SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
 
คํานํา
ผลงานวิจัย เรื่อง ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
จัดทําขึ้นตามกระบวนการการจัดการความรู้ ซึ่งดําเนินการภายใต้ระบบส่งเสริมการเกษตรของสํานักงาน
เกษตรจังหวัดพัทลุง ปี 2556 โดยมีคณะทํางานให้ความร่วมมือกําหนดประเด็นการวิจัย ปัญหา ออกแบบ
การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย
คณะผู้วิจัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สามารถนําข้อมูลจากผล
การศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ การแก้ปัญหา และการป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ได้
อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
คณะทํางานการจัดการศัตรูพืช
กันยายน 2556
 
หัวข้อวิจัย รายงานการวิจัย เรื่อง ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย คณะทํางานกลุ่มปฏิบัติการจัดการความรู้การจัดการศัตรูพืช
ปี 2556
บทคัดย่อ
ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาการระบาดของหอยเชอรี่และรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
ประชากรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ฤดูกาลผลิตปี 2555 จํานวน 6,320 ราย คัดเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 376 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ทํานาข้าวในพื้นที่อําเภอเมือง, เขาชัยสน, ควนขนุน, ปากพะยูน, กงหรา, ป่าบอน,
บางแก้วและป่าพะยอม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสําเร็จรูป โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ําสุด
ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.4 มีอายุเฉลี่ย
55.49 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.9 ประกอบอาชีพทํานาเป็นอาชีพหลัก คิดเป็น
ร้อยละ 52.4 เกษตรกรมีพื้นที่ทํานาปรังเฉลี่ย 7.05 ไร่ วิธีการทํานาเกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้วิธีการ
ทํานาแบบหว่านน้ําตม คิดเป็นร้อยละ 96.3 และผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม/ไร่ สําหรับการ
ระบาดของหอยเชอรี่ พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบ
ตัวหอยเชอรี่และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ในแปลงเป็น ส่วนใหญ่ ระยะการระบาดของหอยเชอรี่ เกษตรกร
ส่วนใหญ่พบการระบาดในระยะกล้า สําหรับรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้
วิธีการใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง ไม่ทําอะไร
เลย และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 27.0, 15.0 และร้อยละ 9.0
ตามลําดับ
จากผลการศึกษา จึงควรส่งเสริมการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการ
หอยเชอรี่แบบผสมผสาน การนําหอยเชอรี่มาใช้ประโยชน์ เช่น การทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ เพื่อใช้
ประโยชน์ในด้านการเกษตรต่อไป
คําสําคัญ : หอยเชอรี่
 
สารบัญ
หน้า
คํานํา (1)
บทคัดย่อ (2)
บทที่ 1 บทนํา
ความสําคัญและที่มาของปัญหา 1
วัตถุประสงค์การวิจัย 1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตของการวิจัย 2
นิยามศัพท์ 2
บทที่ 2 การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การตรวจเอกสาร 3
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย
ประชากร 8
กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 8
การเก็บรวบรวมข้อมูล 9
การวิเคราะห์ข้อมูล 9
ระยะเวลาการวิจัย 9
แผนการดําเนินงาน 9
บทที่ 4 ผลการวิจัย
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 10
ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่ 12
ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการของหอยเชอรี่ในนาข้าว 13
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปการวิจัย 14
ข้อเสนอแนะ 15
เอกสารอ้างอิง 16
 
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 3.1 จํานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9
ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 10
ตารางที่ 4.2 การระบาดของหอยเชอรี่ 12
ตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ 13
 
คณะทํางาน กลุ่มจัดการความรู้การจัดการศัตรูพืช
1. นายอานนท์ คงนุ่ม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
2. นายสัมฤทธิ์ ฤทธิ์ชู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
3. นางสาวพัชนีกูล บุญแสง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
4. นางสุดใจ เกลี้ยงสง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
5. นายสมนึก คงศรีทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
6. นายทรงพล หนูวรรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
7. นายพิฑูรย์ จรูญรัตน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
8. นายมะโน หะยะมิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
9. นางอัจฉรา ทองประดับ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ
10. นางสาวเรณู ห้องเม่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
11. นางวราภรณ์ ชายเกตุ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
12. นางสาวทัศนีญา นาควิโรจน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
ที่ปรึกษา
1. นายวิมล สิงหะพล หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช
2. นายปกรณ์ สงทอง เกษตรอําเภอเมืองพัทลุง
3. นายสุพร เพชรคง เกษตรอําเภอป่าพะยอม
    
2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนําข้อมูลจากผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ การ
แก้ปัญหา และการป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ทําการศึกษา การจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง
ปี 2555 ฤดูกาลนาปรัง กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 376 ราย
นิยามศัพท์
หอยเชอรี่ หมายถึง หอยน้ําจืดจําพวกหอยฝาเดียวพวกหอยโข่ง มีเปลือกสีเหลืองปน
น้ําตาล และเปลือกสีเขียวเข้มปนดํา มีการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว อาศัยอยู่ใน
แหล่งน้ําจืด
บทที่ 2
การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การตรวจเอกสาร
1. ความหมายของรูปแบบ
มีผู้ให้ความหมายของรูปแบบ กล่าวพอสรุปได้ดังนี้
ทิศนา แขมมณี (2551 : 1) ให้ความหมายของรูปแบบ หมายถึง วิธีที่บุคคลใด บุคคล
หนึ่งได้ถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจที่มีต่อปรากฎการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เพื่อ
เป็นแบบอย่าง
รูปแบบ หมายถึง สิ่งที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีที่ได้ศึกษามาของผู้สร้างเอง
เพื่อถ่ายทอดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ให้เข้าใจได้ง่ายและกระชับถูกต้อง
2. หอยเชอรี่
หอยเชอรี่เป็นหอยจําพวกหอยทากน้ํา (Freshwater Snail) บางครั้งเรียกว่า หอยโข่ง
อเมริกาหรือหอยเป๋าฮื้อน้ําจืด มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษ คือ Golden Apple Snails เป็นหอยวงศ์
เดียวกันกับหอยโข่งแต่มีเปลือกบางกว่า เปลือกมีสีเหลืองจนถึงเขียวอมน้ําตาล บางชนิดมีลายสีดําตามขวาง
1. ประวัติความเป็นมาของหอยเชอรี่
หอยเชอรี่ที่พบระบาดอย่างหนักอยู่ในประเทศไทยตอนนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่เป็น
หอยพื้นบ้านของประเทศไทยเราหากแต่เพิ่งมีการนําเข้ามาเมื่อประมา 10 กว่าปีที่ผ่านมาเพื่อเพาะเลี้ยงใน
เชิงพาณิชย์การส่งออก ต่อมาเนื้อของหอยไม่เป็นที่นิยมจึงไม่สามารถส่งออกได้เกษตรกรจึงปล่อยทิ้งทําให้
หอยเชอรี่เล็ดลอดลงสู่แหล่งน้ําทั่วไปจนเกิดการแพร่พันธุ์และระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน หอยเชอรี่นับเป็น
Nnew World Genera โดยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1810 บริเวณแถบอเมริกาใต้ อาหารของ
หอยเชอรี่คือพืชน้ํา และซากสัตว์ที่ลอยปะปนมาตามน้ํา จากลักษณะการกินอาหารได้หลากหลายประเภท
และการที่มีอัตราการแพร่พันธุ์นี้เอง จึงทําให้พบการกระจายตัวของหอยเชอรี่ในแทบทุกส่วนของโลก เช่น
ประเทศในแถบอเมริกาใต้ บราซิล แอฟริกา จะพบหอยเชอรี่พันธุ์ P. bridgesi, P. maculate และ
P. paludosa เป็นต้น ต่อมาได้มีการแพร่กระจายสู่แถบทวีปเอเชียโดยผ่านประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์
จนกระทั่งมีการนําเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2525-2526 โดยนําเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
เพื่อเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อเนื้อของหอยไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เกษตรกรจึงเลิกเลี้ยงทําให้หอย
เชอรี่จึงเล็ดลอดและเกิดการแพร่ขยายพันธุ์ลงในแหล่งน้ําธรรมชาติ จนกระทั่งพบรายงานการระบาดและ
สร้างความเสียหายในนาข้าวขึ้น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 ที่อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน
รายงานล่าสุดพบว่า มีการระบาดในกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ แนวโน้มของหอยเชอรี่ที่กําลังกลายเป็นศัตรู
นาข้าวที่สําคัญในประเทศไทยในอนาคต หอยเชอรี่ที่พบระบาดในประเทศไทยมีอย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี
ความแตกต่างกันที่ขนาดของเปลือก จํานวนการวนของเปลือก ลักษณะของฝาปิดเปลือก (Operculum)
ลวดลายและสีของเปลือก รวมทั้งลักษณะทางกายวิภาคบางประการ เช่น การเรียงตัวของท่ออสุจิ ที่พบ
ระบาดในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ จนกระทั่งมีการนําเข้ามาครั้งแรกใน
ประเทศไทย
4
2. ลักษณะและชีววิทยาของหอยเชอรี่
หอยเชอรี่เป็นหอยน้ําจืดฝาเดียวพวกหอยโข่ง อยู่ในวงศ์ Pilidae มีรูปร่างค่อนข้าง
กลม มีเปลือกสีเหลืองปนเขียวปนน้ําตาล ลักษณะของเปลือกเป็นแบบหมุนเวียนขวา อาศัยอยู่ในแหล่งน้ําจืด
ที่มีลักษณะไม่ลึกมากนักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและชอบกัดกินผักบริเวณอยู่เหนือผิวน้ํา เคลื่อนไหวโดย
การใช้ขา (Foot) ขณะเคลื่อนที่ก็จะขับสารเมือกออกมาเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่และลอยตัวบนผิวน้ําได้
ภายในช่องเมนเทิล (Mentle Cavity) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ มีเหงือกอยู่ทางด้านขวา (Ctenidium) ซึ่ง
ในการหายใจ และด้านขวาจะโป่งพองคล้ายเป็นถุงลม (Airsac) ทําหน้าที่ช่วยในการหายใจโดยจะแลก
เปลี่ยนก๊าชจากอากาศผ่านท่อหาย (Respiratory Siphon) ที่มีขนาดใหญ่และยาว ซึ่งหอยจะยื่นท่อนี้
ออกไปเพื่อฮุบเอาอากาศเหนือผิวน้ําทําให้หอยเชอรี่สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ําที่มีปริมาณออกซิเจนต่ําได้
3. การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์
หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่มีเพศแยกกัน การจําแนกเพศของหอยเชอรี่จะสังเกตได้จาก
ลักษณะความนูนของแผ่นฝาปิดเปลือกถ้าหากแผ่นฝาปิดมีความนูนมากจัดเป็นหอยเชอรี่เพศผู้ หรืออาจจะ
สังเกตจากแผ่นอวัยวะเพศผู้ (Penis Heath) ซึ่งจะเห็นได้เมื่อหอยเชอรี่โตเต็มที่ทางช่องเมนเทิล หอยเชอรี่ที่
โตเต็มวัยและพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน หรือ มีน้ําหนักประมาณ 5 กรัม ความยาว
เปลือกประมาณ 25 มิลลิเมตร ซึ่งหอยเชอรี่จะจับคู่ผสมพันธุ์และหลังจากนั้น 1-2 วัน ตัวเมียจะทําการ
วางไข่ในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ หอยเชอรี่จะคลานขึ้นไปวางไข่ในบริเวณที่แห้งเหนือน้ํา เช่น โคนต้นไม้
ริมน้ํา กิ่งไม้ที่ปักอยู่ในบ่อ ต้นหญ้าริมน้ํา และตามต้นข้าวในนาหอยเชอรี่จะมีไข่เป็นสีชมพูสดเกาะติดกันเป็น
กลุ่มยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แต่ละกลุ่มจะมีไข่หอยเชอรี่ประมาณ 400-3,000 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของแม่หอย สิ่งแวดล้อมและที่สําคัญความสมบูรณ์ของอาหารที่หอยเชอรี่กิน และไข่ของหอยเชอรี่
แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.0-2.5 มิลลิเมตร ไข่หอยเชอรี่มีอัตราการฟักสูงถึงร้อยละ
71-91 ที่อุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งไข่หอยเชอรี่ที่ไข่ใหม่ ๆ จํามีสีชมพูและจะค่อย ๆ ซีดจาง
ลงจนเกือบเป็นสีขาว จากนั้นจึงฟักเป็นตัวภายใน 7-8 วัน โดยลูกหอยเชอรี่ที่เกิดใหม่จะมีขนาดเท่ากับ
หัวเข็มหมุด หนักประมาณ 1.7 มิลลิกรัมและมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ หลักจากที่ลูกหอยเชอรี่
ฟักเป็นตัวออกจากไข่แล้วจะทิ้งตัวลงน้ําและเริ่มกินพืชน้ําขนาดเล็กและสาหร่ายต่าง ๆ และเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็ว หลังจากที่หอยเชอรี่ไข่ไปแล้วประมาณ 4-10 วัน ก็สามารถวางไข่ได้ใหม่อีกครั้งและหอยเชอรี่
ยังสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี หอยเชอรี่เจริญเติบโตโดยอาศัยการสร้างเปลือกต่อจากเดิมทางด้านขอบนอก
ของเปลือก (Mouth-Edge) ที่อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับยอดแหลม (Spire) ทําให้ขนาดของเปลือกหอยเชอรี่
เพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง
4. การกินอาหาร หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivores) สามารถกินพืชน้ํา
ได้เกือบทุกชนิดที่มีลักษณะใบอ่อนนิ่ม เช่น แหน แหนแดง จอก จอกหูหนู ไข่น้ํา ผักบุ้ง ผักกะเฉด ต้นแห้ว
กระจับ ใบบัว สาหร่ายต่างๆ ยอดอ่อนผักตบชวา ต้นข้าวกล้า ต้นหญ้าที่อยู่ริมน้ํา รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่
เน่าเปื่อยในน้ําที่อยู่ใกล้ๆ ตัว สามารถกินได้รวดเร็ว เฉลี่ยวันละ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักตัว และกินได้
ตลอด 24 ชั่วโในเวลากลางวันที่มีแดดจัดจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของพืชน้ําต่างๆ หรืออาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของ
ต้นไม้ใหญ่ริมแหล่งน้ําหรือนาข้าวนั้นๆ แล้วกินอาหารตลอดเวลา การกินอาหารต้องอยู่ในน้ํา กล่าวคือ มีน้ํา
ช่วยพยุงให้ตัวลอยขึ้นแล้วใช้ส่วนขากรรไกร (jaw) กัดชิ้นส่วนของพืชให้ขาดจากกันแล้วส่งเข้าในช่องปาก ซึ่ง
5
อยู่ระหว่างรยางค์ที่แผ่ออกเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทางด้านส่วนหัว ภายในปากมีกรามขนาดใหญ่ 1 คู่ใช้กัดกิน
อาหาร ถัดจากกรามเข้าไปภายในเป็นแรดูลา ซึ่งแข็งแรงเป็นเส้นบางคล้ายโซ่เต็มไปด้วยฟันแหลม มีลักษณะ
เป็นฟันซี่เล็กๆ สีแดงเรียงซ้อนกันอยู่ 5 แถว มีจํานวนหลายร้อยซี่เรียงเป็นแถวขวาง มีรูปร่างและขนาด
แตกต่างกันระหว่างซี่ตรงกลางและริม ทําหน้าที่บดอาหารโดยกล้ามเนื้อรอบๆ จะทํางานให้ส่วนแรดูลาขยับ
ไปมา ขูดไปบนอาหาร ต่อมาจะถูกส่งผ่านไปถึงหลอดอาหาร (esophagus) และไปสู่กระเพาะซึ่งจะเริ่มมี
การย่อยอาหารที่นั่น ส่วนที่ไม่ย่อยจะผ่านออกไปทางทวารหนัก ซึ่งอยู่ใกล้ส่วนหัว
5. ที่อยู่อาศัย หอยเชอรี่อยู่ทั่วไปได้ตามแหล่งน้ําทุกประเภท ได้แก่ บึง สระ หนอง คลอง
แม่น้ํา ลําธาร กล่าวคือ อยู่ได้ทั้งในที่น้ําไหลและใสสะอาด มีออกซิเจนสูงพอๆ กับในน้ํานิ่งและน้ําตื้นเพียง
ไม่กี่เซนติเมตร เต็มไปด้วยเศษพืช หรือเกือบไม่มีออกซิเจนอยู่เลยก็ยังเจริญเติบโตได้ดี ขอเพียงแต่มีอาหาร
บ้างและสภาพน้ําไม่เป็นกรดมากนัก อุณหภูมิที่พอเหมาะประมาณ 18-30 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิต่ํา
หอยจะมีอายุขัยนานประมาณ 3 ปี หากอยู่ในที่อุณหภูมิสูง เช่น ในนาข้าวจะมีอายุประมาณ 12-16 เดือน
สังเกตพบว่าในคูที่แม้น้ําจะเน่าจนสีเกือบดํา หอยก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เพียงแต่อาจเจริญเติบโตไม่ดีและออกไข่
น้อยครั้งกว่าปกติ
6. การจําศีล โดยทั่วไปหอยเชอรี่ไม่จําเป็นต้องจําศีล (aestivation) หากมีน้ําและอาหาร
อุดมสมบูรณ์ การจําศีล คือ การที่หอยลดกระบวนการสร้างและกระบวนการทําลายภายในร่างกายลงเพื่อ
ความอยู่รอดทั้งนี้โดยมีความแห้งแล้งเป็นสาเหตุ ดังนั้น หอยเชอรี่ที่อาศัยในข้าว เมื่อน้ําแห้งก็จะปิดฝาแล้ว
หมกตัวอยู่ในโคลน เป็นการทําตัวให้รอดจากความแห้งแล้ง ในประเทศญี่ปุ่นแม้น้ําจะแห้งจนดินแตกระแหง
เป็นเวลานาน 3-4 เดือน หอยก็ยังรอดตายอยู่ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าอยู่ตามพงหญ้าก็จะรอดตาย
เพียงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และหอยเชอรี่สามารถมีชีวิตอยู่รอดผ่านฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุมได้ จากการ
ทดสอบโดยนําหอยใส่ตู้อบที่ตั้งอุณหภูมิ 0-3 องศาเซลเซียส และ -6 องศาเซลเซียสพบว่าหอยจะตาย
ภายใน 25 วัน 3 วัน และ 1 วัน ตามลําดับ แสดงว่าในเขตอบอุ่น หอยจะทนอยู่ในฤดูหนาวได้หรือไม่
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิว่าต่ํากว่า 0 องศาเซลเซียส เพียงใด หอยขนาด 20-30 มิลลิเมตร จะมีความทนทานต่อ
อุณหภูมิต่ํามากกว่าหอยขนาดใหญ่ ในประเทศญี่ปุ่นประชากรหอยจะเพิ่มขึ้น 3-9 เท่าต่อปี แม้ว่าจะผ่านฤดู
หนาว สําหรับประเทศไทยไม่มีฤดูหนาว ดังนั้น ในท้องที่ที่มีน้ําตลอดปีหอยจึงไม่มีการจําศีล คาดว่า
ประชากรของหอยน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 9-10 เท่าต่อปี นอกจากนี้ความแข็งของดิน น้ําแห้งเร็วหรือช้า
ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญต่อการจําศีลด้วย
7. ผลเสียของหอยเชอรี่
7.1 หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่ชอบกินพืชที่ขึ้นในน้ําและริมฝั่งน้ําซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะ
อ่อนนุ่มได้เกือบทุกชนิดและกินได้ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงทําให้เกิดผลเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด
เช่น ข้าว บัว และ พืชผักที่ปลูกอยู่ริมน้ําต่าง ๆ ที่สําคัญที่สุด คือ ต้นข้าว ซึ่งหอยเชอรี่จะเข้าทําลายต้นข้าว
ในระยะที่เป็นต้นกล้าหลังการปักดํา มีรายงานการทําลายนาข้าวของหอยเชอรี่ที่อําเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2531 ซึ่งสามารถทําลายนาข้าวให้ได้รับความเสียหายได้มากถึง 50 ไร่ ภายใน
ค่ําคืนเดียว
6
7.2 หอยเชอรี่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยทําให้ระบบนิเวศ
เปลี่ยนแปลงเนื่องจากหอยเชอรี่จํานวนมากทําลายพืชผักในแหล่งน้ําได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพืชน้ําถูกทําลายก็
ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ําในบริเวณนั้นทําให้ขาดอาหารและลดจํานวนลง ด้วยสาเหตุนี้จึงทําให้ระบบนิเวศ
เกิดการเปลี่ยนแปลง
7.3 หอยเชอรี่เป็นปรสิตของโรคบางชนิด เช่น โรคพยาธิ (Angiostrongylusc
cantonensis)
8. การควบคุมและกําจัดหอยเชอรี่
การจัดการหอยเชอรี่ในปัจจุบัน สามารถทําได้หลายวิธี เพื่อการป้องกันและกําจัด
หอยเชอรี่ที่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรสามารถเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือนําวิธีการต่างๆ
มาใช้ร่วมกัน ดังนี้
8.1 การกําจัดหอยเชอรี่ทางกายภาพ
8.1.1 การป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้หอยเชอรี่
เล็ดลอดเข้าสู่นาข้าวที่ยังไม่พบการระบาด หรือป้องกันไม่ให้มีการเพิ่มจํานวนของหอยเชอรี่ในท้องที่ที่มีการ
ระบาดแล้ว ทําได้โดย การใช้วัสดุต่างๆ เช่น แห อวน ไซ วางขวางกั้นช่องทางที่จะปล่อยน้ําให้ไหลเข้าสู่นา
ข้าวชั้นหนึ่งก่อน เพื่อป้องกันหอยที่มีขนาดใหญ่เล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่ จากนั้นจึงใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่
สีฟ้าปิดปากท่อสูบน้ําหรือล้อมทางน้ําเข้าเพื่อป้องกันไข่ และลูกหอยเล็กๆ ที่อาจปะปนมากับน้ําอีก
ชั้นหนึ่ง
8.1.2 การกําจัดหอยเชอรี่ด้วยวิธีกล ทําโดยใช้แรงงานคนในการจัดเก็บ
และรวบรวมไข่และตัวหอยเชอรี่ โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อนําไปทุบทําลาย หรือนําหอยเชอรี่ไปทํา
การแปรรูปเป็นอาหารเพื่อใช้บริโภค เช่น แกงหอยเชอรี่ ยําหอยเชอรี่ หอยเชอรี่ชุบแป้งทอด เป็นต้น
8.2 การกําจัดหอยเชอรี่ทางชีวภาพ เป็นการกําจัดหอยเชอรี่โดยใช้ศัตรูทาง
ธรรมชาติ เข้าทําลายเก็บกินไข่และตัวหอย เช่น นกช้อนหอย นกปากห่าง และเป็ด เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะ
เข้าไปเก็บกินหอยเชอรี่ในนาข้าวในช่วงก่อนทําการปักดํา หรือหลังการเก็บเกี่ยว
8.3 การกําจัดหอยเชอรี่ด้วยวิธีทางเคมี
8.3.1 การใช้สารเคมีสังเคราะห์ฆ่าหอย เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และ
เป็นที่นิยมที่สุดของเกษตร แต่ในการใช้สารเคมีนั้นก็มีปัญหาติดตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาการ
ตกค้างของสารเคมีซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นสารเคมีที่
กรมวิชาการเกษตรแนะนําให้ใช้ คือ นิโคลซาไมล์ เมทัลดีไฮด์ คอบเปอร์ซัลเฟต ฯลฯ โดยการฉีดพ้นสาร
เหล่านี้ในนาข้าวหลังการปักดําในทันทีโดยต้องมีการคํานวณขนาดของพื้นที่และปริมาณน้ําเพื่อที่จะใช้
สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี่ยังมีคําแนะนําจากองค์การอนามัยโลกในการใช้สารนิโคลซาไมด์
เพื่อการกําจัดไข่และตัวเต็มวัยขิงหอยเชอรี่และหอยทาก ซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ Schistosomiasis และ
Fascioliasis ด้วยการนําสารนิโคลซาไมด์มาละลายน้ําและฉีดพ้นลงในลําธาร หรือแหล่งน้ํา หนองบึงให้
ทั่วไป
8.3.2 การใช้สารเคมีจากพืชที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอย คุณสมบัติของ
สารสกัดจากพืชที่ใช้ในการกําจัดหอยมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเป็นพิษแตกต่างกัน สารที่มี
บทบาทมากที่สุดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ซาโปนิน (Saponin) และ แทนนิน (Tannin) ซาโปนินเป็นสาระสําคัญที่
7
พบในพืชหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอย พืชแต่ละชนิดมีสารซาโปนินไม่เท่ากัน พืชบางชนิดมีซา
โปนินเป็นองค์ประกอบมากถึงร้อยละ 30 โดยทั่วไปซาโปนินมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็น คือ ทําให้เกิด
ฟองเมื่อนํามาเขย่าในน้ําและทําให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลงกลายเป็นสารที่มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้นและ
ปล่อยฮีโมโกลบินออกมาซาโปนินจึงมีพิษต่อเหงือกของปลาโดยตรง สําหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบว่า
ซาโปนินไม่สามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง นอกจากนี้ซาโปนินมีความเป็นพิษต่อคนได้เมื่อใช้ร่วมกับสาร
อื่นโดยพบว่า ซาโปนินจาก Phytolacca dodecandra กับเลมมาท๊อกซีน (Lemmatoxin) สามารถฆ่า
อสุจิ(Spermicides) ของคนได้ ส่วนแทนนินเป็นสารที่พบมากในพืชที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอยเช่นกันแต่
แทนนินที่ได้จาดพืชมีความเป็นพิษต่อหอยน้อยกว่าซาโปนิน
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กนกวรรณ อนุกูลวรรธกะ และคณะ (2534) ได้ศึกษาเกี่ยวกับหอยเชอรี่ที่อาศัยอยู่ในนาข้าวพบว่า
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งหอยเชอรี่จะปิดฝาปิดเปลือกแล้วหมกตัวอยู่ในโคลนแม้ว่าน้ําจะแห้งนานเป็นระยะเวลานาน
ถึง 3-4 เดือน อัตราการรอดตายของหอยเชอรี่ยังมีสูงกว่าร้อยละ 80
ชมพูนุท จรรยาเพศ (2539) ศึกษาพฤติกรรมของหอยเชอรี่ขณะกินต้นข้าวพบว่า หอยเชอรี่จะใช้
เท้าห่อล้อมรอบกอข้าวไว้เพื่อพยุงลําตัวของหอยเชอรี่ไว้ให้ขนานกับลําต้นแล้วใช้ปากกัดกินต้นข้าวโดยจะเริ่ม
กินตรงส่วนโคนต้นไล่ไปจนถึงส่วนปลายใบจนหมด จากนั้นจึงหยุดพักและในขณะที่หยุดพักหอยเชอรี่จะยื่น
ท่อหายใจขึ้นมาเหนือผิวน้ําเพื่อฮุบอากาศ จากนั้นหอยเชอรี่จะหดท่อหายใจลงและเริ่มกัดกินก้านใบใหม่
ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งหอยเชอรี่จะใช้เวลาทั้งหมดในการกินก้านและใบของต้นข้าวนานประมาณ 1-2 นาที หอย
เชอรี่ชอบกินต้นข้าวที่มีอายุน้อยมากกว่าต้นข้าวที่มีอายุมาก เมื่อทดลองให้หอยเชอรี่กินต้นข้าวช่วงอายุต่าง
ๆ กัน คือ อายุ 10 20 30 40 และ 50 วัน พร้อมกันพบว่าหอยเชอรี่จะเลือกกินต้นข้าวที่มีอายุ 10 วัน
มากที่สุด หอยเชอรี่สามารถทําลายพืชผักได้อย่างรวดเร็วเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 ของน้ําหนักตัว
ความสามารถในการกินต้นข้าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของหอยเชอรี่ซึ่งหอยเชอรี่ที่มีขนาดของเปลือกน้อยกว่า
16 มิลลิเมตร จะไม่สามารถกินต้นข้าวได้ ส่วนหอยเชอรี่ที่มีขนาดของเปลือก 29 39 48 และ57
มิลลิเมตร จะสามารถกินต้นกล้าได้ 4.5 6.3 12.6 และ 23.5 ต้นต่อวัน ตามลําดับ
พรชัย (มปป.) ได้รวบรวมวิธีการจัดการนาข้าว เพื่อป้องกันและจัดการหอยเชอรี่ไว้ว่า จะต้องมีการ
วางแผนตั้งแต่การเตรียมต้นกล้า หรือตั้งแต่การเตรียมดิน โดยจัดเตรียมพื้นที่นาเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ
เช่นทําคันนาให้สามารถเก็บกักน้ําหรือระบายน้ําในนาได้ และได้กล่าวว่า หอยเชอรี่สามารถทําลายข้าวได้เมื่อ
มีขนาดตัวเพียง 0.5-1 เซนติเมตรเท่านั้น
สยาม และคณะ (2548) รายงานว่า เกษตรกรส่วนใหญ่กําจัดหอยเชอรี่โดยใช้สารเคมีเอนโดซัล
แฟน และมีการใช้แรงงานในการกําจัดหอยเชอรี่น้อยลง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่
และไม่ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่
สุชินันท์ เกียรติภักดี (2555) กล่าวว่า หอยเชอรี่จะสามารถกัดกินต้นพืชที่มีลักษณะอ่อนนิ่มได้ดี
และสามารถกินพืชที่มีใบอ่อนนิ่ม เช่น แหนแดง ผักบุ้ง ยอดต้นข้าว รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยใน
น้ํา และกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด หอยเชอรี่จะหลบอยู่ใต้เงาร่มของพืชน้ํา
บทที่ 3
วิธีดําเนินการวิจัย
ในการวิจัยเรื่อง “ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง”
ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (survey research) โดยมีวิธีการดําเนินการวิจัย ดังนี้
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ฤดูกาลผลิต ปี 2555
ในจังหวัดพัทลุง จํานวน 6,320 ราย
2. กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2.1 กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรในจังหวัดพัทลุง ที่ทํานาปรังใน
ฤดูกาลผลิต ปี 2555
2.2 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกจากเกษตรกรที่ทํานาปรังในฤดูกาลผลิตปี 2555
กําหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane, 1973 (อ้างใน จินดา ขลิบทอง, 2544) ที่ระดับ
นัยสําคัญ 0.05% ดังนี้
n = N
1 + Ne2
n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
N = จํานวนประชากรทั้งหมด
e = ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่างได้ไม่เกิน 5%
เมื่อแทนค่าในสูตร
n = 6320
1 + 6320 (0.05)2
= 376
ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จํานวน 376 ราย
9
ตารางที่ 3.1 จํานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ที่ อําเภอ จํานวนประชากร (ราย) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (ราย)
1 เมืองพัทลุง 2,430 145
2 เขาชัยสน 350 21
3 ควนขนุน 1,900 113
4 ปากพะยูน 780 46
5 กงหรา 220 13
6 ป่าบอน 190 11
7 บางแก้ว 180 11
8 ป่าพะยอม 270 16
รวม 6,320 376
ที่มา : http://ecoplant.doae.go.th/report/form_03_report_process_daily54.php?.
สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556.
3. การเก็บรวมรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยคณะทํางานการจัดการศัตรูพืช โดยการ
สัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนําข้อมูลที่ได้รับจากแบบสัมภาษณ์มา
ตรวจสอบความสมบูรณ์และถูกต้อง และบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยมีการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าต่ําสุด (minimum)
ค่าสูงสุด (maximum) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : S.D.)
5. ระยะเวลาการวิจัย
ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2556
6. แผนการดําเนินงาน
วางแผนการดําเนินงาน กุมภาพันธ์ 2556
จัดทําแบบสอบถาม มีนาคม 2556
จัดเก็บข้อมูล เมษายน – มิถุนายน 2556
วิเคราะห์ข้อมูล กรกฎาคม 2556
สรุปผลการวิจัย สิงหาคม 2556
จัดทํารายงานการวิจัย กันยายน 2556
บทที่ 4
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง ศึกษาการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นําเสนอ
ผลการวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตอบแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 376 ราย ซึ่งผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ตอนประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่
ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก
จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง วิธีการทํานา ผลผลิตข้าวที่ได้รับ ดังรายละเอียดตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร n = 376
ข้อมูลทั่วไป จํานวน ร้อยละ Min. Max. ค่าเฉลี่ย S.D.
เพศ
ชาย 130 34.6
หญิง 246 65.4
อายุ (ปี) 37 78 55.49 9.78
≤ 40 28 7.4
41 – 50 84 22.3
51 – 60 137 36.4
61 – 70 107 28.5
> 70 20 5.3
ระดับการศึกษา
ไม่ได้เรียนหนังสือ 9 2.4
ประถมศึกษา 274 72.9
มัธยมศึกษาตอนต้น 37 9.8
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 40 10.8
อนุปริญญา / ปวส. 13 3.5
ปริญญาตรี 3 0.8
11
ตารางที่ 4.1 (ต่อ) n = 376
ข้อมูลทั่วไป จํานวน ร้อยละ Min. Max. ค่าเฉลี่ย S.D.
อาชีพหลัก
ทํานา 197 52.4
ทําสวน 156 41.5
อื่นๆ 23 6.1
จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง (ไร่) 2 15 7.05 3.09
≤ 4 63 16.8
5 - 7 154 41.0
8 - 10 96 25.5
11 - 13 32 8.5
> 13 31 8.2
วิธีการทํานา
หว่านน้ําตม 362 96.3
นาดํา 14 3.7
ผลผลิตที่ได้รับ (กก./ไร่) 300 630 465.72 58.9
≤ 300 1 0.3
301 - 400 83 22.1
401 - 500 222 59.0
501 - 600 61 16.2
> 600 9 2.4
ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ปรากฏผลดังนี้
เพศ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.4 และเพศชาย ร้อยละ 34.6
อายุ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 36.4 มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี รองลงมาร้อยละ 28.5,
ร้อยละ 22.3, ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 5.3 มีอายุระหว่าง 61-70 ปี อายุระหว่าง 41-50 ปี อายุน้อย
กว่าหรือเท่ากับ 40 ปี และอายุมากกว่า 70 ปีตามลําดับ โดยเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 55.49 ปี อายุต่ําสุด
37 ปี และอายุสูงสุด 78 ปี
ระดับการศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.9 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา
รองลงมาร้อยละ 10.6, ร้อยละ 9.8, ร้อยละ 3.5, ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 0.8 จบการศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับอนุปริญญา/ปวส. ไม่ได้เรียนหนังสือ และ
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามลําดับ
อาชีพหลักของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทํานา คิดเป็น
ร้อยละ 52.4 รองลงมาคือ ทําสวน และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 41.5 และ 6.1 ตามลําดับ
12
จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง เกษตรกรร้อยละ 41.0 มีพื้นที่ทํานา 5-7 ไร่ รองลงมาร้อยละ
25.5 มีพื้นที่ทํานา 8-10 ไร่ ร้อยละ 16.8 มีพื้นที่ทํานาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ไร่ ร้อยละ 8.5 มี
พื้นที่ทํานา 11 - 13 ไร่ และมีเพียงร้อยละ 8.2 ที่มีพื้นที่ทํานามากกว่า 14 ไร่ โดยมีพื้นที่ทํานาเฉลี่ย
7.05 ไร่ ต่ําสุด 2 ไร่ สูงสุด 15 ไร่
วิธีการทํานา เกษตรกรเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.3 ใช้วิธีการทํานาแบบหว่านน้ําตม ที่เหลือ
ร้อยละ 3.7 ใช้วิธีการทํานาแบบนาดํา
ผลผลิตที่ได้รับ (กก./ไร่) เกษตรกรร้อยละ 59.0 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 401-500 กิโลกรัม
ร้อยละ 22.1 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 301-400 กิโลกรัม ร้อยละ 16.2 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 501-600
กิโลกรัม ร้อยละ 2.4 ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า 600 กิโลกรัม และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่เก็บผลผลิตได้
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 300 กิโลกรัม โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม ผลผลิตต่ําสุด 300 กิโลกรัม
และผลผลิตสูงสุด 630 กิโลกรัม
ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่
จากการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจํานวน 376 ราย พบว่า เกษตรกรกลุ่ม
ตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบตัวหอยเชอรี่และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ใน
แปลงเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 53.7 พบเฉพาะตัวหอยเชอรี่อย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 44.9 และพบ
เฉพาะ ไข่หอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 1.3 สําหรับระยะการระบาดของหอยเชอรี่ เกษตรกรส่วนใหญ่พบ
การระบาดในระยะกล้า คิดเป็นร้อยละ 76.1 รองลงมาพบทั้งสองระยะคือระยะกล้าและระยะแตกกอ คิด
เป็นร้อยละ 15.2 พบเฉพาะระยะแตกกอ คิดเป็นร้อยละ 8.8 และไม่พบการระบาดระยะตั้งท้อง ระยะ
ออกรวง และระยะ เก็บเกี่ยวเลย ดังตารางที่ 4.2
ตารางที่ 4.2 การระบาดของหอยเชอรี่ n = 376
การระบาดของหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ
มีการระบาดของหอยเชอรี่
มี 376 100
ไม่มี 0 0
13
ตารางที่ 4.2 (ต่อ) n = 376
การระบาดของหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ
พบในลักษณะที่เป็น
ตัวหอย 169 44.9
ไข่หอย 5 1.3
ทั้งตัวหอยและไข่หอย 202 53.7
ระยะของการระบาดของหอยเชอรี่
ระยะกล้า 286 76.1
ระยะแตกกอ 33 8.8
ระยะตั้งท้อง 0 0
ระยะออกรวง 0 0
ระยะเก็บเกี่ยว 0 0
ระยะกล้า+ระยะแตกกอ 57 15.2
ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว
ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังแสดง
รายละเอียด ในตารางที่ 4.3
ตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่
n = 376
รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ
1. การเก็บแล้วนําไปทิ้ง 103 27.0
2. การเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ 33 9.0
3. ใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ 184 49.0
4. ไม่ทําอะไรเลย 56 15.0
จากตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ของเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้สารป้องกันกําจัด
หอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 27.0 ไม่ทําอะไรเลย
และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 9.0 ตามลําดับ
บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. สรุปการวิจัย
การศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึง 1) การระบาดของหอยเชอรี่ 2) รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของ
เกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คัดเลือกจากประชากรในจังหวัดพัทลุง ที่ทํานาปรังในฤดูกาลผลิต
ปี 2555 จํานวน 376 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่
ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยและอภิปรายผล
1. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.4 มี
อายุเฉลี่ย 55.49 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.9 ประกอบอาชีพทํานาเป็นอาชีพ
หลัก คิดเป็นร้อยละ 52.4 เกษตรกรมีพื้นที่ทํานาปรังเฉลี่ย 7.05 ไร่ วิธีการทํานาเกษตรกรเกือบทั้งหมด
ใช้วิธีการทํานาแบบหว่านน้ําตม คิดเป็นร้อยละ 96.3 และผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม/ไร่
2. การระบาดของหอยเชอรี่ จากการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจํานวน
376 ราย พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบตัวหอยเชอรี่
และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ในแปลงเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 53.7 สอดคล้องกับ ชมพูนุช และทักษิณ,
อ้างใน กมลศิริ(2545) ซึ่งกล่าวว่า พบไข่หอยเชอรี่และตัวหอยเชอรี่ พบทุกขนาดในนาข้าว และสามารถ
ทําลายข้าวได้เมื่อมีขนาดตัวเพียง 0.5-1 เซนติเมตรเท่านั้น (พรชัย, มปป) สําหรับระยะการระบาดของหอย
เชอรี่ เกษตรกรส่วนใหญ่พบการระบาดในระยะกล้า คิดเป็นร้อยละ 76.1 แต่จะไม่พบหอยเชอรี่ในช่วงการ
เก็บเกี่ยว สอดคล้องกับชมพูนุท จรรยาเพศ (2539) ที่ศึกษาพฤติกรรมของหอยเชอรี่ขณะกินต้นข้าวพบว่า
หอยเชอรี่ชอบกินต้นข้าวที่มีอายุน้อยมากกว่าต้นข้าวที่มีอายุมาก หอยเชอรี่จะสามารถกัดกินต้นพืชที่มี
ลักษณะอ่อนนิ่มได้ดี และสามารถกินพืชที่มีใบอ่อนนิ่ม เช่น แหนแดง ผักบุ้ง ยอดต้นข้าว รวมถึงซากพืช
ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ํา และกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด หอยเชอรี่จะหลบอยู่ใต้เงา
ร่มของพืชน้ํา (ชมพูนุช และทักษิณ,อ้างใน สุชินันท์, 2555)
3. รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วน
ใหญ่ใช้วิธีการใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง
คิดเป็นร้อยละ 27.0 ไม่ทําอะไรเลย และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ
15.0 และร้อยละ 9.0 ตามลําดับ ซึ่งสอดคล้องกับสยาม และคณะ (2548) รายงานว่า เกษตรกรส่วน
ใหญ่กําจัดหอยเชอรี่โดยใช้สารเคมีเอนโดซัลแฟน และมีการใช้แรงงานในการกําจัดหอยเชอรี่น้อยลง
เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่
15
2. ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนในการป้องกันและกําจัดหอยเชอรี่ร่วมกัน
2. ควรมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่แบบผสมผสาน ได้แก่
2.1 การใช้วัสดุกั้นทางไขน้ําเข้า-ออก หอยเชอรี่แพร่กระจายและระบาดเข้าสู่นาข้าวโดยทางน้ํา
เท่านั้น ให้ใช้ตาข่าย เฝือก หรือ ภาชนะดักปลา ดับจับหอยเชอรี่
2.2 การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว การล่อให้หอยเชอรี่มาวางไข่ โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่
หอยผ่าน เมื่อหอยวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ ทําให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทําลาย
2.3 การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบว่อนตัว
พืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสําปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่นที่มียางขาวคล้ายน้ํานม
2.4 การนําเป็ดมาปล่อยในนา เป็ดจะกินหอยเชอรี่จนเกือบหมด หรือนาที่ไม่ใช้สารเคมี นกปากห่างเป็นฝูงจะมี
สัญชาตญาณลงมาจับหอยเชอรี่กิน
3. ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนําหอยเชอรี่มาใช้ประโยชน์ เช่นการทําน้ําหมักจากหอย
เชอรี่
4. ขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําโครงการป้องกันและกําจัด
หอยเชอรี่
5. ควรกระตุ้นให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดําเนินงาน การเตือนภัย
รณรงค์ป้องกันกําจัด
ภาคผนวก
เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ อนุกุลวรรธกะ และคณะ. “การระบาดของหอยเชอรี่” วารสารข่าวสารการเกษตร.36 (3)
: 43-52 : มิถุนายน-กรกฎาคม, 2534.
กรมประมง. 2556. “หอยเชอรี่” สืบค้นวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 จาก http://www.fisheries.go.th/
ifsuratthani/web2/index.php?option=com_content&view=article&catid=29%3A201
0-01-28-07-27-06&id=164%3A2010-02-19-03-38-59&Itemid=21
จินดา ขลิบทอง “หน่วยที่ 1 กระบวนการวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัย
เพื่อการพัฒนาทางส่งเสริมการเกษตร นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2544
ชมพูนุช จรรยาเพศ. “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหอยเชอรี่,” ใน การประชุมสัมมนาทางวิชาการแมลงและศัตรูพืช.
หน้า 731-757. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2539.
ชมพูนุช จรรยาเพศ และทักษิณ อาชวาคม. 2542. หอยเชอรี่. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
และสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ
ทิศนา แขมมณี. 2551. “รูปแบบการเรียนการสอน” สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 จาก
http://www.kamsondeedee.com/school/index.php/chapter-002/50-2008-12-13-
14-34-57/108-2008-12-13-14-37-41?format=pdf
ประจง สุดโต. 2542. การกําจัดหอยเชอรี่โดยไม่พึ่งสารเคมี. วารสารส่งเสริมการเกษตร 30(139)
: 22-24.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. มปป. ผลิตข้าวอย่างไรให้ได้คุณภาพดี “วิธีกําจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว” สืบค้นวันที่
30 กรกฎาคม 2556 จาก http://pikul.lib.ku.ac.th.
สยาม อรุณศรีมรกต,วรพร สังเนตร และธรรมศักดิ์ พัฒนพ่วง. 2548. “การจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของ
เกษตรกรในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” คณะสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุชินันท์ เกียรติภักดี. 2555. “การใช้ประโยชน์จากหอยเชอร่ําหรับการทําปุ๋ยหมัก” วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรดิน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สํานักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2556. “รายงานข้อมูลการผลิตพืช” สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2556
จาก http://www.phatthalung.doae.go.th/
สํานักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2556. “การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว) ” สืบค้นวันที่
21 กุมภาพันธ์ 2556 จาก http://ecoplant.doae.go.th/report/form_03_report_
process_daily54.php?.

More Related Content

Similar to Pomacea

04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อยKruBeeKa
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบKobwit Piriyawat
 
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiin
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiinหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiin
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn JuiinNapasorn Juiin
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการขวัญ ฤทัย
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการขวัญ ฤทัย
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
9789740330691
97897403306919789740330691
9789740330691CUPress
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศJiraporn
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้krupornpana55
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3korakate
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3korakate
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานteacherhistory
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัยKruBeeKa
 
Bbl เอกสารชุดที่3
Bbl เอกสารชุดที่3Bbl เอกสารชุดที่3
Bbl เอกสารชุดที่3Prachoom Rangkasikorn
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 

Similar to Pomacea (20)

04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
 
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
 
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiin
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiinหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiin
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทำความรู้จักกับสารพันธุกรรม By..Ms. Napasorn Juiin
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
9789740330691
97897403306919789740330691
9789740330691
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม3
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.3
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
 
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย
 
Bbl เอกสารชุดที่3
Bbl เอกสารชุดที่3Bbl เอกสารชุดที่3
Bbl เอกสารชุดที่3
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 

Pomacea

  • 1.   คํานํา ผลงานวิจัย เรื่อง ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จัดทําขึ้นตามกระบวนการการจัดการความรู้ ซึ่งดําเนินการภายใต้ระบบส่งเสริมการเกษตรของสํานักงาน เกษตรจังหวัดพัทลุง ปี 2556 โดยมีคณะทํางานให้ความร่วมมือกําหนดประเด็นการวิจัย ปัญหา ออกแบบ การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลและสรุปผลการวิจัย คณะผู้วิจัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สามารถนําข้อมูลจากผล การศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ การแก้ปัญหา และการป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป คณะทํางานการจัดการศัตรูพืช กันยายน 2556
  • 2.   หัวข้อวิจัย รายงานการวิจัย เรื่อง ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ผู้วิจัย คณะทํางานกลุ่มปฏิบัติการจัดการความรู้การจัดการศัตรูพืช ปี 2556 บทคัดย่อ ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการระบาดของหอยเชอรี่และรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ประชากรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ฤดูกาลผลิตปี 2555 จํานวน 6,320 ราย คัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 376 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ทํานาข้าวในพื้นที่อําเภอเมือง, เขาชัยสน, ควนขนุน, ปากพะยูน, กงหรา, ป่าบอน, บางแก้วและป่าพะยอม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสําเร็จรูป โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.4 มีอายุเฉลี่ย 55.49 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.9 ประกอบอาชีพทํานาเป็นอาชีพหลัก คิดเป็น ร้อยละ 52.4 เกษตรกรมีพื้นที่ทํานาปรังเฉลี่ย 7.05 ไร่ วิธีการทํานาเกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้วิธีการ ทํานาแบบหว่านน้ําตม คิดเป็นร้อยละ 96.3 และผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม/ไร่ สําหรับการ ระบาดของหอยเชอรี่ พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบ ตัวหอยเชอรี่และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ในแปลงเป็น ส่วนใหญ่ ระยะการระบาดของหอยเชอรี่ เกษตรกร ส่วนใหญ่พบการระบาดในระยะกล้า สําหรับรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ วิธีการใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง ไม่ทําอะไร เลย และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 27.0, 15.0 และร้อยละ 9.0 ตามลําดับ จากผลการศึกษา จึงควรส่งเสริมการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการ หอยเชอรี่แบบผสมผสาน การนําหอยเชอรี่มาใช้ประโยชน์ เช่น การทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ เพื่อใช้ ประโยชน์ในด้านการเกษตรต่อไป คําสําคัญ : หอยเชอรี่
  • 3.   สารบัญ หน้า คํานํา (1) บทคัดย่อ (2) บทที่ 1 บทนํา ความสําคัญและที่มาของปัญหา 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 ขอบเขตของการวิจัย 2 นิยามศัพท์ 2 บทที่ 2 การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจเอกสาร 3 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7 บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ประชากร 8 กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 8 การเก็บรวบรวมข้อมูล 9 การวิเคราะห์ข้อมูล 9 ระยะเวลาการวิจัย 9 แผนการดําเนินงาน 9 บทที่ 4 ผลการวิจัย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 10 ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่ 12 ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการของหอยเชอรี่ในนาข้าว 13 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ สรุปการวิจัย 14 ข้อเสนอแนะ 15 เอกสารอ้างอิง 16
  • 4.   สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 3.1 จํานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9 ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 10 ตารางที่ 4.2 การระบาดของหอยเชอรี่ 12 ตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ 13
  • 5.   คณะทํางาน กลุ่มจัดการความรู้การจัดการศัตรูพืช 1. นายอานนท์ คงนุ่ม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 2. นายสัมฤทธิ์ ฤทธิ์ชู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 3. นางสาวพัชนีกูล บุญแสง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 4. นางสุดใจ เกลี้ยงสง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 5. นายสมนึก คงศรีทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 6. นายทรงพล หนูวรรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 7. นายพิฑูรย์ จรูญรัตน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 8. นายมะโน หะยะมิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 9. นางอัจฉรา ทองประดับ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ 10. นางสาวเรณู ห้องเม่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ 11. นางวราภรณ์ ชายเกตุ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ 12. นางสาวทัศนีญา นาควิโรจน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ที่ปรึกษา 1. นายวิมล สิงหะพล หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช 2. นายปกรณ์ สงทอง เกษตรอําเภอเมืองพัทลุง 3. นายสุพร เพชรคง เกษตรอําเภอป่าพะยอม
  • 6.      2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สามารถนําข้อมูลจากผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ การ แก้ปัญหา และการป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ทําการศึกษา การจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง ปี 2555 ฤดูกาลนาปรัง กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 376 ราย นิยามศัพท์ หอยเชอรี่ หมายถึง หอยน้ําจืดจําพวกหอยฝาเดียวพวกหอยโข่ง มีเปลือกสีเหลืองปน น้ําตาล และเปลือกสีเขียวเข้มปนดํา มีการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว อาศัยอยู่ใน แหล่งน้ําจืด
  • 7. บทที่ 2 การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจเอกสาร 1. ความหมายของรูปแบบ มีผู้ให้ความหมายของรูปแบบ กล่าวพอสรุปได้ดังนี้ ทิศนา แขมมณี (2551 : 1) ให้ความหมายของรูปแบบ หมายถึง วิธีที่บุคคลใด บุคคล หนึ่งได้ถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจที่มีต่อปรากฎการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เพื่อ เป็นแบบอย่าง รูปแบบ หมายถึง สิ่งที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีที่ได้ศึกษามาของผู้สร้างเอง เพื่อถ่ายทอดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ให้เข้าใจได้ง่ายและกระชับถูกต้อง 2. หอยเชอรี่ หอยเชอรี่เป็นหอยจําพวกหอยทากน้ํา (Freshwater Snail) บางครั้งเรียกว่า หอยโข่ง อเมริกาหรือหอยเป๋าฮื้อน้ําจืด มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษ คือ Golden Apple Snails เป็นหอยวงศ์ เดียวกันกับหอยโข่งแต่มีเปลือกบางกว่า เปลือกมีสีเหลืองจนถึงเขียวอมน้ําตาล บางชนิดมีลายสีดําตามขวาง 1. ประวัติความเป็นมาของหอยเชอรี่ หอยเชอรี่ที่พบระบาดอย่างหนักอยู่ในประเทศไทยตอนนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่เป็น หอยพื้นบ้านของประเทศไทยเราหากแต่เพิ่งมีการนําเข้ามาเมื่อประมา 10 กว่าปีที่ผ่านมาเพื่อเพาะเลี้ยงใน เชิงพาณิชย์การส่งออก ต่อมาเนื้อของหอยไม่เป็นที่นิยมจึงไม่สามารถส่งออกได้เกษตรกรจึงปล่อยทิ้งทําให้ หอยเชอรี่เล็ดลอดลงสู่แหล่งน้ําทั่วไปจนเกิดการแพร่พันธุ์และระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน หอยเชอรี่นับเป็น Nnew World Genera โดยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1810 บริเวณแถบอเมริกาใต้ อาหารของ หอยเชอรี่คือพืชน้ํา และซากสัตว์ที่ลอยปะปนมาตามน้ํา จากลักษณะการกินอาหารได้หลากหลายประเภท และการที่มีอัตราการแพร่พันธุ์นี้เอง จึงทําให้พบการกระจายตัวของหอยเชอรี่ในแทบทุกส่วนของโลก เช่น ประเทศในแถบอเมริกาใต้ บราซิล แอฟริกา จะพบหอยเชอรี่พันธุ์ P. bridgesi, P. maculate และ P. paludosa เป็นต้น ต่อมาได้มีการแพร่กระจายสู่แถบทวีปเอเชียโดยผ่านประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ จนกระทั่งมีการนําเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2525-2526 โดยนําเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อเนื้อของหอยไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เกษตรกรจึงเลิกเลี้ยงทําให้หอย เชอรี่จึงเล็ดลอดและเกิดการแพร่ขยายพันธุ์ลงในแหล่งน้ําธรรมชาติ จนกระทั่งพบรายงานการระบาดและ สร้างความเสียหายในนาข้าวขึ้น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 ที่อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน รายงานล่าสุดพบว่า มีการระบาดในกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ แนวโน้มของหอยเชอรี่ที่กําลังกลายเป็นศัตรู นาข้าวที่สําคัญในประเทศไทยในอนาคต หอยเชอรี่ที่พบระบาดในประเทศไทยมีอย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี ความแตกต่างกันที่ขนาดของเปลือก จํานวนการวนของเปลือก ลักษณะของฝาปิดเปลือก (Operculum) ลวดลายและสีของเปลือก รวมทั้งลักษณะทางกายวิภาคบางประการ เช่น การเรียงตัวของท่ออสุจิ ที่พบ ระบาดในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ จนกระทั่งมีการนําเข้ามาครั้งแรกใน ประเทศไทย
  • 8. 4 2. ลักษณะและชีววิทยาของหอยเชอรี่ หอยเชอรี่เป็นหอยน้ําจืดฝาเดียวพวกหอยโข่ง อยู่ในวงศ์ Pilidae มีรูปร่างค่อนข้าง กลม มีเปลือกสีเหลืองปนเขียวปนน้ําตาล ลักษณะของเปลือกเป็นแบบหมุนเวียนขวา อาศัยอยู่ในแหล่งน้ําจืด ที่มีลักษณะไม่ลึกมากนักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและชอบกัดกินผักบริเวณอยู่เหนือผิวน้ํา เคลื่อนไหวโดย การใช้ขา (Foot) ขณะเคลื่อนที่ก็จะขับสารเมือกออกมาเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่และลอยตัวบนผิวน้ําได้ ภายในช่องเมนเทิล (Mentle Cavity) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ มีเหงือกอยู่ทางด้านขวา (Ctenidium) ซึ่ง ในการหายใจ และด้านขวาจะโป่งพองคล้ายเป็นถุงลม (Airsac) ทําหน้าที่ช่วยในการหายใจโดยจะแลก เปลี่ยนก๊าชจากอากาศผ่านท่อหาย (Respiratory Siphon) ที่มีขนาดใหญ่และยาว ซึ่งหอยจะยื่นท่อนี้ ออกไปเพื่อฮุบเอาอากาศเหนือผิวน้ําทําให้หอยเชอรี่สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ําที่มีปริมาณออกซิเจนต่ําได้ 3. การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่มีเพศแยกกัน การจําแนกเพศของหอยเชอรี่จะสังเกตได้จาก ลักษณะความนูนของแผ่นฝาปิดเปลือกถ้าหากแผ่นฝาปิดมีความนูนมากจัดเป็นหอยเชอรี่เพศผู้ หรืออาจจะ สังเกตจากแผ่นอวัยวะเพศผู้ (Penis Heath) ซึ่งจะเห็นได้เมื่อหอยเชอรี่โตเต็มที่ทางช่องเมนเทิล หอยเชอรี่ที่ โตเต็มวัยและพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน หรือ มีน้ําหนักประมาณ 5 กรัม ความยาว เปลือกประมาณ 25 มิลลิเมตร ซึ่งหอยเชอรี่จะจับคู่ผสมพันธุ์และหลังจากนั้น 1-2 วัน ตัวเมียจะทําการ วางไข่ในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ หอยเชอรี่จะคลานขึ้นไปวางไข่ในบริเวณที่แห้งเหนือน้ํา เช่น โคนต้นไม้ ริมน้ํา กิ่งไม้ที่ปักอยู่ในบ่อ ต้นหญ้าริมน้ํา และตามต้นข้าวในนาหอยเชอรี่จะมีไข่เป็นสีชมพูสดเกาะติดกันเป็น กลุ่มยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แต่ละกลุ่มจะมีไข่หอยเชอรี่ประมาณ 400-3,000 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาดของแม่หอย สิ่งแวดล้อมและที่สําคัญความสมบูรณ์ของอาหารที่หอยเชอรี่กิน และไข่ของหอยเชอรี่ แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.0-2.5 มิลลิเมตร ไข่หอยเชอรี่มีอัตราการฟักสูงถึงร้อยละ 71-91 ที่อุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งไข่หอยเชอรี่ที่ไข่ใหม่ ๆ จํามีสีชมพูและจะค่อย ๆ ซีดจาง ลงจนเกือบเป็นสีขาว จากนั้นจึงฟักเป็นตัวภายใน 7-8 วัน โดยลูกหอยเชอรี่ที่เกิดใหม่จะมีขนาดเท่ากับ หัวเข็มหมุด หนักประมาณ 1.7 มิลลิกรัมและมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ หลักจากที่ลูกหอยเชอรี่ ฟักเป็นตัวออกจากไข่แล้วจะทิ้งตัวลงน้ําและเริ่มกินพืชน้ําขนาดเล็กและสาหร่ายต่าง ๆ และเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว หลังจากที่หอยเชอรี่ไข่ไปแล้วประมาณ 4-10 วัน ก็สามารถวางไข่ได้ใหม่อีกครั้งและหอยเชอรี่ ยังสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี หอยเชอรี่เจริญเติบโตโดยอาศัยการสร้างเปลือกต่อจากเดิมทางด้านขอบนอก ของเปลือก (Mouth-Edge) ที่อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับยอดแหลม (Spire) ทําให้ขนาดของเปลือกหอยเชอรี่ เพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง 4. การกินอาหาร หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivores) สามารถกินพืชน้ํา ได้เกือบทุกชนิดที่มีลักษณะใบอ่อนนิ่ม เช่น แหน แหนแดง จอก จอกหูหนู ไข่น้ํา ผักบุ้ง ผักกะเฉด ต้นแห้ว กระจับ ใบบัว สาหร่ายต่างๆ ยอดอ่อนผักตบชวา ต้นข้าวกล้า ต้นหญ้าที่อยู่ริมน้ํา รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่ เน่าเปื่อยในน้ําที่อยู่ใกล้ๆ ตัว สามารถกินได้รวดเร็ว เฉลี่ยวันละ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักตัว และกินได้ ตลอด 24 ชั่วโในเวลากลางวันที่มีแดดจัดจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของพืชน้ําต่างๆ หรืออาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของ ต้นไม้ใหญ่ริมแหล่งน้ําหรือนาข้าวนั้นๆ แล้วกินอาหารตลอดเวลา การกินอาหารต้องอยู่ในน้ํา กล่าวคือ มีน้ํา ช่วยพยุงให้ตัวลอยขึ้นแล้วใช้ส่วนขากรรไกร (jaw) กัดชิ้นส่วนของพืชให้ขาดจากกันแล้วส่งเข้าในช่องปาก ซึ่ง
  • 9. 5 อยู่ระหว่างรยางค์ที่แผ่ออกเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทางด้านส่วนหัว ภายในปากมีกรามขนาดใหญ่ 1 คู่ใช้กัดกิน อาหาร ถัดจากกรามเข้าไปภายในเป็นแรดูลา ซึ่งแข็งแรงเป็นเส้นบางคล้ายโซ่เต็มไปด้วยฟันแหลม มีลักษณะ เป็นฟันซี่เล็กๆ สีแดงเรียงซ้อนกันอยู่ 5 แถว มีจํานวนหลายร้อยซี่เรียงเป็นแถวขวาง มีรูปร่างและขนาด แตกต่างกันระหว่างซี่ตรงกลางและริม ทําหน้าที่บดอาหารโดยกล้ามเนื้อรอบๆ จะทํางานให้ส่วนแรดูลาขยับ ไปมา ขูดไปบนอาหาร ต่อมาจะถูกส่งผ่านไปถึงหลอดอาหาร (esophagus) และไปสู่กระเพาะซึ่งจะเริ่มมี การย่อยอาหารที่นั่น ส่วนที่ไม่ย่อยจะผ่านออกไปทางทวารหนัก ซึ่งอยู่ใกล้ส่วนหัว 5. ที่อยู่อาศัย หอยเชอรี่อยู่ทั่วไปได้ตามแหล่งน้ําทุกประเภท ได้แก่ บึง สระ หนอง คลอง แม่น้ํา ลําธาร กล่าวคือ อยู่ได้ทั้งในที่น้ําไหลและใสสะอาด มีออกซิเจนสูงพอๆ กับในน้ํานิ่งและน้ําตื้นเพียง ไม่กี่เซนติเมตร เต็มไปด้วยเศษพืช หรือเกือบไม่มีออกซิเจนอยู่เลยก็ยังเจริญเติบโตได้ดี ขอเพียงแต่มีอาหาร บ้างและสภาพน้ําไม่เป็นกรดมากนัก อุณหภูมิที่พอเหมาะประมาณ 18-30 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิต่ํา หอยจะมีอายุขัยนานประมาณ 3 ปี หากอยู่ในที่อุณหภูมิสูง เช่น ในนาข้าวจะมีอายุประมาณ 12-16 เดือน สังเกตพบว่าในคูที่แม้น้ําจะเน่าจนสีเกือบดํา หอยก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เพียงแต่อาจเจริญเติบโตไม่ดีและออกไข่ น้อยครั้งกว่าปกติ 6. การจําศีล โดยทั่วไปหอยเชอรี่ไม่จําเป็นต้องจําศีล (aestivation) หากมีน้ําและอาหาร อุดมสมบูรณ์ การจําศีล คือ การที่หอยลดกระบวนการสร้างและกระบวนการทําลายภายในร่างกายลงเพื่อ ความอยู่รอดทั้งนี้โดยมีความแห้งแล้งเป็นสาเหตุ ดังนั้น หอยเชอรี่ที่อาศัยในข้าว เมื่อน้ําแห้งก็จะปิดฝาแล้ว หมกตัวอยู่ในโคลน เป็นการทําตัวให้รอดจากความแห้งแล้ง ในประเทศญี่ปุ่นแม้น้ําจะแห้งจนดินแตกระแหง เป็นเวลานาน 3-4 เดือน หอยก็ยังรอดตายอยู่ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าอยู่ตามพงหญ้าก็จะรอดตาย เพียงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และหอยเชอรี่สามารถมีชีวิตอยู่รอดผ่านฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุมได้ จากการ ทดสอบโดยนําหอยใส่ตู้อบที่ตั้งอุณหภูมิ 0-3 องศาเซลเซียส และ -6 องศาเซลเซียสพบว่าหอยจะตาย ภายใน 25 วัน 3 วัน และ 1 วัน ตามลําดับ แสดงว่าในเขตอบอุ่น หอยจะทนอยู่ในฤดูหนาวได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิว่าต่ํากว่า 0 องศาเซลเซียส เพียงใด หอยขนาด 20-30 มิลลิเมตร จะมีความทนทานต่อ อุณหภูมิต่ํามากกว่าหอยขนาดใหญ่ ในประเทศญี่ปุ่นประชากรหอยจะเพิ่มขึ้น 3-9 เท่าต่อปี แม้ว่าจะผ่านฤดู หนาว สําหรับประเทศไทยไม่มีฤดูหนาว ดังนั้น ในท้องที่ที่มีน้ําตลอดปีหอยจึงไม่มีการจําศีล คาดว่า ประชากรของหอยน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 9-10 เท่าต่อปี นอกจากนี้ความแข็งของดิน น้ําแห้งเร็วหรือช้า ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญต่อการจําศีลด้วย 7. ผลเสียของหอยเชอรี่ 7.1 หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่ชอบกินพืชที่ขึ้นในน้ําและริมฝั่งน้ําซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะ อ่อนนุ่มได้เกือบทุกชนิดและกินได้ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงทําให้เกิดผลเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าว บัว และ พืชผักที่ปลูกอยู่ริมน้ําต่าง ๆ ที่สําคัญที่สุด คือ ต้นข้าว ซึ่งหอยเชอรี่จะเข้าทําลายต้นข้าว ในระยะที่เป็นต้นกล้าหลังการปักดํา มีรายงานการทําลายนาข้าวของหอยเชอรี่ที่อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2531 ซึ่งสามารถทําลายนาข้าวให้ได้รับความเสียหายได้มากถึง 50 ไร่ ภายใน ค่ําคืนเดียว
  • 10. 6 7.2 หอยเชอรี่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยทําให้ระบบนิเวศ เปลี่ยนแปลงเนื่องจากหอยเชอรี่จํานวนมากทําลายพืชผักในแหล่งน้ําได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพืชน้ําถูกทําลายก็ ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ําในบริเวณนั้นทําให้ขาดอาหารและลดจํานวนลง ด้วยสาเหตุนี้จึงทําให้ระบบนิเวศ เกิดการเปลี่ยนแปลง 7.3 หอยเชอรี่เป็นปรสิตของโรคบางชนิด เช่น โรคพยาธิ (Angiostrongylusc cantonensis) 8. การควบคุมและกําจัดหอยเชอรี่ การจัดการหอยเชอรี่ในปัจจุบัน สามารถทําได้หลายวิธี เพื่อการป้องกันและกําจัด หอยเชอรี่ที่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรสามารถเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือนําวิธีการต่างๆ มาใช้ร่วมกัน ดังนี้ 8.1 การกําจัดหอยเชอรี่ทางกายภาพ 8.1.1 การป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้หอยเชอรี่ เล็ดลอดเข้าสู่นาข้าวที่ยังไม่พบการระบาด หรือป้องกันไม่ให้มีการเพิ่มจํานวนของหอยเชอรี่ในท้องที่ที่มีการ ระบาดแล้ว ทําได้โดย การใช้วัสดุต่างๆ เช่น แห อวน ไซ วางขวางกั้นช่องทางที่จะปล่อยน้ําให้ไหลเข้าสู่นา ข้าวชั้นหนึ่งก่อน เพื่อป้องกันหอยที่มีขนาดใหญ่เล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่ จากนั้นจึงใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่ สีฟ้าปิดปากท่อสูบน้ําหรือล้อมทางน้ําเข้าเพื่อป้องกันไข่ และลูกหอยเล็กๆ ที่อาจปะปนมากับน้ําอีก ชั้นหนึ่ง 8.1.2 การกําจัดหอยเชอรี่ด้วยวิธีกล ทําโดยใช้แรงงานคนในการจัดเก็บ และรวบรวมไข่และตัวหอยเชอรี่ โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อนําไปทุบทําลาย หรือนําหอยเชอรี่ไปทํา การแปรรูปเป็นอาหารเพื่อใช้บริโภค เช่น แกงหอยเชอรี่ ยําหอยเชอรี่ หอยเชอรี่ชุบแป้งทอด เป็นต้น 8.2 การกําจัดหอยเชอรี่ทางชีวภาพ เป็นการกําจัดหอยเชอรี่โดยใช้ศัตรูทาง ธรรมชาติ เข้าทําลายเก็บกินไข่และตัวหอย เช่น นกช้อนหอย นกปากห่าง และเป็ด เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะ เข้าไปเก็บกินหอยเชอรี่ในนาข้าวในช่วงก่อนทําการปักดํา หรือหลังการเก็บเกี่ยว 8.3 การกําจัดหอยเชอรี่ด้วยวิธีทางเคมี 8.3.1 การใช้สารเคมีสังเคราะห์ฆ่าหอย เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และ เป็นที่นิยมที่สุดของเกษตร แต่ในการใช้สารเคมีนั้นก็มีปัญหาติดตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาการ ตกค้างของสารเคมีซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นสารเคมีที่ กรมวิชาการเกษตรแนะนําให้ใช้ คือ นิโคลซาไมล์ เมทัลดีไฮด์ คอบเปอร์ซัลเฟต ฯลฯ โดยการฉีดพ้นสาร เหล่านี้ในนาข้าวหลังการปักดําในทันทีโดยต้องมีการคํานวณขนาดของพื้นที่และปริมาณน้ําเพื่อที่จะใช้ สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี่ยังมีคําแนะนําจากองค์การอนามัยโลกในการใช้สารนิโคลซาไมด์ เพื่อการกําจัดไข่และตัวเต็มวัยขิงหอยเชอรี่และหอยทาก ซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ Schistosomiasis และ Fascioliasis ด้วยการนําสารนิโคลซาไมด์มาละลายน้ําและฉีดพ้นลงในลําธาร หรือแหล่งน้ํา หนองบึงให้ ทั่วไป 8.3.2 การใช้สารเคมีจากพืชที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอย คุณสมบัติของ สารสกัดจากพืชที่ใช้ในการกําจัดหอยมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเป็นพิษแตกต่างกัน สารที่มี บทบาทมากที่สุดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ซาโปนิน (Saponin) และ แทนนิน (Tannin) ซาโปนินเป็นสาระสําคัญที่
  • 11. 7 พบในพืชหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอย พืชแต่ละชนิดมีสารซาโปนินไม่เท่ากัน พืชบางชนิดมีซา โปนินเป็นองค์ประกอบมากถึงร้อยละ 30 โดยทั่วไปซาโปนินมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็น คือ ทําให้เกิด ฟองเมื่อนํามาเขย่าในน้ําและทําให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลงกลายเป็นสารที่มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้นและ ปล่อยฮีโมโกลบินออกมาซาโปนินจึงมีพิษต่อเหงือกของปลาโดยตรง สําหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบว่า ซาโปนินไม่สามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง นอกจากนี้ซาโปนินมีความเป็นพิษต่อคนได้เมื่อใช้ร่วมกับสาร อื่นโดยพบว่า ซาโปนินจาก Phytolacca dodecandra กับเลมมาท๊อกซีน (Lemmatoxin) สามารถฆ่า อสุจิ(Spermicides) ของคนได้ ส่วนแทนนินเป็นสารที่พบมากในพืชที่มีคุณสมบัติในการฆ่าหอยเช่นกันแต่ แทนนินที่ได้จาดพืชมีความเป็นพิษต่อหอยน้อยกว่าซาโปนิน ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กนกวรรณ อนุกูลวรรธกะ และคณะ (2534) ได้ศึกษาเกี่ยวกับหอยเชอรี่ที่อาศัยอยู่ในนาข้าวพบว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งหอยเชอรี่จะปิดฝาปิดเปลือกแล้วหมกตัวอยู่ในโคลนแม้ว่าน้ําจะแห้งนานเป็นระยะเวลานาน ถึง 3-4 เดือน อัตราการรอดตายของหอยเชอรี่ยังมีสูงกว่าร้อยละ 80 ชมพูนุท จรรยาเพศ (2539) ศึกษาพฤติกรรมของหอยเชอรี่ขณะกินต้นข้าวพบว่า หอยเชอรี่จะใช้ เท้าห่อล้อมรอบกอข้าวไว้เพื่อพยุงลําตัวของหอยเชอรี่ไว้ให้ขนานกับลําต้นแล้วใช้ปากกัดกินต้นข้าวโดยจะเริ่ม กินตรงส่วนโคนต้นไล่ไปจนถึงส่วนปลายใบจนหมด จากนั้นจึงหยุดพักและในขณะที่หยุดพักหอยเชอรี่จะยื่น ท่อหายใจขึ้นมาเหนือผิวน้ําเพื่อฮุบอากาศ จากนั้นหอยเชอรี่จะหดท่อหายใจลงและเริ่มกัดกินก้านใบใหม่ ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งหอยเชอรี่จะใช้เวลาทั้งหมดในการกินก้านและใบของต้นข้าวนานประมาณ 1-2 นาที หอย เชอรี่ชอบกินต้นข้าวที่มีอายุน้อยมากกว่าต้นข้าวที่มีอายุมาก เมื่อทดลองให้หอยเชอรี่กินต้นข้าวช่วงอายุต่าง ๆ กัน คือ อายุ 10 20 30 40 และ 50 วัน พร้อมกันพบว่าหอยเชอรี่จะเลือกกินต้นข้าวที่มีอายุ 10 วัน มากที่สุด หอยเชอรี่สามารถทําลายพืชผักได้อย่างรวดเร็วเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 ของน้ําหนักตัว ความสามารถในการกินต้นข้าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของหอยเชอรี่ซึ่งหอยเชอรี่ที่มีขนาดของเปลือกน้อยกว่า 16 มิลลิเมตร จะไม่สามารถกินต้นข้าวได้ ส่วนหอยเชอรี่ที่มีขนาดของเปลือก 29 39 48 และ57 มิลลิเมตร จะสามารถกินต้นกล้าได้ 4.5 6.3 12.6 และ 23.5 ต้นต่อวัน ตามลําดับ พรชัย (มปป.) ได้รวบรวมวิธีการจัดการนาข้าว เพื่อป้องกันและจัดการหอยเชอรี่ไว้ว่า จะต้องมีการ วางแผนตั้งแต่การเตรียมต้นกล้า หรือตั้งแต่การเตรียมดิน โดยจัดเตรียมพื้นที่นาเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ เช่นทําคันนาให้สามารถเก็บกักน้ําหรือระบายน้ําในนาได้ และได้กล่าวว่า หอยเชอรี่สามารถทําลายข้าวได้เมื่อ มีขนาดตัวเพียง 0.5-1 เซนติเมตรเท่านั้น สยาม และคณะ (2548) รายงานว่า เกษตรกรส่วนใหญ่กําจัดหอยเชอรี่โดยใช้สารเคมีเอนโดซัล แฟน และมีการใช้แรงงานในการกําจัดหอยเชอรี่น้อยลง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่ สุชินันท์ เกียรติภักดี (2555) กล่าวว่า หอยเชอรี่จะสามารถกัดกินต้นพืชที่มีลักษณะอ่อนนิ่มได้ดี และสามารถกินพืชที่มีใบอ่อนนิ่ม เช่น แหนแดง ผักบุ้ง ยอดต้นข้าว รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยใน น้ํา และกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด หอยเชอรี่จะหลบอยู่ใต้เงาร่มของพืชน้ํา
  • 12. บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ในการวิจัยเรื่อง “ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง” ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (survey research) โดยมีวิธีการดําเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ฤดูกาลผลิต ปี 2555 ในจังหวัดพัทลุง จํานวน 6,320 ราย 2. กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2.1 กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรในจังหวัดพัทลุง ที่ทํานาปรังใน ฤดูกาลผลิต ปี 2555 2.2 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกจากเกษตรกรที่ทํานาปรังในฤดูกาลผลิตปี 2555 กําหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane, 1973 (อ้างใน จินดา ขลิบทอง, 2544) ที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05% ดังนี้ n = N 1 + Ne2 n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N = จํานวนประชากรทั้งหมด e = ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่างได้ไม่เกิน 5% เมื่อแทนค่าในสูตร n = 6320 1 + 6320 (0.05)2 = 376 ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จํานวน 376 ราย
  • 13. 9 ตารางที่ 3.1 จํานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ อําเภอ จํานวนประชากร (ราย) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (ราย) 1 เมืองพัทลุง 2,430 145 2 เขาชัยสน 350 21 3 ควนขนุน 1,900 113 4 ปากพะยูน 780 46 5 กงหรา 220 13 6 ป่าบอน 190 11 7 บางแก้ว 180 11 8 ป่าพะยอม 270 16 รวม 6,320 376 ที่มา : http://ecoplant.doae.go.th/report/form_03_report_process_daily54.php?. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556. 3. การเก็บรวมรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยคณะทํางานการจัดการศัตรูพืช โดยการ สัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น 4. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนําข้อมูลที่ได้รับจากแบบสัมภาษณ์มา ตรวจสอบความสมบูรณ์และถูกต้อง และบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยมีการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าต่ําสุด (minimum) ค่าสูงสุด (maximum) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : S.D.) 5. ระยะเวลาการวิจัย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2556 6. แผนการดําเนินงาน วางแผนการดําเนินงาน กุมภาพันธ์ 2556 จัดทําแบบสอบถาม มีนาคม 2556 จัดเก็บข้อมูล เมษายน – มิถุนายน 2556 วิเคราะห์ข้อมูล กรกฎาคม 2556 สรุปผลการวิจัย สิงหาคม 2556 จัดทํารายงานการวิจัย กันยายน 2556
  • 14. บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง ศึกษาการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นําเสนอ ผลการวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตอบแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 376 ราย ซึ่งผลการ วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ตอนประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่ ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง วิธีการทํานา ผลผลิตข้าวที่ได้รับ ดังรายละเอียดตามตาราง ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร n = 376 ข้อมูลทั่วไป จํานวน ร้อยละ Min. Max. ค่าเฉลี่ย S.D. เพศ ชาย 130 34.6 หญิง 246 65.4 อายุ (ปี) 37 78 55.49 9.78 ≤ 40 28 7.4 41 – 50 84 22.3 51 – 60 137 36.4 61 – 70 107 28.5 > 70 20 5.3 ระดับการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือ 9 2.4 ประถมศึกษา 274 72.9 มัธยมศึกษาตอนต้น 37 9.8 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 40 10.8 อนุปริญญา / ปวส. 13 3.5 ปริญญาตรี 3 0.8
  • 15. 11 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) n = 376 ข้อมูลทั่วไป จํานวน ร้อยละ Min. Max. ค่าเฉลี่ย S.D. อาชีพหลัก ทํานา 197 52.4 ทําสวน 156 41.5 อื่นๆ 23 6.1 จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง (ไร่) 2 15 7.05 3.09 ≤ 4 63 16.8 5 - 7 154 41.0 8 - 10 96 25.5 11 - 13 32 8.5 > 13 31 8.2 วิธีการทํานา หว่านน้ําตม 362 96.3 นาดํา 14 3.7 ผลผลิตที่ได้รับ (กก./ไร่) 300 630 465.72 58.9 ≤ 300 1 0.3 301 - 400 83 22.1 401 - 500 222 59.0 501 - 600 61 16.2 > 600 9 2.4 ตารางที่ 4.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ปรากฏผลดังนี้ เพศ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.4 และเพศชาย ร้อยละ 34.6 อายุ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 36.4 มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี รองลงมาร้อยละ 28.5, ร้อยละ 22.3, ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 5.3 มีอายุระหว่าง 61-70 ปี อายุระหว่าง 41-50 ปี อายุน้อย กว่าหรือเท่ากับ 40 ปี และอายุมากกว่า 70 ปีตามลําดับ โดยเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 55.49 ปี อายุต่ําสุด 37 ปี และอายุสูงสุด 78 ปี ระดับการศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.9 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา รองลงมาร้อยละ 10.6, ร้อยละ 9.8, ร้อยละ 3.5, ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 0.8 จบการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับอนุปริญญา/ปวส. ไม่ได้เรียนหนังสือ และ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามลําดับ อาชีพหลักของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทํานา คิดเป็น ร้อยละ 52.4 รองลงมาคือ ทําสวน และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 41.5 และ 6.1 ตามลําดับ
  • 16. 12 จํานวนพื้นที่ทํานาปรัง เกษตรกรร้อยละ 41.0 มีพื้นที่ทํานา 5-7 ไร่ รองลงมาร้อยละ 25.5 มีพื้นที่ทํานา 8-10 ไร่ ร้อยละ 16.8 มีพื้นที่ทํานาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ไร่ ร้อยละ 8.5 มี พื้นที่ทํานา 11 - 13 ไร่ และมีเพียงร้อยละ 8.2 ที่มีพื้นที่ทํานามากกว่า 14 ไร่ โดยมีพื้นที่ทํานาเฉลี่ย 7.05 ไร่ ต่ําสุด 2 ไร่ สูงสุด 15 ไร่ วิธีการทํานา เกษตรกรเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.3 ใช้วิธีการทํานาแบบหว่านน้ําตม ที่เหลือ ร้อยละ 3.7 ใช้วิธีการทํานาแบบนาดํา ผลผลิตที่ได้รับ (กก./ไร่) เกษตรกรร้อยละ 59.0 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 401-500 กิโลกรัม ร้อยละ 22.1 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 301-400 กิโลกรัม ร้อยละ 16.2 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 501-600 กิโลกรัม ร้อยละ 2.4 ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า 600 กิโลกรัม และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่เก็บผลผลิตได้ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 300 กิโลกรัม โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม ผลผลิตต่ําสุด 300 กิโลกรัม และผลผลิตสูงสุด 630 กิโลกรัม ตอนที่ 2 การระบาดของหอยเชอรี่ จากการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจํานวน 376 ราย พบว่า เกษตรกรกลุ่ม ตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบตัวหอยเชอรี่และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ใน แปลงเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 53.7 พบเฉพาะตัวหอยเชอรี่อย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 44.9 และพบ เฉพาะ ไข่หอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 1.3 สําหรับระยะการระบาดของหอยเชอรี่ เกษตรกรส่วนใหญ่พบ การระบาดในระยะกล้า คิดเป็นร้อยละ 76.1 รองลงมาพบทั้งสองระยะคือระยะกล้าและระยะแตกกอ คิด เป็นร้อยละ 15.2 พบเฉพาะระยะแตกกอ คิดเป็นร้อยละ 8.8 และไม่พบการระบาดระยะตั้งท้อง ระยะ ออกรวง และระยะ เก็บเกี่ยวเลย ดังตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.2 การระบาดของหอยเชอรี่ n = 376 การระบาดของหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ มีการระบาดของหอยเชอรี่ มี 376 100 ไม่มี 0 0
  • 17. 13 ตารางที่ 4.2 (ต่อ) n = 376 การระบาดของหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ พบในลักษณะที่เป็น ตัวหอย 169 44.9 ไข่หอย 5 1.3 ทั้งตัวหอยและไข่หอย 202 53.7 ระยะของการระบาดของหอยเชอรี่ ระยะกล้า 286 76.1 ระยะแตกกอ 33 8.8 ระยะตั้งท้อง 0 0 ระยะออกรวง 0 0 ระยะเก็บเกี่ยว 0 0 ระยะกล้า+ระยะแตกกอ 57 15.2 ตอนที่ 3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังแสดง รายละเอียด ในตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ n = 376 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ จํานวน ร้อยละ 1. การเก็บแล้วนําไปทิ้ง 103 27.0 2. การเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ 33 9.0 3. ใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ 184 49.0 4. ไม่ทําอะไรเลย 56 15.0 จากตารางที่ 4.3 รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ของเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้สารป้องกันกําจัด หอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 27.0 ไม่ทําอะไรเลย และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 9.0 ตามลําดับ
  • 18. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ 1. สรุปการวิจัย การศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์ของ การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึง 1) การระบาดของหอยเชอรี่ 2) รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของ เกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คัดเลือกจากประชากรในจังหวัดพัทลุง ที่ทํานาปรังในฤดูกาลผลิต ปี 2555 จํานวน 376 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยและอภิปรายผล 1. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.4 มี อายุเฉลี่ย 55.49 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.9 ประกอบอาชีพทํานาเป็นอาชีพ หลัก คิดเป็นร้อยละ 52.4 เกษตรกรมีพื้นที่ทํานาปรังเฉลี่ย 7.05 ไร่ วิธีการทํานาเกษตรกรเกือบทั้งหมด ใช้วิธีการทํานาแบบหว่านน้ําตม คิดเป็นร้อยละ 96.3 และผลผลิตที่ได้รับเฉลี่ย 465.72 กิโลกรัม/ไร่ 2. การระบาดของหอยเชอรี่ จากการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจํานวน 376 ราย พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกราย พบการระบาดของหอยเชอรี่ และเกษตรกรพบตัวหอยเชอรี่ และไข่หอยเชอรี่อาศัยอยู่ในแปลงเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 53.7 สอดคล้องกับ ชมพูนุช และทักษิณ, อ้างใน กมลศิริ(2545) ซึ่งกล่าวว่า พบไข่หอยเชอรี่และตัวหอยเชอรี่ พบทุกขนาดในนาข้าว และสามารถ ทําลายข้าวได้เมื่อมีขนาดตัวเพียง 0.5-1 เซนติเมตรเท่านั้น (พรชัย, มปป) สําหรับระยะการระบาดของหอย เชอรี่ เกษตรกรส่วนใหญ่พบการระบาดในระยะกล้า คิดเป็นร้อยละ 76.1 แต่จะไม่พบหอยเชอรี่ในช่วงการ เก็บเกี่ยว สอดคล้องกับชมพูนุท จรรยาเพศ (2539) ที่ศึกษาพฤติกรรมของหอยเชอรี่ขณะกินต้นข้าวพบว่า หอยเชอรี่ชอบกินต้นข้าวที่มีอายุน้อยมากกว่าต้นข้าวที่มีอายุมาก หอยเชอรี่จะสามารถกัดกินต้นพืชที่มี ลักษณะอ่อนนิ่มได้ดี และสามารถกินพืชที่มีใบอ่อนนิ่ม เช่น แหนแดง ผักบุ้ง ยอดต้นข้าว รวมถึงซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ํา และกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด หอยเชอรี่จะหลบอยู่ใต้เงา ร่มของพืชน้ํา (ชมพูนุช และทักษิณ,อ้างใน สุชินันท์, 2555) 3. รูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าว จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วน ใหญ่ใช้วิธีการใช้สารป้องกันกําจัดหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาใช้วิธีการเก็บแล้วนําไปทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 27.0 ไม่ทําอะไรเลย และการเก็บแล้วนําไปทําน้ําหมักจากหอยเชอรี่ คิดเป็นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 9.0 ตามลําดับ ซึ่งสอดคล้องกับสยาม และคณะ (2548) รายงานว่า เกษตรกรส่วน ใหญ่กําจัดหอยเชอรี่โดยใช้สารเคมีเอนโดซัลแฟน และมีการใช้แรงงานในการกําจัดหอยเชอรี่น้อยลง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหอยเชอรี่
  • 19. 15 2. ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนในการป้องกันและกําจัดหอยเชอรี่ร่วมกัน 2. ควรมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการหอยเชอรี่แบบผสมผสาน ได้แก่ 2.1 การใช้วัสดุกั้นทางไขน้ําเข้า-ออก หอยเชอรี่แพร่กระจายและระบาดเข้าสู่นาข้าวโดยทางน้ํา เท่านั้น ให้ใช้ตาข่าย เฝือก หรือ ภาชนะดักปลา ดับจับหอยเชอรี่ 2.2 การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว การล่อให้หอยเชอรี่มาวางไข่ โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่ หอยผ่าน เมื่อหอยวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ ทําให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทําลาย 2.3 การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบว่อนตัว พืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสําปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่นที่มียางขาวคล้ายน้ํานม 2.4 การนําเป็ดมาปล่อยในนา เป็ดจะกินหอยเชอรี่จนเกือบหมด หรือนาที่ไม่ใช้สารเคมี นกปากห่างเป็นฝูงจะมี สัญชาตญาณลงมาจับหอยเชอรี่กิน 3. ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนําหอยเชอรี่มาใช้ประโยชน์ เช่นการทําน้ําหมักจากหอย เชอรี่ 4. ขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําโครงการป้องกันและกําจัด หอยเชอรี่ 5. ควรกระตุ้นให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดําเนินงาน การเตือนภัย รณรงค์ป้องกันกําจัด
  • 21. เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ อนุกุลวรรธกะ และคณะ. “การระบาดของหอยเชอรี่” วารสารข่าวสารการเกษตร.36 (3) : 43-52 : มิถุนายน-กรกฎาคม, 2534. กรมประมง. 2556. “หอยเชอรี่” สืบค้นวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 จาก http://www.fisheries.go.th/ ifsuratthani/web2/index.php?option=com_content&view=article&catid=29%3A201 0-01-28-07-27-06&id=164%3A2010-02-19-03-38-59&Itemid=21 จินดา ขลิบทอง “หน่วยที่ 1 กระบวนการวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัย เพื่อการพัฒนาทางส่งเสริมการเกษตร นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2544 ชมพูนุช จรรยาเพศ. “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหอยเชอรี่,” ใน การประชุมสัมมนาทางวิชาการแมลงและศัตรูพืช. หน้า 731-757. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2539. ชมพูนุช จรรยาเพศ และทักษิณ อาชวาคม. 2542. หอยเชอรี่. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร และสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ ทิศนา แขมมณี. 2551. “รูปแบบการเรียนการสอน” สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 จาก http://www.kamsondeedee.com/school/index.php/chapter-002/50-2008-12-13- 14-34-57/108-2008-12-13-14-37-41?format=pdf ประจง สุดโต. 2542. การกําจัดหอยเชอรี่โดยไม่พึ่งสารเคมี. วารสารส่งเสริมการเกษตร 30(139) : 22-24. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. มปป. ผลิตข้าวอย่างไรให้ได้คุณภาพดี “วิธีกําจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว” สืบค้นวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 จาก http://pikul.lib.ku.ac.th. สยาม อรุณศรีมรกต,วรพร สังเนตร และธรรมศักดิ์ พัฒนพ่วง. 2548. “การจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของ เกษตรกรในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สุชินันท์ เกียรติภักดี. 2555. “การใช้ประโยชน์จากหอยเชอร่ําหรับการทําปุ๋ยหมัก” วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรดิน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สํานักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2556. “รายงานข้อมูลการผลิตพืช” สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 จาก http://www.phatthalung.doae.go.th/ สํานักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. 2556. “การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว) ” สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 จาก http://ecoplant.doae.go.th/report/form_03_report_ process_daily54.php?.