SlideShare a Scribd company logo
1 of 76
Download to read offline
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เป็นหน่วยงานหนึ่งในเครือข่ายองค์กรบริหารการวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการ
บริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบาย
ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศในประเด็นต่างๆ อาทิ การรองรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน
การค้นหา/พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นต้น และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความจ�ำเป็นในการน�ำข้อค้นพบ/
ผลจากการวิจัยไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อมๆ ไปกับการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มีชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้
ด�ำเนินการไปแล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถน�ำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้
โดยใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส 3/2557 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยในการ
ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐานสากล ดังนี้
องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยว
อเมริกันในต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่าการเสียชีวิต
ดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง จึงมีความจ�ำเป็น
อย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว
เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การพัฒนาแผนที่ที่ระบุ
จุดอันตรายเพื่อการท่องเที่ยวทางถนนที่ปลอดภัย (2) การยกระดับ
ความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน
สากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจ (3) การ
ศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อการท่องเที่ยวทางถนน
อย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือ
และดูแลรักษานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ
ผลผลิตของการวิจัยได้จัดท�ำแผนที่ความเสี่ยงทางถนนของ
ประเทศ ซึ่งสามารถบ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดล�ำดับความเสี่ยงในแต่ละ
จุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว มีความส�ำคัญอย่างมากในการก�ำหนด
แนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยว
เอง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการ
ท่องเที่ยว และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกก�ำหนดโดย
มาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเที่ยว
ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมีปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน
โดย 1) ด้านการขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่งขาดทักษะ
ทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยานพาหนะ
ยังไม่เพียงพอ ปัญหาความช�ำรุดทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ
2) ด้านการจัดการ พบว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิด
อุบัติเหตุของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการ
สื่อสารของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเที่ยว ขาดแคลน
บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลนักท่องเที่ยว
3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวไม่สามารถสื่อสาร
และเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ไม่ทราบสิทธิและ
หน้าที่ของตนในเรื่องการฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้
กระบวนการทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้า
และไม่ต่อเนื่อง
บรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล	 ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด
กองบรรณาธิการ
อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์	 ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ
วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์	 ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์	 ผู้อำ�นวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด
จรัญ ชื่นในธรรม	 ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด
บุษกร พรหมมาโนช	 ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว
จิรา บัวทอง	 หัวหน้างานวิชาการ
ณัฏฐิรา อำ�พลพรรณ	 พนักงานวางแผน
สุจิตรา แย้มงามเหลือ	 พนักงานบันทึกข้อมูล
เจ้าของ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะที่ปรึกษา
ธวัชชัย อรัญญิก	 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จุฑาพร เริงรณอาษา	 รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา 
	 ตะวันออกกลางและอเมริกา
สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์	 ที่ปรึกษาระดับ 10
วิไลวรรณ ทวิชศรี	 รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์	 รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน
พงศธร เกษสำ�ลี	 รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้
ศุกรีย์ สิทธิวนิช	 รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
สมรัก คำ�พุทธ	 รองผู้ว่าการด้านบริหาร
อานุภาพ ธีรรัฐ  	 รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
มานิตย์ บุญฉิม	 ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน
| Tourism Talk
•	กลุ่ม  LGBT กับการท่องเที่ยวไทยในเวทีการท่องเที่ยวโลก งาน ITB 2014
		 | From the Cover
•	T-Pop กำ�ลัง(จะ)มา
		 | Tourism Situation
•	สถานการณ์การท่องเที่ยวไตรมาสที่ 1 ปี 2557
		 | Tourism Trend
•	เศรษฐกิจการท่องเที่ยว (The Visitor Economy)
	 โดย Pacific Asia Travel Association (PATA)
•	The Korean Wave
		 | Tourism Seminar
•	สาระน่ารู้จากการสัมมนาในงาน WTM 2013
•	ถอดบทเรียนการท่องเที่ยวไทย สู่มุมมองท่องเที่ยวโคลอมเบีย
	 ดินแดนแห่งจินตนาการที่มีอยู่จริง (Magical Realism) /
	 (ความจริงตามจินตนาการ)
Contents
Tourism Authority of Thailand
1600 New Phetchaburi Road,
Makkasan, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand
tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2
fax: +66 2253 7468
email: etatjournal@tat.or.th
website: etatjournal.com
ebook: www.issuu.com/etatjournal
www.ebooks.in.th/etatjournal
twitter: @etatjournal
จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset)
และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต
ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ
คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-
อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
Tourism Journal 3/2014
จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2
โทรสาร : 0 2253 7468
		 | Tourism Research
6-11 26-39
58-61
12-19
20-25
•	ข้อเสนอยุทธศาสตร์ตลาดลองสเตย์ : การศึกษาภูมิหลัง
ทางวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
40-57
		 | Low Carbon Tourism
•	ขายวัฒนธรรม
		 | Pop Culture Tourism
•	ทำ�สักอย่างกับมวลมหาแฟนคลับศิลปินไทยในต่างแดน
	 Keep Calm and Follow T-Pop
		
		 | Tourism @ AEC
• ความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน
62-65
66-69
70-73
ในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา มีงานอยู่ 2 งาน ที่เราติดตามอยู่อย่างต่อเนื่อง งานหนึ่งติดตาม
อย่างจริงจัง เข้าร่วมทุกปี พร้อมกับประกาศตัวว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ งานนี้จัดในประเทศไทย
โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ชื่องาน Creativity Unfold ปีล่าสุด 
งานนี้มีชื่อเล่นสั้นๆ ว่า CU
	 อีกงานหนึ่ง ติดตามอยู่ห่างๆ ไม่ประกาศกล้าว่าเป็นแฟน เพราะแค่
แอบชอบ แอบปลื้ม ตามประสาคนบ้าเทรนด์ งานนั้นคือ Cannes Lions
International Festival of Creativity เทศกาลประกวดโฆษณาและความคิด
สร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีนี้จัดเป็นปีที่ 61 ระหว่างวันที่ 15-21 มิถุนายน
2557 ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส
	 ปีนี้มีโอกาสได้มาร่วมงานคานส์ ไลอ้อนส์ ครั้งที่ 61 Theme ของปีนี้ คือ
CreativityinAction ตลอดระยะเวลา 7 วัน มีการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ท�ำให้การใช้เวลาในแต่ละวัน
ที่เข้างาน ต้องวางแผนอย่างดี ระหว่างจัดวางเวลาในแต่ละวัน เราต้องฮัมเพลง ได้อย่าง เสียอย่าง ของพี่ป้อม
อัสนี สลับกับเพลง อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน ของ ทาทา ยัง ตลอดเวลา
	 งานCU ของTCDC มีกลิ่นอายหลายอย่างคล้ายคานส์ ไลอ้อนส์(แต่ยังไงก็ยังเล็กกว่ามากๆ) พลังสร้างสรรค์
ของทั้งสองงาน คือ ส่วนผสมที่ก�ำหนดขึ้นจากพลังของคนจัดงานและผู้เข้าร่วมงาน แม้ว่างาน CU จะไม่มี
หมุดหมายที่การแจกรางวัล แต่แค่สร้างแรงบันดาลใจให้คนท�ำงาน แค่นี้ก็ท�ำให้ชีวิตเราสดชื่นขึ้นแล้ว อย่างไร
ก็ตาม ส�ำหรับงานคานส์ ไลอ้อนส์ครั้งนี้ เราจะพยายามสรุปความตามที่เราสนใจให้ฟังและอ่านต่อไป ขอให้ติดตาม
	 ส�ำหรับ TAT Journal ไตรมาสนี้ กอง บ.ก. ตัดสินใจน�ำเรื่อง T-Pop ขึ้นปก เพราะเราคิดว่ากระแส T-Pop
น่าจะสุกงอม หอมหวานพอที่จะน�ำมาพูดถึงแล้ว ลองติดตามอ่านดู เพราะมีหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องนี้
อาจไม่ใช่สุกงอม หอมหวาน แต่กลายเป็น ชิงสุกก่อนห่าม ก็ว่ากันไป
	 ต้องขอจบดื้อๆ แบบนี้ เพราะต้องเข้าฟังหัวข้อต่อไปแล้ว ต้องรีบ เพราะคนเยอะ คิวยาว หัวข้อที่เลือก
และก�ำลังจะเข้าฟัง คือ Independence is Good for Everybody หัวข้อนี้ ส�ำหรับอินดี้อย่างเราแท้ๆ
	 (ตอนเขียนบทบรรณาธิการ ยังอยู่ครึ่งทางของงานคานส์ ไลอ้อนส์)
บทบรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล
บรรณาธิการหมายเหตุ : ที่นี่ไม่มีบอลให้ดูทุกคู่ สู้เมืองไทยก็ไม่ได้
6 | Tourism Journal
Tourism Situation
สถานการณ์การท่องเที่ยว
ไตรมาสที่ 1
ปี 2557เรื่อง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด
7|Tourism Journal
Tourism Situation
จ�ำนวน 6.60 ล้านคน (-6%) สร้างรายได้ 3.1 แสนล้านบาท
(-4%) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทุกภูมิภาคล้วนมีการชะลอตัว ยกเว้น แอฟริกา ยุโรป
และอเมริกา
จ�ำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน รัสเซีย
มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนตลาดที่มีอัตรา
การเติบโตสูงสุด ได้แก่ ลาว บราซิล อียิปต์
ส่วนตลาดที่หดตัวมากที่สุด คือ ฮ่องกง คูเวต และบรูไน
สาเหตุหลักของการชะลอตัวจากการประกาศ
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2557
ที่มีผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศประกาศค�ำแนะน�ำ
นักท่องเที่ยว (Travel Advisory) ในระดับที่แตกต่างกัน
ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2557
Africa
Middle East
Oceania
South Asia
The Americas
Europe
North East Asia
ASEAN
-25.00	-20.00	-15.00	 -10.00	 -5.00	 +0.00	 +5.00	 +10.00	+15.00
+10.06
+0.09
-12.34
-5.26
-13.77
-20.09
-2.33
+6.64
อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รายสัญชาติ)
ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (แยกตามรายภูมิภาค)
สถานการณ์การท่องเที่ยว
ตลาดต่างประเทศ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2557
8 | Tourism Journal
Tourism Situation
แนวโน้มยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน ไตรมาสที่ 2 ปี 2557
ภาพรวมยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน
ล่วงหน้ามาประเทศไทยยังคงชะลอตัว (-6%)
ภูมิภาคที่ขยายตัว ได้แก่ ยุโรปใต้
ยุโรปเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และ
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ส�ำหรับเอเชีย
และแปซิฟิก ยุโรปกลาง และ
ตะวันออกกลาง ยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
การเดินทางเข้าท่าอากาศยานไทย
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยว
เดินทางเข้าท่าอากาศยานภูเก็ตมากที่สุด
รองลงมาคือ เกาะสมุย และเชียงใหม่
ยกเว้นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ที่มีปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมือง
-50	-40	-30	-20	-10	+0	 +10	+20	 +30
Oceania, -9
Africa, +8
NE Asia, +3
South AME, +19
Southern EU, +26
Northern EU, +16
ที่มา : Forwardkeys ณ วันที่ 23 เมษายน 2557
South Asia, -24
SE Asia, -38
MD East, -18
North AME, -8
Central/East EU, -32
Western EU, -5
ภาพรวมยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (-6%)
การเปรียบเทียบแนวโน้มกับเป้าหมายจ�ำนวนนักท่องเที่ยว
ปี 2014
Q1	Q2	Q3	Q4
จ�ำนวน : คน
Trend 2014
Target 2014
9,000,000
8,000,000
7,000,000
6,000,000
5,000,000
4,000,000
3,000,000
2,000,000
1,000,000
0
การเปรียบเทียบแนวโน้มและเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยว
ปี 2014
Q1	Q2	Q3	Q4
(ล้านบาท)
Trend 2014
Target 2014
450,000.0
400,000.0
350,000.0
300,000.0
250,000.0
200,000.0
150,000.0
100,000.0
50,000.0
0.0
Nationality
Actual
9|Tourism Journal
Tourism Situation
คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการไตรมาสที่ 2/2557
เท่ากับ 98 เป็นการคาดการณ์ที่ต�่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556
ในไตรมาสที่ 2/2557 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.15
ล้านคน
เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและประกาศ พ.ร.ก.
ฉุกเฉิน ส่งผลให้ไทยสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว
ในครึ่งปีแรกสูงถึง 8.2 หมื่นล้านบาทจากที่เคยคาดการณ์ไว้
และหากสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจส่งผล
ให้ความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
	 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการไตรมาสที่1/2557 เท่ากับ96
เป็นไตรมาสแรกนับตั้งแต่ปี 2556 ที่ผู้ประกอบการประเมินความ
เชื่อมั่นต�่ำกว่าระดับปกติ แสดงให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของ
ผู้ประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2553-2557
10 | Tourism Journal
Tourism Situation
จ�ำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย 35.22 ล้านคน-ครั้ง รายได้จากคนไทย
รวม 113,361.14 ล้านบาท
จ�ำนวนผู้เยี่ยมเยือนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
รายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OR) อยู่ที่ร้อยละ 65 โดยภาคใต้
และภาคตะวันออก มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงกว่าของทั้งประเทศ
หมายเหตุ :
จ�ำนวน รายได้ และอัตราการเข้าพัก เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ภาคกลาง รวมกรุงเทพฯ และภาคตะวันตก
สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557
ภาพรวมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ไตรมาสที่ 1 ปี 25571
รายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทย : ม.ค.-มี.ค. 2557
ทั้งประเทศ 113,361.14 ล้านบาท
ล้านบาท 51,694
10,814
22,837 14,505 13,512
60,000
40,000
20,000
0
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคเหนือ
ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OR) : ม.ค.-มี.ค. 2557
(%)
100
0
65 59 69 61 54 74
หมายเหตุ : อัตราการเข้าพักเฉลี่ย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ
ทั้งประเทศ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคเหนือ
ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
11|Tourism Journal
Tourism Situation
สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่ 1 ปี 2557
ในไตรมาสที่ 1/2557 มีนักท่องเที่ยวไทยร้อยละ 65 เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน
และนักศึกษา มีสัดส่วนมากที่สุด2
พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 25573
พบว่า คนไทยท่องเที่ยวในประเทศลดลงร้อยละ 5 ใช้จ่ายเงิน
เพื่อท่องเที่ยวเฉลี่ยคนละ 9,856.24 บาท ทั้งนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่เกื้อหนุนต่อการไปเที่ยวต่างประเทศของคนไทย4
ได้แก่ ความสะดวกด้านวีซ่า (2) การเติบโตของสายการบินต้นทุนต�่ำจากไทยไปต่างประเทศ (3) การแข่งขันด้านราคา
ของแพ็คเกจทัวร์
ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง ท�ำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ ลดจ�ำนวนการเที่ยวในประเทศลง
(ร้อยละ 41) ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภาคเหนือและกรุงเทพฯ และอีกส่วนหนึ่งลดค่าใช้จ่ายการเที่ยวลง
(ร้อยละ 17)1
เช่นเดียวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย 3/4 ซึ่งพบว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหา
การเมืองในประเทศ ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายในระยะนี้
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่ 2 ปี 2557
ในไตรมาสที่ 2/2557 นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 50 มีแผนการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย จุดหมายที่ได้รับ
ความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง2
จากผลการส�ำรวจในหัวข้อ ‘จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว’5
พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีแนวโน้มเดินทางเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีวันหยุดเทศกาลและวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทย
ที่มาพักแรม มีมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นร้อยละ 51 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16)
อย่างไรก็ตาม สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว คาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (10-16 เมษายน) มีคนไทยไปเที่ยว
ต่างประเทศประมาณ 2-2.5 แสนคน โดยคนไทยมีแนวโน้มเลือกแพ็คเกจที่มีราคาไม่สูงมากนัก ซื้อทัวร์ที่มีวันเดินทาง
น้อยลง ทั้งนี้ แพ็คเกจทัวร์ราคาถูกลงจากการแข่งขันที่ดุเดือดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเส้นทางญี่ปุ่น
ที่มา :	1
ททท. ส�ำนักงานในประเทศ : ระบบรายงานสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ
	 2
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : โครงการการรายงาน
	 และพยากรณ์สถานการณ์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย
	 3
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
	 4
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
	 5
กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : โครงการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยว
ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่มีการเดินทาง
และมีแผนในการเดินทางในประเทศ
12 | Tourism Journal
Tourism Research
ข้อเสนอยุทธศาสตร์
ตลาดลองสเตย์ :
การศึกษาภูมิหลัง
ทางวัฒนธรรม
และการใช้ชีวิต
ของกลุ่มเป้าหมาย
ให้มากขึ้น1
เรื่อง : พนิดา อนันตนาคม2
/ เรียบเรียง : กองวิจัยการตลาด
1
บทความนี้ปรับปรุงจากการนำ�เสนอผลงานในงานเสวนาเรื่อง ‘ชาติพันธุ์นิพนธ์ลองสเตย์ : คนญี่ปุ่นมาทำ�อะไรที่เชียงใหม่’ ที่ร้านหนังสือ Book Re:public
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถอดความเนื้อหาการเสวนาโดย กองวิจัยการตลาด ททท. และผู้ศึกษาได้นำ�มาเรียบเรียงโดยเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน
2
อ.ดร.ประจำ�คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12 | Tourism Journal
13|Tourism Journal
Tourism Research
	 ความเป็นมาของนโยบายลองสเตย์
	 กับความคาดหวังทางเศรษฐกิจของไทย
	 บริบทที่น�ำมาสู่การให้บริการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์(Longstay) ของไทย คือการท่องเที่ยวแบบเดิม ๆ ที่เน้น
สินค้าและบริการประเภทหาดทรายชายทะเล หรือSeaSandSun เริ่มถึงจุดอิ่มตัวภายหลังจากที่มีส่วนส�ำคัญใน
การช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยจากวิกฤติต้มย�ำกุ้ง ประกอบกับการที่โลกเริ่มไม่มั่นคงจากภัยก่อการร้าย และสงคราม
ในประเทศอิรักตั้งแต่ปี2001 เป็นต้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่าง
ประเทศลดลง
	 ประเทศไทยต้องการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว โดยการยืดระยะเวลาให้นักท่องเที่ยวพักนานขึ้นและใช้จ่าย
มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ
การรักษาพยาบาลซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
	 ฝั่งประเทศญี่ปุ่นเองก็ประสบปัญหาภาระด้านการเงิน จากการที่ต้องจ่ายสวัสดิการเป็นจ�ำนวนมากแก่
ผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุกลุ่มนี้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่2 ระหว่างปี1947-1949 หรือที่เรียกว่ากลุ่ม ‘เบบี้บูมเมอร์’
ซึ่งเป็นประชากรที่เกิดในช่วงที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้เพิ่มจ�ำนวนประชากร หลังจากที่สูญเสียประชากรในสงคราม
เป็นจ�ำนวนมาก
	 นอกจากปัญหาการเพิ่มจ�ำนวนของผู้สูงอายุแล้ว อายุเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ
เพศหญิง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 ผู้หญิงญี่ปุ่นจะมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 91 ปี
	 เมื่อถึงปี 2007 ‘เบบี้บูมเมอร์’ มีอายุครบ 60 ปี และเริ่มเกษียณอายุการท�ำงาน ท�ำให้บุคลากรที่มี
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญหายไปจากภาคธุรกิจเป็นจ�ำนวนมาก ในขณะที่จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่น
มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในปี2003 จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ต�่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ปรากฏการณ์
ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาว แต่จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงนี้ ท�ำให้ฐานประชากรที่จะต้องจ่ายเงินภาษีเพื่อดูแลผู้สูงอายุ
ลดลง และท�ำให้เงินบ�ำนาญลดลงในที่สุด สวนทางกับค่าครองชีพในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
13|Tourism Journal
14 | Tourism Journal
Tourism Research
	 แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าประเทศปลายทางให้ความสนใจน้อยมาก คือการให้
ความสนใจต่อบริบทด้านวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือทางฝ่าย ‘Guest’ กล่าวคือ
การมุ่งเน้นในด้านของการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการขายวัฒนธรรมของฝ่าย ‘Host’ ก็ดี
หรือการน�ำเสนอความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายเน้นFacilities ทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว
ก็ดี สิ่งเหล่านี้ อาจไม่เพียงพอที่จะจูงใจผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นให้มาพ�ำนักในประเทศไทย
มากขึ้นหรือนานขึ้นได้3
การหันมาศึกษาหรือให้ความสนใจบริบทด้านวัฒนธรรมของ
ฝ่าย ‘Guest’ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุกภาคส่วนควรหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพื่อการ
น�ำเสนอ ‘สินค้า’ ที่ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ซึ่งในบทความนี้ จะได้
น�ำเสนอภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของคนยุค ‘เบบี้บูมเมอร์’ เพื่อเป็นแนวทาง
ในการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเกษียณและได้ไปพ�ำนักระยะยาว
ตามประเทศต่างๆ แล้วตั้งแต่ปี 2007 ต่อเนื่องจนถึงปี 2012 (จึงถือได้ว่ากลุ่มเป้าหมาย
ของตลาดลองสเตย์ได้พ้นคนรุ่นนี้ไปแล้ว) ก็ตาม แต่ประสบการณ์ของคนรุ่นนี้ก็ยัง
มีผลอยู่มากต่อสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในรุ่นต่อมาที่อายุใกล้เคียงกัน
	 วิถีชีวิต ครอบครัวความเป็นอยู่
	 และเทพเจ้า 3 อย่างของคนญี่ปุ่น
	 รุ่นเบบี้บูมเมอร์
	 มีการตั้งข้อสังเกตว่า คนรุ่นก่อนเบบี้บูมเมอร์สามารถปรับตัวอยู่กับชุมชนได้ดี
กว่ารุ่นเบบี้บูมเมอร์ เนื่องจากสภาพสังคมในญี่ปุ่นหลังสงครามนั้นเปลี่ยนแปลงไป
โดยประชากรในรุ่นของเบบี้บูมเมอร์มีจ�ำนวนมาก ท�ำให้คนรุ่นนี้เกิดมาพร้อมกับการ
แข่งขัน ชั้นเรียนเป็นปลากระป๋อง พออายุเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็เป็นช่วงเดียวกับที่เศรษฐกิจ
เจริญเติบโตมาก ท�ำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าสู่เมืองหลวงมากขึ้น คนรุ่นนี้
ถือเป็นรุ่นที่สร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น บางคนจบการศึกษาแค่ระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย แต่ก้าวหน้าในการท�ำงาน เพราะสังคมญี่ปุ่นเน้นประสบการณ์ ส่วนเบบี้-
บูมเมอร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าสู่ขบวนการนักศึกษาในช่วงต้านสงครามเวียดนาม
	 ‘เทพเจ้า 3 อย่าง’ ของเบบี้บูมเมอร์ ได้แก่ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น
คนรุ่นนี้เป็นผู้น�ำแฟชั่นและการบริโภค นิยมวัตถุมากกว่าคนรุ่นก่อน โดยเป็นผลจาก
การน�ำวัฒนธรรมบริโภคแบบอเมริกันเข้ามาหลังจากการแพ้สงคราม
	 ครอบครัวของเบบี้บูมเมอร์เริ่มจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ซึ่งเป็นครอบครัว
แบบใหม่ จากอดีตที่พ่อต้องเป็นใหญ่ กลายเป็นผู้ชายจะต้องฟังภรรยาและลูกมากขึ้น
ที่อยู่อาศัยมักจะอยู่บริเวณชานเมือง มีการสร้างแฟลต และอพาร์ตเมนต์เป็นจ�ำนวนมาก
คนรุ่นนี้จึงเคยชินกับการอยู่แฟลตหรืออพาร์ตเมนต์ของบริษัทมากกว่าการอยู่บ้านเดี่ยว
เนื้อที่กว้างขวางแบบคนรุ่นก่อนสงคราม
	 นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม
โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ชายญี่ปุ่นจะออกไปท�ำงาน
ส่วนผู้หญิงจะอยู่บ้าน เมื่อถึงเวลาเกษียณอายุ ประเทศ
ญี่ปุ่นจะมีบ�ำนาญของคู่สมรส แม่บ้านก็จะได้เงิน
บ�ำนาญด้วยเพราะถือว่าเป็นผู้สนับสนุนสามี อย่างไร
ก็ตาม ในวันที่ผู้ชายเกษียณกลับมาอยู่บ้าน กิจวัตร
ประจ�ำวันของแต่ละฝ่ายก็เปลี่ยนไป เกิดปัญหาในการ
ใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเฉพาะการปรับตัวของฝ่ายชาย
ไม่เฉพาะแต่ในครอบครัว การปรับตัวให้เข้ากับชุมชน
ก็เป็นเรื่องล�ำบาก ผู้สูงอายุจึงต้องไปแสวงหาการด�ำรง
ชีวิตอย่างเป็นสุขและราบรื่นหลังวัยเกษียณ หรือ
‘Second Life’ นั่นเอง
	 รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา
หลายวิธี เช่น ชะลอการจ่ายเงินบ�ำนาญโดยการยืด
เวลารับเงินออกไป ยืดอายุวัยเกษียณจาก 60 ปี เป็น
65 ปี รวมไปถึงนโยบายลองสเตย์ ให้ไปท่องเที่ยว
แบบระยะยาวในต่างประเทศ อันเป็นโอกาสส�ำหรับ
ประเทศปลายทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด�ำรงชีวิตอยู่
ในประเทศ ในการเสนอขายชีวิตแบบ ‘อยู่อย่างราชา
ราคามิตรภาพ’
3
ควรกล่าวด้วยว่าในกรณีประเทศไทย ปัญหาการออกวีซ่า
พำ�นักระยะยาว ที่ให้เวลาพำ�นักสั้นกว่าประเทศคู่แข่งก็เป็น
อีกปัญหาหนึ่งสำ�หรับผู้สูงอายุกลุ่มลองสเตย์
15|Tourism Journal
Tourism Research
	 เมื่อเบบี้บูมเมอร์มีอายุรุ่น 40 ปีตอนกลาง คนรุ่นนี้ก็เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ
ฟองสบู่แตก มีการปรับคนงานออก และเมื่อมีอายุรุ่น50 ปีตอนปลาย ก็เริ่มมีการประเมิน
การท�ำงานเพื่อคัดคนออก และเริ่มมีการจ้างงานแบบPart-time มากขึ้น เป็นการล่มสลาย
ของระบบ ‘จ้างงานตลอดชีวิต’ และ ‘เลื่อนขั้นตามความอาวุโส’ ของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่
หลังฟื้นตัวจากสงคราม ความมั่นคงในชีวิตของคนเหล่านี้เริ่มหายไป
	 ลองสเตย์ : ต่อยอดนโยบายส่งเสริม
	 คนญี่ปุ่นสูงวัยไปยังต่างประเทศ
	 ย้อนกลับมากล่าวถึงนโยบายลองสเตย์ ความจริงคนญี่ปุ่นมีการอพยพออกนอกประเทศ
มาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยโครงการที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ‘Silver
Columbia92’ หรือโครงการลงทุนที่รัฐผลักดันให้มีการก่อสร้างJapanTown ในประเทศ
ต่างๆ เช่น สเปน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส�ำหรับผู้เกษียณอายุ ในปี1986 โครงการนี้
ถูกวิจารณ์จากสังคมญี่ปุ่นว่าเหมือนต�ำนานเรื่องเอาคนแก่ไปทิ้งที่ภูเขา ส่วนต่างประเทศ
ก็วิจารณ์ว่า ‘ส่งออกรถยนต์ไม่พอ ส่งออกคนแก่ด้วยหรือ’
	 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้งองค์กรLongstayFoundation ยุทธศาสตร์จาก ‘การย้ายถิ่น’
เป็น ‘การไปท่องเที่ยวแบบพ�ำนักระยะยาว’ จากที่จะไปสร้าง ‘หมู่บ้านคนญี่ปุ่น’
ในต่างประเทศ ก็เปลี่ยนเป็นการสร้าง ‘พื้นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม’
	 Longstay Foundation ได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลองสเตย์มากมาย เช่น
จัดสัมมนาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประเทศต่างๆ ร่วมกับบริษัทน�ำเที่ยว จัดโปรแกรมการ
ทดลองใช้ชีวิต พิมพ์หนังสือคู่มือ จัดงาน Longstay Fair และส�ำรวจความต้องการของ
สมาชิกในการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
16 | Tourism Journal
Tourism Research
	 ค�ำจ�ำกัดความ ‘ลองสเตย์’ ของญี่ปุ่น
	 Longstay Foundation ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของ ‘ลองสเตย์’ ไว้ว่า
	 n	เป็นการพํานักระยะยาวขึ้น ไม่ใช่ ‘การย้ายถิ่น’ หรือ ‘การอยู่ถาวร’ แต่เป็นการไปพํานักอาศัย
ในต่างประเทศตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และสุดท้ายจะกลับมาที่ญี่ปุ่น
	 n	ครอบครองหรือเช่าที่พักในต่างประเทศ โดยเป็นห้องเช่าในอาคารที่ใช้สําหรับพักอาศัยที่มีอุปกรณ์จําเป็น
สําหรับการดํารงชีวิตประจําวันอย่างเหมาะสม
	 n	มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เป็นการใช้เวลาว่างในต่างประเทศเพื่อการพักผ่อน
มีการคบหาและร่วมกิจกรรมกับคนท้องถิ่น เช่น เรียนภาษา ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม หรือเป็นอาสาสมัคร
	 n	เป็นการ ‘ใช้ชีวิตประจําวัน’ มากกว่า ‘การท่องเที่ยว’ โดยลองสเตย์เป็นการหาประสบการณ์ที่
‘เป็นประจําวัน’ ในต่างประเทศ
	 n	มีแหล่งเงินทุนที่มาจากญี่ปุ่น โดยอาจจะเป็นเงินบ�ำนาญ หรือดอกเบี้ยธนาคาร ไม่ได้เป็นการทํางาน
เพื่อหารายได้ในต่างประเทศ แต่ใช้เงินรายได้ที่มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่นในการพํานักระยะยาว
	 ทั้งนี้ เราอาจให้ค�ำจ�ำกัดความได้ว่า ‘ลองสเตย์’ คือ การด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยการท่องเที่ยว
	 ค�ำจ�ำกัดความ ‘ลองสเตย์’ ในงานศึกษาชิ้นนี้
	 อย่างไรก็ตาม ระหว่างท�ำการศึกษาพบว่า มีผู้สูงอายุบางคนที่ตั้งใจมาลองสเตย์
แต่เมื่อรู้จักเพื่อนในเมืองไทยที่ชวนให้ไปท�ำงาน ก็เปลี่ยนวีซ่าเป็นแบบท�ำงาน หรือ
ผู้สูงอายุที่อยากกลับไปตายที่บ้านเกิด แต่ไม่รู้จะกลับญี่ปุ่นเมื่อไหร่ จึงได้ให้ค�ำจ�ำกัดความ
ของ ‘ลองสเตย์’ ในการศึกษาว่า
	 n	เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่50 ปีขึ้นไป เกษียณอายุจากการทํางานแล้ว รวมทั้งคู่สมรส
ด้วย (ไม่รวมคู่สมรสที่เป็นคนท้องถิ่น)
	 n	มีวัตถุประสงค์ในการพํานักคือ ‘การดํารงชีวิต หรือการอยู่อาศัย (Living)’
ไม่ใช่ ‘การท่องเที่ยว (Sightseeing)’ แบบนักท่องเที่ยว (Tourist) ทั่วไป
17|Tourism Journal
Tourism Research
	 n	นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ในการพํานักไม่ได้เป็นการทํางาน
หรือการหารายได้เพื่อยังชีพ แม้อาจมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้
เป็นบางครั้ง
	 n	Longstayer หมายถึง ผู้พํานักชั่วคราวและผู้พํานักถาวร
โดยมีระยะเวลาในการพํานักตั้งแต่ 1 เดือน (30 วันขึ้นไป) โดย
หมายรวมถึงผู้มาพํานักตามฤดูกาลด้วย
	 n	ที่พํานักอาศัยไม่ใช่โรงแรมหรือรีสอร์ท แต่เป็นที่พํานัก
เช่นเดียวกับคนท้องถิ่น เช่น บ้านเช่า คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ตเมนต์
โดยอาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าอาศัยก็ได้
	 n	การดําเนินชีวิตประจําวันไม่แตกต่างจากคนท้องถิ่นมากนัก
เช่น มีการคบหาสมาคมกับคนท้องถิ่น สามารถสนทนาเป็นภาษาท้องถิ่น
เกี่ยวกับชีวิตประจําวันง่ายๆ ได้ หรือมีคู่สมรสเป็นคนในท้องถิ่น
	 เชียงใหม่ในฐานะเป็นสถานที่
	 ‘ลองสเตย์’ ของคนญี่ปุ่น
	 จากการส�ำรวจความคิดเห็นในงานLongstayFair เมื่อปี2012
ประเทศไทยจัดเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับที่ 2 ในเรื่อง
การลองสเตย์ รองมาจากประเทศมาเลเซีย
	 ในปี2005 ประเทศไทยเคยครองความนิยมในอันดับที่4 และ5
ของทั่วโลก แต่เป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียส�ำหรับผู้สูงอายุของ
ประเทศญี่ปุ่น แต่หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2006 ก็ตกจาก
อันดับที่ 1 ไป และเพิ่งกลับเข้าสู่ความนิยมอีกครั้งในปีที่ผ่านมา
	 ข้อมูลจากสถานทูตญี่ปุ่นระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่มีชาวญี่ปุ่น
จ�ำนวนมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากกรุงเทพฯ และชลบุรี และข้อมูล
จากกงสุลเชียงใหม่ระบุว่า ในจ�ำนวน9 จังหวัดภาคเหนือ มีชาวญี่ปุ่น
จ�ำนวนกว่า3,300 คน และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่มาลองสเตย์(ข้อมูล
ณ เดือนมกราคม ปี 2013)
18 | Tourism Journal
Tourism Research
จัดสัมมนาและส่งตัวแทนไปร่วมงานสัมมนาที่เกี่ยวกับ Longstay
ในเชียงใหม่ จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เช่น กอล์ฟ
คาราโอเกะ เจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของกลุ่มในเวทีต่างๆ เช่น การ
ปรับปรุงทางเท้า ระบบขนส่งคมนาคม เช่น การตั้งราคาค่าโดยสารของ
รถสี่ล้อรับจ้าง (รถแดง) ที่แน่นอน เป็นต้น
	 คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มาอยู่เชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2007-2008
จากการสัมภาษณ์ชาวญี่ปุ่นที่มาลองสเตย์14 กรณี ประกอบด้วย
2 ครอบครัว 7 คู่สามีภรรยา และที่อยู่ตามล�ำพังอีก 5 ราย และ
ชาวไทยอีก9 กรณี เช่น แม่ค้าร้านอาหารตามสั่ง พนักงานบริษัท
น�ำเที่ยว นักศึกษา และไกด์ พบว่าชาวญี่ปุ่นมาอยู่แบบคู่สามี
ภรรยามากที่สุดถึงร้อยละ41 สถานภาพโสด ร้อยละ38 เดินทาง
มาคนเดียวโดยที่ครอบครัวยังอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นร้อยละ 13 และ
อยู่แบบพ่อแม่ลูก ร้อยละ 4
	 ส่วนเหตุผลหลักที่เลือกมาพ�ำนักระยะยาวในเชียงใหม่ เนื่องจาก
ค่าครองชีพถูกกว่ากรุงเทพฯ อากาศเย็นสบายกว่า และใกล้
ประเทศญี่ปุ่นท�ำให้เดินทางสะดวก
	 ในเชียงใหม่มีการรวมตัวของกลุ่มลองสเตย์หลายองค์กร
เช่น Chiang Mai Longstay Life Club (CLL Club) ซึ่งเป็น
กลุ่มใหญ่ที่สุด ก่อตั้งเมื่อปี 2002 มีสมาชิกราว 150 คน (ข้อมูล
เดือนมิถุนายน ปี 2012) โดยองค์กรเหล่านี้จะท�ำหน้าที่เป็น
ตัวกลางประสานงานในการดําเนินกิจกรรมกับท้องถิ่น เช่น
กิจกรรมอาสาสมัคร จัดงานเทศกาลประจําปีล้านนา-ญี่ปุ่น
ร่วมกับสถานกงสุล ให้คําแนะนําปรึกษาแก่สมาชิกและคู่สมรส
	 คนญี่ปุ่นมาท�ำอะไรกันที่เชียงใหม่
	 และคนเชียงใหม่เห็นอย่างไร
	 จากการเก็บข้อมูลภาคสนามสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุญี่ปุ่นมาลองสเตย์
นั้นมาด้วย 4 เหตุผลหลัก ได้แก่ หนีหนาว หนีความยากจน (เพราะอยู่ที่
ญี่ปุ่นต้องประหยัดมาก) หนีความโดดเดี่ยวเพื่อหาผู้หญิง และหนีจากความ
กดดันในสังคมญี่ปุ่น
	 ปัจจุบัน นโยบายลองสเตย์ของไทยอาจตอบสนอง 2 โจทย์แรก
แต่โจทย์สุดท้าย คือ การหนีความกดดันในสังคมญี่ปุ่นนั้น การศึกษาภูมิหลัง
ทางวัฒนธรรมจะมีส่วนช่วยในการวางยุทธศาสตร์เพื่อตอบโจทย์นี้ได้มาก
และถือเป็นทางเลือกใหม่ของการท�ำการตลาดดังที่ได้กล่าวแล้ว
	 ส่วนการที่คนเชียงใหม่เห็นอย่างไรนั้น ในระดับบุคคล พบว่า
คนเชียงใหม่ส่วนใหญ่ไม่เห็นว่ากลุ่มลองสเตย์มีปัญหา แต่เห็นเป็นภาพ
นักท่องเที่ยว ภาพคนญี่ปุ่นที่มาอยู่อาศัยในเชียงใหม่ เป็นภาพค่อนข้างบวก
เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ยังไม่รังเกียจที่จะคบหา
เป็นการส่วนตัวหรือมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่มี
ภาพลักษณ์ว่าเรียบร้อยสุภาพกว่าฝรั่ง
	 อีกทั้งในบางรายการ ‘มีเพื่อนเป็นคนญี่ปุ่น’ ช่วยเสริมสถานะ
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ การที่มีชาวต่างชาติรวมทั้งคนญี่ปุ่น
อยู่ในชุมชนเป็นโอกาสมากกว่าความเสียหาย เช่น การฝึกภาษา เพิ่มรายได้
จากการเป็นล่าม ไกด์ สอนภาษาไทย และการค้าขายในพื้นที่ที่มีคนญี่ปุ่น
อาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมาก
	 แต่ทว่า ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจจากการศึกษา ได้แก่ การที่
คนเชียงใหม่ไม่ต่อต้านชาวญี่ปุ่น แต่กังวลกับการที่ ‘คนกรุงเทพฯ’ ย้ายถิ่น
โดยชาวเชียงใหม่บางคนบอกว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ก็น่าจะต้องมี ‘วีซ่า’
แม่ค้าบอกว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ต่อราคาของน่าเกลียด ในขณะที่การลงสนาม
ของผู้ศึกษาพบว่า คนญี่ปุ่นเองก็ต่อราคา(เช่น หมูปิ้งไม้ละ5 บาท ต่อเหลือ
3 บาท)
19|Tourism Journal
Tourism Research
	 ดังนั้น ในแง่เศรษฐกิจกับลองสเตย์ งานศึกษาชิ้นนี้ ไปไม่ถึงการค�ำนวณ
ต้นทุนในแง่เศรษฐศาสตร์ว่าประเทศไทยได้หรือเสียอย่างไร(ได้คุ้มเสียหรือไม่)
เนื่องจากผู้สูงอายุญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเพราะต้องการประหยัด ธุรกิจ
ที่ได้รับอานิสงส์โดยตรง คือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและโรงพยาบาล และ
แรงงานในวงอุตสาหกรรมดังกล่าว ในขณะที่ชาวบ้านร้านค้าเล็กๆ นอกวง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น แม่ค้าหมูปิ้งคนดังกล่าว ที่อาจต้องขายหมูปิ้ง
ในราคาที่ถูกกว่า อาจไม่ได้อานิสงส์ในแง่เศรษฐศาสตร์มากนัก
	 อย่างไรก็ตาม กลุ่มลองสเตย์อาจจะมีส่วนในการกระตุ้นการแก้ไขปัญหา
ภาครัฐ เนื่องจากการเข้ามามีพื้นที่ต่อรองผ่านตัวแทนของกลุ่มดังที่ได้กล่าวแล้ว
และเสียงของฝรั่งและญี่ปุ่นมักจะดังกว่าเสียงของคนไทย และอาจจะไปถึง
จุดที่ว่าเราควรจะปรับปรุงบ้านเมืองให้น่าอยู่ส�ำหรับเรื่องเหล่านี้ เพราะบ้านเมือง
ที่น่าอยู่ส�ำหรับต่างชาติก็น่าจะเป็นบ้านเมืองที่น่าอยู่ส�ำหรับคนไทยด้วย
20 | Tourism Journal
From the Cover
กำ�ลัง(จะ)มา
20 | Tourism Journal
21|Tourism Journal
From the Cover
เรื่อง : นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์
	 ทุกวันนี้เวลาพูดถึงการส่งออกวัฒนธรรม ถ้าจะให้พูดถึงกรณีการส่งออก
วัฒนธรรมความบันเทิงเกาหลีอีกก็คงเริ่มจะน่าเบื่อกันบ้างแล้ว ใช้เป็นกรณีศึกษา
กันมาเกือบจะสิบปี และเอาเข้าจริง ณ ตอนนี้กระแสของเกาหลีแม้จะไม่ได้ถึงกับ
ตกมาตรฐานแต่ก็เริ่มเจือจางไปบ้าง แต่ไม่ใช่เป็นเพราะพวกพี่เขาตกต�่ำลง แต่เป็น
เพราะพวกเขาอยู่ในช่วงที่ก�ำลังจะพิชิตโลก (ด้วยการส่งออกผู้ก�ำกับเกาหลีตัวแม่
ไปท�ำหนังในฮอลลีวูดถึง 3 คน และพยายามดันนักร้องไปสร้างชื่อเสียงในอเมริกา
อย่าง PSY กังนัมสไตล์) ซึ่งคงต้องใช้เวลากันอีกสักพักกว่าเกาหลีใต้จะสามารถปักธง
ระดับโลกได้จริงๆ ซึ่งถ้าเขาท�ำได้ส�ำเร็จเมื่อไหร่ เดี๋ยวเราก็จะตามไปศึกษาตอนนั้น
(ตกลงเราจะตามเขากันตลอดเลยใช่มั้ย ฮา) ตอนนี้จึงปล่อยเขาไปก่อน
21|Tourism Journal
22 | Tourism Journal
From the Cover
	 และที่ตอนนี้ปล่อยเขาไปก่อนได้ เพราะมีของใหม่ก�ำลังจะมา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า
T-Pop
	 ใช่ครับ T นั้นย่อมาจากค�ำว่า THAI
	 T-Pop จึงหมายถึง วัฒนธรรมความบันเทิงไทย ในความหมายแบบที่ชาวโลกเข้าใจ!
	 นี่ก็เขียนบิวท์กันซะยิ่งใหญ่ เขียนราวกับพวกเราได้เป็นเจ้าสมุทรแห่งเอเชียกันไปแล้ว
มีค�ำย่อภาษาอังกฤษเหมือนK-Pop,J-Pop ด้วย ยังครับ ใจเย็น มันยังไม่ได้ยิ่งใหญ่ครับ
มันแค่ก�ำลังจะมา แต่มันยังไม่มา ดังนั้น จึงอย่าเพิ่งดีใจ ร้องเฮกันไปก่อน
	 (แต่ไหนๆ มันก็ก�ำลังจะมา ท�ำไมเราไม่ท�ำให้มันมากันจริงๆ ล่ะครับ)
	 4. โต้ง-บรรจงปิสัญธนะกูลผู้ก�ำกับแห่ง‘พี่มาก...
พระโขนง‘ บอกกับผมมาสักพักแล้วว่า เขาก�ำลังจะได้
ก�ำกับหนังจีนที่รีเมคมาจากหนังของเขาเองที่ชื่อ
‘คนกอง’ (ตอนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง ‘ห้าแพร่ง’
ที่น�ำแสดงโดย มาช่า วัฒนพานิช และ แก๊งหนุ่มๆ
จากพี่มาก...) โดยมีผู้อ�ำนวยการสร้างเป็น โจว ซิงฉือ
	 ทั้งหมดนี้ อาจจะเป็นเพียงประสบการณ์ส่วนตัว
หลวมๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ขนาดผม
ไม่ได้ติดตามอย่างจริงจัง แต่ข่าวสารเหล่านี้ยังเดินทาง
มาถึงผมได้ แสดงว่ากระแสลมแห่ง T-Pop นั้น
ก็ไม่ใช่กระแสอันแผ่วเบา แต่มันเริ่มตั้งเค้าบ้างแล้ว
เพราะอย่างน้อย เราก็ไม่เคยได้ยินอะไรแบบนี้เมื่อ
10 ปีก่อนเช่นกัน
	 ความจริงเราเริ่มเห็นอะไรแบบนี้มาเป็นเวลา
สักพักแล้ว ช่วงหนังเรื่อง ‘รักแห่งสยาม’ โด่งดังเมื่อ
ประมาณ 7 ปีก่อน (ปี 2550) เราได้เห็นกระแสความ
คลั่งไคล้หนังเรื่องนี้ในประเทศจีนและไต้หวันเป็น
อย่างมาก นักแสดงหนุ่ม มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นที่รู้จัก
(และส่งผลให้หนังเรื่องถัดๆ มาของเขาอย่าง ‘สิ่งเล็กๆ
ที่เรียกว่ารัก’ ขายดิบขายดีไปด้วย) นอกจากนั้น
วงดนตรี August ที่เป็นวงในหนังและสร้างขึ้นมาเป็น
วงจริงๆ มีอัลบั้มจริงๆ ก็เป็นที่นิยม มีแฟนคลับจริงๆ
จังๆ ยามเดินทางไปแสดงที่เมืองจีน นั่นอาจจะเป็น
ข่าวแรกๆ ที่เราเริ่มได้ยินเกี่ยวกับกระแสความแรง
ของความบันเทิงไทยในต่างแดน
	 ต่อจากนั้นไม่นาน เราก็เริ่มได้ยินข่าวละครทีวี
ไทยไประเบิดกระจายตามประเทศจีนในช่วงปี 2553
คู่เคียงไปกับละครเกาหลีและไต้หวัน จริงๆ เราเริ่มกัน
ตั้งแต่ปี2546 กับละครเรื่อง ‘เลือดขัตติยา’ ของค่าย
เอ็กแซ็กท์ ที่มี ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ และ อ้อม-พิยดา
แสดงน�ำ แต่ก็ไม่มีอะไรชัดเจนเท่าชื่อเสียงของ ป้อง-
ณวัฒน์ ซึ่งถือเป็นซูเปอร์สตาร์มากๆ ในจีน เพราะ
ละครที่เขาเล่นถูกซื้อไปฉายในจีนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่
	 ขอเริ่มจากเล่าประสบการณ์ตัวเองก่อนเล็กน้อยถึงความรู้สึกก�ำลังมาของกระแส
T-Pop แบบจริงๆ จังๆ
	 1. มีวันหนึ่งที่ผมต้องเดินทางไปยังเทศกาลหนังที่ฮ่องกงเพื่อพาหนังอิสระของตัวเอง
ไปเดินสายประกวด ที่นั่น ผมก็ได้มีโอกาสเจอเพื่อนผู้ก�ำกับท่านอื่นๆ ในสายประกวด
ด้วยกัน โดยคนที่นั่งใกล้ผมที่สุด คือ เพื่อนชาวไต้หวัน แรกๆ คุยกันก็ไม่มีอะไร จากนั้น
ก็คุยกันว่า ปกติที่ประเทศตัวเองท�ำงานอะไรกันบ้าง ผมตอบเขาว่า ผมเขียนบทหนังให้ที่
บริษัท จีทีเอช เขาก็ผงะไปนิดนึง บอกว่า โห! จีทีเอช เหรอ(ส่วนผมผงะกลับว่า คุณรู้จัก
ได้ไง คือปกติค่ายหนังต่างประเทศที่ไม่ใช่ฮอลลีวูด เราจะไม่รู้จักหรือจ�ำกันไม่ค่อยได้
หรอกครับ แค่จ�ำชื่อผู้ก�ำกับได้นี่ก็ถือว่าเนิร์ดมากแล้ว) เขาถามต่อไปว่า แล้วคุณเคยเขียน
เรื่องอะไรมา ผมตอบว่า Bangkok Traffic Love Story (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) เท่านั้น
แหละครับ พี่เขาตาวาวมาก ร้องครวญครางออกมา จนผมงงว่า นี่เป็นมิตรไปมั้ยเนี่ย
ไม่ต้องอวยกันขนาดนี้ก็ได้ เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้ดังมากที่ไต้หวัน และเขาก็ชื่นชอบมากๆ
	 2. วันหนึ่งผมก�ำลังเดินทางไปสนามบินเพื่อกลับเมืองไทยจากเทศกาลหนังในไทเป
น้องผู้ดูแลนั่งรถมากับผม ด้วยความที่ระยะทางมันไกล น้องเขาจึงพยายามชวนคุยมากๆ
(แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ค่อยดี) สิ่งแรกที่เขาบอก คือ ‘ฉันชอบเรื่องฮอร์โมนส์ฯ มากค่ะ’
ผมรู้สึกเหวอมาก คือสิ่งแรกที่คนเราจะชักชวนชาวต่างประเทศคุยนั้น จ�ำเป็นต้องเป็นสิ่ง
ที่เด็ดมากจริงๆ เช่น จะชวนคนเยอรมันคุย ก็ต้องพูดเรื่องก�ำแพงเบอร์ลิน ไส้กรอก เบียร์
ขาหมู อะไรก็ตาม แต่สิ่งที่น้องคนนี้ชวนผมคุย คือ ซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ผมก็สอบถามเขาว่า
ได้ดูได้อย่างไร เขาก็บอกว่าYouTube ซึ่งก็มีแฟนคลับท�ำซับไตเติลภาษาจีนให้เรียบร้อย
	 3. ผมได้ข่าวว่า มีวงดนตรีชาวญี่ปุ่นชื่อวงหนุมาน(Hanuman) ชอบคัฟเวอร์เพลงไทย
อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเพลงของBodyslam,BigAss และอื่นๆ อีกมากมาย จนพวกเขา
ได้รับเชิญมาเล่นในงาน Fat Festival ที่เมืองไทย
23|Tourism Journal
From the Cover
‘พรุ่งนี้ก็รักเธอ’ ไปจนถึง ‘สงครามนางฟ้า’ จนพักหลังๆ เริ่มมีการติดต่อขอให้ ป้อง-ณวัฒน์ เดินทางไปร่วมงานละคร
ในประเทศจีนกันอย่างเป็นกิจจะ ล�ำดับต่อมาในช่วงปีเดียวกัน ก็เห็นจะเป็นหนังรักแนวหญิงรักหญิง
อย่าง ‘Yes or No อยากรักก็รักเลย’ ที่น�ำแสดงโดย ออม-สุชาร์ และ ติ๊นา-ศุภนาฎ ที่แม้ว่า
ในเมืองไทย ตัวหนังจะท�ำได้ดีพอประมาณ แต่ตัดภาพไปที่ประเทศจีนนั้น ทั้งคู่มีฐานแฟนคลับ
อย่างแข็งแกร่งจนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าหนังภาค 2 จะไม่ได้ฉายในจีน แต่ก็ยังมีแฟนคลับ
ชาวจีนยอมบินมาดูในประเทศไทย(เวรี่ฮาร์ดคอร์จริงๆ ฮะ) ถ้าจะไม่นับกันที่เมืองจีนอย่างเดียว
เอาเข้าจริงฐานแฟนคลับหนังไทยอีกแห่งที่เหนียวแน่นก็เห็นจะเป็นประเทศอินโดนีเซีย (แฟนหนัง
อินโดนีเซียชอบทวิตเตอร์มาคุยกับ โต้ง-บรรจง และ ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์(ผู้ก�ำกับซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ)
อยู่บ่อยๆ และทุกครั้งที่นักแสดงจากภาพยนตร์ไทยเดินทางไปที่นั่น ก็จะมีแฟนหนังมาตามกรี๊ดกันอย่าง
จริงจัง) เรื่องภาคดนตรีอาจจะไม่โดดเด่นนัก แม้ว่าเราจะเคยเห็นนักร้องไทยหลายคนไปพิชิตตลาดไต้หวันและ
ญี่ปุ่นอย่าง China Dolls หรือ ปาล์มมี่ แต่นั่นก็เป็นเรื่องเมื่อนาน(มาก)มาแล้ว ได้ยินว่าปัจจุบัน มีกลุ่มคนญี่ปุ่น
ที่ชื่นชอบเพลงไทยเป็นพิเศษแต่ก็ยังไม่ใช่กลุ่มใหญ่โตอะไรมากนัก
	 แม้ว่าดูจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็ยังสังเกตได้ว่า เราก็ยังคงได้รับรู้ข่าวสารการที่กองทัพบันเทิงไทยไปบุกต่างแดน
ต่างๆ เป็นก้อนกระจัดกระจายไร้ระเบียบแบบนี้ ไม่สามารถมองเห็นเป็นก้อนชัดเจน เป็นคลื่น เป็นลม เป็นกระแส
แบบเห็นๆ (ถึงบอก มันแค่ ‘ก�ำลังจะ’ มา) เราไม่รู้สึกว่าพวกเราไปบุกอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้สึกว่าพวกเราไปบุก
ไปเป็นกองทัพ เหมือนประเทศเราแค่ส่งกองก�ำลังเป็นคนๆ ไปเท่านั้น หรือกองก�ำลังบางส่วนก็ต้องดั้นด้นไปบุกเอง
โดยที่ยังไม่มีคนคอยช่วยเหลืออย่างจริงจัง (หรือต้องไปถึงฝั่งก่อน ถึงจะมาช่วยเหลืออย่างจริงจัง)
	 กระแสT-Pop ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาได้จากการค้าของบริษัทแต่ละบริษัท ไม่ได้เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือของ
ภาครัฐเป็นหลัก ว่าง่ายๆ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาทุกวันนี้ไม่ได้เกิดจากการวางแผนมาก่อนใดๆ ทั้งสิ้น มันบังเอิญฟลุค
โชคดีบูมขึ้นมาเท่านั้นเอง เราไม่ได้มีแผนก่อนหน้านั้น และเราก็ไม่ได้มีแผนหลังจากนี้ ในขณะที่เกาหลีใต้เขามอง
ความบันเทิงเป็นสินค้าส่งออกอย่างจริงจัง และมีการวางแผนเพื่อจะพิชิตภูมิภาคและเอาชนะโลกอย่างซีเรียส
(ขออภัยที่ต้องยกเกาหลีใต้มาเป็นกรณีศึกษาอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ก็บอกตอนแรกว่าไม่อยากจะพูดถึงอีก) จนถึงตอนนี้
ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีแผนการใดๆ เพื่อสานต่อกระแสที่ก�ำลัง (และยังคง) มาอยู่ในขณะนี้
	 เอาเป็นว่าลองคิดเล่นๆ สนุกๆ ว่า ถ้าสมมุติเราจะท�ำให้กระแส T-Pop ที่อุตส่าห์เกิดขึ้นมาแล้วอย่าง
ไม่ได้ตั้งใจ กลายเป็นกระแสที่ต่อเนื่องต่อไปในอนาคตอย่างตั้งใจ เราว่า เราจะท�ำอะไรกันได้บ้าง
	 เราต้องเริ่มจากความคิดพื้นฐานก่อนว่า ความบันเทิงนั้นสามารถเป็นเรื่องซีเรียสได้ ซึ่งก็แปลได้
อีกทีว่า ความบันเทิงนั้นไม่ใช่แค่ความบันเทิงผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตประจ�ำวัน ความบันเทิง
คือวัฒนธรรมแบบหนึ่ง และมันก็สามารถส่งออกไปนอกประเทศได้ และสามารถสร้างรายได้กลับ
เข้ามาได้ทั้งในระยะสั้น (คนต่างชาติซื้อไปเผยแพร่) และในระยะยาว (คนดู คนเสพชาวต่างชาติ
ซึมซับวัฒนธรรมความบันเทิงเข้าไปจนเกิดผลต่างๆ ตามมาทีหลัง เช่นที่คนจีนมีแรงบันดาลใจในการ
มาเมืองไทยเพื่อมาหาป้อง-ณวัฒน์) ถ้าหากเรายังคิดว่า ความบันเทิงเป็นแค่ความบันเทิง มันก็จะเป็น
แค่ความบันเทิง ถ้าหากเราคิดว่ามันสามารถท�ำเงินได้ เราก็จะวางแผนส่งออกกันอย่างจริงจัง และมัน
ก็จะท�ำเงินได้ (เช่น วัฒนธรรมเกาหลี) สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตความบันเทิงทั้งหลายนั้นรู้ดีอยู่
และต่างคนก็ต่างท�ำกันไป แต่บางครั้งมันจะไปได้ดีกว่านั้น ถ้าเราสามารถสร้างให้มันเกิดเป็นคลื่น
หนักหน่วงได้ ชาวโลกจะจดจ�ำ T-Pop ได้มากขึ้นท่ามกลางความบันเทิงอื่นๆ ที่มีอีกมากมาย
จากหลายประเทศ
24 | Tourism Journal
From the Cover
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014

More Related Content

Viewers also liked

TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]Zabitan
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015Zabitan
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"Zabitan
 
โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10Zabitan
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศZabitan
 
How English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The BetterHow English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The BetterWallStreet English
 
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร WallStreet English
 
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพThanom Ketem
 
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพStartup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพStartup Bangkok
 
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพSupakrit Wangkahard
 
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์jeyjanejane
 
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ดKriengsak Niratpattanasai
 

Viewers also liked (20)

TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
 
โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
 
How English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The BetterHow English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The Better
 
Present pnok 2015
Present pnok 2015Present pnok 2015
Present pnok 2015
 
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
 
Art of innovation
Art of innovationArt of innovation
Art of innovation
 
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
 
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014  StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
 
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพStartup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
 
Executive Coaching in Thailand
Executive Coaching in ThailandExecutive Coaching in Thailand
Executive Coaching in Thailand
 
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
 
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
 
Presentation4
Presentation4Presentation4
Presentation4
 
10 career tips
10 career tips10 career tips
10 career tips
 
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด
10 เทคนิคในการนำเสนอบอร์ด
 
Slide homeroom 2 คนต้นแบบ
Slide homeroom 2 คนต้นแบบSlide homeroom 2 คนต้นแบบ
Slide homeroom 2 คนต้นแบบ
 

Similar to TAT Tourism Journal 3/2014

TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014Zabitan
 
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013Zabitan
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีPayped คิคิ
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนบทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนMaykin Likitboonyalit
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีPayped คิคิ
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1AseansTradition55
 
Youth project documents
Youth project documentsYouth project documents
Youth project documentsworachak11
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศSaran Yuwanna
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนsompriaw aums
 
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยน
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยนแนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยน
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยนNatda Wanatda
 
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่S-ruthai
 
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยว
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยวแผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยว
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยวicecenterA11
 
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243KKU Library
 

Similar to TAT Tourism Journal 3/2014 (20)

TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014
 
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
 
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนบทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
 
Youth project documents
Youth project documentsYouth project documents
Youth project documents
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศ
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
 
Asean 007
Asean 007Asean 007
Asean 007
 
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยน
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยนแนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยน
แนวทางจัดการเรียนรู้สู่อาเซี่ยน
 
อาเซียน
อาเซียนอาเซียน
อาเซียน
 
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่
สามทศวรรษห้องสมุดเคลื่อนที่
 
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยว
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยวแผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยว
แผนวิจัย พฤติกรรมท่องเที่ยว
 
V 303
V 303V 303
V 303
 
Tsmt vol16
Tsmt vol16Tsmt vol16
Tsmt vol16
 
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243
ปัก1 มิ.ย.53ฉ 243
 
Japan reading policy
Japan reading policyJapan reading policy
Japan reading policy
 

More from Zabitan

TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015Zabitan
 
TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015Zabitan
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014Zabitan
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวZabitan
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014Zabitan
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelZabitan
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013Zabitan
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013Zabitan
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...Zabitan
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...Zabitan
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Zabitan
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวZabitan
 
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวZabitan
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวZabitan
 

More from Zabitan (15)

TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015
 
TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 

TAT Tourism Journal 3/2014

  • 1.
  • 2. ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เป็นหน่วยงานหนึ่งในเครือข่ายองค์กรบริหารการวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการ บริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศในประเด็นต่างๆ อาทิ การรองรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน การค้นหา/พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นต้น และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความจ�ำเป็นในการน�ำข้อค้นพบ/ ผลจากการวิจัยไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อมๆ ไปกับการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มีชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้ ด�ำเนินการไปแล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถน�ำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ โดยใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส 3/2557 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยในการ ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐานสากล ดังนี้ องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยว อเมริกันในต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่าการเสียชีวิต ดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง จึงมีความจ�ำเป็น อย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การพัฒนาแผนที่ที่ระบุ จุดอันตรายเพื่อการท่องเที่ยวทางถนนที่ปลอดภัย (2) การยกระดับ ความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน สากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจ (3) การ ศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อการท่องเที่ยวทางถนน อย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือ และดูแลรักษานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ ผลผลิตของการวิจัยได้จัดท�ำแผนที่ความเสี่ยงทางถนนของ ประเทศ ซึ่งสามารถบ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดล�ำดับความเสี่ยงในแต่ละ จุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว มีความส�ำคัญอย่างมากในการก�ำหนด แนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยว เอง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการ ท่องเที่ยว และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกก�ำหนดโดย มาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเที่ยว ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมีปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน โดย 1) ด้านการขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่งขาดทักษะ ทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยานพาหนะ ยังไม่เพียงพอ ปัญหาความช�ำรุดทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ 2) ด้านการจัดการ พบว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิด อุบัติเหตุของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการ สื่อสารของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเที่ยว ขาดแคลน บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลนักท่องเที่ยว 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวไม่สามารถสื่อสาร และเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ไม่ทราบสิทธิและ หน้าที่ของตนในเรื่องการฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้ กระบวนการทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้า และไม่ต่อเนื่อง
  • 3. บรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด กองบรรณาธิการ อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์ ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์ ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด จรัญ ชื่นในธรรม ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด บุษกร พรหมมาโนช ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว จิรา บัวทอง หัวหน้างานวิชาการ ณัฏฐิรา อำ�พลพรรณ พนักงานวางแผน สุจิตรา แย้มงามเหลือ พนักงานบันทึกข้อมูล เจ้าของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คณะที่ปรึกษา ธวัชชัย อรัญญิก ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลางและอเมริกา สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ ที่ปรึกษาระดับ 10 วิไลวรรณ ทวิชศรี รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน พงศธร เกษสำ�ลี รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ศุกรีย์ สิทธิวนิช รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด สมรัก คำ�พุทธ รองผู้ว่าการด้านบริหาร อานุภาพ ธีรรัฐ   รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ มานิตย์ บุญฉิม ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน
  • 4. | Tourism Talk • กลุ่ม LGBT กับการท่องเที่ยวไทยในเวทีการท่องเที่ยวโลก งาน ITB 2014 | From the Cover • T-Pop กำ�ลัง(จะ)มา | Tourism Situation • สถานการณ์การท่องเที่ยวไตรมาสที่ 1 ปี 2557 | Tourism Trend • เศรษฐกิจการท่องเที่ยว (The Visitor Economy) โดย Pacific Asia Travel Association (PATA) • The Korean Wave | Tourism Seminar • สาระน่ารู้จากการสัมมนาในงาน WTM 2013 • ถอดบทเรียนการท่องเที่ยวไทย สู่มุมมองท่องเที่ยวโคลอมเบีย ดินแดนแห่งจินตนาการที่มีอยู่จริง (Magical Realism) / (ความจริงตามจินตนาการ) Contents Tourism Authority of Thailand 1600 New Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2 fax: +66 2253 7468 email: etatjournal@tat.or.th website: etatjournal.com ebook: www.issuu.com/etatjournal www.ebooks.in.th/etatjournal twitter: @etatjournal จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset) และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า- อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Tourism Journal 3/2014 จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2 โทรสาร : 0 2253 7468 | Tourism Research 6-11 26-39 58-61 12-19 20-25 • ข้อเสนอยุทธศาสตร์ตลาดลองสเตย์ : การศึกษาภูมิหลัง ทางวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น 40-57 | Low Carbon Tourism • ขายวัฒนธรรม | Pop Culture Tourism • ทำ�สักอย่างกับมวลมหาแฟนคลับศิลปินไทยในต่างแดน Keep Calm and Follow T-Pop | Tourism @ AEC • ความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน 62-65 66-69 70-73
  • 5. ในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา มีงานอยู่ 2 งาน ที่เราติดตามอยู่อย่างต่อเนื่อง งานหนึ่งติดตาม อย่างจริงจัง เข้าร่วมทุกปี พร้อมกับประกาศตัวว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ งานนี้จัดในประเทศไทย โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ชื่องาน Creativity Unfold ปีล่าสุด  งานนี้มีชื่อเล่นสั้นๆ ว่า CU อีกงานหนึ่ง ติดตามอยู่ห่างๆ ไม่ประกาศกล้าว่าเป็นแฟน เพราะแค่ แอบชอบ แอบปลื้ม ตามประสาคนบ้าเทรนด์ งานนั้นคือ Cannes Lions International Festival of Creativity เทศกาลประกวดโฆษณาและความคิด สร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีนี้จัดเป็นปีที่ 61 ระหว่างวันที่ 15-21 มิถุนายน 2557 ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ปีนี้มีโอกาสได้มาร่วมงานคานส์ ไลอ้อนส์ ครั้งที่ 61 Theme ของปีนี้ คือ CreativityinAction ตลอดระยะเวลา 7 วัน มีการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ท�ำให้การใช้เวลาในแต่ละวัน ที่เข้างาน ต้องวางแผนอย่างดี ระหว่างจัดวางเวลาในแต่ละวัน เราต้องฮัมเพลง ได้อย่าง เสียอย่าง ของพี่ป้อม อัสนี สลับกับเพลง อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน ของ ทาทา ยัง ตลอดเวลา งานCU ของTCDC มีกลิ่นอายหลายอย่างคล้ายคานส์ ไลอ้อนส์(แต่ยังไงก็ยังเล็กกว่ามากๆ) พลังสร้างสรรค์ ของทั้งสองงาน คือ ส่วนผสมที่ก�ำหนดขึ้นจากพลังของคนจัดงานและผู้เข้าร่วมงาน แม้ว่างาน CU จะไม่มี หมุดหมายที่การแจกรางวัล แต่แค่สร้างแรงบันดาลใจให้คนท�ำงาน แค่นี้ก็ท�ำให้ชีวิตเราสดชื่นขึ้นแล้ว อย่างไร ก็ตาม ส�ำหรับงานคานส์ ไลอ้อนส์ครั้งนี้ เราจะพยายามสรุปความตามที่เราสนใจให้ฟังและอ่านต่อไป ขอให้ติดตาม ส�ำหรับ TAT Journal ไตรมาสนี้ กอง บ.ก. ตัดสินใจน�ำเรื่อง T-Pop ขึ้นปก เพราะเราคิดว่ากระแส T-Pop น่าจะสุกงอม หอมหวานพอที่จะน�ำมาพูดถึงแล้ว ลองติดตามอ่านดู เพราะมีหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจไม่ใช่สุกงอม หอมหวาน แต่กลายเป็น ชิงสุกก่อนห่าม ก็ว่ากันไป ต้องขอจบดื้อๆ แบบนี้ เพราะต้องเข้าฟังหัวข้อต่อไปแล้ว ต้องรีบ เพราะคนเยอะ คิวยาว หัวข้อที่เลือก และก�ำลังจะเข้าฟัง คือ Independence is Good for Everybody หัวข้อนี้ ส�ำหรับอินดี้อย่างเราแท้ๆ (ตอนเขียนบทบรรณาธิการ ยังอยู่ครึ่งทางของงานคานส์ ไลอ้อนส์) บทบรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล บรรณาธิการหมายเหตุ : ที่นี่ไม่มีบอลให้ดูทุกคู่ สู้เมืองไทยก็ไม่ได้
  • 6. 6 | Tourism Journal Tourism Situation สถานการณ์การท่องเที่ยว ไตรมาสที่ 1 ปี 2557เรื่อง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด
  • 7. 7|Tourism Journal Tourism Situation จ�ำนวน 6.60 ล้านคน (-6%) สร้างรายได้ 3.1 แสนล้านบาท (-4%) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทุกภูมิภาคล้วนมีการชะลอตัว ยกเว้น แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา จ�ำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน รัสเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนตลาดที่มีอัตรา การเติบโตสูงสุด ได้แก่ ลาว บราซิล อียิปต์ ส่วนตลาดที่หดตัวมากที่สุด คือ ฮ่องกง คูเวต และบรูไน สาเหตุหลักของการชะลอตัวจากการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2557 ที่มีผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศประกาศค�ำแนะน�ำ นักท่องเที่ยว (Travel Advisory) ในระดับที่แตกต่างกัน ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 Africa Middle East Oceania South Asia The Americas Europe North East Asia ASEAN -25.00 -20.00 -15.00 -10.00 -5.00 +0.00 +5.00 +10.00 +15.00 +10.06 +0.09 -12.34 -5.26 -13.77 -20.09 -2.33 +6.64 อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รายสัญชาติ) ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (แยกตามรายภูมิภาค) สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557
  • 8. 8 | Tourism Journal Tourism Situation แนวโน้มยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ภาพรวมยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน ล่วงหน้ามาประเทศไทยยังคงชะลอตัว (-6%) ภูมิภาคที่ขยายตัว ได้แก่ ยุโรปใต้ ยุโรปเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ส�ำหรับเอเชีย และแปซิฟิก ยุโรปกลาง และ ตะวันออกกลาง ยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง การเดินทางเข้าท่าอากาศยานไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยว เดินทางเข้าท่าอากาศยานภูเก็ตมากที่สุด รองลงมาคือ เกาะสมุย และเชียงใหม่ ยกเว้นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมือง -50 -40 -30 -20 -10 +0 +10 +20 +30 Oceania, -9 Africa, +8 NE Asia, +3 South AME, +19 Southern EU, +26 Northern EU, +16 ที่มา : Forwardkeys ณ วันที่ 23 เมษายน 2557 South Asia, -24 SE Asia, -38 MD East, -18 North AME, -8 Central/East EU, -32 Western EU, -5 ภาพรวมยอดการจองตั๋วโดยสารเครื่องบิน ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (-6%) การเปรียบเทียบแนวโน้มกับเป้าหมายจ�ำนวนนักท่องเที่ยว ปี 2014 Q1 Q2 Q3 Q4 จ�ำนวน : คน Trend 2014 Target 2014 9,000,000 8,000,000 7,000,000 6,000,000 5,000,000 4,000,000 3,000,000 2,000,000 1,000,000 0 การเปรียบเทียบแนวโน้มและเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยว ปี 2014 Q1 Q2 Q3 Q4 (ล้านบาท) Trend 2014 Target 2014 450,000.0 400,000.0 350,000.0 300,000.0 250,000.0 200,000.0 150,000.0 100,000.0 50,000.0 0.0 Nationality Actual
  • 9. 9|Tourism Journal Tourism Situation คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการไตรมาสที่ 2/2557 เท่ากับ 98 เป็นการคาดการณ์ที่ต�่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 ในไตรมาสที่ 2/2557 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.15 ล้านคน เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ส่งผลให้ไทยสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว ในครึ่งปีแรกสูงถึง 8.2 หมื่นล้านบาทจากที่เคยคาดการณ์ไว้ และหากสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจส่งผล ให้ความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการไตรมาสที่1/2557 เท่ากับ96 เป็นไตรมาสแรกนับตั้งแต่ปี 2556 ที่ผู้ประกอบการประเมินความ เชื่อมั่นต�่ำกว่าระดับปกติ แสดงให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของ ผู้ประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2553-2557
  • 10. 10 | Tourism Journal Tourism Situation จ�ำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย 35.22 ล้านคน-ครั้ง รายได้จากคนไทย รวม 113,361.14 ล้านบาท จ�ำนวนผู้เยี่ยมเยือนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OR) อยู่ที่ร้อยละ 65 โดยภาคใต้ และภาคตะวันออก มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงกว่าของทั้งประเทศ หมายเหตุ : จ�ำนวน รายได้ และอัตราการเข้าพัก เป็นตัวเลขเบื้องต้น ภาคกลาง รวมกรุงเทพฯ และภาคตะวันตก สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ภาพรวมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 25571 รายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทย : ม.ค.-มี.ค. 2557 ทั้งประเทศ 113,361.14 ล้านบาท ล้านบาท 51,694 10,814 22,837 14,505 13,512 60,000 40,000 20,000 0 ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OR) : ม.ค.-มี.ค. 2557 (%) 100 0 65 59 69 61 54 74 หมายเหตุ : อัตราการเข้าพักเฉลี่ย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ทั้งประเทศ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 11. 11|Tourism Journal Tourism Situation สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ในไตรมาสที่ 1/2557 มีนักท่องเที่ยวไทยร้อยละ 65 เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน และนักศึกษา มีสัดส่วนมากที่สุด2 พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 25573 พบว่า คนไทยท่องเที่ยวในประเทศลดลงร้อยละ 5 ใช้จ่ายเงิน เพื่อท่องเที่ยวเฉลี่ยคนละ 9,856.24 บาท ทั้งนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่เกื้อหนุนต่อการไปเที่ยวต่างประเทศของคนไทย4 ได้แก่ ความสะดวกด้านวีซ่า (2) การเติบโตของสายการบินต้นทุนต�่ำจากไทยไปต่างประเทศ (3) การแข่งขันด้านราคา ของแพ็คเกจทัวร์ ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง ท�ำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ ลดจ�ำนวนการเที่ยวในประเทศลง (ร้อยละ 41) ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภาคเหนือและกรุงเทพฯ และอีกส่วนหนึ่งลดค่าใช้จ่ายการเที่ยวลง (ร้อยละ 17)1 เช่นเดียวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย 3/4 ซึ่งพบว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหา การเมืองในประเทศ ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายในระยะนี้ แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ในไตรมาสที่ 2/2557 นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 50 มีแผนการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย จุดหมายที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง2 จากผลการส�ำรวจในหัวข้อ ‘จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว’5 พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีแนวโน้มเดินทางเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีวันหยุดเทศกาลและวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาพักแรม มีมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นร้อยละ 51 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16) อย่างไรก็ตาม สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว คาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (10-16 เมษายน) มีคนไทยไปเที่ยว ต่างประเทศประมาณ 2-2.5 แสนคน โดยคนไทยมีแนวโน้มเลือกแพ็คเกจที่มีราคาไม่สูงมากนัก ซื้อทัวร์ที่มีวันเดินทาง น้อยลง ทั้งนี้ แพ็คเกจทัวร์ราคาถูกลงจากการแข่งขันที่ดุเดือดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเส้นทางญี่ปุ่น ที่มา : 1 ททท. ส�ำนักงานในประเทศ : ระบบรายงานสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ 2 สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : โครงการการรายงาน และพยากรณ์สถานการณ์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย 3 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 4 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 5 กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : โครงการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่มีการเดินทาง และมีแผนในการเดินทางในประเทศ
  • 12. 12 | Tourism Journal Tourism Research ข้อเสนอยุทธศาสตร์ ตลาดลองสเตย์ : การศึกษาภูมิหลัง ทางวัฒนธรรม และการใช้ชีวิต ของกลุ่มเป้าหมาย ให้มากขึ้น1 เรื่อง : พนิดา อนันตนาคม2 / เรียบเรียง : กองวิจัยการตลาด 1 บทความนี้ปรับปรุงจากการนำ�เสนอผลงานในงานเสวนาเรื่อง ‘ชาติพันธุ์นิพนธ์ลองสเตย์ : คนญี่ปุ่นมาทำ�อะไรที่เชียงใหม่’ ที่ร้านหนังสือ Book Re:public เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถอดความเนื้อหาการเสวนาโดย กองวิจัยการตลาด ททท. และผู้ศึกษาได้นำ�มาเรียบเรียงโดยเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน 2 อ.ดร.ประจำ�คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12 | Tourism Journal
  • 13. 13|Tourism Journal Tourism Research ความเป็นมาของนโยบายลองสเตย์ กับความคาดหวังทางเศรษฐกิจของไทย บริบทที่น�ำมาสู่การให้บริการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์(Longstay) ของไทย คือการท่องเที่ยวแบบเดิม ๆ ที่เน้น สินค้าและบริการประเภทหาดทรายชายทะเล หรือSeaSandSun เริ่มถึงจุดอิ่มตัวภายหลังจากที่มีส่วนส�ำคัญใน การช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยจากวิกฤติต้มย�ำกุ้ง ประกอบกับการที่โลกเริ่มไม่มั่นคงจากภัยก่อการร้าย และสงคราม ในประเทศอิรักตั้งแต่ปี2001 เป็นต้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่าง ประเทศลดลง ประเทศไทยต้องการเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว โดยการยืดระยะเวลาให้นักท่องเที่ยวพักนานขึ้นและใช้จ่าย มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ การรักษาพยาบาลซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฝั่งประเทศญี่ปุ่นเองก็ประสบปัญหาภาระด้านการเงิน จากการที่ต้องจ่ายสวัสดิการเป็นจ�ำนวนมากแก่ ผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุกลุ่มนี้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่2 ระหว่างปี1947-1949 หรือที่เรียกว่ากลุ่ม ‘เบบี้บูมเมอร์’ ซึ่งเป็นประชากรที่เกิดในช่วงที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้เพิ่มจ�ำนวนประชากร หลังจากที่สูญเสียประชากรในสงคราม เป็นจ�ำนวนมาก นอกจากปัญหาการเพิ่มจ�ำนวนของผู้สูงอายุแล้ว อายุเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ เพศหญิง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 ผู้หญิงญี่ปุ่นจะมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 91 ปี เมื่อถึงปี 2007 ‘เบบี้บูมเมอร์’ มีอายุครบ 60 ปี และเริ่มเกษียณอายุการท�ำงาน ท�ำให้บุคลากรที่มี ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญหายไปจากภาคธุรกิจเป็นจ�ำนวนมาก ในขณะที่จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่น มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในปี2003 จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ต�่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ปรากฏการณ์ ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาว แต่จ�ำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงนี้ ท�ำให้ฐานประชากรที่จะต้องจ่ายเงินภาษีเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ลดลง และท�ำให้เงินบ�ำนาญลดลงในที่สุด สวนทางกับค่าครองชีพในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 13|Tourism Journal
  • 14. 14 | Tourism Journal Tourism Research แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าประเทศปลายทางให้ความสนใจน้อยมาก คือการให้ ความสนใจต่อบริบทด้านวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือทางฝ่าย ‘Guest’ กล่าวคือ การมุ่งเน้นในด้านของการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการขายวัฒนธรรมของฝ่าย ‘Host’ ก็ดี หรือการน�ำเสนอความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายเน้นFacilities ทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว ก็ดี สิ่งเหล่านี้ อาจไม่เพียงพอที่จะจูงใจผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นให้มาพ�ำนักในประเทศไทย มากขึ้นหรือนานขึ้นได้3 การหันมาศึกษาหรือให้ความสนใจบริบทด้านวัฒนธรรมของ ฝ่าย ‘Guest’ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุกภาคส่วนควรหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพื่อการ น�ำเสนอ ‘สินค้า’ ที่ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ซึ่งในบทความนี้ จะได้ น�ำเสนอภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของคนยุค ‘เบบี้บูมเมอร์’ เพื่อเป็นแนวทาง ในการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเกษียณและได้ไปพ�ำนักระยะยาว ตามประเทศต่างๆ แล้วตั้งแต่ปี 2007 ต่อเนื่องจนถึงปี 2012 (จึงถือได้ว่ากลุ่มเป้าหมาย ของตลาดลองสเตย์ได้พ้นคนรุ่นนี้ไปแล้ว) ก็ตาม แต่ประสบการณ์ของคนรุ่นนี้ก็ยัง มีผลอยู่มากต่อสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในรุ่นต่อมาที่อายุใกล้เคียงกัน วิถีชีวิต ครอบครัวความเป็นอยู่ และเทพเจ้า 3 อย่างของคนญี่ปุ่น รุ่นเบบี้บูมเมอร์ มีการตั้งข้อสังเกตว่า คนรุ่นก่อนเบบี้บูมเมอร์สามารถปรับตัวอยู่กับชุมชนได้ดี กว่ารุ่นเบบี้บูมเมอร์ เนื่องจากสภาพสังคมในญี่ปุ่นหลังสงครามนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยประชากรในรุ่นของเบบี้บูมเมอร์มีจ�ำนวนมาก ท�ำให้คนรุ่นนี้เกิดมาพร้อมกับการ แข่งขัน ชั้นเรียนเป็นปลากระป๋อง พออายุเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็เป็นช่วงเดียวกับที่เศรษฐกิจ เจริญเติบโตมาก ท�ำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าสู่เมืองหลวงมากขึ้น คนรุ่นนี้ ถือเป็นรุ่นที่สร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น บางคนจบการศึกษาแค่ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย แต่ก้าวหน้าในการท�ำงาน เพราะสังคมญี่ปุ่นเน้นประสบการณ์ ส่วนเบบี้- บูมเมอร์ที่เรียนในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าสู่ขบวนการนักศึกษาในช่วงต้านสงครามเวียดนาม ‘เทพเจ้า 3 อย่าง’ ของเบบี้บูมเมอร์ ได้แก่ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น คนรุ่นนี้เป็นผู้น�ำแฟชั่นและการบริโภค นิยมวัตถุมากกว่าคนรุ่นก่อน โดยเป็นผลจาก การน�ำวัฒนธรรมบริโภคแบบอเมริกันเข้ามาหลังจากการแพ้สงคราม ครอบครัวของเบบี้บูมเมอร์เริ่มจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ซึ่งเป็นครอบครัว แบบใหม่ จากอดีตที่พ่อต้องเป็นใหญ่ กลายเป็นผู้ชายจะต้องฟังภรรยาและลูกมากขึ้น ที่อยู่อาศัยมักจะอยู่บริเวณชานเมือง มีการสร้างแฟลต และอพาร์ตเมนต์เป็นจ�ำนวนมาก คนรุ่นนี้จึงเคยชินกับการอยู่แฟลตหรืออพาร์ตเมนต์ของบริษัทมากกว่าการอยู่บ้านเดี่ยว เนื้อที่กว้างขวางแบบคนรุ่นก่อนสงคราม นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ชายญี่ปุ่นจะออกไปท�ำงาน ส่วนผู้หญิงจะอยู่บ้าน เมื่อถึงเวลาเกษียณอายุ ประเทศ ญี่ปุ่นจะมีบ�ำนาญของคู่สมรส แม่บ้านก็จะได้เงิน บ�ำนาญด้วยเพราะถือว่าเป็นผู้สนับสนุนสามี อย่างไร ก็ตาม ในวันที่ผู้ชายเกษียณกลับมาอยู่บ้าน กิจวัตร ประจ�ำวันของแต่ละฝ่ายก็เปลี่ยนไป เกิดปัญหาในการ ใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเฉพาะการปรับตัวของฝ่ายชาย ไม่เฉพาะแต่ในครอบครัว การปรับตัวให้เข้ากับชุมชน ก็เป็นเรื่องล�ำบาก ผู้สูงอายุจึงต้องไปแสวงหาการด�ำรง ชีวิตอย่างเป็นสุขและราบรื่นหลังวัยเกษียณ หรือ ‘Second Life’ นั่นเอง รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา หลายวิธี เช่น ชะลอการจ่ายเงินบ�ำนาญโดยการยืด เวลารับเงินออกไป ยืดอายุวัยเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี รวมไปถึงนโยบายลองสเตย์ ให้ไปท่องเที่ยว แบบระยะยาวในต่างประเทศ อันเป็นโอกาสส�ำหรับ ประเทศปลายทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด�ำรงชีวิตอยู่ ในประเทศ ในการเสนอขายชีวิตแบบ ‘อยู่อย่างราชา ราคามิตรภาพ’ 3 ควรกล่าวด้วยว่าในกรณีประเทศไทย ปัญหาการออกวีซ่า พำ�นักระยะยาว ที่ให้เวลาพำ�นักสั้นกว่าประเทศคู่แข่งก็เป็น อีกปัญหาหนึ่งสำ�หรับผู้สูงอายุกลุ่มลองสเตย์
  • 15. 15|Tourism Journal Tourism Research เมื่อเบบี้บูมเมอร์มีอายุรุ่น 40 ปีตอนกลาง คนรุ่นนี้ก็เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก มีการปรับคนงานออก และเมื่อมีอายุรุ่น50 ปีตอนปลาย ก็เริ่มมีการประเมิน การท�ำงานเพื่อคัดคนออก และเริ่มมีการจ้างงานแบบPart-time มากขึ้น เป็นการล่มสลาย ของระบบ ‘จ้างงานตลอดชีวิต’ และ ‘เลื่อนขั้นตามความอาวุโส’ ของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่ หลังฟื้นตัวจากสงคราม ความมั่นคงในชีวิตของคนเหล่านี้เริ่มหายไป ลองสเตย์ : ต่อยอดนโยบายส่งเสริม คนญี่ปุ่นสูงวัยไปยังต่างประเทศ ย้อนกลับมากล่าวถึงนโยบายลองสเตย์ ความจริงคนญี่ปุ่นมีการอพยพออกนอกประเทศ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยโครงการที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ‘Silver Columbia92’ หรือโครงการลงทุนที่รัฐผลักดันให้มีการก่อสร้างJapanTown ในประเทศ ต่างๆ เช่น สเปน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส�ำหรับผู้เกษียณอายุ ในปี1986 โครงการนี้ ถูกวิจารณ์จากสังคมญี่ปุ่นว่าเหมือนต�ำนานเรื่องเอาคนแก่ไปทิ้งที่ภูเขา ส่วนต่างประเทศ ก็วิจารณ์ว่า ‘ส่งออกรถยนต์ไม่พอ ส่งออกคนแก่ด้วยหรือ’ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้งองค์กรLongstayFoundation ยุทธศาสตร์จาก ‘การย้ายถิ่น’ เป็น ‘การไปท่องเที่ยวแบบพ�ำนักระยะยาว’ จากที่จะไปสร้าง ‘หมู่บ้านคนญี่ปุ่น’ ในต่างประเทศ ก็เปลี่ยนเป็นการสร้าง ‘พื้นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม’ Longstay Foundation ได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลองสเตย์มากมาย เช่น จัดสัมมนาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประเทศต่างๆ ร่วมกับบริษัทน�ำเที่ยว จัดโปรแกรมการ ทดลองใช้ชีวิต พิมพ์หนังสือคู่มือ จัดงาน Longstay Fair และส�ำรวจความต้องการของ สมาชิกในการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
  • 16. 16 | Tourism Journal Tourism Research ค�ำจ�ำกัดความ ‘ลองสเตย์’ ของญี่ปุ่น Longstay Foundation ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของ ‘ลองสเตย์’ ไว้ว่า n เป็นการพํานักระยะยาวขึ้น ไม่ใช่ ‘การย้ายถิ่น’ หรือ ‘การอยู่ถาวร’ แต่เป็นการไปพํานักอาศัย ในต่างประเทศตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และสุดท้ายจะกลับมาที่ญี่ปุ่น n ครอบครองหรือเช่าที่พักในต่างประเทศ โดยเป็นห้องเช่าในอาคารที่ใช้สําหรับพักอาศัยที่มีอุปกรณ์จําเป็น สําหรับการดํารงชีวิตประจําวันอย่างเหมาะสม n มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เป็นการใช้เวลาว่างในต่างประเทศเพื่อการพักผ่อน มีการคบหาและร่วมกิจกรรมกับคนท้องถิ่น เช่น เรียนภาษา ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม หรือเป็นอาสาสมัคร n เป็นการ ‘ใช้ชีวิตประจําวัน’ มากกว่า ‘การท่องเที่ยว’ โดยลองสเตย์เป็นการหาประสบการณ์ที่ ‘เป็นประจําวัน’ ในต่างประเทศ n มีแหล่งเงินทุนที่มาจากญี่ปุ่น โดยอาจจะเป็นเงินบ�ำนาญ หรือดอกเบี้ยธนาคาร ไม่ได้เป็นการทํางาน เพื่อหารายได้ในต่างประเทศ แต่ใช้เงินรายได้ที่มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่นในการพํานักระยะยาว ทั้งนี้ เราอาจให้ค�ำจ�ำกัดความได้ว่า ‘ลองสเตย์’ คือ การด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยการท่องเที่ยว ค�ำจ�ำกัดความ ‘ลองสเตย์’ ในงานศึกษาชิ้นนี้ อย่างไรก็ตาม ระหว่างท�ำการศึกษาพบว่า มีผู้สูงอายุบางคนที่ตั้งใจมาลองสเตย์ แต่เมื่อรู้จักเพื่อนในเมืองไทยที่ชวนให้ไปท�ำงาน ก็เปลี่ยนวีซ่าเป็นแบบท�ำงาน หรือ ผู้สูงอายุที่อยากกลับไปตายที่บ้านเกิด แต่ไม่รู้จะกลับญี่ปุ่นเมื่อไหร่ จึงได้ให้ค�ำจ�ำกัดความ ของ ‘ลองสเตย์’ ในการศึกษาว่า n เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่50 ปีขึ้นไป เกษียณอายุจากการทํางานแล้ว รวมทั้งคู่สมรส ด้วย (ไม่รวมคู่สมรสที่เป็นคนท้องถิ่น) n มีวัตถุประสงค์ในการพํานักคือ ‘การดํารงชีวิต หรือการอยู่อาศัย (Living)’ ไม่ใช่ ‘การท่องเที่ยว (Sightseeing)’ แบบนักท่องเที่ยว (Tourist) ทั่วไป
  • 17. 17|Tourism Journal Tourism Research n นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ในการพํานักไม่ได้เป็นการทํางาน หรือการหารายได้เพื่อยังชีพ แม้อาจมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นบางครั้ง n Longstayer หมายถึง ผู้พํานักชั่วคราวและผู้พํานักถาวร โดยมีระยะเวลาในการพํานักตั้งแต่ 1 เดือน (30 วันขึ้นไป) โดย หมายรวมถึงผู้มาพํานักตามฤดูกาลด้วย n ที่พํานักอาศัยไม่ใช่โรงแรมหรือรีสอร์ท แต่เป็นที่พํานัก เช่นเดียวกับคนท้องถิ่น เช่น บ้านเช่า คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ตเมนต์ โดยอาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าอาศัยก็ได้ n การดําเนินชีวิตประจําวันไม่แตกต่างจากคนท้องถิ่นมากนัก เช่น มีการคบหาสมาคมกับคนท้องถิ่น สามารถสนทนาเป็นภาษาท้องถิ่น เกี่ยวกับชีวิตประจําวันง่ายๆ ได้ หรือมีคู่สมรสเป็นคนในท้องถิ่น เชียงใหม่ในฐานะเป็นสถานที่ ‘ลองสเตย์’ ของคนญี่ปุ่น จากการส�ำรวจความคิดเห็นในงานLongstayFair เมื่อปี2012 ประเทศไทยจัดเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับที่ 2 ในเรื่อง การลองสเตย์ รองมาจากประเทศมาเลเซีย ในปี2005 ประเทศไทยเคยครองความนิยมในอันดับที่4 และ5 ของทั่วโลก แต่เป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียส�ำหรับผู้สูงอายุของ ประเทศญี่ปุ่น แต่หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2006 ก็ตกจาก อันดับที่ 1 ไป และเพิ่งกลับเข้าสู่ความนิยมอีกครั้งในปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากสถานทูตญี่ปุ่นระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่มีชาวญี่ปุ่น จ�ำนวนมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากกรุงเทพฯ และชลบุรี และข้อมูล จากกงสุลเชียงใหม่ระบุว่า ในจ�ำนวน9 จังหวัดภาคเหนือ มีชาวญี่ปุ่น จ�ำนวนกว่า3,300 คน และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่มาลองสเตย์(ข้อมูล ณ เดือนมกราคม ปี 2013)
  • 18. 18 | Tourism Journal Tourism Research จัดสัมมนาและส่งตัวแทนไปร่วมงานสัมมนาที่เกี่ยวกับ Longstay ในเชียงใหม่ จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เช่น กอล์ฟ คาราโอเกะ เจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของกลุ่มในเวทีต่างๆ เช่น การ ปรับปรุงทางเท้า ระบบขนส่งคมนาคม เช่น การตั้งราคาค่าโดยสารของ รถสี่ล้อรับจ้าง (รถแดง) ที่แน่นอน เป็นต้น คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มาอยู่เชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2007-2008 จากการสัมภาษณ์ชาวญี่ปุ่นที่มาลองสเตย์14 กรณี ประกอบด้วย 2 ครอบครัว 7 คู่สามีภรรยา และที่อยู่ตามล�ำพังอีก 5 ราย และ ชาวไทยอีก9 กรณี เช่น แม่ค้าร้านอาหารตามสั่ง พนักงานบริษัท น�ำเที่ยว นักศึกษา และไกด์ พบว่าชาวญี่ปุ่นมาอยู่แบบคู่สามี ภรรยามากที่สุดถึงร้อยละ41 สถานภาพโสด ร้อยละ38 เดินทาง มาคนเดียวโดยที่ครอบครัวยังอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นร้อยละ 13 และ อยู่แบบพ่อแม่ลูก ร้อยละ 4 ส่วนเหตุผลหลักที่เลือกมาพ�ำนักระยะยาวในเชียงใหม่ เนื่องจาก ค่าครองชีพถูกกว่ากรุงเทพฯ อากาศเย็นสบายกว่า และใกล้ ประเทศญี่ปุ่นท�ำให้เดินทางสะดวก ในเชียงใหม่มีการรวมตัวของกลุ่มลองสเตย์หลายองค์กร เช่น Chiang Mai Longstay Life Club (CLL Club) ซึ่งเป็น กลุ่มใหญ่ที่สุด ก่อตั้งเมื่อปี 2002 มีสมาชิกราว 150 คน (ข้อมูล เดือนมิถุนายน ปี 2012) โดยองค์กรเหล่านี้จะท�ำหน้าที่เป็น ตัวกลางประสานงานในการดําเนินกิจกรรมกับท้องถิ่น เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร จัดงานเทศกาลประจําปีล้านนา-ญี่ปุ่น ร่วมกับสถานกงสุล ให้คําแนะนําปรึกษาแก่สมาชิกและคู่สมรส คนญี่ปุ่นมาท�ำอะไรกันที่เชียงใหม่ และคนเชียงใหม่เห็นอย่างไร จากการเก็บข้อมูลภาคสนามสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุญี่ปุ่นมาลองสเตย์ นั้นมาด้วย 4 เหตุผลหลัก ได้แก่ หนีหนาว หนีความยากจน (เพราะอยู่ที่ ญี่ปุ่นต้องประหยัดมาก) หนีความโดดเดี่ยวเพื่อหาผู้หญิง และหนีจากความ กดดันในสังคมญี่ปุ่น ปัจจุบัน นโยบายลองสเตย์ของไทยอาจตอบสนอง 2 โจทย์แรก แต่โจทย์สุดท้าย คือ การหนีความกดดันในสังคมญี่ปุ่นนั้น การศึกษาภูมิหลัง ทางวัฒนธรรมจะมีส่วนช่วยในการวางยุทธศาสตร์เพื่อตอบโจทย์นี้ได้มาก และถือเป็นทางเลือกใหม่ของการท�ำการตลาดดังที่ได้กล่าวแล้ว ส่วนการที่คนเชียงใหม่เห็นอย่างไรนั้น ในระดับบุคคล พบว่า คนเชียงใหม่ส่วนใหญ่ไม่เห็นว่ากลุ่มลองสเตย์มีปัญหา แต่เห็นเป็นภาพ นักท่องเที่ยว ภาพคนญี่ปุ่นที่มาอยู่อาศัยในเชียงใหม่ เป็นภาพค่อนข้างบวก เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ยังไม่รังเกียจที่จะคบหา เป็นการส่วนตัวหรือมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่มี ภาพลักษณ์ว่าเรียบร้อยสุภาพกว่าฝรั่ง อีกทั้งในบางรายการ ‘มีเพื่อนเป็นคนญี่ปุ่น’ ช่วยเสริมสถานะ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ การที่มีชาวต่างชาติรวมทั้งคนญี่ปุ่น อยู่ในชุมชนเป็นโอกาสมากกว่าความเสียหาย เช่น การฝึกภาษา เพิ่มรายได้ จากการเป็นล่าม ไกด์ สอนภาษาไทย และการค้าขายในพื้นที่ที่มีคนญี่ปุ่น อาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมาก แต่ทว่า ในอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจจากการศึกษา ได้แก่ การที่ คนเชียงใหม่ไม่ต่อต้านชาวญี่ปุ่น แต่กังวลกับการที่ ‘คนกรุงเทพฯ’ ย้ายถิ่น โดยชาวเชียงใหม่บางคนบอกว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ก็น่าจะต้องมี ‘วีซ่า’ แม่ค้าบอกว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ต่อราคาของน่าเกลียด ในขณะที่การลงสนาม ของผู้ศึกษาพบว่า คนญี่ปุ่นเองก็ต่อราคา(เช่น หมูปิ้งไม้ละ5 บาท ต่อเหลือ 3 บาท)
  • 19. 19|Tourism Journal Tourism Research ดังนั้น ในแง่เศรษฐกิจกับลองสเตย์ งานศึกษาชิ้นนี้ ไปไม่ถึงการค�ำนวณ ต้นทุนในแง่เศรษฐศาสตร์ว่าประเทศไทยได้หรือเสียอย่างไร(ได้คุ้มเสียหรือไม่) เนื่องจากผู้สูงอายุญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเพราะต้องการประหยัด ธุรกิจ ที่ได้รับอานิสงส์โดยตรง คือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและโรงพยาบาล และ แรงงานในวงอุตสาหกรรมดังกล่าว ในขณะที่ชาวบ้านร้านค้าเล็กๆ นอกวง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น แม่ค้าหมูปิ้งคนดังกล่าว ที่อาจต้องขายหมูปิ้ง ในราคาที่ถูกกว่า อาจไม่ได้อานิสงส์ในแง่เศรษฐศาสตร์มากนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มลองสเตย์อาจจะมีส่วนในการกระตุ้นการแก้ไขปัญหา ภาครัฐ เนื่องจากการเข้ามามีพื้นที่ต่อรองผ่านตัวแทนของกลุ่มดังที่ได้กล่าวแล้ว และเสียงของฝรั่งและญี่ปุ่นมักจะดังกว่าเสียงของคนไทย และอาจจะไปถึง จุดที่ว่าเราควรจะปรับปรุงบ้านเมืองให้น่าอยู่ส�ำหรับเรื่องเหล่านี้ เพราะบ้านเมือง ที่น่าอยู่ส�ำหรับต่างชาติก็น่าจะเป็นบ้านเมืองที่น่าอยู่ส�ำหรับคนไทยด้วย
  • 20. 20 | Tourism Journal From the Cover กำ�ลัง(จะ)มา 20 | Tourism Journal
  • 21. 21|Tourism Journal From the Cover เรื่อง : นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์ ทุกวันนี้เวลาพูดถึงการส่งออกวัฒนธรรม ถ้าจะให้พูดถึงกรณีการส่งออก วัฒนธรรมความบันเทิงเกาหลีอีกก็คงเริ่มจะน่าเบื่อกันบ้างแล้ว ใช้เป็นกรณีศึกษา กันมาเกือบจะสิบปี และเอาเข้าจริง ณ ตอนนี้กระแสของเกาหลีแม้จะไม่ได้ถึงกับ ตกมาตรฐานแต่ก็เริ่มเจือจางไปบ้าง แต่ไม่ใช่เป็นเพราะพวกพี่เขาตกต�่ำลง แต่เป็น เพราะพวกเขาอยู่ในช่วงที่ก�ำลังจะพิชิตโลก (ด้วยการส่งออกผู้ก�ำกับเกาหลีตัวแม่ ไปท�ำหนังในฮอลลีวูดถึง 3 คน และพยายามดันนักร้องไปสร้างชื่อเสียงในอเมริกา อย่าง PSY กังนัมสไตล์) ซึ่งคงต้องใช้เวลากันอีกสักพักกว่าเกาหลีใต้จะสามารถปักธง ระดับโลกได้จริงๆ ซึ่งถ้าเขาท�ำได้ส�ำเร็จเมื่อไหร่ เดี๋ยวเราก็จะตามไปศึกษาตอนนั้น (ตกลงเราจะตามเขากันตลอดเลยใช่มั้ย ฮา) ตอนนี้จึงปล่อยเขาไปก่อน 21|Tourism Journal
  • 22. 22 | Tourism Journal From the Cover และที่ตอนนี้ปล่อยเขาไปก่อนได้ เพราะมีของใหม่ก�ำลังจะมา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า T-Pop ใช่ครับ T นั้นย่อมาจากค�ำว่า THAI T-Pop จึงหมายถึง วัฒนธรรมความบันเทิงไทย ในความหมายแบบที่ชาวโลกเข้าใจ! นี่ก็เขียนบิวท์กันซะยิ่งใหญ่ เขียนราวกับพวกเราได้เป็นเจ้าสมุทรแห่งเอเชียกันไปแล้ว มีค�ำย่อภาษาอังกฤษเหมือนK-Pop,J-Pop ด้วย ยังครับ ใจเย็น มันยังไม่ได้ยิ่งใหญ่ครับ มันแค่ก�ำลังจะมา แต่มันยังไม่มา ดังนั้น จึงอย่าเพิ่งดีใจ ร้องเฮกันไปก่อน (แต่ไหนๆ มันก็ก�ำลังจะมา ท�ำไมเราไม่ท�ำให้มันมากันจริงๆ ล่ะครับ) 4. โต้ง-บรรจงปิสัญธนะกูลผู้ก�ำกับแห่ง‘พี่มาก... พระโขนง‘ บอกกับผมมาสักพักแล้วว่า เขาก�ำลังจะได้ ก�ำกับหนังจีนที่รีเมคมาจากหนังของเขาเองที่ชื่อ ‘คนกอง’ (ตอนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง ‘ห้าแพร่ง’ ที่น�ำแสดงโดย มาช่า วัฒนพานิช และ แก๊งหนุ่มๆ จากพี่มาก...) โดยมีผู้อ�ำนวยการสร้างเป็น โจว ซิงฉือ ทั้งหมดนี้ อาจจะเป็นเพียงประสบการณ์ส่วนตัว หลวมๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ขนาดผม ไม่ได้ติดตามอย่างจริงจัง แต่ข่าวสารเหล่านี้ยังเดินทาง มาถึงผมได้ แสดงว่ากระแสลมแห่ง T-Pop นั้น ก็ไม่ใช่กระแสอันแผ่วเบา แต่มันเริ่มตั้งเค้าบ้างแล้ว เพราะอย่างน้อย เราก็ไม่เคยได้ยินอะไรแบบนี้เมื่อ 10 ปีก่อนเช่นกัน ความจริงเราเริ่มเห็นอะไรแบบนี้มาเป็นเวลา สักพักแล้ว ช่วงหนังเรื่อง ‘รักแห่งสยาม’ โด่งดังเมื่อ ประมาณ 7 ปีก่อน (ปี 2550) เราได้เห็นกระแสความ คลั่งไคล้หนังเรื่องนี้ในประเทศจีนและไต้หวันเป็น อย่างมาก นักแสดงหนุ่ม มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นที่รู้จัก (และส่งผลให้หนังเรื่องถัดๆ มาของเขาอย่าง ‘สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก’ ขายดิบขายดีไปด้วย) นอกจากนั้น วงดนตรี August ที่เป็นวงในหนังและสร้างขึ้นมาเป็น วงจริงๆ มีอัลบั้มจริงๆ ก็เป็นที่นิยม มีแฟนคลับจริงๆ จังๆ ยามเดินทางไปแสดงที่เมืองจีน นั่นอาจจะเป็น ข่าวแรกๆ ที่เราเริ่มได้ยินเกี่ยวกับกระแสความแรง ของความบันเทิงไทยในต่างแดน ต่อจากนั้นไม่นาน เราก็เริ่มได้ยินข่าวละครทีวี ไทยไประเบิดกระจายตามประเทศจีนในช่วงปี 2553 คู่เคียงไปกับละครเกาหลีและไต้หวัน จริงๆ เราเริ่มกัน ตั้งแต่ปี2546 กับละครเรื่อง ‘เลือดขัตติยา’ ของค่าย เอ็กแซ็กท์ ที่มี ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ และ อ้อม-พิยดา แสดงน�ำ แต่ก็ไม่มีอะไรชัดเจนเท่าชื่อเสียงของ ป้อง- ณวัฒน์ ซึ่งถือเป็นซูเปอร์สตาร์มากๆ ในจีน เพราะ ละครที่เขาเล่นถูกซื้อไปฉายในจีนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ขอเริ่มจากเล่าประสบการณ์ตัวเองก่อนเล็กน้อยถึงความรู้สึกก�ำลังมาของกระแส T-Pop แบบจริงๆ จังๆ 1. มีวันหนึ่งที่ผมต้องเดินทางไปยังเทศกาลหนังที่ฮ่องกงเพื่อพาหนังอิสระของตัวเอง ไปเดินสายประกวด ที่นั่น ผมก็ได้มีโอกาสเจอเพื่อนผู้ก�ำกับท่านอื่นๆ ในสายประกวด ด้วยกัน โดยคนที่นั่งใกล้ผมที่สุด คือ เพื่อนชาวไต้หวัน แรกๆ คุยกันก็ไม่มีอะไร จากนั้น ก็คุยกันว่า ปกติที่ประเทศตัวเองท�ำงานอะไรกันบ้าง ผมตอบเขาว่า ผมเขียนบทหนังให้ที่ บริษัท จีทีเอช เขาก็ผงะไปนิดนึง บอกว่า โห! จีทีเอช เหรอ(ส่วนผมผงะกลับว่า คุณรู้จัก ได้ไง คือปกติค่ายหนังต่างประเทศที่ไม่ใช่ฮอลลีวูด เราจะไม่รู้จักหรือจ�ำกันไม่ค่อยได้ หรอกครับ แค่จ�ำชื่อผู้ก�ำกับได้นี่ก็ถือว่าเนิร์ดมากแล้ว) เขาถามต่อไปว่า แล้วคุณเคยเขียน เรื่องอะไรมา ผมตอบว่า Bangkok Traffic Love Story (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) เท่านั้น แหละครับ พี่เขาตาวาวมาก ร้องครวญครางออกมา จนผมงงว่า นี่เป็นมิตรไปมั้ยเนี่ย ไม่ต้องอวยกันขนาดนี้ก็ได้ เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้ดังมากที่ไต้หวัน และเขาก็ชื่นชอบมากๆ 2. วันหนึ่งผมก�ำลังเดินทางไปสนามบินเพื่อกลับเมืองไทยจากเทศกาลหนังในไทเป น้องผู้ดูแลนั่งรถมากับผม ด้วยความที่ระยะทางมันไกล น้องเขาจึงพยายามชวนคุยมากๆ (แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ค่อยดี) สิ่งแรกที่เขาบอก คือ ‘ฉันชอบเรื่องฮอร์โมนส์ฯ มากค่ะ’ ผมรู้สึกเหวอมาก คือสิ่งแรกที่คนเราจะชักชวนชาวต่างประเทศคุยนั้น จ�ำเป็นต้องเป็นสิ่ง ที่เด็ดมากจริงๆ เช่น จะชวนคนเยอรมันคุย ก็ต้องพูดเรื่องก�ำแพงเบอร์ลิน ไส้กรอก เบียร์ ขาหมู อะไรก็ตาม แต่สิ่งที่น้องคนนี้ชวนผมคุย คือ ซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ ผมก็สอบถามเขาว่า ได้ดูได้อย่างไร เขาก็บอกว่าYouTube ซึ่งก็มีแฟนคลับท�ำซับไตเติลภาษาจีนให้เรียบร้อย 3. ผมได้ข่าวว่า มีวงดนตรีชาวญี่ปุ่นชื่อวงหนุมาน(Hanuman) ชอบคัฟเวอร์เพลงไทย อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเพลงของBodyslam,BigAss และอื่นๆ อีกมากมาย จนพวกเขา ได้รับเชิญมาเล่นในงาน Fat Festival ที่เมืองไทย
  • 23. 23|Tourism Journal From the Cover ‘พรุ่งนี้ก็รักเธอ’ ไปจนถึง ‘สงครามนางฟ้า’ จนพักหลังๆ เริ่มมีการติดต่อขอให้ ป้อง-ณวัฒน์ เดินทางไปร่วมงานละคร ในประเทศจีนกันอย่างเป็นกิจจะ ล�ำดับต่อมาในช่วงปีเดียวกัน ก็เห็นจะเป็นหนังรักแนวหญิงรักหญิง อย่าง ‘Yes or No อยากรักก็รักเลย’ ที่น�ำแสดงโดย ออม-สุชาร์ และ ติ๊นา-ศุภนาฎ ที่แม้ว่า ในเมืองไทย ตัวหนังจะท�ำได้ดีพอประมาณ แต่ตัดภาพไปที่ประเทศจีนนั้น ทั้งคู่มีฐานแฟนคลับ อย่างแข็งแกร่งจนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าหนังภาค 2 จะไม่ได้ฉายในจีน แต่ก็ยังมีแฟนคลับ ชาวจีนยอมบินมาดูในประเทศไทย(เวรี่ฮาร์ดคอร์จริงๆ ฮะ) ถ้าจะไม่นับกันที่เมืองจีนอย่างเดียว เอาเข้าจริงฐานแฟนคลับหนังไทยอีกแห่งที่เหนียวแน่นก็เห็นจะเป็นประเทศอินโดนีเซีย (แฟนหนัง อินโดนีเซียชอบทวิตเตอร์มาคุยกับ โต้ง-บรรจง และ ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์(ผู้ก�ำกับซีรีส์ฮอร์โมนส์ฯ) อยู่บ่อยๆ และทุกครั้งที่นักแสดงจากภาพยนตร์ไทยเดินทางไปที่นั่น ก็จะมีแฟนหนังมาตามกรี๊ดกันอย่าง จริงจัง) เรื่องภาคดนตรีอาจจะไม่โดดเด่นนัก แม้ว่าเราจะเคยเห็นนักร้องไทยหลายคนไปพิชิตตลาดไต้หวันและ ญี่ปุ่นอย่าง China Dolls หรือ ปาล์มมี่ แต่นั่นก็เป็นเรื่องเมื่อนาน(มาก)มาแล้ว ได้ยินว่าปัจจุบัน มีกลุ่มคนญี่ปุ่น ที่ชื่นชอบเพลงไทยเป็นพิเศษแต่ก็ยังไม่ใช่กลุ่มใหญ่โตอะไรมากนัก แม้ว่าดูจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็ยังสังเกตได้ว่า เราก็ยังคงได้รับรู้ข่าวสารการที่กองทัพบันเทิงไทยไปบุกต่างแดน ต่างๆ เป็นก้อนกระจัดกระจายไร้ระเบียบแบบนี้ ไม่สามารถมองเห็นเป็นก้อนชัดเจน เป็นคลื่น เป็นลม เป็นกระแส แบบเห็นๆ (ถึงบอก มันแค่ ‘ก�ำลังจะ’ มา) เราไม่รู้สึกว่าพวกเราไปบุกอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้สึกว่าพวกเราไปบุก ไปเป็นกองทัพ เหมือนประเทศเราแค่ส่งกองก�ำลังเป็นคนๆ ไปเท่านั้น หรือกองก�ำลังบางส่วนก็ต้องดั้นด้นไปบุกเอง โดยที่ยังไม่มีคนคอยช่วยเหลืออย่างจริงจัง (หรือต้องไปถึงฝั่งก่อน ถึงจะมาช่วยเหลืออย่างจริงจัง) กระแสT-Pop ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาได้จากการค้าของบริษัทแต่ละบริษัท ไม่ได้เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือของ ภาครัฐเป็นหลัก ว่าง่ายๆ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาทุกวันนี้ไม่ได้เกิดจากการวางแผนมาก่อนใดๆ ทั้งสิ้น มันบังเอิญฟลุค โชคดีบูมขึ้นมาเท่านั้นเอง เราไม่ได้มีแผนก่อนหน้านั้น และเราก็ไม่ได้มีแผนหลังจากนี้ ในขณะที่เกาหลีใต้เขามอง ความบันเทิงเป็นสินค้าส่งออกอย่างจริงจัง และมีการวางแผนเพื่อจะพิชิตภูมิภาคและเอาชนะโลกอย่างซีเรียส (ขออภัยที่ต้องยกเกาหลีใต้มาเป็นกรณีศึกษาอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ก็บอกตอนแรกว่าไม่อยากจะพูดถึงอีก) จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีแผนการใดๆ เพื่อสานต่อกระแสที่ก�ำลัง (และยังคง) มาอยู่ในขณะนี้ เอาเป็นว่าลองคิดเล่นๆ สนุกๆ ว่า ถ้าสมมุติเราจะท�ำให้กระแส T-Pop ที่อุตส่าห์เกิดขึ้นมาแล้วอย่าง ไม่ได้ตั้งใจ กลายเป็นกระแสที่ต่อเนื่องต่อไปในอนาคตอย่างตั้งใจ เราว่า เราจะท�ำอะไรกันได้บ้าง เราต้องเริ่มจากความคิดพื้นฐานก่อนว่า ความบันเทิงนั้นสามารถเป็นเรื่องซีเรียสได้ ซึ่งก็แปลได้ อีกทีว่า ความบันเทิงนั้นไม่ใช่แค่ความบันเทิงผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตประจ�ำวัน ความบันเทิง คือวัฒนธรรมแบบหนึ่ง และมันก็สามารถส่งออกไปนอกประเทศได้ และสามารถสร้างรายได้กลับ เข้ามาได้ทั้งในระยะสั้น (คนต่างชาติซื้อไปเผยแพร่) และในระยะยาว (คนดู คนเสพชาวต่างชาติ ซึมซับวัฒนธรรมความบันเทิงเข้าไปจนเกิดผลต่างๆ ตามมาทีหลัง เช่นที่คนจีนมีแรงบันดาลใจในการ มาเมืองไทยเพื่อมาหาป้อง-ณวัฒน์) ถ้าหากเรายังคิดว่า ความบันเทิงเป็นแค่ความบันเทิง มันก็จะเป็น แค่ความบันเทิง ถ้าหากเราคิดว่ามันสามารถท�ำเงินได้ เราก็จะวางแผนส่งออกกันอย่างจริงจัง และมัน ก็จะท�ำเงินได้ (เช่น วัฒนธรรมเกาหลี) สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตความบันเทิงทั้งหลายนั้นรู้ดีอยู่ และต่างคนก็ต่างท�ำกันไป แต่บางครั้งมันจะไปได้ดีกว่านั้น ถ้าเราสามารถสร้างให้มันเกิดเป็นคลื่น หนักหน่วงได้ ชาวโลกจะจดจ�ำ T-Pop ได้มากขึ้นท่ามกลางความบันเทิงอื่นๆ ที่มีอีกมากมาย จากหลายประเทศ
  • 24. 24 | Tourism Journal From the Cover