SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
เครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
Orca ซึ่งมีความหมายว่า “พลังงาน” ในภาษา
ไอซ์แลนด์ คือชื่อของเครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่
ที่สุดในโลก ได้เริ่มทำงานเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2021
ที่ผ่านมา ในประเทศไอซ์แลนด์ ด้วยความร่วมมือ
ระหว่างบริษัท Climeworks ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ที่มีส่วนในการก่อสร้าง และบริษัท Carbfix ของ
ประเทศไอซ์แลนด์ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน
พวกเขาประเมินว่า Orca จะสามารถกำจัดคาร์บอนออกจากอากาศประมาณ 4,000 ตันต่อปี แม้จะเป็นตัวที่
ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดี “ด้วย
ความสำเร็จนี้ เราพร้อมที่จะเพิ่มขีดความสามารถของเราอย่างก้าวกระโดดในปีต่อ ๆ ไป” เอียน วูร์ซบาเชอร์
ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Climeworks กล่าวและเสริมว่า “ความพยายามเรื่องการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ยังคง
เป็นหนทางอีกยาวไกล แต่สำหรับ Orca ถือเป็นก้าวสำคัญในอุตสาหกรรมนี้โดยตรง ซึ่งได้มอบแนวทางไว้
ให้กับอนาคต”
เครื่องดักจับคาร์บอน Orca ทำงานโดยอาศัยพัดลมขนาดใหญ่ดึงอากาศผ่านตัวกรองลงในกล่องกักเก็บ
เมื่อเต็มแล้วมันจะถูกทำให้ร้อนขึ้นเพื่อเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากล่อง และกลายเป็นก๊าซที่มีความเข้มข้น
สูง หลังจากจะถูกละลายผสมกับน้ำแล้วฉีดลงไปฝังลึกในหินบะซอลต์ที่อยู่ใต้ดินที่จะใช้เวลาประมาณสองปีก็จะ
ตกผลึกเป็นแร่ธาตุคาร์บอนเนตซึ่งจะหลอมรวมกับหินในชั้นใต้ดิน “ข้อตกลงระหว่าง Climeworks และ
Carbfix ช่วยให้มั่นใจว่า การจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความปลอดภัยโดยผ่านการทำให้เป็นแร่ใต้ดิน”
บริษัท Carbfix กล่าวบนเว็ปไซต์และระบุว่า “การก่อตัวของหิบะซอลต์ใต้ดินในไอซ์แลนด์นั้นเป็นสภาวะที่
เหมาะสมที่สุดสำหรับกระบวนการนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาถาวรสำหรับการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนี้ Orca ยังใช้พลังงานหมุนเวียนจาก
โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพทำให้ Orca มี
การปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าร้อยละ 10 ตามการกล่าว
อ้างของ Climeworks นั่นหมายความว่า ทุก ๆ 100
ตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ Orca ดักจับได้ จะ
มีอย่างน้อยร้อยละ 90 ที่ถูกกักเก็บไว้ถาวรและน้อย
กว่าร้อยละ 10 จะถูกปล่อยออกมา โรงงานแห่งนี้ใช้
เวลาในการก่อสร้างประมาณ 15 เดือนโดยใช้ระบบ
โมดูลที่เป็นหน่วยสามารถวางซ้อนทับกันได้ ทาง
Climeworks หวังว่าสิ่งนี้จะช่วยให้การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำได้ง่ายในทั่วโลกตามรางานของ
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ IPCC ที่ระบุว่าการพัฒนาเทคโนโลยีดัก
จับคาร์บอนสามารถช่วยให้โลกจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
สิงคโปร์บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่ม
สิงคโปร์ เป็นประเทศหมู่เกาะขนาด
เล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่
พึ่งพาน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง
มาเลเซีย มาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันกลับ
สามารถหาวิธีเพิ่มปริมาณน้ำเพื่ออุปโภคและ
บริโภคให้กับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติและเนื้อที่ใน
ประเทศอย่างจำกัด ด้วยแรงผลักดันที่อยาก
ให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่พึ่งพาตนเองได้
รัฐบาลสิงคโปร์จึงตัดสินใจแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำด้วยระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัย ทำงานร่วมกับเครือข่าย
อุโมงค์ โรงงานเทคโนโลยีขั้นสูง และระบบระบายอากาศที่ทำให้อากาศภายในโรงงานยังคงสดชื่น โหลว เพ่ย
ชิน หัวหน้าทีมวิศวกรแผนกฟื้นฟูน้ำของคณะกรรมการสาธารณูปโภคสิงคโปร์ กล่าวว่า “กลยุทธ์การจัดการน้ำ
ของเราประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือเก็บสะสมน้ำทุกหยด ส่วนที่สองคือนำน้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างไม่มีที่
สิ้นสุด และส่วนสุดท้ายคือเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำดื่ม ด้วยกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำ”
ระบบบำบัดน้ำดำเนินการอยู่ที่โรงงานบำบัดน้ำเสียชางงี บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายใน
โรงงานประกอบด้วยท่อเหล็ก ถังน้ำ และระบบกรองน้ำ ที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ถึงวันละ 900 ล้านลิตร ถือ
เป็นปริมาณมากพอที่จะเติมสระว่ายน้ำในการแข่งโอลิมปิกตลอด 24 ชั่วโมงได้เป็นเวลานาน 1 ปี งานหลาย
ส่วนในโรงงานดำเนินการอยู่ใต้ดิน เพื่อรับน้ำเสียจากอุโมงค์ขนาดใหญ่ยาว 48 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อ
ระบายน้ำ เมื่อน้ำเสียเข้ามาถึงโรงงานจะต้องผ่านกระบวนการกรองเบื้องต้น จากนั้นปั๊มน้ำแรงดันสูงจะส่งน้ำ
ให้ไหลผ่านไปยังโรงงานเหนือพื้นดินเพื่อบำบัดน้ำในขั้นตอนต่อไป ซึ่งน้ำจะผ่านกระบวนการทำให้สะอาดยิ่งขึ้น
ด้วยการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสในขั้นตอนการกรองที่ทันสมัยและฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ผลผลิต
สุดท้ายชื่อว่า “เอ็นอีวอเตอร์” ส่วนใหญ่นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตไมโครชิป ซึ่งเป็นโรงงานที่ต้องการ
น้ำคุณภาพสูงและมีอยู่มากมายในสิงคโปร์
นอกจากนี้ เอ็นอีวอเตอร์ยังใช้สำหรับระบบทำความเย็นในอาคาร รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณน้ำดื่มสำรอง
ในช่วงฤดูแล้งน้ำเหล่านี้จะถูกส่งไปเติมในอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง และผ่านกระบวนการบำบัดเพิ่มเติมก่อนส่งน้ำ
ไปยังท่อประปาให้ประชาชน 5.7 ล้านคน ใช้ในการอุปโภคและบริโภค
ปัจจุบันสิงคโปร์ตั้งโรงงานผลิตเอ็นอีวอเตอร์ไว้ 5 แห่ง สามารถตอบสนองความต้องการน้ำในประเทศ
ได้ถึงร้อยละ 40 และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็นร้อยละ 55 ภายในปี 2060
ระบบบำบัดน้ำเสียนี้ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษลงทะเล เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดและถูก
ปล่อยทิ้งลงทะเลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตรงข้ามกับประเทศส่วนใหญ่ที่องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ร้อย
ละ 80 ของน้ำเสียทั่วโลกไหลกลับสู่ระบบนิเวศ โดยปราศจากการบำบัดหรือนำไปใช้ซ้ำ หากประเทศอื่นยัง
ปราศจากการบำบัดน้ำอย่างถูกวิธีและยังปล่อยน้ำเสียกลับสู่ระบบนิเวศ อาจนำไปสู่จุดที่การบำบัดน้ำเสียต้อง
เสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และสถานการณ์ที่คนทั่วโลกต้องใช้แหล่งน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล ทำให้เสี่ยงต่อการติด
เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
ต้นไม้อายุนับร้อยปี-พันปีที่ยังคงแผ่ร่มเงาทั่วอิตาลี
อิตาลี ต้นไม้เก่าแก่กว่า 22,000 ต้นได้รับการ
ปกป้องจากรัฐบาล เป็นเสาหลักของประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม ในปี 1939 อิตาลีผ่านกฎหมายฉบับแรกเพื่อ
ปกป้องต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์ภายใต้แนวคิดว่า "สิ่งเคลื่อนที่
ไม่ได้ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นของความสวยงามทางธรรมชาติ"
โดยกฎหมายนี้สนับสนุนการปกป้องต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์
เหล่านี้ Luciano Sammarone ผู้อำนวยการอุทยาน
แห่งชาติ Abruzzo Molise, and Lazio กล่าว
เป็นเวลาหลายปีที่มีการออกแนวปฏิบัติทั้งในระดับภูมิภาคและกฎหมายระดับประเทศที่พัฒนาต่อจาก
กฎหมายสิ่งแวดล้อม ปี 1939 ซึ่งสะท้อนวิธีการปกป้องต้นไม้แบบองค์รวม เมื่อเร็วๆ นี้ ปี 2013 อิตาลีได้มีการ
วางโครงร่างที่ชัดเจนเกี่ยวหลักเกณฑ์การนิยามต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์ ซึ่งรวมไปถึงอายุที่มีความยืนยาวอย่างมาก
ลักษณะมุมมองอันโดดเด่น ความหายากในชนิดพันธุ์ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และคุณค่า
ทางระบบนิเวศ
เราสามารถพบเจอต้นไม้อนุสรณ์ได้ทั่วอิตาลี ทั้งคฤหาสน์ส่วนตัว โบสถ์ บ้านเก่าขุนนาง อุทยาน
แห่งชาติ และป่าที่เป็นทุ่งหญ้า นับตั้งแต่ปี 2013 มีต้นไม้อนุสรณ์มากกว่า 3,500 ต้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน
ระดับชาติว่า "มีคุณค่าอย่างยิ่ง" ผู้ที่ทำลายหรือโค่นต้นไม้เหล่านี้อาจถูกปรับเงินสูงถึง 100,000 ยูโร (ราว
3,800,000 บาท)
เรื่องเล่าจากช่างภาพสัตว์ป่า
ช่างภาพเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก รำลึกถึงภาพถ่ายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เคยถ่ายไว้ นี่คือส่วนหนึ่งของโปร
เจกต์ใหม่ที่มุ่งความสนใจไปยังชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม โดยช่างภาพเหล่านี้บอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังภาพถ่ายใน
ความทรงจำของพวกเขา กอริลลาหลังเงินปรากฏตัวขึ้นหลังพุ่มไม้ในวันเมฆครื้ม เสือโคร่งกำลังเลี้ยงดูลูกน้อย
แรกเกิดอยู่ตรงปากถ้ำ และอุรังอุตังกำลังปีนขึ้นไปสู่เรือนยอดความสูงกว่า 30 เมตร พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคย
เป็นประจักษ์พยานในช่วงเวลาที่หาชมยากเหล่านี้ แต่เราสามารถเห็นภาพเหล่านี้ได้เพราะพวกเขา ขอบคุณไป
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
ยังช่างภาพสัตว์ป่าทั้งหลาย บางภาพที่ปรากฏอยู่ในนี้เป็นผลผลิตที่เกิดจากการลองผิดลองถูกเป็นเวลามากกว่า
ทศวรรษ วันนี้ คือวันครบรอบ 15 ปี วันสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลก เราได้พูดคุยกับช่างภาพสัตว์ป่าระดับแถว
หน้าของโลก เพื่อรำลึกถึงภาพที่ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ
ของพวกเขา ช่างภาพแต่ละคนเข้าร่วมโปรเจกต์ใหม่ที่มี
เป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้คนให้หันกลับมามอง
สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์จากทั่วโลก ภายใต้แนวความคิด "Big Five"
หรือสัตว์อันตรายที่ถูกล่ามากที่สุดในแอฟริกา แต่ในโปรเจกต์
นี้ แทนที่อุปกรณ์การล่าสัตว์จะเป็นปืน กลับเป็นกล้องถ่ายรูป
ที่ยิงไปยังสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของภาพที่
บันทึกไว้ได้โดยช่างภาพของเรา
สแตนฟอร์ดพัฒนาการตัดต่อยีนแบบใหม่ที่เล็กกว่า CRISPR
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้พัฒนา
เครื่องมือตัดต่อพันธุกรรมที่มีขนาดเล็กกว่าการตัดต่อแบบ
CRISPR ซึ่งเป็นการตัดต่อยีนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมี
ชื่อเรียกว่า “CasMINI” ที่ช่วยให้การนำส่งสารพันธุกรรมเข้าไป
ในเซลล์มนุษย์ง่ายขึ้น “การตัดต่อยีนแบบ CRISPR คือ
กระบวนการที่ใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะโมเลกุลขนาดใหญ่ แต่
CasMINI ถูกออกแบบให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง และมีฟังก์ชัน
หลายหลาก ”สแตนลี ฉี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม
ชีวภาพ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย กล่าว
แม้การตัดต่อแบบ CRISPR จะถูกพัฒนาขึ้นและถูกใช้อย่าง
แพร่หลาย แต่ยังมีข้อจำกัดสำหรับการรักษาโรคในมนุษย์ด้วย
ยีนบำบัด เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป โดยประกอบไปด้วยกรดอะมิโนประมาณ 1,000 ถึง 1,500 ตัว ทำให้
ยากต่อการส่งไปเข้าในเซลล์มนุษย์ รวมทั้งดีเอ็นเอของจีโนมมนุษย์ซับซ้อนกว่าและเข้าถึงได้ยากกว่าดีเอ็นเอ
ของจุลินทรีย์ ทำให้ Cas12 (กรดอะมิโนที่ทำหน้าที่ตัดต่อยีนในวิธี CRISPR) ค้นหาเป้าหมายในเซลล์มนุษย์ได้
ยาก
ในขณะที่ “CasMINI” มีกรดอะมิโนประมาณ 529 ตัว ซึ่งสั้นกว่าถึงครึ่งหนึ่ง โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนา
มากจากกรดอะมิโนของ CRISPR ที่ไม่ทำงานในเซลล์มนุษย์ นำมาตัดต่อและคัดเลือกการกลายพันธุ์อย่าง
ระมัดระวังและรอบคอบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ และการแสดงผลช่างเรียบง่าย ทีมนักวิจัย
พบว่า กรดอะมิโนที่ใช้งานได้เปลี่ยนรหัสพันธุกรรมในเซลล์มนุษย์ให้เรืองแสงสีเขียว
“ในช่วงแรก วิธีการที่เราทดลองไม่ได้ผลเลยมาตลอดหนึ่งปี” เสี่ยวฉู ซู หนึ่งในนักวิจัย กล่าวและเสริม
ว่า “แต่หลังจากการทดลองซ้ำของฝ่ายวิศวกรรมชีวภาพ เราเห็นโปรตีนบางตัวเริ่มทำงาน ราวกับเวทมนต์ โดย
ในช่วงแรกมีเพียงไม่กี่เซลล์ที่แสดงผล แต่หลังจากนั้นก็พบหลายเซลล์ที่เรืองแสง” แม้ CasMINI จะยังอยู่ในช่วง
เริ่มต้นและต้องการเวลาในพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่านี้ แต่ผลการทดลองในห้องปฎิบัติการแสดงให้
เห็นว่า พวกเขามาถูกทาง โดยพวกเขาได้ทดสอบประสิทธิภาพการตัดต่อของ CasMINI กับเซลล์มนุษย์ที่
เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี การตอบสนองของภูมิคุ้มกันด้านเนื้องอก และโรคโลหิตจาง ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้
เห็นว่า CasMINI สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
“ในอนาคต วิธีการนี้อาจจะกลายเป็นวิธีการรักษาด้วยยีนบำบัดเพื่อรักษาโรคทางพันธุกรรม มะเร็ง
หรือเพื่อต้านความเสื่อมของอวัยวะ”
อิสรภาพช่วงสุดท้ายของผู้หญิงอัฟกานิสถาน
เมื่อกลุ่มตอลิบานเข้าปกครองอัฟกานิสถานในระหว่างปี
1996-2001 มีการสั่งห้ามการศึกษาของผู้หญิง, การปาหิน และเฆี่ยน
ตี เป็นบทลงโทษสำหรับความผิดเช่นการคบชู้ และผู้หญิงต้องมีผู้ชาย
เดินทางไปด้วยเวลาผู้หญิงออกจากบ้าน
หลังจากการบุกรุกอัฟกานิสถานที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และ
ได้ขับกลุ่มตอลิบานออกจากอำนาจ การศึกษาของผู้หญิงคือหนึ่งใน
ภารกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้หญิงนับล้านคนได้กลับมาสวมชุดนักเรียนอีกครั้ง ในทุกวันนี้ หญิงอัฟกันอายุ
ระหว่าง 15-24 ปีสามารถอ่านหนังสือได้ และอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงทศวรรษ
2000
แม้การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของพวกเธอยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่โดยส่วน
ใหญ่ ผู้หญิงอัฟกานิสถานที่มีบทบาทในหน่วยงานราชการ และตามพื้นที่สื่อมีมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าหนึ่งในสี่
ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาของประเทศที่มีประชากร 39 ล้านคนเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่า
สหรัฐอเมริกา
เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่พวกเธอพยายามต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกับผู้ชาย พวกเธอกลายมาเป็น
ศิลปิน นักกิจกรรม และนักแสดง อย่างไรก็ตาม ชีวิตของผู้หญิงอัฟกานิสถานแขวนอยู่บนเส้นด้ายเมื่อกลุ่มตอลิ
บานเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ผู้หญิงนับพันคนต่างหลบหนีหรือหลบซ่อนจากอนาคตที่ไม่แน่นอน
มองอัตลักษณ์ชาวมุสลิมกรุงเทพผ่านสถาปัตยกรรมมัสยิด
ตั้งแต่การเปลี่ยนราชธานีใหม่เป็นกรุงธนบุรี มีการ
ย้ายผู้คนและชุมชนเกือบทุกศาสนามาอยู่ในที่ตั้งใหม่ คือ
ธนบุรีและบางกอก ผู้คนที่มาตั้งบ้านเรือนหรือชุมชนจะ
ตั้งศาสนสถานที่ตนเองนับถือไว้เป็นศูนย์กลาง โดยหันหน้า
เข้าเส้นทางคมมาคมในสมัยนั้น เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งจะ
แตกต่างจากศาสนาอิสลามหรือชาวมุสลิม ที่จะใช้ทิศเป็น
ตัวกำหนด โดยจะหันหน้าไปสู่ทิศที่มุ่งหน้าสู่นครเมกกะ
เป็นศูนย์กลาง และแต่ละชุมชนก็จะมีเชื้อชาติหรือชาติ
พันธุ์ที่แตกต่างกันไป
ในระดับชาวบ้าน จะมีการสร้างศาสนสถานแบบง่ายๆ เช่นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เช่น
บ้านทรงไทย เรือนไม้ เป็นต้น หรือชุนชนใดมีข้าราชการหรือคหบดี , พ่อค้า ที่มีฐานะในสมัยนั้น อาคารจะมี
รูปแบบก่ออิฐถือปูน ตามรูปแบบของคติความเชื่อในศาสนานั้นๆ
ในยุคแรกของเมืองบางกอกหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนต่างๆเข้ามาในพระ
นคร ผู้คนมักจะมีภาพจำที่ตัวเองคุ้นชินและนำภาพจำเหล่านั้นมาสร้างศาสนสถานและชุมชน จนมีการติดต่อ
ค้าขายจากที่ต่างๆ จากชาวต่างชาติ เช่น อินเดีย ชวา มลายู เข้ามาในพระนคร จึงมีการนำความทรงจำ จาก
รูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมจากท้องถิ่นนั้นๆ มาสร้าง ในสมัยรัชกาลที่5 มีการติดต่อนักออกแบบจากชาติ
ต่างๆ เข้ามาก่อสร้างอาคารในรูปแบบทั้งในยุโรปและแบบอื่นๆ ฉะนั้น อาคารมัสยิดจึงมีการปรับเปลี่ยน
รูปแบบตามความนิยมในยุคนั้นๆไปด้วย
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
ในกรุงเทพมีชุมชนอยู่มากมายและหลากหลาย โดยเฉพาะชุมชนชาวมุสลิม ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทุกชุมชน
จะมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนา เช่น ละหมาด ใช้จัดงานสำคัญต่างๆ
ทางศาสนา หรือสอนหนังสือ
ส่วนใหญ่แล้ว หากกล่าวถึงมัสยิด เรามักนึกถึงอาคารรูปทรงสไตล์อาหรับและโดมสีเขียว ซึ่งมัสยิดส่วน
ใหญ่ในทั่วโลกปัจจุบันก็จะสร้างมัสยิดรูปทรงแบบสไตล์อาหรับ เพื่อสื่อถึงความเป็นมุสลิมตามฉบับที่ได้รับ
อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบประเทศโลกมุสลิมมา
แต่ด้วยในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงเทพหรือบางกอกนั้น มีการรับผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ และ
วัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงวิถีชีวิตและความเชื่อ รวมถึงชาวมุสลิมเองก็มีหลากหลายเชื้อสาย เช่น เปอร์เซีย
อินเดีย ชวา มลายู ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ชาวมุสลิมในกรุงเทพจึงไม่ได้มีแค่
ชาวมุสลิมไทยเท่านั้น
ความหลากหลายเหล่านี้จึงส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวมัสยิด แม้จะมีหลักการในการสร้าง
มัสยิดจากความเชื่อพื้นฐานในศาสนาเดียวกัน แต่การแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจึง
ออกมาไม่เหมือนกันและมีความหลากหลาย โดยอิงจากรูปแบบตามสถาปัตยกรรมของท้องถิ่น หรือ
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตามบ้านเกิดของตัวเอง
ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ความหวังของการฟื้นฟูแนวปะการัง
อเล็กซ์ สโกฟิลด์ สถาปนิกและนักออกแบบจาก
Objects and Ideograms ได้พัฒนาปะการังที่มี
ส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งถูกพิมพ์จาก
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อฟิ้นฟูบ้านของ
สิ่งมีชีวิตใต้น้ำให้ยั่งยืน และทำหน้าที่เป็นฐานโครงสร้าง
แนวปะการังทั้งหมด แทนที่ปะการังเดิมที่เสื่อมสภาพจาก
อุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรสูงขึ้น
“ด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นและมีความ
เป็นกรดมากขึ้นทำให้บ้านหรือปะการังของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
จำนวนมากได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว” สโกฟิลด์กล่าว
ตามรายงานของ IPCC ระบุว่า ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้น 2 องศา
เซลเซียส และเกิดปะการังฟอกขาวเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้กำลังกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำจำนวนมาก
สโกฟิลด์และเพื่อนร่วมงานของเขาจึงได้ร่วมมือกับทางวิทยาลัยศิลปะและ Buoyant Ecologies
Float Lab ในอ่าวซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำแคลเซียมคาร์บอเนตมาพัฒนาวัตถุ
ทรงกระบอกที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุนโดยจำลองตามโครงสร้างของปะการังธรรมชาติ
แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดจาหินปูนและหินอ่อน ใน
โครงร่างแข็งของปะการังก็สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตเช่นกัน พวกมันตรึงคาร์บอนและแคลเซียมจากน้ำ
ทะเล เพื่อเปลี่ยนเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีส่วนประกอบของ
สารประกอบชนิดนี้จึงใกล้เคียงกับโครงสร้างตามธรรมชาติ
หลังจากที่ได้ทดสอบติดตั้งต้นแบบในอ่าวซานฟรานซิสโก และสังเกตอัตราการเจริญเติบโต พบว่า แนว
ปะการังนี้ได้ก่อให้เกิดหินปูนตามธรรมชาติ พร้อมกับพบสาหร่ายและจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ซึ่งก่อเกิดเป็น
ระบบนิเวศและบ้านให้กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่หลากหลายชนิด
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
“เป้าหมายของโครงการนี้คือ การพิมพ์โครงสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติให้กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ
และหวังให้เกิดระบบนิเวศจากปฎิสัมพันธ์ทางชีววิทยาของพวกมันเอง” สโกฟิลด์กล่าวและเสริมว่า “เมื่อ
ปะการังฝังตัวลงบนโครงสร้างที่จำลองขึ้น สัตว์ทะเลสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นผิวที่คล้ายกับบ้านดั้งเดิมของ
พวกเขาได้มากที่สุด เช่น ปลาหาแหล่งหลบภัยจากผู้ล่า”
ที่ผ่านมามีปะการังเทียมจากวัสดุอื่น ๆ เช่น คอนกรีต ท่อพีวีซี และพาหนะเก่าที่ถูกจมลงใต้น้ำ ซึ่ง
ให้ผลในเชิงบวกต่อสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเหล่านั้นยังไม่ซับซ้อนจนเกิดเป็นระบบนิเวศ และดึงดูด
สัตว์ทะเลได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากไม่ใช่วัสดุเสมือนธรรมชาติ อีกทั้งยังทำซ้ำได้ยากและสร้างรอยเท้าคาร์บอน
ขนาดใหญ่
ข้อจำกัดเดียวของปะการังจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติคือเรื่องขนาด แม้ว่าจะทำซ้ำได้จำนวนมาก แต่ก็ไม่อา
จิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่กว่าแทนพิมพ์ได้ “ยิ่งแท่นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถผลิต
และปรับใช้ได้มากขึ้นเท่านั้น” สโกฟิลด์กล่าว
นอกจากนี้ เขายังหวังว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้จะถูกนำไปประยุกต์ในงานด้านวิทยาศาสตร์และ
สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นและกว้างยิ่งขึ้น “ผมหวังว่างานนี้จะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายในธรรมชาติ” สกอ
ฟิล์ดกล่าวปิดท้าย
ป่าแอมะซอน
แผนความพยายามปกป้องพื้นที่ร้อยละ 80 ของป่าแอ
มะซอน สามารถช่วยคนรุ่นต่อไปได้ องค์กรอนุรักษ์และกลุ่มชน
พื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของแอมะซอนเรียกร้องให้พื้นที่ร้อย
ละ 80 ของป่าแอมะซอนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง
ภายในปี 2025 เพื่อปกป้องธรรมชาติจากการตัดไม้ทำลายป่า
การทำเหมืองแร่ และการขุดน้ำมัน นับเป็นครั้งแรกใน
ประวัติศาสตร์ 70 ปีขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการ
อนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN ที่กลุ่มชนพื้นเมืองได้ร่วมแสดง
ความคิดเห็นเพื่อหารือกับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรอนุรักษ์
ธรรมชาติระดับนานาชาติ “นี่เป็นเหตุฉุกเฉิน ไม่ใช่แค่สำหรับ
เรา แต่สำหรับมนุษยชาติ” โฆเซ เกรกอริโอ ดิอาซ มิราบาล ผู้นำชนเผ่าชาวคูริปาโกในเวเนซุเอลา กล่าวกับ
สำนักข่าวเอเอฟพี และเสริมว่า “เราเคยถูกละเลย แต่ตอนนี้เรามีเสียงแล้ว และเราจะใช้สิทธิ์นี้เพื่อลงคะแนน”
ตามการประเมินจากข้อมูลดาวเทียมพบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ป่าแอมะซอนได้สูญเสียพื้นที่ประมาณ
10,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี จากปัจจัยการรุกล้ำป่าเพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าว
เตือนว่า ผืนป่าที่ถูกทำลายส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่นแย่ลงไปอีก และจะส่งผลต่อ
ระบบภูมิอากาศโลกด้วยเช่นกัน “เรากำลังขอให้รัฐบาลช่วยปกป้องดินแดนของเรา ซึ่งเป็นของมนุษยชาติด้วย”
มิราบาลกล่าวในการแถลงข่าว พร้อมกับผู้นำชนพื้นเมืองจากเฟรนช์เกียนาและเอกวาดอร์ “เพราะถ้าหากผืน
ป่าแอมะซอนหายไป ผู้คนในทุกที่จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน” สิ่งที่ผู้นำชนพื้นเมืองขอร้องคือ การหยุด
กิจกรรมที่ทำลายป่าจากกลุ่มนายทุนต่างชาติ “สิ่งสำคัญคือต้องหยุดการขุดน้ำมัน ทอง ยูเรเนียม รวมทั้งแร่
ธาตุอื่น ๆ” มิบาราลกล่าวและเสริมว่า “กิจกรรมเหล่านี้สร้างความมั่งคั่งให้ยุโรป สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน
แต่มันคือความยากจนสำหรับเรา” ท้ายที่สุดการลงคะแนนเสียงและการหารือจะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์
หน้า โดยในขณะนี้เจ้าหน้าที่ของ IUCN กำลังทบทวนและรวบรวมข้อเสนอจากชนพื้นเมืองและองค์กรต่าง ๆ
เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่พลาดข้อมูลที่ต้องใช้พิจารณาอย่างรอบด้าน
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
ใบไม้เทียม
ดวงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานได้มากเพียงพอสำหรับ
กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ แต่ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถนำพลังงาน
แสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้แต่แผงโซลาร์เซลล์
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงาน
แสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า แต่แผงโซลาร์เซลล์ก็ผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 25 ของความต้องการพลังงานทั่วโลก และยัง
ไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความ
ต้องการสูงได้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จึงมองหาทางออก
จากธรรมชาติ พวกเขาได้คิดค้น “ใบไม้เทียม” ซึ่งเลียนแบบ
กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยหลักการเทคโนโลยีใบไม้
เทียม เทนที่จะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และน้ำ ให้กลายเป็นสารอาหารสำหรับพืชตามปกติ มันกลับ
เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และน้ำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสะอาดแทน ใบไม้เทียมใช้พลังงานจาก
แสงอาทิตย์ในการผลิตก๊าซสะอาดที่เรียกว่า ซินก๊าซ ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าหลาย
อย่าง เช่น เชื้อเพลิง ยา พลาสติก และปุ๋ย แต่ซินก๊าซที่ผลิตจากใบไม้เทียมนี้ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ออกมา ต่างกับซินก๊าซที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เออร์วิน ไรส์เนอร์ นักวิจัยอาวุโส หนึ่งในทีม
วิจัย ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า “คุณอาจไม่เคยได้ยินคำว่า ซินก๊าซ มาก่อน แต่ทุกวันนี้ คุณ
บริโภคสินค้าหลายประเภทที่ใช้ซินก๊าซในกระบวนการผลิต การผลิตซินก๊าซที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็น
ก้าวสำคัญในการตัดวัฏจักรคาร์บอนของโลก และสร้างอุตสาหกรรมสารเคมีและเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม” หลักการทำงานของใบไม้เทียมใช้ตัวดูดซับพลังงานแสง 2 ตัว ซึ่งคล้ายกับโมเลกุลในพืชที่เก็บ
สะสมแสงอาทิตย์ ตัวดูดซับพลังงานแสงนี้ทำมาจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์และตัวเร่งโคบอลต์ ซึ่ง
มีราคาถูกและผลิตคาร์บอนมอนอกไซด์ได้มากกว่าแพลทินัมและเงิน เมื่อนำอุปกรณ์ใบไม้เทียมไปแช่น้ำ ตัวดูด
ซับแสงหนึ่งตัวจะเป็นตัวเร่งการผลิตออกซิเจน ในขณะที่ตัวดูดซับแสงอีกตัวหนึ่งจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
เปลี่ยนโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ให้กลายเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน ซึ่งจะรวมตัวกัน
กลายเป็นซินก๊าซ ตัวดูดซับแสงนี้ยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในที่ที่มีแสงอาทิตย์ต่ำ อย่างวันที่ฝนตก
และมีเมฆครึ้ม หมายความว่าเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทั่วโลก และใช้ได้ทุกเวลาตั้งแต่เช้าถึงพลบค่ำ
ปัจจุบัน ทีมวิจัยกำลังมองหาวิธีที่จะใช้เทคโนโลยีของพวกเขาในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวที่ยั่งยืนแทนปิโตรเลียม
ซึ่งซินก๊าซถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวอยู่แล้ว “สิ่งที่พวกเราจะทำต่อไปคือ แทนที่จะ
สร้างซินก๊าซก่อน แล้วค่อยนำซินก๊าซไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงเหลว เราจะสร้างเชื้อเพลิงเหลวด้วยขั้นตอนเดียว
จากคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเลย” ไรส์เนอร์กล่าว ความก้าวหน้าในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากเชื้อเพลิงเหลวเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับการคมนาคมขนส่งจำพวกเรือและเครื่องบิน
เทคโนโลยีใบไม้เทียมจึงเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการผลิตเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นกชายเลน ผู้ล่าที่มีบทบาทสำคัญบนหาดเลน
หาดเลน เป็นพื้นที่ทางธรรมชาติที่ดูเรียบง่าย แร้นแค้น ไร้พืชพรรณ มีเพียงผืนเลน เวิ้งน้ำ และท้องฟ้า
แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์ดูอย่างใกล้ชิดแล้วจะเห็นความวุ่นวายของชีวิตอลหม่านอยู่ทั่วทั้งผืน เป็นเหมือนสมรภูมิ
ของสิ่งชีวิตที่ต้องเอาตัวรอดกันชั่วโมงต่อชั่วโมง แต่ละชีวิตบนผืนเลนนี้ต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อตอบสนองต่อ
สภาพแวดล้อมสุดขั้วที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งวัน อันเป็นผลมาจากปราฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
ส่งผลให้ผู้ล่าระดับสูงในห่วงโซ่อาหารของพื้นที่หาดเลน อย่างนกนานาชนิด ต้องปรับตัวทั้งทางร่างกายและ
พฤติกรรมตามไปด้วย
ในช่วงน้ำขึ้น ทั่วทั้งหาดอยู่ใต้น้ำ ดังนั้นความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่เมื่อน้ำลง
จนเผยผืนดินความชื้นลดต่ำอย่างฉับพลัน และต้องเผชิญกับความร้อนที่แผดเผาของดวงอาทิตย์ สิ่งมีชีวิตขนาด
เล็กทั้งปู หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยตามหน้าดิน จึงมีพฤติกรรมเอาตัวรอดอย่างหนึ่งร่วมกันก็คือ
“มุดลงใต้ดิน” ทำให้นกชายเลนหลายชนิดมีปากที่ยาวอย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับขนาดหัวของพวกมัน นั่นก็
เพื่อควานหาเหยื่อที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินที่มองไม่เห็นนั่นเอง และเพื่อให้ชีวิตที่อาศัยอยู่กับแหล่งน้ำสะดวกมากขึ้น
นกชายเลนหลายชนิดก็ยังมีขาที่ยาวอีกด้วย สำหรับการเดินท่องน้ำลึก แต่อีกหลายชนิดที่ขนาดตัวเล็กก็เลือกที่
จะหากินตามพื้นที่ที่แห้งกว่า หรือมีระดับน้ำเหมาะสมกับกายวิภาคของตัวเอง
นอกจากหาดเลนที่เป็นพื้นที่หลักในการหากินแล้ว พื้นที่
ชุ่มน้ำตามแนวชายฝั่งเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นที่ให้นกชาย
เลนได้หลบพัก หรือใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหารทางเลือกเมื่อ
ยามน้ำขึ้นเต็มฝั่ง
สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคกลาง
ตามแนวขอบชายฝั่งอ่าวไทยเป็นที่นิยมการทำนาเกลือมาช้านาน
ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อวิถีชีวิตนกชายเลนอย่างมหาศาล ทำให้นกชาย
เลนหลายชนิดยังหากินได้แม้จะเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกลือไทยราคาตกต่ำในปัจจุบันส่งผล
ให้สถานการณ์ของนาเกลือไม่สู้ดีนัก หลายพื้นที่ถูกขายเพื่อใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น อีกทั้งกระแสปลูกป่าชาย
เลนที่ลุกลามไปยังหาดเลนเปิดกว้างที่ไม่ต้องการพรรณไม้ชายเลนก็ยังลดพื้นที่หากินของนกชายเลนอีกด้วย
เต่าปูลู
พบเต่าปูลูในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย หลังจากเคยพบเมื่อ 2 ปีที่
ผ่านมา เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเวียง
โกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ พบเต่าปูลู (ไม่ทราบเพศ) จำนวน 1 ตัว
บริเวณศาลาที่พักน้ำตกแม่เกิ๋งหลวง เจ้าหน้าที่จึงได้นำไปวัดขนาดและชั่ง
น้ำหนักเพื่อทำการเก็บข้อมูลต่อไป ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่กล่าว่า เคยพบ
เต่าปูลูหนึ่งตัวบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม
เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า เต่าปูลูที่พบล่าสุดเป็นตัวเดียวกับที่พบ
ครั้งก่อนหรือไม่
ภาพถ่าย: อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
ข้อมูลทั่วไปของเต่าปูลู
"เต่าปูลู" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum จัดอยู่ในวงศ์ Platysternidae เป็น
เต่าขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม กระดองเล็กแบนและมีสีน้ำตาลเข้ม หัวโตหดเข้ากระดองไม่ได้
ปากคมแข็งแรงคล้ายปากนกแก้ว ขาใหญ่หดเข้ากระดองไม่ได้เช่นกัน ปลายเท้ามีเล็บสามารถปีนขึ้นขอนไม้
หรือก้อนหินได้ หางยาวกว่ากระดอง มีเดือยแหลมอยู่ระหว่างขาและก้นข้างละอัน
ในช่วงหลังแรกเกิดส่วนหัวมีสีออกส้ม เมื่อโตขึ้นหัวค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ ความยาวลำตัวที่เคย
บันทึกได้มีความยาวสูงสุด 17 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
พบในแถบอินโดจีน สำหรับประเทศไทยพบตามภูเขาในจึงหวัดเลย เพชรบูรณ์ สกลนคร น่าน และ
แพร่
อาหาร
เต่าปูลูมักกินสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อย่างกบและ
เขียด
พฤติกรรม
เต่าปูลูสามารถปีนป่ายโขดหินและต้นไม้ได้จึงชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง ลำธารน้ำตก และพื้นที่ที่มี
ความอุดมสมบูรณ์ ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน และจำศีลในฤดูหนาวโดยหลบอาศัยอยู่
ในซอกหิน หรือตามโพรงไม้ใต้น้ำ เต่าปูลูไม่ค่อยออกหากินในช่วงจำศีลแต่ชอบปีนตอไม้ขึ้นไปอาบแดด ฤดู
วางไข่ของเต่าปูลูคือช่วงปลายเดือนเมษายน
นอกจากนี้ เต่าปูลูยังเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ป่าต้น
น้ำที่สมบูรณ์
สถานภาพการคุ้มครอง
เต่าปูลูเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง พ.ศ.
2546 IUCN (2011) จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN -
Endangered) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)
การดื่มเบียร์เมื่อ 9,000 ปีก่อน
ทีมนักสำรวจพบซากภาชนะบรรจุเบียร์ ที่มีอายุย้อนกลับไป 9,000 ปี ทีมนักมานุษวิทยาได้ค้นพบแหล่ง
โบราณคดีในเขตเมืองเฉียวโถว มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มีอายุกว่า 9,000 ปี โดยพบ
โครงกระดูกมนุษย์ 2 ชิ้น พร้อมกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็ก ซึ่งพวกเขาคาดว่าน่าจะเกี่ยวกับพิธีฝังศพ
มากกว่าเป็นภาชนะสำหรับมื้ออาหารปกติ “จากการวิเคราะห์เศษหม้อและภาชนะเครื่องปั้นดินเผา พบว่ามัน
ถูกใช้เพื่อเก็บเบียร์” เจียจิง หวัง นักมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ หนึ่งในทีมสำรวจ กล่าว “โดยทั่วไป
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุคนั้น น่าจะหมักจากข้าวและเมล็ดพืช” แต่ก็ไม่เหมือนเบียร์ในปัจจุบัน หวังกล่าว
เสริมว่า “ครื่องดื่มน่าจะมีรสหวานและสีขุ่นกว่า” พวกเขาได้วิเคราะห์ซากไมโครฟอสซิล อย่างแป้งและเชื้อรา
ที่สกัดจากผิวด้านในของเครื่องปั้นดินเผาและเปรียบเทียบสารประกอบอื่นๆ กับตัวอย่างควบคุมจากดินรอบ ๆ
ภาชนะ ซึ่งทำให้สามารถระบุจุลินทรีย์ที่สำรวจพบได้ และทำให้พวกเขาทราบข้อมูลว่า เป็นจุลินทรีย์สำหรับ
การหมักเครื่องดื่ม ไม่ใช่จุลินทรีย์ในดินที่อยู่หลุมศพ “เราไม่รู้ว่าพวกเขาสร้างหัวเชื้อได้อย่างไรเมื่อ 9,000 ปี
ก่อน” หวังกล่าวและเสริมว่า “อาจมความเป็นไปได้ว่ามีข้าวเหลืออยู่ในบ้านและเมล็ดพืชขึ้นราจากการเก็บ
รักษา พวกเขาอาจสังเกตเห็นว่ามันมีรสหวานและมีกลิ่นแอลกอฮอล์ แม้ว่าพวกเขาไม่มีความรู้ทางชีวเคมีที่
เกี่ยวข้องกับธัญพืชที่ขึ้นรา แต่กระบวนการหมักอาจเกิดจากการลองผิดลองถูก”
เชื้อราคือสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิตเบียร์ ซึ่งเปลี่ยนสารประกอบจำพวกแป้งในเมล็ดพืชให้กลายเป็น
น้ำตาล หลังจากนั้น จะเกิดกระบวนการหมักน้ำตาลจนกลายเป็นแอลกอฮอล์ โดยราที่พวกเขาสำรวจพบมี
ความคล้ายคลึงกับราที่ใช้ในการหมักสาเก และเครื่องดื่มประเภทหมักอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก แม้มนุษย์ใน
ปัจจุบันจะใช้เบียร์เพื่อการเข้าสังคมและเพื่อสังสรรค์พักผ่อน แต่ทางทีมวิจัยตั้งสมมิตฐานว่า เครื่อมดื่มเบียร์
ในยโบราณเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมการฝังศพ และเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย เนื่องจากพื้นที่ที่พบนั้นห่างจากแหล่ง
ที่อยู่อาศัย และพบการศพอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ในขณะที่นักวิจัยบางคนโต้แย้งว่าเครื่องดื่มแอลกฮอล์โบราณ
ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อการสร้างความสันพันธ์ทางสังคม และส่งเสริมความร่วมมือกันเช่นเดียวกับที่เรา
ทำในปัจจุบัน
รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก
รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand
เบียร์โบราณพี่พบในจีนเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาสังคมการทำนาข้าวที่ซับซ้อนของมณฑลเจ้อเจียง
อย่าปฏิเสธไม่ได้ "ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เบียร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของพิธีฝังศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดสังคมเกษตรกรรมที่ซับซ้อนในอีก 4 พันปีต่อมา" หวัง เขียนไว้ในบทความที่เผยแพร่ใน
วารสาร Plos One / Pearl : The Microbiome เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการค้นพบครั้งนี้จะย้อนกลับไปถึง 9,000 ปี แต่นี่ไม่ใช่ตัวอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่เก่าแก่ที่สุดในอารยธรรมมนุษย์ ตัวอย่างเก่าแก่ที่สุดคือเบียร์ของชาวนาตูเฟียนโบราณ ที่ผลิตจากข้าวโอ๊ต
ข้าวบาร์เลย์ และส่วนผสมอื่น ๆ ที่อยู่ในดินแดนของประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ซึ่งมีอายุกว่า 13,000 ปี
ข้อมูลอ้างอิง
วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.บทความเรื่อง เครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.สืบค้นและเรียบเรียง
ภัทราพร ชัยบุตร.บทความเรื่อง สิงคโปร์บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่ม.สืบค้นและเรียบเรียง
JONATHAN MOENS.บทความเรื่อง ต้นไม้อายุนับร้อยปี-พันปีที่ยังคงแผ่ร่มเงาทั่วอิตาลี
เจสัน บิตเทล.บทความเรื่อง เรื่องเล่าจากช่างภาพสัตว์ป่า
วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.บทความเรื่อง สแตนฟอร์ดพัฒนาการตัดต่อยีนแบบใหม่ที่เล็กกว่า CRISPR.สืบค้น
และเรียบเรียง
NINA STROCHLIC.บทความเรื่อง อิสรภาพช่วงสุดท้ายของผู้หญิงอัฟกานิสถาน
วิศรุต วีระโสภณ.บทความเรื่อง มองอัตลักษณ์ชาวมุสลิมกรุงเทพผ่านสถาปัตยกรรมมัสยิด.เรื่องและภาพ
ภาพถ่าย อเล็กซ์ สโกฟิลด์ สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ความหวังของการฟื้นฟูแนวปะการัง
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.ป่าแอมะซอน
ภาพถ่าย Virgil Andrei สืบค้นและเรียบเรียง ภัทราพร ชัยบุตร ใบไม้เทียม
นกชายเลน ผู้ล่าที่มีบทบาทสำคัญบนหาดเลน เรื่อง : วัทธิกร โสภณรัตน์ ภาพถ่าย : วัทธิกร โสภณรัตน์
ภัทราภรณ์ วังตาล และเข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
การดื่มเบียร์เมื่อ 9,000 ปีก่อน ภาพถ่าย Jiajing Wang สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

More Related Content

More from pitsanu duangkartok

โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfpitsanu duangkartok
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfpitsanu duangkartok
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfpitsanu duangkartok
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfpitsanu duangkartok
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดpitsanu duangkartok
 
สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)pitsanu duangkartok
 
สรีรวิทยา (part 2).pdf
สรีรวิทยา (part 2).pdfสรีรวิทยา (part 2).pdf
สรีรวิทยา (part 2).pdfpitsanu duangkartok
 
สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)pitsanu duangkartok
 
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรการสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรpitsanu duangkartok
 
Nucleophilic substitution of benzylic halides
Nucleophilic substitution of benzylic halidesNucleophilic substitution of benzylic halides
Nucleophilic substitution of benzylic halidespitsanu duangkartok
 
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1pitsanu duangkartok
 
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & deathBacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & deathpitsanu duangkartok
 
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteria
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteriaIntroduction to bacteriology,morphology and classification of bacteria
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteriapitsanu duangkartok
 

More from pitsanu duangkartok (20)

โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
 
Pharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptxPharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptx
 
Metabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdfMetabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdf
 
Ecosystem part 2
Ecosystem part 2Ecosystem part 2
Ecosystem part 2
 
ecosystem
ecosystemecosystem
ecosystem
 
Photosynthesis
PhotosynthesisPhotosynthesis
Photosynthesis
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
Common Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdfCommon Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdf
 
สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)
 
สรีรวิทยา (part 2).pdf
สรีรวิทยา (part 2).pdfสรีรวิทยา (part 2).pdf
สรีรวิทยา (part 2).pdf
 
สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)
 
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรการสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
 
Nucleophilic substitution of benzylic halides
Nucleophilic substitution of benzylic halidesNucleophilic substitution of benzylic halides
Nucleophilic substitution of benzylic halides
 
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1
การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ส่วนที่ 1
 
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & deathBacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
 
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteria
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteriaIntroduction to bacteriology,morphology and classification of bacteria
Introduction to bacteriology,morphology and classification of bacteria
 
Antigen antibody reaction
Antigen antibody reaction Antigen antibody reaction
Antigen antibody reaction
 

Discovery in currently world

  • 1. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand เครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Orca ซึ่งมีความหมายว่า “พลังงาน” ในภาษา ไอซ์แลนด์ คือชื่อของเครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก ได้เริ่มทำงานเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา ในประเทศไอซ์แลนด์ ด้วยความร่วมมือ ระหว่างบริษัท Climeworks ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่มีส่วนในการก่อสร้าง และบริษัท Carbfix ของ ประเทศไอซ์แลนด์ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน พวกเขาประเมินว่า Orca จะสามารถกำจัดคาร์บอนออกจากอากาศประมาณ 4,000 ตันต่อปี แม้จะเป็นตัวที่ ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดี “ด้วย ความสำเร็จนี้ เราพร้อมที่จะเพิ่มขีดความสามารถของเราอย่างก้าวกระโดดในปีต่อ ๆ ไป” เอียน วูร์ซบาเชอร์ ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Climeworks กล่าวและเสริมว่า “ความพยายามเรื่องการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ยังคง เป็นหนทางอีกยาวไกล แต่สำหรับ Orca ถือเป็นก้าวสำคัญในอุตสาหกรรมนี้โดยตรง ซึ่งได้มอบแนวทางไว้ ให้กับอนาคต” เครื่องดักจับคาร์บอน Orca ทำงานโดยอาศัยพัดลมขนาดใหญ่ดึงอากาศผ่านตัวกรองลงในกล่องกักเก็บ เมื่อเต็มแล้วมันจะถูกทำให้ร้อนขึ้นเพื่อเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากล่อง และกลายเป็นก๊าซที่มีความเข้มข้น สูง หลังจากจะถูกละลายผสมกับน้ำแล้วฉีดลงไปฝังลึกในหินบะซอลต์ที่อยู่ใต้ดินที่จะใช้เวลาประมาณสองปีก็จะ ตกผลึกเป็นแร่ธาตุคาร์บอนเนตซึ่งจะหลอมรวมกับหินในชั้นใต้ดิน “ข้อตกลงระหว่าง Climeworks และ Carbfix ช่วยให้มั่นใจว่า การจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความปลอดภัยโดยผ่านการทำให้เป็นแร่ใต้ดิน” บริษัท Carbfix กล่าวบนเว็ปไซต์และระบุว่า “การก่อตัวของหิบะซอลต์ใต้ดินในไอซ์แลนด์นั้นเป็นสภาวะที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับกระบวนการนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาถาวรสำหรับการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ Orca ยังใช้พลังงานหมุนเวียนจาก โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพทำให้ Orca มี การปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าร้อยละ 10 ตามการกล่าว อ้างของ Climeworks นั่นหมายความว่า ทุก ๆ 100 ตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ Orca ดักจับได้ จะ มีอย่างน้อยร้อยละ 90 ที่ถูกกักเก็บไว้ถาวรและน้อย กว่าร้อยละ 10 จะถูกปล่อยออกมา โรงงานแห่งนี้ใช้ เวลาในการก่อสร้างประมาณ 15 เดือนโดยใช้ระบบ โมดูลที่เป็นหน่วยสามารถวางซ้อนทับกันได้ ทาง Climeworks หวังว่าสิ่งนี้จะช่วยให้การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำได้ง่ายในทั่วโลกตามรางานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ IPCC ที่ระบุว่าการพัฒนาเทคโนโลยีดัก จับคาร์บอนสามารถช่วยให้โลกจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
  • 2. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand สิงคโปร์บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่ม สิงคโปร์ เป็นประเทศหมู่เกาะขนาด เล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ พึ่งพาน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง มาเลเซีย มาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันกลับ สามารถหาวิธีเพิ่มปริมาณน้ำเพื่ออุปโภคและ บริโภคให้กับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติและเนื้อที่ใน ประเทศอย่างจำกัด ด้วยแรงผลักดันที่อยาก ให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่พึ่งพาตนเองได้ รัฐบาลสิงคโปร์จึงตัดสินใจแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำด้วยระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัย ทำงานร่วมกับเครือข่าย อุโมงค์ โรงงานเทคโนโลยีขั้นสูง และระบบระบายอากาศที่ทำให้อากาศภายในโรงงานยังคงสดชื่น โหลว เพ่ย ชิน หัวหน้าทีมวิศวกรแผนกฟื้นฟูน้ำของคณะกรรมการสาธารณูปโภคสิงคโปร์ กล่าวว่า “กลยุทธ์การจัดการน้ำ ของเราประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือเก็บสะสมน้ำทุกหยด ส่วนที่สองคือนำน้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างไม่มีที่ สิ้นสุด และส่วนสุดท้ายคือเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำดื่ม ด้วยกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำ” ระบบบำบัดน้ำดำเนินการอยู่ที่โรงงานบำบัดน้ำเสียชางงี บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายใน โรงงานประกอบด้วยท่อเหล็ก ถังน้ำ และระบบกรองน้ำ ที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ถึงวันละ 900 ล้านลิตร ถือ เป็นปริมาณมากพอที่จะเติมสระว่ายน้ำในการแข่งโอลิมปิกตลอด 24 ชั่วโมงได้เป็นเวลานาน 1 ปี งานหลาย ส่วนในโรงงานดำเนินการอยู่ใต้ดิน เพื่อรับน้ำเสียจากอุโมงค์ขนาดใหญ่ยาว 48 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อ ระบายน้ำ เมื่อน้ำเสียเข้ามาถึงโรงงานจะต้องผ่านกระบวนการกรองเบื้องต้น จากนั้นปั๊มน้ำแรงดันสูงจะส่งน้ำ ให้ไหลผ่านไปยังโรงงานเหนือพื้นดินเพื่อบำบัดน้ำในขั้นตอนต่อไป ซึ่งน้ำจะผ่านกระบวนการทำให้สะอาดยิ่งขึ้น ด้วยการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสในขั้นตอนการกรองที่ทันสมัยและฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ผลผลิต สุดท้ายชื่อว่า “เอ็นอีวอเตอร์” ส่วนใหญ่นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตไมโครชิป ซึ่งเป็นโรงงานที่ต้องการ น้ำคุณภาพสูงและมีอยู่มากมายในสิงคโปร์ นอกจากนี้ เอ็นอีวอเตอร์ยังใช้สำหรับระบบทำความเย็นในอาคาร รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณน้ำดื่มสำรอง ในช่วงฤดูแล้งน้ำเหล่านี้จะถูกส่งไปเติมในอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง และผ่านกระบวนการบำบัดเพิ่มเติมก่อนส่งน้ำ ไปยังท่อประปาให้ประชาชน 5.7 ล้านคน ใช้ในการอุปโภคและบริโภค ปัจจุบันสิงคโปร์ตั้งโรงงานผลิตเอ็นอีวอเตอร์ไว้ 5 แห่ง สามารถตอบสนองความต้องการน้ำในประเทศ ได้ถึงร้อยละ 40 และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็นร้อยละ 55 ภายในปี 2060 ระบบบำบัดน้ำเสียนี้ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษลงทะเล เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดและถูก ปล่อยทิ้งลงทะเลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตรงข้ามกับประเทศส่วนใหญ่ที่องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ร้อย ละ 80 ของน้ำเสียทั่วโลกไหลกลับสู่ระบบนิเวศ โดยปราศจากการบำบัดหรือนำไปใช้ซ้ำ หากประเทศอื่นยัง ปราศจากการบำบัดน้ำอย่างถูกวิธีและยังปล่อยน้ำเสียกลับสู่ระบบนิเวศ อาจนำไปสู่จุดที่การบำบัดน้ำเสียต้อง เสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และสถานการณ์ที่คนทั่วโลกต้องใช้แหล่งน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล ทำให้เสี่ยงต่อการติด เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ
  • 3. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand ต้นไม้อายุนับร้อยปี-พันปีที่ยังคงแผ่ร่มเงาทั่วอิตาลี อิตาลี ต้นไม้เก่าแก่กว่า 22,000 ต้นได้รับการ ปกป้องจากรัฐบาล เป็นเสาหลักของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ในปี 1939 อิตาลีผ่านกฎหมายฉบับแรกเพื่อ ปกป้องต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์ภายใต้แนวคิดว่า "สิ่งเคลื่อนที่ ไม่ได้ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นของความสวยงามทางธรรมชาติ" โดยกฎหมายนี้สนับสนุนการปกป้องต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์ เหล่านี้ Luciano Sammarone ผู้อำนวยการอุทยาน แห่งชาติ Abruzzo Molise, and Lazio กล่าว เป็นเวลาหลายปีที่มีการออกแนวปฏิบัติทั้งในระดับภูมิภาคและกฎหมายระดับประเทศที่พัฒนาต่อจาก กฎหมายสิ่งแวดล้อม ปี 1939 ซึ่งสะท้อนวิธีการปกป้องต้นไม้แบบองค์รวม เมื่อเร็วๆ นี้ ปี 2013 อิตาลีได้มีการ วางโครงร่างที่ชัดเจนเกี่ยวหลักเกณฑ์การนิยามต้นไม้ที่เป็นอนุสรณ์ ซึ่งรวมไปถึงอายุที่มีความยืนยาวอย่างมาก ลักษณะมุมมองอันโดดเด่น ความหายากในชนิดพันธุ์ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และคุณค่า ทางระบบนิเวศ เราสามารถพบเจอต้นไม้อนุสรณ์ได้ทั่วอิตาลี ทั้งคฤหาสน์ส่วนตัว โบสถ์ บ้านเก่าขุนนาง อุทยาน แห่งชาติ และป่าที่เป็นทุ่งหญ้า นับตั้งแต่ปี 2013 มีต้นไม้อนุสรณ์มากกว่า 3,500 ต้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน ระดับชาติว่า "มีคุณค่าอย่างยิ่ง" ผู้ที่ทำลายหรือโค่นต้นไม้เหล่านี้อาจถูกปรับเงินสูงถึง 100,000 ยูโร (ราว 3,800,000 บาท) เรื่องเล่าจากช่างภาพสัตว์ป่า ช่างภาพเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก รำลึกถึงภาพถ่ายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เคยถ่ายไว้ นี่คือส่วนหนึ่งของโปร เจกต์ใหม่ที่มุ่งความสนใจไปยังชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม โดยช่างภาพเหล่านี้บอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังภาพถ่ายใน ความทรงจำของพวกเขา กอริลลาหลังเงินปรากฏตัวขึ้นหลังพุ่มไม้ในวันเมฆครื้ม เสือโคร่งกำลังเลี้ยงดูลูกน้อย แรกเกิดอยู่ตรงปากถ้ำ และอุรังอุตังกำลังปีนขึ้นไปสู่เรือนยอดความสูงกว่า 30 เมตร พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคย เป็นประจักษ์พยานในช่วงเวลาที่หาชมยากเหล่านี้ แต่เราสามารถเห็นภาพเหล่านี้ได้เพราะพวกเขา ขอบคุณไป
  • 4. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand ยังช่างภาพสัตว์ป่าทั้งหลาย บางภาพที่ปรากฏอยู่ในนี้เป็นผลผลิตที่เกิดจากการลองผิดลองถูกเป็นเวลามากกว่า ทศวรรษ วันนี้ คือวันครบรอบ 15 ปี วันสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลก เราได้พูดคุยกับช่างภาพสัตว์ป่าระดับแถว หน้าของโลก เพื่อรำลึกถึงภาพที่ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ ของพวกเขา ช่างภาพแต่ละคนเข้าร่วมโปรเจกต์ใหม่ที่มี เป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้คนให้หันกลับมามอง สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์จากทั่วโลก ภายใต้แนวความคิด "Big Five" หรือสัตว์อันตรายที่ถูกล่ามากที่สุดในแอฟริกา แต่ในโปรเจกต์ นี้ แทนที่อุปกรณ์การล่าสัตว์จะเป็นปืน กลับเป็นกล้องถ่ายรูป ที่ยิงไปยังสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของภาพที่ บันทึกไว้ได้โดยช่างภาพของเรา สแตนฟอร์ดพัฒนาการตัดต่อยีนแบบใหม่ที่เล็กกว่า CRISPR ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้พัฒนา เครื่องมือตัดต่อพันธุกรรมที่มีขนาดเล็กกว่าการตัดต่อแบบ CRISPR ซึ่งเป็นการตัดต่อยีนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมี ชื่อเรียกว่า “CasMINI” ที่ช่วยให้การนำส่งสารพันธุกรรมเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ง่ายขึ้น “การตัดต่อยีนแบบ CRISPR คือ กระบวนการที่ใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะโมเลกุลขนาดใหญ่ แต่ CasMINI ถูกออกแบบให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง และมีฟังก์ชัน หลายหลาก ”สแตนลี ฉี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม ชีวภาพ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย กล่าว แม้การตัดต่อแบบ CRISPR จะถูกพัฒนาขึ้นและถูกใช้อย่าง แพร่หลาย แต่ยังมีข้อจำกัดสำหรับการรักษาโรคในมนุษย์ด้วย ยีนบำบัด เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป โดยประกอบไปด้วยกรดอะมิโนประมาณ 1,000 ถึง 1,500 ตัว ทำให้ ยากต่อการส่งไปเข้าในเซลล์มนุษย์ รวมทั้งดีเอ็นเอของจีโนมมนุษย์ซับซ้อนกว่าและเข้าถึงได้ยากกว่าดีเอ็นเอ ของจุลินทรีย์ ทำให้ Cas12 (กรดอะมิโนที่ทำหน้าที่ตัดต่อยีนในวิธี CRISPR) ค้นหาเป้าหมายในเซลล์มนุษย์ได้ ยาก ในขณะที่ “CasMINI” มีกรดอะมิโนประมาณ 529 ตัว ซึ่งสั้นกว่าถึงครึ่งหนึ่ง โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนา มากจากกรดอะมิโนของ CRISPR ที่ไม่ทำงานในเซลล์มนุษย์ นำมาตัดต่อและคัดเลือกการกลายพันธุ์อย่าง ระมัดระวังและรอบคอบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ และการแสดงผลช่างเรียบง่าย ทีมนักวิจัย พบว่า กรดอะมิโนที่ใช้งานได้เปลี่ยนรหัสพันธุกรรมในเซลล์มนุษย์ให้เรืองแสงสีเขียว “ในช่วงแรก วิธีการที่เราทดลองไม่ได้ผลเลยมาตลอดหนึ่งปี” เสี่ยวฉู ซู หนึ่งในนักวิจัย กล่าวและเสริม ว่า “แต่หลังจากการทดลองซ้ำของฝ่ายวิศวกรรมชีวภาพ เราเห็นโปรตีนบางตัวเริ่มทำงาน ราวกับเวทมนต์ โดย ในช่วงแรกมีเพียงไม่กี่เซลล์ที่แสดงผล แต่หลังจากนั้นก็พบหลายเซลล์ที่เรืองแสง” แม้ CasMINI จะยังอยู่ในช่วง เริ่มต้นและต้องการเวลาในพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่านี้ แต่ผลการทดลองในห้องปฎิบัติการแสดงให้ เห็นว่า พวกเขามาถูกทาง โดยพวกเขาได้ทดสอบประสิทธิภาพการตัดต่อของ CasMINI กับเซลล์มนุษย์ที่ เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี การตอบสนองของภูมิคุ้มกันด้านเนื้องอก และโรคโลหิตจาง ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้ เห็นว่า CasMINI สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
  • 5. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand “ในอนาคต วิธีการนี้อาจจะกลายเป็นวิธีการรักษาด้วยยีนบำบัดเพื่อรักษาโรคทางพันธุกรรม มะเร็ง หรือเพื่อต้านความเสื่อมของอวัยวะ” อิสรภาพช่วงสุดท้ายของผู้หญิงอัฟกานิสถาน เมื่อกลุ่มตอลิบานเข้าปกครองอัฟกานิสถานในระหว่างปี 1996-2001 มีการสั่งห้ามการศึกษาของผู้หญิง, การปาหิน และเฆี่ยน ตี เป็นบทลงโทษสำหรับความผิดเช่นการคบชู้ และผู้หญิงต้องมีผู้ชาย เดินทางไปด้วยเวลาผู้หญิงออกจากบ้าน หลังจากการบุกรุกอัฟกานิสถานที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และ ได้ขับกลุ่มตอลิบานออกจากอำนาจ การศึกษาของผู้หญิงคือหนึ่งใน ภารกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้หญิงนับล้านคนได้กลับมาสวมชุดนักเรียนอีกครั้ง ในทุกวันนี้ หญิงอัฟกันอายุ ระหว่าง 15-24 ปีสามารถอ่านหนังสือได้ และอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงทศวรรษ 2000 แม้การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของพวกเธอยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่โดยส่วน ใหญ่ ผู้หญิงอัฟกานิสถานที่มีบทบาทในหน่วยงานราชการ และตามพื้นที่สื่อมีมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าหนึ่งในสี่ ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาของประเทศที่มีประชากร 39 ล้านคนเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่า สหรัฐอเมริกา เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่พวกเธอพยายามต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกับผู้ชาย พวกเธอกลายมาเป็น ศิลปิน นักกิจกรรม และนักแสดง อย่างไรก็ตาม ชีวิตของผู้หญิงอัฟกานิสถานแขวนอยู่บนเส้นด้ายเมื่อกลุ่มตอลิ บานเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ผู้หญิงนับพันคนต่างหลบหนีหรือหลบซ่อนจากอนาคตที่ไม่แน่นอน มองอัตลักษณ์ชาวมุสลิมกรุงเทพผ่านสถาปัตยกรรมมัสยิด ตั้งแต่การเปลี่ยนราชธานีใหม่เป็นกรุงธนบุรี มีการ ย้ายผู้คนและชุมชนเกือบทุกศาสนามาอยู่ในที่ตั้งใหม่ คือ ธนบุรีและบางกอก ผู้คนที่มาตั้งบ้านเรือนหรือชุมชนจะ ตั้งศาสนสถานที่ตนเองนับถือไว้เป็นศูนย์กลาง โดยหันหน้า เข้าเส้นทางคมมาคมในสมัยนั้น เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งจะ แตกต่างจากศาสนาอิสลามหรือชาวมุสลิม ที่จะใช้ทิศเป็น ตัวกำหนด โดยจะหันหน้าไปสู่ทิศที่มุ่งหน้าสู่นครเมกกะ เป็นศูนย์กลาง และแต่ละชุมชนก็จะมีเชื้อชาติหรือชาติ พันธุ์ที่แตกต่างกันไป ในระดับชาวบ้าน จะมีการสร้างศาสนสถานแบบง่ายๆ เช่นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เช่น บ้านทรงไทย เรือนไม้ เป็นต้น หรือชุนชนใดมีข้าราชการหรือคหบดี , พ่อค้า ที่มีฐานะในสมัยนั้น อาคารจะมี รูปแบบก่ออิฐถือปูน ตามรูปแบบของคติความเชื่อในศาสนานั้นๆ ในยุคแรกของเมืองบางกอกหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนต่างๆเข้ามาในพระ นคร ผู้คนมักจะมีภาพจำที่ตัวเองคุ้นชินและนำภาพจำเหล่านั้นมาสร้างศาสนสถานและชุมชน จนมีการติดต่อ ค้าขายจากที่ต่างๆ จากชาวต่างชาติ เช่น อินเดีย ชวา มลายู เข้ามาในพระนคร จึงมีการนำความทรงจำ จาก รูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมจากท้องถิ่นนั้นๆ มาสร้าง ในสมัยรัชกาลที่5 มีการติดต่อนักออกแบบจากชาติ ต่างๆ เข้ามาก่อสร้างอาคารในรูปแบบทั้งในยุโรปและแบบอื่นๆ ฉะนั้น อาคารมัสยิดจึงมีการปรับเปลี่ยน รูปแบบตามความนิยมในยุคนั้นๆไปด้วย
  • 6. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand ในกรุงเทพมีชุมชนอยู่มากมายและหลากหลาย โดยเฉพาะชุมชนชาวมุสลิม ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทุกชุมชน จะมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนา เช่น ละหมาด ใช้จัดงานสำคัญต่างๆ ทางศาสนา หรือสอนหนังสือ ส่วนใหญ่แล้ว หากกล่าวถึงมัสยิด เรามักนึกถึงอาคารรูปทรงสไตล์อาหรับและโดมสีเขียว ซึ่งมัสยิดส่วน ใหญ่ในทั่วโลกปัจจุบันก็จะสร้างมัสยิดรูปทรงแบบสไตล์อาหรับ เพื่อสื่อถึงความเป็นมุสลิมตามฉบับที่ได้รับ อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบประเทศโลกมุสลิมมา แต่ด้วยในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงเทพหรือบางกอกนั้น มีการรับผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ และ วัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงวิถีชีวิตและความเชื่อ รวมถึงชาวมุสลิมเองก็มีหลากหลายเชื้อสาย เช่น เปอร์เซีย อินเดีย ชวา มลายู ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ชาวมุสลิมในกรุงเทพจึงไม่ได้มีแค่ ชาวมุสลิมไทยเท่านั้น ความหลากหลายเหล่านี้จึงส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวมัสยิด แม้จะมีหลักการในการสร้าง มัสยิดจากความเชื่อพื้นฐานในศาสนาเดียวกัน แต่การแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจึง ออกมาไม่เหมือนกันและมีความหลากหลาย โดยอิงจากรูปแบบตามสถาปัตยกรรมของท้องถิ่น หรือ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตามบ้านเกิดของตัวเอง ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ความหวังของการฟื้นฟูแนวปะการัง อเล็กซ์ สโกฟิลด์ สถาปนิกและนักออกแบบจาก Objects and Ideograms ได้พัฒนาปะการังที่มี ส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งถูกพิมพ์จาก เครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อฟิ้นฟูบ้านของ สิ่งมีชีวิตใต้น้ำให้ยั่งยืน และทำหน้าที่เป็นฐานโครงสร้าง แนวปะการังทั้งหมด แทนที่ปะการังเดิมที่เสื่อมสภาพจาก อุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรสูงขึ้น “ด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นและมีความ เป็นกรดมากขึ้นทำให้บ้านหรือปะการังของสิ่งมีชีวิตในน้ำ จำนวนมากได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว” สโกฟิลด์กล่าว ตามรายงานของ IPCC ระบุว่า ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้น 2 องศา เซลเซียส และเกิดปะการังฟอกขาวเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้กำลังกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำจำนวนมาก สโกฟิลด์และเพื่อนร่วมงานของเขาจึงได้ร่วมมือกับทางวิทยาลัยศิลปะและ Buoyant Ecologies Float Lab ในอ่าวซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำแคลเซียมคาร์บอเนตมาพัฒนาวัตถุ ทรงกระบอกที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุนโดยจำลองตามโครงสร้างของปะการังธรรมชาติ แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดจาหินปูนและหินอ่อน ใน โครงร่างแข็งของปะการังก็สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตเช่นกัน พวกมันตรึงคาร์บอนและแคลเซียมจากน้ำ ทะเล เพื่อเปลี่ยนเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีส่วนประกอบของ สารประกอบชนิดนี้จึงใกล้เคียงกับโครงสร้างตามธรรมชาติ หลังจากที่ได้ทดสอบติดตั้งต้นแบบในอ่าวซานฟรานซิสโก และสังเกตอัตราการเจริญเติบโต พบว่า แนว ปะการังนี้ได้ก่อให้เกิดหินปูนตามธรรมชาติ พร้อมกับพบสาหร่ายและจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ซึ่งก่อเกิดเป็น ระบบนิเวศและบ้านให้กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่หลากหลายชนิด
  • 7. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand “เป้าหมายของโครงการนี้คือ การพิมพ์โครงสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติให้กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และหวังให้เกิดระบบนิเวศจากปฎิสัมพันธ์ทางชีววิทยาของพวกมันเอง” สโกฟิลด์กล่าวและเสริมว่า “เมื่อ ปะการังฝังตัวลงบนโครงสร้างที่จำลองขึ้น สัตว์ทะเลสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นผิวที่คล้ายกับบ้านดั้งเดิมของ พวกเขาได้มากที่สุด เช่น ปลาหาแหล่งหลบภัยจากผู้ล่า” ที่ผ่านมามีปะการังเทียมจากวัสดุอื่น ๆ เช่น คอนกรีต ท่อพีวีซี และพาหนะเก่าที่ถูกจมลงใต้น้ำ ซึ่ง ให้ผลในเชิงบวกต่อสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเหล่านั้นยังไม่ซับซ้อนจนเกิดเป็นระบบนิเวศ และดึงดูด สัตว์ทะเลได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากไม่ใช่วัสดุเสมือนธรรมชาติ อีกทั้งยังทำซ้ำได้ยากและสร้างรอยเท้าคาร์บอน ขนาดใหญ่ ข้อจำกัดเดียวของปะการังจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติคือเรื่องขนาด แม้ว่าจะทำซ้ำได้จำนวนมาก แต่ก็ไม่อา จิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่กว่าแทนพิมพ์ได้ “ยิ่งแท่นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถผลิต และปรับใช้ได้มากขึ้นเท่านั้น” สโกฟิลด์กล่าว นอกจากนี้ เขายังหวังว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้จะถูกนำไปประยุกต์ในงานด้านวิทยาศาสตร์และ สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นและกว้างยิ่งขึ้น “ผมหวังว่างานนี้จะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายในธรรมชาติ” สกอ ฟิล์ดกล่าวปิดท้าย ป่าแอมะซอน แผนความพยายามปกป้องพื้นที่ร้อยละ 80 ของป่าแอ มะซอน สามารถช่วยคนรุ่นต่อไปได้ องค์กรอนุรักษ์และกลุ่มชน พื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของแอมะซอนเรียกร้องให้พื้นที่ร้อย ละ 80 ของป่าแอมะซอนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง ภายในปี 2025 เพื่อปกป้องธรรมชาติจากการตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองแร่ และการขุดน้ำมัน นับเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ 70 ปีขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการ อนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN ที่กลุ่มชนพื้นเมืองได้ร่วมแสดง ความคิดเห็นเพื่อหารือกับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรอนุรักษ์ ธรรมชาติระดับนานาชาติ “นี่เป็นเหตุฉุกเฉิน ไม่ใช่แค่สำหรับ เรา แต่สำหรับมนุษยชาติ” โฆเซ เกรกอริโอ ดิอาซ มิราบาล ผู้นำชนเผ่าชาวคูริปาโกในเวเนซุเอลา กล่าวกับ สำนักข่าวเอเอฟพี และเสริมว่า “เราเคยถูกละเลย แต่ตอนนี้เรามีเสียงแล้ว และเราจะใช้สิทธิ์นี้เพื่อลงคะแนน” ตามการประเมินจากข้อมูลดาวเทียมพบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ป่าแอมะซอนได้สูญเสียพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี จากปัจจัยการรุกล้ำป่าเพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าว เตือนว่า ผืนป่าที่ถูกทำลายส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่นแย่ลงไปอีก และจะส่งผลต่อ ระบบภูมิอากาศโลกด้วยเช่นกัน “เรากำลังขอให้รัฐบาลช่วยปกป้องดินแดนของเรา ซึ่งเป็นของมนุษยชาติด้วย” มิราบาลกล่าวในการแถลงข่าว พร้อมกับผู้นำชนพื้นเมืองจากเฟรนช์เกียนาและเอกวาดอร์ “เพราะถ้าหากผืน ป่าแอมะซอนหายไป ผู้คนในทุกที่จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน” สิ่งที่ผู้นำชนพื้นเมืองขอร้องคือ การหยุด กิจกรรมที่ทำลายป่าจากกลุ่มนายทุนต่างชาติ “สิ่งสำคัญคือต้องหยุดการขุดน้ำมัน ทอง ยูเรเนียม รวมทั้งแร่ ธาตุอื่น ๆ” มิบาราลกล่าวและเสริมว่า “กิจกรรมเหล่านี้สร้างความมั่งคั่งให้ยุโรป สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน แต่มันคือความยากจนสำหรับเรา” ท้ายที่สุดการลงคะแนนเสียงและการหารือจะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หน้า โดยในขณะนี้เจ้าหน้าที่ของ IUCN กำลังทบทวนและรวบรวมข้อเสนอจากชนพื้นเมืองและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่พลาดข้อมูลที่ต้องใช้พิจารณาอย่างรอบด้าน
  • 8. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand ใบไม้เทียม ดวงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานได้มากเพียงพอสำหรับ กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ แต่ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถนำพลังงาน แสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้แต่แผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงาน แสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า แต่แผงโซลาร์เซลล์ก็ผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 25 ของความต้องการพลังงานทั่วโลก และยัง ไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความ ต้องการสูงได้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จึงมองหาทางออก จากธรรมชาติ พวกเขาได้คิดค้น “ใบไม้เทียม” ซึ่งเลียนแบบ กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยหลักการเทคโนโลยีใบไม้ เทียม เทนที่จะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และน้ำ ให้กลายเป็นสารอาหารสำหรับพืชตามปกติ มันกลับ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และน้ำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสะอาดแทน ใบไม้เทียมใช้พลังงานจาก แสงอาทิตย์ในการผลิตก๊าซสะอาดที่เรียกว่า ซินก๊าซ ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าหลาย อย่าง เช่น เชื้อเพลิง ยา พลาสติก และปุ๋ย แต่ซินก๊าซที่ผลิตจากใบไม้เทียมนี้ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมา ต่างกับซินก๊าซที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เออร์วิน ไรส์เนอร์ นักวิจัยอาวุโส หนึ่งในทีม วิจัย ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า “คุณอาจไม่เคยได้ยินคำว่า ซินก๊าซ มาก่อน แต่ทุกวันนี้ คุณ บริโภคสินค้าหลายประเภทที่ใช้ซินก๊าซในกระบวนการผลิต การผลิตซินก๊าซที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็น ก้าวสำคัญในการตัดวัฏจักรคาร์บอนของโลก และสร้างอุตสาหกรรมสารเคมีและเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม” หลักการทำงานของใบไม้เทียมใช้ตัวดูดซับพลังงานแสง 2 ตัว ซึ่งคล้ายกับโมเลกุลในพืชที่เก็บ สะสมแสงอาทิตย์ ตัวดูดซับพลังงานแสงนี้ทำมาจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์และตัวเร่งโคบอลต์ ซึ่ง มีราคาถูกและผลิตคาร์บอนมอนอกไซด์ได้มากกว่าแพลทินัมและเงิน เมื่อนำอุปกรณ์ใบไม้เทียมไปแช่น้ำ ตัวดูด ซับแสงหนึ่งตัวจะเป็นตัวเร่งการผลิตออกซิเจน ในขณะที่ตัวดูดซับแสงอีกตัวหนึ่งจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ให้กลายเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน ซึ่งจะรวมตัวกัน กลายเป็นซินก๊าซ ตัวดูดซับแสงนี้ยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในที่ที่มีแสงอาทิตย์ต่ำ อย่างวันที่ฝนตก และมีเมฆครึ้ม หมายความว่าเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทั่วโลก และใช้ได้ทุกเวลาตั้งแต่เช้าถึงพลบค่ำ ปัจจุบัน ทีมวิจัยกำลังมองหาวิธีที่จะใช้เทคโนโลยีของพวกเขาในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวที่ยั่งยืนแทนปิโตรเลียม ซึ่งซินก๊าซถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวอยู่แล้ว “สิ่งที่พวกเราจะทำต่อไปคือ แทนที่จะ สร้างซินก๊าซก่อน แล้วค่อยนำซินก๊าซไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงเหลว เราจะสร้างเชื้อเพลิงเหลวด้วยขั้นตอนเดียว จากคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเลย” ไรส์เนอร์กล่าว ความก้าวหน้าในการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเชื้อเพลิงเหลวเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับการคมนาคมขนส่งจำพวกเรือและเครื่องบิน เทคโนโลยีใบไม้เทียมจึงเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการผลิตเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นกชายเลน ผู้ล่าที่มีบทบาทสำคัญบนหาดเลน หาดเลน เป็นพื้นที่ทางธรรมชาติที่ดูเรียบง่าย แร้นแค้น ไร้พืชพรรณ มีเพียงผืนเลน เวิ้งน้ำ และท้องฟ้า แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์ดูอย่างใกล้ชิดแล้วจะเห็นความวุ่นวายของชีวิตอลหม่านอยู่ทั่วทั้งผืน เป็นเหมือนสมรภูมิ ของสิ่งชีวิตที่ต้องเอาตัวรอดกันชั่วโมงต่อชั่วโมง แต่ละชีวิตบนผืนเลนนี้ต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อตอบสนองต่อ สภาพแวดล้อมสุดขั้วที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งวัน อันเป็นผลมาจากปราฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
  • 9. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand ส่งผลให้ผู้ล่าระดับสูงในห่วงโซ่อาหารของพื้นที่หาดเลน อย่างนกนานาชนิด ต้องปรับตัวทั้งทางร่างกายและ พฤติกรรมตามไปด้วย ในช่วงน้ำขึ้น ทั่วทั้งหาดอยู่ใต้น้ำ ดังนั้นความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่เมื่อน้ำลง จนเผยผืนดินความชื้นลดต่ำอย่างฉับพลัน และต้องเผชิญกับความร้อนที่แผดเผาของดวงอาทิตย์ สิ่งมีชีวิตขนาด เล็กทั้งปู หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยตามหน้าดิน จึงมีพฤติกรรมเอาตัวรอดอย่างหนึ่งร่วมกันก็คือ “มุดลงใต้ดิน” ทำให้นกชายเลนหลายชนิดมีปากที่ยาวอย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับขนาดหัวของพวกมัน นั่นก็ เพื่อควานหาเหยื่อที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินที่มองไม่เห็นนั่นเอง และเพื่อให้ชีวิตที่อาศัยอยู่กับแหล่งน้ำสะดวกมากขึ้น นกชายเลนหลายชนิดก็ยังมีขาที่ยาวอีกด้วย สำหรับการเดินท่องน้ำลึก แต่อีกหลายชนิดที่ขนาดตัวเล็กก็เลือกที่ จะหากินตามพื้นที่ที่แห้งกว่า หรือมีระดับน้ำเหมาะสมกับกายวิภาคของตัวเอง นอกจากหาดเลนที่เป็นพื้นที่หลักในการหากินแล้ว พื้นที่ ชุ่มน้ำตามแนวชายฝั่งเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นที่ให้นกชาย เลนได้หลบพัก หรือใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหารทางเลือกเมื่อ ยามน้ำขึ้นเต็มฝั่ง สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคกลาง ตามแนวขอบชายฝั่งอ่าวไทยเป็นที่นิยมการทำนาเกลือมาช้านาน ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อวิถีชีวิตนกชายเลนอย่างมหาศาล ทำให้นกชาย เลนหลายชนิดยังหากินได้แม้จะเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกลือไทยราคาตกต่ำในปัจจุบันส่งผล ให้สถานการณ์ของนาเกลือไม่สู้ดีนัก หลายพื้นที่ถูกขายเพื่อใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น อีกทั้งกระแสปลูกป่าชาย เลนที่ลุกลามไปยังหาดเลนเปิดกว้างที่ไม่ต้องการพรรณไม้ชายเลนก็ยังลดพื้นที่หากินของนกชายเลนอีกด้วย เต่าปูลู พบเต่าปูลูในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย หลังจากเคยพบเมื่อ 2 ปีที่ ผ่านมา เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเวียง โกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ พบเต่าปูลู (ไม่ทราบเพศ) จำนวน 1 ตัว บริเวณศาลาที่พักน้ำตกแม่เกิ๋งหลวง เจ้าหน้าที่จึงได้นำไปวัดขนาดและชั่ง น้ำหนักเพื่อทำการเก็บข้อมูลต่อไป ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่กล่าว่า เคยพบ เต่าปูลูหนึ่งตัวบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า เต่าปูลูที่พบล่าสุดเป็นตัวเดียวกับที่พบ ครั้งก่อนหรือไม่ ภาพถ่าย: อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ข้อมูลทั่วไปของเต่าปูลู "เต่าปูลู" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum จัดอยู่ในวงศ์ Platysternidae เป็น เต่าขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม กระดองเล็กแบนและมีสีน้ำตาลเข้ม หัวโตหดเข้ากระดองไม่ได้ ปากคมแข็งแรงคล้ายปากนกแก้ว ขาใหญ่หดเข้ากระดองไม่ได้เช่นกัน ปลายเท้ามีเล็บสามารถปีนขึ้นขอนไม้ หรือก้อนหินได้ หางยาวกว่ากระดอง มีเดือยแหลมอยู่ระหว่างขาและก้นข้างละอัน ในช่วงหลังแรกเกิดส่วนหัวมีสีออกส้ม เมื่อโตขึ้นหัวค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ ความยาวลำตัวที่เคย บันทึกได้มีความยาวสูงสุด 17 เซนติเมตร ถิ่นอาศัย
  • 10. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand พบในแถบอินโดจีน สำหรับประเทศไทยพบตามภูเขาในจึงหวัดเลย เพชรบูรณ์ สกลนคร น่าน และ แพร่ อาหาร เต่าปูลูมักกินสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อย่างกบและ เขียด พฤติกรรม เต่าปูลูสามารถปีนป่ายโขดหินและต้นไม้ได้จึงชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง ลำธารน้ำตก และพื้นที่ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน และจำศีลในฤดูหนาวโดยหลบอาศัยอยู่ ในซอกหิน หรือตามโพรงไม้ใต้น้ำ เต่าปูลูไม่ค่อยออกหากินในช่วงจำศีลแต่ชอบปีนตอไม้ขึ้นไปอาบแดด ฤดู วางไข่ของเต่าปูลูคือช่วงปลายเดือนเมษายน นอกจากนี้ เต่าปูลูยังเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ป่าต้น น้ำที่สมบูรณ์ สถานภาพการคุ้มครอง เต่าปูลูเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง พ.ศ. 2546 IUCN (2011) จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II) การดื่มเบียร์เมื่อ 9,000 ปีก่อน ทีมนักสำรวจพบซากภาชนะบรรจุเบียร์ ที่มีอายุย้อนกลับไป 9,000 ปี ทีมนักมานุษวิทยาได้ค้นพบแหล่ง โบราณคดีในเขตเมืองเฉียวโถว มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มีอายุกว่า 9,000 ปี โดยพบ โครงกระดูกมนุษย์ 2 ชิ้น พร้อมกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็ก ซึ่งพวกเขาคาดว่าน่าจะเกี่ยวกับพิธีฝังศพ มากกว่าเป็นภาชนะสำหรับมื้ออาหารปกติ “จากการวิเคราะห์เศษหม้อและภาชนะเครื่องปั้นดินเผา พบว่ามัน ถูกใช้เพื่อเก็บเบียร์” เจียจิง หวัง นักมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ หนึ่งในทีมสำรวจ กล่าว “โดยทั่วไป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุคนั้น น่าจะหมักจากข้าวและเมล็ดพืช” แต่ก็ไม่เหมือนเบียร์ในปัจจุบัน หวังกล่าว เสริมว่า “ครื่องดื่มน่าจะมีรสหวานและสีขุ่นกว่า” พวกเขาได้วิเคราะห์ซากไมโครฟอสซิล อย่างแป้งและเชื้อรา ที่สกัดจากผิวด้านในของเครื่องปั้นดินเผาและเปรียบเทียบสารประกอบอื่นๆ กับตัวอย่างควบคุมจากดินรอบ ๆ ภาชนะ ซึ่งทำให้สามารถระบุจุลินทรีย์ที่สำรวจพบได้ และทำให้พวกเขาทราบข้อมูลว่า เป็นจุลินทรีย์สำหรับ การหมักเครื่องดื่ม ไม่ใช่จุลินทรีย์ในดินที่อยู่หลุมศพ “เราไม่รู้ว่าพวกเขาสร้างหัวเชื้อได้อย่างไรเมื่อ 9,000 ปี ก่อน” หวังกล่าวและเสริมว่า “อาจมความเป็นไปได้ว่ามีข้าวเหลืออยู่ในบ้านและเมล็ดพืชขึ้นราจากการเก็บ รักษา พวกเขาอาจสังเกตเห็นว่ามันมีรสหวานและมีกลิ่นแอลกอฮอล์ แม้ว่าพวกเขาไม่มีความรู้ทางชีวเคมีที่ เกี่ยวข้องกับธัญพืชที่ขึ้นรา แต่กระบวนการหมักอาจเกิดจากการลองผิดลองถูก” เชื้อราคือสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิตเบียร์ ซึ่งเปลี่ยนสารประกอบจำพวกแป้งในเมล็ดพืชให้กลายเป็น น้ำตาล หลังจากนั้น จะเกิดกระบวนการหมักน้ำตาลจนกลายเป็นแอลกอฮอล์ โดยราที่พวกเขาสำรวจพบมี ความคล้ายคลึงกับราที่ใช้ในการหมักสาเก และเครื่องดื่มประเภทหมักอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก แม้มนุษย์ใน ปัจจุบันจะใช้เบียร์เพื่อการเข้าสังคมและเพื่อสังสรรค์พักผ่อน แต่ทางทีมวิจัยตั้งสมมิตฐานว่า เครื่อมดื่มเบียร์ ในยโบราณเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมการฝังศพ และเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย เนื่องจากพื้นที่ที่พบนั้นห่างจากแหล่ง ที่อยู่อาศัย และพบการศพอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ในขณะที่นักวิจัยบางคนโต้แย้งว่าเครื่องดื่มแอลกฮอล์โบราณ ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อการสร้างความสันพันธ์ทางสังคม และส่งเสริมความร่วมมือกันเช่นเดียวกับที่เรา ทำในปัจจุบัน
  • 11. รวบรวม : พิษณุ ดวงกระโทก รวบรวมเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน ที่มา National Geographic Thailand เบียร์โบราณพี่พบในจีนเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาสังคมการทำนาข้าวที่ซับซ้อนของมณฑลเจ้อเจียง อย่าปฏิเสธไม่ได้ "ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เบียร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของพิธีฝังศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดสังคมเกษตรกรรมที่ซับซ้อนในอีก 4 พันปีต่อมา" หวัง เขียนไว้ในบทความที่เผยแพร่ใน วารสาร Plos One / Pearl : The Microbiome เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการค้นพบครั้งนี้จะย้อนกลับไปถึง 9,000 ปี แต่นี่ไม่ใช่ตัวอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เก่าแก่ที่สุดในอารยธรรมมนุษย์ ตัวอย่างเก่าแก่ที่สุดคือเบียร์ของชาวนาตูเฟียนโบราณ ที่ผลิตจากข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และส่วนผสมอื่น ๆ ที่อยู่ในดินแดนของประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ซึ่งมีอายุกว่า 13,000 ปี ข้อมูลอ้างอิง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.บทความเรื่อง เครื่องดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.สืบค้นและเรียบเรียง ภัทราพร ชัยบุตร.บทความเรื่อง สิงคโปร์บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่ม.สืบค้นและเรียบเรียง JONATHAN MOENS.บทความเรื่อง ต้นไม้อายุนับร้อยปี-พันปีที่ยังคงแผ่ร่มเงาทั่วอิตาลี เจสัน บิตเทล.บทความเรื่อง เรื่องเล่าจากช่างภาพสัตว์ป่า วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.บทความเรื่อง สแตนฟอร์ดพัฒนาการตัดต่อยีนแบบใหม่ที่เล็กกว่า CRISPR.สืบค้น และเรียบเรียง NINA STROCHLIC.บทความเรื่อง อิสรภาพช่วงสุดท้ายของผู้หญิงอัฟกานิสถาน วิศรุต วีระโสภณ.บทความเรื่อง มองอัตลักษณ์ชาวมุสลิมกรุงเทพผ่านสถาปัตยกรรมมัสยิด.เรื่องและภาพ ภาพถ่าย อเล็กซ์ สโกฟิลด์ สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.ปะการังเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ความหวังของการฟื้นฟูแนวปะการัง สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล.ป่าแอมะซอน ภาพถ่าย Virgil Andrei สืบค้นและเรียบเรียง ภัทราพร ชัยบุตร ใบไม้เทียม นกชายเลน ผู้ล่าที่มีบทบาทสำคัญบนหาดเลน เรื่อง : วัทธิกร โสภณรัตน์ ภาพถ่าย : วัทธิกร โสภณรัตน์ ภัทราภรณ์ วังตาล และเข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง การดื่มเบียร์เมื่อ 9,000 ปีก่อน ภาพถ่าย Jiajing Wang สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล