SlideShare a Scribd company logo
1 of 66
นโยบายและบทบาทหน้าที่ครู
สมาชิกในกลุ่ม 		1.นางสาวเบญจวรรณ  	เหง้ากอก   	รหัสนิสิต 53010516043 		2.นายณัฐพงศ์    สารสัย   	รหัสนิสิต  53010520001 		3. นายพิพัฒน์พงศ์     ม่วงกล่ำ 	รหัสนิสิต  53010520002 		4.นางสาวตติยา    เบญจกุล 	รหัสนิสิต  53010520011 		5.นางสาวนฤพร    มาลัย  	รหัสนิสิต 53010520016 		6.นางสาวพิชญธิดา   สาพันธุ์ 	รหัสนิสิต 53010520022 		7.นายวีรดนย์     หอมทอง  	รหัสนิสิต  53010520033 		8.นางสาวศรัญญา    สุดเฉลียว  	รหัสนิสิต  53010520034 		9.นางสาวสวิตรา     หนองหว้า  	รหัสนิสิต  53010520037 		10.นางสาวสาวิตรี    โพธิ์สุขเกษม   รหัสนิสิต 53010520039 		11.นางสาวอมรรัตน์     กองไธสง    รหัสนิสิต  53010520042 		12.นายอาวุธ      สาบก  	รหัสนิสิต  53010520044 		13.นางสาวธัญวรัตม์     ผลาพงศ์      รหัสนิสิต  53010520047 		14.นางสาววรรณษา     ชื่อมี             รหัสนิสิต  53010516050
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2552
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2551-2554  และแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554)  โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้
นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ  จุดเน้นการดำเนินงาน  1.1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ: มุ่งเน้นให้สถานศึกษา สำรวจผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่ให้ได้ข้อมูล         ที่ชัดเจน และดำเนินการจัดให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้เรียนรู้จากหลักสูตรและสื่อที่เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้โดยร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  1.2 การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน: มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียน ได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในหมวดวิชาหลักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และอัตราการจบร้อยละ 80 ในแต่ละภาคเรียน ให้ความสำคัญกับการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ การเทียบระดับการศึกษาและการประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักในการจัดการศึกษาร่วมกัน
   1.3 การศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต: มุ่งเน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลักสูตรระยะสั้นและการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งให้สามารถนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งการมีคลังหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อรองรับการจัดบริการทางการศึกษา
   1.4 การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (การศึกษานอกระบบ): มุ่งเน้นการประสานการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐานพอเพียงสำหรับการประกอบอาชีพฟ
2.นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย  จุดเน้นการดำเนินงาน  2.1 การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน: มุ่งเน้นการประสานความร่วมมือกับแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2 การพัฒนาห้องสมุดประชาชน: มุ่งเน้นให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.และพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้จากภายนอก ความรู้สากล และข้อมูลข่าวสารต่างๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอาชีพ การทำมาหากิน
2.3 การพัฒนารูปแบบและวิธีการ: ส่งเสริมให้สถานศึกษา พัฒนารูปแบบและวิธีการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีความหลากหลายเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 3.2 อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อาสาสมัครเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอก
     ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัดสำนักงาน กศน. 3.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน: มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน การจัดการความรู้ การวิจัยชุมชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำความรู้ไปแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง การพัฒนาชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
4. นโยบายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา  จุดเน้นการดำเนินงาน  4.1 สื่อวิทยุโทรทัศน์ และวิทยุเพื่อการศึกษา: มุ่งพัฒนารายการให้เชื่อมโยง ตอบสนอง ต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
  4.2 อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา: ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษา สังกัด กศน.มีเว็บไซต์ของตนเองโดยเชื่อมโยงกับระบบ Portal  Web เพื่อให้เกิดเครือข่ายการให้บริการที่กว้างขวาง มีหลักสูตรและโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
	4.3 การศึกษาทางไกล: มุ่งพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ  
5. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  จุดเน้นการดำเนินงาน  5.1 กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา: มุ่งพัฒนากิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาของชุมชน มุ่งเน้นให้ชุมชนสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
5.2 เครือข่ายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์: ส่งเสริมให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทุกระดับสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในองค์กร กศน. และองค์กรภายนอกเพื่อ    การให้บริการแก่ประชาชน และพัฒนาความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของบุคคลและชุมชน
6. นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จุดเน้นการดำเนินงาน  6.1 การพัฒนาวิชาการ: มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาและมุ่งหมายให้งานวิชาการเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติที่มีคุณภาพ
6.2 การพัฒนาบุคลากร: ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะครู กศน. ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอน  โดยมุ่งพัฒนาให้เป็น กศน. มืออาชีพ ดังนี้(1) สำนักงาน กศน.จังหวัดมีหน้าที่พัฒนาครู กศน.ในเนื้อหาสาระที่มีความเฉพาะกับบริบทของพื้นที่(2) สถาบันพัฒนา กศน.ภาค มีหน้าที่จัดการพัฒนาครูในเนื้อหาสาระหลักที่ครู กศน. ทุกคนจำเป็นต้องรู้
(3) สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร มีบทบาทหลักในการพัฒนาบุคลากรในเนื้อหาสาระที่สำคัญต่อการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละระดับ  (4) กลุ่มการเจ้าหน้าที่ จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากร กศน.โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.3 การนิเทศการศึกษา: ให้ความสำคัญกับการนิเทศภายใน ซึ่งเป็นบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและส่งเสริมให้ศึกษานิเทศก์ กศน. เป็นผู้นิเทศและเป็น    พี่เลี้ยงในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสถานศึกษาสังกัด กศน.
6.4 การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: มุ่งเน้นให้สถานศึกษา กศน.ทุกแห่งจัดระบบการประกันคุณภาพ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และให้ความสำคัญกับสถานศึกษาที่จะรับการประเมินภายนอกโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่ตรงกับสภาพจริงของสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนา
7. นโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย  จุดเน้นการดำเนินงาน  7.1 การประสานงานกับคณะกรรมการ: มุ่งเน้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ประสานการทำงานร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามบทบาทหน้าที่เพื่อสร้างความเข้าใจงานด้านการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเสริมสร้างโอกาสและบทบาทในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7.2 การสร้างเสริมบทบาทของภาคีเครือข่าย: มุ่งเน้นให้หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. ประสานงานและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ ทุกประเภทให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดให้มีสมัชชาภาคีเครือข่าย การยกย่องเชิดชูเกียรติ  ทั้งนี้โดยขจัดอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานและสร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน
8. นโยบายด้านการบริหาร  จุดเน้นการดำเนินงาน  8.1 การบริหารการศึกษา: มุ่งเน้นการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดทุกระดับ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้  หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
  8.2 การบริหารงานภาครัฐ: ให้ความสำคัญกับการบริหารตามหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)  โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมการทำงานและค่านิยมร่วมขององค์กร  8.3 การเตรียมความพร้อมบุคลากรตามระเบียบข้าราชการพลเรือน: เน้นการทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบโดยสร้างบุคลากรใหม่ และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน
   8.4 ระบบฐานข้อมูล: ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการโดยเฉพาะข้อมูลนักศึกษาและผู้เรียนในหลักสูตรต่างๆ ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารจัดการและจัดให้มีการบริการข้อมูลสารสนเทศ
  8.5 การกำกับติดตาม: ให้ความสำคัญกับระบบการกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงาน ทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการบริหารของหน่วยงานและสถานศึกษา โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม   
  8.6 โครงสร้างพื้นฐาน: มุ่งเน้นการจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการระดมทรัพยากรในการซ่อมแซม บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้พอเพียงและพร้อมที่จะให้บริการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  
 9. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ  จุดเน้นการดำเนินงาน  9.1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: เน้นการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อตอบสนองแนวทางการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ของโครงการสู่กลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
  9.2 การส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ: ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ เด็กด้อยโอกาส     เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ผู้พิการ ชาวไทยในต่างประเทศ ซึ่งมีกฎหมายและนโยบายการพัฒนาโดยเฉพาะให้ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
10. นโยบายด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551  จุดเน้นการดำเนินงาน   10.1 เร่งรัดการออกกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
   10.2 เร่งรัดการบริหารจัดการบุคลากรให้เข้าสู่ตำแหน่ง และโครงสร้างองค์กรอย่างสมบูรณ์เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย  10.3 เร่งพัฒนาโครงสร้างองค์กร ให้มีศักยภาพในการดำเนินงาน จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  10.4 เร่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กร  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดี มีทัศนคติที่ถูกต้อง และเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง
จรรยาบรรณ และ บทบาทหน้าที่ของครู
จรรยาบรรณในวิชาชีพครู      ความหมาย      จรรยาบรรณในวิชาชีพหมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
ความสำคัญ      จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ”นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ”     ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ
     มีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ”เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม ดังนี้
จรรยาบรรณต่ออาชีพผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ 1. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
2. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ
3. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์     ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น
4. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล
5. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้บทบาทของการธำดงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อมจะลดลงด้วย ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ
จรรยาบรรณต่อผู้เรียนครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน 9 ประการ คือ  1. ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอน ศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ มาลองทดลองสอน
2. รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก (sensitve) และอารมณ์ไม่มั่นคง ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง
3.ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่มอาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้วบางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดี ๆ กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป
5. ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม
6. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น
7.ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป
8.อบรมบ่มนิสัยม.ล. ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า “การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถม” ดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี
9.ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วยประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากจรรยาบรรณต่อศิษย์แล้ว ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้มีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้
    1.ประพฤติชอบ ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง2.รับผิดชอบ ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย3.มีเหตุผล ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี
4.ใฝ่รู้ การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้ อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์ได้
5.รอบคอบ ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม เช่น ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น
6.ฝึกจิต การพัฒนาจิต ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประสิทธิถาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจืตของตนให้สูงส่ง สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย
7.สนใจศิษย์ การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียนการแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
   สรุปได้ว่าจรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ .
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย 3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
   4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
  6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนา
นอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จมีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ ท่องบ่น ตอนก่อนเพล เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่น พระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ 2 โมงพระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใด
คนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อเติมขึ้นไป บางแห่งมีการตรวจสอบในตอนเช้า  ตอนบ่ายจึงเรียนเขียนอ่านต่อ ถ้าใครเกียจคร้านก็จะถูกตีด้วยไม้ บ่าย 4 โมงครึ่ง หรือ  5 โมง จึงเลิกเรียน วันหยุดเรียนได้แก่วันพระ และวันที่มีพิธีต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 ).

More Related Content

What's hot

รวมวารสาร 256
รวมวารสาร 256รวมวารสาร 256
รวมวารสาร 256Suwannee Pun
 
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2ITitle A'lohaa
 
profile Fakkwanwittayakom school
profile Fakkwanwittayakom schoolprofile Fakkwanwittayakom school
profile Fakkwanwittayakom schoolJiraporn
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)Iam Champooh
 
แบบสำรวจและประวัติม.6
แบบสำรวจและประวัติม.6แบบสำรวจและประวัติม.6
แบบสำรวจและประวัติม.6Phichittra18
 
Portfolio นางสาวอรวรรณ ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9
Portfolio นางสาวอรวรรณ  ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9Portfolio นางสาวอรวรรณ  ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9
Portfolio นางสาวอรวรรณ ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9โม เมย์.
 
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะ
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะ
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะFiewza Nkclub
 
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558Duangnapa Inyayot
 
Light Library
Light LibraryLight Library
Light LibraryPCRPyrc
 
แฟ้มสะสมผลงาน
แฟ้มสะสมผลงานแฟ้มสะสมผลงาน
แฟ้มสะสมผลงานTanawat Wattanamanon
 
ประวัติส่วนตัว มล
ประวัติส่วนตัว มลประวัติส่วนตัว มล
ประวัติส่วนตัว มลPawarin Ja
 
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์panomkon
 
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”Samorn Tara
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23mariamsamadeng
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23mariamsamadeng
 

What's hot (20)

Supervision
SupervisionSupervision
Supervision
 
รวมวารสาร 256
รวมวารสาร 256รวมวารสาร 256
รวมวารสาร 256
 
วารสารโรงเรียน 2 2557
วารสารโรงเรียน 2 2557วารสารโรงเรียน 2 2557
วารสารโรงเรียน 2 2557
 
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
 
profile Fakkwanwittayakom school
profile Fakkwanwittayakom schoolprofile Fakkwanwittayakom school
profile Fakkwanwittayakom school
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
 
แบบสำรวจและประวัติม.6
แบบสำรวจและประวัติม.6แบบสำรวจและประวัติม.6
แบบสำรวจและประวัติม.6
 
Portfolio นางสาวอรวรรณ ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9
Portfolio นางสาวอรวรรณ  ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9Portfolio นางสาวอรวรรณ  ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9
Portfolio นางสาวอรวรรณ ชัยนเรศ เลขที่ 5 ม.5/9
 
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะ
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะ
ผังการบริหารงานกลุ่มศิลปะ
 
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558
ทำเนียบสภานักเรียนไทยปี2558
 
Light Library
Light LibraryLight Library
Light Library
 
แฟ้มสะสมผลงาน
แฟ้มสะสมผลงานแฟ้มสะสมผลงาน
แฟ้มสะสมผลงาน
 
ประวัติส่วนตัว มล
ประวัติส่วนตัว มลประวัติส่วนตัว มล
ประวัติส่วนตัว มล
 
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
 
บุญช่วย
บุญช่วยบุญช่วย
บุญช่วย
 
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”
การประกวด “Thailand Social Media Award ๒๐๑๓”
 
Smedu award
Smedu awardSmedu award
Smedu award
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23
 
work2
work2work2
work2
 

Viewers also liked

คู่มือ Microsoft powerpoint
คู่มือ Microsoft powerpointคู่มือ Microsoft powerpoint
คู่มือ Microsoft powerpointnarueporn
 
Excel อ.สังคม
Excel อ.สังคมExcel อ.สังคม
Excel อ.สังคมnarueporn
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรกnarueporn
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1narueporn
 
คู่มือการทำเว็บ
คู่มือการทำเว็บคู่มือการทำเว็บ
คู่มือการทำเว็บnarueporn
 
คู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordคู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordnarueporn
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1narueporn
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรกnarueporn
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรกnarueporn
 
Migrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionMigrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionGopinath Dhandapani
 
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009Monica Poggi
 
Priority-based Budgeting
Priority-based Budgeting Priority-based Budgeting
Priority-based Budgeting Don Rhoads, CPA
 
คู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordคู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordnarueporn
 
Migrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionMigrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionGopinath Dhandapani
 

Viewers also liked (18)

คู่มือ Microsoft powerpoint
คู่มือ Microsoft powerpointคู่มือ Microsoft powerpoint
คู่มือ Microsoft powerpoint
 
Excel อ.สังคม
Excel อ.สังคมExcel อ.สังคม
Excel อ.สังคม
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรก
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
คู่มือการทำเว็บ
คู่มือการทำเว็บคู่มือการทำเว็บ
คู่มือการทำเว็บ
 
คู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordคู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Word
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรก
 
หน้าแรก
หน้าแรกหน้าแรก
หน้าแรก
 
Migrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionMigrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solution
 
Gopinath Dhandapani
Gopinath DhandapaniGopinath Dhandapani
Gopinath Dhandapani
 
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009
Per un lavoro competente - Ebit Roma 2009
 
Cygnet corporate ppt
Cygnet corporate pptCygnet corporate ppt
Cygnet corporate ppt
 
Lulu
LuluLulu
Lulu
 
Animal present
Animal presentAnimal present
Animal present
 
Priority-based Budgeting
Priority-based Budgeting Priority-based Budgeting
Priority-based Budgeting
 
คู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Wordคู่มือการทำเว็บ Word
คู่มือการทำเว็บ Word
 
Migrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solutionMigrating to share point 2013 – practices and solution
Migrating to share point 2013 – practices and solution
 

Similar to สารัดถะความเป็นครู

นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิง
นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิงนันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิง
นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิงpiyard
 
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553Nattapon
 
จุดเน้นที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
จุดเน้นที่  4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืนจุดเน้นที่  4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
จุดเน้นที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืนโรงเรียนมหาธิคุณวิทยา
 
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางKunwater Tianmongkon
 
โครงงานกลุ่ม
โครงงานกลุ่มโครงงานกลุ่ม
โครงงานกลุ่มkeeree samerpark
 
ใบงานท 2-8
ใบงานท   2-8ใบงานท   2-8
ใบงานท 2-8noeiinoii
 
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)Turdsak Najumpa
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1Thanyalux Kanthong
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1Thanyalux Kanthong
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1Thanyalux Kanthong
 
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุด
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุดรายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุด
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุดphattanakron
 

Similar to สารัดถะความเป็นครู (20)

นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิง
นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิงนันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิง
นันทนาการ ประเภทดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงและกิจกรรมบันเทิง
 
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
บันทึุกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
 
Id plan
Id planId plan
Id plan
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
จุดเน้นที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
จุดเน้นที่  4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืนจุดเน้นที่  4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
จุดเน้นที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
 
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
โครงงานกลุ่ม
โครงงานกลุ่มโครงงานกลุ่ม
โครงงานกลุ่ม
 
ใบงานท 2-8
ใบงานท   2-8ใบงานท   2-8
ใบงานท 2-8
 
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1
 
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุด
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุดรายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุด
รายงานประจำปี2554(เนื้อหา)ใหม่ล่าสุด
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
shot gun
shot gunshot gun
shot gun
 
shot gun
shot gunshot gun
shot gun
 
08chap6
08chap608chap6
08chap6
 

สารัดถะความเป็นครู