SlideShare a Scribd company logo
1 of 112
การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
ตัวชี้วัด อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน
การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งมนุษย์สัตว์และพืช มีลักษณะที่เหมือนและ
แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยสารพันธุกรรม
ทบทวนความรู้เดิม
ดีเอ็นเอพบอยู่ในส่วนใดของเซลล์สิ่งมีชีวิต
เซลล์
• เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่สาคัญของสิ่งมีชีวิต
• ประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส
• ภายในนิวเคลียสมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ ขดพันกันอยู่เหมือนขดลวด
สปริงเต็มไป เราเรียกเส้นใยเล็กๆ ที่ขดพันกันอยู่เหมือนลวดสปริงนี้ว่า โครมาทิน
(chromatin)
• ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของ DNA (deoxyribonucleic acid) ขดจับตัวกับโปรตีน
• เมื่อมีการแบ่งเซลล์ ปริมาณของ DNA จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เส้นโครมาทินก็จะขดแน่น
มากขึ้น และหดสั้นเข้าจนมีลักษณะเป็นแท่งๆ เรียกว่า โครโมโซม (chromosome)
• มีหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก
บางช่วงของดีเอ็นเอทาหน้าที่เป็นยีนที่ควบคุมลักษณะ
ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
ลักษณะของติ่งหูที่มีแอลลีล E เป็นยีนเด่น และแอลลีล
e เป็นยีนด ้อย ซึ่งรูปแบบของแอลลีลที่เข ้าคู่กัน เช่น EE
Ee ee เรียกว่า จีโนไทป์ ส่วนลักษณะที่แสดงออกมา
ยีนอยู่บนสายดีเอ็นเอ แต่สายดีเอ็นเอจะมีการขดตัวเป็น
แท่งเมื่ออยู่ระหว่างการแบ่งเซลล์ เรียกว่า โครโมโซม
สายดีเอ็นเอของเซลล์ที่อยู่ระหว่างการแบ่งเซลล์แตกต่างกับ
ช่วงที่ไม่ได้แบ่งเซลล์อย่างไร
ในช่วงของการแบ่งเซลล์
สายดีเอ็นเอจะขดตัวเป็นแท่ง
โครโมโซม ประกอบด้วย
โครมาทิด 2 เส้น ที่เชื่อมกัน
ที่ตาแหน่งเซนโทรเมียร์
แต่ในช่วงที่ไม่ได้แบ่งเซลล์
โครโมโซ มจะคลายตัว
เป็นสายยาว เรียกว่า โครมาทิน
ที่ประกอบด้วยสายดีเอ็นเอ
เกาะกับโปรตีนฮีสโตน
ดีเอ็นเอมีลักษณะและโครงสร้างอย่างไร
ดีเอ็นเอเกิดจากหน่วยย่อยของนิวคลีโอ
ไทด์เชื่อมต่อกันเป็น
สายยาว มีโครงสร ้างประกอบด ้วย น้าตาลดี
ออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบส (อะดีนีน
โปรตีน
กรดนิวคลีอิก
( Nucleic acid )
Histone กับ Non- histone
ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก แอซิด
( DNA )
ไรโบนิวคลีอิก แอซิด
( RNA )
Deoxyribonucleic acid
ประกอบด้วย
1. น
้ำตำลดีออกซีไรโบส ( deoxyribose ) C5H10O4
2. เบส มี 4 ชนิด
- adenine หรือ A
- guanine หรือ G
- thymine หรือ T
- cytosine หรือ C
3. หมู่ฟอสเฟต
พิวรีน ( purine )
ไพริมิดีน ( pyrimidine )
อภิปราย
จากที่นักเรียนได้เรียนมาในวันนี้นักเรียนจะบอกถึง
ความสัมพันธ ์ของโครโมโซม ยีน ดีเอ็นเอ ว่าอย่างไร
โครงสร้างของดีเอ็นเอ DNA structure
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน สืบค้นข้อมูล
ร่วมกันวาดภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครโมโซม ดีเอ็นเอ
และยีน ลงในกระดาษ
นักเรียนแต่ละกลุ่มนาเสนอภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างโครโมโซม
ดีเอ็นเอ และยีน
ให้เวลาแต่ละกลุ่ม 5 นาที ในการคิดวิเคราะห์หรือสืบค้นข้อมูล
เพิ่มเติมว่าความรู้ที่ได้เรียนไปในวันนี้สามารถนาไปใช้
ในชีวิตประจาวันได้อย่างไร
ทุกชีวิตบนโลกนี้ถูกกาหนดลักษณะด้วยดีเอ็นเอ (DNA)
• การศึกษาจีโนมจะช่วยให ้นักวิทยาศาสตร์ทราบ
รายละเอียดพันธุกรรมทั้งหมด ของมนุษย์ ซึ่ง
เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของการสร ้างมนุษย์ หากมนุษย์
เราสามารถตัดต่อรหัสพันธุกรรมหรือเปลี่ยนพิมพ์เขียว
ได ้ดั่งใจต ้องการ ในโลกแห่งอนาคตมนุษย์จะสามารถ
ออกแบบชีวิตให ้เป็นไปอย่างที่ต ้องการได ้
หนึ่งในรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจาปี 2020 ที่น่าสนใจ คือ รางวัลการพัฒนาวิธี
ตัดแต่งจีโนม (Genome Editing) โดยนักวิทยาศาสตร์หญิง เอ็มมานูแอลล์ ชาร์ปงทิเย
(Emmanuelle Charpentier) จากหน่วยวิจัยมักซ์ และเจนนิเฟอร์ เอ ดอดนา
(Jennifer A. Doudna) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ เป็นผู้ได้รับมอบรางวัล
สิ่งที่น่าสนใจจากรางวัลดังกล่าวคือ นักวิทยาศาสตร ์สามารถเลือกตัดต่อจีโนมที่
ไม่ต้องการ และเลือกจีโนม ที่ต้องการเข้าแทนที่ได้แล้ว เหมือนกับการเขียน
จีโนมขึ้นมาใหม่ซึ่งมีข้อดีคือ ทาให้มนุษย์มีหนทางใหม่ๆ ในการรักษาโรค
บางประเภทที่ยังรักษาไม่ได้ เช่น มะเร็ง หรือโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ หรือการ
รักษาโรค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสามารถตรวจรักษาโรคได้ตรง
จุดและเหมาะกับผู้ป่ วยแต่ละรายตามจีโนม ของแต่ละคน เช่น โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
• นอกจากนี้ ในโลกแห่ง
อนาคตเราอาจสามารถ ลด
การเจ็บป่ วย เพิ่มความหล่อ
สวย เติมความฉลาดให ้กับ
สมองของมนุษย์เราได ้ผ่าน
การตัดต่อจีโนม
• การศึกษาจีโนมจึงสร ้าง
ประโยชน์ให ้กับมนุษย์ทั้ง
ประโยชน์ด ้านการแพทย์
และสาธารณสุข เศรษฐกิจ
และการอนุรักษ์
• อาจตัดถอนสิ่งที่ไม่ดีของ
ร่างกายออกพร ้อมเปลี่ยนสิ่ง
ใหม่เข ้ามา เพื่อสร ้างมนุษย์
แห่งอนาคตที่มีความแข็งแรง
กาลังเป็นวิวัฒนาการที่สาคัญ
ของมวลมนุษยชาติ
นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ตาม QR CODE
การที่นักวิทยาศาสตร ์สามารถเลือกตัดต่อจีโนม
ที่ไม่ต้องการ และเลือกจีโนมที่ต้องการเข้า
แทนที่ในสิ่งมีชีวิต เพื่อเลือกลักษณะที่ต้องการ
ได้ นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
ส่งใบงานที่ 5.1 คาบเรียนถัดไป
โครโมโซม ยีน ดีเอ็นเอ
ลักษณะของโครโมโซม
• เมื่อมองเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเส้นใยเล็กๆ พันกันอยู่ในนิวเคลียส เรียกว่า โครมา
ทิน (chromatin)
• เมื่อเริ่มแบ่งเซลล์ โครมาทินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง เรียกว่า โครโมโซม
• แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขน 2 ข้าง เรียกว่า โครมาทิด (chromatid)
• จุดที่เชื่อมแขนทั้ง 2 ข้างของโครโมโซมให้ติดกัน เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (centomere)
• มนุษย์มีจานวนโครโมโซม 46 โครโมโซม จัดเป็นคู่ได้ 23 คู่ โดยที่ 22 คู่ เรียกว่า
ออโตโซม (autosome) มีบทบาทสาคัญในการกาหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ
ในร่างกาย ส่วนอีก 1 คู่ เรียกว่า โครโมโซมเพศ (sex chromosome)
• โครโมโซมเพศ เป็นการจับคู่ของโครโมโซม 2 ตัว ที่แตกต่างกัน คือ โครโมโซม X
และโครโมโซม Y
• เพศหญิงมีโครโมโซมเพศ XX ส่วนเพศชายมีโครโมโซมเพศ XY
เพศหญิง เพศชาย
จานวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต
ตารางแสดงจานวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิต ชื่อวิทยาศาสตร์ จานวนโครโมโซม
แตงกวา Cucumis sativus 14
มะละกอ Carica papaya 18
ข้าว Oryza sativa 24
อ้อย Saccarum offcinarum 80
ยูกลีนา Euglena gracilis 90
หมู Sus scrofa 40
มนุษย์ Homo sapiens 46
ลิงชิมแปนซี Pan troglodytes 48
แมว Felis domestica 38
สุนัข Canis familiaris 78
การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)
เกิดกับเซลล์ร่างกาย (somatic cell) ทั่วไป เซลล์ร่างกาย
ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จะเริ่มต้นจากเซลล์เพียงเซลล์เดียวคือ
ไซโกต (zygote) ไซโกตจะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสหลายครั้ง เพิ่ม
จานวนเซลล์และมีขั้นตอนการพัฒนาจนเป็นตัวเต็มวัย
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส แบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
1. โพรเฟส (prophase)
2. เมทำเฟส (metaphase)
3. แอนำเฟส (anaphase)
4. เทโลเฟส (telophase)
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)
เป็นการแบ่งของเซลล์เพศ (sex cell) ในสัตว์สามารถพบการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโอซิสในอัณฑะและรังไข่ ส่วนในพืชพบได้ในอับเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์
สืบพันธุ์ การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมี 2 ขั้นตอนคือ
1. ไมโอซิส 1 เป็นระยะที่มีการลดจานวนโครโมโซมจากเดิมลงครึ่งหนึ่ง คือ
จากเซลล์เริ่มต้นที่มีจานวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) จะได้เซลล์ที่มีโครโมโซม
เป็นแฮพลอยด์ 2 เซลล์ไมโอซิส 1 แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่
1) โพรเฟส 1 (prophase - I)
2) เมทาเฟส 1 (metaphase - I)
3) แอนาเฟส 1 (anaphase - I)
4) เทโลเฟส 1 (telophase - I)
2. ไมโอซิส 2 เป็นระยะที่คล้ายคลึงกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการแยกตัว
ของโครมาทิดเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดระยะนี้ จะได้4 เซลล์มีโครโมโซมเป็นแฮ
พลอยด์ และ 4 เซลล์นี้จะมีจานวนโครโมโซมและพันธุกรรมแตกต่างจากเซลล์
เริ่มต้น จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ไมโอซิส 2 จะมีการจาลอง
โครโมโซมขึ้นอีกในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ประกอบด้วย
1) โพรเฟส 2 (prophase - II)
2) เมทาเฟส 2 (metaphase - II)
3) แอนาเฟส 2 (anaphase - II)
4) เทโลเฟส 2 (telophase - II)
ขั้นตอนต่างๆในไมโอซิส Meiosis - I มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
Interphase- I
มีการสังเคราะห์ DNA อีก 1 เท่าตัว หรือมีการจาลองโครโมโซม
อีก 1 ชุด และยังติดกันอยู่ที่ปมเซนโทรเมียร์ ดังนั้น โครโมโซม 1 ท่อน จึง
มี 2 โครมาทิด
Metaphase - I
ไบแวเลนท์จะมาเรียงตัวกัน อยู่ในแนวกึ่งกลางเซลล์ (โฮโมโลกัส
โครโมโซม ยังอยู่กันเป็นคู่ๆ)
Anaphase - I
ไมโทติก สปินเดิล จะหดตัวดึงให้โฮโมโลกัส โครโมโซม ผละแยก
ออกจากกัน
จานวนชุดโครโมโซมในเซลล์ ระยะนี้ยังคงเป็น 2n เหมือนเดิม (2n เป็น 2n)
Telophase - I
โครโมโซมจะไปรวมอยู่ แต่ละขั้วของเซลล์ และในเซลล์บางชนิด ในระยะนี้ จะมี
การสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียส มาล้อมรอบโครโมโซม และแบ่งไซโทพลาสซึม ออกเป็น 2 เซลล์
เซลล์ละ n แต่ในเซลล์บางชนิด จะไม่แบ่งไซโทพลาสซึม โดยจะมีการเปลี่ยนแปลง ของ
โครโมโซม เข้าสู่ระยะโพรเฟส II เลย
Meiosis - II มีเหตุการณ์ณ์ต่างๆ ต่อไปนี้เกิดขึ้น
Interphase - II เป็นระยะพักตัว ซึ่งมีหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของ
เซลล์ไม่มีการ สังเคราะห์ DNA หรือจาลองโครโมโซมแต่อย่างใด
Prophase - II โครมาทิดจะหดสั้นมากขึ้น ไม่มีการเกิดไซแนปซิส,
ไคแอสมา, ครอสซิ่งโอเวอร์
Metaphase - II โครมาทิดมาเรียงตัว อยู่ในแนวกึ่งกลางเซลล์
Anaphase - II มีการแยกโครมาทิดออกจากกัน ทาให้จานวนชุด
โครโมโซมเพิ่มจาก n เป็น 2 n ชั่วขณะ
Telophase - II มีการแบ่งไซโทพลาสซึม จนได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ซึ่งแต่
ละเซลล์มีโครโมโซม เป็น n
ยีน (gene)คือ หน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม
(chromosome) มีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด ทาหน้าที่ควบคุม
ลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน ในคนจะมียีน
ประมาณ 50,000 ยีน แต่ละยีนจะควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรม
เพียงลักษณะเดียว ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมบางอย่างมี 2 ชนิด
ส่วนหนึ่งที่ทาให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น
ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม
• DNA ย่อมาจาก Deoxyribonucleic acid
• ประกอบด้วย สายนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สองสายบิดตัวเป็นเกลียวคู่
(double helix)
• มีเบส เป็นตัวยึดสายนิวคลีโอไทด์ทั้งสอง ซึ่งเบสมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ อะดีนีน
(Adenine : A) ไทมีน (Thymine : T) ไซโทซีน (Cytosine : C) และกัวนีน
(Guanine : G)
ดีเอ็นเอ
สรุปความแตกต่างระหว่าง ยีน (Gene) ดีเอ็นเอ(DNA) และ โครโมโซม
(Chromosome)
- ยีน (Gene) เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ (DNA)
- ดีเอ็นเอ (DNA) จะมีส่วนที่ไม่ใช่ยีนและส่วนที่เป็นยีน (Gene) เป็นส่วนประกอบ
และ ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นส่วนประกอบหลักของโครโมโซม (Chromosome)
- โครโมโซม (Chromosome) มีดีเอ็นเอ (DNA) และโปรตีน (Protein) เป็น
ส่วนประกอบหลัก
หากเรียงขนาดจากใหญ่ไปเล็กจะเรียงได้ดังนี้
โครโมโซม (Chromosome) > ดีเอ็นเอ(DNA) > ยีน
สรุปศัพท์ทางพันธุศาสตร์บางคาที่ควรรู้จัก
1. ยีน (Gene) คือลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม
โครโมโซมของคนมี 23 คู่ และมียีนอยู่ประมาณ 50,000 ยีน ยีนเหล่านี้
กระจายอยู่ในโครโมโซมแต่ละคู่และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะไปสู่ลูกได้
ประมาณ 50,000 ลักษณะ
2. แอลลีล (allele) คือยีนที่เป็นคู่เดียวกันเรียกว่าเป็น แอลลีลิก (allelic)
ต่อกันหมายความว่าแอลลีลเหล่านั้นจะมีตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซมที่
เป็นคู่กัน (homologous chromosome)
3. เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) หมายถึงเซลล์เพศ (sex cell) ทั้งไข่ (egg) และ
อสุจิหรือ (Sperm)
4. จีโนไทป์ (genotype) หมายถึงลักษณะการจับคู่กันของแอลลีลของยีนที่
ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งจะมี 2 ลักษณะ ลักษณะพันธุ์แท้
เช่น TT, tt และลักษณะพันธุ์ทาง เช่น Tt
5. ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึงลักษณะที่ปรากฏออกมาให้เห็นซึ่งเป็นผล
จากการแสดงออกของจีโนไทป์นั่นเอง เช่น TT, Tt มียีนไทป์ต่างกันแต่มีฟีโน
ไทป์เหมือนกัน คือ เป็นต้นสูงทั้งคู่
6. ฮอมอไซโกต (homozygote) หมายถึงคู่ของแอลลีลซึ่งเหมือนกัน เช่น TT
จัดเป็น ฮอมอไซกัดโดมิแนนต์ (homozygous dominant) เนื่องจากลักษณะ
ทั้งคู่เป็นลักษณะเด่น หรือ tt จัดเป็นฮอมอไซกัสรีเซสซีฟ(homozygous
recessive) เนื่องจากลักษณะทั้งคู่เป็นลักษณะด้อย ลักษณะที่เป็นฮอมอไซโกต
เราเรียกว่า พันธุ์แท้
7. เฮเทอโรไซโกต (heterozygote) หมายถึง คู่ของแอลลีนที่ไม่เหมือนกัน
เช่น Tt ลักษณะของเฮเทอโรไซโกตเราเรียกว่าเป็นพันธุ์ทาง
8. ลักษณะเด่น (dominant) คือลักษณะที่แสดงออกเมื่อเป็นฮอมอไซกัสโด
มิแนนต์และเฮเทอโรไซโกต
9. ลักษณะด้อย (recessive) ลักษณะที่จะถูกข่มเมื่ออยู่ในรูปของเฮเทอโรไซ
โกตและจะแสดงออกเมื่อเป็นฮอมอไซกัสรีเซสซีฟ
10. ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (complete dominant) หมายถึงการข่มของ
ลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเป็นไปอย่างสมบูรณ์ทาให้ฟีโนไทป์ของฮอมอ
ไซกัสโดมิเนนต์และเฮเทอโรไซโกตเหมือนกัน เช่น TT จะมีฟีโนไทป์
เหมือนกับT t ทุกประการ
11. ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (incomplete dominant) เป็นการข่มกันอย่าง
ไม่สมบูรณ์ ทาให้เฮเทอโรไซโกตไม่เหมือนกับฮอมอไซกัสโดมิเนนต์ เช่น
การผสมดอกไม้สีแดงกับดอกไม้สีขาวได้ดอกไม้สีชมพูแสดงว่าแอลลีลที่
ควบคุมลักษณะดอกสีแดงข่มแอลลีลที่ควบคุมลักษณะดอกสีขาวได้ไม่
สมบูรณ์
12. ลักษณะเด่นร่วม (codominant) เป็นลักษณะที่แอลลลีลแต่ละตัวมีลักษณะ
เด่นกันทั้งคู่ข่มกันไม่ลงทำให้ฟีโนไทป์ของเฮเทอโรไซโกตแสดงออกมำทั้ง
สองลักษณะ เช่น หมู่เลือด AB ทั้งแอลลีล IA และแอลลีล IB จะแสดงออกใน
หมู่เลือดทั้งคู่
13. เทสต์ครอส (test cross) เป็นการผสมระหว่างต้นที่มีฟีโนไทป์เด่นกับต้น
ที่มีฟีโนไทป์ด้อย เพื่อต้องการทราบว่าต้นลักษณะเด่นนั้นเป็นลักษณะพันธุ์แท้
หรือพันทาง ถ้าหากต้นที่ผสมซึ่งเป็นลักษณะด้อยนั้นเป็นพ่อแม่จะเรียกว่าการ
ผสมแบบแบค ครอส (back cross)
14. คาร์โอไทป์ (karyotype) คือการศึกษาโครโมโซมโดยการถ่ายภาพแล้วนา
ภาพถ่ายของ โครโมโซมมาจัดเรียงเข้าคู่กันและแบ่งเป็นกลุ่มๆได้
15. การถ่ายทอดพันธุกรรมลักษณะเดียว (monohybrid cross) เป็นการผสม
พันธุ์ซึ่งเราคานึงถึงลักษณะเพียงลักษณะเดียวและมียีนควบคุมอยู่เพียงคู่
เดียว
16. การถ่ายทอดพันธุกรรมสองลักษณะ (dihybrid cross) เป็นการผสมที่
ศึกษาลักษณะสองลักษณะในเวลาเดียวกัน มียีนควบคุมสองคู่ยีนและ
โครโมโซม
17. มิวเทชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่ง
ลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอดสืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล ( Gregor Johann Mendel)
นักบวชชาวออสเตรียที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพฤกษศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ ได้ทาการทดลองและอธิบายวิธีการถ่ายทอดลักษณะ
ทางพันธุกรรมได้อย่างชัดเจน จนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่ง
พันธุศาสตร์ เขาได้ศึกษาโดยผสมพันธุ์ถั่วเดียว กันและต่างพันธุ์
เป็นจานวนแตกต่างถึง 22 ชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะ
ทั้งหมด เป็นเวลารวม 8 ปีเต็มในการทดลองร่วมพันครั้ง พบได้
ดังนี้
สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิต
ต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่ว
เมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลือง
ออกมา
ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรก
รุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด ในทุกๆสี่ต้นจะมีสามต้นที่มีเมล็ด
สีเหลือง และ 1 ต้น ที่มีเมล็ดสีเขียว นี่เป็นเพราะว่าหน่วยถ่ายพันธุ์
ที่ผลิตเมล็ดสีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ เด่น หน่วยถ่ายพันธุ์ที่
ผลิตเมล็ดสีเขียว คือ หน่วยถ่ายพันธุ์ด้อย
การทดลองของเมนเดล
เมนเดลประสบผลสำเร็จในกำรทดลอง จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับกำรถ่ำยทอดลักษณะ
ทำงพันธุกรรมจำกพ่อแม่มำยังลูกหลำนใน ช่วงต่อๆมำได้เนื่องจำกสำเหตุสำคัญสอง
ประกำร คือ
1. เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมำทำกำรทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในกำรทดลองคือถั่ว
ลันเตำ ซึ่งมีข้อดีในกำรศึกษำด้ำนพันธุศำสตร์หลำยประกำร เช่น
1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสำมำรถสร้ำงพันธุ์แท้ได้ง่ำย หรือจะทำ
กำรผสมข้ำมพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้ำงลูกผสมก็ทำได้ง่ำยโดยวิธีผสมโดยใช้มือ
ช่วย (hand pollination)
1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่ำย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษำมำกนัก ใช้เวลำปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึง
เก็บเกี่ยวภำยในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมำณ 3 เดือน เท่ำนั้น และยังให้
เมล็ดในปริมำณที่มำกด้วย
1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทำงพันธุกรรม ที่แตกต่ำงกันชัดเจนหลำยลักษณะ ซึ่งในกำร
ทดลองดังกล่ำว เมนเดลได้นำมำใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
• เมนเดลทดลองแบบเดียวกัน กับลักษณะอื่นๆ อีก 6 ลักษณะของถั่วลันเตำ ได้แก่
ลักษณะเมล็ด สีของเมล็ด ลักษณะของฝัก สีของฝัก ตำแหน่งของดอก และสีของเปลือก
หุ้มเมล็ด
• กำรแสดงออกของลักษณะต่ำงๆ ในสิ่งมีชีวิต
เกิดจำกโครโมโซมที่ทำหน้ำที่ถ่ำยทอดข้อมูล
ทำงพันธุกรรม เรียกว่ำ โครโมโซมคู่เหมือน
(homologous chromosome)
• ยีนที่ควบคุมกำรแสดงออกเดียวกันที่อยู่บน
โครโมโซมคู่เหมือน เรียกว่ำ จีโนไทป์
(genotype)
• จีโนไทป์ เขียนแทนด้วยอักษรภำษำอังกฤษ
สองตัว เช่น Aa, BB, Dd โดยอักษรตัวพิมพ์
ใหญ่ หมำยถึง ยีนเด่น และตัวพิมพ์เล็ก
หมำยถึง ยีนด้อย
ลักษณะทางพันธุกรรม
ยีนเด่น (B) เพียงตัวเดียวก็จะ
ทาให ้ลักษณะ
ที่แสดงออกเป็นลักษณะเด่น
ได ้
ลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ และ
การปฏิสนธิ
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมหนึ่งลักษณะ
หากนาพืชต้นสูงพันธุ์แท้ (TT)
ผสมกับต้นเตี้ยแคระ (tt) จะได้
รุ่นลูก (F1 ) ที่มียีนแบบ Tt ซึ่งมี
ลักษณะต้นสูง
เมื่อนารุ่นลูก (F1 ) มาผสมพันธุ์
กัน โอกาสที่ยีนจะเข้าคู่กันมี
3 แบบ คือ TT, Tt, tt ใน
อัตราส่วน 1:2:1 ดังนั้น
รุ่นหลาน (F2) จะมีลักษณะ
ต้นสูง และต้นเตี้ยแคระ
ในอัตราส่วน 3:1
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสองลักษณะ
• เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีลักษณะทาง
พันธุกรรมหลายลักษณะ ดังนั้น
ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งจึงมี
การถ่ายทอดลักษณะอื่นๆ ไป
พร้อมกันด้วย
• เมื่อผสมพันธุ์ถั่วลันเตาเมล็ดกลม
สีเหลือง กับถั่วลันเตาเมล็ด
ขรุขระสีเขียว จะได้รุ่นลูก (F1 ) มี
ลักษณะเมล็ดกลมสีเหลือง
ทั้งหมด
• เมื่อนารุ่นลูก (F1 ) มาผสมพันธุ์กันจะได้รุ่นหลาน (F2) มีเมล็ด 4 ลักษณะ คือ เมล็ดกลม
สีเหลือง เมล็ดกลมสีเขียว เมล็ดขรุขระสีเหลือง และเมล็ดขรุขระสีเขียว ในอัตราส่วน
9:3:3:1
RRYY 1/16
RRYy 2/16
RRyy 1/16
RrYY 2/16
RrYy 4/16
Rryy 2/16
rrYY 1/16
rrYy 2/16
rryy 1/16
บางกรณีลักษณะเด่นไม่สามารถข่มลักษณะด้อยได้ เรียกว่า ลักษณะข่มไม่สมบูรณ์
(incomplete dominant) ทาให้รุ่นลูก (F1 ) แสดงออกทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อย
รุ่นพ่อแม่
(ดอกสีขาว) (ดอกสีแดง)
(ดอกสี
ชมพู)
รุ่นลูก
(F1)
Pp (ดอกสี
ชมพู)
รุ่นลูก
(F1)
Pp (ดอกสี
ชมพู)
PP
(ดอกสี
แดง)
Pp
(ดอกสี
ชมพู)
Pp
(ดอกสี
ชมพู)
pp
(ดอกสี
ขาว)
รุ่นหลาน
(F2)
ลักษณะทางพันธุกรรมบางชนิดถูก
ควบคุมโดยแอลลีล ที่มีความสามารถในการ
แสดงออกได้เท่าๆ กัน เช่น หมู่เลือดระบบ
ABO ในคน ซึ่งจาแนกตามชนิดของแอนติเจน
ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง หมู่เลือด A
มี แอนติเจน A หมู่เลือด B มี แอนติเจน B จาก
การศึกษาพบว่า พ่อและแม่ที่มียีนควบคุมหมู่
เลือด A และ B ที่เป็นฮอมอไซกัสจะได้ลูกที่มี
หมู่เลือด AB แสดงว่า แอลลีล IA และ IB แสดง
ลักษณะเด่น ได้เท่า ๆ กัน จึงแสดงออกร่วมกัน
เรียกว่า การข่มร่วมกัน (Codominance)
การข่มร่วมกัน (Codominance)
มัลติเปิลแอลลีล (Multiple Alleles)
ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะ เช่น หมู่เลือด ระบบ ABO ในคนถูก
ควบคุมด้วย ยีนตาแหน่งเดียว (Single locus) แต่มีแอลลีล มากกว่า 2 แบบคือ
แอลลีล IA IB และ i เรียก ยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีลใน 1 โลคัส ว่า มัลติเปิลแอล
ลีล (Multiple Alleles) โดยแอลลีล IA ควบคุมการสร้างแอนติเจน A บนเยื่อหุ้ม
เซลล์เม็ดเลือดแดง แอลลีล IB ควบคุมการสร้างแอนติเจน B บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ด
เลือดแดง แอลลีล iไม่ควบคุมการสร้างแอนติเจน A และแอนติเจน B ทาให้หมู่
เลือดในระบบ ABO มีจีโนไทป์ และพีโนไทป์ ดังตาราง
แสดงว่า แอลลีล IA IB สามารถข่ม แอลลีล i ได้แต่ไม่สามารถ
ข่มกันเองได้ IA IB จึงเป็นการข่มร่วมกันและเป็นมัลติเปิลแอลลีล
เมื่อพ่อหมู่เลือด A แม่หมู่เลือด B ลูกจะมีโอกาสมีหมู่เลือด A , B , AB
และ O
ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous
variation)
• เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
• เกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
• ตัวอย่างเช่น ลักษณะลักยิ้ม ติ่งหู ห่อลิ้น
ความแปรผันทางพันธุกรรม
ห่อลิ้น
ได้
ห่อลิ้น
ไม่ได้
ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation)
• เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
• ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
• ตัวอย่างเช่น ความสูง น้าหนัก โครงร่าง สีผิว
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
เพดดีกรี (pedigree) หรือพงศาวลี เป็นแผนผังในการศึกษาพันธุกรรม
ของคน ซึ่งแสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวดังแผนผัง
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยยีนบนออโทโซม (autosome) และยีน
บนโครโมโซมเพศ (sex chromosome)
ในร่างกายคนมีโครโมโซม 46 แท่ง มาจัดเป็นคู่ได้23 คู่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด
คือ
1) ออโทโซม (autosome) คือ โครโมโซม 22 คู่ คู่ที่ 1 - คู่ที่ 22
เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
2) โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมอีก 1 คู่
(คู่ที่ 23) สาหรับในเพศหญิงและเพศชายต่างกัน โดยเพศหญิงจะเป็นแบบ XX
เพศชายจะเป็นแบบ XY โดยโครโมโซม Y จะมีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม X
ยีนบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากยีนบนออโทโซม แบ่งได้
2 ชนิด ดังนี้
2.1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนออโทโซม การ
ถ่ายทอดนี้จะถ่ายทอดจากชายหรือหญิงที่มีลักษณะทางพันธุ์แท้ ซึ่งมียีนเด่นทั้งคู่หรือมียีนเด่น
คู่กับยีนด้อย นอกจากนี้ยังมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ ที่นาโดยยีนเด่น เช่น คนแคระ คนเป็นโรค
ท้าวแสนปม เป็นต้น
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโทโซม การ
ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนด้อย เมื่อดูจาก
ภายนอกทั้งพ่อและแม่มีลักษณะปกติ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่เรียกว่าเป็นพาหะ
(carrier) ของลักษณะที่ผิดปกติ
โรคที่เกิดจากยีนด้อยบนออโทโซม
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางจากกรรมพันธุ์ที่มีความ
ผิดปกติของเม็ดเลือดแดง คือ มีการสังเคราะห์เฮโมโกลบินผิดไปจาก
ปกติ อาจมีการสังเคราะห์น้อยกว่าปกติ จึงทาให้เม็ดเลือดแดงมี
ลักษณะผิดปกติ แตกง่าย อายุของเม็ดเลือดแดงสั้นลง อัตราเสี่ยงหรือ
โอกาสของลูกที่จะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะของโรค
ลักษณะผิวเผือก เป็นผลมาจากการขาดเอนไซม์ที่ใช้ในการ
สังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน จึงส่งผลทาให้ผิวหนัง เส้นผม
นัยน์ตา และเซลล์ผิวหนังมีสีขาว ดังรูป
ยีนบนโครโมโซมเพศ มีรายละเอียดดังนี้
ลักษณะพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ได้แก่โรคตาบอดสี,
โรคฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุด)
ลักษณะพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนเด่นบนโครโมโซม X ได้แก่โรคมนุษย์หมาป่า
ตัวอย่างการถ่ายทอดยีนด้อยบนโครโมโซม X เช่น ชายปกติแต่งงานกับ
หญิงปกติแต่เป็นพาหะของตาบอดสี ลูกที่เกิดมา มีลักษณะอย่างไร
1. ผ่านทางออโตโซม ซึ่งจะเป็นไปตามกฎ
ของเมนเดล เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะ
การมีติ่งหู
2. ผ่านทางโครโมโซมเพศ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่อง
กับโครโมโซม X เช่น ยีนที่กาหนด
ตาบอดสีซึ่งมียีนด้อยอยู่บนโครโมโซม
X จึงทาให้แสดงลักษณะออกมาได้
อย่างเต็มที่ในเพศชาย
วิธีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ตัวอย่างการถ่ายทอดยีน
ตาบอดสี
ซึ่งอยู่บนโครโมโซม X
เป็นปรากฏการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยีน ทาให้มีคุณสมบัติ
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การกลายที่เซลล์ร่างกาย
• เกิดกับยีนในเซลล์ต่างๆ ของ
ร่างกาย ซึ่งไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน
เช่น การเกิดมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น
การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์
• เกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่ง
สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้
การกลาย
นิวเกิน
โรคทางพันธุกรรม
ความผิดปกติของออโตโซม
• การเพิ่มจานวนโครโมโซม
กลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุ: เกิดจากโครโมโซมร่างกายคู่ที่ 21
เกินมา 1 โครโมโซม
โรคทางพันธุกรรม
อาการ: ระยะแรกเกิดตัวจะอ่อนปวกเปียก
ศีรษะและดั้งจมูก แบน ตาห่าง
หางตาชี้ ปากปิดไม่สนิท ลิ้นจุกปาก
นิ้วมือสั้นและป้อม หัวใจพิการ
ปัญญาอ่อน อายุสั้น
กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome)
เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม
ลักษณะหัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดปกติ ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอ
และกาเข้าหากันแน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีลักษณะ
ปัญญาอ่อนร่วมอยู่ด้วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ ดังรูป
กลุ่มอาการพาเทา (Patau's syndrome)
เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม
ลักษณะที่ปรากฏจะพบว่ามีอาการปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก
นิ้วเกิน ตาอาจพิการ หรือตาบอด ส่วนใหญ่อายุสั้นมาก ดังรูป
• การขาดหายของโครโมโซม
กลุ่มอาการคริดูชาต์
สาเหตุ: เกิดจากส่วนของแขนข้างสั้นของ
โครโมโซมคู่ที่ 5 หายไป
1 โครโมโซม
อาการ: ศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้ากลม
ใบหูต่า ตาห่าง ปัญญาอ่อน
เสียงร้องแหลมเล็ก คล้าย
แมวร้อง
• การลดจานวนโครโมโซม
กลุ่มอาการเทอร์เนอร์
สาเหตุ: เกิดจากโครโมโซม X หายไป
1 โครโมโซม ซึ่งพบในเพศหญิง
อาการ: รูปร่างเตี้ย คอสั้นและมีพังผืด
เป็นแผ่นกว้าง หัวนมเล็กและ
อยู่ห่างกัน รังไข่ไม่เจริญและ
เป็นหมัน
หน้าอกกว้าง
หัวนมเล็ก
คอสั้นและ
มีพังผืด
รังไข่
ไม่เจริญ
โครโมโซม X เกินมาจากปกติ พบได้ทั้งในเพศ
หญิงและเพศชาย มีดังนี้
1) ในเพศหญิง โครโมโซมเพศเป็น XXX หรือ
XXXX จึงทาให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47
โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึง
เป็นแบบ 44+XXX หรือ 44+XXXX เรียกผู้ป่วยที่
เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์ฟีเมล (Super
female) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศหญิงทั่วไปดูปกติ
สติปัญญาต่ากว่าระดับปกติ ลูกที่เกิดมาจากแม่ที่มี
โครโมโซมแบบนี้อาจมีความผิดปกติเช่นเดียวกับแม่
ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
• การเพิ่มจานวนโครโมโซม
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
สาเหตุ: เกิดจากการมีโครโมโซม X
เกินมา จากปกติ ซึ่งพบใน
เพศชาย
อาการ: อัณฑะเล็ก เป็นหมัน รูปร่างคล้าย
เพศหญิง (สะโพกผาย หน้าอกโต)
เสียงแหลม แขนขายาว ปัญญาอ่อน
สะโพกพาย
หน้าอกโต
แขนขายาว
กลุ่มอาการดับเบิ้ลวาย
สาเหตุ: เกิดจากการมีโครโมโซม Y เพิ่มมา
1 โครโมโซม ซึ่งพบในเพศชาย
อาการ: รูปร่างสูงกว่าปกติ มีอารมณ์รุนแรง
โมโหง่าย อวัยวะเพศเจริญดี ไม่เป็น
หมัน
เทคโนโลยีชีวภาพ
การผสมในหลอดแก้ว
เป็นการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ โดยการ
นาไข่ออกมาจากมดลูกไปผสมกับเชื้ออสุจิใน
ห้องปฏิบัติการ ก่อนที่จะนาตัวอ่อนกลับไปฝังใน
มดลูกอีกครั้ง
การทากิฟต์
เป็นการนาอสุจิและเซลล์ไข่ใส่เข้าไปใน
ท่อรังไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ
ด้านการแพทย์
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เป็นการนาชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยงบน
อาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีสารอาหารที่เหมาะสมต่อการ
เจริญเติบโตของพืช ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ เวลา
และแรงงาน
ด้านเกษตรกรรม
การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
เป็นวิธีการที่ใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม
เพื่อสร้างลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการ เช่น
สร้างพืชต้านทานโรค พืชทนต่อแมลงศัตรูพืช
พืชทนแล้ง ทนเค็ม เป็นต้น
การถ่ายฝากตัวอ่อน
เป็นการนาตัวอ่อนที่ได้จากการผสมพันธุ์
ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์ ไปฝากไว้ในมดลูก
ของแม่พันธุ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งมักเป็นสายพันธุ์
พื้นเมืองที่มีความแข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม
หรือโรคต่างๆ ได้ดี
การผลิตไวน์
เป็นการผลิตแอลกอฮอล์จากพืชด้วย
กระบวนการเปลี่ยนน้าตาลในพืชให้เป็น
แอลกอฮอล์ โดยการหมักผลไม้ด้วยยีสต์
การผลิตสารเคมีบางชนิด
เป็นการนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
มาทาให้พืชบางชนิดที่สามารถผลิตสารเคมี
ที่มีคุณสมบัติเป็นยาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
สามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสามารถสร้าง
สารเหล่านั้นได้ในปริมาณมากขึ้น
ด้านอุตสาหกรรม
เป็นการนาเทคโนโลยีไปใช้ในด้านการบาบัดน้าเสีย เช่น
การบาบัดน้าเสียโดยใช้จุลินทรีย์ EM ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับ
กลิ่นน้าเสีย และไม่ทาลายสมดุลของสิ่งแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อม
• เป็นการนาความรู้ทางด้านลาดับข้อมูลทาง
พันธุกรรมในสายดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ทางด้าน
นิติเวชเพื่อการสืบสวนหาอาชญากร ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้
ชี้ตัวบุคคลได้อย่างถูกต้องและแม่นยา
• การตรวจดีเอ็นเอ ทาได้โดยส่งตัวอย่างเข้าเครื่อง
หาลาดับดีเอ็นเอและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ
ประมวลผล ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแสดงรหัสดีเอ็นเอ
เป็นแท่งๆ เรียงกัน เรียกว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
• นอกจากนี้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอสามารถใช้เป็น
เครื่องพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูกได้ด้วย โดยลูกจะ
มีดีเอ็นเอครึ่งหนึ่งเหมือนพ่อและอีกครึ่งหนึ่ง
เหมือนแม่
ด้านนิติเวช
ใบงาน 5 คะแนน
1. ใช้กระดาษ A 3
2. เขียนแผนผังความคิดเรื่องพันธุกรรม โดยจะต้องมีหัวข้อดังนี้
1. พันธุกรรม
2. ยีน โครโมโซม และดีเอ็นเอ
3. การแบ่งเซลล์ต่างๆ
4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล
5. โรคทางพันธุกรรม
เกณฑ์การให้คะแนน
ส่งตรงเวลา 20 % (ก่อนสอบ)
เนื้อหาครบ ตรงตามเกณฑ์ 60%
ความเรียบร้อยความสวยงาม 20%

More Related Content

Similar to การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม.pptx

1 2การแบ่งเซลล์
1 2การแบ่งเซลล์1 2การแบ่งเซลล์
1 2การแบ่งเซลล์Melody Minhyok
 
Pont มุนี
Pont มุนีPont มุนี
Pont มุนีmu_nin
 
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosis
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosisชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosis
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosiskasidid20309
 
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemsupreechafkk
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตTakky Pinkgirl
 
Lec การแบ่งเซลล์
Lec การแบ่งเซลล์Lec การแบ่งเซลล์
Lec การแบ่งเซลล์bio2014-5
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตsupreechafkk
 
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptx
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptxบทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptx
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptxBewwyKh1
 
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมMelody Minhyok
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรมkrudararad
 
การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์พัน พัน
 
M.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวM.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวWeeraphon Parawach
 

Similar to การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม.pptx (20)

1 2การแบ่งเซลล์
1 2การแบ่งเซลล์1 2การแบ่งเซลล์
1 2การแบ่งเซลล์
 
อุปกรณ์
อุปกรณ์อุปกรณ์
อุปกรณ์
 
Cell2558
Cell2558Cell2558
Cell2558
 
B03
B03B03
B03
 
Pont มุนี
Pont มุนีPont มุนี
Pont มุนี
 
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosis
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosisชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosis
ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส mitosis
 
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
4
44
4
 
4
44
4
 
Powerpoint1
Powerpoint1Powerpoint1
Powerpoint1
 
Lec การแบ่งเซลล์
Lec การแบ่งเซลล์Lec การแบ่งเซลล์
Lec การแบ่งเซลล์
 
Division[1]
Division[1]Division[1]
Division[1]
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptx
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptxบทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptx
บทที่ 11 ตอนที่ 2 การแบ่งเซลล์ Chalao.pptx
 
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
2 โครโมโซมและการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
 
Gene
GeneGene
Gene
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรม
 
การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์
 
M.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวM.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติว
 

การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม.pptx