเบียบการเคลื่อนย้าย เงินทุนที่ เหมาะสมนักลงทุนต่างชาติอาจเคลื่อนย้ายผลประโยชน์กลับไปประเทศของตนได้เกษตรกรราย ย่อยอาจแข่งขันไม่ได้ต้องเลิกอาชีพนี้ไปนักลงทุนต่างชาติอาจน�ำเข้าสินค้าสัตว์น�้ำที่มีราคาถูกเข้า มาตีตลาดสินค้าสัตว์น�้ำไทย และหากขาดการควบคุมที่เหมาะสม อาจเกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ ในประเทศนักลงทุนต่างชาติอาจน�ำเข้าพันธุ์สัตว์น�้ำที่ไม่มีในประเทศไทยและอาจเป็นภัยต่อพันธุ์ สัตว์น�้ำในประเทศ (Invasive alien species) ตลอดจนอาจน�ำพันธุ์สัตว์น�้ำที่ควรสงวนไว้ใน ประเทศไทยไปใช้ในต่างประเทศ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2555) 1 ASEAN Comprehensive Investment Agreement 2 ดูรายละเอียดใน Tokrisna ( 2006)
  • 15. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน6 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าสินค้าสัตว์น�้ำคือการที่เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนใหญ่ของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีต้นทุนการผลิตสูงอาจไม่สามารถ แข่งขันกับการลงทุนของต่างชาติได้อาจมีปัญหาการเข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศโดยนักลงทุน ต่างชาติทั้งเกษตรกรไทยอาจยังขาดข่าวสารข้อมูลการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจ�ำเป็นที่ จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยเพื่อให้แข่งขันได้ในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนทั้งในด้านทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการแปรรูป ทักษะทางการตลาดตลอดจนการรวมกลุ่มการผลิตและการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้และความ เข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำรายย่อยของประเทศไทย (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย 2555) กรมประมงได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน ประเทศไทยไว้ดังนี้จุดแข็งของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในประเทศไทยอยู่ที่การมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศอยู่ในจุดที่เหมาะสมมีองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เกษตรกรมีทักษะพร้อม ที่จะปรับตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออ�ำนวยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เข้มแข็งภาครัฐและเอกชนพร้อมที่จะปรับตัวตามมาตรฐานสากลมีเครือข่าย ถ่ายทอดองค์ความรู้ และควบคุมก�ำกับดูแลรัฐสนับสนุนการขยายตลาดภายในประเทศและ การยกระดับมาตรฐานสินค้า ทั้งยังมีสัตว์น�้ำหลายชนิดที่สามารถพัฒนาเป็นสัตว์น�้ำเศรษฐกิจได้ แต่ก็ มีจุดอ่อน คือ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ ข้อมูลยัง ขาดความชัดเจนยังไม่มีการบูรณาการกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องท�ำให้ไม่สามารถน�ำมาใช้ควบคุมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ยังไม่สามารถ รวมกลุ่มได้อย่างเข้มแข็งในส่วนของโอกาสจากปัจจัยภายนอกคือแนวโน้มความต้องการบริโภค สัตว์น�้ำของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยต้องอาศัยผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเข้ามาทดแทนผลจับ ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติที่ลดลงในส่วนของอุปสรรค ได้แก่ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบ ที่ไม่ใช่ภาษี ผลกระทบเชิงลบที่มีต่อระบบนิเวศที่อาจเกิดขึ้น ความผันผวนของราคาที่เกิดจาก ปัจจัยภายนอกเช่นค่าเงินบาทและผลผลิตของประเทศอื่นๆและภัยธรรมชาติเช่นอุทกภัยตลอด จนความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีผลต่ออุณหภูมิและความเค็มของน�้ำ (กรมประมง 2554) ควรน�ำ ปัจจัยเหล่านี้มาประเมินเพื่อประกอบการหาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำไทย ในบทต่อไปจะได้น�ำเสนอถึงสถานภาพของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำที่ส�ำคัญบางชนิดใน อาเซียน ปริมาณสัดส่วนของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง รวมถึงประเภทของการเพาะเลี้ยงเพื่อ สะท้อนและเปรียบเทียบให้เห็นระดับการจัดการ และการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงของแต่ละ ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • 16. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 7 I การท�ำประมงมากจนเกินระดับที่เหมาะสมท�ำให้ผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำ ธรรมชาติตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมและไม่อาจเพิ่มปริมาณการจับขึ้นได้ทันกับความต้องการบริโภค ที่เพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนประชากรและน�ำไปสู่ภาวะการขาดแคลนแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น�้ำซึ่ง เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญของประชากรโลกการตระหนักถึงปัญหาการชะลอตัวลง ของผลผลิตที่ท�ำประมงได้ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติ และการหาแนวทางแก้ไขด้วยการเพิ่มผลผลิต จากการเพาะเลี้ยงจึงเป็นทางออกของการทดแทนสินค้าสัตว์น�้ำที่ได้จากการจับจากธรรมชาติ ดังจะเห็นได้ว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 7.347 ล้านตันในปี 2523 คิดเป็น ร้อยละ 9.72 ของผลผลิตรวมจากภาคการประมง 75.613 ล้านตัน (มีผลผลิตจากการท�ำประมง ตามแหล่งน�้ำธรรมชาติอยู่68.266ล้านตัน)เป็น83.729ล้านตันในปี2554คิดเป็นร้อยละ46.95 ของผลผลิตรวมจากภาคประมง เกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมจากภาคประมงที่มีอยู่ 178.323 ล้านตัน(มีผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติอยู่94.594ล้านตัน)ในภูมิภาคอาเซียน ก็มีแนวโน้มการพัฒนาผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงมาทดแทนการจับสัตว์น�้ำที่ได้จาก แหล่งน�้ำธรรมชาติเช่นกันในบทนี้จะกล่าวถึงผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศสมาชิก อาเซียนโดยรวมและในรายประเทศ 2.1 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมเป็น 16.112 ล้านตัน ในปี2554หรือร้อยละ19.24ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของโลกเกือบครึ่งหนึ่ง(7.937ล้านตัน) มาจากการเพาะเลี้ยงในอินโดนีเซียรองลงไปเป็นเวียดนาม(3.053ล้านตัน)ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ (2.608ล้านตัน)ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สี่(1.008ล้านตัน)ประเทศ ที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในหลักแสนตัน คือ สหภาพพม่า (0.817 ล้านตัน) มาเลเซีย (0.527 ล้านตัน) ที่มีผลผลิตในหลักหมื่นตันได้แก่ สปป.ลาว (0.086 ล้านตัน) กัมพูชา (0.072 ล้านตัน) ที่มีผลผลิตในหลักพันตันคือสิงคโปร์(3,972ตัน)และที่มีผลผลิตในหลักร้อยตันคือบรูไน(530ตัน) (ตารางที่ 2.1) บทที่ 2 สถานภาพ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศ ในประชาคมอาเซียน
  • 17. >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน8 แนวโน้มโครงสร้างผลผลิตจากภาคประมงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นเช่นเดียวกัน กับของโลกสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ12.03ในปี2523เพิ่มขึ้นรวดเร็ว นับแต่ปี 2541 เป็นร้อยละ 20.71 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47.67 ในปี 2554 เป็นปีแรกที่อาเซียน มีสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าสัดส่วนรวมของโลกการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำใน กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทวีความส�ำคัญขึ้นอย่างรวดเร็วเข้ามาทดแทนผลผลิตจากการ ท�ำประมงจากแหล่งน�้ำธรรมชาติในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศที่ประสบความส�ำเร็จ ในการเพาะเลี้ยงสามารถมีสัดส่วนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นในระดับสูงกว่ากลุ่มอาเซียน โดยรวม ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว และสิงคโปร์ประเทศที่มีสัดส่วนผลผลิตจาก การเพาะเลี้ยงต�่ำกว่าระดับของกลุ่มอาเซียนโดยรวมได้แก่ไทยมาเลเซียบรูไนสหภาพพม่าและ กัมพูชา ตามล�ำดับ (ตารางผนวกที่ 1) ตารางที่ 2.1 โครงสร้างผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและการท�ำประมงจากแหล่งน�้ำธรรมชาติ ปี 2554 ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ อินโดนีเซีย 7.937 5.714 13.651 เวียดนาม 3.053 2.503 5.555 ฟิลิปปินส์ 2.608 2.367 4.975 ไทย 1.008 1.862 2.870 สหภาพพม่า 0.817 3.333 4.150 มาเลเซีย 0.527 1.383 1.909 สปป.ลาว 0.086 0.031 0.117 กัมพูชา 0.072 0.490 0.562 สิงคโปร์ 0.004 0.002 0.006 บรูไน 0.001 0.002 0.003 รวมอาเซียน 16.112 17.687 33.799 รวมทั่วโลก 83.729 94.594 178.323 สัดส่วน (ร้อยละ) อินโดนีเซีย 58.14 41.86 100.00 เวียดนาม 54.95 45.05 100.00 ฟิลิปปินส์ 52.42 47.58 100.00 ไทย 35.12 64.88 100.00 สหภาพพม่า 19.69 80.31 100.00 มาเลเซีย 27.58 72.42 100.00 สปป.ลาว 73.57 26.43 100.00 กัมพูชา 12.81 87.19 100.00 สิงคโปร์ 71.06 28.94 100.00 บรูไน 20.15 79.85 100.00 รวมอาเซียน 47.67 52.33 100.00 รวมทั่วโลก 46.95 53.05 100.00 ปริมาณผลผลิต (ล้านตัน) รายการ จากการเพาะเลี้ยง จากการท�ำประมง รวมจากภาคการ ประมง
  • 18. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 9 I ในด้านปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงประเทศไทยยังเป็นรองอินโดนีเซียเวียดนามและ ฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในสามประเทศนี้มีผลผลิตจาก การเพาะเลี้ยงสาหร่าย ซึ่งหากไม่รวมผลผลิตสาหร่าย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในทั้งสามประเทศนี้ จะเป็น 2.767, 2.846 และ 0.767 ล้านตัน ตามล�ำดับ ในรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของ ประเทศไทยไม่มีผลผลิตจากสาหร่าย หากไม่รวมสาหร่าย ประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ ที่สาม มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมากกว่าฟิลิปปินส์อยู่กว่าสองแสนตัน แต่ปริมาณ ผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงของไทยยังมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เวียดนามและอินโดนีเซียเพาะ เลี้ยงได้ในด้านการเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่ง น�้ำธรรมชาติ สัดส่วนที่ทดแทนได้ของประเทศไทย ยังเป็นรองทั้งสามประเทศที่กล่าวข้างต้น และ ยังเป็นรอง สปป.ลาว ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเลจึงต้องเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเป็นส�ำคัญ และ เป็นรองสิงคโปร์ซึ่งได้เร่งพัฒนาผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงตลอดมาอย่างไรก็ตามปริมาณผลผลิต จากการเพาะเลี้ยงของทั้ง สปป.ลาว และสิงคโปร์ยังต�่ำกว่าปริมาณที่ไทยเพาะเลี้ยงได้อยู่มาก กล่าวได้ว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศไทย ยังเป็นรองอินโดนีเซียและเวียดนาม 2.2 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำสูงที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียน มีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่ 45.19 ล้านไร่ แต่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในทะเลซึ่งยังน�ำ มาใช้น้อยมาก ส่วนมากใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย และยังมีการเลี้ยงปลากะรังในทะเลซึ่งอินโดนีเซีย สามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังชนิด Humpback grouper และ Tiger grouper ได้ กับการเลี้ยง ปลากะพงและเลี้ยงหอยในทะเลพื้นที่ใช้เพาะเลี้ยงในทะเลส่วนมากอยู่แถบเกาะสุลาเวสีรองลง ไปอยู่ในบริเวณบาหลีและนุสาเตงการาหากสามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงในทะเลได้อินโดนีเซีย ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงที่จะน�ำมาใช้อีกมาก รองลงไป ร้อยละ 30.85 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้ำจืด 13.941 ล้านไร่ ซึ่งน�ำมาใช้ยังไม่ถึงหนึ่งในห้าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในเกาะชะวารองลงไปเป็นพื้นที่ ในเกาะสุมาตราทั้งแถบตะวันตกและตอนใต้ มีทั้งที่เลี้ยงในบ่อและในกระชัง พื้นที่เพาะเลี้ยงอีก ร้อยละ 16.94 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้ำกร่อย 7.656 ล้านไร่ น�ำมาใช้ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่ เป็นการเลี้ยงในบ่อและมักจะเป็นการเลี้ยงกุ้งพบมากในเกาะชะวาและมีในสุลาเวสีตอนใต้และ ลัมพุงแต่การเลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียก็มีปัญหาโรคระบาดคล้ายกับที่พบในประเทศไทยอินโดนีเซีย ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่อีกมากที่สามารถน�ำมาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำได้ แต่ปัญหาคือพื้นที่เหล่านี้ ยังกระจัดกระจาย ระบบการขนส่งในประเทศยังมีข้อจ�ำกัด เนื่องจากเป็นพื้นที่เกาะหลายๆ เกาะ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงที่รัฐด�ำริเป็นการพัฒนาโดยอาศัยชุมชนเป็นแกนน�ำ การเพาะเลี้ยงใน อินโดนีเซียเป็นไปเพื่อผลิตอาหารทดแทนผลผลิตจากการท�ำประมงตามแหล่งน�้ำธรรมชาติผลผลิต ที่ได้จึงยังใช้บริโภคในประเทศมากถึงกว่าร้อยละแปดสิบของที่ผลิตได้ การพัฒนาเพาะเลี้ยงมี บทบาทส�ำคัญในการสร้างอาชีพรายได้และการจ้างงานให้แก่คนในประเทศการพัฒนาการเพาะ เลี้ยงมีการขยายตัวรวดเร็วในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียให้ความส�ำคัญแก่การ พัฒนาการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตที่ลดลงจากการท�ำประมง โดยเฉพาะหลังจากการห้าม