SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2 
2.1 
สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ 
2. Global Value Chain 
Global Value Chain หรือที่เรียกด้วยคำย่อว่า GVC หรือที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเรียกว่า Dispersed 
Manufacturing คือโครงข่ายการผลิตระหว่างประเทศ (International Production Network) โดยที่ 
กระบวนการผลิตสินค้าจะถูกซอยย่อยเป็นหลายส่วนหรือหลายขั้นตอน และฐานการผลิตและฐานปฏิบัติการในแต่ 
ละส่วนของการผลิต จะกระจายไปอยู่ในทำเลในประเทศต่างๆที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเฉพาะ โดยฐาน 
การผลิตไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้ลูกค้าเสมอไป แต่อาจคำนึงถึงข้อได้เปรียบเชิงพื้นที่ในมิติอื่น เช่น ตั้งอยู่ใกล้ปัจจัย 
ผลิต มีความพร้อมด้านแรงงานราคาถูก อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ดังรูปที่เป็น 
ตัวอย่างที่แสดงถึง GVC ของการผลิตกางเกงยีนส์ยี่ห้อ Levi โดยด้ายจะถูกผลิตจากโรงงานในประเทศเกาหลีใต้ (1) 
ส่งไปทอเป็นผ้าและย้อมที่ประเทศไต้หวัน (2) และถูกนำไปตัดเป็นชิ้นส่วนของกางเกงที่ประเทศบังคลาเทศ (3) 
ในขณะที่ซิปจะผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ (4) ซึ่งทั้งชิ้นส่วนกางเกงและซิปจะถูกนำมาเย็บเป็นกางเกงสำเร็จรูปใน 
ประเทศกัมพูชา (5) ก่อนที่จะถูกจำหน่ายไปทั่วโลก (6) ทั้งนี้ การผลิตเสื้อผ้าด้านต้นน้ำจะเป็นการผลิตที่เป็น 
Capital Intensive และต้องอาศัยการเข้าถึงเทคโนโลยีในการผลิต ดังนั้น การผลิตด้านต้นน้ำจึงถูกกำหนดให้มี 
การดำเนินการที่ประเทศเกาหลีใต้และประเทศไต้หวัน ในขณะที่การผลิตด้านปลายน้ำของเสื้อผ้าจะเป็น Labor 
Intensive จึงถูกกำหนดให้ทำการผลิตที่ประเทศบังคลาเทศและประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวน 
มากและค่าแรงถูก 
1 
3 2 
5 6 
4 
The Journey of Levi’s Jeans 
ดัดแปลงจาก http://aienetwork.org/infographic/12/from-fiber-to-fashion-unzipping-the-apparel-global- 
value-chain
GVC เป็นรูปแบบทางธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากรูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมที่การผลิตทุก 
ขั้นตอนจะดำเนินการอยู่ ณ ที่เดียว ผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแข่งขันยุคใหม่ จำเป็นต้องสลัดกรอบ 
ความคิดการผลิตแบบดั้งเดิม และให้ความสำคัญกับการก่อเกิดของ GVC ให้มากขึ้น เพราะว่ารูปแบบการผลิต 
แบบ GVC ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกแล้ว ดังจะเห็นได้จากรายงาน Global 
Value Chain Development ของ UNCTAD ในระบุว่า GVC ระหว่างประเทศเป็นโครงข่ายที่ถูกกำหนดและสั่ง 
การโดยธุรกิจข้ามชาติ (Transnational Corporation, TNC) และครอบครองประมาณ 80% ของการค้าโลก 
(Global Trade) 
กรอบความคิดของ GVC ทำให้เกิดการทบทวนการคิดมูลค่าของดุลการค้าระหว่างประเทศ โดยกรณีศึกษา 
ที่มีการกล่าวถึงมากคือ กรณีของดุลการค้าที่เกิดจากการผลิต iPhone ในประเทศจีน โดย iPhone เป็นสินค้าที่ 
ออกแบบโดยบริษัทในสหรัฐอเมริกา และชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเป็นโทรศัพท์จะถูกผลิตในประเทศต่างๆ เช่น 
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน เป็นต้น และชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกนำเข้ามาในประเทศจีนเพื่อทำการประกอบเป็น 
โทรศัพท์ก่อนที่จะส่งไปจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังรูป 
กรณีศึกษา iPhone 3G 
Components JPN 
ปรับจาก Towards measuring trade in value‐added and other indicators of global value 
chains: Current OECD work using I/O tables. Bo Meng & Sébastien Miroudot 2011. 
2.2 
USA CHN 
Assembly 
KOR 
GER 
ROW 
Retail price: 
$500.00 
(Profit 
margin: 64%) 
Components 
โทรศัพท์ iPhone นี้มีต้นทุนการผลิตรวมชิ้นส่วนและค่างแรงในการประกอบเป็น 179 เหรียญสหรัฐ การ 
คิดมูลค่าดุลการค้าแบบดั้งเดิมจะนำต้นทุนรวมทั้งหมดมาคิดเป็นดุลการค้าที่จีนได้จากการส่ง iPhone ที่ผลิตได้ 
กลับไปที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการผลิต iPhone เป็นจำนวน 11.3 ล้านเครื่องในปี ค.ศ. 2009 ทำให้จีนได้เปรียบ 
ดุลการค้าต่อสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่ากว่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เนื่องจากโทรศัพท์ iPhone ที่จีนส่งออกไป 
ยังสหรัฐอเมริกานั้น จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าขั้นกลาง (Intermediate Goods) ที่เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตจากประเทศ
ต่างๆ มาทำการประกอบในประเทศจีน มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในตัวสินค้า iPhone ที่เกิดขึ้นจริงใน 
ประเทศจีน คือ ค่าแรงของแรงงานที่ทำการประกอบตัวโทรศัพท์ ซึ่งมีมูลค่าเพียง 6.50 เหรียญสหรัฐต่อเครื่อง 
ดังนั้น หากคิดเพียงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจริงในประเทศจีนจะพบว่า ดุลการค้าที่จีนได้เปรียบต่อสหรัฐอเมริกาจะ 
ลดลงเหลือเพียงประมาณ 70 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ภายใต้การผลิตแบบ GVC และด้วยวิธีการคิดมูลค่าการส่งออก 
แบบดั้งเดิม ทำให้มูลค่าการส่งออกที่ได้รายงานกันมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง เพราะเกิดการนับซ้ำ ในรายงาน 
World Investment Report 2013 ของ UNCTAD ระบุว่า จากมูลค่าการส่งออกในปี 2010 ที่รายงานอยู่ที่ 19 
ล้านล้านเหรียญสหรัฐนั้น ประมาณ 28% หรือ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นมูลค่าที่นับเกินเนื่องจากการนับ 
ซ้ำซ้อน สำหรับสินค้าส่งออกจากประเทศไทยนั้น รายงานฉบับเดียวกันได้ระบุว่า มูลค่าที่เกิดขึ้น (Value Added) 
จริงจากการดำเนินงานในประเทศไทยจะมีค่าประมาณ 70% ของมูลค่าทั้งหมดของสินค้าที่เราส่งออก หรืออีกนัย 
หนึ่ง ประมาณ 30% ของมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกทั้งหมดเป็นค่าของสินค้าขั้นกลางที่เรานำเข้ามาเพื่อมาประกอบ 
เป็นสินค้าในประเทศไทยก่อนที่จะส่งออกไปอีกครั้งหนึ่ง 
ภาพดุลการค้าที่เปลี่ยนไป 
JPN 
ROW 
2.3 
Components: 
$10.75 
USA CHN 
iPhone: $179.00 
$60.6 
Assembly: 
$6.50 
Retail price: 
$500.00 
(Profit 
margin: 64%) 
2009 US trade 
balance in iPhones 
(mio USD) 
KOR 
GER 
$22.96 
$30.15 
$48.04 
Apple sold 11.3 
million iPhones 
in the US 
in 2009 
CHN JPN KOR GER ROW World 
Gross Export -1,901.2 0 0 0 0 -1,901.2 
Value added -73.5 -684.8 -259.4 -340.7 -542.9 -1,901.2 
ปรับจาก Towards measuring trade in value‐added and other indicators of global value 
chains: Current OECD work using I/O tables. Bo Meng & Sébastien Miroudot 2011. 
นอกจากจะเกิดผลกระทบต่อการทบทวนการคิดมูลค่าของดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว การก่อเกิดของ 
GVC ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การผลักดันให้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ จะเห็นว่า โครงข่ายการผลิตแบบ 
GVC ที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือสินค้าที่ผลิตในประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ประสิทธิภาพในการ 
ประกอบการของโครงข่ายแบบ GVC จึงขึ้นอย่างมากกับขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายวัสดุและสินค้าระหว่าง 
ประเทศได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ คือ 1) Trade 
Liberalization การเปิดเสรีการค้าที่ยกเลิกกำแพงภาษีระหว่างประเทศ 2) Trade Facilitation การอำนวยความ 
สะดวกด้านพิธีการในการนำเข้าและส่งออกสินค้า และ 3) Logistics Connectivity การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ 
ระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ องค์กรการค้าระหว่างประเทศและประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งได้รับอิทธิพลและแรงกดดันจาก 
ธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้กำหนด GVC ของโลก จึงมักจะสนับสนุนให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเร่งดำเนินการ 
เปิดเสรีทางการค้าพร้อมทั้งเร่งดำเนินการอำนวยความสะดวกแก่การค้าและการขนส่ง (Trade & Transport 
Facilitation) ด้วยเหตุผลที่ว่า การดำเนินการเหล่านี้จะผลักดันให้ธุรกิจที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา มีโอกาส 
สูงขึ้นที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตของ GVC ระดับโลก และเพิ่มความสามารถในการทำการค้าระหว่าง 
ประเทศ และการเข้าไปมีส่วนร่วมใน GVC ระดับโลกของประเทศที่กำลังพัฒนาจะก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนา 
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลายประการ คือ เกิดการจ้างงานมาก เป็นโอกาสที่ธุรกิจในประเทศที่กำลัง 
พัฒนาจะได้รับโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากธุรกิจอื่นที่อยู่ใน GVC เดียวกันที่มีความก้าวหน้าทาง 
เทคโนโลยีมากกว่า อันจะส่งผลต่อเนื่องถึงการยกระดับความเชี่ยวชาญและรายได้ (Economic Upgrading) ของ 
ผู้ประกอบการและบุคลากร และการยกระดับสถานะทางสังคม (Social Upgrading) ด้วยมาตรฐานการทำงานที่ 
สูงขึ้น 
อย่างไรก็ดี เป็นความจริงที่ว่า การได้มีโอกาสเข้าร่วมใน GVC อาจจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ 
ในประเทศที่กำลังพัฒนาบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่ประเทศที่พัฒนาเหมือนลืมหรือละเว้นที่จะพูดถึงคือ สุดท้าย 
แล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเจ้าของ GVC จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงกว่าสมาชิกที่มาจากประเทศที่กำลัง 
พัฒนา ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกใน GVC เดียวกันได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง 
(Positioning) และบทบาทของผู้ประกอบการ รวมถึงอำนาจต่อรองที่ผู้ประกอบการมีอยู่กับ GVC นั้นๆ หากไทย 
ต้องการเข้าร่วมในกระแส GVC ซึ่งเป็นกระแสโลก มีความจำเป็นที่เราจะต้องรู้ท้นโลก เพื่อให้การเข้าร่วมของ 
ไทยเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การเข้าร่วมกับกระแส GVC อาจจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามที่มุ่งหวังเสมอไป 
โดยรายงาน World Investment Report 2013 ของ UNCTAD เอง ยังได้ให้ข้อคิดประกอบการตัดสินใจเข้าร่วม 
ใน GVC ไว้ ดังนี้ 
“However, participation in GVCs also involves risks. The GDP contribution of GVCs can be 
limited if countries capture only a small share of the value added created in the 
chain……. Countries need to make a strategic choice to promote or not to promote 
participation in GVCs. However, the key question for most is how to incorporate GVCs in 
development strategy.” 
ถึงแม้เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆรอบด้านแล้ว ประเทศไทยแทบจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องเข้าร่วม 
ใน GVC โลก แต่เรายังสามารถที่จะทบทวนและปรับเปลี่ยนนโยบายในการพัฒนาประเทศ เพื่อกำหนดแนวทาง 
หรือทิศทางในการเข้าร่วมในกระแส GVC ที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย บทความในตอนต่อไป จะ 
นำเสนอการพิจารณาถึงองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างประโยชน์หรือความมั่ง 
คั่งจากการเข้าร่วม GVC 
2.4

More Related Content

More from Nopporn Thepsithar

จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556Nopporn Thepsithar
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance IndexNopporn Thepsithar
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsNopporn Thepsithar
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Nopporn Thepsithar
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะNopporn Thepsithar
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน Nopporn Thepsithar
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRINopporn Thepsithar
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดPresentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดNopporn Thepsithar
 

More from Nopporn Thepsithar (20)

จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
 
2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
 
LIFFA Presentation
LIFFA Presentation LIFFA Presentation
LIFFA Presentation
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
 
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดPresentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
 

พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2

  • 1. พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2 2.1 สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ 2. Global Value Chain Global Value Chain หรือที่เรียกด้วยคำย่อว่า GVC หรือที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเรียกว่า Dispersed Manufacturing คือโครงข่ายการผลิตระหว่างประเทศ (International Production Network) โดยที่ กระบวนการผลิตสินค้าจะถูกซอยย่อยเป็นหลายส่วนหรือหลายขั้นตอน และฐานการผลิตและฐานปฏิบัติการในแต่ ละส่วนของการผลิต จะกระจายไปอยู่ในทำเลในประเทศต่างๆที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเฉพาะ โดยฐาน การผลิตไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้ลูกค้าเสมอไป แต่อาจคำนึงถึงข้อได้เปรียบเชิงพื้นที่ในมิติอื่น เช่น ตั้งอยู่ใกล้ปัจจัย ผลิต มีความพร้อมด้านแรงงานราคาถูก อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ดังรูปที่เป็น ตัวอย่างที่แสดงถึง GVC ของการผลิตกางเกงยีนส์ยี่ห้อ Levi โดยด้ายจะถูกผลิตจากโรงงานในประเทศเกาหลีใต้ (1) ส่งไปทอเป็นผ้าและย้อมที่ประเทศไต้หวัน (2) และถูกนำไปตัดเป็นชิ้นส่วนของกางเกงที่ประเทศบังคลาเทศ (3) ในขณะที่ซิปจะผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ (4) ซึ่งทั้งชิ้นส่วนกางเกงและซิปจะถูกนำมาเย็บเป็นกางเกงสำเร็จรูปใน ประเทศกัมพูชา (5) ก่อนที่จะถูกจำหน่ายไปทั่วโลก (6) ทั้งนี้ การผลิตเสื้อผ้าด้านต้นน้ำจะเป็นการผลิตที่เป็น Capital Intensive และต้องอาศัยการเข้าถึงเทคโนโลยีในการผลิต ดังนั้น การผลิตด้านต้นน้ำจึงถูกกำหนดให้มี การดำเนินการที่ประเทศเกาหลีใต้และประเทศไต้หวัน ในขณะที่การผลิตด้านปลายน้ำของเสื้อผ้าจะเป็น Labor Intensive จึงถูกกำหนดให้ทำการผลิตที่ประเทศบังคลาเทศและประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวน มากและค่าแรงถูก 1 3 2 5 6 4 The Journey of Levi’s Jeans ดัดแปลงจาก http://aienetwork.org/infographic/12/from-fiber-to-fashion-unzipping-the-apparel-global- value-chain
  • 2. GVC เป็นรูปแบบทางธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากรูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมที่การผลิตทุก ขั้นตอนจะดำเนินการอยู่ ณ ที่เดียว ผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแข่งขันยุคใหม่ จำเป็นต้องสลัดกรอบ ความคิดการผลิตแบบดั้งเดิม และให้ความสำคัญกับการก่อเกิดของ GVC ให้มากขึ้น เพราะว่ารูปแบบการผลิต แบบ GVC ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกแล้ว ดังจะเห็นได้จากรายงาน Global Value Chain Development ของ UNCTAD ในระบุว่า GVC ระหว่างประเทศเป็นโครงข่ายที่ถูกกำหนดและสั่ง การโดยธุรกิจข้ามชาติ (Transnational Corporation, TNC) และครอบครองประมาณ 80% ของการค้าโลก (Global Trade) กรอบความคิดของ GVC ทำให้เกิดการทบทวนการคิดมูลค่าของดุลการค้าระหว่างประเทศ โดยกรณีศึกษา ที่มีการกล่าวถึงมากคือ กรณีของดุลการค้าที่เกิดจากการผลิต iPhone ในประเทศจีน โดย iPhone เป็นสินค้าที่ ออกแบบโดยบริษัทในสหรัฐอเมริกา และชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเป็นโทรศัพท์จะถูกผลิตในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน เป็นต้น และชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกนำเข้ามาในประเทศจีนเพื่อทำการประกอบเป็น โทรศัพท์ก่อนที่จะส่งไปจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังรูป กรณีศึกษา iPhone 3G Components JPN ปรับจาก Towards measuring trade in value‐added and other indicators of global value chains: Current OECD work using I/O tables. Bo Meng & Sébastien Miroudot 2011. 2.2 USA CHN Assembly KOR GER ROW Retail price: $500.00 (Profit margin: 64%) Components โทรศัพท์ iPhone นี้มีต้นทุนการผลิตรวมชิ้นส่วนและค่างแรงในการประกอบเป็น 179 เหรียญสหรัฐ การ คิดมูลค่าดุลการค้าแบบดั้งเดิมจะนำต้นทุนรวมทั้งหมดมาคิดเป็นดุลการค้าที่จีนได้จากการส่ง iPhone ที่ผลิตได้ กลับไปที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการผลิต iPhone เป็นจำนวน 11.3 ล้านเครื่องในปี ค.ศ. 2009 ทำให้จีนได้เปรียบ ดุลการค้าต่อสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่ากว่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เนื่องจากโทรศัพท์ iPhone ที่จีนส่งออกไป ยังสหรัฐอเมริกานั้น จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าขั้นกลาง (Intermediate Goods) ที่เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตจากประเทศ
  • 3. ต่างๆ มาทำการประกอบในประเทศจีน มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในตัวสินค้า iPhone ที่เกิดขึ้นจริงใน ประเทศจีน คือ ค่าแรงของแรงงานที่ทำการประกอบตัวโทรศัพท์ ซึ่งมีมูลค่าเพียง 6.50 เหรียญสหรัฐต่อเครื่อง ดังนั้น หากคิดเพียงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจริงในประเทศจีนจะพบว่า ดุลการค้าที่จีนได้เปรียบต่อสหรัฐอเมริกาจะ ลดลงเหลือเพียงประมาณ 70 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ภายใต้การผลิตแบบ GVC และด้วยวิธีการคิดมูลค่าการส่งออก แบบดั้งเดิม ทำให้มูลค่าการส่งออกที่ได้รายงานกันมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง เพราะเกิดการนับซ้ำ ในรายงาน World Investment Report 2013 ของ UNCTAD ระบุว่า จากมูลค่าการส่งออกในปี 2010 ที่รายงานอยู่ที่ 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐนั้น ประมาณ 28% หรือ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นมูลค่าที่นับเกินเนื่องจากการนับ ซ้ำซ้อน สำหรับสินค้าส่งออกจากประเทศไทยนั้น รายงานฉบับเดียวกันได้ระบุว่า มูลค่าที่เกิดขึ้น (Value Added) จริงจากการดำเนินงานในประเทศไทยจะมีค่าประมาณ 70% ของมูลค่าทั้งหมดของสินค้าที่เราส่งออก หรืออีกนัย หนึ่ง ประมาณ 30% ของมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกทั้งหมดเป็นค่าของสินค้าขั้นกลางที่เรานำเข้ามาเพื่อมาประกอบ เป็นสินค้าในประเทศไทยก่อนที่จะส่งออกไปอีกครั้งหนึ่ง ภาพดุลการค้าที่เปลี่ยนไป JPN ROW 2.3 Components: $10.75 USA CHN iPhone: $179.00 $60.6 Assembly: $6.50 Retail price: $500.00 (Profit margin: 64%) 2009 US trade balance in iPhones (mio USD) KOR GER $22.96 $30.15 $48.04 Apple sold 11.3 million iPhones in the US in 2009 CHN JPN KOR GER ROW World Gross Export -1,901.2 0 0 0 0 -1,901.2 Value added -73.5 -684.8 -259.4 -340.7 -542.9 -1,901.2 ปรับจาก Towards measuring trade in value‐added and other indicators of global value chains: Current OECD work using I/O tables. Bo Meng & Sébastien Miroudot 2011. นอกจากจะเกิดผลกระทบต่อการทบทวนการคิดมูลค่าของดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว การก่อเกิดของ GVC ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การผลักดันให้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ จะเห็นว่า โครงข่ายการผลิตแบบ GVC ที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือสินค้าที่ผลิตในประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ประสิทธิภาพในการ ประกอบการของโครงข่ายแบบ GVC จึงขึ้นอย่างมากกับขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายวัสดุและสินค้าระหว่าง ประเทศได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ คือ 1) Trade Liberalization การเปิดเสรีการค้าที่ยกเลิกกำแพงภาษีระหว่างประเทศ 2) Trade Facilitation การอำนวยความ สะดวกด้านพิธีการในการนำเข้าและส่งออกสินค้า และ 3) Logistics Connectivity การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ระหว่างประเทศ
  • 4. ด้วยเหตุนี้ องค์กรการค้าระหว่างประเทศและประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งได้รับอิทธิพลและแรงกดดันจาก ธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้กำหนด GVC ของโลก จึงมักจะสนับสนุนให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเร่งดำเนินการ เปิดเสรีทางการค้าพร้อมทั้งเร่งดำเนินการอำนวยความสะดวกแก่การค้าและการขนส่ง (Trade & Transport Facilitation) ด้วยเหตุผลที่ว่า การดำเนินการเหล่านี้จะผลักดันให้ธุรกิจที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา มีโอกาส สูงขึ้นที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตของ GVC ระดับโลก และเพิ่มความสามารถในการทำการค้าระหว่าง ประเทศ และการเข้าไปมีส่วนร่วมใน GVC ระดับโลกของประเทศที่กำลังพัฒนาจะก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลายประการ คือ เกิดการจ้างงานมาก เป็นโอกาสที่ธุรกิจในประเทศที่กำลัง พัฒนาจะได้รับโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากธุรกิจอื่นที่อยู่ใน GVC เดียวกันที่มีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีมากกว่า อันจะส่งผลต่อเนื่องถึงการยกระดับความเชี่ยวชาญและรายได้ (Economic Upgrading) ของ ผู้ประกอบการและบุคลากร และการยกระดับสถานะทางสังคม (Social Upgrading) ด้วยมาตรฐานการทำงานที่ สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เป็นความจริงที่ว่า การได้มีโอกาสเข้าร่วมใน GVC อาจจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ ในประเทศที่กำลังพัฒนาบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่ประเทศที่พัฒนาเหมือนลืมหรือละเว้นที่จะพูดถึงคือ สุดท้าย แล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเจ้าของ GVC จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงกว่าสมาชิกที่มาจากประเทศที่กำลัง พัฒนา ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกใน GVC เดียวกันได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง (Positioning) และบทบาทของผู้ประกอบการ รวมถึงอำนาจต่อรองที่ผู้ประกอบการมีอยู่กับ GVC นั้นๆ หากไทย ต้องการเข้าร่วมในกระแส GVC ซึ่งเป็นกระแสโลก มีความจำเป็นที่เราจะต้องรู้ท้นโลก เพื่อให้การเข้าร่วมของ ไทยเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การเข้าร่วมกับกระแส GVC อาจจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามที่มุ่งหวังเสมอไป โดยรายงาน World Investment Report 2013 ของ UNCTAD เอง ยังได้ให้ข้อคิดประกอบการตัดสินใจเข้าร่วม ใน GVC ไว้ ดังนี้ “However, participation in GVCs also involves risks. The GDP contribution of GVCs can be limited if countries capture only a small share of the value added created in the chain……. Countries need to make a strategic choice to promote or not to promote participation in GVCs. However, the key question for most is how to incorporate GVCs in development strategy.” ถึงแม้เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆรอบด้านแล้ว ประเทศไทยแทบจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องเข้าร่วม ใน GVC โลก แต่เรายังสามารถที่จะทบทวนและปรับเปลี่ยนนโยบายในการพัฒนาประเทศ เพื่อกำหนดแนวทาง หรือทิศทางในการเข้าร่วมในกระแส GVC ที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย บทความในตอนต่อไป จะ นำเสนอการพิจารณาถึงองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างประโยชน์หรือความมั่ง คั่งจากการเข้าร่วม GVC 2.4