SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
5

                                       ใบความรู้ที่ 1
                          ความรู้พื้นฐานการแกะสลักผักและผลไม้

                    ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้




         การแกะสลักผักและผลไม้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่ บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรร์มาช้า
นานแล้ว จึง สมควรอย่างยิ่งที่เราคนไทยจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย และเป็นสมบัติของชาติ ต่อไป
เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ นาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน และสามารถนาไปใช้ในงานอาชีพ
ได้ด้วย

          ประวัติความเป็นมาของงานแกะสลัก ผักและผลไม้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
         เนื่องจากไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน จากหลักฐานที่อ้างถึงในหนังสือพระ
ราชพิธี 12 เดือนได้กล่าวถึงพระราชพิธีจองเปรียงในสมัยกรุงสุโขทัย ที่มีพระร่วงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระ
สนมเอกคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ นางนพมาศได้ร่วมประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย นางได้คิด
นาเอาดอกไม้ต่างๆ มาประดิษฐ์ เป็นรูปดอกบัวเบ่งบานรับแสงจันทร์ ใช้ดอกไม้ซ้อนสลับสีให้เป็นลวดลาย
แล้วนาเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นรูปนกจิกกินเกสรดอกบัว ประดับตกแต่งโคมลอยนั้นได้อย่างประณีต
สวยงาม
6

            สมัยอยุธยาเป็นยุคแห่งการเริ่มฟื้นฟูบ้านเมืองหลังจากตกอยู่ในภาวะ การทาสงครามมาเป็นเวลา
ยาวนาน การสรรหาช่างฝีมือต่างๆ จึงได้เริ่มขึ้น เพื่อนามาสร้างและฟื้นฟูบ้านเมือง จึงได้เริ่มก่อตั้งกรมช่าง
สิบหมู่ ขึ้น
         ในสมัยนี้ ช่างแกะสลักผัก ผลไม้ซึ่งได้ถูกจัดอยู่ในหมู่ช่างสลัก ในกลุ่มของช่างเครื่องสด สาเหตุ
ประการหนึ่งที่เรียกว่าช่างเครื่องสดนั้น น่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุที่นามาสร้างสรรค์งานนั้น ๆเป็นวัสดุที่เป็น
ของสดทั้งหมด งานของช่างเครื่องสดนั้นจะประกอบไปด้วย งานร้อยมาลัย งานจัดพาน งานร้อยเครื่อง
แขวนดอกไม้ งานเย็บใบตอง งานแกะสลักผักและผลไม้ และงานแทงหยวกกล้วย เป็นต้น

         ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ปรากฏในงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เกี่ยวกับการกินอยู่ของคนไทยในพระราชสานักสมัยนั้น พระองค์ทรง
พระราชนิพนธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน และชมผลไม้ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวกับการชื่นชมฝีมือ
ของสตรีไทยในการประดิดประดอยอาหาร ผัก ผลไม้ ให้มีความสวยงามน่ารับประทานและประณีต
สวยงาม นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่ง ได้บรรยายตอนนางจันทร์เทวีแกะชิ้น
ฟักเพื่อให้พระสังข์ทองทรงทราบเรื่องราวต่างๆของพระองค์ความว่า
                 เมื่อนั้น                       นางจันทร์ชื่นชมสมหมาย
         อุตสาห์เหนื่อยยากฝากกาย                ให้วิเสททั้งหลายเขาเมตตา
         นางต้มแกงแต่งเครื่องเวลาไร              ชอบพระทัยลูกรักนักหนา
         สมหวังดังจิตที่คิดมา                   กัลยาจะแกล้งแกงผัก
         จึงหยิบยกมาตั้งนั่งฝาน                  เอาไว้ในจานแล้วเจียนจัก
         แกะเป็นรูปองค์นงลักษณ์                    เมื่ออยู่กับผัวรักในวัง
            ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา                คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์
         ชิ้นสองท่องเที่ยวเซซัง                  อุ้มลูกไปยังพนาลัย
         ชิ้นสามเมื่ออยู่ยายตา                  ลูกยาออกช่วยขับไก่
         ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร่                    ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาย
         ชิ้นห้าปิตุรงค์ทรงศักดิ์                   ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
         ชิ้นหกจ้องจาทาประจาน                       ให้ประหารค่าฟันให้บรรลัย
         ชิ้นเจ็ดสิ้นเรื่องอรทัย                    ใครใครไม่ทันจะสงกา
7




            ในอดีตที่ผ่านมาพระบรมมหาราชวัง เปรียบเสมือนโรงเรียนที่ให้ความรู้ เพื่ออบรมกุลสตรีไทยได้มี
ความรู้เกี่ยวกับมารยาทการครองเรือน การช่างประดิษฐ์ต่าง ๆ การทาอาหารและการถนอมอาหารตลอดจน
การศึกษาศาสตร์ต่างๆ จากสานักพระราชวังฝ่ายใน ดังนั้นพระบรมมหาราชวังชั้นในจึงเหมือนโรงเรียนการ
เรือนและโรงเรียนการช่างสตรี ในยุคนี้การแกะสลักผักและผลไม้ นับว่าเป็นงานฝีมือที่เป็นศิลปะชั้นสูงของ
สตรีชาววังในอดีต โดยในราชสานักของพระอัครมเหสี พระราชเทวี พระราชวังฝ่ายในเพียบพร้อมไปด้วย
เจ้าจอม ข้าราชการบริพาร ผู้มีความเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์ เพื่อนาไปจัดเป็นของเสวยถวาย
พระมหากษัตริย์
            ตลอดจนนาไปตกแต่งโต๊ะเสวยเพื่อให้ พระกระยาหารน่าเสวย และมีสีสันที่สวยงาม หลังจากที่มี
การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทาให้สตรีชาววังได้ออกจากเขต
พระราชฐาน ได้นาเอาศิลปะแขนงต่างๆ ของชาววังออกมาเผยแพร่ รวมไปถึงศิลปะการแกะสลักผักและ
ผลไม้เข้ามาตกแต่งอาหาร โต๊ะอาหาร บางกลุ่มไปทางานด้านบริการโรงแรม จึงทาให้เผยแพร่กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น มีการประกวด ในระดับโรงแรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง การแกะสลักผักและผลไม้เป็นศิลปวัฒนธรรม
ไทยที่มีมาช้านานแล้ว สมควรที่คนไทยจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้
ศึกษาหาความรู้และสามารถนาไปประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไป และยังเป็นงานประณีต
ศิลป์ที่ช่วยเสริมให้การจัดตกแต่งโต๊ะอาหารให้สวยงามเพิ่มขึ้น
            แม้ชาวต่างชาติเมื่อได้ประจักษ์สายตา ยังประทับใจในความสามารถ และความประณีตสวยงาม

 ปัจจุบันวิชาการแกะสลักผักและผลไม้ นอกจากจะสอนตามหลักสูตรในวิทยาเขตอาชีวศึกษา
โดยตรงแล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังได้กาหนดให้เปิดสอนในหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี และระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อ
เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนในการนี้จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
8


                    ความสาคัญและคุณค่าของงานแกะสลักผักและผลไม้

         งานแกะสลักผักและผลไม้มีความสาคัญและคุณค่าดังต่อไปนี้
         1. นามาใช้ในชีวิตประจาวัน
             1.1 จัดตกแต่งผักและผลไม้ให้สวยงาม ให้อาหารน่ารับประทาน
             1.2 ปอก คว้านผลไม้ให้มีขนาดพอดีคาเพื่อความสะดวกในการรับประทาน
             1.3 การนาเอาพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลหาง่ายและราคาถูกมาใช้ให้เกิดประโยชน์




         2. นามาใช้ในโอกาสพิเศษ
 2.1 งานประเพณีต่างๆ นิยมจัดตกแต่งอาหารคาวหวานให้สวยงาม เพื่อเลี้ยงพระและรับรอง
แขก เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน ฯลฯ
 2.2 งานวันสาคัญ เช่น งานปีใหม่ แกะสลักผลไม้เชื่อมหรือแช่อิ่มใส่ภาชนะที่เหมาะสมเป็น
ของขวัญ ไปกราบญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพนับถือ
 2.3 จัดในงานพระราชพิธีต่างๆ                เช่นงานเลี้ยงรับรองอาคันตุกะ
 2.4 จัดตกแต่งสถานที่ในงานต่างๆเช่น ห้องประชุม ห้องจัดงานแต่งงาน




                                        จัดสถานที่ในงานแต่งงาน
9

         3. การประกอบอาชีพ สร้างอาชีพหลัก และอาชีพเสริม
              งานแกะสลักสามารถนาไปสร้างอาชีพได้ดีแก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่ดี ยังเป็น
ที่ต้องการของโรงแรม ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร และยังสามารถเปิดรับสอนแกะสลักผักและผลไม้กับ
บุคคลหรือชาวต่างชาติที่สนใจศึกษาการแกะสลักผักและผลไม้




                                        การถ่ายทอดความรู้

           4. อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้ของไทย
             ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ให้ความสนใจงานแกะสลักผักและผลไม้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัญหา
ด้านเศรษฐกิจและการขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้ แต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจงานแกะสลักผักและผลไม้จานวนไม่
น้อยที่จะเรียนรู้งานแขนงนี้ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การนาไปใช้ใน
ชีวิตประจาวัน ตลอดจนมีการประกวดการแกะสลักผักและผลไม้ในโอกาสต่างๆ เพื่ออนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้สืบต่อไป




       นาผลงานแกะสลักประดับรถต้นเทียนพรรษา             ประกวดแข่งขันเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
10

         5. สร้างความสงบ และสมาธิในการเรียน
              การแกะสลักผักและผลไม้จะต้องมีสมาธิ มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานได้
ดังนั้นผลงานที่ได้ จึงจะมีความประณีตสวยงามและสมารถนาไปใช้กับการเรียนสาระอื่นๆได้เป็นอย่างดี




        6. สร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            เมื่อผู้แกะสลักเรียนรู้วิธีการแกะสลักแล้ว จะมีความเข้าใจเกิดทักษะในการปฏิบัติงานและ
สามารถสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆได้ตามจินตนาการของตน จนเกิดเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพและประณีต
สวยงามตามจินตนาการ




7. สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง
                การแกะสลักผักและผลไม้ถือเป็นผลงานที่ใช้ทักษะการปฏิบัติสูงและจริงจัง แต่หากได้รับการ
เรียนรู้อย่างมีระบบ มีขั้นตอน และใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนที่ถูกต้องแล้วจะสามารถทาได้เป็นอย่างดีและ
เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง




                                     ความภาคภูมิใจในผลงาน
11


                            คาศัพท์ที่ใช้ในการแกะสลักผักและผลไม้

           แกะ หมายถึง การทาให้เนื้อผักหรือผลไม้แยะออกจากกัน เป็นลวดลายหรือรูปร่างต่างๆ โดยใช้
เครื่องที่แหลมคมกดทางคมลงบนผักหรือผลไม้นั้น




          เกลา หมายถึง การทาผักหรือผลไม้ที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงได้รูปตามต้องการ พร้อมที่จะ
ปฏิบัติงานแกะสลัก




         กรีด หมายถึง การทาให้ผักหรือผลไม้เป็นรอยแยก หรือขาดออกจากกันโดยใช้ของแหลมคมกด
ลงผักหรือผลไม้นั้น แล้วลากไปตามต้องการ
12

           เฉือน หมายถึง การแบ่งผักหรือผลไม้ออกจาก ส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่ด้วยมีด แล้วปาดส่วนที่ไม่
ต้องการออกมา




         แซะ หมายถึง การเอาเครื่องมือเช่นมีด หรือของอื่นช้อนขึ้น ให้หลุดจากที่เดิมออกเป็นแผ่นๆ
ปาด          หมายถึง เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบางๆ หรือกวาดออก




          ปอก หมายถึง การลอก หรือเอาเปลือกของผักหรือผลไม้ออก โดยการใช้มีดหรือไม่ต้องใช้มีดก็
ได้ แล้วแต่ชนิดของผักหรือผลไม้นั้นๆ




       ฝาน หมายถึง การตัด การเฉือน หรือการแฉลบให้เป็นแผ่นหรือเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ฝานกล้วย
ฝานบวบ ฝานมะม่วง
13

           หั่น หมายถึง การเอาผักหรือผลไม้วางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ




       คว้าน หมายถึง เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอาส่วนข้างในออก เช่น คว้าน
ผลมะปราง คว้านไส้
       ตัด หมายถึง การทาให้ขาดด้วยของมีคม




         ควัก หมายถึง การดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่
ในนั้นออกมา
        เหลา หมายถึง การทาให้เกลี้ยงเกลาหรือให้แหลมด้วยเครื่องมือที่มีคม ได้แก่ มีด เช่น เหลาตอก
เหลาดินสอ




                           .
           เสี้ยม หมายถึง การทาให้เล็กและแหลมตามต้องการ โดยใช้มีดหรือของมีคม ทาเฉพาะส่วนปลาย
เท่านั้น
                                           ไม่ยากเลยใช่ไหมเพื่อน ๆ
                                            ตั้งใจศึกษากันหน่อยนะ
14

More Related Content

Similar to 6. ใบความรู้

010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2watdang
 
ใบความรู้เรื่องโครงงาน
ใบความรู้เรื่องโครงงานใบความรู้เรื่องโครงงาน
ใบความรู้เรื่องโครงงานSaimai Jitlang
 
ใบความรู้เรื่อง การถนอมอาหาร
ใบความรู้เรื่อง  การถนอมอาหารใบความรู้เรื่อง  การถนอมอาหาร
ใบความรู้เรื่อง การถนอมอาหารDuangsuwun Lasadang
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1Noon Pattira
 
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้ารายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้าchunkidtid
 
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์Duangsuwun Lasadang
 
นำเสนอ 224 8
นำเสนอ 224 8นำเสนอ 224 8
นำเสนอ 224 8natharika
 
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)Wasan Woonson
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานteacherhistory
 
โครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitโครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitsledped39
 

Similar to 6. ใบความรู้ (20)

Project babnana
Project babnanaProject babnana
Project babnana
 
Project babnana
Project babnanaProject babnana
Project babnana
 
เกม
เกมเกม
เกม
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2
 
Lesson03
Lesson03Lesson03
Lesson03
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
ใบความรู้เรื่องโครงงาน
ใบความรู้เรื่องโครงงานใบความรู้เรื่องโครงงาน
ใบความรู้เรื่องโครงงาน
 
ใบความรู้เรื่อง การถนอมอาหาร
ใบความรู้เรื่อง  การถนอมอาหารใบความรู้เรื่อง  การถนอมอาหาร
ใบความรู้เรื่อง การถนอมอาหาร
 
โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1
 
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้ารายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
 
ความหมาย
ความหมายความหมาย
ความหมาย
 
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
 
นำเสนอ 224 8
นำเสนอ 224 8นำเสนอ 224 8
นำเสนอ 224 8
 
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)
โครงงาน การสานสาด(เสื่อ)
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
 
โครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitโครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spit
 
ใบความรู้สวนขวด
ใบความรู้สวนขวดใบความรู้สวนขวด
ใบความรู้สวนขวด
 

6. ใบความรู้

  • 1. 5 ใบความรู้ที่ 1 ความรู้พื้นฐานการแกะสลักผักและผลไม้ ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้ การแกะสลักผักและผลไม้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่ บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรร์มาช้า นานแล้ว จึง สมควรอย่างยิ่งที่เราคนไทยจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย และเป็นสมบัติของชาติ ต่อไป เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ นาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน และสามารถนาไปใช้ในงานอาชีพ ได้ด้วย ประวัติความเป็นมาของงานแกะสลัก ผักและผลไม้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด เนื่องจากไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน จากหลักฐานที่อ้างถึงในหนังสือพระ ราชพิธี 12 เดือนได้กล่าวถึงพระราชพิธีจองเปรียงในสมัยกรุงสุโขทัย ที่มีพระร่วงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระ สนมเอกคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ นางนพมาศได้ร่วมประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย นางได้คิด นาเอาดอกไม้ต่างๆ มาประดิษฐ์ เป็นรูปดอกบัวเบ่งบานรับแสงจันทร์ ใช้ดอกไม้ซ้อนสลับสีให้เป็นลวดลาย แล้วนาเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นรูปนกจิกกินเกสรดอกบัว ประดับตกแต่งโคมลอยนั้นได้อย่างประณีต สวยงาม
  • 2. 6 สมัยอยุธยาเป็นยุคแห่งการเริ่มฟื้นฟูบ้านเมืองหลังจากตกอยู่ในภาวะ การทาสงครามมาเป็นเวลา ยาวนาน การสรรหาช่างฝีมือต่างๆ จึงได้เริ่มขึ้น เพื่อนามาสร้างและฟื้นฟูบ้านเมือง จึงได้เริ่มก่อตั้งกรมช่าง สิบหมู่ ขึ้น ในสมัยนี้ ช่างแกะสลักผัก ผลไม้ซึ่งได้ถูกจัดอยู่ในหมู่ช่างสลัก ในกลุ่มของช่างเครื่องสด สาเหตุ ประการหนึ่งที่เรียกว่าช่างเครื่องสดนั้น น่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุที่นามาสร้างสรรค์งานนั้น ๆเป็นวัสดุที่เป็น ของสดทั้งหมด งานของช่างเครื่องสดนั้นจะประกอบไปด้วย งานร้อยมาลัย งานจัดพาน งานร้อยเครื่อง แขวนดอกไม้ งานเย็บใบตอง งานแกะสลักผักและผลไม้ และงานแทงหยวกกล้วย เป็นต้น ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ปรากฏในงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เกี่ยวกับการกินอยู่ของคนไทยในพระราชสานักสมัยนั้น พระองค์ทรง พระราชนิพนธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน และชมผลไม้ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวกับการชื่นชมฝีมือ ของสตรีไทยในการประดิดประดอยอาหาร ผัก ผลไม้ ให้มีความสวยงามน่ารับประทานและประณีต สวยงาม นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่ง ได้บรรยายตอนนางจันทร์เทวีแกะชิ้น ฟักเพื่อให้พระสังข์ทองทรงทราบเรื่องราวต่างๆของพระองค์ความว่า เมื่อนั้น นางจันทร์ชื่นชมสมหมาย อุตสาห์เหนื่อยยากฝากกาย ให้วิเสททั้งหลายเขาเมตตา นางต้มแกงแต่งเครื่องเวลาไร ชอบพระทัยลูกรักนักหนา สมหวังดังจิตที่คิดมา กัลยาจะแกล้งแกงผัก จึงหยิบยกมาตั้งนั่งฝาน เอาไว้ในจานแล้วเจียนจัก แกะเป็นรูปองค์นงลักษณ์ เมื่ออยู่กับผัวรักในวัง ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ ชิ้นสองท่องเที่ยวเซซัง อุ้มลูกไปยังพนาลัย ชิ้นสามเมื่ออยู่ยายตา ลูกยาออกช่วยขับไก่ ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร่ ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาย ชิ้นห้าปิตุรงค์ทรงศักดิ์ ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน ชิ้นหกจ้องจาทาประจาน ให้ประหารค่าฟันให้บรรลัย ชิ้นเจ็ดสิ้นเรื่องอรทัย ใครใครไม่ทันจะสงกา
  • 3. 7 ในอดีตที่ผ่านมาพระบรมมหาราชวัง เปรียบเสมือนโรงเรียนที่ให้ความรู้ เพื่ออบรมกุลสตรีไทยได้มี ความรู้เกี่ยวกับมารยาทการครองเรือน การช่างประดิษฐ์ต่าง ๆ การทาอาหารและการถนอมอาหารตลอดจน การศึกษาศาสตร์ต่างๆ จากสานักพระราชวังฝ่ายใน ดังนั้นพระบรมมหาราชวังชั้นในจึงเหมือนโรงเรียนการ เรือนและโรงเรียนการช่างสตรี ในยุคนี้การแกะสลักผักและผลไม้ นับว่าเป็นงานฝีมือที่เป็นศิลปะชั้นสูงของ สตรีชาววังในอดีต โดยในราชสานักของพระอัครมเหสี พระราชเทวี พระราชวังฝ่ายในเพียบพร้อมไปด้วย เจ้าจอม ข้าราชการบริพาร ผู้มีความเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์ เพื่อนาไปจัดเป็นของเสวยถวาย พระมหากษัตริย์ ตลอดจนนาไปตกแต่งโต๊ะเสวยเพื่อให้ พระกระยาหารน่าเสวย และมีสีสันที่สวยงาม หลังจากที่มี การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทาให้สตรีชาววังได้ออกจากเขต พระราชฐาน ได้นาเอาศิลปะแขนงต่างๆ ของชาววังออกมาเผยแพร่ รวมไปถึงศิลปะการแกะสลักผักและ ผลไม้เข้ามาตกแต่งอาหาร โต๊ะอาหาร บางกลุ่มไปทางานด้านบริการโรงแรม จึงทาให้เผยแพร่กว้างขวาง ยิ่งขึ้น มีการประกวด ในระดับโรงแรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง การแกะสลักผักและผลไม้เป็นศิลปวัฒนธรรม ไทยที่มีมาช้านานแล้ว สมควรที่คนไทยจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ ศึกษาหาความรู้และสามารถนาไปประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไป และยังเป็นงานประณีต ศิลป์ที่ช่วยเสริมให้การจัดตกแต่งโต๊ะอาหารให้สวยงามเพิ่มขึ้น แม้ชาวต่างชาติเมื่อได้ประจักษ์สายตา ยังประทับใจในความสามารถ และความประณีตสวยงาม ปัจจุบันวิชาการแกะสลักผักและผลไม้ นอกจากจะสอนตามหลักสูตรในวิทยาเขตอาชีวศึกษา โดยตรงแล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังได้กาหนดให้เปิดสอนในหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี และระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อ เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนในการนี้จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
  • 4. 8 ความสาคัญและคุณค่าของงานแกะสลักผักและผลไม้ งานแกะสลักผักและผลไม้มีความสาคัญและคุณค่าดังต่อไปนี้ 1. นามาใช้ในชีวิตประจาวัน 1.1 จัดตกแต่งผักและผลไม้ให้สวยงาม ให้อาหารน่ารับประทาน 1.2 ปอก คว้านผลไม้ให้มีขนาดพอดีคาเพื่อความสะดวกในการรับประทาน 1.3 การนาเอาพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลหาง่ายและราคาถูกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. นามาใช้ในโอกาสพิเศษ 2.1 งานประเพณีต่างๆ นิยมจัดตกแต่งอาหารคาวหวานให้สวยงาม เพื่อเลี้ยงพระและรับรอง แขก เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน ฯลฯ 2.2 งานวันสาคัญ เช่น งานปีใหม่ แกะสลักผลไม้เชื่อมหรือแช่อิ่มใส่ภาชนะที่เหมาะสมเป็น ของขวัญ ไปกราบญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่เคารพนับถือ 2.3 จัดในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่นงานเลี้ยงรับรองอาคันตุกะ 2.4 จัดตกแต่งสถานที่ในงานต่างๆเช่น ห้องประชุม ห้องจัดงานแต่งงาน จัดสถานที่ในงานแต่งงาน
  • 5. 9 3. การประกอบอาชีพ สร้างอาชีพหลัก และอาชีพเสริม งานแกะสลักสามารถนาไปสร้างอาชีพได้ดีแก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่ดี ยังเป็น ที่ต้องการของโรงแรม ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร และยังสามารถเปิดรับสอนแกะสลักผักและผลไม้กับ บุคคลหรือชาวต่างชาติที่สนใจศึกษาการแกะสลักผักและผลไม้ การถ่ายทอดความรู้ 4. อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้ของไทย ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ให้ความสนใจงานแกะสลักผักและผลไม้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัญหา ด้านเศรษฐกิจและการขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้ แต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจงานแกะสลักผักและผลไม้จานวนไม่ น้อยที่จะเรียนรู้งานแขนงนี้ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การนาไปใช้ใน ชีวิตประจาวัน ตลอดจนมีการประกวดการแกะสลักผักและผลไม้ในโอกาสต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้สืบต่อไป นาผลงานแกะสลักประดับรถต้นเทียนพรรษา ประกวดแข่งขันเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
  • 6. 10 5. สร้างความสงบ และสมาธิในการเรียน การแกะสลักผักและผลไม้จะต้องมีสมาธิ มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานได้ ดังนั้นผลงานที่ได้ จึงจะมีความประณีตสวยงามและสมารถนาไปใช้กับการเรียนสาระอื่นๆได้เป็นอย่างดี 6. สร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อผู้แกะสลักเรียนรู้วิธีการแกะสลักแล้ว จะมีความเข้าใจเกิดทักษะในการปฏิบัติงานและ สามารถสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆได้ตามจินตนาการของตน จนเกิดเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพและประณีต สวยงามตามจินตนาการ 7. สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง การแกะสลักผักและผลไม้ถือเป็นผลงานที่ใช้ทักษะการปฏิบัติสูงและจริงจัง แต่หากได้รับการ เรียนรู้อย่างมีระบบ มีขั้นตอน และใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนที่ถูกต้องแล้วจะสามารถทาได้เป็นอย่างดีและ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ความภาคภูมิใจในผลงาน
  • 7. 11 คาศัพท์ที่ใช้ในการแกะสลักผักและผลไม้ แกะ หมายถึง การทาให้เนื้อผักหรือผลไม้แยะออกจากกัน เป็นลวดลายหรือรูปร่างต่างๆ โดยใช้ เครื่องที่แหลมคมกดทางคมลงบนผักหรือผลไม้นั้น เกลา หมายถึง การทาผักหรือผลไม้ที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงได้รูปตามต้องการ พร้อมที่จะ ปฏิบัติงานแกะสลัก กรีด หมายถึง การทาให้ผักหรือผลไม้เป็นรอยแยก หรือขาดออกจากกันโดยใช้ของแหลมคมกด ลงผักหรือผลไม้นั้น แล้วลากไปตามต้องการ
  • 8. 12 เฉือน หมายถึง การแบ่งผักหรือผลไม้ออกจาก ส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่ด้วยมีด แล้วปาดส่วนที่ไม่ ต้องการออกมา แซะ หมายถึง การเอาเครื่องมือเช่นมีด หรือของอื่นช้อนขึ้น ให้หลุดจากที่เดิมออกเป็นแผ่นๆ ปาด หมายถึง เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบางๆ หรือกวาดออก ปอก หมายถึง การลอก หรือเอาเปลือกของผักหรือผลไม้ออก โดยการใช้มีดหรือไม่ต้องใช้มีดก็ ได้ แล้วแต่ชนิดของผักหรือผลไม้นั้นๆ ฝาน หมายถึง การตัด การเฉือน หรือการแฉลบให้เป็นแผ่นหรือเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ฝานกล้วย ฝานบวบ ฝานมะม่วง
  • 9. 13 หั่น หมายถึง การเอาผักหรือผลไม้วางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ คว้าน หมายถึง เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอาส่วนข้างในออก เช่น คว้าน ผลมะปราง คว้านไส้ ตัด หมายถึง การทาให้ขาดด้วยของมีคม ควัก หมายถึง การดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ ในนั้นออกมา เหลา หมายถึง การทาให้เกลี้ยงเกลาหรือให้แหลมด้วยเครื่องมือที่มีคม ได้แก่ มีด เช่น เหลาตอก เหลาดินสอ . เสี้ยม หมายถึง การทาให้เล็กและแหลมตามต้องการ โดยใช้มีดหรือของมีคม ทาเฉพาะส่วนปลาย เท่านั้น ไม่ยากเลยใช่ไหมเพื่อน ๆ ตั้งใจศึกษากันหน่อยนะ
  • 10. 14