SlideShare a Scribd company logo
1 of 262
Download to read offline
Controversial Issues
in Asthma 2016
Controversial Issues
in Asthma 2016
ก
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
สารบัญ
1. ร่างแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสาหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559 …………….. 1
2. Asthma: Year in Review 2016 …………………………………………………………………….… 43
มนะพล กุลปราณีต
3. บทบาทของ Omalizumab ในการรักษาโรคหืด (Anti-IgE in Severe Allergic Asthma)………..... 51
ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์
4. การวินิจฉัยและรักษากลุ่มอาการหืดร่วมกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง …………………………………... 67
(Diagnosis and treatments of Asthma-COPD Overlap Syndrome: ACOS)
ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ / สมเกียรติ วงษ์ทิม
5. การวินิจฉัยโรคหืดในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอาการหายใจเสียงวี้ด ………………………………… 87
(Preschool wheezing: which one is asthma?)
นิภาศิริ วรปาณิ
6. Small airway diseases in asthma: Is it really that small? ………………………………………... 99
กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ
7. การบาบัดทางอิมมูนต่อสารก่อภูมิแพ้จาเพาะสาหรับโรคหืดในเด็ก …………………………... 117
(Allergen-specific immunotherapy for childhood asthma)
ต้นกล้า พลางกูร / อรพรรณ โพชนุกูล
8. ไซนัสอักเสบ สาคัญหรือไม่ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ……………………………………………. 129
(Rhinosinusitis: Is it important in asthma management?)
ปารยะ อาศนะเสน
ข
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
สารบัญ
9. ร่างข้อแนะนาการปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยไอเรื้อรังในผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 …….151
ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
10. การดูแลและรักษาผู้ป่วยภาวะหืดกาเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน ………………………………179
(Acute asthma management: What’s new in 2015-16)
กัมพล อานวยพัฒนพล
11. การป้ องกันการเกิดโรคหืดในเด็ก …………………………………………………………………..191
(Asthma prevention in children: is it possible?)
สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร
12. Chronic Eosinophilic Pneumonia ………………………………………………………………….. 201
อภิชาติ โซ่เงิน
13. การวินิจฉัยและรักษา difficult severe asthma …………………………………………………… 215
ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์
1
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ร่างแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย
สาหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559
คาชี้แจงน้าหนักคาแนะนาและคุณภาพหลักฐาน
น้าหนักคาแนะนา (Strength of Recommendation)
น้าหนักคาแนะนา ++ หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาให้ทาอยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวมี
ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วย และคุ้มค่า (cost effective) “ควรทา”
น้าหนักคาแนะนา + หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาให้ทาอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการ
ดังกล่าวอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และอาจคุ้มค่าในภาวะจาเพาะ “น่าทา”
น้าหนักคาแนะนา +/- หมายถึง ความมั่นใจยังไม่เพียงพอในการให้คาแนะนา เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยัง
มีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้านว่าอาจมีหรืออาจ ไม่มีประโยชนต่อผู้ป่วยและอาจไม่คุ้มค่า
แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจกระทาขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ “อาจทาหรือไม่ทา”
น้าหนักคาแนะนา - หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาห้ามทา อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการ
ดังกล่าวไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและไม่คุ้มค่า หากไม่จาเป็น “ไม่น่าทา”
น้าหนักคาแนะนา - - หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาห้ามทาอยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวอาจ
เกิดโทษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทา”
คุณภาพหลักฐาน (Quality of Evidence)
คุณภาพหลักฐานระดับ 1 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก
1.1 การทบทวนแบบมีระบบ (systematic review) จากการศึกษาแบบกลุ่ม สุ่มตัวอย่าง-ควบคุม
(randomize-controlled clinical trials) หรือ
1.2 การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่าง-ควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยม อย่างน้อย 1 ฉบับ (a well-designed
randomize -controlled clinical trial)
คุณภาพหลักฐานระดับ 2 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก
2.1 การทบทวนแบบมีระบบของการศึกษาควบคุมแต่ไม่ได้สุ่มตัวอย่าง (non-randomized controlled
clinical trials) หรือ
2
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
2.2 การศึกษาควบคุมแต่ไม่สุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพดีเยี่ยม (well-designed, non- randomized
controlled clinical trial) หรือ
2.3 หลักฐานจากรายงานการศึกษาตามแผนติดตามเหตุไปหาผล (cohort) หรือ การศึกษาวิเคราะห์
ควบคุมกรณีย้อนหลัง (case control analytic studies) ที่ได้รับการออกแบบวิจัยเป็นอย่างดี ซึ่งมาจากสถาบัน
หรือกลุ่มวิจัยมากกว่าหนึ่งแห่ง/กลุ่ม หรือ
2.4 หลักฐานจากพหุกาลานุกรม (multiple time series) ซึ่งมีหรือไม่มี มาตรการดาเนินการ หรือหลักฐาน
ที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกรูปแบบอื่นหรือทดลองแบบไม่มีการควบคุม ซึ่งมีผลประจักษ์ถึงประโยชน์หรือโทษ
จากการปฏิบัติมาตรการที่เด่นชัดมาก เช่น ผลของการนายาเพ็นนิซิลินมาใช้ในราว พ.ศ. 2480 จะได้รับการจัด
อยู่ในหลักฐานประเภทนี้
คุณภาพหลักฐานระดับ 3 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก
3.1 การศึกษาพรรณนา (descriptive studies) หรือ
3.2 การศึกษาควบคุมที่มีคุณภาพพอใช้ (fair-designed, controlled clinical trial)
คุณภาพหลักฐานระดับ 4 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก
4.1 รายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับความเห็นพ้องหรือฉันทามติ (consensus) ของ
คณะผู้เชี่ยวชาญบนพื้นฐานประสบการณ์ทางคลินิก หรือ
4.2 รายงานอนุกรมผู้ป่วยจากการศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะอย่างน้อย 2
ฉบับรายงาน หรือความเห็นที่ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แบบมีระบบ เช่น เกร็ดรายงานผู้ป่ วยเฉพาะราย
(anecdotal report)ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะราย จะไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพ
ในการจัดทาแนวทางเวชปฏิบัตินี้
3
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
นิยามของโรคหืด
โรคหืดเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย (heterogeneus disease) มีลักษณะการอักเสบเรื้อรังของ
หลอดลม ผู้ป่วยมีประวัติอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ หายใจเสียงหวีด หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกและอาการไอ
โดยอาการผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ ในด้านเวลาการดาเนินโรคและระดับความรุนแรงร่วมกับ
การตรวจพบการแปรปรวนของการอุดกั้นการไหลของลมในช่วงขาออก (variable expiratory airflow
limitation) และอาการอาจกาเริบ หรือกลับเป็นซ้าๆ ได้
ลักษณะทั่วไปของโรคหืด
โรคหืดพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 7 ของประเทศไทย2
(น้าหนักคาแนะนา +) ผู้ป่วยมีอาการแปรปรวน
(variable symptoms) เช่น การหายใจเสียงหวีด เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หรือไอ ร่วมกับ variable expiratory
airflow limitation โดยที่อาการและการอุดกั้นหลอดลม (airflow limitation) สามารถถูกกระตุ้นโดยการออก
กาลังกาย สัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารก่อระคายเคือง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การติดเชื้อทางเดิน
หายใจ เป็นต้น โรคหืดมีลักษณะหลอดลมไวผิดปกติ (airway hyper-responsiveness) ต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือ
สารที่ทาให้เกิดการระคายเคือง ทาให้เกิดการอักเสบเรื้อรังหลอดลมอย่างต่อเนื่องแม้ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาจ
มีผลตรวจสมรรถภาพปอดที่ปกติได้และสามารถกลับมาควบคุมอาการให้ปกติได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสม
อาการโรคหืดและ airflow limitation อาจหายเองได้หรือหายภายหลังให้ยารักษา และไม่มีอาการอีกเป็น
เวลานานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้ป่วยบางรายมีอาการกาเริบ (exacerbation) รุนแรง อาจทาให้เสียชีวิต
ได้ มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและสังคม1
การวินิจฉัยโรคหืด
การวินิจฉัยโรคหืดประกอบด้วย
1) อาการที่เข้าได้กับโรคหืด
2) มีหลักฐานการตรวจพบว่ามี variable expiratory airflow limitation เช่น ได้ยินเสียงหวีด ซึ่งไม่จาเพาะกับ
แค่ในโรคหืดเท่านั้น จึงควรส่งตรวจสไปโรเมตรีย์ (spirometry) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคหืดตั้งแต่ครั้งแรกที่
ผู้ป่วยมาพบแพทย์ เนื่องจากการส่งตรวจภายหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาควบคุมอาการ (controller) แล้ว
จะเกิดความยุ่งยากในการแปลผล ในกรณีไม่สามารถทาการตรวจสไปโรเมตรีย์ได้ การตรวจ peak expiratory
flow (PEF) variability จะช่วยเพิ่มความแม่นยาในการวินิจฉัยมากขึ้น1
(น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพ
หลักฐานระดับ 4)
4
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
การซักประวัติ ลักษณะอาการทางระบบหายใจที่เข้าได้กับโรคหืด ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้มีโอกาส
เป็นโรคหืด
 มีอาการมากกว่าหนึ่งอย่าง ได้แก่ หายใจเสียงหวีด เหนื่อย ไอ แน่นหน้าอก
 อาการแย่ลงช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า
 อาการและความรุนแรงแปรปรวนตลอดระยะเวลา
 อาการหืดกระตุ้นโดยการติดเชื้อ ไข้หวัด ออกกาลังกาย สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
หัวเราะ หรือโดนสารระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น ควันรถยนต์ ควันทุกชนิด หรือกลิ่นแรง
ประวัติและประวัติครอบครัว ควรซักประวัติผู้ป่วยที่มีโอกาสเป็นโรคหืด ได้แก่ มีอาการระบบทางเดินหายใจ
ช่วงวัยเด็ก ประวัติภูมิแพ้จมูกหรือ ภูมิแพ้ผิวหนัง (eczema) ประวัติโรคหืดหรือภูมิแพ้ในครอบครัว แต่อย่างไรก็
ตามประวัติเหล่านี้ไม่จาเพาะเจาะจงสาหรับโรคหืด และไม่พบใน asthma phenotype ทุกคน ผู้ป่วยที่มีภูมิแพ้
จมูกหรือภูมิแพ้ผิวหนัง ควรซักประวัติทางระบบหายใจอย่างละเอียด เพื่อหาอาการของโรคหืดร่วมด้วย
การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายในผู้ป่วยโรคหืด ผลตรวจส่วนใหญ่จะปกติ การตรวจพบสิ่งผิดปกติที่พบ
บ่อย ได้แก่ ฟังเสียงหวีด ช่วงหายใจออก หรือหายใจออกแรงๆ ผู้ป่วยมีอาการโรคหืดกาเริบอย่างรุนแรง อาจจะ
ตรวจไม่พบเสียงหวีดเลยก็ได้ เนื่องจากการไหลของอากาศลดลงอย่างมาก แต่ควรตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ
ของระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยเสียงหวีดสามารถตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ/โรคอื่นๆ ได้ดังนี้
COPD, upper airway obstruction, การติดเชื้อทางเดินหายใจ, tracheobronchomalacia หรือมีสิ่ง
แปลกปลอมอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรตรวจพบ crackles หรือ เสียงหวีดช่วงหายใจเข้า ควรตรวจดู
จมูกเพื่อดูลักษณะของ inferior turbinate และตรวจหาดูว่ามี nasal polyp ร่วมด้วยหรือไม่
บทบาทของการตรวจสมรรถภาพปอดในการประเมินโรคหืดและคาแนะนาการตรวจสมรรถภาพ
ปอด
การทดสอบสมรรถภาพปอดโดยสไปโรเมตรีย์ช่วยบ่งชี้ว่ามีการตีบของหลอดลม (airflow limitation)
แนะนาให้ทาในผู้ป่วยที่มีประวัติและการตรวจร่างกายที่สงสัยโรคหืดเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
1) ยืนยันว่ามีภาวะหลอดลมตีบ และความรุนแรง
2) ประเมินว่ามีการตอบสนองต่อยาสูดขยายหลอดลม (reversibility) ก่อนการรักษา และ/หรือ มีการ
ตอบสนองต่อการใช้ยารักษาโรคหืดหรือไม่ (variable airflow limitation) โดยการยืนยันว่ามีภาวะหลอดลมตีบ
พิจารณาจากค่า FEV1/FVC มีค่าน้อยกว่า 0.75-0.8 ในผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี และการตอบสนองต่อยา
5
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
สูดขยายหลอดลม พิจารณาจากค่าสมรรถภาพปอด FEV1 เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ml และมากกว่าร้อยละ 12
หลังสูดยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว 15 นาที และ/หรือ หลังการได้ยาควบคุมอาการรักษาโรคหืดเป็น
เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์3
ภาวะหลอดลมตีบ (variable airflow obstruction) ดังกล่าว สามารถตรวจได้โดยวิธี
อื่นๆ (alternative options) ได้แก่
1. การวัด peak expiratory flow (PEF) โดยการตอบสนองต่อยาสูดขยายหลอดลม
1.1 พิจารณาจากค่า PEF ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 60 L/min หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 หลังสูดยาขยาย
หลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว แต่การทดสอบด้วยการวัด PEF มีความเที่ยงตรงน้อยกว่าสไปโรเมตรีย์ (น้าหนัก
คาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4)
1.2 การใช้ PEF เพื่อตรวจหาภาวะหลอดลมตีบที่มีความผันผวน โดยการวัด PEF ในช่วง 1-2 สัปดาห์
สามารถใช้ในการวินิจฉัยและประเมินโรคหืดได้ดีกว่า คนที่เป็นโรคหืดจะมีความผันผวนมากกว่าคนปกติ โดย
วัด PEF วันละ 2 ครั้ง ในขณะยังไม่ได้เริ่มการรักษา ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคหืดจะมีค่า PEF variable ได้ร้อยละ
5-9 ถ้าค่า PEF variable อยู่ระหว่างร้อยละ 9-20 จะให้การวินิจฉัยโรคหืดได้ต้องอาศัยการซักประวัติและตรวจ
ร่างกายที่เข้าได้กับโรคหืด ถ้าค่า PEF variability ได้มากกว่าร้อยละ 20 หรือ 10 วิธีการคานวณค่า PEFR
variability สามารถให้การวินิจฉัยโรคหืดได้ การคานวณค่า PEF variability อ่านในภาคผนวก (น้าหนัก
คาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)
1.3 การวัดค่า PEF ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 หลังการรักษาด้วยยาควบคุมโรคหืดเป็นเวลา 4 สัปดาห์
(น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)
2. ทดสอบความไวหลอดลม (airway hyper-responsiveness, AHR) แนะนาให้ทาในผู้ป่วยที่มีประวัติ
และการตรวจร่างกายที่สงสัยโรคหืดแต่การตรวจโดยสไปโรเมตรีย์ไม่พบความผิดปกติสามารถทาได้ด้วยการให้
สูดสารกระตุ้น ได้แก่ methacholine ที่ความเข้มข้นเริ่มจากน้อยไปมากและวัดค่าสมรรถภาพปอดภายหลังการ
สูดยาแต่ละความเข้มข้นว่ามีการลดลงของค่าสมรรถภาพปอด FEV1 มากกว่าร้อยละ 20 จาก baseline (PC20)
PC20 ต่ากว่า 1 mg/ml ถือว่าภาวะหลอดลมไวรุนแรง (severe AHR) PC20 ต่ากว่า 4 mg/ml ถือว่ามีภาวะ
หลอดลมไว และ PC20 ที่มากกว่า 16 mg/ml ถือว่าผลการทดสอบเป็นลบ สรุปการทดสอบนี้มีความไว
(sensitivity) สูงแต่ความจาเพาะ (specificity) ต่า ดังนั้นการแปลผลควรต้องประกอบกับอาการ เกณฑ์
วินิจฉัยโรคหืดควรมีค่า PC20 น้อยกว่า 8 mg/ml ในผู้ป่วยที่มีอาการที่สงสัยเข้าได้กับโรคหืด4
6
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
หากผู้ป่วยมีประวัติ ที่เข้าได้กับโรคหืด และมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ อาจพิจารณาให้การรักษาไป
ก่อนได้ (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4)
1) ประวัติของอาการทางเดินหายใจที่แปรปรวน เสียงหวีด
2) อาการ หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกและไอ มักมีอาการมากกว่าหนึ่งอาการ อาการและความรุนแรง
แปรเปลี่ยนตามเวลา
3) อาการเป็นมากช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า
4) อาการกาเริบ โดยการออกกาลังกาย หัวเราะ การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น หรือภายหลังการติดเชื้อ
ทางเดินหายใจ
การวินิจฉัย และการวินิจฉัยแยกโรค
การวินิจฉัยโรคหืดและวินิจฉัยแยกโรคนั้น นอกจากต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนแล้ว ควรให้ความสาคัญ
เกี่ยวกับข้อมูลคัดค้านด้วยเพราะอาจทาให้นึกถึงโรคอื่นที่อาจมีบางลักษณะร่วมกัน เช่น การมีหลอดลมตีบจาก
สาเหตุอื่น (ตารางที่ 1) (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4)
ตารางที่ 1 การวินิจฉัยแยกโรคหืด
ข้อมูลคัดค้านโรคหืด กลไกการเกิด โรค
ประวัติ
Dyspnea on exertion COPD (stable)
Hemoptysis Bronchiectasis
Lung cancer
TB
Localized wheezing Structural airway
obstruction
Bronchiectasis
Lung cancer
Bronchostenosis เช่น endobronchial TB
ตรวจร่างกาย
Persistence of central wheezing/
stridor
Upper airway obstruction Tracheal stenosis
Tracheal tumor
Bilateral vocal cord paralysis
Lung cancer with tracheal invasion
Esophageal cancer invaded trachea
TB larynx, TB involved trachea
Wheezing aggravated by forced Posterior wall of airway Tracheobronchomalacia
7
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
expiration or cough collapse
Sudden onset of wheezing that
spontaneously resolved abruptly
Hoarseness of voice, lump in throat
Vocal cord dysfunction
Wheezing with clubbing of finger Bronchiectasis
Lung cancer
Lung abscess
Cervical lymphadenopathy Lung cancer
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Abnormal chest X-ray that explain
wheezing, cough, dyspnea
Spirometry showed irreversible
airway obstruction
COPD
Bronchiectasis
Chronic asthma with remodelling
Hypoxemia without hypercarbia Pulmonary congestion Heart failure (cardiac wheezing)
Pneumonia
Atelectasis
Pulmonary embolism
การประเมินความรุนแรงโรคหืด
การประเมินความรุนแรงโรคหืดก่อนการรักษา เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกการรักษาโดยยากลุ่มต่างๆ โดย
อาศัยอาการ และสมรรถภาพปอด (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4) ดังนี้
ระดับ อาการช่วงกลางวัน อาการช่วงกลางคืน PEF or FEV1 / PEF variability
รุนแรงน้อย
(mild asthma)
มีอาการ < 1 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการ < 2 ครั้งต่อเดือน > 80% / < 20%
รุนแรงปานกลาง
(moderate asthma)
มีอาการ > 1 ครั้งต่อสัปดาห์
แต่ไม่ทุกวัน
มีอาการ > 2 ครั้งต่อเดือน > 80% / < 20-30%
รุนแรงมาก
(severe asthma)
มีอาการทุกวัน มีอาการ > 1 ครั้งต่อสัปดาห์ < 60%-80% / > 30%
การประเมินความรุนแรงของโรคหืดหลังการรักษา เพื่อปรับการรักษา ใช้เกณฑ์การประเมิน asthma
symptom control
8
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
การประเมินโรคหืด (Assessment of asthma)
การประเมินโรคหืดนั้นปัจจุบันเน้นไปที่การประเมินการควบคุมอาการของโรคและการประเมินความ
เสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงในอนาคต เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การประเมินการควบคุมอาการของโรค
หืด (Assessing asthma control) เนื่องจากอาการของโรคหืดไม่มีความสัมพันธ์กับค่าสมรรถภาพปอด จึงตัด
การทดสอบสมรรถภาพปอด (FEV1) ออกไปจากการประเมินการควบคุมอาการ หรือระดับการควบคุมโรคหืด
การประเมินอาการของโรคนั้น มีหลายวิธี ได้แก่ การประเมินระดับการควบคุมโรคหืดเป็นกลุ่ม หรือระดับการ
ควบคุม (categorical symptoms control) หรือการใช้ค่าคะแนนที่มาจากแบบทดสอบ (composite score
หรือ numerical symptom control) เช่น asthma control test (ACT)5
หรือ asthma control questionnaire
(ACQ)6
ดังในภาคผนวก
การประเมินระดับอาการโรคหืด (symptom assessment) เป็นกลุ่ม จาแนกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่
คุมอาการของโรคได้ และผู้ป่วยที่ไม่สามารถคุมอาการของโรค โดยอาศัยคาถามง่ายๆ กับอาการโรคหืดในรอบ
4 สัปดาห์ที่ผ่านมา (น้าหนักคาแนะนา +, หลักฐานระดับ 4) คือ
ระดับการควบคุมโรคหืด อาการคุมได้ อาการคุมไม่ได้
ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วย
มีอาการโรคหืดเกิดขึ้นกลางวันมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช่ □ ไม่ไช่ □
ตื่นกลางดึกเนื่องจากหืด ใช่ □ ไม่ไช่ □ ไม่มี มีข้อใดข้อหนึ่ง
ใช้ยาบรรเทาอาการหืดกาเริบมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช่ □ ไม่ไช่ □
มีข้อจากัดในการออกแรง ทากิจกรรม เนื่องจากโรคหืด ใช่ □ ไม่ไช่ □
การประเมินปัจจัยเสี่ยงในอนาคต (Risk factors for poor asthma outcome) นอกเหนือจากประเมินอาการ
ควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงในอนาคต เพื่อพิจารณาให้การรักษา (asthma controller medication) ปัจจัยเสี่ยง
ในอนาคตอันได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงในการกาเริบเฉียบพลัน (Risk factors for exacerbation) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
หลอดลมตีบถาวร (Risk factors for developing fixed airflow obstruction) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
ผลข้างเคียงจากการรักษา (Risk factors of medication side effect)1
9
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
การรักษาโรคหืด
ปัจจุบันเชื่อว่าการอักเสบเป็นสาเหตุของโรคหืดดังนั้นการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบจึงเป็นยาหลักในการ
รักษาโรคหืด เนื่องจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด (inhaled corticosteroids, ICS) มีประสิทธิภาพสูงใน
การลดการอักเสบและมีผลข้างเคียงต่า จึงใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด สาหรับยาขยายหลอดลมจะใช้
ปัจจัยเสี่ยงต่อหืดกาเริบเฉียบพลัน
(Risk factors of exacerbation)
• ไม่สามารถคุมอาการหืดได้
• ใช้ยาขยายหลอลดลมออกฤทธิ์สั้น
บรรเทาอาการ > 200 ครั้ง/เดือน
• ได้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่
พอ
• ค่าสมรรถภาพปอด FEV1
ต่า
(<60% predicted)
• สัมผัสต่อสารก่อภูมิแพ้ และบุหรี่
• โรคหรือภาวะทางจิตเวช
• โรคร่วม เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้
หรือภาวะอ้วน
• ตรวจพบว่ามี eosinophils ในเสมหะ
• ตั้งครรภ์
• เคยนอนในโรงพยาบาลจากหืด
กาเริบเฉียบพลัน หรือได้รับการใส่ท่อ
ช่วยหายใจ
• หืดกาเริบเฉียบพลัน ≥ 1 ครั้งในปีที่
ผ่านมา
ปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดลมตีบถาวร
(Risk factors for developing fixed
airway obstruction)
• ไม่ใช้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์
• การสูบบุหรี่ และสัมผัสต่อมลพิษใน
และนอกครัวเรือน
• มีค่าสมรรถภาพปอดที่ต่า
• มี eosinophils ในเลือดหรือใน
เสมหะสูงผิดปกติ
ปัจจัยต่อผลข้างเคียงการรักษา
(Risk factors of medication side
effects)
• ทางระบบ: ได้ยาสูดคอร์ติโคส
เตียรอยด์ขนาดสูง หรือได้ยากินคอรติ
โตสเตียรอยด์ บ่อยๆ ได้ยาที่มีผลเป็น
P450 inhibitor
• เฉพาะที่: ใช้ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์
ขนาดสูง หรือ สูดยาไม่ถูกเทคนิค
ปัจจัยที่มีผลต่ออนาคต (Poor asthma outcome) ประกอบด้วย
หากแม้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แม้ว่าจะคุมอาการหืดได้ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อผลในอนาคต1
10
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
เพื่อบรรเทาอาการหืดกาเริบเท่านั้น โดยเป้ าหมายของการรักษา คือ การควบคุมโรคหืดให้ได้ (asthma
controlled) แล้วปรับการรักษาเพื่อที่จะใช้ยาให้น้อยที่สุดที่ควบคุมโรคให้ได้
เป้ าหมายของการรักษา
โรคหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาด เป้ าหมายการรักษาคือการควบคุมโรคหืด (asthma control) ซึ่ง
หมายถึง การควบคุมอาการในปัจจุบัน (current control) ได้แก่ การไม่มีอาการหอบทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ต้องใช้ยาขยายหลอดลม ไม่มีโรคกาเริบ สามารถทากิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสามารถออกกาลังกายได้เป็นปกติ
มีสมรรถภาพปอดปกติ และการป้ องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (prevent future risks) ได้แก่ การกาเริบของโรค
การเสียชีวิต การลดลงของสมรรถภาพปอดจนเกิดการอุดกั้นถาวร (remodeling) และอาการข้างเคียงจากการ
รักษา1
ผู้ป่วยโรคหืดทุกคนควรได้รับยาควบคุมโรคที่ต้องใช้สม่าเสมอและยาบรรเทาอาการเมื่อมีอาการ โดย
มุ่งเป้ าที่จะควบคุมอาการในปัจจุบันและการป้ องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการรักษาโรคหืดไม่ดี
(prevent future risks) โดยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดจะเป็นยาหลักในการควบคุมโรค โดยใช้ยาคอร์ติ
โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่า ในกรณีที่ไม่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดก็อาจใช้ยาต้านลิวโคไตรอีน
ถ้าใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่าแล้วยังควบคุมโรคไม่ได้ อาจจะพิจารณาใช้ยาคอร์ติโคส
เตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดสูง หรือใช้ยาควบคุมโรคตัวอื่น เช่น ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) ยา
ต้านลิวโคไตรอีน และ theophylline มาใช้ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่า แต่แนะนาให้ใช้
LABA ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดในหลอดเดียวกัน (ICS/LABA) โดยมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
ส่วนวิธีอื่นใช้เป็นทางเลือก และในกรณีที่ใช้ ICS/LABA ที่เป็น formoterol ซึ่งเป็น LABA ที่ออกฤทธิ์เร็วก็
สามารถใช้ยาหลอดเดียวเป็นทั้งยาควบคุมอาการและยาบรรเทาอาการได้ (Maintenance and Reliever
Therapy)7
(น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) ดังรูปที่ 1
11
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ยาในการรักษาโรคหืด และแนวทางในการรักษาเพื่อควบคุมอาการ และลดความเสี่ยงในอนาคต
(Medications and strategies for symptom control and risk reduction)1
ยาในการรักษาโรคหืด (Asthma medications) การปรับรักษาโรคหืดเน้นการปรับยาเป็นระดับ (stepwise
approach) เพื่อให้ได้ผลการควบคุมโรคหืด (asthma control) แนวทางการรักษาโรคหืดในนั้นสามารถจาแนก
ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ1
1) ยาที่ใช้ในการควบคุมโรค (Asthma controller medications) ใช้ลดการอักเสบของหลอดลม ลดการ
กาเริบเฉียบพลัน และการเกิดหลอดลมตีบถาวร (fixed airflow obstruction)
2) ยาใช้ในการลดอาการ (Symptoms rescuer หรือ reliever medication) ใช้เป็นครั้งคราว (as-needed)
ในกรณีมีอาการ กาเริบ และสามารถใช้ป้ องกันหลอดลมตีบจากการออกกาลัง (exercise induced
bronchospasm, EIB)
3) ยาที่ใช้เสริมในการรักษา (Add on therapies) ในกรณีที่โรคหืดอาการรุนแรง (severe asthma) ใช้เสริม
หากไม่สามารถคุมโรคได้ด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาสูดขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์
ยาว (ICS/LABA)
การพิจารณาเลือกยาที่เป็นตัวแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคหืด (Initial controller)
หากมีอาการของโรคหืดหรือใช้ยาสูดขยายหลอดลมไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน หรือไม่มีอาการหืดกลางคืน
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบเฉียบพลัน และไม่มีการกาเริบเฉียบพลันในรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีความจาเป็นใน
การใช้ยาควบคุมโรคหืด หากความถี่ของอาการของโรคหืดหรือใช้ยาสูดขยายหลอดลมมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน
แต่ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีอาการหืดกลางคืนมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่น
สูดเป็นขนาดต่า (คุณภาพหลักฐานระดับ 2) มีอาการของโรคหืดรบกวนเกือบทุกวัน หรือมีอาการหืดกลางคืน
มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ/หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบเฉียบพลันอย่างน้อย 1 ข้อพิจารณา ให้ยาคอร์ติ
โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาสูดขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวขนาดต่า (น้าหนักคาแนะนา ++,
คุณภาพหลักฐานระดับ 3)
แนวทางในการรักษาเพื่อควบคุมอาการและลดความเสี่ยงในอนาคต เริ่มจากการประเมินความรุนแรง
ของโรคหืด (asthma severity) ในผู้ป่วยหืดรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับการรักษา และการประเมินระดับการควบคุม
โรคหืด (ดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นในการประเมินผลการควบคุมโรคหืด) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาก่อนหน้านี้
การปรับระดับการรักษาและการประเมินผลการตอบสนอง เพื่อปรับลด หรือเพิ่มระดับยาในการรักษา อีก 3-6
เดือน
12
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
Asthma education, environmental control, influenza vaccine and pulmonary rehabilitation
As needed rapid-acting 2-agonist
Low dose
steroid
สาหรับผู้ป่วยที่มี
High Risk
exacerbation
Low dose
steroid
สาหรับผู้ป่วยที่มี
High Risk
exacerbation
Select one Select one Add one or more Add one or both
Low-dose
inhaled ICS
Low-dose ICS plus
long-acting
2 -agonist
Medium-or high-dose
ICS plus long-acting
2-agonist
Oral
glucocorticosteroid
(lowest dose)
Leukotriene
modifier
Medium-or- high-
dose ICS
Leukotriene modifier Anti - IgE
Low-dose ICS plus
leukotriene modifier
Sustained release
theophyline
Low dose ICS plus
sustained release
theophylline
Tiotropium bromide
รูปที่ 1 การปรับเพิ่มหรือลดระดับการรักษา (asthma treatment level) ตามความระดับการควบคุมโรค ใน
การควบคุมโรคหืดที่เป็นระดับและยาที่ใช้ในการรักษา ทั้งที่เป็นยาควบคุมโรคหืดและยาที่ใช้บรรเทาอาการ
(อักษรย่อ RABA = rapid acting 2 agonist, ICS = inhaled corticosteroid, ICS/LABA = inhaled
corticosteroid plus long acting 2 agonist, LTRA = leukotriene receptor antagonist, OCS = oral
corticosteroid)
ยาที่ใช้ในโรคหืดแบ่งเป็นที่แนะนา (Preferred options) และตัวเลือกอื่นๆ (alternatives หรือ others)
สาหรับ ยาควบคุมอาการในแต่ละระดับมียาที่เลือกเป็นอันดับแรกและตัวเลือกอื่นๆ โดยพิจารณาจากปัจจัย
ด้าน คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้ป่วย และราคา
อย่างไรก็ตามก่อนการปรับระดับของยาควบคุมโรคหืด ต้องพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมโรคหืด
ได้ เช่น อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคหืด ผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยไม่ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่าเสมอ และ
ผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทาให้โรคหืดควบคุมไม่ได้
Decrease IncreaseTreatment steps
Step 1 Step 2 Step 3 Step 4 Step 5
13
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ยาควบคุมโรคหืดระดับ 1 พิจารณาใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้ง
คราว (As needed inhaled rapid acting β2-agonist) สาหรับยาบรรเทาอาการหืดกลุ่มอื่นๆ เช่น ยาสูดพ่น
ออกฤทธิ์ต้านตัวรับโคลินเนอร์จิก ipratropium bromide ยา rapid acting β2-agonist ในรูปรับประทาน หรือ
ยา theophylline ที่ออกฤทธิ์สั้นในรูปรับประทานอาจใช้ได้แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า ส่วนยารับประทานมีผลข้างเคียง
มากกว่ายาสูด (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)8, 9
หากผู้ป่วยมีอาการหืดน้อยกว่า 2 ครั้งต่อ
เดือน หรือไม่มีการหืดกลางดึก และไม่มีปัจจัยปัจจัยเสี่ยง (risk factors) แนะนาว่าไม่ต้องใช้ยาควบคุมโรคหืด
(controller medications)10, 11
แต่อาจพิจารณาใช้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่า (low dose ICS) ใน
กรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)
ยาควบคุมโรคหืดระดับ 2 พิจารณาใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดในขนาดต่า (low dose ICS) เป็น
อันดับแรกร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว (น้าหนัก
คาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)10, 12
ในกรณีที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ชนิดพ่นสูด หรือไม่พึงประสงค์จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือกรณีผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการของจมูกอักเสบร่วม
ด้วย อาจพิจารณาใช้ยาต้านลิวโคไตรอีนในรูปรับประทานได้ (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ
1)13, 14
อาจพิจารณาใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดเป็นครั้งคราวในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก เนื่องจาก
อาการโรคหืดเป็นตามฤดูกาลอาจพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดทันทีที่เริ่มมีอาการ และให้เป็น
เวลาสั้นๆ ราว 4 สัปดาห์ (คุณภาพหลักฐาน ระดับ 3) สาหรับยา theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวชนิดรับประทาน
อย่างเดียวนั้นไม่แนะนาเพราะมีประสิทธิภาพต่าในการรักษาโรคหืดและผลข้างเคียงสูงเนื่องจากมีการใช้อย่าง
แพร่หลายในประเทศไทย อาจพิจารณาใช้ในกรณีที่ไม่มียาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดหรือยาต้านตัวลิวโค
ไตรอีน15, 16
(คุณภาพหลักฐานระดับ 1)
ยาควบคุมโรคหืดระดับ 3 พิจารณาใช้ยาสูดพ่นผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์กับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว
(ICS/LABA) ขนาดต่าร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว17,9,18
สาหรับการใช้ยาสูดพ่นผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์กับ formoterol (ICS/formoterol) อันได้แก่
budesonide/formoterol หรือ beclomethasone/formoterol) ขนาดต่า บริหารยาทั้งใช้ควบคุมและบรรเทา
อาการเป็นครั้งคราว (maintenance and reliever therapy)7, 19-23
ให้ผลในลดการกาเริบเฉียบพลันไม่ต่างจาก
ICS/LABA combination ในขนาดคงที่เป็นประจาร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอลมที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทา
14
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
อาการ24
สาหรับยาอื่นที่ใช้ได้คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลางหรือสูง11, 25, 26
หรือยาคอร์ติ
โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดร่วมกับยาต้านลิวโคไตรอีนในรูปรับประทาน27
หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด
ร่วมกับยารับประทาน theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาว28
แต่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์
ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (ICS/LABA)29, 30
(น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ
1)
ยาควบคุมโรคหืดระดับ 4 พิจารณาใช้ยาควบคุมโรคหืด 2 ชนิดขึ้นไปร่วมกับยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูดที่
ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการ โดยเลือกใช้ยาสูตรผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง
ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (medium dose ICS/LABA)17, 24
สาหรับผู้ป่วยหืดที่ได้รับการรักษา
ด้วยยาในระดับ 4 ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ป่วยที่มีอาการหืดกาเริบเฉียบพลันบ่อยๆ คือมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปในรอบปีที่ผ่านมา การใช้ยาผสม
ระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดกับ formoterol ขนาดกลาง บริหารยาทั้งใช้ควบคุมและบรรเทาอาการ
เป็นครั้งคราว ได้ผลดีกว่าในการลดการกาเริบเฉียบพลัน เมื่อเปรียบเทียบกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด
ขนาดปานกลางผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว หรือยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดสูง24
(น้าหนัก
คาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) สาหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาควบคุมโรคหืดเป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ชนิดพ่นสูดขนาดต่าผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว ร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็วสูด
เพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว อาจเพิ่มขนาดของยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นขนาดที่สูงขึ้นผสมกับยา
ขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว17
(น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2)
สาหรับตัวเลือกอื่นๆ ในการรักษาได้แก่ การเพิ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดเป็นขนาดสูงเป็น
เวลา 3-6 เดือน25
ในกรณีที่ไม่สามารถคุมโรคได้ด้วยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง
ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับยาอื่นๆเช่น ยาต้านตัวรับลิวโคไตรอีนในรูปรับประทานหรือยา
theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน31
(น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2) หรือเพิ่มยา
ต้านตัวรับโคลินเนอร์จิกชนิดพ่นสูดได้แก่tiotropium ขนาด 5 และ 10 µg เพิ่มกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับ ICS/LABA
ขนาดสูงอยู่เดิมนั้นพบว่า ได้ผลในการเพิ่มค่าสมรรถภาพปอดได้และช่วยลดหืดกาเริบเฉียบพลัน32, 33
15
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ยาที่เป็นยาควบคุมโรคหืดเช่น ยาต้านลิวโคไตรอีนชนิดรับประทาน หรือยา theophylline ที่ออกฤทธิ์
ยาวโดยอาจใช้ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวขนาดต่าหรือ
กลาง 28, 34
(น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2)
ยาควบคุมโรคหืดระดับ 5 (ควรดูแลในสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ) พบว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถ
ควบคุมโรคหืดได้ด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดสูงผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว(high
dose ICS/LABA) อาจพิจารณาใช้ยาได้แก่ ยาต้านอิมมูโนโกลบูลินอี แบบฉีด (Anti-IgE treatment หรือ
omalizumab) (คุณภาพหลักฐานระดับ1) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทานขนาดต่า (Add-on low dose
oral corticosteroid) (คุณภาพหลักฐานระดับ 3) หรือทาการส่องกล้องหลอดลมและ bronchial thermoplasty
(คุณภาพหลักฐานระดับ 2)
ยาต้านอิมมูโนโกลบูลินอีแบบฉีด (monoclonal anti-IgE หรือ omalizumab) พิจารณาใช้ในกรณีที่
ควบคุมโรคไม่ได้และเป็น allergic asthma โดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้
(aeroallergen) หรือการตรวจวัดระดับของ specific IgE ในเลือดที่จาเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ (aeroallergen)
พบว่า omalizumab ช่วยลดการเกิดหืดกาเริบได้35, 36
การรักษาด้วยยา omalizumab นั้นควรพิจารณาในผู้ป่วย
ดังต่อไปนี้(ภาคผนวก 2) คือ มีอาการโรคหืดรุนแรงแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยามคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิด
พ่นสูดขนาดสูงผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว แต่ยังคงมีอาการของโรคหืดที่ควบคุมไม่ได้และมีการ
กาเริบเฉียบพลัน และมีผลการทดสอบทางผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้ (aeroallergen) เป็นบวก มีระดับของ total
IgE ในเลือดระหว่าง 30-1500 IU/ml37
ต้องมีการประเมินผลภายหลังรักษาไปแล้ว 16 สัปดาห์ และควรให้ยา
ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี38-41
เนื่องจากยา omalizumab มีราคาสูงและไม่ได้นามาใช้เป็นยาเดี่ยวๆ
ในการรักษาโรคหืดจึงควรให้ส่งผู้ป่วยมาทาการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ35, 42
(น้าหนักคาแนะนา +++,
คุณภาพหลักฐาน 1)
ยารับประทานคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่า คือ prednisolone ขนาดไม่เกิน 7.5 mg ต่อวัน หรือ
เทียบเท่า แต่ต้องระวังเรื่องผลข้างเคียงของทางระบบของยา43, 44
(น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐาน
ระดับ 3) สาหรับการทา bronchial thermoplasty นั้นยังมีข้อมูลจากัด พิจารณาในผู้ป่วยบางรายและค่าใช้จ่าย
สูงมาก45, 46
การใช้จานวนเม็ดเลือดขาว eosinophils ในเสมหะ ในการปรับยาลดการอักเสบของหลอดลม
(sputum eosinophil guided treatment) ช่วยลดอาการหืดกาเริบเฉียบพลันเทียบกับใช้อาการปรับยา47, 48
แนะนาให้ทาในสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ (น้าหนักคาแนะนา+, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) นอกจากนี้
แนะนาให้หาสาเหตุอื่นๆ ที่ทาให้คุมโรคหืดไม่ได้ เช่น โรคร่วม (comorbidities), ทบทวนการวินิจฉัยว่าถูกต้อง
หรือไม่, ทบทวนวิธีการใช้ยาของผู้ป่วย และพิจารณาถึงโรคอื่นๆ เช่น tracheobronchomalacia เป็นต้น
16
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ชนิดของยาในการควบคุมโรคหืดและยาบรรเทาอาการโรคหืด
กลุ่มยาควบคุมโรคหืด (Controller medications) ตัวอย่างยาที่มีใช้ในประเทศไทย
1. ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (ICS) ยาชนิดสูด ได้แก่ beclomethasone, budesonide, fluticasone
ยาชนิดรับประทาน ได้แก่ prednisolone
ยาชนิดฉีด เข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดา ได้แก่ hydrocortisone,
dexamethasone, methylprednisolone
2. ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผสมกับ ยาสูดขยาย
หลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว
ได้แก่ fluticasonse-salmeterol, budesonide-formoterol,
mometasone-formoterol, beclomethasone-formoterol
3. ยา xanthine ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน ได้แก่ theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน และ doxophylline
4. Anti-IgE omalizumab
5. Long acting anticholinergic tiotropium handihaler และ tiotropium respimat
กลุ่มยา (Reliever medications) ตัวอย่าง
1. ยาขยายหลอลมที่ออกฤทธิ์เร็ว ยาสูดได้แก่ salbutamol, terbutaline, procaterol และ fenoterol
ยาชนิดฉีด aminophylline
ยาชนิดรับประทาน salbutamol, terbutaline และ procaterol
2. ยากระตุ้นตัวรับบีต้า ผสมกับ ยาต้านโคลิเนอจิก
ที่ออกฤทธิ์สั้น
ได้แก่ salbutamol-ipatropium bromide และ fenoterol-ipatropium
bromide
การดูแลผู้ป่วยที่คุมโรคหืดได้ (Stepping down asthma treatment when achieved control)
สาหรับในกรณีที่สามารถควบคุมอาการโรคหืดได้แล้ว ควรมีการลดระดับการรักษาหรือยาลง โดยการ
ตอบสนองต่อการรักษานั้นในแต่ละมิติของการแสดงออกของโรคจะมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเร็วช้า
แตกต่างกันไปคือ อาการหอบกลางคืน (nocturnal symptoms) จะตอบสนองเร็วที่สุด ตามด้วยการเพิ่มของ
สมรรถภาพปอด FEV1 จะดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ในขณะที่ความไวของหลอดลม (airway hyper-
responsiveness) แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยและใช้เวลานานเป็นปีจึงจะปกติ หรืออาจไม่ลดลงเลยก็ได้49
จึง
แนะนาให้ลดระดับของการรักษาลง (step down therapy) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการคงที่ควบคุมได้อย่างน้อย 3-
12 เดือน ค่าสมรรถภาพปอดคงที่และไม่มีการกาเริบเฉียบพลันเกิดขึ้น การลดการรักษาเร็วหรือช้าแค่ไหน
ขึ้นกับความรุนแรงของผู้ป่วยในแต่ละราย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่คุมโรคได้แล้วแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบ
17
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
เฉียบพลันต้องลดการรักษานานกว่านี้นอกจากนี้ยังไม่แนะนาให้หยุดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดใน
ผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่ (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)50
การแนะนาหรือให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
กลไกที่สาคัญในการควบคุมโรคหืดคือการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและการฝึกทักษะการดูแลรักษาโรคหืด
ในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพ
หลักฐานระดับ 4) โดยสิ่งที่ควรสอนผู้ป่วยได้แก่
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคหืด สาเหตุ การดาเนินโรค การรักษา
2. การติดตามการดาเนินโรคด้วยตนเอง และฝึกสังเกตอาการ
3. การปฏิบัติตนเมื่อมีอาการกาเริบของโรค (written action plan) สามารถอ่านได้จากภาคผนวก 5
4. ความสาคัญของการมาติดตามการรักษา และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ
5. เทคนิคการใช้ยาสูดพ่นชนิดต่างๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหืดที่ควรให้คาแนะนากับผู้ป่วย
 การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสิ่งที่จะสอนไม่จาเป็นต้องเหมือนกันสาหรับผู้ป่วยทุกคน เนื่องจาก
ความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
 ไม่จาเป็นต้องสอนทุกอย่างในครั้งเดียว แต่ควรมีการจดบันทึก หรือ checklist ว่ามีแผนการจะสอนเรื่อง
ใดบ้าง และทบทวนเมื่อได้สอนไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องที่สาคัญ หรือมักมีการผิดพลาดบ่อย เช่นการใช้ยา
พ่นที่ถูกต้อง ในผู้ที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
 สาหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้สูงอายุ ควรให้คาแนะนาในการดูแลกับผู้ปกครอง หรือญาติด้วย
 ระหว่างการให้คาแนะนากับผู้ป่วย อาจจะใช้อุปกรณ์เสริม หรือมีคู่มือให้ผู้ป่ วย และมีการถามผู้ป่วยว่ามีข้อ
สงสัย หรือไม่เข้าใจหรือไม่ เพื่อที่จะได้อธิบายเพิ่มเติม
 ผู้ที่ให้คาแนะนากับผู้ป่วย อาจจะเป็น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือบุคลากรทางสาธารณสุขอื่นๆ ก็ได้ ซึ่ง
ทุกคนควรให้คาแนะนาไปในแนวทางเดียวกัน
กระบวนการให้คาแนะนาผู้ป่วยควรประกอบด้วย
1) การเสริมสร้างความเข้าใจกับญาติและคนไข้ ว่าทุกคนมีส่วนร่วมในทีมการรักษา
18
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
2) การสารวจ หรือสังเกตว่าผู้ป่วยต้องการคาแนะนาด้านใดเป็นพิเศษหรือไม่ หรือมีพื้นฐานความรู้ ความ
เข้าใจเป็นอย่างไร
3) พูดคุยถึงความคาดหวังในการรักษาโรคของผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยวิตกกังวล หรือปัญหาที่ผู้ป่วยประสบ หรือ
คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อช่วยหาแนวทางการแก้ไข
4) ตั้งเป้ าหมายในการดูแลรักษาร่วมกัน ระหว่างทีมผู้รักษา กับผู้ป่วย และญาติ
หัวข้อที่จะให้คาแนะนาเกี่ยวกับโรคหืดได้แก่
1) การวินิจฉัยโรคหืด การดาเนินโรค สิ่งกระตุ้น
2) แนวทางการรักษา เช่นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการ และยาเพื่อควบคุมอาการ
3) ชนิดของยาที่ใช้ ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของยาที่ผู้ป่วยใช้
4) การกาเริบของโรค การปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อเกิดการกาเริบ และการป้ องกัน
5) อาการที่ควรจะต้องสังเกต เช่นอาการที่บ่งว่าอาจจะเริ่มมีการกาเริบของโรค
6) อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด
7) โรคร่วมที่อาจจะพบร่วมกับโรคหืด และการปฏิบัติตัว
การสอนแผนการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหืด
 ควรสอนผู้ป่วยทุกคนให้รู้จักสังเกตอาการของตน และสอนการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง
 ควรพิจารณาถึงความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติด้วย และเลือกคาแนะนาให้เหมาะสม
 สิ่งที่ควรสอนหรือแนะนาผู้ป่วยได้แก่
1) การติดตามอาการด้วยตนเองที่บ้าน อาการที่บ่งว่าโรคกาเริบ หรือติดตามด้วยค่า peak expiratory
flow rate
2) แผนการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาการ ให้ดูในแผนปฏิบัติการเมื่อมีอาการหืดกาเริบ (asthma action plan)
(ดูภาคผนวก)
 ควรแจกคู่มือในการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย
 มีการตรวจสอบความเข้าใจ และทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
การสอนการใช้อุปกรณ์พ่นยา
 การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ทาให้ผู้ป่วยได้รับยาดีขึ้น ส่งผลให้การควบคุมโรคดีขึ้น
19
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
 ควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน (พิจารณาทั้ง ความง่ายในการใช้ แรงสูด ราคายา และ
ประสิทธิภาพของยา)
 ข้อควรพิจารณาในการเลือกอุปกรณ์พ่นยา
1) แรงสูดยา (peak inspiratory flow rate) ที่วัดได้ ถ้าน้อยกว่า 30-60 L/min ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม DPI
โดย อุปกรณ์ accuhaler (30 L/min) และอุปกรณ์ turbuhaler (60 L/min)51
(น้าหนักคาแนะนา ++,
คุณภาพหลักฐานระดับ 2)
2) ยา pMDI ต้องอาศัยทักษะในการกดและสูดยาที่สัมพันธ์กัน ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทาได้
พิจารณาให้ pMDI ร่วมกับการใช้กระบอก spacer หรือพิจารณาเลือกยาสูดชนิดอื่น
3) ยา DPI มีหลายเทคนิคแตกต่างกันไปในแต่ละอุปกรณ์ เช่น turbuhaler, accuhaler ควรตรวจสอบว่า
ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
4) ไม่ควรเลือกใช้อุปกรณ์พ่นยาหลายๆชนิดในผู้ป่วยคนเดียวกัน เนื่องจากจะทาให้ผู้ป่วยสับสนได้
5) ควรมีการตรวจสอบเทคนิคการใช้อุปกรณ์พ่นยาว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เป็นระยะๆ
การติดตามว่าผู้ป่วยใช้ยาสม่าเสมอหรือไม่
 การใช้ยาที่ไม่สม่าเสมอส่งผลทาให้การควบคุมโรคไม่ดี โดยสาเหตุที่ผู้ป่วยใช้ยาไม่สม่าเสมออาจจะมาจาก
หลายปัจจัย เช่นความเข้าใจผิดในหลักการใช้ยารักษาโรคมีผลข้างเคียงจากยา ความยากง่ายของอุปกรณ์
ราคายา หลงลืม ฯลฯ
 เมื่อผู้ป่ วยมาติดตามการรักษาจึงควรถามถึงปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละวัน ว่าเป็นไปตามแผนการรักษา
หรือไม่ เมื่อพบว่าผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยา หรือใช้ยาไม่เหมาะสม ไม่ควรต่อว่าผู้ป่วย แต่ควรสอบถามถึงเหตุผล
เพื่อวางแผนการรักษา
 ดูปริมาณยาที่เหลืออยู่ เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยได้ใช้ยาตามแผนการจริงหรือไม่
 จานวนครั้งของการใช้ยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ ถ้ามีการใช้มากขึ้นอาจจะเป็นสัญญาณบอกว่า
ผู้ป่วยเริ่มมีอาการกาเริบ หรือเกิดจากผู้ป่วยใช้ยาควบคุมอาการไม่เหมาะสม
Guideline Implementation
ปัญหาที่สาคัญที่พบทั่วโลกคือการนาเอาแนวทางการรักษาไปใช้เพราะจากการศึกษาในหลายๆ
ประเทศ12
รวมทั้งประเทศไทย3
พบว่าผู้ป่วยโรคหืดไม่ได้รับการรักษาตามที่แนวทางกาหนดไว้ จึงเป็นที่มาของ
การจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic)13
ตามโรงพยาบาลชุมชนในปี พ.ศ. 2547 โดยหัวใจ
20
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
Controversial Issues in Asthma 2016
ของ Easy Asthma Clinic คือ การทาแนวทางการรักษาโรคหืดให้ง่ายขึ้น การจัดระบบที่เพิ่มบทบาทของ
พยาบาลและเภสัชกรในการร่วมดูแลผู้ป่วยและการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ online ง่ายต่อการ
วิเคราะห์และติดตามผลการรักษา ทาให้โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ทั่วประเทศไทยสามารถให้การรักษาโรคหืดได้
ตามมาตรฐาน มีการร่วมมือกันของทีมแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรรมทาให้การรักษามีคุณภาพสูง ผู้ป่วยโรค
หืดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ และไม่ต้องหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่
ห้องฉุกเฉินหรือนอนรับการรักษาที่โรงพยาบาล และที่สาคัญคือ มีฐานข้อมูลการรักษาโรคหืดในประเทศไทย
มากกว่า 250,000 ราย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ(รายละเอียดสามารถดูได้ที่
http://eac2.easyasthma.com/)
ขั้นตอนการทางานของ Easy Asthma Clinic
1. คนไข้ทุกคนจะต้องพบกับพยาบาลก่อนเพื่อลงทะเบียน (ภาคผนวก) และประเมินการควบคุมโรคหืดของ
คนไข้ โดยใช้แบบสอบถามง่ายๆ (asthma control questionnaires) (ภาคผนวก) เสร็จแล้วก็ให้ผู้ป่วยเป่าพีค
โฟว์ (Peak Expiratory Flow Rate, PEFR) เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถเป่าได้
แบบสอบถามเพื่อการประเมินการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วย (asthma control questionnaires) โดยถาม
คาถามง่ายๆ 4 ข้อ ได้แก่
1.1 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณมีอาการไอ หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจมีเสียงดังหวีด ในช่วงกลางวันบ้าง
หรือไม่ กี่ครั้ง
1.2 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณต้องลุกขึ้นมาไอหายใจฝืดและแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดในช่วง
กลางคืนบ้างหรือไม่ กี่ครั้ง
1.3 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณใช้ยาบรรเทาอาการหอบ (ยาขยายหลอดลม) บ้างหรือไม่? กี่ครั้ง
1.4 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา คุณเคยหอบมากจนต้องไปรับการรักษา ที่ห้องฉุกเฉิน หรือ ต้องเข้ารับการ
รักษาในโรงพยาบาลบ้างหรือไม่
2. เมื่อพยาบาลประเมินเสร็จก็ส่งผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ แพทย์จะให้การรักษาตามแนวทางการรักษาที่ดัดแปลง
ให้ง่ายๆ กล่าวคือ เราจะไม่ต้องจาแนกผู้ป่วยตามความรุนแรงซึ่งยากแก่การจดจา แต่จะประเมินว่าผู้ป่วย
ควบคุมโรคหืดได้หรือยัง (คาว่าควบคุมโรคได้หมายความว่าผู้ป่วยต้องไม่มีอาการทั้งกลางวัน และกลางคืน
ต้องไม่ใช้ยาขยายหลอดลม ต้องไม่ไปห้องฉุกเฉิน และพีคโฟว์เกินร้อยละ 80 ของค่ามาตรฐาน) ถ้าผู้ป่วยยัง
ควบคุมโรคยังไม่ได้ แพทย์ก็จะให้ยารักษาโดยให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง (500-1000
μg) ไปก่อน ถ้าครั้งหน้าผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ก็ให้เพิ่มยาเข้าไปโดยยาที่จะให้เพิ่มก็มีเพียงยา3 ตัว
คือ LABA, theophylline และยาต้านลิวโคไตรอีน ถ้าควบคุมโรคได้ก็ค่อยๆ ลดยาลง
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final
เอกสารประกอบการประชุม  Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final

More Related Content

What's hot

แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558
แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558
แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็กRofus Yakoh
 
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนกลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนda priyada
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้น
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้นบทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้น
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้นsawed kodnara
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก sivapong klongpanich
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555Utai Sukviwatsirikul
 
34การเย็บฝีเย็บ
34การเย็บฝีเย็บ34การเย็บฝีเย็บ
34การเย็บฝีเย็บMy Parents
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันUtai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558
แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558
แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2558
 
3 p quality for facilitator
3 p quality for facilitator3 p quality for facilitator
3 p quality for facilitator
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
Asthma guideline thailand 2012
Asthma guideline thailand 2012Asthma guideline thailand 2012
Asthma guideline thailand 2012
 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
 
Ppt. วัณโรค
Ppt. วัณโรคPpt. วัณโรค
Ppt. วัณโรค
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนกลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
 
Naranjo
NaranjoNaranjo
Naranjo
 
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้น
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้นบทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้น
บทที่ 1 อัตราส่วนตรีโกณมิติ ม.ต้น
 
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
34การเย็บฝีเย็บ
34การเย็บฝีเย็บ34การเย็บฝีเย็บ
34การเย็บฝีเย็บ
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 

Viewers also liked

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014Utai Sukviwatsirikul
 
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)saowaluk2556
 
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วนแนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วนUtai Sukviwatsirikul
 
Asthma Inhaler techniques
Asthma Inhaler techniquesAsthma Inhaler techniques
Asthma Inhaler techniquesAshraf ElAdawy
 
Asthma management in clinical practice
Asthma management in clinical practiceAsthma management in clinical practice
Asthma management in clinical practiceDr.Mahmoud Abbas
 

Viewers also liked (12)

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
 
Asthma
AsthmaAsthma
Asthma
 
Asthma guideline for children
Asthma guideline for childrenAsthma guideline for children
Asthma guideline for children
 
Asthma 2012
Asthma 2012Asthma 2012
Asthma 2012
 
Wms gina-2016-main-pocket-guide
Wms gina-2016-main-pocket-guideWms gina-2016-main-pocket-guide
Wms gina-2016-main-pocket-guide
 
Wms gina-2016-main-report-final
Wms gina-2016-main-report-finalWms gina-2016-main-report-final
Wms gina-2016-main-report-final
 
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014
Clinical practice guideline for atopic dermatitis 2014
 
Anti Immunoglobulin E Therapy
Anti Immunoglobulin E TherapyAnti Immunoglobulin E Therapy
Anti Immunoglobulin E Therapy
 
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
Presentคำแนะนำการใช้ยาเทคนิคพิเศษ (2) (1) (1) (1) (1)
 
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วนแนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
 
Asthma Inhaler techniques
Asthma Inhaler techniquesAsthma Inhaler techniques
Asthma Inhaler techniques
 
Asthma management in clinical practice
Asthma management in clinical practiceAsthma management in clinical practice
Asthma management in clinical practice
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

เอกสารประกอบการประชุม Controversial in asthma (20 22 mar 2016) final

  • 3. ก เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย สารบัญ 1. ร่างแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสาหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559 …………….. 1 2. Asthma: Year in Review 2016 …………………………………………………………………….… 43 มนะพล กุลปราณีต 3. บทบาทของ Omalizumab ในการรักษาโรคหืด (Anti-IgE in Severe Allergic Asthma)………..... 51 ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ 4. การวินิจฉัยและรักษากลุ่มอาการหืดร่วมกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง …………………………………... 67 (Diagnosis and treatments of Asthma-COPD Overlap Syndrome: ACOS) ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ / สมเกียรติ วงษ์ทิม 5. การวินิจฉัยโรคหืดในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอาการหายใจเสียงวี้ด ………………………………… 87 (Preschool wheezing: which one is asthma?) นิภาศิริ วรปาณิ 6. Small airway diseases in asthma: Is it really that small? ………………………………………... 99 กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ 7. การบาบัดทางอิมมูนต่อสารก่อภูมิแพ้จาเพาะสาหรับโรคหืดในเด็ก …………………………... 117 (Allergen-specific immunotherapy for childhood asthma) ต้นกล้า พลางกูร / อรพรรณ โพชนุกูล 8. ไซนัสอักเสบ สาคัญหรือไม่ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ……………………………………………. 129 (Rhinosinusitis: Is it important in asthma management?) ปารยะ อาศนะเสน
  • 4. ข เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย สารบัญ 9. ร่างข้อแนะนาการปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยไอเรื้อรังในผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 …….151 ประภาพร พรสุริยะศักดิ์ 10. การดูแลและรักษาผู้ป่วยภาวะหืดกาเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน ………………………………179 (Acute asthma management: What’s new in 2015-16) กัมพล อานวยพัฒนพล 11. การป้ องกันการเกิดโรคหืดในเด็ก …………………………………………………………………..191 (Asthma prevention in children: is it possible?) สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร 12. Chronic Eosinophilic Pneumonia ………………………………………………………………….. 201 อภิชาติ โซ่เงิน 13. การวินิจฉัยและรักษา difficult severe asthma …………………………………………………… 215 ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์
  • 5. 1 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ร่างแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สาหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2559 คาชี้แจงน้าหนักคาแนะนาและคุณภาพหลักฐาน น้าหนักคาแนะนา (Strength of Recommendation) น้าหนักคาแนะนา ++ หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาให้ทาอยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวมี ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วย และคุ้มค่า (cost effective) “ควรทา” น้าหนักคาแนะนา + หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาให้ทาอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการ ดังกล่าวอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และอาจคุ้มค่าในภาวะจาเพาะ “น่าทา” น้าหนักคาแนะนา +/- หมายถึง ความมั่นใจยังไม่เพียงพอในการให้คาแนะนา เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยัง มีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้านว่าอาจมีหรืออาจ ไม่มีประโยชนต่อผู้ป่วยและอาจไม่คุ้มค่า แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจกระทาขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ “อาจทาหรือไม่ทา” น้าหนักคาแนะนา - หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาห้ามทา อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการ ดังกล่าวไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและไม่คุ้มค่า หากไม่จาเป็น “ไม่น่าทา” น้าหนักคาแนะนา - - หมายถึง ความมั่นใจของคาแนะนาห้ามทาอยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวอาจ เกิดโทษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทา” คุณภาพหลักฐาน (Quality of Evidence) คุณภาพหลักฐานระดับ 1 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก 1.1 การทบทวนแบบมีระบบ (systematic review) จากการศึกษาแบบกลุ่ม สุ่มตัวอย่าง-ควบคุม (randomize-controlled clinical trials) หรือ 1.2 การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่าง-ควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยม อย่างน้อย 1 ฉบับ (a well-designed randomize -controlled clinical trial) คุณภาพหลักฐานระดับ 2 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก 2.1 การทบทวนแบบมีระบบของการศึกษาควบคุมแต่ไม่ได้สุ่มตัวอย่าง (non-randomized controlled clinical trials) หรือ
  • 6. 2 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 2.2 การศึกษาควบคุมแต่ไม่สุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพดีเยี่ยม (well-designed, non- randomized controlled clinical trial) หรือ 2.3 หลักฐานจากรายงานการศึกษาตามแผนติดตามเหตุไปหาผล (cohort) หรือ การศึกษาวิเคราะห์ ควบคุมกรณีย้อนหลัง (case control analytic studies) ที่ได้รับการออกแบบวิจัยเป็นอย่างดี ซึ่งมาจากสถาบัน หรือกลุ่มวิจัยมากกว่าหนึ่งแห่ง/กลุ่ม หรือ 2.4 หลักฐานจากพหุกาลานุกรม (multiple time series) ซึ่งมีหรือไม่มี มาตรการดาเนินการ หรือหลักฐาน ที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกรูปแบบอื่นหรือทดลองแบบไม่มีการควบคุม ซึ่งมีผลประจักษ์ถึงประโยชน์หรือโทษ จากการปฏิบัติมาตรการที่เด่นชัดมาก เช่น ผลของการนายาเพ็นนิซิลินมาใช้ในราว พ.ศ. 2480 จะได้รับการจัด อยู่ในหลักฐานประเภทนี้ คุณภาพหลักฐานระดับ 3 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก 3.1 การศึกษาพรรณนา (descriptive studies) หรือ 3.2 การศึกษาควบคุมที่มีคุณภาพพอใช้ (fair-designed, controlled clinical trial) คุณภาพหลักฐานระดับ 4 หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก 4.1 รายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับความเห็นพ้องหรือฉันทามติ (consensus) ของ คณะผู้เชี่ยวชาญบนพื้นฐานประสบการณ์ทางคลินิก หรือ 4.2 รายงานอนุกรมผู้ป่วยจากการศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะอย่างน้อย 2 ฉบับรายงาน หรือความเห็นที่ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แบบมีระบบ เช่น เกร็ดรายงานผู้ป่ วยเฉพาะราย (anecdotal report)ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะราย จะไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพ ในการจัดทาแนวทางเวชปฏิบัตินี้
  • 7. 3 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 นิยามของโรคหืด โรคหืดเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย (heterogeneus disease) มีลักษณะการอักเสบเรื้อรังของ หลอดลม ผู้ป่วยมีประวัติอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ หายใจเสียงหวีด หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกและอาการไอ โดยอาการผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ ในด้านเวลาการดาเนินโรคและระดับความรุนแรงร่วมกับ การตรวจพบการแปรปรวนของการอุดกั้นการไหลของลมในช่วงขาออก (variable expiratory airflow limitation) และอาการอาจกาเริบ หรือกลับเป็นซ้าๆ ได้ ลักษณะทั่วไปของโรคหืด โรคหืดพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 7 ของประเทศไทย2 (น้าหนักคาแนะนา +) ผู้ป่วยมีอาการแปรปรวน (variable symptoms) เช่น การหายใจเสียงหวีด เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หรือไอ ร่วมกับ variable expiratory airflow limitation โดยที่อาการและการอุดกั้นหลอดลม (airflow limitation) สามารถถูกกระตุ้นโดยการออก กาลังกาย สัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารก่อระคายเคือง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การติดเชื้อทางเดิน หายใจ เป็นต้น โรคหืดมีลักษณะหลอดลมไวผิดปกติ (airway hyper-responsiveness) ต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือ สารที่ทาให้เกิดการระคายเคือง ทาให้เกิดการอักเสบเรื้อรังหลอดลมอย่างต่อเนื่องแม้ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาจ มีผลตรวจสมรรถภาพปอดที่ปกติได้และสามารถกลับมาควบคุมอาการให้ปกติได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสม อาการโรคหืดและ airflow limitation อาจหายเองได้หรือหายภายหลังให้ยารักษา และไม่มีอาการอีกเป็น เวลานานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้ป่วยบางรายมีอาการกาเริบ (exacerbation) รุนแรง อาจทาให้เสียชีวิต ได้ มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและสังคม1 การวินิจฉัยโรคหืด การวินิจฉัยโรคหืดประกอบด้วย 1) อาการที่เข้าได้กับโรคหืด 2) มีหลักฐานการตรวจพบว่ามี variable expiratory airflow limitation เช่น ได้ยินเสียงหวีด ซึ่งไม่จาเพาะกับ แค่ในโรคหืดเท่านั้น จึงควรส่งตรวจสไปโรเมตรีย์ (spirometry) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคหืดตั้งแต่ครั้งแรกที่ ผู้ป่วยมาพบแพทย์ เนื่องจากการส่งตรวจภายหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาควบคุมอาการ (controller) แล้ว จะเกิดความยุ่งยากในการแปลผล ในกรณีไม่สามารถทาการตรวจสไปโรเมตรีย์ได้ การตรวจ peak expiratory flow (PEF) variability จะช่วยเพิ่มความแม่นยาในการวินิจฉัยมากขึ้น1 (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพ หลักฐานระดับ 4)
  • 8. 4 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 การซักประวัติ ลักษณะอาการทางระบบหายใจที่เข้าได้กับโรคหืด ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้มีโอกาส เป็นโรคหืด  มีอาการมากกว่าหนึ่งอย่าง ได้แก่ หายใจเสียงหวีด เหนื่อย ไอ แน่นหน้าอก  อาการแย่ลงช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า  อาการและความรุนแรงแปรปรวนตลอดระยะเวลา  อาการหืดกระตุ้นโดยการติดเชื้อ ไข้หวัด ออกกาลังกาย สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หัวเราะ หรือโดนสารระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น ควันรถยนต์ ควันทุกชนิด หรือกลิ่นแรง ประวัติและประวัติครอบครัว ควรซักประวัติผู้ป่วยที่มีโอกาสเป็นโรคหืด ได้แก่ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ช่วงวัยเด็ก ประวัติภูมิแพ้จมูกหรือ ภูมิแพ้ผิวหนัง (eczema) ประวัติโรคหืดหรือภูมิแพ้ในครอบครัว แต่อย่างไรก็ ตามประวัติเหล่านี้ไม่จาเพาะเจาะจงสาหรับโรคหืด และไม่พบใน asthma phenotype ทุกคน ผู้ป่วยที่มีภูมิแพ้ จมูกหรือภูมิแพ้ผิวหนัง ควรซักประวัติทางระบบหายใจอย่างละเอียด เพื่อหาอาการของโรคหืดร่วมด้วย การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายในผู้ป่วยโรคหืด ผลตรวจส่วนใหญ่จะปกติ การตรวจพบสิ่งผิดปกติที่พบ บ่อย ได้แก่ ฟังเสียงหวีด ช่วงหายใจออก หรือหายใจออกแรงๆ ผู้ป่วยมีอาการโรคหืดกาเริบอย่างรุนแรง อาจจะ ตรวจไม่พบเสียงหวีดเลยก็ได้ เนื่องจากการไหลของอากาศลดลงอย่างมาก แต่ควรตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ ของระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยเสียงหวีดสามารถตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ/โรคอื่นๆ ได้ดังนี้ COPD, upper airway obstruction, การติดเชื้อทางเดินหายใจ, tracheobronchomalacia หรือมีสิ่ง แปลกปลอมอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรตรวจพบ crackles หรือ เสียงหวีดช่วงหายใจเข้า ควรตรวจดู จมูกเพื่อดูลักษณะของ inferior turbinate และตรวจหาดูว่ามี nasal polyp ร่วมด้วยหรือไม่ บทบาทของการตรวจสมรรถภาพปอดในการประเมินโรคหืดและคาแนะนาการตรวจสมรรถภาพ ปอด การทดสอบสมรรถภาพปอดโดยสไปโรเมตรีย์ช่วยบ่งชี้ว่ามีการตีบของหลอดลม (airflow limitation) แนะนาให้ทาในผู้ป่วยที่มีประวัติและการตรวจร่างกายที่สงสัยโรคหืดเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ยืนยันว่ามีภาวะหลอดลมตีบ และความรุนแรง 2) ประเมินว่ามีการตอบสนองต่อยาสูดขยายหลอดลม (reversibility) ก่อนการรักษา และ/หรือ มีการ ตอบสนองต่อการใช้ยารักษาโรคหืดหรือไม่ (variable airflow limitation) โดยการยืนยันว่ามีภาวะหลอดลมตีบ พิจารณาจากค่า FEV1/FVC มีค่าน้อยกว่า 0.75-0.8 ในผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี และการตอบสนองต่อยา
  • 9. 5 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 สูดขยายหลอดลม พิจารณาจากค่าสมรรถภาพปอด FEV1 เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ml และมากกว่าร้อยละ 12 หลังสูดยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว 15 นาที และ/หรือ หลังการได้ยาควบคุมอาการรักษาโรคหืดเป็น เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์3 ภาวะหลอดลมตีบ (variable airflow obstruction) ดังกล่าว สามารถตรวจได้โดยวิธี อื่นๆ (alternative options) ได้แก่ 1. การวัด peak expiratory flow (PEF) โดยการตอบสนองต่อยาสูดขยายหลอดลม 1.1 พิจารณาจากค่า PEF ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 60 L/min หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 หลังสูดยาขยาย หลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว แต่การทดสอบด้วยการวัด PEF มีความเที่ยงตรงน้อยกว่าสไปโรเมตรีย์ (น้าหนัก คาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4) 1.2 การใช้ PEF เพื่อตรวจหาภาวะหลอดลมตีบที่มีความผันผวน โดยการวัด PEF ในช่วง 1-2 สัปดาห์ สามารถใช้ในการวินิจฉัยและประเมินโรคหืดได้ดีกว่า คนที่เป็นโรคหืดจะมีความผันผวนมากกว่าคนปกติ โดย วัด PEF วันละ 2 ครั้ง ในขณะยังไม่ได้เริ่มการรักษา ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคหืดจะมีค่า PEF variable ได้ร้อยละ 5-9 ถ้าค่า PEF variable อยู่ระหว่างร้อยละ 9-20 จะให้การวินิจฉัยโรคหืดได้ต้องอาศัยการซักประวัติและตรวจ ร่างกายที่เข้าได้กับโรคหืด ถ้าค่า PEF variability ได้มากกว่าร้อยละ 20 หรือ 10 วิธีการคานวณค่า PEFR variability สามารถให้การวินิจฉัยโรคหืดได้ การคานวณค่า PEF variability อ่านในภาคผนวก (น้าหนัก คาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) 1.3 การวัดค่า PEF ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 หลังการรักษาด้วยยาควบคุมโรคหืดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) 2. ทดสอบความไวหลอดลม (airway hyper-responsiveness, AHR) แนะนาให้ทาในผู้ป่วยที่มีประวัติ และการตรวจร่างกายที่สงสัยโรคหืดแต่การตรวจโดยสไปโรเมตรีย์ไม่พบความผิดปกติสามารถทาได้ด้วยการให้ สูดสารกระตุ้น ได้แก่ methacholine ที่ความเข้มข้นเริ่มจากน้อยไปมากและวัดค่าสมรรถภาพปอดภายหลังการ สูดยาแต่ละความเข้มข้นว่ามีการลดลงของค่าสมรรถภาพปอด FEV1 มากกว่าร้อยละ 20 จาก baseline (PC20) PC20 ต่ากว่า 1 mg/ml ถือว่าภาวะหลอดลมไวรุนแรง (severe AHR) PC20 ต่ากว่า 4 mg/ml ถือว่ามีภาวะ หลอดลมไว และ PC20 ที่มากกว่า 16 mg/ml ถือว่าผลการทดสอบเป็นลบ สรุปการทดสอบนี้มีความไว (sensitivity) สูงแต่ความจาเพาะ (specificity) ต่า ดังนั้นการแปลผลควรต้องประกอบกับอาการ เกณฑ์ วินิจฉัยโรคหืดควรมีค่า PC20 น้อยกว่า 8 mg/ml ในผู้ป่วยที่มีอาการที่สงสัยเข้าได้กับโรคหืด4
  • 10. 6 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 หากผู้ป่วยมีประวัติ ที่เข้าได้กับโรคหืด และมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ อาจพิจารณาให้การรักษาไป ก่อนได้ (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4) 1) ประวัติของอาการทางเดินหายใจที่แปรปรวน เสียงหวีด 2) อาการ หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกและไอ มักมีอาการมากกว่าหนึ่งอาการ อาการและความรุนแรง แปรเปลี่ยนตามเวลา 3) อาการเป็นมากช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า 4) อาการกาเริบ โดยการออกกาลังกาย หัวเราะ การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น หรือภายหลังการติดเชื้อ ทางเดินหายใจ การวินิจฉัย และการวินิจฉัยแยกโรค การวินิจฉัยโรคหืดและวินิจฉัยแยกโรคนั้น นอกจากต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนแล้ว ควรให้ความสาคัญ เกี่ยวกับข้อมูลคัดค้านด้วยเพราะอาจทาให้นึกถึงโรคอื่นที่อาจมีบางลักษณะร่วมกัน เช่น การมีหลอดลมตีบจาก สาเหตุอื่น (ตารางที่ 1) (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4) ตารางที่ 1 การวินิจฉัยแยกโรคหืด ข้อมูลคัดค้านโรคหืด กลไกการเกิด โรค ประวัติ Dyspnea on exertion COPD (stable) Hemoptysis Bronchiectasis Lung cancer TB Localized wheezing Structural airway obstruction Bronchiectasis Lung cancer Bronchostenosis เช่น endobronchial TB ตรวจร่างกาย Persistence of central wheezing/ stridor Upper airway obstruction Tracheal stenosis Tracheal tumor Bilateral vocal cord paralysis Lung cancer with tracheal invasion Esophageal cancer invaded trachea TB larynx, TB involved trachea Wheezing aggravated by forced Posterior wall of airway Tracheobronchomalacia
  • 11. 7 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 expiration or cough collapse Sudden onset of wheezing that spontaneously resolved abruptly Hoarseness of voice, lump in throat Vocal cord dysfunction Wheezing with clubbing of finger Bronchiectasis Lung cancer Lung abscess Cervical lymphadenopathy Lung cancer การตรวจทางห้องปฏิบัติการ Abnormal chest X-ray that explain wheezing, cough, dyspnea Spirometry showed irreversible airway obstruction COPD Bronchiectasis Chronic asthma with remodelling Hypoxemia without hypercarbia Pulmonary congestion Heart failure (cardiac wheezing) Pneumonia Atelectasis Pulmonary embolism การประเมินความรุนแรงโรคหืด การประเมินความรุนแรงโรคหืดก่อนการรักษา เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกการรักษาโดยยากลุ่มต่างๆ โดย อาศัยอาการ และสมรรถภาพปอด (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพหลักฐานระดับ 4) ดังนี้ ระดับ อาการช่วงกลางวัน อาการช่วงกลางคืน PEF or FEV1 / PEF variability รุนแรงน้อย (mild asthma) มีอาการ < 1 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการ < 2 ครั้งต่อเดือน > 80% / < 20% รุนแรงปานกลาง (moderate asthma) มีอาการ > 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่ทุกวัน มีอาการ > 2 ครั้งต่อเดือน > 80% / < 20-30% รุนแรงมาก (severe asthma) มีอาการทุกวัน มีอาการ > 1 ครั้งต่อสัปดาห์ < 60%-80% / > 30% การประเมินความรุนแรงของโรคหืดหลังการรักษา เพื่อปรับการรักษา ใช้เกณฑ์การประเมิน asthma symptom control
  • 12. 8 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 การประเมินโรคหืด (Assessment of asthma) การประเมินโรคหืดนั้นปัจจุบันเน้นไปที่การประเมินการควบคุมอาการของโรคและการประเมินความ เสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงในอนาคต เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การประเมินการควบคุมอาการของโรค หืด (Assessing asthma control) เนื่องจากอาการของโรคหืดไม่มีความสัมพันธ์กับค่าสมรรถภาพปอด จึงตัด การทดสอบสมรรถภาพปอด (FEV1) ออกไปจากการประเมินการควบคุมอาการ หรือระดับการควบคุมโรคหืด การประเมินอาการของโรคนั้น มีหลายวิธี ได้แก่ การประเมินระดับการควบคุมโรคหืดเป็นกลุ่ม หรือระดับการ ควบคุม (categorical symptoms control) หรือการใช้ค่าคะแนนที่มาจากแบบทดสอบ (composite score หรือ numerical symptom control) เช่น asthma control test (ACT)5 หรือ asthma control questionnaire (ACQ)6 ดังในภาคผนวก การประเมินระดับอาการโรคหืด (symptom assessment) เป็นกลุ่ม จาแนกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ คุมอาการของโรคได้ และผู้ป่วยที่ไม่สามารถคุมอาการของโรค โดยอาศัยคาถามง่ายๆ กับอาการโรคหืดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา (น้าหนักคาแนะนา +, หลักฐานระดับ 4) คือ ระดับการควบคุมโรคหืด อาการคุมได้ อาการคุมไม่ได้ ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วย มีอาการโรคหืดเกิดขึ้นกลางวันมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช่ □ ไม่ไช่ □ ตื่นกลางดึกเนื่องจากหืด ใช่ □ ไม่ไช่ □ ไม่มี มีข้อใดข้อหนึ่ง ใช้ยาบรรเทาอาการหืดกาเริบมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช่ □ ไม่ไช่ □ มีข้อจากัดในการออกแรง ทากิจกรรม เนื่องจากโรคหืด ใช่ □ ไม่ไช่ □ การประเมินปัจจัยเสี่ยงในอนาคต (Risk factors for poor asthma outcome) นอกเหนือจากประเมินอาการ ควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงในอนาคต เพื่อพิจารณาให้การรักษา (asthma controller medication) ปัจจัยเสี่ยง ในอนาคตอันได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงในการกาเริบเฉียบพลัน (Risk factors for exacerbation) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด หลอดลมตีบถาวร (Risk factors for developing fixed airflow obstruction) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด ผลข้างเคียงจากการรักษา (Risk factors of medication side effect)1
  • 13. 9 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 การรักษาโรคหืด ปัจจุบันเชื่อว่าการอักเสบเป็นสาเหตุของโรคหืดดังนั้นการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบจึงเป็นยาหลักในการ รักษาโรคหืด เนื่องจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด (inhaled corticosteroids, ICS) มีประสิทธิภาพสูงใน การลดการอักเสบและมีผลข้างเคียงต่า จึงใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด สาหรับยาขยายหลอดลมจะใช้ ปัจจัยเสี่ยงต่อหืดกาเริบเฉียบพลัน (Risk factors of exacerbation) • ไม่สามารถคุมอาการหืดได้ • ใช้ยาขยายหลอลดลมออกฤทธิ์สั้น บรรเทาอาการ > 200 ครั้ง/เดือน • ได้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่ พอ • ค่าสมรรถภาพปอด FEV1 ต่า (<60% predicted) • สัมผัสต่อสารก่อภูมิแพ้ และบุหรี่ • โรคหรือภาวะทางจิตเวช • โรคร่วม เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือภาวะอ้วน • ตรวจพบว่ามี eosinophils ในเสมหะ • ตั้งครรภ์ • เคยนอนในโรงพยาบาลจากหืด กาเริบเฉียบพลัน หรือได้รับการใส่ท่อ ช่วยหายใจ • หืดกาเริบเฉียบพลัน ≥ 1 ครั้งในปีที่ ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดลมตีบถาวร (Risk factors for developing fixed airway obstruction) • ไม่ใช้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ • การสูบบุหรี่ และสัมผัสต่อมลพิษใน และนอกครัวเรือน • มีค่าสมรรถภาพปอดที่ต่า • มี eosinophils ในเลือดหรือใน เสมหะสูงผิดปกติ ปัจจัยต่อผลข้างเคียงการรักษา (Risk factors of medication side effects) • ทางระบบ: ได้ยาสูดคอร์ติโคส เตียรอยด์ขนาดสูง หรือได้ยากินคอรติ โตสเตียรอยด์ บ่อยๆ ได้ยาที่มีผลเป็น P450 inhibitor • เฉพาะที่: ใช้ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ขนาดสูง หรือ สูดยาไม่ถูกเทคนิค ปัจจัยที่มีผลต่ออนาคต (Poor asthma outcome) ประกอบด้วย หากแม้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แม้ว่าจะคุมอาการหืดได้ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อผลในอนาคต1
  • 14. 10 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 เพื่อบรรเทาอาการหืดกาเริบเท่านั้น โดยเป้ าหมายของการรักษา คือ การควบคุมโรคหืดให้ได้ (asthma controlled) แล้วปรับการรักษาเพื่อที่จะใช้ยาให้น้อยที่สุดที่ควบคุมโรคให้ได้ เป้ าหมายของการรักษา โรคหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาด เป้ าหมายการรักษาคือการควบคุมโรคหืด (asthma control) ซึ่ง หมายถึง การควบคุมอาการในปัจจุบัน (current control) ได้แก่ การไม่มีอาการหอบทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ต้องใช้ยาขยายหลอดลม ไม่มีโรคกาเริบ สามารถทากิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสามารถออกกาลังกายได้เป็นปกติ มีสมรรถภาพปอดปกติ และการป้ องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (prevent future risks) ได้แก่ การกาเริบของโรค การเสียชีวิต การลดลงของสมรรถภาพปอดจนเกิดการอุดกั้นถาวร (remodeling) และอาการข้างเคียงจากการ รักษา1 ผู้ป่วยโรคหืดทุกคนควรได้รับยาควบคุมโรคที่ต้องใช้สม่าเสมอและยาบรรเทาอาการเมื่อมีอาการ โดย มุ่งเป้ าที่จะควบคุมอาการในปัจจุบันและการป้ องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการรักษาโรคหืดไม่ดี (prevent future risks) โดยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดจะเป็นยาหลักในการควบคุมโรค โดยใช้ยาคอร์ติ โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่า ในกรณีที่ไม่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดก็อาจใช้ยาต้านลิวโคไตรอีน ถ้าใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่าแล้วยังควบคุมโรคไม่ได้ อาจจะพิจารณาใช้ยาคอร์ติโคส เตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดสูง หรือใช้ยาควบคุมโรคตัวอื่น เช่น ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) ยา ต้านลิวโคไตรอีน และ theophylline มาใช้ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดต่า แต่แนะนาให้ใช้ LABA ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดในหลอดเดียวกัน (ICS/LABA) โดยมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ส่วนวิธีอื่นใช้เป็นทางเลือก และในกรณีที่ใช้ ICS/LABA ที่เป็น formoterol ซึ่งเป็น LABA ที่ออกฤทธิ์เร็วก็ สามารถใช้ยาหลอดเดียวเป็นทั้งยาควบคุมอาการและยาบรรเทาอาการได้ (Maintenance and Reliever Therapy)7 (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) ดังรูปที่ 1
  • 15. 11 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ยาในการรักษาโรคหืด และแนวทางในการรักษาเพื่อควบคุมอาการ และลดความเสี่ยงในอนาคต (Medications and strategies for symptom control and risk reduction)1 ยาในการรักษาโรคหืด (Asthma medications) การปรับรักษาโรคหืดเน้นการปรับยาเป็นระดับ (stepwise approach) เพื่อให้ได้ผลการควบคุมโรคหืด (asthma control) แนวทางการรักษาโรคหืดในนั้นสามารถจาแนก ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ1 1) ยาที่ใช้ในการควบคุมโรค (Asthma controller medications) ใช้ลดการอักเสบของหลอดลม ลดการ กาเริบเฉียบพลัน และการเกิดหลอดลมตีบถาวร (fixed airflow obstruction) 2) ยาใช้ในการลดอาการ (Symptoms rescuer หรือ reliever medication) ใช้เป็นครั้งคราว (as-needed) ในกรณีมีอาการ กาเริบ และสามารถใช้ป้ องกันหลอดลมตีบจากการออกกาลัง (exercise induced bronchospasm, EIB) 3) ยาที่ใช้เสริมในการรักษา (Add on therapies) ในกรณีที่โรคหืดอาการรุนแรง (severe asthma) ใช้เสริม หากไม่สามารถคุมโรคได้ด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาสูดขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ ยาว (ICS/LABA) การพิจารณาเลือกยาที่เป็นตัวแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคหืด (Initial controller) หากมีอาการของโรคหืดหรือใช้ยาสูดขยายหลอดลมไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน หรือไม่มีอาการหืดกลางคืน ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบเฉียบพลัน และไม่มีการกาเริบเฉียบพลันในรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีความจาเป็นใน การใช้ยาควบคุมโรคหืด หากความถี่ของอาการของโรคหืดหรือใช้ยาสูดขยายหลอดลมมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน แต่ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีอาการหืดกลางคืนมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่น สูดเป็นขนาดต่า (คุณภาพหลักฐานระดับ 2) มีอาการของโรคหืดรบกวนเกือบทุกวัน หรือมีอาการหืดกลางคืน มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ/หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบเฉียบพลันอย่างน้อย 1 ข้อพิจารณา ให้ยาคอร์ติ โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาสูดขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวขนาดต่า (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 3) แนวทางในการรักษาเพื่อควบคุมอาการและลดความเสี่ยงในอนาคต เริ่มจากการประเมินความรุนแรง ของโรคหืด (asthma severity) ในผู้ป่วยหืดรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับการรักษา และการประเมินระดับการควบคุม โรคหืด (ดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นในการประเมินผลการควบคุมโรคหืด) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาก่อนหน้านี้ การปรับระดับการรักษาและการประเมินผลการตอบสนอง เพื่อปรับลด หรือเพิ่มระดับยาในการรักษา อีก 3-6 เดือน
  • 16. 12 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 Asthma education, environmental control, influenza vaccine and pulmonary rehabilitation As needed rapid-acting 2-agonist Low dose steroid สาหรับผู้ป่วยที่มี High Risk exacerbation Low dose steroid สาหรับผู้ป่วยที่มี High Risk exacerbation Select one Select one Add one or more Add one or both Low-dose inhaled ICS Low-dose ICS plus long-acting 2 -agonist Medium-or high-dose ICS plus long-acting 2-agonist Oral glucocorticosteroid (lowest dose) Leukotriene modifier Medium-or- high- dose ICS Leukotriene modifier Anti - IgE Low-dose ICS plus leukotriene modifier Sustained release theophyline Low dose ICS plus sustained release theophylline Tiotropium bromide รูปที่ 1 การปรับเพิ่มหรือลดระดับการรักษา (asthma treatment level) ตามความระดับการควบคุมโรค ใน การควบคุมโรคหืดที่เป็นระดับและยาที่ใช้ในการรักษา ทั้งที่เป็นยาควบคุมโรคหืดและยาที่ใช้บรรเทาอาการ (อักษรย่อ RABA = rapid acting 2 agonist, ICS = inhaled corticosteroid, ICS/LABA = inhaled corticosteroid plus long acting 2 agonist, LTRA = leukotriene receptor antagonist, OCS = oral corticosteroid) ยาที่ใช้ในโรคหืดแบ่งเป็นที่แนะนา (Preferred options) และตัวเลือกอื่นๆ (alternatives หรือ others) สาหรับ ยาควบคุมอาการในแต่ละระดับมียาที่เลือกเป็นอันดับแรกและตัวเลือกอื่นๆ โดยพิจารณาจากปัจจัย ด้าน คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้ป่วย และราคา อย่างไรก็ตามก่อนการปรับระดับของยาควบคุมโรคหืด ต้องพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมโรคหืด ได้ เช่น อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคหืด ผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยไม่ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่าเสมอ และ ผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทาให้โรคหืดควบคุมไม่ได้ Decrease IncreaseTreatment steps Step 1 Step 2 Step 3 Step 4 Step 5
  • 17. 13 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ยาควบคุมโรคหืดระดับ 1 พิจารณาใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้ง คราว (As needed inhaled rapid acting β2-agonist) สาหรับยาบรรเทาอาการหืดกลุ่มอื่นๆ เช่น ยาสูดพ่น ออกฤทธิ์ต้านตัวรับโคลินเนอร์จิก ipratropium bromide ยา rapid acting β2-agonist ในรูปรับประทาน หรือ ยา theophylline ที่ออกฤทธิ์สั้นในรูปรับประทานอาจใช้ได้แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า ส่วนยารับประทานมีผลข้างเคียง มากกว่ายาสูด (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)8, 9 หากผู้ป่วยมีอาการหืดน้อยกว่า 2 ครั้งต่อ เดือน หรือไม่มีการหืดกลางดึก และไม่มีปัจจัยปัจจัยเสี่ยง (risk factors) แนะนาว่าไม่ต้องใช้ยาควบคุมโรคหืด (controller medications)10, 11 แต่อาจพิจารณาใช้ยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่า (low dose ICS) ใน กรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) ยาควบคุมโรคหืดระดับ 2 พิจารณาใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดในขนาดต่า (low dose ICS) เป็น อันดับแรกร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว (น้าหนัก คาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)10, 12 ในกรณีที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ชนิดพ่นสูด หรือไม่พึงประสงค์จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือกรณีผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการของจมูกอักเสบร่วม ด้วย อาจพิจารณาใช้ยาต้านลิวโคไตรอีนในรูปรับประทานได้ (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)13, 14 อาจพิจารณาใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดเป็นครั้งคราวในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก เนื่องจาก อาการโรคหืดเป็นตามฤดูกาลอาจพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดทันทีที่เริ่มมีอาการ และให้เป็น เวลาสั้นๆ ราว 4 สัปดาห์ (คุณภาพหลักฐาน ระดับ 3) สาหรับยา theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวชนิดรับประทาน อย่างเดียวนั้นไม่แนะนาเพราะมีประสิทธิภาพต่าในการรักษาโรคหืดและผลข้างเคียงสูงเนื่องจากมีการใช้อย่าง แพร่หลายในประเทศไทย อาจพิจารณาใช้ในกรณีที่ไม่มียาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดหรือยาต้านตัวลิวโค ไตรอีน15, 16 (คุณภาพหลักฐานระดับ 1) ยาควบคุมโรคหืดระดับ 3 พิจารณาใช้ยาสูดพ่นผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์กับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (ICS/LABA) ขนาดต่าร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว17,9,18 สาหรับการใช้ยาสูดพ่นผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์กับ formoterol (ICS/formoterol) อันได้แก่ budesonide/formoterol หรือ beclomethasone/formoterol) ขนาดต่า บริหารยาทั้งใช้ควบคุมและบรรเทา อาการเป็นครั้งคราว (maintenance and reliever therapy)7, 19-23 ให้ผลในลดการกาเริบเฉียบพลันไม่ต่างจาก ICS/LABA combination ในขนาดคงที่เป็นประจาร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอลมที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทา
  • 18. 14 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 อาการ24 สาหรับยาอื่นที่ใช้ได้คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลางหรือสูง11, 25, 26 หรือยาคอร์ติ โคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดร่วมกับยาต้านลิวโคไตรอีนในรูปรับประทาน27 หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด ร่วมกับยารับประทาน theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาว28 แต่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (ICS/LABA)29, 30 (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) ยาควบคุมโรคหืดระดับ 4 พิจารณาใช้ยาควบคุมโรคหืด 2 ชนิดขึ้นไปร่วมกับยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูดที่ ออกฤทธิ์เร็วเพื่อบรรเทาอาการ โดยเลือกใช้ยาสูตรผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (medium dose ICS/LABA)17, 24 สาหรับผู้ป่วยหืดที่ได้รับการรักษา ด้วยยาในระดับ 4 ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยที่มีอาการหืดกาเริบเฉียบพลันบ่อยๆ คือมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปในรอบปีที่ผ่านมา การใช้ยาผสม ระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดกับ formoterol ขนาดกลาง บริหารยาทั้งใช้ควบคุมและบรรเทาอาการ เป็นครั้งคราว ได้ผลดีกว่าในการลดการกาเริบเฉียบพลัน เมื่อเปรียบเทียบกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด ขนาดปานกลางผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว หรือยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดสูง24 (น้าหนัก คาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) สาหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาควบคุมโรคหืดเป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ชนิดพ่นสูดขนาดต่าผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว ร่วมกับยาสูดพ่นขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็วสูด เพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว อาจเพิ่มขนาดของยาสูดพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นขนาดที่สูงขึ้นผสมกับยา ขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว17 (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2) สาหรับตัวเลือกอื่นๆ ในการรักษาได้แก่ การเพิ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดเป็นขนาดสูงเป็น เวลา 3-6 เดือน25 ในกรณีที่ไม่สามารถคุมโรคได้ด้วยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง ผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับยาอื่นๆเช่น ยาต้านตัวรับลิวโคไตรอีนในรูปรับประทานหรือยา theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน31 (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2) หรือเพิ่มยา ต้านตัวรับโคลินเนอร์จิกชนิดพ่นสูดได้แก่tiotropium ขนาด 5 และ 10 µg เพิ่มกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับ ICS/LABA ขนาดสูงอยู่เดิมนั้นพบว่า ได้ผลในการเพิ่มค่าสมรรถภาพปอดได้และช่วยลดหืดกาเริบเฉียบพลัน32, 33
  • 19. 15 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ยาที่เป็นยาควบคุมโรคหืดเช่น ยาต้านลิวโคไตรอีนชนิดรับประทาน หรือยา theophylline ที่ออกฤทธิ์ ยาวโดยอาจใช้ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาวขนาดต่าหรือ กลาง 28, 34 (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2) ยาควบคุมโรคหืดระดับ 5 (ควรดูแลในสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ) พบว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถ ควบคุมโรคหืดได้ด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดสูงผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว(high dose ICS/LABA) อาจพิจารณาใช้ยาได้แก่ ยาต้านอิมมูโนโกลบูลินอี แบบฉีด (Anti-IgE treatment หรือ omalizumab) (คุณภาพหลักฐานระดับ1) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทานขนาดต่า (Add-on low dose oral corticosteroid) (คุณภาพหลักฐานระดับ 3) หรือทาการส่องกล้องหลอดลมและ bronchial thermoplasty (คุณภาพหลักฐานระดับ 2) ยาต้านอิมมูโนโกลบูลินอีแบบฉีด (monoclonal anti-IgE หรือ omalizumab) พิจารณาใช้ในกรณีที่ ควบคุมโรคไม่ได้และเป็น allergic asthma โดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ (aeroallergen) หรือการตรวจวัดระดับของ specific IgE ในเลือดที่จาเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ (aeroallergen) พบว่า omalizumab ช่วยลดการเกิดหืดกาเริบได้35, 36 การรักษาด้วยยา omalizumab นั้นควรพิจารณาในผู้ป่วย ดังต่อไปนี้(ภาคผนวก 2) คือ มีอาการโรคหืดรุนแรงแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยามคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิด พ่นสูดขนาดสูงผสมกับยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว แต่ยังคงมีอาการของโรคหืดที่ควบคุมไม่ได้และมีการ กาเริบเฉียบพลัน และมีผลการทดสอบทางผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้ (aeroallergen) เป็นบวก มีระดับของ total IgE ในเลือดระหว่าง 30-1500 IU/ml37 ต้องมีการประเมินผลภายหลังรักษาไปแล้ว 16 สัปดาห์ และควรให้ยา ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี38-41 เนื่องจากยา omalizumab มีราคาสูงและไม่ได้นามาใช้เป็นยาเดี่ยวๆ ในการรักษาโรคหืดจึงควรให้ส่งผู้ป่วยมาทาการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ35, 42 (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐาน 1) ยารับประทานคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่า คือ prednisolone ขนาดไม่เกิน 7.5 mg ต่อวัน หรือ เทียบเท่า แต่ต้องระวังเรื่องผลข้างเคียงของทางระบบของยา43, 44 (น้าหนักคาแนะนา +++, คุณภาพหลักฐาน ระดับ 3) สาหรับการทา bronchial thermoplasty นั้นยังมีข้อมูลจากัด พิจารณาในผู้ป่วยบางรายและค่าใช้จ่าย สูงมาก45, 46 การใช้จานวนเม็ดเลือดขาว eosinophils ในเสมหะ ในการปรับยาลดการอักเสบของหลอดลม (sputum eosinophil guided treatment) ช่วยลดอาการหืดกาเริบเฉียบพลันเทียบกับใช้อาการปรับยา47, 48 แนะนาให้ทาในสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ (น้าหนักคาแนะนา+, คุณภาพหลักฐานระดับ 1) นอกจากนี้ แนะนาให้หาสาเหตุอื่นๆ ที่ทาให้คุมโรคหืดไม่ได้ เช่น โรคร่วม (comorbidities), ทบทวนการวินิจฉัยว่าถูกต้อง หรือไม่, ทบทวนวิธีการใช้ยาของผู้ป่วย และพิจารณาถึงโรคอื่นๆ เช่น tracheobronchomalacia เป็นต้น
  • 20. 16 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ชนิดของยาในการควบคุมโรคหืดและยาบรรเทาอาการโรคหืด กลุ่มยาควบคุมโรคหืด (Controller medications) ตัวอย่างยาที่มีใช้ในประเทศไทย 1. ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (ICS) ยาชนิดสูด ได้แก่ beclomethasone, budesonide, fluticasone ยาชนิดรับประทาน ได้แก่ prednisolone ยาชนิดฉีด เข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดา ได้แก่ hydrocortisone, dexamethasone, methylprednisolone 2. ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผสมกับ ยาสูดขยาย หลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ fluticasonse-salmeterol, budesonide-formoterol, mometasone-formoterol, beclomethasone-formoterol 3. ยา xanthine ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน ได้แก่ theophylline ที่ออกฤทธิ์ยาวรูปรับประทาน และ doxophylline 4. Anti-IgE omalizumab 5. Long acting anticholinergic tiotropium handihaler และ tiotropium respimat กลุ่มยา (Reliever medications) ตัวอย่าง 1. ยาขยายหลอลมที่ออกฤทธิ์เร็ว ยาสูดได้แก่ salbutamol, terbutaline, procaterol และ fenoterol ยาชนิดฉีด aminophylline ยาชนิดรับประทาน salbutamol, terbutaline และ procaterol 2. ยากระตุ้นตัวรับบีต้า ผสมกับ ยาต้านโคลิเนอจิก ที่ออกฤทธิ์สั้น ได้แก่ salbutamol-ipatropium bromide และ fenoterol-ipatropium bromide การดูแลผู้ป่วยที่คุมโรคหืดได้ (Stepping down asthma treatment when achieved control) สาหรับในกรณีที่สามารถควบคุมอาการโรคหืดได้แล้ว ควรมีการลดระดับการรักษาหรือยาลง โดยการ ตอบสนองต่อการรักษานั้นในแต่ละมิติของการแสดงออกของโรคจะมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเร็วช้า แตกต่างกันไปคือ อาการหอบกลางคืน (nocturnal symptoms) จะตอบสนองเร็วที่สุด ตามด้วยการเพิ่มของ สมรรถภาพปอด FEV1 จะดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ในขณะที่ความไวของหลอดลม (airway hyper- responsiveness) แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยและใช้เวลานานเป็นปีจึงจะปกติ หรืออาจไม่ลดลงเลยก็ได้49 จึง แนะนาให้ลดระดับของการรักษาลง (step down therapy) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการคงที่ควบคุมได้อย่างน้อย 3- 12 เดือน ค่าสมรรถภาพปอดคงที่และไม่มีการกาเริบเฉียบพลันเกิดขึ้น การลดการรักษาเร็วหรือช้าแค่ไหน ขึ้นกับความรุนแรงของผู้ป่วยในแต่ละราย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่คุมโรคได้แล้วแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกาเริบ
  • 21. 17 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 เฉียบพลันต้องลดการรักษานานกว่านี้นอกจากนี้ยังไม่แนะนาให้หยุดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดใน ผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่ (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 1)50 การแนะนาหรือให้ความรู้แก่ผู้ป่วย กลไกที่สาคัญในการควบคุมโรคหืดคือการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและการฝึกทักษะการดูแลรักษาโรคหืด ในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม (น้าหนักคาแนะนา +, คุณภาพ หลักฐานระดับ 4) โดยสิ่งที่ควรสอนผู้ป่วยได้แก่ 1. ความรู้เกี่ยวกับโรคหืด สาเหตุ การดาเนินโรค การรักษา 2. การติดตามการดาเนินโรคด้วยตนเอง และฝึกสังเกตอาการ 3. การปฏิบัติตนเมื่อมีอาการกาเริบของโรค (written action plan) สามารถอ่านได้จากภาคผนวก 5 4. ความสาคัญของการมาติดตามการรักษา และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ 5. เทคนิคการใช้ยาสูดพ่นชนิดต่างๆ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหืดที่ควรให้คาแนะนากับผู้ป่วย  การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสิ่งที่จะสอนไม่จาเป็นต้องเหมือนกันสาหรับผู้ป่วยทุกคน เนื่องจาก ความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ไม่จาเป็นต้องสอนทุกอย่างในครั้งเดียว แต่ควรมีการจดบันทึก หรือ checklist ว่ามีแผนการจะสอนเรื่อง ใดบ้าง และทบทวนเมื่อได้สอนไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องที่สาคัญ หรือมักมีการผิดพลาดบ่อย เช่นการใช้ยา พ่นที่ถูกต้อง ในผู้ที่ยังควบคุมอาการไม่ได้  สาหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้สูงอายุ ควรให้คาแนะนาในการดูแลกับผู้ปกครอง หรือญาติด้วย  ระหว่างการให้คาแนะนากับผู้ป่วย อาจจะใช้อุปกรณ์เสริม หรือมีคู่มือให้ผู้ป่ วย และมีการถามผู้ป่วยว่ามีข้อ สงสัย หรือไม่เข้าใจหรือไม่ เพื่อที่จะได้อธิบายเพิ่มเติม  ผู้ที่ให้คาแนะนากับผู้ป่วย อาจจะเป็น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือบุคลากรทางสาธารณสุขอื่นๆ ก็ได้ ซึ่ง ทุกคนควรให้คาแนะนาไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการให้คาแนะนาผู้ป่วยควรประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความเข้าใจกับญาติและคนไข้ ว่าทุกคนมีส่วนร่วมในทีมการรักษา
  • 22. 18 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 2) การสารวจ หรือสังเกตว่าผู้ป่วยต้องการคาแนะนาด้านใดเป็นพิเศษหรือไม่ หรือมีพื้นฐานความรู้ ความ เข้าใจเป็นอย่างไร 3) พูดคุยถึงความคาดหวังในการรักษาโรคของผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยวิตกกังวล หรือปัญหาที่ผู้ป่วยประสบ หรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อช่วยหาแนวทางการแก้ไข 4) ตั้งเป้ าหมายในการดูแลรักษาร่วมกัน ระหว่างทีมผู้รักษา กับผู้ป่วย และญาติ หัวข้อที่จะให้คาแนะนาเกี่ยวกับโรคหืดได้แก่ 1) การวินิจฉัยโรคหืด การดาเนินโรค สิ่งกระตุ้น 2) แนวทางการรักษา เช่นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการ และยาเพื่อควบคุมอาการ 3) ชนิดของยาที่ใช้ ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของยาที่ผู้ป่วยใช้ 4) การกาเริบของโรค การปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อเกิดการกาเริบ และการป้ องกัน 5) อาการที่ควรจะต้องสังเกต เช่นอาการที่บ่งว่าอาจจะเริ่มมีการกาเริบของโรค 6) อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด 7) โรคร่วมที่อาจจะพบร่วมกับโรคหืด และการปฏิบัติตัว การสอนแผนการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหืด  ควรสอนผู้ป่วยทุกคนให้รู้จักสังเกตอาการของตน และสอนการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง  ควรพิจารณาถึงความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติด้วย และเลือกคาแนะนาให้เหมาะสม  สิ่งที่ควรสอนหรือแนะนาผู้ป่วยได้แก่ 1) การติดตามอาการด้วยตนเองที่บ้าน อาการที่บ่งว่าโรคกาเริบ หรือติดตามด้วยค่า peak expiratory flow rate 2) แผนการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาการ ให้ดูในแผนปฏิบัติการเมื่อมีอาการหืดกาเริบ (asthma action plan) (ดูภาคผนวก)  ควรแจกคู่มือในการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย  มีการตรวจสอบความเข้าใจ และทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การสอนการใช้อุปกรณ์พ่นยา  การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ทาให้ผู้ป่วยได้รับยาดีขึ้น ส่งผลให้การควบคุมโรคดีขึ้น
  • 23. 19 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016  ควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน (พิจารณาทั้ง ความง่ายในการใช้ แรงสูด ราคายา และ ประสิทธิภาพของยา)  ข้อควรพิจารณาในการเลือกอุปกรณ์พ่นยา 1) แรงสูดยา (peak inspiratory flow rate) ที่วัดได้ ถ้าน้อยกว่า 30-60 L/min ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม DPI โดย อุปกรณ์ accuhaler (30 L/min) และอุปกรณ์ turbuhaler (60 L/min)51 (น้าหนักคาแนะนา ++, คุณภาพหลักฐานระดับ 2) 2) ยา pMDI ต้องอาศัยทักษะในการกดและสูดยาที่สัมพันธ์กัน ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทาได้ พิจารณาให้ pMDI ร่วมกับการใช้กระบอก spacer หรือพิจารณาเลือกยาสูดชนิดอื่น 3) ยา DPI มีหลายเทคนิคแตกต่างกันไปในแต่ละอุปกรณ์ เช่น turbuhaler, accuhaler ควรตรวจสอบว่า ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4) ไม่ควรเลือกใช้อุปกรณ์พ่นยาหลายๆชนิดในผู้ป่วยคนเดียวกัน เนื่องจากจะทาให้ผู้ป่วยสับสนได้ 5) ควรมีการตรวจสอบเทคนิคการใช้อุปกรณ์พ่นยาว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เป็นระยะๆ การติดตามว่าผู้ป่วยใช้ยาสม่าเสมอหรือไม่  การใช้ยาที่ไม่สม่าเสมอส่งผลทาให้การควบคุมโรคไม่ดี โดยสาเหตุที่ผู้ป่วยใช้ยาไม่สม่าเสมออาจจะมาจาก หลายปัจจัย เช่นความเข้าใจผิดในหลักการใช้ยารักษาโรคมีผลข้างเคียงจากยา ความยากง่ายของอุปกรณ์ ราคายา หลงลืม ฯลฯ  เมื่อผู้ป่ วยมาติดตามการรักษาจึงควรถามถึงปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละวัน ว่าเป็นไปตามแผนการรักษา หรือไม่ เมื่อพบว่าผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยา หรือใช้ยาไม่เหมาะสม ไม่ควรต่อว่าผู้ป่วย แต่ควรสอบถามถึงเหตุผล เพื่อวางแผนการรักษา  ดูปริมาณยาที่เหลืออยู่ เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยได้ใช้ยาตามแผนการจริงหรือไม่  จานวนครั้งของการใช้ยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ ถ้ามีการใช้มากขึ้นอาจจะเป็นสัญญาณบอกว่า ผู้ป่วยเริ่มมีอาการกาเริบ หรือเกิดจากผู้ป่วยใช้ยาควบคุมอาการไม่เหมาะสม Guideline Implementation ปัญหาที่สาคัญที่พบทั่วโลกคือการนาเอาแนวทางการรักษาไปใช้เพราะจากการศึกษาในหลายๆ ประเทศ12 รวมทั้งประเทศไทย3 พบว่าผู้ป่วยโรคหืดไม่ได้รับการรักษาตามที่แนวทางกาหนดไว้ จึงเป็นที่มาของ การจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic)13 ตามโรงพยาบาลชุมชนในปี พ.ศ. 2547 โดยหัวใจ
  • 24. 20 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจาปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016 ของ Easy Asthma Clinic คือ การทาแนวทางการรักษาโรคหืดให้ง่ายขึ้น การจัดระบบที่เพิ่มบทบาทของ พยาบาลและเภสัชกรในการร่วมดูแลผู้ป่วยและการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ online ง่ายต่อการ วิเคราะห์และติดตามผลการรักษา ทาให้โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ทั่วประเทศไทยสามารถให้การรักษาโรคหืดได้ ตามมาตรฐาน มีการร่วมมือกันของทีมแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรรมทาให้การรักษามีคุณภาพสูง ผู้ป่วยโรค หืดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ และไม่ต้องหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่ ห้องฉุกเฉินหรือนอนรับการรักษาที่โรงพยาบาล และที่สาคัญคือ มีฐานข้อมูลการรักษาโรคหืดในประเทศไทย มากกว่า 250,000 ราย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ(รายละเอียดสามารถดูได้ที่ http://eac2.easyasthma.com/) ขั้นตอนการทางานของ Easy Asthma Clinic 1. คนไข้ทุกคนจะต้องพบกับพยาบาลก่อนเพื่อลงทะเบียน (ภาคผนวก) และประเมินการควบคุมโรคหืดของ คนไข้ โดยใช้แบบสอบถามง่ายๆ (asthma control questionnaires) (ภาคผนวก) เสร็จแล้วก็ให้ผู้ป่วยเป่าพีค โฟว์ (Peak Expiratory Flow Rate, PEFR) เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถเป่าได้ แบบสอบถามเพื่อการประเมินการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วย (asthma control questionnaires) โดยถาม คาถามง่ายๆ 4 ข้อ ได้แก่ 1.1 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณมีอาการไอ หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจมีเสียงดังหวีด ในช่วงกลางวันบ้าง หรือไม่ กี่ครั้ง 1.2 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณต้องลุกขึ้นมาไอหายใจฝืดและแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดในช่วง กลางคืนบ้างหรือไม่ กี่ครั้ง 1.3 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณใช้ยาบรรเทาอาการหอบ (ยาขยายหลอดลม) บ้างหรือไม่? กี่ครั้ง 1.4 ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา คุณเคยหอบมากจนต้องไปรับการรักษา ที่ห้องฉุกเฉิน หรือ ต้องเข้ารับการ รักษาในโรงพยาบาลบ้างหรือไม่ 2. เมื่อพยาบาลประเมินเสร็จก็ส่งผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ แพทย์จะให้การรักษาตามแนวทางการรักษาที่ดัดแปลง ให้ง่ายๆ กล่าวคือ เราจะไม่ต้องจาแนกผู้ป่วยตามความรุนแรงซึ่งยากแก่การจดจา แต่จะประเมินว่าผู้ป่วย ควบคุมโรคหืดได้หรือยัง (คาว่าควบคุมโรคได้หมายความว่าผู้ป่วยต้องไม่มีอาการทั้งกลางวัน และกลางคืน ต้องไม่ใช้ยาขยายหลอดลม ต้องไม่ไปห้องฉุกเฉิน และพีคโฟว์เกินร้อยละ 80 ของค่ามาตรฐาน) ถ้าผู้ป่วยยัง ควบคุมโรคยังไม่ได้ แพทย์ก็จะให้ยารักษาโดยให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูดขนาดปานกลาง (500-1000 μg) ไปก่อน ถ้าครั้งหน้าผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ก็ให้เพิ่มยาเข้าไปโดยยาที่จะให้เพิ่มก็มีเพียงยา3 ตัว คือ LABA, theophylline และยาต้านลิวโคไตรอีน ถ้าควบคุมโรคได้ก็ค่อยๆ ลดยาลง