SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 4
                        การป้องกันอันตรายจากรังสี
                         Radiation Protection
                                   ในบทนี้จะเรียนเกี่ยวกับ
1. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย 
   (External radiation protection)
	       1.1 เวลา (Time)
	       1.2 ระยะทาง (Distance)
	        	 •	กฎกำลังสองผกผัน (Inverse square law)
	       1.3 เครื่องกำบังรังสี (Shielding)
	           	 	รังสีแอลฟาและรังสีบีตา
            •
	           	 	รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา
            •
	           	 	Half Value Layer (HVL)
            •
	           	 	Tenth Value Layer (TVL)
            •
	       1.4 การตรวจวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล (Personnel monitoring)
		 •	เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลแบบอ่ า นค่ า ได้ ทั นที

			 (Electronic dosimeters)
		 •	เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม (Film badge)
		 •	เ ค รื่ อ ง วั ด ป ริ ม า ณ รั ง สี แ บ บ เ ท อ ร์ โ ม ลู มิ เ น ส เ ซ น ต์

			 (Thermoluminescent Dosimeter, TLD)
		 •	การใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลอย่างเหมาะสม

			 (Proper use of personnel dosimeter)


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   91   Training Manual on Radiation Protection
1.5 การติดป้ายเตือนของวัสดุกัมมันตรังสี (Posting and labeling

	             of radioactive materials)
		 •	 ป้ายเตือนทางรังสี (Cautionary signs)
		 •	 ป้ายเตือนในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี (Transportation

			 warning labels)
2. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย 
   (Internal radiation protection)
	        2.1	 วิถีทางเข้าสู่ร่างกาย (Method of entry)
	        2.2 	คำแนะนำ (Guidelines)
	        2.3	 การได้รับรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal

		 radiation exposures)
	        2.4 	หน่วยวัดปริมาณรังสี (Units of radiation dose)
	        2.5 	หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี (Units of radioactivity)
	        2.6	 การวัดปริมาณสารรังสีภายในร่างกาย (Internal exposure

		 monitoring)
	             • การวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายโดยตรง
	             • การวัดความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ
	             • การวัดปริมาณสารรังสีจากสิ่งขับถ่าย








คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   92   Training Manual on Radiation Protection
1. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย
   (External radiation protection)
	        หลักพื้นฐานที่สำคัญในการลดการได้รับปริมาณรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสี
อยู่ ภ ายนอกร่ า งกาย นั่ น คื อ เวลา ระยะทาง และเครื่ อ งกำบั ง สถาน

ปฏิบัติการทางรังสีที่ดีต้องมีการบริหารจัดการในการนำเทคนิคพื้นฐานนี้ไป
ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

	        1.1 เวลา (Time)
	        ปริมาณรังสีสะสมที่แต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานภายใต้
สภาวะแวดล้อมที่มีสนามรังสี/บริเวณที่มีรังสี ตามสมการ
ปริมาณรังสีทได้รบ (Dose) = อัตราการแผ่รงสี (Dose rate) x เวลา (time)
               ี่ ั                        ั
	                   mrem =	 mrem/h x h
	                   mSv	 =	 mSv/h x h
	                   µSv 	 =	 µSv/h x h
ตัวอย่าง 1 นาย ก ทำงานกับสารรังสี 3 ชั่วโมง โดยบริเวณทำงานมีอัตรา
การแผ่รังสี 10 µSv/h อยากทราบว่า นาย ก ได้รับปริมาณรังสีเท่าใด
                  µ
	        แทนค่า	ปริมาณรังสีที่นาย ก ได้รับ	       = 10 µµSv/h x 3 h
	        คิดเป็น 					                            = 30 µµSv
	        ดังนั้นการจำกัดปริมาณการได้รับรังสีของแต่ละคนสามารถทำได้โดย
จำกัดระยะเวลาในการทำงานในบริเวณที่มีรังสีนั่นเอง เมื่อไม่ให้ได้รับปริมาณ
รังสีเกินขีดจำกัด จึงคำนวณหาระยะเวลาในการทำงานจากสูตร

เวลาในการทำงาน (Stay time, h) = Dose limit (mrem)/dose rate (mrem/h)



คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   93   Training Manual on Radiation Protection
ตัวอย่าง 2 คุณสามารถทำงานได้นานเท่าไหร่ เมื่อมีอัตราการแผ่รังสี 1.5
mrem/h กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีไว้ที่ 10 mrem
	         แทนค่า เวลาในการทำงาน (Stay time)	 = 10 mrem/1.5 mrem/h
						                                                 = 6.67 h
	         จาก	        1 h = 60 min				                                   
	         ดังนั้น 6.67 h คิดเป็น 6.67 x 60 = 400 นาที = 6 ชั่วโมง 40 นาที

	         1.2 ระยะทาง (Distance)
	         ปริมาณรังสีที่แต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี
มากน้อยแค่ไหน ณ ต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน คนที่อยู่ห่างไกลจากต้นกำเนิดรังสี
มากกว่าก็จะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าคนที่อยู่ใกล้ต้นกำเนิดรังสี ปริมาณรังสี
ที่ได้รับคำนวณได้จากกฎกำลังสองผกผัน
	         • กฎกำลังสองผกผัน (Inverse square law)
	         จากสูตร          ปริมาณรังสีที่ได้รับ (I) α 1/d2
	         ดังนั้น I = k/d2 หรือ Id2 = k 
	         เมื่อ	 I	 คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับ	
		                 k	 คือ ค่าคงที่ ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามชนิดของต้นกำเนิดรังสี
		                 d	 คือ ระยะทางที่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี
	         เมื่อเป็นต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน ดังนั้น k จึงเท่ากัน สามารถเขียนสูตร
ได้ใหม่ดังนี้
		                                  k = I1d12 = I2d22 


ตัวอย่าง 3 จงคำนวณว่าต้องอยู่ห่างต้นกำเนิดเท่าใด เมื่ออัตราปริมาณรังสีที่
ระยะห่างต้นกำเนิด 2 เมตร มีค่า 10 µSv/h และต้องการลดค่าปริมาณรังสี
                                   µ
ให้เหลือ 1 µµSv/h 

    คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   94   Training Manual on Radiation Protection
จากสูตร I1d12 = I2d22 
 	
          แทนค่า 	 10 µSv/h x (2m)2	 =	 1 µµSv/h x d22 
                             µ
   		                                  d22	 =	 40 m2
		
                                       d2	 =	 6.32 m
	         นั่นคือ ต้องอยู่ห่างต้นกำเนิด 6.32 เมตร จึงจะได้รับปริมาณรังสีลด
ลงจาก 10 µµSv/h เหลือเพียง 1 µµSv/h

ตัวอย่าง 4 จงคำนวณว่าเมื่ออยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีเป็นระยะทาง 2 เท่า
จากเดิม จะได้รับปริมาณรังสีเท่าใด เมื่อวัดปริมาณรังสีห่างต้นกำเนิดรังสี 1
เมตร ได้ 120 µµSv/h
	         จากสูตร I1d12 = I2d22 
 	
          แทนค่า	 120 µSv/h x (1m)2	 =	 I2 x (2m)2
                               µ
     		
                                           I2	 = 	 30 µµSv/h
	         นั่นคือ เมื่อห่างจากต้นกำเนิดรังสี 1 เมตร วัดปริมาณรังสีได้ 120

µµSv/h และเมื่อห่างจากต้นกำเนิดรังสีเป็น 2 เท่าจากเดิม (2 x 1 เมตร) วัด
 ปริมาณรังสีได้ 30 µSv/h ซึงวัดได้ลดลง 4 เท่าจากเดิม (120/4 = 30 µSv/h) 
                                 ่                                 µ
	         ดังนั้นจึงสรุปว่า ณ จุดต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน ถ้าอยู่ห่างจากต้น
กำเนิดรังสีมากกว่าเดิมเป็นระยะทาง 2 เท่า จะได้รับปริมาณรังสีลดลง 4
เท่า เมื่อเทียบจากจุดเดิม

	         1.3 เครื่องกำบังรังสี (Shielding)
	         เมื่อไม่สามารถลดระยะเวลา หรือเพิ่มระยะทางในการทำงานกับสาร
รังสีได้ สิ่งที่ควรพิจารณาในขั้นต่อไปคือ การใช้เครื่องกำบังรังสี การเลือกใช้
เครื่องกำบังรังสีที่เหมาะสมควรเลือกชนิดของเครื่องกำบังให้เหมาะกับชนิด
ของรังสี พลังงาน และความแรงของต้นกำเนิดรังสี

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   95   Training Manual on Radiation Protection
เครื่องกำบังรังสีควรป้องกันไม่ให้คนทำงานได้รับรังสีเกิน 10 µµSv/h
(1 mrem/h) (คำนวณจากขีดจำกัดปริมาณรังสี 20 mSv ต่อปี 1 ปี ทำงาน
50 สัปดาห์ 1 สัปดาห์ทำงาน 5 วัน 1 วัน ทำงาน 8 ชั่วโมง รวม 1 ปี
ทำงาน 2,000 ชั่วโมง)

	         • รังสีแอลฟาและรังสีบีตา
	         รังสีแอลฟา เป็นอนุภาคขนาดใหญ่ จึงสามารถป้องกันรังสีชนิดนี้ได้
ง่ายเพียงแค่ใช้กระดาษ หรือแม้กระทั่งอากาศ (ยืนอยู่ห่างต้นกำเนิดรังสีไม่กี่
เซนติเมตร) ก็สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดนี้ได้ ดังนั้นรังสีชนิดนี้จึง
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเราเมื่อต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้อยู่ภายนอกร่างกาย แต่ถ้า
มีพลังงานอย่างน้อย 7.5 MeV รังสีชนิดนี้ก็สามารถผ่านชั้นผิวหนังของเราได้
	         รังสีบีตา เป็นอนุภาคขนาดเล็กว่าอนุภาคแอลฟา จึงสามารถเคลื่อนที่
ผ่านตัวกลางได้ไกลกว่า วัสดุที่ใช้กำบังรังสีชนิดนี้ควรทำจากแผ่นอะลูมิเนียม
พลาสติก หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีเลขเชิงอะตอม (Atomic number, Z) ต่ำ เพื่อ
ป้องกันการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุง (Bremsstrahlung) รังสีชนิดนี้ต้องมี
พลังงานอย่างน้อย 70 keV จึงจะสามารถผ่านชั้นผิวหนังของเราได้ รังสีบีตา
มีพิสัยการเคลื่อนที่ (Range) ในอากาศประมาณ 12 ฟุต/MeV ดังนั้น ค่า
Maximum range ของ P-32 ในอากาศ คือ 1.71 MeV x 12 ฟุต/MeV
เท่ากับ 20 ฟุต
	         เนื่องจากการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงจะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเลขเชิงอะตอม
(Z) ของเครื่องกำบังเพิ่มขึ้น ดังนั้นวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำ เช่น พลาสติก
แก้ว plexiglass จึงเหมาะสมสำหรับกำบังรังสีบีตาพลังงานสูง ส่วนตะกั่ว
ควรใช้เป็นเครื่องกำบังอันที่สองเพื่อป้องกันรังสีรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมา เช่น
กระปุกตะกั่วจะหุ้มชั้นในด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกเป็นตะกั่ว
	         สรุปได้ว่า การป้องกันการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงต้องใช้วัสดุที่มีเลข

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   96   Training Manual on Radiation Protection
เชิงอะตอมต่ำ แต่หากต้องการกำบังรังสีเบรมส์ชตราลุง ต้องใช้วัสดุที่มีเลขเชิง
อะตอมสูง
	        • รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา
	        รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง ไม่มี
มวลและประจุ จึงมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงกว่าอนุภาคแอลฟาและบีตา
ดังนั้นควรเลือกใช้วัสดุกำบังที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว คอนกรีตหนา ๆ
หรือเหล็ก เป็นต้น





                      
http://www.nmdp.org/RITN/REFERENCE/DOCS/RITN_Basic_Radiation1.pdf
   ที่มา http://www.nmbd.org/RITN/REFERENCE/DOCS?RITN_Basic_Radiation1.pdf
               รูป11่ 11 แสดงการเคลื่อนที่ของรังสีผ่านตัวกลางชนิดต่าง ๆ 
                   ที

	      • Half Value Layer (HVL)
	      Half Value Layer คือความหนาของเครื่องกำบัง ที่ใช้ในการลด
                                                                     92
ความเข้มของรังสีเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่มีเครื่องกำบัง 
สามารถคำนวณได้จากสูตร
		             I/Io	 = 1/2 = e-µµx
		             eµµx 	 = 2
		             ln eµµx 	= ln 2
		             µµx 	 = ln 2
		             x 	 = ln 2/µµ                     HVL = ln2 = 0.693
                                                                         µ               µ

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   97   Training Manual on Radiation Protection
เมื่อ	         x	 = 	 HVL 
  	    ดังนั้น	       HVL	= 	 0.693/µµ หรือ µ µ = ln 2/HVL
	      เมื่อกำหนดให้	x	 = 	 n เท่าของ HVL = n HVL
	      จากสูตร	 I	          =	 Ioe-µµx
		                  Io/I 	 = 	 eµµx
		                  Io/I 	 = 	 e(ln2/HVL)(nHVL)
		                  Io/I 	 = 	 en ln2
		                  Io/I 	 = 	 2n

	      • Tenth Value Layer (TVL) 
	      Tenth Value Layer คือความหนาของเครื่องกำบัง ที่ใช้ในการลด
ความเข้มของรังสีลงสิบเท่าเมื่อเทียบกับไม่มีเครื่องกำบัง 
	      สามารถคำนวณได้จากสูตร
		                  I/Io 	 =	 1/10 = 0.1 = e-µµx
		                  eµµx 	 = 	 10
		                 ln eµµx	 = 	 ln 10
		                 µµx 	 = 	 ln 10
		                 x 	 = 	 ln 10/µµ
    	 เมื่อ 	 x 	 = 	 TVL 
	      ดังนั้น	 TVL = 2.30/µµ หรือ µ µ = ln 10/TVL
	      เมื่อกำหนดให้ x = n เท่าของ TVL = n TVL
	      จากสูตร	 I 	 = 	 Ioe-µµx
		                  Io/I 	 = 	 eµµx
		                  Io/I 	 = 	 e(ln10/TVL)(nTVL)
            	       Io/I 	 = 	 en ln10

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   98   Training Manual on Radiation Protection
Io/I 	 = 	 10n
	         เมื่อ 	   I 	 = ปริมาณรังสีหลังผ่านเครื่องกำบังรังสี
           	        Io 	 = ปริมาณรังสีก่อนผ่านเครื่องกำบังรังสี
         µ 	        µ	     =	 สัมประสิทธิ์การดูดกลืนเชิงเส้น 
                  	      		 (Linear attenuation coefficient)
        		          x 	 =	 ความหนาของเครื่องกำบัง
		                  n	 =	 จำนวนเท่าของ HVL หรือ TVL
ตารางที่ 15 แสดง HVL และ TVL ของนิวไคลด์ชนิดต่าง ๆ (หน่วย: มิลลิเมตร)

                        ตะกั่ว          เหล็ก             คอนกรีต
     นิวไคลด์
                    TVL HVL TVL HVL TVL HVL
       Co-60                  41            12         74          22         229         68
      Cs-137                  21           6.3         57          17         180         53
       Ir-192                 16           4.8         -            -         157         48
            ที่มา การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546.

ตัวอย่าง 5 ในการทำงานกับต้นกำเนิดรังสี Co-60 จงคำนวณหาความหนา
ของตะกั่ว เหล็ก คอนกรีตที่ต้องใช้ในการลดปริมาณรังสี จาก 200 mR/h ให้
เหลือ 2 mR/h 
	       คำนวณโดยวิธี Half Value Layer
	       จากสูตร	 Io/I	         =	 2n
	       เมื่อ 	    Io 	 = 200 mR/h	 I = 2 mR/h
	       แทนค่า	 200/2	 =	 2n
		                 102	        =	 2n

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   99       Training Manual on Radiation Protection
2 log 10	 =	 n log 2
	         		               n	 	=	 2/log 2
             		            n	 	=	 6.644
	       สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของตะกั่วมีค่าเท่ากับ 12 มิลลิเมตร คิดเป็น
ความหนาของตะกั่วเท่ากับ 6.644 x 12 = 79.73 มิลลิเมตร
	       สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของเหล็กมีค่าเท่ากับ 22 มิลลิเมตร คิดเป็น
ความหนาของเหล็กเท่ากับ 6.644 x 22 = 146.17 มิลลิเมตร
	       สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 68 มิลลิเมตร คิด
เป็นความหนาของคอนกรีตเท่ากับ 6.644 x 68 = 451.79 มิลลิเมตร

คำนวณโดยวิธี Tenth Value Layer 
	       จากสูตร	        Io/I	 =	 10n
	       เมื่อ	            Io	 =	 200 mR/h 	 I = 2 mR/h
	       แทนค่า	      200/2	 =	 10n
		                      102	 =	 10n
		                2 log 10	 =	 n log 10
		                         n	 =	 2
	       สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของตะกั่วมีค่าเท่ากับ 41 มิลลิเมตร คิดเป็น
ความหนาของตะกั่วเท่ากับ 2 x 41 = 82 มิลลิเมตร
	       สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของเหล็กมีค่าเท่ากับ 74 มิลลิเมตร คิดเป็น
ความหนาของเหล็กเท่ากับ 2 x 74 = 148 มิลลิเมตร
	       สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 229 มิลลิเมตร
คิดเป็นความหนาของคอนกรีตเท่ากับ 2 x 229 = 458 มิลลิเมตร



คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   100   Training Manual on Radiation Protection
ตัวอย่าง 6 ต้นกำเนิดรังสี Co-60 มีค่าความแรงรังสี 20 Sv/h จงคำนวณ
หาความหนาของตะกั่วเพื่อลดความแรงเหลือ 2 mSv/h
กำหนดให้	
ค่า TVL ของ Co-60 เมื่อใช้ตะกั่วเป็นเครื่องกำบังมีค่า = 41 มิลลิเมตร
ค่า HVL ของ Co-60 เมื่อใช้ตะกั่วเป็นเครื่องกำบังมีค่า = 12 มิลลิเมตร

คำนวณโดยวิธี Tenth Value Layer 
	       จากสูตร	        Io/I	 =	 10n
	       เมื่อ	            Io	 = 	 20 Sv/h     I = 2 mSv/h
	       แทนค่า	 20000/2	 =	 10n
		                      104	 =	 10n
		                         n	 = 	4
	       ดังนั้นต้องใช้ตะกั่วหนา 4 เท่าของ TVL = 4 x 41 = 164 มิลลิเมตร
หรือ 16.4 เซนติเมตร

คำนวณโดยวิธี Half Value Layer
	       จากสูตร	        Io/I	 =	 2n
	       เมื่อ	            Io	 = 20 Sv/h	 I = 2 mSv/h
	       แทนค่า	 20000/2	 =	 2n
		                      104	 = 	2n
		                4 log 10	 =	 n log 2
  		                       n	 =	 4 log 10/log 2
		                         n	 =	 13.29
	       ดังนั้นต้องใช้ตะกั่วหนา 13.29 เท่าของ HVL = 13.29 x 12 =
159.48 มิลลิเมตร = 15.95 เซนติเมตร

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   101   Training Manual on Radiation Protection
(Electronic dosimeters)
        	        1.4 การตรวจวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล (Personnel
        monitoring)
        	        • เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลแบบอ่ า นค่ า ได้ ทั น ที
        (Electronic dosimeters)
 Quartz fibre electroscope, Superheated drop
          Electronic dosimeters,
(bubble)	detectors ่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลแบบอ่านค่าได้ทันทีนี้จะมีขนาด
                 เครื                               Electronic dosimeters
        เล็ก สามารถพกติดตัวในขณะปฏิบัติงานได้ เครื่องวัดรังสีชนิดนี้มีหลายชนิด
                  Electronic dosimeters
        เช่น Electronic dosimeters, Quartz fibre electroscope, Superheated
              G-M
        drop (bubble) detectors 
        	        Electronic dosimeters เป็นเครื่องวัดรังสีที่มีขนาดเล็ก หัววัดรังสี
        อาจเป็นแบบ G-M หรือ เซมิคอนดัคเตอร์ ปัจจุบันมีเครื่องที่สามารถอ่านค่า
        ได้ทันทีเป็นตัวเลขโดยปรับค่าให้เป็นศูนย์ก่อนการใช้งาน
        
        
        
        
        
                                                                               
            http://www.fnrf.science.cmu.ac.th/theor          http://www.esmonline.de/sm/product/group
            y/radiation/                                     1/images/FH39_cpl_l.jpg
          			                                             
           รูปที่ 12  แสดงเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลแบบอ่านค่าได้ทันที                             
         
  12
         	 ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบอ่านค่าได้ทันที
         	 1. สามารถอ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับทันที 
         	 2. ราคาไม่แพงมากและมีความทนทานพอสมควร
           1.
         	 3. สามารถหมุนเวียนกันใช้ได้
                     2.
                      3.
          คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   102   Training Manual on Radiation Protection
4. บางเครื่องสามารถวัดอัตราปริมาณรังสี ปริมาณรังสีสะสมได้
	         5. สามารถใช้สำรวจรังสีในบางพื้นที่ที่ยังไม่ทราบระดับรังสี
	         6. บางรุ่นมีระบบเสียงเตือนเมื่อระดับรังสีเกินค่าที่กำหนด

	         ข้อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบอ่านค่าได้ทันที
	         1.	 เครื่ อ งวั ด รั ง สี ช นิ ด Quartz fibre electroscope และ
              Superheated drop (bubble) detectors มีความบอบบางมาก
              และเสียง่ายต้องระมัดระวังในการใช้ 
	         2. 	ความชื้ น ในอากาศมี ผ ลต่ อ การอ่ า นค่ า ของเครื่ อ งวั ด รั ง สี ช นิ ด
              Quartz fibre electroscope เนืองจากความชืนทำให้มการสูญเสีย
                                                   ่            ้       ี
              ประจุ ค่าที่อ่านจึงผิดพลาดได้
	         3. 	เครื่ อ งบางชนิ ด การอ่ า นค่ า ต้ อ งใช้ ค วามชำนาญเนื่ อ งจากไม่ ได้
              แสดงออกมาเป็นตัวเลข เช่น Quartz fibre electroscope ต้อง
              อ่านค่าจากสเกลการวัด ส่วน Superheated drop (bubble)
              detectors นับจำนวนฟองอากาศที่เกิดขึ้น เป็นต้น

	         ข้อควรระวัง
	         1. 	ก่อนการใช้ต้องแน่ใจได้ว่าเครื่องสามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง
              (ต้องมีการปรับเทียบไม่เกิน 12 เดือน) 
	         2. 	ต้องสวมใส่ทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานกับวัสดุกัมมันตรังสีหรือต้น
              กำเนิดรังสี โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติงานกับต้นกำเนิดรังสีแกมมา
              หรือบีตาพลังงานสูง
	         3. 	หลังการใช้งาน ควรอ่านค่าและบันทึกค่าที่อ่านได้ไว้ในบันทึกการ
              ได้รับรังสีประจำบุคคลของตนเอง 
	         4. 	เมื่อไม่ใช้งานให้เก็บห่างจากต้นกำเนิดรังสี และห้ามใส่กรณีที่ต้อง
              เข้ารับบริการทางการแพทย์

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   103   Training Manual on Radiation Protection
5. ไม่เก็บใกล้ไฟหรือในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง หรือที่ชื้น

	        • เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม (Film badge)
	        เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์มหรือเรียกว่าฟิล์มแบดจ์ จะประกอบไป
ด้วยฟิล์มและตลับฟิล์ม ภายในตลับฟิล์มส่วนใหญ่จะมีแผ่นฟิล์ม 2 แผ่น แผ่น
หนึ่งสำหรับตรวจจับรังสีเอกซ์และแกมมาที่มีพลังงานระหว่าง 15 keV-

3 MeV และแผ่นฟิล์มอีกแผ่นใช้สำหรับตรวจจับรังสีบีตาที่มีพลังงานระหว่าง
200 keV-1 MeV ต้นกำเนิดรังสีที่ให้พลังงานต่ำหรือสูงกว่าที่กล่าวไว้จะไม่
สามารถตรวจจับได้ ดังนั้นต้นกำเนิดรังสีที่ให้พลังงานต่ำ เช่น H-3, C-14,

S-35 จะไม่สามารถใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดนี้ได้ เมื่อแผ่นฟิล์มได้รับ
พลั ง งานจากรั ง สี แ ล้ ว จะเปลี่ ย นเป็ น สี ด ำ ความดำที่ เข้ ม ขึ้ น แสดงว่ า ได้ รั บ
ปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้น
	        ตลับฟิล์มจะมีตัวกรองเพื่อใช้แยกชนิดและพลังงานของรังสีที่จะผ่าน
เข้าไปยังแผ่นฟิล์ม หลังจากทำการล้างฟิล์มแล้วจะทำการเปรียบเทียบกับฟิล์ม
มาตรฐานที่ ผ่ า นการฉายรั ง สี ในปริ ม าณที่ ก ำหนด ทำให้ ส ามารถทราบค่ า
ปริมาณรังสีที่แผ่นฟิล์มได้รับ ซึ่งให้หมายความถึงปริมาณรังสีที่ผู้ใช้ฟิล์มนั้นได้
รับรังสีในปริมาณนั้นด้วย

	        ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม
	        1.	 สามารถแยกชนิดและพลังงานของรังสีทจะผ่านเข้าไปยังแผ่นฟิลมได้
                                                       ี่                          ์
	        2.	 สามารถเก็ บ เป็ น ประวั ติ ไ ด้ ค งทนและสามารถนำมาประเมิ น
             ปริมาณได้ในภายหลังหากเกิดข้อสงสัย
	        3. 	ค่าใช้จายทังตัวฟิลม ตลับฟิลม กระบวนการล้างและอ่านค่าไม่แพง
                    ่ ้         ์              ์
	        4. 	สามารถใช้กับรังสีได้หลายชนิดและหลายค่าพลังงาน



 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   104   Training Manual on Radiation Protection
2.

	         3.อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม
          ข้
	         1. 	ไม่สามารถอ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับในทันที
	         4. 	สถานที่ในการล้างฟิล์มต้องใช้ห้องมืดและสารเคมีในการล้างฟิล์ม
          2.
	         3. 	ความร้อน แสงสว่าง ทำให้ฟิล์มเกิดความดำได้เช่นกัน
	         4. 	ต้องสะสมปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นเวลานาน ก่อนที่จะนำไปล้าง
          5. เพื่ออ่านค่า
	         5. 	แผ่นฟิล์มเมื่อล้างแล้วไม่สามารถใช้ซ้ำได้





                                                                                             
                            รูปที่ 13 แสดงเครื่องวัดรังสีแบบฟิล์ม 

                                13
	        • เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ 
   	       (Thermoluminescent Dosimeter, TLD)
	        เครืองวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมเนสเซนต์ ใช้TLD)ทียมฟลูออไรด์
             ่ (Thermoluminescent Dosimeter, ผลึกลิเ
                                           ิ
(LiF) หรือ แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF 2) ซึ่งจะดูดกลืนพลังงานแล้วทำให้
อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นไปอยู่ในชั้นพลังงานที่สูงขึ้น เมื่อได้รับความร้อนจะเกิด
การคายพลังงานออกมาในรูปแสง (ปริมาณแสงที่คายออกมาเป็นสัดส่วนกับ
   (LiF)                                  (CaF2)
ปริมาณรังสีที่ดูดกลืนไว้) ซึ่งแสงสามารถเปลี่ยนเป็นเป็นสัญญาณไฟฟ้าและ
อ่านค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ ผลึกนี้จะบรรจุอยู่ในตลับซึ่งจะมีตัวกรองเพื่อแยก
ความแตกต่างของชนิดและพลังงานของรังสี
  
                                                                                                   10


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   105   Training Manual on Radiation Protection
เนื่ อ งจากลิ เทียมเป็นสารประกอบที่มีลัก ษณะใกล้ เคี ย งกั บ เนื้ อ เยื่ อ
มนุษย์ จึงเหมาะสำหรับการวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล ส่วนสารประกอบ
ที่มีแคลเซียมเหมาะกับการวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม

	        ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์
	        1. 	มีความแม่นยำและความไวสูง
	        2. 	สามารถใช้วัดปริมาณรังสีสะสมได้เป็นระยะเวลานาน
	        3. 	นำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
	        4. 	มีขนาดเล็กสามารถทำเป็นแหวนสวมใส่ที่นิ้วมือ ที่คาดศีรษะ หรือ
               ทำเป็นสร้อยข้อมือ

	        ข้อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์
	        1. 	มีราคาแพง
	        2. 	เมือผ่านกระบวนการอ่านค่าแล้วไม่สามารถเก็บเป็นหลักฐานอย่างถาวร
                 ่
	        3. 	ข้อมูลปริมาณรังสีทได้รบอาจลดลงได้ถาเก็บเครืองวัดไว้ใกล้ความร้อน
                                 ี่ ั                 ้    ่






                       รูปที่ 14 แสดงเครื่องวัดรังสีแบบ TLD
                        14                
               TLD
                                            

                       (Proper use of personnel dosimeter)
คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   106   Training Manual on Radiation Protection
             1.
• การใช้ เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลอย่ า งเหมาะสม
(Proper use of personnel dosimeter)
	       1. 	เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล ควรใช้ เ ฉพาะกั บ ผู้ ที่
             เกี่ยวข้องเท่านั้น และทำการเก็บเป็นประวัติการได้รับปริมาณรังสี
             ของบุคคลนั้น ๆ 
	       2. 	การใส่ เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล ควรใส่ บ ริ เวณ
             ระหว่างคอและบั้นเอว หรือบริเวณที่ได้รับปริมาณรังสีสูง และ
             ระมัดระวังไม่ให้กระแทกกับวัตถุอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสียหาย
	       3. 	ควรเก็บเครืองวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลในบริเวณทีเหมาะสม
                            ่                                                    ่
             เช่น ไม่เก็บในบริเวณที่มีอุณหภูมิ/ความชื้นสูง ไม่เก็บใกล้บริเวณที่
             มีสารรังสี เป็นต้น
	       4. 	หั น ด้ า นที่ รั บ ปริ ม าณรั ง สี อ อกนอกตั ว ผู้ ส วมใส่ ใ ห้ ถู ก ต้ อ งตาม

             คำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
	       5. 	ห้ามใส่เครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลเมื่อจำเป็นต้องเข้ารับ
             บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับรังสีหรือสารรังสี 
	       6. 	ห้ามนำเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลไปใช้ในการทดลอง

             ใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า ผู้ควบคุม หรือเจ้าหน้าที่
             ความปลอดภัยทางรังสี

	       1.5 การติดป้ายเตือนของวัสดุกัมมันตรังสี (Posting and labeling
of radioactive materials)
	       • ป้ายเตือนทางรังสี (Cautionary signs)
	       ป้ า ยเตื อ นทางรั ง สี เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ใช้ เตื อ นว่ า บริ เวณนั้ น มี วั ส ดุ
กัมมันตรังสีหรือมีสารรังสีอยู่ เช่น


 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   107   Training Manual on Radiation Protection
Caution - Radioactive Materials ซึ่งอาจติดป้ายเตือนนี้ไว้บน
กล่องหรือภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี หรือบริเวณที่มีการใช้หรือเก็บวัสดุ
กัมมันตรังสี นอกจากนี้ควรมีข้อความเพื่อให้ทราบรายละเอียดอื่น ๆ ด้วย
เช่น ชนิดของวัสดุกัมมันตรังสี ค่ากัมมันตภาพรังสี วันที่ ผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
	        Caution – Radiation Area ควรติดป้ายนี้ในบริเวณที่ปริมาณรังสีที่
ได้รับอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสีเกิน 5 mrem/h ที่ระยะ
ห่าง 30 เซนติเมตร จากต้นกำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้า
บริเวณทางเข้า
	        Caution – High Radiation Area หรื อ Danger – High
Radiation Area ควรติ ด ป้ า ยนี้ ในบริ เวณที่ ป ริ ม าณรั ง สี ที่ ไ ด้ รั บ อาจเป็ น
อันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสีเกิน 100 mrem/h ที่ระยะห่าง 30
เซนติเมตร จากต้นกำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้าบริเวณทางเข้า
	        Grave Danger– Very High Radiation Area ควรติดป้ายนี้ใน
บริเวณที่ปริมาณรังสีที่ได้รับอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสี
ดูดกลืน (Absorbed dose) เกิน 500 rads/h ที่ระยะห่าง 1 เมตร จากต้น
กำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้าบริเวณทางเข้า

	        ป้ายเตือนทางรังสี ควรมีข้อมูล ต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้
	        1. ชนิดของต้นกำเนิดรังสี
	        2. exposure rate ในหน่วย mR/h หรือ rem/h 
	        3. ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ติดป้ายเตือน
	        4. วันที่ติดป้ายเตือน




คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   108   Training Manual on Radiation Protection
4.






            http://www.case.edu/finadmin/does/
                                                        http://www.atiquality.com/product
                                                        s/roentgen/images/Caution_High_     http://www.flickr.com/photos/wandrson/321

            web/Images/Radlabel.jpg                    Rad_t_000.jpg                       5902483/






          http://www.iaea.org/Publications/Booklets/
           Ssp/chapter_images/nuclear_safety/radioact   http://www.datapoohbah.com/tech/    http://www.campus.manchester.ac.uk/health

          ive/radiation-sign.gif                       2007/02/                            andsafety/Images/controlled%20area.jpg

                               รูปที่ 15 ตั15อย่างป้ายเตือนทางรังสีแบบต่าง ๆ
                                           ว           
	        • ป้ า ยเตื อ นในการขนส่ ง วั ส ดุ กั ม มั นตรั ง สี (Transportation
warning labels)
	        หีบห่อที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสี ต้องติดป้ายเตือนทางรังสีอย่างน้อย 2
ด้านที่ภาชนะหรือกล่องที่บรรจุ ซึ่งมีข้อกำหนดดังตารางที่ 16

ตารางที่ 16 แสดงการแบ่งลำดับชั้นสำหรับการติดฉลากหีบห่อเพื่อการขนส่ง
                                                                   105

                                     Transport                   Maximum radiation level at any point
      Category
                        Index
                             on external surface
    White I
                             0
                     Not more than 0.005 mSv/h 
    Yellow II
                           1
                     More than 0.005 mSv/h but not more
                                                                than 0.5 mSv/h
    Yellow III
                              10
                More than 0.5 mSv/h but not more than
                                                                2 mSv/h
    Yellow III
                      More than                  More than 2 mSv/h but not more than
                                        10
                     10 mSv/h
              ที่มา การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546.

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
                      109             Training Manual on Radiation Protection
White I :
                               
     Yellow II :
                                     Y                             Yello III:
                                                                       ow


                                                  
      หมายเลข 77 เป็นหมายเลขแสดงวัสดุกัมมันตรังสีของสหประชาชาติ
                 http:///www.uw  wm.edu/Deppt/EHSRMM/RAD/DO OTBK.pdf
                  ที่มา http://www.uwm.edu/Dept/EHSRM/RAD/DOTBK.pdf                             
            รูปที่ 16 แสดงป้ายรังสีที่ติดหีบห่อเพื่อการขนส่งสารกัมมันตรังสี
               16

หมายเหตุ หีบห่อบางชนิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลาก
	       รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี สามารถ
                                                     2
อ่านได้เพิ่มเติมจากหนังสือการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงาน
ปรมาณูเ2 ่อสันติ 2546
         พื
        2546

     2.
2. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย 
   (Internal radiationrnal radia prote
                  (Inter protection)
 ection)
                               ation
	       เมื่อวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย วัสดุกัมมันตรังสีนั้นจะทำหน้าที่
เป็นต้นกำเนิดรังสี และสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ
ได้ตามคุ ณ สมบั ติ ท างชีวเคมี ซึ่งจะถูกกำจัดโดยขบวนการต่ า ง ๆ ภายใน
ร่างกาย			


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
    110   Training Manual on Radiation Protection
                                                                                          107
                                                                                            7
2.1 วิถีทางเข้าสู่ร่างกาย (Method of entry)
	        วัสดุกัมมันตรังสีสามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 4 ทาง ดังนี้
	        • ทางการหายใจ (Inhalation) โดยการหายใจเอาฝุ่น ผง อนุภาค ที่มี
วัสดุกัมมันตรังสี
	        • ทางการกิน (Ingestion) โดยการกิน ดื่ม วัสดุกัมมันตรังสีที่ปนใน
อาหาร น้ำ 
	        • ทางผิวหนัง (Skin absorption) โดยทางผิวหนัง หรือทางบาดแผล	
	        • ทางการฉีด (Injection) โดยการฉีดวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย

	        2.2 คำแนะนำ (Guidelines)
	        หลั ก พื้ นฐานสำคั ญ 3 ประการ ที่ ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง เพื่ อ ลดการได้ รั บ
ปริมาณรังสีเข้าสู่ร่างกาย คือ
	        • ใช้วัสดุกัมมันตรังสีจำนวนน้อยที่สุด ที่เพียงพอต่อความต้องการใน
การใช้งาน
	        • เลือกใช้วัสดุที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีให้เหมาะสม เช่น บรรจุวัสดุ
กัมมันตรังสีที่เป็นของเหลวในขวดแก้วเล็ก ๆ มีจุกยางปิด บรรจุในกระปุก
ตะกั่ว และการเคลื่อนย้ายต้องมีถาดหรือภาชนะที่ปูทับด้วยวัสดุดูดซับ
	        • ทำตามระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่ชุดคลุมป้องกันการ
เปรอะเปื้อนในขณะทำงาน ตรวจวัดบริเวณปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การ
รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของบริเวณทำงาน เป็นต้น (อ่านบท
ที่ 5 ประกอบ)

	        2.3 การได้รับรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal
radiation exposures)
	        เมื่อวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย เนื้อเยื่อภายในร่างกายก็จะได้รับ
รังสีตลอดเวลาจนกว่าวัสดุกัมมันตรังสีนั้นจะสลายไป หรือจนกระทั่งวัสดุ

คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   111   Training Manual on Radiation Protection
กัมมันตรังสีนั้นถูกกำจัดออกจากร่างกาย ระดับความรุนแรงของอันตรายที่จะ
เกิดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของวัสดุกัมมันตรังสี รูปแบบทาง
เคมี และปริมาณที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
		                  2.3.1 ต้นกำเนิดรังสีที่สามารถเข้าสู่ร่างกาย
		                  • ต้นกำเนิดรังสีแอลฟาและบีตา
		                  อนุภาคแอลฟาทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อโดยการทำให้เนื้อเยื่อ
เกิดไอออนไนเซชั่น เนื่องจากพิสัยการเคลื่อนที่สั้นทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่
ออกจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ต้นกำเนิดรังสีไปอยู่ได้ จึงทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
ได้สูง
		                  อนุภาคบีตาเมื่ออยู่ภายในร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อ
เนื้อเยื่อน้อยกว่าอนุภาคแอลฟา
		                  • ต้นกำเนิดรังสีแกมมา
		                  ต้นกำเนิดรังสีแอลฟาและบีตาส่วนมากจะให้รังสีแกมมาด้วย
รังสีแกมมามีอำนาจทะลุทะลวงสูง จึงสามารถทะลุผ่านเนื้อเยื่อและร่างกาย
ของเราได้ 
		                  สารหลายชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกสะสมในอวัยวะ
เป้าหมาย (Target organs) เช่น ไอโอดีน จะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์ เมื่อ
ร่ า งกายได้ รั บ ไอโอดี นจากการหายใจหรื อ กิ น เข้ า สู่ ร่ า งกาย ร่ า งกายเราไม่
สามารถแยกได้ว่าเป็นไอโอดีนที่อยู่ในรูปเสถียร (Stable iodine) หรืออยู่ใน
รูปรังสี (Radioactive iodine)
		                  ธาตุอื่น ๆ เช่น แคลเซียม สทรอนเชียม เรเดียม พลูโทเนียม
จะไปสะสมที่กระดูก อวัยวะในระบบเลือด เช่น ไขกระดูก จะมีความไวต่อ
รังสีมากเป็นพิเศษ ถ้าได้รับรังสีต่อเนื่องเป็นเวลานาน (>20 ปี) อาจก่อให้เกิด
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หรือเนื้อร้ายชนิด Osteosarcoma 


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   112   Training Manual on Radiation Protection
2.3.2 การควบคุมขีดจำกัดการได้รับปริมาณรังสีจากภายใน
ร่างกาย 
	         ได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีที่ได้รับต่อปีสำหรับนิวไคลด์รังสีแต่ละ
ชนิด Annual limit on intake (ALI) คือ ขีดจำกัดการได้รับปริมาณวัสดุ
กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายทางการกินหรือหายใจของผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติงานทางรังสี
ในหนึ่งปี Derived air concentration (DAC) คือ ความเข้มข้นของสารรังสี
ในอากาศที่ยอมให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับในการปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/
สัปดาห์ 50 สัปดาห์/ปี ตัวอย่างค่า ALI และ DAC ของนิวไคลด์รังสีบางชนิด
แสดงดังตารางที่ 17
	         การได้ รั บ ปริ ม าณวั ส ดุ กั ม มั นตรั ง สี เข้ า สู่ ร่ า งกายถู ก ควบคุ ม โดยค่ า
Annual Limit on Intake (ALI) ซึ่งแสดงค่าในหน่วยไมโครคูรี (µµCi) ค่า

ALI นี้ เป็นขีดจำกัดแรกในการควบคุมการได้รับสารรังสีเข้าสู่ร่างกาย (และไม่
ได้รับรังสีจากต้นกำเนิดรังสีที่อยู่ภายนอกร่างกาย) ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีควรได้
รับไม่เกิน 1 ALI ในหนึ่งปี ค่า 1 ALI มีค่าเท่ากับ 2 rems ความเข้มข้นของ
วัสดุกัมมันตรังสีในอากาศถูกจำกัดโดยค่า Derived Air Concentration
(DAC) มี ค วามเกี่ ย วพั นธ์ กั บ ค่ า ALI โดยสมมุ ติ ว่ า ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านทางรั ง สี

หายใจเข้า 1.2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 2000 ชั่วโมงต่อปี
(ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 50 สัปดาห์ต่อปี = 8 x 5 x 50 =
2000 ชั่วโมง) ดังนั้น
	         DAC (µµCi/ml) = ALI (µµCi)
	                                    2.4 x 109 ml
	         ถ้าผู้ปฏิบัติงานหายใจเอาวัสดุกัมมันตรังสีที่ความเข้มข้น 1 DAC ใน
หนึ่งชั่วโมง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะได้รับรังสี 1 DAC-hr ดังนั้น 
	                        1 ALI = 2000 DAC - hr = 2 rems


 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   113   Training Manual on Radiation Protection
ตารางที่ 17 แสดง Annual limit on intake (ALI) และ Derived air
concentration (DAC) ของไอโซโทปบางชนิด*

       Isotope          ALI (microcuries)            DAC
                   Ingestion       Inhalation     (µµCi/ml)
  Americium-241        0.8            0.006       3 x 10-12
  Carbon-14           2,000           2,000        1 x 10-6
  Cesium-137           100             200         6 x 10-8
  Chromium-51        40,000          20,000        8 x 10-6
  Cobalt-60            200              30         1 x 10-8
  Iodine-123          3,000           6,000        3 x 10-6
  Iodine-125            40              60         3 x 10-8
  Iodine-131            30              50         2 x 10-8
  Iridium-192          900             200         9 x 10-8
  Phosphorus-32        600             900         4 x 10-7
  Plutonium-239        0.8            0.006       3 x 10-12
  Radium-226             2             0.6        3 x 10-10
  Strontium-90          30               4         2 x 10-9
  Technetium-99m     80,000          200,000       6 x 10-5
  Thallium-201       20,000          20,000        9 x 10-6
  Thorium-232          0.7            0.001       5 x 10-13
  Tritium (H-3)      80,000          80,000        2 x 10-5
* ALI and DAC values listed assume the most conservative class. If the chemical form is
known, a more appropriate class may be used.
                      ที่มา http://www.fas.org/irp/doddir/milmed/rhpm.pdf
                                                   


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   114   Training Manual on Radiation Protection
โดย 2 rems ให้รวมถึงปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งจากภายในร่างกายและ
ภายนอกร่างกาย เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีจากภายนอกร่างกาย 1 rems
ดังนั้นจะอนุญาตให้รับรังสีจากภายในร่างกายได้ไม่เกิน 1 rems คิดเป็น
	                (1/2) X 2000 DAC - hr = 1000 DAC - hr
	         รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก การป้องกันอันตรายจากรังสี
ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546	

	         2.4 หน่วยวัดปริมาณรังสี (Units of radiation dose)
	         เกรย์ (Gray, Gy) เป็นหน่วยในระบบ SI ของปริมาณรังสีดูดกลืน
(Absorbed dose) โดย 1 เกรย์ คือ ปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีค่าเท่ากับ 1
joule/kilogram
    		                      1 Gy	 =	 1 joule/kilogram
    		                      1 Gy 	 =	 100 rads
	         แร็ด (Rad) เป็นหน่วยเก่าที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 แร็ด
คือ ปริมาณรังสีดูดกลืนมีค่าเท่ากับ 100 ergs/gram หรือ 0.01 joule/
kilogram (0.01 Gy) ปัจจุบันใช้หน่วยเกรย์แทน โดย 1 เกรย์ เท่ากับ 100
แร็ด
     		                     1 rad 	= 	 0.01 joule/kilogram
     		                     1 rad 	= 	 0.01 Gy
	         เร็ม (Rem) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล (Dose equivalent)
ซึ่งปริมาณรังสีสมมูลในหน่วยเร็ม มีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูด
กลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ดกับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของ
รังสี (Relative biological effect, RBE) หรือเป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสี
ดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ดกับค่า Quality factor (QF)


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   115   Training Manual on Radiation Protection
Dose equivalent (Rem) = Absorbed dose (Rad) x RBE
   	 Dose equivalent (Rem) = Absorbed dose (Rad) x QF
	        สำหรับรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมา ค่าปรับเทียบ RBE หรือ QF มีค่า
ใกล้ 1 (ในทางปฏิบัติให้เท่ากับ 1) นั่นหมายถึงว่า เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใด
ก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์
หรือรังสีแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เร็ม
	                         1 rad	 =	 1 rem 
	                         1 rem 	 0.01 Sv
                                  =
	                         1 rem 	 10 mSv
                                  =
	        ซีเวิร์ต (Sievert, Sv) เป็นหน่วยในระบบ SI เป็นหน่วยวัดปริมาณ
รังสีสมมูล ซึ่งปริมาณรังสีสมมูลในหน่วยซีเวิร์ต เป็นผลคูณระหว่างปริมาณ
รังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและ
พลังงานของรังสี (Relative biological effect, RBE) หรือเป็นผลคูณ
ระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์กับค่า Quality factor (QF)
	        Dose equivalent (Sv)	 = Absorbed dose (Gy) x RBE
    	 Dose equivalent (Sv) = Absorbed dose (Gy) x QF
			                        1 Sv 	 = 100 rems 

	        2.5 หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี (Units of radioactivity)
	        หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสีมีหน่วยเป็น คูรี (Curie, Ci) ปัจจุบันนิยมใช้
เป็นหน่วยเบ็กเคอเรล (Becquerel, Bq) โดย
	                         1 Ci	 =	 3.7 x 1010 disintegration per second (dps)
	                         1 Ci	 =	 3.7 x 1010 Bq
	                        1 dps	 = 1 Bq


คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   116   Training Manual on Radiation Protection
2.6 การวัดปริมาณสารรังสีภายในร่างกาย (Internal exposure
monitoring)
	          การวัดปริมาณสารรังสีที่มีอยู่ภายในร่างกายสามารถวัดปริมาณรังสีที่
แผ่ออกมาจากร่างกายโดยตรง หรือวิเคราะห์หาปริมาณสารรังสีในอากาศของ
ห้องปฏิบัติการแล้วนำไปแปรผลเป็นปริมาณสารรังสีภายในร่างกายจากการ
หายใจ หรือตรวจหาปริมาณรังสีที่ถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ
อุจจาระ ซึ่งสองวิธีหลังเป็นการวัดทางอ้อม ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่า Bioassay

	          • การวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายโดยตรง
	          การวัดแบบนี้เหมาะสำหรับการวัดเมื่อต้นกำเนิดรังสีแกมมา หรือบีตา
พลังงานสูง อยู่ภายในร่างกาย โดยพลังงานของรังสีดังกล่าวต้องมากพอที่จะ
วัดได้จากภายนอกร่างกาย ตัวอย่าง เช่น Cs-137, Ce-144, Au-198, C0-60,
Fe-59, U-235 และ Sr-85 เป็ น ต้ น การวั ด ด้ ว ยวิ ธี นี้ ต้ อ งมี หั ว วั ด ที่ มี
ประสิทธิภาพและความไวสูง และต้องอยู่ภายในเครื่องกำบังที่สามารถกัน
ปริมาณรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ดี ข้อดีของวิธีนี้คือทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสีย
เวลาเก็บตัวอย่าง และลดการปนเปื้อนในระหว่างเก็บตัวอย่าง

	          • การวัดความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ
	          การวัดแบบนี้ทำได้โดยเก็บตัวอย่างอากาศในสถานปฏิบัติการทางรังสี
โดยทำการดูดอากาศบริเวณที่คนทำงานแล้วนำมาวิเคราะห์เป็นปริมาณสาร
รังสีที่ร่างกายได้รับ ตามสูตร
	          ปริมาณสารรังสีที่ร่างกายได้รับ (Intake) = CIT
	          เมื่อ 	 C	     คือ ความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ (Bq/m3)
		                 I 	 คือ อัตราการหายใจ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.02 m3/min
		                 T 	 คือ เวลาที่ปฏิบัติงาน (min)



คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   117   Training Manual on Radiation Protection
• การวัดปริมาณรังสีจากสิ่งขับถ่าย
	          การวัดแบบนี้เหมาะสำหรับการวัดเมื่อต้นกำเนิดรังสีแกมมา หรือบีตา
มีพลังงานของรังสีไม่มากพอที่จะวัดได้จากภายในร่างกายโดยตรง ข้อดีของ
วิธีนี้คือสามารถวัดสารรังสีที่มีปริมาณน้อย ๆ ภายในร่างกายได้ แต่มีข้อที่ต้อง
คำนึงคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการเปรอะเปื้อนของสารตัวอย่างในระหว่าง
การเก็บและการวิเคราะห์ ควรเก็บตัวอย่างให้ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เพราะ
ตัวอย่างปริมาตรน้อย ๆ จะใช้เป็นตัวแทนในการวิเคราะห์ปริมาณสารรังสีใน
ปัสสาวะต่อวันไม่ได้ นิวไคลด์กัมมันตรังสีบางชนิดอาจต้องเก็บตัวอย่างติดต่อ
กันหลายวัน
	          การวัดด้วยเทคนิค Bioassay นี้ ใช้ประเมินกรณีที่มีเหตุบ่งชี้ว่าผู้
ปฏิบัติงานได้รับวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายมากกว่าขีดจำกัด หรือตรวจวัด
ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน หรือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ทางรังสี ท่านสามารถขอรับบริการตรวจวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายได้ที่
กลุ่มประเมินค่าปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย สำนักสนับสนุนการกำกับดูแล
ความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เลขที่ 16

ถ. วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 0-2596-7600



  






คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี
   118   Training Manual on Radiation Protection

More Related Content

What's hot

สมบัติของคลื่น
สมบัติของคลื่นสมบัติของคลื่น
สมบัติของคลื่น
benjamars nutprasat
 
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
pitsanu duangkartok
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
Chakkrawut Mueangkhon
 
งานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงงานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงNawamin Wongchai
 
แสงเชิงฟิสิกส์
แสงเชิงฟิสิกส์แสงเชิงฟิสิกส์
แสงเชิงฟิสิกส์
Chakkrawut Mueangkhon
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
Ta Lattapol
 
ความร้อน
ความร้อนความร้อน
ความร้อน
Chanthawan Suwanhitathorn
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก
บทที่ 1 โครงสร้างของโลกบทที่ 1 โครงสร้างของโลก
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก
Ta Lattapol
 
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
oraneehussem
 
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
Wichai Likitponrak
 
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวันบทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
Thepsatri Rajabhat University
 
ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส
Chanthawan Suwanhitathorn
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
benjamars nutprasat
 
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้าความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
เรียนฟิสิกส์กับครูเอ็ม Miphukham
 
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
kkrunuch
 
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุkruannchem
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศSupaluk Juntap
 
บทที่ 5 งานและพลังงาน
บทที่ 5 งานและพลังงานบทที่ 5 งานและพลังงาน
บทที่ 5 งานและพลังงาน
Thepsatri Rajabhat University
 
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียงเอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
Wijitta DevilTeacher
 
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
Supaluk Juntap
 

What's hot (20)

สมบัติของคลื่น
สมบัติของคลื่นสมบัติของคลื่น
สมบัติของคลื่น
 
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ (X ray) คุณสมบัติ และประโยชน์รังสีเอกซ์
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
 
งานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงงานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียง
 
แสงเชิงฟิสิกส์
แสงเชิงฟิสิกส์แสงเชิงฟิสิกส์
แสงเชิงฟิสิกส์
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
 
ความร้อน
ความร้อนความร้อน
ความร้อน
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก
บทที่ 1 โครงสร้างของโลกบทที่ 1 โครงสร้างของโลก
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก
 
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
 
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
บทที่2ปฏิกิริยาเคมีม 2
 
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวันบทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
 
ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้าความสัมพันธ์ระหว่าง  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และ ความต้านทานไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า
 
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
 
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
บทที่ 5 งานและพลังงาน
บทที่ 5 งานและพลังงานบทที่ 5 งานและพลังงาน
บทที่ 5 งานและพลังงาน
 
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียงเอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
เอกสารประกอบการสอนเรื่องเสียง
 
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
 

Similar to การวัดปริมารรังสี

Radiation Protection
Radiation ProtectionRadiation Protection
Radiation Protection
Pawitra Masa-ah
 
9789740330721
97897403307219789740330721
9789740330721
CUPress
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
Postharvest Technology Innovation Center
 
Applications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural productsApplications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural products
Postharvest Technology Innovation Center
 
012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai
Saranyu Pilai
 
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401Nuttavud Suebsai
 
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatmentGeneral principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
Thorsang Chayovan
 
Radiation Unit
Radiation UnitRadiation Unit
Radiation Unit
Pawitra Masa-ah
 
AnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of SpectroscopyAnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of Spectroscopy
Dr.Woravith Chansuvarn
 

Similar to การวัดปริมารรังสี (12)

Radiation Protection
Radiation ProtectionRadiation Protection
Radiation Protection
 
9789740330721
97897403307219789740330721
9789740330721
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
Postharvest Newsletter ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564
 
Applications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural productsApplications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural products
 
012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai
 
Rs
RsRs
Rs
 
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401
อินฟาเรด(วีรสิทธิ์+ณัฐวุฒิ)401
 
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatmentGeneral principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
General principle of radiotherapy and cervical cancer treatment
 
Radiation Unit
Radiation UnitRadiation Unit
Radiation Unit
 
AnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of SpectroscopyAnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of Spectroscopy
 
Problem1364
Problem1364Problem1364
Problem1364
 
Em wave
Em waveEm wave
Em wave
 

การวัดปริมารรังสี

  • 1. บทที่ 4 การป้องกันอันตรายจากรังสี Radiation Protection ในบทนี้จะเรียนเกี่ยวกับ 1. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย (External radiation protection) 1.1 เวลา (Time) 1.2 ระยะทาง (Distance) • กฎกำลังสองผกผัน (Inverse square law) 1.3 เครื่องกำบังรังสี (Shielding) รังสีแอลฟาและรังสีบีตา • รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา • Half Value Layer (HVL) • Tenth Value Layer (TVL) • 1.4 การตรวจวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล (Personnel monitoring) • เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลแบบอ่ า นค่ า ได้ ทั นที (Electronic dosimeters) • เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม (Film badge) • เ ค รื่ อ ง วั ด ป ริ ม า ณ รั ง สี แ บ บ เ ท อ ร์ โ ม ลู มิ เ น ส เ ซ น ต์ (Thermoluminescent Dosimeter, TLD) • การใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลอย่างเหมาะสม (Proper use of personnel dosimeter) คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 91 Training Manual on Radiation Protection
  • 2. 1.5 การติดป้ายเตือนของวัสดุกัมมันตรังสี (Posting and labeling of radioactive materials) • ป้ายเตือนทางรังสี (Cautionary signs) • ป้ายเตือนในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี (Transportation warning labels) 2. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal radiation protection) 2.1 วิถีทางเข้าสู่ร่างกาย (Method of entry) 2.2 คำแนะนำ (Guidelines) 2.3 การได้รับรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal radiation exposures) 2.4 หน่วยวัดปริมาณรังสี (Units of radiation dose) 2.5 หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี (Units of radioactivity) 2.6 การวัดปริมาณสารรังสีภายในร่างกาย (Internal exposure monitoring) • การวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายโดยตรง • การวัดความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ • การวัดปริมาณสารรังสีจากสิ่งขับถ่าย คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 92 Training Manual on Radiation Protection
  • 3. 1. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย (External radiation protection) หลักพื้นฐานที่สำคัญในการลดการได้รับปริมาณรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสี อยู่ ภ ายนอกร่ า งกาย นั่ น คื อ เวลา ระยะทาง และเครื่ อ งกำบั ง สถาน ปฏิบัติการทางรังสีที่ดีต้องมีการบริหารจัดการในการนำเทคนิคพื้นฐานนี้ไป ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม 1.1 เวลา (Time) ปริมาณรังสีสะสมที่แต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานภายใต้ สภาวะแวดล้อมที่มีสนามรังสี/บริเวณที่มีรังสี ตามสมการ ปริมาณรังสีทได้รบ (Dose) = อัตราการแผ่รงสี (Dose rate) x เวลา (time) ี่ ั ั mrem = mrem/h x h mSv = mSv/h x h µSv = µSv/h x h ตัวอย่าง 1 นาย ก ทำงานกับสารรังสี 3 ชั่วโมง โดยบริเวณทำงานมีอัตรา การแผ่รังสี 10 µSv/h อยากทราบว่า นาย ก ได้รับปริมาณรังสีเท่าใด µ แทนค่า ปริมาณรังสีที่นาย ก ได้รับ = 10 µµSv/h x 3 h คิดเป็น = 30 µµSv ดังนั้นการจำกัดปริมาณการได้รับรังสีของแต่ละคนสามารถทำได้โดย จำกัดระยะเวลาในการทำงานในบริเวณที่มีรังสีนั่นเอง เมื่อไม่ให้ได้รับปริมาณ รังสีเกินขีดจำกัด จึงคำนวณหาระยะเวลาในการทำงานจากสูตร เวลาในการทำงาน (Stay time, h) = Dose limit (mrem)/dose rate (mrem/h) คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 93 Training Manual on Radiation Protection
  • 4. ตัวอย่าง 2 คุณสามารถทำงานได้นานเท่าไหร่ เมื่อมีอัตราการแผ่รังสี 1.5 mrem/h กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีไว้ที่ 10 mrem แทนค่า เวลาในการทำงาน (Stay time) = 10 mrem/1.5 mrem/h = 6.67 h จาก 1 h = 60 min ดังนั้น 6.67 h คิดเป็น 6.67 x 60 = 400 นาที = 6 ชั่วโมง 40 นาที 1.2 ระยะทาง (Distance) ปริมาณรังสีที่แต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี มากน้อยแค่ไหน ณ ต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน คนที่อยู่ห่างไกลจากต้นกำเนิดรังสี มากกว่าก็จะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าคนที่อยู่ใกล้ต้นกำเนิดรังสี ปริมาณรังสี ที่ได้รับคำนวณได้จากกฎกำลังสองผกผัน • กฎกำลังสองผกผัน (Inverse square law) จากสูตร ปริมาณรังสีที่ได้รับ (I) α 1/d2 ดังนั้น I = k/d2 หรือ Id2 = k เมื่อ I คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับ k คือ ค่าคงที่ ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามชนิดของต้นกำเนิดรังสี d คือ ระยะทางที่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี เมื่อเป็นต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน ดังนั้น k จึงเท่ากัน สามารถเขียนสูตร ได้ใหม่ดังนี้ k = I1d12 = I2d22 ตัวอย่าง 3 จงคำนวณว่าต้องอยู่ห่างต้นกำเนิดเท่าใด เมื่ออัตราปริมาณรังสีที่ ระยะห่างต้นกำเนิด 2 เมตร มีค่า 10 µSv/h และต้องการลดค่าปริมาณรังสี µ ให้เหลือ 1 µµSv/h คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 94 Training Manual on Radiation Protection
  • 5. จากสูตร I1d12 = I2d22 แทนค่า 10 µSv/h x (2m)2 = 1 µµSv/h x d22 µ d22 = 40 m2 d2 = 6.32 m นั่นคือ ต้องอยู่ห่างต้นกำเนิด 6.32 เมตร จึงจะได้รับปริมาณรังสีลด ลงจาก 10 µµSv/h เหลือเพียง 1 µµSv/h ตัวอย่าง 4 จงคำนวณว่าเมื่ออยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีเป็นระยะทาง 2 เท่า จากเดิม จะได้รับปริมาณรังสีเท่าใด เมื่อวัดปริมาณรังสีห่างต้นกำเนิดรังสี 1 เมตร ได้ 120 µµSv/h จากสูตร I1d12 = I2d22 แทนค่า 120 µSv/h x (1m)2 = I2 x (2m)2 µ I2 = 30 µµSv/h นั่นคือ เมื่อห่างจากต้นกำเนิดรังสี 1 เมตร วัดปริมาณรังสีได้ 120 µµSv/h และเมื่อห่างจากต้นกำเนิดรังสีเป็น 2 เท่าจากเดิม (2 x 1 เมตร) วัด ปริมาณรังสีได้ 30 µSv/h ซึงวัดได้ลดลง 4 เท่าจากเดิม (120/4 = 30 µSv/h) ่ µ ดังนั้นจึงสรุปว่า ณ จุดต้นกำเนิดรังสีเดียวกัน ถ้าอยู่ห่างจากต้น กำเนิดรังสีมากกว่าเดิมเป็นระยะทาง 2 เท่า จะได้รับปริมาณรังสีลดลง 4 เท่า เมื่อเทียบจากจุดเดิม 1.3 เครื่องกำบังรังสี (Shielding) เมื่อไม่สามารถลดระยะเวลา หรือเพิ่มระยะทางในการทำงานกับสาร รังสีได้ สิ่งที่ควรพิจารณาในขั้นต่อไปคือ การใช้เครื่องกำบังรังสี การเลือกใช้ เครื่องกำบังรังสีที่เหมาะสมควรเลือกชนิดของเครื่องกำบังให้เหมาะกับชนิด ของรังสี พลังงาน และความแรงของต้นกำเนิดรังสี คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 95 Training Manual on Radiation Protection
  • 6. เครื่องกำบังรังสีควรป้องกันไม่ให้คนทำงานได้รับรังสีเกิน 10 µµSv/h (1 mrem/h) (คำนวณจากขีดจำกัดปริมาณรังสี 20 mSv ต่อปี 1 ปี ทำงาน 50 สัปดาห์ 1 สัปดาห์ทำงาน 5 วัน 1 วัน ทำงาน 8 ชั่วโมง รวม 1 ปี ทำงาน 2,000 ชั่วโมง) • รังสีแอลฟาและรังสีบีตา รังสีแอลฟา เป็นอนุภาคขนาดใหญ่ จึงสามารถป้องกันรังสีชนิดนี้ได้ ง่ายเพียงแค่ใช้กระดาษ หรือแม้กระทั่งอากาศ (ยืนอยู่ห่างต้นกำเนิดรังสีไม่กี่ เซนติเมตร) ก็สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดนี้ได้ ดังนั้นรังสีชนิดนี้จึง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเราเมื่อต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้อยู่ภายนอกร่างกาย แต่ถ้า มีพลังงานอย่างน้อย 7.5 MeV รังสีชนิดนี้ก็สามารถผ่านชั้นผิวหนังของเราได้ รังสีบีตา เป็นอนุภาคขนาดเล็กว่าอนุภาคแอลฟา จึงสามารถเคลื่อนที่ ผ่านตัวกลางได้ไกลกว่า วัสดุที่ใช้กำบังรังสีชนิดนี้ควรทำจากแผ่นอะลูมิเนียม พลาสติก หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีเลขเชิงอะตอม (Atomic number, Z) ต่ำ เพื่อ ป้องกันการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุง (Bremsstrahlung) รังสีชนิดนี้ต้องมี พลังงานอย่างน้อย 70 keV จึงจะสามารถผ่านชั้นผิวหนังของเราได้ รังสีบีตา มีพิสัยการเคลื่อนที่ (Range) ในอากาศประมาณ 12 ฟุต/MeV ดังนั้น ค่า Maximum range ของ P-32 ในอากาศ คือ 1.71 MeV x 12 ฟุต/MeV เท่ากับ 20 ฟุต เนื่องจากการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงจะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าเลขเชิงอะตอม (Z) ของเครื่องกำบังเพิ่มขึ้น ดังนั้นวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำ เช่น พลาสติก แก้ว plexiglass จึงเหมาะสมสำหรับกำบังรังสีบีตาพลังงานสูง ส่วนตะกั่ว ควรใช้เป็นเครื่องกำบังอันที่สองเพื่อป้องกันรังสีรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมา เช่น กระปุกตะกั่วจะหุ้มชั้นในด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกเป็นตะกั่ว สรุปได้ว่า การป้องกันการเกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงต้องใช้วัสดุที่มีเลข คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 96 Training Manual on Radiation Protection
  • 7. เชิงอะตอมต่ำ แต่หากต้องการกำบังรังสีเบรมส์ชตราลุง ต้องใช้วัสดุที่มีเลขเชิง อะตอมสูง • รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง ไม่มี มวลและประจุ จึงมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงกว่าอนุภาคแอลฟาและบีตา ดังนั้นควรเลือกใช้วัสดุกำบังที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว คอนกรีตหนา ๆ หรือเหล็ก เป็นต้น http://www.nmdp.org/RITN/REFERENCE/DOCS/RITN_Basic_Radiation1.pdf ที่มา http://www.nmbd.org/RITN/REFERENCE/DOCS?RITN_Basic_Radiation1.pdf รูป11่ 11 แสดงการเคลื่อนที่ของรังสีผ่านตัวกลางชนิดต่าง ๆ ที • Half Value Layer (HVL) Half Value Layer คือความหนาของเครื่องกำบัง ที่ใช้ในการลด 92 ความเข้มของรังสีเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่มีเครื่องกำบัง สามารถคำนวณได้จากสูตร I/Io = 1/2 = e-µµx eµµx = 2 ln eµµx = ln 2 µµx = ln 2 x = ln 2/µµ HVL = ln2 = 0.693 µ µ คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 97 Training Manual on Radiation Protection
  • 8. เมื่อ x = HVL ดังนั้น HVL = 0.693/µµ หรือ µ µ = ln 2/HVL เมื่อกำหนดให้ x = n เท่าของ HVL = n HVL จากสูตร I = Ioe-µµx Io/I = eµµx Io/I = e(ln2/HVL)(nHVL) Io/I = en ln2 Io/I = 2n • Tenth Value Layer (TVL) Tenth Value Layer คือความหนาของเครื่องกำบัง ที่ใช้ในการลด ความเข้มของรังสีลงสิบเท่าเมื่อเทียบกับไม่มีเครื่องกำบัง สามารถคำนวณได้จากสูตร I/Io = 1/10 = 0.1 = e-µµx eµµx = 10 ln eµµx = ln 10 µµx = ln 10 x = ln 10/µµ เมื่อ x = TVL ดังนั้น TVL = 2.30/µµ หรือ µ µ = ln 10/TVL เมื่อกำหนดให้ x = n เท่าของ TVL = n TVL จากสูตร I = Ioe-µµx Io/I = eµµx Io/I = e(ln10/TVL)(nTVL) Io/I = en ln10 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 98 Training Manual on Radiation Protection
  • 9. Io/I = 10n เมื่อ I = ปริมาณรังสีหลังผ่านเครื่องกำบังรังสี Io = ปริมาณรังสีก่อนผ่านเครื่องกำบังรังสี µ µ = สัมประสิทธิ์การดูดกลืนเชิงเส้น (Linear attenuation coefficient) x = ความหนาของเครื่องกำบัง n = จำนวนเท่าของ HVL หรือ TVL ตารางที่ 15 แสดง HVL และ TVL ของนิวไคลด์ชนิดต่าง ๆ (หน่วย: มิลลิเมตร) ตะกั่ว เหล็ก คอนกรีต นิวไคลด์ TVL HVL TVL HVL TVL HVL Co-60 41 12 74 22 229 68 Cs-137 21 6.3 57 17 180 53 Ir-192 16 4.8 - - 157 48 ที่มา การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546. ตัวอย่าง 5 ในการทำงานกับต้นกำเนิดรังสี Co-60 จงคำนวณหาความหนา ของตะกั่ว เหล็ก คอนกรีตที่ต้องใช้ในการลดปริมาณรังสี จาก 200 mR/h ให้ เหลือ 2 mR/h คำนวณโดยวิธี Half Value Layer จากสูตร Io/I = 2n เมื่อ Io = 200 mR/h I = 2 mR/h แทนค่า 200/2 = 2n 102 = 2n คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 99 Training Manual on Radiation Protection
  • 10. 2 log 10 = n log 2 n = 2/log 2 n = 6.644 สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของตะกั่วมีค่าเท่ากับ 12 มิลลิเมตร คิดเป็น ความหนาของตะกั่วเท่ากับ 6.644 x 12 = 79.73 มิลลิเมตร สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของเหล็กมีค่าเท่ากับ 22 มิลลิเมตร คิดเป็น ความหนาของเหล็กเท่ากับ 6.644 x 22 = 146.17 มิลลิเมตร สำหรับ Co-60 ค่า HVL ของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 68 มิลลิเมตร คิด เป็นความหนาของคอนกรีตเท่ากับ 6.644 x 68 = 451.79 มิลลิเมตร คำนวณโดยวิธี Tenth Value Layer จากสูตร Io/I = 10n เมื่อ Io = 200 mR/h I = 2 mR/h แทนค่า 200/2 = 10n 102 = 10n 2 log 10 = n log 10 n = 2 สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของตะกั่วมีค่าเท่ากับ 41 มิลลิเมตร คิดเป็น ความหนาของตะกั่วเท่ากับ 2 x 41 = 82 มิลลิเมตร สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของเหล็กมีค่าเท่ากับ 74 มิลลิเมตร คิดเป็น ความหนาของเหล็กเท่ากับ 2 x 74 = 148 มิลลิเมตร สำหรับ Co-60 ค่า TVL ของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 229 มิลลิเมตร คิดเป็นความหนาของคอนกรีตเท่ากับ 2 x 229 = 458 มิลลิเมตร คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 100 Training Manual on Radiation Protection
  • 11. ตัวอย่าง 6 ต้นกำเนิดรังสี Co-60 มีค่าความแรงรังสี 20 Sv/h จงคำนวณ หาความหนาของตะกั่วเพื่อลดความแรงเหลือ 2 mSv/h กำหนดให้ ค่า TVL ของ Co-60 เมื่อใช้ตะกั่วเป็นเครื่องกำบังมีค่า = 41 มิลลิเมตร ค่า HVL ของ Co-60 เมื่อใช้ตะกั่วเป็นเครื่องกำบังมีค่า = 12 มิลลิเมตร คำนวณโดยวิธี Tenth Value Layer จากสูตร Io/I = 10n เมื่อ Io = 20 Sv/h I = 2 mSv/h แทนค่า 20000/2 = 10n 104 = 10n n = 4 ดังนั้นต้องใช้ตะกั่วหนา 4 เท่าของ TVL = 4 x 41 = 164 มิลลิเมตร หรือ 16.4 เซนติเมตร คำนวณโดยวิธี Half Value Layer จากสูตร Io/I = 2n เมื่อ Io = 20 Sv/h I = 2 mSv/h แทนค่า 20000/2 = 2n 104 = 2n 4 log 10 = n log 2 n = 4 log 10/log 2 n = 13.29 ดังนั้นต้องใช้ตะกั่วหนา 13.29 เท่าของ HVL = 13.29 x 12 = 159.48 มิลลิเมตร = 15.95 เซนติเมตร คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 101 Training Manual on Radiation Protection
  • 12. (Electronic dosimeters) 1.4 การตรวจวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล (Personnel monitoring) • เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลแบบอ่ า นค่ า ได้ ทั น ที (Electronic dosimeters) Quartz fibre electroscope, Superheated drop Electronic dosimeters, (bubble) detectors ่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลแบบอ่านค่าได้ทันทีนี้จะมีขนาด เครื Electronic dosimeters เล็ก สามารถพกติดตัวในขณะปฏิบัติงานได้ เครื่องวัดรังสีชนิดนี้มีหลายชนิด Electronic dosimeters เช่น Electronic dosimeters, Quartz fibre electroscope, Superheated G-M drop (bubble) detectors Electronic dosimeters เป็นเครื่องวัดรังสีที่มีขนาดเล็ก หัววัดรังสี อาจเป็นแบบ G-M หรือ เซมิคอนดัคเตอร์ ปัจจุบันมีเครื่องที่สามารถอ่านค่า ได้ทันทีเป็นตัวเลขโดยปรับค่าให้เป็นศูนย์ก่อนการใช้งาน http://www.fnrf.science.cmu.ac.th/theor http://www.esmonline.de/sm/product/group y/radiation/ 1/images/FH39_cpl_l.jpg   รูปที่ 12 แสดงเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลแบบอ่านค่าได้ทันที 12 ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบอ่านค่าได้ทันที 1. สามารถอ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับทันที 2. ราคาไม่แพงมากและมีความทนทานพอสมควร 1. 3. สามารถหมุนเวียนกันใช้ได้ 2. 3. คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 102 Training Manual on Radiation Protection
  • 13. 4. บางเครื่องสามารถวัดอัตราปริมาณรังสี ปริมาณรังสีสะสมได้ 5. สามารถใช้สำรวจรังสีในบางพื้นที่ที่ยังไม่ทราบระดับรังสี 6. บางรุ่นมีระบบเสียงเตือนเมื่อระดับรังสีเกินค่าที่กำหนด ข้อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบอ่านค่าได้ทันที 1. เครื่ อ งวั ด รั ง สี ช นิ ด Quartz fibre electroscope และ Superheated drop (bubble) detectors มีความบอบบางมาก และเสียง่ายต้องระมัดระวังในการใช้ 2. ความชื้ น ในอากาศมี ผ ลต่ อ การอ่ า นค่ า ของเครื่ อ งวั ด รั ง สี ช นิ ด Quartz fibre electroscope เนืองจากความชืนทำให้มการสูญเสีย ่ ้ ี ประจุ ค่าที่อ่านจึงผิดพลาดได้ 3. เครื่ อ งบางชนิ ด การอ่ า นค่ า ต้ อ งใช้ ค วามชำนาญเนื่ อ งจากไม่ ได้ แสดงออกมาเป็นตัวเลข เช่น Quartz fibre electroscope ต้อง อ่านค่าจากสเกลการวัด ส่วน Superheated drop (bubble) detectors นับจำนวนฟองอากาศที่เกิดขึ้น เป็นต้น ข้อควรระวัง 1. ก่อนการใช้ต้องแน่ใจได้ว่าเครื่องสามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง (ต้องมีการปรับเทียบไม่เกิน 12 เดือน) 2. ต้องสวมใส่ทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานกับวัสดุกัมมันตรังสีหรือต้น กำเนิดรังสี โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติงานกับต้นกำเนิดรังสีแกมมา หรือบีตาพลังงานสูง 3. หลังการใช้งาน ควรอ่านค่าและบันทึกค่าที่อ่านได้ไว้ในบันทึกการ ได้รับรังสีประจำบุคคลของตนเอง 4. เมื่อไม่ใช้งานให้เก็บห่างจากต้นกำเนิดรังสี และห้ามใส่กรณีที่ต้อง เข้ารับบริการทางการแพทย์ คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 103 Training Manual on Radiation Protection
  • 14. 5. ไม่เก็บใกล้ไฟหรือในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง หรือที่ชื้น • เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม (Film badge) เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์มหรือเรียกว่าฟิล์มแบดจ์ จะประกอบไป ด้วยฟิล์มและตลับฟิล์ม ภายในตลับฟิล์มส่วนใหญ่จะมีแผ่นฟิล์ม 2 แผ่น แผ่น หนึ่งสำหรับตรวจจับรังสีเอกซ์และแกมมาที่มีพลังงานระหว่าง 15 keV- 3 MeV และแผ่นฟิล์มอีกแผ่นใช้สำหรับตรวจจับรังสีบีตาที่มีพลังงานระหว่าง 200 keV-1 MeV ต้นกำเนิดรังสีที่ให้พลังงานต่ำหรือสูงกว่าที่กล่าวไว้จะไม่ สามารถตรวจจับได้ ดังนั้นต้นกำเนิดรังสีที่ให้พลังงานต่ำ เช่น H-3, C-14, S-35 จะไม่สามารถใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดนี้ได้ เมื่อแผ่นฟิล์มได้รับ พลั ง งานจากรั ง สี แ ล้ ว จะเปลี่ ย นเป็ น สี ด ำ ความดำที่ เข้ ม ขึ้ น แสดงว่ า ได้ รั บ ปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้น ตลับฟิล์มจะมีตัวกรองเพื่อใช้แยกชนิดและพลังงานของรังสีที่จะผ่าน เข้าไปยังแผ่นฟิล์ม หลังจากทำการล้างฟิล์มแล้วจะทำการเปรียบเทียบกับฟิล์ม มาตรฐานที่ ผ่ า นการฉายรั ง สี ในปริ ม าณที่ ก ำหนด ทำให้ ส ามารถทราบค่ า ปริมาณรังสีที่แผ่นฟิล์มได้รับ ซึ่งให้หมายความถึงปริมาณรังสีที่ผู้ใช้ฟิล์มนั้นได้ รับรังสีในปริมาณนั้นด้วย ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม 1. สามารถแยกชนิดและพลังงานของรังสีทจะผ่านเข้าไปยังแผ่นฟิลมได้ ี่ ์ 2. สามารถเก็ บ เป็ น ประวั ติ ไ ด้ ค งทนและสามารถนำมาประเมิ น ปริมาณได้ในภายหลังหากเกิดข้อสงสัย 3. ค่าใช้จายทังตัวฟิลม ตลับฟิลม กระบวนการล้างและอ่านค่าไม่แพง ่ ้ ์ ์ 4. สามารถใช้กับรังสีได้หลายชนิดและหลายค่าพลังงาน คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 104 Training Manual on Radiation Protection
  • 15. 2. 3.อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบฟิล์ม ข้ 1. ไม่สามารถอ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับในทันที 4. สถานที่ในการล้างฟิล์มต้องใช้ห้องมืดและสารเคมีในการล้างฟิล์ม 2. 3. ความร้อน แสงสว่าง ทำให้ฟิล์มเกิดความดำได้เช่นกัน 4. ต้องสะสมปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นเวลานาน ก่อนที่จะนำไปล้าง 5. เพื่ออ่านค่า 5. แผ่นฟิล์มเมื่อล้างแล้วไม่สามารถใช้ซ้ำได้ รูปที่ 13 แสดงเครื่องวัดรังสีแบบฟิล์ม 13 • เครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ (Thermoluminescent Dosimeter, TLD) เครืองวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมเนสเซนต์ ใช้TLD)ทียมฟลูออไรด์ ่ (Thermoluminescent Dosimeter, ผลึกลิเ ิ (LiF) หรือ แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF 2) ซึ่งจะดูดกลืนพลังงานแล้วทำให้ อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นไปอยู่ในชั้นพลังงานที่สูงขึ้น เมื่อได้รับความร้อนจะเกิด การคายพลังงานออกมาในรูปแสง (ปริมาณแสงที่คายออกมาเป็นสัดส่วนกับ (LiF) (CaF2) ปริมาณรังสีที่ดูดกลืนไว้) ซึ่งแสงสามารถเปลี่ยนเป็นเป็นสัญญาณไฟฟ้าและ อ่านค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ ผลึกนี้จะบรรจุอยู่ในตลับซึ่งจะมีตัวกรองเพื่อแยก ความแตกต่างของชนิดและพลังงานของรังสี 10 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 105 Training Manual on Radiation Protection
  • 16. เนื่ อ งจากลิ เทียมเป็นสารประกอบที่มีลัก ษณะใกล้ เคี ย งกั บ เนื้ อ เยื่ อ มนุษย์ จึงเหมาะสำหรับการวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล ส่วนสารประกอบ ที่มีแคลเซียมเหมาะกับการวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม ข้อดีของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ 1. มีความแม่นยำและความไวสูง 2. สามารถใช้วัดปริมาณรังสีสะสมได้เป็นระยะเวลานาน 3. นำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง 4. มีขนาดเล็กสามารถทำเป็นแหวนสวมใส่ที่นิ้วมือ ที่คาดศีรษะ หรือ ทำเป็นสร้อยข้อมือ ข้อเสียของเครื่องวัดปริมาณรังสีแบบเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ 1. มีราคาแพง 2. เมือผ่านกระบวนการอ่านค่าแล้วไม่สามารถเก็บเป็นหลักฐานอย่างถาวร ่ 3. ข้อมูลปริมาณรังสีทได้รบอาจลดลงได้ถาเก็บเครืองวัดไว้ใกล้ความร้อน ี่ ั ้ ่ รูปที่ 14 แสดงเครื่องวัดรังสีแบบ TLD 14 TLD (Proper use of personnel dosimeter) คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 106 Training Manual on Radiation Protection 1.
  • 17. • การใช้ เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คลอย่ า งเหมาะสม (Proper use of personnel dosimeter) 1. เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล ควรใช้ เ ฉพาะกั บ ผู้ ที่ เกี่ยวข้องเท่านั้น และทำการเก็บเป็นประวัติการได้รับปริมาณรังสี ของบุคคลนั้น ๆ 2. การใส่ เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณรั ง สี ป ระจำตั ว บุ ค คล ควรใส่ บ ริ เวณ ระหว่างคอและบั้นเอว หรือบริเวณที่ได้รับปริมาณรังสีสูง และ ระมัดระวังไม่ให้กระแทกกับวัตถุอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสียหาย 3. ควรเก็บเครืองวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลในบริเวณทีเหมาะสม ่ ่ เช่น ไม่เก็บในบริเวณที่มีอุณหภูมิ/ความชื้นสูง ไม่เก็บใกล้บริเวณที่ มีสารรังสี เป็นต้น 4. หั น ด้ า นที่ รั บ ปริ ม าณรั ง สี อ อกนอกตั ว ผู้ ส วมใส่ ใ ห้ ถู ก ต้ อ งตาม คำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต 5. ห้ามใส่เครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลเมื่อจำเป็นต้องเข้ารับ บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับรังสีหรือสารรังสี 6. ห้ามนำเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลไปใช้ในการทดลอง ใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า ผู้ควบคุม หรือเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี 1.5 การติดป้ายเตือนของวัสดุกัมมันตรังสี (Posting and labeling of radioactive materials) • ป้ายเตือนทางรังสี (Cautionary signs) ป้ า ยเตื อ นทางรั ง สี เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ใช้ เตื อ นว่ า บริ เวณนั้ น มี วั ส ดุ กัมมันตรังสีหรือมีสารรังสีอยู่ เช่น คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 107 Training Manual on Radiation Protection
  • 18. Caution - Radioactive Materials ซึ่งอาจติดป้ายเตือนนี้ไว้บน กล่องหรือภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี หรือบริเวณที่มีการใช้หรือเก็บวัสดุ กัมมันตรังสี นอกจากนี้ควรมีข้อความเพื่อให้ทราบรายละเอียดอื่น ๆ ด้วย เช่น ชนิดของวัสดุกัมมันตรังสี ค่ากัมมันตภาพรังสี วันที่ ผู้รับผิดชอบ เป็นต้น Caution – Radiation Area ควรติดป้ายนี้ในบริเวณที่ปริมาณรังสีที่ ได้รับอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสีเกิน 5 mrem/h ที่ระยะ ห่าง 30 เซนติเมตร จากต้นกำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้า บริเวณทางเข้า Caution – High Radiation Area หรื อ Danger – High Radiation Area ควรติ ด ป้ า ยนี้ ในบริ เวณที่ ป ริ ม าณรั ง สี ที่ ไ ด้ รั บ อาจเป็ น อันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสีเกิน 100 mrem/h ที่ระยะห่าง 30 เซนติเมตร จากต้นกำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้าบริเวณทางเข้า Grave Danger– Very High Radiation Area ควรติดป้ายนี้ใน บริเวณที่ปริมาณรังสีที่ได้รับอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลและได้รับปริมาณรังสี ดูดกลืน (Absorbed dose) เกิน 500 rads/h ที่ระยะห่าง 1 เมตร จากต้น กำเนิดรังสีหรือภาชนะบรรจุ ควรติดป้ายไว้หน้าบริเวณทางเข้า ป้ายเตือนทางรังสี ควรมีข้อมูล ต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ 1. ชนิดของต้นกำเนิดรังสี 2. exposure rate ในหน่วย mR/h หรือ rem/h 3. ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ติดป้ายเตือน 4. วันที่ติดป้ายเตือน คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 108 Training Manual on Radiation Protection
  • 19. 4. http://www.case.edu/finadmin/does/ http://www.atiquality.com/product s/roentgen/images/Caution_High_ http://www.flickr.com/photos/wandrson/321 web/Images/Radlabel.jpg Rad_t_000.jpg 5902483/ http://www.iaea.org/Publications/Booklets/ Ssp/chapter_images/nuclear_safety/radioact http://www.datapoohbah.com/tech/ http://www.campus.manchester.ac.uk/health ive/radiation-sign.gif 2007/02/ andsafety/Images/controlled%20area.jpg รูปที่ 15 ตั15อย่างป้ายเตือนทางรังสีแบบต่าง ๆ ว • ป้ า ยเตื อ นในการขนส่ ง วั ส ดุ กั ม มั นตรั ง สี (Transportation warning labels) หีบห่อที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสี ต้องติดป้ายเตือนทางรังสีอย่างน้อย 2 ด้านที่ภาชนะหรือกล่องที่บรรจุ ซึ่งมีข้อกำหนดดังตารางที่ 16 ตารางที่ 16 แสดงการแบ่งลำดับชั้นสำหรับการติดฉลากหีบห่อเพื่อการขนส่ง 105 Transport Maximum radiation level at any point Category Index on external surface White I 0 Not more than 0.005 mSv/h Yellow II 1 More than 0.005 mSv/h but not more than 0.5 mSv/h Yellow III 10 More than 0.5 mSv/h but not more than 2 mSv/h Yellow III More than More than 2 mSv/h but not more than 10 10 mSv/h ที่มา การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546. คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 109 Training Manual on Radiation Protection
  • 20. White I : Yellow II : Y Yello III: ow หมายเลข 77 เป็นหมายเลขแสดงวัสดุกัมมันตรังสีของสหประชาชาติ http:///www.uw wm.edu/Deppt/EHSRMM/RAD/DO OTBK.pdf ที่มา http://www.uwm.edu/Dept/EHSRM/RAD/DOTBK.pdf รูปที่ 16 แสดงป้ายรังสีที่ติดหีบห่อเพื่อการขนส่งสารกัมมันตรังสี 16 หมายเหตุ หีบห่อบางชนิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลาก รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี สามารถ 2 อ่านได้เพิ่มเติมจากหนังสือการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงาน ปรมาณูเ2 ่อสันติ 2546 พื 2546 2. 2. การป้องกันอันตรายจากรังสี เมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal radiationrnal radia prote (Inter protection) ection) ation เมื่อวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย วัสดุกัมมันตรังสีนั้นจะทำหน้าที่ เป็นต้นกำเนิดรังสี และสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ได้ตามคุ ณ สมบั ติ ท างชีวเคมี ซึ่งจะถูกกำจัดโดยขบวนการต่ า ง ๆ ภายใน ร่างกาย คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 110 Training Manual on Radiation Protection 107 7
  • 21. 2.1 วิถีทางเข้าสู่ร่างกาย (Method of entry) วัสดุกัมมันตรังสีสามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 4 ทาง ดังนี้ • ทางการหายใจ (Inhalation) โดยการหายใจเอาฝุ่น ผง อนุภาค ที่มี วัสดุกัมมันตรังสี • ทางการกิน (Ingestion) โดยการกิน ดื่ม วัสดุกัมมันตรังสีที่ปนใน อาหาร น้ำ • ทางผิวหนัง (Skin absorption) โดยทางผิวหนัง หรือทางบาดแผล • ทางการฉีด (Injection) โดยการฉีดวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย 2.2 คำแนะนำ (Guidelines) หลั ก พื้ นฐานสำคั ญ 3 ประการ ที่ ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง เพื่ อ ลดการได้ รั บ ปริมาณรังสีเข้าสู่ร่างกาย คือ • ใช้วัสดุกัมมันตรังสีจำนวนน้อยที่สุด ที่เพียงพอต่อความต้องการใน การใช้งาน • เลือกใช้วัสดุที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีให้เหมาะสม เช่น บรรจุวัสดุ กัมมันตรังสีที่เป็นของเหลวในขวดแก้วเล็ก ๆ มีจุกยางปิด บรรจุในกระปุก ตะกั่ว และการเคลื่อนย้ายต้องมีถาดหรือภาชนะที่ปูทับด้วยวัสดุดูดซับ • ทำตามระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่ชุดคลุมป้องกันการ เปรอะเปื้อนในขณะทำงาน ตรวจวัดบริเวณปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของบริเวณทำงาน เป็นต้น (อ่านบท ที่ 5 ประกอบ) 2.3 การได้รับรังสีเมื่อต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกาย (Internal radiation exposures) เมื่อวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย เนื้อเยื่อภายในร่างกายก็จะได้รับ รังสีตลอดเวลาจนกว่าวัสดุกัมมันตรังสีนั้นจะสลายไป หรือจนกระทั่งวัสดุ คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 111 Training Manual on Radiation Protection
  • 22. กัมมันตรังสีนั้นถูกกำจัดออกจากร่างกาย ระดับความรุนแรงของอันตรายที่จะ เกิดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของวัสดุกัมมันตรังสี รูปแบบทาง เคมี และปริมาณที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น 2.3.1 ต้นกำเนิดรังสีที่สามารถเข้าสู่ร่างกาย • ต้นกำเนิดรังสีแอลฟาและบีตา อนุภาคแอลฟาทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อโดยการทำให้เนื้อเยื่อ เกิดไอออนไนเซชั่น เนื่องจากพิสัยการเคลื่อนที่สั้นทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ ออกจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ต้นกำเนิดรังสีไปอยู่ได้ จึงทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ ได้สูง อนุภาคบีตาเมื่ออยู่ภายในร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อ เนื้อเยื่อน้อยกว่าอนุภาคแอลฟา • ต้นกำเนิดรังสีแกมมา ต้นกำเนิดรังสีแอลฟาและบีตาส่วนมากจะให้รังสีแกมมาด้วย รังสีแกมมามีอำนาจทะลุทะลวงสูง จึงสามารถทะลุผ่านเนื้อเยื่อและร่างกาย ของเราได้ สารหลายชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกสะสมในอวัยวะ เป้าหมาย (Target organs) เช่น ไอโอดีน จะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์ เมื่อ ร่ า งกายได้ รั บ ไอโอดี นจากการหายใจหรื อ กิ น เข้ า สู่ ร่ า งกาย ร่ า งกายเราไม่ สามารถแยกได้ว่าเป็นไอโอดีนที่อยู่ในรูปเสถียร (Stable iodine) หรืออยู่ใน รูปรังสี (Radioactive iodine) ธาตุอื่น ๆ เช่น แคลเซียม สทรอนเชียม เรเดียม พลูโทเนียม จะไปสะสมที่กระดูก อวัยวะในระบบเลือด เช่น ไขกระดูก จะมีความไวต่อ รังสีมากเป็นพิเศษ ถ้าได้รับรังสีต่อเนื่องเป็นเวลานาน (>20 ปี) อาจก่อให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หรือเนื้อร้ายชนิด Osteosarcoma คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 112 Training Manual on Radiation Protection
  • 23. 2.3.2 การควบคุมขีดจำกัดการได้รับปริมาณรังสีจากภายใน ร่างกาย ได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีที่ได้รับต่อปีสำหรับนิวไคลด์รังสีแต่ละ ชนิด Annual limit on intake (ALI) คือ ขีดจำกัดการได้รับปริมาณวัสดุ กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายทางการกินหรือหายใจของผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติงานทางรังสี ในหนึ่งปี Derived air concentration (DAC) คือ ความเข้มข้นของสารรังสี ในอากาศที่ยอมให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับในการปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/ สัปดาห์ 50 สัปดาห์/ปี ตัวอย่างค่า ALI และ DAC ของนิวไคลด์รังสีบางชนิด แสดงดังตารางที่ 17 การได้ รั บ ปริ ม าณวั ส ดุ กั ม มั นตรั ง สี เข้ า สู่ ร่ า งกายถู ก ควบคุ ม โดยค่ า Annual Limit on Intake (ALI) ซึ่งแสดงค่าในหน่วยไมโครคูรี (µµCi) ค่า ALI นี้ เป็นขีดจำกัดแรกในการควบคุมการได้รับสารรังสีเข้าสู่ร่างกาย (และไม่ ได้รับรังสีจากต้นกำเนิดรังสีที่อยู่ภายนอกร่างกาย) ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีควรได้ รับไม่เกิน 1 ALI ในหนึ่งปี ค่า 1 ALI มีค่าเท่ากับ 2 rems ความเข้มข้นของ วัสดุกัมมันตรังสีในอากาศถูกจำกัดโดยค่า Derived Air Concentration (DAC) มี ค วามเกี่ ย วพั นธ์ กั บ ค่ า ALI โดยสมมุ ติ ว่ า ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านทางรั ง สี หายใจเข้า 1.2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 2000 ชั่วโมงต่อปี (ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 50 สัปดาห์ต่อปี = 8 x 5 x 50 = 2000 ชั่วโมง) ดังนั้น DAC (µµCi/ml) = ALI (µµCi) 2.4 x 109 ml ถ้าผู้ปฏิบัติงานหายใจเอาวัสดุกัมมันตรังสีที่ความเข้มข้น 1 DAC ใน หนึ่งชั่วโมง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะได้รับรังสี 1 DAC-hr ดังนั้น 1 ALI = 2000 DAC - hr = 2 rems คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 113 Training Manual on Radiation Protection
  • 24. ตารางที่ 17 แสดง Annual limit on intake (ALI) และ Derived air concentration (DAC) ของไอโซโทปบางชนิด* Isotope ALI (microcuries) DAC Ingestion Inhalation (µµCi/ml) Americium-241 0.8 0.006 3 x 10-12 Carbon-14 2,000 2,000 1 x 10-6 Cesium-137 100 200 6 x 10-8 Chromium-51 40,000 20,000 8 x 10-6 Cobalt-60 200 30 1 x 10-8 Iodine-123 3,000 6,000 3 x 10-6 Iodine-125 40 60 3 x 10-8 Iodine-131 30 50 2 x 10-8 Iridium-192 900 200 9 x 10-8 Phosphorus-32 600 900 4 x 10-7 Plutonium-239 0.8 0.006 3 x 10-12 Radium-226 2 0.6 3 x 10-10 Strontium-90 30 4 2 x 10-9 Technetium-99m 80,000 200,000 6 x 10-5 Thallium-201 20,000 20,000 9 x 10-6 Thorium-232 0.7 0.001 5 x 10-13 Tritium (H-3) 80,000 80,000 2 x 10-5 * ALI and DAC values listed assume the most conservative class. If the chemical form is known, a more appropriate class may be used. ที่มา http://www.fas.org/irp/doddir/milmed/rhpm.pdf คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 114 Training Manual on Radiation Protection
  • 25. โดย 2 rems ให้รวมถึงปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งจากภายในร่างกายและ ภายนอกร่างกาย เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีจากภายนอกร่างกาย 1 rems ดังนั้นจะอนุญาตให้รับรังสีจากภายในร่างกายได้ไม่เกิน 1 rems คิดเป็น (1/2) X 2000 DAC - hr = 1000 DAC - hr รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 2546 2.4 หน่วยวัดปริมาณรังสี (Units of radiation dose) เกรย์ (Gray, Gy) เป็นหน่วยในระบบ SI ของปริมาณรังสีดูดกลืน (Absorbed dose) โดย 1 เกรย์ คือ ปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีค่าเท่ากับ 1 joule/kilogram 1 Gy = 1 joule/kilogram 1 Gy = 100 rads แร็ด (Rad) เป็นหน่วยเก่าที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 แร็ด คือ ปริมาณรังสีดูดกลืนมีค่าเท่ากับ 100 ergs/gram หรือ 0.01 joule/ kilogram (0.01 Gy) ปัจจุบันใช้หน่วยเกรย์แทน โดย 1 เกรย์ เท่ากับ 100 แร็ด 1 rad = 0.01 joule/kilogram 1 rad = 0.01 Gy เร็ม (Rem) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล (Dose equivalent) ซึ่งปริมาณรังสีสมมูลในหน่วยเร็ม มีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูด กลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ดกับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของ รังสี (Relative biological effect, RBE) หรือเป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสี ดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ดกับค่า Quality factor (QF) คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 115 Training Manual on Radiation Protection
  • 26. Dose equivalent (Rem) = Absorbed dose (Rad) x RBE Dose equivalent (Rem) = Absorbed dose (Rad) x QF สำหรับรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมา ค่าปรับเทียบ RBE หรือ QF มีค่า ใกล้ 1 (ในทางปฏิบัติให้เท่ากับ 1) นั่นหมายถึงว่า เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใด ก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์ หรือรังสีแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เร็ม 1 rad = 1 rem 1 rem 0.01 Sv = 1 rem 10 mSv = ซีเวิร์ต (Sievert, Sv) เป็นหน่วยในระบบ SI เป็นหน่วยวัดปริมาณ รังสีสมมูล ซึ่งปริมาณรังสีสมมูลในหน่วยซีเวิร์ต เป็นผลคูณระหว่างปริมาณ รังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและ พลังงานของรังสี (Relative biological effect, RBE) หรือเป็นผลคูณ ระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์กับค่า Quality factor (QF) Dose equivalent (Sv) = Absorbed dose (Gy) x RBE Dose equivalent (Sv) = Absorbed dose (Gy) x QF 1 Sv = 100 rems 2.5 หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี (Units of radioactivity) หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสีมีหน่วยเป็น คูรี (Curie, Ci) ปัจจุบันนิยมใช้ เป็นหน่วยเบ็กเคอเรล (Becquerel, Bq) โดย 1 Ci = 3.7 x 1010 disintegration per second (dps) 1 Ci = 3.7 x 1010 Bq 1 dps = 1 Bq คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 116 Training Manual on Radiation Protection
  • 27. 2.6 การวัดปริมาณสารรังสีภายในร่างกาย (Internal exposure monitoring) การวัดปริมาณสารรังสีที่มีอยู่ภายในร่างกายสามารถวัดปริมาณรังสีที่ แผ่ออกมาจากร่างกายโดยตรง หรือวิเคราะห์หาปริมาณสารรังสีในอากาศของ ห้องปฏิบัติการแล้วนำไปแปรผลเป็นปริมาณสารรังสีภายในร่างกายจากการ หายใจ หรือตรวจหาปริมาณรังสีที่ถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ ซึ่งสองวิธีหลังเป็นการวัดทางอ้อม ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่า Bioassay • การวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายโดยตรง การวัดแบบนี้เหมาะสำหรับการวัดเมื่อต้นกำเนิดรังสีแกมมา หรือบีตา พลังงานสูง อยู่ภายในร่างกาย โดยพลังงานของรังสีดังกล่าวต้องมากพอที่จะ วัดได้จากภายนอกร่างกาย ตัวอย่าง เช่น Cs-137, Ce-144, Au-198, C0-60, Fe-59, U-235 และ Sr-85 เป็ น ต้ น การวั ด ด้ ว ยวิ ธี นี้ ต้ อ งมี หั ว วั ด ที่ มี ประสิทธิภาพและความไวสูง และต้องอยู่ภายในเครื่องกำบังที่สามารถกัน ปริมาณรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ดี ข้อดีของวิธีนี้คือทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสีย เวลาเก็บตัวอย่าง และลดการปนเปื้อนในระหว่างเก็บตัวอย่าง • การวัดความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ การวัดแบบนี้ทำได้โดยเก็บตัวอย่างอากาศในสถานปฏิบัติการทางรังสี โดยทำการดูดอากาศบริเวณที่คนทำงานแล้วนำมาวิเคราะห์เป็นปริมาณสาร รังสีที่ร่างกายได้รับ ตามสูตร ปริมาณสารรังสีที่ร่างกายได้รับ (Intake) = CIT เมื่อ C คือ ความเข้มข้นของสารรังสีในอากาศ (Bq/m3) I คือ อัตราการหายใจ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.02 m3/min T คือ เวลาที่ปฏิบัติงาน (min) คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 117 Training Manual on Radiation Protection
  • 28. • การวัดปริมาณรังสีจากสิ่งขับถ่าย การวัดแบบนี้เหมาะสำหรับการวัดเมื่อต้นกำเนิดรังสีแกมมา หรือบีตา มีพลังงานของรังสีไม่มากพอที่จะวัดได้จากภายในร่างกายโดยตรง ข้อดีของ วิธีนี้คือสามารถวัดสารรังสีที่มีปริมาณน้อย ๆ ภายในร่างกายได้ แต่มีข้อที่ต้อง คำนึงคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการเปรอะเปื้อนของสารตัวอย่างในระหว่าง การเก็บและการวิเคราะห์ ควรเก็บตัวอย่างให้ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เพราะ ตัวอย่างปริมาตรน้อย ๆ จะใช้เป็นตัวแทนในการวิเคราะห์ปริมาณสารรังสีใน ปัสสาวะต่อวันไม่ได้ นิวไคลด์กัมมันตรังสีบางชนิดอาจต้องเก็บตัวอย่างติดต่อ กันหลายวัน การวัดด้วยเทคนิค Bioassay นี้ ใช้ประเมินกรณีที่มีเหตุบ่งชี้ว่าผู้ ปฏิบัติงานได้รับวัสดุกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายมากกว่าขีดจำกัด หรือตรวจวัด ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน หรือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ทางรังสี ท่านสามารถขอรับบริการตรวจวัดปริมาณรังสีภายในร่างกายได้ที่ กลุ่มประเมินค่าปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย สำนักสนับสนุนการกำกับดูแล ความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เลขที่ 16 ถ. วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 0-2596-7600 คู่ มื อ อบรมการป้ อ งกั น อั น ตรายจากรั ง สี 118 Training Manual on Radiation Protection