SlideShare a Scribd company logo
1 of 73
Download to read offline
ปรัชญาเชิงศาสตร์
Philosophy of Science 3
มรรคาทางเข้าสู่ความรู้นานาแนวทาง
On the Path to Knowledge
Different Approaches
ศ.พิเศษ ดร.จิรโชค วีระสย
Jirachoke Virasaya, Ph.D. (Berkeley)
1. ความทั่วไป
1.1 ความหมาย “ความรู้” ตามพจนานุกรมเวบมสเตอร์ (Webster’s New world Dictionary)
1) be sure of or well informed about.รู้เรื่อง แน่ใจเกี่ยวกับ
2) have perceived or learned.เรียนรู้
3) have securely in the memory.อยู่ในตู้เซฟแห่งควมทรงจํา
4) to be acquainted or familiar withคุ้นเคยกับ
5) to have understandiny of or skill in as a result of study or experience.เข้าใจ
6) to recognizeนึกขึ้นได้
7) to distinguihแยกแยะได้
1.2 ตามพจนานุกรมไทย
ศ.พิเศษ ดร. จิรโชค (บรรพต) วีระสยJIRACHOKE VIRASAYA ได้รับทุนรัฐบาลศึกษาจบ ปริญญาตรีทางสังคมวิทยา
วิทยานิพนธ์เกียรตินิยม B.A. HONORS THESIS IN SOCIOLOGY, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ นครเบอร์คลีย์UNIVERSITY OF
CALIFORNIA (BERKELEY) ; ปริญญาโทM.A. IN POLITICAL SCIENCE (UC, BERKELEY) ; ปริญญาเอกPh. D. UC. BERKELEY
; ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมระดับชาติของ U.S.A. ตั้งแต่ปี 1962 PI SIGMA ALPHA, National Political Science Honor
Society, U.S.A., 1962. กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง (2513-14) Founding Member,
Ramkhamhaeng University หัวหน้าภาคผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยา (Founding Chairman)
คณบดีผู้ก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (Founding Dean), Faculty of Political Science Ramkhamhaeng University,
Bangkok, 10240 Tel.02-310-8483-9 ต่อ 41, 36 อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, อดีตรอง ผอ.สถาบันส่วนภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษา,
Former Deputy Director, Regional Institute of Higher Education, (RIHED) Singapore.
รก.ผอ.โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, Acting Director ,Doctoral Program in Social Sciences, (10 สาขาวิชา) อาคาร
ท่าชัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 02-310-8566-7 ปรับปรุง 22/08/55
ประกอบการบรรยาย 31 สิงหาคม 2556 วิชาขอบเขต
สงวนลิขสิทธิ์ Revised 28/08/2556 PC
2
ประเด็นการเข้าสู่ “ความรู้” นั้น พึงตระหนักว่าเกี่ยวโยงกับการ “รู้” ตามคําอธิบายใน
พจนานุกรมบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่าหมายถึง “แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ” และยกหลาย
วลี เช่น 1) รู้กัน 2) รู้การรู้งาน 3) รู้กันอยู่ในที 4) รู้เขา รู้เรา 5) “รู้ความ” 6) “รู้คิด” “รู้อ่าน”
7) รู้คุณ 8) รู้ดีรู้ชั่ว9) รู้ตัวเอง 10) รู้ตื้นลึกหนาบาง 11) รู้เนื้อ รู้ตัว 12) รู้หนเหนือหนใต้ 13)
รู้เห็น 14) รู้เห็นเป็นใจ 15) รู้รส 16) รู้มาก เป็นต้น
1.3ศัพท์ที่ใช้ว่าเป็น “ความรู้” หมายถึง
1) สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์ รวมทั้ง
ความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ
2) ความเข้าใจหรือสารสนเทศ (information เพิ่มคําแปลภาษาอังกฤษ) ที่ได้รับมาจาก
ประสบการณ์
3) สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยินได้ฟัง การคิดหรือการปฎิบัติ
4) องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่นความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ
1.4 อารยธรรมกรีกยุคเอเธนส์รุ่งเรือง
ในช่วงต้นของอารยธรรมตะวันตกปราณ 2500 ปีมาแล้วมี กล่าวถึงว่าตั้งแต่เดิมไม่มี
ความรู้แบบเปิดเผยคือเป็นเรื่องที่มหาชนทั่วไปเข้าถึง คือรับทราบจนกระทั่งมีผู้พยายามที่
จะได้มาซึ่งความรู้และผลของความอยากรู้อยากเห็นและการเพียรพยายามนั้นกลับ
ถูกลงโทษโดยอํานาจเบื้องบน
คือปรากฎในตํานานกรีก (mythology) เรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงมนุษย์คนแรกที่มี
อุตสาหะวิริยะจนกระทั่งเข้าสู่ประตูแห่งความฉลาดคือรู้จักการก่อไฟให้เกิดแสงสว่าง ชื่อ
ซิซิฟุส (Sisiphus) และต้องเผชิญกับความลําบากจากการล่วงละเมิดอํานาจสรวงสวรรค์ซึ่ง
ผูกขาด การมีความรู้
1.5ตํานานหรือนิทานปรัมปราดังกล่าวต่อมาแพร่หลายมากจากข้อเขียนที่เดิมเป็นหนังสือภาษา
ฝรั่งเศสโดย นักประพันธ์ลือชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize) ชื่อ อัลแบร์ กามูส์
(Albert Camus)โดยมีชื่อเรื่องว่า ตํานานแห่งซิซิฟุส (“The Myth of Sisiphus”)
Albert Camus 1913-1960. Algerian-born French writer. (นักเขียนฝรั่งเศสผู้เกิดใน
อัลจีเรีย ซึ่งเคยอยู่ภายใต้ประเทศฝรั่งเศส.A journalist in France, he was
active in the Resistance during World War II. His novels, which owe much to
existentialism, include
3
1) L’Etrangerแปลเป็นภาอังกฤษคือThe Outsider(คนนอก) 1942
2)La Peste แปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อThe Plague(โรคระบาด) 1948 and
3) L’Homme revolteแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อThe Rebel (ผู้ทระนงหาญสู้)1952. He was
awarded the Nobel Prize for Literature 1957. ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
พ.ศ. 2500
1.6 จาก Wikipedia
ความรู้คือความสนิทสนมคุ้นเคยกับบางคนหรือบางสิ่ง รวมทั้งข้อเท็จจริง สารสนเทศ คํา
พรรณนา หรือทักษะ ซึ่งได้มาจากประสบการณ์หรือการศึกษา
2. ศัพท์ใกล้เคียง
2.1 ในทางพุทธศาสนาเน้นความรู้ที่เรียกว่า “พุทธปัญญา”
2.2การพัฒนาความรู้ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในทางทฤษฎี(theoretical knowledge) และในทาง
นําไปใช้คือวิทยาการประยุกต์(applied knowledge)
2.3ความรู้ ย่อมแตกต่างจาก
1)ทรรศนะ คือ ความเห็น (opinions)
2)ทัศนคติหรือ เจตคติ (attitude)
3) ความเชื่อ (beliefs) และ
4)ศรัทธา(faith)
2.4ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้มากในเรื่องนี้ โดยเฉพาะที่ทึกทักว่าเป็นความรู้ อาจเป็น
“อวิชชา” (ignorance)ก็ได้ และค่อนข้างบ่อย
อาจเรียกเบื้องต้นว่า ข้อมูลผิด (false data , misinformation)
2.5ว่าด้วยความรู้ในทรรศนะของนักปรัชญามีปรากฏใน
1) The Oxford Guide to Philosophy,edited by Ted Honderich. Oxford University
Press, 2055.
2) จากพจนานุกรม Collins
a) knowing that something is the case. อะไรเป็นอะไร
b) knowing some person or place.
c) knowing how to do something.
(G. Vesey and P.Foulkes. Collins dictionary of Philosophy. London: Collins,
4
1990, p. 163.)
3. การจัดหมวดหมู่
3.1สรรพวิทยาการมีการจัดหมวดหมู่ตามแนวองค์การว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และ
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(Unesco)องค์การสถาปนาขึ้นในปี 1946 หลังองค์การ
สหประชาชาติ 1 ปี
แบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ คือ 1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 2) สังคมศาสตร์และ 3)
มนุษยศาสตร์
3.2องค์การนี้มีนักวิชาการไทยเคยไปทํางานที่สํานักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส ตั้งแต่ช่วงเปิดใหม่ ๆ
ได้แก่ ม.ล.มานิจ ชุมสาย และนักวิชาการสตรีอีกผู้หนึ่ง คือ ดร.จิตเกษม สีบุญเรือง
3.3บรรดาความรู้ที่จัดเป็น ระบบ เรียกว่าวิทยาการ ซึ่งภาษาอังกฤษ คือ‚ discipline‛ ซึ่งอาจ
แปลว่า ความมีวินัย มักเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน คือเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary)
หรือพหุวิทยาการ (multidisciplinary)
3.4 ความเป็นวิทยาการแห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences)
เกี่ยวโยงกับ 11 เรื่องดังต่อไปนี้
1) observation การสังเกต– to notice or perceive something; to pay special attention
to.
2) description การพรรณนา
3) definition การให้คํานิยามระบุลักษณะที่สําคัญ
4) classfication การแบ่งหรือจําแนกประเภท
5) measurement การวัดโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ชั่งน้ําหนัก, ตวงว่ามากน้อยเพียงใด
6) experimentation การทดลอง
7) generalization การขยายแวดวงให้กว้างขวาง ให้ครอบคลุมถึงเรื่องอื่น
8) explanation การให้คําอธิบาย
9) prediction การทํานาย
10) valuation การประเมินผลดีหรือสภาพดี สภาพเสีย
11) control of the world การมีอํานาจเหนือโลกซึ่งแนววิทยาอื่นอาจมุ่งการอยู่ร่วมกับ
โลกคือธรรมชาติ
4. สรรพวิทยาการ
5
4.1สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในประมาณ242 ประเทศทั่วโลกในยุคร่วมสมัยประมาณ
25,000 แห่งซึ่งได้แก่OxfordUniversity(ออกเสียงAksferd) ในประเทศอังกฤษ
1)มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุด คือOxford อายุ 900 ปีเศษ (ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์จินตนาการ
Harry Potterใช้เป็นฉากแห่งโรงเรียน Hogwartในบางตอน)
2)มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับที่ 2ได้แก่Cambridge University อายุ800 ปีเศษซึ่ง Isaac
Newtonเคยเป็นทั้งนิสิตและอาจารย์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง(gravity)
4.2การจัดอันดับมหาวิทยาลัยมัก rank ให้มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด(Harvard)เป็นอันดับ 1 ใน
สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยHarvard เกิดก่อน การประกาศอิสรภาพ(The Declaration of
Independence) ในปี ค.ศ.1776
ฮาร์วาร์ดเริ่มเปิดการสอนตั้งแต่ ค.ศ. 1639 เกือบ 400 ปีมาแล้วในยุคที่ยังอยู่ภายใต้
อังกฤษในฐานะเป็นอาณานิคม
4.3รายชื่อรายวิชาหรือกระบวนวิชา (course) ของสถาบันระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีนับเป็น
พัน คือสูงสุดอาจถึง 5,000 รายวิชาต่าง ๆ กัน
1. ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งถือกําเนิดในปี พ.ศ. 2514 เมื่อเริ่มเปิดสอน2 สิงหาคม
2514 ประมาณเพียง 60 กระบวนวิชา
ในปี พ.ศ.2555-56 มีใน course catalog เกินกว่า 1,600 กระบวนวิชา
2. สถาบันเก่าแก่ เช่น มหิดล และจุฬาลงกรณ์ มีสาขาวิทยาการและกระบวนวิชาเป็น
จํานวนมาก
กรณีมหิดลมีตัวอย่าง คือ ในวิทยาลัยดุริยางคศาสตร์ และในวิทยาลัยศาสนศึกษา
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานชื่อธรรมสถาน ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภา
วิไล เป็นผู้อํานวยการมาแต่เริ่มต้นเป็นเวลาติดต่อกันถึงประมาณ 25 ปีปัจจุบันมีอายุ 87ปี
และดํารงตําแหน่งในสังกัดจุฬาลงกรณ์โดยเป็นศาสนาจารย์เป็นเสมือนเมธีคือปราชญ์ด้าน
ศาสนาและเปลี่ยนจากตําแหน่งฝ่ายบริหาร
4.4การเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในสังคมมีตัวอย่างในศัพท์ต่างๆ ดังนี้ เช่น
1) Learning society สังคมที่มีการเรียนรู้อยู่เสมอ
2) Learning organizationองค์การที่มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ทั้งเป็นไปเพื่อ “a culture of inprovement and enhancement.”
6
(Collins Internet Linked Dictionary of Sociology.Edited by David Jary and Julia Jary.
Harper and Collins, 2005, p. 343)
5. ความรู้กับประสาทสัมผัส
5.1การเข้าถึงความรู้นั้นย่อมอาศัยประสาทสัมผัส(senses)5 อย่างคือ เห็นด้วยตา ฟังด้วยหู
เป็นต้น
5.2ส่วนความรู้นอกเหนือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่าสัมผัสที่ 6(sixth sense)ซึ่งมี
ภาพยนตร์ชื่อเรื่องนี้ (Sixth Sense) ด้วยแสดงนําโดย Bruce Willis
แนวคิด “ความรู้คู่ประสาทสัมผัส”ได้มีอิทธิพลครอบงําอยู่เป็นระยะเวลานาน เป็น
แนวคิดเชิงประจักษ์วาท(empiricism)ซึ่งพจนานุกรมเวบสเตอร์ (Webster’s New World
Dictionary3
rd
ed.)ได้ระบุว่าเป็นทฤษฎีที่ว่าประสบการณ์จากประสาทสัมผัสเป็นแหล่งที่มา
แห่งความรู้แหล่งเดียวเท่านั้น (the theory that sense experience is the only source of
knowledge).
5.3แนวประจักษ์วาทคือวาความรู้ได้มาจากอย่างน้อย 2 วิธีการ ได้แก่
1) จากการสังเกต(observation)ของบุคคลซึ่งย่อมหมายถึงการวัดด้วยเครื่องมือหรือ
มาตรต่าง ๆ
2) จากการทดลอง (experiment)
5.4นักคิดชาว ฝรั่งเศสระดับกูรู(Guru)ชื่อ ออกุสต์ ก๊องต์ (August Comte)ซึ่งมีชื่อเสียง ต่อมา
ในฐานะที่ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาผู้ก่อกําเนิดสังคมวิทยา”ได้ก้าวไปเกินกว่านั้น
ค๊อง หรือ ก๊อง (แล้วแต่จะออกเสียง) ได้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า“ปฏิฐานนิยม”
(Positivism)โดยเห็นข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่ สังเกต ได้หรือรับทราบได้จาก ประสาท
สัมผัส และปฏิเสธการคาดเดา(speculate)
5.5การเรียนรู้ตามครรลองหรือในวงกรอบหรือแนวทางแห่ง ปฏิฐานนิยมมีบทบาทมากทั้ง
ในทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ทางสังคม
ได้รับอิทธิพลมาจากนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ประมาณ 3
ศตวรรษมาแล้วชื่อไอแซค นิวตัน (IsaacNewton,1642-1726)
5.6ไอแซค นิวตันมีอิทธิพลต่อการยึดแนวคิดแบบแยกส่วน หรือลดทอน (reductionism)ซึ่งเป็น
ความคิดแม่บทหรือกระบวนทัศน์ (paradigm)ที่ยึดถือกันมายาวนาน
ต่อมาที่ได้รับการท้าท้ายอย่างชัดแจ้งจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) อันเป็น
7
ผลงานของแอลเบิร์ต ไอสไตน์(Albert Einstein, 1879-1955)
6. ความรู้พื้นฐาน
6.1 ศัพท์ปรัชญาที่ใช้ในภาษาไทย มักยึดแนวความหมายแห่งศัพท์ Philosophy ซึ่งมีรากศัพท์
มาจากภาษากรีกPhilosฟิล-ลอส ซึ่งแปลว่า ความรัก หรือ เพื่อน กับ sophos—โซ-ฟอส ซึ่ง
แปลว่า ความฉลาด ศัพท์ Philosophyจึงเท่ากับการรักหรือการเป็นสหายกับความฉลาด
รอบรู้
(G. Vesey and P. Foulkes.Collins Dictionary of Philosophy. London : Collins, 1990.)
6.2 ปรัชญาเป็นแขนงวิทยาการ (discipline) ที่แสวงหาความจริงW.T.Jonesเขียนไว้ว่า เป็นการ
แสวงหาเป็นนิรันดร การแสวงหาซึ่งย่อมไม่ประสบผลสําเร็จ (Philosophy is the eternal
search fortruth, a search which inevitably fails and yet not defeated)
6.3เจมส์ คริสเตียน ระบุว่า ปรัชญา เป็น “ศิลปะแห่งวิสัยทึ่ง”หรือ “ศิลปแห่งการมีความ
พิศวง” (art of wondering) ซึ่งเกี่ยวกับ การอยากรู้ (curiosity)
(James L. Christian. Philosophy, Rinehart Press, 1973.)
1) วิสัยทึ่ง เป็นหนึ่งในหลายวลี คิดขึ้นโดย จิรโชค วีระสย โดยให้สืบต่อจาก
2)‚วิสัยทัศน์‛
3)“วิสัยทา” (ลงมือปฏิบัติการ)
4) “วิสัยทน” (ขันติ อดทน)
5) “วิสัยทาง” (หลายทางเลือก)
6) “วิสัยแท้”(คุณธรรม จิตวิญญาณ) และ
7) “วิสัยทัน” (ไม่ล่าช้า, ทันเวลา, ทันเหตุการณ์)
6.4 เนื้อหาสาระของปรัชญามีขอบข่ายกว้างขวางเพราะสืบสานมรดกทางปัญญา แบบรวม ๆ
กัน
มีการแบ่งศาสตร์ออกเป็น 1)“ศาสตร์อ่อน”หรือศาสตร์ประณีต (softsciences)อัน
ได้แก่ มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์, และศิลปะ (fine arts) และ 2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
หรือ“ศาสตร์แข็ง” (hard sciences)อันได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST)
7.ทรรศนะอื่น ๆ ว่าด้วยปรัชญา
7.1นักปรัชญาช่วงกลางศตวรรษที่20 ชื่อ วิลล์ ดิวรั้น(Will Durant)กล่าวว่าปรัชญาเริ่มต้นเมื่อ
เรียนรู้ที่จะตั้งข้อสงสัยโดยเฉพาะกังขาความเชื่อที่เคยชื่นชม (Philosophy begins when one
8
learns to doubtparticularly to doubt one s cherished beliefs one s dogmas and one s
axioms.)
(Christian, p.120.)
7.2Mel Thompsonในหนังสือ Philosophy. Chicago:NTC Publishing Group,1995. กล่าวว่า
Thephilosophy of science(ปรัชญาแห่งศาสตร์) ตรวจสอบวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้โดย
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิธีการต่าง ๆ ซึ่งสมมติฐานและกฎหมายต่าง ๆ ถูกกําหนดจาก
หลักฐานต่าง ๆ (examines the methodsused by science, the ways in which hypotheses
and laws are formulated from evidence, and thegrounds on which scientific claims about
the world may be justified.)
1)ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามของกันและกัน (Philosophy and
science are not in principleopposed to one another but are in many ways parallel
operations, for both seek to understandthe nature of the world and its structures.)
2)ปรัชญามักพยายามเกี่ยวข้องกับกระบวนการ คือ ขั้นตอนกําหนดหลักการต่างๆ
(Whereas the individual sciences do so by gathering data from within their
particular spheres andformulating general theories for understanding them,
philosophy tends to concern itself withthe process of formulating principles and
establishing how they relate together into an overall view.)
7.3อ้างอิงเพิ่มเติม
1) Eliot Deutsch and Ron Bontekoe, ed. A Companion to World Philosophers.
Blackwell, 1999.หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในประมาณ 600
หน้า
เฉพาะบทที่1 เกี่ยวโยงกับปรัชญานานาอารยธรรมคือ
1) Chinese
2) Indian
3) African
4) Buddhist
5) Islamic
2) Brooke N. Moore and Kenneth Bruder. Philosophy: The Power of Ideas. 5th
ed.
Boston: Mc Graw-Hill, 2002. มีสาระสําคัญ เช่น การขยายขอบข่ายแห่งความหมาย
9
ปรัชญาให้เป็นเรื่องที่คนสนใจได้ระดับโลกในหัวข้อ Philosophy: A Worldwide
Search for Wisdom and Understandingและกล่าวถึงผลงานสตรีในปรัชญาเช่น Mary
E. Waithe.A History of Women Philosophery.
3) S.E.Frost, Jr. Basic Teachings of the Great Philosophers. New York: Donbleday,
1962.
8. เกี่ยวโยงกับญาณวิทยา หรือทฤษฎีแห่งการเรียนรู้
8.1ปรัชญาแห่งศาสตร์ เกี่ยวโยงกับ“ญาณวิทยา”(Epistemology)เอป-ปิส-เต็ม-มอล-โล-ยีซึ่ง
ตามหนังสือบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน(Royal Institute) ระบุว่า หมายถึง
“ปรัชญาที่เข้าถึงที่ว่าด้วยบ่อเกิดลักษณะหน้าที่ ประเภท ระเบียบ วิธี และความ
สมเหตุสมผล” (rationalจิรโชค แปล)บางทีใช้คําว่า “theory of knowledge”ทฤษฎีแห่ง
ความรู้
8.2การศึกษา “แนวการศึกษา”หรือ “วิธีการศึกษา” (approach)มีต่าง ๆ เช่น เชิงประวัติศาสตร์
เชิงภูมิศาสตร์ เชิงนิเวศวิทยา เชิงสังคมวิทยา เชิงจิตวิทยา เชิงเศรษฐศาสตร์ เชิง
ศึกษาศาสตร์ เชิงบริหารธุรกิจ เชิงรัฐศาสตร์ เชิงนิติศาสตร์ ที่แพร่หลาย และเป็นที่คุ้นเคย
ในยุคร่วมสมัยและรวมทั้งแนวศาสนาต่าง ๆ
9. ปรัชญากับปรัชญาแห่งวิทยาศาสตร์
9.1ว่าด้วย “ศาสตร์”หรือวิทยาการ (science) ต่างๆ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะวิทยาศาสตร์) คือ
1) วิธีการและความรู้ที่เป็นระบบ
2) เป็นเหตุเป็นผลหรือสมเหตุสมผล
3) เป็นวัตถุวิสัย หรือสภาวะวิสัย (objective)
9.2เพื่อที่เข้าถึงซึ่งความรู้ อันอยู่ในขอบข่ายของวิชาการชื่อ ญาณวิทยา (epistemology) ซึ่งเป็น
สาขาหนึ่งของวิชา “ปรัชญาทั่วไป”
10. ปรัชญาทั่วไป ประกอบด้วย 3 สาขาหลัก คือ
10.1อภิปรัชญา (เม็ตตาฟิสิกส์ —metaphysics) or หรือ ออน-ตอล-โลยี่ ontology เกี่ยวกับ
appearance and reality ภาพที่ปรากฏและความเป็นจริง, existence of God การสถิติอยู่
ขององค์พระผู้เป็นเจ้า, soul, angels, whether abstract objects have an existence
independent of human thinking
(Earle, p.16.)
10
10.2 ญาณวิทยา (Epistemology)
10.3 คุณวิทยา (axiologyแอกซิออลโลยี่) ซึ่งว่าด้วยเกณฑ์
ก. ทาง“จริยธรรม”และเกณฑ์
ข. แห่ง“ความงาม”และ
ค. “ความไพเราะ” (สุนทรียะ)
11. “Epistemology” (ญาณวิทยา) หรือทฤษฎีแห่งความรู้
11.1 ญาณวิทยา (บางครั้งเรียกว่าทฤษฎีแห่งความรู้) มีการกําหนดนิยามด้วยวิธีการตั้งคําถาม
สําคัญ
1)อะไรคือความรู้
2)การหาความรู้ (เพิ่มเติม) ด้วยวิธีการอย่างไร
รวมทั้งนฤมิตกรรมทางปัญญา (creativity)
11.2 มีการวิเคราะห์มโนทัศน์(concepts)ต่างๆ เช่น
1) belief(ความเชื่อ)
2)truth(ความเป็นจริง) and
3)justification(การหาทางยืนยันว่าถูกต้อง)
a. How can I be sure that my beliefs are true? I know that people sometimes believe
things without good reasons, without real evidence. What, then, should count as
good reasons, orreal evidence, for various kinds of beliefs?
b. How do I know I have good reasons, or evidence, for my beliefs?
(Cf. William J.Earle. Introduction to Philosophy. McGraw-Hill, 1992,p.15.)
12.พจนานุกรม Oxford Dictionary of Sociology (John Scott & Gordon Marshall. Oxford
Dictionaryof Sociology. New York: Oxford, 2005. p.145) อธิบายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้
โดยทั่วไปมี 2 สํานักคิดใหญ่ ๆ ได้แก่
1) สํานักเชิงตรรกะหรือเชิงสมเหตุสมผล (rationalism) และ
2) สํานักประจักษวาท (empiricism)
12.1ทั้งสองแนวคิดเกิดขึ้นในช่วงแห่งการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โดยที่
ต่างสนใจที่จะหารากฐานที่มั่นคงแห่งความรู้ โดยให้แยกแยะออกจากสิ่งที่เรียกว่า
1)อคติ
11
2) ความเชื่อ หรือ
3)ความเห็น
ก.แนวเหตุผลนิยม (rationalism) มีผลงานที่สําคัญ คือ ของ ReneDescartes(เรอเน่ เด-
การ์ต) ซึ่งใช้ตรรกะ (logic) และคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ เดคาร์ตส์ ถือว่าความรู้ทั้งหลาย
เกิดขึ้นจากกฎที่ไม่มีการเถียงได้(axioms)และเขาได้กล่าวว่าที่มนุษย์เราเป็นอะไรได้
นั้นขึ้นอยู่กับความคิด
ดังประโยคที่ว่า“I think,therefore I am”
ข.แนวประจักษวาท ซึ่งผลงานที่สําคัญ ได้แก่โดย John Lockeผู้ถือว่าประสบการณ์จาก
ประสาทสัมผัส (sense-experience)เป็นรากฐานแห่งความรู้ที่ไม่มีทางผิดพลาด นัก
คิดแนวประจักษวาทถือว่าเมื่อมีความรู้ที่มาก่อนจิตมนุษย์ (human mind) เพราะว่า
เมื่อเกิดมานั้นมีลักษณะที่เป็นกระดาษเปล่า (tabula rasa - - blank sheet of paper)
12.2 ข้อถกเถียงระหว่าง 2 แนว ไม่มีที่สิ้นสุดและได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่าแนวหลังคตินิยม
โครงสร้าง(posts-tructuralists)ซึ่งเน้นความสําคัญของภาษาโดยนักคิดหลังคตินิยม
โครงสร้าง(post-structuralists)หลีกหนีจากทั้ง 2 ทฤษฎีแห่งความรู้โดยเน้นว่าไม่มี
ทางเข้าถึง ความเป็นจริง หรือความแท้ (reality) โดยตรงหรือโดยไม่ผ่าน สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(unmediatedaccess)
ดังนั้น จึงเสนอว่าการเข้าถึงความรู้โดย การเรียงลําดับการแสดงออกทางภาษา
(conceptual orlinguistic ordering) กล่าวคือ มนุษย์ไม่สามารถเดินออกไปข้างนอกภาษา
หรือออกนอก “ถ้อยความคิด” (ศัพท์ของผู้เขียน จิรโชค วีระสย) หรือที่บางท่านแปลว่า
วาทกรรม (discourse)ที่จะตรวจสอบว่าถ้อยความคิดหรือวาทกรรมดังกล่าวสอดคลอง
กับความเป็นจริงหรือไม่
ทรรศนะเช่นว่านี้เรียกว่าทฤษฎีแห่งความรู้แนวคลาสสิค กล่าวคือเท่ากับปฏิเสธ
การที่รู้อะไรนอกเหนือจากวาทกรรม
12.3 วาทกรรมเป็นการใช้ภาษา นอกเหนือจากการศึกษารูปของประโยคหรือการพูด แต่โยง
ถึงบริบท (context) ที่เกี่ยวของกับความสัมพันธ์ทางสังคมหรือตัวองค์รวม คือ สังคม
ระดับชาติ ดังนั้นจึงถือว่าการวิเคราะห์วาทกรรม ครอบคลุมเรื่องของการพูด และ
ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาเอกสาร หรือบันทึกไว้จึงโยงเกี่ยวกับ
นานาศาสตร์ ทั้งจิตวิทยา สังคมวิทยาและอื่น ๆ
12
13.มรรคาแห่งความรู้ (Path of Knowledge)
13.1มนุษย์มีทายะสมบัติ คือมรดกทางชีววิทยา (heredity) ที่ปรากฏชัดเช่น 1สมอง2 มือ 2 ตา2
หู 1 ปากและสองเท้าที่ก้าวไกล
13.2 สมอง มี 2 ส่วน คือ ซ้ายและขวา
1)ซีกซ้ายเป็นเรื่องของการจดจํา เป็นเรื่องของสิ่งที่ทําซ้ํา ๆกันเป็นปกติวิสัย
2)สมอง ซีกขวา เป็นการคิดสิงใหม่ ๆ (inventive) นวัตกรรม (innovation) มักโยง
เกี่ยวกับอารมณ์หรือ ความรู้สึก (affective) ดังที่ช่วงท้ายแห่งศตวรรษที่ 20 เรียกว่า
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ - - Emotion Quotient)
มันสมองทั้งสองซีกสําคัญรวมกันเพราะซีกซ้ายช่วยให้มีการสะสมมรดกแห่งการ
เรียนรู้ สมองซีกขวาพัฒนาตอไปซึ่งเกิด ทางเลือกต่างๆ (alternatives) เช่น กรณีของ Bill
Gatesและผู้คนพบสิ่งใหม่ๆ นานาสาขาวิทยาการ รวมทั้งบรรดาผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ
เช่น รางวัลโนเบล NobelPrizeและอื่นๆ
13.3ทางของความรู้ คือ ประสาทสัมผัส (senses) ต่างๆ โดยเฉพาะจากนัยตา เช่น จากการอ่าน
และจากหู จากการฟัง
การแสวงหาความรู้ถือว่าเป็นภาระกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์และในทาง
พุทธศาสนา ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ลักษณะที่สําคัญ คือการมี 1) ศีล 2) สมาธิ 3) ปัญญา
(wisdom) และใน หลักธรรม ที่มีองค์ 8 (มรรค 8) ระบุว่าการมีความเห็นหรือความคิดที่
ถูกต้องสําคัญ อย่างยิ่งซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
13.4ปราชญ์กรีกเมื่อ 2400 ปี เศษมาแล้ว คือ Socrates (ซอคระติส,โสกราติส อาจแปลงเป็น
ไทยว่าศักรดิษฐ์) ถือว่าความรู้ กับความถูกต้อง(rightness) หรือคุณธรรม (virtues) เป็น
สิ่งเดียวกัน (Virtue is knowledge)
1) ความรู้เป็น เป้าหมาย(goal) และพึงเข้าใจว่าความรู้ที่แท้จริงเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะบรรลุ
ได้ไม่ว่าในทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์หรือในเรื่องศาสนา
2) ตัวอย่างคือ ความรู้เกี่ยวกับ กําเนิด ของมนุษย์ (human origins) ตั้งแต่บรรพกาลหรือ
เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ทําให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บกล่าวคือมี วิวัฒนาการ (evolution) และมี
ทฤษฎีหรือ สมมุติฐานที่แตกต่างกันและอาจผิดพลาด คือรู้พลั้งได้
14.การแสวงหาความรู้ (search of knowledge )
14.1เปรียบเสมือนกับ การเดินทาง (journey) ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดในประเทศที่เจริญแล้วหรือใน
13
อารยธรรมที่สําคัญร่วมมีการค้นแสวงหา (search) และค้นคว้าเพิ่มใหม่ๆ ซ้ําแล้วซ้ําอีก
(re-search)
โดยการมีการกระทําสืบเนื่องต่อจากบิดามายังบุตร หรือจากอาจารย์ รุ่นต่างๆ กัน
ดังปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ (scientific discoveries)
14.2หากพิจารณาในเชิงสังคมศาสตร์การเรียนรู้เกิดจากการได้รับการบ่มเพาะ (socialized)
จากรอบตัวบุคคล ตั้งแต่เด็กทารกจนเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งใช้อักษร 7 ตัว เพื่อจําง่าย คือ
1) บ (บ้าน)
2)ว (วัด)
3)ว (เวิ้งหรือละแวกที่อาศัย)
4) ว (แวดวง) กลุ่มเดียวกัน เป็นผู้อยู่ในอาชีพเดียวกัน หรือในความสนใจ เช่น ฟุตบอล
อย่างเดียวกัน และ
5)ร (โรงเรียน)หรือสถาบันการเรียนรู้
6) ร(ระบบ) คือระบบสังคมและระบบของสถานที่ซึ่งที่ตนเองทํางาน
โดยถือว่าวัดหมายถึงศาสนธรรมหรือศาสนสถานต่างๆไม่ว่าทางศาสนาใด
พิจารณาในการค้นคว้าที่ลึกซึ้งมีวิธีการต่างๆนอกเหนือจากมโนกรรม คือ คิดคํานึง
และมีการเพิ่มพูนจากนานาประสบการณ์
7) ร (ราชการ)
15. การอธิบายหลักธรรมในพุทธศาสนา
15.1วิธีการมี 2 แนว ได้แก่
1) ธรรมาธิษฐาน คือ การอธิบายหรือสอนโดย ทางทฤษฎี โดยคําพูดที่เป็นใช้นามธรรม
(abstract) เช่น สอนว่าทําดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว จงอย่าทําบาป
ธรรมาธิษฐานเป็นการอธิบายหลัก การมิได้มีการปรุงแต่งให้ดูสนุกสนานหรือ
เห็นจริงเห็นจังอย่างเช่นในวิธีการปุคคลาธิษฐาน
2) อธิบายแบบปุคคลาธิษฐาน คือ การอธิบายหรือสอนโดยยกตัวอย่างบุคคลหรือเป็น
รูปธรรมซึ่งอาจเกินความเป็นจริงก็ได้
15.2ตัวอย่างคือ การยกชาดก มาเพื่อช่วยเสริมคําอธิบาย ชาดกเป็นเพียงอุทาหรณ์มิใช่เรื่องจริง
ที่เกิดขึ้นเสมอไปปุคคลาธิษฐาน เป็นการอธิบายให้เห็นภาพแห่งผลของการทําดีและทํา
ชั่ว การได้ไปสวรรค์และนรก วิธีการนี้เหมาะสําหรับคนทั่วไป คือ ชนประเภทบัวปริ่ม
14
น้ําหรือเวไนยนิกร (ผู้สามารถได้รับการสอนได้ คือเรียนได้ คือ เรียนได้) ธรรมดา ๆ
15.3 ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม เริ่มต้นที่ศัพท์ “เทศนา2”(
การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ - preaching; exposition)
1)ปุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง
, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย - exposition in terms of persons)
2)ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลัก
หรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง - exposition in terms of ideas)
เทศนา 2 นี้ สรุปมาจากเทศนา 4 ในคัมภีร์ที่อ้างไว้
(พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
(Dictionary of Buddhism).มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538.)
16.กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process)
16.1กระบวนการเชิงลําดับขั้นอาจพิจารณาได้ตามสํานวนของผู้เขียน(จิรโชค วีระสย) ดังนี้
1) รู้จํา (Commit to memory) การมีความจําที่แม่นยําและถูกตรงนานพอสมควรย่อม
ประหยัดเวลาในการรับข้อความหรือความรู้ใหม่อยู่เสมอ มิฉะนั้นจะต้องมีการ “เรียน
ใหม่” (relearning) กล่าวกันว่า ซีกสมอง (hemisphere) ที่บันทึกความจํา คือ ด้านซ้าย
2) รู้จด (Jot down) เป็นการช่วยความทรงจํา เช่น โดยชวเลขเขียนหรือบันทึกลงใน
Computer
3) รู้จับจุด (ประเด็นหลัก, key, theme, key is) มีคํากล่าวเกี่ยวกับ ‚น้ําท่วมทุ่ง‛ หรือ “การ
ขี่ม้ารอบค่าย” (beat around the bush)
4) รู้เจาะจง (specific) รู้เฉพาะเรื่อง เช้น แพทย์เฉพาะทาง
5) รู้แจกแจง (วิเคราะห์),analysis รู้การแยกแยะ
6) รู้เจนจัด (experienced) คือ มีความคล่องแคล่วเพราะผ่านการฝึกฝนทดสอบภาคปฏิบัติ
มาเป็นเวลาช้านานไม่ใช่ประเภท NATO--NO Action Talk Only แปลตรงตัว คือบ่งชี้
ความเป็นผู้เก่งแต่พูด ไม่เอาไหนทางการใช้ประโยชน์
16.2ลําดับแรกคือรู้จากย่อมสําคัญกว่าอย่างอื่น เพราะหากต้องเรียนใหม่ทุกครั้งย่อมไม่
สามารถทําให้อยู่รอดได้
ความจําได้มากบ้างน้อยบ้างย่อมช่วยให้ดํารงชีพอยู่ได้ ทั้งนี้มีการค้นพบว่การได้รับ
สารอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมตอนเป็นทารกและถึงช่วงอายุ 6 ขวบสําคัญที่สุด เช่นการ
15
ได้รับ sea salt (เกลือทะเล)
17.วงกรอบแห่งการแสวงหาความรู้ (in search of knowledge)
17.1 นานาวิชาการ
1) วิชาการ(Academic)มักถือว่าเป็นเรื่องประเภทมุ่งประโยชน์ทางวิทยาการเท่านั้น
(Knowledge for knowledge’s sake)
2) วิชาชีพ (Occupational, professional skills)ระดับมีมาตรฐาน คือมีสมาคมวิชาชีพ เช่น
แพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทนายความ ผู้รับเหมา
3) วิชาชื่นชอบ (Personal interest) ไม่ได้เรียนฝึกฝนโดยตรงอย่างเป็นทางการ แต่สนใจ ใส่
ใจ ฝึกฝนและนําไปใช้เอง ปกติเป็นศิลปะ ด้านต่าง ๆ รวมทั้งการกีฬาการนันทนาการ
(recreation) สําหรับ Maslow อยู่ในแรงจูงใจลําดับสูงกว่าขั้นที่ 5 คือ เข้าสู่ความเป็น
สุนทรียะ (aesthetics)
4) วิชาเชิงชีวิต(Art of living)
a) IQ แต่มีความฉลาดทางอารมณ์ EQ(Emotional Quotient) หมายถึงการีความเห็นใจ
ผู้อื่น (empathy)
b) AQ (Adversity Quotient ) ลักษณะจิตที่ทรหด อดทน เผชิญกับอุปสรรค
5) วิชาช่วยชุมชนคํานึงถึงประชาคมที่ใกล้เคียงและไกลด้วย
กรณีบริษัท ซึ่งเดิมเน้นกําไร เริ่มเปลี่ยนสู่การทําหน้าที่ต่อส่วนรวมที่เรียกว่า
“ความรับผิดทางบรรษัทต่อสังคม”Corporate Social Responsibility (CSR)และ“ลัทธิ
นายทุนที่มีเมตตาธรรม”(Compassionate Capitalism)
17.2การมองรอบด้านและสู่อนาคต
ก.พึงตระหนักว่า การมองรอบๆ คือการคํานึงถึง บริบท (context)คือ นานาสภาพแวดล้อม
เป็นการพิจารณาสภาพการณ์ที่เป็นอยู่และคาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ข.การมองไปข้างหน้านั้นพึงคิดถึงทั้งระยะทาง (เทศะ) และกาละเวลา ระยะทาง คือ
คํานึงถึงlocal, regional, nationalและ globalสําหรับระยะเวลา (temporal frame)อยู่
ได้แก่
1) วิ -ไกล (วิสัยทัศน์ -ระยะไกล,long-range) ซึ่งในยุคร่วมสมัยอาจแม้เพียง 7-8 ปี
2) วิ -กลาง (middle - range) เช่น 3-4 ปี
3) วิ -ใกล้ (proximate-near) อาจเป็นช่วงเวลา 2 ปี หรือน้อยกว่านั้น
16
18. มโนทัศน์ “สหวิทยาการ” (Interdisciplinary)
18.1หมายถึงชุมทาง(junction) แหล่งรวมจุดหรือเครือข่าย (network)เกี่ยวโยงของนานา
สาขาวิชาวิทยาการ (discipline)ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดย่อมเป็น “องค์แห่งความรู้”(body
of knowledge) คือ
1) การผนวกผนึกรวมกันของความรู้อย่างหนึ่งและ
2) สัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ
การเมืองการปกครองเกี่ยวโยงกับเรื่องต่าง ๆ เช่น
1)บุคลิกภาพ (personality)
2)อารมณ์
3)อุปนิสัยของคน (character)
4)ศรัทธา (faith)
ตัวอย่าง คือการเปลี่ยนแปลง อุปนิสัยของประธานาธิบดีGeorge Bush,Jr.ซึ่ง
เดิมค่อนข้างเกเรกลายมาเป็นคนดี(อ้างอิงหน้าปกพาดหัวของวารสารNewsweek,
March 10, 2003.ว่า Bush &God How Faith Changed His Life and Shapes His
Destiny.
5)การนันทนาการ
6)การประกอบอาชีพ
7) ภาษา
8) สุนทรียภาพ (aesthetics) ฯลฯ
18.2นันทนาการ (Recreation)หรือสื่อบันเทิง กับการเมือง ปรากฏในความสนใจของบุคคล
เช่น
1)สุเทพ วงศ์กําแหง และนักแสดงอื่นๆ ยุคร่วมสมัยทั้งในไทยและต่างประเทศ
2) เอสตราด้าEstradaอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เป็นดาราภาพยนตร์มาก่อน
3) Arnold Schwarzeneggerซึ่งโด่งดังจากภาพยนตร์หลายเรื่องรวมทั้ง “คนเหล็ก”(The
Terminator)ในการเข้าสู่วงการเมืองผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการ(Governor) รัฐ
แคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2547 (ต่อมามีข่าวเรื่องครอบครัว 2554)เป็นผู้ว่าการรัฐ
แคลิฟอร์เนียภายหลังJerry Brown ซึ่งผุ้เขียน (จิรโชค วีระสย) คุ้นเคยตั้งแต่การเรียน
ระดับปีต้นๆ ของปริญญาตรี (undergraduate) ณ University of California, Burkeley;
17
ได้เป็น 2 สมัยติดต่อกัน และคั่นโดยผู้ว่าการรัฐอีกคนหนึ่ง เมื่อ Arnold หมดวาระ
Jerry Brown ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ จนกระทั่งปัจจุบัน (2013)
18.3ไม่ว่าสาขาใดย่อมเกี่ยวโยงมากบางน้อยบางกับสาขาต่างๆ เช่น
1)จิตวิทยา ว่าด้วย1)ระบบประสาท 2)ความเครียด(stress) 3)ว่าด้วยความจํา4)การเรียนรู้
ช้าหรือเร็ว 5)บุคลิกภาพ ฯลฯ เกี่ยวโยงกับ IQ , EQ , AQ , (Adversity Quotient)
2)จิตวิเคราะห์ศาสตร์ (psychoanalysisได้แก่ทฤษฎีของ Sigmund Freud(ซิกมันด์
ฟรอยด์), Carl Jung (คาร์ล ยุง J ออกเสียงเป็น ย) และ Adler แอ็ดเลอร์)
3)จิตวิทยาสังคม (social psychology)
4) ปรจิตวิทยา (Parapsychology)ซึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์แปลกพิเศษนอกเหตุเหนือผล
(ESP-Extra Sensory Perception) เช่นเรื่องพลังจิตของ1)รัสปูติน
(Rusputin)2) ความสามารถในการทํานายล่วงหน้า เช่น เคซี Casey ชาวอเมริกัน 3)
Nostradamusชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตเมื่อ 500 ปีมาแล้วเขาเกิดวันที่14 ธันวาคม ค.ศ.
1503 โดยร่วมสมัยกับมาร์ติน ลูเธอร์, (MartinLuther, 1483-1546)นักปฏิรูปศาสนา
คริสต์
(เจริญวรรธนะสิน.นอสตราดามุสพิมพ์ครั้งที่ 17, กันยายน 2544)
เจริญ วรรธนะสิน เป็นกรรมการร่วมกับวิลาส มณีวัต และผู้เขียน(จิรโชค วี
ระสย) รวมทั้งอื่นๆในการตัดสินการคัดเลือกคําขวัญ ม.ร.ซึ่งได้คําขวัญจากการเข้า
ประกวดทั่วประเทศประมาณ 20,000 คําขวัญและได้ตัดสินให้ใช้แปลวเทียนให้แสง
รามคําแหงให้ทาง
18.4หนังสือโดยเจริญ วรรธนะสินนักแบดมินตันผู้โด่งดัง พิมพ์เพิ่มเติมภายหลังเหตุการณ์
วินาศกรรมอาคารแฝดWorld Trade Centerแห่งมหานครนิวยอร์ค ในวันที่ 11
กันยายน 2544(911-nine one one)และมีการอ้างถึงความเป็นไปตามคําทํานายของนอ
สตราดามุสในโคลงบทที่ ซ.1 ค.87 ดังนี้
“ความสั่นสะเทือนจาก เปลวเพลิงที่พวยพุ่งมาจากกลางใจโลก จะทําให้หอสูงใน
เมืองใหม่สั่นคลอน ภูผาหินใหญ่ทั้งสองที่ยันกันอยู่ช้านาน แล้วอา ธูสจะทําให้แม่น้ํา
ใหม่กลายเป็นสีแดง “มุ่งอธิบายว่า ภูผาทั้งสองหมายถึงอาคารแฝด และสีแดง คือ การ
บาดเจ็บเสียชีวิต
18.5ศาสตร์แห่งสังคมวิทยา
18
ก. สังคมวิทยา (Sociology) สนใจ เรื่องราวแห่ง
1) ภาวะปกติ (order)
2)อปกติ (disorder) และ
3)การเปลี่ยนแปลง(change) ซึ่งเกี่ยวโยงกับ ค้นพบการแพร่กระจาย, การคิดค้น
ประดิษฐ์
ข. ตัวแปร ในการศึกษาเรื่องต่างๆ มักอยู่ในกรอบแห่งเพศ วิถี(gender) ผิวพรรณ อายุ
สถานภาพครอบครัว
อิทธิพลทางสังคมวิทยาอาจกล่าวว่าเกี่ยวกับ(บ ว ว ว ร ร ล)
1) บ (บ้าน)
2)ว (วัด ศาสนสถาน)
3) ว(เวิ้ง ชุมชน)
4) ว--แวดวง เช่น อาชีพ หรืองานอดิเรก คล้ายกัน
5) ร (โรงเรียน)
6) ร ระบบ เช่น บริษัทหรือหน่วยงานใด และโดยเฉพาะ ระบบราชการ
7) ล (โลกาภิวัตน์)
19.การคิดลึกและรอบคอบ (Non - linear thinking) คิดหรือทําพร้อมๆกัน หลายๆเรื่อง เช่น
ร่างกายของคนเรานั้น สามารถทําได้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆกัน
ความสามารถในการคิดลึกซึ้ง ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตนเองแต่ต้องอาศัยผู้อื่นด้วย
ตัวอย่างได้แก่
19.1 ไอ-แสค นิวตัน Isaac Newton (1642-1727) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบเกี่ยวกับ
กฎเกณฑ์
ต่างๆ ซึ่งเป็นกฎตายตัว เช่น แรงโน้มถ่วง (gravity) ของโลก และเรื่องแรง(force)
19.2อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein,1879-1955) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน อพยพมาอยู่
สหรัฐอเมริกาโดยเป็นอาจารย์ที่มหาลัยปริ้นตัน(Princeton University)และมีผลงานที่
โดงดัง โดยเฉพาะทฤษฎีสัมพัทธภาพ(Relativity)
19.3ทอมัส คูห์น (Thomas Kuhn, 1922-1996) ศาสตราจารย์ชาวอเมริกันผู้เคยสอนอยู่ ณ
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ นครเบิร์คลีย์University of California, Berkeley ช่วงที่
ผู้เขียน(จิรโชค วีระสย) เรียนอยู่ระดับตรี โท และเอก, B.A. (A.B), M.A. (A.M) and
19
Ph.D.
คูห์นริเริ่มกล่าวถึง กระบวนทัศน์หรือมุมมองหลักแห่งชุมชนวิชาการที่พลิกผัน
(Paradigm shift) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร
1)ศาสตร์ปกติ (normal science or non-revolutionary science) เป็นการเรียนเรื่องเก่าๆ
เรียนแบบซ้ํา ๆ
2)ศาสตร์ปฏิวัติ(revolutionary)เป็นการเรียนเรื่องใหม่ ๆ เป็นเรื่องการสร้างสรรค์
(Oxford Dictionary of Sociology. 3rd ed. revised, ed. by John Scott and Gordon
Marshall, Oxford University Press, 2009, pp.544-545)
20.ทฤษฎีหรือแนวคิดแบบแยกส่วน (reductionism) และแบบองค์รวม (holistic)
20.1atomismและแนว associationismนึกถึงว่ากระบวนการทางจิต (mental processes) ว่า
เป็นเสมือนกับเส้นเชือกแห่งเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งแยกออกจากกัน (string of separate
events)ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันซึ่งกันและกันโดยคือ การเชื่อมโยง(association)ให้เป็นภาพ
(images) และเป็นความคิด (ideas)
20.2ทฤษฎีเกสตอลต์ (Gestalt)ถือว่าการรับทราบปรากฏการณ์ (phenomena) ทางจิตอื่นๆ
ขึ้นอยู่กับการที่จิตกลืนกลาย (assimilation) หรือซึมซับ และจัดแบบอย่างทั่วทั้งหมด
(entire patterns)
และมีการนําภาพทั้งหลายรวมกัน (configurations) ซึ่งมาจากส่วนที่เป็นบริบท
(context)คือ สภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งผลรวมย่อมมากกว่าจากส่วนต่างๆที่ประกอบ
ขึ้นมา (component parts)
ตามทรรศนะองค์รวมนี้ถือว่าจิตมุ่งให้เกิดส่วนร่วมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
(unifiedwholes) หรือตามภาษาของนักคิดแนวดังกล่าว เรียกว่า“good Gestalt”
แนวนี้มุ่งสร้างความสําคัญและเพื่อจะสร้างความหมายและความลึกซึ้งจาก
ประสบการณ์ต่างๆ คือ ที่เป็นผลรวมหรือองค์รวม (whole) ต่างๆเหล่านี้ ถือว่าสําคัญกว่า
และมักเกิดขึ้นเป็นอิสระแยกออกจากส่วนต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบนั้น (constituent
parts)
20.3ทฤษฎี Gestaltถือว่าการเรียนรู้ เป็นการสร้างและการปรับปรุงรูปโฉมขององค์รวมทาง
พุทธิปัญญา(cognitivewholes)มากกว่า คือ ไม่ใช่เป็นเพียง การปฏิสัมพันธ์
(interaction)ระหว่างสิ่งเร้า(stimulus) และมีการตอบสนอง (response)
20
(Chris Rohmann. A World of Ideas. New York: Ballantine Books, 1999, p.183)
21. วิธีการเข้าถึงซึ่งความรู้
21.1 พฤติกรรมศาสตร์ใช้กระบวนทรรศน์หรือพาราไดม์ แนวไอแซค นิวตัน(Isaac Newton)
การได้มาซึ่งความรู้มีวิธีการต่างๆกันเช่นการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์
เพื่อทราบเจตคติหรือทัศนคติ (attitude) โดย “การสํารวจประชามติ” (public opinion
poll)มีคําถามเกี่ยวกับแนวโน้ม หรือทิศทางที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัคร
(candidate)ปัจจุบันสํานักสํารวจที่โด่งดังสหรัฐอเมริกา ได้แก่ PEW Poll
ทั้งนี้ต้องเลือกหรือกําหนด กลุ่มตัวอย่างหรือสุ่มตัวอย่าง(sampling)เพราะ
ประชากร (population) คือจํานวนรวมมีมากมหาศาล เช่น พลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาว
อเมริกัน มีประมาณมากจากประชากรทั้งสิ้นกว่า 350 ล้านคน
21.2การเข้าถึงความรู้จําเป็นต้อง ใช้เทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้มาซึ่ง
1)ข้อมูลที่แม่นตรง (validity) และเชื่อถือได้ (reliability) และ
2)การตีความหรือแปรผล(interpret)ที่ถูกต้อง
ตัวอย่าง คือ การถามว่านาย ก. ไป ออกเสียง ลงคะแนนหรือเปล่า แม้นาย ก.ตอบ
รับ แต่ก็ต้องตรวจสอบ (verifyแวริฟาย) ว่าออกเสียง ลงคะแนนจริงหรือไม่โดยไป
ตรวจสอบที่ทะเบียน
และสําหรับการตีความนั้นมีตัวอย่าง คือ หากนาย ข. ไม่เคยไปเลือกตั้งเลย ไม่ว่าจะ
มีการเลือกตั้งกี่ครั้งก็ต้องพยายามตรวจสอบหาเหตุผลหลาย ๆ ด้าน
22.การได้มาซึ่งความรู้ใช้วิธีเชิงปริมาณคือ ข้อมูลที่นับเป็นสถิติตัวเลขได้ (จํานวนผู้เลือกตั้งแยก
เป็นเพศวิถีหรือสถานเพศ (gender)อายุ ภูมิลําเนา ฯลฯ)
22.1วิธีการนี้ย่อมไม่สนใจ หรือไม่ให้ความสําคัญกับเรื่องราวทาง
1) ประวัติ ความเป็นมา(historical approach)หรือ
2)คุณภาพคือเรื่องของความดีหรือไม่ดี โดยมองเชิงเกณฑ์จริยธรรม
วิธีการคิดเชิงพฤติกรรม ได้รับอิทธิพลจากการคํานวณตามแนวของนักคิด เดสการ์ต
(Rene Descartes)และของ ไอแซค นิวตัน คือไม่คํานึงถึงเกณฑ์บรรทัดฐาน (non-
normative)“ควรหรือไม่ควร”(การพิจารณาเชิงคุณค่า ‚value judgement‛)โดยถือว่า
พฤติกรรม”คือ การแสดงออกตามที่เป็นจริง เช่น
1)จํานวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
21
2)ระยะเวลาการอยู่ในตําแหน่งของนายกรัฐมนตรีต่าง ๆ
3)แนวพฤติกรรมไม่คํานึงการ ตัดสินว่า อะไรดี อะไรไม่ดี ควรหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็น
เรื่องใหญ่ในวงกรอบทางศาสนา ทางปรัชญาหรือนโยบาย
บรรดาข้อมูลเมื่อเป็นความรู้มีการจัดให้เป็นระบบเข้าระเบียบ มุ่งให้สอดประสาน
ระหว่างทฤษฎีกับความเป็นจริงในเชิงพฤติกรรม
22.2แนวพฤติกรรมศาสตร์เทียบได้กับการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(pure science) โดย
มุ่ง “แสวงหาความรู้เพื่อความก้าวหน้าแห่งความรู้ในตัวของความรู้นั้น” (knowledge for
knowledge’s sake)คือ มิใช่มุ่งเรื่องนําไปใช้ คือ ปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหา
22.3 การเข้าถึงความรู้ต้องมีการบูรณาการกับวิทยาการสาขาต่างๆ แนวพฤติกรรมสืบต่อ
จากปฏิฐานนิยมหมายความว่าการพินิจพิเคราะห์พิจารณา เชิงสหหรือพหุวิทยาการ
(interdisciplinary)คือ ศาสตร์ต่าง ๆ เกี่ยวโยงกันในกลุ่มหรือหมวดวิชา
1) สังคมศาสตร์
2)มนุษยศาสตร์
3)วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4)ศิลปกรรมศาสตร์
23. การได้รับความรู้จากการค้นพบและหรือการประดิษฐ์
23.1 การค้นพบ(discovery) ได้แก่การเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโลกเช่น การค้นพบว่าแร่
ทองแดงอาจหลอมได้ การค้นพบนี้ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่
ทํากับทองแดง และทําให้มีการทําเหมืองทองแดง เป็นต้น
การค้นพบว่าแก้วโป่งข่ามมีลักษณะอย่างไร การค้นพบแก้วโป่งข่ามในปี พ.ศ.
2514 หรือลูกปัดโบราณภาคใต้ของไทยใน ปี พศ. 2552 ทําให้คนสนใจใช้เป็นสิ่ง
ประดับอันเป็นวัฒนธรรมใหม่อย่างหนึ่ง
การค้นพบว่าการโยนและเตะของกลม ๆที่สานด้วยหวายไปมาทําให้สนุกและ
ก่อให้เกิดวัฒนธรรม (ตามนัยแห่งสังคมศาสตร์) ที่เรียกว่าการเล่นตะกร้อ เป็นต้นการ
ค้นพบดังกล่าวย่อมทําให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ขึ้น คือ มีกีฬาฟุตบอลเกิดขึ้น
23.2 การประดิษฐ์ (invention) ได้แก่ การใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อทําสิ่งอื่นขึ้นมา เช่น ในการ
ใส่เครื่องยนต์เข้าไปในเรือ ทําให้เกิดเรือกลไฟขึ้นมา เครื่องยนต์และเรือเป็นวัฒนธรรมที่
มีอยู่เดิมเรือกลไฟเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่
22
1) การประดิษฐ์ทางวัตถุ (material invention)มีตัวอย่างคือ การสร้างครื่องปรับอากาศ,
การสร้างรถมอเตอร์ไซด์ไตถัง, การทําน้ําอัดลม, การสร้างระเบิดปรมาณูและการ
สร้างนาฬิกาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2) การประดิษฐ์ทางอวัตถุ (non-material invention)ตัวอย่าง คือ การสร้างพิธีกรรม
ใหม่ ๆการคิดปรัชญาใหม่การสร้างทฤษฎีใหม่ เช่นว่าด้วยป้องกันโรคภัย ว่าด้วยการ
ลดขัดแย้ง
24. การได้รับความรู้จากการแพร่กระจาย (diffusion –ได—ฟิ้ว—ชั่น)
การแพร่กระจาย หมายถึง การที่วัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งกระจายไปอยู่ในสังคมอื่น
ในระยะใกล้ ระดับภูมิภาค และระดับโลก เช่น
1)การที่คนไทยรับวัฒนธรรมแห่งการใส่เสื้อนอก, การผูกเนคไท, การใส่กระโปรง, การใส่
ถุงเท้ามาจากตะวันตก
2)การที่คนไทยรับศาสนาพุทธจากอินเดีย
3)การที่ฮิปปี้หรือ บุปผาชน (flower children) อเมริกันและยุโรปรับวัฒนธรรมบางอย่างไป
จากอินเดีย เช่น การใส่รองเท้าแตะหรือการสวมลูกประคํา (เพลง I left my heart in
San Francisco)
4)การที่มีศัพท์และสําเนียงจีนหลายคําอยู่ในภาษาไทย เช่น แป๊ะเจี๊ยะ,ตั้งไฉ่
5)การที่มีร้านค้า ศูนย์การค้าแบบตะวันตกในกรุงเทพมหานคร อันเป็นการกระจาย
วัฒนธรรมจากตะวันตกมาสู่ตะวันออก ประเภท mall ต่าง ๆ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่
เช่น Siam Paragon, เม็กกะบางนา Mega-Bangna ซึ่งมีห้าง Ikeaขายเฟอร์นิเจอร์ขนาด
ใหญ่ในปลายปี 2554 และขนาดย่อม ๆ ที่เรียกว่า Community Mall ตามหมู่บ้านขนาด
ใหญ่และแม้ตามชานเมือง
6)การมีศัพท์ใหม่ ๆ เช่น วัยโจ๋ แอ๊บแบ้วเด็กแว๊น ดังปรากฏในพจนานุกรมคําใหม่ ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน2550 (ดูภาคผนวก)
7) การรับวัฒนธรรมเกาหลี K-Pop (Korean) รวมทั้งเพลงละท่าเต้น Gangnam Styleของ
PSYในเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2556 มีผู้เข้า view ประมาณ 17 ล้าน
คนและรองลงมาคือนักร้องสตรีชาวแคนาดามีผุ้เข้าชมประมาณ 275 ล้านคน ในเพลง
Maybe
25. การเข้าถึงความรู้โดยการเดินทาง: กรณีนักคิดชาวฝรั่งเศสAlexis de Tocqueville
23
25.1 แอเลกซิส เดอ ทอคเกอวิลย์ หรือต๊อกเกอวิลย์ (Alexis deTocqueville, 1805-1859)มี
ตําแหน่งเป็นข้าราชการของรัฐบาลฝรั่งเศสและได้มีโอกาสเดินทางข้ามน้ําข้าม
มหาสมุทรแอตแลนติกจากยุโรปเพื่อไปดูงานเกี่ยวกับกิจการเรือนจําในสหรัฐอเมริกา
เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีมาแล้ว คือประมาณค.ศ. 1830 เศษ ๆ
ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังนิยมเรียกสหรัฐอเมริกาว่าเป็น “โลกใหม่”
(NewWorld)ช่วงนั้นห่างจาก “การประกาศอิสรภาพของอเมริกัน” (Declaration
ofIndependence)เพียงประมาณ60 ปีเท่านั้น
25.2การเดินทางยุคนั้นต้องใช้เวลามาก และเมื่อทอคเกอวิลย์ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกาและได้
ท่องเที่ยวพอสมควรแล้วเกิด “การตื่นตาตื่นใจ”(sense ofwonder) จากสิ่งที่ทอคเกอวิลย์
ได้พบเห็นอันแปลกใหม่กว่าเดิมที่เขาคุ้นเคยหรือชินตาที่ประทับใจทอคเกอวิลย์มาก คือ
บรรดาอนุสรณ์สถาน (monuments)ซึ่งในฝรั่งเศสมักก่อสร้างให้มีขนาดใหญ่ เช่นหอไอ
เฟิล(Eiffel) และประตูชัย (Arc deTriomphe)รวมทั้งประติมากรรมของผู้นําคนสําคัญ ๆ
25.3ทอคเกอวิลย์ จึงเกิดความแปลกใจอย่างมากที่พบอนุสรณ์สถาน และรูปปั้นเป็นจํานวน
มากในสหรัฐอเมริกาสิ่งเหล่านั้นใน“โลกใหม่”มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทอคเกอวิ
ลย์พยายามคิด (แบบการใช้ญาณทัศนะ ) ว่าทําไมจึงมีข้อแตกต่าง ในท้ายที่สุดทอค
เกอวิลย์ลงมติ (คงทํานองเกี่ยวกับการเปล่งวาจา ว่าคิดได้แล้ว หรือถึง“บางอ้อ” (คือ “ยุรี
คา” (Eureka)โดยอาร์คิมีดีส(Archimedes)แห่งกรีกโบราณ เมื่อค้นพบวิธีการพิสูจน์
ความบริสุทธิของทองคํา)
25.4ทอคเกอวิลย์ เห็นว่าการที่มีปรากฏใน สหรัฐอเมริกา ซึ่งสัญลักษณ์อนุสรณ์นานาประเภท
ทั้งใหญ่และเล็กนั้นเหมือนกับเป็น กระจกหรือคันฉ่องส่องสะท้อนภาพ ความรู้สึกนึกคิด
หรือทัศนคติของคนอเมริกันซึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยสูง จึงแสดงออกมาซึ่งความ
เสมอภาคในการระลึกถึงความ “ดีเด่น”ของปัจเจกชนไม่ว่าจะมีตําแหน่งหรือไม่มี
ตําแหน่งก็ตาม
ชี้ให้เห็นถึงการเทิดทูน“ความเสมอภาค”ดังนั้น เมื่อทําความดี เพื่อสาธารณชน แม้
ไม่เป็นเรื่องไม่ใหญ่โตนัก และตนเองเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ ก็ย่อมได้รับการยกยอง
โดยมีคนปั้นรูปหรือจารึกชื่อไว้ให้
25.5ข้อสังเกตนี้อาจมีผู้มองเห็นอยู่บางแล้ว แต่สําหรับทอคเกอวิลย์มีลักษณะแบบ “นัยน์ตาที่
สาม” (the third eye)ด้วยคือ ความสามารถโยงข้อสังเกตนี้ให้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง
24
ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา และในฝรั่งเศส ทอคเกอวิลย์เห็นว่าฝรั่งเศสแม้จะมี การ
ปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ.1789 แล้วก็ตามแต่ยังขาดเสถียรภาพและความเป็นประชาธิปไตย
ทอคเกอวิลย์ครุ่นคิดเรื่องนี้อยู่ และพยายามหาสาเหตุว่าทําไมจึงเป็นเช่นนั้น
ทอคเกอวิลย์ทราบว่าสหรัฐอเมริกาแยกตัวจากอังกฤษในปี ค.ศ.1776 และมี
รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย ก่อนฝรั่งเศสไม่นานนัก คือ มีในปี ค.ศ. 1787 แต่สถาบัน
ประชาธิปไตยอเมริกันมั่นคงกว่า ดังนั้น เมื่อทอคเกอวิลย์ เห็นความแตกต่างในเรื่อง
อนุสาวรีย์ในฝรั่งเศสกับ โลกใหม่(New World) คือสหรัฐอเมริกา จึงได้คิดพิจารณา
กลับไปกลับมาหลายครั้งและลงความเห็นว่า จํานวนและขนาดของอนุสาวรีย์สะท้อน
ความเชื่อหรือการมีสหจิต (consensus)ของคนอเมริกันในเรื่องความเสมอภาคหรือความ
ทัดเทียมกัน
25.6อนึ่ง เมื่อมีความเชื่อเรื่องความเสมอภาค (equality) ย่อมแสดงออกด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้ง
การให้เกียรติสามัญชนที่มีความดีด้วยการสร้างอนุสาวรีย์ให้เป็นการส่งเสริมวิถีแห่ง
ประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง คือ ไม่ใช่ยกยองเฉพาะวีรกรรมใหญ่ ๆ ของ “วีรชนคนกล้า”
อย่างเช่น ในฝรั่งเศส
1)Alexis de Tocqueville.Democracy in America
2)Sidney Hook.The Hero inHistory.Boston: Beacon, 1955
26.ปัญญา: แสงชวาลาแห่งชีวิต
26.1อารยธรรมของโลก
ก.โลก(planet-earth) เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในสุริยจักรวาล มัก
ถือกันว่าต้นเค้าของอารยธรรมคืออียิปต์และอิรัคโบราณหรือบริเวณที่เรียกว่าเมสโส
โปเตเมีย 6000 ปีเศษมาแล้ว
ยุค 2400 ปีในอดีตเพลโต มหาปราชญ์กรีกเคยกล่าวถึงตํานานแห่ง the lost city
เมืองหรือทวีปที่หายไปคือแอตแลนติส (Atlantis)ซึ่งเคยมีอารยธรรมสูงส่งยิ่งนักและ
ถ่ายทอดสู่คนอียิปต์โบราณซึ่งสามารถสร้างปิรามิดและทํามัมมี่ได้
ข.มนุษย์ครองโลกเพียงไมเกิน 1.5 ล้านปีทั้งๆที่ไดโนเสาร์เป็นเจ้าพิภพประมาณ 220ล้าน
ปีจวบจนโดนดับจากอุกาบาต (meteor)มหึมาซึ่งมาพร้อมกับดาวหาง(Comet)เมื่อ 65
ล้านปีมาแล้วช่วงสั้นๆของมนุษย์บนผืนโลกนี้เมื่อเทียบกับอายุของพืช(flora)และ
สัตว์(fauna)แต่กระนั้นก็มีผลงานมหาศาล สืบเนื่องจากการมีปัญญาซึ่งเปรียบเสมือน
25
แสงชวาลาแห่งชีวิต
26.2มรดกทางปัญญา (intellectual heritage –เฮอ-ริต-ติจ)
ก.ผลงานจากสมองของมนุษย์เรียกชื่อต่างๆกันเช่น 1) ทุนทางปัญญา (intellectual
capital) 2)ทรัพยากรทางปัญญา (intellectual resource) และ 3) บางครั้งรวมเรียกว่าทุน
มนุษย์ (human capital)
ข.สมองมนุษย์มี 2 ซีก
1) ซีกซ้ายเกี่ยวกับเรื่องซ้ํา ๆSame Sameคือความคุ้นเคยและเคยชิน (habitual)
2)ซีกขวาเป็นเรื่องของ innovative (นวัตกรรม) หรือ inventive (ประดิษฐ์คิดค้น) และ
สร้างสิ่งใหม่ๆซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานแห่งการไดรับรางวัลเกียรติยศสูงสุดทาง
วิทยาศาสตร์คือ NobelPrizes
สํานักวิจัยและมหาวิทยาลัยที่โด่งดังได้รับเกียรตินี้ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา
26.3ปัจจัยประกอบ
1)ผลงานทางปัญญาขึ้นอยู่กับ บริบท (context)คือสภาพแวดล้อมแห่งสังคมและ
วัฒนธรรม
ดังปรากฏในรูปของนานา อารยธรรม (civilizations) เช่น
ก. อียิปต์เกินกว่า 5,000ปี ผลงาน เช่น ปิระมิด, รูปปั้น Sphinx
ข. จีนประมาณ 4,500 ปี ผลงาน เช่น กําแพงจีน (The Great Wall of China)
ค. อินเดียประมาณ 4,000 ปี
ง. อื่นๆ
2)มรดกทางปัญญาของกรีกยุคโบราณ (The Glory that was Greece)มีอิทธิพลทาง
วิชาการสืบเนื่องต่อกันมาเป็นเวลาช้านานประมาณ 2,400 ปี ชื่อมหาปราชญ์กรีก 3
คนหรือไตรเมธี (ไตร-อัม-วิ-ริท triumvirate) ที่รู้จักกันดีคือ
ก.ซอคราตีส หรือศักรทิษฐ์ (Socrates),
ข.เพลโต(Plato ชื่อจริงคืออาริสโตคลีส Aristocles
ค.อาริสโตเติ้ล(Aristotle)
27.การสร้างสรรค์ทางปัญญา
27.1หมายรวมถึงทุกแขนงแห่งความรู้แม้กระทั้งวิชาเขียนลายมือ(Calligraphy) ซึ่ง Steve Jobs
นักประดิษฐ์Iphone, Ipad เคยเรียนตอนเยาว์วัย
26
27.2มีการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆเช่น
1)ในวงดนตรีตะวันตกมี Beethoven, Bach, Brahm, Mozart, Moussorsky
2)ในวงการประพันธ์บทละครอังกฤษเช่นวิลเลียม เชกส์เปียร์ (ซึ่งมีการประยุกต์แนวบท
ละครเรื่องThe Tempestเนรมิตเกาะอังกฤษ ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก กรกฎาคม 2555
ณ มหานครกรุงลอนดอน)
3)ในวงการ Theme Parkเช่น Walt Disney
4)ในเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น ทอมัส เอดดิสัน
5)ในเรื่องของพิชัยยุทธเช่นซุนหวู่หรือซุนซู
6)ด้านการทํานายแผ่นดินไหวทั้งในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดสึนามิและสามารถก่อให้เกิดได้
คือศาสตราจารย์Richterแห่งCalifornia Institute of Technology
27.3การเข้าถึงความรู้ (access to knowledge) มีวิถีต่างๆกัน ศัพท์วิชาการเรียกว่า
1)แนวพินิจ ; แนวพิจารณา
2)หรือแนวทางศึกษาวิชาการ (academic approaches)
3)เส้นทางสู่ความรู้ (roadmaps)
28. ปัจจัยหรือนานาตัวแปรที่ทําให้เกิดคุณูปการทางวิทยาการ
1)ระดับพื้นฐานคือที่กล่าวคล้องจองกันว่าเกี่ยวกับ “1 สมอง 2 ตา 2 หู 1 ปาก 2 มือ 2
เท้าที่ก้าวไกล‛
2) ระดับมูลเหตุจูงใจ(motivation) คือจิตมุ่งสําเร็จ (N-Achievement, conceptualized)
ไว้โดยนักคิดร่วมสมัย David McClellen แห่งHarvard University เรียกว่า “จิตใจใฝ่
สัมฤทธิ”
3)การปฏิบัติแห่งอิทธิบาท 4 รวมทั้งจิตจริยธรรมมุ่งประโยชน์ของมนุษย์
4)สภาวะแวดล้อมเช่น บ ว ว ว ร ล คือ 1) บ้าน(ครอบครัว) 2) วัด(สถาบันศาสนา) 3) ว
(เวิ้ง ชุมชน ละแวก) 4) วแวดวง เช่นอาชีพเดียวกัน 5)ร โรงเรียน 6) ร ราชการหรือ
ระบบ7) ล โลกาภิวัตน์---กระแสโลก
5)บรรยากาศทางปัญญา (intellectual climate)
6)การพึ่งพาของนานาสถาบันที่อยู่ใกล้ๆกัน (cluster of academic institutions)เพื่อพึ่งพิง
หรือแข่งขันเปรียบเทียบ
29. ว่าด้วยทฤษฏี
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3
20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3

More Related Content

What's hot

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana BuddhismPadvee Academy
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารKetsarin Prommajun
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกChainarong Maharak
 
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติเพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติJune Fghijklmnopqrsteovl
 
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
ใบงาน 1
ใบงาน 1ใบงาน 1
ใบงาน 1piboon7516
 
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5kruwaeo
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีWarodom Techasrisutee
 
หินอัคนี หินแปร หินตะกอน
หินอัคนี หินแปร หินตะกอนหินอัคนี หินแปร หินตะกอน
หินอัคนี หินแปร หินตะกอนwebsite22556
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
เฉลยแคลคูลัส
เฉลยแคลคูลัสเฉลยแคลคูลัส
เฉลยแคลคูลัสkrurutsamee
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55Decode Ac
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรPadvee Academy
 
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศSupaluk Juntap
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยาPadvee Academy
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล natdhanai rungklin
 

What's hot (20)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 
Ast.c2560.4t
Ast.c2560.4tAst.c2560.4t
Ast.c2560.4t
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติเพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
 
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
 
ใบงาน 1
ใบงาน 1ใบงาน 1
ใบงาน 1
 
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
หินอัคนี หินแปร หินตะกอน
หินอัคนี หินแปร หินตะกอนหินอัคนี หินแปร หินตะกอน
หินอัคนี หินแปร หินตะกอน
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
 
เฉลยแคลคูลัส
เฉลยแคลคูลัสเฉลยแคลคูลัส
เฉลยแคลคูลัส
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
 
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๕ คุณวิทยา
 
ชนิดของเมฆ
ชนิดของเมฆชนิดของเมฆ
ชนิดของเมฆ
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ผอ.ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล
 

Similar to 20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)kulwadee
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Veaw'z Keeranat
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349CUPress
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52juriporn chuchanakij
 
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนNongruk Srisukha
 
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1Kobwit Piriyawat
 
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)นางสาวอัมพร แสงมณี
 
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialismความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม ExistentialismPadvee Academy
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2sangworn
 
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลwasan
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2guidena
 

Similar to 20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3 (20)

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตครั้งที่ 1(20มิ ย 53)
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
Unit1
Unit1Unit1
Unit1
 
เอกสารประกอบการเรียน
เอกสารประกอบการเรียนเอกสารประกอบการเรียน
เอกสารประกอบการเรียน
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา 29 ต.ค.52
 
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
 
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1
แบบวิเคราะห์ผลการเรียนรู้Tok1
 
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
 
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialismความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2
 
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 

20130830 114707ปรัชญาเชิงศาสตร์3

  • 1. ปรัชญาเชิงศาสตร์ Philosophy of Science 3 มรรคาทางเข้าสู่ความรู้นานาแนวทาง On the Path to Knowledge Different Approaches ศ.พิเศษ ดร.จิรโชค วีระสย Jirachoke Virasaya, Ph.D. (Berkeley) 1. ความทั่วไป 1.1 ความหมาย “ความรู้” ตามพจนานุกรมเวบมสเตอร์ (Webster’s New world Dictionary) 1) be sure of or well informed about.รู้เรื่อง แน่ใจเกี่ยวกับ 2) have perceived or learned.เรียนรู้ 3) have securely in the memory.อยู่ในตู้เซฟแห่งควมทรงจํา 4) to be acquainted or familiar withคุ้นเคยกับ 5) to have understandiny of or skill in as a result of study or experience.เข้าใจ 6) to recognizeนึกขึ้นได้ 7) to distinguihแยกแยะได้ 1.2 ตามพจนานุกรมไทย ศ.พิเศษ ดร. จิรโชค (บรรพต) วีระสยJIRACHOKE VIRASAYA ได้รับทุนรัฐบาลศึกษาจบ ปริญญาตรีทางสังคมวิทยา วิทยานิพนธ์เกียรตินิยม B.A. HONORS THESIS IN SOCIOLOGY, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ นครเบอร์คลีย์UNIVERSITY OF CALIFORNIA (BERKELEY) ; ปริญญาโทM.A. IN POLITICAL SCIENCE (UC, BERKELEY) ; ปริญญาเอกPh. D. UC. BERKELEY ; ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมระดับชาติของ U.S.A. ตั้งแต่ปี 1962 PI SIGMA ALPHA, National Political Science Honor Society, U.S.A., 1962. กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง (2513-14) Founding Member, Ramkhamhaeng University หัวหน้าภาคผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยา (Founding Chairman) คณบดีผู้ก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (Founding Dean), Faculty of Political Science Ramkhamhaeng University, Bangkok, 10240 Tel.02-310-8483-9 ต่อ 41, 36 อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, อดีตรอง ผอ.สถาบันส่วนภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษา, Former Deputy Director, Regional Institute of Higher Education, (RIHED) Singapore. รก.ผอ.โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, Acting Director ,Doctoral Program in Social Sciences, (10 สาขาวิชา) อาคาร ท่าชัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 02-310-8566-7 ปรับปรุง 22/08/55 ประกอบการบรรยาย 31 สิงหาคม 2556 วิชาขอบเขต สงวนลิขสิทธิ์ Revised 28/08/2556 PC
  • 2. 2 ประเด็นการเข้าสู่ “ความรู้” นั้น พึงตระหนักว่าเกี่ยวโยงกับการ “รู้” ตามคําอธิบายใน พจนานุกรมบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่าหมายถึง “แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ” และยกหลาย วลี เช่น 1) รู้กัน 2) รู้การรู้งาน 3) รู้กันอยู่ในที 4) รู้เขา รู้เรา 5) “รู้ความ” 6) “รู้คิด” “รู้อ่าน” 7) รู้คุณ 8) รู้ดีรู้ชั่ว9) รู้ตัวเอง 10) รู้ตื้นลึกหนาบาง 11) รู้เนื้อ รู้ตัว 12) รู้หนเหนือหนใต้ 13) รู้เห็น 14) รู้เห็นเป็นใจ 15) รู้รส 16) รู้มาก เป็นต้น 1.3ศัพท์ที่ใช้ว่าเป็น “ความรู้” หมายถึง 1) สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์ รวมทั้ง ความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ 2) ความเข้าใจหรือสารสนเทศ (information เพิ่มคําแปลภาษาอังกฤษ) ที่ได้รับมาจาก ประสบการณ์ 3) สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยินได้ฟัง การคิดหรือการปฎิบัติ 4) องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่นความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ 1.4 อารยธรรมกรีกยุคเอเธนส์รุ่งเรือง ในช่วงต้นของอารยธรรมตะวันตกปราณ 2500 ปีมาแล้วมี กล่าวถึงว่าตั้งแต่เดิมไม่มี ความรู้แบบเปิดเผยคือเป็นเรื่องที่มหาชนทั่วไปเข้าถึง คือรับทราบจนกระทั่งมีผู้พยายามที่ จะได้มาซึ่งความรู้และผลของความอยากรู้อยากเห็นและการเพียรพยายามนั้นกลับ ถูกลงโทษโดยอํานาจเบื้องบน คือปรากฎในตํานานกรีก (mythology) เรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงมนุษย์คนแรกที่มี อุตสาหะวิริยะจนกระทั่งเข้าสู่ประตูแห่งความฉลาดคือรู้จักการก่อไฟให้เกิดแสงสว่าง ชื่อ ซิซิฟุส (Sisiphus) และต้องเผชิญกับความลําบากจากการล่วงละเมิดอํานาจสรวงสวรรค์ซึ่ง ผูกขาด การมีความรู้ 1.5ตํานานหรือนิทานปรัมปราดังกล่าวต่อมาแพร่หลายมากจากข้อเขียนที่เดิมเป็นหนังสือภาษา ฝรั่งเศสโดย นักประพันธ์ลือชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize) ชื่อ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus)โดยมีชื่อเรื่องว่า ตํานานแห่งซิซิฟุส (“The Myth of Sisiphus”) Albert Camus 1913-1960. Algerian-born French writer. (นักเขียนฝรั่งเศสผู้เกิดใน อัลจีเรีย ซึ่งเคยอยู่ภายใต้ประเทศฝรั่งเศส.A journalist in France, he was active in the Resistance during World War II. His novels, which owe much to existentialism, include
  • 3. 3 1) L’Etrangerแปลเป็นภาอังกฤษคือThe Outsider(คนนอก) 1942 2)La Peste แปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อThe Plague(โรคระบาด) 1948 and 3) L’Homme revolteแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อThe Rebel (ผู้ทระนงหาญสู้)1952. He was awarded the Nobel Prize for Literature 1957. ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม พ.ศ. 2500 1.6 จาก Wikipedia ความรู้คือความสนิทสนมคุ้นเคยกับบางคนหรือบางสิ่ง รวมทั้งข้อเท็จจริง สารสนเทศ คํา พรรณนา หรือทักษะ ซึ่งได้มาจากประสบการณ์หรือการศึกษา 2. ศัพท์ใกล้เคียง 2.1 ในทางพุทธศาสนาเน้นความรู้ที่เรียกว่า “พุทธปัญญา” 2.2การพัฒนาความรู้ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในทางทฤษฎี(theoretical knowledge) และในทาง นําไปใช้คือวิทยาการประยุกต์(applied knowledge) 2.3ความรู้ ย่อมแตกต่างจาก 1)ทรรศนะ คือ ความเห็น (opinions) 2)ทัศนคติหรือ เจตคติ (attitude) 3) ความเชื่อ (beliefs) และ 4)ศรัทธา(faith) 2.4ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้มากในเรื่องนี้ โดยเฉพาะที่ทึกทักว่าเป็นความรู้ อาจเป็น “อวิชชา” (ignorance)ก็ได้ และค่อนข้างบ่อย อาจเรียกเบื้องต้นว่า ข้อมูลผิด (false data , misinformation) 2.5ว่าด้วยความรู้ในทรรศนะของนักปรัชญามีปรากฏใน 1) The Oxford Guide to Philosophy,edited by Ted Honderich. Oxford University Press, 2055. 2) จากพจนานุกรม Collins a) knowing that something is the case. อะไรเป็นอะไร b) knowing some person or place. c) knowing how to do something. (G. Vesey and P.Foulkes. Collins dictionary of Philosophy. London: Collins,
  • 4. 4 1990, p. 163.) 3. การจัดหมวดหมู่ 3.1สรรพวิทยาการมีการจัดหมวดหมู่ตามแนวองค์การว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(Unesco)องค์การสถาปนาขึ้นในปี 1946 หลังองค์การ สหประชาชาติ 1 ปี แบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ คือ 1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 2) สังคมศาสตร์และ 3) มนุษยศาสตร์ 3.2องค์การนี้มีนักวิชาการไทยเคยไปทํางานที่สํานักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส ตั้งแต่ช่วงเปิดใหม่ ๆ ได้แก่ ม.ล.มานิจ ชุมสาย และนักวิชาการสตรีอีกผู้หนึ่ง คือ ดร.จิตเกษม สีบุญเรือง 3.3บรรดาความรู้ที่จัดเป็น ระบบ เรียกว่าวิทยาการ ซึ่งภาษาอังกฤษ คือ‚ discipline‛ ซึ่งอาจ แปลว่า ความมีวินัย มักเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน คือเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) หรือพหุวิทยาการ (multidisciplinary) 3.4 ความเป็นวิทยาการแห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) เกี่ยวโยงกับ 11 เรื่องดังต่อไปนี้ 1) observation การสังเกต– to notice or perceive something; to pay special attention to. 2) description การพรรณนา 3) definition การให้คํานิยามระบุลักษณะที่สําคัญ 4) classfication การแบ่งหรือจําแนกประเภท 5) measurement การวัดโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ชั่งน้ําหนัก, ตวงว่ามากน้อยเพียงใด 6) experimentation การทดลอง 7) generalization การขยายแวดวงให้กว้างขวาง ให้ครอบคลุมถึงเรื่องอื่น 8) explanation การให้คําอธิบาย 9) prediction การทํานาย 10) valuation การประเมินผลดีหรือสภาพดี สภาพเสีย 11) control of the world การมีอํานาจเหนือโลกซึ่งแนววิทยาอื่นอาจมุ่งการอยู่ร่วมกับ โลกคือธรรมชาติ 4. สรรพวิทยาการ
  • 5. 5 4.1สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในประมาณ242 ประเทศทั่วโลกในยุคร่วมสมัยประมาณ 25,000 แห่งซึ่งได้แก่OxfordUniversity(ออกเสียงAksferd) ในประเทศอังกฤษ 1)มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุด คือOxford อายุ 900 ปีเศษ (ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์จินตนาการ Harry Potterใช้เป็นฉากแห่งโรงเรียน Hogwartในบางตอน) 2)มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับที่ 2ได้แก่Cambridge University อายุ800 ปีเศษซึ่ง Isaac Newtonเคยเป็นทั้งนิสิตและอาจารย์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง(gravity) 4.2การจัดอันดับมหาวิทยาลัยมัก rank ให้มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด(Harvard)เป็นอันดับ 1 ใน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยHarvard เกิดก่อน การประกาศอิสรภาพ(The Declaration of Independence) ในปี ค.ศ.1776 ฮาร์วาร์ดเริ่มเปิดการสอนตั้งแต่ ค.ศ. 1639 เกือบ 400 ปีมาแล้วในยุคที่ยังอยู่ภายใต้ อังกฤษในฐานะเป็นอาณานิคม 4.3รายชื่อรายวิชาหรือกระบวนวิชา (course) ของสถาบันระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีนับเป็น พัน คือสูงสุดอาจถึง 5,000 รายวิชาต่าง ๆ กัน 1. ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งถือกําเนิดในปี พ.ศ. 2514 เมื่อเริ่มเปิดสอน2 สิงหาคม 2514 ประมาณเพียง 60 กระบวนวิชา ในปี พ.ศ.2555-56 มีใน course catalog เกินกว่า 1,600 กระบวนวิชา 2. สถาบันเก่าแก่ เช่น มหิดล และจุฬาลงกรณ์ มีสาขาวิทยาการและกระบวนวิชาเป็น จํานวนมาก กรณีมหิดลมีตัวอย่าง คือ ในวิทยาลัยดุริยางคศาสตร์ และในวิทยาลัยศาสนศึกษา ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานชื่อธรรมสถาน ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภา วิไล เป็นผู้อํานวยการมาแต่เริ่มต้นเป็นเวลาติดต่อกันถึงประมาณ 25 ปีปัจจุบันมีอายุ 87ปี และดํารงตําแหน่งในสังกัดจุฬาลงกรณ์โดยเป็นศาสนาจารย์เป็นเสมือนเมธีคือปราชญ์ด้าน ศาสนาและเปลี่ยนจากตําแหน่งฝ่ายบริหาร 4.4การเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในสังคมมีตัวอย่างในศัพท์ต่างๆ ดังนี้ เช่น 1) Learning society สังคมที่มีการเรียนรู้อยู่เสมอ 2) Learning organizationองค์การที่มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งเป็นไปเพื่อ “a culture of inprovement and enhancement.”
  • 6. 6 (Collins Internet Linked Dictionary of Sociology.Edited by David Jary and Julia Jary. Harper and Collins, 2005, p. 343) 5. ความรู้กับประสาทสัมผัส 5.1การเข้าถึงความรู้นั้นย่อมอาศัยประสาทสัมผัส(senses)5 อย่างคือ เห็นด้วยตา ฟังด้วยหู เป็นต้น 5.2ส่วนความรู้นอกเหนือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่าสัมผัสที่ 6(sixth sense)ซึ่งมี ภาพยนตร์ชื่อเรื่องนี้ (Sixth Sense) ด้วยแสดงนําโดย Bruce Willis แนวคิด “ความรู้คู่ประสาทสัมผัส”ได้มีอิทธิพลครอบงําอยู่เป็นระยะเวลานาน เป็น แนวคิดเชิงประจักษ์วาท(empiricism)ซึ่งพจนานุกรมเวบสเตอร์ (Webster’s New World Dictionary3 rd ed.)ได้ระบุว่าเป็นทฤษฎีที่ว่าประสบการณ์จากประสาทสัมผัสเป็นแหล่งที่มา แห่งความรู้แหล่งเดียวเท่านั้น (the theory that sense experience is the only source of knowledge). 5.3แนวประจักษ์วาทคือวาความรู้ได้มาจากอย่างน้อย 2 วิธีการ ได้แก่ 1) จากการสังเกต(observation)ของบุคคลซึ่งย่อมหมายถึงการวัดด้วยเครื่องมือหรือ มาตรต่าง ๆ 2) จากการทดลอง (experiment) 5.4นักคิดชาว ฝรั่งเศสระดับกูรู(Guru)ชื่อ ออกุสต์ ก๊องต์ (August Comte)ซึ่งมีชื่อเสียง ต่อมา ในฐานะที่ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาผู้ก่อกําเนิดสังคมวิทยา”ได้ก้าวไปเกินกว่านั้น ค๊อง หรือ ก๊อง (แล้วแต่จะออกเสียง) ได้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า“ปฏิฐานนิยม” (Positivism)โดยเห็นข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่ สังเกต ได้หรือรับทราบได้จาก ประสาท สัมผัส และปฏิเสธการคาดเดา(speculate) 5.5การเรียนรู้ตามครรลองหรือในวงกรอบหรือแนวทางแห่ง ปฏิฐานนิยมมีบทบาทมากทั้ง ในทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ทางสังคม ได้รับอิทธิพลมาจากนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ประมาณ 3 ศตวรรษมาแล้วชื่อไอแซค นิวตัน (IsaacNewton,1642-1726) 5.6ไอแซค นิวตันมีอิทธิพลต่อการยึดแนวคิดแบบแยกส่วน หรือลดทอน (reductionism)ซึ่งเป็น ความคิดแม่บทหรือกระบวนทัศน์ (paradigm)ที่ยึดถือกันมายาวนาน ต่อมาที่ได้รับการท้าท้ายอย่างชัดแจ้งจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) อันเป็น
  • 7. 7 ผลงานของแอลเบิร์ต ไอสไตน์(Albert Einstein, 1879-1955) 6. ความรู้พื้นฐาน 6.1 ศัพท์ปรัชญาที่ใช้ในภาษาไทย มักยึดแนวความหมายแห่งศัพท์ Philosophy ซึ่งมีรากศัพท์ มาจากภาษากรีกPhilosฟิล-ลอส ซึ่งแปลว่า ความรัก หรือ เพื่อน กับ sophos—โซ-ฟอส ซึ่ง แปลว่า ความฉลาด ศัพท์ Philosophyจึงเท่ากับการรักหรือการเป็นสหายกับความฉลาด รอบรู้ (G. Vesey and P. Foulkes.Collins Dictionary of Philosophy. London : Collins, 1990.) 6.2 ปรัชญาเป็นแขนงวิทยาการ (discipline) ที่แสวงหาความจริงW.T.Jonesเขียนไว้ว่า เป็นการ แสวงหาเป็นนิรันดร การแสวงหาซึ่งย่อมไม่ประสบผลสําเร็จ (Philosophy is the eternal search fortruth, a search which inevitably fails and yet not defeated) 6.3เจมส์ คริสเตียน ระบุว่า ปรัชญา เป็น “ศิลปะแห่งวิสัยทึ่ง”หรือ “ศิลปแห่งการมีความ พิศวง” (art of wondering) ซึ่งเกี่ยวกับ การอยากรู้ (curiosity) (James L. Christian. Philosophy, Rinehart Press, 1973.) 1) วิสัยทึ่ง เป็นหนึ่งในหลายวลี คิดขึ้นโดย จิรโชค วีระสย โดยให้สืบต่อจาก 2)‚วิสัยทัศน์‛ 3)“วิสัยทา” (ลงมือปฏิบัติการ) 4) “วิสัยทน” (ขันติ อดทน) 5) “วิสัยทาง” (หลายทางเลือก) 6) “วิสัยแท้”(คุณธรรม จิตวิญญาณ) และ 7) “วิสัยทัน” (ไม่ล่าช้า, ทันเวลา, ทันเหตุการณ์) 6.4 เนื้อหาสาระของปรัชญามีขอบข่ายกว้างขวางเพราะสืบสานมรดกทางปัญญา แบบรวม ๆ กัน มีการแบ่งศาสตร์ออกเป็น 1)“ศาสตร์อ่อน”หรือศาสตร์ประณีต (softsciences)อัน ได้แก่ มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์, และศิลปะ (fine arts) และ 2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือ“ศาสตร์แข็ง” (hard sciences)อันได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST) 7.ทรรศนะอื่น ๆ ว่าด้วยปรัชญา 7.1นักปรัชญาช่วงกลางศตวรรษที่20 ชื่อ วิลล์ ดิวรั้น(Will Durant)กล่าวว่าปรัชญาเริ่มต้นเมื่อ เรียนรู้ที่จะตั้งข้อสงสัยโดยเฉพาะกังขาความเชื่อที่เคยชื่นชม (Philosophy begins when one
  • 8. 8 learns to doubtparticularly to doubt one s cherished beliefs one s dogmas and one s axioms.) (Christian, p.120.) 7.2Mel Thompsonในหนังสือ Philosophy. Chicago:NTC Publishing Group,1995. กล่าวว่า Thephilosophy of science(ปรัชญาแห่งศาสตร์) ตรวจสอบวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้โดย วิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิธีการต่าง ๆ ซึ่งสมมติฐานและกฎหมายต่าง ๆ ถูกกําหนดจาก หลักฐานต่าง ๆ (examines the methodsused by science, the ways in which hypotheses and laws are formulated from evidence, and thegrounds on which scientific claims about the world may be justified.) 1)ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามของกันและกัน (Philosophy and science are not in principleopposed to one another but are in many ways parallel operations, for both seek to understandthe nature of the world and its structures.) 2)ปรัชญามักพยายามเกี่ยวข้องกับกระบวนการ คือ ขั้นตอนกําหนดหลักการต่างๆ (Whereas the individual sciences do so by gathering data from within their particular spheres andformulating general theories for understanding them, philosophy tends to concern itself withthe process of formulating principles and establishing how they relate together into an overall view.) 7.3อ้างอิงเพิ่มเติม 1) Eliot Deutsch and Ron Bontekoe, ed. A Companion to World Philosophers. Blackwell, 1999.หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในประมาณ 600 หน้า เฉพาะบทที่1 เกี่ยวโยงกับปรัชญานานาอารยธรรมคือ 1) Chinese 2) Indian 3) African 4) Buddhist 5) Islamic 2) Brooke N. Moore and Kenneth Bruder. Philosophy: The Power of Ideas. 5th ed. Boston: Mc Graw-Hill, 2002. มีสาระสําคัญ เช่น การขยายขอบข่ายแห่งความหมาย
  • 9. 9 ปรัชญาให้เป็นเรื่องที่คนสนใจได้ระดับโลกในหัวข้อ Philosophy: A Worldwide Search for Wisdom and Understandingและกล่าวถึงผลงานสตรีในปรัชญาเช่น Mary E. Waithe.A History of Women Philosophery. 3) S.E.Frost, Jr. Basic Teachings of the Great Philosophers. New York: Donbleday, 1962. 8. เกี่ยวโยงกับญาณวิทยา หรือทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ 8.1ปรัชญาแห่งศาสตร์ เกี่ยวโยงกับ“ญาณวิทยา”(Epistemology)เอป-ปิส-เต็ม-มอล-โล-ยีซึ่ง ตามหนังสือบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน(Royal Institute) ระบุว่า หมายถึง “ปรัชญาที่เข้าถึงที่ว่าด้วยบ่อเกิดลักษณะหน้าที่ ประเภท ระเบียบ วิธี และความ สมเหตุสมผล” (rationalจิรโชค แปล)บางทีใช้คําว่า “theory of knowledge”ทฤษฎีแห่ง ความรู้ 8.2การศึกษา “แนวการศึกษา”หรือ “วิธีการศึกษา” (approach)มีต่าง ๆ เช่น เชิงประวัติศาสตร์ เชิงภูมิศาสตร์ เชิงนิเวศวิทยา เชิงสังคมวิทยา เชิงจิตวิทยา เชิงเศรษฐศาสตร์ เชิง ศึกษาศาสตร์ เชิงบริหารธุรกิจ เชิงรัฐศาสตร์ เชิงนิติศาสตร์ ที่แพร่หลาย และเป็นที่คุ้นเคย ในยุคร่วมสมัยและรวมทั้งแนวศาสนาต่าง ๆ 9. ปรัชญากับปรัชญาแห่งวิทยาศาสตร์ 9.1ว่าด้วย “ศาสตร์”หรือวิทยาการ (science) ต่างๆ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะวิทยาศาสตร์) คือ 1) วิธีการและความรู้ที่เป็นระบบ 2) เป็นเหตุเป็นผลหรือสมเหตุสมผล 3) เป็นวัตถุวิสัย หรือสภาวะวิสัย (objective) 9.2เพื่อที่เข้าถึงซึ่งความรู้ อันอยู่ในขอบข่ายของวิชาการชื่อ ญาณวิทยา (epistemology) ซึ่งเป็น สาขาหนึ่งของวิชา “ปรัชญาทั่วไป” 10. ปรัชญาทั่วไป ประกอบด้วย 3 สาขาหลัก คือ 10.1อภิปรัชญา (เม็ตตาฟิสิกส์ —metaphysics) or หรือ ออน-ตอล-โลยี่ ontology เกี่ยวกับ appearance and reality ภาพที่ปรากฏและความเป็นจริง, existence of God การสถิติอยู่ ขององค์พระผู้เป็นเจ้า, soul, angels, whether abstract objects have an existence independent of human thinking (Earle, p.16.)
  • 10. 10 10.2 ญาณวิทยา (Epistemology) 10.3 คุณวิทยา (axiologyแอกซิออลโลยี่) ซึ่งว่าด้วยเกณฑ์ ก. ทาง“จริยธรรม”และเกณฑ์ ข. แห่ง“ความงาม”และ ค. “ความไพเราะ” (สุนทรียะ) 11. “Epistemology” (ญาณวิทยา) หรือทฤษฎีแห่งความรู้ 11.1 ญาณวิทยา (บางครั้งเรียกว่าทฤษฎีแห่งความรู้) มีการกําหนดนิยามด้วยวิธีการตั้งคําถาม สําคัญ 1)อะไรคือความรู้ 2)การหาความรู้ (เพิ่มเติม) ด้วยวิธีการอย่างไร รวมทั้งนฤมิตกรรมทางปัญญา (creativity) 11.2 มีการวิเคราะห์มโนทัศน์(concepts)ต่างๆ เช่น 1) belief(ความเชื่อ) 2)truth(ความเป็นจริง) and 3)justification(การหาทางยืนยันว่าถูกต้อง) a. How can I be sure that my beliefs are true? I know that people sometimes believe things without good reasons, without real evidence. What, then, should count as good reasons, orreal evidence, for various kinds of beliefs? b. How do I know I have good reasons, or evidence, for my beliefs? (Cf. William J.Earle. Introduction to Philosophy. McGraw-Hill, 1992,p.15.) 12.พจนานุกรม Oxford Dictionary of Sociology (John Scott & Gordon Marshall. Oxford Dictionaryof Sociology. New York: Oxford, 2005. p.145) อธิบายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้ โดยทั่วไปมี 2 สํานักคิดใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) สํานักเชิงตรรกะหรือเชิงสมเหตุสมผล (rationalism) และ 2) สํานักประจักษวาท (empiricism) 12.1ทั้งสองแนวคิดเกิดขึ้นในช่วงแห่งการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โดยที่ ต่างสนใจที่จะหารากฐานที่มั่นคงแห่งความรู้ โดยให้แยกแยะออกจากสิ่งที่เรียกว่า 1)อคติ
  • 11. 11 2) ความเชื่อ หรือ 3)ความเห็น ก.แนวเหตุผลนิยม (rationalism) มีผลงานที่สําคัญ คือ ของ ReneDescartes(เรอเน่ เด- การ์ต) ซึ่งใช้ตรรกะ (logic) และคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ เดคาร์ตส์ ถือว่าความรู้ทั้งหลาย เกิดขึ้นจากกฎที่ไม่มีการเถียงได้(axioms)และเขาได้กล่าวว่าที่มนุษย์เราเป็นอะไรได้ นั้นขึ้นอยู่กับความคิด ดังประโยคที่ว่า“I think,therefore I am” ข.แนวประจักษวาท ซึ่งผลงานที่สําคัญ ได้แก่โดย John Lockeผู้ถือว่าประสบการณ์จาก ประสาทสัมผัส (sense-experience)เป็นรากฐานแห่งความรู้ที่ไม่มีทางผิดพลาด นัก คิดแนวประจักษวาทถือว่าเมื่อมีความรู้ที่มาก่อนจิตมนุษย์ (human mind) เพราะว่า เมื่อเกิดมานั้นมีลักษณะที่เป็นกระดาษเปล่า (tabula rasa - - blank sheet of paper) 12.2 ข้อถกเถียงระหว่าง 2 แนว ไม่มีที่สิ้นสุดและได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่าแนวหลังคตินิยม โครงสร้าง(posts-tructuralists)ซึ่งเน้นความสําคัญของภาษาโดยนักคิดหลังคตินิยม โครงสร้าง(post-structuralists)หลีกหนีจากทั้ง 2 ทฤษฎีแห่งความรู้โดยเน้นว่าไม่มี ทางเข้าถึง ความเป็นจริง หรือความแท้ (reality) โดยตรงหรือโดยไม่ผ่าน สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (unmediatedaccess) ดังนั้น จึงเสนอว่าการเข้าถึงความรู้โดย การเรียงลําดับการแสดงออกทางภาษา (conceptual orlinguistic ordering) กล่าวคือ มนุษย์ไม่สามารถเดินออกไปข้างนอกภาษา หรือออกนอก “ถ้อยความคิด” (ศัพท์ของผู้เขียน จิรโชค วีระสย) หรือที่บางท่านแปลว่า วาทกรรม (discourse)ที่จะตรวจสอบว่าถ้อยความคิดหรือวาทกรรมดังกล่าวสอดคลอง กับความเป็นจริงหรือไม่ ทรรศนะเช่นว่านี้เรียกว่าทฤษฎีแห่งความรู้แนวคลาสสิค กล่าวคือเท่ากับปฏิเสธ การที่รู้อะไรนอกเหนือจากวาทกรรม 12.3 วาทกรรมเป็นการใช้ภาษา นอกเหนือจากการศึกษารูปของประโยคหรือการพูด แต่โยง ถึงบริบท (context) ที่เกี่ยวของกับความสัมพันธ์ทางสังคมหรือตัวองค์รวม คือ สังคม ระดับชาติ ดังนั้นจึงถือว่าการวิเคราะห์วาทกรรม ครอบคลุมเรื่องของการพูด และ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาเอกสาร หรือบันทึกไว้จึงโยงเกี่ยวกับ นานาศาสตร์ ทั้งจิตวิทยา สังคมวิทยาและอื่น ๆ
  • 12. 12 13.มรรคาแห่งความรู้ (Path of Knowledge) 13.1มนุษย์มีทายะสมบัติ คือมรดกทางชีววิทยา (heredity) ที่ปรากฏชัดเช่น 1สมอง2 มือ 2 ตา2 หู 1 ปากและสองเท้าที่ก้าวไกล 13.2 สมอง มี 2 ส่วน คือ ซ้ายและขวา 1)ซีกซ้ายเป็นเรื่องของการจดจํา เป็นเรื่องของสิ่งที่ทําซ้ํา ๆกันเป็นปกติวิสัย 2)สมอง ซีกขวา เป็นการคิดสิงใหม่ ๆ (inventive) นวัตกรรม (innovation) มักโยง เกี่ยวกับอารมณ์หรือ ความรู้สึก (affective) ดังที่ช่วงท้ายแห่งศตวรรษที่ 20 เรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ - - Emotion Quotient) มันสมองทั้งสองซีกสําคัญรวมกันเพราะซีกซ้ายช่วยให้มีการสะสมมรดกแห่งการ เรียนรู้ สมองซีกขวาพัฒนาตอไปซึ่งเกิด ทางเลือกต่างๆ (alternatives) เช่น กรณีของ Bill Gatesและผู้คนพบสิ่งใหม่ๆ นานาสาขาวิทยาการ รวมทั้งบรรดาผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ เช่น รางวัลโนเบล NobelPrizeและอื่นๆ 13.3ทางของความรู้ คือ ประสาทสัมผัส (senses) ต่างๆ โดยเฉพาะจากนัยตา เช่น จากการอ่าน และจากหู จากการฟัง การแสวงหาความรู้ถือว่าเป็นภาระกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์และในทาง พุทธศาสนา ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ลักษณะที่สําคัญ คือการมี 1) ศีล 2) สมาธิ 3) ปัญญา (wisdom) และใน หลักธรรม ที่มีองค์ 8 (มรรค 8) ระบุว่าการมีความเห็นหรือความคิดที่ ถูกต้องสําคัญ อย่างยิ่งซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ 13.4ปราชญ์กรีกเมื่อ 2400 ปี เศษมาแล้ว คือ Socrates (ซอคระติส,โสกราติส อาจแปลงเป็น ไทยว่าศักรดิษฐ์) ถือว่าความรู้ กับความถูกต้อง(rightness) หรือคุณธรรม (virtues) เป็น สิ่งเดียวกัน (Virtue is knowledge) 1) ความรู้เป็น เป้าหมาย(goal) และพึงเข้าใจว่าความรู้ที่แท้จริงเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะบรรลุ ได้ไม่ว่าในทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์หรือในเรื่องศาสนา 2) ตัวอย่างคือ ความรู้เกี่ยวกับ กําเนิด ของมนุษย์ (human origins) ตั้งแต่บรรพกาลหรือ เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ทําให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บกล่าวคือมี วิวัฒนาการ (evolution) และมี ทฤษฎีหรือ สมมุติฐานที่แตกต่างกันและอาจผิดพลาด คือรู้พลั้งได้ 14.การแสวงหาความรู้ (search of knowledge ) 14.1เปรียบเสมือนกับ การเดินทาง (journey) ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดในประเทศที่เจริญแล้วหรือใน
  • 13. 13 อารยธรรมที่สําคัญร่วมมีการค้นแสวงหา (search) และค้นคว้าเพิ่มใหม่ๆ ซ้ําแล้วซ้ําอีก (re-search) โดยการมีการกระทําสืบเนื่องต่อจากบิดามายังบุตร หรือจากอาจารย์ รุ่นต่างๆ กัน ดังปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ (scientific discoveries) 14.2หากพิจารณาในเชิงสังคมศาสตร์การเรียนรู้เกิดจากการได้รับการบ่มเพาะ (socialized) จากรอบตัวบุคคล ตั้งแต่เด็กทารกจนเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งใช้อักษร 7 ตัว เพื่อจําง่าย คือ 1) บ (บ้าน) 2)ว (วัด) 3)ว (เวิ้งหรือละแวกที่อาศัย) 4) ว (แวดวง) กลุ่มเดียวกัน เป็นผู้อยู่ในอาชีพเดียวกัน หรือในความสนใจ เช่น ฟุตบอล อย่างเดียวกัน และ 5)ร (โรงเรียน)หรือสถาบันการเรียนรู้ 6) ร(ระบบ) คือระบบสังคมและระบบของสถานที่ซึ่งที่ตนเองทํางาน โดยถือว่าวัดหมายถึงศาสนธรรมหรือศาสนสถานต่างๆไม่ว่าทางศาสนาใด พิจารณาในการค้นคว้าที่ลึกซึ้งมีวิธีการต่างๆนอกเหนือจากมโนกรรม คือ คิดคํานึง และมีการเพิ่มพูนจากนานาประสบการณ์ 7) ร (ราชการ) 15. การอธิบายหลักธรรมในพุทธศาสนา 15.1วิธีการมี 2 แนว ได้แก่ 1) ธรรมาธิษฐาน คือ การอธิบายหรือสอนโดย ทางทฤษฎี โดยคําพูดที่เป็นใช้นามธรรม (abstract) เช่น สอนว่าทําดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว จงอย่าทําบาป ธรรมาธิษฐานเป็นการอธิบายหลัก การมิได้มีการปรุงแต่งให้ดูสนุกสนานหรือ เห็นจริงเห็นจังอย่างเช่นในวิธีการปุคคลาธิษฐาน 2) อธิบายแบบปุคคลาธิษฐาน คือ การอธิบายหรือสอนโดยยกตัวอย่างบุคคลหรือเป็น รูปธรรมซึ่งอาจเกินความเป็นจริงก็ได้ 15.2ตัวอย่างคือ การยกชาดก มาเพื่อช่วยเสริมคําอธิบาย ชาดกเป็นเพียงอุทาหรณ์มิใช่เรื่องจริง ที่เกิดขึ้นเสมอไปปุคคลาธิษฐาน เป็นการอธิบายให้เห็นภาพแห่งผลของการทําดีและทํา ชั่ว การได้ไปสวรรค์และนรก วิธีการนี้เหมาะสําหรับคนทั่วไป คือ ชนประเภทบัวปริ่ม
  • 14. 14 น้ําหรือเวไนยนิกร (ผู้สามารถได้รับการสอนได้ คือเรียนได้ คือ เรียนได้) ธรรมดา ๆ 15.3 ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม เริ่มต้นที่ศัพท์ “เทศนา2”( การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ - preaching; exposition) 1)ปุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง , ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย - exposition in terms of persons) 2)ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลัก หรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง - exposition in terms of ideas) เทศนา 2 นี้ สรุปมาจากเทศนา 4 ในคัมภีร์ที่อ้างไว้ (พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (Dictionary of Buddhism).มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538.) 16.กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) 16.1กระบวนการเชิงลําดับขั้นอาจพิจารณาได้ตามสํานวนของผู้เขียน(จิรโชค วีระสย) ดังนี้ 1) รู้จํา (Commit to memory) การมีความจําที่แม่นยําและถูกตรงนานพอสมควรย่อม ประหยัดเวลาในการรับข้อความหรือความรู้ใหม่อยู่เสมอ มิฉะนั้นจะต้องมีการ “เรียน ใหม่” (relearning) กล่าวกันว่า ซีกสมอง (hemisphere) ที่บันทึกความจํา คือ ด้านซ้าย 2) รู้จด (Jot down) เป็นการช่วยความทรงจํา เช่น โดยชวเลขเขียนหรือบันทึกลงใน Computer 3) รู้จับจุด (ประเด็นหลัก, key, theme, key is) มีคํากล่าวเกี่ยวกับ ‚น้ําท่วมทุ่ง‛ หรือ “การ ขี่ม้ารอบค่าย” (beat around the bush) 4) รู้เจาะจง (specific) รู้เฉพาะเรื่อง เช้น แพทย์เฉพาะทาง 5) รู้แจกแจง (วิเคราะห์),analysis รู้การแยกแยะ 6) รู้เจนจัด (experienced) คือ มีความคล่องแคล่วเพราะผ่านการฝึกฝนทดสอบภาคปฏิบัติ มาเป็นเวลาช้านานไม่ใช่ประเภท NATO--NO Action Talk Only แปลตรงตัว คือบ่งชี้ ความเป็นผู้เก่งแต่พูด ไม่เอาไหนทางการใช้ประโยชน์ 16.2ลําดับแรกคือรู้จากย่อมสําคัญกว่าอย่างอื่น เพราะหากต้องเรียนใหม่ทุกครั้งย่อมไม่ สามารถทําให้อยู่รอดได้ ความจําได้มากบ้างน้อยบ้างย่อมช่วยให้ดํารงชีพอยู่ได้ ทั้งนี้มีการค้นพบว่การได้รับ สารอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมตอนเป็นทารกและถึงช่วงอายุ 6 ขวบสําคัญที่สุด เช่นการ
  • 15. 15 ได้รับ sea salt (เกลือทะเล) 17.วงกรอบแห่งการแสวงหาความรู้ (in search of knowledge) 17.1 นานาวิชาการ 1) วิชาการ(Academic)มักถือว่าเป็นเรื่องประเภทมุ่งประโยชน์ทางวิทยาการเท่านั้น (Knowledge for knowledge’s sake) 2) วิชาชีพ (Occupational, professional skills)ระดับมีมาตรฐาน คือมีสมาคมวิชาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทนายความ ผู้รับเหมา 3) วิชาชื่นชอบ (Personal interest) ไม่ได้เรียนฝึกฝนโดยตรงอย่างเป็นทางการ แต่สนใจ ใส่ ใจ ฝึกฝนและนําไปใช้เอง ปกติเป็นศิลปะ ด้านต่าง ๆ รวมทั้งการกีฬาการนันทนาการ (recreation) สําหรับ Maslow อยู่ในแรงจูงใจลําดับสูงกว่าขั้นที่ 5 คือ เข้าสู่ความเป็น สุนทรียะ (aesthetics) 4) วิชาเชิงชีวิต(Art of living) a) IQ แต่มีความฉลาดทางอารมณ์ EQ(Emotional Quotient) หมายถึงการีความเห็นใจ ผู้อื่น (empathy) b) AQ (Adversity Quotient ) ลักษณะจิตที่ทรหด อดทน เผชิญกับอุปสรรค 5) วิชาช่วยชุมชนคํานึงถึงประชาคมที่ใกล้เคียงและไกลด้วย กรณีบริษัท ซึ่งเดิมเน้นกําไร เริ่มเปลี่ยนสู่การทําหน้าที่ต่อส่วนรวมที่เรียกว่า “ความรับผิดทางบรรษัทต่อสังคม”Corporate Social Responsibility (CSR)และ“ลัทธิ นายทุนที่มีเมตตาธรรม”(Compassionate Capitalism) 17.2การมองรอบด้านและสู่อนาคต ก.พึงตระหนักว่า การมองรอบๆ คือการคํานึงถึง บริบท (context)คือ นานาสภาพแวดล้อม เป็นการพิจารณาสภาพการณ์ที่เป็นอยู่และคาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ข.การมองไปข้างหน้านั้นพึงคิดถึงทั้งระยะทาง (เทศะ) และกาละเวลา ระยะทาง คือ คํานึงถึงlocal, regional, nationalและ globalสําหรับระยะเวลา (temporal frame)อยู่ ได้แก่ 1) วิ -ไกล (วิสัยทัศน์ -ระยะไกล,long-range) ซึ่งในยุคร่วมสมัยอาจแม้เพียง 7-8 ปี 2) วิ -กลาง (middle - range) เช่น 3-4 ปี 3) วิ -ใกล้ (proximate-near) อาจเป็นช่วงเวลา 2 ปี หรือน้อยกว่านั้น
  • 16. 16 18. มโนทัศน์ “สหวิทยาการ” (Interdisciplinary) 18.1หมายถึงชุมทาง(junction) แหล่งรวมจุดหรือเครือข่าย (network)เกี่ยวโยงของนานา สาขาวิชาวิทยาการ (discipline)ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดย่อมเป็น “องค์แห่งความรู้”(body of knowledge) คือ 1) การผนวกผนึกรวมกันของความรู้อย่างหนึ่งและ 2) สัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ การเมืองการปกครองเกี่ยวโยงกับเรื่องต่าง ๆ เช่น 1)บุคลิกภาพ (personality) 2)อารมณ์ 3)อุปนิสัยของคน (character) 4)ศรัทธา (faith) ตัวอย่าง คือการเปลี่ยนแปลง อุปนิสัยของประธานาธิบดีGeorge Bush,Jr.ซึ่ง เดิมค่อนข้างเกเรกลายมาเป็นคนดี(อ้างอิงหน้าปกพาดหัวของวารสารNewsweek, March 10, 2003.ว่า Bush &God How Faith Changed His Life and Shapes His Destiny. 5)การนันทนาการ 6)การประกอบอาชีพ 7) ภาษา 8) สุนทรียภาพ (aesthetics) ฯลฯ 18.2นันทนาการ (Recreation)หรือสื่อบันเทิง กับการเมือง ปรากฏในความสนใจของบุคคล เช่น 1)สุเทพ วงศ์กําแหง และนักแสดงอื่นๆ ยุคร่วมสมัยทั้งในไทยและต่างประเทศ 2) เอสตราด้าEstradaอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เป็นดาราภาพยนตร์มาก่อน 3) Arnold Schwarzeneggerซึ่งโด่งดังจากภาพยนตร์หลายเรื่องรวมทั้ง “คนเหล็ก”(The Terminator)ในการเข้าสู่วงการเมืองผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการ(Governor) รัฐ แคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2547 (ต่อมามีข่าวเรื่องครอบครัว 2554)เป็นผู้ว่าการรัฐ แคลิฟอร์เนียภายหลังJerry Brown ซึ่งผุ้เขียน (จิรโชค วีระสย) คุ้นเคยตั้งแต่การเรียน ระดับปีต้นๆ ของปริญญาตรี (undergraduate) ณ University of California, Burkeley;
  • 17. 17 ได้เป็น 2 สมัยติดต่อกัน และคั่นโดยผู้ว่าการรัฐอีกคนหนึ่ง เมื่อ Arnold หมดวาระ Jerry Brown ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ จนกระทั่งปัจจุบัน (2013) 18.3ไม่ว่าสาขาใดย่อมเกี่ยวโยงมากบางน้อยบางกับสาขาต่างๆ เช่น 1)จิตวิทยา ว่าด้วย1)ระบบประสาท 2)ความเครียด(stress) 3)ว่าด้วยความจํา4)การเรียนรู้ ช้าหรือเร็ว 5)บุคลิกภาพ ฯลฯ เกี่ยวโยงกับ IQ , EQ , AQ , (Adversity Quotient) 2)จิตวิเคราะห์ศาสตร์ (psychoanalysisได้แก่ทฤษฎีของ Sigmund Freud(ซิกมันด์ ฟรอยด์), Carl Jung (คาร์ล ยุง J ออกเสียงเป็น ย) และ Adler แอ็ดเลอร์) 3)จิตวิทยาสังคม (social psychology) 4) ปรจิตวิทยา (Parapsychology)ซึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์แปลกพิเศษนอกเหตุเหนือผล (ESP-Extra Sensory Perception) เช่นเรื่องพลังจิตของ1)รัสปูติน (Rusputin)2) ความสามารถในการทํานายล่วงหน้า เช่น เคซี Casey ชาวอเมริกัน 3) Nostradamusชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตเมื่อ 500 ปีมาแล้วเขาเกิดวันที่14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 โดยร่วมสมัยกับมาร์ติน ลูเธอร์, (MartinLuther, 1483-1546)นักปฏิรูปศาสนา คริสต์ (เจริญวรรธนะสิน.นอสตราดามุสพิมพ์ครั้งที่ 17, กันยายน 2544) เจริญ วรรธนะสิน เป็นกรรมการร่วมกับวิลาส มณีวัต และผู้เขียน(จิรโชค วี ระสย) รวมทั้งอื่นๆในการตัดสินการคัดเลือกคําขวัญ ม.ร.ซึ่งได้คําขวัญจากการเข้า ประกวดทั่วประเทศประมาณ 20,000 คําขวัญและได้ตัดสินให้ใช้แปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง 18.4หนังสือโดยเจริญ วรรธนะสินนักแบดมินตันผู้โด่งดัง พิมพ์เพิ่มเติมภายหลังเหตุการณ์ วินาศกรรมอาคารแฝดWorld Trade Centerแห่งมหานครนิวยอร์ค ในวันที่ 11 กันยายน 2544(911-nine one one)และมีการอ้างถึงความเป็นไปตามคําทํานายของนอ สตราดามุสในโคลงบทที่ ซ.1 ค.87 ดังนี้ “ความสั่นสะเทือนจาก เปลวเพลิงที่พวยพุ่งมาจากกลางใจโลก จะทําให้หอสูงใน เมืองใหม่สั่นคลอน ภูผาหินใหญ่ทั้งสองที่ยันกันอยู่ช้านาน แล้วอา ธูสจะทําให้แม่น้ํา ใหม่กลายเป็นสีแดง “มุ่งอธิบายว่า ภูผาทั้งสองหมายถึงอาคารแฝด และสีแดง คือ การ บาดเจ็บเสียชีวิต 18.5ศาสตร์แห่งสังคมวิทยา
  • 18. 18 ก. สังคมวิทยา (Sociology) สนใจ เรื่องราวแห่ง 1) ภาวะปกติ (order) 2)อปกติ (disorder) และ 3)การเปลี่ยนแปลง(change) ซึ่งเกี่ยวโยงกับ ค้นพบการแพร่กระจาย, การคิดค้น ประดิษฐ์ ข. ตัวแปร ในการศึกษาเรื่องต่างๆ มักอยู่ในกรอบแห่งเพศ วิถี(gender) ผิวพรรณ อายุ สถานภาพครอบครัว อิทธิพลทางสังคมวิทยาอาจกล่าวว่าเกี่ยวกับ(บ ว ว ว ร ร ล) 1) บ (บ้าน) 2)ว (วัด ศาสนสถาน) 3) ว(เวิ้ง ชุมชน) 4) ว--แวดวง เช่น อาชีพ หรืองานอดิเรก คล้ายกัน 5) ร (โรงเรียน) 6) ร ระบบ เช่น บริษัทหรือหน่วยงานใด และโดยเฉพาะ ระบบราชการ 7) ล (โลกาภิวัตน์) 19.การคิดลึกและรอบคอบ (Non - linear thinking) คิดหรือทําพร้อมๆกัน หลายๆเรื่อง เช่น ร่างกายของคนเรานั้น สามารถทําได้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆกัน ความสามารถในการคิดลึกซึ้ง ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตนเองแต่ต้องอาศัยผู้อื่นด้วย ตัวอย่างได้แก่ 19.1 ไอ-แสค นิวตัน Isaac Newton (1642-1727) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ต่างๆ ซึ่งเป็นกฎตายตัว เช่น แรงโน้มถ่วง (gravity) ของโลก และเรื่องแรง(force) 19.2อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein,1879-1955) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน อพยพมาอยู่ สหรัฐอเมริกาโดยเป็นอาจารย์ที่มหาลัยปริ้นตัน(Princeton University)และมีผลงานที่ โดงดัง โดยเฉพาะทฤษฎีสัมพัทธภาพ(Relativity) 19.3ทอมัส คูห์น (Thomas Kuhn, 1922-1996) ศาสตราจารย์ชาวอเมริกันผู้เคยสอนอยู่ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ นครเบิร์คลีย์University of California, Berkeley ช่วงที่ ผู้เขียน(จิรโชค วีระสย) เรียนอยู่ระดับตรี โท และเอก, B.A. (A.B), M.A. (A.M) and
  • 19. 19 Ph.D. คูห์นริเริ่มกล่าวถึง กระบวนทัศน์หรือมุมมองหลักแห่งชุมชนวิชาการที่พลิกผัน (Paradigm shift) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร 1)ศาสตร์ปกติ (normal science or non-revolutionary science) เป็นการเรียนเรื่องเก่าๆ เรียนแบบซ้ํา ๆ 2)ศาสตร์ปฏิวัติ(revolutionary)เป็นการเรียนเรื่องใหม่ ๆ เป็นเรื่องการสร้างสรรค์ (Oxford Dictionary of Sociology. 3rd ed. revised, ed. by John Scott and Gordon Marshall, Oxford University Press, 2009, pp.544-545) 20.ทฤษฎีหรือแนวคิดแบบแยกส่วน (reductionism) และแบบองค์รวม (holistic) 20.1atomismและแนว associationismนึกถึงว่ากระบวนการทางจิต (mental processes) ว่า เป็นเสมือนกับเส้นเชือกแห่งเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งแยกออกจากกัน (string of separate events)ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันซึ่งกันและกันโดยคือ การเชื่อมโยง(association)ให้เป็นภาพ (images) และเป็นความคิด (ideas) 20.2ทฤษฎีเกสตอลต์ (Gestalt)ถือว่าการรับทราบปรากฏการณ์ (phenomena) ทางจิตอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการที่จิตกลืนกลาย (assimilation) หรือซึมซับ และจัดแบบอย่างทั่วทั้งหมด (entire patterns) และมีการนําภาพทั้งหลายรวมกัน (configurations) ซึ่งมาจากส่วนที่เป็นบริบท (context)คือ สภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งผลรวมย่อมมากกว่าจากส่วนต่างๆที่ประกอบ ขึ้นมา (component parts) ตามทรรศนะองค์รวมนี้ถือว่าจิตมุ่งให้เกิดส่วนร่วมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (unifiedwholes) หรือตามภาษาของนักคิดแนวดังกล่าว เรียกว่า“good Gestalt” แนวนี้มุ่งสร้างความสําคัญและเพื่อจะสร้างความหมายและความลึกซึ้งจาก ประสบการณ์ต่างๆ คือ ที่เป็นผลรวมหรือองค์รวม (whole) ต่างๆเหล่านี้ ถือว่าสําคัญกว่า และมักเกิดขึ้นเป็นอิสระแยกออกจากส่วนต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบนั้น (constituent parts) 20.3ทฤษฎี Gestaltถือว่าการเรียนรู้ เป็นการสร้างและการปรับปรุงรูปโฉมขององค์รวมทาง พุทธิปัญญา(cognitivewholes)มากกว่า คือ ไม่ใช่เป็นเพียง การปฏิสัมพันธ์ (interaction)ระหว่างสิ่งเร้า(stimulus) และมีการตอบสนอง (response)
  • 20. 20 (Chris Rohmann. A World of Ideas. New York: Ballantine Books, 1999, p.183) 21. วิธีการเข้าถึงซึ่งความรู้ 21.1 พฤติกรรมศาสตร์ใช้กระบวนทรรศน์หรือพาราไดม์ แนวไอแซค นิวตัน(Isaac Newton) การได้มาซึ่งความรู้มีวิธีการต่างๆกันเช่นการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เพื่อทราบเจตคติหรือทัศนคติ (attitude) โดย “การสํารวจประชามติ” (public opinion poll)มีคําถามเกี่ยวกับแนวโน้ม หรือทิศทางที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัคร (candidate)ปัจจุบันสํานักสํารวจที่โด่งดังสหรัฐอเมริกา ได้แก่ PEW Poll ทั้งนี้ต้องเลือกหรือกําหนด กลุ่มตัวอย่างหรือสุ่มตัวอย่าง(sampling)เพราะ ประชากร (population) คือจํานวนรวมมีมากมหาศาล เช่น พลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาว อเมริกัน มีประมาณมากจากประชากรทั้งสิ้นกว่า 350 ล้านคน 21.2การเข้าถึงความรู้จําเป็นต้อง ใช้เทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้มาซึ่ง 1)ข้อมูลที่แม่นตรง (validity) และเชื่อถือได้ (reliability) และ 2)การตีความหรือแปรผล(interpret)ที่ถูกต้อง ตัวอย่าง คือ การถามว่านาย ก. ไป ออกเสียง ลงคะแนนหรือเปล่า แม้นาย ก.ตอบ รับ แต่ก็ต้องตรวจสอบ (verifyแวริฟาย) ว่าออกเสียง ลงคะแนนจริงหรือไม่โดยไป ตรวจสอบที่ทะเบียน และสําหรับการตีความนั้นมีตัวอย่าง คือ หากนาย ข. ไม่เคยไปเลือกตั้งเลย ไม่ว่าจะ มีการเลือกตั้งกี่ครั้งก็ต้องพยายามตรวจสอบหาเหตุผลหลาย ๆ ด้าน 22.การได้มาซึ่งความรู้ใช้วิธีเชิงปริมาณคือ ข้อมูลที่นับเป็นสถิติตัวเลขได้ (จํานวนผู้เลือกตั้งแยก เป็นเพศวิถีหรือสถานเพศ (gender)อายุ ภูมิลําเนา ฯลฯ) 22.1วิธีการนี้ย่อมไม่สนใจ หรือไม่ให้ความสําคัญกับเรื่องราวทาง 1) ประวัติ ความเป็นมา(historical approach)หรือ 2)คุณภาพคือเรื่องของความดีหรือไม่ดี โดยมองเชิงเกณฑ์จริยธรรม วิธีการคิดเชิงพฤติกรรม ได้รับอิทธิพลจากการคํานวณตามแนวของนักคิด เดสการ์ต (Rene Descartes)และของ ไอแซค นิวตัน คือไม่คํานึงถึงเกณฑ์บรรทัดฐาน (non- normative)“ควรหรือไม่ควร”(การพิจารณาเชิงคุณค่า ‚value judgement‛)โดยถือว่า พฤติกรรม”คือ การแสดงออกตามที่เป็นจริง เช่น 1)จํานวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
  • 21. 21 2)ระยะเวลาการอยู่ในตําแหน่งของนายกรัฐมนตรีต่าง ๆ 3)แนวพฤติกรรมไม่คํานึงการ ตัดสินว่า อะไรดี อะไรไม่ดี ควรหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็น เรื่องใหญ่ในวงกรอบทางศาสนา ทางปรัชญาหรือนโยบาย บรรดาข้อมูลเมื่อเป็นความรู้มีการจัดให้เป็นระบบเข้าระเบียบ มุ่งให้สอดประสาน ระหว่างทฤษฎีกับความเป็นจริงในเชิงพฤติกรรม 22.2แนวพฤติกรรมศาสตร์เทียบได้กับการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(pure science) โดย มุ่ง “แสวงหาความรู้เพื่อความก้าวหน้าแห่งความรู้ในตัวของความรู้นั้น” (knowledge for knowledge’s sake)คือ มิใช่มุ่งเรื่องนําไปใช้ คือ ปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหา 22.3 การเข้าถึงความรู้ต้องมีการบูรณาการกับวิทยาการสาขาต่างๆ แนวพฤติกรรมสืบต่อ จากปฏิฐานนิยมหมายความว่าการพินิจพิเคราะห์พิจารณา เชิงสหหรือพหุวิทยาการ (interdisciplinary)คือ ศาสตร์ต่าง ๆ เกี่ยวโยงกันในกลุ่มหรือหมวดวิชา 1) สังคมศาสตร์ 2)มนุษยศาสตร์ 3)วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4)ศิลปกรรมศาสตร์ 23. การได้รับความรู้จากการค้นพบและหรือการประดิษฐ์ 23.1 การค้นพบ(discovery) ได้แก่การเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโลกเช่น การค้นพบว่าแร่ ทองแดงอาจหลอมได้ การค้นพบนี้ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ ทํากับทองแดง และทําให้มีการทําเหมืองทองแดง เป็นต้น การค้นพบว่าแก้วโป่งข่ามมีลักษณะอย่างไร การค้นพบแก้วโป่งข่ามในปี พ.ศ. 2514 หรือลูกปัดโบราณภาคใต้ของไทยใน ปี พศ. 2552 ทําให้คนสนใจใช้เป็นสิ่ง ประดับอันเป็นวัฒนธรรมใหม่อย่างหนึ่ง การค้นพบว่าการโยนและเตะของกลม ๆที่สานด้วยหวายไปมาทําให้สนุกและ ก่อให้เกิดวัฒนธรรม (ตามนัยแห่งสังคมศาสตร์) ที่เรียกว่าการเล่นตะกร้อ เป็นต้นการ ค้นพบดังกล่าวย่อมทําให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ขึ้น คือ มีกีฬาฟุตบอลเกิดขึ้น 23.2 การประดิษฐ์ (invention) ได้แก่ การใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อทําสิ่งอื่นขึ้นมา เช่น ในการ ใส่เครื่องยนต์เข้าไปในเรือ ทําให้เกิดเรือกลไฟขึ้นมา เครื่องยนต์และเรือเป็นวัฒนธรรมที่ มีอยู่เดิมเรือกลไฟเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่
  • 22. 22 1) การประดิษฐ์ทางวัตถุ (material invention)มีตัวอย่างคือ การสร้างครื่องปรับอากาศ, การสร้างรถมอเตอร์ไซด์ไตถัง, การทําน้ําอัดลม, การสร้างระเบิดปรมาณูและการ สร้างนาฬิกาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) การประดิษฐ์ทางอวัตถุ (non-material invention)ตัวอย่าง คือ การสร้างพิธีกรรม ใหม่ ๆการคิดปรัชญาใหม่การสร้างทฤษฎีใหม่ เช่นว่าด้วยป้องกันโรคภัย ว่าด้วยการ ลดขัดแย้ง 24. การได้รับความรู้จากการแพร่กระจาย (diffusion –ได—ฟิ้ว—ชั่น) การแพร่กระจาย หมายถึง การที่วัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งกระจายไปอยู่ในสังคมอื่น ในระยะใกล้ ระดับภูมิภาค และระดับโลก เช่น 1)การที่คนไทยรับวัฒนธรรมแห่งการใส่เสื้อนอก, การผูกเนคไท, การใส่กระโปรง, การใส่ ถุงเท้ามาจากตะวันตก 2)การที่คนไทยรับศาสนาพุทธจากอินเดีย 3)การที่ฮิปปี้หรือ บุปผาชน (flower children) อเมริกันและยุโรปรับวัฒนธรรมบางอย่างไป จากอินเดีย เช่น การใส่รองเท้าแตะหรือการสวมลูกประคํา (เพลง I left my heart in San Francisco) 4)การที่มีศัพท์และสําเนียงจีนหลายคําอยู่ในภาษาไทย เช่น แป๊ะเจี๊ยะ,ตั้งไฉ่ 5)การที่มีร้านค้า ศูนย์การค้าแบบตะวันตกในกรุงเทพมหานคร อันเป็นการกระจาย วัฒนธรรมจากตะวันตกมาสู่ตะวันออก ประเภท mall ต่าง ๆ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เช่น Siam Paragon, เม็กกะบางนา Mega-Bangna ซึ่งมีห้าง Ikeaขายเฟอร์นิเจอร์ขนาด ใหญ่ในปลายปี 2554 และขนาดย่อม ๆ ที่เรียกว่า Community Mall ตามหมู่บ้านขนาด ใหญ่และแม้ตามชานเมือง 6)การมีศัพท์ใหม่ ๆ เช่น วัยโจ๋ แอ๊บแบ้วเด็กแว๊น ดังปรากฏในพจนานุกรมคําใหม่ ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน2550 (ดูภาคผนวก) 7) การรับวัฒนธรรมเกาหลี K-Pop (Korean) รวมทั้งเพลงละท่าเต้น Gangnam Styleของ PSYในเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2556 มีผู้เข้า view ประมาณ 17 ล้าน คนและรองลงมาคือนักร้องสตรีชาวแคนาดามีผุ้เข้าชมประมาณ 275 ล้านคน ในเพลง Maybe 25. การเข้าถึงความรู้โดยการเดินทาง: กรณีนักคิดชาวฝรั่งเศสAlexis de Tocqueville
  • 23. 23 25.1 แอเลกซิส เดอ ทอคเกอวิลย์ หรือต๊อกเกอวิลย์ (Alexis deTocqueville, 1805-1859)มี ตําแหน่งเป็นข้าราชการของรัฐบาลฝรั่งเศสและได้มีโอกาสเดินทางข้ามน้ําข้าม มหาสมุทรแอตแลนติกจากยุโรปเพื่อไปดูงานเกี่ยวกับกิจการเรือนจําในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีมาแล้ว คือประมาณค.ศ. 1830 เศษ ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังนิยมเรียกสหรัฐอเมริกาว่าเป็น “โลกใหม่” (NewWorld)ช่วงนั้นห่างจาก “การประกาศอิสรภาพของอเมริกัน” (Declaration ofIndependence)เพียงประมาณ60 ปีเท่านั้น 25.2การเดินทางยุคนั้นต้องใช้เวลามาก และเมื่อทอคเกอวิลย์ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกาและได้ ท่องเที่ยวพอสมควรแล้วเกิด “การตื่นตาตื่นใจ”(sense ofwonder) จากสิ่งที่ทอคเกอวิลย์ ได้พบเห็นอันแปลกใหม่กว่าเดิมที่เขาคุ้นเคยหรือชินตาที่ประทับใจทอคเกอวิลย์มาก คือ บรรดาอนุสรณ์สถาน (monuments)ซึ่งในฝรั่งเศสมักก่อสร้างให้มีขนาดใหญ่ เช่นหอไอ เฟิล(Eiffel) และประตูชัย (Arc deTriomphe)รวมทั้งประติมากรรมของผู้นําคนสําคัญ ๆ 25.3ทอคเกอวิลย์ จึงเกิดความแปลกใจอย่างมากที่พบอนุสรณ์สถาน และรูปปั้นเป็นจํานวน มากในสหรัฐอเมริกาสิ่งเหล่านั้นใน“โลกใหม่”มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทอคเกอวิ ลย์พยายามคิด (แบบการใช้ญาณทัศนะ ) ว่าทําไมจึงมีข้อแตกต่าง ในท้ายที่สุดทอค เกอวิลย์ลงมติ (คงทํานองเกี่ยวกับการเปล่งวาจา ว่าคิดได้แล้ว หรือถึง“บางอ้อ” (คือ “ยุรี คา” (Eureka)โดยอาร์คิมีดีส(Archimedes)แห่งกรีกโบราณ เมื่อค้นพบวิธีการพิสูจน์ ความบริสุทธิของทองคํา) 25.4ทอคเกอวิลย์ เห็นว่าการที่มีปรากฏใน สหรัฐอเมริกา ซึ่งสัญลักษณ์อนุสรณ์นานาประเภท ทั้งใหญ่และเล็กนั้นเหมือนกับเป็น กระจกหรือคันฉ่องส่องสะท้อนภาพ ความรู้สึกนึกคิด หรือทัศนคติของคนอเมริกันซึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยสูง จึงแสดงออกมาซึ่งความ เสมอภาคในการระลึกถึงความ “ดีเด่น”ของปัจเจกชนไม่ว่าจะมีตําแหน่งหรือไม่มี ตําแหน่งก็ตาม ชี้ให้เห็นถึงการเทิดทูน“ความเสมอภาค”ดังนั้น เมื่อทําความดี เพื่อสาธารณชน แม้ ไม่เป็นเรื่องไม่ใหญ่โตนัก และตนเองเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ ก็ย่อมได้รับการยกยอง โดยมีคนปั้นรูปหรือจารึกชื่อไว้ให้ 25.5ข้อสังเกตนี้อาจมีผู้มองเห็นอยู่บางแล้ว แต่สําหรับทอคเกอวิลย์มีลักษณะแบบ “นัยน์ตาที่ สาม” (the third eye)ด้วยคือ ความสามารถโยงข้อสังเกตนี้ให้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง
  • 24. 24 ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา และในฝรั่งเศส ทอคเกอวิลย์เห็นว่าฝรั่งเศสแม้จะมี การ ปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ.1789 แล้วก็ตามแต่ยังขาดเสถียรภาพและความเป็นประชาธิปไตย ทอคเกอวิลย์ครุ่นคิดเรื่องนี้อยู่ และพยายามหาสาเหตุว่าทําไมจึงเป็นเช่นนั้น ทอคเกอวิลย์ทราบว่าสหรัฐอเมริกาแยกตัวจากอังกฤษในปี ค.ศ.1776 และมี รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย ก่อนฝรั่งเศสไม่นานนัก คือ มีในปี ค.ศ. 1787 แต่สถาบัน ประชาธิปไตยอเมริกันมั่นคงกว่า ดังนั้น เมื่อทอคเกอวิลย์ เห็นความแตกต่างในเรื่อง อนุสาวรีย์ในฝรั่งเศสกับ โลกใหม่(New World) คือสหรัฐอเมริกา จึงได้คิดพิจารณา กลับไปกลับมาหลายครั้งและลงความเห็นว่า จํานวนและขนาดของอนุสาวรีย์สะท้อน ความเชื่อหรือการมีสหจิต (consensus)ของคนอเมริกันในเรื่องความเสมอภาคหรือความ ทัดเทียมกัน 25.6อนึ่ง เมื่อมีความเชื่อเรื่องความเสมอภาค (equality) ย่อมแสดงออกด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้ง การให้เกียรติสามัญชนที่มีความดีด้วยการสร้างอนุสาวรีย์ให้เป็นการส่งเสริมวิถีแห่ง ประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง คือ ไม่ใช่ยกยองเฉพาะวีรกรรมใหญ่ ๆ ของ “วีรชนคนกล้า” อย่างเช่น ในฝรั่งเศส 1)Alexis de Tocqueville.Democracy in America 2)Sidney Hook.The Hero inHistory.Boston: Beacon, 1955 26.ปัญญา: แสงชวาลาแห่งชีวิต 26.1อารยธรรมของโลก ก.โลก(planet-earth) เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในสุริยจักรวาล มัก ถือกันว่าต้นเค้าของอารยธรรมคืออียิปต์และอิรัคโบราณหรือบริเวณที่เรียกว่าเมสโส โปเตเมีย 6000 ปีเศษมาแล้ว ยุค 2400 ปีในอดีตเพลโต มหาปราชญ์กรีกเคยกล่าวถึงตํานานแห่ง the lost city เมืองหรือทวีปที่หายไปคือแอตแลนติส (Atlantis)ซึ่งเคยมีอารยธรรมสูงส่งยิ่งนักและ ถ่ายทอดสู่คนอียิปต์โบราณซึ่งสามารถสร้างปิรามิดและทํามัมมี่ได้ ข.มนุษย์ครองโลกเพียงไมเกิน 1.5 ล้านปีทั้งๆที่ไดโนเสาร์เป็นเจ้าพิภพประมาณ 220ล้าน ปีจวบจนโดนดับจากอุกาบาต (meteor)มหึมาซึ่งมาพร้อมกับดาวหาง(Comet)เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้วช่วงสั้นๆของมนุษย์บนผืนโลกนี้เมื่อเทียบกับอายุของพืช(flora)และ สัตว์(fauna)แต่กระนั้นก็มีผลงานมหาศาล สืบเนื่องจากการมีปัญญาซึ่งเปรียบเสมือน
  • 25. 25 แสงชวาลาแห่งชีวิต 26.2มรดกทางปัญญา (intellectual heritage –เฮอ-ริต-ติจ) ก.ผลงานจากสมองของมนุษย์เรียกชื่อต่างๆกันเช่น 1) ทุนทางปัญญา (intellectual capital) 2)ทรัพยากรทางปัญญา (intellectual resource) และ 3) บางครั้งรวมเรียกว่าทุน มนุษย์ (human capital) ข.สมองมนุษย์มี 2 ซีก 1) ซีกซ้ายเกี่ยวกับเรื่องซ้ํา ๆSame Sameคือความคุ้นเคยและเคยชิน (habitual) 2)ซีกขวาเป็นเรื่องของ innovative (นวัตกรรม) หรือ inventive (ประดิษฐ์คิดค้น) และ สร้างสิ่งใหม่ๆซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานแห่งการไดรับรางวัลเกียรติยศสูงสุดทาง วิทยาศาสตร์คือ NobelPrizes สํานักวิจัยและมหาวิทยาลัยที่โด่งดังได้รับเกียรตินี้ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา 26.3ปัจจัยประกอบ 1)ผลงานทางปัญญาขึ้นอยู่กับ บริบท (context)คือสภาพแวดล้อมแห่งสังคมและ วัฒนธรรม ดังปรากฏในรูปของนานา อารยธรรม (civilizations) เช่น ก. อียิปต์เกินกว่า 5,000ปี ผลงาน เช่น ปิระมิด, รูปปั้น Sphinx ข. จีนประมาณ 4,500 ปี ผลงาน เช่น กําแพงจีน (The Great Wall of China) ค. อินเดียประมาณ 4,000 ปี ง. อื่นๆ 2)มรดกทางปัญญาของกรีกยุคโบราณ (The Glory that was Greece)มีอิทธิพลทาง วิชาการสืบเนื่องต่อกันมาเป็นเวลาช้านานประมาณ 2,400 ปี ชื่อมหาปราชญ์กรีก 3 คนหรือไตรเมธี (ไตร-อัม-วิ-ริท triumvirate) ที่รู้จักกันดีคือ ก.ซอคราตีส หรือศักรทิษฐ์ (Socrates), ข.เพลโต(Plato ชื่อจริงคืออาริสโตคลีส Aristocles ค.อาริสโตเติ้ล(Aristotle) 27.การสร้างสรรค์ทางปัญญา 27.1หมายรวมถึงทุกแขนงแห่งความรู้แม้กระทั้งวิชาเขียนลายมือ(Calligraphy) ซึ่ง Steve Jobs นักประดิษฐ์Iphone, Ipad เคยเรียนตอนเยาว์วัย
  • 26. 26 27.2มีการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆเช่น 1)ในวงดนตรีตะวันตกมี Beethoven, Bach, Brahm, Mozart, Moussorsky 2)ในวงการประพันธ์บทละครอังกฤษเช่นวิลเลียม เชกส์เปียร์ (ซึ่งมีการประยุกต์แนวบท ละครเรื่องThe Tempestเนรมิตเกาะอังกฤษ ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก กรกฎาคม 2555 ณ มหานครกรุงลอนดอน) 3)ในวงการ Theme Parkเช่น Walt Disney 4)ในเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น ทอมัส เอดดิสัน 5)ในเรื่องของพิชัยยุทธเช่นซุนหวู่หรือซุนซู 6)ด้านการทํานายแผ่นดินไหวทั้งในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดสึนามิและสามารถก่อให้เกิดได้ คือศาสตราจารย์Richterแห่งCalifornia Institute of Technology 27.3การเข้าถึงความรู้ (access to knowledge) มีวิถีต่างๆกัน ศัพท์วิชาการเรียกว่า 1)แนวพินิจ ; แนวพิจารณา 2)หรือแนวทางศึกษาวิชาการ (academic approaches) 3)เส้นทางสู่ความรู้ (roadmaps) 28. ปัจจัยหรือนานาตัวแปรที่ทําให้เกิดคุณูปการทางวิทยาการ 1)ระดับพื้นฐานคือที่กล่าวคล้องจองกันว่าเกี่ยวกับ “1 สมอง 2 ตา 2 หู 1 ปาก 2 มือ 2 เท้าที่ก้าวไกล‛ 2) ระดับมูลเหตุจูงใจ(motivation) คือจิตมุ่งสําเร็จ (N-Achievement, conceptualized) ไว้โดยนักคิดร่วมสมัย David McClellen แห่งHarvard University เรียกว่า “จิตใจใฝ่ สัมฤทธิ” 3)การปฏิบัติแห่งอิทธิบาท 4 รวมทั้งจิตจริยธรรมมุ่งประโยชน์ของมนุษย์ 4)สภาวะแวดล้อมเช่น บ ว ว ว ร ล คือ 1) บ้าน(ครอบครัว) 2) วัด(สถาบันศาสนา) 3) ว (เวิ้ง ชุมชน ละแวก) 4) วแวดวง เช่นอาชีพเดียวกัน 5)ร โรงเรียน 6) ร ราชการหรือ ระบบ7) ล โลกาภิวัตน์---กระแสโลก 5)บรรยากาศทางปัญญา (intellectual climate) 6)การพึ่งพาของนานาสถาบันที่อยู่ใกล้ๆกัน (cluster of academic institutions)เพื่อพึ่งพิง หรือแข่งขันเปรียบเทียบ 29. ว่าด้วยทฤษฏี