SlideShare a Scribd company logo
1 of 84
หน่วยที่ 8 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการเปลี่ยนแปลงของสังคม 
โลก 
แผนการสอนประจำาหน่วย 
ชุดวิชา สังคมโลก 
หน่วยที่ 8 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการเปลี่ยนแปลงของ 
สังคมโลก 
ตอนที่ 
8.1 สภาพทั่วไปและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
8.2 ขอบเขตและลักษณะของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
8.3 ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่มีต่อสังคมโลก 
8.4 สังคมโลกหลังสงครามครั้งที่หนึ่ง 
แนวคิด 
1. ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สังคมโลกมีสภาพ 
อนาธิปไตย อันเป็นผลจากการที่ประเทศมหาอำานาจต่าง 
ๆ แข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมและรวมกลุ่มเผชิญหน้า 
กันโดยมหาอำานาจต่างใช้อำานาจของตนขยายอำานาจและ 
อิทธิพลของตน โดยไม่คำานึงถึงกฎเกณฑ์หรือธรรมเนียม 
ระหว่างประเทศใด ๆ สภาพระหว่างประะเทศดังกล่าวนี้ 
เป็นสาเหตุสำาคัญของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
2. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีขอบข่ายกว้างขวาง และความ 
รุนแรงมากว่าสงครามครั้งก่อน ๆ รวมทั้งก่อความเสียหาย 
อย่างมากแก่ประเทศต่าง ๆ ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ เนื่องจากมี 
ประเทศที่เข้าร่วมในการสงครามครั้งนี้ถึง 27 ประเทศ 
และมีการนำาอาวุธใหม่ ๆ ใช้ในการทำาสงครามต่อกัน จึง 
ทำาให้ประเทศผู้ชนะต้องการลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรงและ 
ยังผลให้สนธิสัญญาสันติภาพหรือสนธิสัญาแวร์ซายส์ ซึ่ง 
ผู้ชนะทำาขึ้นสร้างความเคียดแค้นให้แก่ชาวเยอรมันอย่าง 
มาก 
3. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่าง 
มากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตวิทยา 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคยุโรปซึ่งเป็นสมรภูมิของ 
สงครามได้รับผลกระทบมากกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งอยู่ห่าง 
จากสมรภูมิของสงคราม 
4. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ทำาให้นานาประเทศตระหนักถึง 
ความจำาเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อความมั่นคงร่วมกัน แต่
แล้วสังคมโลกก็ต้องประสบความผิดหวัง เมื่อหลาย 
ประเทศไม่เต็มใจจะใช้องค์การกลางระหว่างประเทศเป็น 
เครื่องมือในการรักษาสันติภาพและป้องกันสงคราม ยังผล 
ให้องค์การสันนิบาตชาติประสบความล้มเหลวในการ 
ป้องกันมิให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น 
วัตถุประสงค์ 
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 8 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 
1. อธิบายสักษณะของสภาพการณ์ระหว่างประเทศก่อนเกิด 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ 
2. วิเคราะห์สาเหตุที่นำาไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ 
3. วิเคราะห์ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่อสังคม 
โลกได้ทุกด้าน 
4. อธิบายสาเหตที่ทำาให้สันนิบาติชาติประสบความล้มเหลว 
ในการรักษาสันติภาพของนานาชาติและป้องกันสงคราม 
ได้ 
กิจกรรมการเรียน 
1. ทำาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 8 
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 8.1 – 8.4 
3. ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน 
4. ฟังรายการวิทยุกระจายเสีย 
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ 
6. เข้ารับการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษา 
7. ทำาแบบประเมินผลตนเองหลังการเรียนหน่วยที่ 8 
สื่อการสอน 
1. เอกสารการสอนหน่วยที่ 8 ตอนที่ 8.1 –8.4 
2. แบบฝึกปฏิบัติประจำาหน่วยที่ 8 
3. เทปตลับประกอบชุดวิชา 
4. รายการวิทยุกระจายเสียง 
5. รายากรวิทยุโทรทัศน์ 
ประเมินผล 
1. ประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 
2. ทำากิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง 
3. การสอบไล่ประจำาภาคการศึกษา 
เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ทำาแบบประเมินผล 
ตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 8 ในแบบฝึกปฏิบัติก่อน แล้วจึง 
ศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
ตอนที่ 8.1 
สภาพการณ์ทั่วไปและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 8.1 แล้ว 
จึงศึกษารายละเอียดต่อไป 
หัวเรื่อง 
8.1.1 สภาพการณ์ทั่วไปก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
8.1. 2 โครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้ง 
ที่หนึ่ง 
8.1.3 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
แนวคิด 
1. สภาพการณ์ของสังคมโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มี 
ลักษณะอนาธิปไตยไร้ 
กฎเกณฑ์ 
2. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวาง 
และมีความร้ายแรงมากกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ 
3. สาเหตุสำาคัญของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมี 3 ประการ คือ 
การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมของประเทศ 
มหาอำานาจ การรวมกลุ่มเผชิญหน้ากันของประเทศ 
มหาอำานาจ และความรู้สึกชาตินิยมของชนกลุ่มน้อยใน 
ยุโรป 
วัตถุประสงค์ 
เมื่อศึกษาตอนที่ 8.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 
2. อธิบายสภาพการณ์ของสังคมโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 
หนึ่งได้ 
3. อธิบายโครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้ง 
ที่หนึ่งได้ 
4. อธิบายสาเหตุที่ทำาให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ 
ความนำา 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 
ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 
รวมเวลากว่า 4 ปี 3 เดือน เริ่มแรกเป็นสงครามระหว่างประเทศ 
จักรวรรดินิยมด้วยกัน แต่ภายหลังมีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย จึง 
เป็นสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวาง โหดร้ายและสิ้นเปลืองมากกว่า 
สงครามในครั้งก่อน ๆ อย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่ามีประเทศที่ 
เกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้ถึง 27 ประเทศ แบ่งออกเป็นสองฝ่าย 
คือ ฝ่ายมหาอำานาจกลาง (Central Power) ประกอบด้วย 4 
ประเทศคือ ออสเตรีย ฮังการี เยอรมนี และบัลแกเรีย ฝ่าย
สัมพันธมิตร คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย อิตาลี เป็นแกน พร้อมกับ 
มิตรประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและไทย รวม 23 ประเทศ 
สงครามครั้งนี้คร่าชีวิตทหารของทั้งสองฝ่ายไปประมาณ 8 ล้าน 6 
แสนคน และบาดเจ็บอีกประมาณ 21 ล้าน 3 แสนคน และทั้งสอง 
ฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายไปกว่า 338,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สงคราม 
ครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยการที่ฝ่ายมหาอำานาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ 
และฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ โดยฝ่ายชนะได้เรียกร้องให้ 
ฝ่ายแพ้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองภายในและปลดปล่อย 
อาณานิคมของตนให้เป็นอิสระ รวมทั้งใช้ค่าปฏิกรรมสงครามแก่ผู้ 
ชนะด้วย จึงยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม 
โลกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลี่ยนแปลงในฐานแห่งอำานาจ 
ข อ ง ทั้ ง ผู้ ช น ะ แ ล ะ ผู้ แ พ้ 
สภาพการณ์ทั่วไปในห้วงเวลาก่อนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
จะระเบิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 มีส่วนสำาคัญอย่าง 
มากที่ส่งผลให้เกิดสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลาย 
ส่วนของโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ในหลายส่วนของโลกเข้าร่วม 
ด้วยถึง 27 ประเทศ และทำาให้สงครามระหว่างประเทศครั้งนี้มี 
ลักษณะเป็น “สงครามโลก” และดังจะชี้ให้เห็นต่อไปว่า ปรากฎ 
การณ์สำาคัญที่สุดในระยะนั้นที่เป็นชนวนนำาไปสู่สงครามโลก ก็คือ 
การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมและตลาดสินค้า และการรวม 
กลุ่มเผชิญหน้ากันของประเทศมหาอำานาจในสมัยนั้นซึ่งล้วนเป็น 
ป ร ะ เ ท ศ จั ก ร ว ร ร ดิ นิ ย ม ทั้ ง นั้ น 
เรื่องที่ 8.1.1 สภาพการณ์ทั่วไปก่อนสงครามโลกครั้งที่ 
หนึ่ง 
นับตั้งแต่ที่อิตาลีและเยอรมนีรวมประเทศได้สำาเร็จในปี ค.ศ. 
1821 และ ค.ศ. 1870 ซึ่งยังผลให้ทั้งสองประเทศมีกำาลังเข็ม 
แข็งทัดเทียมมหาอำานาจอื่นในขณะนั้น แต่ทั้งสองประเทศ ยังไม่มี 
อาณานิคมเป็นของตนเองจึงมุ่งแสวงหาอาณานิคมในทวีป 
แอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก แข่งกับมหาอำานาจอื่นอย่าง 
จริงจัง ซึ่งปรากฏผลดังนี้ 
1. อังกฤษ ได้ดินแดนหลายส่วนในแอฟริกาเป็น 
อาณานิคม คือ ไนจีเรีย โกลด์โคสต์ เซียราเลโอน ซึ่งอยู่ทางตะวัน 
ตกของทวีปแอฟริกา สหภาพแอฟริกา และยูกันดา แอฟริกาตะวัน 
ออก และโซมาเลีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา 
นอกจากนั้นอังกฤษยังเข้ายึดครองอียิปต์และซูดาน เป็นดินแดน 
ในอารักขาอีกด้วย ส่วนในอาณาบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก 
อังกฤษได้อาณานิคมหลายแห่ง เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
มาลายา สิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ เกาะโซโลมอน และดินแดน 
อื่น ๆ อีกหลายแห่ง 
2. ฝรั่งเศส ได้ดินแดนหลายส่วน 
ในทวีปแอฟริกาเป็นอาณานิคม คือ แอลจีเรีย แอฟริกาตะวัน 
ตก คองโก และเกาะมาดากัสการ์ และอีกหลายส่วนในเอเชียและ 
มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น อินโดจีน เกาะคาเลโดเนีย และดินแดนอื่น 
ๆ อีกหลายแห่ง 
3. เยอรมนี ได้ดินแดนหลายส่วนในทวีป 
แอฟริกาเป็นอาณานิคม เช่น แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งติดกับ 
สหภาพแอฟริกาของอังกฤษ และแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง 
ติดกับแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษ และแคเมอรูน ซึ่งติดกับ 
คองโกของฝรั่งเศส และพยายามแข่งกับฝรั่งเศสในการขยาย 
อิทธิพลเข้าไปในโมร็อกโกซึ่งยังเป็นเอกราช นอกจากนั้นเยอรมนี 
ยังได้อาณานิคมในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะมาร์แชลล์ 
คาโรไลน์ และมาเรียนา ซึ่งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และหมู่เกาะ 
บิสมาร์ก นิวกินีตะวันออกซึ่งอยู่ติดกับนิวกินีตะวันออกของอังกฤษ 
และเกาะซามัวตะวันตก ซึ่งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร 
4. อิตาลี ได้ดินแดนทางเหนือของทวีปแอฟริกาเพียง 2 
แห่ง เป็นอาณานิคม คือ ลิเบีย และออสเตรีย จึงอยากจะได้ดิน 
แดนอื่น ๆที่ยังไม่เป็นของมหาอำานาจใดเป็นอาณานิคมอีก คือ 
อบิสเนีย (เอธิโอเปีย) ซึ่งยังเป็นเอกราชอยู่ในขณะนั้นแต่ไม่ 
ประสบผลสำาเร็จ 
นอกเหนือจากแข่งขันกับอังกฤษและฝรั่งเศสในการแสวงหา 
อาณานิคมในทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิกดังกล่าวแล้ว ทั้ง 
เยอรมนีและอิตาลีพยายามขยายอิทธิกลเข้าไปในอาณาบริเวณ 
ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันอัน 
อ่อนแอ และเป็นที่หมายปองของอังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย อยู่ 
ก่อนแล้ว ยิ่งกว่านั้นเยอรมนีได้พยายามขยายตลาดการค้าของตน 
ในจีนแข่งกับอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย โดยได้เช่าอ่าวเกียวเจา 
จากจีนพื่อใช้ประโยชน์ในการค้าเป็นเวลา 99 ปี 
5. ญี่ปุ่น ซึ่งเป็น 
ประเทศเดียวในเอเชียที่พัฒนาประเทศได้เร็ว และพยายามที่จะ 
แสวงหาอาณานิคมกับเขาเหมือนกัน กล่าวคือ ในขณะที่เยอรมนี 
และอิตาลีแข่งกันกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในการหาอาณานิคมและ 
ตลาดการค้า ญี่ปุ่นซึ่งได้กลายเป็นมหาอำานาจในเอเชียตะวันออก 
หลังจากรบชนะจีนในปี ค.ศ. 1895 และชนะรุสเซียในปี ค.ศ. 
1905 ทำาให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนเพิ่ม คือ เกาะไต้หวันจากจีน และ
เกาะแซคาลินตอนใต้จากรุสเซีย หลังจากนั้นญี่ปุ่นได้พยายามที่ 
แผ่อิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรเกาหลีและแมนจูเรียของจีน 
6. รุสเซีย หลังจากพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามปี ค.ศ. 
1905 และต้องถอยจากเอเชียตะวันออกรุสเซียจึงหันไปในเปอร์ 
เชีย (อิหร่าน) แหลมบอลข่าน และตะวันออกกลางจึงต้องเผชิญ 
หน้ากับออสเตรีย – ฮังการี ในแหลมบอลข่าน และแข่งกับเยอรมนี 
ในตะวันออกกลาง และแข่งกับอังกฤษในเปอร์เชีย 
7. ตุรกี เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเป็น 
ประเทศมหาอำานาจเหมือนกันมีอำานาจอธิปไตยเหนือดินแดนใน 
ตะวันออกกลางและบางส่วนของแหลมบอลข่าน แต่เนื่องจากมี 
ปัญหาในการปกครองภายในประเทศอยู่มาก จึงมีความอ่อนแอ 
และรบแพ้ประเทศอื่นอยู่เรื่อย ๆ ยังผลให้ตุรดีหมดสภาพของการ 
เป็นมหาอำานาจแหละมีผู้เรียกตุรกีว่าเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป” 
เนื่องจากอังกฤษและรุสเซียสนใจที่จะขยายอิทธิพลมายัง 
ตะวันออกกลาง ตุรกีจึงมองเยอรมนีเป็นมิตร และมองอังกฤษและ 
รุสเซียเป็นศัตรู 
8. ออสเตรีย – ฮังการี เป็นมหาอำานาจอีกประเทศหนึ่ง 
ที่ปกครองชนเชื้อชาติอื่นหลายเชื้อชาติอยู่แล้ว ได้พยายามที่จะ 
ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำาประเทศเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตนในแหลม 
บอลข่าน เช่นได้ผนวกเอาแคว้นบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา ซึ่งมี 
ชาวเซอร์เบียอาศัยอยู่มากมาเป็นของตนในปี ค.ศ. 1878 และ 
เมื่อออสเตรีย – ฮังการี พยายามจะขยายอิทธิพลเข้าครอบงำา 
ประเทศอื่น ๆ ของแหลมบอลข่านอีก รุสเซียซึ่งไม่พอใจการกระ 
ทำาของออสเตรีย –ฮังการีอยู่แล้ว จึงพยายามขัดขวาง พร้อมกับ 
พยายามปลุกความรู้สึกชาตินิยมของชนชาวเซอร์เบีย และชนกลุ่ม 
น้อยที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของออสเตรีย – ฮังการี ให้ต่อต้าน 
ออสเตรีย – ฮังการี 9. 
สหรัฐอเมริกา เป็นมหาอำานาจอีกประเทศหนึ่งที่พยายามแผ่ 
อิทธิพลครอบงำาดินแดนอื่น ๆ โดยเฉพาะในอเมริกาใต้ และหลัง 
จากรบชนะในสเปนในปี ค.ศ. 1899 สหรัฐอเมริกาได้เอา 
พิลปปินส์เป็นอาณานิคมและใช้เป็นฐานในการขยายการค้าไปยัง 
จีน 
อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์ของการแข่งขันการแสวงหา 
อาณานิคมและขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำานาจ ได้ทำาให้ 
สถานการณ์ของโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตกอยุ่ในสภาพที่ 
เรียกว่า อนาธิปไตยระหว่างชาติ โดยที่กฎหมายหรือศีลธรรม 
ระหว่างประเทศไม่อาจยับยั้งมิให้มหาอำานาจใช้สงครามเป็นเครื่อง
มือในการขยายดินแดนและอิทธิพล และโดยเหตุที่มหาอำานาจ 
แต่ละประเทศต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และ 
เผชิญหน้ากับคู่แข่งขันตามลำาพัง จึงพยายามขจัดผลประโยชน์ที่ 
ขัดกัน และร่วมมือกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ดังจะเห็นได้ 
ว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซียได้ทำาความตกลงร่วมกัน ที่จะช่วย 
เหลือกันในกรณีที่ถูกประเทศอื่นโจมตี ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียก 
ปรากฏการณ์นี้ว่า ความเข้าใจสามฝ่าย (Triple Entente) ส่วน 
เยอรมนี อิตาลี และออสเตรีย – ฮังการี ก็ทำาสัญญาพันธไมตรีต่อ 
กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือกันเมื่อประเทศใดประเทศ 
หนึ่งถูกโจมตี นักประวัติศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พันธมิตร 
สามฝ่าย (Triple Alliance) ปรากฏว่าการรวมกลุ่มของประเทศ 
ต่าง ๆดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศใน 
ยุโรปมากขึ้นอีก 
เรื่องที่ 8.1.2 โครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิด 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
สภาพการณ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นผลมาจาก การที่ 
ประเทศเยอรมนี อิตาลี รวมประเทศได้สำาเร็จ และขยายอำานาจ 
ของตนในการแสวงหาอาณานิคม ทำา ให้กลายเป็นประเทศ 
มหาอำานาจ ส่วนญี่ปุ่นและสหรัฐก็ได้ขยายดินแดน เพิ่มกำาลังอาวุธ 
และขยายกำาลังทางเรือเป็นอย่างมาก จึงทำาให้โครงสร้างของ 
สังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีลักษณะสำาคัญดังนี้ 
1. มหาอำานาจเพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ คือเยอรมนี อิตาลี 
ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยสามประเทศแรกพยายามแข่งขันกับ 
มหาอำานาจเก่า คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย ในการแสวงหา 
อาณานิคมและหาตลาดการค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนสหรัฐอเมริกา 
ไม่แข่งขันกับมหาอำานาจเก่าโดยตรง และพยายามป้องกันมิให้ 
มหาอำานาจเก่าไปท้าทายอิทธิพลของตนในอเมริกาใต้ 
2. ประเทศที่อ่อนแอในแอฟริกาและเอเชียถูกประเทศ 
มหาอำานาจยึดครองเป็นอาณานิคมเกือบหมด ส่วนประเทศที่ยัง 
เหลือเป็นเอกราชในเอเชีย เช่น จีนและไทยก็ต้องยอมปฏิบัติตาม 
สัญญาอันไม่เป็นธรรมที่ประเทศมหาอำานาจบังคับให้รับ เช่น จีน 
ต้องยอมให้ประเทศมหาอำานาจเช่าดินแดนของตนใช้เป็นเขตการ 
ค้านานถึง 99 ปี ส่วนไทยก็ไม่อาจเก็บภาษีสินค้าขาเข้าจากต่าง 
ประเทศได้เกินกว่าร้อยละ 3 และต้องยอมให้กงสุลต่างประเทศมี 
อำานาจพิจารณาคดีที่คนของเขากระทำาผิดในดินแดนไทย
3. ประเทศมหาอำานาจในยุโรปได้พยายามรวมกลุ่มกัน 
เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและ 
ต่อต้านกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกับตน โดยต่างพร้อมที่จะใช้ 
กำาลังทำาสงครามต่อกัน จึงยังผลให้เกิดความตึงเครียดตลอดเวลา 
4. กฎหมาย 
และศีลธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถให้หลักประกันความมั่นคง 
ปลอดภัยแก่สมาชิกของสังคมโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 
หนึ่งได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะประเทศที่มีกำาลังเข้มแข็งต่างพยายามที่ 
ใช้พลังอำานาจของตนรังแกประเทศที่อ่อนแอกว่า และขยายดิน 
แดนของตนอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะ 10 ปี ก่อนเกิด 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีวิกฤตการณ์และสงครามระหว่าง 
ประเทศเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น 
1. วิกฤตการณ์โมร็อกโก วิกฤตการณ์นี้เกิดจากการ 
ที่กษัตริย์ไกเซอร์แห่งเยอรมนีเดินทางไปเยี่ยมโมร็อกโก อัน 
เป็นการแสดงการคัดค้านความพยายามของฝรั่งเศสท่จะเข้ายึด 
ครองโมร็อกโก เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส การกระทำา 
ครั้งนี้ของเยอรมนีทำาให้ฝรั่งเศสไม่พอใจมาก และทำาให้ต้องมีการ 
จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่สเปน เพื่อยุติวิกฤตการณ์ในปี ค.ศ. 
1906 โดยที่ประชุมครั้งนี้ยอมให้ฝรั่งเศสให้ความอารักขาแก่ 
โมร็อกโกได้ แต่เยอรมนีไม่ยอมรับ และพยายามที่จะแผ่อิทธิพล 
เข้าไปในโมร็อกโกให้ได้ โดยได้ส่งเรือรบเข้าไปที่เมืองท่าอากา 
ดีร์ เป็นเมืองเก่า ซึ่งทำาให้เกือบเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ 
และทำาให้หลายประเทศพยายามไกล่เกลี่ย ในที่สุดหลังจาก 
ฝรั่งเศสยอมที่จะให้เยอรมนีได้ดินแดนบางส่วนในคองโกของ 
ฝรั่งเศส เยอรมนีจึงยอมรับรองอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือ 
โมร็อกโก 2) 
สงครามในแหลมบอลข่าน สงครามในแหลมบอลข่านเกิดขึ้นในปี 
ค.ศ. 1912 ระหว่างบัลแกเรีย เซอร์เบีย และกรีซ ฝ่ายหนึ่ง กับ 
ตุรกีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งฝ่ายแรกชนะและยึดเอาดินแดนของตุรกีใน 
ยุโรปไปแบ่งกัน แต่ภายหลังฝ่ายชนะทะเลาะกันเอง จึงทำาให้เกิด 
สงครามในแหลมบอลข่านอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1913 ระหว่าง 
กรีซ เซอร์เบีย โรมาเนีย และตุรกีฝ่ายหนึ่งกับบัลแกเรียอีกฝ่าย 
หนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายแรกเป็นฝ่ายชนะ ยังผลให้ตุรกีได้ดินแดน 
ของตนในยุโรปคืนมาบ้าง 
วิกฤตการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า หลายประเทศ 
ถือว่า การใช้สงครามเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ เพราะถ้า 
ชนะก็ได้ดินแดนเพิ่ม และถ้าแพ้ก็มีโอกาสแก้ตัวเพื่อดินแดนที่เสีย
ไปคืนมา ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า สังคมโลกในระยะก่อนสงครามโลก 
ครั้งที่หนึ่ง เป็นสังคมที่อยู่ในสภาวะอนาธิปไตย ไร้กฎหมาย และ 
ศีลธรรม สำาหรับเป็นหลักในการดำาเนินความสัมพันธ์ระหว่าง 
สมาชิกในสังคม ซึ่งอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สังคมโลกก่อน 
เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสังคมที่ยอมรับว่า อำานาจคือธรรม 
(Might is Right) ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีอำานาจจะเป็นฝ่ายถูก 
เสมอ
เรื่องที่ 8.1.3 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
แม้ว่าการแข่งกันแสวงหาอาณานิคมระหว่างมหาอำานาจ จะ 
ไม่ทำาให้เกิดการประทะกันด้วยกำาลัง แต่การที่ประเทศมหาอำานาจ 
เหล่านี้ยังต้องการที่จะขยายดินแดนของตนเรื่อยไปโดยดไม่หยุด 
ยั้งได้ทำาให้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและ 
ต่อต้านฝ่ายที่มีผลประโยชน์ขัดกับพวกกตน และยังผลให้เกิด 
ความตึงเครียดและความระแวงระหว่างกัน นอกจากนั้น 
วิกฤตการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า การใช้กำาลังเป็นเครื่องมือที่ให้ 
ประโยชน์ในการขยายดินแดนและอิทธิพล ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิด 
วิกฤตการณ์ขึ้นอีก แต่ละฝ่ายจึงไม่รีรอที่จะใช้กำาลังเป็นเครื่องมือ 
บีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามยอมตามที่ตนต้องการ หรือเสี่ยงทำา 
ส ง ค ร า ม กั บ ต น ดั ง จ ะ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ต่ อ ไ ป นี้ 
ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์ช ดยุค ฟรานซิส 
เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) รัชทายาทของ 
ออสเตรียและชายาถูกลอบยิงถึงแก่ความตายที่ซาราเจโว 
(Sarajevo) นครหลวงแคว้นบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา โดยนัก 
ชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ซึ่งประสงค์จะเอาแคว้นทั้งสองไปรวมกับเซ 
อร์เบีย ออสเตรียซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากเยอรมนี 
และเชื่อว่ารัฐบาลเซอร์เบียรู้เรื่องการลอบยิงครั้งนี้ จึงยื่นคำาขาด 
ให้เซอร์เบียตอบภายใน 48 ชั่วโมง. 1. 
โดยเรียกร้องให้เซอร์เบียหยุดโฆษณาปลุกปั่นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ 
ภายใต้การครอบครองของออสเตรีย และ 
2. ยอมให้ตำา รวจหรือ 
ท ห า ร อ อ ส เ ต รีย เ ข้ า ไ ป สืบ ส ว น แ ผ น สัง ห า ร 
แต่เนื่องจากเซอร์เบียอาจจะได้รับการสนับสนุนจากรุสเซียว่ 
าจะช่วยเหลือถ้าถูกรังแก ยอมรับคำาขาดในข้อแรก และไม่ยอมรับ 
ในข้อสอง และการเจรจาต่อรองไม่เป็นที่ตกลงกัน ออสเตรียจึง 
ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 
และในวันนั้นเองรุสเซียประกาศระดมพลเต็มอัตราศึกเพื่อช่วยเซ 
อร์เบีย แม้ว่าเยอรมนี จะพยายามป้องกันสงครามมิให้ขยายวง 
กว้าง โดยการขอให้รุสเซียชะลอการระดมพลเพื่อเข้าช่วยเซ 
อร์เบีย แต่เนื่องจากผู้นำาฝ่ายทหารในรุสเซียเกรงว่าจะถูกเยอรมนี 
โจมตีก่อนจึงชะลอการระดมเพียงชั่วคราว และกลับเร่งระดมพล 
เต็มอัตราศึกในระยะต่อมา ในที่สุดเยอรมนีก็ระดมพลบ้าง หลัง 
จากที่ไม่สามารถทำาให้รุสเซียหยุดระดมพลในวันที่ 1 สิงหาคม 
และประกาศสงครามกับรุสเซียในวันเดียวกันนี้ ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่ง 
สนับสนุนพันธมิตรรุสเซียตลอดเวลา และเกรงว่าจะถูกเยอรมนี
โจมตีจึงประกาศระดมพลบ้างในวันเดียวกัน ยังผลให้เยอรมนี 
ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ส่วนอังกฤษนั่น 
ตอนแรกยังลังเลว่าจะช่วยฝรั่งเศส ดีหรือไม่ แต่ต่อมาตัดสินใจ 
ประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม หลังจากที่ 
เยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาคำ้าประกันความเป็นกลางของเบลเยี่ยม 
โดยการบุกประเทศนั้น เพื่อใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีฝรั่งเศส ทั้ง ๆ 
ที่เยอรมนีก็เป็นภาคีของสนธิสัญญานี้กลับอ้างว่ามันเพียง “เศษ 
กระดาษ” เท่านั้น อันเป็นข้ออ้างที่ทำาให้ประชาชนชาวอังกฤษ 
โกรธแค้นมาก และสนับสนุนรัฐบาลของเขาให้ทำาสงครามกับ 
เยอรมนีอีก 2 วันต่อมาคือ ในวันที่ 6 สิงหาคม ออสเตรียประกาศ 
ส ง ค ร า ม กั บ รุ ส เ ซี ย 
สรุปได้ว่า ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ประเทศที่ร่วมทำา 
“ความเข้าใจสามฝ่าย” อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย ได้ 
ร่วมมือกันทำาสงครามต่อต้านเยอรมนี และออสเตรีย – ฮังการี อัน 
เป็นสมาชิกของกลุ่ม “พันธมิตรสามฝ่าย” อันมีเยอรมนี ออสเตรีย 
– ฮังการี และอิตาลี โดยอิตาลีประกาศวางตนเป็นกลาง เนื่องจาก 
ไม่พอใจออสเตรียที่ครอบครองดินแดนบางส่วนที่อิตาลีถือว่าควร 
เป็นของตน และหลังจากที่อังกฤษและผรั่งเศสสัญญาว่าจะให้ดิน 
แดนนั้นแก่อิตาลีถ้า อิตาลีจะร่วมมือกับตน อิตาลีจึงประกาศ 
สงครามกับเยอรมนี และออสเตรียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 
อั น เ ป็ น ก า ร หั ก ห ลั ง มิ ต ร อ ย่ า ง แ จ้ ง ชั ด 
นอกเหนือจากประเทศดังกล่าวแล้ว ยังมีประเทศอื่นที่เข้าร่วม 
ในการสงครามครั้งนี้ ที่ควรกล่าวถึงคือ ญี่ปุ่นเข้าข้างสัมพันธมิตร 
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามมาด้วยโรมาเนียในปี ค.ศ. 
1916 สหรัฐ อ เมริกา ในเดือนเมษา ยน ค.ศ. 1917 แล ะ 
ประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1917 ส่วนฝ่ายมหาอำานาจ 
กลางนั้นมีประเทศที่เข้าร่วมมือด้วย คือตุรกีในเดือนพฤศจิกายน 
ค .ศ . 1914 ต า ม ม า ด้ว ย บัล แ ก เ รีย ใ น ปี ค .ศ . 1915 
อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบฝ่ายมหาอำานาจ 
กลางทั้งในด้านทรัพยากรมนุษญ์และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ 
ภายในประเทศและอาณานิคม กล่าวคือ ในขณะที่ฝ่ายมหาอำานาจ 
กลาง อันได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และตุรกี ได้เปรียบ 
ในข้อที่อยู่ใกล้กัน มีประชากรรวมกัน 150 ล้านคน ฝ่าย 
สัมพันธมิตร 4 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย และอิตาลี แม้ 
จะอยู่ห่างกันแต่มีประชากรรวมกัน 125 ล้านคน และยังมี 
ประชากรในอาณานิคมอีกเกือบ 400 ล้านคน รวมทั้งสามารถ
ติดต่อกับโลกภายนอกเพื่อแสวงหาทรัพยากรมาใช้เพื่อการ 
ส ง ค ร า ม ไ ด้ส ะ ด ว ก ก ว่า ม ห า อำา น า จ ก ล า ง อ ย่า ง ม า ก 
จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราอาจสรุปสาเหตุของ 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ดังนี้ คือ 
1. การแข่งขันแสวงหาอาณานิคม และขยายอิทธิพล 
ระหว่างประเทศมหาอำานาจ อันทำาให้เกิดความตึงเครียดระหว่าง 
กันตลอดเวลา 2. การ 
ที่ประเทศมหาอำานาจหลายประเทศรวมกลุ่มกันเพื่อรักษาผล 
ประโยชน์ร่วมกัน และเผชิญหน้ากับกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกับ 
ตน 3. การที่ประเทศต่าง ๆ 
ถือว่าการใช้กำาลังเพื่อขยายดินแดนหรืออิทธิพลเป็นสิ่งที่ชอบ 
ธรรม4. ความรู้สึกชาตินิยมของประชากรในแหลมบอลข่าน ซึ่ง 
ถูกประเทศมหาอำานาจคอยแทรกแซงและครอบงำาตลอดเวลา จึง 
ยังผลให้ชาวเซอร์เบียชาตินิยมคิดต่อต้านออสเตรีย และทำาการ 
สังหารรัชทายาทของออสเตรีย
ตอนที่ 8.2 
ขอบเขตและลักษณะของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตนที่ 8.2 แล้วจึง 
ศึกษารายละเอียดต่อไป 
หัวเรื่อง 
8.2.1 ขอบเขตและสมรภูมิของสงคราม 
8.2.2 ความร้ายแรงของสงคราม 
8.2.3 การทำาสนธิสัญญาสันติภาพ 
แนวคิด 
1. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีเขตเขตกว้างขวาง ครอบคลุม 
หลายส่วนของโลก แต่สมรภูมิสำาคัญของสงครามครั้งนี้อยู่ 
ที่แนวรบด้านตะวันตกและแนวรบด้านตะวันออกของ 
เยอรมนี 
2. สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก คร่าชีวิตของประเทศคู่ 
สงครามทั้งผู้ชนะและผู้แพ้รวมกันประมาณ 8.5 ล้านคน 
และก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินอีกมากมาย จึงทำาให้ 
ประเทศผู้ชนะคิดลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรง 
3. ประเทศผู้ชนะกำาหนดค่าปฏิกรรมสงครามให้ประเทศผู้แพ้ 
ชดใช้โดยไม่คำานึงถึงความสามารถของผู้แพ้ จึงทำาให้ 
ประชาชนของประเทศผู้แพ้มีความโกรธแค้นและหาทาง 
ทำาลายสนธิสัญญาสันติภาพ 
วัตถุประสงค์ 
เมื่อศึกษาตอนที่ 8.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 
1. อธิบายขอบเขตและสมรภูมิของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 
ได้ถูกต้อง 
2. อธิบายมูลเหตุที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตทหารของ 
ประเทศผู้ชนะและประเทศผู้แพ้ได้ 
ถูกต้อง 
3. อธิบายมูลเหตุที่ทำาให้ประเทศผู้ชนะกำาหนดเงื่อนไขใน 
สนธิสัญญาสันติภาพโดยไม่ 
คำานึงถึงความรู้สึก และความสามารถของประเทศผู้แพ้ 
ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 
ต่าง ๆ ได้ 
ความนำา 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีขอบเขตกว้างขวางมาก และมีการ 
ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์และกำาลังทหารในการต่อสู้กัน ซึ่งก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ประเทศคู่ค้าสงครามมากกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ 
ทุกครั้ง ซึ่งจะขอกล่าวโดยย่อดังนี้
เรื่องที่ 8.2.1 ขอบเขตและสมรภูมิของสงคราม 
โดยเหตุที่ประเทศคู่สงครามหลายประเทศเป็นประเทศ 
มหาอำานาจ ที่มีอาณานิคมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และ 
ประเทศคู่สงครามต่างถือว่าอาณานิคมเป็นดินแดนศัตรูที่ตนมีสิทธิ 
โจมตีและเข้ายึดครองได้ จึงทำาให้สงครามครั้งนี้มีขอบเขตกว้าง 
ขวางครอบคลุมทั่วโลก นักประวัติศาสตร์จึงพากันเรียกสงคราม 
ครั้งนี้ว่า สงครามโลก ทั้ง ๆ ที่อาณาบริเวณที่ประเทศคู่ค้าสงคราม 
ทำาการรบกันอย่างจริงจังนั้นจำากัดอยู่ที่ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดย 
เฉพาะอาณานิคมบริเวณพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี หรือ 
ที่เรียกกันว่า “แนวรบด้านตะวันตก” ของเยอรมนี เป็นสมรภูมิที่มี 
การรบกันอย่างดุเดือด โดยต่างฝ่ายไม่สามารถเอาชนะกันอย่าง 
เด็ดขาดและต้องขุดสนามเพลาะลึกพอให้ทหารลงไปยืนได้ มี 
ความยาวกว่า 4 ปี โดยมีการบุกข้ามแนวสนามเพลาะได้ในบาง 
ครั้ง ซึ่งเราอาจเรียกการรบในอาณาบริเวณดังกล่าวว่า “สงคราม 
ส น า ม เ พ ล า ะ ” (Trench War) 
สมรภูมิที่มีการรบกันอย่างดุเดือดก็คือ “แนวรบด้านตะวัน 
ออก” ของเยอรมนีและออสเตรีย ซึ่งทหารของเยอรมนีกับ 
ออสเตรียฝ่ายหนึ่ง กกับทหารของรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่งรวมกันกว่า 
1 ล้านคน ทำาการรบกัน โดยกองทัพรุสเซียสามารถต่อต้านการบุก 
ของกองทัพเยอรมันไว้ได้เป็นเวลานานกว่า 3 ปี และหลังจากเกิด 
การปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 
รัฐบาลใหม่นำาโดยเลนิน ตัดสินใจยอมแพ้ และยอมทำาสัญญาสงบ 
ศึกกับเยอรมนี ที่เมืองเบรส – ลิทอฟ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 
โดยยอมเสียดินแดนด้านตะวันตกของตนให้แก่เยอรมนี – 
ออสเตรีย และตุรกีไปเป็นจำานวนหลายหมื่นตารางกิโลเมตร 
นอกเหนือจากสมรภูมิดังกล่าวแล้ว ยังมีการรบกันในที่อื่น ๆ 
อีก เช่น แนวรบอิตาลีตรงพรมแดนระหว่างออสเตรียกับอิตาลี 
แนวรบบอลข่าน และที่ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ และตะวันออกกลาง 
ตุรกี แต่ไม่รุนแรงเท่าแนวรบด้านตะวันตก และแนวรบด้านตะวัน 
ออกดังกล่าวส่วนการรบในที่อื่น ๆ เช่นในดินแดนอาณานิคมของ 
เยอรมนีในแอฟริกาตะวันตก มีการรบกันนานแต่ไม่รุนแรงมากนัก 
ส่วนในเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะในเขตเช่าของ 
เยอรมนีในจีน และในอาณานิคมของเยอรมนีในมหาสมุทร 
แปซิฟิก ญี่ปุ่นสามารถยึดได้อย่างง่ายดาย ในทำานองเดียวกันไทย 
ซึ่งประกาศสงครามกับมหาอำานาจกลางในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 
1917 ก็มิได้รบกับเยอรมนีโดยตรง เพราะเยอรมนีมิได้มีดินแดน
ใกล้ไทย แต่ได้ส่งทหารอาสาสมัครจำานวนประมาณ 1,200 คน 
ไ ป ร่ว ม ร บ กับ ก อ ง ทัพ สัม พัน ธ มิต ร ใ น ส ม ร ภูมิยุโ ร ป 
ส่วนการรบทางเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกก็ไม่รุนแรงนัก 
เพราะเยอรมนียังไม่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งพอจะรบกับกองทัพเรือ 
อังกฤษอันยิ่งใหญ่ได้ แต่เยอรมนีก็พยายามใช้อาวุธที่มีอยู่ให้เป็น 
ประโยชน์ คือใช้เรือดำานำ้าของตนออกปฏิบัติการจมเรือสินค้าของ 
ทุกชาติ รวมทั้งชาติเป็นกลางที่เยอรมนีถือว่าบรรทุกวัสดุสงคราม 
ไปส่งให้สัมพันธมิตรระหว่าปี ค.ศ. 1914 – 1916 ยังผลให้ 
สหรัฐอเมริกาซึ่งวางตัวเป็นกลางในสงคราม ทำาการประท้วงการ 
ปฏิบัติการของเรือดำานำ้าเยอรมนี ว่าละเมิดหลักกฎหมายระหว่าง 
ประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการทะเลนานาชาติ และเมื่อเรือสินค้า 
ของสหรัฐอเมริกาชื่อ ลูสิเตเนีย (Lusitania) ถูกยิงจม และ 
เยอรมนีไม่ยอมรับผิดชอบ สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับ 
เยอรมนี เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1917 และประกาศระดมพล 
เกือบ 5 ล้านคน เพื่อส่งไปรบในสมรภูมิยุโรปร่วมกับกองทัพอเม 
ริกกันทำาลายแนวรบตะวันตกของเยอรมนีได้สำาเร็จ เมื่อเยอรมนี 
เริ่มอ่อนกำาลังลง และมิตรซึ่งอ่อนแออยู่แล้วไม่อาจช่วยเหลืออะไร 
ได้ มหาอำานาจกลางจึงเป็นฝ่ายแพ้ในที่สุด และยอมสงบศึกกับ 
ฝ่าย สัม พันธ มิตร เ มื่อ วันที่ 11 พฤศ จิกายน ค.ศ. 1918 
เรื่องที่ 8.2.2 ความร้ายแรงของสงคราม 
สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ 
ชีวิตและทรัพย์สินของประเทศคู่สงครามเป็นจำานวนมาก ดังจะเห็น 
ได้ว่ายอดจำานวนทหารที่ประเทศคู่สงครามทั้งหมดระดมเข้าประจำา 
การในระหว่างสงครามมีจำานวนสูงถึง 65,430,001 คน และได้ 
ตาย สูญหายไป หรือถูกจับเป็นเชลยมีจำานวนรวมกันสูงถึง 
37,460,404 คน ซึ่งอาจแยกเป็นรายประเทศได้ดังนี้ 
ประเทศ จำานวน 
ทหาร 
ที่ระดม 
เข้า 
ประจำา 
การ 
ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น 
เชลย 
หรือ 
สูญหายไป 
รวม 
ออสเตรีย์- 
ฮังการี 
7,800,0 
00 
1,200, 
000 
3,200,0 
00 
2,200,00 
0 
7,020, 
000 
เบลเยียม 276,000 13,716 44,686 34,657 93,06 
1
จักรวรรดิ 
อังกฤษ 
8,904,4 
67 
908,37 
1 
2,090,2 
12 
191,652 3,190, 
235 
บัลแกเรีย 1,200,0 
00 
87,500 152,390 27,029 266,9 
19 
ฝรั่งเศส 8,410,0 
00 
1,357, 
800 
4,266,0 
00 
537,000 6,160, 
800 
เยอรมนี 11,000, 
000 
1,773, 
700 
4,216,0 
58 
1,152,80 
0 
7,142, 
558 
กรีซ 230,000 5,000 21,000 1,000 27,00 
0 
อิตาลี 5,615,0 
00 
650,00 
0 
947,000 600,000 2,197, 
000 
ประเทศ จำานวน 
ทหารที่ 
ระดมเข้า 
ประจำาการ 
ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น 
เชลย 
หรือ 
สูญหายไป 
รวม 
ญี่ปุ่น 800,000 300 907 3 1,210 
มอนเตเน 
50,000 3,000 10,000 7,000 20,00 
โกร 
0 
โปรตุเกส 100,000 7,222 13,751 12,318 33,29 
1 
โรมาเนีย 750,000 335,7 
06 
120,000 80,000 535,7 
06 
ประเทศ จำานวน 
ทหารที่ 
ระดมเข้า 
ประจำาการ 
ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น 
เชลย 
หรือ 
สูญหายไป 
รวม 
รุสเซีย 12,000,0 
00 
1,700, 
000 
2,950,0 
00 
2,500,00 
0 
9,150, 
000 
เซอร์เบีย 707,343 45,00 
0 
133,148 152,958 331,1 
06 
ตรุกี 2,850,00 325,0 400,000 250,000 975,0
0 00 00 
สหรัฐอเมริ 
กา 
4,734,99 
1 
116,5 
16 
204,002 - 320,5 
18 
ไทย 1,200 - - - - 
รวม 
ที่มา Dan Colenpaul (ed) Information Please Almance 
1974, p603 
จะเห็นได้ว่า ประเทศที่ระดมพลเข้าประจำาการมากที่สุดคือ 
รุสเซีย ตามมาด้วยเยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี จักรวรรดิอังกฤษ 
ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา ตุรกี และบัลแกเรียตามลำาดับ ซึ่ง 
ระดมพลกว่าล้านคนทั้งนั้น และจะเห็นได้เช่นเดียวกันว่าทุก 
ประเทศไม่ว่าเป็นประะเทศที่ชนะและประเทศที่แพ้ในสงครามครั้ง 
นี้ ต่างได้รับความเสียหายเป็นจำานวนสูงพอ ๆ กัน ตัวอย่างเช่น 
จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งชนะสงครามได้รับความเสียหาย 
รวมทั้งสิ้นกว่า 9 ล้านคน ส่วนเยอรมนีและออสเตรีย – ฮังการรี 
ซึ่งแพ้สงคราม ได้รับความเสียหายรวมกันกว่า 14 ล้านคน และรุส 
เซียซึ่งแพ้สงครามเช่นเดียวกันได้รับความเสียหายกว่า 9 ล้านคน 
นอกจากนั้นตัวเลขและความเสียหายที่แต่ละประเทศได้รับ แสดง 
ให้เห็นว่าประเทศที่อยู่ใกล้และเป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามจะ 
ได้รับความเสียหายมากกว่าประเทศที่อยู่ไกลจากสมรภูมิของ 
สงคราม ตัวอย่างเช่น จักรวรรดิอังกฤษได้รับความเสียหายน้อย 
กว่าฝรั่งเศส เนื่องจากอยู่ไกลจากสมรภูมิของสงครามมากกว่า 
ฝรั่งเศส ซึ่งถูกเยอรมนีบุกในตอนต้นของสงครมมและต้องเผชิญ 
หน้ากับเยอรมนีในสงครามสนามเพลาะเป็นเวลากว่า 4 ปี ส่วน 
ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ไกลจากสมรภูมิในยุโรปและมิได้ส่งทหารไปร่วมรบกับ 
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมิยุโรปเหมือนกับสหรัฐอเมริกาได้รับ 
ความเสียหายน้อยมากเพียง 1,210 คนเท่านั้น ในทำานอง 
เดียวกันไทยซึ่งส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป 
ด้วยในตอนกลางปี ค.ศ. 1918 อันเป็นระยะที่สงครามใกล้สิ้นสุด 
แล้ว จึงได้รับความเสียหายเพียงร้อยกว่าคน
อาจสรุปสาเหตุที่ทำาให้สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงมากกว่า 
สงครามครั้งก่อนได้ดังนี้ 
1. ประเทศที่เกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้มีมากกว่าสงคราม 
ครั้งก่อน 
2. ระยะเวลาที่ประเทศคู่สงครามใช้ปฏิบัติการรบกันอย่าง 
ต่อเนื่องและจริงจังนั้นมีระยะเวลายาวกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ คือ 
นานถึง 4 ปีกว่า 3. อาวุธที่ 
แต่ละประเทศนำามาใช้ในการสงครามครั้งนี้มีอานุภาพในการ 
ทำาลายชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินมากกว่าในสงครามครั้งก่อน 
ตัวอย่างเช่น เรือดำานำ้า รถถัง และแก๊สพิษ เป็นต้น ได้ถูกประเทศคู่ 
สงครามเริ่มนำามาใช้เป็นอาวุธในการทำาลายล้างกันเป็นครั้งแรก 
นอกจานนั้นยังได้มีการนำาเอาเครื่องบินมาใช้ตรวจการณ์เพื่อ 
กำาหนดเป้าหมายให้ทหารปืนใหญ่ทำาการยิงเป้าหมายได้อย่าง 
แม่นยำาอีกด้วย 
4. การทำาสงครามสนามเพลาะอันยาวนานในสมรภูมิ 
ด้านตะวันตก โดยแต่ละฝ่ายผลัดกันบุกทะลวงแนวสนามเพลาะ 
ของอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องถอยกลับที่มั่นเดิมในที่สุดโดยไม่สามารถ 
เอาชนะกันอย่างเด็ดขาดได้เป็นเวลากว่าเกือบ 4 ปี ซึ่งทำาให้เสีย 
ชีวิตทหารไปเป็นจำานวนมาก จนกระทั่งกองทัพอเมริกันมาช่วย 
เสริมกำาลังให้ฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1918 จึงทำาให้ฝ่าย 
สัมพันธมิตรสามารถบุกทะลวงแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีได้ 
สำาเร็จ และทำาให้เยอรมนียอมแพ้ในที่สุด 
เรื่องที่ 8.2.3 การทำาสนธิสัญญาสันติภาพ 
เนื่องจากสงครามครั้งนี้ได้ก่อความเสียหายให้แก่ประเทศผู้ 
ชนะมากพอ ๆ กับประเทศผู้แพ้ รวมทั้งความยาวนานของสงคราม 
ได้ทำาให้ประชาชนในประทศคู่สงครามในยุโรปได้รับความเดือด 
ร้อนมาก เพราะไม่เพียงแต่จะสูญเสียสมาชิกของครอบครัวไปใน 
ระหว่างสงครามเท่านั้น แต่ยังต้องประสบกับการควบคุมทาง 
เศรษฐกิจของรัฐบาลของตนเองอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลของแต่ละ 
ประเทศต่างโฆษณาว่า ความเดือดร้อนและความไม่สะดวกที่ 
ประชาชนได้รับในระหว่างสงครามเกิดจากกการกระทำาของศัตรู 
เป็นสำาคัญ จึงยังผลให้ประชาชนในแต่ละประเทศเกลียดประเทศ 
ศัตรูเป็นอย่างมากและเรียกร้องให้ลงโทษประเทศผู้แพ้อย่าง 
รุนแรง ดังจะเห็นได้จากประชามติที่ชาวอังกฤษแสดงออกในการ 
เลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 ก่อนที่ 
การเจรจาเพื่อทำาสนธิสัญญาสันติภาพจะเริ่มขึ้นที่นครปารีสของ
ฝรั่งเศส ซึ่งมีส่วนทำาให้รัฐบาลอังกฤษที่ตั้งขึ้นใหม่ มีลอยด์ ยอร์จ 
(Lloyd George) เป็นนายกรัฐมนตรี มีความมั่นใจในนโยบายที่ 
จะลงโทษเยอรมนีให้สาสมกับความผิดที่เยอรมนีได้ก่อขึ้น ซึ่งก็ 
ต ร ง กับ ค ว า ม เห็นขอ ง รัฐ บ า ลฝ รั่ง เ ศ ส ซึ่ง มี เ ค ล มัง โซ 
(Clemenceau) เป็นนายกรัฐมนตรี มีความมั่นใจในนโยบายที่จะ 
ลงโทษเยอรมนีให้สาสม และสัญญาลับต่าง ๆ ที่สองประเทศทำาไว้ 
กับอิตาลีและญี่ปุ่นมีส่วนทำาให้ความหวังของประธานาธบดีวูดโรว์ 
วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ไม่ประสบความ 
สำาเร็จในการสร้างสังคมโลกหลังสงครามให้เป็นไปตามข้อเสนอ 
เพื่อสันติภาพ 14 ข้อ ที่เขาได้แถลงต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาเมื่อวัน 
ที่ 8 ม ก ร า ค ม ค .ศ . 1918 
ข้อเสนอ 14 ข้อซึ่งประธานาธิบดีวิลสัน เสนอให้นานาชาติ 
ใช้เป็นหลักในการเจรจาสันติภาพและปฏิบัติต่อกันหลังสงคราม 
สงบแล้ว มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้ 
1. จะต้องมีการทำาสนธิสัญญาเพื่อสันติภาพต่อกันโดยเปิด 
เผย และจะต้องไม่มีการทำาความเข้าใจเป็นการเฉพาะตัวระหว่าง 
ประเทศกันอีกต่อไป โดยจะต้องมีการดำาเนินการทางทูตกันอย่าง 
เปิดเผย 
2. จะต้องให้เสรีภาพในการเดินเรือในทะเล 
นานาชาติอย่างเต็มที่ทั้งในยามสงบและสงคราม โดยจะมีการ 
จำากัดเสรีภาพเช่นว่านี้ได้บางส่วนหรือทั้งหมด เฉพาะเมื่อมีการ 
ปฏิบัติการของนานาชาติในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง 
นานาชาติเท่านั้น 3. จะขจัดอุปสรรค 
ทางเศรษฐกิจทุกชนิดให้มากที่สุดที่จะมากได้ และจัดให้มีความ 
เสมอภาคทางการค้าระหว่างชาติที่ยอมรับสันติภาพและร่วมมือกัน 
เพื่อรักษาสันติภาพ 4. จะจัดให้มีหลักประกันอย่าง 
เพียงพอว่าจะมีการลดอาวุธลงถึงจุดตำ่าสุด ที่สอดคล้องกับการ 
รักษาความปลอดภัยภายในชาติ 
5. จะพิจารณาอ้างสิทธิในอาณานิคมทั้งหมดอย่าง 
อิสระ เปิดเผย และไม่ลำาเอียง โดยจะยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นต่อ 
หลักการที่ว่า ในการตัดสินปัญหาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือ 
อาณานิคมนั้น จะต้องให้นำ้าหนักผลประโยชน์ของประชากรที่ 
เกี่ยวข้องมากเท่า ๆ กับข้ออ้างอันเป็นธรรมของรัฐบาลซึ่งจะต้อง 
วินิจฉัยเกี่ยวกับชื่อของรัฐบาลนั้น ๆ ต่อไป 
6. จะมีการถอนทหารออกจากดินแดนของรุสเซีย 
ทั้งหมด และการตกลงปัญหาทุกอย่างที่จะมีผลกระทบต่อรุสเซียจะ 
ได้รับการร่วมมืออย่างดีที่สุดและเสรีที่สุดของชาติอื่น เพื่อจะให้
โอกาสอย่างเต็มที่แก่รุสเซียในอัน จะวินิจฉัยเกี่ยวกับการพัฒนา 
ทางการเมืองของตน และทำาให้รุสเซียมั่นใจว่าจะได้รับการ 
ต้อนรับอย่างบริสุทธิ์ใจให้เข้าสู่สังคมของชาติเสรี และนอกจากจะ 
ต้อนรับแล้วยังจะมีการให้ความช่วยเหลือทุกอย่างตามที่รุสเซี 
ยอาจต้องการและปรารถนาด้วย การชาติพี่น้องจะปฏิบัติต่อรุสเซีย 
ในเวลาข้างหน้า จะเป็นการทดสอบถึงไมตรีจิตและความเข้าใจ 
ของชาติเหล่านั้นเกี่ยวกับความต้องการของรุสเซีย อันแตกต่าง 
จากผลประโยชน์ของพวกตน และจะเป็นการทดสอบถึงความเห็น 
อกเห็นใจที่ปราศจากการเห็นแก่ตัวที่ชาติเหล่านั้นมีต่อรุสเซีย 
7. จะต้องถอนทหารออกจากเบลเยี่ยม และให้ 
เบลเยี่ยมเป็นอิสระโดยไม่มีการจำากัดอธิปไตยที่เบลเยี่ยมเคยมีมา 
ก่อนเหมือนกับชาติเสรีอื่น ๆ ทั้งมวล ทั้งนี้เพื่อรื้อฟื้นความมั่นใจ 
ของนานาชาติในกฎหมายที่พวกเขาได้สร้างขึ้น เป็นหลักในการ 
ควบคุมความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ซึ่งถ้าไม่มีการกระทำาดังกล่าว 
โครงสร้างและความถูกต้องสมบูรณ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ 
จะถูกทำาลายตลอดไป 
8. ควรจะมีการปลดปล่อยดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมด และ 
คืนดินแดนที่ถูกบุกยึดไปให้แก่ฝรั่งเศส และจะต้องมีการแก้ไขสิ่ง 
ผิดที่ปรัสเซียทำาไว้กับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1871 เกี่ยวกับแคว้นอัล 
ซาลอเรน ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสันติภาพของโลกมาเกือนบ 50 ปี 
ทั้งนี้เพื่อรักษาสันติภาพให้มั่นคงอีกรั้งหนึ่ง อันจะเป็นประโยชน์แก่ 
ทุกฝ่าย 
9. ควรจะมีการปรับดินแดนของอิตาลี โดยถือเอาสัญชาติ 
ของประชากรเป็นหลักในการกำาหนดแนวเขตแดน 
10. ควรจะให้โอกาสที่เสรีภาพที่สุดแก่ประชากรของ 
ออสเตรีย – ฮังการี ในอันที่จะพัฒนาอย่างอิสระ และมีฐานะใน 
สังคมโลกอย่างมั่นคง 
11. ควรจะมีการถอนทหารออกจากโรมาเนีย เซอร์เบีย 
และะมอนเตเนโกร และคืนดินแดนที่ยึดไปให้แก่สามประเทศ ส่วน 
เซอร์เบียจะได้รับทางออกสู่ทะเลอย่างเสรีอีกด้วย จะมีการกำาหนด 
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ในแหลมบอลข่าน โดยการปรึกษา 
หารือฉันมิตร และควรจะมีการคำ้าประกันโดยนานาชาติต่อเอกราช 
ทางเศรษฐกิจและการเมือง และบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐต่าง 
ๆ ในแหลมบอลข่าน 
12. ควรจะรับรองอธิปไตยอันมั่นคงแก่ดินแดนของตุรกี อัน 
เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ชนชาติอื่นซึ่งอยู่ใต้การ
ปกครองของตุรกีจะได้รับประกันความมั่นคงในชีวิต และได้รับ 
โอกาสเต็มที่ในการพัฒนาอย่างอิสระ และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ 
ควรจะเปิดให้เรือและการค้าทุกชาติใช้ผ่านได้อย่างอิสระโดยมี 
การคำ้าประกันจะนานาชาติ 
13. ควรจะมีการจัดตั้งรัฐโปแลนด์ที่เป็นเอกราช โดยรวม 
เอาดินแดนที่มีชาวโปล อาศัยอยู่อย่างไม่มีข้อสงสัย และควรจะให้ 
โปแลนด์ที่มีทางออกอย่างอิสระและแน่นอนไปสู่ทะเล และควรจะมี 
การคำ้าประกันเอกราชทางการเมืองและเศรษฐกิจ และบูรณภาพ 
แห่งดินแดนของประเทศนี้ โดยข้อตกลงนานาชาติ 
14. จะต้องมีการจัดตั้งสมาคมใหญ่ของนานาชาติ โดยมีข้อ 
ตกลงเป็นการเฉพาะเพี่อคำ้าประกันเอกราชทางการเมือง และ 
บูรณภาพแห่งดินแดนของทั้งชาติใหญ่และเล็กร่วมกัน 
เห็นได้ชัดว่าข้อเสนอ 14 ประการนี้ มีเนื้อหาสาระที่ประเทศ 
คู่แพ้พอจะรับได้ เพราะมิได้มุ่งลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรง นอกจาก 
นั้นข้อเสนอ 14 ประการดังกล่าวยังมุ่งที่จะสร้างสังคมโลกให้มี 
สันติภาพตามหลักการที่จะให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม 
ทั้งในด้านการค้า การเศรษฐกิจ และการเมือง โดยจะมีองค์การ 
ระหว่างประเทศที่จะตั้งขึ้นเป็นผู้ดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักการ 
ดังกล่างว จึงอาจกล่าวได้ว่าถ้าประเทศผู้ชนะจะใช้ข้อเสนอ 14 
ประการของประธานาธิบดีวิลสันเป็นหลักในการทำาสนธิสัญญา 
สันติภาพกับประเทศผู้แพ้ และจัดระเบียบให้สังคมโลก ปัญหา 
ความขัดแย้งในสังคมโลกหลังสงครามคงจะลดน้อยลง แต่ 
เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสมีพันธะตามสัญญาลับที่จะตอบแทน 
อิตาลีและญี่ปุ่นที่เข้าข้างตนในสงคราม และมีเป้าหมายแน่ชัดที่จะ 
ลงโทษเยอรมนีให้สาสม เพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีลุกขึ้นมาท้าทาย 
ความยิ่งใหญ่ของตนได้อีกในอนาคต สหรัฐอเมริกาจึงไม่สามารถ 
ทำาตามที่ตนต้องการได้ และต้องยอมตามที่อังกฤษและฝรั่งเศส 
ต้องการเป็นส่วนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับความสนับสนุนของ 
อังกฤษและฝรั่งเศส ในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อ 
เสนอข้อที่ 14 ของประธานาธิบดีวิลสัน ฉะนั้น ผลของการทำาสนธิ 
สัญญาสันติภาพ ซึ่งเกิดจากการประชุมของประเทศผู้ชนะที่พระรา 
ชวังแวร์วายส์ของฝรั่งเศสเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีประเทศผู้แพ้ 
เข้า ร ว ม ด้ว ย ซึ่ง เ รีย ก กันทั่ว ไ ป ว่า “ ส น ธิสัญ ญ า แ ว ร์ 
ซายส์”(Versailles Treaties) จึงมีลักษณะเหมือนสนธิสัญญา 
สันติภาพแบบเก่า คือ บรรจุความต้องการของผู้ชนะมากกว่าการ 
ส ร้ า ง สั น ติ ภ า พ ตั ว อ ย่ า ง เ ช่ น
1. ลงโทษผู้แพ้โดยเฉพาะเยอรมนีอย่างรุนแรง เพื่อป้องกัน 
มิให้เยอรมนีกลับฟื้นความยิ่งใหญ่ได้อีก ซึ่งทำาให้ชาวเยอรมันไม่ 
พอใจอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เยอรมนีต้องเสียดินแดนเป็นจำานวน 
มาก อาทิ ต้องคืนแคว้นอัลซาส สอเรนให้ฝรั่งเศส ยอมให้ฝรั่งเศส 
ยึดเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) เป็นเวลา 15 ปี คืนจังหวัด 
ยูเพน (Eupan) และมาลเมลี (Malmedy)) ให้เบลเยี่ยม ยอมให้มี 
การแสดงประชามติในแคว้นชเลสวิก (Schleswig) และโฮลส 
ไตน์ ซึ่งปรากฎว่าชเลสวิก ขอกลับไปอยู่กับเดนมาร์กตามเดิม และ 
ต้องยกเมืองเมเมล (Memel) ให้เป็นเมืองท่าของประเทศลิธัวเนีย 
ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้น เยอรมนีถูกจัดมิให้มีความเข้ม 
แข็งพอที่จะท้าทายอังกฤษและฝรั่งเศสได้อีก ตัวอย่างเช่น ถูกยุบ 
กรมเสนาธิการ และให้ลดกำาลังทหารลงเหลือเพียง 100,000 คน 
และกองทหารนี่จะมีเครื่องบินรบ รถถัง หรือปืนหนักไม่ได้ ส่วนทัพ 
เรือให้เรือประจัญบานขนาดเล็กเพียง 6 ลำา และจะมีเรือดำานำ้าไม่ 
ได้ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นเยอรมนีต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ชนะเป็น 
จำานวนมากเหลือที่จะคำานวนได้ ทั้งในรูปสิ่งของและเงินตรา อาทิ 
ต้องมอบเรือสินค้าชดใช้ให้แก่สัมพันธมิตรตามชั้นและขนาดของ 
เรือ ซึ่งถูกเยอรมนียิงจมในระหว่างสงคราม และต้องใช้เงินใน 
อัตราปีละ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี ค.ศ. 1921 ซึ่งใน 
ปีนั้นผู้ชนะจะแจ้งยอดค่าเสียหายทั้งหมดให้เยอรมนีชดใช้ภายใน 
เวลา 30 ปี เป็นต้น นอกจากนั้นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ยังเขียน 
บังคับให้เยอรมนียอมรับว่ามหาอำานาจกลางเป็นผู้รับผิดชอบใน 
การก่อสงครามนี้ 
2. แบ่งปันอาณานิคมหรือดินแดนอธิปไตยของผู้แพ้ให้แก่ 
ประเทศผู้ชนะ ในรูปของการให้ผู้ชนะเป็นผู้ดูแลดินแดนเหล่านี้ 
แทนองค์การสันนิบาตชาติ เช่น ให้ญี่ปุ่นดูแลอาณานิคมของ 
เยอรมนีในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนที่อยู่ใต้ 
เส้นศูนย์สูตรให้ออสเตรเลียดูแล ในขณะเดียวกันอังกฤษและ 
ฝรั่งเศสเข้าดูแลดินแดนในตะวันออกกลาง ซึ่งเคยอยู่ใต้อำานาจ 
อธิปไตยขอบตุรกี 
3. จัดตั้งประเทศขึ้นใหม่หลายประเทศในยุโรป เช่น 
โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ยูโกสลาเวีย ฮังการี เอสโตเนีย ลิธัวเนีย 
และแลตเวีย เป็นต้น บางประเทศเกิดจากการสลายตัวของ 
อาณาจักรออสเตรีย – ฮังการี และการสูญเสียดินแดนของเยอรมนี 
ผู้แพ้สงคราม ตัวอย่างเช่นประเทศโปแลนด์ซึ่งเคยถูกแบ่งแยกดิน 
แดนจนสูญประเทศไปเมื่อร้อยปีก่อน กลับฟื้นขึ้นใหม่ในดินแดน 
เดิมและรวมเอาดินแดนบางส่วนที่มีชาวเยอรมันอาศัยอยู่มากไว้
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)

More Related Content

Similar to สงครามโลก (อ.จำนงค์)

สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่1 Suchawalee Buain
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1Taraya Srivilas
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นBeau Pitchaya
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นMarz Zuthamat
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นMarz Zuthamat
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-i
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-iสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-i
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-iNew Nan
 
สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2social602
 
สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2social602
 
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,2
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,27.1 ความขัดแย้ง world war 1,2
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,2Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
สงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่2สงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่2Pannaray Kaewmarueang
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)Panda Jing
 

Similar to สงครามโลก (อ.จำนงค์) (16)

สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่1
 
สงครามโลก..[2]
สงครามโลก..[2]สงครามโลก..[2]
สงครามโลก..[2]
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1
 
Ww2 Work
Ww2 WorkWw2 Work
Ww2 Work
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-i
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-iสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-i
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง World-war-i
 
สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2
 
สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2สงครามโลกครั้งที่1.2
สงครามโลกครั้งที่1.2
 
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
 
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,2
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,27.1 ความขัดแย้ง world war 1,2
7.1 ความขัดแย้ง world war 1,2
 
สงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่2สงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่2
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 

More from นายจำนงค์ เขตเมืองมูล

More from นายจำนงค์ เขตเมืองมูล (14)

อาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไรอาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไร
 
อาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไรอาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไร
 
อาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไรอาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไร
 
อาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไรอาเซียน คืออะไร
อาเซียน คืออะไร
 
สมาชิกอาเซียนมี
สมาชิกอาเซียนมีสมาชิกอาเซียนมี
สมาชิกอาเซียนมี
 
สอบเก็บคะแนน เศรษฐศาสตร์ 20 คะแนน
สอบเก็บคะแนน  เศรษฐศาสตร์  20  คะแนนสอบเก็บคะแนน  เศรษฐศาสตร์  20  คะแนน
สอบเก็บคะแนน เศรษฐศาสตร์ 20 คะแนน
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)สงครามโลก (อ.จำนงค์)
สงครามโลก (อ.จำนงค์)
 

สงครามโลก (อ.จำนงค์)

  • 1. หน่วยที่ 8 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการเปลี่ยนแปลงของสังคม โลก แผนการสอนประจำาหน่วย ชุดวิชา สังคมโลก หน่วยที่ 8 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก ตอนที่ 8.1 สภาพทั่วไปและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 8.2 ขอบเขตและลักษณะของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 8.3 ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่มีต่อสังคมโลก 8.4 สังคมโลกหลังสงครามครั้งที่หนึ่ง แนวคิด 1. ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สังคมโลกมีสภาพ อนาธิปไตย อันเป็นผลจากการที่ประเทศมหาอำานาจต่าง ๆ แข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมและรวมกลุ่มเผชิญหน้า กันโดยมหาอำานาจต่างใช้อำานาจของตนขยายอำานาจและ อิทธิพลของตน โดยไม่คำานึงถึงกฎเกณฑ์หรือธรรมเนียม ระหว่างประเทศใด ๆ สภาพระหว่างประะเทศดังกล่าวนี้ เป็นสาเหตุสำาคัญของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 2. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีขอบข่ายกว้างขวาง และความ รุนแรงมากว่าสงครามครั้งก่อน ๆ รวมทั้งก่อความเสียหาย อย่างมากแก่ประเทศต่าง ๆ ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ เนื่องจากมี ประเทศที่เข้าร่วมในการสงครามครั้งนี้ถึง 27 ประเทศ และมีการนำาอาวุธใหม่ ๆ ใช้ในการทำาสงครามต่อกัน จึง ทำาให้ประเทศผู้ชนะต้องการลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรงและ ยังผลให้สนธิสัญญาสันติภาพหรือสนธิสัญาแวร์ซายส์ ซึ่ง ผู้ชนะทำาขึ้นสร้างความเคียดแค้นให้แก่ชาวเยอรมันอย่าง มาก 3. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่าง มากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคยุโรปซึ่งเป็นสมรภูมิของ สงครามได้รับผลกระทบมากกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งอยู่ห่าง จากสมรภูมิของสงคราม 4. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ทำาให้นานาประเทศตระหนักถึง ความจำาเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อความมั่นคงร่วมกัน แต่
  • 2. แล้วสังคมโลกก็ต้องประสบความผิดหวัง เมื่อหลาย ประเทศไม่เต็มใจจะใช้องค์การกลางระหว่างประเทศเป็น เครื่องมือในการรักษาสันติภาพและป้องกันสงคราม ยังผล ให้องค์การสันนิบาตชาติประสบความล้มเหลวในการ ป้องกันมิให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาหน่วยที่ 8 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายสักษณะของสภาพการณ์ระหว่างประเทศก่อนเกิด สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ 2. วิเคราะห์สาเหตุที่นำาไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ 3. วิเคราะห์ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่อสังคม โลกได้ทุกด้าน 4. อธิบายสาเหตที่ทำาให้สันนิบาติชาติประสบความล้มเหลว ในการรักษาสันติภาพของนานาชาติและป้องกันสงคราม ได้ กิจกรรมการเรียน 1. ทำาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 8 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 8.1 – 8.4 3. ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน 4. ฟังรายการวิทยุกระจายเสีย 5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ 6. เข้ารับการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษา 7. ทำาแบบประเมินผลตนเองหลังการเรียนหน่วยที่ 8 สื่อการสอน 1. เอกสารการสอนหน่วยที่ 8 ตอนที่ 8.1 –8.4 2. แบบฝึกปฏิบัติประจำาหน่วยที่ 8 3. เทปตลับประกอบชุดวิชา 4. รายการวิทยุกระจายเสียง 5. รายากรวิทยุโทรทัศน์ ประเมินผล 1. ประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ทำากิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง 3. การสอบไล่ประจำาภาคการศึกษา เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ทำาแบบประเมินผล ตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 8 ในแบบฝึกปฏิบัติก่อน แล้วจึง ศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
  • 3. ตอนที่ 8.1 สภาพการณ์ทั่วไปและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 8.1 แล้ว จึงศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง 8.1.1 สภาพการณ์ทั่วไปก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 8.1. 2 โครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้ง ที่หนึ่ง 8.1.3 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวคิด 1. สภาพการณ์ของสังคมโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มี ลักษณะอนาธิปไตยไร้ กฎเกณฑ์ 2. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีความร้ายแรงมากกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ 3. สาเหตุสำาคัญของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมี 3 ประการ คือ การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมของประเทศ มหาอำานาจ การรวมกลุ่มเผชิญหน้ากันของประเทศ มหาอำานาจ และความรู้สึกชาตินิยมของชนกลุ่มน้อยใน ยุโรป วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาตอนที่ 8.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 2. อธิบายสภาพการณ์ของสังคมโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่ หนึ่งได้ 3. อธิบายโครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้ง ที่หนึ่งได้ 4. อธิบายสาเหตุที่ทำาให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ ความนำา สงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 รวมเวลากว่า 4 ปี 3 เดือน เริ่มแรกเป็นสงครามระหว่างประเทศ จักรวรรดินิยมด้วยกัน แต่ภายหลังมีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย จึง เป็นสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวาง โหดร้ายและสิ้นเปลืองมากกว่า สงครามในครั้งก่อน ๆ อย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่ามีประเทศที่ เกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้ถึง 27 ประเทศ แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำานาจกลาง (Central Power) ประกอบด้วย 4 ประเทศคือ ออสเตรีย ฮังการี เยอรมนี และบัลแกเรีย ฝ่าย
  • 4. สัมพันธมิตร คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย อิตาลี เป็นแกน พร้อมกับ มิตรประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและไทย รวม 23 ประเทศ สงครามครั้งนี้คร่าชีวิตทหารของทั้งสองฝ่ายไปประมาณ 8 ล้าน 6 แสนคน และบาดเจ็บอีกประมาณ 21 ล้าน 3 แสนคน และทั้งสอง ฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายไปกว่า 338,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สงคราม ครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยการที่ฝ่ายมหาอำานาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ โดยฝ่ายชนะได้เรียกร้องให้ ฝ่ายแพ้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองภายในและปลดปล่อย อาณานิคมของตนให้เป็นอิสระ รวมทั้งใช้ค่าปฏิกรรมสงครามแก่ผู้ ชนะด้วย จึงยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม โลกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลี่ยนแปลงในฐานแห่งอำานาจ ข อ ง ทั้ ง ผู้ ช น ะ แ ล ะ ผู้ แ พ้ สภาพการณ์ทั่วไปในห้วงเวลาก่อนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จะระเบิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 มีส่วนสำาคัญอย่าง มากที่ส่งผลให้เกิดสงครามที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลาย ส่วนของโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ในหลายส่วนของโลกเข้าร่วม ด้วยถึง 27 ประเทศ และทำาให้สงครามระหว่างประเทศครั้งนี้มี ลักษณะเป็น “สงครามโลก” และดังจะชี้ให้เห็นต่อไปว่า ปรากฎ การณ์สำาคัญที่สุดในระยะนั้นที่เป็นชนวนนำาไปสู่สงครามโลก ก็คือ การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมและตลาดสินค้า และการรวม กลุ่มเผชิญหน้ากันของประเทศมหาอำานาจในสมัยนั้นซึ่งล้วนเป็น ป ร ะ เ ท ศ จั ก ร ว ร ร ดิ นิ ย ม ทั้ ง นั้ น เรื่องที่ 8.1.1 สภาพการณ์ทั่วไปก่อนสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง นับตั้งแต่ที่อิตาลีและเยอรมนีรวมประเทศได้สำาเร็จในปี ค.ศ. 1821 และ ค.ศ. 1870 ซึ่งยังผลให้ทั้งสองประเทศมีกำาลังเข็ม แข็งทัดเทียมมหาอำานาจอื่นในขณะนั้น แต่ทั้งสองประเทศ ยังไม่มี อาณานิคมเป็นของตนเองจึงมุ่งแสวงหาอาณานิคมในทวีป แอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก แข่งกับมหาอำานาจอื่นอย่าง จริงจัง ซึ่งปรากฏผลดังนี้ 1. อังกฤษ ได้ดินแดนหลายส่วนในแอฟริกาเป็น อาณานิคม คือ ไนจีเรีย โกลด์โคสต์ เซียราเลโอน ซึ่งอยู่ทางตะวัน ตกของทวีปแอฟริกา สหภาพแอฟริกา และยูกันดา แอฟริกาตะวัน ออก และโซมาเลีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา นอกจากนั้นอังกฤษยังเข้ายึดครองอียิปต์และซูดาน เป็นดินแดน ในอารักขาอีกด้วย ส่วนในอาณาบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก อังกฤษได้อาณานิคมหลายแห่ง เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
  • 5. มาลายา สิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ เกาะโซโลมอน และดินแดน อื่น ๆ อีกหลายแห่ง 2. ฝรั่งเศส ได้ดินแดนหลายส่วน ในทวีปแอฟริกาเป็นอาณานิคม คือ แอลจีเรีย แอฟริกาตะวัน ตก คองโก และเกาะมาดากัสการ์ และอีกหลายส่วนในเอเชียและ มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น อินโดจีน เกาะคาเลโดเนีย และดินแดนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง 3. เยอรมนี ได้ดินแดนหลายส่วนในทวีป แอฟริกาเป็นอาณานิคม เช่น แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งติดกับ สหภาพแอฟริกาของอังกฤษ และแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง ติดกับแอฟริกาตะวันออกของอังกฤษ และแคเมอรูน ซึ่งติดกับ คองโกของฝรั่งเศส และพยายามแข่งกับฝรั่งเศสในการขยาย อิทธิพลเข้าไปในโมร็อกโกซึ่งยังเป็นเอกราช นอกจากนั้นเยอรมนี ยังได้อาณานิคมในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะมาร์แชลล์ คาโรไลน์ และมาเรียนา ซึ่งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และหมู่เกาะ บิสมาร์ก นิวกินีตะวันออกซึ่งอยู่ติดกับนิวกินีตะวันออกของอังกฤษ และเกาะซามัวตะวันตก ซึ่งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร 4. อิตาลี ได้ดินแดนทางเหนือของทวีปแอฟริกาเพียง 2 แห่ง เป็นอาณานิคม คือ ลิเบีย และออสเตรีย จึงอยากจะได้ดิน แดนอื่น ๆที่ยังไม่เป็นของมหาอำานาจใดเป็นอาณานิคมอีก คือ อบิสเนีย (เอธิโอเปีย) ซึ่งยังเป็นเอกราชอยู่ในขณะนั้นแต่ไม่ ประสบผลสำาเร็จ นอกเหนือจากแข่งขันกับอังกฤษและฝรั่งเศสในการแสวงหา อาณานิคมในทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิกดังกล่าวแล้ว ทั้ง เยอรมนีและอิตาลีพยายามขยายอิทธิกลเข้าไปในอาณาบริเวณ ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันอัน อ่อนแอ และเป็นที่หมายปองของอังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย อยู่ ก่อนแล้ว ยิ่งกว่านั้นเยอรมนีได้พยายามขยายตลาดการค้าของตน ในจีนแข่งกับอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย โดยได้เช่าอ่าวเกียวเจา จากจีนพื่อใช้ประโยชน์ในการค้าเป็นเวลา 99 ปี 5. ญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ประเทศเดียวในเอเชียที่พัฒนาประเทศได้เร็ว และพยายามที่จะ แสวงหาอาณานิคมกับเขาเหมือนกัน กล่าวคือ ในขณะที่เยอรมนี และอิตาลีแข่งกันกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในการหาอาณานิคมและ ตลาดการค้า ญี่ปุ่นซึ่งได้กลายเป็นมหาอำานาจในเอเชียตะวันออก หลังจากรบชนะจีนในปี ค.ศ. 1895 และชนะรุสเซียในปี ค.ศ. 1905 ทำาให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนเพิ่ม คือ เกาะไต้หวันจากจีน และ
  • 6. เกาะแซคาลินตอนใต้จากรุสเซีย หลังจากนั้นญี่ปุ่นได้พยายามที่ แผ่อิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรเกาหลีและแมนจูเรียของจีน 6. รุสเซีย หลังจากพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามปี ค.ศ. 1905 และต้องถอยจากเอเชียตะวันออกรุสเซียจึงหันไปในเปอร์ เชีย (อิหร่าน) แหลมบอลข่าน และตะวันออกกลางจึงต้องเผชิญ หน้ากับออสเตรีย – ฮังการี ในแหลมบอลข่าน และแข่งกับเยอรมนี ในตะวันออกกลาง และแข่งกับอังกฤษในเปอร์เชีย 7. ตุรกี เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเป็น ประเทศมหาอำานาจเหมือนกันมีอำานาจอธิปไตยเหนือดินแดนใน ตะวันออกกลางและบางส่วนของแหลมบอลข่าน แต่เนื่องจากมี ปัญหาในการปกครองภายในประเทศอยู่มาก จึงมีความอ่อนแอ และรบแพ้ประเทศอื่นอยู่เรื่อย ๆ ยังผลให้ตุรดีหมดสภาพของการ เป็นมหาอำานาจแหละมีผู้เรียกตุรกีว่าเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป” เนื่องจากอังกฤษและรุสเซียสนใจที่จะขยายอิทธิพลมายัง ตะวันออกกลาง ตุรกีจึงมองเยอรมนีเป็นมิตร และมองอังกฤษและ รุสเซียเป็นศัตรู 8. ออสเตรีย – ฮังการี เป็นมหาอำานาจอีกประเทศหนึ่ง ที่ปกครองชนเชื้อชาติอื่นหลายเชื้อชาติอยู่แล้ว ได้พยายามที่จะ ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำาประเทศเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตนในแหลม บอลข่าน เช่นได้ผนวกเอาแคว้นบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา ซึ่งมี ชาวเซอร์เบียอาศัยอยู่มากมาเป็นของตนในปี ค.ศ. 1878 และ เมื่อออสเตรีย – ฮังการี พยายามจะขยายอิทธิพลเข้าครอบงำา ประเทศอื่น ๆ ของแหลมบอลข่านอีก รุสเซียซึ่งไม่พอใจการกระ ทำาของออสเตรีย –ฮังการีอยู่แล้ว จึงพยายามขัดขวาง พร้อมกับ พยายามปลุกความรู้สึกชาตินิยมของชนชาวเซอร์เบีย และชนกลุ่ม น้อยที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของออสเตรีย – ฮังการี ให้ต่อต้าน ออสเตรีย – ฮังการี 9. สหรัฐอเมริกา เป็นมหาอำานาจอีกประเทศหนึ่งที่พยายามแผ่ อิทธิพลครอบงำาดินแดนอื่น ๆ โดยเฉพาะในอเมริกาใต้ และหลัง จากรบชนะในสเปนในปี ค.ศ. 1899 สหรัฐอเมริกาได้เอา พิลปปินส์เป็นอาณานิคมและใช้เป็นฐานในการขยายการค้าไปยัง จีน อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์ของการแข่งขันการแสวงหา อาณานิคมและขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำานาจ ได้ทำาให้ สถานการณ์ของโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตกอยุ่ในสภาพที่ เรียกว่า อนาธิปไตยระหว่างชาติ โดยที่กฎหมายหรือศีลธรรม ระหว่างประเทศไม่อาจยับยั้งมิให้มหาอำานาจใช้สงครามเป็นเครื่อง
  • 7. มือในการขยายดินแดนและอิทธิพล และโดยเหตุที่มหาอำานาจ แต่ละประเทศต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และ เผชิญหน้ากับคู่แข่งขันตามลำาพัง จึงพยายามขจัดผลประโยชน์ที่ ขัดกัน และร่วมมือกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ดังจะเห็นได้ ว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซียได้ทำาความตกลงร่วมกัน ที่จะช่วย เหลือกันในกรณีที่ถูกประเทศอื่นโจมตี ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า ความเข้าใจสามฝ่าย (Triple Entente) ส่วน เยอรมนี อิตาลี และออสเตรีย – ฮังการี ก็ทำาสัญญาพันธไมตรีต่อ กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือกันเมื่อประเทศใดประเทศ หนึ่งถูกโจมตี นักประวัติศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พันธมิตร สามฝ่าย (Triple Alliance) ปรากฏว่าการรวมกลุ่มของประเทศ ต่าง ๆดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศใน ยุโรปมากขึ้นอีก เรื่องที่ 8.1.2 โครงสร้างของสังคมโลกก่อนเกิด สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สภาพการณ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นผลมาจาก การที่ ประเทศเยอรมนี อิตาลี รวมประเทศได้สำาเร็จ และขยายอำานาจ ของตนในการแสวงหาอาณานิคม ทำา ให้กลายเป็นประเทศ มหาอำานาจ ส่วนญี่ปุ่นและสหรัฐก็ได้ขยายดินแดน เพิ่มกำาลังอาวุธ และขยายกำาลังทางเรือเป็นอย่างมาก จึงทำาให้โครงสร้างของ สังคมโลกก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีลักษณะสำาคัญดังนี้ 1. มหาอำานาจเพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ คือเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยสามประเทศแรกพยายามแข่งขันกับ มหาอำานาจเก่า คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย ในการแสวงหา อาณานิคมและหาตลาดการค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนสหรัฐอเมริกา ไม่แข่งขันกับมหาอำานาจเก่าโดยตรง และพยายามป้องกันมิให้ มหาอำานาจเก่าไปท้าทายอิทธิพลของตนในอเมริกาใต้ 2. ประเทศที่อ่อนแอในแอฟริกาและเอเชียถูกประเทศ มหาอำานาจยึดครองเป็นอาณานิคมเกือบหมด ส่วนประเทศที่ยัง เหลือเป็นเอกราชในเอเชีย เช่น จีนและไทยก็ต้องยอมปฏิบัติตาม สัญญาอันไม่เป็นธรรมที่ประเทศมหาอำานาจบังคับให้รับ เช่น จีน ต้องยอมให้ประเทศมหาอำานาจเช่าดินแดนของตนใช้เป็นเขตการ ค้านานถึง 99 ปี ส่วนไทยก็ไม่อาจเก็บภาษีสินค้าขาเข้าจากต่าง ประเทศได้เกินกว่าร้อยละ 3 และต้องยอมให้กงสุลต่างประเทศมี อำานาจพิจารณาคดีที่คนของเขากระทำาผิดในดินแดนไทย
  • 8. 3. ประเทศมหาอำานาจในยุโรปได้พยายามรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและ ต่อต้านกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกับตน โดยต่างพร้อมที่จะใช้ กำาลังทำาสงครามต่อกัน จึงยังผลให้เกิดความตึงเครียดตลอดเวลา 4. กฎหมาย และศีลธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถให้หลักประกันความมั่นคง ปลอดภัยแก่สมาชิกของสังคมโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ หนึ่งได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะประเทศที่มีกำาลังเข้มแข็งต่างพยายามที่ ใช้พลังอำานาจของตนรังแกประเทศที่อ่อนแอกว่า และขยายดิน แดนของตนอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะ 10 ปี ก่อนเกิด สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีวิกฤตการณ์และสงครามระหว่าง ประเทศเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น 1. วิกฤตการณ์โมร็อกโก วิกฤตการณ์นี้เกิดจากการ ที่กษัตริย์ไกเซอร์แห่งเยอรมนีเดินทางไปเยี่ยมโมร็อกโก อัน เป็นการแสดงการคัดค้านความพยายามของฝรั่งเศสท่จะเข้ายึด ครองโมร็อกโก เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส การกระทำา ครั้งนี้ของเยอรมนีทำาให้ฝรั่งเศสไม่พอใจมาก และทำาให้ต้องมีการ จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่สเปน เพื่อยุติวิกฤตการณ์ในปี ค.ศ. 1906 โดยที่ประชุมครั้งนี้ยอมให้ฝรั่งเศสให้ความอารักขาแก่ โมร็อกโกได้ แต่เยอรมนีไม่ยอมรับ และพยายามที่จะแผ่อิทธิพล เข้าไปในโมร็อกโกให้ได้ โดยได้ส่งเรือรบเข้าไปที่เมืองท่าอากา ดีร์ เป็นเมืองเก่า ซึ่งทำาให้เกือบเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ และทำาให้หลายประเทศพยายามไกล่เกลี่ย ในที่สุดหลังจาก ฝรั่งเศสยอมที่จะให้เยอรมนีได้ดินแดนบางส่วนในคองโกของ ฝรั่งเศส เยอรมนีจึงยอมรับรองอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือ โมร็อกโก 2) สงครามในแหลมบอลข่าน สงครามในแหลมบอลข่านเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ระหว่างบัลแกเรีย เซอร์เบีย และกรีซ ฝ่ายหนึ่ง กับ ตุรกีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งฝ่ายแรกชนะและยึดเอาดินแดนของตุรกีใน ยุโรปไปแบ่งกัน แต่ภายหลังฝ่ายชนะทะเลาะกันเอง จึงทำาให้เกิด สงครามในแหลมบอลข่านอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1913 ระหว่าง กรีซ เซอร์เบีย โรมาเนีย และตุรกีฝ่ายหนึ่งกับบัลแกเรียอีกฝ่าย หนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายแรกเป็นฝ่ายชนะ ยังผลให้ตุรกีได้ดินแดน ของตนในยุโรปคืนมาบ้าง วิกฤตการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า หลายประเทศ ถือว่า การใช้สงครามเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ เพราะถ้า ชนะก็ได้ดินแดนเพิ่ม และถ้าแพ้ก็มีโอกาสแก้ตัวเพื่อดินแดนที่เสีย
  • 9. ไปคืนมา ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า สังคมโลกในระยะก่อนสงครามโลก ครั้งที่หนึ่ง เป็นสังคมที่อยู่ในสภาวะอนาธิปไตย ไร้กฎหมาย และ ศีลธรรม สำาหรับเป็นหลักในการดำาเนินความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกในสังคม ซึ่งอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สังคมโลกก่อน เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสังคมที่ยอมรับว่า อำานาจคือธรรม (Might is Right) ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีอำานาจจะเป็นฝ่ายถูก เสมอ
  • 10. เรื่องที่ 8.1.3 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้ว่าการแข่งกันแสวงหาอาณานิคมระหว่างมหาอำานาจ จะ ไม่ทำาให้เกิดการประทะกันด้วยกำาลัง แต่การที่ประเทศมหาอำานาจ เหล่านี้ยังต้องการที่จะขยายดินแดนของตนเรื่อยไปโดยดไม่หยุด ยั้งได้ทำาให้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันและ ต่อต้านฝ่ายที่มีผลประโยชน์ขัดกับพวกกตน และยังผลให้เกิด ความตึงเครียดและความระแวงระหว่างกัน นอกจากนั้น วิกฤตการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า การใช้กำาลังเป็นเครื่องมือที่ให้ ประโยชน์ในการขยายดินแดนและอิทธิพล ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิด วิกฤตการณ์ขึ้นอีก แต่ละฝ่ายจึงไม่รีรอที่จะใช้กำาลังเป็นเครื่องมือ บีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามยอมตามที่ตนต้องการ หรือเสี่ยงทำา ส ง ค ร า ม กั บ ต น ดั ง จ ะ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ต่ อ ไ ป นี้ ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์ช ดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) รัชทายาทของ ออสเตรียและชายาถูกลอบยิงถึงแก่ความตายที่ซาราเจโว (Sarajevo) นครหลวงแคว้นบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา โดยนัก ชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ซึ่งประสงค์จะเอาแคว้นทั้งสองไปรวมกับเซ อร์เบีย ออสเตรียซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากเยอรมนี และเชื่อว่ารัฐบาลเซอร์เบียรู้เรื่องการลอบยิงครั้งนี้ จึงยื่นคำาขาด ให้เซอร์เบียตอบภายใน 48 ชั่วโมง. 1. โดยเรียกร้องให้เซอร์เบียหยุดโฆษณาปลุกปั่นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ ภายใต้การครอบครองของออสเตรีย และ 2. ยอมให้ตำา รวจหรือ ท ห า ร อ อ ส เ ต รีย เ ข้ า ไ ป สืบ ส ว น แ ผ น สัง ห า ร แต่เนื่องจากเซอร์เบียอาจจะได้รับการสนับสนุนจากรุสเซียว่ าจะช่วยเหลือถ้าถูกรังแก ยอมรับคำาขาดในข้อแรก และไม่ยอมรับ ในข้อสอง และการเจรจาต่อรองไม่เป็นที่ตกลงกัน ออสเตรียจึง ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และในวันนั้นเองรุสเซียประกาศระดมพลเต็มอัตราศึกเพื่อช่วยเซ อร์เบีย แม้ว่าเยอรมนี จะพยายามป้องกันสงครามมิให้ขยายวง กว้าง โดยการขอให้รุสเซียชะลอการระดมพลเพื่อเข้าช่วยเซ อร์เบีย แต่เนื่องจากผู้นำาฝ่ายทหารในรุสเซียเกรงว่าจะถูกเยอรมนี โจมตีก่อนจึงชะลอการระดมเพียงชั่วคราว และกลับเร่งระดมพล เต็มอัตราศึกในระยะต่อมา ในที่สุดเยอรมนีก็ระดมพลบ้าง หลัง จากที่ไม่สามารถทำาให้รุสเซียหยุดระดมพลในวันที่ 1 สิงหาคม และประกาศสงครามกับรุสเซียในวันเดียวกันนี้ ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่ง สนับสนุนพันธมิตรรุสเซียตลอดเวลา และเกรงว่าจะถูกเยอรมนี
  • 11. โจมตีจึงประกาศระดมพลบ้างในวันเดียวกัน ยังผลให้เยอรมนี ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ส่วนอังกฤษนั่น ตอนแรกยังลังเลว่าจะช่วยฝรั่งเศส ดีหรือไม่ แต่ต่อมาตัดสินใจ ประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม หลังจากที่ เยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาคำ้าประกันความเป็นกลางของเบลเยี่ยม โดยการบุกประเทศนั้น เพื่อใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีฝรั่งเศส ทั้ง ๆ ที่เยอรมนีก็เป็นภาคีของสนธิสัญญานี้กลับอ้างว่ามันเพียง “เศษ กระดาษ” เท่านั้น อันเป็นข้ออ้างที่ทำาให้ประชาชนชาวอังกฤษ โกรธแค้นมาก และสนับสนุนรัฐบาลของเขาให้ทำาสงครามกับ เยอรมนีอีก 2 วันต่อมาคือ ในวันที่ 6 สิงหาคม ออสเตรียประกาศ ส ง ค ร า ม กั บ รุ ส เ ซี ย สรุปได้ว่า ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ประเทศที่ร่วมทำา “ความเข้าใจสามฝ่าย” อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย ได้ ร่วมมือกันทำาสงครามต่อต้านเยอรมนี และออสเตรีย – ฮังการี อัน เป็นสมาชิกของกลุ่ม “พันธมิตรสามฝ่าย” อันมีเยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี โดยอิตาลีประกาศวางตนเป็นกลาง เนื่องจาก ไม่พอใจออสเตรียที่ครอบครองดินแดนบางส่วนที่อิตาลีถือว่าควร เป็นของตน และหลังจากที่อังกฤษและผรั่งเศสสัญญาว่าจะให้ดิน แดนนั้นแก่อิตาลีถ้า อิตาลีจะร่วมมือกับตน อิตาลีจึงประกาศ สงครามกับเยอรมนี และออสเตรียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 อั น เ ป็ น ก า ร หั ก ห ลั ง มิ ต ร อ ย่ า ง แ จ้ ง ชั ด นอกเหนือจากประเทศดังกล่าวแล้ว ยังมีประเทศอื่นที่เข้าร่วม ในการสงครามครั้งนี้ ที่ควรกล่าวถึงคือ ญี่ปุ่นเข้าข้างสัมพันธมิตร ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามมาด้วยโรมาเนียในปี ค.ศ. 1916 สหรัฐ อ เมริกา ในเดือนเมษา ยน ค.ศ. 1917 แล ะ ประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1917 ส่วนฝ่ายมหาอำานาจ กลางนั้นมีประเทศที่เข้าร่วมมือด้วย คือตุรกีในเดือนพฤศจิกายน ค .ศ . 1914 ต า ม ม า ด้ว ย บัล แ ก เ รีย ใ น ปี ค .ศ . 1915 อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบฝ่ายมหาอำานาจ กลางทั้งในด้านทรัพยากรมนุษญ์และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ภายในประเทศและอาณานิคม กล่าวคือ ในขณะที่ฝ่ายมหาอำานาจ กลาง อันได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และตุรกี ได้เปรียบ ในข้อที่อยู่ใกล้กัน มีประชากรรวมกัน 150 ล้านคน ฝ่าย สัมพันธมิตร 4 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย และอิตาลี แม้ จะอยู่ห่างกันแต่มีประชากรรวมกัน 125 ล้านคน และยังมี ประชากรในอาณานิคมอีกเกือบ 400 ล้านคน รวมทั้งสามารถ
  • 12. ติดต่อกับโลกภายนอกเพื่อแสวงหาทรัพยากรมาใช้เพื่อการ ส ง ค ร า ม ไ ด้ส ะ ด ว ก ก ว่า ม ห า อำา น า จ ก ล า ง อ ย่า ง ม า ก จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราอาจสรุปสาเหตุของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ดังนี้ คือ 1. การแข่งขันแสวงหาอาณานิคม และขยายอิทธิพล ระหว่างประเทศมหาอำานาจ อันทำาให้เกิดความตึงเครียดระหว่าง กันตลอดเวลา 2. การ ที่ประเทศมหาอำานาจหลายประเทศรวมกลุ่มกันเพื่อรักษาผล ประโยชน์ร่วมกัน และเผชิญหน้ากับกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกับ ตน 3. การที่ประเทศต่าง ๆ ถือว่าการใช้กำาลังเพื่อขยายดินแดนหรืออิทธิพลเป็นสิ่งที่ชอบ ธรรม4. ความรู้สึกชาตินิยมของประชากรในแหลมบอลข่าน ซึ่ง ถูกประเทศมหาอำานาจคอยแทรกแซงและครอบงำาตลอดเวลา จึง ยังผลให้ชาวเซอร์เบียชาตินิยมคิดต่อต้านออสเตรีย และทำาการ สังหารรัชทายาทของออสเตรีย
  • 13. ตอนที่ 8.2 ขอบเขตและลักษณะของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตนที่ 8.2 แล้วจึง ศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง 8.2.1 ขอบเขตและสมรภูมิของสงคราม 8.2.2 ความร้ายแรงของสงคราม 8.2.3 การทำาสนธิสัญญาสันติภาพ แนวคิด 1. สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีเขตเขตกว้างขวาง ครอบคลุม หลายส่วนของโลก แต่สมรภูมิสำาคัญของสงครามครั้งนี้อยู่ ที่แนวรบด้านตะวันตกและแนวรบด้านตะวันออกของ เยอรมนี 2. สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก คร่าชีวิตของประเทศคู่ สงครามทั้งผู้ชนะและผู้แพ้รวมกันประมาณ 8.5 ล้านคน และก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินอีกมากมาย จึงทำาให้ ประเทศผู้ชนะคิดลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรง 3. ประเทศผู้ชนะกำาหนดค่าปฏิกรรมสงครามให้ประเทศผู้แพ้ ชดใช้โดยไม่คำานึงถึงความสามารถของผู้แพ้ จึงทำาให้ ประชาชนของประเทศผู้แพ้มีความโกรธแค้นและหาทาง ทำาลายสนธิสัญญาสันติภาพ วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาตอนที่ 8.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายขอบเขตและสมรภูมิของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ถูกต้อง 2. อธิบายมูลเหตุที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตทหารของ ประเทศผู้ชนะและประเทศผู้แพ้ได้ ถูกต้อง 3. อธิบายมูลเหตุที่ทำาให้ประเทศผู้ชนะกำาหนดเงื่อนไขใน สนธิสัญญาสันติภาพโดยไม่ คำานึงถึงความรู้สึก และความสามารถของประเทศผู้แพ้ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ต่าง ๆ ได้ ความนำา สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีขอบเขตกว้างขวางมาก และมีการ ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์และกำาลังทหารในการต่อสู้กัน ซึ่งก่อให้เกิด
  • 15. เรื่องที่ 8.2.1 ขอบเขตและสมรภูมิของสงคราม โดยเหตุที่ประเทศคู่สงครามหลายประเทศเป็นประเทศ มหาอำานาจ ที่มีอาณานิคมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และ ประเทศคู่สงครามต่างถือว่าอาณานิคมเป็นดินแดนศัตรูที่ตนมีสิทธิ โจมตีและเข้ายึดครองได้ จึงทำาให้สงครามครั้งนี้มีขอบเขตกว้าง ขวางครอบคลุมทั่วโลก นักประวัติศาสตร์จึงพากันเรียกสงคราม ครั้งนี้ว่า สงครามโลก ทั้ง ๆ ที่อาณาบริเวณที่ประเทศคู่ค้าสงคราม ทำาการรบกันอย่างจริงจังนั้นจำากัดอยู่ที่ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดย เฉพาะอาณานิคมบริเวณพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี หรือ ที่เรียกกันว่า “แนวรบด้านตะวันตก” ของเยอรมนี เป็นสมรภูมิที่มี การรบกันอย่างดุเดือด โดยต่างฝ่ายไม่สามารถเอาชนะกันอย่าง เด็ดขาดและต้องขุดสนามเพลาะลึกพอให้ทหารลงไปยืนได้ มี ความยาวกว่า 4 ปี โดยมีการบุกข้ามแนวสนามเพลาะได้ในบาง ครั้ง ซึ่งเราอาจเรียกการรบในอาณาบริเวณดังกล่าวว่า “สงคราม ส น า ม เ พ ล า ะ ” (Trench War) สมรภูมิที่มีการรบกันอย่างดุเดือดก็คือ “แนวรบด้านตะวัน ออก” ของเยอรมนีและออสเตรีย ซึ่งทหารของเยอรมนีกับ ออสเตรียฝ่ายหนึ่ง กกับทหารของรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่งรวมกันกว่า 1 ล้านคน ทำาการรบกัน โดยกองทัพรุสเซียสามารถต่อต้านการบุก ของกองทัพเยอรมันไว้ได้เป็นเวลานานกว่า 3 ปี และหลังจากเกิด การปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 รัฐบาลใหม่นำาโดยเลนิน ตัดสินใจยอมแพ้ และยอมทำาสัญญาสงบ ศึกกับเยอรมนี ที่เมืองเบรส – ลิทอฟ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 โดยยอมเสียดินแดนด้านตะวันตกของตนให้แก่เยอรมนี – ออสเตรีย และตุรกีไปเป็นจำานวนหลายหมื่นตารางกิโลเมตร นอกเหนือจากสมรภูมิดังกล่าวแล้ว ยังมีการรบกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น แนวรบอิตาลีตรงพรมแดนระหว่างออสเตรียกับอิตาลี แนวรบบอลข่าน และที่ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ และตะวันออกกลาง ตุรกี แต่ไม่รุนแรงเท่าแนวรบด้านตะวันตก และแนวรบด้านตะวัน ออกดังกล่าวส่วนการรบในที่อื่น ๆ เช่นในดินแดนอาณานิคมของ เยอรมนีในแอฟริกาตะวันตก มีการรบกันนานแต่ไม่รุนแรงมากนัก ส่วนในเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะในเขตเช่าของ เยอรมนีในจีน และในอาณานิคมของเยอรมนีในมหาสมุทร แปซิฟิก ญี่ปุ่นสามารถยึดได้อย่างง่ายดาย ในทำานองเดียวกันไทย ซึ่งประกาศสงครามกับมหาอำานาจกลางในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1917 ก็มิได้รบกับเยอรมนีโดยตรง เพราะเยอรมนีมิได้มีดินแดน
  • 16. ใกล้ไทย แต่ได้ส่งทหารอาสาสมัครจำานวนประมาณ 1,200 คน ไ ป ร่ว ม ร บ กับ ก อ ง ทัพ สัม พัน ธ มิต ร ใ น ส ม ร ภูมิยุโ ร ป ส่วนการรบทางเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกก็ไม่รุนแรงนัก เพราะเยอรมนียังไม่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งพอจะรบกับกองทัพเรือ อังกฤษอันยิ่งใหญ่ได้ แต่เยอรมนีก็พยายามใช้อาวุธที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ คือใช้เรือดำานำ้าของตนออกปฏิบัติการจมเรือสินค้าของ ทุกชาติ รวมทั้งชาติเป็นกลางที่เยอรมนีถือว่าบรรทุกวัสดุสงคราม ไปส่งให้สัมพันธมิตรระหว่าปี ค.ศ. 1914 – 1916 ยังผลให้ สหรัฐอเมริกาซึ่งวางตัวเป็นกลางในสงคราม ทำาการประท้วงการ ปฏิบัติการของเรือดำานำ้าเยอรมนี ว่าละเมิดหลักกฎหมายระหว่าง ประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการทะเลนานาชาติ และเมื่อเรือสินค้า ของสหรัฐอเมริกาชื่อ ลูสิเตเนีย (Lusitania) ถูกยิงจม และ เยอรมนีไม่ยอมรับผิดชอบ สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับ เยอรมนี เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1917 และประกาศระดมพล เกือบ 5 ล้านคน เพื่อส่งไปรบในสมรภูมิยุโรปร่วมกับกองทัพอเม ริกกันทำาลายแนวรบตะวันตกของเยอรมนีได้สำาเร็จ เมื่อเยอรมนี เริ่มอ่อนกำาลังลง และมิตรซึ่งอ่อนแออยู่แล้วไม่อาจช่วยเหลืออะไร ได้ มหาอำานาจกลางจึงเป็นฝ่ายแพ้ในที่สุด และยอมสงบศึกกับ ฝ่าย สัม พันธ มิตร เ มื่อ วันที่ 11 พฤศ จิกายน ค.ศ. 1918 เรื่องที่ 8.2.2 ความร้ายแรงของสงคราม สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ชีวิตและทรัพย์สินของประเทศคู่สงครามเป็นจำานวนมาก ดังจะเห็น ได้ว่ายอดจำานวนทหารที่ประเทศคู่สงครามทั้งหมดระดมเข้าประจำา การในระหว่างสงครามมีจำานวนสูงถึง 65,430,001 คน และได้ ตาย สูญหายไป หรือถูกจับเป็นเชลยมีจำานวนรวมกันสูงถึง 37,460,404 คน ซึ่งอาจแยกเป็นรายประเทศได้ดังนี้ ประเทศ จำานวน ทหาร ที่ระดม เข้า ประจำา การ ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น เชลย หรือ สูญหายไป รวม ออสเตรีย์- ฮังการี 7,800,0 00 1,200, 000 3,200,0 00 2,200,00 0 7,020, 000 เบลเยียม 276,000 13,716 44,686 34,657 93,06 1
  • 17. จักรวรรดิ อังกฤษ 8,904,4 67 908,37 1 2,090,2 12 191,652 3,190, 235 บัลแกเรีย 1,200,0 00 87,500 152,390 27,029 266,9 19 ฝรั่งเศส 8,410,0 00 1,357, 800 4,266,0 00 537,000 6,160, 800 เยอรมนี 11,000, 000 1,773, 700 4,216,0 58 1,152,80 0 7,142, 558 กรีซ 230,000 5,000 21,000 1,000 27,00 0 อิตาลี 5,615,0 00 650,00 0 947,000 600,000 2,197, 000 ประเทศ จำานวน ทหารที่ ระดมเข้า ประจำาการ ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น เชลย หรือ สูญหายไป รวม ญี่ปุ่น 800,000 300 907 3 1,210 มอนเตเน 50,000 3,000 10,000 7,000 20,00 โกร 0 โปรตุเกส 100,000 7,222 13,751 12,318 33,29 1 โรมาเนีย 750,000 335,7 06 120,000 80,000 535,7 06 ประเทศ จำานวน ทหารที่ ระดมเข้า ประจำาการ ตาย บาดเจ็บ ถูกจับเป็น เชลย หรือ สูญหายไป รวม รุสเซีย 12,000,0 00 1,700, 000 2,950,0 00 2,500,00 0 9,150, 000 เซอร์เบีย 707,343 45,00 0 133,148 152,958 331,1 06 ตรุกี 2,850,00 325,0 400,000 250,000 975,0
  • 18. 0 00 00 สหรัฐอเมริ กา 4,734,99 1 116,5 16 204,002 - 320,5 18 ไทย 1,200 - - - - รวม ที่มา Dan Colenpaul (ed) Information Please Almance 1974, p603 จะเห็นได้ว่า ประเทศที่ระดมพลเข้าประจำาการมากที่สุดคือ รุสเซีย ตามมาด้วยเยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา ตุรกี และบัลแกเรียตามลำาดับ ซึ่ง ระดมพลกว่าล้านคนทั้งนั้น และจะเห็นได้เช่นเดียวกันว่าทุก ประเทศไม่ว่าเป็นประะเทศที่ชนะและประเทศที่แพ้ในสงครามครั้ง นี้ ต่างได้รับความเสียหายเป็นจำานวนสูงพอ ๆ กัน ตัวอย่างเช่น จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งชนะสงครามได้รับความเสียหาย รวมทั้งสิ้นกว่า 9 ล้านคน ส่วนเยอรมนีและออสเตรีย – ฮังการรี ซึ่งแพ้สงคราม ได้รับความเสียหายรวมกันกว่า 14 ล้านคน และรุส เซียซึ่งแพ้สงครามเช่นเดียวกันได้รับความเสียหายกว่า 9 ล้านคน นอกจากนั้นตัวเลขและความเสียหายที่แต่ละประเทศได้รับ แสดง ให้เห็นว่าประเทศที่อยู่ใกล้และเป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามจะ ได้รับความเสียหายมากกว่าประเทศที่อยู่ไกลจากสมรภูมิของ สงคราม ตัวอย่างเช่น จักรวรรดิอังกฤษได้รับความเสียหายน้อย กว่าฝรั่งเศส เนื่องจากอยู่ไกลจากสมรภูมิของสงครามมากกว่า ฝรั่งเศส ซึ่งถูกเยอรมนีบุกในตอนต้นของสงครมมและต้องเผชิญ หน้ากับเยอรมนีในสงครามสนามเพลาะเป็นเวลากว่า 4 ปี ส่วน ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ไกลจากสมรภูมิในยุโรปและมิได้ส่งทหารไปร่วมรบกับ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมิยุโรปเหมือนกับสหรัฐอเมริกาได้รับ ความเสียหายน้อยมากเพียง 1,210 คนเท่านั้น ในทำานอง เดียวกันไทยซึ่งส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ด้วยในตอนกลางปี ค.ศ. 1918 อันเป็นระยะที่สงครามใกล้สิ้นสุด แล้ว จึงได้รับความเสียหายเพียงร้อยกว่าคน
  • 19. อาจสรุปสาเหตุที่ทำาให้สงครามครั้งนี้มีความร้ายแรงมากกว่า สงครามครั้งก่อนได้ดังนี้ 1. ประเทศที่เกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้มีมากกว่าสงคราม ครั้งก่อน 2. ระยะเวลาที่ประเทศคู่สงครามใช้ปฏิบัติการรบกันอย่าง ต่อเนื่องและจริงจังนั้นมีระยะเวลายาวกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ คือ นานถึง 4 ปีกว่า 3. อาวุธที่ แต่ละประเทศนำามาใช้ในการสงครามครั้งนี้มีอานุภาพในการ ทำาลายชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินมากกว่าในสงครามครั้งก่อน ตัวอย่างเช่น เรือดำานำ้า รถถัง และแก๊สพิษ เป็นต้น ได้ถูกประเทศคู่ สงครามเริ่มนำามาใช้เป็นอาวุธในการทำาลายล้างกันเป็นครั้งแรก นอกจานนั้นยังได้มีการนำาเอาเครื่องบินมาใช้ตรวจการณ์เพื่อ กำาหนดเป้าหมายให้ทหารปืนใหญ่ทำาการยิงเป้าหมายได้อย่าง แม่นยำาอีกด้วย 4. การทำาสงครามสนามเพลาะอันยาวนานในสมรภูมิ ด้านตะวันตก โดยแต่ละฝ่ายผลัดกันบุกทะลวงแนวสนามเพลาะ ของอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องถอยกลับที่มั่นเดิมในที่สุดโดยไม่สามารถ เอาชนะกันอย่างเด็ดขาดได้เป็นเวลากว่าเกือบ 4 ปี ซึ่งทำาให้เสีย ชีวิตทหารไปเป็นจำานวนมาก จนกระทั่งกองทัพอเมริกันมาช่วย เสริมกำาลังให้ฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1918 จึงทำาให้ฝ่าย สัมพันธมิตรสามารถบุกทะลวงแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีได้ สำาเร็จ และทำาให้เยอรมนียอมแพ้ในที่สุด เรื่องที่ 8.2.3 การทำาสนธิสัญญาสันติภาพ เนื่องจากสงครามครั้งนี้ได้ก่อความเสียหายให้แก่ประเทศผู้ ชนะมากพอ ๆ กับประเทศผู้แพ้ รวมทั้งความยาวนานของสงคราม ได้ทำาให้ประชาชนในประทศคู่สงครามในยุโรปได้รับความเดือด ร้อนมาก เพราะไม่เพียงแต่จะสูญเสียสมาชิกของครอบครัวไปใน ระหว่างสงครามเท่านั้น แต่ยังต้องประสบกับการควบคุมทาง เศรษฐกิจของรัฐบาลของตนเองอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลของแต่ละ ประเทศต่างโฆษณาว่า ความเดือดร้อนและความไม่สะดวกที่ ประชาชนได้รับในระหว่างสงครามเกิดจากกการกระทำาของศัตรู เป็นสำาคัญ จึงยังผลให้ประชาชนในแต่ละประเทศเกลียดประเทศ ศัตรูเป็นอย่างมากและเรียกร้องให้ลงโทษประเทศผู้แพ้อย่าง รุนแรง ดังจะเห็นได้จากประชามติที่ชาวอังกฤษแสดงออกในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 ก่อนที่ การเจรจาเพื่อทำาสนธิสัญญาสันติภาพจะเริ่มขึ้นที่นครปารีสของ
  • 20. ฝรั่งเศส ซึ่งมีส่วนทำาให้รัฐบาลอังกฤษที่ตั้งขึ้นใหม่ มีลอยด์ ยอร์จ (Lloyd George) เป็นนายกรัฐมนตรี มีความมั่นใจในนโยบายที่ จะลงโทษเยอรมนีให้สาสมกับความผิดที่เยอรมนีได้ก่อขึ้น ซึ่งก็ ต ร ง กับ ค ว า ม เห็นขอ ง รัฐ บ า ลฝ รั่ง เ ศ ส ซึ่ง มี เ ค ล มัง โซ (Clemenceau) เป็นนายกรัฐมนตรี มีความมั่นใจในนโยบายที่จะ ลงโทษเยอรมนีให้สาสม และสัญญาลับต่าง ๆ ที่สองประเทศทำาไว้ กับอิตาลีและญี่ปุ่นมีส่วนทำาให้ความหวังของประธานาธบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ไม่ประสบความ สำาเร็จในการสร้างสังคมโลกหลังสงครามให้เป็นไปตามข้อเสนอ เพื่อสันติภาพ 14 ข้อ ที่เขาได้แถลงต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาเมื่อวัน ที่ 8 ม ก ร า ค ม ค .ศ . 1918 ข้อเสนอ 14 ข้อซึ่งประธานาธิบดีวิลสัน เสนอให้นานาชาติ ใช้เป็นหลักในการเจรจาสันติภาพและปฏิบัติต่อกันหลังสงคราม สงบแล้ว มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้ 1. จะต้องมีการทำาสนธิสัญญาเพื่อสันติภาพต่อกันโดยเปิด เผย และจะต้องไม่มีการทำาความเข้าใจเป็นการเฉพาะตัวระหว่าง ประเทศกันอีกต่อไป โดยจะต้องมีการดำาเนินการทางทูตกันอย่าง เปิดเผย 2. จะต้องให้เสรีภาพในการเดินเรือในทะเล นานาชาติอย่างเต็มที่ทั้งในยามสงบและสงคราม โดยจะมีการ จำากัดเสรีภาพเช่นว่านี้ได้บางส่วนหรือทั้งหมด เฉพาะเมื่อมีการ ปฏิบัติการของนานาชาติในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง นานาชาติเท่านั้น 3. จะขจัดอุปสรรค ทางเศรษฐกิจทุกชนิดให้มากที่สุดที่จะมากได้ และจัดให้มีความ เสมอภาคทางการค้าระหว่างชาติที่ยอมรับสันติภาพและร่วมมือกัน เพื่อรักษาสันติภาพ 4. จะจัดให้มีหลักประกันอย่าง เพียงพอว่าจะมีการลดอาวุธลงถึงจุดตำ่าสุด ที่สอดคล้องกับการ รักษาความปลอดภัยภายในชาติ 5. จะพิจารณาอ้างสิทธิในอาณานิคมทั้งหมดอย่าง อิสระ เปิดเผย และไม่ลำาเอียง โดยจะยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นต่อ หลักการที่ว่า ในการตัดสินปัญหาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือ อาณานิคมนั้น จะต้องให้นำ้าหนักผลประโยชน์ของประชากรที่ เกี่ยวข้องมากเท่า ๆ กับข้ออ้างอันเป็นธรรมของรัฐบาลซึ่งจะต้อง วินิจฉัยเกี่ยวกับชื่อของรัฐบาลนั้น ๆ ต่อไป 6. จะมีการถอนทหารออกจากดินแดนของรุสเซีย ทั้งหมด และการตกลงปัญหาทุกอย่างที่จะมีผลกระทบต่อรุสเซียจะ ได้รับการร่วมมืออย่างดีที่สุดและเสรีที่สุดของชาติอื่น เพื่อจะให้
  • 21. โอกาสอย่างเต็มที่แก่รุสเซียในอัน จะวินิจฉัยเกี่ยวกับการพัฒนา ทางการเมืองของตน และทำาให้รุสเซียมั่นใจว่าจะได้รับการ ต้อนรับอย่างบริสุทธิ์ใจให้เข้าสู่สังคมของชาติเสรี และนอกจากจะ ต้อนรับแล้วยังจะมีการให้ความช่วยเหลือทุกอย่างตามที่รุสเซี ยอาจต้องการและปรารถนาด้วย การชาติพี่น้องจะปฏิบัติต่อรุสเซีย ในเวลาข้างหน้า จะเป็นการทดสอบถึงไมตรีจิตและความเข้าใจ ของชาติเหล่านั้นเกี่ยวกับความต้องการของรุสเซีย อันแตกต่าง จากผลประโยชน์ของพวกตน และจะเป็นการทดสอบถึงความเห็น อกเห็นใจที่ปราศจากการเห็นแก่ตัวที่ชาติเหล่านั้นมีต่อรุสเซีย 7. จะต้องถอนทหารออกจากเบลเยี่ยม และให้ เบลเยี่ยมเป็นอิสระโดยไม่มีการจำากัดอธิปไตยที่เบลเยี่ยมเคยมีมา ก่อนเหมือนกับชาติเสรีอื่น ๆ ทั้งมวล ทั้งนี้เพื่อรื้อฟื้นความมั่นใจ ของนานาชาติในกฎหมายที่พวกเขาได้สร้างขึ้น เป็นหลักในการ ควบคุมความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ซึ่งถ้าไม่มีการกระทำาดังกล่าว โครงสร้างและความถูกต้องสมบูรณ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ จะถูกทำาลายตลอดไป 8. ควรจะมีการปลดปล่อยดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมด และ คืนดินแดนที่ถูกบุกยึดไปให้แก่ฝรั่งเศส และจะต้องมีการแก้ไขสิ่ง ผิดที่ปรัสเซียทำาไว้กับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1871 เกี่ยวกับแคว้นอัล ซาลอเรน ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสันติภาพของโลกมาเกือนบ 50 ปี ทั้งนี้เพื่อรักษาสันติภาพให้มั่นคงอีกรั้งหนึ่ง อันจะเป็นประโยชน์แก่ ทุกฝ่าย 9. ควรจะมีการปรับดินแดนของอิตาลี โดยถือเอาสัญชาติ ของประชากรเป็นหลักในการกำาหนดแนวเขตแดน 10. ควรจะให้โอกาสที่เสรีภาพที่สุดแก่ประชากรของ ออสเตรีย – ฮังการี ในอันที่จะพัฒนาอย่างอิสระ และมีฐานะใน สังคมโลกอย่างมั่นคง 11. ควรจะมีการถอนทหารออกจากโรมาเนีย เซอร์เบีย และะมอนเตเนโกร และคืนดินแดนที่ยึดไปให้แก่สามประเทศ ส่วน เซอร์เบียจะได้รับทางออกสู่ทะเลอย่างเสรีอีกด้วย จะมีการกำาหนด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ในแหลมบอลข่าน โดยการปรึกษา หารือฉันมิตร และควรจะมีการคำ้าประกันโดยนานาชาติต่อเอกราช ทางเศรษฐกิจและการเมือง และบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐต่าง ๆ ในแหลมบอลข่าน 12. ควรจะรับรองอธิปไตยอันมั่นคงแก่ดินแดนของตุรกี อัน เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ชนชาติอื่นซึ่งอยู่ใต้การ
  • 22. ปกครองของตุรกีจะได้รับประกันความมั่นคงในชีวิต และได้รับ โอกาสเต็มที่ในการพัฒนาอย่างอิสระ และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ ควรจะเปิดให้เรือและการค้าทุกชาติใช้ผ่านได้อย่างอิสระโดยมี การคำ้าประกันจะนานาชาติ 13. ควรจะมีการจัดตั้งรัฐโปแลนด์ที่เป็นเอกราช โดยรวม เอาดินแดนที่มีชาวโปล อาศัยอยู่อย่างไม่มีข้อสงสัย และควรจะให้ โปแลนด์ที่มีทางออกอย่างอิสระและแน่นอนไปสู่ทะเล และควรจะมี การคำ้าประกันเอกราชทางการเมืองและเศรษฐกิจ และบูรณภาพ แห่งดินแดนของประเทศนี้ โดยข้อตกลงนานาชาติ 14. จะต้องมีการจัดตั้งสมาคมใหญ่ของนานาชาติ โดยมีข้อ ตกลงเป็นการเฉพาะเพี่อคำ้าประกันเอกราชทางการเมือง และ บูรณภาพแห่งดินแดนของทั้งชาติใหญ่และเล็กร่วมกัน เห็นได้ชัดว่าข้อเสนอ 14 ประการนี้ มีเนื้อหาสาระที่ประเทศ คู่แพ้พอจะรับได้ เพราะมิได้มุ่งลงโทษผู้แพ้อย่างรุนแรง นอกจาก นั้นข้อเสนอ 14 ประการดังกล่าวยังมุ่งที่จะสร้างสังคมโลกให้มี สันติภาพตามหลักการที่จะให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ทั้งในด้านการค้า การเศรษฐกิจ และการเมือง โดยจะมีองค์การ ระหว่างประเทศที่จะตั้งขึ้นเป็นผู้ดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักการ ดังกล่างว จึงอาจกล่าวได้ว่าถ้าประเทศผู้ชนะจะใช้ข้อเสนอ 14 ประการของประธานาธิบดีวิลสันเป็นหลักในการทำาสนธิสัญญา สันติภาพกับประเทศผู้แพ้ และจัดระเบียบให้สังคมโลก ปัญหา ความขัดแย้งในสังคมโลกหลังสงครามคงจะลดน้อยลง แต่ เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสมีพันธะตามสัญญาลับที่จะตอบแทน อิตาลีและญี่ปุ่นที่เข้าข้างตนในสงคราม และมีเป้าหมายแน่ชัดที่จะ ลงโทษเยอรมนีให้สาสม เพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีลุกขึ้นมาท้าทาย ความยิ่งใหญ่ของตนได้อีกในอนาคต สหรัฐอเมริกาจึงไม่สามารถ ทำาตามที่ตนต้องการได้ และต้องยอมตามที่อังกฤษและฝรั่งเศส ต้องการเป็นส่วนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับความสนับสนุนของ อังกฤษและฝรั่งเศส ในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อ เสนอข้อที่ 14 ของประธานาธิบดีวิลสัน ฉะนั้น ผลของการทำาสนธิ สัญญาสันติภาพ ซึ่งเกิดจากการประชุมของประเทศผู้ชนะที่พระรา ชวังแวร์วายส์ของฝรั่งเศสเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีประเทศผู้แพ้ เข้า ร ว ม ด้ว ย ซึ่ง เ รีย ก กันทั่ว ไ ป ว่า “ ส น ธิสัญ ญ า แ ว ร์ ซายส์”(Versailles Treaties) จึงมีลักษณะเหมือนสนธิสัญญา สันติภาพแบบเก่า คือ บรรจุความต้องการของผู้ชนะมากกว่าการ ส ร้ า ง สั น ติ ภ า พ ตั ว อ ย่ า ง เ ช่ น
  • 23. 1. ลงโทษผู้แพ้โดยเฉพาะเยอรมนีอย่างรุนแรง เพื่อป้องกัน มิให้เยอรมนีกลับฟื้นความยิ่งใหญ่ได้อีก ซึ่งทำาให้ชาวเยอรมันไม่ พอใจอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เยอรมนีต้องเสียดินแดนเป็นจำานวน มาก อาทิ ต้องคืนแคว้นอัลซาส สอเรนให้ฝรั่งเศส ยอมให้ฝรั่งเศส ยึดเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) เป็นเวลา 15 ปี คืนจังหวัด ยูเพน (Eupan) และมาลเมลี (Malmedy)) ให้เบลเยี่ยม ยอมให้มี การแสดงประชามติในแคว้นชเลสวิก (Schleswig) และโฮลส ไตน์ ซึ่งปรากฎว่าชเลสวิก ขอกลับไปอยู่กับเดนมาร์กตามเดิม และ ต้องยกเมืองเมเมล (Memel) ให้เป็นเมืองท่าของประเทศลิธัวเนีย ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้น เยอรมนีถูกจัดมิให้มีความเข้ม แข็งพอที่จะท้าทายอังกฤษและฝรั่งเศสได้อีก ตัวอย่างเช่น ถูกยุบ กรมเสนาธิการ และให้ลดกำาลังทหารลงเหลือเพียง 100,000 คน และกองทหารนี่จะมีเครื่องบินรบ รถถัง หรือปืนหนักไม่ได้ ส่วนทัพ เรือให้เรือประจัญบานขนาดเล็กเพียง 6 ลำา และจะมีเรือดำานำ้าไม่ ได้ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นเยอรมนีต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ชนะเป็น จำานวนมากเหลือที่จะคำานวนได้ ทั้งในรูปสิ่งของและเงินตรา อาทิ ต้องมอบเรือสินค้าชดใช้ให้แก่สัมพันธมิตรตามชั้นและขนาดของ เรือ ซึ่งถูกเยอรมนียิงจมในระหว่างสงคราม และต้องใช้เงินใน อัตราปีละ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี ค.ศ. 1921 ซึ่งใน ปีนั้นผู้ชนะจะแจ้งยอดค่าเสียหายทั้งหมดให้เยอรมนีชดใช้ภายใน เวลา 30 ปี เป็นต้น นอกจากนั้นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ยังเขียน บังคับให้เยอรมนียอมรับว่ามหาอำานาจกลางเป็นผู้รับผิดชอบใน การก่อสงครามนี้ 2. แบ่งปันอาณานิคมหรือดินแดนอธิปไตยของผู้แพ้ให้แก่ ประเทศผู้ชนะ ในรูปของการให้ผู้ชนะเป็นผู้ดูแลดินแดนเหล่านี้ แทนองค์การสันนิบาตชาติ เช่น ให้ญี่ปุ่นดูแลอาณานิคมของ เยอรมนีในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนที่อยู่ใต้ เส้นศูนย์สูตรให้ออสเตรเลียดูแล ในขณะเดียวกันอังกฤษและ ฝรั่งเศสเข้าดูแลดินแดนในตะวันออกกลาง ซึ่งเคยอยู่ใต้อำานาจ อธิปไตยขอบตุรกี 3. จัดตั้งประเทศขึ้นใหม่หลายประเทศในยุโรป เช่น โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ยูโกสลาเวีย ฮังการี เอสโตเนีย ลิธัวเนีย และแลตเวีย เป็นต้น บางประเทศเกิดจากการสลายตัวของ อาณาจักรออสเตรีย – ฮังการี และการสูญเสียดินแดนของเยอรมนี ผู้แพ้สงคราม ตัวอย่างเช่นประเทศโปแลนด์ซึ่งเคยถูกแบ่งแยกดิน แดนจนสูญประเทศไปเมื่อร้อยปีก่อน กลับฟื้นขึ้นใหม่ในดินแดน เดิมและรวมเอาดินแดนบางส่วนที่มีชาวเยอรมันอาศัยอยู่มากไว้