SlideShare a Scribd company logo
1 of 27
Download to read offline
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
สาระสาคัญของรัฐธรรมนูญไทย
ประเทศไทยแต่เดิมนั้น อานาจในการปกครองแผ่นดินเป็นสิทธิขาดของ
พระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว หรือที่เรียกว่าระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ใน รัช-
สมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้รับ
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ต่อมาพระองค์ทรงพระราชทาน ฉบับถาวร
ให้ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จากนั้นทางราชการจึงให้วันที่วันที่ 10
ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 ของไทยที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันประกาศใช้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2550
ลักษณะทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการ
ปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ
ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้น
จะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้อง
กับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ
อานาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กาหนดรูปแบบให้ประเทศไทย
เป็นรัฐเดี่ยวไม่สามารถแบ่งแยกได้ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฐานะของพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กาหนดไว้ อานาจอธิปไตยอันเป็นอานาจ
สูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ อานาจนิติบัญญัติ อานาจบริหาร และ
อานาจตุลาการ อานาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดย
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อานาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อานาจนิติบัญญัติ
ผ่านทางรัฐสภา อานาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอานาจตุลาการ
ผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช
2550 หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
1. ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิ
และเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้
อานาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองและ
เสนอกฎหมายได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและ
ประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และ
ถ่วงดุลการใช้อานาจ
สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและ
คุ้มครองให้
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทาหรืองด
เว้นกระทาการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจ
กลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกาหนดให้กระทา
หรืองดเว้นกระทา เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ
สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย
1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครอง
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุณกรรม
หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญ
ห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ หรือภาพไปสู่สาธารชน
ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง
และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่
ในบ้านแล้วนาไปพิมพ์จาหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้านเป็นสถานที่อยู่อาศัย
สามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน
แม้แต่อานาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัย
ในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
4. เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ ประชาชนมี
สิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดใน
ราชอาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออก
นอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาใน
ราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะ
จากัดเสรีภาพนี้
5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสาร
ถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ
กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทาวิธีการต่าง ๆ
เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่
ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมาย
เฉพาะอนุญาตให้ทาได้
6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือ
ศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐธรรมนูญห้ามเกณฑ์
แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมาย
เฉพาะให้อานาจไว้ เช่น ป้ องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่าง
ฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีเสรีภาพในการ
แสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่
งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐธรรมนูญส่งเสริมทางทางาน
วิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน
การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่
ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
10. เสรีภาพในการชุมชน การชุมนุมที่กระทาได้ต้องเป็น
การชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชนสามารถ
รวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น
รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร
องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
12. เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง การรวมกลุ่ม
ของประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน อาจ
ออกมาในรูปของการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้าง
เจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและดาเนินกิจการทาง
การเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น
13. สิทธิต่อต้านการยึดอานาจ การธารงรักษาไว้ซึ่ง
ประชาธิปไตย อาจต้องใช้วิธีต่อต้านการยึดอานาจใน
การปกครองประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทาง
ของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้กาลังปฏิวัติรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญกาหนดว่าการต่อต้านต้องทาโดยสันติวิธี
14. สิทธิในทรัพย์สิน มนุษย์จาเป็นต้องหาทรัพย์สินเงิน
ทอง และเก็บไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากทรัพย์ที่
อุตส่าห์หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องถูกผู้อื่นฉกฉวย
เอาไป ย่อมไม่เป็นธรรมต่อเขา รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครอง
สิทธิในทรัพย์สิน และการตกทอดของทรัพย์สินไปยัง
ทายาท
15. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บุคคลสามารถประกอบ
กิจการ หรือประกอบอาชีพใดก็ได้โดยมีกติกาคือให้แข่งขัน
กันโดยเสรีและเป็นธรรม เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจากัด
หากมีกฎหมายเฉพาะให้ทาได้ เช่น ไปประกอบอาชีพที่
ทาลายสิ่งแวดล้อม หรือความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของ
ประเทศเป็นต้น
16. สิทธิในการได้รับการศึกษา ประชาชนมีสิทธิได้รับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐบาลต้องจัด
ให้มีโรงเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ
ค่าใช้จ่ายจากผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการศึกษาต้อง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนมีส่วนร่วม
ด้วย
17. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุข ประชาชนมี
สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การ
บริการสาธารณสุขของรัฐต้องทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนยากจนมีสิทธิได้รับบริการ
รักษาพยาบาลจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การดูแล
สิ่งแวดล้อมให้ได้ผลจาต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน
รัฐธรรมนูญให้โอกาสประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับรัฐและ
ชุมชน ในการบารุงรักษา และได้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้ง
การคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. สิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้บริโภค หรือ
ใช้สินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจาก
พ่อค้า รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค
รวมทั้งให้สร้างองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนผู้บริโภค
20. สิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การที่ประชาชนจะติดตาม
ตรวจสอบการทางานของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างได้ผลนั้น
ประชาชนต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนข้อมูลที่อยู่ในความ
ครอบครองของหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสารธรณชน
และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
21. สิทธิเกี่ยวกับการกระทาทางการปกครอง ในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การออกคาสั่งหรือการกระทา
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
รัฐธรรมนูญจึงกาหนดให้บุคคลนั้นมีสิทธิ มีส่วนร่วมใน
กระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อมีการปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ
สิทธิและเสรีภาพสาหรับบุคคลบางจาพวก
นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนแล้ว
รัฐธรรมนูญยังคานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มคนบาง
จาพวก ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชน
รัฐธรรมนูญป้ องกันการริดรอนเสรีภาพในการเสนอ
ข่าวสารของสื่อสารมวลชน จึงห้ามสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุ
หรือสถานีโทรทัศน์ และห้ามการเซ็นเซอร์ข่าว หรือการส่งให้
เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อนเผยแพร่เว้นแต่กระทาในระหว่าง
ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบและต้องอาศัย
อานาจของกฎหมาย
พนักงานหรือลูกจ้างในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าว
และแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของ
หน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดกับ
จรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญถือว่า “คลื่นความถี่” ที่ใช้ใน
การส่งวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากร
สื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงกาหนดให้มี
องค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกากับดูแล
การประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคม
2. เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว
รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคล
ในครอบครัว ให้พ้นจากการใช้ความรุนแรง และการ
ปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เช่น การที่สามีใช้กาลังทุบทาร้าย
ภรรยาและบุตร หรือบิดามารดาล่ามโซ่บุตรที่วิกลจริต
สาหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการ
เลี้ยงดูและการศึกษาจากรัฐ
3. บุคคลสูงอายุ บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่
มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
จากรัฐ
4. ผู้พิการ คนพิการ หรือทุพพลภาพ ถือเป็นผู้ด้อยโอกาส
รัฐธรรมนูญกาหนดให้มีสิทธิได้รับสิ่งอานวยความสะดวกอัน
เป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทหาร ตารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่น
ของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างของ
องค์การของรัฐ มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
เว้นแต่ถูกจากัดโดยกฎหมายเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับ
การเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา บุคคลที่เกี่ยวข้องใน
คดีอาญามีทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จาเลย ผู้ต้องหาที่ถูกนาตัว
ฟ้ องศาลแล้ว พยานที่ไปให้การต่อศาลและถูกคุมขัง
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
1. หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และ
การปกครองระบบประชาธิปไตย
2. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรณีผู้มีสิทธิออกเสียง
เลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุอัน
ควร หรือแจ้งแต่ไม่ใช้เหตุอันควร จะเสียสิทธิ 8
ประการ
3.1 สิทธิยื่นร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิก
สภาท้องถิ่น
3.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกานันและผู้ใหญ่บ้าน
3.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิก
สภาท้องถิ่น
3.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกานันและผู้ใหญ่บ้าน
3.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
3.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออก
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
3.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน
บุคคล
3.8 สิทธิเข้าชื่อร้องให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น
4. หน้าที่ป้ องกันประเทศ
5. หน้าที่รับราชการทหาร
6. หน้าที่เสียภาษีอากร
7. หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
8. หน้าที่รับการศึกษาอบรม
9. หน้าที่พิทักษ์ปกป้ องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของ
ชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่าย
ตุลาการ
อานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
รัฐสภา คือ องค์กรที่มีอานาจหน้าที่ในการตรากฎหมายเพื่อใช้บังคับ
ภายในรัฐแบ่งออกเป็น 3 ประการ การตรากฎหมาย การควบคุมการ
บริหารราชการแผ่นดินและการให้ความเห็นชอบในเรื่องสาคัญของ
แผ่นดิน
1. โครงสร้างของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
2550 ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
1.1 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของ
ราษฎร มีจานวน 500 คน แบ่งสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เขตละ 1 คน จานวน 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่
พรรคการเมืองจัดตั้งขึ้นจานวน 125 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในการเลือกตั้งทั่วไปแบ่งเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรก
คือ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 1 คน
ส่วนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจากบัญชี
รายชื่อพรรคการเมืองจัดทาขึ้น ราษฎรจะเลือกพรรคการเมือง
ได้เพียงพรรคเดียว
กฎหมายรัฐธรรมนูญ

More Related Content

What's hot

กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกYosiri
 
กฎหมายลักษณะครอบครัว
กฎหมายลักษณะครอบครัวกฎหมายลักษณะครอบครัว
กฎหมายลักษณะครอบครัวSukit U-naidhamma
 
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2Narong Jaiharn
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้Yosiri
 
017 แบบฟอร์ม (ใบแต่งทนาย)
017 แบบฟอร์ม  (ใบแต่งทนาย)017 แบบฟอร์ม  (ใบแต่งทนาย)
017 แบบฟอร์ม (ใบแต่งทนาย)Saravuth Charatpinit
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมYosiri
 
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตY'tt Khnkt
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...Parun Rutjanathamrong
 
กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายภาษีอากรกฎหมายภาษีอากร
กฎหมายภาษีอากรYosiri
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญาYosiri
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้montira
 
สัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างแรงงานสัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างแรงงานArpasara Thepjamnong
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัวYosiri
 

What's hot (20)

กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
Con10
Con10Con10
Con10
 
กฎหมายลักษณะครอบครัว
กฎหมายลักษณะครอบครัวกฎหมายลักษณะครอบครัว
กฎหมายลักษณะครอบครัว
 
คำฟ้อง
คำฟ้องคำฟ้อง
คำฟ้อง
 
ละเมิด
ละเมิดละเมิด
ละเมิด
 
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
 
017 แบบฟอร์ม (ใบแต่งทนาย)
017 แบบฟอร์ม  (ใบแต่งทนาย)017 แบบฟอร์ม  (ใบแต่งทนาย)
017 แบบฟอร์ม (ใบแต่งทนาย)
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม
 
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
 
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีสั่งทำลายไก่เพื่อป้องกันโรคระบาด แบบฟอร์มราชการจ...
 
กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายภาษีอากรกฎหมายภาษีอากร
กฎหมายภาษีอากร
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
 
Con1
Con1Con1
Con1
 
สัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างแรงงานสัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างแรงงาน
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัว
 
Con4
Con4Con4
Con4
 
แผ่นพับเพศศึกษา
แผ่นพับเพศศึกษาแผ่นพับเพศศึกษา
แผ่นพับเพศศึกษา
 

Similar to กฎหมายรัฐธรรมนูญ

การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติWarinthorn Limpanakorn
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมายmarena06008
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาThongkum Virut
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3thnaporn999
 

Similar to กฎหมายรัฐธรรมนูญ (9)

การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
4สมัยประชาธิปไตย
4สมัยประชาธิปไตย4สมัยประชาธิปไตย
4สมัยประชาธิปไตย
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมาย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3
 

กฎหมายรัฐธรรมนูญ