SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
พอดีไปอ่านเจอมาจาก84000.org นั่งอ่านพิจารณาทั้งวันเห็นว่าดีและผู้รวบรวมก็เป็นนักปฏิบัติ
เข้าใจง่ายก็เลยแบ่งปันกัน...พิจารณาดู...สาธุ
ในฤดูที่ดอกไม้บานเป็นฤดูที่ยังความรื่นรมย์ให้แก่มนุษย์และสัตว์ดอกไม้หลากชนิดหลายสี บานสะพรั่ง
อวดสีและกลิ่นอยู่บนต้นบางอย่างหอมมากบางอย่างหอมน้อยบางอย่างไม่หอมเลยบางอย่างสวยทั้งสีและกลิ่น
บางอย่างสีสวยแต่ไม่มีกลิ่นบางอย่างไม่สวยทั้งสีและกลิ่นบางอย่างหอมชั่วเวลาเช้าบางอย่างหอมตอนสาย
บางอย่างหอมเวลาบ่ายบางอย่างหอมเวลาเย็นบางอย่างหอมเฉพาะกลางคืนบางอย่างหอมทั้งวันทั้งคืน
แต่บางอย่างก็หอมทนอยู่ได้หลายวันถึงกระนั้นเมื่อเหี่ยวแห้งร่วงโรยแล้วก็หมดหอม
ไม่มีดอกไม้ชนิดใดเลยที่จะหอมอยู่เป็นนิจทั้งในเวลาบานและโรยหล่นแม้เมื่อเวลาบานอยู่ถูกลมพัดร่วงพรูจากต้น
ลงประดับพื้นดินจะยังมองดูงามแปลกตาและกลิ่นของมันยังหอมกรุ่นเป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
แต่เมื่อมันเหี่ยวแห้งอับเฉาก็ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใด
แต่คนมีศีลมิได้เป็นเช่นนั้น...
คนมีศีลนั้นหอมอยู่เสมอหอมทั้งตามลมและทวนลมหอมทั้งในเวลามีชีวิตอยู่และละโลกนี้ไปแล้ว
เป็นที่ชื่นชมรักใคร่ของคนทั่วไปในเวลาที่มีชีวิตเป็นที่เสียดายอาลัยรักและกล่าวขวัญสรรเสริญถึงในเวลาที่ตายไป
ทั้งนี้เพราะตลอดเวลาที่มีชีวิตคนมีศีลไม่มีพิษมีภัยต่อผู้ใดมีกิริยาวาจาละมุนละไมน่ารักไม่ฆ่าตีข่มเหงเบียดเบียน
ทาร้ายใครทั้งด้วยกายและวาจาประกอบด้วยความเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
พวงมาลัยดอกไม้หอมที่นายช่างบรรจงร้อยไว้อย่างมีระเบียบย่อมงดงามน่าดูควรค่าแก่การเป็นเครื่องสักการะฉันใด
คนที่มีกิริยาวาจานุ่มนวลเรียบร้อยงดงามก็ควรค่าแก่ความเคารพนับถือยกย่องฉันนั้น
ด้วยเหตุนั้นพระสีลวเถระองค์อรหันต์ผู้สาวกของพระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญศีลว่า
ศีลเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ
เพชรนิลจินดาและอาภรณ์อันมีค่ามิใช่เครื่องประดับอันประเสริฐเพราะไม่อาจทากายวาจาใจของผู้ประดับให้งดงามได้
คนมีศีลเป็นเครื่องประดับจึงงดงามทุกเมื่อ
ก็ศีลนั้นคืออะไรทาอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นคนมีศีล
ศีล คือความไม่ล่วงละเมิดของผู้มีเจตนาความตั้งใจงดเว้นจากความชั่วทางกายวาจาและอาจตลอดไปถึงใจด้วย
บางคนอาจจะไม่ล่วงละเมิดเพราะตั้งใจไว้ก่อนเช่นตั้งใจว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ก็ไม่ฆ่าตามที่ตั้งใจไว้
แต่บางคนก็ไม่ล่วงละเมิดโดยที่มิได้ตั้งใจไว้ก่อนต่อเมื่อมีเหตุที่จะให้ล่วงละเมิดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ก็คิดงดเว้นไม่ล่วงละเมิดได้เองเช่นเห็นงูพิษเลื้อยเข้ามาในบ้านรู้ว่าเป็นงูพิษถ้ากัดใครเข้าอาจถึงตายได้
จึงหยิบไม้ขึ้นมาหมายจะตีงูให้ตายแต่แล้วเกิดเมตตาสงสารว่างูมันก็มีชีวิตเช่นเดียวกับเรา
มันคงกลัวเจ็บกลัวตายเหมือนเราอย่าทามันเลยแล้วก็โยนไม้ทิ้งไล่งูให้ออกไปเสียจากบ้านการกระทาเช่นนี้ก็เป็นศีล
แต่เป็นศีลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าโดยมิได้มีเจตนาคิดจะงดเว้นมาก่อน
ศีลจึงเป็นเครื่องขัดเกลากายวาจารวมไปถึงใจให้สะอาดเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างหยาบที่จะล่วงออกมาทางกาย
ทางวาจามีการตีการด่าเป็นต้น
ศีลนั้นแม้จะมีความหมายหลายอย่างแต่โดยทั่วไปมักแปลกันว่าปกติคือปกติของกายของวาจาซึ่งโดยปกติจะสงบ
ไม่รุกรานไม่เบียดเบียนทาร้ายใครแต่เมื่อละปกติคือผิดปกติก็ไม่สงบรุกรานเบียดเบียนทาร้ายผู้อื่น
ด้วยอานาจของจิตใจที่ผิดปกติเพราะโลภะโทสะและโมหะ
เพราะเหตุที่ศีลมีความหมายว่าปกติคือปกติของกายวาจาใจศีลจึงมี* ๓ อย่างคือ กุศลศีลอกุศลศีลและอัพยากตศีล
(*ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรคญาณกถาข้อ๘๙)
ปกติของกายวาจาใจที่เป็นกุศล มีกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิด ชื่อว่ากุศลศีล
ปกติของกายวาจาใจที่เป็นอกุศล มีอกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิดชื่อว่าอกุศลศีล
ปกติของกายวาจาใจที่มิใช่กุศลและอกุศลมิได้มีกุศลจิตหรืออกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิดหากมีอัพยากตจิต
คือกิริยาจิตเป็นเหตุให้เกิดชื่อว่าอัพยากตศีล
ปาปชน มีอกุศลศีลเป็นส่วนมากมีกุศลศีลเป็นส่วนน้อย
กัลยาณชนมีกุศลศีลเป็นส่วนมากมีอกุศลศีลเป็นส่วนน้อย
พระอริยบุคคลที่ยังเป็นเสกขบุคคล๓จาพวกคือพระโสดาบันพระสกทาคามีและพระอนาคามีมีกุศลศีลเพียงอย่างเดียว
เพราะท่านเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์แล้ว
พระอริยบุคคลที่เป็นอเสกขบุคคลคือพระอรหันต์มีอัพยากตศีลเพียงอย่างเดียว
ในกิมัตถิยสูตรอังคุตตรนิกายทสกนิบาตข้อ๑ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ไว้
อานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศลคือกุศลศีลที่มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน๑๐ประการคือ
ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร คือความไม่เดือดร้อนใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
ความไม่เดือดร้อนใจมีความปราโมทย์เป็นผลเป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์มีปีติเป็นผลเป็นอานิสงส์
ปีติ มีปัสสัทธิคือ ความสงบใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิ มีสุขคือความสุขใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผลเป็นอานิสงส์
สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะคือความเห็นด้วยญาณตามความเป็นจริงเป็นผลเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะคือความหน่ายความคลายเป็นผลเป็นอานิสงส์
นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะคือความเห็นด้วยญาณเป็นเครื่องหลุดพ้นเป็นผลเป็นอานิสงส์
ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลาดับด้วยประการฉะนี้
เพราะฉะนั้นโลกียศีลจึงเป็นบันไดให้เข้าถึงโลกุตตรศีลเข้าถึงอธิศีลสิกขาเป็นอริยศีลได้ในที่สุด
มนุษย์นั้นมีมากมายหลายประเภทสวยมากสวยน้อยดีมากดีน้อยบางคนทั้งสวยทั้งดี
บางคนไม่สวยด้วยไม่ดีด้วยบางคนเรียบร้อยบางคนหยาบคายบางคนอ่อนโยนบางคนดุร้าย
บางคนมีศีลบางคนไม่มีศีล สุดแท้แต่กรรมจะจาแนกให้เป็นไป
ในจานวนคนมากมายหลายประเภทเหล่านี้คนมีศีลเป็นคนประเสริฐยิ่งมีศีลด้วยสวยด้วยยิ่งประเสริฐสุด
เหมือนดอกไม้ที่สวยทั้งสีและกลิ่น
ส่วนคนสวยที่ไม่มีศีลนั้นก็เหมือนดอกไม้ที่สวยแต่สีหามีกลิ่นไม่
คนเราจะมีศีลได้ก็เพราะมีหิริและโอตตัปปะคือความละอายและเกรงกลัวบาปทั้งบาปของตนและคนอื่น
โดยอาศัยการมีสติเตือนตนว่า"เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ไม่ควรกระทาความชั่ว"ดังนี้เป็นต้น
หรือเพราะเกรงคาครหาของผู้อื่นว่า"ผู้นี้เป็นถึงสาวกของพระพุทธเจ้าทาไมจึงประพฤติชั่วอย่างนี้"ดังนี้เป็นต้น
เมื่อมีสติคิดได้อย่างนี้จิตใจก็อ่อนโยนไม่กล้าทาความชั่วเมื่อไม่ทาความชั่วก็ไม่เดือดร้อน
ศีลจึงมีความไม่เดือดร้อนเป็นผลเป็นอานิสงส์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรทีฆนิกายมหาวรรคว่า
ผู้มีศีลย่อมได้รับอานิสงส์๕ประการคือ
ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ(ดังที่พระท่านแสดงอานิสงส์ของศีลในเวลาให้ศีลว่าสีเลน
โภคสมฺปทา)
เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีลย่อมฟุ้ งขจรไปไกล
ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทากาละ(คือไม่หลงในเวลาตาย)
ผู้มีศีลตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์(สีเลนสุคตึยนฺติ)
นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงแสดงไว้ด้วยว่าผู้ที่หวังได้รับความรักใคร่ สรรเสริญจากบัณฑิตทั้งหลาย
ควรทาศีลให้บริบูรณ์
ศีลเป็นที่พึ่งของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระศาสนา
ศีลเป็นเสมือนน้าที่ล้างมลทินคือความชั่วของสัตว์ทั้งหลายอันน้าในแม่น้าทั้งหลายไม่อาจล้างได้
ศีล ยังผู้รักษาให้สงบเย็นไม่ร้อนรุ่มด้วยกิเลส
กลิ่นใดที่ฟุ้ งไปได้ทั้งทวนลมและตามลมกลิ่นนั้นเสมอด้วยกลิ่นศีลไม่มี
บันไดที่จะขึ้นสู่สวรรค์และบรรลุนิพพาน(สีเลนนิพฺพุตึยนฺติ)ที่จะเสมอด้วยบันไดคือศีลหามีไม่
บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่าก็ยังไม่งามเท่าบุคคลที่มีศีลประดับกายวาจาใจ
ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงความประพฤติของตนย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ
เพราะศีลมีอานิสงส์มากมายดังกล่าวศีลจึงเป็นรากฐานแห่งคุณความดีทั้งหลายและกาจัดความชั่วทั้งปวง
ศีลยังมีระดับสูงต่าตามเจตนาของผู้รักษาถึง*3ระดับคือ(* ในวิสุทธิมัคกล่าวหลายนัยในที่นี้ยกมาเพียงนัยเดียว)
ศีลที่บุคคลสมาทานรักษาเพื่อต้องการภวสมบัติและโภคสมบัติด้วยอานาจตัณหาความต้องการชื่อว่าหีนศีล
ศีลอย่างต่า
ศีลที่บุคคลสมาทานรักษาเพื่อต้องการให้ตนเองหลุดพ้นจากกิเลสชื่อว่ามัชฌิมศีลศีลอย่างกลาง
ศีลที่พระโพธิสัตว์รักษาเพื่อต้องการให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากกิเลสชื่อว่าปณีตศีลศีลอย่างประณีต
ศีลมีทั้งศีลของบรรพชิตและศีลของคฤหัสถ์
ศีลของบรรพชิตแบ่งเป็นสอง คือศีลของภิกษุมี ๒๒๗ศีลของสามเณรมี๑๐
ศีลของคฤหัสถ์ ได้แก่ศีล๕ศีล๘ และศีลอุโบสถ
สาหรับบรรพชิตนั้นท่านไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครอยู่แล้ว เพราะอยู่ในกรอบของศีลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
แต่คฤหัสถ์ที่ปราศจากศีล๕อาจเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองและเพื่อความสงบสุขของสังคม
เพียงแต่ทุกคนพากันรักษาศีล๕ข้อเท่านั้นชาวโลกก็จะอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข
ศีล ๕ข้อ คือ
ปาณาติปาตาเวรมณี -งดเว้นจากการทาชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
อทินนาทานาเวรมณี -งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี -งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
มุสาวาทาเวรมณี -งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณี -งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เพียงรู้จักว่าศีล๕ข้อมีอะไรบ้างเท่านั้นยังไม่พอผู้รักษายังต้องรู้เลยไปถึงว่า
ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างไรในการวินิจฉัยว่าทาอย่างไรแค่ไหนจึงล่วงศีลคือศีลขาด
โดยใช้กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่ท่านเรียกว่าองค์ของศีลเป็นเครื่องตัดสินถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆศีลข้อนั้นก็ขาด
ถ้าไม่ครบองค์ที่วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อถือว่าศีลไม่ขาดแต่ศีลก็เศร้าหมอง
องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้สารวมระวังไม่ประมาท
ศีลข้อ๑ มีองค์ ๕คือ
*ปาโณ- สัตว์มีชีวิต
ปาณสญฺญิตา-รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
วธกจิตฺต- จิตคิดจะฆ่า
อุปกฺกโม- เพียรเพื่อจะฆ่า
เตนมรณ- สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
* อรรถกถาบางแห่งใช้ว่าปรปาโณคือสัตว์อื่นที่มีชีวิตมิได้หมายถึงตัวเองเพราะฉะนั้นการฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถ
เพราะไม่ครบองค์ของศีลข้อนี้
ถ้าครบองค์๕ ศีลข้อ๑ ก็ขาดถ้าไม่ครบ๕ข้อ ศีลไม่ขาดแต่ก็เศร้าหมอง
โทษของศีลข้อ๑ นี้อย่างหนักทาให้ไปเกิดในอบายเป็นสัตว์นรกเปรตอสูรกายสัตว์เดรัจฉาน
อย่างเบาทาให้อายุสั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์
ถึงกระนั้นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ก็หนักเบาต่างกันด้วยร่างกายของสัตว์๑ด้วยคุณของสัตว์๑ด้วยเจตนา๑
และด้วยความพยายาม๑
กล่าวคือถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ โทษก็มากถ้าฆ่าสัตว์เล็กโทษก็น้อย
ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณมากโทษก็หนักมากถ้าฆ่าสัตว์มีคุณน้อยโทษก็น้อยลดหลั่นกันลงไป
ถ้าเจตนาคือความจงใจแรงโทษก็แรงถ้าเจตนาคือความจงใจอ่อนโทษก็น้อย
ความพยายามมากโทษก็มากความพยายามน้อยโทษก็น้อย
แต่อย่าได้คิดว่าเมื่อท่านฆ่าสัตว์เล็กทั้งมีคุณน้อยมีความจงใจอ่อนและมีความพยายามน้อยโทษก็น้อยคงจะไม่น่ากลัว
อย่าลืมว่าบาปอกุศลนั้นถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรทาเพราะเมื่อสาเร็จเป็นกรรมแล้ว
ย่อมพาไปอบายได้เช่นเดียวกับโทษหนักเหมือนกันเพียงแต่ว่าอาจไปอยู่ในอบายชั่วระยะเวลาอันสั้น
ไม่ยาวนานเหมือนโทษหนักเพราะฉะนั้นจึงควรสังวรระวังไม่ประมาทแม้โทษเพียงเล็กน้อย
ในอรรถกถาวัมมิกสูตรมัช.มู. เล่าถึงพวกโจรที่ฆ่าอุบาสกที่เป็นพระอนาคามีว่าทาให้ตาบอดทันที
เพราะผู้ถูกฆ่าเป็นสัตว์ใหญ่ มีคุณธรรมสูงเจตนาของโจรก็แรงผลจึงเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที
ยังไม่ต้องกล่าวถึงโทษที่จะเกิดในอนาคตว่าจะร้ายแรงแค่ไหน
ศีลข้อ๒ มีองค์ ๕ คือ
ปรปริคฺคหิต -ของมีเจ้าของหวงแหน
ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา-รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
เถยฺยจิตฺต-จิตคิดจะลัก(ทั้งโดยคิดลักเองหรือใช้ให้ผู้อื่นลักแทน)
อุปกฺกโม- เพียรเพื่อจะลัก
เตนหรณ- นาของมาด้วยความเพียรนั้น
ถ้าครบองค์๕ ศีลข้อสองนี้ก็ขาด
โทษของศีลข้อสองนี้อย่างหนักทาให้ไปเกิดในอบายเช่นเดียวกับศีลข้อ๑
อย่างเบาทาให้ทรัพย์สมบัติพินาศไปเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ศีลข้อ๓ มีองค์ ๔ คือ
อคมนียวตฺถุ-วัตถุที่ไม่ควรถึง(คือชายหรือหญิงที่มีเจ้าของหรือมีผู้คุ้มครองดูแลรักษา)
ตสฺมึ เสวนจิตต-จิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
เสวนปฺปโยโค- พยายามที่จะเสพ
มคฺเคนมคฺคปฺปฏิปตฺติ อธิวาสน-ทามรรคต่อมรรคให้ถึงกัน
ถ้าครบองค์๔ ที่วางไว้ ศีลข้อ๓ นี้ก็ขาด
ศีลข้อนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาและคุณของผู้ถูกล่วงด้วยกล่าวคือถ้าจงใจมากโทษก็หนักถ้าจงใจน้อยโทษก็น้อย
ถ้าผู้ถูกล่วงเป็นผู้มีศีลโทษก็หนักเช่นในสมัยพุทธกาลนันทมาณพล่วงเกินนางอุบลวรรณาอรหันตเถรี
โทษถึงธรณีสูบก่อนแล้วจึงตกนรกอเวจี
โทษของศีลข้อ๓นี้อย่างหนักทาให้เกิดในอบายอย่างเบาทาให้มีศัตรู คู่เวรเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
(ในชาดกแสดงว่าทาให้เกิดเป็นกระเทยหรือเมื่อเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือมนุษย์แล้วต้องถูกตอน)
ศีลข้อ๔ มีองค์ ๔ คือ
อตถ วตฺถุ- เรื่องไม่จริง
วิสวาทนจิตฺต- จิตคิดจะพูดให้ผิด
ตชฺโชวายาโม-พยายามพูดออกไป
ปรสฺสตทตฺถวิชานน- คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
ถ้าครบองค์๔ ที่วางไว้ ศีลข้อ๔ ก็ขาด
โทษของศีลข้อ๔นี้อย่างหนักทาให้เกิดในอบายอย่างเบาทาให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคาที่ไม่เป็นจริงในเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ศีลข้อ๕ มีองค์ ๔ คือ
มทนีย -ของทาให้เมามีสุราเป็นต้น
ปาตุกมฺยตาจิตฺต-จิตใคร่จะดื่ม
ตชฺโชวายาโม-พยายามดื่ม
ปีตปฺปเวสน -ดื่มให้ไหลล่วงลาคอเข้าไป
ถ้าครบองค์๔ ที่วางไว้ ศีลข้อที่๕ ก็ขาด
* โทษของศีลข้อ๕ นี้อย่างหนักทาให้เกิดในอบายอย่างเบาทาให้เป็นบ้าขาดสติในเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
* โทษของศีลทั้ง๕ข้อจากสัพพลหุสสูตรอัง.อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๐
ในปัจจุบันนี้มีสิ่งเสพติดที่มีโทษมากกว่าสุราและเมรัยเช่นกัญชาและยาเสพติดเป็นต้น
แม้จะไม่จัดไว้แต่เดิมแต่ถ้าเสพแล้วก็สงเคราะห์เข้าว่าขาดศีลข้อ๕นี้เช่นกันโดยอาศัยมหาประเทศ๔
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในวินัยเป็นเครื่องตัดสิน
ศีลทั้ง ๕ข้อนี้เมื่อผู้ใดล่วงเข้าถือว่าล่วงกรรมบถมีโทษมากจัดเป็นเวรคือก่อให้เกิดผลร้ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เช่นเมื่อล่วงศีลข้อ๑ มีผลทาให้เกิดในอบายหรือทาให้มีอายุสั้นเป็นต้นทั้งเป็นโลกวัชชะคือมีโทษที่ชาวโลกควรเว้น
กล่าวคือศีลทั้ง๕ข้อนี้ถึงใครจะรักษาหรือไม่รักษาก็ตามเมื่อประพฤติล่วงเข้าแล้วย่อมเกิดโทษแก่ผู้ล่วงนั้นทั้งสิ้น
ทาให้ได้รับโทษเกิดในอบายเป็นต้น
เพราะฉะนั้นจึงควรเว้นสิ่งที่มีเวรมีโทษเสีย
อนึ่ง ผู้ที่ไม่ฆ่าสัตว์แต่ชอบเบียดเบียนสัตว์ให้เป็นทุกข์เดือดร้อนแม้ศีลข้อที่ ๑ ไม่ขาดแต่ก็ขาดธรรมคือเมตตากรุณา
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะรักษาศีล๕ให้บริสุทธิ์หมดจดจริงๆจึงต้องมี
ธรรมที่คู่กับศีลแต่ละข้อกากับไว้ด้วยคือ
เมตตากรุณาคู่กับศีลข้อที่๑เมตตานั้นได้แก่ ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุขส่วนกรุณา
นั้นปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
สัมมาอาชีวะการเลี้ยงชีวิตชอบคู่กับศีลข้อที่๒ ในที่นี้หมายถึงการประกอบอาชีพที่สุจริตไม่ผิดศีลผิดธรรม
เพื่อให้ได้ทรัพย์สินมาใช้สอยเลี้ยงดูตนเองและผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
ความสารวมในกามคู่กับศีลข้อที่๓คือยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
ความมีสัจจะคู่กับศีลข้อที่ ๔คือพูดจริง ทาจริง
ความมีสติคู่กับศีลข้อที่๕ คือสารวมระวังไม่ประมาท
ผู้มีทั้งศีลและธรรมคู่กันไปย่อมเป็นผู้งามพร้อมไม่มีที่ติเพราะฉะนั้นศีล(ที่ประกอบด้วยธรรม)จึงเป็นอาภรณ์
หรือเครื่องประดับอันประเสริฐสาหรับมนุษย์
ผู้ที่ปรารถนาลาภยศสรรเสริญสุขตลอดจนการเกิดในสุคติเป็นมนุษย์และเทวดาหรือปรารถนาจะไม่เกิด
คือบรรลุนิพพานก็ต้องอาศัยศีล
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าความปรารถนาของผู้มีศีลเท่านั้นที่จะสาเร็จ
หรือความสาเร็จผลสมความปรารถนาจะเกิดแก่ผู้มีศีลเท่านั้น
ทุกคนปรารถนาของดีทั้งสิ้นไม่มีใครปรารถนาของไม่ดีเมื่อปรารถนาของดีก็ต้องทาดีผลที่ได้รับจึงจะดีตามการกระทา
แต่ถ้าปรารถนาของดีแล้วทาชั่วผลที่ได้รับก็ชั่วตามการกระทาเมื่อได้รับผลชั่วมีการเกิดในอบายเป็นต้นแล้ว
ความปรารถนาเหล่านั้นจะสาเร็จได้อย่างไร
ผู้ที่ไม่ทาชั่วจึงต้องมีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองป้ องกัน
นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังตรัสว่าศีล๕นี้เป็น มหาทาน*เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการให้ความไม่มีเวร
ไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ กล่าวคือ
(*ปุญญาภิสันทสูตรอังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาตข้อ ๑๒๙)
การรักษาศีลข้อ๑คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่าแทนตนเป็นการให้ชีวิตแก่สัตว์ทั้งปวง
การรักษาศีลข้อ๒คืองดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ๓คือการงดเว้นจากการประพฤติผิดในบุตรภรรยาสามีของผู้อื่นเป็นการให้ความบริสุทธิ์แก่บุตรภรรยา
สามีของผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ๔คือการงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นการให้ความจริงแก่ผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ๕คือการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและสิ่งเสพติดอันเป็นโทษทุกชนิด
เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่งคือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตรภรรยาสามีของผู้อื่นให้ความจริงแก่ผู้อื่นทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาเพราะสุราเป็นต้นย่อมขาดสติ
สามารถทาความชั่วได้ถึงที่สุดคือฆ่าแม่ฆ่าพ่อก็ได้ เพราะฉะนั้นการงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติด
มีโทษเหล่านี้จึงเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง
ก็เมื่อเราได้ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้อย่างนี้แล้วย่อมได้รับความไม่มีเวรไม่มีภัย
ไม่ถูกเบียดเบียนหาประมาณมิได้เช่นกันเพราะเราทาเหตุอย่างใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ด้วยเหตุนี้ผู้ไม่มีปัจจัยจะบริจาคทานจึงไม่ควรเสียใจ
เพราะกุศลที่สูงกว่าทานที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยก็สามารถบาเพ็ญได้นั้นมีอยู่กุศลนั้นคือศีลกุศลที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
เป็นมหาทานล้าเลิศกว่าทานธรรมดาที่ต้องเสียสละของออกไปเสียอีก
ควรหรือไม่ที่จะรักษาศีล๕ให้บริสุทธิ์
ดังได้กล่าวแล้วว่าศีล๕เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติเป็นประจาตลอดชีวิต
ถึงกระนั้นศีลที่ยิ่งกว่าศีล๕ขัดเกลากิเลสได้ยิ่งกว่าศีล๕ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาสเป็นครั้งคราวก็มีอยู่
ศีลที่กล่าวนี้คืออุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวันอุโบสถ
สมัยก่อนท่านกาหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียงเดือนละ ๔
ครั้งในวันพระคือในวันแรม๘ ค่าแรม ๑๔ค่าหรือ๑๕ ค่าขึ้น ๘ค่าและขึ้น๑๕ค่า แต่บางท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น
โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาราชสูตรอังคุตตรนิกายติกนิบาตว่า
อุโบสถมี ๓อย่างคือ
ปกติอุโบสถคือ อุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กาหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กาหนดเอาวันพระคือวัน ๘ค่าและ๑๕ค่า
ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
ปฏิชาครอุโบสถคือ อุโบสถที่รักษากันครั้งละ๓วันคือถือเอาวันที่กาหนดไว้ในปกติอุโบสถเป็นหลัก
แล้วเพิ่มรักษาก่อนกาหนด๑วันเรียกว่าวันรับและหลังวันกาหนดอีก ๑วันเรียกว่าวันส่งเช่นวัน๘
ค่าเป็นวันรักษาปกติอุโบสถผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน๗ค่าไปสิ้นสุดเอาเมื่อสิ้นวัน๙ค่า
คือรักษาในวัน๗ค่า ๘ค่าและ๙ ค่ารวม ๓ วัน๓ คืน
ปาฏิหาริยปักขอุโบสถคืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจาทุกวันตลอดพรรษา ๓เดือนอย่างหนึ่งถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด๓
เดือนก็รักษาให้ตลอด๑เดือนหลังจากออกพรรษาแล้วคือรักษาในกฐินกาลที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑
ค่าเดือน ๑๑ถึงขึ้น ๑๕ค่าเดือน ๑๒อย่างหนึ่งถ้ายังไม่อาจรักษาได้ตลอด๑เดือน
ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้วคือตั้งแต่แรม๑ค่าเดือน๑๑ ถึงสิ้นเดือน๑๑ อีกอย่างหนึ่งทั้ง ๓
อย่างนี้เรียกว่าปาฏิหาริยปักขอุโบสถ
ศีลอุโบสถนั้นเป็นศีลรวมหรือ ศีลพวงคือมีองค์ประกอบถึง ๘องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์หนึ่งก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถ
ตามพุทธบัญญัติเพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียวก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ
เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีลพูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียวขาดหมดทั้ง ๘องค์
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสารวมระวังกายวาจาเป็นพิเศษ
อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์๘มีดังนี้
ปาณาติปาตาเวรมณี -งดเว้นจากการทาชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
อทินนาทานาเวรมณี -งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
อพรหมจริยาเวรมณี -งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
มุสาวาทาเวรมณี -งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณี -งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
วิกาลโภชนาเวรมณี -งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานาเวรมณี -งดเว้นจากการฟ้ อนราขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม
เครื่องย้อมเครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว
อุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี -งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
อุโบสถศีลอันมีองค์๘ นี้องค์ที่ ๑-๒-๔-๕เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ของศีล ๕ ที่แปลกกันคือข้อ ๓
ศีล ๕นั้น ข้อ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตนแต่ถ้าเป็นคู่ครองของตนแล้วไม่ห้ามแต่ศีลข้อ๓
ของอุโบสถศีลนั้นให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาดแม้ในคู่ครองของตนเองจึงจะชื่อว่าพรหมจริยาคือ
ประพฤติอย่างพรหม
ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือศีลข้อ๖-๗-๘
อุโบสถศีลนั้นก็มีองค์ของศีลเป็นเครื่องวินิจฉัยว่าการกระทาเช่นไรจึงล่วงศีลไว้เช่นเดียวกับศีล ๕สาหรับศีลข้อ๑-๒-๔-๕
นั้นมีองค์เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ของศีล ๕ ที่ได้กล่าวไปแล้วสาหรับศีลข้อที่เหลือมีเครื่องวินิจฉัยดังนี้
ศีลข้อ๓ อพรหมจริยาเวรมณี มีองค์ ๔คือ
อชฺฌาจรณียวตฺถุ-วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง(คือมรรคทั้ง๓)
ตตฺถเสวนจิตฺต- จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น
เสวนปฺปโยโค- พยายามเสพ
สาทิยน- มีความยินดี
ศีลข้อ๖ วิกาลโภชนาเวรมณี มีองค์๔ คือ
วิกาโล-เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น
ยาวกาลิก-ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร
อชฺโฌหรณปฺปโยโค-พยายามกลืนกิน
เตนอชฺโฌหรณ -กลืนให้ล่วงลาคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น
สาหรับศีลข้อนี้ควรทราบว่าเวลาตั้งแต่อรุณขึ้นไปจนถึงเที่ยงเรียกว่ากาลคือเป็นเวลาบริโภคอาหาร
ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น(ของวันใหม่)เรียกว่าวิกาลเป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภคอาหารทุกชนิด
เว้นน้าธรรมดาและน้าดื่ม๘อย่างที่เรียกว่า@อัฏฐบานที่มีพุทธานุญาตไว้
น้าดื่ม๘อย่าง (อัฏฐบาน) นั้นคือ
น้าที่ทาจากผลมะม่วง๑ผลหว้า๑ผลกล้วยมีเมล็ด๑ผลกล้วยที่ไม่มีเมล็ด๑ผลมะทราง๑ผลจันทน์หรือผลองุ่น ๑
เง่าบัว๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่๑
ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตน้าผลไม้ทุกชนิดเว้นน้าต้มเมล็ดข้าวเปลือกน้าใบไม้ทุกชนิดเว้นน้าผักดองน้าดอกไม้ทุกชนิด
เว้นน้าดอกมะทรางและทรงอนุญาตน้าอ้อยสด
อรรถกถาท่านสรุปว่าในเวลาวิกาลดื่มน้าผลไม้ได้ทุกชนิดเว้นผลไม้ที่มีผลโตกว่าผลมะตูม(บางแห่งว่าผลมะขวิด)
วิธีทานั้นก็ต้องคั้นเอาแต่น้าและกรองให้ไม่มีกากและไม่ผ่านการสุกด้วยไฟ
น้าปานะดังกล่าวนี้เท่านั้นที่ผู้รักษาอุโบสถศีลควรดื่มในเวลาวิกาลนอกนี้ไม่ควรพึงสังเกตว่าไม่มีน้านมสดทุกชนิด
คือน้านมของสัตว์หรือนมที่ทาจากพืชเช่นถั่วเป็นต้น
นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตให้ บริโภคเภสัช๕*อย่างคือ
เนยใส
เนยข้น
น้ามัน
น้าผึ้ง
น้าอ้อย
รวมทั้งงบน้าอ้อยในเวลาวิกาลได้ (*พระวินัยปิฎกมหาวรรคเภสัชชขันธกะข้อ๘๖ และข้อ๒๖ ตามลาดับ)
ศีลข้อ๗ แบ่งเป็น ๒ ตอนแต่ละตอนมีองค์โดยเฉพาะถ้ากระทาผิดศีลตอนใดตอนหนึ่งเพียงตอนเดียว
ก็ถือว่าขาดหมดทั้งสองตอน
ศีลข้อ๗ ตอนแรกนัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ-เว้นจากการฟ้ อนราขับร้องประโคมดนตรี
และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลมีองค์๓คือ
นจฺจาทีนิ - การเล่นมีฟ้ อนราขับร้องเป็นต้น
ทสฺสนตฺถายคมน- ไปเพื่อจะดูหรือฟัง
ทสฺสน -ดูหรือฟัง
ศีลตอนแรกนี้ท่านห้ามทั้งเล่นเองหรือใช้ให้ผู้อื่นเล่นแล้วตนดูหรือฟังผู้รักษาอุโบสถศีลแล้วยังเปิดวิทยุฟังเพลง
ฟังลิเกหรือมหรสพต่างๆหรือเปิดโทรทัศน์แล้วหลบไปนั่งในที่ๆมองไม่เห็นภาพอาศัยฟังแต่เสียงการละเล่นต่างๆ
มีละครเป็นต้นจากโทรทัศน์นั้นย่อมไม่สมควรถือว่าผิดศีลข้อนี้เพราะมีเจตนาชัดแจ้ง
หากมีผู้อื่นเขาเปิดดูหรือฟังอยู่ผู้รักษาอุโบสถศีลเพียงแต่ผ่านไปได้เห็นหรือได้ยินเข้า แล้วก็ผ่านเลยไปอย่างนี้ไม่ผิด
แต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้มีเจตนาจะดูหรือฟังมาก่อนแต่ผ่านไปเห็นหรือได้ยินเข้าแล้วเลยพลอยร่วมวงดูหรือฟังกับเขาด้วย
อย่างนี้ก็ผิด
ปกติเราก็ดูก็ฟังกันอยู่ทักวันทุกคืนเราจะหยุดดูหยุดฟังกันสักวันหนึ่งคืนหนึ่งตามอย่างพระอรหันต์ท่านมิได้เทียวหรือ
ก็ในวินัยของพระอริยเจ้านั้น*การขับร้องคือการร้องไห้ การฟ้ อนราคือความเป็นบ้าการหัวเราะจนเห็นฟันพร่าเพรื่อ
คือความเป็นเด็ก(* โรณสูตรอัง.ติกนิบาตข้อ ๕๔๗)
ศีลข้อ๗ ตอนหลัง มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานาเวรมณี -เว้นจากการลูบทาทัดทรง
ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัวมีองค์ ๓คือ
มาลาทีนอญฺญตรตา-เครื่องประดับตกแต่งมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น
อนุญฺญาตการณาภาโว-ไม่มีเหตุเจ็บไข้เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
อลงฺกตภาโว-ทัดทรงประดับตกแต่งเป็นต้นด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม
ในข้อนี้มีข้อสังเกตคือบางท่านก่อนไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถศีลก็ตกแต่งร่างกายทาหน้า
ทาปากเป็นต้นอย่างสวยงามเสียก่อนเพราะคิดว่าได้กระทาก่อนสมาทานศีลจึงไม่ผิด
แต่เจตนาในการกระทาเพื่อให้สวยงามมีอยู่จึงถือว่าผิดเพราะผู้ที่จะรักษาอุโบสถศีลนั้น
ต้องตั้งเจตนาที่จะรักษาไว้ตั้งแต่รุ่งเช้าแล้วว่าจะรักษาอุโบสถศีลตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง
คาว่าวันหนึ่งคืนหนึ่งนั้นท่านกาหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษาไปจนถึงอรุณขึ้นของวันใหม่
ถ้าน้อยกว่ากาหนดนี้ก็ไม่ชื่อว่าวันหนึ่งคืนหนึ่งผู้รักษาอุโบสถควรระลึกถึงข้อนี้ด้วย
ศีลข้อ๘ อุจฺจาสยนมหาสยนาเวรมณี -งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์๓คือ
อุจฺจาสยนมหาสยน-ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา-รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
อภิสีทน วาอภิปชฺชน วา- นั่งหรือนอนลง
คาว่าที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ ในศีลข้อนี้ท่านหมายเอาที่นั่งและที่นอนที่สูงใหญ่เกินประมาณ
ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงามรวมไปถึงที่นอนที่ยัดด้วยนุ่มและสาลีด้วยทั้งนี้ก็เพื่อมิให้
ยินดีติดใจในความงามและสัมผัสที่อ่อนนุ่มสบายของที่นั่งที่นอนเหล่านั้น
อุโบสถศีลทั้ง๔ข้อที่แตกต่างและเพิ่มขึ้นจากศีล๕นั้นถ้าไม่พิจารณาให้ละเอียดแล้วจะไม่เห็นว่าศีลทั้ง๔
ข้อนี้เพิ่มความขัดเกลายิ่งขึ้นจึงไม่น่ายากแก่การรักษาแต่โดยที่แท้แล้วมิได้เป็นเช่นนั้น
มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีผู้รักษาอุโบสถศีลน้อยมากอย่างนี้เมื่อเทียบกับจานวนพลเมืองทั้งประเทศ
ก็ปกติของคฤหัสถ์นั้นยังยินดีติดใจในการการเสพประเวณีในการบริโภคจนเกินประมาณ
ในการตกแต่งร่างกายให้สวยงามในการนอนสบายแต่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอุโบสถศีล ๔ข้อนี้ขึ้น
เพื่อขัดเกลาความยินดีติดใจในสิ่งเหล่านี้ของคฤหัสถ์เป็นครั้งคราวเพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเป็นอย่างต่า ๓
วันเป็นอย่างกลาง(ปฏิชาครอุโบสถ)๓เดือนตลอดพรรษาเป็นอย่างสูง(ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ)
มิได้ทรงบัญญัติให้รักษาจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์
เพราะฉะนั้นผู้ที่รักษาอุโบสถศีลเพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเพราะน้อมระลึกว่า
"แม้เราจะรักษาอุโบสถศีลจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์ไม่ได้ ก็ขอดาเนินรอยตามท่านด้วยการรักษาอุโบสถศีลอันมีองค์
๘นี้ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง"
เพียงเท่านี้พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่าการรักษาอุโบสถศีลของผู้นั้นมีผลมากมีอานิสงส์มาก* แม้พระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน
๑๖ แคว้นก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่๑๖ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์๘เพราะศีลนั้นทาให้เกิดในสวรรค์(*อุโปสถสูตรอัง.
ติกนิบาตข้อ ๕๑๐ / วิสาขสูตรอัง.อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๓)
ก็สมบัติมหาศาลของพระราชาในเมืองมนุษย์นั้นเป็นของเล็กน้อยเปรียบเหมือนสมบัติของคนจน
เมื่อเทียบกับสมบัติและความสุขอันเป็นทิพย์ในเทวโลกที่ผู้รักษาอุโบสถศีลจะพึงได้รับเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว
ทั้งนี้เพราะเทวดาผู้เกิดในสวรรค์ชั้นต่าสุดคือจาตุมมหาราชิกานั้นยังมีอายุยืนถึง ๕๐๐ปีทิพย์
ซึ่งวันหนึ่งคืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นเท่ากับ๕๐ปีมนุษย์ ลองคิดดูเองเถิดว่า๕๐๐ปีทิพย์
นั้นจะเท่ากับกี่ปีมนุษย์ยิ่งถ้าได้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไปอายุก็เพิ่มขึ้นจากชั้นต่าเป็นทวีคูณชั้นปรนิมมิต
วสวตีอันเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดเทวดาในชั้นนี้อายุยืนถึง ๑๖,๐๐๐ปีทิพย์(เทวโลกหรือสวรรค์นั้นมี๖ชั้น
คือจาตุมมหาราชิกาดาวดึงสายามาดุสิตานิมมานนรตีปรนิมมิตวสวตี)
อุโบสถศีลจึงมีผลมากมีอานิสงส์มากอย่างนี้
ถึงกระนั้นพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงสอนให้หลงใหลติดใจในสมบัติและความสุขในโลกสวรรค์
เพราะมิฉะนั้นแล้วพระองค์จะไม่ตรัสกับนางวิสาขามหาอุบาสิกาเลยว่า
อุโบสถ*มี ๓อย่าง คือ
โคปาลกอุโบสถ-อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
นิคัณฐอุโบสถ- อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
อริยอุโบสถ- อุโบสถของพระอริยะ
*อุโปสถสูตรอัง. ติกนิบาตข้อ ๕๑๐
บุคคลผู้รักษาอุโบสถเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคนั้นเมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว
ก็ปล่อยใจให้คิดแต่เรื่องราวของความโลภความต้องการอยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้มาบารุงบาเรอตน
ไม่ได้คิดจะทาความดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้นเลยไม่ผิดอะไรกับคนที่รับจ้างเลี้ยงโคที่เมื่อถึงเวลาเช้าก็ไปรับโคมาเลี้ยงเวลาเย็น
ก็นาโคมาส่งเจ้าของแล้วรับเอาค่าจ้างไปกลับบ้านแล้วก็คิดแต่ว่าพรุ่งนี้จะพาโคไปกินหญ้ากินน้าที่ไหน
คนรับจ้างนั้นไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากโคมีน้านมเป็นต้นเลยผู้รักษาโคปาลกอุโบสถก็เช่นกัน
ไม่ได้รับประโยชน์จากอุโบสถศีลที่ตนรักษาเลยการรักษาแบบโคปาลกอุโบสถจึงไม่มีผลมากไม่มีอานิสงส์
เพราะความตรึกไม่บริสุทธิ์
ส่วนนิคัณฐอุโบสถนั้นเป็นอุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนาซึ่งแตกต่างจากการรักษาอุโบสถในพระพุทธศาสนา
กล่าวคือในอุโบสถพวกนักบวชนิครนถ์จะแนะนาชักชวนสาวกเป็นต้นว่าไม่ให้ฆ่าสัตว์ในที่ทั้ง ๔ในที่เลยร้อยโยชน์ไป
นอกจากนั้นมิได้ห้ามการแนะนาชักชวนสาวกอย่างนี้ชื่อว่าห้ามการฆ่าสัตว์ในที่บางแห่งไม่ห้ามฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง
เป็นการขาดความกรุณาเอ็นดูในสัตว์บางพวกมิได้ให้ความเอ็นดูแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า
อุโบสถของพวกนิครนถ์จึงไม่มีผลมาก
แต่ อริยอุโบสถนั้นเป็นอุโบสถที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก เพราะผู้รักษามิได้ปล่อยใจให้ฟุ้ งซ่านไปในความยินดีต้องการ
หรือความเศร้าหมองใดๆด้วยอานาจของกิเลสแต่มาพากเพียรระลึกถึงพระคุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
ตลอดจนระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยของตนและระลึกถึงคุณธรรมของผู้ที่เกิดเป็นเทวดา
ว่าเทวดาเหล่านั้นได้เกิดเป็นเทวดาเพราะประกอบด้วยศรัทธาศีลสุตะจาคะปัญญาเช่นใดแม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา
ศีล สุตะจาคะ ปัญญาเช่นนั้นเมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นจิตย่อมผ่องใสไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส
การรักษาอุโบสถโดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอานาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้ชื่อว่าอริยอุโบสถ
อุโบสถจึงมีผลมากเพราะจิตของผู้รักษาบริสุทธิ์ไม่มีผลมากเพราะจิตเศร้าหมอง
บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้วเจริญพุทธานุสสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลนั้นชื่อว่าเข้าจา(*พรหมอุโบสถอยู่ร่วมกับพรหมและมีจิตผ่องใสเพราะปรารภพรหม/*อุโปสถสูตรอัง.ติกนิบาต
ข้อ ๕๑๐)
คาว่าพรหมในที่นี้แปลว่าประเสริฐเป็นชื่อของพระพุทธเจ้า
บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้วเจริญธัมมานุสสติระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลนั้นชื่อว่าเข้าจาธรรมอุโบสถอยู่ร่วมกับธรรมและมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม
บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้วเจริญสังฆานุสสติระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลนั้นชื่อว่าเข้าจาสังฆอุโบสถอยู่ร่วมกับสงฆ์และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์
บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้วเจริญสีลานุสสติระลึกถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตนพระพุทธเจ้าตรัสว่าบุคคลนั้นชื่อว่าเข้าจา
ศีลอุโบสถอยู่ร่วมกับศีลและมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล
ศีลที่บริสุทธิ์นั้น-ศีลที่ไม่ขาด คือ
ไม่ขาด ศีลข้อต้นหรือข้อปลายเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ๑
ไม่ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลางเพราะขาดศีลตอนกลางในระหว่างข้อต้นและข้อปลาย ๑
ไม่ด่างเหมือนแม่วัวที่มีรอยด่างสีดาหรือแดงรูปกลมหรือยาวที่หลังหรื่อที่ท้องเพราะขาดศีลติดต่อกันเป็นลาดับ ๒หรือ
๓ข้อ ๑
ไม่พร้อยเหมือนแม่วัวที่มีจุดตามตัวเพราะศีลขาดเป็นระหว่างๆ๑
บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้วเจริญเทวตานุสสติระลึกถึงคุณธรรมที่ทาให้ไปเกิดเป็นเทวดาพระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลนั้นชื่อว่าเข้าจาเทวดาอุโบสถอยู่ร่วมกับเทวดาและมีจิตผ่องใสเพราะปรารภเทวดา
ผู้รักษาอุโบสถเมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นอยู่อย่างนี้จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส
ครั้นเจริญอนุสสติให้จิตใจสงบอย่างนี้แล้วตายไปย่อมเกิดในสวรรค์หากเจริญธรรมให้สูงยิ่งกว่านี้
คือเจริญสมถะกรรมฐานเป็นนิจจนได้ฌานฌานก็จะนาเกิดในพรหมโลกหรือหากเจริญวิปัสสนาจนสาเร็จมรรคผล
เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้วผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถกาหนดการเกิดของตนได้ว่ายังมีอีกหรือไม่
คือถ้าเป็นพระโสดาบันพระสกทาคามีพระอนาคามีก็ยังต้องเกิดอีกแต่อย่างมากก็เกิดอีกไม่เกิน ๗ชาติ
หากสาเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ไม่เกิดอีกเลย
ก็เพราะอริยอุโบสถมีผลมากมีอานิสงส์มากอย่างนี้คืออย่างต่าทาให้เกิดในสวรรค์๖ชั้นอย่างกลางทาให้เกิดเป็นพรหม
อย่างสูงทาให้ไม่เกิดอีกเลยทุกท่านที่รักษาอุโบสถจึงควรรักษาอริยอุโบสถดาเนินรอยตามพระอริยะ
ส่วนผลที่ได้รับจะสูงต่าเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการกระทาของเราเองรวมทั้งปัญญาบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ปางก่อนด้วย
ในสักกสูตรอังคุตตรนิกายทสกนิบาตข้อ๔๖
พระพุทธองค์ตรัสเตือนอุบาสกชาวสักกชนบทที่รักษาอุโบสถศีลเป็นบางครั้งบางคราวว่า
เป็นผู้ประมาทไม่ทาตามคาพร่าสอนของพระองค์ในเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศกมีภัยเพราะความตายอย่างนี้
ก็ยังไม่รักษาอุโบสถศีลให้เป็นปกติให้สม่าเสมอ
สาวกของพระองค์นั้นปฏิบัติตามคาพร่าสอนของพระองค์โดยไม่ประมาทตลอด ๑๐ปี
ย่อมได้รับความสุขเพียงอย่างเดียวตลอด๑๐๐ปีก็มีหมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบันพระสกทาคามี
พระอนาคามีก็มี
อย่าว่าแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามคาพร่าสอนของพระองค์ตลอด๑๐ปีเลย
แม้ปฏิบัติตามคาสอนของพระองค์น้อยกว่านั้นลงมาตามลาดับจนถึง๑วัน๑ คืนก็พึงได้รับความสุขอย่างเดียวตลอด
๑๐๐ปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบันพระสกทาคามีพระอนาคามีก็มี
เมื่ออุบาสกชาวสักกชนบทได้ฟังพระพุทธองค์ตรัสเตือนพร้อมทั้งแสดงอานิสงส์ของอุโบสถศีล เช่นนั้นก็กราบทูลรับรองว่า
ต่อแต่นี้ไปจะรักษาอุโบสถศีลโดยสม่าเสมอมิได้ขาด
ก็ชีวิตของเราทั้งหลายในปัจจุบันนี้ล้วนมีภัยอันตรายอยู่รอบตัวไม่มีใครทราบว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร
แล้วเรายังจะประมาทไม่ทาตามคาพร่าสอนของพระพุทธองค์ด้วยการรักษาศีล ๕หรืออุโบสถศีลให้สม่าเสมอดอกหรือ
ในเมื่อศีลนั้นเป็นอริยทรัพย์ประการหนึ่งในบรรดาอริยทรัพย์๗ประการ
ที่พร้อมจะติดตามไปให้ความสุขแก่ผู้รักษาตลอดไปตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่
เพราะฉะนั้นผู้รักษาศีลดีแล้วจึงไม่ต้องตั้งเจตนาปรารถนาขอความไม่เดือดร้อนและความสุขจงเกิดแก่เรา
ด้วยว่าความไม่เดือดร้อนและความสุขย่อมเกิดแก่ผู้มีศีลเป็นธรรมดาแต่ผู้ทุศีลถึงจะตั้งเจตนาปรารถนาว่า
ขอความไม่เดือดร้อนและความสุขจงเกิดแก่เราเขาก็หาได้รับผลสมตามเจตนาไม่
เพราะความเดือดร้อนและความทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลเป็นธรรมดา
ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้วย่อมนาสุขมาให้อย่างนี้
สาหรับศีลของคฤหัสถ์อีกอย่างหนึ่งคือศีล๘ ก็มี ๘ข้อเหมือนอุโบสถศีล เพียงแต่ไม่กาหนดวันรักษาเหมือนอุโบสถศีล
จะรักษาวันใดเมื่อไรก็ได้ เป็นการสะดวกสบายสาหรับผู้ที่ไม่อาจจะรักษาอุโบสถศีลในวันพระก็สามารถรักษาศีล ๘
ในวันอื่นเป็นการทดแทนได้ บางท่านมีศรัทธารักษาศีล๘จนตลอดชีวิตควรแก่การสรรเสริญและหากว่าท่านที่รักษาศีล ๘
นั้นจะได้รักษาศีล๘ของท่านตามแบบอย่างของพระอริยะแล้วศีลของท่านก็ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
อนึ่งในการตั้งใจรักษาศีลนั้นอย่านึกว่าต้องไปสมาทานกับพระที่วัดเท่านั้นจึงจะเป็นศีลความจริง
แล้วจะสมาทานที่ไหนก็ได้ คือจะสมาทานที่วัดในป่าหรือในบ้านหากมีเจตนาคิดงดเว้นก็เป็นศีลแล้วหรือ
จะคิดงดเว้นเองโดยมิต้องสมาทานก็เป็นศีลโดยเฉพาะอุโบสถศีลนั้นควรตั้งเจตนาในการรักษาไว้แต่รุ่งเช้า
หากมีโอกาสไปวัดจะสมาทานกับพระอีกครั้งหนึ่งก็สมควรทั้งนี้เพราะตามวัดต่างๆนั้น
กว่าจะถึงเวลาที่พระท่านลงโบสถ์และให้ศีลก็มักเป็นเวลาหลังจากที่ท่านฉันอาหารเช้าแล้ว(โดยมากประมาณ ๙น.)
ซึ่งเลยเวลาที่อรุณขึ้นมาหลายชั่วโมงด้วยเหตุนั้นจึงควรสมาทานด้วยตนเองเสียก่อนแต่รุ่งเช้า
ในอดีต พระพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ก็ยังได้สมาทานศีลอุโบสถด้วยตนเอง
ในขณะที่ลอยอยู่กลางทะเล
แม้ในสมัยพุทธกาลคนส่วนมากก็สมาทานศีลที่บ้านในวันอุโบสถแล้วจึงถือดอกไม้ของหอมไปวัดเพื่อฟังธรรม
(อรรถกถาเล่า)ท่านมิได้ไปรับศีลจากพระที่วัด
หากการรักษาศีลจาเป็นต้องไปสมาทานกับพระเพียงอย่างเดียวก็น่าคิดว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นกันดารในที่ไม่มีวัดไม่มีพระ
แต่นับถือพระพุทธศาสนามิหมดโอกาสที่จะรักษาศีลหรือเพราะเหตุนี้การทาอะไรจึงต้องอาศัยปัญญา
แม้การรักษาศีลก็ต้องอาศัยปัญญาพินิจพิจารณาให้รอบคอบอย่าเพียงแต่ทาตามๆกันโดยขาดเหตุผล
ด้วยเหตุนี้พระอรหันต์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า*ศีลเท่านั้นเป็นเลิศแต่ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดในโลกนี้
ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลกย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา(*ขุททกนิกายเถรคาถาปุณณเถรคาถา
และสีลวเถรคาถา)
ความชนะในที่นี้หมายถึงความชนะกิเลสมนุษย์ก็ตามเทวดาก็ตามจะชนะกิเลสได้ก็เพราะศีลและปัญญา
ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐานจึงไม่ขาดไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อยเป็นไท ไม่เป็นทาสของตัณหาและทิฏฐิกล่าวคือผู้รักษาศีล
มิได้มุ่งรักษาเพราะต้องการลาภยศสรรเสริญหรือสมบัติใดๆมีโภคสมบัติเป็นต้นหรือมิได้รักษาเพราะเห็นผิดว่า
เราจะบริสุทธิ์จากกิเลสได้เพราะศีลนี้หมายความว่าผู้นั้นเห็นผิดว่าลาพังศีลอย่างเดียวคือศีลเท่านั้นบรรลุนิพพานได้
ซึ่งเห็นผิดไปจากความจริงเพราะผู้ที่จะบรรลุนิพพานได้นั้นต้องประกอบด้วยศีลสมาธิและปัญญา
เบื้องต้นนั้น ศีลเป็นบาทให้เกิดสมาธิสมาธิเป็นบาทให้เกิดปัญญา
แต่เบื้องปลายศีล สมาธิและปัญญาจะประชุมพร้อมกันเป็นมรรคสมังคีในอริยมรรคมีองค์ ๘เป็นอริยศีล
อริยสมาธิและอริยปัญญา
อริยศีลที่ประกอบด้วยอริยสมาธิและอริยปัญญาในขณะนั้นเท่านั้นที่บรรลุนิพพานได้
อริยศีลนี้จึงชื่อว่า สีเลนนิพฺพุติ ยนฺติ โดยแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐานจึงเป็นเครื่องกั้นบาปทุจริตเป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยมเป็นพาหนะอันประเสริฐ
เป็นเครื่องหอมที่ฟุ้ งไปทั่วทิศานุทิศเป็นสะพานนาไปถึงสุคติโลกสวรรค์และนิพพานหากยังไม่ปรินิพพานตราบใด
ย่อมเกิดเป็นมนุษย์*และเทวดาเท่านั้น(*อัง.ทุกนิบาต ข้อ ๒๗๓)
--------------------------------------------------
จริงหรือไม่ว่าศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
กาเยนวาจายจโยธสญฺญโตมนสาจกิญฺจิน กโรติปาป
นอตฺตเหตุ อลิก ภณาติตถาวิธสีลวนฺติวทนฺติ
ผู้ใดสารวมในโลกนี้สารวมทางกายวาจาและใจไม่ทาบาปอะไรๆและไม่พูดพล่อยเพราะเหตุแห่งตน
ท่านย่อมเรียกคนเช่นนั้นว่าผู้มีศีล
จาก:- สรภังคชาดกขุททกนิกายชาดกข้อ๒๔๖๖
--------------------------------------------------
...ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐโดยอาจารย์ประณีตก้องสมุทร
Edit: thongkrm_virut@yahoo.com

More Related Content

What's hot

บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีBlackrab Chiba
 
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1Vorramon1
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศกลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศYatphirun Phuangsuwan
 
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35Milky' __
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะBoonlert Aroonpiboon
 

What's hot (8)

นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมืองนาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
 
Thai1
Thai1Thai1
Thai1
 
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศกลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
 
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35
พระเวสสันดร กัณฑ์มัทรี 30 35
 
การใช้โวหารในภาษาไทย
การใช้โวหารในภาษาไทยการใช้โวหารในภาษาไทย
การใช้โวหารในภาษาไทย
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
 

Viewers also liked

Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...
Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...
Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...Donna Witek
 
Certificato laurea
Certificato laureaCertificato laurea
Certificato laureaGenn Condemi
 
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaignsLengow
 
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej Maciej Adamczak
 
Glonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaGlonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaKevin Olmos
 
Glonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaGlonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaKevin Olmos
 
The E-commerce Euros: Germany - Italy
The E-commerce Euros: Germany - ItalyThe E-commerce Euros: Germany - Italy
The E-commerce Euros: Germany - ItalyLengow
 
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทยการทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทยสุรพล ศรีบุญทรง
 
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphone
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphoneBootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphone
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphoneCity Planner
 
Le gaz naturel, carburant d'avenir
Le gaz naturel, carburant d'avenirLe gaz naturel, carburant d'avenir
Le gaz naturel, carburant d'avenirGRTgaz
 
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...Yutaka Tokunaga (徳永 裕)
 
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016Vikrant Mudaliar
 

Viewers also liked (17)

Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...
Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...
Creating Collaborations Through Connecting National Writing Guidelines to the...
 
Certificato laurea
Certificato laureaCertificato laurea
Certificato laurea
 
Math casey
Math caseyMath casey
Math casey
 
Time
TimeTime
Time
 
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns
[Infographic] Google Shopping Custom Labels: 10 ways to optimise your campaigns
 
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej
Warunki klimatyczne rejonu Morza Karaibskiego i Zatoki Meksykańskiej
 
CV
CVCV
CV
 
Adriana
AdrianaAdriana
Adriana
 
Glonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaGlonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologia
 
CURICULLUM VITAE - gloria
CURICULLUM VITAE - gloriaCURICULLUM VITAE - gloria
CURICULLUM VITAE - gloria
 
Glonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologiaGlonalizacion y tecnologia
Glonalizacion y tecnologia
 
The E-commerce Euros: Germany - Italy
The E-commerce Euros: Germany - ItalyThe E-commerce Euros: Germany - Italy
The E-commerce Euros: Germany - Italy
 
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทยการทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย
การทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยไทย
 
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphone
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphoneBootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphone
Bootleaf un semplice sistema gis sul tuo smartphone
 
Le gaz naturel, carburant d'avenir
Le gaz naturel, carburant d'avenirLe gaz naturel, carburant d'avenir
Le gaz naturel, carburant d'avenir
 
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...
3things that you should know before work | 3 hal yang harus anda ketahui sebe...
 
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016
CARAT GLOBAL AD SPEND REPORT 2016
 

More from Thongkum Virut

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัยThongkum Virut
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)Thongkum Virut
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยThongkum Virut
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณThongkum Virut
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริThongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรThongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการThongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูThongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกThongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยThongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยThongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาThongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
 
All10
All10All10
All10
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ