SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
1
ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๓ ภัทราวุธปัญหา
ปัญหาเรื่อง ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหาแก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(๑๒) ภัทราวุธปัญหา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๒. ภัทราวุธมาณวกปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
[๑๑๐๘] (ภัทราวุธมาณพทูลถามดังนี้ ) ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์ ผู้ละห้วงน้าคือ
อาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุด
พ้นแล้ว ละการกาหนดได้ มีพระปัญญาดี ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงกลับไปจากที่นี้
[๑๑๐๙] ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลายมาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะได้ฟังพระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหาแก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว
[๑๑๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่น (เครื่องยึดมั่น
หมายถึงรูปตัณหา คือ ยึดมั่น ถือมั่นในรูปเป็นต้น) ทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง เพราะว่าสัตว์
ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั ่นแล
[๑๑๑๑] เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด เพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช
(บ่วงแห่งมัจจุราช หมายถึงกิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร) ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น ควรเป็นผู้มีสติ ไม่
เข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
ภัทราวุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒ จบ
--------------------------------------------------
2
ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
(คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส)
[๗๐] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ )
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกาหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้
(๑) คาว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ในคาว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้
หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกาหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย (อุบาย ในที่นี้
หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ) และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทาให้ไม่มีเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้าคืออาลัยได้ ความพอใจ ความ
กาหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอน
เนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงละได้เด็ดขาดแล้วตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้
คาว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า
คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ ตัดขาดแล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทาให้สงบได้แล้ว ระงับได้
แล้ว ทาให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าตัดตัณหาได้
3
คาว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า เหตุให้หวั่นไหว ได้แก่ ความ
กาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า
จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละตัณหาเหตุให้หวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้
หวั่นไหว พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงหวั่นไหว คือ ไม่ทรงสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้านเพราะ
ได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะได้
สุข เพราะทุกข์บ้าง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว รวมความว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคือ
อาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คาว่า ภัทราวุธ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านภัทราวุธทูลถาม
ดังนี้
คาว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความเพลิดเพลิน
คือตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละความ
เพลิดเพลินได้
คาว่า ข้ามห้วงกิเลสได้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น
ล่วงพ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรง
อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มี การเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และ
ภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว
คาว่า หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดี
แล้วจากราคะ จิตของพระผู้พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโทสะ จิตของพระผู้มี
พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโมหะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้น
แล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า ละความ
เพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว
คาว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ... ละการกาหนด มีพระปัญญาดี อธิบายว่า
คาว่า การกาหนด ได้แก่ การกาหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกาหนดด้วยอานาจตัณหา (๒) การ
กาหนดด้วยอานาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าการกาหนดด้วยอานาจตัณหา ฯลฯ นี้ ชื่อว่าการกาหนดด้วยอานาจ
ทิฏฐิ
4
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละการกาหนดด้วยอานาจตัณหา สลัดทิ้งการกาหนดด้วยอานาจ
ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละการกาหนดด้วยอานาจตัณหา สลัดทิ้งการกาหนดด้วยอานาจทิฏฐิ
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละการกาหนด
คาว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ได้แก่ ทูลขอ ทูลอาราธนา คือ อัญเชิญ ยินดี ปรารถนา มุ่ง
หมาย พอใจ มุ่งหวัง
คาว่า มีพระปัญญาดี อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา (ปัญญาเครื่องทาลายกิเลส) ได้แก่
ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดาเนินไป ดาเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องทาลายกิเลสนี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่ามีพระปัญญาดี รวมความว่า ข้า
พระองค์ขอทูลอาราธนา ...ละการกาหนด มีพระปัญญาดี
คาว่า ผู้นาคะ ในคาว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจาก
ที่นี้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทาความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะ
ไม่ทรงถึง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะ
ไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้
คาว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับไปจากที่นี้ (จากที่นี้ ใน
ที่นี้ หมายถึง จากปาสาณกเจดีย์) อธิบายว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟัง คือ ครั้นได้สดับ เรียน ทรงจา เข้าไป
กาหนดแล้วซึ่งพระดารัส คือ คาที่เป็นแนวทาง เทศนา คาสั่งสอน คาพร่าสอนของพระองค์ จึงจักกลับ คือ
ดาเนินไป จากไป ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่จากที่นี้ รวมความว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้
นาคะแล้วจึงจักกลับไปจากที่นี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ )
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกาหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้
[๗๑] (ท่านภัทราวุธทูลถามว่า)
ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย
5
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
(๒) คาว่า ชนต่างๆ ในคาว่า ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์
คาว่า จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) อธิบายว่า จากแคว้นอังคะ มคธ กลิงคะ กาสี
โกศล วัชชี มัลละ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี โยนะ(คันธาระ) และกัมโพชะ
คาว่า มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) อธิบายว่า มาชุมนุมกัน คือ มาพร้อมกัน มารวมกัน มาประชุมกัน
(ในที่นี้ ) รวมความว่า ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน (ในที่นี้ )
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ
คาว่า ข้าแต่พระวีระ ในคาว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)พระดารัสของ
พระองค์ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร
ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง
เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น
คาว่า ข้าแต่พระวีระ...หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์ ได้แก่ พระดารัส คาที่
เป็นแนวทาง เทศนา คาพร่าสอน
คาว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) คือ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่ง
หมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์
คาว่า แก่ชนเหล่านั้น ในคาว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วย
เถิด อธิบายว่า แก่ชนเหล่านั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
6
คาว่า พระองค์ เป็นคาที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คาว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหา) ... ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์
โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คาว่า เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะว่า พระองค์ทรงทราบแล้ว คือ
ทรงรู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทาให้กระจ่างแล้ว ทาให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรด
พยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่งแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่าและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั ่นแล
(๓) คาว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า รูปตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
คาว่า เครื่องยึดมั่น อธิบายว่า รูปตัณหา ท่านเรียกว่าเครื่องยึดมั่น เพราะเหตุไร เพราะสัตว์
ทั้งหลายย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปด้วยตัณหานั้น ฯลฯ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อม
ยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ
อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น รูปตัณหาเป็นต้นนั้น ท่านจึงเรียกว่า
เครื่องยึดมั่น
คาว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า นรชนควรทาลาย คือ พึงขจัด ละ บรรเทา
ทาให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งเครื่องยึดมั่นทั้งหมด รวมความว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้ง
ปวง
คาว่า ภัทราวุธ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
7
คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่าพระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกา
บัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าภัทราวุธ
คาว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่าชั้นต่า ปัจจุบัน ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
กุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นต่า อัพยากตธรรมตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
เทวโลก ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่าชั้นต่า มนุษยโลก ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นต่า อทุกขมสุขเวทนาตรัสเรียกว่าชั้น
กลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นต่า รูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่าชั้นสูง เบื้องต่าจากปลายผมลงมาตรัสเรียกว่าชั้นต่า ตรง
กลาง ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง รวมความว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง
คาว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก อธิบายว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายยึดถือ เข้า
ไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใดๆ
คาว่า ในโลก อธิบายว่า ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก รวมความว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไป
ยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก
คาว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล อธิบายว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร
คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตาม คือ ไปตาม เป็น
ผู้ติดตามไปด้วยอานาจกัมมาภิสังขารนั้นนั่นเอง
คาว่า สัตว์ ได้แก่ ผู้ข้อง ชน นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม
มนุษย์ รวมความว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่าและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล
[๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
8
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
(๔) คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น
คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุเมื่อมองเห็นโทษแห่งตัณหา
เครื่องยึดมั่นนี้ รวมความว่า เพราะฉะนั้น
คาว่า เมื่อรู้ชัด อธิบายว่า รู้อยู่ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ชัด รู้แจ่ม
แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คาว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือ
มั่นรูป ฯลฯ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด ... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
คาว่า ภิกษุ ในคาว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ได้แก่ ภิกษุผู้เป็น
กัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นเสขะ
คาว่า ควรเป็นผู้มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐาน
พิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ
คาว่า เครื่องกังวล ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณไรๆ
คาว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธ
โลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวล ใน
โลกทั้งปวง
คาว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ชนเหล่าใดยึดถือ เข้าไปยึดถือ
ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ฯลฯ ได้แก่ ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร
ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ ชนเหล่านั้นตรัส
เรียกว่า ผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คาว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ เพ่งพิจารณา แลเห็น มองเห็น เห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา รวม
ความว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คาว่า หมู่สัตว์ ในคาว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช เป็นชื่อของสัตว์
คาว่า บ่วงแห่งมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า บ่วงแห่งมัจจุราช
หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือ บ่วงแห่งมาร บ่วง
แห่งมรณะ อธิบายว่า สิ่งของที่ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่เครื่อง
9
แขวนทาด้วยงาช้าง ฉันใด หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือบ่วง
แห่งมาร บ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้น รวมความว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจึงตรัสว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ภัทราวุธมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๒ จบ
-------------------------------------------------

More Related Content

Similar to ๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf

๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘Tongsamut vorasan
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdf๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Tongsamut vorasan
 
บาลี 37 80
บาลี 37 80บาลี 37 80
บาลี 37 80Rose Banioki
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Wataustin Austin
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Tongsamut vorasan
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔Tongsamut vorasan
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Jariya Huangjing
 

Similar to ๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf (20)

๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
 
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘
3 38คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๘
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
 
๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdf๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdf
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
บทสวดมนต์
บทสวดมนต์บทสวดมนต์
บทสวดมนต์
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
บาลี 37 80
บาลี 37 80บาลี 37 80
บาลี 37 80
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔
2 26คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๔
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
 
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf

  • 1. 1 ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๓ ภัทราวุธปัญหา ปัญหาเรื่อง ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหาแก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (๑๒) ภัทราวุธปัญหา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ๑๒. ภัทราวุธมาณวกปัญหา ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ [๑๑๐๘] (ภัทราวุธมาณพทูลถามดังนี้ ) ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์ ผู้ละห้วงน้าคือ อาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุด พ้นแล้ว ละการกาหนดได้ มีพระปัญญาดี ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว จึงกลับไปจากที่นี้ [๑๑๐๙] ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลายมาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้ฟังพระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหาแก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว [๑๑๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่น (เครื่องยึดมั่น หมายถึงรูปตัณหา คือ ยึดมั่น ถือมั่นในรูปเป็นต้น) ทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง เพราะว่าสัตว์ ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั ่นแล [๑๑๑๑] เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด เพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช (บ่วงแห่งมัจจุราช หมายถึงกิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร) ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น ควรเป็นผู้มีสติ ไม่ เข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ภัทราวุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒ จบ --------------------------------------------------
  • 2. 2 ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ (คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส) [๗๐] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ ) ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์ ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว ละการกาหนด มีพระปัญญาดี ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจากที่นี้ (๑) คาว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ในคาว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้ หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกาหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย (อุบาย ในที่นี้ หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ) และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ แต่พื้นที่ ทาให้ไม่มีเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้าคืออาลัยได้ ความพอใจ ความ กาหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอน เนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงละได้เด็ดขาดแล้วตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ คาว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ ตัดขาดแล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทาให้สงบได้แล้ว ระงับได้ แล้ว ทาให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าตัดตัณหาได้
  • 3. 3 คาว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า เหตุให้หวั่นไหว ได้แก่ ความ กาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาเหตุให้หวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละตัณหาเหตุให้หวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้ หวั่นไหว พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงหวั่นไหว คือ ไม่ทรงสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้านเพราะ ได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะได้ สุข เพราะทุกข์บ้าง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว รวมความว่า ผู้ทรงละห้วงน้าคือ อาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว คาว่า ภัทราวุธ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ คาว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความเพลิดเพลิน คือตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละความ เพลิดเพลินได้ คาว่า ข้ามห้วงกิเลสได้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรง อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มี การเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และ ภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว คาว่า หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดี แล้วจากราคะ จิตของพระผู้พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโทสะ จิตของพระผู้มี พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโมหะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้น แล้ว หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า ละความ เพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว คาว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ... ละการกาหนด มีพระปัญญาดี อธิบายว่า คาว่า การกาหนด ได้แก่ การกาหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกาหนดด้วยอานาจตัณหา (๒) การ กาหนดด้วยอานาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าการกาหนดด้วยอานาจตัณหา ฯลฯ นี้ ชื่อว่าการกาหนดด้วยอานาจ ทิฏฐิ
  • 4. 4 พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละการกาหนดด้วยอานาจตัณหา สลัดทิ้งการกาหนดด้วยอานาจ ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละการกาหนดด้วยอานาจตัณหา สลัดทิ้งการกาหนดด้วยอานาจทิฏฐิ พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละการกาหนด คาว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ได้แก่ ทูลขอ ทูลอาราธนา คือ อัญเชิญ ยินดี ปรารถนา มุ่ง หมาย พอใจ มุ่งหวัง คาว่า มีพระปัญญาดี อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา (ปัญญาเครื่องทาลายกิเลส) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดาเนินไป ดาเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องทาลายกิเลสนี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่ามีพระปัญญาดี รวมความว่า ข้า พระองค์ขอทูลอาราธนา ...ละการกาหนด มีพระปัญญาดี คาว่า ผู้นาคะ ในคาว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจาก ที่นี้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงทาความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะ ไม่ทรงถึง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะ ไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้ คาว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับไปจากที่นี้ (จากที่นี้ ใน ที่นี้ หมายถึง จากปาสาณกเจดีย์) อธิบายว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟัง คือ ครั้นได้สดับ เรียน ทรงจา เข้าไป กาหนดแล้วซึ่งพระดารัส คือ คาที่เป็นแนวทาง เทศนา คาสั่งสอน คาพร่าสอนของพระองค์ จึงจักกลับ คือ ดาเนินไป จากไป ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่จากที่นี้ รวมความว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้ นาคะแล้วจึงจักกลับไปจากที่นี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ ) ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์ ผู้ทรงละห้วงน้าคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ทรงละความเพลิดเพลินได้ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว ละการกาหนด มีพระปัญญาดี ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดารัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจากที่นี้ [๗๑] (ท่านภัทราวุธทูลถามว่า) ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย
  • 5. 5 มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา) แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๒) คาว่า ชนต่างๆ ในคาว่า ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ คาว่า จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) อธิบายว่า จากแคว้นอังคะ มคธ กลิงคะ กาสี โกศล วัชชี มัลละ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี โยนะ(คันธาระ) และกัมโพชะ คาว่า มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) อธิบายว่า มาชุมนุมกัน คือ มาพร้อมกัน มารวมกัน มาประชุมกัน (ในที่นี้ ) รวมความว่า ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน (ในที่นี้ ) ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ คาว่า ข้าแต่พระวีระ ในคาว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)พระดารัสของ พระองค์ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ พระผู้มีพระภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ พระผู้มีพระภาคทรงหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าวีระ พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้ ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น คาว่า ข้าแต่พระวีระ...หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์ ได้แก่ พระดารัส คาที่ เป็นแนวทาง เทศนา คาพร่าสอน คาว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) คือ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่ง หมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์ คาว่า แก่ชนเหล่านั้น ในคาว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วย เถิด อธิบายว่า แก่ชนเหล่านั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
  • 6. 6 คาว่า พระองค์ เป็นคาที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค คาว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหา) ... ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์ โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด คาว่า เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะว่า พระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทาให้กระจ่างแล้ว ทาให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรด พยากรณ์(ปัญหา)แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่งแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระวีระ ชนต่างๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้ ) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) พระดารัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา) แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว [๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่าและชั้นกลาง เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั ่นแล (๓) คาว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า รูปตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น คาว่า เครื่องยึดมั่น อธิบายว่า รูปตัณหา ท่านเรียกว่าเครื่องยึดมั่น เพราะเหตุไร เพราะสัตว์ ทั้งหลายย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปด้วยตัณหานั้น ฯลฯ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อม ยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น รูปตัณหาเป็นต้นนั้น ท่านจึงเรียกว่า เครื่องยึดมั่น คาว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า นรชนควรทาลาย คือ พึงขจัด ละ บรรเทา ทาให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งเครื่องยึดมั่นทั้งหมด รวมความว่า นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้ง ปวง คาว่า ภัทราวุธ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
  • 7. 7 คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่าพระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกา บัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าภัทราวุธ คาว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่าชั้นต่า ปัจจุบัน ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นต่า อัพยากตธรรมตรัสเรียกว่าชั้นกลาง เทวโลก ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่าชั้นต่า มนุษยโลก ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง สุขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นต่า อทุกขมสุขเวทนาตรัสเรียกว่าชั้น กลาง อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นต่า รูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่าชั้นสูง เบื้องต่าจากปลายผมลงมาตรัสเรียกว่าชั้นต่า ตรง กลาง ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง รวมความว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่า และชั้นกลาง คาว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก อธิบายว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายยึดถือ เข้า ไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใดๆ คาว่า ในโลก อธิบายว่า ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก รวมความว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไป ยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก คาว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล อธิบายว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตาม คือ ไปตาม เป็น ผู้ติดตามไปด้วยอานาจกัมมาภิสังขารนั้นนั่นเอง คาว่า สัตว์ ได้แก่ ผู้ข้อง ชน นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทาลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่าและชั้นกลาง เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล [๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
  • 8. 8 ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง (๔) คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุเมื่อมองเห็นโทษแห่งตัณหา เครื่องยึดมั่นนี้ รวมความว่า เพราะฉะนั้น คาว่า เมื่อรู้ชัด อธิบายว่า รู้อยู่ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ชัด รู้แจ่ม แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คาว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือ มั่นรูป ฯลฯ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ รวมความว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด ... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ คาว่า ภิกษุ ในคาว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ได้แก่ ภิกษุผู้เป็น กัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นเสขะ คาว่า ควรเป็นผู้มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐาน พิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ คาว่า เครื่องกังวล ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณไรๆ คาว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธ โลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวล ใน โลกทั้งปวง คาว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ชนเหล่าใดยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ฯลฯ ได้แก่ ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ ชนเหล่านั้นตรัส เรียกว่า ผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น คาว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ เพ่งพิจารณา แลเห็น มองเห็น เห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา รวม ความว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น คาว่า หมู่สัตว์ ในคาว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช เป็นชื่อของสัตว์ คาว่า บ่วงแห่งมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า บ่วงแห่งมัจจุราช หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือ บ่วงแห่งมาร บ่วง แห่งมรณะ อธิบายว่า สิ่งของที่ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่เครื่อง
  • 9. 9 แขวนทาด้วยงาช้าง ฉันใด หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือบ่วง แห่งมาร บ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้น รวมความว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ ภาคจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ภัทราวุธมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๒ จบ -------------------------------------------------