SlideShare a Scribd company logo
1 of 114
Download to read offline
ETDA : e-Commerce Pocket Series
จุดประกาย
เถ้าแก่ออนไลน์
เส้นทางของเถ้าแก่ยุคใหม่
สู่ธุรกิจออนไลน์ที่มาแรง
ในยุคดิจิทัล ไม่ยากอย่างที่คิด
คุณก็ท�ำได้แค่รู้วิธี
สู่...
1 ใน ETDA e-Commerce Pocket Series
เราปั้นหนังสือเล่มนี้เพื่อ “เถ้าแก่ยุคไอที นักธุรกิจหน้าใหม่ SMEs/OTOP”
เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ ISBN 978-616-91910-7-0
สงวนลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2527
ห้ามคัดลอกเนื้อหา ภาพประกอบก่อนได้รับอนุญาต
รวมทั้งดัดแปลงเป็นแถบบันทึกเสียง วิดีโอ โทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ
พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2557
สร้างสรรค์โดย
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อาคารเดอะไนท์ ทาวเวอร์ เลขที่ 33/4 ตึก B ชั้น 21
ถนนพระรามเก้า แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 0-2123-1234 โทรสาร 0-2123-1200
www.etda.or.th
จุดประกาย
เถ้าแก่ออนไลน์สู่...
ก�ำหนดทิศทาง & แนะน�ำ 	 สุรางคณา วายุภาพ (แอน)
ก�ำกับดูแล	 อรุณรุ่ง ธีระศักดิ์ (เอ)
	 สรสิช เนตรนิล (กอล์ฟ)
สรรค์สร้างเนื้อหา 	 พายัพ ขาวเหลือง (ตั้ม)
	 ปริญญา สุวรรณชินกุล (เก่ง)
	 ทศพร โขมพัตร (โจ)
ดูประเด็นกฎหมาย 	 พิชญลักษณ์ ค�ำทองสุก (หยี)
ดูแลกราฟิก 	 ณัฐพงศ์ วรพิวุฒิ (เอ)
	 นภดล อุษณบุญศิริ (เฟรม)
	 ณัฐนัย รวดเร็ว (ฮอลล์)
ร่วมแรงกันท�ำ
สุรางคณา วายุภาพ
ผอ.สพธอ.
อรุณรุ่ง ธีระศักดิ์
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
สรสิช เนตรนิล
ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พายัพ ขาวเหลือง
ผู้จัดการ
ทีม e-Marketing
ปริญญา สุวรรณชินกุล
ผู้จัดการ
ทีมพัฒนาธุรกิจ
ทศพร โขมพัตร
Creative Content
ทีมกราฟิก
ค�ำน�ำ
ทุกวันนี้ “มนุษย์เงินเดือน” จ�ำนวนมากอยากที่จะหลุดพ้น
จากกรอบพันธนาการอันซ�้ำซากและก้าวไปสู่อิสรภาพของชีวิตด้วยการ
มีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ใช่ว่าทุกคนจะท�ำได้เสมอไปเพราะการลงทุน
คือ “ความเสี่ยง” ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ต้นทุน
สินค้า และอีกจิปาถะ
แล้ว “ต้องท�ำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้?”
e-Commerce...หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
การค้าขายสินค้าและบริการทางออนไลน์เป็นหนึ่งในค�ำตอบสุดท้ายที่
ใครหลายคนอาจอยากลองท�ำกันดูสักตั้ง ดังเช่นเถ้าแก่ออนไลน์รุ่นใหม่
ที่น�ำมาแชร์ประสบการณ์เล่าสู่กันฟังในหนังสือเล่มนี้
“จุดประกาย สู่...เถ้าแก่ออนไลน์ e-Commerce
StartUP!” เป็น 1 ใน 3 ของหนังสือชุด ETDA e-Commerce Pocket Series
ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการท�ำธุรกรรมออนไลน์เน้นกลุ่มผู้ประกอบการSMEs/OTOP
ของส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ
ETDA (เอ็ทด้า) ที่จัดท�ำขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอีคอมเมิร์ซ ความส�ำคัญ
ของการมีมาตรฐาน (Standard) และความมั่นคงปลอดภัย (Security) เพื่อให้ผู้ที่สนใจ
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งกลุ่มที่ท�ำอยู่แล้วและกลุ่มที่คิดจะเริ่มต้น
ได้น�ำไปเป็นแนวทางเข้าสู่ระบบการค้าออนไลน์ที่สามารถเพิ่มยอดขายหรือสร้างรายได้
ให้แก่ธุรกิจได้มากขึ้น หรือแม้แต่นักศึกษาที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ ก็สามารถ
น�ำไปประกอบธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2558ซึ่งจะท�ำให้ผู้ประกอบการ
มีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 600 ล้านคน หากสามารถแสวงหาโอกาสจาก
ช่องทางออนไลน์นี้
หนังสือเล่มนี้นอกจากจะน�ำเสนอตัวอย่างแห่งความส�ำเร็จของเถ้าแก่ออนไลน์ผู้ใช้
ช่องทางอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิผลแล้วยังเล่าถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ
เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในหลักการที่ถูกต้องวิธีการท�ำที่เหมาะสมกับสินค้า/บริการของตน
การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายและท�ำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกทั้ง
ยังสอดแทรกเรื่องจรรยาบรรณของพ่อค้าแม่ขายออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จ
ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วยนับเป็นเรื่องราวส�ำคัญของการใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซในการสร้างธุรกิจ
ส�ำหรับเถ้าแก่ยุคไอทีรุ่นใหม่นั่นเอง
สุรางคณา วายุภาพ
ผู้อ�ำนวยการ
ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(องค์การมหาชน)
Contents
บทที่ 1 : อีคอมเมิร์ซ…ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 	 8
1.1 LomoKen.com…ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้	 12
1.2 nauschadaporn.tarad.com…ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้	 16
1.3 jehjong.com…เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์	 19
1.4 Jekmeng-noodle.com...การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว	
ไม่น่าเชื่อแต่ก็เป็นไปแล้ว	 21
บทที่ 2 : อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 	 24	
2.1 รู้จักมักจี่ “อีคอมเมิร์ซ”	 27	
2.2 ลัดเลาะแวดวงอีคอมเมิร์ซไทย	 31
2.3 พลิกเกมการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์	 33
บทที่ 3 : ธุรกิจรุ่งถ้ามุ่ง...อีคอมเมิร์ซ 	 36
3.1 องค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ	 39
3.2 Start UP! อีคอมเมิร์ซ...ง่ายนิดเดียว	 42
3.3 โมบายคอมเมิร์ซ...เทรนด์รุ่งพุ่งแรง	 52
3.4 คุยเฟื่องเรื่องภาษีอีคอมเมิร์ซ	 55
Contents
บทที่ 4 : เคล็ด (ไม่) ลับ...การตลาดออนไลน์	 58
4.1 รู้เรา…สเต็ปเทพวางแผนการตลาดออนไลน์	 61
4.2 รู้เขา...ศึกษาคู่แข่งออนไลน์ท�ำได้แค่คลิก	 76
4.3 รู้รอบ…เทคนิคค้าขายออนไลน์	 79
4.4 รู้มั้ย? เอสเอ็มอีก็โกอินเตอร์ได้ 	 90
บทที่ 5 : อีคอมเมิร์ซกับยุคเว็บ 3.0	 92
5.1 วิธีการสื่อสารให้สินค้าน่าบอกต่อ	 95
5.2 โหนกระแสสื่อสู่สาธารณะ	 96
5.3 จุดประกายคิดธุรกิจใหม่	 97
5.4 ใส่ใจลูกค้าตลอดเวลา	 99
บทที่ 6 : จรรยาบรรณเถ้าแก่ออนไลน์	 100
6.1 ข้อมูลลูกค้า…รักษายิ่งชีพ	 102
6.2 ทรัพย์สินทางปัญญา…สมบัติล�้ำค่าที่ต้องรักษา	 105
6.3 กลโกงออนไลน์…รู้หลบเป็นหลีก	 106
6.4 ภัยคุกคามไซเบอร์…รู้รอดก็มั่นคงปลอดภัย	 109
เส้นทางสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ e-Commerce StartUP!	 111
เกี่ยวกับ ETDA	 112
วิทยา หงส์พิทักษ์พงศ์
หนุ่มมาดกวน มุ่งมั่นผลักดัน e-Commerce @ ETDA
พฤติกรรมผู้บริโภค	
เปลี่ยนไปแล้ว
ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
อีคอมเมิร์ซ...
01
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
10
SUCCESS STORIES
1.1 LomoKen.com…
ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้
1.2 nauschadaporn.tarad.com…
ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้
1.3 jehjong.com…เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์
1.4 Jekmeng-noodle.com...
การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว ไม่น่าเชื่อ
แต่ก็เป็นไปแล้ว
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
11
...เสียงนาฬิกาปลุก ผ่านสมาร์ตโฟน
ที่ตั้งเวลาไว้ดังขึ้นเป็นจังหวะ เพื่อบอกให้เจ้าของลุกขึ้น
จากที่นอนนุ่มๆ ผ้าห่มอันแสนอบอุ่น และพร้อมเริ่มต้น
สู่การท�ำงานวันใหม่ แต่แล้ว! ก็เอื้อมมือกดปิดโทรศัพท์
และคลุมโปงนอนต่อ *_*
นี่คงเป็นอาการทั่วไปของเหล่ามดงานที่ต้องตื่นแต่เช้าฝ่ารถติด
ไปท�ำงานมีเวลาพักกลางวันครั้งละ1ชั่วโมงกลับมาท�ำงานต่อเพื่อรอ
เวลากลับบ้านไปพบกับครอบครัวอันเป็นที่รักในตอนเย็นจะมีเวลาบ้าง
ก็เฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ท�ำให้ไม่แปลกเลย
ที่ผู้คนเหล่านี้มักปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นจากพันธนาการนี้
และก้าวข้ามไปสู่อิสรภาพของชีวิตด้วยการมีธุรกิจเป็นของตนเอง
แต่นั่นก็ใช่ว่าทุกคนจะท�ำได้เสมอไป...
เพราะการลงทุนคือความเสี่ยง ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน�้ำ ค่าไฟ
ต้นทุนสินค้า และอีกจิปาถะ ค�ำถามต่อมาคือ…
ต้องท�ำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้?
“e-Commerce” จึงเป็นหนึ่งในค�ำตอบสุดท้ายที่ใครหลายคนอาจอยาก
จะลองท�ำกันดูสักตั้ง ดังเช่นเจ้าของธุรกิจตัวอย่างที่น�ำมาเล่าสู่กันฟัง ก็เป็นผู้มี
ความสามารถในการใช้ช่องทางนี้ไปสู่ความส�ำเร็จลองมาติดตามเรื่องราวที่ตื่นเต้น
ของพวกเขาเหล่านี้เพื่อจุดประกายไอเดียใหม่ๆ กันได้จากบรรทัดนี้เป็นต้นไป
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
12
“การท�ำการค้าออนไลน์ไม่ต้องคิดหนักเลยค่ะ เพราะแทบไม่มีความเสี่ยงเลย
แค่มีความตั้งใจและท�ำในสิ่งที่ชอบ รับรองว่าประสบความส�ำเร็จได้ไม่ยาก
มีคนอีกมากที่คิดจะท�ำการค้าออนไลน์ หากเริ่มวันนี้ก็จะน�ำคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ”
คุณกรณิกา จิตรประมุท เจ้าของเว็บไซต์ LomoKen.com
1.1 LomoKen.com...
ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้
นักธุรกิจที่ประสบความส�ำเร็จทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความกล้าที่จะ
เริ่มต้น ยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าไหร่โอกาสที่ผู้คนจะจดจ�ำและรับรู้ในสิ่งที่ท�ำก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
เท่านั้น โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่อินเทอร์เน็ตได้มีบทบาทในธุรกิจอย่างมาก เนื่องจาก
เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด หากต้องการประสบความส�ำเร็จ
จ�ำเป็นต้องอาศัยความกล้าที่จะเริ่มต้นเพราะถ้ามัวแต่คิดว่า“เดี๋ยวจะท�ำ”อย่างไรก็ไม่ส�ำเร็จ
อยู่ดี เพราะระหว่างค�ำว่า “เดี๋ยวจะท�ำ” กับ “ลงมือท�ำ” ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันสิ้นเชิง
เหมือนกับตัวอย่างของผู้กล้าที่ก้าวเข้ามาในวงการ e-Commerce ทั้งๆ ที่ยังเป็นแค่
นิสิตนักศึกษา แต่ก็สามารถสร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว และประสบความส�ำเร็จ
ในการสร้างธุรกิจที่ตัวเองรัก
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
13
คุณกรณิกา จิตรประมุท หรือคุณเอม ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของธุรกิจกล้องโลโม่ ที่เริ่มจากการสั่งซื้อกล้องทาง
ออนไลน์มาใช้เองในวิชาที่เรียน เล่าว่า “ตอนปี 3 มีโอกาสได้เรียนวิชาถ่ายภาพ
ล้างฟิล์ม จึงหาซื้อกล้องฟิล์มเพื่อใช้ในการเรียน ตอนนั้นเพื่อนๆ ใช้กล้องโลโม่กัน
ก็ไม่ค่อยรู้จัก จึงลองหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ และได้เจอร้านขายกล้องโลโม่
บนอินเทอร์เน็ตจึงลองซื้อมาใช้ดู 1 ตัว หลังจากนั้นก็เริ่มสนใจเข้าดูเว็บไซต์ทุกวัน
เพื่อมองหากล้องตัวที่ 2 วันหนึ่งมีคนน�ำกล้องโลโม่มาขายแบบลดราคา แบบว่า
ถูกมากๆ แค่ 2 ตัวเท่านั้น ก็เลยเหมามาหมด แล้วน�ำมาขายต่อบนเว็บไซต์ ลองไป
โพสต์ตามกระทู้ต่างๆ ไม่ถึงอาทิตย์ก็ขายได้หมด มีลูกค้าทั้งจากกรุงเทพฯ และ
ต่างจังหวัดจากนั้นก็เริ่มน�ำเข้ากล้องโลโม่จากต่างประเทศและลงมือเปิดร้านค้าออนไลน์
อย่างจริงจังภายใต้เว็บไซต์ที่ชื่อ www.LomoKen.com”
e-Commerce เป็นการท�ำธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่สามารถเปิดร้าน
ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความที่คุณเอมยังเป็นนิสิตอยู่ในขณะนั้น ท�ำให้ไม่มีเวลา
และมีทุนไม่มากนักจึงตัดสินใจใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้า“ตอนนั้นยัง
เรียนอยู่เลยไม่มีเวลาที่จะเปิดหน้าร้านร้านค้าออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะ
กับเราที่ไม่ค่อยมีเวลาและมีเงินลงทุนไม่มาก ตอนลองขายครั้งแรกก็มีลูกค้า
ต่างจังหวัดด้วย มันก็เป็นข้อดีเพราะลูกค้าทั่วประเทศ
จะสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าเราได้ แล้วร้านก็เปิดได้
24ชั่วโมงลูกค้าจะเข้าถึงร้านเราได้ทุกที่ทุกเวลา
แต่เราไม่ต้องเฝ้าร้านอยู่ตลอดเวลา”
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
14
เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ใหม่ๆเป็นธรรมดาที่ยอดขายยังมีไม่มากเพราะลูกค้า
ยังไม่เชื่อมั่น แต่คุณเอมก็มีวิธีที่ท�ำให้ลูกค้าเชื่อถือได้อย่างรวดเร็ว “ยอมรับเลยว่า
ช่วงแรกยอดขายยังไม่มาก ร้านเรายังใหม่ลูกค้ายังไม่วางใจเรา กลัวว่าจะโดนโกงบ้าง
หรือสินค้าไม่ได้คุณภาพบ้าง ก็พยายามสร้างความน่าเชื่อถือโดยเอาใจใส่ลูกค้า
ตอบอีเมลเร็ว อัพเดตร้านทุกวัน ท�ำให้ลูกค้ารู้สึกเชื่อถือและตัดสินใจซื้อสินค้ากับร้าน
ยิ่งมีผลตอบรับดี ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ร้านเราเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นค่ะ”
ในธุรกิจทุกประเภทต้องมีส่วนที่ยาก
แต่คุณเอมก็ผ่านจุดนี้ไปได้ด้วยความตั้งใจ
“ส่วนที่ยากส�ำหรับการขายของออนไลน์คือ
จะท�ำอย่างไรให้คนเขาเชื่อใจและไว้ใจเราให้เขา
มั่นใจได้ว่าสั่งสินค้ากับเราได้ของแน่ๆ ไม่มีการ
โกง เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยจ�ำนวนมาก
ยังไม่ไว้ใจและไม่คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าแบบ
ออนไลน์ ส�ำหรับงานส่วนอื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่ยาก
แต่ต้องอาศัยความอดทนและตั้งใจกับร้านค้า
ออนไลน์ของเราค่ะ”
หัวใจส�ำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความ
ไว้วางใจคือ “การส่งมอบสินค้า” คุณเอมได้
แก้ปัญหาอย่างตรงจุด แถมยังช่วยสร้างความ
ไว้วางใจให้แก่ลูกค้าเก่าและใหม่โดย “ก่อนส่ง
สินค้า ทางร้านจะแจ้ง Tracking Number
ไว้ที่หน้าเว็บบอร์ดทุกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าเข้ามา
ตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้าของตัวเองได้
และยังท�ำให้ลูกค้าใหม่ที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า
พอเข้ามาเห็นตรงจุดนี้ ก็รู้สึกว่าเราโปร่งใสและ
ซื่อสัตย์ ท�ำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น”
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
15
คุณเอมได้ฝากถึงผู้ที่คิดอยากท�ำร้านค้าออนไลน์แต่
ยังไม่ได้ลงมือท�ำว่า “ส�ำหรับผู้ที่ก�ำลังคิดจะท�ำการค้าออนไลน์
ไม่ต้องคิดหนักค่ะ การท�ำการค้าออนไลน์ไม่ต้องคิดหนักเลย
ค่ะ เพราะแทบไม่มีความเสี่ยงเลย แค่มีความตั้งใจและท�ำ
ในสิ่งที่ชอบรับรองว่าประสบความส�ำเร็จได้ไม่ยากมีคนอีกมาก
ที่คิดจะท�ำการค้าออนไลน์ หากเริ่มวันนี้ก็จะน�ำคนอื่นหนึ่ง
ก้าวเสมอ”
ด้วยความรักในสิ่งที่ท�ำและกล้าที่จะเริ่มต้นกับ
สิ่งใหม่ ท�ำให้วันนี้สาวน้อยตัวเล็กๆ ที่ไม่เล็กในวงการค้าขาย
ออนไลน์อีกต่อไป เมื่อผลตอบแทนที่เธอได้รับไม่ใช่เพียงแค่
ยอดขาย แต่เป็นรายได้ที่น�ำมาช่วยเหลือครอบครัวและ
สร้างชื่อเสียงมาให้กับเธอตั้งแต่อายุยังน้อย
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
16
ย้อนกลับไปหลายปีก่อนที่เมืองโคราช
คุณณัฐชฎาภรณ์ เนาว์วัฒน์ หรือป้าซิ้มซึ่งจบเพียง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับสามีที่มีอาชีพรับตัดชุด
การแสดงชุดนักร้องชุดหางเครื่องหรือแม้แต่ชุดลิเก…
ในเวลานั้นมีแค่จักรเย็บผ้าเพียงตัวเดียว คอยเที่ยว
เดินเร่ขายชุดการแสดงตามโรงเรียนต่างๆและรับงาน
ตัดชุดการแสดงจากร้านค้าต่างๆ อีกที หากร้าน
เหล่านั้นมีงานที่ล้นหรือท�ำไม่ทันณเวลานั้นเรียกได้ว่า
เป็นอาชีพที่ไม่ได้ท�ำเงินอะไรมากนัก และมีรายได้
ไม่พอใช้จ่าย จนกระทั่งเมื่อปี 2550 สามีของป้าซิ้ม
เริ่มมีโอกาสรู้จักกับการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต
1.2 nauschadaporn.tarad.com...	
ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้
และได้น�ำชุดการแสดงไปโชว์ใน nauschadaporn.tarad.com โดยในช่วงแรกๆ มีคน
สั่งซื้อทีละชุดสองชุด ซึ่งเป็นลูกค้าจากจังหวัดล�ำปาง ป้าซิ้มกับสามีก็ดีใจมากแล้ว
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
17
หลังจากนั้นก็เริ่มมีลูกค้าติดต่อผ่านหน้าเว็บไซต์เข้ามามากขึ้น
เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเห็นภาพชุดการแสดงของป้าซิ้มจากเว็บไซต์
และราคาค่าชุดที่ค่อนข้างถูกมากเพียงแค่ 400 บาทต่อชุด และลูกค้า
บางส่วนก็โทร.มาหาป้าโดยตรง บ้างก็มีการน�ำภาพชุดการแสดงที่
ต้องการให้ป้าตัดโพสต์ลงในเว็บบอร์ดเพื่อให้ตีราคา ซึ่งป้าก็ตอบลูกค้า
ผ่านทางเว็บบอร์ดและอีเมลหากลูกค้าพอใจในราคาซึ่งส่วนใหญ่ก็พอใจมาก
เพราะชุดการแสดงของป้าราคาถูกจริงๆ ลูกค้าก็จะโอนเงินให้ และป้า
ก็จะเริ่มตัดชุดตามแบบที่ลูกค้าแจ้งมา และส่งไปให้ทางไปรษณีย์
หลังจากเปิดหน้าเว็บไซต์มาเพียงไม่กี่เดือน ลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น
รายได้ก็เพิ่มขึ้นตามมาจนตอนนี้มีลูกค้าเกือบทุกจังหวัดที่เคยสั่งซื้อไปแล้ว
ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงยังมีลูกค้าที่เป็นคนไทยในต่างประเทศ เช่น
สวีเดน เยอรมนี หรือแม้แต่บาห์เรน ติดต่อสั่งซื้อชุดการแสดงของป้าซิ้ม
ผ่านเว็บไซต์อีกด้วย
ป้าซิ้มเล่าว่า “สิ่งที่ลูกค้าประทับใจในการบริการคือ ความ
ซื่อสัตย์และตรงเวลา” และลูกค้าหลายๆ คนมักจะเขียนชมป้าใน
เว็บบอร์ดท�ำให้ลูกค้าใหม่ๆที่เห็นค�ำชมเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ
ตัดชุดการแสดงของป้าซิ้มทันทีป้าซิ้มเล่าต่อว่า“ยังเคยมีลูกค้าจากเว็บไซต์
โอนเงินมาให้เป็นตัวเลขหลายหลัก โดยที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อนเลย”
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
18
แต่เชื่อหรือไม่ ป้าซิ้มไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ เปิดก็ยังไม่เป็น แต่ป้าสามารถ
ใช้เว็บไซต์ขายสินค้าออกไปทั่วโลกได้อย่างไรเบื้องหลังก็คือป้าให้สามีสร้างเว็บไซต์
ให้สามีพิมพ์ตอบเว็บบอร์ดและอีเมลทุกฉบับ โดยป้านั่งตอบอยู่ข้างๆ ช่างเป็น
สามีที่น่ารักจริงๆ
สิ่งที่ท�ำให้ป้าซิ้มประสบความส�ำเร็จได้ เกิดจาก...
(1) มีเว็บไซต์เป็นของตนเองในการน�ำเสนอข้อมูลสินค้าให้
คนทั่วประเทศและทั่วโลกดูได้
(2) 	ใช้ Google ในค�ำค้นหาว่า “ชุดลิเก” “ชุดการแสดง” ได้
ท�ำให้มีคนเข้ามาที่เว็บไซต์เป็นจ�ำนวนมาก
(3) 	พูดถึงกันในโลกอินเทอร์เน็ตมากมายส่วนใหญ่เป็นค�ำชม
ท�ำให้คนกล้าและมั่นใจในการสั่งสินค้าทางเว็บไซต์ของป้า
มากขึ้น
(4) 	มีราคาชุดที่ถูกถึงถูกมากๆ จนท�ำให้คนพูดถึงและบอกต่อ
เพื่อนๆ และคนรอบข้าง
จากตัวอย่างการท�ำ e-Commerce ของ
ป้าซิ้มท�ำให้รู้ว่าแม้เราจะใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง
แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างหรือข้อจ�ำกัดว่าจะไม่ประสบ
ความส�ำเร็จในการค้าขายออนไลน์ ความกล้าใน
การทดลองและเริ่มต้นสิ่งใหม่ต่างหาก จะช่วยให้
เราพบกับความส�ำเร็จได้อย่างไม่ยากเลย
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
19
ร้านหมูทอดเจ๊จง
เป็นร้านขายอาหารในลักษณะSMEs
ที่ประยุกต์ใช้ Social Network
เช่นFacebook,Twitterจนประสบ
ความส�ำเร็จ นอกจากจะมีหมูทอด
ที่รสชาติอร่อยแล้ว ยังมีบริการ
“เติมข้าวฟรีไม่อั้น”เพื่อเอาใจลูกค้า
ที่ส�ำคัญคือราคาถูกมากเมื่อเทียบกับ
ร้านอื่นๆ จากราคาเริ่มต้นส�ำหรับ
ขายเป็นถุงเป็นข้าวสวยพร้อมหมูทอด
เพียง 17 บาทเท่านั้น
1.3 jehjong.com...	
เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์
กลยุทธ์ฟรีไม่อั้นของเจ๊จงอาจจะดูเหมือนไม่มีก�ำไร หรือท�ำก�ำไร
ได้น้อยแต่หากลองคิดดูดีๆจะพบว่าลูกค้าเหล่านี้จะมาอุดหนุนเจ๊จงแทบทุกวันและ
ยังบอกต่อๆกันไปในเรื่องของรสชาติดีและความคุ้มค่าจึงไม่ต้องแปลกใจว่าหากเราไป
ที่ร้านเจ๊จงจะพบว่ามีลูกค้ามาต่อคิวยาวเหยียด เพื่อซื้ออาหารทั้งกินในร้านและ
กลับไปกินที่บ้านก�ำไรที่คิดว่าน้อยจึงไม่น้อยอีกต่อไปเนื่องจากลูกค้าซื้อซ�้ำอย่างสม�่ำเสมอ
แม้มีลูกค้าเยอะอยู่แล้ว เจ๊จงก็ไม่หยุดคิดพัฒนากลยุทธ์การขาย โดยเพิ่ม
บริการส่งถึงที่ (เดลิเวอรี่) โดยเฉพาะกับลูกค้าที่สั่งอาหารเป็นจ�ำนวนมาก ต้องการ
ความคุ้มค่า รวมถึงรสชาติที่อร่อยเหมือนมากินที่ร้าน
หรือการขยายพื้นที่ร้านเพื่อรองรับลูกค้าทั้งกลุ่มเดิม
และกลุ่มใหม่ให้สามารถนั่งในร้านได้มากขึ้นจะเห็นได้ว่า
เจ๊จงได้ใช้เทคนิคทางการตลาดอย่างเต็มที่แม้ไม่เคย
ได้ศึกษาอย่างจริงจัง แต่เรียกได้ว่าเจ๊จงมีสายเลือด
แห่งความเป็นผู้ประกอบการขนานแท้เลยทีเดียว
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
20
ธุรกิจของเจ๊จงเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าออฟไลน์ขนานแท้แต่การเป็นแม่ค้า
ที่มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการอยู่เต็มเปี่ยมท�ำให้เจ๊จงเปิดตัวเองด้วยการออก
รายการ SME ตีแตก เพื่อเสนอความคิดความอ่านของตัวเอง และให้ผู้ที่มีความรู้
ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจของตนให้ก้าวหน้าขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เจ๊จงยังก้าวเข้าสู่
โลกไซเบอร์ด้วยการสร้างเว็บไซต์ www.jehjong.com ที่ท�ำแบบง่ายๆ
ใช้เวลาไม่มาก ภายใต้โครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์ ท�ำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก
อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา รวมไปถึงการเปิดตัวเข้าสู่โลกแห่งโซเชียลมีเดีย
อย่าง www.facebook.com/JehJong และ www.twitter.com/jehjong
การต่อยอดการตลาดในโซเชียลมีเดียนี้ท�ำให้เจ๊จงสามารถเข้าถึงลูกค้า
ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เรียกได้ว่าเจ๊จงได้ใช้เทคนิคการท�ำ Social
Commerce อย่างเต็มที่ กระทั่งปัจจุบันนี้ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก “เจ๊จงหมูทอด
ทวิตเตอร์” อีกแล้ว
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
21
นายธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือคุณไอซ์
เจ้าของธุรกิจก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง
ก๋วยเตี๋ยวเนื้อต้นต�ำรับเพชรบุรี
ภายใต้สโลแกนร้านเก๋ๆ ว่า “หน้าไม่งอ รอไม่นาน”
1.4 Jekmeng-noodle.com...
การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว
ไม่น่าเชื่อแต่ก็เป็นไปแล้ว
เจ๊กเม้งมาแล้วจ้า...
“ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง” เป็นร้านเก่าแก่กว่า 50 ปี ในเมืองเพชรบุรี
ตั้งอยู่บริเวณหน้าถนนเขาวังเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวและอาหารหลายอย่างจุดเด่นคือ
มีการน�ำเอาสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบมาใช้ในการโปรโมตไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์
www.jekmeng-noodle.com, Facebook, Twitter, Mobile, E-mail
หรือแม้แต่ QR-Code…ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมล่ะ
ช่องทางให้บริการออนไลน์ “ร้านเจ๊กเม้ง”
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
22
	ร้านก๋วยเตี๋ยวกับ 	
“การตลาดเชิงรุก”	
เมื่อเข้ามานั่งในร้านภายในจะเปิดทีวีซึ่งมีวิดีโอ
เพลงทันสมัยมีโลโก้ร้านเจ๊กเม้งอยู่ด้านล่างไว้ตลอด
พร้อมกับมีภาพรายการอาหารจากเมนูของเจ๊กเม้ง
เพื่อให้คนในร้านนั่งดูและสามารถเห็นรายการอาหาร
อื่นๆ เพิ่มเติมเป็นการกระตุ้นและสื่อสารกับลูกค้า
อยู่ตลอดเวลา
ทีวีที่แสดงภาพอาหาร
เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยอดเยี่ยม
เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วจะมีแบบสอบถามว่าลูกค้าทานอาหารแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
รู้จักร้านจากช่องทางไหนและสิ่งประทับใจในร้านเจ๊กเม้งรวมถึงมีการขอข้อมูลลูกค้าเอาไว้ด้วย
เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ซึ่งเป็นข้อมูลส�ำคัญที่ท�ำให้ร้านสามารถ “สื่อสารกลับไปหา
ลูกค้าอีกครั้ง” ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย นอกจากนี้ ทางร้านยังท�ำเอกสารแผ่นพับขนาด
ใหญ่ (มาก) แจกลูกค้าทุกคน ในแผ่นพับจะมีเมนูอาหารข้อมูลข่าวสารของร้านพร้อมช่องทาง
การติดต่อที่น่าประทับใจคือหลังจากที่ลูกค้าออกจากร้านมาแล้วจะมีการส่งSMSไปที่มือถือ
ลูกค้าเพื่อแทนค�ำขอบคุณ
ใบปลิวเอกสารแจกลูกค้า
แบบสอบถามความพึงพอใจ
พร้อมขอข้อมูลลูกค้า
อัลบั้มรูปลูกค้าตั้งโชว์ในร้าน
เจ้าของร้านส่ง SMS ขอบคุณลูกค้า
บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา
23
และหากลูกค้ากลับถึงบ้านแล้วมีภาพถ่ายที่ร้านเจ๊กเม้งก็สามารถส่งภาพให้ร้าน
ทางอีเมลเพื่อพิมพ์ภาพมาใส่ในอัลบั้มและวางโชว์อยู่ภายในร้าน นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์
ที่สร้างการบอกต่อ และท�ำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง มีส่วนร่วมกับร้านอีกด้วย
จากการสื่อสารง่ายๆ ทั้งหมดที่บอกมา เป็นเครื่องมือที่คนไทยส่วนใหญ่นิยม
ใช้กัน แต่ความเจ๋งของคุณไอซ์ คือสามารถน�ำมาประยุกต์กับธุรกิจของครอบครัวได้
เจ๋งเป้งไปเลย!ทุกท่านก็อาจเป็นอีกคนที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตอยู่แล้วอย่างพวกFacebook,
Twitter และ “หลายๆ คนก็อาจจะใช้เวลาอยู่กับพวกเครื่องมือเหล่านี้ โดยไม่เกิด
ประโยชน์กับตัวเองหรือธุรกิจ” ลองหันมามองดูตัวอย่างของร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง
ที่คุณไอซ์เด็กหนุ่มคนหนึ่งเขาก็ใช้สิ่งเหล่านี้เหมือนกัน แต่สามารถประยุกต์ใช้
เพิ่มรายได้ และมูลค่าให้กับธุรกิจของครอบครัวได้อย่างยอดเยี่ยม
เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้วเชื่อว่าคงได้ไอเดียอะไรบางอย่าง ทีนี้ก็ถึงตาคุณ
แล้วล่ะว่า “จะน�ำเอาเทคโนโลยีต่างๆ ที่พวกเราใช้อยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์กับธุรกิจ
ของตนเองได้อย่างไร?” ให้เวลาคิด 10 วินาทีแล้วค่อยอ่านบรรทัดถัดไป			
(เอ้า! อย่ามัวแต่อ่านสิ ให้คิดไม่ได้ให้อ่านนะจ๊ะ)
คิดๆๆๆๆ เพราะหากไม่คิดเรื่องราวเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์กับตัวคุณเลย!
ส�ำหรับคนที่คิดได้แล้วจะขอบอกว่าขั้นตอนที่ยากและท้าท้ายที่สุดก็คือ “การ
ลงมือท�ำมันจริงๆ”ดังนั้นอย่ามัวคิดให้ปักลงไปเลยว่าจะเริ่มต้นท�ำมันวันไหน?หรือถ้า
ง่ายที่สุด“ก็ท�ำมันซะเลยสิเดี๋ยวนี้”จะรอให้คนอื่นน�ำสิ่งที่เราคิดไปท�ำก่อนหรืออย่างไร						
...ลงมือท�ำเลย!
อัลบั้มรูปลูกค้าแบบออฟไลน์	 อัลบั้มรูปลูกค้าแบบออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก
10...9...8...7...6...5...4...3...2...1...
1 ใน 8 คู่แต่งงานในอเมริกาพบกันทางอินเทอร์เน็ต
106 พันล้าน การค้นหาผ่านทางกูเกิลทุกเดือนเทียบกับปี 2006 แค่ 2.7 พันล้าน
เฟซบุ๊กมีสมาชิก 1,000 ล้านคน
เทียบได้กับประเทศใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย
จำ�นวนปีที่สื่อเข้าถึงคนได้ 50 ล้านคน วิทยุ 38 ปี ทีวี 13 ปี
อินเทอร์เน็ต 4 ปี ไอพอด 3 ปี และเฟซบุ๊กเพียง 2 ปี
จำ�นวนอุปกรณ์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละปีคือ ปี 1984 จำ�นวน 1,000 ชิ้น
ปี 1992 จำ�นวน 1,000,000 ชิ้น ปี 2008 สูงถึง 1,000,000,000 ชิ้น
ทราบหรือไม่		 ว่า...
วิทยา หงส์พิทักษ์พงศ์
กับทุกวันบนโลกออนไลน์ @ ETDA
อีคอมเมิร์ซ...
02
ฝันให้ไกลไปให้ถึง
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
26
ทุกวันนี้โลกออนไลน์ได้รับการพัฒนาไปมาก
ท�ำให้มีบทบาทมากขึ้นกับหลายๆ กลุ่มผู้ใช้ ส�ำหรับ
ผู้ท�ำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ก็ได้
รับประโยชน์จากการพัฒนาขึ้นมาของเทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ตนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถใช้
อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์สินค้า
และธุรกิจรวมทั้งการค้าขายกับลูกค้าผ่านทางเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “e-Commerce”
e-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
การขายของออนไลน์ซึ่งเป็นแนวทางการท�ำธุรกิจยุคใหม่ที่สร้างโอกาสแห่งความส�ำเร็จ
อย่างมาก โดยเฉพาะส�ำหรับธุรกิจ SMEs อย่างกลุ่มแม่บ้านที่ท�ำสินค้าหัตถกรรม
ตามหมู่บ้านห่างไกล แม้สินค้าเหล่านั้นจะสวยงามและมีคุณภาพขนาดไหน ก็เป็น
เรื่องยากที่จะน�ำสินค้าไปให้ถึงกลุ่มลูกค้าไกลๆ ได้ คงจะมีแต่ผู้ที่แวะเวียนมายังที่
หมู่บ้านเท่านั้น แต่ถ้าหากกลุ่มแม่บ้านนั้นมีความรู้ในการขายของออนไลน์ ก็จะ
สามารถน�ำสินค้าเหล่านั้นไปยังกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก และลูกค้าก็สามารถสั่งซื้อ
สินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจึงถือได้ว่าการขายของออนไลน์นั้น
มีคุณประโยชน์กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเลยทีเดียว
บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง
27
2.1 รู้จักมักจี่ “อีคอมเมิร์ซ”
“e-Commerce” คือการท�ำธุรกิจผ่านช่องทาง
ระบบอินเทอร์เน็ต และด้วยการพัฒนาของระบบอินเทอร์เน็ตนี้เอง ท�ำให้
ผู้ประกอบการสามารถท�ำธุรกิจได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าปกติ หรือ
สินค้าและบริการแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างการขายe-Bookปัจจุบันนี้e-Commerce
ในไทยก�ำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องผู้ซื้อส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับการซื้อขาย
ออนไลน์มากขึ้นด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความสะดวกสบายในการซื้อ การที่สามารถ
เข้าถึงรายละเอียดสินค้าได้ง่าย ร้านค้าออนไลน์มักจะมีสินค้าให้เลือกครบถ้วน ท�ำให้
ไม่ต้องเดินทางออกไปนอกบ้านด้วยตนเอง
ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2513 e-Commerce ได้เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกหลังจากที่
เริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที(ElectronicFundTransfer:EFT)
ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบ EFT
ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีดีไอ (Electronic
Data Interchange : EDI) ซึ่งช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงิน
อย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้นเช่นการส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับ
ผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีกหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆเกิดขึ้น
มากมาย ตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น เรื่อยไปจนถึงระบบที่ช่วยในการส�ำรอง
ที่พักท�ำให้รูปแบบของธุรกิจที่สามารถซื้อขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มีจ�ำนวนมากขึ้น
และเมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตมาถึงในปี พ.ศ. 2533 จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว e-Commerce ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตก็ได้เกิดขึ้น
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
28
เหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ e-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็วคือ โปรแกรมสนับสนุน
การค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาขึ้นมามากมาย เช่น ระบบการช�ำระเงินผ่านช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งที่มีคุณภาพสูง รวมถึงระบบ
เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ.2537–2548 ก็ถือได้ว่า
ระบบ e-Commerce เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว เห็นได้จาก
การที่มีบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา หันมาท�ำธุรกิจผ่าน e-Commerce อย่างมากมาย
และเริ่มขยายออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้
ส�ำหรับในประเทศไทยจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนการใช้
อีเมล การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ท�ำให้ธุรกิจต่างๆ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์ของตนเองมากขึ้น การพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซถือเป็นการเปิดตลาดไปสู่ผู้ซื้อ
หลายล้านคนทั่วโลกด้วยเหตุนี้ท�ำให้ผู้ท�ำธุรกิจในไทยต้องเตรียมการเพื่อที่จะแข่งขันกับ
ประเทศอื่นๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทตามรูปแบบของกลุ่มหรือองค์กรที่ท�ำการ
ซื้อขายระหว่างกัน ได้แก่
1.	การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อทั่วไป หรือบีทูซี (Business-to-
Consumer : B-to-C) คือประเภทที่ผู้ซื้อใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจ
ที่ด�ำเนินกิจการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต
2.	การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายด้วยกัน หรือบีทูบี (Business-to-Business :
B-to-B) คือ ประเภทที่ผู้ประกอบการธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างกันผ่าน
ระบบอินเทอร์เน็ต
3.	การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับรัฐบาล หรือบีทูจี (Business-to-
Government : B-to-G)คือประเภทที่ผู้ประกอบการติดต่อกับหน่วยงานราชการ
เพื่อท�ำการซื้อขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
4.	การค้าขายออนไลน์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล หรือจีทูจี (Government-to-
Government:G-to-G)คือประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
ติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่งเพื่อท�ำการซื้อขายสินค้ากัน
ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
5.การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ซื้อหรือซีทูซี(Consumer-to-Consumer:
C-to-C) คือ ประเภทที่ผู้ซื้อประกาศขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อท�ำการ
ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้ออีกรายหนึ่ง เช่น การซื้อขายผ่าน www.ebay.com,
www.dealfish.com เป็นต้น
บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง
29
เนื่องจากองค์ประกอบของe-Commerce
คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย และตัวสินค้า ดังนั้น ปัจจัยที่
ส่งผลให้ e-Commerce ประสบความส�ำเร็จคือ
การที่ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงสินค้าของผู้ขายได้ และ
ผู้ซื้อต้องไว้วางใจผู้ขาย
การท�ำการตลาดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะท�ำให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงข้อมูล
สินค้าของผู้ขายได้ ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การตลาดประสบผลส�ำเร็จคือ การ
ก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายการค�ำนึงถึงสภาวะแวดล้อมของตลาดสินค้าและบริการ
การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายการก�ำหนดราคาการส่งมอบสินค้า
และเทคโนโลยีที่เหมาะสมส�ำหรับ e-Commerce นั้น การท�ำการตลาดที่
เหมาะสมควรเป็นรูปแบบการตลาดออนไลน์หรือe-Marketingซึ่งเป็นส่วนผสม
แนวความคิดทางการตลาดและทางเทคนิครวมเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งด้านการ
ออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การโฆษณาและการขาย
(Advertising and Sales) เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรมการตลาดออนไลน์เช่นSearchEngineMarketing,
e-MailMarketing,AffiliateMarketing,ViralMarketingเพื่อที่จะสร้าง
มูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถ
สนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรม
ของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ส่งผลต่อการเพิ่ม
และรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอ�ำนวย
ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
30
ความมั่นใจของผู้ซื้อต่อผู้ขาย คือการที่ผู้ซื้อมั่นใจว่าเมื่อตนได้ท�ำการ
จ่ายค่าสินค้าแล้วจะต้องได้รับสินค้าในลักษณะและคุณภาพเดียวกันกับที่ได้เห็นผ่านทาง
เว็บไซต์ รวมทั้งข้อมูลของผู้ซื้อจะมีการน�ำไปใช้ตามความจ�ำเป็นตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
ดังนั้นการที่ผู้ซื้อจะมีความมั่นใจได้นั้นขึ้นอยู่กับความมั่นคงปลอดภัยของระบบและประวัติ
พฤติกรรมของผู้ขายเป็นหลักการเสริมสร้างความมั่นใจต่อผู้ซื้อนั้นสามารถท�ำได้โดยการ
พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เทคโนโลยีที่เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งการออกแบบ
เว็บไซต์ให้น่าสนใจและดึงดูดใจลูกค้า ที่ส�ำคัญคือการด�ำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และ
มีธรรมาภิบาล
จะเห็นได้ว่าการท�ำ e-Commerce นั้นมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปในส่วน
ที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้พบหน้ากันจริง ดังนั้น การจะประสบความส�ำเร็จในช่องทางนี้ได้
ก็คือการที่เราสามารถท�ำให้ผู้ซื้อรู้สึกได้ว่า การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ต่างกับ
การซื้อสินค้าที่หน้าร้านจริง ผู้ซื้อสามารถติดต่อสอบถามและพูดคุยกับผู้ขายได้เหมือน
การพูดคุยที่หน้าร้านจริง ท�ำให้ผู้ซื้อมั่นใจและพร้อมจะซื้อสินค้า
บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง
31
จากการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยปี 2557
ซึ่งจัดท�ำโดย ETDA หรือส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(องค์การมหาชน) พบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยนั้นเปลี่ยนไป
จากแต่ก่อนมาก โดยคนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นถึงกว่า
ร้อยละ70และประมาณร้อยละ10ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า100ชั่วโมง
ต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเคยซื้อสินค้าและ
บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวเลขนี้คงพอท�ำให้มองเห็นถึงอนาคตของ
การท�ำ e-Commerce ว่าจะได้รับความนิยมจากผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น
อย่างแน่นอน เนื่องจากจุดเด่นที่ส�ำคัญคือ การที่สามารถท�ำการ
ค้าขายได้ตลอดเวลา อีกทั้งลูกค้าก็ยังสามารถเลือกซื้อสินค้า
ได้ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน โดยเมื่อท�ำการวิเคราะห์จุดแข็งและ
จุดอ่อน e-Commerce โดยใช้เทคนิค SWOT (Strength-
Weakness-Opportunity-Threat) สามารถสรุปได้ ดังนี้
2.2 ลัดเลาะแวดวง
			อีคอมเมิร์ซไทย
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
32
จากการวิเคราะห์ข้างต้น ท�ำให้เห็น
ได้ว่า e-Commerce ได้สร้างโอกาสแก่ผู้ขาย
รวมทั้งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม
แต่ถ้าหากพิจารณาถึงจุดอ่อนแล้ว e-Commerce
ก็ยังมีข้อจ�ำกัดที่ส�ำคัญคือการโต้ตอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายยังมีน้อยอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ
ท�ำธุรกิจในลักษณะที่ผู้ซื้อเลือกซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่มี
โอกาสได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้ตอบกับเจ้าของร้านได้เลยในทางตรงกันข้ามเจ้าของร้านเอง
ก็ไม่สามารถถามถึงความคิดเห็นใดๆด้วยดังนั้นแนวโน้มการพัฒนาในอนาคตจะเป็นการท�ำ
e-Commerce ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อโต้ตอบกันได้ อย่างการท�ำ e-Commerce
ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และ
เพิ่มโอกาสการตรวจสอบและร้องเรียนปัญหาจากผู้ซื้อถึงผู้ขายและผู้ซื้อคนอื่นๆด้วย ท�ำให้
การท�ำ e-Commerce ในอนาคตจะต้องไม่มีการคดโกงใดๆ เพื่อที่ผู้ซื้อจะชี้แจงและเผยแพร่
ข้อมูลไปยังผู้ซื้อคนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการพัฒนาของ e-Commerce ในอนาคตจะต้องเกิดขึ้น
อย่างแน่นอน และจะเป็นการค้าขายที่มีการโต้ตอบมากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้การซื้อสินค้า
บนอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างจากการซื้อสินค้าที่มีหน้าร้านค้าแต่อย่างใด
Weakness (จุดอ่อน)
•	การโต้ตอบระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อมีน้อย
•	ผู้ซื้อไม่สามารถทดลองหรือสัมผัสสินค้าจริงได้
•	อัตราค่าขนส่งสูงในบางพื้นที่ เช่น การส่งสินค้า
ระหว่างประเทศ
Strength (จุดแข็ง)
• สามารถด�ำเนินธุรกิจได้ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน
• สามารถด�ำเนินธุรกิจได้จากทุกพื้นที่
• ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงสินค้าได้รวดเร็วและ
	 มีประสิทธิภาพ
• สามารถลดต้นทุนในการด�ำเนินธุรกิจได้
• สามารถลดจ�ำนวนพนักงานลงไปได้
• สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย
Threat (อุปสรรค)
•	การตรวจสอบการด�ำเนินธุรกิจท�ำได้ยาก ท�ำให้
มีโอกาสที่ผู้ขายรวมทั้งผู้ซื้ออาจจะท�ำธุรกรรม
อย่างไม่ซื่อสัตย์หรือผิดกฎหมายได้
Opportunity (โอกาส)
•	จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าในประเทศไทย
มีถึง 10.2% ในปี พ.ศ. 2556
•	เทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยมีการพัฒนา
ปรับปรุงดีขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ลูกค้ามีความมั่นใจ
มากยิ่งขึ้น
•	ภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
เช่น โครงการ Free-WiFi ท�ำให้ลูกค้าสามารถ
เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง
33
แม้ว่าปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตของไทย
อาจยังไม่สามารถเข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ แต่ด้วย
การสนับสนุนที่ดีของหน่วยงานภาครัฐท�ำให้ระบบ
อินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลถึง
โอกาสในการเติบโตขึ้นของ e-Commerce ไทย
นอกจากการพัฒนาของระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆก็ส่งผลต่อโอกาสที่ดี
ของการเติบโตและพัฒนาของe-Commerceเช่นกัน
2.3 พลิกเกมการตลาด
		ผ่านช่องทางออนไลน์
สังเกตสัญลักษณ์ https เพื่อเกิดความ
มั่นใจในการเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์
อย่างเช่นการพัฒนาระบบDigitalSignatureหรือเทคโนโลยีSSLที่ช่วยในการเข้ารหัสข้อมูล
อย่างมั่นคงปลอดภัยท�ำให้ไม่ถูกขโมยข้อมูลโดยผู้ไม่หวังดีจากการท�ำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
ส่งผลต่อความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตของผู้ซื้อได้และท�ำให้จ�ำนวนของผู้ซื้อ
บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นตามไปด้วย
โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
และเป็นที่นิยมจากผู้ใช้มหาศาลเพราะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
เพราะทุกคนสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งค�ำถามในเรื่อง
ต่างๆ เพื่อให้คนที่สนใจหรือมีค�ำตอบได้ช่วยกันตอบค�ำถามหรือเสนอความคิดเห็น ซึ่งจาก
การส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยปี2556โดยETDAพบว่ามากกว่าร้อยละ20*
เคยใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการซื้อสินค้า ชี้ให้เห็นได้ว่าเป็นช่องทางส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้ขายสามารถ
เข้าถึงผู้ซื้อได้
พฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก
ของไทย พ.ศ. 2556
	 *อ้างอิงข้อมูลจากรายงานผลการส�ำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตใน
ประเทศไทย พ.ศ. 2556 โดยส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ
มหาชน) หรือ สพธอ.
พูดคุย แบ่งปันความรู้
อัพเดตข้อมูลข่าวสาร
อัพโหลด แชร์รูปภาพ/วิดีโอ
หาเพื่อนใหม่/เก่า
ร้อยละ
0 10 20 30 40 50 60 70 80 90
85.7
64.6
60.2
21.8
19.7
3.6อื่นๆ
ซื้อสินค้า/บริการ
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
34
คุณสมบัติที่ดีของโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ส่งผล
ต่อโอกาสอันดีของอีคอมเมิร์ซทั้งในส่วนของผู้ซื้อและ
ผู้ขายผู้ซื้อสามารถใช้ช่องทางนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ขาย ซึ่ง
ข้อมูลที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้จะส่งผลให้
ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้นรวมทั้งยังสามารถ
เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อได้มากขึ้นด้วย ในส่วนของผู้ขาย
สามารถใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเช่นFacebook,Twitterหรือ
Instagramเพื่อเปิดตลาดการค้าออนไลน์ได้ทันทีเนื่องจาก
สามารถสมัครและใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีความรู้ทาง
ด้านอินเทอร์เน็ตมากนัก นับเป็นช่องทางส�ำคัญที่จะช่วย
ให้ผู้ประกอบการที่ปกติท�ำธุรกิจแบบออฟไลน์ (Offline)
ได้เปิดตลาดออนไลน์ได้นอกจากนี้การเกิดขึ้นของโซเชียล
เน็ตเวิร์กส่งผลให้สามารถท�ำการตลาดในรูปแบบใหม่หรือ
การตลาดยุค 3.0 หรือยุค Values-driven Marketing
ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยมไม่ได้มองผู้ซื้อเป็นเป้านิ่ง
ที่ถูกถาโถมด้วยสื่อการตลาดแต่มองในฐานะคนที่มีความคิด
จิตใจและจิตวิญญาณ ทั้งนี้ผู้ซื้อไม่เพียงเป็นฝ่ายตั้งรับ
ในการสื่อสารทางการตลาด แต่สามารถแสดงออกถึง
ความคิดเห็น (Two-Way Communication) ของตน
ตลอดจนมีส่วนร่วมไม้ร่วมมือด้วยจิตอาสาในการพัฒนา
สินค้าหรือบริการให้ตอบสนองความต้องการของตนให้ดี
ยิ่งขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยุคเว็บก่อนหน้า
ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว(One-WayCommunication)
บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง
35
การที่ผู้ซื้อสามารถแสดงความคิดเห็นไปสู่สาธารณะโดย
โน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของผู้ซื้อรายอื่นๆให้คล้อยตามก็เหมือน
กับการที่เพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ค�ำแนะน�ำกับเพื่อน
ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อและการตัดสินใจได้มากกว่าการท�ำการตลาด
ผ่านทางสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ดังนั้น โซเชียล
เน็ตเวิร์กจึงเป็นเทคโนโลยีที่ท�ำให้ความเห็นของผู้ซื้อแพร่หลาย
กว้างขวางและทรงพลังมากขึ้น ซึ่งผู้ขายสามารถน�ำความเห็น
เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการท�ำการตลาด หรือวางแผนการท�ำ
ธุรกิจต่อไป
จุดหลักส�ำคัญของการตลาดยุค3.0นั้น ผู้ซื้อไม่ได้เป็น
เพียงฝ่ายตั้งรับแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถสื่อสารโต้ตอบ
กลับไปยังผู้ขายรวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อด้วยกันเอง
โซเชียลเน็ตเวิร์กจึงเป็นเครื่องมือส�ำคัญของผู้ซื้อที่จะสะท้อนถึง
ความต้องการที่แท้จริงของตนรวมไปถึงลึกเข้าไปถึงจิตวิญญาณ
ที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมสามารถพัฒนาไปในทางที่
ดีขึ้นได้
การซื้อขายออนไลน์
จะเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
พร้อมเปลี่ยนธุรกิจหน้าร้าน...
สู่อีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบหรือยัง?
สรสิช เนตรนิล
หนุ่มอารมณ์ดี เชี่ยวชาญโซเชียล
พร้อมยกระดับธุรกรรมออนไลน์ของประเทศ @ ETDA
กัญญาณัฐ เปรมแสง
เลขานุการ CEO สวย เก่ง
ท�ำอีคอมเมิร์ซเป็นงานอดิเรก @ ETDA
อีคอมเมิร์ซ
03
ธุรกิจรุ่งถ้ามุ่ง...
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
38
ก่อนที่จะเริ่มต้นท�ำ e-Commerce ต้องเข้าใจถึง
องค์ประกอบต่างๆ ที่จ�ำเป็น เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมส�ำหรับ
การท�ำธุรกิจต่อมาคือการเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆในการด�ำเนินงาน
เพื่อจะได้วางแผนงานให้ดีก่อนที่จะเริ่มต้นท�ำธุรกิจ สิ่งส�ำคัญในการ
วางแผนงานคือ การท�ำความเข้าใจกับลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร
เพื่อหาวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการด้วยการตั้งค�ำถาม 6
ข้อ (5W+1H) ซึ่งถ้าตอบค�ำถามทั้งหมดได้ และสามารถวางแผน
ประมาณการด้านรายได้ รายจ่าย และก�ำไรขาดทุนของธุรกิจ
ในแต่ละเดือนและทั้งปีออกมาได้แล้วข้อมูลทั้งหมดนี้จะยิ่งช่วยให้
ตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เราจะเริ่มต้นมีความเป็นไปได้
มากน้อยแค่ไหน
บทที่3ธุรกิจรุ่งถ้ามุ่ง...อีคอมเมิร์ซ
39
หากมีการเตรียมพร้อมที่ดีก็จะท�ำให้มีโอกาสได้รับผลประกอบการที่ดีเช่นกัน
ส�ำหรับองค์ประกอบที่จ�ำเป็นส�ำหรับการท�ำอีคอมเมิร์ซมี ดังนี้
	เว็บไซต์ (Website) หรือร้านค้าออนไลน์ที่สามารถประกาศขายสินค้าได้
อาจเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่ไปฝากไว้กับเว็บไซต์อื่นหรือจะมีเว็บไซต์เป็น
ของตนเองก็ได้บางครั้งจะเรียกเว็บไซต์ของเราว่าระบบหน้าร้านซึ่งควรออกแบบ
ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดใจแก่ผู้เยี่ยมชมโดยอาจใช้เทคนิคเรียกลูกค้าง่ายๆ
จากการคิดค�ำส�ำคัญที่โดนใจลูกค้าเช่น“ลดราคา”หรือ“Sale”เป็นต้นตัวอย่าง
รูปด้านล่าง(www.tohome.com)ใช้ค�ำว่า“SuperDeals”เพื่อเชิญชวนลูกค้า
อีกทั้งมีการแสดงรูปภาพสินค้าที่ชัดเจนก็สามารถเรียกความสนใจได้ไม่น้อย
นอกจากนี้หากสังเกตที่เมนูด้านซ้ายจะเห็นว่ามีการจัดแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่าง
ชัดเจนท�ำให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายนับเป็นสิ่งส�ำคัญอีกประการหนึ่ง
ที่ท�ำให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้บ่อยขึ้นเนื่องจากความสะดวกเหล่านี้นั่นเอง
3.1 องค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ
Homepage ของ www.tohome.com
จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์
40
	ตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) เป็นระบบที่ให้ลูกค้าคลิก
เพื่อซื้อสินค้าบนหน้าเว็บ ซึ่งระบบตะกร้าสินค้าจะบันทึกข้อมูลสินค้า
และจ�ำนวนสินค้าที่เราเลือกทั้งหมดไว้ก่อนจะท�ำการจ่ายค่าสินค้า
เปรียบเหมือนตะกร้าจริงที่ใช้ใส่สินค้าทั้งหมดที่เลือกในร้านก่อนจะ
จ่ายค่าสินค้านั่นเอง
	ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการรับช�ำระเงิน เป็น
ระบบค�ำนวณเงินและจ่ายค่าสินค้าที่มั่นคงปลอดภัย โดยส่วนใหญ่
จะเป็นการรับจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม ควรจัดเตรียม
รูปแบบการรับช�ำระเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
ของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร
อิเล็กทรอนิกส์ การโอนเงินผ่านตู้ ATM เป็นต้น
	ระบบการจัดส่งสินค้า เป็นการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าหลังช�ำระเงิน
เรียบร้อยแล้วซึ่งควรจะให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่
ลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าว่าจะได้รับสินค้าอย่างแน่นอนเช่นมีระบบที่
ช่วยให้ลูกค้าติดตามสถานะของสินค้าว่าอยู่ที่ใดแล้ว และจะส่งถึงมือ
ลูกค้าตรงเวลาหรือไม่
ระบบ Track & Trace ของไปรษณีย์ไทย
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP
eCommerce StartUP

More Related Content

Similar to eCommerce StartUP

การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลง
การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลงการตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลง
การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลงKai Janghoo
 
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์asdasd สถิตแสงบนดวงจันทร์
 
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...Software Park Thailand
 
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์Khonkaen University
 
DAAT DAY : Digital Trend Spotting 2016 & Implication For Brand
DAAT DAY :  Digital Trend Spotting 2016 & Implication For BrandDAAT DAY :  Digital Trend Spotting 2016 & Implication For Brand
DAAT DAY : Digital Trend Spotting 2016 & Implication For BrandDAAT_TH
 
Industrial 4.0 For OTOP SME Startup
Industrial 4.0 For OTOP SME StartupIndustrial 4.0 For OTOP SME Startup
Industrial 4.0 For OTOP SME StartupWeera Chearanaipanit
 
การโฆษณาผ่าน Online Rich Media
การโฆษณาผ่าน Online Rich Mediaการโฆษณาผ่าน Online Rich Media
การโฆษณาผ่าน Online Rich Medianattatira
 
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้Adun Nanthakaew
 
Digital brand experience people, content and technology
Digital brand experience people, content and technologyDigital brand experience people, content and technology
Digital brand experience people, content and technologymarsloner
 
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing Khonkaen University
 
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ DrDanai Thienphut
 
Creative use of social media and earning money from online media
Creative use of social media and earning money from online mediaCreative use of social media and earning money from online media
Creative use of social media and earning money from online mediaTeetut Tresirichod
 

Similar to eCommerce StartUP (20)

Cyber security eCommerce
Cyber security eCommerceCyber security eCommerce
Cyber security eCommerce
 
การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลง
การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลงการตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลง
การตลาดและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด...ในวันที่โลกเล็กลง
 
Social Media Marketing
Social Media MarketingSocial Media Marketing
Social Media Marketing
 
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์
ความท้าทายใหม่ในยุคของดิจิตอลธุรกิจสิ่งพิมพ์
 
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...
Smart industry Vol. 18/2554 "Digital Magazine ความท้าทายใหม่ ในยุคดิจิตอลของส...
 
E Marketing
E MarketingE Marketing
E Marketing
 
Tipco Social Network Marketing V2 00
Tipco Social Network Marketing V2 00Tipco Social Network Marketing V2 00
Tipco Social Network Marketing V2 00
 
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
Social media marketing โดย ดร. ภิเษก ชัยนิรันดร์
 
DAAT DAY : Digital Trend Spotting 2016 & Implication For Brand
DAAT DAY :  Digital Trend Spotting 2016 & Implication For BrandDAAT DAY :  Digital Trend Spotting 2016 & Implication For Brand
DAAT DAY : Digital Trend Spotting 2016 & Implication For Brand
 
E commerce1
E commerce1E commerce1
E commerce1
 
Industrial 4.0 For OTOP SME Startup
Industrial 4.0 For OTOP SME StartupIndustrial 4.0 For OTOP SME Startup
Industrial 4.0 For OTOP SME Startup
 
Change management DBD 31 Aug 2016
Change management DBD 31 Aug 2016Change management DBD 31 Aug 2016
Change management DBD 31 Aug 2016
 
Changemanagementdbd310859 160830180440
Changemanagementdbd310859 160830180440Changemanagementdbd310859 160830180440
Changemanagementdbd310859 160830180440
 
การโฆษณาผ่าน Online Rich Media
การโฆษณาผ่าน Online Rich Mediaการโฆษณาผ่าน Online Rich Media
การโฆษณาผ่าน Online Rich Media
 
SME marketing 4.0 oweera
SME marketing 4.0 oweeraSME marketing 4.0 oweera
SME marketing 4.0 oweera
 
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้
Internet of Things เทรนอนาคต ที่ต้องรู้
 
Digital brand experience people, content and technology
Digital brand experience people, content and technologyDigital brand experience people, content and technology
Digital brand experience people, content and technology
 
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing
Slide ประกอบหนังสือ e-Commerce และ Online Marketing
 
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
 
Creative use of social media and earning money from online media
Creative use of social media and earning money from online mediaCreative use of social media and earning money from online media
Creative use of social media and earning money from online media
 

More from Electronic Transactions Development Agency (12)

Ict law-summary
Ict law-summaryIct law-summary
Ict law-summary
 
ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014ETDA annual report 2014
ETDA annual report 2014
 
ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012ETDA annual report 2012
ETDA annual report 2012
 
ETDA eTransactions 2013
ETDA eTransactions 2013ETDA eTransactions 2013
ETDA eTransactions 2013
 
ETDA ANNUAL REPORT 2013
ETDA ANNUAL REPORT 2013ETDA ANNUAL REPORT 2013
ETDA ANNUAL REPORT 2013
 
Cyber security articles 2012
Cyber security articles 2012Cyber security articles 2012
Cyber security articles 2012
 
Cyber threats alerts 2013
Cyber threats alerts 2013Cyber threats alerts 2013
Cyber threats alerts 2013
 
Cyber threat alerts 2011
Cyber threat alerts 2011Cyber threat alerts 2011
Cyber threat alerts 2011
 
Cyber threat alerts 2012
Cyber threat alerts 2012Cyber threat alerts 2012
Cyber threat alerts 2012
 
2013 ThaiCERT ANNUAL REPORT
2013 ThaiCERT ANNUAL REPORT2013 ThaiCERT ANNUAL REPORT
2013 ThaiCERT ANNUAL REPORT
 
Thailand Internet User Profile 2013
Thailand Internet User Profile 2013Thailand Internet User Profile 2013
Thailand Internet User Profile 2013
 
The Intra-ASEAN Secure Transactions Framework Report
The Intra-ASEAN Secure Transactions Framework ReportThe Intra-ASEAN Secure Transactions Framework Report
The Intra-ASEAN Secure Transactions Framework Report
 

eCommerce StartUP

  • 1. ETDA : e-Commerce Pocket Series จุดประกาย เถ้าแก่ออนไลน์ เส้นทางของเถ้าแก่ยุคใหม่ สู่ธุรกิจออนไลน์ที่มาแรง ในยุคดิจิทัล ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ท�ำได้แค่รู้วิธี สู่...
  • 2.
  • 3. 1 ใน ETDA e-Commerce Pocket Series เราปั้นหนังสือเล่มนี้เพื่อ “เถ้าแก่ยุคไอที นักธุรกิจหน้าใหม่ SMEs/OTOP” เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ ISBN 978-616-91910-7-0 สงวนลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2527 ห้ามคัดลอกเนื้อหา ภาพประกอบก่อนได้รับอนุญาต รวมทั้งดัดแปลงเป็นแถบบันทึกเสียง วิดีโอ โทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2557 สร้างสรรค์โดย ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคารเดอะไนท์ ทาวเวอร์ เลขที่ 33/4 ตึก B ชั้น 21 ถนนพระรามเก้า แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2123-1234 โทรสาร 0-2123-1200 www.etda.or.th จุดประกาย เถ้าแก่ออนไลน์สู่...
  • 4. ก�ำหนดทิศทาง & แนะน�ำ สุรางคณา วายุภาพ (แอน) ก�ำกับดูแล อรุณรุ่ง ธีระศักดิ์ (เอ) สรสิช เนตรนิล (กอล์ฟ) สรรค์สร้างเนื้อหา พายัพ ขาวเหลือง (ตั้ม) ปริญญา สุวรรณชินกุล (เก่ง) ทศพร โขมพัตร (โจ) ดูประเด็นกฎหมาย พิชญลักษณ์ ค�ำทองสุก (หยี) ดูแลกราฟิก ณัฐพงศ์ วรพิวุฒิ (เอ) นภดล อุษณบุญศิริ (เฟรม) ณัฐนัย รวดเร็ว (ฮอลล์) ร่วมแรงกันท�ำ สุรางคณา วายุภาพ ผอ.สพธอ. อรุณรุ่ง ธีระศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สรสิช เนตรนิล ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พายัพ ขาวเหลือง ผู้จัดการ ทีม e-Marketing ปริญญา สุวรรณชินกุล ผู้จัดการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ทศพร โขมพัตร Creative Content ทีมกราฟิก
  • 5. ค�ำน�ำ ทุกวันนี้ “มนุษย์เงินเดือน” จ�ำนวนมากอยากที่จะหลุดพ้น จากกรอบพันธนาการอันซ�้ำซากและก้าวไปสู่อิสรภาพของชีวิตด้วยการ มีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ใช่ว่าทุกคนจะท�ำได้เสมอไปเพราะการลงทุน คือ “ความเสี่ยง” ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ต้นทุน สินค้า และอีกจิปาถะ แล้ว “ต้องท�ำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้?” e-Commerce...หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การค้าขายสินค้าและบริการทางออนไลน์เป็นหนึ่งในค�ำตอบสุดท้ายที่ ใครหลายคนอาจอยากลองท�ำกันดูสักตั้ง ดังเช่นเถ้าแก่ออนไลน์รุ่นใหม่ ที่น�ำมาแชร์ประสบการณ์เล่าสู่กันฟังในหนังสือเล่มนี้
  • 6. “จุดประกาย สู่...เถ้าแก่ออนไลน์ e-Commerce StartUP!” เป็น 1 ใน 3 ของหนังสือชุด ETDA e-Commerce Pocket Series ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการท�ำธุรกรรมออนไลน์เน้นกลุ่มผู้ประกอบการSMEs/OTOP ของส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ทด้า) ที่จัดท�ำขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอีคอมเมิร์ซ ความส�ำคัญ ของการมีมาตรฐาน (Standard) และความมั่นคงปลอดภัย (Security) เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งกลุ่มที่ท�ำอยู่แล้วและกลุ่มที่คิดจะเริ่มต้น ได้น�ำไปเป็นแนวทางเข้าสู่ระบบการค้าออนไลน์ที่สามารถเพิ่มยอดขายหรือสร้างรายได้ ให้แก่ธุรกิจได้มากขึ้น หรือแม้แต่นักศึกษาที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ ก็สามารถ น�ำไปประกอบธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2558ซึ่งจะท�ำให้ผู้ประกอบการ มีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 600 ล้านคน หากสามารถแสวงหาโอกาสจาก ช่องทางออนไลน์นี้ หนังสือเล่มนี้นอกจากจะน�ำเสนอตัวอย่างแห่งความส�ำเร็จของเถ้าแก่ออนไลน์ผู้ใช้ ช่องทางอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิผลแล้วยังเล่าถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในหลักการที่ถูกต้องวิธีการท�ำที่เหมาะสมกับสินค้า/บริการของตน การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายและท�ำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกทั้ง ยังสอดแทรกเรื่องจรรยาบรรณของพ่อค้าแม่ขายออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จ ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วยนับเป็นเรื่องราวส�ำคัญของการใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซในการสร้างธุรกิจ ส�ำหรับเถ้าแก่ยุคไอทีรุ่นใหม่นั่นเอง สุรางคณา วายุภาพ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
  • 7. Contents บทที่ 1 : อีคอมเมิร์ซ…ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 8 1.1 LomoKen.com…ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้ 12 1.2 nauschadaporn.tarad.com…ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้ 16 1.3 jehjong.com…เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์ 19 1.4 Jekmeng-noodle.com...การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว ไม่น่าเชื่อแต่ก็เป็นไปแล้ว 21 บทที่ 2 : อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 24 2.1 รู้จักมักจี่ “อีคอมเมิร์ซ” 27 2.2 ลัดเลาะแวดวงอีคอมเมิร์ซไทย 31 2.3 พลิกเกมการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ 33 บทที่ 3 : ธุรกิจรุ่งถ้ามุ่ง...อีคอมเมิร์ซ 36 3.1 องค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ 39 3.2 Start UP! อีคอมเมิร์ซ...ง่ายนิดเดียว 42 3.3 โมบายคอมเมิร์ซ...เทรนด์รุ่งพุ่งแรง 52 3.4 คุยเฟื่องเรื่องภาษีอีคอมเมิร์ซ 55
  • 8. Contents บทที่ 4 : เคล็ด (ไม่) ลับ...การตลาดออนไลน์ 58 4.1 รู้เรา…สเต็ปเทพวางแผนการตลาดออนไลน์ 61 4.2 รู้เขา...ศึกษาคู่แข่งออนไลน์ท�ำได้แค่คลิก 76 4.3 รู้รอบ…เทคนิคค้าขายออนไลน์ 79 4.4 รู้มั้ย? เอสเอ็มอีก็โกอินเตอร์ได้ 90 บทที่ 5 : อีคอมเมิร์ซกับยุคเว็บ 3.0 92 5.1 วิธีการสื่อสารให้สินค้าน่าบอกต่อ 95 5.2 โหนกระแสสื่อสู่สาธารณะ 96 5.3 จุดประกายคิดธุรกิจใหม่ 97 5.4 ใส่ใจลูกค้าตลอดเวลา 99 บทที่ 6 : จรรยาบรรณเถ้าแก่ออนไลน์ 100 6.1 ข้อมูลลูกค้า…รักษายิ่งชีพ 102 6.2 ทรัพย์สินทางปัญญา…สมบัติล�้ำค่าที่ต้องรักษา 105 6.3 กลโกงออนไลน์…รู้หลบเป็นหลีก 106 6.4 ภัยคุกคามไซเบอร์…รู้รอดก็มั่นคงปลอดภัย 109 เส้นทางสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ e-Commerce StartUP! 111 เกี่ยวกับ ETDA 112
  • 9. วิทยา หงส์พิทักษ์พงศ์ หนุ่มมาดกวน มุ่งมั่นผลักดัน e-Commerce @ ETDA พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไปแล้ว
  • 11. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 10 SUCCESS STORIES 1.1 LomoKen.com… ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้ 1.2 nauschadaporn.tarad.com… ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้ 1.3 jehjong.com…เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์ 1.4 Jekmeng-noodle.com... การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว ไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นไปแล้ว
  • 12. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 11 ...เสียงนาฬิกาปลุก ผ่านสมาร์ตโฟน ที่ตั้งเวลาไว้ดังขึ้นเป็นจังหวะ เพื่อบอกให้เจ้าของลุกขึ้น จากที่นอนนุ่มๆ ผ้าห่มอันแสนอบอุ่น และพร้อมเริ่มต้น สู่การท�ำงานวันใหม่ แต่แล้ว! ก็เอื้อมมือกดปิดโทรศัพท์ และคลุมโปงนอนต่อ *_* นี่คงเป็นอาการทั่วไปของเหล่ามดงานที่ต้องตื่นแต่เช้าฝ่ารถติด ไปท�ำงานมีเวลาพักกลางวันครั้งละ1ชั่วโมงกลับมาท�ำงานต่อเพื่อรอ เวลากลับบ้านไปพบกับครอบครัวอันเป็นที่รักในตอนเย็นจะมีเวลาบ้าง ก็เฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ท�ำให้ไม่แปลกเลย ที่ผู้คนเหล่านี้มักปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นจากพันธนาการนี้ และก้าวข้ามไปสู่อิสรภาพของชีวิตด้วยการมีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่นั่นก็ใช่ว่าทุกคนจะท�ำได้เสมอไป... เพราะการลงทุนคือความเสี่ยง ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ต้นทุนสินค้า และอีกจิปาถะ ค�ำถามต่อมาคือ… ต้องท�ำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้? “e-Commerce” จึงเป็นหนึ่งในค�ำตอบสุดท้ายที่ใครหลายคนอาจอยาก จะลองท�ำกันดูสักตั้ง ดังเช่นเจ้าของธุรกิจตัวอย่างที่น�ำมาเล่าสู่กันฟัง ก็เป็นผู้มี ความสามารถในการใช้ช่องทางนี้ไปสู่ความส�ำเร็จลองมาติดตามเรื่องราวที่ตื่นเต้น ของพวกเขาเหล่านี้เพื่อจุดประกายไอเดียใหม่ๆ กันได้จากบรรทัดนี้เป็นต้นไป
  • 13. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 12 “การท�ำการค้าออนไลน์ไม่ต้องคิดหนักเลยค่ะ เพราะแทบไม่มีความเสี่ยงเลย แค่มีความตั้งใจและท�ำในสิ่งที่ชอบ รับรองว่าประสบความส�ำเร็จได้ไม่ยาก มีคนอีกมากที่คิดจะท�ำการค้าออนไลน์ หากเริ่มวันนี้ก็จะน�ำคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ” คุณกรณิกา จิตรประมุท เจ้าของเว็บไซต์ LomoKen.com 1.1 LomoKen.com... ธุรกิจกล้องโลโม่ เรียนด้วยก็รวยได้ นักธุรกิจที่ประสบความส�ำเร็จทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความกล้าที่จะ เริ่มต้น ยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าไหร่โอกาสที่ผู้คนจะจดจ�ำและรับรู้ในสิ่งที่ท�ำก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เท่านั้น โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่อินเทอร์เน็ตได้มีบทบาทในธุรกิจอย่างมาก เนื่องจาก เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด หากต้องการประสบความส�ำเร็จ จ�ำเป็นต้องอาศัยความกล้าที่จะเริ่มต้นเพราะถ้ามัวแต่คิดว่า“เดี๋ยวจะท�ำ”อย่างไรก็ไม่ส�ำเร็จ อยู่ดี เพราะระหว่างค�ำว่า “เดี๋ยวจะท�ำ” กับ “ลงมือท�ำ” ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันสิ้นเชิง เหมือนกับตัวอย่างของผู้กล้าที่ก้าวเข้ามาในวงการ e-Commerce ทั้งๆ ที่ยังเป็นแค่ นิสิตนักศึกษา แต่ก็สามารถสร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว และประสบความส�ำเร็จ ในการสร้างธุรกิจที่ตัวเองรัก
  • 14. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 13 คุณกรณิกา จิตรประมุท หรือคุณเอม ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของธุรกิจกล้องโลโม่ ที่เริ่มจากการสั่งซื้อกล้องทาง ออนไลน์มาใช้เองในวิชาที่เรียน เล่าว่า “ตอนปี 3 มีโอกาสได้เรียนวิชาถ่ายภาพ ล้างฟิล์ม จึงหาซื้อกล้องฟิล์มเพื่อใช้ในการเรียน ตอนนั้นเพื่อนๆ ใช้กล้องโลโม่กัน ก็ไม่ค่อยรู้จัก จึงลองหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ และได้เจอร้านขายกล้องโลโม่ บนอินเทอร์เน็ตจึงลองซื้อมาใช้ดู 1 ตัว หลังจากนั้นก็เริ่มสนใจเข้าดูเว็บไซต์ทุกวัน เพื่อมองหากล้องตัวที่ 2 วันหนึ่งมีคนน�ำกล้องโลโม่มาขายแบบลดราคา แบบว่า ถูกมากๆ แค่ 2 ตัวเท่านั้น ก็เลยเหมามาหมด แล้วน�ำมาขายต่อบนเว็บไซต์ ลองไป โพสต์ตามกระทู้ต่างๆ ไม่ถึงอาทิตย์ก็ขายได้หมด มีลูกค้าทั้งจากกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัดจากนั้นก็เริ่มน�ำเข้ากล้องโลโม่จากต่างประเทศและลงมือเปิดร้านค้าออนไลน์ อย่างจริงจังภายใต้เว็บไซต์ที่ชื่อ www.LomoKen.com” e-Commerce เป็นการท�ำธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่สามารถเปิดร้าน ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความที่คุณเอมยังเป็นนิสิตอยู่ในขณะนั้น ท�ำให้ไม่มีเวลา และมีทุนไม่มากนักจึงตัดสินใจใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้า“ตอนนั้นยัง เรียนอยู่เลยไม่มีเวลาที่จะเปิดหน้าร้านร้านค้าออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะ กับเราที่ไม่ค่อยมีเวลาและมีเงินลงทุนไม่มาก ตอนลองขายครั้งแรกก็มีลูกค้า ต่างจังหวัดด้วย มันก็เป็นข้อดีเพราะลูกค้าทั่วประเทศ จะสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าเราได้ แล้วร้านก็เปิดได้ 24ชั่วโมงลูกค้าจะเข้าถึงร้านเราได้ทุกที่ทุกเวลา แต่เราไม่ต้องเฝ้าร้านอยู่ตลอดเวลา”
  • 15. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 14 เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ใหม่ๆเป็นธรรมดาที่ยอดขายยังมีไม่มากเพราะลูกค้า ยังไม่เชื่อมั่น แต่คุณเอมก็มีวิธีที่ท�ำให้ลูกค้าเชื่อถือได้อย่างรวดเร็ว “ยอมรับเลยว่า ช่วงแรกยอดขายยังไม่มาก ร้านเรายังใหม่ลูกค้ายังไม่วางใจเรา กลัวว่าจะโดนโกงบ้าง หรือสินค้าไม่ได้คุณภาพบ้าง ก็พยายามสร้างความน่าเชื่อถือโดยเอาใจใส่ลูกค้า ตอบอีเมลเร็ว อัพเดตร้านทุกวัน ท�ำให้ลูกค้ารู้สึกเชื่อถือและตัดสินใจซื้อสินค้ากับร้าน ยิ่งมีผลตอบรับดี ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ร้านเราเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นค่ะ” ในธุรกิจทุกประเภทต้องมีส่วนที่ยาก แต่คุณเอมก็ผ่านจุดนี้ไปได้ด้วยความตั้งใจ “ส่วนที่ยากส�ำหรับการขายของออนไลน์คือ จะท�ำอย่างไรให้คนเขาเชื่อใจและไว้ใจเราให้เขา มั่นใจได้ว่าสั่งสินค้ากับเราได้ของแน่ๆ ไม่มีการ โกง เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยจ�ำนวนมาก ยังไม่ไว้ใจและไม่คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าแบบ ออนไลน์ ส�ำหรับงานส่วนอื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความอดทนและตั้งใจกับร้านค้า ออนไลน์ของเราค่ะ” หัวใจส�ำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความ ไว้วางใจคือ “การส่งมอบสินค้า” คุณเอมได้ แก้ปัญหาอย่างตรงจุด แถมยังช่วยสร้างความ ไว้วางใจให้แก่ลูกค้าเก่าและใหม่โดย “ก่อนส่ง สินค้า ทางร้านจะแจ้ง Tracking Number ไว้ที่หน้าเว็บบอร์ดทุกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าเข้ามา ตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้าของตัวเองได้ และยังท�ำให้ลูกค้าใหม่ที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า พอเข้ามาเห็นตรงจุดนี้ ก็รู้สึกว่าเราโปร่งใสและ ซื่อสัตย์ ท�ำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น”
  • 16. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 15 คุณเอมได้ฝากถึงผู้ที่คิดอยากท�ำร้านค้าออนไลน์แต่ ยังไม่ได้ลงมือท�ำว่า “ส�ำหรับผู้ที่ก�ำลังคิดจะท�ำการค้าออนไลน์ ไม่ต้องคิดหนักค่ะ การท�ำการค้าออนไลน์ไม่ต้องคิดหนักเลย ค่ะ เพราะแทบไม่มีความเสี่ยงเลย แค่มีความตั้งใจและท�ำ ในสิ่งที่ชอบรับรองว่าประสบความส�ำเร็จได้ไม่ยากมีคนอีกมาก ที่คิดจะท�ำการค้าออนไลน์ หากเริ่มวันนี้ก็จะน�ำคนอื่นหนึ่ง ก้าวเสมอ” ด้วยความรักในสิ่งที่ท�ำและกล้าที่จะเริ่มต้นกับ สิ่งใหม่ ท�ำให้วันนี้สาวน้อยตัวเล็กๆ ที่ไม่เล็กในวงการค้าขาย ออนไลน์อีกต่อไป เมื่อผลตอบแทนที่เธอได้รับไม่ใช่เพียงแค่ ยอดขาย แต่เป็นรายได้ที่น�ำมาช่วยเหลือครอบครัวและ สร้างชื่อเสียงมาให้กับเธอตั้งแต่อายุยังน้อย
  • 17. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 16 ย้อนกลับไปหลายปีก่อนที่เมืองโคราช คุณณัฐชฎาภรณ์ เนาว์วัฒน์ หรือป้าซิ้มซึ่งจบเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับสามีที่มีอาชีพรับตัดชุด การแสดงชุดนักร้องชุดหางเครื่องหรือแม้แต่ชุดลิเก… ในเวลานั้นมีแค่จักรเย็บผ้าเพียงตัวเดียว คอยเที่ยว เดินเร่ขายชุดการแสดงตามโรงเรียนต่างๆและรับงาน ตัดชุดการแสดงจากร้านค้าต่างๆ อีกที หากร้าน เหล่านั้นมีงานที่ล้นหรือท�ำไม่ทันณเวลานั้นเรียกได้ว่า เป็นอาชีพที่ไม่ได้ท�ำเงินอะไรมากนัก และมีรายได้ ไม่พอใช้จ่าย จนกระทั่งเมื่อปี 2550 สามีของป้าซิ้ม เริ่มมีโอกาสรู้จักกับการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต 1.2 nauschadaporn.tarad.com... ชุดลิเกก็ยังขายออนไลน์ได้ และได้น�ำชุดการแสดงไปโชว์ใน nauschadaporn.tarad.com โดยในช่วงแรกๆ มีคน สั่งซื้อทีละชุดสองชุด ซึ่งเป็นลูกค้าจากจังหวัดล�ำปาง ป้าซิ้มกับสามีก็ดีใจมากแล้ว
  • 18. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 17 หลังจากนั้นก็เริ่มมีลูกค้าติดต่อผ่านหน้าเว็บไซต์เข้ามามากขึ้น เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเห็นภาพชุดการแสดงของป้าซิ้มจากเว็บไซต์ และราคาค่าชุดที่ค่อนข้างถูกมากเพียงแค่ 400 บาทต่อชุด และลูกค้า บางส่วนก็โทร.มาหาป้าโดยตรง บ้างก็มีการน�ำภาพชุดการแสดงที่ ต้องการให้ป้าตัดโพสต์ลงในเว็บบอร์ดเพื่อให้ตีราคา ซึ่งป้าก็ตอบลูกค้า ผ่านทางเว็บบอร์ดและอีเมลหากลูกค้าพอใจในราคาซึ่งส่วนใหญ่ก็พอใจมาก เพราะชุดการแสดงของป้าราคาถูกจริงๆ ลูกค้าก็จะโอนเงินให้ และป้า ก็จะเริ่มตัดชุดตามแบบที่ลูกค้าแจ้งมา และส่งไปให้ทางไปรษณีย์ หลังจากเปิดหน้าเว็บไซต์มาเพียงไม่กี่เดือน ลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้นตามมาจนตอนนี้มีลูกค้าเกือบทุกจังหวัดที่เคยสั่งซื้อไปแล้ว ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงยังมีลูกค้าที่เป็นคนไทยในต่างประเทศ เช่น สวีเดน เยอรมนี หรือแม้แต่บาห์เรน ติดต่อสั่งซื้อชุดการแสดงของป้าซิ้ม ผ่านเว็บไซต์อีกด้วย ป้าซิ้มเล่าว่า “สิ่งที่ลูกค้าประทับใจในการบริการคือ ความ ซื่อสัตย์และตรงเวลา” และลูกค้าหลายๆ คนมักจะเขียนชมป้าใน เว็บบอร์ดท�ำให้ลูกค้าใหม่ๆที่เห็นค�ำชมเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ ตัดชุดการแสดงของป้าซิ้มทันทีป้าซิ้มเล่าต่อว่า“ยังเคยมีลูกค้าจากเว็บไซต์ โอนเงินมาให้เป็นตัวเลขหลายหลัก โดยที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อนเลย”
  • 19. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 18 แต่เชื่อหรือไม่ ป้าซิ้มไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ เปิดก็ยังไม่เป็น แต่ป้าสามารถ ใช้เว็บไซต์ขายสินค้าออกไปทั่วโลกได้อย่างไรเบื้องหลังก็คือป้าให้สามีสร้างเว็บไซต์ ให้สามีพิมพ์ตอบเว็บบอร์ดและอีเมลทุกฉบับ โดยป้านั่งตอบอยู่ข้างๆ ช่างเป็น สามีที่น่ารักจริงๆ สิ่งที่ท�ำให้ป้าซิ้มประสบความส�ำเร็จได้ เกิดจาก... (1) มีเว็บไซต์เป็นของตนเองในการน�ำเสนอข้อมูลสินค้าให้ คนทั่วประเทศและทั่วโลกดูได้ (2) ใช้ Google ในค�ำค้นหาว่า “ชุดลิเก” “ชุดการแสดง” ได้ ท�ำให้มีคนเข้ามาที่เว็บไซต์เป็นจ�ำนวนมาก (3) พูดถึงกันในโลกอินเทอร์เน็ตมากมายส่วนใหญ่เป็นค�ำชม ท�ำให้คนกล้าและมั่นใจในการสั่งสินค้าทางเว็บไซต์ของป้า มากขึ้น (4) มีราคาชุดที่ถูกถึงถูกมากๆ จนท�ำให้คนพูดถึงและบอกต่อ เพื่อนๆ และคนรอบข้าง จากตัวอย่างการท�ำ e-Commerce ของ ป้าซิ้มท�ำให้รู้ว่าแม้เราจะใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างหรือข้อจ�ำกัดว่าจะไม่ประสบ ความส�ำเร็จในการค้าขายออนไลน์ ความกล้าใน การทดลองและเริ่มต้นสิ่งใหม่ต่างหาก จะช่วยให้ เราพบกับความส�ำเร็จได้อย่างไม่ยากเลย
  • 20. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 19 ร้านหมูทอดเจ๊จง เป็นร้านขายอาหารในลักษณะSMEs ที่ประยุกต์ใช้ Social Network เช่นFacebook,Twitterจนประสบ ความส�ำเร็จ นอกจากจะมีหมูทอด ที่รสชาติอร่อยแล้ว ยังมีบริการ “เติมข้าวฟรีไม่อั้น”เพื่อเอาใจลูกค้า ที่ส�ำคัญคือราคาถูกมากเมื่อเทียบกับ ร้านอื่นๆ จากราคาเริ่มต้นส�ำหรับ ขายเป็นถุงเป็นข้าวสวยพร้อมหมูทอด เพียง 17 บาทเท่านั้น 1.3 jehjong.com... เจ๊จงหมูทอดทวิตเตอร์ กลยุทธ์ฟรีไม่อั้นของเจ๊จงอาจจะดูเหมือนไม่มีก�ำไร หรือท�ำก�ำไร ได้น้อยแต่หากลองคิดดูดีๆจะพบว่าลูกค้าเหล่านี้จะมาอุดหนุนเจ๊จงแทบทุกวันและ ยังบอกต่อๆกันไปในเรื่องของรสชาติดีและความคุ้มค่าจึงไม่ต้องแปลกใจว่าหากเราไป ที่ร้านเจ๊จงจะพบว่ามีลูกค้ามาต่อคิวยาวเหยียด เพื่อซื้ออาหารทั้งกินในร้านและ กลับไปกินที่บ้านก�ำไรที่คิดว่าน้อยจึงไม่น้อยอีกต่อไปเนื่องจากลูกค้าซื้อซ�้ำอย่างสม�่ำเสมอ แม้มีลูกค้าเยอะอยู่แล้ว เจ๊จงก็ไม่หยุดคิดพัฒนากลยุทธ์การขาย โดยเพิ่ม บริการส่งถึงที่ (เดลิเวอรี่) โดยเฉพาะกับลูกค้าที่สั่งอาหารเป็นจ�ำนวนมาก ต้องการ ความคุ้มค่า รวมถึงรสชาติที่อร่อยเหมือนมากินที่ร้าน หรือการขยายพื้นที่ร้านเพื่อรองรับลูกค้าทั้งกลุ่มเดิม และกลุ่มใหม่ให้สามารถนั่งในร้านได้มากขึ้นจะเห็นได้ว่า เจ๊จงได้ใช้เทคนิคทางการตลาดอย่างเต็มที่แม้ไม่เคย ได้ศึกษาอย่างจริงจัง แต่เรียกได้ว่าเจ๊จงมีสายเลือด แห่งความเป็นผู้ประกอบการขนานแท้เลยทีเดียว
  • 21. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 20 ธุรกิจของเจ๊จงเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าออฟไลน์ขนานแท้แต่การเป็นแม่ค้า ที่มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการอยู่เต็มเปี่ยมท�ำให้เจ๊จงเปิดตัวเองด้วยการออก รายการ SME ตีแตก เพื่อเสนอความคิดความอ่านของตัวเอง และให้ผู้ที่มีความรู้ ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจของตนให้ก้าวหน้าขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เจ๊จงยังก้าวเข้าสู่ โลกไซเบอร์ด้วยการสร้างเว็บไซต์ www.jehjong.com ที่ท�ำแบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่มาก ภายใต้โครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์ ท�ำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา รวมไปถึงการเปิดตัวเข้าสู่โลกแห่งโซเชียลมีเดีย อย่าง www.facebook.com/JehJong และ www.twitter.com/jehjong การต่อยอดการตลาดในโซเชียลมีเดียนี้ท�ำให้เจ๊จงสามารถเข้าถึงลูกค้า ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เรียกได้ว่าเจ๊จงได้ใช้เทคนิคการท�ำ Social Commerce อย่างเต็มที่ กระทั่งปัจจุบันนี้ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก “เจ๊จงหมูทอด ทวิตเตอร์” อีกแล้ว
  • 22. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 21 นายธีรศานต์ สหัสสพาศน์ หรือคุณไอซ์ เจ้าของธุรกิจก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง ก๋วยเตี๋ยวเนื้อต้นต�ำรับเพชรบุรี ภายใต้สโลแกนร้านเก๋ๆ ว่า “หน้าไม่งอ รอไม่นาน” 1.4 Jekmeng-noodle.com... การตลาดออนไลน์กับร้านก๋วยเตี๋ยว ไม่น่าเชื่อแต่ก็เป็นไปแล้ว เจ๊กเม้งมาแล้วจ้า... “ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง” เป็นร้านเก่าแก่กว่า 50 ปี ในเมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บริเวณหน้าถนนเขาวังเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวและอาหารหลายอย่างจุดเด่นคือ มีการน�ำเอาสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบมาใช้ในการโปรโมตไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ www.jekmeng-noodle.com, Facebook, Twitter, Mobile, E-mail หรือแม้แต่ QR-Code…ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมล่ะ ช่องทางให้บริการออนไลน์ “ร้านเจ๊กเม้ง”
  • 23. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 22 ร้านก๋วยเตี๋ยวกับ “การตลาดเชิงรุก” เมื่อเข้ามานั่งในร้านภายในจะเปิดทีวีซึ่งมีวิดีโอ เพลงทันสมัยมีโลโก้ร้านเจ๊กเม้งอยู่ด้านล่างไว้ตลอด พร้อมกับมีภาพรายการอาหารจากเมนูของเจ๊กเม้ง เพื่อให้คนในร้านนั่งดูและสามารถเห็นรายการอาหาร อื่นๆ เพิ่มเติมเป็นการกระตุ้นและสื่อสารกับลูกค้า อยู่ตลอดเวลา ทีวีที่แสดงภาพอาหาร เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยอดเยี่ยม เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วจะมีแบบสอบถามว่าลูกค้าทานอาหารแล้วเป็นอย่างไรบ้าง รู้จักร้านจากช่องทางไหนและสิ่งประทับใจในร้านเจ๊กเม้งรวมถึงมีการขอข้อมูลลูกค้าเอาไว้ด้วย เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ซึ่งเป็นข้อมูลส�ำคัญที่ท�ำให้ร้านสามารถ “สื่อสารกลับไปหา ลูกค้าอีกครั้ง” ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย นอกจากนี้ ทางร้านยังท�ำเอกสารแผ่นพับขนาด ใหญ่ (มาก) แจกลูกค้าทุกคน ในแผ่นพับจะมีเมนูอาหารข้อมูลข่าวสารของร้านพร้อมช่องทาง การติดต่อที่น่าประทับใจคือหลังจากที่ลูกค้าออกจากร้านมาแล้วจะมีการส่งSMSไปที่มือถือ ลูกค้าเพื่อแทนค�ำขอบคุณ ใบปลิวเอกสารแจกลูกค้า แบบสอบถามความพึงพอใจ พร้อมขอข้อมูลลูกค้า อัลบั้มรูปลูกค้าตั้งโชว์ในร้าน เจ้าของร้านส่ง SMS ขอบคุณลูกค้า
  • 24. บทที่1อีคอมเมิร์ซ...ส�ำเร็จได้ด้วยมือเรา 23 และหากลูกค้ากลับถึงบ้านแล้วมีภาพถ่ายที่ร้านเจ๊กเม้งก็สามารถส่งภาพให้ร้าน ทางอีเมลเพื่อพิมพ์ภาพมาใส่ในอัลบั้มและวางโชว์อยู่ภายในร้าน นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์ ที่สร้างการบอกต่อ และท�ำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง มีส่วนร่วมกับร้านอีกด้วย จากการสื่อสารง่ายๆ ทั้งหมดที่บอกมา เป็นเครื่องมือที่คนไทยส่วนใหญ่นิยม ใช้กัน แต่ความเจ๋งของคุณไอซ์ คือสามารถน�ำมาประยุกต์กับธุรกิจของครอบครัวได้ เจ๋งเป้งไปเลย!ทุกท่านก็อาจเป็นอีกคนที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตอยู่แล้วอย่างพวกFacebook, Twitter และ “หลายๆ คนก็อาจจะใช้เวลาอยู่กับพวกเครื่องมือเหล่านี้ โดยไม่เกิด ประโยชน์กับตัวเองหรือธุรกิจ” ลองหันมามองดูตัวอย่างของร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง ที่คุณไอซ์เด็กหนุ่มคนหนึ่งเขาก็ใช้สิ่งเหล่านี้เหมือนกัน แต่สามารถประยุกต์ใช้ เพิ่มรายได้ และมูลค่าให้กับธุรกิจของครอบครัวได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้วเชื่อว่าคงได้ไอเดียอะไรบางอย่าง ทีนี้ก็ถึงตาคุณ แล้วล่ะว่า “จะน�ำเอาเทคโนโลยีต่างๆ ที่พวกเราใช้อยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์กับธุรกิจ ของตนเองได้อย่างไร?” ให้เวลาคิด 10 วินาทีแล้วค่อยอ่านบรรทัดถัดไป (เอ้า! อย่ามัวแต่อ่านสิ ให้คิดไม่ได้ให้อ่านนะจ๊ะ) คิดๆๆๆๆ เพราะหากไม่คิดเรื่องราวเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์กับตัวคุณเลย! ส�ำหรับคนที่คิดได้แล้วจะขอบอกว่าขั้นตอนที่ยากและท้าท้ายที่สุดก็คือ “การ ลงมือท�ำมันจริงๆ”ดังนั้นอย่ามัวคิดให้ปักลงไปเลยว่าจะเริ่มต้นท�ำมันวันไหน?หรือถ้า ง่ายที่สุด“ก็ท�ำมันซะเลยสิเดี๋ยวนี้”จะรอให้คนอื่นน�ำสิ่งที่เราคิดไปท�ำก่อนหรืออย่างไร ...ลงมือท�ำเลย! อัลบั้มรูปลูกค้าแบบออฟไลน์ อัลบั้มรูปลูกค้าแบบออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก 10...9...8...7...6...5...4...3...2...1...
  • 25. 1 ใน 8 คู่แต่งงานในอเมริกาพบกันทางอินเทอร์เน็ต 106 พันล้าน การค้นหาผ่านทางกูเกิลทุกเดือนเทียบกับปี 2006 แค่ 2.7 พันล้าน เฟซบุ๊กมีสมาชิก 1,000 ล้านคน เทียบได้กับประเทศใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย จำ�นวนปีที่สื่อเข้าถึงคนได้ 50 ล้านคน วิทยุ 38 ปี ทีวี 13 ปี อินเทอร์เน็ต 4 ปี ไอพอด 3 ปี และเฟซบุ๊กเพียง 2 ปี จำ�นวนอุปกรณ์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละปีคือ ปี 1984 จำ�นวน 1,000 ชิ้น ปี 1992 จำ�นวน 1,000,000 ชิ้น ปี 2008 สูงถึง 1,000,000,000 ชิ้น ทราบหรือไม่ ว่า... วิทยา หงส์พิทักษ์พงศ์ กับทุกวันบนโลกออนไลน์ @ ETDA
  • 27. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 26 ทุกวันนี้โลกออนไลน์ได้รับการพัฒนาไปมาก ท�ำให้มีบทบาทมากขึ้นกับหลายๆ กลุ่มผู้ใช้ ส�ำหรับ ผู้ท�ำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ก็ได้ รับประโยชน์จากการพัฒนาขึ้นมาของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถใช้ อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์สินค้า และธุรกิจรวมทั้งการค้าขายกับลูกค้าผ่านทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “e-Commerce” e-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การขายของออนไลน์ซึ่งเป็นแนวทางการท�ำธุรกิจยุคใหม่ที่สร้างโอกาสแห่งความส�ำเร็จ อย่างมาก โดยเฉพาะส�ำหรับธุรกิจ SMEs อย่างกลุ่มแม่บ้านที่ท�ำสินค้าหัตถกรรม ตามหมู่บ้านห่างไกล แม้สินค้าเหล่านั้นจะสวยงามและมีคุณภาพขนาดไหน ก็เป็น เรื่องยากที่จะน�ำสินค้าไปให้ถึงกลุ่มลูกค้าไกลๆ ได้ คงจะมีแต่ผู้ที่แวะเวียนมายังที่ หมู่บ้านเท่านั้น แต่ถ้าหากกลุ่มแม่บ้านนั้นมีความรู้ในการขายของออนไลน์ ก็จะ สามารถน�ำสินค้าเหล่านั้นไปยังกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก และลูกค้าก็สามารถสั่งซื้อ สินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจึงถือได้ว่าการขายของออนไลน์นั้น มีคุณประโยชน์กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเลยทีเดียว
  • 28. บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 27 2.1 รู้จักมักจี่ “อีคอมเมิร์ซ” “e-Commerce” คือการท�ำธุรกิจผ่านช่องทาง ระบบอินเทอร์เน็ต และด้วยการพัฒนาของระบบอินเทอร์เน็ตนี้เอง ท�ำให้ ผู้ประกอบการสามารถท�ำธุรกิจได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าปกติ หรือ สินค้าและบริการแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างการขายe-Bookปัจจุบันนี้e-Commerce ในไทยก�ำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องผู้ซื้อส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับการซื้อขาย ออนไลน์มากขึ้นด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความสะดวกสบายในการซื้อ การที่สามารถ เข้าถึงรายละเอียดสินค้าได้ง่าย ร้านค้าออนไลน์มักจะมีสินค้าให้เลือกครบถ้วน ท�ำให้ ไม่ต้องเดินทางออกไปนอกบ้านด้วยตนเอง ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2513 e-Commerce ได้เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกหลังจากที่ เริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที(ElectronicFundTransfer:EFT) ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบ EFT ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีดีไอ (Electronic Data Interchange : EDI) ซึ่งช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงิน อย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้นเช่นการส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับ ผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีกหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆเกิดขึ้น มากมาย ตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น เรื่อยไปจนถึงระบบที่ช่วยในการส�ำรอง ที่พักท�ำให้รูปแบบของธุรกิจที่สามารถซื้อขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มีจ�ำนวนมากขึ้น และเมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตมาถึงในปี พ.ศ. 2533 จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว e-Commerce ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตก็ได้เกิดขึ้น
  • 29. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 28 เหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ e-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็วคือ โปรแกรมสนับสนุน การค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาขึ้นมามากมาย เช่น ระบบการช�ำระเงินผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งที่มีคุณภาพสูง รวมถึงระบบ เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ.2537–2548 ก็ถือได้ว่า ระบบ e-Commerce เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว เห็นได้จาก การที่มีบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา หันมาท�ำธุรกิจผ่าน e-Commerce อย่างมากมาย และเริ่มขยายออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ ส�ำหรับในประเทศไทยจ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนการใช้ อีเมล การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ท�ำให้ธุรกิจต่างๆ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ของตนเองมากขึ้น การพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซถือเป็นการเปิดตลาดไปสู่ผู้ซื้อ หลายล้านคนทั่วโลกด้วยเหตุนี้ท�ำให้ผู้ท�ำธุรกิจในไทยต้องเตรียมการเพื่อที่จะแข่งขันกับ ประเทศอื่นๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทตามรูปแบบของกลุ่มหรือองค์กรที่ท�ำการ ซื้อขายระหว่างกัน ได้แก่ 1. การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อทั่วไป หรือบีทูซี (Business-to- Consumer : B-to-C) คือประเภทที่ผู้ซื้อใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจ ที่ด�ำเนินกิจการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต 2. การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายด้วยกัน หรือบีทูบี (Business-to-Business : B-to-B) คือ ประเภทที่ผู้ประกอบการธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างกันผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต 3. การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับรัฐบาล หรือบีทูจี (Business-to- Government : B-to-G)คือประเภทที่ผู้ประกอบการติดต่อกับหน่วยงานราชการ เพื่อท�ำการซื้อขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต 4. การค้าขายออนไลน์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล หรือจีทูจี (Government-to- Government:G-to-G)คือประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่งเพื่อท�ำการซื้อขายสินค้ากัน ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต 5.การค้าขายออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ซื้อหรือซีทูซี(Consumer-to-Consumer: C-to-C) คือ ประเภทที่ผู้ซื้อประกาศขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อท�ำการ ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้ออีกรายหนึ่ง เช่น การซื้อขายผ่าน www.ebay.com, www.dealfish.com เป็นต้น
  • 30. บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 29 เนื่องจากองค์ประกอบของe-Commerce คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย และตัวสินค้า ดังนั้น ปัจจัยที่ ส่งผลให้ e-Commerce ประสบความส�ำเร็จคือ การที่ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงสินค้าของผู้ขายได้ และ ผู้ซื้อต้องไว้วางใจผู้ขาย การท�ำการตลาดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะท�ำให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงข้อมูล สินค้าของผู้ขายได้ ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การตลาดประสบผลส�ำเร็จคือ การ ก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายการค�ำนึงถึงสภาวะแวดล้อมของตลาดสินค้าและบริการ การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายการก�ำหนดราคาการส่งมอบสินค้า และเทคโนโลยีที่เหมาะสมส�ำหรับ e-Commerce นั้น การท�ำการตลาดที่ เหมาะสมควรเป็นรูปแบบการตลาดออนไลน์หรือe-Marketingซึ่งเป็นส่วนผสม แนวความคิดทางการตลาดและทางเทคนิครวมเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งด้านการ ออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรมการตลาดออนไลน์เช่นSearchEngineMarketing, e-MailMarketing,AffiliateMarketing,ViralMarketingเพื่อที่จะสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถ สนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรม ของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ส่งผลต่อการเพิ่ม และรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอ�ำนวย ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
  • 31. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 30 ความมั่นใจของผู้ซื้อต่อผู้ขาย คือการที่ผู้ซื้อมั่นใจว่าเมื่อตนได้ท�ำการ จ่ายค่าสินค้าแล้วจะต้องได้รับสินค้าในลักษณะและคุณภาพเดียวกันกับที่ได้เห็นผ่านทาง เว็บไซต์ รวมทั้งข้อมูลของผู้ซื้อจะมีการน�ำไปใช้ตามความจ�ำเป็นตามวัตถุประสงค์เท่านั้น ดังนั้นการที่ผู้ซื้อจะมีความมั่นใจได้นั้นขึ้นอยู่กับความมั่นคงปลอดภัยของระบบและประวัติ พฤติกรรมของผู้ขายเป็นหลักการเสริมสร้างความมั่นใจต่อผู้ซื้อนั้นสามารถท�ำได้โดยการ พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เทคโนโลยีที่เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งการออกแบบ เว็บไซต์ให้น่าสนใจและดึงดูดใจลูกค้า ที่ส�ำคัญคือการด�ำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และ มีธรรมาภิบาล จะเห็นได้ว่าการท�ำ e-Commerce นั้นมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปในส่วน ที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้พบหน้ากันจริง ดังนั้น การจะประสบความส�ำเร็จในช่องทางนี้ได้ ก็คือการที่เราสามารถท�ำให้ผู้ซื้อรู้สึกได้ว่า การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ต่างกับ การซื้อสินค้าที่หน้าร้านจริง ผู้ซื้อสามารถติดต่อสอบถามและพูดคุยกับผู้ขายได้เหมือน การพูดคุยที่หน้าร้านจริง ท�ำให้ผู้ซื้อมั่นใจและพร้อมจะซื้อสินค้า
  • 32. บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 31 จากการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยปี 2557 ซึ่งจัดท�ำโดย ETDA หรือส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยนั้นเปลี่ยนไป จากแต่ก่อนมาก โดยคนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นถึงกว่า ร้อยละ70และประมาณร้อยละ10ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า100ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเคยซื้อสินค้าและ บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวเลขนี้คงพอท�ำให้มองเห็นถึงอนาคตของ การท�ำ e-Commerce ว่าจะได้รับความนิยมจากผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น อย่างแน่นอน เนื่องจากจุดเด่นที่ส�ำคัญคือ การที่สามารถท�ำการ ค้าขายได้ตลอดเวลา อีกทั้งลูกค้าก็ยังสามารถเลือกซื้อสินค้า ได้ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน โดยเมื่อท�ำการวิเคราะห์จุดแข็งและ จุดอ่อน e-Commerce โดยใช้เทคนิค SWOT (Strength- Weakness-Opportunity-Threat) สามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.2 ลัดเลาะแวดวง อีคอมเมิร์ซไทย
  • 33. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 32 จากการวิเคราะห์ข้างต้น ท�ำให้เห็น ได้ว่า e-Commerce ได้สร้างโอกาสแก่ผู้ขาย รวมทั้งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม แต่ถ้าหากพิจารณาถึงจุดอ่อนแล้ว e-Commerce ก็ยังมีข้อจ�ำกัดที่ส�ำคัญคือการโต้ตอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายยังมีน้อยอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ ท�ำธุรกิจในลักษณะที่ผู้ซื้อเลือกซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่มี โอกาสได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้ตอบกับเจ้าของร้านได้เลยในทางตรงกันข้ามเจ้าของร้านเอง ก็ไม่สามารถถามถึงความคิดเห็นใดๆด้วยดังนั้นแนวโน้มการพัฒนาในอนาคตจะเป็นการท�ำ e-Commerce ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อโต้ตอบกันได้ อย่างการท�ำ e-Commerce ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และ เพิ่มโอกาสการตรวจสอบและร้องเรียนปัญหาจากผู้ซื้อถึงผู้ขายและผู้ซื้อคนอื่นๆด้วย ท�ำให้ การท�ำ e-Commerce ในอนาคตจะต้องไม่มีการคดโกงใดๆ เพื่อที่ผู้ซื้อจะชี้แจงและเผยแพร่ ข้อมูลไปยังผู้ซื้อคนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการพัฒนาของ e-Commerce ในอนาคตจะต้องเกิดขึ้น อย่างแน่นอน และจะเป็นการค้าขายที่มีการโต้ตอบมากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้การซื้อสินค้า บนอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างจากการซื้อสินค้าที่มีหน้าร้านค้าแต่อย่างใด Weakness (จุดอ่อน) • การโต้ตอบระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อมีน้อย • ผู้ซื้อไม่สามารถทดลองหรือสัมผัสสินค้าจริงได้ • อัตราค่าขนส่งสูงในบางพื้นที่ เช่น การส่งสินค้า ระหว่างประเทศ Strength (จุดแข็ง) • สามารถด�ำเนินธุรกิจได้ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน • สามารถด�ำเนินธุรกิจได้จากทุกพื้นที่ • ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงสินค้าได้รวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ • สามารถลดต้นทุนในการด�ำเนินธุรกิจได้ • สามารถลดจ�ำนวนพนักงานลงไปได้ • สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย Threat (อุปสรรค) • การตรวจสอบการด�ำเนินธุรกิจท�ำได้ยาก ท�ำให้ มีโอกาสที่ผู้ขายรวมทั้งผู้ซื้ออาจจะท�ำธุรกรรม อย่างไม่ซื่อสัตย์หรือผิดกฎหมายได้ Opportunity (โอกาส) • จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย จ�ำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าในประเทศไทย มีถึง 10.2% ในปี พ.ศ. 2556 • เทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยมีการพัฒนา ปรับปรุงดีขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ลูกค้ามีความมั่นใจ มากยิ่งขึ้น • ภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น โครงการ Free-WiFi ท�ำให้ลูกค้าสามารถ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
  • 34. บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 33 แม้ว่าปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตของไทย อาจยังไม่สามารถเข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ แต่ด้วย การสนับสนุนที่ดีของหน่วยงานภาครัฐท�ำให้ระบบ อินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลถึง โอกาสในการเติบโตขึ้นของ e-Commerce ไทย นอกจากการพัฒนาของระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆก็ส่งผลต่อโอกาสที่ดี ของการเติบโตและพัฒนาของe-Commerceเช่นกัน 2.3 พลิกเกมการตลาด ผ่านช่องทางออนไลน์ สังเกตสัญลักษณ์ https เพื่อเกิดความ มั่นใจในการเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์ อย่างเช่นการพัฒนาระบบDigitalSignatureหรือเทคโนโลยีSSLที่ช่วยในการเข้ารหัสข้อมูล อย่างมั่นคงปลอดภัยท�ำให้ไม่ถูกขโมยข้อมูลโดยผู้ไม่หวังดีจากการท�ำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต ส่งผลต่อความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตของผู้ซื้อได้และท�ำให้จ�ำนวนของผู้ซื้อ บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นตามไปด้วย โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้น และเป็นที่นิยมจากผู้ใช้มหาศาลเพราะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ เพราะทุกคนสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งค�ำถามในเรื่อง ต่างๆ เพื่อให้คนที่สนใจหรือมีค�ำตอบได้ช่วยกันตอบค�ำถามหรือเสนอความคิดเห็น ซึ่งจาก การส�ำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยปี2556โดยETDAพบว่ามากกว่าร้อยละ20* เคยใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการซื้อสินค้า ชี้ให้เห็นได้ว่าเป็นช่องทางส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้ขายสามารถ เข้าถึงผู้ซื้อได้ พฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของไทย พ.ศ. 2556 *อ้างอิงข้อมูลจากรายงานผลการส�ำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตใน ประเทศไทย พ.ศ. 2556 โดยส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ มหาชน) หรือ สพธอ. พูดคุย แบ่งปันความรู้ อัพเดตข้อมูลข่าวสาร อัพโหลด แชร์รูปภาพ/วิดีโอ หาเพื่อนใหม่/เก่า ร้อยละ 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 85.7 64.6 60.2 21.8 19.7 3.6อื่นๆ ซื้อสินค้า/บริการ
  • 35. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 34 คุณสมบัติที่ดีของโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ส่งผล ต่อโอกาสอันดีของอีคอมเมิร์ซทั้งในส่วนของผู้ซื้อและ ผู้ขายผู้ซื้อสามารถใช้ช่องทางนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ขาย ซึ่ง ข้อมูลที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้จะส่งผลให้ ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้นรวมทั้งยังสามารถ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อได้มากขึ้นด้วย ในส่วนของผู้ขาย สามารถใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเช่นFacebook,Twitterหรือ Instagramเพื่อเปิดตลาดการค้าออนไลน์ได้ทันทีเนื่องจาก สามารถสมัครและใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีความรู้ทาง ด้านอินเทอร์เน็ตมากนัก นับเป็นช่องทางส�ำคัญที่จะช่วย ให้ผู้ประกอบการที่ปกติท�ำธุรกิจแบบออฟไลน์ (Offline) ได้เปิดตลาดออนไลน์ได้นอกจากนี้การเกิดขึ้นของโซเชียล เน็ตเวิร์กส่งผลให้สามารถท�ำการตลาดในรูปแบบใหม่หรือ การตลาดยุค 3.0 หรือยุค Values-driven Marketing ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยมไม่ได้มองผู้ซื้อเป็นเป้านิ่ง ที่ถูกถาโถมด้วยสื่อการตลาดแต่มองในฐานะคนที่มีความคิด จิตใจและจิตวิญญาณ ทั้งนี้ผู้ซื้อไม่เพียงเป็นฝ่ายตั้งรับ ในการสื่อสารทางการตลาด แต่สามารถแสดงออกถึง ความคิดเห็น (Two-Way Communication) ของตน ตลอดจนมีส่วนร่วมไม้ร่วมมือด้วยจิตอาสาในการพัฒนา สินค้าหรือบริการให้ตอบสนองความต้องการของตนให้ดี ยิ่งขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยุคเว็บก่อนหน้า ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว(One-WayCommunication)
  • 36. บทที่2อีคอมเมิร์ซ...ฝันให้ไกลไปให้ถึง 35 การที่ผู้ซื้อสามารถแสดงความคิดเห็นไปสู่สาธารณะโดย โน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของผู้ซื้อรายอื่นๆให้คล้อยตามก็เหมือน กับการที่เพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ค�ำแนะน�ำกับเพื่อน ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อและการตัดสินใจได้มากกว่าการท�ำการตลาด ผ่านทางสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ดังนั้น โซเชียล เน็ตเวิร์กจึงเป็นเทคโนโลยีที่ท�ำให้ความเห็นของผู้ซื้อแพร่หลาย กว้างขวางและทรงพลังมากขึ้น ซึ่งผู้ขายสามารถน�ำความเห็น เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการท�ำการตลาด หรือวางแผนการท�ำ ธุรกิจต่อไป จุดหลักส�ำคัญของการตลาดยุค3.0นั้น ผู้ซื้อไม่ได้เป็น เพียงฝ่ายตั้งรับแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถสื่อสารโต้ตอบ กลับไปยังผู้ขายรวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อด้วยกันเอง โซเชียลเน็ตเวิร์กจึงเป็นเครื่องมือส�ำคัญของผู้ซื้อที่จะสะท้อนถึง ความต้องการที่แท้จริงของตนรวมไปถึงลึกเข้าไปถึงจิตวิญญาณ ที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมสามารถพัฒนาไปในทางที่ ดีขึ้นได้
  • 39. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 38 ก่อนที่จะเริ่มต้นท�ำ e-Commerce ต้องเข้าใจถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่จ�ำเป็น เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมส�ำหรับ การท�ำธุรกิจต่อมาคือการเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆในการด�ำเนินงาน เพื่อจะได้วางแผนงานให้ดีก่อนที่จะเริ่มต้นท�ำธุรกิจ สิ่งส�ำคัญในการ วางแผนงานคือ การท�ำความเข้าใจกับลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อหาวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการด้วยการตั้งค�ำถาม 6 ข้อ (5W+1H) ซึ่งถ้าตอบค�ำถามทั้งหมดได้ และสามารถวางแผน ประมาณการด้านรายได้ รายจ่าย และก�ำไรขาดทุนของธุรกิจ ในแต่ละเดือนและทั้งปีออกมาได้แล้วข้อมูลทั้งหมดนี้จะยิ่งช่วยให้ ตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เราจะเริ่มต้นมีความเป็นไปได้ มากน้อยแค่ไหน
  • 40. บทที่3ธุรกิจรุ่งถ้ามุ่ง...อีคอมเมิร์ซ 39 หากมีการเตรียมพร้อมที่ดีก็จะท�ำให้มีโอกาสได้รับผลประกอบการที่ดีเช่นกัน ส�ำหรับองค์ประกอบที่จ�ำเป็นส�ำหรับการท�ำอีคอมเมิร์ซมี ดังนี้ เว็บไซต์ (Website) หรือร้านค้าออนไลน์ที่สามารถประกาศขายสินค้าได้ อาจเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่ไปฝากไว้กับเว็บไซต์อื่นหรือจะมีเว็บไซต์เป็น ของตนเองก็ได้บางครั้งจะเรียกเว็บไซต์ของเราว่าระบบหน้าร้านซึ่งควรออกแบบ ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดใจแก่ผู้เยี่ยมชมโดยอาจใช้เทคนิคเรียกลูกค้าง่ายๆ จากการคิดค�ำส�ำคัญที่โดนใจลูกค้าเช่น“ลดราคา”หรือ“Sale”เป็นต้นตัวอย่าง รูปด้านล่าง(www.tohome.com)ใช้ค�ำว่า“SuperDeals”เพื่อเชิญชวนลูกค้า อีกทั้งมีการแสดงรูปภาพสินค้าที่ชัดเจนก็สามารถเรียกความสนใจได้ไม่น้อย นอกจากนี้หากสังเกตที่เมนูด้านซ้ายจะเห็นว่ามีการจัดแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่าง ชัดเจนท�ำให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายนับเป็นสิ่งส�ำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ท�ำให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้บ่อยขึ้นเนื่องจากความสะดวกเหล่านี้นั่นเอง 3.1 องค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ Homepage ของ www.tohome.com
  • 41. จุดประกายสู่...เถ้าแก่ออนไลน์ 40 ตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) เป็นระบบที่ให้ลูกค้าคลิก เพื่อซื้อสินค้าบนหน้าเว็บ ซึ่งระบบตะกร้าสินค้าจะบันทึกข้อมูลสินค้า และจ�ำนวนสินค้าที่เราเลือกทั้งหมดไว้ก่อนจะท�ำการจ่ายค่าสินค้า เปรียบเหมือนตะกร้าจริงที่ใช้ใส่สินค้าทั้งหมดที่เลือกในร้านก่อนจะ จ่ายค่าสินค้านั่นเอง ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการรับช�ำระเงิน เป็น ระบบค�ำนวณเงินและจ่ายค่าสินค้าที่มั่นคงปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ จะเป็นการรับจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม ควรจัดเตรียม รูปแบบการรับช�ำระเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร อิเล็กทรอนิกส์ การโอนเงินผ่านตู้ ATM เป็นต้น ระบบการจัดส่งสินค้า เป็นการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าหลังช�ำระเงิน เรียบร้อยแล้วซึ่งควรจะให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าว่าจะได้รับสินค้าอย่างแน่นอนเช่นมีระบบที่ ช่วยให้ลูกค้าติดตามสถานะของสินค้าว่าอยู่ที่ใดแล้ว และจะส่งถึงมือ ลูกค้าตรงเวลาหรือไม่ ระบบ Track & Trace ของไปรษณีย์ไทย