SlideShare a Scribd company logo
มุมมอง
มนุษยศาสตร์
2
มนุษยศาสตร์กับการพัฒนา
คุณค่าของประเทศ
ความเป็นมนุษย์
	 ในด้านชีววิทยามนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง และตามกฎของดาร์วิน
ที่ว่าด้วยเรื่องการอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุดหรือกฎ“ใครดีใครอยู่”
นั้น มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่เก่งที่สุดตามกฎนี้ แต่เราก็มิได้ยกย่องมนุษย์     
ว่า “สูงส่ง” โดยอาศัยกฎดังกล่าว เช่นเดียวกับที่เรามิได้ยกย่องเสือ          
ว่าเป็นสัตว์ “สูงส่ง” เพราะความเก่งกาจ ฉลาด และดุร้ายของมัน            
ในท�ำนองเดียวกัน เราก็ไม่เคยยกย่องคนที่โหดร้ายทารุณว่าเป็นคน  
“สูงส่ง” แต่เรากลับเปรียบเทียบความโหดร้ายนั้นว่า “จิตใจไม่ต่างกับ
สัตว์ร้าย” เรามิได้วัดความสูงส่งจากการที่เราท�ำลายสัตว์ พืช และ
ทรัพยากรได้มาก ๆ มิได้วัดจากความสามารถในการกดขี่ เบียดเบียน
มนุษย์ด้วยกันอย่างโหดร้าย
	 มนุษย์มีกิเลสมากกว่าสัตว์ ซับซ้อนกว่าสัตว์ ฉลาดกว่าสัตว์          
ด้วยลักษณะเหล่านี้มนุษย์ได้ท�ำลายสิ่งต่างๆไปมากมายเพื่อสนองกิเลส
นั้น หากเรายกย่องลักษณะทางท�ำลาย เราคงท�ำลายกันเองจนสูญสิ้น
3
เผ่าพันธุ์ไปนานแล้ว ในความเป็นจริง เราท�ำลายทรัพยากร แต่ในการ
ท�ำลายนั้น เราก็มีการสร้างสรรค์ด้วย คนที่มองข้างสร้างสรรค์คิดว่า      
การท�ำลายเป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ ส่วนคนที่มองข้างท�ำลายก็คิดว่า
การสร้างสรรค์นั้นที่แท้เป็นการท�ำลาย
	 ในแง่วัตถุ การประยุกต์ด้วยเทคโนโลยีเป็นรูปแบบส�ำคัญของ       
การสร้างสรรค์ คือ มนุษย์ใช้ปัญญาหาเทคโนโลยีมาดัดแปลงธรรมชาติ          
เพื่อความสะดวกสบายและเพื่อให้เกิดความสบายแก่ตน เมื่อต้อง
ดัดแปลงธรรมชาติก็ต้องมีการท�ำลายธรรมชาติ การสร้างสรรค์ทาง       
วัตถุโดยไม่ท�ำลายเลยย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสร้างสรรค์คุ้มกับที่ต้อง
ท�ำลายหรือไม่ หากไม่มีการสร้างสรรค์ทางวัตถุ มนุษย์อาจมีความทุกข์
กว่านี้ และอาจต้องท�ำลายธรรมชาติมากกว่านี้ เช่น ถ้าไม่มีเทคโนโลยี        
ในการเพาะปลูก ก็ต้องใช้พื้นที่มากขึ้น และพื้นที่เสื่อมโทรมเร็วขึ้น ถ้า      
ไม่ผลิตยาที่มีคุณภาพสูง มนุษย์อาจต้องทนทุกข์ทรมานมากแม้ใน      
อาการของโรคทั่ว ๆ ไป เช่น อาการไข้ หรืออาการปวดต่าง ๆ มนุษย์มี
ปัญญา มนุษย์จึงรู้จักบรรเทาความทุกข์และท�ำให้ตนสุขสบาย การ
สร้างสรรค์ทางวัตถุจึงเป็นเรื่องน่ายกย่อง และการท�ำลายก็เป็นสิ่งที่     
เลี่ยงไม่ได้
	 ในเมื่อมีทั้งการสร้างและการท�ำลาย ถ้ามนุษย์มีปัญญาจริง       
ฉลาดจริงก็ต้องพิจารณาได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้มาในการใช้วัตถุ อะไรคือ
สิ่งที่เสียไป พืชหรือสัตว์ การบริโภคอย่างไรเป็นคุณ อย่างไรเป็นโทษ      
แก่ตน แก่ส่วนรวม และแก่โลกหรือธรรมชาติ
	 ความเป็นมนุษย์อยู่ที่การรู้ว่าอะไรควรท�ำ อะไรไม่ควรท�ำ อะไร
เป็นคุณ อะไรเป็นโทษ ไตร่ตรองรอบด้านทุกทิศทาง ทั้งระยะสั้นและ
ระยะยาว ทั้งที่จะเกิดแก่ตน แก่สังคม และแก่ธรรมชาติ แม้ในเรื่อง
4
วัตถุก็ต้องใช้ทั้งสติและปัญญาอย่างรอบคอบ ให้เป็นการสร้างสรรค์ที่มี
การท�ำลายน้อยที่สุด เบียดเบียนน้อยที่สุด
	 ในด้านนามธรรมและจิตใจนั้น การสร้างสรรค์ยิ่งจะต้องประณีต
และสูงส่งกว่าด้านวัตถุ เพราะสามารถจะให้เป็นไปโดยเป็นการสร้าง-
สรรค์อย่างเดียวโดยไม่มีการท�ำลายได้ เช่น การมีความเมตตา การ         
เสียสละ ไม่จ�ำเป็นต้องมีการท�ำลายใด ๆ การไม่เบียดเบียน การให้        
และการมีจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นลักษณะสร้างสรรค์ของมนุษย์          
ต่อตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม โดยไม่ท�ำลาย มนุษย์มีลักษณะของสัตว์
เช่น ความดุร้าย ความเห็นแก่ตัว แต่มนุษย์ก็สร้างสรรค์ทางใจได้ด้วย
การมีความเมตตาและการให้ ความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์             
จึงอยู่ที่การสร้างสรรค์เช่นนี้ และเรายกย่องมนุษย์ว่า “สูงส่ง” ต่อเมื่อมี
คุณสมบัติเช่นนี้ ศาสนาทั้งหลายจึงสอนให้ละชั่ว ท�ำดี และท�ำใจให้
บริสุทธิ์ผ่องใส มิได้สอนให้คิดแต่จะเอาชนะ ท�ำลาย เบียดเบียน โดย
ค�ำนึงถึงแต่ประโยชน์ของตนหรือความสุขทางวัตถุอย่างเดียว
การพัฒนาที่ท�ำลายความเป็นมนุษย์
	 การพัฒนาทางวัตถุนั้น แม้ที่เป็นการสร้างสรรค์ก็ยังมีการท�ำลาย
และจะมีการท�ำลายมากขึ้นหากการพัฒนานั้นเป็นไปด้วยความโลภ
ความหลง ตัณหา และไม่รอบคอบในการใช้ทรัพยากร แต่การท�ำลาย
เช่นนั้นก็ยังเป็นการท�ำลายวัตถุ ซึ่งแม้จะท�ำให้มนุษย์ยากล�ำบาก               
ในบั้นปลาย แต่ก็ยังไม่เป็นการท�ำลายลงไปถึงรากเหง้า คือการท�ำลาย        
สิ่งนามธรรมที่ส�ำคัญที่สุดอันได้แก่ความเป็นมนุษย์ แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่
ว่า การท�ำลายทางวัตถุจะไม่เป็นเหตุให้เกิดการท�ำลายความเป็นมนุษย์
5
ในที่สุด เพราะหากการพัฒนานั้นน�ำผลประโยชน์มาให้ และความ
ละโมบท�ำให้เกิดการแสวงหาก�ำไรอย่างไม่สิ้นสุด ความละโมบนั้น              
ก็อาจท�ำให้คนเราท�ำสิ่งเลวร้ายเช่นเบียดเบียนผู้อื่นอย่างโหดเหี้ยมหรือ
ท�ำลายชีวิตผู้ที่ขัดผลประโยชน์ได้ เท่ากับความโลภนั้นได้ท�ำลายหนทาง
แห่งความดีงาม และฉุดลากคนผู้นั้นไปสู่ความชั่ว
	 การพัฒนาที่ท�ำลายความเป็นมนุษย์จนถึงรากเหง้าคือการพัฒนา
ทางความคิดโดยขาดความไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และการตกเป็น       
ทาสความคิดโดยไม่พิจารณาข้อดีข้อเสีย โดยเฉพาะความคิดที่เป็น      
ระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมสังคม เช่น การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งเปลี่ยน
ความคิดคนทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจอันเป็นวิถีชีวิตโดยตรง     
กับเปลี่ยนวิธีคิดให้ไปตามมโนทัศน์ที่มาจากระบบเหล่านั้น โดยผ่าน      
ทางระบบการศึกษาอันเป็นการท�ำลายอย่างเป็นระบบโดยความศรัทธา        
ในความคิดความเชื่ออย่างใหม่จนเห็นทุกสิ่งที่แตกต่างหรือเป็นของเดิม
เป็นจุดอ่อนและความเลวร้าย ในเนื้อที่อันจ�ำกัดนี้จะขอยกตัวอย่าง      
ความไม่รอบคอบในการพัฒนาความคิดสัก 2 เรื่อง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่
พบเห็นกันได้ทั่วไป
	 เรื่องแรก คือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่เปลี่ยน
ไป ในสมัยโบราณ แพทย์คือชาวบ้านธรรมดาที่รู้วิชาแพทย์แผนโบราณ
อาชีพการงานปกติมิใช่แพทย์แต่เป็นช่างบ้างเป็นกสิกรบ้างค้าขายบ้าง
เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็ใช้วิชาแพทย์ที่ตนรู้ช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาล
ก็มักสุดแท้แต่ฐานะของคนไข้ ใครมีก็เก็บค่ารักษา ใครไม่มีก็ช่วยเหลือ
แบบให้เปล่า ค่ารักษาส่วนมากก็เก็บเป็นค่ายกครูเล็ก ๆ น้อย ๆ             
ชาวบ้านจึงเป็นผู้พึ่งแพทย์ และแพทย์เป็นผู้มีความการุณย์ แพทย์ให้
การรักษา ส่วนชาวบ้านให้ความเคารพรัก ความไว้วางใจ เงินทองและ
6
สิ่งตอบแทนอื่น ๆ เป็นเครื่องตอบแทนโดยถือเป็นเครื่องหมายของ       
ความเคารพรัก มิใช่ค่าจ้าง แพทย์จึงเป็นดุจเทพเจ้าของชาวบ้าน หาก
โรคภัยไข้เจ็บรุนแรงและคนไข้ต้องเสียชีวิต หรือแพทย์วินิจฉัยโรค              
ผิดพลาด ยามีไม่พร้อม ก็ไม่ถือว่าเป็นความบกพร่องของแพทย์ แต่ถือ
ว่าเป็นเรื่องโชคร้ายหรือเคราะห์กรรมของคนไข้ ไม่มีใครมองแพทย์           
ไปในแง่ร้าย ความรู้สึกนี้เผื่อแผ่ต่อมาถึงแพทย์แผนปัจจุบันด้วย
	 ในระยะแรก ๆ ที่มีการแพทย์สมัยใหม่ มีโรงพยาบาลของรัฐ          
เกิดขึ้น ความรู้สึกดังกล่าวนี้ก็ยังคงอยู่ แต่เมื่อนานเข้า พลเมืองเพิ่มขึ้น
โรงพยาบาลขยายไม่ทัน แพทย์เปิดคลินิก ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่พอมี       
เงินทองก็ไปรักษาที่คลินิก รายได้จากการท�ำคลินิกท�ำให้ฐานะของ
แพทย์บางคนดีขึ้นเกิดความเห็นในหมู่คนทั่วไปว่า“เรียนหมอแล้วรวย”
คนส่วนหนึ่งจึงเข้าเรียนวิชาแพทย์ด้วยเหตุดังกล่าว ครั้นเรียนจบแล้ว      
ไปตั้งคลินิก คลินิกบางสาขา เช่น ทันตกรรม ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์แพง      
แม้แพทย์สาขาที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากนักก็ต้องลงทุนค่าตึกแถว ค่ายา
ค่าจ้างคนจ่ายยา ท�ำให้ค่ารักษาแพงขึ้น ยิ่งเป็นคลินิกที่บริการดี เป็น       
ที่นิยมของคนมีฐานะดี ค่ารักษาก็ยิ่งแพง ยิ่งขยายเป็นโพลีคลินิก หรือ
โรงพยาบาลที่ต้องมีทั้งอุปกรณ์และการบริการดียิ่งขึ้นไปอีก ก็ต้องคิด       
ค่าใช้จ่ายสูงเป็นเงาตามตัว
	 คนไข้ฐานะดีมักเป็นผู้มีความรู้ มีความคาดหวังผลการรักษาสูง
ไม่ต้องการให้มีความผิดพลาดในการรักษา จึงเริ่มมองเห็นแพทย์เป็น        
คู่สัญญา เริ่มเรียกร้องสิทธิที่จะรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา เริ่มไม่
ไว้วางใจแพทย์ เช่น ตรวจรักษากับแพทย์มากกว่า 1 คน เพื่อจะให้แน่ใจ
ว่าการวินิจฉัยถูกต้อง และพร้อมจะโทษแพทย์ถ้าเกิดความผิดปกติ      
อย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงที่รักษา ยิ่งมีกรณีที่สื่อมวลชนลงข่าวความ
7
ผิดพลาดของแพทย์ ความกลัวนั้นก็ขยายวง เพิ่มความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ
แพทย์มากขึ้นอีก จนถึงในที่สุดมีการฟ้องร้องแพทย์อยู่เนือง ๆ โดยที่
บางครั้งแพทย์มิได้ท�ำผิด
	 เมื่อแพทย์ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ ก็ต้องพยายามรักษาโดยไม่ยอม
เสี่ยง แม้ว่าการเสี่ยงจะเป็นโอกาสให้คนไข้หายจากโรคได้ก็ตาม แพทย์
จะรู้สึกถูกกดดันในกรณีที่ต้องรักษาคนที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ เช่น
นักดนตรีหรือดารา แพทย์รู้สึกว่าท�ำงานอย่างเสี่ยงต่อการเป็นจ�ำเลย
ของสื่อมวลชน สังคม และจ�ำเลยในศาลได้ง่าย แพทย์ต้องอดทนต่อ           
ค�ำต่อว่าของคนไข้และญาติที่ไม่เข้าใจ ฐานะเทพเจ้าผู้เป็นที่พึ่งได้เปลี่ยน
ไปอย่างมาก ยิ่งแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่พัฒนามาจากการเมือง คือ       
เรื่องสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิทธิของผู้ป่วย ก็ยิ่งเกิดปัญหาแก่แพทย์
มากขึ้น ในแง่ดีอาจมองได้ว่าท�ำให้แพทย์รอบคอบขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่ง
ก็เป็นการแสดงว่าความไว้วางใจแพทย์หมดไป เพราะความสัมพันธ์เชิง
สิทธิและพันธสัญญานั้นมาจากจิตใจที่ปราศจากความไว้วางใจผู้อื่น จึง
ต้องหาทางป้องกันตัว ความสัมพันธ์ชนิดนี้ท�ำให้ปลอดภัยจากคนที่คิด
ชั่ว แต่ก็ท�ำลายความสัมพันธ์แบบไว้วางใจคนดีไปด้วย แพทย์และคนไข้
ต่างระแวง ระวัง และเตรียมป้องกันตัวตลอดเวลา เมื่อหายจากโรค          
ก็โล่งอกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่โล่งอกเพราะโรคหายอย่างเดียว แต่         
โล่งอกเพราะไม่ต้องไปสู้กันในศาลหรือในสื่อมวลชน
	 ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้แบบที่มนุษย์ร่วมโลกพึงมี
ต่อกันในอดีต ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจ เมตตาการุณย์
มนุษยธรรมและเป็นมิตรได้สูญสิ้นไปพร้อมกับความเจริญทางเทคโนโลยี       
ด้านการแพทย์ และเมื่อความสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องสิทธิแบบเดียวกับ
การเมือง การแพทย์ก็กลายเป็นธุรกิจมากขึ้น เพราะไม่มีคุณค่าทาง
8
จริยะที่มนุษย์พึงยึดถือปฏิบัติเหลืออยู่ เมื่อแพทย์ไม่ได้รับความเคารพ
นับถืออย่างอดีต ก็ไม่มีอะไรที่เป็นหลักธรรมประจ�ำใจให้ต้องช่วยเหลือ
คนไข้ คนไข้ก็จะมีฐานะเป็นลูกค้าเหมือนธุรกิจทั้งหลาย ไม่มีเงินก็ไม่มี
โอกาสได้รับการรักษา นอกจากนั้นแพทย์เองก็มักอยู่ในฐานะลูกจ้าง      
ของรัฐหรือเอกชน ที่ต้องท�ำตามระเบียบของหน่วยงานหรือบริษัท ไม่มี
สิทธิที่จะคิดตัดสินใจเอง แม้ว่าแพทย์จ�ำนวนมากจะยังเป็นผู้มีคุณธรรม
อย่างในอดีตอยู่ก็ตาม
	 ความเป็นมนุษย์และความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีคุณธรรมที่รู้จัก
คุณค่านามธรรมก�ำลังจะหมดไป เทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ ไม่ว่า
เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารจัดการ ระบบสังคมที่เห็นกันว่าเป็น     
ความเจริญนั้น แม้ช่วยจัดระเบียบและมีข้อดีอยู่มาก แต่หากลืมคุณค่า
ทางด้านมนุษยธรรมเสียแล้ว มนุษย์ก็จะสูญเสียสิ่งดีงามและความ     
สุขใจ ในวันข้างหน้า มนุษย์อาจไม่รู้จักและไม่รู้ว่าคุณค่าเหล่านั้นเคยมี
อยู่ในชีวิตประจ�ำวัน และจะไม่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นจริงส�ำหรับมนุษย์ได้
	 เรื่องที่ 2 คือ เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมที่เป็น
การท�ำลายความสัมพันธ์ของครอบครัว ในปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์      
ที่เสนอข่าวพ่อแม่วัยชราที่พิการ เจ็บป่วย หรืออ่อนแรงจนท�ำมาหากิน
ไม่ได้ ถูกลูกหลานที่ไปท�ำงานที่อื่นทอดทิ้ง บางครั้งยังน�ำลูกมาให้เลี้ยง
โดยไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูและไม่เคยมาดูแล รายการโทรทัศน์เช่นนี้มี             
มานานนับปี คนแก่นอกจากที่รายการเหล่านี้น�ำมาเสนอจะต้องมีอยู่       
อีกมากมาย ความกตัญญูรู้คุณของลูก ๆ หายไปไหน เพราะเหตุใด          
เหตุประการหนึ่งก็คือ ขาดการอบรมที่ดีไม่ว่าจากตัวพ่อแม่เองหรือจาก
สถานศึกษา ที่ส�ำคัญที่สุดคือ จากสภาพสังคมที่ไม่ให้ความส�ำคัญแก่
คุณค่านามธรรม
9
	 การพัฒนาเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมซึ่งก็รวมถึงการค้าแบบ
ธุรกิจด้วย เน้นเรื่องของเงินเป็นเรื่องใหญ่ เกิดด้วยเงิน วัดด้วยเงิน อยู่
ด้วยเงิน และก้าวหน้าเพิ่มพูนด้วยเงิน ในเวลาเดียวกัน กิจกรรมชนิดนี้       
ก็รุกล�้ำท�ำลายเกษตรกรรม กิจการเล็ก ๆ การค้าขายของชาวบ้านลง
เรื่อย ๆ เงินทองที่หายากในท้องไร่ท้องนา หาได้ง่าย ๆ ในโรงงานที่อยู่
ในเมือง ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย อบายมุขและเสรีทางเพศที่หาได้ยากใน      
หมู่บ้าน ซื้อได้ง่ายในเมือง
	 ความอยากจะมีความสุขแบบคนเมือง ดูดคนชนบทเข้าสู่เมือง       
เข้ามามีอาชีพในเมือง เข้ามาท�ำงาน มาเรียนในเมือง แล้วไม่กลับบ้าน
ในชนบท เพราะที่นั่นไม่มีอะไร คนหนุ่มคนสาวเข้าเมือง ทิ้งพ่อแม่ไว้ที่
บ้าน แต่เงินทองที่ได้มากกว่าชนบทนั้นก็ไม่พอใช้ส�ำหรับชีวิตในเมือง       
จึงไม่มีส่งให้พ่อแม่ ชีวิตที่เร้าใจกว่าชนบทท�ำให้ยอมจนอยู่ในเมือง จึง      
ไม่กลับไปหาพ่อแม่ เมื่อมีครอบครัวต้องรับผิดชอบก็ยิ่งไม่สามารถจะ
ดูแลพ่อแม่ ครั้นมีปัญหาครอบครัวบ้าง ปัญหาการท�ำงานบ้าง จากการ
มีลูกบ้าง ทางออกก็คือ เอาลูกไปทิ้งให้พ่อแม่ซึ่งพึ่งตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว
เลี้ยงดู ไม่ว่าจะมีรายการโทรทัศน์ดังกล่าวสักกี่ช่องก็ช่วยคนแก่ที่ถูก      
ทอดทิ้งเหล่านี้ไม่หมด เพราะคนที่ควรรับผิดชอบแต่ไม่รับผิดชอบนี้           
มีมาก คนที่ใจบุญสุนทานแม้มีมากก็คงช่วยได้ไม่มากนัก
	 เศรษฐกิจแบบใหม่ที่พัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ นี้ท�ำให้คนคิดแต่เรื่อง
เงิน อะไรที่ไม่ท�ำให้ได้เงินถือว่าไม่มีคุณค่า ยิ่งท�ำให้เสียเงินด้วยแล้ว         
ยิ่งเป็นศัตรูกับเศรษฐกิจแบบนี้ คนรับจ้างฆ่าคนรายละไม่กี่พันบาท          
คนหลอกเด็กสาวไปขายบริการทางเพศ พรากทารกจากพ่อแม่ไปขาย  
ตีเขาจนตายเพียงเพราะต้องการ “มือถือ” ปาดคอฆ่าคนขับแท็กซี่         
เพื่อเอาเงินไปเที่ยวสถานบันเทิง เอายาเสพติดผสมน�้ำหวานให้เด็กกิน
10
เพื่อจะให้เป็นผู้ซื้อขายยาเสพติด ฯลฯ ความเลวร้ายเหล่านี้เกิดขึ้น     
เพราะคนเราเห็นเงินเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด ไม่คิดถึงความทุกข์ของใคร            
ไม่คิดถึงความดีงามใด ๆ เงินเป็นประโยชน์ แต่ถ้าไม่รู้จักคุณค่าอื่น ๆ ที่
คนควรมี เงินก็ก่อให้เกิดการท�ำร้าย ท�ำลาย และเห็นความชั่วเป็น      
ความดีได้
	 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เราด�ำเนินการกันมา
ที่แท้แล้วก็เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยม ซึ่งเป็นการพัฒนา
ความเห็นแก่เงินและเห็นแก่ตัว เป็นการพัฒนาให้เงินบดบังและสกัดกั้น
การพัฒนาคุณค่าของความเป็นคนโดยวิธีเอาเงินเป็นจุดหมาย เป็น          
ตัวตั้ง อะไรที่ไม่น�ำไปสู่เงินก็ถูกสกัดกั้น เพราะไม่คุ้มค่า ไม่ท�ำให้เงิน
งอกเงย ในปัจจุบัน ความดีแม้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น บนรถโดยสาร ผู้ชาย       
จะสละที่นั่งให้ผู้หญิงหรือเด็กนั้นหาแทบไม่ได้ ผิดกับเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
ผู้ชายจะแย่งกันสละที่นั่ง สมัยนี้ไม่สละยังพอท�ำเนา ถึงกับแย่งที่นั่งก็มี  
แม้ที่ที่เขาจัดไว้ส�ำหรับพระภิกษุ ก็แย่งนั่งจนพระภิกษุที่ขึ้นรถมาแล้ว      
ต้องกลับลงจากรถไป สังคมที่คนเห็นแก่ตัวถึงเพียงนี้ ย่อมไม่อาจเป็น
สังคมที่คนเห็นแก่ส่วนรวมแก่ชาติได้เลยไม่ว่าจะโฆษณาประชาสัมพันธ์
สักเพียงไร เพราะพลังเงินแรงกว่า คนอาจจะขายชาติได้ง่าย ๆ เพราะ
นึกไม่ออกว่าความรักชาติเป็นอย่างไร คนอาจทรยศกันง่าย ๆ เพื่อเงิน
ทั้งหมดนี้ก็เนื่องจากขาดการพัฒนาคนให้มีความเป็นคน และที่ขาด       
การพัฒนาก็เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวต้องใช้เงิน แต่มักไม่ได้เงิน
	 แม้แต่ในการศึกษาเราก็เอาใจใส่การมีคอมพิวเตอร์มากๆให้เด็ก
เก่งคอมพิวเตอร์ แต่ไม่เอาใจใส่ให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่นักเรียน
ประพฤติตัวดีมีศีลธรรม แม้ในปัจจุบันจะมีโรงเรียนวิถีพุทธ แต่ดูวิธีการ
แล้วก็เป็นเรื่องแฟชั่น และเป็นเครื่องหมายว่าวิชาพระพุทธศาสนา

More Related Content

More from CUPress

9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
CUPress
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402
 

9789740336167

  • 2. 2 มนุษยศาสตร์กับการพัฒนา คุณค่าของประเทศ ความเป็นมนุษย์ ในด้านชีววิทยามนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง และตามกฎของดาร์วิน ที่ว่าด้วยเรื่องการอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุดหรือกฎ“ใครดีใครอยู่” นั้น มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่เก่งที่สุดตามกฎนี้ แต่เราก็มิได้ยกย่องมนุษย์ ว่า “สูงส่ง” โดยอาศัยกฎดังกล่าว เช่นเดียวกับที่เรามิได้ยกย่องเสือ ว่าเป็นสัตว์ “สูงส่ง” เพราะความเก่งกาจ ฉลาด และดุร้ายของมัน ในท�ำนองเดียวกัน เราก็ไม่เคยยกย่องคนที่โหดร้ายทารุณว่าเป็นคน “สูงส่ง” แต่เรากลับเปรียบเทียบความโหดร้ายนั้นว่า “จิตใจไม่ต่างกับ สัตว์ร้าย” เรามิได้วัดความสูงส่งจากการที่เราท�ำลายสัตว์ พืช และ ทรัพยากรได้มาก ๆ มิได้วัดจากความสามารถในการกดขี่ เบียดเบียน มนุษย์ด้วยกันอย่างโหดร้าย มนุษย์มีกิเลสมากกว่าสัตว์ ซับซ้อนกว่าสัตว์ ฉลาดกว่าสัตว์ ด้วยลักษณะเหล่านี้มนุษย์ได้ท�ำลายสิ่งต่างๆไปมากมายเพื่อสนองกิเลส นั้น หากเรายกย่องลักษณะทางท�ำลาย เราคงท�ำลายกันเองจนสูญสิ้น
  • 3. 3 เผ่าพันธุ์ไปนานแล้ว ในความเป็นจริง เราท�ำลายทรัพยากร แต่ในการ ท�ำลายนั้น เราก็มีการสร้างสรรค์ด้วย คนที่มองข้างสร้างสรรค์คิดว่า การท�ำลายเป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ ส่วนคนที่มองข้างท�ำลายก็คิดว่า การสร้างสรรค์นั้นที่แท้เป็นการท�ำลาย ในแง่วัตถุ การประยุกต์ด้วยเทคโนโลยีเป็นรูปแบบส�ำคัญของ การสร้างสรรค์ คือ มนุษย์ใช้ปัญญาหาเทคโนโลยีมาดัดแปลงธรรมชาติ เพื่อความสะดวกสบายและเพื่อให้เกิดความสบายแก่ตน เมื่อต้อง ดัดแปลงธรรมชาติก็ต้องมีการท�ำลายธรรมชาติ การสร้างสรรค์ทาง วัตถุโดยไม่ท�ำลายเลยย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสร้างสรรค์คุ้มกับที่ต้อง ท�ำลายหรือไม่ หากไม่มีการสร้างสรรค์ทางวัตถุ มนุษย์อาจมีความทุกข์ กว่านี้ และอาจต้องท�ำลายธรรมชาติมากกว่านี้ เช่น ถ้าไม่มีเทคโนโลยี ในการเพาะปลูก ก็ต้องใช้พื้นที่มากขึ้น และพื้นที่เสื่อมโทรมเร็วขึ้น ถ้า ไม่ผลิตยาที่มีคุณภาพสูง มนุษย์อาจต้องทนทุกข์ทรมานมากแม้ใน อาการของโรคทั่ว ๆ ไป เช่น อาการไข้ หรืออาการปวดต่าง ๆ มนุษย์มี ปัญญา มนุษย์จึงรู้จักบรรเทาความทุกข์และท�ำให้ตนสุขสบาย การ สร้างสรรค์ทางวัตถุจึงเป็นเรื่องน่ายกย่อง และการท�ำลายก็เป็นสิ่งที่ เลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อมีทั้งการสร้างและการท�ำลาย ถ้ามนุษย์มีปัญญาจริง ฉลาดจริงก็ต้องพิจารณาได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้มาในการใช้วัตถุ อะไรคือ สิ่งที่เสียไป พืชหรือสัตว์ การบริโภคอย่างไรเป็นคุณ อย่างไรเป็นโทษ แก่ตน แก่ส่วนรวม และแก่โลกหรือธรรมชาติ ความเป็นมนุษย์อยู่ที่การรู้ว่าอะไรควรท�ำ อะไรไม่ควรท�ำ อะไร เป็นคุณ อะไรเป็นโทษ ไตร่ตรองรอบด้านทุกทิศทาง ทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว ทั้งที่จะเกิดแก่ตน แก่สังคม และแก่ธรรมชาติ แม้ในเรื่อง
  • 4. 4 วัตถุก็ต้องใช้ทั้งสติและปัญญาอย่างรอบคอบ ให้เป็นการสร้างสรรค์ที่มี การท�ำลายน้อยที่สุด เบียดเบียนน้อยที่สุด ในด้านนามธรรมและจิตใจนั้น การสร้างสรรค์ยิ่งจะต้องประณีต และสูงส่งกว่าด้านวัตถุ เพราะสามารถจะให้เป็นไปโดยเป็นการสร้าง- สรรค์อย่างเดียวโดยไม่มีการท�ำลายได้ เช่น การมีความเมตตา การ เสียสละ ไม่จ�ำเป็นต้องมีการท�ำลายใด ๆ การไม่เบียดเบียน การให้ และการมีจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นลักษณะสร้างสรรค์ของมนุษย์ ต่อตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม โดยไม่ท�ำลาย มนุษย์มีลักษณะของสัตว์ เช่น ความดุร้าย ความเห็นแก่ตัว แต่มนุษย์ก็สร้างสรรค์ทางใจได้ด้วย การมีความเมตตาและการให้ ความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์ จึงอยู่ที่การสร้างสรรค์เช่นนี้ และเรายกย่องมนุษย์ว่า “สูงส่ง” ต่อเมื่อมี คุณสมบัติเช่นนี้ ศาสนาทั้งหลายจึงสอนให้ละชั่ว ท�ำดี และท�ำใจให้ บริสุทธิ์ผ่องใส มิได้สอนให้คิดแต่จะเอาชนะ ท�ำลาย เบียดเบียน โดย ค�ำนึงถึงแต่ประโยชน์ของตนหรือความสุขทางวัตถุอย่างเดียว การพัฒนาที่ท�ำลายความเป็นมนุษย์ การพัฒนาทางวัตถุนั้น แม้ที่เป็นการสร้างสรรค์ก็ยังมีการท�ำลาย และจะมีการท�ำลายมากขึ้นหากการพัฒนานั้นเป็นไปด้วยความโลภ ความหลง ตัณหา และไม่รอบคอบในการใช้ทรัพยากร แต่การท�ำลาย เช่นนั้นก็ยังเป็นการท�ำลายวัตถุ ซึ่งแม้จะท�ำให้มนุษย์ยากล�ำบาก ในบั้นปลาย แต่ก็ยังไม่เป็นการท�ำลายลงไปถึงรากเหง้า คือการท�ำลาย สิ่งนามธรรมที่ส�ำคัญที่สุดอันได้แก่ความเป็นมนุษย์ แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่ ว่า การท�ำลายทางวัตถุจะไม่เป็นเหตุให้เกิดการท�ำลายความเป็นมนุษย์
  • 5. 5 ในที่สุด เพราะหากการพัฒนานั้นน�ำผลประโยชน์มาให้ และความ ละโมบท�ำให้เกิดการแสวงหาก�ำไรอย่างไม่สิ้นสุด ความละโมบนั้น ก็อาจท�ำให้คนเราท�ำสิ่งเลวร้ายเช่นเบียดเบียนผู้อื่นอย่างโหดเหี้ยมหรือ ท�ำลายชีวิตผู้ที่ขัดผลประโยชน์ได้ เท่ากับความโลภนั้นได้ท�ำลายหนทาง แห่งความดีงาม และฉุดลากคนผู้นั้นไปสู่ความชั่ว การพัฒนาที่ท�ำลายความเป็นมนุษย์จนถึงรากเหง้าคือการพัฒนา ทางความคิดโดยขาดความไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และการตกเป็น ทาสความคิดโดยไม่พิจารณาข้อดีข้อเสีย โดยเฉพาะความคิดที่เป็น ระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมสังคม เช่น การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งเปลี่ยน ความคิดคนทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจอันเป็นวิถีชีวิตโดยตรง กับเปลี่ยนวิธีคิดให้ไปตามมโนทัศน์ที่มาจากระบบเหล่านั้น โดยผ่าน ทางระบบการศึกษาอันเป็นการท�ำลายอย่างเป็นระบบโดยความศรัทธา ในความคิดความเชื่ออย่างใหม่จนเห็นทุกสิ่งที่แตกต่างหรือเป็นของเดิม เป็นจุดอ่อนและความเลวร้าย ในเนื้อที่อันจ�ำกัดนี้จะขอยกตัวอย่าง ความไม่รอบคอบในการพัฒนาความคิดสัก 2 เรื่อง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ พบเห็นกันได้ทั่วไป เรื่องแรก คือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่เปลี่ยน ไป ในสมัยโบราณ แพทย์คือชาวบ้านธรรมดาที่รู้วิชาแพทย์แผนโบราณ อาชีพการงานปกติมิใช่แพทย์แต่เป็นช่างบ้างเป็นกสิกรบ้างค้าขายบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็ใช้วิชาแพทย์ที่ตนรู้ช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาล ก็มักสุดแท้แต่ฐานะของคนไข้ ใครมีก็เก็บค่ารักษา ใครไม่มีก็ช่วยเหลือ แบบให้เปล่า ค่ารักษาส่วนมากก็เก็บเป็นค่ายกครูเล็ก ๆ น้อย ๆ ชาวบ้านจึงเป็นผู้พึ่งแพทย์ และแพทย์เป็นผู้มีความการุณย์ แพทย์ให้ การรักษา ส่วนชาวบ้านให้ความเคารพรัก ความไว้วางใจ เงินทองและ
  • 6. 6 สิ่งตอบแทนอื่น ๆ เป็นเครื่องตอบแทนโดยถือเป็นเครื่องหมายของ ความเคารพรัก มิใช่ค่าจ้าง แพทย์จึงเป็นดุจเทพเจ้าของชาวบ้าน หาก โรคภัยไข้เจ็บรุนแรงและคนไข้ต้องเสียชีวิต หรือแพทย์วินิจฉัยโรค ผิดพลาด ยามีไม่พร้อม ก็ไม่ถือว่าเป็นความบกพร่องของแพทย์ แต่ถือ ว่าเป็นเรื่องโชคร้ายหรือเคราะห์กรรมของคนไข้ ไม่มีใครมองแพทย์ ไปในแง่ร้าย ความรู้สึกนี้เผื่อแผ่ต่อมาถึงแพทย์แผนปัจจุบันด้วย ในระยะแรก ๆ ที่มีการแพทย์สมัยใหม่ มีโรงพยาบาลของรัฐ เกิดขึ้น ความรู้สึกดังกล่าวนี้ก็ยังคงอยู่ แต่เมื่อนานเข้า พลเมืองเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลขยายไม่ทัน แพทย์เปิดคลินิก ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่พอมี เงินทองก็ไปรักษาที่คลินิก รายได้จากการท�ำคลินิกท�ำให้ฐานะของ แพทย์บางคนดีขึ้นเกิดความเห็นในหมู่คนทั่วไปว่า“เรียนหมอแล้วรวย” คนส่วนหนึ่งจึงเข้าเรียนวิชาแพทย์ด้วยเหตุดังกล่าว ครั้นเรียนจบแล้ว ไปตั้งคลินิก คลินิกบางสาขา เช่น ทันตกรรม ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์แพง แม้แพทย์สาขาที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากนักก็ต้องลงทุนค่าตึกแถว ค่ายา ค่าจ้างคนจ่ายยา ท�ำให้ค่ารักษาแพงขึ้น ยิ่งเป็นคลินิกที่บริการดี เป็น ที่นิยมของคนมีฐานะดี ค่ารักษาก็ยิ่งแพง ยิ่งขยายเป็นโพลีคลินิก หรือ โรงพยาบาลที่ต้องมีทั้งอุปกรณ์และการบริการดียิ่งขึ้นไปอีก ก็ต้องคิด ค่าใช้จ่ายสูงเป็นเงาตามตัว คนไข้ฐานะดีมักเป็นผู้มีความรู้ มีความคาดหวังผลการรักษาสูง ไม่ต้องการให้มีความผิดพลาดในการรักษา จึงเริ่มมองเห็นแพทย์เป็น คู่สัญญา เริ่มเรียกร้องสิทธิที่จะรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา เริ่มไม่ ไว้วางใจแพทย์ เช่น ตรวจรักษากับแพทย์มากกว่า 1 คน เพื่อจะให้แน่ใจ ว่าการวินิจฉัยถูกต้อง และพร้อมจะโทษแพทย์ถ้าเกิดความผิดปกติ อย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงที่รักษา ยิ่งมีกรณีที่สื่อมวลชนลงข่าวความ
  • 7. 7 ผิดพลาดของแพทย์ ความกลัวนั้นก็ขยายวง เพิ่มความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ แพทย์มากขึ้นอีก จนถึงในที่สุดมีการฟ้องร้องแพทย์อยู่เนือง ๆ โดยที่ บางครั้งแพทย์มิได้ท�ำผิด เมื่อแพทย์ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ ก็ต้องพยายามรักษาโดยไม่ยอม เสี่ยง แม้ว่าการเสี่ยงจะเป็นโอกาสให้คนไข้หายจากโรคได้ก็ตาม แพทย์ จะรู้สึกถูกกดดันในกรณีที่ต้องรักษาคนที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ เช่น นักดนตรีหรือดารา แพทย์รู้สึกว่าท�ำงานอย่างเสี่ยงต่อการเป็นจ�ำเลย ของสื่อมวลชน สังคม และจ�ำเลยในศาลได้ง่าย แพทย์ต้องอดทนต่อ ค�ำต่อว่าของคนไข้และญาติที่ไม่เข้าใจ ฐานะเทพเจ้าผู้เป็นที่พึ่งได้เปลี่ยน ไปอย่างมาก ยิ่งแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่พัฒนามาจากการเมือง คือ เรื่องสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิทธิของผู้ป่วย ก็ยิ่งเกิดปัญหาแก่แพทย์ มากขึ้น ในแง่ดีอาจมองได้ว่าท�ำให้แพทย์รอบคอบขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นการแสดงว่าความไว้วางใจแพทย์หมดไป เพราะความสัมพันธ์เชิง สิทธิและพันธสัญญานั้นมาจากจิตใจที่ปราศจากความไว้วางใจผู้อื่น จึง ต้องหาทางป้องกันตัว ความสัมพันธ์ชนิดนี้ท�ำให้ปลอดภัยจากคนที่คิด ชั่ว แต่ก็ท�ำลายความสัมพันธ์แบบไว้วางใจคนดีไปด้วย แพทย์และคนไข้ ต่างระแวง ระวัง และเตรียมป้องกันตัวตลอดเวลา เมื่อหายจากโรค ก็โล่งอกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่โล่งอกเพราะโรคหายอย่างเดียว แต่ โล่งอกเพราะไม่ต้องไปสู้กันในศาลหรือในสื่อมวลชน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้แบบที่มนุษย์ร่วมโลกพึงมี ต่อกันในอดีต ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจ เมตตาการุณย์ มนุษยธรรมและเป็นมิตรได้สูญสิ้นไปพร้อมกับความเจริญทางเทคโนโลยี ด้านการแพทย์ และเมื่อความสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องสิทธิแบบเดียวกับ การเมือง การแพทย์ก็กลายเป็นธุรกิจมากขึ้น เพราะไม่มีคุณค่าทาง
  • 8. 8 จริยะที่มนุษย์พึงยึดถือปฏิบัติเหลืออยู่ เมื่อแพทย์ไม่ได้รับความเคารพ นับถืออย่างอดีต ก็ไม่มีอะไรที่เป็นหลักธรรมประจ�ำใจให้ต้องช่วยเหลือ คนไข้ คนไข้ก็จะมีฐานะเป็นลูกค้าเหมือนธุรกิจทั้งหลาย ไม่มีเงินก็ไม่มี โอกาสได้รับการรักษา นอกจากนั้นแพทย์เองก็มักอยู่ในฐานะลูกจ้าง ของรัฐหรือเอกชน ที่ต้องท�ำตามระเบียบของหน่วยงานหรือบริษัท ไม่มี สิทธิที่จะคิดตัดสินใจเอง แม้ว่าแพทย์จ�ำนวนมากจะยังเป็นผู้มีคุณธรรม อย่างในอดีตอยู่ก็ตาม ความเป็นมนุษย์และความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีคุณธรรมที่รู้จัก คุณค่านามธรรมก�ำลังจะหมดไป เทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ ไม่ว่า เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารจัดการ ระบบสังคมที่เห็นกันว่าเป็น ความเจริญนั้น แม้ช่วยจัดระเบียบและมีข้อดีอยู่มาก แต่หากลืมคุณค่า ทางด้านมนุษยธรรมเสียแล้ว มนุษย์ก็จะสูญเสียสิ่งดีงามและความ สุขใจ ในวันข้างหน้า มนุษย์อาจไม่รู้จักและไม่รู้ว่าคุณค่าเหล่านั้นเคยมี อยู่ในชีวิตประจ�ำวัน และจะไม่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นจริงส�ำหรับมนุษย์ได้ เรื่องที่ 2 คือ เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมที่เป็น การท�ำลายความสัมพันธ์ของครอบครัว ในปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ ที่เสนอข่าวพ่อแม่วัยชราที่พิการ เจ็บป่วย หรืออ่อนแรงจนท�ำมาหากิน ไม่ได้ ถูกลูกหลานที่ไปท�ำงานที่อื่นทอดทิ้ง บางครั้งยังน�ำลูกมาให้เลี้ยง โดยไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูและไม่เคยมาดูแล รายการโทรทัศน์เช่นนี้มี มานานนับปี คนแก่นอกจากที่รายการเหล่านี้น�ำมาเสนอจะต้องมีอยู่ อีกมากมาย ความกตัญญูรู้คุณของลูก ๆ หายไปไหน เพราะเหตุใด เหตุประการหนึ่งก็คือ ขาดการอบรมที่ดีไม่ว่าจากตัวพ่อแม่เองหรือจาก สถานศึกษา ที่ส�ำคัญที่สุดคือ จากสภาพสังคมที่ไม่ให้ความส�ำคัญแก่ คุณค่านามธรรม
  • 9. 9 การพัฒนาเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมซึ่งก็รวมถึงการค้าแบบ ธุรกิจด้วย เน้นเรื่องของเงินเป็นเรื่องใหญ่ เกิดด้วยเงิน วัดด้วยเงิน อยู่ ด้วยเงิน และก้าวหน้าเพิ่มพูนด้วยเงิน ในเวลาเดียวกัน กิจกรรมชนิดนี้ ก็รุกล�้ำท�ำลายเกษตรกรรม กิจการเล็ก ๆ การค้าขายของชาวบ้านลง เรื่อย ๆ เงินทองที่หายากในท้องไร่ท้องนา หาได้ง่าย ๆ ในโรงงานที่อยู่ ในเมือง ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย อบายมุขและเสรีทางเพศที่หาได้ยากใน หมู่บ้าน ซื้อได้ง่ายในเมือง ความอยากจะมีความสุขแบบคนเมือง ดูดคนชนบทเข้าสู่เมือง เข้ามามีอาชีพในเมือง เข้ามาท�ำงาน มาเรียนในเมือง แล้วไม่กลับบ้าน ในชนบท เพราะที่นั่นไม่มีอะไร คนหนุ่มคนสาวเข้าเมือง ทิ้งพ่อแม่ไว้ที่ บ้าน แต่เงินทองที่ได้มากกว่าชนบทนั้นก็ไม่พอใช้ส�ำหรับชีวิตในเมือง จึงไม่มีส่งให้พ่อแม่ ชีวิตที่เร้าใจกว่าชนบทท�ำให้ยอมจนอยู่ในเมือง จึง ไม่กลับไปหาพ่อแม่ เมื่อมีครอบครัวต้องรับผิดชอบก็ยิ่งไม่สามารถจะ ดูแลพ่อแม่ ครั้นมีปัญหาครอบครัวบ้าง ปัญหาการท�ำงานบ้าง จากการ มีลูกบ้าง ทางออกก็คือ เอาลูกไปทิ้งให้พ่อแม่ซึ่งพึ่งตัวเองไม่ได้อยู่แล้ว เลี้ยงดู ไม่ว่าจะมีรายการโทรทัศน์ดังกล่าวสักกี่ช่องก็ช่วยคนแก่ที่ถูก ทอดทิ้งเหล่านี้ไม่หมด เพราะคนที่ควรรับผิดชอบแต่ไม่รับผิดชอบนี้ มีมาก คนที่ใจบุญสุนทานแม้มีมากก็คงช่วยได้ไม่มากนัก เศรษฐกิจแบบใหม่ที่พัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ นี้ท�ำให้คนคิดแต่เรื่อง เงิน อะไรที่ไม่ท�ำให้ได้เงินถือว่าไม่มีคุณค่า ยิ่งท�ำให้เสียเงินด้วยแล้ว ยิ่งเป็นศัตรูกับเศรษฐกิจแบบนี้ คนรับจ้างฆ่าคนรายละไม่กี่พันบาท คนหลอกเด็กสาวไปขายบริการทางเพศ พรากทารกจากพ่อแม่ไปขาย ตีเขาจนตายเพียงเพราะต้องการ “มือถือ” ปาดคอฆ่าคนขับแท็กซี่ เพื่อเอาเงินไปเที่ยวสถานบันเทิง เอายาเสพติดผสมน�้ำหวานให้เด็กกิน
  • 10. 10 เพื่อจะให้เป็นผู้ซื้อขายยาเสพติด ฯลฯ ความเลวร้ายเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะคนเราเห็นเงินเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด ไม่คิดถึงความทุกข์ของใคร ไม่คิดถึงความดีงามใด ๆ เงินเป็นประโยชน์ แต่ถ้าไม่รู้จักคุณค่าอื่น ๆ ที่ คนควรมี เงินก็ก่อให้เกิดการท�ำร้าย ท�ำลาย และเห็นความชั่วเป็น ความดีได้ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เราด�ำเนินการกันมา ที่แท้แล้วก็เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยม ซึ่งเป็นการพัฒนา ความเห็นแก่เงินและเห็นแก่ตัว เป็นการพัฒนาให้เงินบดบังและสกัดกั้น การพัฒนาคุณค่าของความเป็นคนโดยวิธีเอาเงินเป็นจุดหมาย เป็น ตัวตั้ง อะไรที่ไม่น�ำไปสู่เงินก็ถูกสกัดกั้น เพราะไม่คุ้มค่า ไม่ท�ำให้เงิน งอกเงย ในปัจจุบัน ความดีแม้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น บนรถโดยสาร ผู้ชาย จะสละที่นั่งให้ผู้หญิงหรือเด็กนั้นหาแทบไม่ได้ ผิดกับเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผู้ชายจะแย่งกันสละที่นั่ง สมัยนี้ไม่สละยังพอท�ำเนา ถึงกับแย่งที่นั่งก็มี แม้ที่ที่เขาจัดไว้ส�ำหรับพระภิกษุ ก็แย่งนั่งจนพระภิกษุที่ขึ้นรถมาแล้ว ต้องกลับลงจากรถไป สังคมที่คนเห็นแก่ตัวถึงเพียงนี้ ย่อมไม่อาจเป็น สังคมที่คนเห็นแก่ส่วนรวมแก่ชาติได้เลยไม่ว่าจะโฆษณาประชาสัมพันธ์ สักเพียงไร เพราะพลังเงินแรงกว่า คนอาจจะขายชาติได้ง่าย ๆ เพราะ นึกไม่ออกว่าความรักชาติเป็นอย่างไร คนอาจทรยศกันง่าย ๆ เพื่อเงิน ทั้งหมดนี้ก็เนื่องจากขาดการพัฒนาคนให้มีความเป็นคน และที่ขาด การพัฒนาก็เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวต้องใช้เงิน แต่มักไม่ได้เงิน แม้แต่ในการศึกษาเราก็เอาใจใส่การมีคอมพิวเตอร์มากๆให้เด็ก เก่งคอมพิวเตอร์ แต่ไม่เอาใจใส่ให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่นักเรียน ประพฤติตัวดีมีศีลธรรม แม้ในปัจจุบันจะมีโรงเรียนวิถีพุทธ แต่ดูวิธีการ แล้วก็เป็นเรื่องแฟชั่น และเป็นเครื่องหมายว่าวิชาพระพุทธศาสนา