SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำาคัญของโครงงาน 
คอมพิวเตอร์ 
---------------------------------------------------------------------------- 
ให้นักเรียนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค้นหาความ 
หมายและความสำาคัญ ของโครงงานจากแหล่งข้อมูล (ห้อง 
สมุด / อินเทอร์เน็ต) แล้วบันทึกลงกระดาษขนาด A4 ที่ 
เตรียมมาพร้อมเขียน แหล่งที่มา หรือ Address ของ 
website ที่นักเรียนค้นหาข้อมูลเหล่านั้นด้วย 
ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ 
ความหมายของโครงงาน : โครงงาน (Project Approach) 
คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำาการศึกษาค้นคว้าและฝึก 
ปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดย 
อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ใน 
การศึกษาหาคำาตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำาและให้คำา 
ปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา 
ค้นคว้า ดำาเนินงานตามแผน กำาหนดขั้นตอนการดำาเนินงานและ 
การนำาเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำาเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่มโครงงาน คือ 
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำา 
ตอบให้ลึกซึ้ง 
หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ 
ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน 
มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วาง 
ไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำาตอบในเรื่องนั้นๆ 
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระ 
ในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผน 
การดำาเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 
โดยใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่อง 
คอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนา 
โครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำาโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ 
ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและ 
พัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำาโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิด
ดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนา 
โปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่ง 
หมายสำาคัญของการทำาโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ 
รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์ 
คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อ 
การเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ 
ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนา 
เกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การ 
พัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ 
กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของ 
ทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลง 
อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความ 
ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย 
ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการ 
และเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำาคัญ 
การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำาเป็นเสมือนกับการ 
ศึกษาวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของ 
เราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่ 
- สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคม 
สารสนเทศ 
- การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบ 
คอมพิวเตอร์ 
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำาคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ใน 
อดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลข เป็นต้น 
- คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับ 
ซ้อนต่าง ๆ 
- คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลก 
ปัจจุบัน 
สรุปความหมายคอมพิวเตอร์ : โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรม 
การเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดย 
นักเรียนจะต้องวางแผนการดำาเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรือ
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำาการ 
ศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด 
และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 
คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความ 
เจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มี 
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอย 
ติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์ 
คุ้มค่า ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลัก 
การและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำาคัญ 
ความสำาคัญของการทำาโครงงานคอมพิวเตอร์ : โครงงาน 
คอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ 
ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ 
โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยง 
ความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ 
ปรึกษาและให้คำาแนะนำาความสามารถที่เกิดจากการทำาโครงงาน 
คอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำาให้ผู้ 
เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำาคัญ 5 ประการ ดังนี้ 
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่ 
นักเรียนเป็นผู้ทำาโครงงานต้องนำาเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อน 
นักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำา 
โครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการ 
เขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมี 
ประสิทธิภาพเพื่อนำาเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้ 
เข้าใจ 
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ 
ดังนี้ 
- การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและ 
แยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
- การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำาความรู้ต่าง ๆ ที่ 
เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา 
หรือการสร้างสรรค์โครงงาน 
- การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำาความรู้มาสร้าง 
สรรค์ผลงานใหม่ ๆ 
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิด 
ไตร่ตรองว่าควรทำาโครงงานใดและไม่ควรทำาโครง งานใด 
เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น 
โครงงานระบบคำานวณเลขหวย สำาหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่ง 
รัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำาให้คนใน 
สังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น 
- การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่าง 
เป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็น 
ผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือ 
ประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำาเสนอผลการ 
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำา 
ปรึกษา 
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ 
ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง 
ประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไข 
ปัญหา 
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำา 
ความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำา 
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนา 
โครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำาไปสู่การเรียนรู้ 
ตลอดชีวิต 
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียน 
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูก 
ต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำามาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มัก 
จะได้มาจากปัญหา คำาถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการ 
สังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบ 
ตัว ปัญหาที่จะนำามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ 
กัน ดังนี้ 
1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือ 
วารสารต่างๆ 
2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ 
3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ 
รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อน 
นักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ 
4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน 
5. งานอดิเรกของนักเรียน 
6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงาน 
คอมพิวเตอร์ 
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ 
ควรพิจารณาองค์ประกอบสำาคัญ ดังนี้ 
1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อ 
เรื่องที่จะศึกษา 
2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุ 
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 
3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำาปรึกษา 
4. มีเวลาเพียงพอ 
5. มีงบประมาณเพียงพอ 
6. มีความปลอดภัย
ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการ 
ขอคำาปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ใน 
การกำาหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น 
รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบ 
และวางแผนดำาเนินการทำาโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการ 
ศึกษาจะต้องได้คำาตอบว่า 
1. จะทำา อะไร 
2. ทำาไมต้องทำา 
3. ต้องการให้เกิดอะไร 
4. ทำาอย่างไร 
5. ใช้ทรัพยากรอะไร 
6. ทำากับใคร 
7. เสนอผลอย่างไร 
องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 
รายงาน รายละเอียดที่ต้องระบุ 
ชื่อโครงงาน ทำาอะไร กับใคร เพื่ออะไร 
ประเภทโครงงาน วิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ 
ได้ 
ชื่อผู้จัดทำาโครง 
งาน 
ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือราย 
กลุ่มก็ได้ 
ครูที่ปรึกษาโครง 
งาน 
ครู-อาจารย์ผู้ทำาหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุม 
การทำาโครงงานของนักเรียน 
ครูที่ปรึกษาร่วม ครู-อาจารย์ผู้ทำาหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คำา 
แนะนำาในการทำาโครงงานของนักเรียน 
ระยะเวลาดำาเนิน 
งาน 
ระยะเวลาการดำาเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้น 
จนสิ้นสุด กำาหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้ 
แนวคิด ที่มา และ สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาด
ความสำาคัญ หวังที่จะเกิดผล 
วัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งใน 
เชิงกระบวนการ และผลผลิต 
หลักการและ 
ทฤษฎี 
หลักการและทฤษฎีที่นำามาใช้ในการพัฒนาโครง 
งาน 
วิธีดำาเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำาเนินงาน เครื่องมือ 
วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ 
ขั้นตอนการ 
ปฏิบัติ 
วัน เวลา และกิจกรรมดำาเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่ม 
ต้นจนสิ้นสุด 
ผลที่คาดว่าจะได้ 
รับ 
สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต 
กระบวนการ และผลกระทบ 
เอกสารอ้างอิง สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำามาใช้ 
ในการดำาเนินงาน 
การลงมือทำาโครงงาน 
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ 
ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำาโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้ว 
มากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ 
วางแผนไว้ ดังนี้ 
4.1 การเตรียมการ 
การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ 
วัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุด 
บันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำาหรับ 
บันทึกการทำากิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำาโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติ 
อย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้ง 
ข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ 
4.2 การลงมือพัฒนา 
1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจ 
เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำาให้ผลงานดีขึ้น
2. จัดระบบการทำางานโดยทำาส่วนที่เป็นหลักสำาคัญๆ ให้ 
แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำา ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อ 
ให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำา ให้ 
ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย 
3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึก 
ข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 
4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข 
การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำาเป็นเพื่อ 
ให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำางานได้ถูกต้องตรงกับความ 
ต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำาด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 
4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ 
เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำาสรุปด้วยข้อความที่ 
สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้น 
พบจากการทำาโครงงาน และทำาการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณา 
ข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำา ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ 
ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำาหลัก 
การ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ 
ด้วย 
4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอ 
แนะ 
เมื่อทำาโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต 
ประเด็นที่สำาคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและ 
สิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 
การเขียนรายงาน 
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้ 
เข้าใจแนวคิด วิธีดำาเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อ 
สรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียน 
รายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไป 
ตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
5.1 ส่วนนำา 
ส่วนนำา เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบ 
ด้วย 
1. ชื่อโครงงาน 
2. ชื่อผู้ทำาโครงงาน 
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 
4. คำาขอบคุณ เป็นคำากล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่ 
มีส่วนช่วยทำาให้โครงงานสำาเร็จ 
5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำาคัญ วัตถุประสงค์ วิธี 
ดำาเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ 
5.2 บทนำา 
บทนำาเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่ง 
ประกอบด้วย 
1. ที่มาและความสำาคัญของโครงงาน 
2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า 
3. ขอบเขตของโครงงาน 
5.3 หลักการและทฤษฎี 
หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษา 
หาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำามาใช้ในการพัฒนา 
โครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำามาเปรียบ 
เทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย 
5.4 วิธีดำาเนินการ 
วิธีดำาเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำาเนินงานโดยละเอียด 
พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข 
พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำางาน 
5.5 ผลการศึกษา 
ผลการศึกษา นำาเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจ 
แสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำานึงถึงความ 
เข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 
สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำา งาน 
ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือ 
คัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าว 
ถึงการนำา ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของ 
การทำาโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำาคัญ หรือข้อผิดพลาดบาง 
ประการที่เกิดขึ้นจากการทำา โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อ 
การปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำานองนี้ต่อไปใน 
อนาคตด้วย 
5.7 ประโยชน์ 
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้ 
รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจาก 
การนำาผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย 
5.8 บรรณานุกรม 
บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือ 
เว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำา โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูล 
และรายละเอียดต่างๆ ที่นำามาใช้ประโยชน์ในการทำา โครงงานนี้ 
การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียน 
ด้วย 
5.9 การจัดทำาคู่มือการใช้งาน 
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำา เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา 
ให้นักเรียนจัดทำาคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่ง 
ประกอบด้วย 
1. ชื่อผลงาน 
2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียด 
ของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้ 
3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ 
ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำางานได้อย่าง 
สมบูรณ์ 
4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำา หน้าที่
อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูล 
ขาออก 
5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำา 
สั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำางานในฟังก์ชันหนึ่งๆ 
การนำาเสนอและแสดงโครงงาน 
การนำาเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำาคัญอีกขั้น 
ตอนหนึ่งของการทำาโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด 
ความพยายามในการทำางานที่ผู้ทำาโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธี 
ทำาให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจ 
ทำาได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการ 
อธิบายประกอบการรายงานด้วยคำาพูดในที่ประชุม การจัด 
นิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำาพูด เป็นต้น โดยผลงาน 
ที่นำามาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 
1. ชื่อโครงงาน 
2. ชื่อผู้จัดทำาโครงงาน 
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 
4. คำาอธิบายถึงที่มาและความสำาคัญของโครงงาน 
5. วิธีการดำาเนินการที่สำาคัญ 
6. การสาธิตผลงาน 
7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำาคัญที่ได้จากการทำาโครงงาน 
แหล่งที่มา : 
http://pnamboay.wordpress.com/category/ 
%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8% 
AB 
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8% 
AD 
%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8% 
87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8 
%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E/
http://krudarin.wordpress.com/ 
%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%8 
8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8 
%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E 
%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8% 
A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F 
%E0%B8%B4/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8% 
A1%E0%B8%AA 
%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D 
%E0%B8%82%E0%B8%AD 
%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8% 
87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8 
%AD%E0%B8%A1/ 
http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/ 
CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerP 
roject/content2.html 
จัดทำาโดย 
นายพบพล สิริพรคุณ เลขที่ 10 
นายอนัส ดีหมัด เลขที่ 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9

More Related Content

What's hot

ใบงานที่2
ใบงานที่2ใบงานที่2
ใบงานที่2Keng Sangwattu
 
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษาใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษาNatnicha Nuanlaong
 
ครงงานคอมพิวเตอร์
ครงงานคอมพิวเตอร์ครงงานคอมพิวเตอร์
ครงงานคอมพิวเตอร์Mookmanee Paiopree
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8Siriyagon Pusod
 
ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1Rattana Wongphu-nga
 
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)Noot Ting Tong
 

What's hot (13)

งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
K02
K02K02
K02
 
ใบงานที่2
ใบงานที่2ใบงานที่2
ใบงานที่2
 
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษาใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
 
ครงงานคอมพิวเตอร์
ครงงานคอมพิวเตอร์ครงงานคอมพิวเตอร์
ครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
ใบงาน 2
ใบงาน 2ใบงาน 2
ใบงาน 2
 
02
0202
02
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
Ratchadaporn605
Ratchadaporn605Ratchadaporn605
Ratchadaporn605
 
ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1ใบความรู้ที่ 1
ใบความรู้ที่ 1
 
Pranpriya605
Pranpriya605Pranpriya605
Pranpriya605
 
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)
เธ‡เธฒเธ™เธ„เธญเธก (1)
 

Similar to K2 (20)

K2
K2K2
K2
 
K2
K2K2
K2
 
K2
K2K2
K2
 
2
22
2
 
2
22
2
 
2
22
2
 
2
22
2
 
2
22
2
 
ใบงานที่ 2
ใบงานที่ 2ใบงานที่ 2
ใบงานที่ 2
 
Chese2
Chese2Chese2
Chese2
 
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษาใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 เรื่อง โครงงานประเภทการพัฒนาเพื่อการศึกษา
 
K2
K2K2
K2
 
K2
K2K2
K2
 
K2
K2K2
K2
 
2
22
2
 
K02
K02K02
K02
 
K02
K02K02
K02
 
K02
K02K02
K02
 
K02
K02K02
K02
 
ใบงาน K2
ใบงาน K2ใบงาน K2
ใบงาน K2
 

More from Seew' Pobpon (15)

2557 โครงงาน
2557 โครงงาน2557 โครงงาน
2557 โครงงาน
 
K5
K5K5
K5
 
K3
K3K3
K3
 
K8
K8K8
K8
 
K7
K7K7
K7
 
K6
K6K6
K6
 
K5
K5K5
K5
 
K4
K4K4
K4
 
K3
K3K3
K3
 
K8
K8K8
K8
 
K4
K4K4
K4
 
K7
K7K7
K7
 
K5
K5K5
K5
 
K6
K6K6
K6
 
K3
K3K3
K3
 

K2

  • 1. ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำาคัญของโครงงาน คอมพิวเตอร์ ---------------------------------------------------------------------------- ให้นักเรียนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค้นหาความ หมายและความสำาคัญ ของโครงงานจากแหล่งข้อมูล (ห้อง สมุด / อินเทอร์เน็ต) แล้วบันทึกลงกระดาษขนาด A4 ที่ เตรียมมาพร้อมเขียน แหล่งที่มา หรือ Address ของ website ที่นักเรียนค้นหาข้อมูลเหล่านั้นด้วย ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ ความหมายของโครงงาน : โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำาการศึกษาค้นคว้าและฝึก ปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดย อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ใน การศึกษาหาคำาตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำาและให้คำา ปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำาเนินงานตามแผน กำาหนดขั้นตอนการดำาเนินงานและ การนำาเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำาเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่มโครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำา ตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วาง ไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำาตอบในเรื่องนั้นๆ โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระ ในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผน การดำาเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่อง คอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนา โครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำาโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและ พัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำาโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิด
  • 2. ดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนา โปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่ง หมายสำาคัญของการทำาโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์ คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อ การเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนา เกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การ พัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของ ทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความ ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการ และเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำาคัญ การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำาเป็นเสมือนกับการ ศึกษาวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของ เราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่ - สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคม สารสนเทศ - การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบ คอมพิวเตอร์ - คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำาคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ใน อดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลข เป็นต้น - คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับ ซ้อนต่าง ๆ - คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลก ปัจจุบัน สรุปความหมายคอมพิวเตอร์ : โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรม การเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดย นักเรียนจะต้องวางแผนการดำาเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรือ
  • 3. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำาการ ศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความ เจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มี การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอย ติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลัก การและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำาคัญ ความสำาคัญของการทำาโครงงานคอมพิวเตอร์ : โครงงาน คอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยง ความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ ปรึกษาและให้คำาแนะนำาความสามารถที่เกิดจากการทำาโครงงาน คอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำาให้ผู้ เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำาคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่ นักเรียนเป็นผู้ทำาโครงงานต้องนำาเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อน นักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำา โครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการ เขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อนำาเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้ เข้าใจ 2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ - การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและ แยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
  • 4. - การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำาความรู้ต่าง ๆ ที่ เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์โครงงาน - การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำาความรู้มาสร้าง สรรค์ผลงานใหม่ ๆ - การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิด ไตร่ตรองว่าควรทำาโครงงานใดและไม่ควรทำาโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำานวณเลขหวย สำาหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่ง รัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำาให้คนใน สังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น - การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่าง เป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็น ผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือ ประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำาเสนอผลการ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำา ปรึกษา 3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง ประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไข ปัญหา 4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำา ความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำา ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนา โครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำาไปสู่การเรียนรู้ ตลอดชีวิต 5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูก ต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
  • 5. พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้ คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำามาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มัก จะได้มาจากปัญหา คำาถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการ สังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบ ตัว ปัญหาที่จะนำามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้ 1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือ วารสารต่างๆ 2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ 3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อน นักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ 4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน 5. งานอดิเรกของนักเรียน 6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงาน คอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำาคัญ ดังนี้ 1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อ เรื่องที่จะศึกษา 2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำาปรึกษา 4. มีเวลาเพียงพอ 5. มีงบประมาณเพียงพอ 6. มีความปลอดภัย
  • 6. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการ ขอคำาปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ใน การกำาหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบ และวางแผนดำาเนินการทำาโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการ ศึกษาจะต้องได้คำาตอบว่า 1. จะทำา อะไร 2. ทำาไมต้องทำา 3. ต้องการให้เกิดอะไร 4. ทำาอย่างไร 5. ใช้ทรัพยากรอะไร 6. ทำากับใคร 7. เสนอผลอย่างไร องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน รายงาน รายละเอียดที่ต้องระบุ ชื่อโครงงาน ทำาอะไร กับใคร เพื่ออะไร ประเภทโครงงาน วิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ ได้ ชื่อผู้จัดทำาโครง งาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือราย กลุ่มก็ได้ ครูที่ปรึกษาโครง งาน ครู-อาจารย์ผู้ทำาหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุม การทำาโครงงานของนักเรียน ครูที่ปรึกษาร่วม ครู-อาจารย์ผู้ทำาหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คำา แนะนำาในการทำาโครงงานของนักเรียน ระยะเวลาดำาเนิน งาน ระยะเวลาการดำาเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุด กำาหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้ แนวคิด ที่มา และ สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาด
  • 7. ความสำาคัญ หวังที่จะเกิดผล วัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งใน เชิงกระบวนการ และผลผลิต หลักการและ ทฤษฎี หลักการและทฤษฎีที่นำามาใช้ในการพัฒนาโครง งาน วิธีดำาเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำาเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนการ ปฏิบัติ วัน เวลา และกิจกรรมดำาเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่ม ต้นจนสิ้นสุด ผลที่คาดว่าจะได้ รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ เอกสารอ้างอิง สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำามาใช้ ในการดำาเนินงาน การลงมือทำาโครงงาน เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำาโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้ว มากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ วางแผนไว้ ดังนี้ 4.1 การเตรียมการ การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ วัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุด บันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำาหรับ บันทึกการทำากิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำาโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติ อย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้ง ข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ 4.2 การลงมือพัฒนา 1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจ เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำาให้ผลงานดีขึ้น
  • 8. 2. จัดระบบการทำางานโดยทำาส่วนที่เป็นหลักสำาคัญๆ ให้ แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำา ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อ ให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำา ให้ ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย 3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึก ข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำาเป็นเพื่อ ให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำางานได้ถูกต้องตรงกับความ ต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำาด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำาสรุปด้วยข้อความที่ สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้น พบจากการทำาโครงงาน และทำาการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณา ข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำา ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำาหลัก การ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ ด้วย 4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอ แนะ เมื่อทำาโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำาคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและ สิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การเขียนรายงาน การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้ เข้าใจแนวคิด วิธีดำาเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อ สรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียน รายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไป ตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
  • 9. 5.1 ส่วนนำา ส่วนนำา เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบ ด้วย 1. ชื่อโครงงาน 2. ชื่อผู้ทำาโครงงาน 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 4. คำาขอบคุณ เป็นคำากล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่ มีส่วนช่วยทำาให้โครงงานสำาเร็จ 5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำาคัญ วัตถุประสงค์ วิธี ดำาเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ 5.2 บทนำา บทนำาเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่ง ประกอบด้วย 1. ที่มาและความสำาคัญของโครงงาน 2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า 3. ขอบเขตของโครงงาน 5.3 หลักการและทฤษฎี หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษา หาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำามาใช้ในการพัฒนา โครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำามาเปรียบ เทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย 5.4 วิธีดำาเนินการ วิธีดำาเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำาเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำางาน 5.5 ผลการศึกษา ผลการศึกษา นำาเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจ แสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำานึงถึงความ เข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
  • 10. 5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำา งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือ คัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าว ถึงการนำา ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของ การทำาโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำาคัญ หรือข้อผิดพลาดบาง ประการที่เกิดขึ้นจากการทำา โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อ การปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำานองนี้ต่อไปใน อนาคตด้วย 5.7 ประโยชน์ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้ รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจาก การนำาผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย 5.8 บรรณานุกรม บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือ เว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำา โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ ที่นำามาใช้ประโยชน์ในการทำา โครงงานนี้ การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียน ด้วย 5.9 การจัดทำาคู่มือการใช้งาน หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำา เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำาคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่ง ประกอบด้วย 1. ชื่อผลงาน 2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียด ของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้ 3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำางานได้อย่าง สมบูรณ์ 4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำา หน้าที่
  • 11. อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูล ขาออก 5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำา สั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำางานในฟังก์ชันหนึ่งๆ การนำาเสนอและแสดงโครงงาน การนำาเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำาคัญอีกขั้น ตอนหนึ่งของการทำาโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำางานที่ผู้ทำาโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธี ทำาให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจ ทำาได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการ อธิบายประกอบการรายงานด้วยคำาพูดในที่ประชุม การจัด นิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำาพูด เป็นต้น โดยผลงาน ที่นำามาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 1. ชื่อโครงงาน 2. ชื่อผู้จัดทำาโครงงาน 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 4. คำาอธิบายถึงที่มาและความสำาคัญของโครงงาน 5. วิธีการดำาเนินการที่สำาคัญ 6. การสาธิตผลงาน 7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำาคัญที่ได้จากการทำาโครงงาน แหล่งที่มา : http://pnamboay.wordpress.com/category/ %E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8% AB %E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8% AD %E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8% 87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8 %AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E/
  • 12. http://krudarin.wordpress.com/ %E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%8 8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8 %9A%E0%B9%80%E0%B8%9E %E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8% A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F %E0%B8%B4/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8% A1%E0%B8%AA %E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D %E0%B8%82%E0%B8%AD %E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8% 87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8 %AD%E0%B8%A1/ http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/ CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerP roject/content2.html จัดทำาโดย นายพบพล สิริพรคุณ เลขที่ 10 นายอนัส ดีหมัด เลขที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9