SlideShare a Scribd company logo
1 of 72
Download to read offline
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่าง
ครบวงจร ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี: ด้านการพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพ
อนามัยในโรงเรียน
ผู้เรียบเรียง นันทพร วีรวัฒน์
พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2555
จำ�นวน 1,000 เล่ม
สนับสนุนโดย  สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา
		 ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ในพระบรมราชูปถัมภ์
ก
สารบัญ
หน้า
 บทนำ�				 1
 จากพระราชดำ�รัสสู่การปฏิบัติ 11
 แนวทางการบริหารจัดการการพัฒนาอาหาร 15
โภชนาการ และสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
1. การเกษตรในโรงเรียน 15
2. สหกรณ์นักเรียน 31
3. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน 33
4. การติดตามภาวะโภชนาการ 38
5. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 39
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน 40
		 ให้ถูกสุขลักษณะ
7. การจัดบริการสุขภาพ 41
8. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ 41
		 และสุขภาพอนามัย
9. การติดตามและการประเมินผล 42
10. การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 44
 ปัจจัยและกระบวนการจัดการสู่ความสำ�เร็จ 47
 ข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อน 51
เพื่อให้เกิดรูปแบบการดำ�เนินงานอาหารและโภชนาการ
ในโรงเรียน หรืองานวิจัยเพิ่มเติม
 บทส่งท้าย: การพัฒนาอาหาร โภชนาการ 55
และสุขภาพอนามัยในโรงเรียนในต่างประเทศ
 เอกสารอ้างอิง		 61
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
ข รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 1
บทนำ�
โภชนาการที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่จะ
ส่งเสริมให้เด็กทุกคนเจริญเติบโตและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ เป็น
คนมีคุณภาพของสังคมไทย อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา เด็กไทยใน
วัยเรียนจำ�นวนมากขาดแคลนอาหารกลางวันและมีปัญหาการขาดสาร
อาหาร จนทำ�ให้มีนํ้าหนักและส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการ
เจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก ทำ�ให้เด็กไม่สามารถพัฒนาได้อย่าง
เต็มศักยภาพ ถึงแม้หลายหน่วยงานได้ร่วมกันแก้ไข แต่ก็ยังไม่สามารถ
ครอบคลุมเด็กในวัยเรียนได้ทั้งประเทศ
ยังมีเด็กนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว
โดยลำ�พัง ทั้งนี้เพราะเด็กเหล่านี้อาศัยอยู่ตามชายขอบของประเทศ
ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม มีสภาพทางภูมิศาสตร์ไม่
เหมาะสม จึงเป็นอุปสรรคสำ�คัญต่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ
ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา บริการสาธารณสุข ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ
ที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต ทำ�ให้เด็กในพื้นที่เหล่านี้ขาดโอกาสในการ
พัฒนามากกว่าเด็กในพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศ ในพื้นที่ทุรกันดารห่าง
ไกลการคมนาคมเช่นนี้มีเพียงตำ�รวจตระเวนชายแดนซึ่งทำ�หน้าที่ดูแล
มั่นคงทางชายแดนที่สามารถเข้าถึงได้ ตำ�รวจตระเวนชายแดนจึงร่วมกับ
ชุมชนจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา เพื่อสอนหนังสือเด็กให้อ่านออกเขียนไทยได้
พูดจาสื่อสารกันได้ เด็กนักเรียนเหล่านี้มาจากครอบครัวที่ยากจน ไม่มี
รายได้อะไร นอกจากทำ�การเกษตรเพื่อยังชีพ แต่ยังไม่สามารถผลิต
อาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัว ขาดความมั่นคงด้าน
อาหาร นอกจากนี้สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังไม่ถูกสุขลักษณะ ส่งผลให้
ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารมีความ
รุนแรงกว่าในพื้นที่อื่น ๆ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
2
เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง
พบเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว ทำ�ให้ทรงห่วงใยเด็กและเยาวชนเหล่านี้
ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า
ในบรรดาคนยากจนทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบมากที่สุด เห็นจะเป็นเด็กๆ พวกเด็กนักเรียนที่ซูบผอม อาหาร
การกินไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จะเอาเรี่ยวแรงและสมองที่ไหนมาเล่าเรียน
โตขึ้นอาจจะไม่มีเรี่ยวแรงทำ�งานทำ�มาหากิน ก็ต้องทุกข์ยากยิ่งขึ้น(1)
จึงทรงริเริ่มดำ�เนิน โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2523 โดยทรงทดลองทำ�ที่โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน
3 โรง เมื่อได้ผลแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายไปยัง
โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในปีต่อมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชดำ�รัส
ถึงแนวทางในการดำ�เนินงานเพื่อพัฒนาภาวะโภชนาการของนักเรียน
ในโอกาสที่เสด็จฯ ไปในการประชุมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ณ กองบังคับการ กองร้อยที่ 5 ตำ�รวจตระเวนชายแดน อำ�เภอ
สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 26 กันยายน พุทธศักราช
2524(2)
ไว้ว่า
...ในโรงเรียนต่างๆ นั้น เคยเห็นว่ามีการทำ�โครงการอาหารกลางวัน
สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาอยู่แล้วหลายโครงการ ส่วนมากก็ได้ผล
พอสมควรทีเดียว แต่ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ยังไม่มีโครงการนี้ เพราะ
ฉะนั้นการที่ใครจะเข้าไปทำ�เพิ่มอีกก็คงไม่เป็นการทำ�งานซํ้าซ้อนเป็นแน่
ยิ่งมีมากยิ่งดี การที่จะทำ�โครงการให้นักเรียนได้รับอาหารเพิ่มเติมนั้น
เป็นของดี จึงคิดว่าจะทำ�อย่างไรจะได้ผล จากการที่ได้ศึกษาตามที่เขา
ทำ�มา ก็มีการให้ทุน แล้วทางโรงเรียนไปจัดการทำ�อาหารให้นักเรียน
บางทีก็ให้เปล่าหรือไม่ก็ให้ในราคาที่ตํ่าพอที่จะซื้อหากันได้
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 3
จึงมาลองคิดอีกทีหนึ่ง คืออยากให้เป็นพืชผักหรืออุปกรณ์แล้ว
ให้นักเรียนมาทำ�การเกษตร ซึ่งเป็นวิธีที่อ้อมและยากขึ้นมาอีกทางหนึ่ง
อาหารที่จะให้รับประทานนั้นเป็นอาหารที่ได้มาจากผลิตผลของนักเรียน
ผู้รับประทานเอง ซึ่งอาจจะได้ผลช้า แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะได้รับอาหาร
และคิดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นผลพลอยได้ที่สำ�คัญ คือความรู้ทาง
ด้านการเกษตร และด้านโภชนาการซึ่งจะเป็นวิชาติดตัวไปจนนักเรียน
เหล่านั้นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และได้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร
วิชาการใหม่ๆ เหล่านั้น อาจจะนำ�มาช่วยในการครองชีพได้มากทีเดียว
ภายหลังจากที่โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนทุกโรงทั่วประเทศ
ได้ดำ�เนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำ�ริแล้ว
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีก็ได้ทรงติดตาม
การดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรง
เยี่ยมโรงเรียนด้วยพระองค์เอง และจากการที่ทรงศึกษาจากเอกสาร
รายงานต่างๆ ทรงพบปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น จึงมีพระราชดำ�ริในการดำ�เนิน
กิจกรรมพัฒนาต่างๆ เพิ่มขึ้นตามปัญหาที่ทรงพบ ไม่เพียงเฉพาะแต่ด้าน
อาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุม
ด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงทำ�ให้งาน
พัฒนาของพระองค์ที่เริ่มต้นจาก 1 โครงการกลายเป็นโครงการพัฒนา
แบบบูรณาการ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างสมดุลใน 4 ด้าน
ดังบทพระราชนิพนธ์ต่อไปนี้(3)
การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์นั้นจะต้องเน้นความสำ�คัญ 4 ด้าน
1) พุทธิศึกษา คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ ถ้าคนเราไม่มี
ความรู้ มีทรัพย์สมบัตินับแสนนับล้านก็รักษาไว้ไม่ได้
2) จริยศึกษา ต้องสอนให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม
ประพฤติตนตามทำ�นองคลองธรรมกฎหมายบ้านเมือง ถ้าคนไม่สุจริต
บ้านเมืองก็เจริญไปไม่ได้
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
4
3) หัตถศึกษา คนเราต้องมีศิลปะ มีความสามารถที่จะทำ�อะไร
ด้วยมือของตนเอง ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎีแล้วปฏิบัติไม่เป็น
4) พลศึกษา เมื่อมีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีแล้ว
ถ้าไม่รักษาสุขภาพร่างกายให้ดี ก็ไม่สามารถใช้ความรู้ของตนให้เป็น
ประโยชน์เท่าที่ควร ผู้มีสุขภาพอ่อนแอ ก็จะเรียนรู้ได้ไม่ดีนัก
เมื่อพิจารณาเฉพาะด้านการพัฒนาอาหาร โภชนาการและ
สุขภาพอนามัยในโรงเรียน นอกจากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลาง
วันที่พระราชทานให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารดำ�เนินการแล้ว สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารียังมีพระราชดำ�ริและ
พระราชทานกิจกรรมการพัฒนาต่อไป โดยทรงบรรยาย และทรง
พระราชนิพนธ์ไว้ในโอกาสต่างๆ อาทิ
ตัวอย่างงานที่ดำ�เนินการในโรงเรียน เรื่องการผลิตและการ
บริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ซึ่งดำ�เนินการในทุกโรงเรียน ของที่ปลูกเอง ทำ�เอง จะไม่กล้าเททิ้งๆ
ขว้างๆ เพราะเสียดาย นักเรียนลงมือทำ�การเกษตร ผลิตอาหารด้วยตัวเอง
และเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่การทำ�เกษตรรูปแบบผสมผสาน การใช้ปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวภาพ
ควบคุมแมลง ที่นักเรียนผลิตขึ้นเองจากวัสดุเหลือทิ้งในโรงเรียน เป็น
นํ้าหมักชีวภาพ ส่วนมากกรมพัฒนาที่ดินจะให้จุลินทรีย์ที่สกัดมา หรือ
บางแห่งจะสกัดจุลินทรีย์ด้วยตัวเอง ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากสารเคมี
อีกทั้งไม่มีสารตกค้างในธรรมชาติ ผลผลิตจากฟาร์มโรงเรียนจะนำ�มา
ใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ดังนั้น จะเห็นว่าแทนที่
จะใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการทางอาหาร บรรจุในบรรจุภัณฑ์ เราก็จะ
ได้ของสดจากฟาร์มโรงเรียน และอาหารที่นักเรียนรับประทาน แทนที่
จะเป็นอาหารปรุงสำ�เร็จรูป ก็เป็นอาหารที่ปรุงรับประทานเองกันใหม่ๆ
แม้แต่วัสดุ ซึ่งอาจจะมีบ้าง เช่น โฟม พลาสติก หรือกระดาษ เราก็นำ�
มาใช้ได้อีก เช่น ทำ�เป็นกระถางต้นไม้ เป็นต้น
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 5
หญ้าแฝกมีประโยชน์มาก เพราะเป็นพืชที่มีรากยาวและรากตรง
การให้นักเรียนปลูกหญ้าแฝกตามริมบ่อ ที่ลาดชัน หรือรอบๆ ไม้ผล
และสังเกตการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก ศึกษาระบบราก นักเรียน
จะมีความเข้าใจดีว่าต้นหญ้าแฝกจะอนุรักษ์ดินและนํ้าได้อย่างไร
...นักเรียนยังสามารถตัดใบแฝกนำ�ไปเป็นวัสดุคลุมดิน รักษาความ
ชุ่มชื้น หรือตัวต้นหญ้านำ�ไปใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาได้ ตอนนี้โรงเรียน
หลายแห่งสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตต้นกล้า
ของหญ้าแฝกและเผยแพร่ไปให้ชุมชนนำ�ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
นอกจากนี้ ใบยังนำ�มาใช้ในงานหัตถกรรมได้ด้วย...โดยเชิญ
วิทยากรจากท้องถิ่นมาสอนนักเรียน นอกจากนักเรียนมีความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและนํ้าแล้ว
ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะงานอาชีพ และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่นักเรียน
ด้วย(4)
การประกอบอาหารกลางวัน มีการกำ�หนดปริมาณอาหารที่
นักเรียนควรบริโภคตามหลักที่นักโภชนาการแนะนำ� เพื่อให้ได้คุณค่า
อาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ครูต้องคำ�นวณปริมาณวัตถุดิบ
ที่ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ถ้าผลิตได้ไม่ถึงมาตรฐานเรามีกองทุนที่
จะจัดซื้อให้ครบถ้วน ข้อสำ�คัญอีกประการที่พยายามเน้นมากคือเรื่อง
สุขาภิบาลอาหาร ต้องให้อาหารสะอาดและปลอดภัย
การทำ�อาหารมีเจ้าหน้าที่การเกษตรที่อยู่ในกรมส่งเสริม
การเกษตรที่เรียกว่า เคหกิจ-การเกษตรกับแม่บ้าน ส่วนมากเป็น
ผู้ปกครองของนักเรียนผลัดกันมาทำ�อาหาร ช่วยกันคิดรายการอาหาร
แม่บ้านหลายคนเป็นศิษย์เก่า เคยอยู่ในโครงการช่วยเหลือให้ได้
รับประทานอาหาร กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจเรื่องประโยชน์ของอาหาร
และสุขภาพอนามัยที่จะไปถ่ายทอดให้ที่บ้านได้
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
6
การจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและถูกสุขลักษณะ
ให้นักเรียนทุกคน นอกจากจะช่วยให้ภาวะโภชนาการเด็กดีขึ้นแล้ว ยัง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เช่น
ให้กินผัก ผลไม้ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามที่เรียนเมื่อตอนเด็ก ๆ
อยู่ชั้นประถม นี่คือแนวทางให้ปฏิบัติ และมีการส่งเสริมสุขนิสัย เช่น
ล้างมือก่อนกินอาหาร แปรงฟันหลังกินอาหาร เป็นการส่งเสริมและ
พัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการดีต่อไป อีกประการคือ เป็นตัวอย่าง
และเป็นการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนเห็นว่า ที่เรียกว่าสะอาด
นั้นเป็นอย่างไร และจะสามารถนำ�ไปใช้ในครัวเรือน ชุมชน ทำ�ให้เกิด
การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป(5)
การที่มีเด็กหลายเผ่าในโรงเรียน ทำ�ให้ส่งเสริมโภชนาการยาก
วัฒนธรรมการกินของแต่ละเผ่าต่างกัน เราต้องไปลองกินอาหารกับ
ชาวบ้าน เพื่อให้ทราบรสนิยมของเขาและดัดแปลง เติมของมีประโยชน์
เข้าไป (ปัจจุบันไม่สู้เป็นปัญหานัก นักเรียนปรับตัวในเรื่องการบริโภค
ได้ดีขึ้น) ขณะนั้นผู้ที่ทำ�โครงการอาหารกลางวันมักจะใช้วิธีเก็บเงินเด็ก
ส่วนเด็กที่ไม่มีเงินจริงๆ จะให้มารับจ้างทำ�งานแลกข้าว ข้าพเจ้าไม่ชอบ
วิธีการนี้เลย ด้วยเหตุผลหลายอย่าง โครงการที่ข้าพเจ้าทำ�ในโรงเรียน
ตชด. จัดในลักษณะที่ทุกคนในโรงเรียนที่เป็นเด็กปกติได้รับประทาน
เท่ากัน ทุกคนจะต้องผลัดเวรกันมาช่วยดูแลครัวร่วมกับครูเป็นการ
ฝึกหัด ภายหลังมีผู้ปกครองอาสาสมัคร (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง แต่ผู้ชาย
ก็มีบ้าง มักเป็นศิษย์เก่า) ผลัดเวรมาช่วยดูแลบุตรหลานของตนเอง และ
เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรมาดูแลจัดการอาหาร แนะนำ�การจัดครัวให้
ถูกสุขลักษณะ การวางของให้เป็นระเบียบ ของต่างๆ ต้องจัดใส่ภาชนะ
ให้มิดชิด เพื่อไม่ให้สัตว์ต่างๆ มารบกวน(1)
การที่ให้เด็กทำ�อาหารเองเป็นการสร้างความรู้ว่าควรบริโภค
อะไร และเป็นการพัฒนาทักษะของเด็กในด้านเกษตรที่สามารถนำ�ไป
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 7
ประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย เพราะเราสอนตั้งแต่ปลูกพืช เลี้ยง
สัตว์ด้วยตนเอง พร้อมทั้งให้ชุมชนซึ่งก็คือผู้ปกครองของเด็กมาช่วยเด็ก
ในการทำ�กิจกรรม ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ชุมชน ช่วย
เพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชน และนำ�มาซึ่งความมั่นคงทางอาหารให้แก่
ครัวเรือนและชุมชน(5)
เมื่อได้ผลผลิตแล้ว ก็นำ�เข้าโรงครัวประกอบเลี้ยงนักเรียน โดย
ผ่านทางสหกรณ์โรงเรียน หากมีชาวบ้านขาดแคลน โรงเรียนมีผลผลิต
มาก ยังขายให้ชาวบ้านผ่านทางสหกรณ์ได้ด้วย เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ
อาจออกไปซื้อของภายนอกไม่ได้ ก็สามารถใช้พืชผลที่ปลูกไว้เป็นอาหาร
ประทังชีวิตได้(5)
เรื่องสหกรณ์โรงเรียน (เริ่ม พ.ศ. 2534) ก็เป็นงานหนึ่งที่
ข้าพเจ้าพยายามจัดให้มีขึ้นทุกแห่ง เมื่อเริ่มโครงการข้าพเจ้ากำ�ชับ
ไว้ว่าผลผลิตที่เกิดจากงานเกษตรห้ามขายเด็ดขาด ต้องให้นักเรียน
รับประทานเพื่อบำ�รุงร่างกายซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการ ถึง
แม้ว่าจะมีปริมาณเกินกว่าที่จะบริโภคได้หมด ก็ให้ทำ�การถนอมอาหาร
เก็บไว้ หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน ต่อมาเมื่อโครงการ
ประสบความสำ�เร็จพอสมควรแล้ว ก็ยอมให้ขายได้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้
เป็นทุนหมุนเวียนให้โครงการบางส่วนเลี้ยงตัวเองได้ ทั้งนี้ต้องไม่ให้มี
ผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ เมื่อมีการซื้อขาย ก็ต้องเกี่ยวข้องกับระบบ
เศรษฐกิจ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าระบบที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เหมาะสม
กับพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งโรงเรียน ตชด. มากที่สุด ก็คือ ระบบสหกรณ์ เพราะ
แต่ละคนมีเงินน้อย เมื่อรวมกันจึงพอลงทุนธุรกิจใดๆ ได้ ในหนังสือ
เรียนชั้นประถมศึกษาก็มีบทที่ว่าด้วยการสหกรณ์อยู่แล้ว จึงสนับสนุน
ให้มีการปฏิบัติจริงในโรงเรียน
การฝึกหัดเด็กนักเรียนในเรื่องสหกรณ์ ทำ�ให้เด็กได้ฝึกหัดทักษะ
หลายอย่าง คือ หัดมาประชุมกัน ใช้เหตุผลโต้เถียงกัน อันเป็นการ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
8
ฝึกหัดการอยู่ในสังคมประชาธิปไตย เมื่อประชุมก็ให้มีการจดบันทึกการ
ประชุม เป็นการฝึกหัดเขียนหนังสือ ฝึกหัดขาย เมื่อขายก็ต้องรู้จักการ
ทำ�บัญชี ซึ่งก็เป็นอีกวิชาหนึ่งในหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบัญชี
นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าสำ�คัญมาก เพราะช่วยฝึกความละเอียดถี่ถ้วน ความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น เขียนผิดแล้วจะลบไม่ได้ ต้องขีดฆ่า แล้ว
เซ็นชื่อกำ�กับ(1)
เมื่อมีโครงการแล้วต้องติดตามภาวะโภชนาการ ว่าทำ�แล้วมีผล
อย่างไร ปัจจุบันนี้มีตัวชี้วัดต่าง ๆ มาก เราชั่งนํ้าหนัก วัดส่วนสูงเด็ก
มีกราฟของกระทรวงสาธารณสุขดูว่า เด็กในวัยนี้เทียบกับอายุควรมี
นํ้าหนักและส่วนสูงเท่าไร ครูต้องวัด คำ�นวณ และกรอกแบบรายงาน
พล็อตกราฟกัน เช่นนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ ก็แบ่งเป็นเด็กเล็ก เด็ก
ประถม แต่ละชั้นต้องรายงานจำ�นวนนักเรียนทั้งหมดมาให้เราทราบ
เพื่อที่เราจะได้คิดแก้ไข มีนํ้าหนักน้อย ค่อนข้างน้อย ปกติ ค่อนข้าง
มาก ส่วนสูงก็มีเตี้ย ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างสูง
เด็กบางคนได้รับความช่วยเหลือเรื่องอาหารมานานภาวะ
โภชนาการยังไม่ดีขึ้น ข้าพเจ้าตั้งสมมุติฐานเองว่า อาจจะมีพยาธิแย่ง
อาหารในท้อง หรือสุขภาพฟันไม่ดี ได้พยายามแก้ไขปัญหาสองข้อนี้
เมื่อตรวจก็พบว่ามีพยาธิมากจริง ๆ มีหลายชื่อ หลายพันธุ์ หลาย
ลักษณะ บางคนมีพยาธิหลายชนิดในตัว เราใช้วิธีถ่ายยา พยายามให้
ครอบคลุมมากที่สุด(5)
เรื่องการขาดสารไอโอดีน เหตุที่ข้าพเจ้าสนใจเรื่องนี้เพราะ
แต่ก่อนเคยเห็นคนมีก้อนโต ๆ ที่คอมากมายทั้งหมู่บ้าน วันหนึ่งฟังวิทยุ
มีบทความของกระทรวงสาธารณสุข บอกว่าถ้าขาดไอโอดีนจะทำ�ให้เป็น
โรคเอ๋อได้ ลักษณะเหมือนเป็นบ้า เหมือนหมู่บ้านที่เคยเห็นชาวบ้าน
เรียกว่าพวกผีบ้า คือบ้าๆ บอๆ ไม่ค่อยมีสติ สาเหตุเพราะขาดสาร
ไอโอดีนส่วนหนึ่ง พยายามจะหาวิธีแก้ไข มีอาจารย์สอนเรื่องให้ตรวจคอ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 9
จึงช่วยกันกับเจ้าหน้าที่อนามัย ปัญหาก็ลดลงกว่าเดิมมาก แต่ก่อนใช้วิธี
เติมไอโอดีนลงในเกลือ ต่อมาหยดไอโอดีนในนํ้าให้เด็กดื่ม ภายหลังมี
วิธีตรวจที่ละเอียดขึ้น ทำ�ให้พบว่า ความจริงคนที่มีปัญหาขาดไอโอดีนมี
จำ�นวนมากกว่าที่เราคิด แต่ยังไม่มีใครแนะนำ�ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
เพราะฉะนั้นเราจึงใช้วิธีเดิมก่อน คือถ้าดูแล้วเห็นว่าขาดไอโอดีน ถึงแม้
จะยังไม่ปรากฏคอโต ก็ให้ใช้ไอโอดีนเป็นเครื่องปรุงอาหาร และดื่มนํ้า
หยดไอโอดีน
การเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ทำ�สถิติไว้มีหลายโรค เช่น ท้องร่วง หวัด
มาลาเรีย และหนอนพยาธิ เมื่อก่อนไปในหลายเขตเป็นเขตที่มาลาเรีย
ชุกชุม เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน ทุกคนทั้งครูทั้งนักเรียนนอน
สั่นไม่เป็นอันเรียนอันสอน ต้องช่วยร่วมมือกันหลายฝ่าย ทั้งสาธารณสุข
อนามัย มหาวิทยาลัย และครู เริ่มแรกที่ทำ�งานนี้ซื้อกล้องจุลทรรศน์
มาใช้ ต่อมากล้องราคาแพงซื้อไม่ไหว ขอรับบริจาคจากหน่วยงานที่
ใช้ไม่ได้ แต่เราใช้ได้ เอามาเปลี่ยนนิดหน่อย เพิ่มชิ้นส่วนบางชิ้น แล้ว
อบรมครูให้ตรวจเลือดและรักษาเบื้องต้น ส่งเสริมให้ชาวบ้านนอน
ในมุ้งชุบสารไล่ยุงชนิดที่ตัวยาไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น
สารไพธีรอยด์ ใช้มุ้งลวดกรุหน้าต่างประตู จัดให้นักเรียนเรียนรู้
เรื่องโรคมาลาเรีย เช่น ทำ�หนังสือภาพ บูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น
วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทำ�เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์
เด็กๆ แต่งหนังสือเรื่องโรคมาลาเรีย ไปหาข้อมูล สัมภาษณ์ ออกมา
เสนอหน้าชั้น ภายหลังทางราชการมีโครงการฝึกคนพื้นบ้านตรวจ
หาผู้ป่วยโดยใช้ชุดตรวจสำ�เร็จรูป ช่วยแบ่งเบาจากครูไปได้บ้าง
แต่กล้องจุลทรรศน์ก็ยังมีประโยชน์ที่จะใช้ในด้านอื่นได้(1)
พระราชนิพนธ์และพระราชกระแสข้างต้นแสดงถึงหลักการเหตุผล
และความจำ�เป็นของการพัฒนางานด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ
อนามัยในโรงเรียนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
10
กุมารี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี
และสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาด้านอื่น ๆ ต่อไปได้
นั้น การจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนเพียงอย่างเดียวไม่อาจ
เพียงพอได้ จำ�เป็นต้องมีการจัดกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนา
ทักษะของเด็กนักเรียน (skill based approach) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้
เด็กนักเรียนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตนเองและ
พัฒนาสุขภาพของตนเองได้
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 11
จากพระราชดำ�รัสสู่การปฏิบัติ
การดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพ
อนามัยในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น จะมีหน่วยงานหลักคือ
สำ�นักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่รับผิดชอบในการนำ�พระราชดำ�รัสมาสู่การปฏิบัติ โดยผ่านทางแผน
พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดทำ�ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาตั้งแต่พ.ศ. 2535 เป็นแผนระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 1-3) และ 10 ปี
(ฉบับที่ 4) แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตาม
พระราชดำ�รินี้จึงเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเด็กนักเรียน
ให้แก่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริทุกโรง
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ.
2550–2559 มีเป้าหมายสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดี
สุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้และ
ทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำ�รงชีวิต รัก
และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและ
ความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้(6)
ในการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
ตามพระราชดำ�รินั้น จึงมีเป้าหมายที่ให้เด็กนักเรียนทุกคนมีภาวะ
โภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำ�เป็น
และคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการ
พัฒนาที่มีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเอง (learning by doing) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
12
พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมที่สามารถนำ�ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
และพึ่งตนเองได้ในที่สุด มีโรงเรียนเป็นฐานที่สำ�คัญของการปฏิบัติงาน
และครูเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา พร้อมกับอาศัยการมี
ส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริ ที่ได้ดำ�เนิน
การพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตาม
พระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่พัฒนา
มาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี สามารถเขียนเป็นแผนผังแสดงถึงกรอบ
แนวคิดและองค์ประกอบของงานด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพ
อนามัยที่เกิดขึ้นในโรงเรียนดังแสดงในแผนผังที่ 1 ซึ่งมีองค์ประกอบ
ของการพัฒนา ดังนี้
(1) การเกษตรในโรงเรียน
(2) สหกรณ์นักเรียน
(3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
(4) การติดตามภาวะโภชนาการ
(5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
(6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
(7) การจัดบริการสุขภาพ
(8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
การพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
ตามพระราชดำ�รินั้น ไม่เพียงแต่ให้เด็กนักเรียนมีอาหารกลางวัน
รับประทานเพื่อช่วยให้มีภาวะโภชนาการดีขึ้นเท่านั้น แต่ทรงใช้โครงการ
เกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นจุดเริ่มต้นของการดำ�เนินงานพัฒนาใน
โรงเรียน และขยายขอบเขตของการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาทักษะของ
เด็กนักเรียน (skill-based approach) โดยมีโครงการเกษตรเพื่ออาหาร
กลางวันเป็นจุดเชื่อมโยงการดำ�เนินกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ทำ�ให้เด็กได้
รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เกิดผลลัพธ์ดังแผนผังที่ 2
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 13
แผนผั
ง
ที
่
1
กรอบแนวคิ
ด
และองค์
ป
ระกอบของการพั
ฒ
นาอาหาร
โภชนาการและสุ
ข
ภาพอนามั
ย
ในโรงเรี
ย
น
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
14
แผนผังที่ 2 ความเชื่อมโยงของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
กับการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 15
แนวทางการบริหารจัดการ
การพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
การดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยใน
โรงเรียนอย่างครบวงจร สมํ่าเสมอต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้ผลของ
การพัฒนาเกิดขึ้นกับตัวเด็กนักเรียนทุกคนดังพระราชดำ�ริของสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น จำ�เป็นต้องอาศัย
การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบท
ของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการบริหาร
จัดการการดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพในโรงเรียน
เป็นบทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริ
1. การเกษตรในโรงเรียน
การเกษตรในโรงเรียน เป็นกิจกรรมสำ�คัญอันดับแรกที่
โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริทุกโรงเรียนดำ�เนินการ
จุดมุ่งหมายของการเกษตรในโรงเรียน คือ
1. ผลิตวัตถุดิบอาหารสำ�หรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันสำ�หรับ
นักเรียนทุกคนทุกวันเรียน
2. พัฒนาเด็กนักเรียนทุกคนให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดี
ทางการเกษตรผสมผสาน เป็นพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตในอนาคต
การเกษตรในโรงเรียน จะครอบคลุมกิจกรรมทุกขั้นตอนตลอด
ระบบการผลิตอาหาร ได้แก่ ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต การ
เก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป การจำ�หน่ายและการกระจายผลผลิตสู่
ผู้บริโภค (แผนผังที่ 3)
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
16
แผนผังที่ 3 ระบบการผลิตอาหารในโรงเรียน
การจัดการการเกษตรในโรงเรียน
ในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทั้ง 2 ประการ อาจ
แบ่งการจัดการการเกษตรในโรงเรียนได้เป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 การจัดการเพื่อให้มีกิจกรรมการผลิตที่หลากหลาย
เกิดขึ้นในโรงเรียน อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงของการจัดตั้งกิจกรรมการ
ผลิตต่างๆ ใช้ระยะเวลา 2-5 ปี ขึ้นกับศักยภาพและความเอาใจใส่ของ
ครูใหญ่และครูที่รับผิดชอบโครงการ หัวใจสำ�คัญของการดำ�เนินงาน
ในช่วงนี้ คือ การจัดการพื้นที่ และการจัดการแหล่งนํ้าเพื่อการเกษตร
เป็นระยะของการดำ�เนินงานทางกายภาพ (เช่น การพัฒนาแหล่งนํ้า
และระบบนํ้าเพื่อการเกษตร การทำ�แปลงปลูกพืชผัก การสร้างเล้าเป็ด
เล้าไก่ การขุดบ่อเลี้ยงปลา คอกปุ๋ยหมัก ที่เก็บวัสดุอุปกรณ์การเกษตร
และอื่นๆ) พร้อมทั้งเตรียมปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 17
พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร หลังจากเตรียมปัจจัยการผลิตแล้ว
จึงลงมือปฏิบัติ ทดลองทำ�การเกษตร จดบันทึกปริมาณผลผลิตที่ได้
รวมถึงปัญหาอุปสรรค เพื่อนำ�ข้อมูลมาปรับปรุงหรือหาแนวทางในการ
พัฒนา สำ�หรับใช้วางแผนการผลิตในปีการศึกษาต่อไป
รูปแบบการผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนเป็นการเกษตรแบบ
ผสมผสานสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ประเภทของอาหารที่โรงเรียน
ควรผลิตขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่น แต่ควร
ประกอบไปด้วย อาหารประเภทพืชผักที่หลากหลาย รวมทั้งพืชผักพื้นบ้าน
และอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเอและธาตุเหล็กด้วย อาหารประเภท
ไม้ผลที่สำ�คัญคือกล้วยและมะละกอ อาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีน เช่น
ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์พื้นบ้าน เป็ด ปลา กบ หมู และถั่วเมล็ดแห้ง
(หากมีพื้นที่มาก) และการทำ�นา
ระยะที่ 2 การจัดการเพื่อให้มีผลผลิตอย่างยั่งยืน เป็นระยะของ
การวิเคราะห์สถานการณ์ของโรงเรียนในการผลิตอาหารแต่ละประเภท
แล้วจึงดำ�เนินการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของโรงเรียนเพื่อให้มีผลผลิต
พอเพียง ต่อเนื่อง สมํ่าเสมอตลอดปีการศึกษา
การดำ�เนินงานในระยะนี้ต้องกำ�หนดเป้าหมายในการผลิต
ทางการเกษตรอย่างชัดเจนเป็นรายสัปดาห์ เช่น กลุ่มพืชผักใน 1 สัปดาห์
จะใช้ผักตามฤดูกาล 3 วัน ผักเถาเครือ 1 วัน และผักพื้นบ้าน
1 วัน พร้อมทั้งปริมาณที่จะต้องผลิต แล้วจึงวางแผนการผลิต การดูแล
บำ�รุงรักษา โดยเน้นการใช้วิธีทางธรรมชาติ เช่น การปรับปรุงบำ�รุง
ดิน โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยชีวภาพ การควบคุมกำ�จัดศัตรูพืช
โดยใช้ตัวหํ้าและตัวเบียน การใช้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน การ
ใช้สารสกัดจากพืช เป็นต้น มีการจดบันทึกปริมาณผลผลิต รวมถึง
ปัญหาอุปสรรคเช่นกัน และนำ�ข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาสำ�หรับการผลิต
ในรุ่นต่อไป
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
18
และเพื่อให้กิจกรรมการผลิตทางการเกษตรมีความยั่งยืน
โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งกองทุนการผลิตในแต่ละกิจกรรม โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เพราะการเลี้ยง
สัตว์มักจะมีต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากพันธุ์และอาหารสัตว์มีราคาสูง
โรงเรียนจัดการโดยอาศัยหลักการสหกรณ์ มีการจัดทำ�บัญชีรายรับ
รายจ่าย จำ�หน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียน และนำ�รายได้มาจัดตั้ง
เป็นกองทุน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนสำ�หรับดำ�เนินกิจกรรมในรุ่นต่อไป
ระยะที่ 3 การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เป็นระยะของการ
ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่เด็กนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยการ
พัฒนาเป็นหลักสูตรเกษตร จัดทำ�แผนการสอน ในระยะนี้ควรต้องอาศัย
ประสบการณ์จากครูเกษตรของโรงเรียนมาร่วมกันจัดทำ� มีการกำ�หนด
ชั่วโมงการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
แนวทางในการปฏิบัติ
จากหลักการจัดการข้างต้น เมื่อโรงเรียนจะเริ่มต้นการทำ�เกษตร
ในโรงเรียน ควรคำ�นึงถึงประเด็นต่อไปนี้
 พื้นที่เกษตรอยู่ตรงไหน สภาพเป็นอย่างไร?
 มีนํ้าสำ�หรับการเกษตรเพียงพอหรือไม่?
 ดินเป็นอย่างไร?
 อุปกรณ์การเกษตรมีหรือไม่?
 จะผลิตอาหารอะไรบ้าง?
 ใครจะช่วยเราได้บ้าง?
เพื่อให้โรงเรียนสามารถเริ่มต้นการทำ�การเกษตรในโรงเรียนได้
จึงมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1.1 พื้นที่การเกษตร ควรเริ่มด้วยการจัดทำ�แผนผังการเกษตร
เพื่อเลือกพื้นที่ วางแผนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 19
 โรงเรียนมีพื้นที่มาก: ควรเป็นพื้นที่ว่างมีสัดส่วนเฉพาะ อยู่ใกล้
บริเวณที่มีแหล่งนํ้าหรือสามารถขุดสระนํ้าได้ และควร
อยู่ห่างจากอาคารเรียนเพื่อไม่ให้กลิ่นจากมูลสัตว์รบกวนการ
เรียนการสอน
 โรงเรียนมีพื้นที่น้อย: การจัดพื้นที่การเกษตรสามารถแทรกไป
บริเวณที่ว่างต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น บริเวณที่ว่าง
ระหว่างอาคารเรียน โดยคำ�นึงถึงความต้องการแสงของพืชด้วย
เมื่อโรงเรียนตัดสินใจเลือกพื้นที่ได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการวางแผน
การใช้พื้นที่โดยการจัดแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ ดังนี้
 แหล่งนํ้า: ในกรณีที่เป็นสระนํ้าต้องการพื้นที่ 30% ของพื้นที่
ทั้งหมด แต่ถ้ามีแหล่งนํ้าสำ�รองภายนอกสามารถปรับลดลง
ได้ตามความเหมาะสม
 พื้นที่ปลูกพืชผัก: ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด
ถ้ามีนักเรียนมากอาจปรับเพิ่มได้
 พื้นที่ปลูกไม้ผล: ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด
 พื้นที่เพาะเห็ด: ใช้พื้นที่ประมาณ 3% ของพื้นที่ทั้งหมด
 พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก: ใช้พื้นที่ประมาณ 5% ของพื้นที่ทั้งหมด
 พื้นที่อื่นๆ (โรงเก็บเครื่องมือ โรงปุ๋ย ฯลฯ): ใช้พื้นที่ประมาณ
2% ของพื้นที่ทั้งหมด
ข้อควรคำ�นึงอีกประการหนึ่งในการวางแผนการใช้พื้นที่คือ
ลักษณะของพื้นที่ตามสภาพภูมิศาสตร์ ได้แก่
 พื้นที่ลุ่ม: เหมาะสำ�หรับขุดสระนํ้า หรือปลูกพืชที่เจริญเติบโต
ได้ดีในนํ้าหรือที่แฉะ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว
ผักกูด เป็นต้น
 พื้นที่ดอน: เหมาะสำ�หรับการปลูกไม้ผล
 พื้นที่ลาดชัน: ควรปลูกพืชตามขวางแนวลาดชัน พร้อมทั้ง
ปลูกแฝกตามขอบแปลงเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของ
ดิน
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
20
1.2 อุปกรณ์การเกษตรพื้นฐาน ควรจัดหาให้เพียงพอกับจำ�นวน
นักเรียนที่จะร่วมทำ�กิจกรรม จำ�นวนที่เหมาะสมของอุปกรณ์การเกษตร
พื้นฐาน โดยประมาณจากนักเรียน 100 คน เฉลี่ยห้องละ 15-20 คน
ประกอบด้วย
จอบขุดดิน จำ�นวน 20-25 ด้าม
เสียม จำ�นวน 15-20 ด้าม
พลั่วตักดิน จำ�นวน 10 ด้าม
มีดดายหญ้า จำ�นวน 10 เล่ม
บัวรดนํ้า จำ�นวน 20-30 ใบ
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่จำ�เป็นอื่น ๆ อีก เช่น ถังนํ้า บุ้งกี๋
กรรไกรตัดแต่ง ส้อมปลูก ส้อมพรวนดิน รถเข็น สวิงตักปลา อุปกรณ์
สำ�หรับการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เป็นต้น
1.3 ประเภทของอาหารที่จะผลิตและวิธีการผลิต โดยทั่วไป
โรงเรียนทุกโรงจะทำ�การผลิตอาหารในกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ ได้แก่
กลุ่มพืชผัก และเห็ด กลุ่มไม้ผล กลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น ไก่พันธุ์ต่างๆ เป็ด
ปลา หมู กลุ่มถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และกลุ่มข้าว
ในการผลิตโรงเรียนจะทำ�การวางแผนการผลิต โดยกำ�หนด
ทั้งชนิดและปริมาณจากปริมาณความต้องการบริโภคของเด็กนักเรียน
ใน 1 มื้อ
ตัวอย่างสำ�หรับโรงเรียนที่มีจำ�นวนนักเรียน 100 คน (ทั้งนี้
ขึ้นกับขนาดพื้นที่การเกษตรของโรงเรียนและกำ�ลังคนที่จะช่วยงานด้วย)
ใน 1 สัปดาห์ (5 วันเรียน) โรงเรียนต้องผลิตกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ
และปริมาณผลผลิตที่ต้องการเพื่อใช้ในการประกอบอาหารดังนี้
 กลุ่มพืชผัก: พืชผัก (หลากหลาย) ประมาณวันละ 10-11 กก.
จำ�นวน 5 วัน
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 21
 กลุ่มอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน แบ่งเป็น:
 เนื้อสัตว์ (ไก่ ปลา) ประมาณวันละ 5 กก. จำ�นวน
2 วัน
 ไข่ไก่วันละ 100 ฟอง จำ�นวน 3 วัน
 กลุ่มไม้ผล: กล้วยประมาณวันละ 100 ลูก จำ�นวน 2
วัน
เมื่อกำ�หนดประเภทและปริมาณของอาหารที่ต้องการได้แล้ว
จึงกำ�หนดเป็นปฏิทินการผลิตตลอดปีดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ปฏิทินการผลิตทางการเกษตรประจำ�ปีของโรงเรียน
พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย
กลุ่มพืชผัก
1. ผักที่ปลูกตามฤดูกาล
 ผักปลูกในฤดูฝน เช่น มะเขือ
ถั่วฝักยาว ผักโขม บวบ
นํ้าเต้า กระเจียบเขียว
 ผักที่ปลูกในฤดูแล้ง เช่น
ผั ก ก า ด ผั ก ค ะ น้ า
ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว
กะหลํ่าปลี
 ผักที่ปลูกได้ทุกฤดูกาล เช่น
ผักบุ้ง
2. ผักเถาเครือที่เก็บผลผลิตได้
นาน เช่น ฟักทอง ฟักเขียว
3.		
ผักพื้นบ้าน อายุยาว เช่น
ผักหวาน ชะอม คูน เหลียง
ดอกไม้จีน แค ตำ�ลึง
4.		
ผักเครื่องปรุงอาหาร เช่น
พริก กะเพรา โหระพา
ตะไคร้ ขิง ข่า มะกรูด
5.		
เห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า
เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน
เห็ดฟาง เป็นต้น
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
22
พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย
กลุ่มไม้ผล
1. ให้ผลผลิตตลอดปี
เช่น กล้วย มะละกอ ฝรั่ง
2. ให้ผลผลิตตามฤดูกาล
กลุ่มสัตว์ปีก
1.		
เน้นให้ผลผลิตไข่
เช่น ไก่พันธุ์ไข่ทั้งแบบกรง
ตับและแบบปล่อยลาน เป็ด
ไข่
2.		
เน้นให้เนื้อ
เช่น ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ
3.		
ให้ทั้งเนื้อและไข่
เช่น ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ
กลุ่มสัตว์นํ้า
1.		
เลี้ยงในบ่อดิน เป็นการเลี้ยง
ผสมกันระหว่าง ปลาไน
ปลานิล ปลาตะเพียน
2.		
เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บ่อ
พลาสติก กระชัง ได้แก่
ปลาดุก กบ
3.		
เลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลา
ไน กบ
	 
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 23
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติและเงื่อนไขในการจัดการ
การผลิตทางการเกษตรในโรงเรียน
การกำ�หนดรูปแบบการผลิตทางการเกษตร
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
24
การผลิตพืชผักให้เพียงพอ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 25
การผลิตเนื้อสัตว์ให้เพียงพอ
การผลิตถั่วเมล็ดแห้งให้เพียงพอ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
26
การปลูกไม้ผลให้เพียงพอ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 27
1.4 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำ�การ
เกษตรในโรงเรียน ได้แก่ 1) นักเรียน 2) ครู และ 3) ชุมชน
(1) เด็กนักเรียน เป็นบุคลากรหลักในการทำ�การเกษตรของ
โรงเรียน โดยทั่วไปโรงเรียนจะจัดการโดยแบ่งเด็กนักเรียน (ส่วนมาก
จะเป็นระดับชั้นประถม 4-6) เป็นกลุ่มการผลิตประเภทต่าง ๆ เช่น
กลุ่มพืชผักไม้ผล กลุ่มเห็ด กลุ่มไก่ไข่ กลุ่มไก่เนื้อ กลุ่มปลาดุก ฯลฯ
การแบ่งกลุ่มเด็กนักเรียนมีวิธีดำ�เนินการได้ 2 วิธี คือ 1) ความ
สมัครใจของเด็กแต่ละคน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความชอบและความสนใจ วิธี
การนี้พบว่าเด็กนักเรียนมีความสนใจ ใฝ่รู้ เอาใจใส่ในการทำ�กิจกรรม
เกิดความรักในงานที่ตนเองทำ� และ 2) ครูเป็นผู้กำ�หนดให้ ซึ่งเป็นการ
บังคับให้เด็กนักเรียนต้องทำ� วิธีการนี้ครูจำ�เป็นต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดี
ควบคู่ไปกับการทำ�กิจกรรม ปัจจัยสำ�คัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดกลุ่มเด็ก
นักเรียน คือ ผู้ปกครอง ซึ่งมีทัศนคติว่างานเกษตรเป็นงานหนัก โดย
เฉพาะการปลูกพืชผัก ต้องขุดดิน ทำ�ให้ไม่อยากให้บุตรหลานของตน
ทำ�งานนี้
บทบาทหน้าที่ของเด็กนักเรียนในแต่ละกลุ่มมีดังนี้
 รับผิดชอบดูแลการผลิต ตลอดระบบการผลิต ตั้งแต่ปัจจัย
การผลิตจนถึงการจำ�หน่าย
 จดบันทึกการทำ�งานของตนเองในแต่ละวัน
 จดบันทึกผลผลิตที่ได้
 จัดทำ�บัญชีรายรับ-รายจ่าย
นอกจากรับผิดชอบหลักในแต่ละกลุ่มแล้ว ในบางโรงเรียนจะ
มอบหมายให้เด็กนักเรียนชั้นประถม 4-6 ทุกคนเป็นเจ้าของแปลงผัก
1-2 แปลง และเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-3 ซึ่งยังเล็กอยู่เป็นผู้ช่วยใน
การรดนํ้าผัก
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
28
ผลตอบแทนที่เด็กนักเรียนได้รับ มักเป็นผลผลิตที่ตนเองผลิต
เช่น กลุ่มไก่ไข่ ทุกวันศุกร์จะมีการแบ่งไข่ให้เด็กนักเรียนคนละ 3 ฟอง/
สัปดาห์ กลุ่มผักให้เจ้าของแปลงคนละ 2 ครั้ง/รุ่น (คนละ 1 หม้อ)
กลุ่มเลี้ยงปลาดุก ได้รับเงินปันผล
(2) ครู เป็นบุคลากรที่เป็นผู้ผลักดัน อำ�นวยการ จัดหาปัจจัย จัด
สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานเพื่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน
 ครูใหญ่ เป็นผู้แต่งตั้งหรือมอบหมายครูรับผิดชอบงาน
เกษตร โดยมีวิธีการคัดเลือกครูเกษตร ดังนี้ 1) เลือก
ครูที่มีพื้นฐานทางการเกษตร เช่นมีคุณวุฒิทางเกษตร
หรือมาจากครอบครัวเกษตรกรรม 2) เลือกจากครูที่มี
ความสนใจ
 ครูผู้รับผิดชอบงานเกษตร หรือเรียกชื่อว่า ครูเกษตร
อาจมี 2-3 คน เพื่อแบ่งงานกัน เช่น ครูกลุ่มพืชผัก-
ไม้ผล-เห็ด ครูกลุ่มปลา ครูกลุ่มปศุสัตว์ ครูเกษตรมี
บทบาทหน้าที่ดังนี้
 จัดทำ�แผนการผลิต และดำ�เนินการให้ได้ตามแผน
 ประสานกับครูที่รับผิดชอบอาหารกลางวัน เพื่อนำ�
ผลผลิตไปประกอบอาหาร
 ลงมือปฏิบัติร่วมกับเด็กนักเรียน ไปพร้อมๆ กับ
ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กนักเรียน
 ตรวจบันทึกการทำ�งานของเด็กนักเรียน
 ควบคุมกองทุนการผลิตของกลุ่มการผลิตที่ตน
รับผิดชอบ
 ครูอื่นๆ ในโรงเรียน นอกจากครูที่ได้รับมอบหมายให้
รับผิดชอบหลักแล้ว ในบางโรงเรียนอาจให้ครูทั้ง
โรงเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตรของโรงเรียน
โดยจัดเวรลงปฏิบัติงาน เช่น ดูนักเรียนลงแปลงรดนํ้าผัก
ให้อาหารสัตว์ ทำ�ความสะอาดแปลง เป็นต้น
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 29
(3) ชุมชน มีบทบาทในการออกแรงพัฒนาบุกเบิกพื้นที่การเกษตร
ของโรงเรียน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เกินกว่าที่นักเรียนจะ
ดำ�เนินการได้ด้วยตนเอง เป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียน หลังจากนั้น
นักเรียนสามารถมาทำ�กิจกรรมได้สะดวกขึ้น เช่น การถางหญ้าตัด
กิ่งไม้ การยกแปลง การก่อสร้างซ่อมแซมรั้วโรงเรียน การก่อสร้าง
คอกสัตว์ โรงเพาะเห็ด เป็นต้น โดยทั่วๆ ไปชุมชนจะมาช่วยพัฒนา
โรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการร้องขอจากโรงเรียน นอกจากนี้
ชุมชนยังสามารถบริจาคมูลสัตว์มาเป็นวัสดุในการปรับปรุงบำ�รุงดินของ
โรงเรียนด้วย บริจาคพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ในบางแห่งที่พื้นที่โรงเรียน
น้อยไม่สามารถทำ�การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้ ชุมชนยังให้โรงเรียน
ยืมที่สำ�หรับการปลูกพืชอายุสั้น หรือบริจาคผลผลิตทางการเกษตรของ
ตนเองให้กับโรงเรียน รวมทั้งบางชุมชนครัวเรือนมีการช่วยเลี้ยงโค สุกร
และเป็ด ไก่ของโรงเรียน แล้วแบ่งปันผลผลิตกัน
1.5 การจัดการผลผลิตทางการเกษตร เมื่อกลุ่มผลิตทางการ
เกษตรมีผลผลิตแล้ว ก็จะนำ�มาขายผ่านร้านค้าสหกรณ์ หากผลผลิต
อาหารสดมีเหลือก็ทำ�การแปรรูปถนอมอาหารต่อไป
การจำ�หน่ายผลผลิตทางการเกษตรผ่านร้านสหกรณ์ เป็น
พระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ให้โรงเรียนมีการดำ�เนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งจะมีการจัดตั้ง
ร้านค้าสหกรณ์ขึ้นภายในโรงเรียน และใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการผลิต
ทางการเกษตรของโรงเรียน ในการจำ�หน่ายผลผลิต กลุ่มผลิตจะเป็นผู้
กำ�หนดราคาขายให้แก่ร้านค้าสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์จะขายผลผลิตนี้
ให้แก่โรงครัวของโรงเรียน โดยครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันจะใช้
งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนอาหารกลางวันของรัฐบาล ซื้อ
วัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และราคา
ถูกกว่าท้องตลาดจากสหกรณ์ ไม่ต้องเดินทางไปซื้อในที่ไกล ๆ สหกรณ์
ทำ�บัญชี ออกใบเสร็จให้ หากผลผลิตมีเหลือร้านค้าก็สามารถขาย
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
30
ให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หรือแม้แต่ครูได้ เงินรายได้จากการ
ขายผลผลิตทางการเกษตรจะกลับคืนสู่กลุ่มผลิตทางการเกษตรของ
โรงเรียน ทำ�ให้การเกษตรในโรงเรียนมีความยั่งยืนได้ นอกจากนี้หาก
กลุ่มผลิตต้องการปัจจัยการผลิต ก็สามารถสั่งผ่านสหกรณ์เพื่อให้ช่วย
หาซื้อให้กลุ่มด้วย ดังแสดงในแผนผังที่ 4
แผนผังที่ 4 การจัดการผลผลิตของกลุ่มผลิตทางการเกษตรโดย
จำ�หน่ายผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน
การแปรรูปและถนอมอาหาร ปัจจุบันหลายโรงเรียนสามารถ
ผลิตผลผลิตทางการเกษตรบางอย่างได้ในปริมาณมาก เช่น ปลาดุก
ไข่ไก่ ผักกาด อีกทั้งบางพื้นที่ยังสามารถหาของพื้นบ้านหรือของป่าได้
จำ�นวนหนึ่ง ทำ�ให้นำ�มาใช้แปรรูปเพื่อเก็บไว้สำ�หรับบริโภคในวันอื่นๆ
หรือบางส่วนก็นำ�ไปจำ�หน่ายผ่านร้านสหกรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น การทำ�
ปลาตากแห้ง ปลาแดดเดียว ปลาร้า ไข่เค็ม ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง
รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 31
2. สหกรณ์นักเรียน
พระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ให้โรงเรียนดำ�เนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน มีจุดมุ่งหมาย คือ
1. เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมในการดำ�รงชีวิตร่วมกันใน
สังคม โดยกระบวนการสหกรณ์
2. ฝึกฝนนักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำ�เป็นในการทำ�งาน
สหกรณ์ เช่น การทำ�งานร่วมกัน การประชุม การบันทึกบัญชี การ
ค้าขาย เป็นต้น
นอกจากนี้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนยังเป็นประโยชน์ในการ
เชื่อมโยงกับการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ทำ�ให้เกิดการบูรณาการกิจกรรม
ต่างๆ สมบูรณ์ขึ้น
สหกรณ์นักเรียนจึงเป็นกิจกรรมของนักเรียน จัดตั้งขึ้นและดำ�เนิน
การโดยนักเรียน และมีนักเรียนเป็นสมาชิก ในการจัดการสหกรณ์
นักเรียน จะมีครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์เพื่อ
ช่วยเหลือ ให้คำ�แนะนำ�เด็กนักเรียนในการดำ�เนินงานตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รับสมัครสมาชิก ด้วยความสมัครใจ และเปิดกว้าง
สำ�หรับนักเรียนทุกคน การสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน จะเก็บ
ค่าหุ้น
ขั้นตอนที่ 2 ประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ
สหกรณ์นักเรียนมาดำ�เนินกิจการสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์
นักเรียนมีวาระในการทำ�งาน 1 ปีการศึกษา หรือบางแห่งอาจทำ�ได้
บ่อยขึ้นเป็น 1 ภาคการศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน เดือนละครั้ง
เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน การซื้อ-ขาย การตลาด ฯลฯ
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf
รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf

More Related Content

Similar to รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf

วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักdentyomaraj
 
Presentation final project
Presentation final projectPresentation final project
Presentation final projectssusera76f74
 
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กบทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กcsip.org > slide ความปลอดภัยในเด็ก
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นNamfon fon
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีUtai Sukviwatsirikul
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพtassanee chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพtassanee chaicharoen
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdfปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf60919
 
Evolution of pulic health in thailand
Evolution of pulic health in thailandEvolution of pulic health in thailand
Evolution of pulic health in thailandkamolwantnok
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงteeradejmwk
 
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์Utai Sukviwatsirikul
 
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์Utai Sukviwatsirikul
 
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์การตรวจโรคสตรีมีครรภ์
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัย
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัยความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัย
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัยUtai Sukviwatsirikul
 

Similar to รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf (20)

Policy
PolicyPolicy
Policy
 
Policy
PolicyPolicy
Policy
 
Lesson 2
Lesson 2Lesson 2
Lesson 2
 
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
 
Presentation final project
Presentation final projectPresentation final project
Presentation final project
 
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กบทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
 
คู่มือจัดการโรงเรียน Covid-19
คู่มือจัดการโรงเรียน Covid-19คู่มือจัดการโรงเรียน Covid-19
คู่มือจัดการโรงเรียน Covid-19
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdfปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
 
Evolution of pulic health in thailand
Evolution of pulic health in thailandEvolution of pulic health in thailand
Evolution of pulic health in thailand
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์
แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์
 
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
การตรวจสุขภาพสตรีมีครรภ์
 
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์การตรวจโรคสตรีมีครรภ์
การตรวจโรคสตรีมีครรภ์
 
Baby food
Baby foodBaby food
Baby food
 
Baby food for child
Baby food for childBaby food for child
Baby food for child
 
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัย
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัยความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัย
ความรู้เรื่องอาหารเสริมตามวัย
 

More from Vorawut Wongumpornpinit

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...Vorawut Wongumpornpinit
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...Vorawut Wongumpornpinit
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 

More from Vorawut Wongumpornpinit (20)

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
 
Psilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdfPsilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdf
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
 

รูปแบบการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร.pdf

  • 1.
  • 2. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่าง ครบวงจร ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี: ด้านการพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพ อนามัยในโรงเรียน ผู้เรียบเรียง นันทพร วีรวัฒน์ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2555 จำ�นวน 1,000 เล่ม สนับสนุนโดย  สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 3. ก สารบัญ หน้า  บทนำ� 1  จากพระราชดำ�รัสสู่การปฏิบัติ 11  แนวทางการบริหารจัดการการพัฒนาอาหาร 15 โภชนาการ และสุขภาพอนามัยในโรงเรียน 1. การเกษตรในโรงเรียน 15 2. สหกรณ์นักเรียน 31 3. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน 33 4. การติดตามภาวะโภชนาการ 38 5. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 39 6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน 40 ให้ถูกสุขลักษณะ 7. การจัดบริการสุขภาพ 41 8. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ 41 และสุขภาพอนามัย 9. การติดตามและการประเมินผล 42 10. การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 44  ปัจจัยและกระบวนการจัดการสู่ความสำ�เร็จ 47  ข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อน 51 เพื่อให้เกิดรูปแบบการดำ�เนินงานอาหารและโภชนาการ ในโรงเรียน หรืองานวิจัยเพิ่มเติม  บทส่งท้าย: การพัฒนาอาหาร โภชนาการ 55 และสุขภาพอนามัยในโรงเรียนในต่างประเทศ  เอกสารอ้างอิง 61 รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
  • 5. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 1 บทนำ� โภชนาการที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่จะ ส่งเสริมให้เด็กทุกคนเจริญเติบโตและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ เป็น คนมีคุณภาพของสังคมไทย อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา เด็กไทยใน วัยเรียนจำ�นวนมากขาดแคลนอาหารกลางวันและมีปัญหาการขาดสาร อาหาร จนทำ�ให้มีนํ้าหนักและส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก ทำ�ให้เด็กไม่สามารถพัฒนาได้อย่าง เต็มศักยภาพ ถึงแม้หลายหน่วยงานได้ร่วมกันแก้ไข แต่ก็ยังไม่สามารถ ครอบคลุมเด็กในวัยเรียนได้ทั้งประเทศ ยังมีเด็กนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว โดยลำ�พัง ทั้งนี้เพราะเด็กเหล่านี้อาศัยอยู่ตามชายขอบของประเทศ ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม มีสภาพทางภูมิศาสตร์ไม่ เหมาะสม จึงเป็นอุปสรรคสำ�คัญต่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา บริการสาธารณสุข ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต ทำ�ให้เด็กในพื้นที่เหล่านี้ขาดโอกาสในการ พัฒนามากกว่าเด็กในพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศ ในพื้นที่ทุรกันดารห่าง ไกลการคมนาคมเช่นนี้มีเพียงตำ�รวจตระเวนชายแดนซึ่งทำ�หน้าที่ดูแล มั่นคงทางชายแดนที่สามารถเข้าถึงได้ ตำ�รวจตระเวนชายแดนจึงร่วมกับ ชุมชนจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา เพื่อสอนหนังสือเด็กให้อ่านออกเขียนไทยได้ พูดจาสื่อสารกันได้ เด็กนักเรียนเหล่านี้มาจากครอบครัวที่ยากจน ไม่มี รายได้อะไร นอกจากทำ�การเกษตรเพื่อยังชีพ แต่ยังไม่สามารถผลิต อาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัว ขาดความมั่นคงด้าน อาหาร นอกจากนี้สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังไม่ถูกสุขลักษณะ ส่งผลให้ ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารมีความ รุนแรงกว่าในพื้นที่อื่น ๆ
  • 6. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 2 เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พบเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว ทำ�ให้ทรงห่วงใยเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า ในบรรดาคนยากจนทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด เห็นจะเป็นเด็กๆ พวกเด็กนักเรียนที่ซูบผอม อาหาร การกินไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จะเอาเรี่ยวแรงและสมองที่ไหนมาเล่าเรียน โตขึ้นอาจจะไม่มีเรี่ยวแรงทำ�งานทำ�มาหากิน ก็ต้องทุกข์ยากยิ่งขึ้น(1) จึงทรงริเริ่มดำ�เนิน โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยทรงทดลองทำ�ที่โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน 3 โรง เมื่อได้ผลแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายไปยัง โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในปีต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชดำ�รัส ถึงแนวทางในการดำ�เนินงานเพื่อพัฒนาภาวะโภชนาการของนักเรียน ในโอกาสที่เสด็จฯ ไปในการประชุมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ณ กองบังคับการ กองร้อยที่ 5 ตำ�รวจตระเวนชายแดน อำ�เภอ สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2524(2) ไว้ว่า ...ในโรงเรียนต่างๆ นั้น เคยเห็นว่ามีการทำ�โครงการอาหารกลางวัน สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาอยู่แล้วหลายโครงการ ส่วนมากก็ได้ผล พอสมควรทีเดียว แต่ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ยังไม่มีโครงการนี้ เพราะ ฉะนั้นการที่ใครจะเข้าไปทำ�เพิ่มอีกก็คงไม่เป็นการทำ�งานซํ้าซ้อนเป็นแน่ ยิ่งมีมากยิ่งดี การที่จะทำ�โครงการให้นักเรียนได้รับอาหารเพิ่มเติมนั้น เป็นของดี จึงคิดว่าจะทำ�อย่างไรจะได้ผล จากการที่ได้ศึกษาตามที่เขา ทำ�มา ก็มีการให้ทุน แล้วทางโรงเรียนไปจัดการทำ�อาหารให้นักเรียน บางทีก็ให้เปล่าหรือไม่ก็ให้ในราคาที่ตํ่าพอที่จะซื้อหากันได้
  • 7. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 3 จึงมาลองคิดอีกทีหนึ่ง คืออยากให้เป็นพืชผักหรืออุปกรณ์แล้ว ให้นักเรียนมาทำ�การเกษตร ซึ่งเป็นวิธีที่อ้อมและยากขึ้นมาอีกทางหนึ่ง อาหารที่จะให้รับประทานนั้นเป็นอาหารที่ได้มาจากผลิตผลของนักเรียน ผู้รับประทานเอง ซึ่งอาจจะได้ผลช้า แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะได้รับอาหาร และคิดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นผลพลอยได้ที่สำ�คัญ คือความรู้ทาง ด้านการเกษตร และด้านโภชนาการซึ่งจะเป็นวิชาติดตัวไปจนนักเรียน เหล่านั้นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และได้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร วิชาการใหม่ๆ เหล่านั้น อาจจะนำ�มาช่วยในการครองชีพได้มากทีเดียว ภายหลังจากที่โรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดนทุกโรงทั่วประเทศ ได้ดำ�เนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำ�ริแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีก็ได้ทรงติดตาม การดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรง เยี่ยมโรงเรียนด้วยพระองค์เอง และจากการที่ทรงศึกษาจากเอกสาร รายงานต่างๆ ทรงพบปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น จึงมีพระราชดำ�ริในการดำ�เนิน กิจกรรมพัฒนาต่างๆ เพิ่มขึ้นตามปัญหาที่ทรงพบ ไม่เพียงเฉพาะแต่ด้าน อาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุม ด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงทำ�ให้งาน พัฒนาของพระองค์ที่เริ่มต้นจาก 1 โครงการกลายเป็นโครงการพัฒนา แบบบูรณาการ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างสมดุลใน 4 ด้าน ดังบทพระราชนิพนธ์ต่อไปนี้(3) การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์นั้นจะต้องเน้นความสำ�คัญ 4 ด้าน 1) พุทธิศึกษา คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ ถ้าคนเราไม่มี ความรู้ มีทรัพย์สมบัตินับแสนนับล้านก็รักษาไว้ไม่ได้ 2) จริยศึกษา ต้องสอนให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม ประพฤติตนตามทำ�นองคลองธรรมกฎหมายบ้านเมือง ถ้าคนไม่สุจริต บ้านเมืองก็เจริญไปไม่ได้
  • 8. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 4 3) หัตถศึกษา คนเราต้องมีศิลปะ มีความสามารถที่จะทำ�อะไร ด้วยมือของตนเอง ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎีแล้วปฏิบัติไม่เป็น 4) พลศึกษา เมื่อมีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีแล้ว ถ้าไม่รักษาสุขภาพร่างกายให้ดี ก็ไม่สามารถใช้ความรู้ของตนให้เป็น ประโยชน์เท่าที่ควร ผู้มีสุขภาพอ่อนแอ ก็จะเรียนรู้ได้ไม่ดีนัก เมื่อพิจารณาเฉพาะด้านการพัฒนาอาหาร โภชนาการและ สุขภาพอนามัยในโรงเรียน นอกจากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลาง วันที่พระราชทานให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารดำ�เนินการแล้ว สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารียังมีพระราชดำ�ริและ พระราชทานกิจกรรมการพัฒนาต่อไป โดยทรงบรรยาย และทรง พระราชนิพนธ์ไว้ในโอกาสต่างๆ อาทิ ตัวอย่างงานที่ดำ�เนินการในโรงเรียน เรื่องการผลิตและการ บริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ซึ่งดำ�เนินการในทุกโรงเรียน ของที่ปลูกเอง ทำ�เอง จะไม่กล้าเททิ้งๆ ขว้างๆ เพราะเสียดาย นักเรียนลงมือทำ�การเกษตร ผลิตอาหารด้วยตัวเอง และเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การทำ�เกษตรรูปแบบผสมผสาน การใช้ปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวภาพ ควบคุมแมลง ที่นักเรียนผลิตขึ้นเองจากวัสดุเหลือทิ้งในโรงเรียน เป็น นํ้าหมักชีวภาพ ส่วนมากกรมพัฒนาที่ดินจะให้จุลินทรีย์ที่สกัดมา หรือ บางแห่งจะสกัดจุลินทรีย์ด้วยตัวเอง ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากสารเคมี อีกทั้งไม่มีสารตกค้างในธรรมชาติ ผลผลิตจากฟาร์มโรงเรียนจะนำ�มา ใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ดังนั้น จะเห็นว่าแทนที่ จะใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการทางอาหาร บรรจุในบรรจุภัณฑ์ เราก็จะ ได้ของสดจากฟาร์มโรงเรียน และอาหารที่นักเรียนรับประทาน แทนที่ จะเป็นอาหารปรุงสำ�เร็จรูป ก็เป็นอาหารที่ปรุงรับประทานเองกันใหม่ๆ แม้แต่วัสดุ ซึ่งอาจจะมีบ้าง เช่น โฟม พลาสติก หรือกระดาษ เราก็นำ� มาใช้ได้อีก เช่น ทำ�เป็นกระถางต้นไม้ เป็นต้น
  • 9. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 5 หญ้าแฝกมีประโยชน์มาก เพราะเป็นพืชที่มีรากยาวและรากตรง การให้นักเรียนปลูกหญ้าแฝกตามริมบ่อ ที่ลาดชัน หรือรอบๆ ไม้ผล และสังเกตการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก ศึกษาระบบราก นักเรียน จะมีความเข้าใจดีว่าต้นหญ้าแฝกจะอนุรักษ์ดินและนํ้าได้อย่างไร ...นักเรียนยังสามารถตัดใบแฝกนำ�ไปเป็นวัสดุคลุมดิน รักษาความ ชุ่มชื้น หรือตัวต้นหญ้านำ�ไปใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาได้ ตอนนี้โรงเรียน หลายแห่งสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตต้นกล้า ของหญ้าแฝกและเผยแพร่ไปให้ชุมชนนำ�ไปใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ ใบยังนำ�มาใช้ในงานหัตถกรรมได้ด้วย...โดยเชิญ วิทยากรจากท้องถิ่นมาสอนนักเรียน นอกจากนักเรียนมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและนํ้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะงานอาชีพ และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่นักเรียน ด้วย(4) การประกอบอาหารกลางวัน มีการกำ�หนดปริมาณอาหารที่ นักเรียนควรบริโภคตามหลักที่นักโภชนาการแนะนำ� เพื่อให้ได้คุณค่า อาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ครูต้องคำ�นวณปริมาณวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ถ้าผลิตได้ไม่ถึงมาตรฐานเรามีกองทุนที่ จะจัดซื้อให้ครบถ้วน ข้อสำ�คัญอีกประการที่พยายามเน้นมากคือเรื่อง สุขาภิบาลอาหาร ต้องให้อาหารสะอาดและปลอดภัย การทำ�อาหารมีเจ้าหน้าที่การเกษตรที่อยู่ในกรมส่งเสริม การเกษตรที่เรียกว่า เคหกิจ-การเกษตรกับแม่บ้าน ส่วนมากเป็น ผู้ปกครองของนักเรียนผลัดกันมาทำ�อาหาร ช่วยกันคิดรายการอาหาร แม่บ้านหลายคนเป็นศิษย์เก่า เคยอยู่ในโครงการช่วยเหลือให้ได้ รับประทานอาหาร กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจเรื่องประโยชน์ของอาหาร และสุขภาพอนามัยที่จะไปถ่ายทอดให้ที่บ้านได้
  • 10. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 6 การจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและถูกสุขลักษณะ ให้นักเรียนทุกคน นอกจากจะช่วยให้ภาวะโภชนาการเด็กดีขึ้นแล้ว ยัง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เช่น ให้กินผัก ผลไม้ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามที่เรียนเมื่อตอนเด็ก ๆ อยู่ชั้นประถม นี่คือแนวทางให้ปฏิบัติ และมีการส่งเสริมสุขนิสัย เช่น ล้างมือก่อนกินอาหาร แปรงฟันหลังกินอาหาร เป็นการส่งเสริมและ พัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการดีต่อไป อีกประการคือ เป็นตัวอย่าง และเป็นการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนเห็นว่า ที่เรียกว่าสะอาด นั้นเป็นอย่างไร และจะสามารถนำ�ไปใช้ในครัวเรือน ชุมชน ทำ�ให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป(5) การที่มีเด็กหลายเผ่าในโรงเรียน ทำ�ให้ส่งเสริมโภชนาการยาก วัฒนธรรมการกินของแต่ละเผ่าต่างกัน เราต้องไปลองกินอาหารกับ ชาวบ้าน เพื่อให้ทราบรสนิยมของเขาและดัดแปลง เติมของมีประโยชน์ เข้าไป (ปัจจุบันไม่สู้เป็นปัญหานัก นักเรียนปรับตัวในเรื่องการบริโภค ได้ดีขึ้น) ขณะนั้นผู้ที่ทำ�โครงการอาหารกลางวันมักจะใช้วิธีเก็บเงินเด็ก ส่วนเด็กที่ไม่มีเงินจริงๆ จะให้มารับจ้างทำ�งานแลกข้าว ข้าพเจ้าไม่ชอบ วิธีการนี้เลย ด้วยเหตุผลหลายอย่าง โครงการที่ข้าพเจ้าทำ�ในโรงเรียน ตชด. จัดในลักษณะที่ทุกคนในโรงเรียนที่เป็นเด็กปกติได้รับประทาน เท่ากัน ทุกคนจะต้องผลัดเวรกันมาช่วยดูแลครัวร่วมกับครูเป็นการ ฝึกหัด ภายหลังมีผู้ปกครองอาสาสมัคร (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง แต่ผู้ชาย ก็มีบ้าง มักเป็นศิษย์เก่า) ผลัดเวรมาช่วยดูแลบุตรหลานของตนเอง และ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรมาดูแลจัดการอาหาร แนะนำ�การจัดครัวให้ ถูกสุขลักษณะ การวางของให้เป็นระเบียบ ของต่างๆ ต้องจัดใส่ภาชนะ ให้มิดชิด เพื่อไม่ให้สัตว์ต่างๆ มารบกวน(1) การที่ให้เด็กทำ�อาหารเองเป็นการสร้างความรู้ว่าควรบริโภค อะไร และเป็นการพัฒนาทักษะของเด็กในด้านเกษตรที่สามารถนำ�ไป
  • 11. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 7 ประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย เพราะเราสอนตั้งแต่ปลูกพืช เลี้ยง สัตว์ด้วยตนเอง พร้อมทั้งให้ชุมชนซึ่งก็คือผู้ปกครองของเด็กมาช่วยเด็ก ในการทำ�กิจกรรม ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ชุมชน ช่วย เพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชน และนำ�มาซึ่งความมั่นคงทางอาหารให้แก่ ครัวเรือนและชุมชน(5) เมื่อได้ผลผลิตแล้ว ก็นำ�เข้าโรงครัวประกอบเลี้ยงนักเรียน โดย ผ่านทางสหกรณ์โรงเรียน หากมีชาวบ้านขาดแคลน โรงเรียนมีผลผลิต มาก ยังขายให้ชาวบ้านผ่านทางสหกรณ์ได้ด้วย เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ อาจออกไปซื้อของภายนอกไม่ได้ ก็สามารถใช้พืชผลที่ปลูกไว้เป็นอาหาร ประทังชีวิตได้(5) เรื่องสหกรณ์โรงเรียน (เริ่ม พ.ศ. 2534) ก็เป็นงานหนึ่งที่ ข้าพเจ้าพยายามจัดให้มีขึ้นทุกแห่ง เมื่อเริ่มโครงการข้าพเจ้ากำ�ชับ ไว้ว่าผลผลิตที่เกิดจากงานเกษตรห้ามขายเด็ดขาด ต้องให้นักเรียน รับประทานเพื่อบำ�รุงร่างกายซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการ ถึง แม้ว่าจะมีปริมาณเกินกว่าที่จะบริโภคได้หมด ก็ให้ทำ�การถนอมอาหาร เก็บไว้ หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน ต่อมาเมื่อโครงการ ประสบความสำ�เร็จพอสมควรแล้ว ก็ยอมให้ขายได้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ เป็นทุนหมุนเวียนให้โครงการบางส่วนเลี้ยงตัวเองได้ ทั้งนี้ต้องไม่ให้มี ผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ เมื่อมีการซื้อขาย ก็ต้องเกี่ยวข้องกับระบบ เศรษฐกิจ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าระบบที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เหมาะสม กับพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งโรงเรียน ตชด. มากที่สุด ก็คือ ระบบสหกรณ์ เพราะ แต่ละคนมีเงินน้อย เมื่อรวมกันจึงพอลงทุนธุรกิจใดๆ ได้ ในหนังสือ เรียนชั้นประถมศึกษาก็มีบทที่ว่าด้วยการสหกรณ์อยู่แล้ว จึงสนับสนุน ให้มีการปฏิบัติจริงในโรงเรียน การฝึกหัดเด็กนักเรียนในเรื่องสหกรณ์ ทำ�ให้เด็กได้ฝึกหัดทักษะ หลายอย่าง คือ หัดมาประชุมกัน ใช้เหตุผลโต้เถียงกัน อันเป็นการ
  • 12. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 8 ฝึกหัดการอยู่ในสังคมประชาธิปไตย เมื่อประชุมก็ให้มีการจดบันทึกการ ประชุม เป็นการฝึกหัดเขียนหนังสือ ฝึกหัดขาย เมื่อขายก็ต้องรู้จักการ ทำ�บัญชี ซึ่งก็เป็นอีกวิชาหนึ่งในหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบัญชี นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าสำ�คัญมาก เพราะช่วยฝึกความละเอียดถี่ถ้วน ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น เขียนผิดแล้วจะลบไม่ได้ ต้องขีดฆ่า แล้ว เซ็นชื่อกำ�กับ(1) เมื่อมีโครงการแล้วต้องติดตามภาวะโภชนาการ ว่าทำ�แล้วมีผล อย่างไร ปัจจุบันนี้มีตัวชี้วัดต่าง ๆ มาก เราชั่งนํ้าหนัก วัดส่วนสูงเด็ก มีกราฟของกระทรวงสาธารณสุขดูว่า เด็กในวัยนี้เทียบกับอายุควรมี นํ้าหนักและส่วนสูงเท่าไร ครูต้องวัด คำ�นวณ และกรอกแบบรายงาน พล็อตกราฟกัน เช่นนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ ก็แบ่งเป็นเด็กเล็ก เด็ก ประถม แต่ละชั้นต้องรายงานจำ�นวนนักเรียนทั้งหมดมาให้เราทราบ เพื่อที่เราจะได้คิดแก้ไข มีนํ้าหนักน้อย ค่อนข้างน้อย ปกติ ค่อนข้าง มาก ส่วนสูงก็มีเตี้ย ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างสูง เด็กบางคนได้รับความช่วยเหลือเรื่องอาหารมานานภาวะ โภชนาการยังไม่ดีขึ้น ข้าพเจ้าตั้งสมมุติฐานเองว่า อาจจะมีพยาธิแย่ง อาหารในท้อง หรือสุขภาพฟันไม่ดี ได้พยายามแก้ไขปัญหาสองข้อนี้ เมื่อตรวจก็พบว่ามีพยาธิมากจริง ๆ มีหลายชื่อ หลายพันธุ์ หลาย ลักษณะ บางคนมีพยาธิหลายชนิดในตัว เราใช้วิธีถ่ายยา พยายามให้ ครอบคลุมมากที่สุด(5) เรื่องการขาดสารไอโอดีน เหตุที่ข้าพเจ้าสนใจเรื่องนี้เพราะ แต่ก่อนเคยเห็นคนมีก้อนโต ๆ ที่คอมากมายทั้งหมู่บ้าน วันหนึ่งฟังวิทยุ มีบทความของกระทรวงสาธารณสุข บอกว่าถ้าขาดไอโอดีนจะทำ�ให้เป็น โรคเอ๋อได้ ลักษณะเหมือนเป็นบ้า เหมือนหมู่บ้านที่เคยเห็นชาวบ้าน เรียกว่าพวกผีบ้า คือบ้าๆ บอๆ ไม่ค่อยมีสติ สาเหตุเพราะขาดสาร ไอโอดีนส่วนหนึ่ง พยายามจะหาวิธีแก้ไข มีอาจารย์สอนเรื่องให้ตรวจคอ
  • 13. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 9 จึงช่วยกันกับเจ้าหน้าที่อนามัย ปัญหาก็ลดลงกว่าเดิมมาก แต่ก่อนใช้วิธี เติมไอโอดีนลงในเกลือ ต่อมาหยดไอโอดีนในนํ้าให้เด็กดื่ม ภายหลังมี วิธีตรวจที่ละเอียดขึ้น ทำ�ให้พบว่า ความจริงคนที่มีปัญหาขาดไอโอดีนมี จำ�นวนมากกว่าที่เราคิด แต่ยังไม่มีใครแนะนำ�ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะฉะนั้นเราจึงใช้วิธีเดิมก่อน คือถ้าดูแล้วเห็นว่าขาดไอโอดีน ถึงแม้ จะยังไม่ปรากฏคอโต ก็ให้ใช้ไอโอดีนเป็นเครื่องปรุงอาหาร และดื่มนํ้า หยดไอโอดีน การเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ทำ�สถิติไว้มีหลายโรค เช่น ท้องร่วง หวัด มาลาเรีย และหนอนพยาธิ เมื่อก่อนไปในหลายเขตเป็นเขตที่มาลาเรีย ชุกชุม เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน ทุกคนทั้งครูทั้งนักเรียนนอน สั่นไม่เป็นอันเรียนอันสอน ต้องช่วยร่วมมือกันหลายฝ่าย ทั้งสาธารณสุข อนามัย มหาวิทยาลัย และครู เริ่มแรกที่ทำ�งานนี้ซื้อกล้องจุลทรรศน์ มาใช้ ต่อมากล้องราคาแพงซื้อไม่ไหว ขอรับบริจาคจากหน่วยงานที่ ใช้ไม่ได้ แต่เราใช้ได้ เอามาเปลี่ยนนิดหน่อย เพิ่มชิ้นส่วนบางชิ้น แล้ว อบรมครูให้ตรวจเลือดและรักษาเบื้องต้น ส่งเสริมให้ชาวบ้านนอน ในมุ้งชุบสารไล่ยุงชนิดที่ตัวยาไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารไพธีรอยด์ ใช้มุ้งลวดกรุหน้าต่างประตู จัดให้นักเรียนเรียนรู้ เรื่องโรคมาลาเรีย เช่น ทำ�หนังสือภาพ บูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทำ�เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เด็กๆ แต่งหนังสือเรื่องโรคมาลาเรีย ไปหาข้อมูล สัมภาษณ์ ออกมา เสนอหน้าชั้น ภายหลังทางราชการมีโครงการฝึกคนพื้นบ้านตรวจ หาผู้ป่วยโดยใช้ชุดตรวจสำ�เร็จรูป ช่วยแบ่งเบาจากครูไปได้บ้าง แต่กล้องจุลทรรศน์ก็ยังมีประโยชน์ที่จะใช้ในด้านอื่นได้(1) พระราชนิพนธ์และพระราชกระแสข้างต้นแสดงถึงหลักการเหตุผล และความจำ�เป็นของการพัฒนางานด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ อนามัยในโรงเรียนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช
  • 14. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 10 กุมารี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี และสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ นั้น การจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนเพียงอย่างเดียวไม่อาจ เพียงพอได้ จำ�เป็นต้องมีการจัดกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนา ทักษะของเด็กนักเรียน (skill based approach) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ เด็กนักเรียนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตนเองและ พัฒนาสุขภาพของตนเองได้
  • 15. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 11 จากพระราชดำ�รัสสู่การปฏิบัติ การดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพ อนามัยในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น จะมีหน่วยงานหลักคือ สำ�นักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่รับผิดชอบในการนำ�พระราชดำ�รัสมาสู่การปฏิบัติ โดยผ่านทางแผน พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดทำ�ขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่พ.ศ. 2535 เป็นแผนระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 1-3) และ 10 ปี (ฉบับที่ 4) แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตาม พระราชดำ�รินี้จึงเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเด็กนักเรียน ให้แก่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริทุกโรง แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550–2559 มีเป้าหมายสูงสุด คือ เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้และ ทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำ�รงชีวิต รัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและ ความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้(6) ในการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน ตามพระราชดำ�รินั้น จึงมีเป้าหมายที่ให้เด็กนักเรียนทุกคนมีภาวะ โภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำ�เป็น และคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการ พัฒนาที่มีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเอง (learning by doing) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ
  • 16. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 12 พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมที่สามารถนำ�ไปใช้ได้ในชีวิตจริง และพึ่งตนเองได้ในที่สุด มีโรงเรียนเป็นฐานที่สำ�คัญของการปฏิบัติงาน และครูเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา พร้อมกับอาศัยการมี ส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน บทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริ ที่ได้ดำ�เนิน การพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตาม พระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่พัฒนา มาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี สามารถเขียนเป็นแผนผังแสดงถึงกรอบ แนวคิดและองค์ประกอบของงานด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพ อนามัยที่เกิดขึ้นในโรงเรียนดังแสดงในแผนผังที่ 1 ซึ่งมีองค์ประกอบ ของการพัฒนา ดังนี้ (1) การเกษตรในโรงเรียน (2) สหกรณ์นักเรียน (3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียน (4) การติดตามภาวะโภชนาการ (5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน (6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ (7) การจัดบริการสุขภาพ (8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย การพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน ตามพระราชดำ�รินั้น ไม่เพียงแต่ให้เด็กนักเรียนมีอาหารกลางวัน รับประทานเพื่อช่วยให้มีภาวะโภชนาการดีขึ้นเท่านั้น แต่ทรงใช้โครงการ เกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นจุดเริ่มต้นของการดำ�เนินงานพัฒนาใน โรงเรียน และขยายขอบเขตของการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาทักษะของ เด็กนักเรียน (skill-based approach) โดยมีโครงการเกษตรเพื่ออาหาร กลางวันเป็นจุดเชื่อมโยงการดำ�เนินกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ทำ�ให้เด็กได้ รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เกิดผลลัพธ์ดังแผนผังที่ 2
  • 19. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 15 แนวทางการบริหารจัดการ การพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยในโรงเรียน การดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยใน โรงเรียนอย่างครบวงจร สมํ่าเสมอต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อให้ผลของ การพัฒนาเกิดขึ้นกับตัวเด็กนักเรียนทุกคนดังพระราชดำ�ริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น จำ�เป็นต้องอาศัย การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบท ของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการบริหาร จัดการการดำ�เนินงานพัฒนาอาหาร โภชนาการ และสุขภาพในโรงเรียน เป็นบทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริ 1. การเกษตรในโรงเรียน การเกษตรในโรงเรียน เป็นกิจกรรมสำ�คัญอันดับแรกที่ โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำ�ริทุกโรงเรียนดำ�เนินการ จุดมุ่งหมายของการเกษตรในโรงเรียน คือ 1. ผลิตวัตถุดิบอาหารสำ�หรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันสำ�หรับ นักเรียนทุกคนทุกวันเรียน 2. พัฒนาเด็กนักเรียนทุกคนให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดี ทางการเกษตรผสมผสาน เป็นพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตในอนาคต การเกษตรในโรงเรียน จะครอบคลุมกิจกรรมทุกขั้นตอนตลอด ระบบการผลิตอาหาร ได้แก่ ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต การ เก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป การจำ�หน่ายและการกระจายผลผลิตสู่ ผู้บริโภค (แผนผังที่ 3)
  • 20. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 16 แผนผังที่ 3 ระบบการผลิตอาหารในโรงเรียน การจัดการการเกษตรในโรงเรียน ในการดำ�เนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทั้ง 2 ประการ อาจ แบ่งการจัดการการเกษตรในโรงเรียนได้เป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การจัดการเพื่อให้มีกิจกรรมการผลิตที่หลากหลาย เกิดขึ้นในโรงเรียน อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงของการจัดตั้งกิจกรรมการ ผลิตต่างๆ ใช้ระยะเวลา 2-5 ปี ขึ้นกับศักยภาพและความเอาใจใส่ของ ครูใหญ่และครูที่รับผิดชอบโครงการ หัวใจสำ�คัญของการดำ�เนินงาน ในช่วงนี้ คือ การจัดการพื้นที่ และการจัดการแหล่งนํ้าเพื่อการเกษตร เป็นระยะของการดำ�เนินงานทางกายภาพ (เช่น การพัฒนาแหล่งนํ้า และระบบนํ้าเพื่อการเกษตร การทำ�แปลงปลูกพืชผัก การสร้างเล้าเป็ด เล้าไก่ การขุดบ่อเลี้ยงปลา คอกปุ๋ยหมัก ที่เก็บวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และอื่นๆ) พร้อมทั้งเตรียมปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช
  • 21. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 17 พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร หลังจากเตรียมปัจจัยการผลิตแล้ว จึงลงมือปฏิบัติ ทดลองทำ�การเกษตร จดบันทึกปริมาณผลผลิตที่ได้ รวมถึงปัญหาอุปสรรค เพื่อนำ�ข้อมูลมาปรับปรุงหรือหาแนวทางในการ พัฒนา สำ�หรับใช้วางแผนการผลิตในปีการศึกษาต่อไป รูปแบบการผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนเป็นการเกษตรแบบ ผสมผสานสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ประเภทของอาหารที่โรงเรียน ควรผลิตขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่น แต่ควร ประกอบไปด้วย อาหารประเภทพืชผักที่หลากหลาย รวมทั้งพืชผักพื้นบ้าน และอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเอและธาตุเหล็กด้วย อาหารประเภท ไม้ผลที่สำ�คัญคือกล้วยและมะละกอ อาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีน เช่น ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์พื้นบ้าน เป็ด ปลา กบ หมู และถั่วเมล็ดแห้ง (หากมีพื้นที่มาก) และการทำ�นา ระยะที่ 2 การจัดการเพื่อให้มีผลผลิตอย่างยั่งยืน เป็นระยะของ การวิเคราะห์สถานการณ์ของโรงเรียนในการผลิตอาหารแต่ละประเภท แล้วจึงดำ�เนินการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของโรงเรียนเพื่อให้มีผลผลิต พอเพียง ต่อเนื่อง สมํ่าเสมอตลอดปีการศึกษา การดำ�เนินงานในระยะนี้ต้องกำ�หนดเป้าหมายในการผลิต ทางการเกษตรอย่างชัดเจนเป็นรายสัปดาห์ เช่น กลุ่มพืชผักใน 1 สัปดาห์ จะใช้ผักตามฤดูกาล 3 วัน ผักเถาเครือ 1 วัน และผักพื้นบ้าน 1 วัน พร้อมทั้งปริมาณที่จะต้องผลิต แล้วจึงวางแผนการผลิต การดูแล บำ�รุงรักษา โดยเน้นการใช้วิธีทางธรรมชาติ เช่น การปรับปรุงบำ�รุง ดิน โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยชีวภาพ การควบคุมกำ�จัดศัตรูพืช โดยใช้ตัวหํ้าและตัวเบียน การใช้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน การ ใช้สารสกัดจากพืช เป็นต้น มีการจดบันทึกปริมาณผลผลิต รวมถึง ปัญหาอุปสรรคเช่นกัน และนำ�ข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาสำ�หรับการผลิต ในรุ่นต่อไป
  • 22. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 18 และเพื่อให้กิจกรรมการผลิตทางการเกษตรมีความยั่งยืน โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งกองทุนการผลิตในแต่ละกิจกรรม โดย เฉพาะอย่างยิ่งกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เพราะการเลี้ยง สัตว์มักจะมีต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากพันธุ์และอาหารสัตว์มีราคาสูง โรงเรียนจัดการโดยอาศัยหลักการสหกรณ์ มีการจัดทำ�บัญชีรายรับ รายจ่าย จำ�หน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียน และนำ�รายได้มาจัดตั้ง เป็นกองทุน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนสำ�หรับดำ�เนินกิจกรรมในรุ่นต่อไป ระยะที่ 3 การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เป็นระยะของการ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่เด็กนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยการ พัฒนาเป็นหลักสูตรเกษตร จัดทำ�แผนการสอน ในระยะนี้ควรต้องอาศัย ประสบการณ์จากครูเกษตรของโรงเรียนมาร่วมกันจัดทำ� มีการกำ�หนด ชั่วโมงการเรียนการสอนอย่างชัดเจน แนวทางในการปฏิบัติ จากหลักการจัดการข้างต้น เมื่อโรงเรียนจะเริ่มต้นการทำ�เกษตร ในโรงเรียน ควรคำ�นึงถึงประเด็นต่อไปนี้  พื้นที่เกษตรอยู่ตรงไหน สภาพเป็นอย่างไร?  มีนํ้าสำ�หรับการเกษตรเพียงพอหรือไม่?  ดินเป็นอย่างไร?  อุปกรณ์การเกษตรมีหรือไม่?  จะผลิตอาหารอะไรบ้าง?  ใครจะช่วยเราได้บ้าง? เพื่อให้โรงเรียนสามารถเริ่มต้นการทำ�การเกษตรในโรงเรียนได้ จึงมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ 1.1 พื้นที่การเกษตร ควรเริ่มด้วยการจัดทำ�แผนผังการเกษตร เพื่อเลือกพื้นที่ วางแผนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ สูงสุด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
  • 23. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 19  โรงเรียนมีพื้นที่มาก: ควรเป็นพื้นที่ว่างมีสัดส่วนเฉพาะ อยู่ใกล้ บริเวณที่มีแหล่งนํ้าหรือสามารถขุดสระนํ้าได้ และควร อยู่ห่างจากอาคารเรียนเพื่อไม่ให้กลิ่นจากมูลสัตว์รบกวนการ เรียนการสอน  โรงเรียนมีพื้นที่น้อย: การจัดพื้นที่การเกษตรสามารถแทรกไป บริเวณที่ว่างต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น บริเวณที่ว่าง ระหว่างอาคารเรียน โดยคำ�นึงถึงความต้องการแสงของพืชด้วย เมื่อโรงเรียนตัดสินใจเลือกพื้นที่ได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการวางแผน การใช้พื้นที่โดยการจัดแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ ดังนี้  แหล่งนํ้า: ในกรณีที่เป็นสระนํ้าต้องการพื้นที่ 30% ของพื้นที่ ทั้งหมด แต่ถ้ามีแหล่งนํ้าสำ�รองภายนอกสามารถปรับลดลง ได้ตามความเหมาะสม  พื้นที่ปลูกพืชผัก: ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด ถ้ามีนักเรียนมากอาจปรับเพิ่มได้  พื้นที่ปลูกไม้ผล: ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นที่เพาะเห็ด: ใช้พื้นที่ประมาณ 3% ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก: ใช้พื้นที่ประมาณ 5% ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นที่อื่นๆ (โรงเก็บเครื่องมือ โรงปุ๋ย ฯลฯ): ใช้พื้นที่ประมาณ 2% ของพื้นที่ทั้งหมด ข้อควรคำ�นึงอีกประการหนึ่งในการวางแผนการใช้พื้นที่คือ ลักษณะของพื้นที่ตามสภาพภูมิศาสตร์ ได้แก่  พื้นที่ลุ่ม: เหมาะสำ�หรับขุดสระนํ้า หรือปลูกพืชที่เจริญเติบโต ได้ดีในนํ้าหรือที่แฉะ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว ผักกูด เป็นต้น  พื้นที่ดอน: เหมาะสำ�หรับการปลูกไม้ผล  พื้นที่ลาดชัน: ควรปลูกพืชตามขวางแนวลาดชัน พร้อมทั้ง ปลูกแฝกตามขอบแปลงเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของ ดิน
  • 24. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 20 1.2 อุปกรณ์การเกษตรพื้นฐาน ควรจัดหาให้เพียงพอกับจำ�นวน นักเรียนที่จะร่วมทำ�กิจกรรม จำ�นวนที่เหมาะสมของอุปกรณ์การเกษตร พื้นฐาน โดยประมาณจากนักเรียน 100 คน เฉลี่ยห้องละ 15-20 คน ประกอบด้วย จอบขุดดิน จำ�นวน 20-25 ด้าม เสียม จำ�นวน 15-20 ด้าม พลั่วตักดิน จำ�นวน 10 ด้าม มีดดายหญ้า จำ�นวน 10 เล่ม บัวรดนํ้า จำ�นวน 20-30 ใบ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่จำ�เป็นอื่น ๆ อีก เช่น ถังนํ้า บุ้งกี๋ กรรไกรตัดแต่ง ส้อมปลูก ส้อมพรวนดิน รถเข็น สวิงตักปลา อุปกรณ์ สำ�หรับการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เป็นต้น 1.3 ประเภทของอาหารที่จะผลิตและวิธีการผลิต โดยทั่วไป โรงเรียนทุกโรงจะทำ�การผลิตอาหารในกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ ได้แก่ กลุ่มพืชผัก และเห็ด กลุ่มไม้ผล กลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น ไก่พันธุ์ต่างๆ เป็ด ปลา หมู กลุ่มถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และกลุ่มข้าว ในการผลิตโรงเรียนจะทำ�การวางแผนการผลิต โดยกำ�หนด ทั้งชนิดและปริมาณจากปริมาณความต้องการบริโภคของเด็กนักเรียน ใน 1 มื้อ ตัวอย่างสำ�หรับโรงเรียนที่มีจำ�นวนนักเรียน 100 คน (ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาดพื้นที่การเกษตรของโรงเรียนและกำ�ลังคนที่จะช่วยงานด้วย) ใน 1 สัปดาห์ (5 วันเรียน) โรงเรียนต้องผลิตกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ และปริมาณผลผลิตที่ต้องการเพื่อใช้ในการประกอบอาหารดังนี้  กลุ่มพืชผัก: พืชผัก (หลากหลาย) ประมาณวันละ 10-11 กก. จำ�นวน 5 วัน
  • 25. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 21  กลุ่มอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน แบ่งเป็น:  เนื้อสัตว์ (ไก่ ปลา) ประมาณวันละ 5 กก. จำ�นวน 2 วัน  ไข่ไก่วันละ 100 ฟอง จำ�นวน 3 วัน  กลุ่มไม้ผล: กล้วยประมาณวันละ 100 ลูก จำ�นวน 2 วัน เมื่อกำ�หนดประเภทและปริมาณของอาหารที่ต้องการได้แล้ว จึงกำ�หนดเป็นปฏิทินการผลิตตลอดปีดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ปฏิทินการผลิตทางการเกษตรประจำ�ปีของโรงเรียน พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย กลุ่มพืชผัก 1. ผักที่ปลูกตามฤดูกาล  ผักปลูกในฤดูฝน เช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักโขม บวบ นํ้าเต้า กระเจียบเขียว  ผักที่ปลูกในฤดูแล้ง เช่น ผั ก ก า ด ผั ก ค ะ น้ า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว กะหลํ่าปลี  ผักที่ปลูกได้ทุกฤดูกาล เช่น ผักบุ้ง 2. ผักเถาเครือที่เก็บผลผลิตได้ นาน เช่น ฟักทอง ฟักเขียว 3. ผักพื้นบ้าน อายุยาว เช่น ผักหวาน ชะอม คูน เหลียง ดอกไม้จีน แค ตำ�ลึง 4. ผักเครื่องปรุงอาหาร เช่น พริก กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า มะกรูด 5. เห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดฟาง เป็นต้น
  • 26. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 22 พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย กลุ่มไม้ผล 1. ให้ผลผลิตตลอดปี เช่น กล้วย มะละกอ ฝรั่ง 2. ให้ผลผลิตตามฤดูกาล กลุ่มสัตว์ปีก 1. เน้นให้ผลผลิตไข่ เช่น ไก่พันธุ์ไข่ทั้งแบบกรง ตับและแบบปล่อยลาน เป็ด ไข่ 2. เน้นให้เนื้อ เช่น ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ 3. ให้ทั้งเนื้อและไข่ เช่น ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ กลุ่มสัตว์นํ้า 1. เลี้ยงในบ่อดิน เป็นการเลี้ยง ผสมกันระหว่าง ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียน 2. เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บ่อ พลาสติก กระชัง ได้แก่ ปลาดุก กบ 3. เลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลา ไน กบ  
  • 31. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 27 1.4 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำ�การ เกษตรในโรงเรียน ได้แก่ 1) นักเรียน 2) ครู และ 3) ชุมชน (1) เด็กนักเรียน เป็นบุคลากรหลักในการทำ�การเกษตรของ โรงเรียน โดยทั่วไปโรงเรียนจะจัดการโดยแบ่งเด็กนักเรียน (ส่วนมาก จะเป็นระดับชั้นประถม 4-6) เป็นกลุ่มการผลิตประเภทต่าง ๆ เช่น กลุ่มพืชผักไม้ผล กลุ่มเห็ด กลุ่มไก่ไข่ กลุ่มไก่เนื้อ กลุ่มปลาดุก ฯลฯ การแบ่งกลุ่มเด็กนักเรียนมีวิธีดำ�เนินการได้ 2 วิธี คือ 1) ความ สมัครใจของเด็กแต่ละคน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความชอบและความสนใจ วิธี การนี้พบว่าเด็กนักเรียนมีความสนใจ ใฝ่รู้ เอาใจใส่ในการทำ�กิจกรรม เกิดความรักในงานที่ตนเองทำ� และ 2) ครูเป็นผู้กำ�หนดให้ ซึ่งเป็นการ บังคับให้เด็กนักเรียนต้องทำ� วิธีการนี้ครูจำ�เป็นต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดี ควบคู่ไปกับการทำ�กิจกรรม ปัจจัยสำ�คัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดกลุ่มเด็ก นักเรียน คือ ผู้ปกครอง ซึ่งมีทัศนคติว่างานเกษตรเป็นงานหนัก โดย เฉพาะการปลูกพืชผัก ต้องขุดดิน ทำ�ให้ไม่อยากให้บุตรหลานของตน ทำ�งานนี้ บทบาทหน้าที่ของเด็กนักเรียนในแต่ละกลุ่มมีดังนี้  รับผิดชอบดูแลการผลิต ตลอดระบบการผลิต ตั้งแต่ปัจจัย การผลิตจนถึงการจำ�หน่าย  จดบันทึกการทำ�งานของตนเองในแต่ละวัน  จดบันทึกผลผลิตที่ได้  จัดทำ�บัญชีรายรับ-รายจ่าย นอกจากรับผิดชอบหลักในแต่ละกลุ่มแล้ว ในบางโรงเรียนจะ มอบหมายให้เด็กนักเรียนชั้นประถม 4-6 ทุกคนเป็นเจ้าของแปลงผัก 1-2 แปลง และเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-3 ซึ่งยังเล็กอยู่เป็นผู้ช่วยใน การรดนํ้าผัก
  • 32. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 28 ผลตอบแทนที่เด็กนักเรียนได้รับ มักเป็นผลผลิตที่ตนเองผลิต เช่น กลุ่มไก่ไข่ ทุกวันศุกร์จะมีการแบ่งไข่ให้เด็กนักเรียนคนละ 3 ฟอง/ สัปดาห์ กลุ่มผักให้เจ้าของแปลงคนละ 2 ครั้ง/รุ่น (คนละ 1 หม้อ) กลุ่มเลี้ยงปลาดุก ได้รับเงินปันผล (2) ครู เป็นบุคลากรที่เป็นผู้ผลักดัน อำ�นวยการ จัดหาปัจจัย จัด สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานเพื่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน  ครูใหญ่ เป็นผู้แต่งตั้งหรือมอบหมายครูรับผิดชอบงาน เกษตร โดยมีวิธีการคัดเลือกครูเกษตร ดังนี้ 1) เลือก ครูที่มีพื้นฐานทางการเกษตร เช่นมีคุณวุฒิทางเกษตร หรือมาจากครอบครัวเกษตรกรรม 2) เลือกจากครูที่มี ความสนใจ  ครูผู้รับผิดชอบงานเกษตร หรือเรียกชื่อว่า ครูเกษตร อาจมี 2-3 คน เพื่อแบ่งงานกัน เช่น ครูกลุ่มพืชผัก- ไม้ผล-เห็ด ครูกลุ่มปลา ครูกลุ่มปศุสัตว์ ครูเกษตรมี บทบาทหน้าที่ดังนี้  จัดทำ�แผนการผลิต และดำ�เนินการให้ได้ตามแผน  ประสานกับครูที่รับผิดชอบอาหารกลางวัน เพื่อนำ� ผลผลิตไปประกอบอาหาร  ลงมือปฏิบัติร่วมกับเด็กนักเรียน ไปพร้อมๆ กับ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กนักเรียน  ตรวจบันทึกการทำ�งานของเด็กนักเรียน  ควบคุมกองทุนการผลิตของกลุ่มการผลิตที่ตน รับผิดชอบ  ครูอื่นๆ ในโรงเรียน นอกจากครูที่ได้รับมอบหมายให้ รับผิดชอบหลักแล้ว ในบางโรงเรียนอาจให้ครูทั้ง โรงเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตรของโรงเรียน โดยจัดเวรลงปฏิบัติงาน เช่น ดูนักเรียนลงแปลงรดนํ้าผัก ให้อาหารสัตว์ ทำ�ความสะอาดแปลง เป็นต้น
  • 33. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 29 (3) ชุมชน มีบทบาทในการออกแรงพัฒนาบุกเบิกพื้นที่การเกษตร ของโรงเรียน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เกินกว่าที่นักเรียนจะ ดำ�เนินการได้ด้วยตนเอง เป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียน หลังจากนั้น นักเรียนสามารถมาทำ�กิจกรรมได้สะดวกขึ้น เช่น การถางหญ้าตัด กิ่งไม้ การยกแปลง การก่อสร้างซ่อมแซมรั้วโรงเรียน การก่อสร้าง คอกสัตว์ โรงเพาะเห็ด เป็นต้น โดยทั่วๆ ไปชุมชนจะมาช่วยพัฒนา โรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการร้องขอจากโรงเรียน นอกจากนี้ ชุมชนยังสามารถบริจาคมูลสัตว์มาเป็นวัสดุในการปรับปรุงบำ�รุงดินของ โรงเรียนด้วย บริจาคพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ในบางแห่งที่พื้นที่โรงเรียน น้อยไม่สามารถทำ�การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้ ชุมชนยังให้โรงเรียน ยืมที่สำ�หรับการปลูกพืชอายุสั้น หรือบริจาคผลผลิตทางการเกษตรของ ตนเองให้กับโรงเรียน รวมทั้งบางชุมชนครัวเรือนมีการช่วยเลี้ยงโค สุกร และเป็ด ไก่ของโรงเรียน แล้วแบ่งปันผลผลิตกัน 1.5 การจัดการผลผลิตทางการเกษตร เมื่อกลุ่มผลิตทางการ เกษตรมีผลผลิตแล้ว ก็จะนำ�มาขายผ่านร้านค้าสหกรณ์ หากผลผลิต อาหารสดมีเหลือก็ทำ�การแปรรูปถนอมอาหารต่อไป การจำ�หน่ายผลผลิตทางการเกษตรผ่านร้านสหกรณ์ เป็น พระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้โรงเรียนมีการดำ�เนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งจะมีการจัดตั้ง ร้านค้าสหกรณ์ขึ้นภายในโรงเรียน และใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการผลิต ทางการเกษตรของโรงเรียน ในการจำ�หน่ายผลผลิต กลุ่มผลิตจะเป็นผู้ กำ�หนดราคาขายให้แก่ร้านค้าสหกรณ์ ร้านค้าสหกรณ์จะขายผลผลิตนี้ ให้แก่โรงครัวของโรงเรียน โดยครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันจะใช้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนอาหารกลางวันของรัฐบาล ซื้อ วัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และราคา ถูกกว่าท้องตลาดจากสหกรณ์ ไม่ต้องเดินทางไปซื้อในที่ไกล ๆ สหกรณ์ ทำ�บัญชี ออกใบเสร็จให้ หากผลผลิตมีเหลือร้านค้าก็สามารถขาย
  • 34. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 30 ให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หรือแม้แต่ครูได้ เงินรายได้จากการ ขายผลผลิตทางการเกษตรจะกลับคืนสู่กลุ่มผลิตทางการเกษตรของ โรงเรียน ทำ�ให้การเกษตรในโรงเรียนมีความยั่งยืนได้ นอกจากนี้หาก กลุ่มผลิตต้องการปัจจัยการผลิต ก็สามารถสั่งผ่านสหกรณ์เพื่อให้ช่วย หาซื้อให้กลุ่มด้วย ดังแสดงในแผนผังที่ 4 แผนผังที่ 4 การจัดการผลผลิตของกลุ่มผลิตทางการเกษตรโดย จำ�หน่ายผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน การแปรรูปและถนอมอาหาร ปัจจุบันหลายโรงเรียนสามารถ ผลิตผลผลิตทางการเกษตรบางอย่างได้ในปริมาณมาก เช่น ปลาดุก ไข่ไก่ ผักกาด อีกทั้งบางพื้นที่ยังสามารถหาของพื้นบ้านหรือของป่าได้ จำ�นวนหนึ่ง ทำ�ให้นำ�มาใช้แปรรูปเพื่อเก็บไว้สำ�หรับบริโภคในวันอื่นๆ หรือบางส่วนก็นำ�ไปจำ�หน่ายผ่านร้านสหกรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น การทำ� ปลาตากแห้ง ปลาแดดเดียว ปลาร้า ไข่เค็ม ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง
  • 35. รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร 31 2. สหกรณ์นักเรียน พระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้โรงเรียนดำ�เนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน มีจุดมุ่งหมาย คือ 1. เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมในการดำ�รงชีวิตร่วมกันใน สังคม โดยกระบวนการสหกรณ์ 2. ฝึกฝนนักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำ�เป็นในการทำ�งาน สหกรณ์ เช่น การทำ�งานร่วมกัน การประชุม การบันทึกบัญชี การ ค้าขาย เป็นต้น นอกจากนี้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนยังเป็นประโยชน์ในการ เชื่อมโยงกับการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ทำ�ให้เกิดการบูรณาการกิจกรรม ต่างๆ สมบูรณ์ขึ้น สหกรณ์นักเรียนจึงเป็นกิจกรรมของนักเรียน จัดตั้งขึ้นและดำ�เนิน การโดยนักเรียน และมีนักเรียนเป็นสมาชิก ในการจัดการสหกรณ์ นักเรียน จะมีครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์เพื่อ ช่วยเหลือ ให้คำ�แนะนำ�เด็กนักเรียนในการดำ�เนินงานตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รับสมัครสมาชิก ด้วยความสมัครใจ และเปิดกว้าง สำ�หรับนักเรียนทุกคน การสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียน จะเก็บ ค่าหุ้น ขั้นตอนที่ 2 ประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ สหกรณ์นักเรียนมาดำ�เนินกิจการสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์ นักเรียนมีวาระในการทำ�งาน 1 ปีการศึกษา หรือบางแห่งอาจทำ�ได้ บ่อยขึ้นเป็น 1 ภาคการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน เดือนละครั้ง เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน การซื้อ-ขาย การตลาด ฯลฯ