SlideShare a Scribd company logo
1
สังขชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. สังขชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๔๒)
ว่าด้วยสังขพราหมณ์
(อุปัฏฐากกล่าวกับสังขพราหมณ์ว่า)
[๓๙] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านเป็ นพหูสูต ธรรมก็ได้ฟังมาแล้ว
สมณพราหมณ์ท่านก็ได้พบมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านมาแสดงอาการพร่าเพ้อในขณะอันไม่สมควรเลย
คนอื่นนอกจากข้าพเจ้าจะมีใครเป็ นที่ปรึกษาของท่านเล่า
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๐] เทพธิดาผู้มีใบหน้างาม รูปงาม สวมใส่เครื่องประดับทองคา
เชิญถาดอาหารทองคา มีศรัทธาและยินดีบอกเราว่า
ขอเชิญท่านบริโภคอาหารเถิด เราตอบปฏิเสธเทพธิดาตนนั้น
(อุปัฏฐากกล่าวว่า)
[๔๑] ท่านพราหมณ์ คนพบเห็นเทพผู้ควรบูชาเช่นนี้ เมื่อหวังความสุข
ก็ควรจะไต่ถาม ท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทพผู้นั้นตรงๆ ว่า
ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ
(สังขพราหมณ์ถามเทพธิดาว่า)
[๔๒] เพราะท่านมองดูข้าพเจ้าด้วยเมตตา
และยังบอกเชิญข้าพเจ้าว่าบริโภคภัตตาหารเถิด แม่นางผู้มีอานุภาพมาก
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ
(เทพธิดาตอบว่า)
[๔๓] ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา มีอานุภาพ
มาท่ามกลางสมุทรวารนี้ มีความเอ็นดู จะมีจิตประทุษร้ายก็หาไม่
ข้าพเจ้ามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
[๔๔] ท่านสังขพราหมณ์ ในมหาสมุทรนี้ มีข้าว น้า ที่นอน ที่นั่ง
และยานนานาชนิด ข้าพเจ้าจะมอบให้ท่านทุกอย่างตามที่ใจของท่านปรารถนา
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๕] ข้าพเจ้าได้บูชาและบวงสรวงมาแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างงดงาม มีสะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม เอวบางร่างน้อย
ท่านเป็นใหญ่แห่งบุญกรรมทุกอย่างของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของข้าพเจ้าเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
2
[๔๖] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า
กระหาย ลาบาก ในหนทางที่ร้อนสวมรองเท้าถวาย
ทักษิณานั้นให้สมบัติที่น่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๗] ขอจงเนรมิตเรือที่ทาด้วยไม้กระดาน ไม่รั่ว
ใช้ใบตะไคร่น้าเป็ นใบเรือ เพราะในกลางทะเลนี้ไม่ใช่ภาคพื้นแห่งยานอื่น
ช่วยส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมฬินีในวันนี้เถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๔๘] เทพธิดานั้นปลื้มใจ ยินดีปรีดา ได้เนรมิตเรืออันงดงาม ณ ที่นั้น
พาสังขพราหมณ์ พร้อมทั้งอุปัฏฐากชายนาไปส่งถึงเมืองอันน่ารื่นรมย์
สังขชาดกที่ ๔ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
สังขชาดก
ว่าด้วย อานิสงส์ถวายรองเท้า
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
ทรงปรารภการถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี
มีอุบาสกคนหนึ่งฟังธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา
จึงเข้าไปนิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทามณฑปใกล้ประตูเรือนของตน
ประดับตกแต่งเป็ นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต
พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น
ประทับนั่งบนบวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้
อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและบริวารชน
ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ได้นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗
ได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง.
แลเมื่อจะถวายนั้นได้จัดทารองเท้าถวายเป็นพิเศษคือคู่ที่ถวายแด่พระ
ทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวกทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐
ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้นราคาคู่ละร้อย.
อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง
ดังนี้แล้วได้ไปนั่งอยู่ในสานักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน.
ครั้งนั้น
พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่อุบาสกนั้น
ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การถวายเครื่องบริขารทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง
3
ท่านจงชื่นชมเถิด
ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น
ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้
เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่ถวายรองเท้า
ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทาไมจักไม่เป็ นที่พึ่งเล่า ดังนี้
แล้วอุบาสกนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว
จึงทรงนาเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้มีนามว่าโมลินี
พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี
มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทาให้ปลื้มใจ
เช่นทรัพย์ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง
๔ ประตู ที่กลางเมืองและที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖
แสนให้ทานเป็นการใหญ่แก่คนกาพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน
วันหนึ่ง เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้
เมื่อทรัพย์ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นาทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว
จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า
พวกท่านจงให้ทานของเราเป็ นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา
แล้วก็แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้า
เดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอดในเวลาเที่ยง.
ในขณะนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์
มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั้นกาลังจะเดินทางเพื่
อนาทรัพย์มา จึงพิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์
จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่หนอ ก็ทราบว่าจักมีอันตราย
จึงคิดว่ามหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้วจักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา
เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า
เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์
เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะลมแรงแดดกล้า
ตรงมายังสังขพราหมณ์.
สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า
บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขตนี้
จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้
พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาด
4
นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้าที่อบและกรองใสสะอาด
ทาเท้าด้วยน้ามันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ามันหอม
แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้
า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น
จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น.
สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น
เดินไปสู่ท่าลงเรือ
เมื่อสังขพราหมณ์กาลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร พอถึงวันที่ ๗
เรือได้ทะลุ น้าไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้าให้หมดได้.
มหาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตนๆ
ร้องกันเซ็งแซ่.
พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คนหนึ่ง ทาสรีระด้วยน้ามัน
เคี้ยวจุรณน้าตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว ให้อุปัฏฐากกินบ้าง
แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กาหนดทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้
เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลาและเต่า
จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะหนึ่ง พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น.
มหาชนพากันพินาศสิ้น
ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้ามมหาสมุทรไปได้ ๗ วัน
วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วนปากด้วยน้าเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ.
ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔
ตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคาสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง
มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี
มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้.
นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗
นางตรวจดูสมุทรได้เห็นสังขพราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ
เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง
เราคงได้รับครหาเป็ นอันมาก
แล้วนางได้จัดถาดทองใบหนึ่งให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอันมีรสเลิศต่างๆ
เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้าสังขพราหมณ์ กล่าวว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด.
สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าวว่า
จงนาภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลาดับนั้น
อุปัฏฐากอยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า
5
พราหมณ์นี้เป็ นสุขุมาลชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลาบากเข้า ๗ วัน
ชะรอยจะบ่นเพ้อเพราะกลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว
ทั้งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา
เหตุไรท่านจึงแสดงคาพร่าเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า
ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้?
สังขพราหมณ์ได้ฟังคาของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า
ชะรอยเทวดานั้นจะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย
ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
นางฟ้ าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วยเครื่องประดับทอง
ยกถาดทองเต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค
นางเป็ นผู้มีศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่บริโภค.
ลาดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้นว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยังปรารถนาความสุข
ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูให้รู้แน่
ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทวดานั้นว่า นางเป็ นเทวดาหรือมนุษย์.
พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น
ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก
ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่
ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์?
ลาดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมาก
มาในกลางน้าสาครนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่
ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง.
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าว น้า ที่นอน ที่นั่ง
และยานพาหนะมากอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด
ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นสาเร็จแก่ท่านทุกอย่าง.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า
เทวดานี้กล่าวว่าจะให้อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้า
เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เราทาไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน
เราจักถามดูก่อน
เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-
6
ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย
ทานซึ่งเป็ นส่วนบูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่
ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง
การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็ นวิบากแห่งกรรมอะไร?
นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า
พราหมณ์นี้ชะรอยจะถามด้วยสาคัญว่าเรารู้กุศลกรรมที่เขาทาไว้ บัดนี้
เราจักกล่าวทานของเขา.
เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์
ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า
สะดุ้งลาบากอยู่ในหนทางอันร้อน
ทักษิณานั้นอานวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า
การถวายรองเท้าที่เราได้ถวายแล้ว
มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้
โอ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็ นการถวายที่ดีแล้ว.
จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-
ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น้าไม่รั่ว
มีใบสาหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะในสมุทรนี้
พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี
ในวันนี้เถิด.
พึงทราบความแห่งคาอันเป็ นคาถานั้นว่า
ดูก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น
ขอท่านจงเนรมิตเรือลาหนึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็กๆ ลาหนึ่ง
ประมาณเท่าเรือโกลน อนึ่ง
เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดานหลายๆ แผ่นที่ตรึงดีแล้ว
ที่ชื่อว่าน้าไม่รั่ว เพราะไม่มีช่องที่จะให้น้าไหลเข้าไปได้
ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวก เพราะในสมุทรนี้
พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี
ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลานั้น ในวันนี้เถิด.
นางเทพธิดาได้ฟังคาของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี
เนรมิตเรือขึ้นลาหนึ่งซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลานั้นยาว ๘ อุสภะ กว้าง
๔ อุสภะ ลึก ๒๐ วา มีเสากระโดง ๓ เสาแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล
มีสายระโยงระยางแล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้านแล้วไปด้วยเงิน
มีหางเสือแล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการมาบรรทุกเต็มเรือ
7
แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว
แต่มิได้เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย
พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญที่ตนได้กระทาไว้แก่อุปัฏฐาก
อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดาก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย. ลาดับนั้น
เทวดาก็นาเรือไปสู่โมลินีนคร ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์
แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน.
พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า :-
นางเทพธิดานั้นมีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร
แล้วพาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อันเป็นที่สาราญรื่นรมย์.
แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้
ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว
พร้อมด้วยบริษัทได้ไปเกิดในเทพนคร.
พระศาสดา
ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ
อุบาสกดารงอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า
นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น นางอุบลวัณณาเถรี ในบัดนี้
บุรุษอุปัฏฐากในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้
ส่วนสังขพราหมณ์ ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสังขพราหมณชาดกที่ ๔
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 442 สังขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทงwilasinee k
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Jariya Huangjing
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Chutima Tongnork
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรPanda Jing
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Nakkarin Keesun
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 

Similar to 442 สังขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

006
006006
006
 
006
006006
006
 
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทง
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๔. วิหารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
-------------- --- 4
 -------------- --- 4 -------------- --- 4
-------------- --- 4
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

More from maruay songtanin

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 

442 สังขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 สังขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๔. สังขชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๔๒) ว่าด้วยสังขพราหมณ์ (อุปัฏฐากกล่าวกับสังขพราหมณ์ว่า) [๓๙] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านเป็ นพหูสูต ธรรมก็ได้ฟังมาแล้ว สมณพราหมณ์ท่านก็ได้พบมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านมาแสดงอาการพร่าเพ้อในขณะอันไม่สมควรเลย คนอื่นนอกจากข้าพเจ้าจะมีใครเป็ นที่ปรึกษาของท่านเล่า (สังขพราหมณ์กล่าวว่า) [๔๐] เทพธิดาผู้มีใบหน้างาม รูปงาม สวมใส่เครื่องประดับทองคา เชิญถาดอาหารทองคา มีศรัทธาและยินดีบอกเราว่า ขอเชิญท่านบริโภคอาหารเถิด เราตอบปฏิเสธเทพธิดาตนนั้น (อุปัฏฐากกล่าวว่า) [๔๑] ท่านพราหมณ์ คนพบเห็นเทพผู้ควรบูชาเช่นนี้ เมื่อหวังความสุข ก็ควรจะไต่ถาม ท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทพผู้นั้นตรงๆ ว่า ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ (สังขพราหมณ์ถามเทพธิดาว่า) [๔๒] เพราะท่านมองดูข้าพเจ้าด้วยเมตตา และยังบอกเชิญข้าพเจ้าว่าบริโภคภัตตาหารเถิด แม่นางผู้มีอานุภาพมาก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ (เทพธิดาตอบว่า) [๔๓] ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา มีอานุภาพ มาท่ามกลางสมุทรวารนี้ มีความเอ็นดู จะมีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง [๔๔] ท่านสังขพราหมณ์ ในมหาสมุทรนี้ มีข้าว น้า ที่นอน ที่นั่ง และยานนานาชนิด ข้าพเจ้าจะมอบให้ท่านทุกอย่างตามที่ใจของท่านปรารถนา (สังขพราหมณ์กล่าวว่า) [๔๕] ข้าพเจ้าได้บูชาและบวงสรวงมาแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างงดงาม มีสะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม เอวบางร่างน้อย ท่านเป็นใหญ่แห่งบุญกรรมทุกอย่างของข้าพเจ้า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของข้าพเจ้าเล่า (เทพธิดาตอบว่า)
  • 2. 2 [๔๖] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า กระหาย ลาบาก ในหนทางที่ร้อนสวมรองเท้าถวาย ทักษิณานั้นให้สมบัติที่น่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้ (สังขพราหมณ์กล่าวว่า) [๔๗] ขอจงเนรมิตเรือที่ทาด้วยไม้กระดาน ไม่รั่ว ใช้ใบตะไคร่น้าเป็ นใบเรือ เพราะในกลางทะเลนี้ไม่ใช่ภาคพื้นแห่งยานอื่น ช่วยส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมฬินีในวันนี้เถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๔๘] เทพธิดานั้นปลื้มใจ ยินดีปรีดา ได้เนรมิตเรืออันงดงาม ณ ที่นั้น พาสังขพราหมณ์ พร้อมทั้งอุปัฏฐากชายนาไปส่งถึงเมืองอันน่ารื่นรมย์ สังขชาดกที่ ๔ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา สังขชาดก ว่าด้วย อานิสงส์ถวายรองเท้า พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้. ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่งฟังธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทามณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับตกแต่งเป็ นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและบริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง. แลเมื่อจะถวายนั้นได้จัดทารองเท้าถวายเป็นพิเศษคือคู่ที่ถวายแด่พระ ทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวกทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้นราคาคู่ละร้อย. อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้วได้ไปนั่งอยู่ในสานักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน. ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การถวายเครื่องบริขารทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง
  • 3. 3 ท่านจงชื่นชมเถิด ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทาไมจักไม่เป็ นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนาเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :- ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้มีนามว่าโมลินี พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทาให้ปลื้มใจ เช่นทรัพย์ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง ๔ ประตู ที่กลางเมืองและที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้ทานเป็นการใหญ่แก่คนกาพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน วันหนึ่ง เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้ เมื่อทรัพย์ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นาทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่านจงให้ทานของเราเป็ นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้า เดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอดในเวลาเที่ยง. ในขณะนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั้นกาลังจะเดินทางเพื่ อนาทรัพย์มา จึงพิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่หนอ ก็ทราบว่าจักมีอันตราย จึงคิดว่ามหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้วจักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์. สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขตนี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาด
  • 4. 4 นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้าที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ามันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ามันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้ า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น. สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น เดินไปสู่ท่าลงเรือ เมื่อสังขพราหมณ์กาลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร พอถึงวันที่ ๗ เรือได้ทะลุ น้าไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้าให้หมดได้. มหาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตนๆ ร้องกันเซ็งแซ่. พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คนหนึ่ง ทาสรีระด้วยน้ามัน เคี้ยวจุรณน้าตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว ให้อุปัฏฐากกินบ้าง แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กาหนดทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้ เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลาและเต่า จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะหนึ่ง พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น. มหาชนพากันพินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้ามมหาสมุทรไปได้ ๗ วัน วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วนปากด้วยน้าเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ. ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคาสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้. นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นางตรวจดูสมุทรได้เห็นสังขพราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็ นอันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบหนึ่งให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอันมีรสเลิศต่างๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้าสังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด. สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าวว่า จงนาภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลาดับนั้น อุปัฏฐากอยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า
  • 5. 5 พราหมณ์นี้เป็ นสุขุมาลชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลาบากเข้า ๗ วัน ชะรอยจะบ่นเพ้อเพราะกลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา เหตุไรท่านจึงแสดงคาพร่าเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้? สังขพราหมณ์ได้ฟังคาของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชะรอยเทวดานั้นจะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :- นางฟ้ าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วยเครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็ นผู้มีศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่บริโภค. ลาดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้นว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยังปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทวดานั้นว่า นางเป็ นเทวดาหรือมนุษย์. พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :- เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์? ลาดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้าสาครนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง. ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าว น้า ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นสาเร็จแก่ท่านทุกอย่าง. พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้า เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เราทาไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-
  • 6. 6 ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็ นส่วนบูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็ นวิบากแห่งกรรมอะไร? นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชะรอยจะถามด้วยสาคัญว่าเรารู้กุศลกรรมที่เขาทาไว้ บัดนี้ เราจักกล่าวทานของเขา. เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า สะดุ้งลาบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณานั้นอานวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้. พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้าที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็ นการถวายที่ดีแล้ว. จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :- ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น้าไม่รั่ว มีใบสาหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ในวันนี้เถิด. พึงทราบความแห่งคาอันเป็ นคาถานั้นว่า ดูก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอท่านจงเนรมิตเรือลาหนึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็กๆ ลาหนึ่ง ประมาณเท่าเรือโกลน อนึ่ง เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดานหลายๆ แผ่นที่ตรึงดีแล้ว ที่ชื่อว่าน้าไม่รั่ว เพราะไม่มีช่องที่จะให้น้าไหลเข้าไปได้ ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวก เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลานั้น ในวันนี้เถิด. นางเทพธิดาได้ฟังคาของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี เนรมิตเรือขึ้นลาหนึ่งซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลานั้นยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒๐ วา มีเสากระโดง ๓ เสาแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยางแล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้านแล้วไปด้วยเงิน มีหางเสือแล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการมาบรรทุกเต็มเรือ
  • 7. 7 แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญที่ตนได้กระทาไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดาก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย. ลาดับนั้น เทวดาก็นาเรือไปสู่โมลินีนคร ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน. พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า :- นางเทพธิดานั้นมีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อันเป็นที่สาราญรื่นรมย์. แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้ ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัทได้ไปเกิดในเทพนคร. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น นางอุบลวัณณาเถรี ในบัดนี้ บุรุษอุปัฏฐากในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้ ส่วนสังขพราหมณ์ ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล. จบ อรรถกถาสังขพราหมณชาดกที่ ๔ -----------------------------------------------------