SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนํามาใช้ในการจัดการความรู้
จัดทําโดย
นางสาวกันตนา ช่วงชน รหัสประจําตัว 5942040002
เสนอ
อาจารย์นันทารัตน์ คงสีปาน
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสําหรับการบริหารจัดการ
ความรู้สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปริญญาตรีชั้นปีที่ 2
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2560
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
คํานํา
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีสําหรับการจัดการความรู้ 4204-2007
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย
ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสืบค้นข้อมูลข่าสาร ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์
ผู้จัดทําหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักศึกษา ที่กําลังหาข้อมูลเรื่อง
นี้อยู่ หากมีข้อแนะนําหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
กันตนา ช่วงชน
ผู้จัดทํา
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 1
ความหมายระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1
วัตถุประสงค์ของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1
ประโยชน์ของการนําระบบระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กร 2
ควบคุมการใช้งานระบบ 2
ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร 3
คํานิยาม 3
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต 3
วิธีการค้นหาข้อมูล 3
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory 3
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 4
ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine 4
การสืบค้นข้อมูลในรูปแบบ Search Engine 5
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine 5
ประเภทของ Search Engine 6
หลักการทํางานของ Search Engines 8
เทคนิคค้นหาด้วย Google 10
การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา 10
การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ 10
การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง 10
การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา 11
การตรวจสอบสภาพอากาศ 12
การแปลงหน่วย 12
การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ 12
การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์ 13
การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์ 13
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine 13
สารบัญ(ต่อ)
เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล 14
ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google 15
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! 15
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search 16
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu 16
ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ 18
ความหมายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 18
ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 18
สื่อการสอน E-Learning 20
บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย 20
ระบบบริหารวาระการประชุม 23
ระบบควบคุมการประชุม 24
ระบบบริหารการประชุม e-Meeting 24
ขั้นตอนการประชุม 26
ขั้นตอนของการประชุม 26
ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์(E – Document)
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน
ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้ า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้
วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีการติดต่อราชการ
นอกจากการจะดําเนินการโดยหนังสือที่เป็นเอกสาร สามารถดําเนินการด้วยระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์ได้
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบจัดการเอกสารให้เป็น Digital และสามารถ
เรียกดูได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ Internet ทุกที่ทุกเวลา ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัย
เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัยให้คล่องตัว สะดวกรวดเร็ว และบรรลุ
วัตถุประสงค์ในเรื่องการสื่อสารนั้นๆ สามารถตรวจสอบติดตามสถานะเอกสาร การดําเนินเรื่อง
เอกสาร ผ่าน ระบบสารบรรณโดยใช้เวลาสั้นลง
วัตถุประสงค์ของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
1. เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีระบบสารบรรณ สําหรับใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุน
การตัดสินใจและวางแผน
2. เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีรูปแบบงานสารบรรณที่ทันสมัย ก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดในการดําเนินการของหน่วยงาน
3. เพื่อพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้มีการใช้งานได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต /
อินทราเน็ต ของหน่วยงาน
4. เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น
ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน สามารถติดตามสืบค้นสถานะของเอกสาร
ข้อมูลย้อนหลังหรือเอกสารแนบได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทําให้ข้อมูลมีความคงทน ไม่เสี่ยงต่อ
การสูญหายและทําลายโดยง่ายสะดวกในการจัดเก็บและสืบค้น
ประโยชน์ของการนําระบบระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กร
1. เจ้าหน้าที่สามารถทํางานเอกสารได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น
2. ประหยัดเวลาในการคัดแยกเอกสารโดยรายละเอียดส่วนใหญ่ได้ถูกบันทึกลงในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงานเอกสาร
3. สามารถบริหารงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบรายงานซึ่งสามารถจัดพิมพ์ออก ทาง
เครื่องได้ทันที
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อตู้แฟ้มกระดาษและหมึกพิมพ์
5. สามารถ จัดเก็บและเรียกค้นจาก หน่วยงานต่างๆได้
6. ผู้ใช้ระบบสามารถเรียกค้นเอกสารได้รวดเร็วและถูกต้อง
7. ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ลดความซํ้าซ้อนในการเก็บเอกสาร
8. สามารถให้บริการเอกสารได้ทันทีในกรณีที่มีการร้องขอเอกสา
9. รองรับในการใช้งานระบบเอกสารแบบอิเล็คทรอนิกส์สําหรับเอกสารประเภทอื่นได้ เช่น
หนังสือเวียน ประกาศ ข่าวสาร และเอกสารอื่นๆ
ควบคุมการใช้งานระบบ โดยมีกลุ่มผู้ใช้ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. ผู้ดูแลระบบ - สามารถทํางานได้ทุกอย่างในระบบ
2. ผู้บันทึกข้อมูล - สามารถดําเนินการเกี่ยวกับเอกสารได้ทั้งหมด แต่ไม่สามารถ จัดการผู้ใช้ของ
ระบบได้
3. ผู้ใช้ทั่วไป - สามารถค้นหา และเรียกดู เอกสารได้เท่านั้น ตรวจสอบข้อมูลของระบบได้ เช่น
จํานวนผู้ใช้ในปัจจุบัน
สามารถสั่ง scan เอกสารได้โดยตรงผ่านทางหน้าเวบของโปรแกรม ทําให้ลดขั้นตอนของการ
scan เอกสารลงได้อย่างมาก (ไม่ต้อง scan เก็บเป็นไฟล์ก่อน)
หมายเหตุ : โปรแกรมนี้ทํางานแบบ Client-Server จึงจําเป็นต้องลงโปรแกรมพื้นฐานหลายตัวก่อน
ได้แก่ Java JDK 6.0, GlassFish 3.1 และ PostgreSQL 9.0.4 ซึ่งทุกตัวเป็นโปรแกรมฟรี ดู
รายละเอียดการติดตั้งระบบได้
ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
คํานิยาม
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญ และ
ใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที และมีข้อมูลหลากหลายประเภท ดังนั้นใน
การค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องที่ทําได้ยากมาก จึงได้มีการจัดทําเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่
อํานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูล
เว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมา
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจํานวนมากมายอย่างนี้
เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จําเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ
ค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหา
ข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการ
ค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้อง
พึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทําหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้โดยจัดแยกเป็น
หมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คําหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลง
ไปในช่องที่กําหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
จะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
วิธีการค้นหาข้อมูล
1. การค้นหาในรูปแบบหมวดหมู่ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหา
ข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก
Site ต่างๆออก เป็นประเภท สําหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้
เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับ
หนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาด
ของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไป
ถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของ
ข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง
Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนําเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจาก
นี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนําเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุด
เอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า
70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทํางานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index
ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มี
การแสดงข้อมูลออกมาเป็นลําดับขั้นของความสําคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล
อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คําสําคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป
ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทําระบบฐานข้อมูล
ขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software
ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี
ชื่อเรียกว่า Spiders การทํางานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง
กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหา
ความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนําเอา
ข้อมูลทั้งหมดที่สํารวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้
ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น
มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อย
เป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั่งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็น
วันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงมีหลักในการค้น หา
เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง
การสืบค้นข้อมูลในรูปแบบ Search Engine
รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม
Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย Bing
(www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง Yahoo
(www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คําถาม-คําตอบ มากกว่า How-to
AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้เป็นเว็บ Search Engine ประจําประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ
Google Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สําหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสาร
วิชาการต่างๆDuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตา
สะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณาInternet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า –
เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine
1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทําไว้เช่น download.com เว็บไซต์
เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทยในโลกยุคอินเทอร์เน็ทในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะ
ค้นหาข้อมูลจํานวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จําเป็นจะต้อง
อาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ ค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและ
รวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ
ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็น
จํานวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เรา
ต้องการไม่พบการที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สําหรับการ ค้นหา
ข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทําหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้
โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้ อน คําหรือข้อความ
ของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กําหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการและการจัดเก็บ
ฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นํามาใช้เก็บรวบรวม
ข้อมูล
ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย จะต้อง
ทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่
ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้อง
เข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไรมีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว
จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา
ประโยชน์ของ Search Engine (เพิ่มเติม)
เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป
เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูล
สารสนเทศใดๆ จึงจําเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่
ผู้ใช้งานต้องการ หรือสรุปได้ดังนี้
ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทําไว้เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ
ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
รองรับการค้นหา ภาษาไทย
ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ
Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นํามาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือ
เว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้
วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บ
ข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการ
สํารวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ
นั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ใน
รูปแบบของข้อความที่อยู่ในคําสั่ง alt ซึ่งเป็นคําสั่งภายใน TAG คําสังของรูปภาพ แต่จะไม่นําคําสั่ง
ของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคําสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ
Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสําคัญกับการเรียงลําดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการ
นําเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการ
จัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คํานึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้
ได้ผลดี
2. Subject Directories การจําแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดย
การวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้
จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทําให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัด
หมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search
Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนํามาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การ
ค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หาก
เราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search
Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง
Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย
คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสําคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคําประเภท
Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึง
ข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
Keyword คืออะไร
Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคําค้นหา หรือคําอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากําลังตามหา
เพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine
ตัวอย่างคํา Keyword ที่ใช้ค้นหากันในชีวิตประจําวัน
ต้องการค้นหารถยนต์มือสอง คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ รถมือสอง, ราคารถมือสอง, รถยนต์มือ
สอง, ฯลฯ
มาเที่ยวต้องหาต้องการหาโรงแรมที่พัก คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ Agoda, โรงแรม, ห้อพัก,
หอพัก, ฯลฯ
ต้องการหาร้านอาหาร คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ ร้านปิ้งย่าง, หมูกระทะ, ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ
ประเภทของ Keyword ในการค้นหา
Niche Keyword: เป็นคําค้นหาเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มซึ่งโดยปกติแล้วเรามักพบบ่อยในชื่อเรียก
รุ่นแบรด์สินค้าต่างๆ เช่น Samsung Note 8, iPhone 8 เป็นต้น
Widely Keyword: เป็นคําค้นหาสั้นๆ ที่มีเนื้อหาความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และมีอัตราการค้นหา
สืบค้นสูง เช่น บ้านใหม่, รถมือสอง, หนังสือ, หวย เป็นต้น
Mass Keywords: เป็นคําค้นหาสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องในกลุ่มคําเดียวกัน เช่น
iPhone X, iPad Pro, Macbook Air เป็นต้น
Misspelling Keyword: เป็นคําค้นหาต่างๆ ที่มีการสะกดคล้างคลีงหรือที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งแบบ
ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทาญาติ, ธาญาต, ทายาท เป็นต้น
ในปัจจุบันคีย์เวิร์คคําค้นหานั้นถือว่ามีบทบาทสําคัญในการทําการตลาดออนไลน์ผ่าน Search
Engine เป็นอย่างมาก ยิ่งคีย์เวิร์ดคําค้นหายิ่งสั้นและกระชับมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมียอดค่าการ
ค้นหาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วยหลายเท่าตัว เว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพที่ดี และมีการทํา SEO ที่ถูกหลัก
ร่วมด้วยเท่านั้นจึงจะมาอยู่ในน้า 1 ของการค้นหานี้ได้
หลักการทํางานของ Search Engines
กระบวนการทํางานของ Search engines บนเว็บไซต์ทั่วไป สามารถแบ่งขั้นตอนการทํางานออกเป็น
3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ crawler)
ขั้นแรกที่ Search engines ทําการสํารวจและตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากโดเมน แล้วติดตาม
Links ที่พบภายในเว็บไซต์ทั้งหมด โดยการทํางานของโปรแกรมมีรูปแบบลักษณะโยงใย จึงเรียก
โปรแกรมดังกล่าวว่า Spider หรือ Crawler ซึ่งหลังจากที่ Spider ทําการติดตาม Links และนําข้อมูล
ของเว็บไซต์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine เรียบร้อยแล้ว Spider จะกลับไปทํา
การสํารวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านั้น ทุกๆ เดือนหรือสองเดือน
2. จัดทํารายการดรรชนี
เมื่อโปรแกรม Spider ทําการค้นพบข้อมูลต่างๆ แล้ว จะมีการนําข้อมูลเหล่านั้นไปทําสําเนา และ
ส่งไปจัดเก็บยังรายการดรรชนี ที่เรียกว่า index หรือ catalog ซึ่งเมื่อข้อมูลในเว็บไซต์หลักมีการ
เปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ข้อมูลภายในสมุดดรรชนีเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยตามบัญชีดัชนีที่ถูก
กําหนดไว้
3. โปรแกรมสืบค้น
โปรแกรมที่ใช้สําหรับทําการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Search Engine โดยมีการทํางาน
เริ่มต้นจากการรับคําค้นหาที่ถูกป้ อนเข้ามาในโปรแกรม โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้ว
นําคําค้นหาไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงจะทําการดึงเอกสารจากเว็บไซต์นั้นๆ
หรือดึงข้อมูลจากฐานออกมาประมวลผลลัพธ์ให้แก่ผู้สืบค้น ซึ่งจะมีการจัดลําดับผลการค้นหาตาม
ระดับความเกี่ยวข้องของข้อมูล
เทคนิคค้นหาด้วย Google
การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine จากเว็บไซต์ Google สามารถใช้งานได้ไม่ยากและสะดวก
รวดเร็ว มีเทคนิคในการสืบค้นข้อมูล ดังนี้
การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา
หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้นหาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทําได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ
(-) วางไว้ข้างหน้าคําที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนําเครื่องหมาย – มาใช้วาง
ไว้ข้างหน้าคําใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทําให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คําๆ นั้น
ออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวเป็น Operator ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มี
ความแม่นยําได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น
[SEARCH] การตลาด -โฆษณา
[URL] https://www.google.co.th/search?q=การตลาด+-โฆษณา
คําค้นหาที่ Google จะทําการประมวลโดย Match การค้นหาเข้ากับแหล่งข้อมูลที่มีเฉพาะคําว่า
“การตลาด” รวมอยู่เท่านั้น แต่ในหน้านั้นๆ จะต้องไม่มีคําว่า “โฆษณา”
การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ
หากต้องการทําการค้นหาเอกสารนามสกุลต่างๆ ได้แก่ เอกสารในรูปแบบ .DOC .PDF หรือเอกสาร
นามสกุลอื่นๆ ผู้สืบค้นสามารถค้นหาได้เพียง พิมพ์ชื่อเอกสารที่ต้องการ แล้วต่อท้ายด้วย filetype:
นามสกุล ของเอกสารนั้นๆ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์เป็นไฟล์เอกสารที่ถูกเก็บไว้บน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น
[SEARCH] ดูแลเว็บไซต์ filetype:pdf
[URL] https://www.google.co.th/search?q=ดูแลเว็บไซต์+filetype%3Apdf
การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง
หากต้องการค้นหารอบหนังหรือรีวิวภาพยนตร์ต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทําการค้นหาได้โดยการพิมพ์
ชื่อภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นทางเว็บจะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดช่วงเวลาของรอบ
หนัง รวมทั้งรีวิวของหนังเรื่องนั้นๆ และสามารถทําการจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย
ตัวอย่างเช่น
[SEARCH] สไปเดอร์แมน โฮมคัมมิ่ง
[URL] https://www.google.co.th/search?q=สไปเดอร์แมน+โฮมคัมมิ่ง
การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา
หากต้องการตรวจสอบคะแนนหรือผลการแข่งขันกีฬาต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทําการค้นหาได้โดย
การพิมพ์ชื่อนักกีฬาหรือชื่อทีมที่ต้องการ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียด
ของการแข่งขันครั้งล่าสุด ตารางการแข่งขัน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
[SEARCH] ผลบอลไทยลีก
[URL] https://www.google.co.th/search?q=ผลบอลไทยลีก
การตรวจสอบสภาพอากาศ
หากต้องการตรวจสอบสภาพอากาศในแต่ละวัน สามารถทําการค้นหาได้โดยการพิมพ์คําว่า
Weather แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้องการทราบ เว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงพยากรณ์
อากาศในวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “Weather ลําปาง” หรือ “พยากรณ์อากาศ ลําปาง” เป็นต้น แต่
สําหรับประเทศไทยการค้นหาพยากรณ์อากาศยังคงมีข้อจํากัด เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมทุก
พื้นที่ในประเทศ
[SEARCH] Weather ลําปาง
[URL] https://www.google.co.th/search?q=Weather+ลําปาง
การแปลงหน่วย
หากต้องการแปลงหน่วย ผู้สืบค้นจะต้องทําการพิมพ์หน่วยที่ต้องการแปลงลงไปเพื่อให้เว็บไซต์
ประมวลผลลัพธ์ โดยสามารถแปลงได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น GB=MB หรือ 10CM=M
[SEARCH] 10CM=M
[URL] https://www.google.co.th/search?q=10CM%3DM
การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์
หากต้องการตรวจสอบหรือดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์สําหรับผู้เล่นหุ้น สามารถค้นหาผ่าน
ทางเว็บไซต์ Google เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น TCAP, ITD
[SEARCH] TCAP
[URL] https://www.google.co.th/search?q=TCAP
การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์
หากต้องการคิดคํานวณ ผู้สิบค้นสามารถนําเลขจํานวนที่ต้องการทราบค่ามาคํานวณผ่าน Google ได้
โดยพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ทําการประมวลค่าเป็นคําตอบ ตัวอย่างเช่น
[SEARCH] 10*200*(55^2)/cos(4)
[URL] https://www.google.co.th/search?q=10*200*%2855%5E2%29%2Fcos%284%29
การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์
หากต้องการค้นหาบางอย่างให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ผู้สืบค้นสามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์
ตามหลังสิ่งที่ต้องการทราบได้ตัวอย่างเช่น “รับทําการตลาดออนไลน์ site:1belief.com” หรือ
“การตลาด site:sanook.com” เป็นต้น
[SEARCH] รับทําการตลาดออนไลน์ site:1belief.com
[URL] https://www.google.com/search?q=รับทําการตลาดออนไลน์+site%3A1belief.com
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สําหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การ
ค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บ
รวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนําเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรง
ตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
1. การค้นหาจากชื่อของตําแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2. การค้นหาจากคําที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของ
หน้าต่างที่แสดง
3. การค้นหาจากคําสําคัญหรือคําสั่ง keyword (อยู่ใน tag คําสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5. ค้นหาคําในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคําในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สําหรับกรณีที่
คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่ง
ไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนํา mouse
ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคําสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้
จากนั้นใส่คําที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคําดังกล่าว หากพบ
มันก็จะกระโดดไปแสดงคํานั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะ
พบข้อมูลที่ต้องการ
เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือ
ประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความ
สะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จํากัดคําที่ค้น หาให้แคบลง
และตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่
2 แบบ) ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหา
ข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ
yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2. ใช้คํามากกว่า 1 คําที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและ
ชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคําเดียวโดดๆ)
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่
จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่า
พอใจกว่า
4. ใส่เครื่องหมายคําพูดครอบคลุมกลุ่มคําที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผล
การค้นหาที่มีคําในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลําดับที่เราพิมพ์ทุกคํา เช่น "free shareware" เป็นต้น
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคํา
ดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะ
ให้มันค้นหาคําตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หา
โดยจะต้องมีคํานั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จําเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager
เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนําคําใดคําหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคํา
นั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทําการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food
และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคํา + หน้าคําที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นําหน้าคําที่ไม่ต้องการ ()
ช่วยแยกกลุ่มคํา เช่น (pentium+computer)cpu
8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคําที่มีคําว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไร
ไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคําที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ
9. หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คําค้นหาที่เป็นคําเดี่ยวๆ หรือเป็นคําที่มีตัวเลขปน แต่
ถ้าเลี่ยงไม่ได้คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคําพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคําประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคําหรือข้อความที่
เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคําหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบ
ประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทําให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วน
ใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/
แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์
ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google
เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เกิดขึ้นจากแนวคิดจากวิทยานิพนธ์ของนาย Larry Page และนาย Sergey
Brin โดยมีเนื้อความถึงการตั้งสมมุติฐานที่ว่า โปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นที่แสดงผลการค้นหาที่มี
ความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทํางานของเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม ดังนั้นจึง
ได้มีการสร้างโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นของ Google ขึ้นมา โดยใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน และยัง
มีการกําหนดอีกว่า เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดี จะต้องมีการเชื่อมโยงลิ้งค์กับหน้าเว็บเพจอื่นมากที่สุด
และในเดือนกันยายน ค.ศ.1998 บริษัท Google,Inc. ก็ได้ถือกําเนิดขึ้นมา
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo!
เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เกิดขึ้นจากการที่นาย David Filo และนาย Jerry Yang ได้ร่วมกันทํางาน
อดิเรกชิ้นหนึ่ง และสร้างงานนี้ขึ้นมาในชื่อว่า “Jerry and David’s guide to the World Wide Web”
เพื่อใช้สําหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสารบัญของเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน โดยในเวลาต่อมาก็ได้
มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! และมีการนํามาใช้งานจนทุกวันนี้ (ปัจจุบัน Yahoo ขายกิจการให้
Verizon แล้ว)
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search
เว็บเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในครั้งแรกในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดย
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม Windows 95 โดยตรง พร้อมกับให้บริการสําหรับเสิร์ช
หาเว็บไซต์ต่างๆ และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจร จึงเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ Microsoft
Network นอกจากนี้ยังใช้สําหรับเป็นพื้นที่ในการเก็บอีเมลล์ฟรี ในชื่อ Hotmail ที่มีการใช้กันอย่าง
แพร่หลายในช่วงแรกๆ ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาจนเกิดโปรแกรมสนทนาออนไลน์ขึ้นมา ซึ่งก็
รู้จักกันดีในชื่อของ MSN Messenger และยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย
ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu
เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เกิดขึ้นโดย โรบิน ลี (Mr.Robin Li) ซึ่งเป็นนักศึกษาจีน และได้ไปเรียนต่อที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้กลับมาเปิดบริษัทที่ประเทศจีน และสร้าง Baidu ขึ้นมา เรียกได้
ว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านอินเทอร์เน็ตและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในการเสิร์ชเอนจิ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูล
แบบไฮเปอร์ลิ้งก์ เพื่อให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยง
ระหว่างผู้ใช้กับบริการต่างๆ ได้ดี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไป่ ตู้ก็ได้ประสบความสําเร็จและ
สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี โดยในแต่ละวันก็จะมีการพิมพ์คําสืบค้นลงใน
แพลตฟอร์มของไป่ตู้มากกว่าหมื่นล้านคํา ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบการนําเสนอข้อมูลจากการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ชาวจีน
ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
YouTube เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก
YouTube ถูกยกให้เป็นบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์หรือเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2
ของโลก เพราะมีคนเข้ามาค้นเนื้อหาที่สนใจในรูปแบบวิดีโอมากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน หาก
ลองให้ใครสักคนนึกถึงเว็บไซต์อัพโหลดและแชร์คลิปวีดีโอชื่อดังระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้อง
นึกถึง “YouTube” แต่บทบาทของ YouTube นอกแหนือจากจะเป็นเว็บไซต์เบอร์หนึ่งในด้านการ
อัพโหลดและแชร์คลิปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตําแหน่งที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงกัน ก็คือเป็นเสิร์ชเอน
จินที่ได้ความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าเว็บไซต์อย่าง Bing, Yahoo, Ask
และ AOL รวมกันทั้งหมดเสียอีก
YouTube ถูกก่อตั้งในปี 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal จํานวน 3 คน โดยภายในระยะเวลาแต่
เพียงปีเดียวหลังจากการก่อตั้งเท่านั้น Google ได้เข้ามาซื้อ YouTube ซึ่งคิดเป็นจํานวนเงินกว่า 1.65
พันล้านเหรียญสหรัฐ และจนมาถึงในยุคปัจจุบัน YouTube กลายเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและ
มีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก
ช่องทางในการชมวีดีโอ นอกจากผ่านทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบปกติแล้ว การชมผ่าน
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสําคัญที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยจํานวน
ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกมีการเข้าชมวีดีโอ YouTube บนโทรศัพท์มือถือคิด
เป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของการชมคลิปวีดีโอทั้งหมดบน YouTube
การสํารวจพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับบน YouTube ที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก
คือจํานวนวิว (ผู้ชม), ชื่อของคลิปวีดีโอ, คําบรรยายคลิป รวมถึงจํานวน Like และ Dislike บนคลิป
ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีความสําคัญทําให้การแสดงผลของวีดีโอมีอันดับที่สูงขึ้น
ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่สามารถทําหน้าที่เป็น Search Engine Site มีให้บริการมากมายแก่ผู้สืบค้น
ข้อมูลเพื่อทําให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการ
ค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Search Engine บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ มีความเปิดกว้างและไม่มีการ
จํากัดขอบเขต ผู้สืบค้นจึงสามารถทําการสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพจากหลากหลายแหล่งข้อมูล
ทั่วโลก
ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากการวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี
สารสนเทศและระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
ความหมาย “สื่ออิเล็กทรอนิกส์”
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็กเช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิด
อ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่าน
ได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูลเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจาก
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการ
เรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมา
หลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์
ปัจจุบันสื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ
ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
CAI ย่อมาจากคําว่า COMPUTER-ASSISTED หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนําเสนอสื่อประสม ได้แก้ข้อความ
ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
2.WBI (Web-based Instruction)
คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสําหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยนําจุดเด่นของวิธีการให้บริการ
ข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้Web Base Instructionจึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line
ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือกับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุ
บทเรียน
3.การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning
เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วย
ตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่ง
ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ
4. E-book
เป็นคําภาต่างประเทศ ย่อมาจากคําว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่าน
เอกสารทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
5. E-Training
E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการจัดการฝึก
ทักษะ เพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมนั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เข้าอบรมมีอิสระใน
การเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่ผู้ฝึกอบรมต้องการโดยเนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบ
มาให้ศึกษาเรียนรู้ได้
โดยง่าย ในรูปแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมีภาพเคลื่อนไหว
6. Learning Object
หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระใช้เวลาสําหรับการเรียนรู้ เป็นช่วง
สั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบหน่วยย่อยก็ตาม Learning Object
จะมีความสมบรูณ์ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง คําอธิบาย คําสําคัญ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ด้วยตนเอง
ข้อดี
1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และ
ที่ทํางาน ทําให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาส
เรียนรู้พร้อมกัน
3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง
4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทําให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้น
กว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว
การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดย
การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต
6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทําให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรี
ยงลําดับกัน
7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา
หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และแบบต่างเวลา (Asynchronous) คือ
เรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้าง
ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะ ในการ
ตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จําลอง
ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะ
ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้
ข้อจํากัด
1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบ
โปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทําให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจํานวน และ
ขอบเขตจํากัดที่จะนํามาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่า
เป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทําให้เป็นการเพิ่มภาระ
ของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลําดับ
ขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่
สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตาม
ขั้นตอน ทําให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
สื่อการสอน E-Learning
E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลําดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจํากัดในด้านเวลาและ
สถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้
E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสําเร็จ ในประเทศไทยมี
สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและ
รวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทําข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนําไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริม
ประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนํามัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอน
ของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่าน
เครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่าย
ซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนําเสนอลงบน
แผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อ
เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ
การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning
ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตําราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจํากัดด้วยเวลาและสถานที่
E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจํานวน
มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้
เวลาของการศึกษาออนไลน์
การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็ว
ขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทําให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษา
ทางอิเล็กทรอนิกส์กําลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้อง
ปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้

More Related Content

What's hot

Reference service
Reference serviceReference service
Reference serviceeden95487
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54RMUTT
 
Presentation
PresentationPresentation
Presentationsunsumm
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2พงศธร ภักดี
 
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์โครงงาน ฮาร์ดดิสก์
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์teerarat55
 
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาค
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาคโครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาค
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาคMontra Songsee
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจKrunicky Rattanapachai
 
แผนคอมป.1
แผนคอมป.1แผนคอมป.1
แผนคอมป.1bamroong
 
การพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อกการพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อกwadsana123
 
รายงาน Power point
รายงาน Power pointรายงาน Power point
รายงาน Power pointThank Chiro
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)Kritsanapong Manoreaung
 

What's hot (18)

Reference service
Reference serviceReference service
Reference service
 
แผนการสอนการสร้างเว็บเพจ
แผนการสอนการสร้างเว็บเพจแผนการสอนการสร้างเว็บเพจ
แผนการสอนการสร้างเว็บเพจ
 
08 com centers
08 com centers08 com centers
08 com centers
 
หนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็ก
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 7 54
 
Presentation
PresentationPresentation
Presentation
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2
แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ม.2
 
Ana_web
Ana_webAna_web
Ana_web
 
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
 
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์โครงงาน ฮาร์ดดิสก์
โครงงาน ฮาร์ดดิสก์
 
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาค
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาคโครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาค
โครงงานบอร์ดอาหารไทยสี่ภาค
 
Unit03
Unit03Unit03
Unit03
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ
 
แผนคอมป.1
แผนคอมป.1แผนคอมป.1
แผนคอมป.1
 
การพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อกการพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อก
 
รายงาน Power point
รายงาน Power pointรายงาน Power point
รายงาน Power point
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์(บ้านถวาย)
 
Turnitin
TurnitinTurnitin
Turnitin
 

Similar to เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้

รายงานระบบการจัดการความรู้
รายงานระบบการจัดการความรู้รายงานระบบการจัดการความรู้
รายงานระบบการจัดการความรู้Somsiri Rattanarat
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์greatzaza007
 
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตI'June Jindawong
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChalita Vitamilkz
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6krunuy5
 
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตthepvista
 
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตKanokkorn Harsuk
 
สารบัพพญ
สารบัพพญสารบัพพญ
สารบัพพญsasichay
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์greatzaza007
 
นางสาวมณีรัตน์ 33.docx
นางสาวมณีรัตน์  33.docxนางสาวมณีรัตน์  33.docx
นางสาวมณีรัตน์ 33.docxKhemjira_P
 
นางสาวมณีรัตน์ ทรงพานิช ม.5 1 เลขที่ 33
นางสาวมณีรัตน์   ทรงพานิช   ม.5 1 เลขที่ 33นางสาวมณีรัตน์   ทรงพานิช   ม.5 1 เลขที่ 33
นางสาวมณีรัตน์ ทรงพานิช ม.5 1 เลขที่ 33Khemjira_P
 
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศสาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศKaii Eiei
 
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้Apiradee Deekul
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กBenz Lovestory
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปกsasichay
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Kmโมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ KmSasichay Sritep
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) sasichay
 

Similar to เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้ (20)

รายงานระบบการจัดการความรู้
รายงานระบบการจัดการความรู้รายงานระบบการจัดการความรู้
รายงานระบบการจัดการความรู้
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
 
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
 
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
สารบัพพญ
สารบัพพญสารบัพพญ
สารบัพพญ
 
Worksheet25
Worksheet25Worksheet25
Worksheet25
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
นางสาวมณีรัตน์ 33.docx
นางสาวมณีรัตน์  33.docxนางสาวมณีรัตน์  33.docx
นางสาวมณีรัตน์ 33.docx
 
นางสาวมณีรัตน์ ทรงพานิช ม.5 1 เลขที่ 33
นางสาวมณีรัตน์   ทรงพานิช   ม.5 1 เลขที่ 33นางสาวมณีรัตน์   ทรงพานิช   ม.5 1 เลขที่ 33
นางสาวมณีรัตน์ ทรงพานิช ม.5 1 เลขที่ 33
 
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศสาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระน่ารู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Worksheet34
Worksheet34Worksheet34
Worksheet34
 
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Kmโมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
 

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการความรู้

  • 1. เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนํามาใช้ในการจัดการความรู้ จัดทําโดย นางสาวกันตนา ช่วงชน รหัสประจําตัว 5942040002 เสนอ อาจารย์นันทารัตน์ คงสีปาน รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีสําหรับการบริหารจัดการ ความรู้สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2560 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
  • 2. คํานํา รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีสําหรับการจัดการความรู้ 4204-2007 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสืบค้นข้อมูลข่าสาร ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ผู้จัดทําหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักศึกษา ที่กําลังหาข้อมูลเรื่อง นี้อยู่ หากมีข้อแนะนําหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย กันตนา ช่วงชน ผู้จัดทํา
  • 3. สารบัญ เรื่อง หน้า ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 1 ความหมายระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1 วัตถุประสงค์ของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1 ประโยชน์ของการนําระบบระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กร 2 ควบคุมการใช้งานระบบ 2 ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร 3 คํานิยาม 3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต 3 วิธีการค้นหาข้อมูล 3 การค้นหาในรูปแบบ Index Directory 3 การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 4 ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine 4 การสืบค้นข้อมูลในรูปแบบ Search Engine 5 ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine 5 ประเภทของ Search Engine 6 หลักการทํางานของ Search Engines 8 เทคนิคค้นหาด้วย Google 10 การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา 10 การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ 10 การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง 10 การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา 11 การตรวจสอบสภาพอากาศ 12 การแปลงหน่วย 12 การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ 12 การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์ 13 การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์ 13 หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine 13
  • 4. สารบัญ(ต่อ) เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล 14 ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google 15 ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! 15 ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search 16 ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu 16 ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ 18 ความหมายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 18 ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 18 สื่อการสอน E-Learning 20 บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย 20 ระบบบริหารวาระการประชุม 23 ระบบควบคุมการประชุม 24 ระบบบริหารการประชุม e-Meeting 24 ขั้นตอนการประชุม 26 ขั้นตอนของการประชุม 26
  • 5. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์(E – Document) ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้ า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้ วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีการติดต่อราชการ นอกจากการจะดําเนินการโดยหนังสือที่เป็นเอกสาร สามารถดําเนินการด้วยระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ได้ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบจัดการเอกสารให้เป็น Digital และสามารถ เรียกดูได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ Internet ทุกที่ทุกเวลา ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัยให้คล่องตัว สะดวกรวดเร็ว และบรรลุ วัตถุประสงค์ในเรื่องการสื่อสารนั้นๆ สามารถตรวจสอบติดตามสถานะเอกสาร การดําเนินเรื่อง เอกสาร ผ่าน ระบบสารบรรณโดยใช้เวลาสั้นลง วัตถุประสงค์ของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1. เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีระบบสารบรรณ สําหรับใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุน การตัดสินใจและวางแผน 2. เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีรูปแบบงานสารบรรณที่ทันสมัย ก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในการดําเนินการของหน่วยงาน 3. เพื่อพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้มีการใช้งานได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต / อินทราเน็ต ของหน่วยงาน 4. เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน สามารถติดตามสืบค้นสถานะของเอกสาร ข้อมูลย้อนหลังหรือเอกสารแนบได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทําให้ข้อมูลมีความคงทน ไม่เสี่ยงต่อ การสูญหายและทําลายโดยง่ายสะดวกในการจัดเก็บและสืบค้น
  • 6. ประโยชน์ของการนําระบบระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กร 1. เจ้าหน้าที่สามารถทํางานเอกสารได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น 2. ประหยัดเวลาในการคัดแยกเอกสารโดยรายละเอียดส่วนใหญ่ได้ถูกบันทึกลงในเครื่อง คอมพิวเตอร์และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงานเอกสาร 3. สามารถบริหารงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบรายงานซึ่งสามารถจัดพิมพ์ออก ทาง เครื่องได้ทันที 4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อตู้แฟ้มกระดาษและหมึกพิมพ์ 5. สามารถ จัดเก็บและเรียกค้นจาก หน่วยงานต่างๆได้ 6. ผู้ใช้ระบบสามารถเรียกค้นเอกสารได้รวดเร็วและถูกต้อง 7. ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ลดความซํ้าซ้อนในการเก็บเอกสาร 8. สามารถให้บริการเอกสารได้ทันทีในกรณีที่มีการร้องขอเอกสา 9. รองรับในการใช้งานระบบเอกสารแบบอิเล็คทรอนิกส์สําหรับเอกสารประเภทอื่นได้ เช่น หนังสือเวียน ประกาศ ข่าวสาร และเอกสารอื่นๆ ควบคุมการใช้งานระบบ โดยมีกลุ่มผู้ใช้ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. ผู้ดูแลระบบ - สามารถทํางานได้ทุกอย่างในระบบ 2. ผู้บันทึกข้อมูล - สามารถดําเนินการเกี่ยวกับเอกสารได้ทั้งหมด แต่ไม่สามารถ จัดการผู้ใช้ของ ระบบได้ 3. ผู้ใช้ทั่วไป - สามารถค้นหา และเรียกดู เอกสารได้เท่านั้น ตรวจสอบข้อมูลของระบบได้ เช่น จํานวนผู้ใช้ในปัจจุบัน สามารถสั่ง scan เอกสารได้โดยตรงผ่านทางหน้าเวบของโปรแกรม ทําให้ลดขั้นตอนของการ scan เอกสารลงได้อย่างมาก (ไม่ต้อง scan เก็บเป็นไฟล์ก่อน) หมายเหตุ : โปรแกรมนี้ทํางานแบบ Client-Server จึงจําเป็นต้องลงโปรแกรมพื้นฐานหลายตัวก่อน ได้แก่ Java JDK 6.0, GlassFish 3.1 และ PostgreSQL 9.0.4 ซึ่งทุกตัวเป็นโปรแกรมฟรี ดู รายละเอียดการติดตั้งระบบได้
  • 7. ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร คํานิยาม แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญ และ ใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที และมีข้อมูลหลากหลายประเภท ดังนั้นใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องที่ทําได้ยากมาก จึงได้มีการจัดทําเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ อํานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูล เว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมา การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจํานวนมากมายอย่างนี้ เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จําเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ ค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหา ข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการ ค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้อง พึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทําหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้โดยจัดแยกเป็น หมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คําหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลง ไปในช่องที่กําหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง จะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที วิธีการค้นหาข้อมูล 1. การค้นหาในรูปแบบหมวดหมู่ Index Directory 2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine การค้นหาในรูปแบบ Index Directory วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหา ข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สําหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้ เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับ หนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาด ของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไป
  • 8. ถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของ ข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนําเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจาก นี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนําเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุด เอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง การค้นหาในรูปแบบ Search Engine วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทํางานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มี การแสดงข้อมูลออกมาเป็นลําดับขั้นของความสําคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คําสําคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทําระบบฐานข้อมูล ขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทํางานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหา ความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนําเอา ข้อมูลทั้งหมดที่สํารวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อย เป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั่งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็น วันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง
  • 9. การสืบค้นข้อมูลในรูปแบบ Search Engine รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft) Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คําถาม-คําตอบ มากกว่า How-to AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้เป็นเว็บ Search Engine ประจําประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สําหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสาร วิชาการต่างๆDuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตา สะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณาInternet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine 1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว 2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย 3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทําไว้เช่น download.com เว็บไซต์ เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น 4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล 5. รองรับการค้นหา ภาษาไทยในโลกยุคอินเทอร์เน็ทในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะ ค้นหาข้อมูลจํานวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จําเป็นจะต้อง อาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ ค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและ รวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็น จํานวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เรา ต้องการไม่พบการที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สําหรับการ ค้นหา ข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทําหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้ อน คําหรือข้อความ ของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กําหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการและการจัดเก็บ
  • 10. ฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นํามาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูล ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย จะต้อง ทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้อง เข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไรมีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา ประโยชน์ของ Search Engine (เพิ่มเติม) เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูล สารสนเทศใดๆ จึงจําเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ ผู้ใช้งานต้องการ หรือสรุปได้ดังนี้ ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทําไว้เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล รองรับการค้นหา ภาษาไทย ประเภทของ Search Engine Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นํามาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือ เว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บ ข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ 1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการ สํารวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ นั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ใน รูปแบบของข้อความที่อยู่ในคําสั่ง alt ซึ่งเป็นคําสั่งภายใน TAG คําสังของรูปภาพ แต่จะไม่นําคําสั่ง ของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคําสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ
  • 11. Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสําคัญกับการเรียงลําดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการ นําเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการ จัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คํานึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ ได้ผลดี 2. Subject Directories การจําแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดย การวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้ จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทําให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัด หมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนํามาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การ ค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หาก เราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ 3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสําคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคําประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึง ข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย Keyword คืออะไร Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคําค้นหา หรือคําอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากําลังตามหา เพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine ตัวอย่างคํา Keyword ที่ใช้ค้นหากันในชีวิตประจําวัน ต้องการค้นหารถยนต์มือสอง คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ รถมือสอง, ราคารถมือสอง, รถยนต์มือ สอง, ฯลฯ มาเที่ยวต้องหาต้องการหาโรงแรมที่พัก คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ Agoda, โรงแรม, ห้อพัก, หอพัก, ฯลฯ ต้องการหาร้านอาหาร คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ ร้านปิ้งย่าง, หมูกระทะ, ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ ประเภทของ Keyword ในการค้นหา
  • 12. Niche Keyword: เป็นคําค้นหาเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มซึ่งโดยปกติแล้วเรามักพบบ่อยในชื่อเรียก รุ่นแบรด์สินค้าต่างๆ เช่น Samsung Note 8, iPhone 8 เป็นต้น Widely Keyword: เป็นคําค้นหาสั้นๆ ที่มีเนื้อหาความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และมีอัตราการค้นหา สืบค้นสูง เช่น บ้านใหม่, รถมือสอง, หนังสือ, หวย เป็นต้น Mass Keywords: เป็นคําค้นหาสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องในกลุ่มคําเดียวกัน เช่น iPhone X, iPad Pro, Macbook Air เป็นต้น Misspelling Keyword: เป็นคําค้นหาต่างๆ ที่มีการสะกดคล้างคลีงหรือที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งแบบ ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทาญาติ, ธาญาต, ทายาท เป็นต้น ในปัจจุบันคีย์เวิร์คคําค้นหานั้นถือว่ามีบทบาทสําคัญในการทําการตลาดออนไลน์ผ่าน Search Engine เป็นอย่างมาก ยิ่งคีย์เวิร์ดคําค้นหายิ่งสั้นและกระชับมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมียอดค่าการ ค้นหาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วยหลายเท่าตัว เว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพที่ดี และมีการทํา SEO ที่ถูกหลัก ร่วมด้วยเท่านั้นจึงจะมาอยู่ในน้า 1 ของการค้นหานี้ได้ หลักการทํางานของ Search Engines กระบวนการทํางานของ Search engines บนเว็บไซต์ทั่วไป สามารถแบ่งขั้นตอนการทํางานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ crawler) ขั้นแรกที่ Search engines ทําการสํารวจและตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากโดเมน แล้วติดตาม Links ที่พบภายในเว็บไซต์ทั้งหมด โดยการทํางานของโปรแกรมมีรูปแบบลักษณะโยงใย จึงเรียก โปรแกรมดังกล่าวว่า Spider หรือ Crawler ซึ่งหลังจากที่ Spider ทําการติดตาม Links และนําข้อมูล ของเว็บไซต์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine เรียบร้อยแล้ว Spider จะกลับไปทํา การสํารวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านั้น ทุกๆ เดือนหรือสองเดือน
  • 13. 2. จัดทํารายการดรรชนี เมื่อโปรแกรม Spider ทําการค้นพบข้อมูลต่างๆ แล้ว จะมีการนําข้อมูลเหล่านั้นไปทําสําเนา และ ส่งไปจัดเก็บยังรายการดรรชนี ที่เรียกว่า index หรือ catalog ซึ่งเมื่อข้อมูลในเว็บไซต์หลักมีการ เปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ข้อมูลภายในสมุดดรรชนีเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยตามบัญชีดัชนีที่ถูก กําหนดไว้ 3. โปรแกรมสืบค้น โปรแกรมที่ใช้สําหรับทําการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Search Engine โดยมีการทํางาน เริ่มต้นจากการรับคําค้นหาที่ถูกป้ อนเข้ามาในโปรแกรม โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้ว นําคําค้นหาไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงจะทําการดึงเอกสารจากเว็บไซต์นั้นๆ หรือดึงข้อมูลจากฐานออกมาประมวลผลลัพธ์ให้แก่ผู้สืบค้น ซึ่งจะมีการจัดลําดับผลการค้นหาตาม ระดับความเกี่ยวข้องของข้อมูล
  • 14. เทคนิคค้นหาด้วย Google การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine จากเว็บไซต์ Google สามารถใช้งานได้ไม่ยากและสะดวก รวดเร็ว มีเทคนิคในการสืบค้นข้อมูล ดังนี้ การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้นหาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทําได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ (-) วางไว้ข้างหน้าคําที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนําเครื่องหมาย – มาใช้วาง ไว้ข้างหน้าคําใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทําให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คําๆ นั้น ออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวเป็น Operator ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มี ความแม่นยําได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น [SEARCH] การตลาด -โฆษณา [URL] https://www.google.co.th/search?q=การตลาด+-โฆษณา คําค้นหาที่ Google จะทําการประมวลโดย Match การค้นหาเข้ากับแหล่งข้อมูลที่มีเฉพาะคําว่า “การตลาด” รวมอยู่เท่านั้น แต่ในหน้านั้นๆ จะต้องไม่มีคําว่า “โฆษณา” การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ หากต้องการทําการค้นหาเอกสารนามสกุลต่างๆ ได้แก่ เอกสารในรูปแบบ .DOC .PDF หรือเอกสาร นามสกุลอื่นๆ ผู้สืบค้นสามารถค้นหาได้เพียง พิมพ์ชื่อเอกสารที่ต้องการ แล้วต่อท้ายด้วย filetype: นามสกุล ของเอกสารนั้นๆ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์เป็นไฟล์เอกสารที่ถูกเก็บไว้บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น [SEARCH] ดูแลเว็บไซต์ filetype:pdf [URL] https://www.google.co.th/search?q=ดูแลเว็บไซต์+filetype%3Apdf การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง หากต้องการค้นหารอบหนังหรือรีวิวภาพยนตร์ต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทําการค้นหาได้โดยการพิมพ์ ชื่อภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นทางเว็บจะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดช่วงเวลาของรอบ หนัง รวมทั้งรีวิวของหนังเรื่องนั้นๆ และสามารถทําการจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย ตัวอย่างเช่น [SEARCH] สไปเดอร์แมน โฮมคัมมิ่ง [URL] https://www.google.co.th/search?q=สไปเดอร์แมน+โฮมคัมมิ่ง
  • 15. การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา หากต้องการตรวจสอบคะแนนหรือผลการแข่งขันกีฬาต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทําการค้นหาได้โดย การพิมพ์ชื่อนักกีฬาหรือชื่อทีมที่ต้องการ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียด ของการแข่งขันครั้งล่าสุด ตารางการแข่งขัน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง [SEARCH] ผลบอลไทยลีก [URL] https://www.google.co.th/search?q=ผลบอลไทยลีก
  • 16. การตรวจสอบสภาพอากาศ หากต้องการตรวจสอบสภาพอากาศในแต่ละวัน สามารถทําการค้นหาได้โดยการพิมพ์คําว่า Weather แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้องการทราบ เว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงพยากรณ์ อากาศในวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “Weather ลําปาง” หรือ “พยากรณ์อากาศ ลําปาง” เป็นต้น แต่ สําหรับประเทศไทยการค้นหาพยากรณ์อากาศยังคงมีข้อจํากัด เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมทุก พื้นที่ในประเทศ [SEARCH] Weather ลําปาง [URL] https://www.google.co.th/search?q=Weather+ลําปาง การแปลงหน่วย หากต้องการแปลงหน่วย ผู้สืบค้นจะต้องทําการพิมพ์หน่วยที่ต้องการแปลงลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ ประมวลผลลัพธ์ โดยสามารถแปลงได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น GB=MB หรือ 10CM=M [SEARCH] 10CM=M [URL] https://www.google.co.th/search?q=10CM%3DM การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ หากต้องการตรวจสอบหรือดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์สําหรับผู้เล่นหุ้น สามารถค้นหาผ่าน ทางเว็บไซต์ Google เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น TCAP, ITD [SEARCH] TCAP [URL] https://www.google.co.th/search?q=TCAP
  • 17. การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์ หากต้องการคิดคํานวณ ผู้สิบค้นสามารถนําเลขจํานวนที่ต้องการทราบค่ามาคํานวณผ่าน Google ได้ โดยพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ทําการประมวลค่าเป็นคําตอบ ตัวอย่างเช่น [SEARCH] 10*200*(55^2)/cos(4) [URL] https://www.google.co.th/search?q=10*200*%2855%5E2%29%2Fcos%284%29 การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์ หากต้องการค้นหาบางอย่างให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ผู้สืบค้นสามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ ตามหลังสิ่งที่ต้องการทราบได้ตัวอย่างเช่น “รับทําการตลาดออนไลน์ site:1belief.com” หรือ “การตลาด site:sanook.com” เป็นต้น [SEARCH] รับทําการตลาดออนไลน์ site:1belief.com [URL] https://www.google.com/search?q=รับทําการตลาดออนไลน์+site%3A1belief.com หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine สําหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การ ค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บ รวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนําเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรง ตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
  • 18. 1. การค้นหาจากชื่อของตําแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 2. การค้นหาจากคําที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของ หน้าต่างที่แสดง 3. การค้นหาจากคําสําคัญหรือคําสั่ง keyword (อยู่ใน tag คําสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site 5. ค้นหาคําในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคําในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สําหรับกรณีที่ คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่ง ไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนํา mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคําสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คําที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคําดังกล่าว หากพบ มันก็จะกระโดดไปแสดงคํานั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะ พบข้อมูลที่ต้องการ เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือ ประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความ สะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จํากัดคําที่ค้น หาให้แคบลง และตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้ 1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่ 2 แบบ) ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหา ข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine 2. ใช้คํามากกว่า 1 คําที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและ ชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคําเดียวโดดๆ) 3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่ จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่า พอใจกว่า 4. ใส่เครื่องหมายคําพูดครอบคลุมกลุ่มคําที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผล การค้นหาที่มีคําในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลําดับที่เราพิมพ์ทุกคํา เช่น "free shareware" เป็นต้น
  • 19. 5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคํา ดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะ ให้มันค้นหาคําตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน 6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หา โดยจะต้องมีคํานั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จําเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนําคําใดคําหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคํา นั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทําการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น 7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคํา + หน้าคําที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นําหน้าคําที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคํา เช่น (pentium+computer)cpu 8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคําที่มีคําว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไร ไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคําที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 9. หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คําค้นหาที่เป็นคําเดี่ยวๆ หรือเป็นคําที่มีตัวเลขปน แต่ ถ้าเลี่ยงไม่ได้คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคําพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98" 10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคําประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคําหรือข้อความที่ เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคําหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบ ประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทําให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น 11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วน ใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/ แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์ ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เกิดขึ้นจากแนวคิดจากวิทยานิพนธ์ของนาย Larry Page และนาย Sergey Brin โดยมีเนื้อความถึงการตั้งสมมุติฐานที่ว่า โปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นที่แสดงผลการค้นหาที่มี ความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทํางานของเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม ดังนั้นจึง ได้มีการสร้างโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นของ Google ขึ้นมา โดยใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน และยัง มีการกําหนดอีกว่า เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดี จะต้องมีการเชื่อมโยงลิ้งค์กับหน้าเว็บเพจอื่นมากที่สุด และในเดือนกันยายน ค.ศ.1998 บริษัท Google,Inc. ก็ได้ถือกําเนิดขึ้นมา
  • 20. ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เกิดขึ้นจากการที่นาย David Filo และนาย Jerry Yang ได้ร่วมกันทํางาน อดิเรกชิ้นหนึ่ง และสร้างงานนี้ขึ้นมาในชื่อว่า “Jerry and David’s guide to the World Wide Web” เพื่อใช้สําหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสารบัญของเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน โดยในเวลาต่อมาก็ได้ มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! และมีการนํามาใช้งานจนทุกวันนี้ (ปัจจุบัน Yahoo ขายกิจการให้ Verizon แล้ว) ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search เว็บเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในครั้งแรกในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดย ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม Windows 95 โดยตรง พร้อมกับให้บริการสําหรับเสิร์ช หาเว็บไซต์ต่างๆ และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจร จึงเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ Microsoft Network นอกจากนี้ยังใช้สําหรับเป็นพื้นที่ในการเก็บอีเมลล์ฟรี ในชื่อ Hotmail ที่มีการใช้กันอย่าง แพร่หลายในช่วงแรกๆ ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาจนเกิดโปรแกรมสนทนาออนไลน์ขึ้นมา ซึ่งก็ รู้จักกันดีในชื่อของ MSN Messenger และยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เกิดขึ้นโดย โรบิน ลี (Mr.Robin Li) ซึ่งเป็นนักศึกษาจีน และได้ไปเรียนต่อที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้กลับมาเปิดบริษัทที่ประเทศจีน และสร้าง Baidu ขึ้นมา เรียกได้ ว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านอินเทอร์เน็ตและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในการเสิร์ชเอนจิ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูล แบบไฮเปอร์ลิ้งก์ เพื่อให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยง ระหว่างผู้ใช้กับบริการต่างๆ ได้ดี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไป่ ตู้ก็ได้ประสบความสําเร็จและ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี โดยในแต่ละวันก็จะมีการพิมพ์คําสืบค้นลงใน แพลตฟอร์มของไป่ตู้มากกว่าหมื่นล้านคํา ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบการนําเสนอข้อมูลจากการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ชาวจีน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • 21. YouTube เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก YouTube ถูกยกให้เป็นบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์หรือเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เพราะมีคนเข้ามาค้นเนื้อหาที่สนใจในรูปแบบวิดีโอมากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน หาก ลองให้ใครสักคนนึกถึงเว็บไซต์อัพโหลดและแชร์คลิปวีดีโอชื่อดังระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้อง นึกถึง “YouTube” แต่บทบาทของ YouTube นอกแหนือจากจะเป็นเว็บไซต์เบอร์หนึ่งในด้านการ อัพโหลดและแชร์คลิปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตําแหน่งที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงกัน ก็คือเป็นเสิร์ชเอน จินที่ได้ความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าเว็บไซต์อย่าง Bing, Yahoo, Ask และ AOL รวมกันทั้งหมดเสียอีก YouTube ถูกก่อตั้งในปี 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal จํานวน 3 คน โดยภายในระยะเวลาแต่ เพียงปีเดียวหลังจากการก่อตั้งเท่านั้น Google ได้เข้ามาซื้อ YouTube ซึ่งคิดเป็นจํานวนเงินกว่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจนมาถึงในยุคปัจจุบัน YouTube กลายเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและ มีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ช่องทางในการชมวีดีโอ นอกจากผ่านทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบปกติแล้ว การชมผ่าน โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสําคัญที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยจํานวน ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกมีการเข้าชมวีดีโอ YouTube บนโทรศัพท์มือถือคิด เป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของการชมคลิปวีดีโอทั้งหมดบน YouTube การสํารวจพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับบน YouTube ที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก คือจํานวนวิว (ผู้ชม), ชื่อของคลิปวีดีโอ, คําบรรยายคลิป รวมถึงจํานวน Like และ Dislike บนคลิป ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีความสําคัญทําให้การแสดงผลของวีดีโอมีอันดับที่สูงขึ้น ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่สามารถทําหน้าที่เป็น Search Engine Site มีให้บริการมากมายแก่ผู้สืบค้น ข้อมูลเพื่อทําให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการ ค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Search Engine บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ มีความเปิดกว้างและไม่มีการ จํากัดขอบเขต ผู้สืบค้นจึงสามารถทําการสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ทั่วโลก
  • 22. ระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากการวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี สารสนเทศและระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ความหมาย “สื่ออิเล็กทรอนิกส์” สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็กเช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิด อ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่าน ได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูลเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจาก วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการ เรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมา หลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบันสื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI CAI ย่อมาจากคําว่า COMPUTER-ASSISTED หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนําเสนอสื่อประสม ได้แก้ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ภาพเคลื่อนไหวและเสียง 2.WBI (Web-based Instruction) คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสําหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยนําจุดเด่นของวิธีการให้บริการ ข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้Web Base Instructionจึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือกับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุ บทเรียน 3.การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วย ตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่ง ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ
  • 23. 4. E-book เป็นคําภาต่างประเทศ ย่อมาจากคําว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่าน เอกสารทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ 5. E-Training E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการจัดการฝึก ทักษะ เพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมนั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เข้าอบรมมีอิสระใน การเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่ผู้ฝึกอบรมต้องการโดยเนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบ มาให้ศึกษาเรียนรู้ได้ โดยง่าย ในรูปแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมีภาพเคลื่อนไหว 6. Learning Object หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระใช้เวลาสําหรับการเรียนรู้ เป็นช่วง สั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบหน่วยย่อยก็ตาม Learning Object จะมีความสมบรูณ์ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง คําอธิบาย คําสําคัญ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเอง ข้อดี 1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และ ที่ทํางาน ทําให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง 2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาส เรียนรู้พร้อมกัน 3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง 4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทําให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้น กว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน 5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดย การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต 6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทําให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรี ยงลําดับกัน 7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
  • 24. 8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และแบบต่างเวลา (Asynchronous) คือ เรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้าง ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะ ในการ ตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จําลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะ ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้ ข้อจํากัด 1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบ โปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทําให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจํานวน และ ขอบเขตจํากัดที่จะนํามาใช้เรียนในวิชาต่างๆ 2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่า เป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทําให้เป็นการเพิ่มภาระ ของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น 3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลําดับ ขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่ สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้ 4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตาม ขั้นตอน ทําให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้ สื่อการสอน E-Learning E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลําดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจํากัดในด้านเวลาและ สถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสําเร็จ ในประเทศไทยมี สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้
  • 25. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและ รวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทําข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนําไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริม ประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนํามัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอน ของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่าน เครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่าย ซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนําเสนอลงบน แผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อ เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning ชั้นเรียนปกติ 1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน 2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตําราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ 3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน 4. ถูกจํากัดด้วยเวลาและสถานที่ E-learning 1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ 2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย 3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจํานวน มาก 4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้ เวลาของการศึกษาออนไลน์ การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็ว ขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทําให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษา ทางอิเล็กทรอนิกส์กําลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้อง ปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ