SlideShare a Scribd company logo
1
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ชุดความรู้ที่ 2
ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
ชุดความรู้ด้านระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ แบ่งการอธิบายเป็น 3 หัวข้อ
ได้แก่ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบขยะเหลือศูนย์ 2) การออกแบบถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ 3)
องค์ประกอบและการสร้างถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ มีรายละเอียดได้นี้
1) แนวคิดและการออกแบบระบบขยะเหลือศูนย์
การพัฒนาเชิงกระบวนการขับเคลื่อนความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอยู่ (ดูภาพที่
1 ประกอบ) ทั้งนี้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดนครราชสีมากับคณะวิจัยจะอยู่ใน
ลักษณะของภาพรวมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ตลอดจนพิจารณารายละเอียด
การขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขรายละเอียดการพิจารณาการประกาศความเป็นเมืองอัจฉริยะของ
คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการกระตุ้นทางเศรษฐกิจและการลงทุน อาทิ การลดหย่อนภาษีของ
ผู้ประกอบการดิจิทัลที่ลงทะเบียนกับสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะกับชุดโครงการวิจัย
• JVIS Platform
• City Data Center
• Linkage Module for
Smart City
Urban Informatics
• Scavenger Platform
• Smart Recycle Bank
• Mobile User
Application
Zero Waste
Systems • ร่างแผนยุทธศาสตร์
• ต้นแบบการพัฒนา
Urban Planning
and Development
Smart
City
Mobile
Environment
Governance
Energy
Economy
Living
People
2
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
รายละเอียดการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดว่า เมืองที่เสนอแผนยุทธศาสตร์เมือง
อัจฉริยะเพื่อขอพิจารณาประกาศรับรองความเป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องมีแผนงานและโครงการเพื่อตอบตัวชี้วัดที่
กำหนดอย่างน้อย 2 ใน 7 ด้าน ของความเป็นเมืองอัจฉริยะ และ 2 ด้านที่เสนอแผนงานและโครงการจะต้องมีด้าน
Smart Environment อยู่ด้วย
สำหรับโครงการวิจัยครั้งนี้ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ได้มุ่งเน้นการตอบตัวชี้วัดด้าน Smart
Environment และเสนอประเด็นขยะเหลือศูนย์เพื่อเป็นโครงการนำร่อง (Flagship Project) ให้กับสำนักงาน
จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ แพลตฟอร์ฒ แอพพลิเคชัน และหลักฐานเชิงประจักษ์
เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้และเห็นกระบวนการขับเคลื่อนให้
สามารถนำไปประยุกต์กับพันธกิจของตนเอง และนำกลับมาตอบตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านอื่น ๆ ได้
กระบวนการมีส่วนร่วมการพัฒนาและสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์ท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้
เสียระดับต่าง ๆ ทั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายสถาบันเมือง
อัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา ภาคเอกชนทั้งสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา สมาคมหอการค้าจังหวัด
นครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนกลุ่มนักลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองและธุรกิจ
กระบวนการมีส่วนร่วมการพัฒนาและสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์ท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้
เสียระดับต่าง ๆ
3
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการประชุมหารือเพื่อสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์
ได้ยอมรับกรอบแนวคิดดำเนินการวิจัยเปรียบเสมือนระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะจากการร่วมประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการสรุป
ประเด็นกรอบแนวคิดองค์ประกอบเชิงระบบและโครงการ
จากภาพองค์ประกอบระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหรือโครงการ
ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 โครงการ Compost Bin มุ่งเน้นส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะ
อินทรีย์ในระดับครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันได้ทดลองได้ผลิตภัณฑ์ version 6.0 กำลังเข้าสู่ขั้นตอนทดลองใช้จริงใน
ครัวเรือน จุดเด่นคือสามารถจำหน่ายได้ในราคาย่อมเยาว์กว่านำเข้าจากต่างประเทศ และมี BMC (Business
Model Canvas) มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรรเป็นหลัก และสามารถจัดเคมเปญซื้อบ้านแถมสิ่ง
ต่าง ๆ ในบ้านพร้อม Compost Bin ได้ ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท Compost Bin จำกัด
1 2
3
4
4
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
องค์ประกอบที่ 2 โครงการ Village Recycle Bank / Smart Recycle Bank ส่วนหนึ่งของ
โครงการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลไกต่อยอดจากพฤติกรรมครัวเรือนรับขยะแห้งจากการคัดแยกขยะเปียกกับขยะแห้ง
ออกจากกัน และสามารถพิจารณาขยะแห้งสู่การจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล ซึ่งโครงการวิจัยจะผลิตต้นแบบ
Smart Recycle Bank ทดสอบความเสถียรของระบบ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดขยายผลเชิงธุรกิจและการรวบรวม
ขยะรีไซเคิลให้มีผลลัพธ์กับผลกระทบในระดับเมืองต่อไป
องค์ประกอบที่ 3 รอพิจารณาหลังจากองค์ประกอบที่ 2 หรือ Smart Recycle Bank สามารถทดลองใช้
เชิงพื้นที่จริงได้เสถียรแล้ว จะนำไปสู่การรวบรวมข้อมูลระดับผู้ใช้ในการช่วยรวบรวมขยะรีไซเคิล และการสร้าง
มูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ จะพิจารณาระบบ Credit และ Credit Return สู่ระดับผู้ใช้หรือองค์กรเป็นการ Economy
Sharing และสร้างแรงจูงใจให้เกิดผลกระทบเสริมแรงในการขยายผลได้ครอบคลุมทั้งเมือง
องค์ประกอบที่ 4 ข้อมูล Credit ในระดับผู้ใช้เชื่อมโยงเชิงพื้นที่หรือหน่วยงานสถานที่จะสามารถสร้าง
ผลลัพธ์และผลกระทบด้านการต่อยอดแพลตฟอร์มต่าง ๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิตแต่ละประเภทเชิงพื้นที่ได้อีกเช่นกัน อาทิ
ระบบ Credit แบบ Wallet การสร้างโมดูลเสริมองค์ประกอบจากขยะรีไซเคิลเป็นบริการด้านต่าง ๆ เช่น ช่างซ่อม
ร้านค้าร่วมบริการ
5
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 3 การออกแบบ Compost Bin Version 6.0
ภาพที่ 4 การนำเสนอ Compost Bin Version 2.0 กับรองว่าผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ การนำเสนอ
Compost Bin Version 6.0 พร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในงานประเมินผลดำเนินการยุทธศาสตร์
จังหวัดนครรราชสีมา พ.ศ.2563
6
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
สำหรับโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนดำเนินการองค์ประกอบที่ 2 Village Recycle Bank หรือปัจจุบันเรียกว่า
Smart Recycle Bank เนื่องจากช่วงแรกของการร่วมหารือวางแผนพื้นที่เป้าหมายมุ่งเน้นเป็นพื้นที่กลุ่มหมู่บ้าน
จัดสรรเป็นหลักจึงเรียกใช้ในชื่อ Village ต่อมาได้ร่วมหารืออย่างต่อเนื่องพบว่าระบบแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถ
ประยุกต์ใช้เชิงพื้นที่ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในเมืองได้ด้วยเช่นกัน จึงได้นิยามการเรียกชื่อระบบใหม่ว่า Smart
Recycle Bank
ระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ จำแนกการอธิบายแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ระบบขยะเหลือศูนย์ และ
2) ธนาคารขยะอัจฉริยะ มีรายละเอียดได้ดังนี้
1) ระบบขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste Systems)
ระบบขยะเหลือศูนย์ได้ร่วมหารือท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในภาคเอกชนและกลุ่มนักลงทุนเกี่ยวกับการ
ผลิตต้นแบบเพื่อนำไปทดลองประยุกต์ใช้จริงและสามารถนำไปสู่กระบวนการทางธุรกิจและการลงทุนด้านระบบ
ขยะเหลือศูนย์ที่มีการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน IoT และ Cloud Computing
ประยุกต์กับแนวคิดและโครงการต่าง ๆ ด้านขยะเหลือศูนย์เพื่อไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ อาทิ แนวคิดด้าน 3Rs
และธนาคารขยะไปสู่กระบวนการสร้างผลผลิตงานวิจัย Smart Recycle Bank กับ Scavenger Platform แสดง
ประมวลผลข้อมูลได้ มีการสรุปการออกแบบกลไกได้ดังภาพที่ 5
ระบบบริหารจัดการคัดแยกขยะรีไซเคิลของโครงการได้ออกแบบเชื่อมโยงกับกลไกระบบสารสนเทศเพื่อ
พัฒนาเมืองอัจฉริยะ ดำเนินการผ่าน 2 ระบบ ได้แก่ 1) ชุด Zero Waste Application จำแนกรายพื้นที่นำร่อง ซึ่ง
แต่ละพื้นที่นำร่องจะมี Mobile Application ระดับผู้ใช้ (User App) จะสามารถทราบข้อมูลการรวบรวมขยะรี
ไซเคิลรายบุคคลให้กับโครงการ ส่วนระบบการควบคุมภาพรวมของเมืองจะผ่าน Application Platform ชื่อว่า
Scavenger (Admin App & Web) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การประมวลผลภาพรวมของระบบได้ทั้ง Mobile
Application และ Web Browser ตลอดจนมีการออกแบบ Database Systems รวบรวมข้อมูลสำคัญทั้งสอง
ระดับ เพื่อนำผลวิเคราะห์ข้อมูลสู่การทบทวนนโยบาย แผนงาน และโครงการ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมใน
รูปแบบต่าง ๆ และทุกระดับของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายได้ อาทิ การร่วมทุนธุรกิจ การจ้างงานในระบบ หรือ
การนับเครดิตรวบรวมขยะรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ฐานข้อมูลยังสามารถนำออก (Export) ในรูปแบบไฟล์ Excel
เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้ต่อไป
7
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 5 การออกแบบกลไกระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะนำไปสู่การสร้าง Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ
Mobile User Application and Scavenger Platform
ภาพที่ 6 การคลี่คลายกลไกระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะนำไปสู่การสร้าง Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ
Mobile User Application and Scavenger Platform
8
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 7 การเชื่อมโยงระบบขยะเหลือศูนย์ในเชิงพื้นที่ Scavenger Platform and Database, Smart Recycle
Bank and Mobile User Application
การออกแบบ คลี่คลาย และเชื่อมโยงระบบขยะเหลือศูนย์เชิงพื้นที่สามารถดำเนินการเป็นผลผลิต
โครงการวิจัยรายละเอียดของ Scavenger Platform and Database มีรายละเอียดดังนี้
Scavenger Platform and Database อยู่ในระบบ Cloud Computing แสดงผล Interface ได้ดังภาพ
ที่ 8
ภาพที่ 8 Interface ระดับผู้บริหารเวบไซค์ (Admin) สามารถเข้าไปดูรายละเอียด Database ได้
9
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 9 ระบบบริหารจัดการขยะเหลือศูนย์ Scavenger Platform Administration เมนูการจัดการประเภท
ขยะ สำหรับการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นลงรายละเอียดกลุ่มประเภทขยะรีไซเคิลที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจได้
ภาพที่ 10 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มชุดข้อมูลประเภทขยะเพื่อการ Generate QR
Code เชื่อมโยงกับ Mobile User Application
10
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 11 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มสถานที่สำหรับการนำ Smart Recycle Bank ไป
ติดตั้งเชิงพื้นที่
ภาพที่ 12 Scavenger Platform Administration เมนูการจัดการถังขยะภายในโครงการเชิงพื้นที่
11
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 13 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มถังขยะสำหรับการติดตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ภายใน
โครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือสถานที่ต่าง ๆ
ภาพที่ 14 Scavenger Platform Administration เมนูรายการรวบรวมปริมาณขยะรีไซเคิลจำแนกรายวัน และ
สามารถดูย้อนหลังได้
12
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 15 Scavenger Platform Administration เมนูการส่งออกชุดข้อมูลเชิงระบบ ทั้งปริมาณขยะจำแนก
รายวัน จำแนกรายโครงการ และจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง
2) การออกแบบถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
การลงรายละเอียดเพื่อการสร้างต้นแบบ Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application
and Scavenger Platform
Smart Recycle Bank หรือ ธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ คือ ผลผลิตโครงการเชิงนวัตกรรม โดยบูรณา
การระหว่างแนวคิดด้านธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการชุดข้อมูลด้วย IoT (Internet of Think) ด้วยชุด
Platform ผ่าน Mobile User Application และ Web Browser ของ Scavenger Platform ตลอดจนการ
ออกแบบเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ผ่านชุด Platform นี้ อาทิ เครดิตการรวบรวมขยะรีไซเคิล การมีส่วนร่วมใน
กิจกรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการศึกษาขั้นต่อไปเมื่อสามารถพัฒนา Smart Recycle Bank ในระดับการผลิตและ
ให้บริการเชิงอุตสาหกรรมและธุรกิจได้แล้ว
13
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
การดำเนินงานในปัจจุบันในเบื้องต้นคณะวิจัยพิจารณาการจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล ตำแหน่งถัง
Smart Recycle Bank เพื่อส่งข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing ผ่าน Scavenger Platform ด้วยระบบ QR
Code ซึ่งผู้ใช้หรือผู้รวบรวมขยะรีไซเคิลในพื้นที่ติดตั้ง Smart Recycle Bank สามารถบันทึกข้อมูลผ่านระบบ QR
Code
ภาพที่ 16 การ Generate QR code สำหรับ User Mobile Application ในการเชื่อมโยงข้อมูลขยะรีไซเคิลกับ
Smart Recycle Bank
QR Code นี้เป็นข้อมูลสำหรับการทดลองความเสถียรเชิงระบบการรับส่งข้อมูลระหว่าง Mobile User
Application >>> Smart Recycle Bank >>> Scavenger Platform on Cloud Computing
ระบบ Smart Recycle Bank เป็นการพัฒนาโครงงานนวัตกรรม โดยบูรณาการระหว่างแนวคิดด้าน
ธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการชุดข้อมูลโดยใช้ Internet of Think : IoT ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งส่วนของ
ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์โดยการออกแบบถังคัดแยกที่เหมาะสมและสะดวกทั้งในการใช้งาน และการรวบรวมขยะที่
มีการคัดแยกไว้แต่ละประเภท
ถังที่ออกแบบจะทำการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์
Arduino และการใช้คำสั่งในการควบคุมอุปกรณ์และส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังหน่วยบันทึกข้อมูลผ่านระบบสัญญาณ
Wi-Fi
14
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 17 การขึ้นต้นแบบ Smart Recycle Bank พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อรับ-ส่งข้อมูลเข้าระบบ
Scavenger Platform
ถังคัดแยกขยะอัจฉริยะจะประกอบด้วย sensor ประเภทต่าง ๆ แบ่งเป็น 6 ประกอบ (ดูรายละเอียดใน
ภาคผนวก จ ประกอบ) มีรายละเอียด
1) เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ จับสิ่งกีดขวาง ( Infrared Proximity Sensor) ใช้เพื่อตรวจจับขยะคัดแยกที่
ถูกทิ้งผ่านช่องทางที่จำแนกประเภทชนิดของขยะ ซึ่งเซ็นเซอร์นี้จะทำหน้าที่นับจำนวนของการทิ้งใน
แต่ละครั้ง จากนั้นเซ็นเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่ตรวจนับได้นี้ไปยังส่วนบริหารจัดการระบบเพื่อบันทึก
ข้อมูลจำนวนชิ้นของการทิ้งของสมาชิกผู้ใช้งาน รวมทั้งจำนวนสะสมของการทิ้ง โดยสามารถรายงาน
กลับไปยังผู้ใช้งานระบบผ่านทางแอปพลิเคชั่น
2) เซ็นเซอร์วัดระดับ (Level sensor) ใช้ตรวจสอบและวัดระดับของขยะที่อยู่ในถัง โดยหากปริมาณ
ขยะมีปริมาณมาก หรือปริมาตรความจุที่เหลือของถังขยะอยู่ในระดับต่าง ๆ เซ็นเซอร์จะทำหน้าที่วัด
ระดับปริมาตรความจุที่คงเหลือของถังและจะทำการแจ้งเตือนไปยังระบบบริหารจัดการ (Admin)
เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังส่วนแสดงผลและส่วนดำเนินการจัดเก็บขยะออกจากถังเพื่อให้ถังขยะอยู่ใน
สภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
3) ระบบบันทึกภาพ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลภาพทุกครั้งที่ผู้ใช้เริ่มใช้งานทำการแสกน QR-code เพื่อ
เริ่มต้นการใช้งานระบบการทิ้งขยะในถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ
15
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
4) ระบบการแสดงผล (LED) โดยใช้จอแสดงผล LED โมดูล LCD 16x2 เพื่อแสดงผลการอ่านค่าการ
ทำงานของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์จะถูกแสดงผลบนจอ LED พร้อมกับที่จะถูก
ส่งไปยัง server ที่จะบันทึกข้อมูล
5) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาออกแบบถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ จะเป็นการใช้โปรแกรม
Arduino ร่วมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะเป็นตัวที่จะช่วยในการควบคุมอุปกรณ์ใน
อุตสาหกรรมต่าง ๆ
6) ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บ
รวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของ Mobile Application
รูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์บนถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ
ภาพที่ 18 แสดงรูปด้านของถังคัดแยกขยะรีไซเคิลต้นแบบ
หมายเหตุ – รูปแบบถังขยะรีไซเคิลต้นแบบสามารถปรับรูปทรงได้ ทั้งจำนวนช่องและขนาดเพื่อความเหมาะสมกับ
บริบทสถานที่ติดตั้ง ซึ่งจะพิจารณาวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT ที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกัน
16
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 19 แสดงการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของถังคัดแยกขยะต้นแบบ
ภาพที่ 20 การติดตั้งอุปกรณ์ IoT กับถังต้นแบบ Smart Recycle Bank
17
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
สำหรับ Mobile User Application1 ออกแบบพื้นที่นำร่องไว้จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ 1) ศาลากลางจังหวัด
นครราชสีมา 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 3) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 4) หมู่บ้านจัดสรร
The Sixnature และ 5) หมู่บ้านจัดสรร The4Rest ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการของเข้าร่วมอีกโครงการ เป็น
โครงการที่ 6 ได้แก่ 6) Rise Condo
ภาพที่ 21 ตำแหน่งที่ตั้งพื้นที่นำร่องเข้าร่วมโครงการทดสอบระบบเปิดของเมืองโคราช (ที่มา JVIS System)
ภาพที่ 22 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank
ของศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา (ซ้าย)2 และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ขวา)
1 หมายเหตุ - Mobile User Application ทั้ง 6 สถานที่ ได้เตรียมการไว้สามารถดาวโหลดใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android
2 ใช้ระบบ Android เข้า Mobile User Application
18
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 23 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank
ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา (ซ้าย) และ หมู่บ้านจัดสรร The Sixnature (ขวา)3
ภาพที่ 24 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank
ของหมู่บ้านจัดสรร The4Rest และ Rise Condo
3 ใช้ระบบ Android เข้า Mobile User Application
19
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ประเด็นการทดลองเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้เชิงพื้นที่ ดำเนินการเป็นระบบปิดในห้องทดลอง โดยจัดทำ
การทดลองระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความเสถียรของระบบ Smart Recycle Bank แล้วนำข้อมูล
มาสรุปเขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต่อไป ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถวัดการทำงานของระบบได้แม่นยำ
ยิ่งขึ้น
การทดสอบเชิงระบบการประมวลผล Cloud Computing
การดำเนินการในระบบปิดผ่าน Mobile User Application ทั้ง 6 แอพพลิเคชัน ได้แก่ 1) ศาลากลาง
จังหวัดนครราชสีมา 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 3) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 4) หมู่บ้าน
จัดสรร The Sixnature 5) หมู่บ้านจัดสรร The4Rest และ 6) Rise Condo
มีรายละเอียดขั้นตอนดำเนินการผ่าน Mobile User Application กับการสแกน QR Code ที่มีการ
Generate ค่าเชื่อมโยงระหว่าง Smart Recycle Bank และ Scavenger Platform มีรายละเอียดดังนี้
ภาพที่ 25 ขั้นตอนการใช้ Mobile User Application สแกน QR Code เพื่อส่งข้อมูลการอ่านค่าผ่าน Smart
Recycle Bank เข้าระบบ Cloud Computing ของ Scavenger Platform
20
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 26 ขั้นตอนการใช้ Mobile User Application สแกน QR Code ระบบตอบสนอง
กับแอพพลิเคชันผู้ใช้และมีการบันทึกข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคิลเข้าระบบฐานข้อมูล
ภาพที่ 27 การทดสอบความเสถียรการอ่านค่าจาก Mobile User Application จาก QR Code ของ Smart
Cycle Bank
21
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 28 การทดสอบความเสถียรการอ่านค่าจาก Mobile User Application จาก QR Code ของ Smart
Cycle Bank (ต่อ)
ภาพที่ 29 การประมวลผลข้อมูลของระบบ Cloud Computing จาก Scavenger Platform ที่เชื่อมโยงจาก QR
Code ของ Smart Recycle Bank ที่มีการอ่านค่าโดย Mobile User Application ระยะเวลา 4 วัน จำนวน
1,112 ครั้ง
22
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
การดำเนินการสแกน QR Code จากกลุ่ม Mobile User Application ทั้ง 6 สถานที่หรือแอพพลิเคชัน
อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 วัน สามารถสรุปรายละเอียดเชิงสถิติ
ตารางที่ 1 การเก็บสถิติจำนวนครั้งที่มีการสแกน QR Code ผ่านระบบ Smart Recycle Bank ส่งข้อมูลเข้า
Scavenger Platform และมีการประมวลผลด้วยระบบ Cloud Computing
วันที่ จำนวนครั้งที่มีการสแกน QR Code (ครั้ง)
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 96
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 253
วันที่ 12 สิงหาคม 2564 370
วันที่ 13 สิงหาคม 2564 393
รวมจำนวนครั้งทั้งสิ้น 1,112
การทดลองเชิงระบบการประมวลในระยะเวลา 4 วัน จำนวน 1,112 ครั้ง ไม่มีการผิดพลาดในการส่งค่า
ข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing ของ Scavenger Platform จึงถือความมีความเสถียรในระดับสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้งานในพื้นที่จริง ตลอดจนนำไปพัฒนารายละเอียดผลิตภัณฑ์ทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและธุรกิจการลงทุน
ได้ต่อไป
3) องค์ประกอบและการสร้างถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
1. Mobile Application
Mobile Application หรือแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ที่ได้พัฒนาขึ้นบน Platform ที่จะสามารถใช้
งานร่วมกับถังคัดแยกขยะอัจฉริยะที่จะพัฒนาขึ้น โดยจะมีระบบการเชื่อมต่อการทำงานกับถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ
โดยแอปพลิเคชั่นจะทำหน้าที่ในการยืนยันตัวตนของผู้ทิ้งขยะด้วยการสแกน QR-code เพื่อให้ระบบทำการ
เชื่อมต่อกับบัญชีผู้ใช้งาน ที่จะทำการบันทึกข้อมูลการทิ้งขยะแยกประเภทในแต่ละครั้ง โดยเมื่อมีการยืนยันตัวตน
ของผู้ทิ้งขยะแล้ว ข้อมูลที่บันทึกในแต่ละครั้งจะถูกนำเข้าไปสะสมกับจำนวนเดิมที่ได้ที่ได้ทำการทิ้งก่อนหน้า ซึ่ง
เป็นการดำเนินการตามหลักการของระบบธนาคารขยะ และแอปพลิเคชั่นจะแจ้งและแสดงยอดปริมาณการทิ้ง
ให้กับผู้ใช้งาน รวมทั้งจะรองรับการพัฒนา การออกแบบเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ผ่านชุด Platform นี้ อาทิ
23
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เครดิตการรวบรวมขยะรีไซเคิล ในการแจ้งข่าวสาร การสื่อสารระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบ รวมทั้งการ
ประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ฯลฯ
Application จำแนกรายพื้นที่นำร่อง ซึ่งแต่ละพื้นที่นำร่องจะมี Mobile Application ระดับผู้ใช้ (User
App) จะสามารถทราบข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคลรายบุคคลให้กับโครงการ ส่วนระบบการควบคุมภาพรวมของ
เมืองจะผ่าน Application Platform ชื่อว่า Scavenger (Admin App & Web) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การ
ประมวลผลภาพรวมของระบบได้ทั้ง Mobile Application และ Web Browser ตลอดจนมีการออกแบบ
Database Systems รวบรวมข้อมูลสำคัญทั้งสองระดับ เพื่อนำผลวิเคราะห์ข้อมูลสู่การทบทวนนโยบาย แผนงาน
และโครงการ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ และทุกระดับของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายได้
อาทิ การร่วมทุนธุรกิจ การจ้างงานในระบบ หรือการนับเครดิตรวบรวมขยะรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ฐานข้อมูล
ยังสามารถนำออก (Export) ในรูปแบบไฟล์ Excel เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้ต่อไป
2. ระบบ Smart Recycle Bin
เป็นการพัฒนาโครงงานนวัตกรรม โดยบูรณาการระหว่างแนวคิดด้านธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการ
ชุดข้อมูลโดยใช้ Internet of Think :IoT ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์โดยการออกแบบ
ถังคัดแยกที่เหมาะสมและสะดวกทั้งในการใช้งาน และการรวบรวมขยะที่มีการคัดแยกไว้แต่ละประเภท
ถังที่ออกแบบจะทำการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์
Arduino และการใช้คำสั่งในการควบคุมอุปกรณ์และส่งข้อมูลต่าง ๆไปยังหน่วยบันทึกข้อมูลผ่านระบบสัญญาณ
Wi-Fi
ถังคัดแยกขยะอัจฉริยะจะประกอบด้วย sensor ประเภทต่าง ๆ ได้แก่
1) เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ จับสิ่งกีดขวาง ( Infrared Proximity Sensor) โดยใช้โมดูล Infrared
photoelectric switch Sensor E18-D80NK เป็นเซนเซอร์วัดระยะที่ใช้หลักการสะท้อนของคลื่นอินฟาเรด
สามารถกำหนดระยะในการทำงานได้โดยปรับค่าที่ Potentiometer ทำงานในช่วง 3-80 cm Output เป็นแบบ
Digital ใช้ไฟเลี้ยง 5V ระยะทำงานไม่เกิน 45 cm. ในการทำงานจะใช้เพื่อตรวจจับขยะคัดแยกที่ถูกทิ้งผ่าน
ช่องทางที่จำแนกประเภทชนิดของขยะ ซึ่งเซ็นเซอร์นี้จะทำหน้าที่นับจำนวนของการทิ้งในแต่ละครั้ง จากนั้น
เซ็นเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่ตรวจนับได้นี้ไปยังส่วนบริหารจัดการระบบเพื่อบันทึกข้อมูลจำนวนชิ้นของการทิ้งของ
สมาชิกผู้ใช้งาน รวมทั้งจำนวนสะสมของการทิ้ง โดยสามารถรายงานกลับไปยังผู้ใช้งานระบบผ่านทางแอปพลิเคชั่น
24
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 30 Infrared photoelectric switch Sensor E18-D80NK
การเชื่อมต่ออุปกรณ์
ESP8266 -> LED
• D4 -> LED
• GND -> ตัวต้านทาน 220 ohm -> LED
ESP8266 -> E18-D80NK เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ
• Vin -> SVDC (สายสีน้ำตาล)
• GND -> GND (สายสีน้ำเงิน)
• A0 -> OUT (สายสีดำ)
ESP8266 -> Active Buzzer Module 3.3 - 5V
• 3v3 -> VCC
• GND -> GND
• D3 -> I/O
25
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 31 การต่อ Infrared Proximity Sensor กับ Arduino ESP8266
2) เซ็นเซอร์วัดระดับ (Level sensor) โดยใช้เซ็นเซอร์โมดูล Ultrasonic HC-SR04 เพื่อใช้
ตรวจสอบและวัดระดับของขยะที่อยู่ในถัง โดยหากปริมาณขยะมีปริมาณมาก หรือปริมาตรความจุที่เหลือของถัง
ขยะอยู่ในระดับต่าง ๆ เซ็นเซอร์จะทำหน้าที่วัดระดับปริมาตรความจุที่คงเหลือของถังและจะทำการแจ้งเตือนไปยัง
ระบบบริหารจัดการ (Admin) เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังส่วนแสดงผลและส่วนดำเนินการจัดเก็บขยะออกจากถัง
เพื่อให้ถังขยะอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ภาพที่ 32 Ultrasonic HC-SR04
26
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
อัลตร้าโซนิค เซนเซอร์ (Ultrasonic Sensors) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดระยะห่างเริ่มจากหัววัดของ
เซนเซอร์ถึงสิ่งของต่างๆได้อย่างแม่นยำ และข้อดีของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เมื่อเทียบกับโฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์
แบบใช้วัดระยะทางก็คือ แม้แต่ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นฝุ่นผงและความสกปรก สามารถตรวจวัดระยะห่างของ
วัตถุได้ดีแม้ว่าวัตถุนั้นจะมีความโปร่งใส โปร่งแสง มีความแวววาวได้อย่างแม่นยำ และยังเหมาะสำหรับการ
ตรวจจับของเหลวและวัตถุที่เป็นเม็ดได้เป็นอย่างดี
อัลตร้าโซนิค คือ คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกิน 20,000 Hzมาก จนหูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินได้ เนื่องจากเป็น
คลื่นที่มีทิศทาง ทำให้สามารถเล็งคลื่นไปที่ตำแหน่งหรือเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยหลักการทำงาน
ของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์จะเป็นเซนเซอร์ที่ใช้คลื่นเสียงในการตรวจจับตำแหน่งของวัตถุ โดยส่วนประกอบของ
ตัวเซนเซอร์จะประกอบด้วย
1. ตัวส่งคลื่นอัลตร้าโซนิคและตัวรับคลื่นอัลตร้าโซนิค (อัลตร้าโซนิคทรานสดิวเซอร์)
2. ตัวควบคุมการทำงาน
3. ตัวส่งสัญญาณนาฬิกา
4. ตัวประมวลผล
5. ตัวส่งสัญญาณเอ้าท์พุท
ภาพที่ 33 ไดอะแกรมภายในอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์
โดยตัวเซนเซอร์จะทำงานโดย ตัวส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณนาฬิกาไปที่ตัวคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมการ
แปลงสัญญาณ แล้วส่งไปต่อที่ตัวอัลตร้าโซนิคทรานสดิวเซอร์ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ ตัวส่งและตัวรับ ตัวส่งจะสร้าง
คลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค จากสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าโซนิคออกไปเป็นแนวตรง และเมื่อ
27
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
คลื่นเสียงอัลต้าโซนิคไปกระทบกับวัตถุใดๆ ตามหลักการของคลื่นเสียง คือ มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน คลื่น
เสียงจะถูกสะท้อนกลับมาที่ตัวรับคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค เมื่อตัวรับได้รับคลื่นเสียงที่ถูกสะท้อนกลับมาแล้ว ตัวรับ
จะแปลงคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิคนั้นเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งต่อ ให้ตัวประมวลผล ตัวประมวลผลจะทำการคำนวน
ค่าระยะห่างจากระยะทางที่คลื่นเสียงเดินทางไปและเดินทางกลับอย่างแม่นยำ และส่งค่าที่คำนวนได้ไปให้ตัวส่ง
สัญญาณเอ้าท์พุท เพื่อส่งสัญญาณเอ้าท์พุทไปให้อุปกรณ์อื่นต่อไป
ซึ่งหลักการวัดระยะห่างของเซนเซอร์ชนิดอัลตร้าโซนิคนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถนำไป
ตรวจจับวัตถุได้เกือบทุกประเภท เหมาะสำหรับการวัดระยะสิ่งของที่อยู่ระยะไกลมาก ๆ ในสภาวะอากาศที่เลวร้าย
มีความสกปรกมากหรือมีฝุ่นมาก และยังสามารถใช้กับวัตถุที่เป็นของเหลววัตถุที่มีพื้นผิววัตถุเป็นแบบมันวาว โปร่ง
แสงหรือโปร่งใส ซึ่งเซนเซอร์ชนิดอื่นจะทำได้ไม่ดีเทียบเท่ากับอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ เนื่องจากการใช้คลื่นเสียงใน
การทำงาน ทำให้ไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งต่าง ๆที่กล่าวมากข้างต้น
แต่ก็มีวัตถุบางประเภทที่ไม่เหมาะจะนำอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ไปใช้จับระยะทาง เช่น
1. วัตถุที่สามารถดูดซับเสียงได้เช่น ผ้า หรือโฟมต่างๆที่มีคุณสมบัติสามารถดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดี
2. ไม่เหมาะกับการนำไปใช้กับวัตถุขนาดเล็กมากจนเกินไปเนื่องจากหน้าสัมผัสของวัตถุที่มีน้อย จึง
สะท้อนคลื่นเสียงกลับมาได้น้อย ทำให้การคำนวนระยะทางหรือตำแหน่งอาจจะไม่แม่นยำเท่าที่ควร ซึ่งวัตถุที่มี
ขนาดเล็กนั้นแนะนำให้ใช้ โฟโต้อิเล็ก ทริกเซนเซอร์ (Photoelectric Sensors)
การจัดวางตำแหน่งของเซนเซอร์
การเว้นระยะห่างของตัวเซนเซอร์ อัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เป็นเซนเซอร์ที่ใช้การส่งคลื่นเสียงในการทำงาน
ทำให้ต้องมีการเว้นระยะห่างของตัวเซนเซอร์ ดังภาพ
ภาพที่ 34 การเว้นระยะห่างของเซนเซอร์
28
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
จะเห็นว่าเราควรเว้นระยะห่างของเซนเซอร์ เพื่อไม่ให้คลื่นเสียงที่ส่งออกไปมีการรบกวนกัน เพื่อ
ประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจจับของตัวเซนเซอร์ การวางสิ่งของที่จะทำการตรวจจับ ควรจัดวาง
สิ่งของที่จะทำการตรวจจับให้มีระนาบที่จะสามารถสะท้อนคลื่นเสียงที่ส่งไปกลับมาได้ ตามคุณสมบัติของคลื่นเสียง
ที่ว่า มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
วัตถุที่จะทำการสะท้อนนั้น ควรจะมีลักษณะเป็นแนวราบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการตรวจจับดีที่สุด ถ้า
วัตถุที่ทำการตรวจจับเป็นชิ้นเล็กๆหรือมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน จะทำให้ความสามารถในการตรวจจับและความ
แม่นยำลดลง
ภาพที่ 35 การตรวจจับวัตถุที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
ถ้ามีปริมาณขยะมากหรือเต็มจะแจ้งเตือนผ่านเว็บไซต์และแสดงไฟ LED เป็นสีต่าง ๆ เช่น ถ้าถังขยะใบนั้น
มีวัตถุหรือขยะเต็ม ไฟ LED ก็จะแสดงผลเป็นสีแดง พร้อมกับการแจ้งเตือนด้วยเสียงของ บีซเซอร์
การต่ออุปกรณ์ NodeMCU ESP8266 วัดระยะทางด้วย เซ็นเซอร์วัดระยะทาง Ultrasonic Module HC-SR04
NodeMCU ESP8266 -> เซ็นเซอร์วัดระยะทาง Ultrasonic Module HC-SR04
ขาD2 -> Echo
ขาD1 -> Trig
Vin -> Vcc
GND -> GND
29
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 36 การต่อโมดูล Ultrasonic Module HC-SR04 บนบอร์ด ESP8266
3) ระบบบันทึกภาพ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลภาพทุกครั้งที่ผู้ใช้เริ่มใช้งานทำการแสกน QR-code
เพื่อเริ่มต้นการใช้งานระบบการทิ้งขยะในถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ โดยระบบบันทึกภาพจะใช้กล้อง ESP32-cam
โมดูลพิเศษที่ใช้ความสามารถของ ESP32 ในการสื่อสารกับสัญญาณ wireless ทั้งเป็นตัวรับสัญญาณ (Station-
mode) และตัวปล่อยสัญญาณ (Access point-mode) ได้ในตัวเดียว ภายหลังมีการพัฒนารุ่นใหม่ที่มีการติดตั้ง
กล้องเข้าไปเพื่อใช้ประโยชน์จาก cpu ที่เร็วว่า arduino หลายเท่า ในการรับข้อมูลจากกล้อง ov2640 ที่มีความ
ละเอียดเกือบ 2 ล้านพิกเซล มาส่งข้อมูลไร้สายหรือเก็บภาพไว้ใน microSD card ในตัวก็ได้
การต่ออุปกรณ์ Arduino ESP32-CAM โดย
Arduino ESP32-CAM -> FT232RL USB
• 3.3V -> Vcc
• GND -> GND
• UoT -> Rx
• UoR -> Tx
Arduino ESP32-CAM -> Arduino ESP32-CAM (ต่อขาตัวมันเอง)
• IO0 -> GND
Adapter 5V 2A -> Arduino ESP32-CAM ขั้วบวก -> 5V
• ขั้วลบ -> GND
30
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 37 การต่อโมดูล ESP32-CAM บนบอร์ด ESP8266
4) ระบบการแสดงผล (LED) โดยใช้จอแสดงผล LED โมดูล LCD 16x2 เพื่อแสดงผลการอ่านค่าการ
ทำงานของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์จะถูกแสดงผลบนจอ LED พร้อมกับที่จะถูกส่งไปยัง server
ที่จะบันทึกข้อมูล
ภาพที่ 38 LC`D 16X2
คําว่า LCD ย่อมาจากคําว่า Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอที่ทํามาจากผลึก คริสตัลเหลว หลักการ
คือด้านหลังจอจะมีไฟส่องสว่าง หรือที่เรียกว่า Backlight อยู่ เมื่อ มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นที่ผลึก ก็
จะทําให้ผลึกโปร่งแสง ทําให้แสงที่มาจาก ไฟ Backlight แสดงขึ้นมาบนหน้าจอ ส่วนอื่นที่โดนผลักปิดกั้นไว้ จะมีสี
31
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ที่แตกต่างกันตาม สีของผลึกคริสตัล เช่น สีเขียว หรือ สีฟ้า ทําให้เมื่อมองไปที่จอก็จะพบกับตัวหนังสือสี ขาว แล้ว
พบกับพื้นหลังสีต่างๆกันจอ LCD ที่ใช้งานจะมีลักษณะการ แสดงผล ในแบบ Character LCD เป็นจอที่แสดงผล
เป็นตัวอักษรตามช่องแบบตายตัว เช่น จอ LCD ขนาด 16x2 หมายถึงใน 1 แถว มีตัวอักษรใส่ได้ 16 ตัว และมี
ทั้งหมด 2 บรรทัดให้ใช้งาน ส่วน 20x4 จะหมายถึงใน 1 แถว มีตัวอักษรใส่ได้ 20 ตัว และมีทั้งหมด 2 บรรทัด
การเชื่อมต่อจะเป็นแบบการเชื่อมต่ออนุกรม โดยเป็นการเชื่อต่อกับจอ LCD ผ่านโมดูลแปลงรูปแบบ
การเชื่อมต่อกับจอ LCD จากแบบขนาน มาเป็นการเชื่อมต่อแบบอื่นที่ใช้สายน้อย กว่า เช่น การใช้โมดูล I2C
Serial Interface จะเป็นการนําโมดูลเชื่อมเข้ากับตัว จอ LCD แล้วใช้บอร์ด Arduino เชื่อมต่อกับบอร์ดโมดูลผ่าน
โปรโตคอล I2C ทําให้ ใช้สายเพียง 4 เส้น ก็ทําให้หน้าจอแสดงผลข้อความต่างๆออกมาได้ จอ LCD ที่มีการ
เชื่อมต่อแบบ I2C หรือเรียกอีกอย่างว่าการเชื่อมต่อแบบ Serial จะเป็นจอ LCD ธรรมดาทั่วไปที่มาพร้อมกับบอร์ด
I2C Bus ที่ทําให้การใช้งานได้ สะดวกยิ่งขึ้นและยังมาพร้อมกับ VR สําหรับปรับความเข้มของจอ ในรูปแบบ I2C
จะใช้ขา ในการเชื่อมต่อกับ Microcontroller เพียง 4 ขา (แบบ Parallel ใช้ 16 ขา) ซึ่งทําให้ใช้ งานได้ง่ายและ
สะดวกมากยิ่งขึ้น
การต่ออุปกรณ์ NodeMCU ESP8266 แสดงข้อความ และ ค่า Sensor ต่างๆออกจอ LCD แบบ I2C
จอแสดงผล LCD 16x2 -> NodeMCU ESP8266
• gnd -> GND
• Vcc -> 5V
• SDA -> ขาD2
• SCL -> ขาD1
ภาพที่ 39 การต่อโมดูล LED 2x16 บนบอร์ด ESP8266
32
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
5) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาออกแบบถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ จะเป็นการใช้โปรแกรม
Adruino ร่วมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะเป็นตัวที่จะช่วยในการควบคุมอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
Arduino เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล ARV ที่มีการพัฒนาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์
อย่างเปิดเผย (Open Source) จึงเหมาะสมในการพัฒนาต่อร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆได้ง่าย โดย Arduino Platform
ประกอบไปด้วย
1. ส่วนที่เป็น Hardware คือ บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) เป็นชิ้นส่วน
หลัก ถูกนํามาประกอบร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน หรือที่ เรียกกันว่า บอร์ด
Arduino โดยบอร์ด Arduino เองก็มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยใน แต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาด
ของบอร์ด หรือสเปค เช่น จํานวนของขารับส่งสัญญาณ, แรงดันไฟที่ใช้, ประสิทธิภาพของ MCU เป็นต้น
2.ส่วนที่เป็น Software คือ ภาษา Arduino เป็นภาษาสําหรับเขียนโปรแกรมควบคุม MCU มีไวยากรณ์
แบบเดียวกับภาษา NC++
Arduino IDE เป็นเครื่องมือสําหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Arduino, คอมไพล์ โปรแกรม (Compile)
และอัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ด (Upload)
ภาพที่ 40 Arduino ESP8266
3) ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้
ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของ Mobile Application อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล
รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้น การเก็บข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงของข้อมูลทั้งในส่วนของข้อมุลบุคคล
(Personnel) ข้อมูลการทิ้งขยะคัดแยก (Credit) สิทธิประโยชน์ (Benefits) ข้อมูลการจัดการถังคัดแยกขยะแต่ละ
33
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ตำแหน่ง ฯลฯ โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทำให้เกิดระบบการจัดการ
ฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและ
บำรุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับธุรกิจส่วนตัวได้โดย
การดึงข้อมูล (Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลทีมีอยู่ในฐานข้อมูล
รูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์บนถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ
ภาพที่ 41 แสดงรูปด้านของถังคัดแยกขยะต้นแบบ
ภาพที่ 42 การติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของถังคัดแยกขยะต้นแบบ

More Related Content

Similar to ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ

เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Sarit Tiyawongsuwan
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI 2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
เซฟ หัวเกรียน
 
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
Thammasat University, Musashino University
 
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
เซฟ หัวเกรียน
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD_RSU
 
Government website standard-v1
Government website standard-v1Government website standard-v1
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
Suphot Chaichana
 
Thai Government Website Standard
Thai Government Website StandardThai Government Website Standard
Thai Government Website Standard
Boonlert Aroonpiboon
 
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
Prachyanun Nilsook
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
Boonlert Aroonpiboon
 
Traffy waste-2018
Traffy waste-2018Traffy waste-2018
Traffy waste-2018
minkunanon
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
Maykin Likitboonyalit
 
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดียSWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
PaphadaPaknaka
 
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-120180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
Sittisak Rungcharoensuksri
 
Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0
Pisuth paiboonrat
 
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
Saran Yuwanna
 
CKP Innovation: From Idea to Innovation
CKP Innovation: From Idea to InnovationCKP Innovation: From Idea to Innovation
CKP Innovation: From Idea to Innovation
pantapong
 
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
Thanakitt Kayangarnnavy
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
Preaw Adisaun
 

Similar to ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ (20)

เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI 2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
 
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
RUN-DC#10@NaresuanUniv20190315
 
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
 
Government website standard-v1
Government website standard-v1Government website standard-v1
Government website standard-v1
 
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
 
Thai Government Website Standard
Thai Government Website StandardThai Government Website Standard
Thai Government Website Standard
 
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
Traffy waste-2018
Traffy waste-2018Traffy waste-2018
Traffy waste-2018
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดียSWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
 
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-120180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
20180814 next stepaa-aaannualmeeting2561-1
 
Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0
 
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
 
Ku 54
Ku 54Ku 54
Ku 54
 
CKP Innovation: From Idea to Innovation
CKP Innovation: From Idea to InnovationCKP Innovation: From Idea to Innovation
CKP Innovation: From Idea to Innovation
 
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
Digital Thailand magazine vol.2 : Infrastructure
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
 

More from Sarit Tiyawongsuwan

Urban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdfUrban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdfแผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
Sarit Tiyawongsuwan
 
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
Sarit Tiyawongsuwan
 
CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE
Sarit Tiyawongsuwan
 
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยคู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
Sarit Tiyawongsuwan
 
06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis
Sarit Tiyawongsuwan
 
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
Sarit Tiyawongsuwan
 
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
Sarit Tiyawongsuwan
 
03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception
Sarit Tiyawongsuwan
 
02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City
Sarit Tiyawongsuwan
 
01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics
Sarit Tiyawongsuwan
 
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, ThailandUrban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Sarit Tiyawongsuwan
 
Urban Heat Island
Urban Heat IslandUrban Heat Island
Urban Heat Island
Sarit Tiyawongsuwan
 
10 Conclusion
10 Conclusion10 Conclusion
10 Conclusion
Sarit Tiyawongsuwan
 
09 Data Transfer
09 Data Transfer09 Data Transfer
09 Data Transfer
Sarit Tiyawongsuwan
 

More from Sarit Tiyawongsuwan (20)

Urban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdfUrban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdf
 
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
 
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
 
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
 
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
 
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
 
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdfแผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
 
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
 
CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE
 
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยคู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
 
06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis
 
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
 
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
 
03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception
 
02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City
 
01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics
 
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, ThailandUrban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
 
Urban Heat Island
Urban Heat IslandUrban Heat Island
Urban Heat Island
 
10 Conclusion
10 Conclusion10 Conclusion
10 Conclusion
 
09 Data Transfer
09 Data Transfer09 Data Transfer
09 Data Transfer
 

Recently uploaded

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 

Recently uploaded (6)

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 

ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ

  • 1. 1 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ชุดความรู้ที่ 2 ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ ชุดความรู้ด้านระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ แบ่งการอธิบายเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบขยะเหลือศูนย์ 2) การออกแบบถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ 3) องค์ประกอบและการสร้างถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ มีรายละเอียดได้นี้ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบขยะเหลือศูนย์ การพัฒนาเชิงกระบวนการขับเคลื่อนความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอยู่ (ดูภาพที่ 1 ประกอบ) ทั้งนี้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดนครราชสีมากับคณะวิจัยจะอยู่ใน ลักษณะของภาพรวมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ตลอดจนพิจารณารายละเอียด การขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขรายละเอียดการพิจารณาการประกาศความเป็นเมืองอัจฉริยะของ คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการกระตุ้นทางเศรษฐกิจและการลงทุน อาทิ การลดหย่อนภาษีของ ผู้ประกอบการดิจิทัลที่ลงทะเบียนกับสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะกับชุดโครงการวิจัย • JVIS Platform • City Data Center • Linkage Module for Smart City Urban Informatics • Scavenger Platform • Smart Recycle Bank • Mobile User Application Zero Waste Systems • ร่างแผนยุทธศาสตร์ • ต้นแบบการพัฒนา Urban Planning and Development Smart City Mobile Environment Governance Energy Economy Living People
  • 2. 2 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ รายละเอียดการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดว่า เมืองที่เสนอแผนยุทธศาสตร์เมือง อัจฉริยะเพื่อขอพิจารณาประกาศรับรองความเป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องมีแผนงานและโครงการเพื่อตอบตัวชี้วัดที่ กำหนดอย่างน้อย 2 ใน 7 ด้าน ของความเป็นเมืองอัจฉริยะ และ 2 ด้านที่เสนอแผนงานและโครงการจะต้องมีด้าน Smart Environment อยู่ด้วย สำหรับโครงการวิจัยครั้งนี้ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ได้มุ่งเน้นการตอบตัวชี้วัดด้าน Smart Environment และเสนอประเด็นขยะเหลือศูนย์เพื่อเป็นโครงการนำร่อง (Flagship Project) ให้กับสำนักงาน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ แพลตฟอร์ฒ แอพพลิเคชัน และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้และเห็นกระบวนการขับเคลื่อนให้ สามารถนำไปประยุกต์กับพันธกิจของตนเอง และนำกลับมาตอบตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านอื่น ๆ ได้ กระบวนการมีส่วนร่วมการพัฒนาและสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์ท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้ เสียระดับต่าง ๆ ทั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายสถาบันเมือง อัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา ภาคเอกชนทั้งสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา สมาคมหอการค้าจังหวัด นครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนกลุ่มนักลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองและธุรกิจ กระบวนการมีส่วนร่วมการพัฒนาและสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์ท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้ เสียระดับต่าง ๆ
  • 3. 3 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการประชุมหารือเพื่อสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบขยะเหลือศูนย์ ได้ยอมรับกรอบแนวคิดดำเนินการวิจัยเปรียบเสมือนระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 ระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะจากการร่วมประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการสรุป ประเด็นกรอบแนวคิดองค์ประกอบเชิงระบบและโครงการ จากภาพองค์ประกอบระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหรือโครงการ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 โครงการ Compost Bin มุ่งเน้นส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะ อินทรีย์ในระดับครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันได้ทดลองได้ผลิตภัณฑ์ version 6.0 กำลังเข้าสู่ขั้นตอนทดลองใช้จริงใน ครัวเรือน จุดเด่นคือสามารถจำหน่ายได้ในราคาย่อมเยาว์กว่านำเข้าจากต่างประเทศ และมี BMC (Business Model Canvas) มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรรเป็นหลัก และสามารถจัดเคมเปญซื้อบ้านแถมสิ่ง ต่าง ๆ ในบ้านพร้อม Compost Bin ได้ ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท Compost Bin จำกัด 1 2 3 4
  • 4. 4 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ องค์ประกอบที่ 2 โครงการ Village Recycle Bank / Smart Recycle Bank ส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลไกต่อยอดจากพฤติกรรมครัวเรือนรับขยะแห้งจากการคัดแยกขยะเปียกกับขยะแห้ง ออกจากกัน และสามารถพิจารณาขยะแห้งสู่การจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล ซึ่งโครงการวิจัยจะผลิตต้นแบบ Smart Recycle Bank ทดสอบความเสถียรของระบบ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดขยายผลเชิงธุรกิจและการรวบรวม ขยะรีไซเคิลให้มีผลลัพธ์กับผลกระทบในระดับเมืองต่อไป องค์ประกอบที่ 3 รอพิจารณาหลังจากองค์ประกอบที่ 2 หรือ Smart Recycle Bank สามารถทดลองใช้ เชิงพื้นที่จริงได้เสถียรแล้ว จะนำไปสู่การรวบรวมข้อมูลระดับผู้ใช้ในการช่วยรวบรวมขยะรีไซเคิล และการสร้าง มูลค่าในรูปแบบต่าง ๆ จะพิจารณาระบบ Credit และ Credit Return สู่ระดับผู้ใช้หรือองค์กรเป็นการ Economy Sharing และสร้างแรงจูงใจให้เกิดผลกระทบเสริมแรงในการขยายผลได้ครอบคลุมทั้งเมือง องค์ประกอบที่ 4 ข้อมูล Credit ในระดับผู้ใช้เชื่อมโยงเชิงพื้นที่หรือหน่วยงานสถานที่จะสามารถสร้าง ผลลัพธ์และผลกระทบด้านการต่อยอดแพลตฟอร์มต่าง ๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิตแต่ละประเภทเชิงพื้นที่ได้อีกเช่นกัน อาทิ ระบบ Credit แบบ Wallet การสร้างโมดูลเสริมองค์ประกอบจากขยะรีไซเคิลเป็นบริการด้านต่าง ๆ เช่น ช่างซ่อม ร้านค้าร่วมบริการ
  • 5. 5 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 3 การออกแบบ Compost Bin Version 6.0 ภาพที่ 4 การนำเสนอ Compost Bin Version 2.0 กับรองว่าผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ การนำเสนอ Compost Bin Version 6.0 พร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในงานประเมินผลดำเนินการยุทธศาสตร์ จังหวัดนครรราชสีมา พ.ศ.2563
  • 6. 6 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ สำหรับโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนดำเนินการองค์ประกอบที่ 2 Village Recycle Bank หรือปัจจุบันเรียกว่า Smart Recycle Bank เนื่องจากช่วงแรกของการร่วมหารือวางแผนพื้นที่เป้าหมายมุ่งเน้นเป็นพื้นที่กลุ่มหมู่บ้าน จัดสรรเป็นหลักจึงเรียกใช้ในชื่อ Village ต่อมาได้ร่วมหารืออย่างต่อเนื่องพบว่าระบบแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถ ประยุกต์ใช้เชิงพื้นที่ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในเมืองได้ด้วยเช่นกัน จึงได้นิยามการเรียกชื่อระบบใหม่ว่า Smart Recycle Bank ระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะ จำแนกการอธิบายแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ระบบขยะเหลือศูนย์ และ 2) ธนาคารขยะอัจฉริยะ มีรายละเอียดได้ดังนี้ 1) ระบบขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste Systems) ระบบขยะเหลือศูนย์ได้ร่วมหารือท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในภาคเอกชนและกลุ่มนักลงทุนเกี่ยวกับการ ผลิตต้นแบบเพื่อนำไปทดลองประยุกต์ใช้จริงและสามารถนำไปสู่กระบวนการทางธุรกิจและการลงทุนด้านระบบ ขยะเหลือศูนย์ที่มีการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน IoT และ Cloud Computing ประยุกต์กับแนวคิดและโครงการต่าง ๆ ด้านขยะเหลือศูนย์เพื่อไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ อาทิ แนวคิดด้าน 3Rs และธนาคารขยะไปสู่กระบวนการสร้างผลผลิตงานวิจัย Smart Recycle Bank กับ Scavenger Platform แสดง ประมวลผลข้อมูลได้ มีการสรุปการออกแบบกลไกได้ดังภาพที่ 5 ระบบบริหารจัดการคัดแยกขยะรีไซเคิลของโครงการได้ออกแบบเชื่อมโยงกับกลไกระบบสารสนเทศเพื่อ พัฒนาเมืองอัจฉริยะ ดำเนินการผ่าน 2 ระบบ ได้แก่ 1) ชุด Zero Waste Application จำแนกรายพื้นที่นำร่อง ซึ่ง แต่ละพื้นที่นำร่องจะมี Mobile Application ระดับผู้ใช้ (User App) จะสามารถทราบข้อมูลการรวบรวมขยะรี ไซเคิลรายบุคคลให้กับโครงการ ส่วนระบบการควบคุมภาพรวมของเมืองจะผ่าน Application Platform ชื่อว่า Scavenger (Admin App & Web) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การประมวลผลภาพรวมของระบบได้ทั้ง Mobile Application และ Web Browser ตลอดจนมีการออกแบบ Database Systems รวบรวมข้อมูลสำคัญทั้งสอง ระดับ เพื่อนำผลวิเคราะห์ข้อมูลสู่การทบทวนนโยบาย แผนงาน และโครงการ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมใน รูปแบบต่าง ๆ และทุกระดับของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายได้ อาทิ การร่วมทุนธุรกิจ การจ้างงานในระบบ หรือ การนับเครดิตรวบรวมขยะรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ฐานข้อมูลยังสามารถนำออก (Export) ในรูปแบบไฟล์ Excel เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้ต่อไป
  • 7. 7 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 5 การออกแบบกลไกระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะนำไปสู่การสร้าง Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application and Scavenger Platform ภาพที่ 6 การคลี่คลายกลไกระบบขยะเหลือศูนย์อัจฉริยะนำไปสู่การสร้าง Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application and Scavenger Platform
  • 8. 8 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 7 การเชื่อมโยงระบบขยะเหลือศูนย์ในเชิงพื้นที่ Scavenger Platform and Database, Smart Recycle Bank and Mobile User Application การออกแบบ คลี่คลาย และเชื่อมโยงระบบขยะเหลือศูนย์เชิงพื้นที่สามารถดำเนินการเป็นผลผลิต โครงการวิจัยรายละเอียดของ Scavenger Platform and Database มีรายละเอียดดังนี้ Scavenger Platform and Database อยู่ในระบบ Cloud Computing แสดงผล Interface ได้ดังภาพ ที่ 8 ภาพที่ 8 Interface ระดับผู้บริหารเวบไซค์ (Admin) สามารถเข้าไปดูรายละเอียด Database ได้
  • 9. 9 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 9 ระบบบริหารจัดการขยะเหลือศูนย์ Scavenger Platform Administration เมนูการจัดการประเภท ขยะ สำหรับการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นลงรายละเอียดกลุ่มประเภทขยะรีไซเคิลที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ ภาพที่ 10 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มชุดข้อมูลประเภทขยะเพื่อการ Generate QR Code เชื่อมโยงกับ Mobile User Application
  • 10. 10 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 11 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มสถานที่สำหรับการนำ Smart Recycle Bank ไป ติดตั้งเชิงพื้นที่ ภาพที่ 12 Scavenger Platform Administration เมนูการจัดการถังขยะภายในโครงการเชิงพื้นที่
  • 11. 11 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 13 Scavenger Platform Administration เมนูการเพิ่มถังขยะสำหรับการติดตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ภายใน โครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือสถานที่ต่าง ๆ ภาพที่ 14 Scavenger Platform Administration เมนูรายการรวบรวมปริมาณขยะรีไซเคิลจำแนกรายวัน และ สามารถดูย้อนหลังได้
  • 12. 12 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 15 Scavenger Platform Administration เมนูการส่งออกชุดข้อมูลเชิงระบบ ทั้งปริมาณขยะจำแนก รายวัน จำแนกรายโครงการ และจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง 2) การออกแบบถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ การลงรายละเอียดเพื่อการสร้างต้นแบบ Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application and Scavenger Platform Smart Recycle Bank หรือ ธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ คือ ผลผลิตโครงการเชิงนวัตกรรม โดยบูรณา การระหว่างแนวคิดด้านธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการชุดข้อมูลด้วย IoT (Internet of Think) ด้วยชุด Platform ผ่าน Mobile User Application และ Web Browser ของ Scavenger Platform ตลอดจนการ ออกแบบเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ผ่านชุด Platform นี้ อาทิ เครดิตการรวบรวมขยะรีไซเคิล การมีส่วนร่วมใน กิจกรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการศึกษาขั้นต่อไปเมื่อสามารถพัฒนา Smart Recycle Bank ในระดับการผลิตและ ให้บริการเชิงอุตสาหกรรมและธุรกิจได้แล้ว
  • 13. 13 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ การดำเนินงานในปัจจุบันในเบื้องต้นคณะวิจัยพิจารณาการจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล ตำแหน่งถัง Smart Recycle Bank เพื่อส่งข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing ผ่าน Scavenger Platform ด้วยระบบ QR Code ซึ่งผู้ใช้หรือผู้รวบรวมขยะรีไซเคิลในพื้นที่ติดตั้ง Smart Recycle Bank สามารถบันทึกข้อมูลผ่านระบบ QR Code ภาพที่ 16 การ Generate QR code สำหรับ User Mobile Application ในการเชื่อมโยงข้อมูลขยะรีไซเคิลกับ Smart Recycle Bank QR Code นี้เป็นข้อมูลสำหรับการทดลองความเสถียรเชิงระบบการรับส่งข้อมูลระหว่าง Mobile User Application >>> Smart Recycle Bank >>> Scavenger Platform on Cloud Computing ระบบ Smart Recycle Bank เป็นการพัฒนาโครงงานนวัตกรรม โดยบูรณาการระหว่างแนวคิดด้าน ธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการชุดข้อมูลโดยใช้ Internet of Think : IoT ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งส่วนของ ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์โดยการออกแบบถังคัดแยกที่เหมาะสมและสะดวกทั้งในการใช้งาน และการรวบรวมขยะที่ มีการคัดแยกไว้แต่ละประเภท ถังที่ออกแบบจะทำการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino และการใช้คำสั่งในการควบคุมอุปกรณ์และส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังหน่วยบันทึกข้อมูลผ่านระบบสัญญาณ Wi-Fi
  • 14. 14 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 17 การขึ้นต้นแบบ Smart Recycle Bank พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ IoT เพื่อรับ-ส่งข้อมูลเข้าระบบ Scavenger Platform ถังคัดแยกขยะอัจฉริยะจะประกอบด้วย sensor ประเภทต่าง ๆ แบ่งเป็น 6 ประกอบ (ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก จ ประกอบ) มีรายละเอียด 1) เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ จับสิ่งกีดขวาง ( Infrared Proximity Sensor) ใช้เพื่อตรวจจับขยะคัดแยกที่ ถูกทิ้งผ่านช่องทางที่จำแนกประเภทชนิดของขยะ ซึ่งเซ็นเซอร์นี้จะทำหน้าที่นับจำนวนของการทิ้งใน แต่ละครั้ง จากนั้นเซ็นเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่ตรวจนับได้นี้ไปยังส่วนบริหารจัดการระบบเพื่อบันทึก ข้อมูลจำนวนชิ้นของการทิ้งของสมาชิกผู้ใช้งาน รวมทั้งจำนวนสะสมของการทิ้ง โดยสามารถรายงาน กลับไปยังผู้ใช้งานระบบผ่านทางแอปพลิเคชั่น 2) เซ็นเซอร์วัดระดับ (Level sensor) ใช้ตรวจสอบและวัดระดับของขยะที่อยู่ในถัง โดยหากปริมาณ ขยะมีปริมาณมาก หรือปริมาตรความจุที่เหลือของถังขยะอยู่ในระดับต่าง ๆ เซ็นเซอร์จะทำหน้าที่วัด ระดับปริมาตรความจุที่คงเหลือของถังและจะทำการแจ้งเตือนไปยังระบบบริหารจัดการ (Admin) เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังส่วนแสดงผลและส่วนดำเนินการจัดเก็บขยะออกจากถังเพื่อให้ถังขยะอยู่ใน สภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3) ระบบบันทึกภาพ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลภาพทุกครั้งที่ผู้ใช้เริ่มใช้งานทำการแสกน QR-code เพื่อ เริ่มต้นการใช้งานระบบการทิ้งขยะในถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ
  • 15. 15 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ 4) ระบบการแสดงผล (LED) โดยใช้จอแสดงผล LED โมดูล LCD 16x2 เพื่อแสดงผลการอ่านค่าการ ทำงานของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์จะถูกแสดงผลบนจอ LED พร้อมกับที่จะถูก ส่งไปยัง server ที่จะบันทึกข้อมูล 5) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาออกแบบถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ จะเป็นการใช้โปรแกรม Arduino ร่วมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะเป็นตัวที่จะช่วยในการควบคุมอุปกรณ์ใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ 6) ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บ รวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของ Mobile Application รูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์บนถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ ภาพที่ 18 แสดงรูปด้านของถังคัดแยกขยะรีไซเคิลต้นแบบ หมายเหตุ – รูปแบบถังขยะรีไซเคิลต้นแบบสามารถปรับรูปทรงได้ ทั้งจำนวนช่องและขนาดเพื่อความเหมาะสมกับ บริบทสถานที่ติดตั้ง ซึ่งจะพิจารณาวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT ที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกัน
  • 16. 16 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 19 แสดงการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของถังคัดแยกขยะต้นแบบ ภาพที่ 20 การติดตั้งอุปกรณ์ IoT กับถังต้นแบบ Smart Recycle Bank
  • 17. 17 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ สำหรับ Mobile User Application1 ออกแบบพื้นที่นำร่องไว้จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ 1) ศาลากลางจังหวัด นครราชสีมา 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 3) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 4) หมู่บ้านจัดสรร The Sixnature และ 5) หมู่บ้านจัดสรร The4Rest ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการของเข้าร่วมอีกโครงการ เป็น โครงการที่ 6 ได้แก่ 6) Rise Condo ภาพที่ 21 ตำแหน่งที่ตั้งพื้นที่นำร่องเข้าร่วมโครงการทดสอบระบบเปิดของเมืองโคราช (ที่มา JVIS System) ภาพที่ 22 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank ของศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา (ซ้าย)2 และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ขวา) 1 หมายเหตุ - Mobile User Application ทั้ง 6 สถานที่ ได้เตรียมการไว้สามารถดาวโหลดใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android 2 ใช้ระบบ Android เข้า Mobile User Application
  • 18. 18 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 23 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา (ซ้าย) และ หมู่บ้านจัดสรร The Sixnature (ขวา)3 ภาพที่ 24 Mobile User Application เชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank ของหมู่บ้านจัดสรร The4Rest และ Rise Condo 3 ใช้ระบบ Android เข้า Mobile User Application
  • 19. 19 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ประเด็นการทดลองเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้เชิงพื้นที่ ดำเนินการเป็นระบบปิดในห้องทดลอง โดยจัดทำ การทดลองระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความเสถียรของระบบ Smart Recycle Bank แล้วนำข้อมูล มาสรุปเขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต่อไป ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถวัดการทำงานของระบบได้แม่นยำ ยิ่งขึ้น การทดสอบเชิงระบบการประมวลผล Cloud Computing การดำเนินการในระบบปิดผ่าน Mobile User Application ทั้ง 6 แอพพลิเคชัน ได้แก่ 1) ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมา 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 3) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 4) หมู่บ้าน จัดสรร The Sixnature 5) หมู่บ้านจัดสรร The4Rest และ 6) Rise Condo มีรายละเอียดขั้นตอนดำเนินการผ่าน Mobile User Application กับการสแกน QR Code ที่มีการ Generate ค่าเชื่อมโยงระหว่าง Smart Recycle Bank และ Scavenger Platform มีรายละเอียดดังนี้ ภาพที่ 25 ขั้นตอนการใช้ Mobile User Application สแกน QR Code เพื่อส่งข้อมูลการอ่านค่าผ่าน Smart Recycle Bank เข้าระบบ Cloud Computing ของ Scavenger Platform
  • 20. 20 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 26 ขั้นตอนการใช้ Mobile User Application สแกน QR Code ระบบตอบสนอง กับแอพพลิเคชันผู้ใช้และมีการบันทึกข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคิลเข้าระบบฐานข้อมูล ภาพที่ 27 การทดสอบความเสถียรการอ่านค่าจาก Mobile User Application จาก QR Code ของ Smart Cycle Bank
  • 21. 21 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 28 การทดสอบความเสถียรการอ่านค่าจาก Mobile User Application จาก QR Code ของ Smart Cycle Bank (ต่อ) ภาพที่ 29 การประมวลผลข้อมูลของระบบ Cloud Computing จาก Scavenger Platform ที่เชื่อมโยงจาก QR Code ของ Smart Recycle Bank ที่มีการอ่านค่าโดย Mobile User Application ระยะเวลา 4 วัน จำนวน 1,112 ครั้ง
  • 22. 22 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ การดำเนินการสแกน QR Code จากกลุ่ม Mobile User Application ทั้ง 6 สถานที่หรือแอพพลิเคชัน อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 วัน สามารถสรุปรายละเอียดเชิงสถิติ ตารางที่ 1 การเก็บสถิติจำนวนครั้งที่มีการสแกน QR Code ผ่านระบบ Smart Recycle Bank ส่งข้อมูลเข้า Scavenger Platform และมีการประมวลผลด้วยระบบ Cloud Computing วันที่ จำนวนครั้งที่มีการสแกน QR Code (ครั้ง) วันที่ 10 สิงหาคม 2564 96 วันที่ 11 สิงหาคม 2564 253 วันที่ 12 สิงหาคม 2564 370 วันที่ 13 สิงหาคม 2564 393 รวมจำนวนครั้งทั้งสิ้น 1,112 การทดลองเชิงระบบการประมวลในระยะเวลา 4 วัน จำนวน 1,112 ครั้ง ไม่มีการผิดพลาดในการส่งค่า ข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing ของ Scavenger Platform จึงถือความมีความเสถียรในระดับสามารถนำไป ประยุกต์ใช้งานในพื้นที่จริง ตลอดจนนำไปพัฒนารายละเอียดผลิตภัณฑ์ทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและธุรกิจการลงทุน ได้ต่อไป 3) องค์ประกอบและการสร้างถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ 1. Mobile Application Mobile Application หรือแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ที่ได้พัฒนาขึ้นบน Platform ที่จะสามารถใช้ งานร่วมกับถังคัดแยกขยะอัจฉริยะที่จะพัฒนาขึ้น โดยจะมีระบบการเชื่อมต่อการทำงานกับถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ โดยแอปพลิเคชั่นจะทำหน้าที่ในการยืนยันตัวตนของผู้ทิ้งขยะด้วยการสแกน QR-code เพื่อให้ระบบทำการ เชื่อมต่อกับบัญชีผู้ใช้งาน ที่จะทำการบันทึกข้อมูลการทิ้งขยะแยกประเภทในแต่ละครั้ง โดยเมื่อมีการยืนยันตัวตน ของผู้ทิ้งขยะแล้ว ข้อมูลที่บันทึกในแต่ละครั้งจะถูกนำเข้าไปสะสมกับจำนวนเดิมที่ได้ที่ได้ทำการทิ้งก่อนหน้า ซึ่ง เป็นการดำเนินการตามหลักการของระบบธนาคารขยะ และแอปพลิเคชั่นจะแจ้งและแสดงยอดปริมาณการทิ้ง ให้กับผู้ใช้งาน รวมทั้งจะรองรับการพัฒนา การออกแบบเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ผ่านชุด Platform นี้ อาทิ
  • 23. 23 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เครดิตการรวบรวมขยะรีไซเคิล ในการแจ้งข่าวสาร การสื่อสารระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบ รวมทั้งการ ประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ฯลฯ Application จำแนกรายพื้นที่นำร่อง ซึ่งแต่ละพื้นที่นำร่องจะมี Mobile Application ระดับผู้ใช้ (User App) จะสามารถทราบข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคลรายบุคคลให้กับโครงการ ส่วนระบบการควบคุมภาพรวมของ เมืองจะผ่าน Application Platform ชื่อว่า Scavenger (Admin App & Web) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การ ประมวลผลภาพรวมของระบบได้ทั้ง Mobile Application และ Web Browser ตลอดจนมีการออกแบบ Database Systems รวบรวมข้อมูลสำคัญทั้งสองระดับ เพื่อนำผลวิเคราะห์ข้อมูลสู่การทบทวนนโยบาย แผนงาน และโครงการ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ และทุกระดับของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายได้ อาทิ การร่วมทุนธุรกิจ การจ้างงานในระบบ หรือการนับเครดิตรวบรวมขยะรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ฐานข้อมูล ยังสามารถนำออก (Export) ในรูปแบบไฟล์ Excel เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้ต่อไป 2. ระบบ Smart Recycle Bin เป็นการพัฒนาโครงงานนวัตกรรม โดยบูรณาการระหว่างแนวคิดด้านธนาคารขยะ กับ การบริหารจัดการ ชุดข้อมูลโดยใช้ Internet of Think :IoT ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์โดยการออกแบบ ถังคัดแยกที่เหมาะสมและสะดวกทั้งในการใช้งาน และการรวบรวมขยะที่มีการคัดแยกไว้แต่ละประเภท ถังที่ออกแบบจะทำการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino และการใช้คำสั่งในการควบคุมอุปกรณ์และส่งข้อมูลต่าง ๆไปยังหน่วยบันทึกข้อมูลผ่านระบบสัญญาณ Wi-Fi ถังคัดแยกขยะอัจฉริยะจะประกอบด้วย sensor ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ 1) เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ จับสิ่งกีดขวาง ( Infrared Proximity Sensor) โดยใช้โมดูล Infrared photoelectric switch Sensor E18-D80NK เป็นเซนเซอร์วัดระยะที่ใช้หลักการสะท้อนของคลื่นอินฟาเรด สามารถกำหนดระยะในการทำงานได้โดยปรับค่าที่ Potentiometer ทำงานในช่วง 3-80 cm Output เป็นแบบ Digital ใช้ไฟเลี้ยง 5V ระยะทำงานไม่เกิน 45 cm. ในการทำงานจะใช้เพื่อตรวจจับขยะคัดแยกที่ถูกทิ้งผ่าน ช่องทางที่จำแนกประเภทชนิดของขยะ ซึ่งเซ็นเซอร์นี้จะทำหน้าที่นับจำนวนของการทิ้งในแต่ละครั้ง จากนั้น เซ็นเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่ตรวจนับได้นี้ไปยังส่วนบริหารจัดการระบบเพื่อบันทึกข้อมูลจำนวนชิ้นของการทิ้งของ สมาชิกผู้ใช้งาน รวมทั้งจำนวนสะสมของการทิ้ง โดยสามารถรายงานกลับไปยังผู้ใช้งานระบบผ่านทางแอปพลิเคชั่น
  • 24. 24 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 30 Infrared photoelectric switch Sensor E18-D80NK การเชื่อมต่ออุปกรณ์ ESP8266 -> LED • D4 -> LED • GND -> ตัวต้านทาน 220 ohm -> LED ESP8266 -> E18-D80NK เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ • Vin -> SVDC (สายสีน้ำตาล) • GND -> GND (สายสีน้ำเงิน) • A0 -> OUT (สายสีดำ) ESP8266 -> Active Buzzer Module 3.3 - 5V • 3v3 -> VCC • GND -> GND • D3 -> I/O
  • 25. 25 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 31 การต่อ Infrared Proximity Sensor กับ Arduino ESP8266 2) เซ็นเซอร์วัดระดับ (Level sensor) โดยใช้เซ็นเซอร์โมดูล Ultrasonic HC-SR04 เพื่อใช้ ตรวจสอบและวัดระดับของขยะที่อยู่ในถัง โดยหากปริมาณขยะมีปริมาณมาก หรือปริมาตรความจุที่เหลือของถัง ขยะอยู่ในระดับต่าง ๆ เซ็นเซอร์จะทำหน้าที่วัดระดับปริมาตรความจุที่คงเหลือของถังและจะทำการแจ้งเตือนไปยัง ระบบบริหารจัดการ (Admin) เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังส่วนแสดงผลและส่วนดำเนินการจัดเก็บขยะออกจากถัง เพื่อให้ถังขยะอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ภาพที่ 32 Ultrasonic HC-SR04
  • 26. 26 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ อัลตร้าโซนิค เซนเซอร์ (Ultrasonic Sensors) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดระยะห่างเริ่มจากหัววัดของ เซนเซอร์ถึงสิ่งของต่างๆได้อย่างแม่นยำ และข้อดีของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เมื่อเทียบกับโฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ แบบใช้วัดระยะทางก็คือ แม้แต่ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นฝุ่นผงและความสกปรก สามารถตรวจวัดระยะห่างของ วัตถุได้ดีแม้ว่าวัตถุนั้นจะมีความโปร่งใส โปร่งแสง มีความแวววาวได้อย่างแม่นยำ และยังเหมาะสำหรับการ ตรวจจับของเหลวและวัตถุที่เป็นเม็ดได้เป็นอย่างดี อัลตร้าโซนิค คือ คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกิน 20,000 Hzมาก จนหูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินได้ เนื่องจากเป็น คลื่นที่มีทิศทาง ทำให้สามารถเล็งคลื่นไปที่ตำแหน่งหรือเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยหลักการทำงาน ของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์จะเป็นเซนเซอร์ที่ใช้คลื่นเสียงในการตรวจจับตำแหน่งของวัตถุ โดยส่วนประกอบของ ตัวเซนเซอร์จะประกอบด้วย 1. ตัวส่งคลื่นอัลตร้าโซนิคและตัวรับคลื่นอัลตร้าโซนิค (อัลตร้าโซนิคทรานสดิวเซอร์) 2. ตัวควบคุมการทำงาน 3. ตัวส่งสัญญาณนาฬิกา 4. ตัวประมวลผล 5. ตัวส่งสัญญาณเอ้าท์พุท ภาพที่ 33 ไดอะแกรมภายในอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ โดยตัวเซนเซอร์จะทำงานโดย ตัวส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณนาฬิกาไปที่ตัวคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมการ แปลงสัญญาณ แล้วส่งไปต่อที่ตัวอัลตร้าโซนิคทรานสดิวเซอร์ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ ตัวส่งและตัวรับ ตัวส่งจะสร้าง คลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค จากสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าโซนิคออกไปเป็นแนวตรง และเมื่อ
  • 27. 27 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ คลื่นเสียงอัลต้าโซนิคไปกระทบกับวัตถุใดๆ ตามหลักการของคลื่นเสียง คือ มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน คลื่น เสียงจะถูกสะท้อนกลับมาที่ตัวรับคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค เมื่อตัวรับได้รับคลื่นเสียงที่ถูกสะท้อนกลับมาแล้ว ตัวรับ จะแปลงคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิคนั้นเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งต่อ ให้ตัวประมวลผล ตัวประมวลผลจะทำการคำนวน ค่าระยะห่างจากระยะทางที่คลื่นเสียงเดินทางไปและเดินทางกลับอย่างแม่นยำ และส่งค่าที่คำนวนได้ไปให้ตัวส่ง สัญญาณเอ้าท์พุท เพื่อส่งสัญญาณเอ้าท์พุทไปให้อุปกรณ์อื่นต่อไป ซึ่งหลักการวัดระยะห่างของเซนเซอร์ชนิดอัลตร้าโซนิคนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถนำไป ตรวจจับวัตถุได้เกือบทุกประเภท เหมาะสำหรับการวัดระยะสิ่งของที่อยู่ระยะไกลมาก ๆ ในสภาวะอากาศที่เลวร้าย มีความสกปรกมากหรือมีฝุ่นมาก และยังสามารถใช้กับวัตถุที่เป็นของเหลววัตถุที่มีพื้นผิววัตถุเป็นแบบมันวาว โปร่ง แสงหรือโปร่งใส ซึ่งเซนเซอร์ชนิดอื่นจะทำได้ไม่ดีเทียบเท่ากับอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ เนื่องจากการใช้คลื่นเสียงใน การทำงาน ทำให้ไม่ถูกรบกวนด้วยสิ่งต่าง ๆที่กล่าวมากข้างต้น แต่ก็มีวัตถุบางประเภทที่ไม่เหมาะจะนำอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ไปใช้จับระยะทาง เช่น 1. วัตถุที่สามารถดูดซับเสียงได้เช่น ผ้า หรือโฟมต่างๆที่มีคุณสมบัติสามารถดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดี 2. ไม่เหมาะกับการนำไปใช้กับวัตถุขนาดเล็กมากจนเกินไปเนื่องจากหน้าสัมผัสของวัตถุที่มีน้อย จึง สะท้อนคลื่นเสียงกลับมาได้น้อย ทำให้การคำนวนระยะทางหรือตำแหน่งอาจจะไม่แม่นยำเท่าที่ควร ซึ่งวัตถุที่มี ขนาดเล็กนั้นแนะนำให้ใช้ โฟโต้อิเล็ก ทริกเซนเซอร์ (Photoelectric Sensors) การจัดวางตำแหน่งของเซนเซอร์ การเว้นระยะห่างของตัวเซนเซอร์ อัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เป็นเซนเซอร์ที่ใช้การส่งคลื่นเสียงในการทำงาน ทำให้ต้องมีการเว้นระยะห่างของตัวเซนเซอร์ ดังภาพ ภาพที่ 34 การเว้นระยะห่างของเซนเซอร์
  • 28. 28 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ จะเห็นว่าเราควรเว้นระยะห่างของเซนเซอร์ เพื่อไม่ให้คลื่นเสียงที่ส่งออกไปมีการรบกวนกัน เพื่อ ประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจจับของตัวเซนเซอร์ การวางสิ่งของที่จะทำการตรวจจับ ควรจัดวาง สิ่งของที่จะทำการตรวจจับให้มีระนาบที่จะสามารถสะท้อนคลื่นเสียงที่ส่งไปกลับมาได้ ตามคุณสมบัติของคลื่นเสียง ที่ว่า มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน วัตถุที่จะทำการสะท้อนนั้น ควรจะมีลักษณะเป็นแนวราบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการตรวจจับดีที่สุด ถ้า วัตถุที่ทำการตรวจจับเป็นชิ้นเล็กๆหรือมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน จะทำให้ความสามารถในการตรวจจับและความ แม่นยำลดลง ภาพที่ 35 การตรวจจับวัตถุที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ถ้ามีปริมาณขยะมากหรือเต็มจะแจ้งเตือนผ่านเว็บไซต์และแสดงไฟ LED เป็นสีต่าง ๆ เช่น ถ้าถังขยะใบนั้น มีวัตถุหรือขยะเต็ม ไฟ LED ก็จะแสดงผลเป็นสีแดง พร้อมกับการแจ้งเตือนด้วยเสียงของ บีซเซอร์ การต่ออุปกรณ์ NodeMCU ESP8266 วัดระยะทางด้วย เซ็นเซอร์วัดระยะทาง Ultrasonic Module HC-SR04 NodeMCU ESP8266 -> เซ็นเซอร์วัดระยะทาง Ultrasonic Module HC-SR04 ขาD2 -> Echo ขาD1 -> Trig Vin -> Vcc GND -> GND
  • 29. 29 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 36 การต่อโมดูล Ultrasonic Module HC-SR04 บนบอร์ด ESP8266 3) ระบบบันทึกภาพ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลภาพทุกครั้งที่ผู้ใช้เริ่มใช้งานทำการแสกน QR-code เพื่อเริ่มต้นการใช้งานระบบการทิ้งขยะในถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ โดยระบบบันทึกภาพจะใช้กล้อง ESP32-cam โมดูลพิเศษที่ใช้ความสามารถของ ESP32 ในการสื่อสารกับสัญญาณ wireless ทั้งเป็นตัวรับสัญญาณ (Station- mode) และตัวปล่อยสัญญาณ (Access point-mode) ได้ในตัวเดียว ภายหลังมีการพัฒนารุ่นใหม่ที่มีการติดตั้ง กล้องเข้าไปเพื่อใช้ประโยชน์จาก cpu ที่เร็วว่า arduino หลายเท่า ในการรับข้อมูลจากกล้อง ov2640 ที่มีความ ละเอียดเกือบ 2 ล้านพิกเซล มาส่งข้อมูลไร้สายหรือเก็บภาพไว้ใน microSD card ในตัวก็ได้ การต่ออุปกรณ์ Arduino ESP32-CAM โดย Arduino ESP32-CAM -> FT232RL USB • 3.3V -> Vcc • GND -> GND • UoT -> Rx • UoR -> Tx Arduino ESP32-CAM -> Arduino ESP32-CAM (ต่อขาตัวมันเอง) • IO0 -> GND Adapter 5V 2A -> Arduino ESP32-CAM ขั้วบวก -> 5V • ขั้วลบ -> GND
  • 30. 30 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 37 การต่อโมดูล ESP32-CAM บนบอร์ด ESP8266 4) ระบบการแสดงผล (LED) โดยใช้จอแสดงผล LED โมดูล LCD 16x2 เพื่อแสดงผลการอ่านค่าการ ทำงานของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ค่าที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์จะถูกแสดงผลบนจอ LED พร้อมกับที่จะถูกส่งไปยัง server ที่จะบันทึกข้อมูล ภาพที่ 38 LC`D 16X2 คําว่า LCD ย่อมาจากคําว่า Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอที่ทํามาจากผลึก คริสตัลเหลว หลักการ คือด้านหลังจอจะมีไฟส่องสว่าง หรือที่เรียกว่า Backlight อยู่ เมื่อ มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นที่ผลึก ก็ จะทําให้ผลึกโปร่งแสง ทําให้แสงที่มาจาก ไฟ Backlight แสดงขึ้นมาบนหน้าจอ ส่วนอื่นที่โดนผลักปิดกั้นไว้ จะมีสี
  • 31. 31 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ที่แตกต่างกันตาม สีของผลึกคริสตัล เช่น สีเขียว หรือ สีฟ้า ทําให้เมื่อมองไปที่จอก็จะพบกับตัวหนังสือสี ขาว แล้ว พบกับพื้นหลังสีต่างๆกันจอ LCD ที่ใช้งานจะมีลักษณะการ แสดงผล ในแบบ Character LCD เป็นจอที่แสดงผล เป็นตัวอักษรตามช่องแบบตายตัว เช่น จอ LCD ขนาด 16x2 หมายถึงใน 1 แถว มีตัวอักษรใส่ได้ 16 ตัว และมี ทั้งหมด 2 บรรทัดให้ใช้งาน ส่วน 20x4 จะหมายถึงใน 1 แถว มีตัวอักษรใส่ได้ 20 ตัว และมีทั้งหมด 2 บรรทัด การเชื่อมต่อจะเป็นแบบการเชื่อมต่ออนุกรม โดยเป็นการเชื่อต่อกับจอ LCD ผ่านโมดูลแปลงรูปแบบ การเชื่อมต่อกับจอ LCD จากแบบขนาน มาเป็นการเชื่อมต่อแบบอื่นที่ใช้สายน้อย กว่า เช่น การใช้โมดูล I2C Serial Interface จะเป็นการนําโมดูลเชื่อมเข้ากับตัว จอ LCD แล้วใช้บอร์ด Arduino เชื่อมต่อกับบอร์ดโมดูลผ่าน โปรโตคอล I2C ทําให้ ใช้สายเพียง 4 เส้น ก็ทําให้หน้าจอแสดงผลข้อความต่างๆออกมาได้ จอ LCD ที่มีการ เชื่อมต่อแบบ I2C หรือเรียกอีกอย่างว่าการเชื่อมต่อแบบ Serial จะเป็นจอ LCD ธรรมดาทั่วไปที่มาพร้อมกับบอร์ด I2C Bus ที่ทําให้การใช้งานได้ สะดวกยิ่งขึ้นและยังมาพร้อมกับ VR สําหรับปรับความเข้มของจอ ในรูปแบบ I2C จะใช้ขา ในการเชื่อมต่อกับ Microcontroller เพียง 4 ขา (แบบ Parallel ใช้ 16 ขา) ซึ่งทําให้ใช้ งานได้ง่ายและ สะดวกมากยิ่งขึ้น การต่ออุปกรณ์ NodeMCU ESP8266 แสดงข้อความ และ ค่า Sensor ต่างๆออกจอ LCD แบบ I2C จอแสดงผล LCD 16x2 -> NodeMCU ESP8266 • gnd -> GND • Vcc -> 5V • SDA -> ขาD2 • SCL -> ขาD1 ภาพที่ 39 การต่อโมดูล LED 2x16 บนบอร์ด ESP8266
  • 32. 32 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ 5) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาออกแบบถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ จะเป็นการใช้โปรแกรม Adruino ร่วมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะเป็นตัวที่จะช่วยในการควบคุมอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ Arduino เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล ARV ที่มีการพัฒนาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ อย่างเปิดเผย (Open Source) จึงเหมาะสมในการพัฒนาต่อร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆได้ง่าย โดย Arduino Platform ประกอบไปด้วย 1. ส่วนที่เป็น Hardware คือ บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) เป็นชิ้นส่วน หลัก ถูกนํามาประกอบร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน หรือที่ เรียกกันว่า บอร์ด Arduino โดยบอร์ด Arduino เองก็มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยใน แต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาด ของบอร์ด หรือสเปค เช่น จํานวนของขารับส่งสัญญาณ, แรงดันไฟที่ใช้, ประสิทธิภาพของ MCU เป็นต้น 2.ส่วนที่เป็น Software คือ ภาษา Arduino เป็นภาษาสําหรับเขียนโปรแกรมควบคุม MCU มีไวยากรณ์ แบบเดียวกับภาษา NC++ Arduino IDE เป็นเครื่องมือสําหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Arduino, คอมไพล์ โปรแกรม (Compile) และอัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ด (Upload) ภาพที่ 40 Arduino ESP8266 3) ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของ Mobile Application อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้น การเก็บข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงของข้อมูลทั้งในส่วนของข้อมุลบุคคล (Personnel) ข้อมูลการทิ้งขยะคัดแยก (Credit) สิทธิประโยชน์ (Benefits) ข้อมูลการจัดการถังคัดแยกขยะแต่ละ
  • 33. 33 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ตำแหน่ง ฯลฯ โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทำให้เกิดระบบการจัดการ ฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและ บำรุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับธุรกิจส่วนตัวได้โดย การดึงข้อมูล (Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลทีมีอยู่ในฐานข้อมูล รูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์บนถังคัดแยกขยะอัจฉริยะ ภาพที่ 41 แสดงรูปด้านของถังคัดแยกขยะต้นแบบ ภาพที่ 42 การติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของถังคัดแยกขยะต้นแบบ