SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
เอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน(Hydrocarbon compound)
สารอินทรีย์ที่โมเลกุลประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้นเรียกว่า สารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอน และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลประกอบด้วยพันธะเดี่ยวระหว่างคาร์บอน-
คาร์บอนเพียงอย่างเดียว เรียกว่า ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (Saturated hydrocarbon) ส่วนสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่หรือพันธะสามระหว่างคาร์บอน -คาร์บอนรวมอยู่ด้วย เรียกว่า
ไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว(Unsaturated hydrocarbon)
โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวหรือต่อกัน
เป็นโซ่ตรง(Straight chain) หรือต่อกันเป็นสายยาวที่มีกิ่งสาขาแยกออกจากโซ่ตรง (Branch chain)
โดยไม่มีวงของคาร์บอนในโมเลกุลนั้นเลยเรียกว่า อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic hydrocarbon)
หรือแบบโซ่เปิด โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นวงและ
อาจจะมีกิ่งแยกออกจากวงของคาร์บอนเรียกโมเลกุลประเภทนี้ว่าไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่ปิด หรืออะลิ
ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (Alicyclic hydrocarbon) และโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีวง
แหวนของเบนซีนเป็นโครงสร้างหลักเรียกว่า อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(Aromatic hydrocarbon)
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว(Saturated hydrocarbon)
1. แอลเคน(Alkane)
นักเคมีอินทรีย์เห็นว่าแอลเคนเป็นโครงสร้างของคาร์บอนที่ยึดอะตอมไฮโดรเจนไว้และ
โครงสร้างที่ง่ายที่
สุดจะเป็นโซ่ของคาร์บอนอะตอมติดต่อกันโดยไม่มีโซ่กิ่ง สารประกอบเหล่านี้มีสูตรทั่วไปCnH2n+2
ดังนี้
ตาราง 3.1 แสดงโครงสร้าง ชื่อ และสมบัติทางกายภาพของn-alkane
โครงสร้าง ชื่อ จุดหลอมเหลว(C) จุดเดือด(C)
CH4
CH3CH3
CH3CH2CH3
CH3CH2CH2CH3
CH3(CH2)3CH3
CH3(CH2)4CH3
CH3(CH2)5CH3
CH3(CH2)6CH3
CH3(CH2)7CH3
CH3(CH2)8CH3
Methane
Ethane
Propane
n – butane
n – pentane
n – hexane
n – heptane
n – octane
n – nonane
n – decane
-183
-172
-187
-135
-130
-94
-91
-57
-54
-30
-162
-89
-42
0
36
69
98
126
151
174
อย่างไรก็ตามเมื่อจานวนคาร์บอนอะตอมเพิ่มขึ้นจานวนไอโซเมอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น เฮกเซน
จะมี 5 ไอโซเมอร์ เฮปเทนมี 8 ไอโซเมอร์ ทาให้การเรียกชื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีความ
จาเป็นต้องตั้งระบบการเรียกชื่อขึ้น
ระบบ IUPAC นักเคมีกลุ่มหนึ่งได้ประชุมกันที่เจนีวาในปี ค.ศ.1892 และได้ช่วยกันร่างกฎการ
เรียกชื่อขึ้นมา เรียกว่าระบบIUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งมี
ขั้นตอนในการเรียกดังนี้
1. เลือกโซ่คาร์บอนที่ยาวที่สุดเป็นโซ่หลัก (parent name)
2. กาหนดตาแหน่งของคาร์บอนอะตอมในโซ่หลัก โดยให้ตาแหน่งของคาร์บอนที่มีหมู่
แทนที่(substituent) มีตัวเลขต่าสุด
3. หมู่แทนที่ต่ออยู่กับตาแหน่งใดของคาร์บอนอะตอมในโซ่หลักการอ่านชื่อก็จะระบุ
ตาแหน่งของคาร์บอนอะตอมนั้นแล้วตามด้วยชื่อของหมู่แทนที่
4. ในการเรียกชื่อจะเริ่มด้วยชื่อของหมู่แทนที่เรียงตามลาดับตัวอักษรแล้วตามด้วยชื่อหลัก ถ้า
ในโมเลกุลมีหมู่แทนที่ชนิดเดียวกันมากกว่า1 หมู่ ให้เติมคาว่า di, tri, tetra ฯลฯ เพื่อ
บอกถึงจานวนของหมู่แทนที่ด้วย และถ้าหมู่แทนที่ชนิดเดียวกันแทนที่อยู่ที่คาร์บอน
อะตอมเดียวกันทั้ง2 หมู่ให้ระบุตัวเลขของตาแหน่งนั้นซ้าด้วย เช่น
สาหรับหมู่แอลคิล(alkyl group) ซึ่งเป็นหมู่แทนที่นั้น เกิดจากการลดจานวนอะตอมของไฮโดรเจนใน
แอลเคนลง 1 อะตอม จึงมีสูตรทั่วไป CnH2n+1
2. ไซโคลแอลเคน(Cycloalkane)
การเรียกชื่อไซโคลแอลเคนจะเรียกทานองเดียวกับแอลเคน ยกเว้นแต่ชื่อหลักซึ่งบอกจานวน
คาร์บอนในวง
นั้นจะต้องนาหน้าด้วยคาว่า ไซโคล– (cyclo - )
การเขียนสูตรแสดงโมเลกุลของไซโคลแอลเคนนิยมเขียนเป็นรูปเรขาคณิตเพราะเขียนง่าย แต่การใช้
สูตรแบบนี้จะต้องระลึกเสมอว่าแต่ละอะตอมของคาร์บอน(ซึ่งเขียนแสดงเพียงมุมของรูปเหลี่ยมเท่านั้น)
จะต้องสร้างพันธะกับไฮโดรเจน2 อะตอม และจากตาราง3.3 จะเห็นว่าไซโคลแอลเคนมีจุดเดือดสูง
กว่า n – alkane ที่มีจานวนคาร์บอนเท่ากัน
ไซโคลแอลเคนที่มีหมู่แอลคิลแทนที่จะเรียกชื่อเป็นอนุพันธ์ของไซโคลแอลเคน โดยถ้ามีการ
แทนที่เพียง 1 หมู่ ก็ไม่จาเป็นต้องระบุตาแหน่งที่แทนที่ เพราะทุก ๆ ตาแหน่งในวงจะสมมาตรกันหมด
เช่น
CH3 CH2CH3
methylcyclobutane ethylcyclohexane
แต่ถ้ามีการแทนที่ตั้งแต่ 2 ตาแหน่งขึ้นไป จาเป็นต้องระบุตาแหน่งที่มีการแทนที่ด้วย
โดยทั่วไปให้มีการนับตาแหน่งที่มีการแทนที่ใด ๆ เป็นตาแหน่งที่ 1 แล้วนับวนไปจนรอบวงในทิศทาง
ที่ทาให้หมู่แทนที่มีตัวเลขน้อยที่สุด เช่น
CH3 CH3
CH3 CH2CH3
1, 3 – dimethylcyclopentane 1 – ethyl – 3 – methylcyclohexane
ถ้าวงของไซโคลแอลเคนต่ออยู่กับหมู่แอลคิลที่มีโครงสร้างซับซ้อน มักนิยมเรียกหมู่ไซโคลแอลคิลเป็น
หมู่แทนที่ต่อกับแอลเคน เช่น
CH3 CH3
CH3 CH CH CH2 CH CH3
3 – cyclopentyl – 2, 5 - dimethylhexane
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว(Unsaturated hydrocarbon)
1. แอลคีน(Alkene)
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ พันธะคู่ในแอลคีนจัดเป็นหมู่ฟังก์ชัน
(functional
group) ซึ่งการเรียกชื่อโดยระบบ IUPAC นั้น ถ้ามีหมู่ฟังก์ชันจะต้องพิจารณาถึงหมู่ฟังก์ชันของ
สารประกอบเพื่อใช้เป็นชื่อหลัก ในกรณีของแอลคีนมีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกโซ่คาร์บอนที่ยาวที่สุดและมีพันธะคู่อยู่ในโซ่นั้นด้วยเป็นชื่อหลัก แต่ในกรณีที่มี
พันธะคู่มากกว่า1
พันธะ ให้เลือกโซ่ที่มีพันธะคู่มากที่สุดเป็นชื่อหลัก แม้ว่าจะไม่ใช่โซ่ที่ยาวที่สุดก็ตาม
2 กาหนดตาแหน่งคาร์บอนอะตอมในโซ่หลัก โดยให้พันธะคู่อยู่ในตาแหน่งที่มีเลขน้อย
ที่สุด
3 ถ้ามีพันธะคู่เพียง 1 พันธะ ให้ลงท้ายชื่อว่า – อีน ( - ene) ถ้ามี 2 พันธะใช้– ไดอีน ( -
diene) ฯลฯ
4 ตาแหน่งของพันธะคู่ให้ระบุด้วยตัวเลขของคาร์บอนอะตอมแรกที่สร้างพันธะคู่นั้น
5 ถ้ามีโซ่กิ่งให้ระบุทานองเดียวกันกับสารประกอบแอลเคน
1.1 สมบัติทางกายภาพ
โดยทั่วไปสมบัติทางกายภาพของแอลคีนคล้ายคลึงกับของแอลเคนที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แอ
ลคีนที่มีคาร์บอน 2-4 อะตอมมีสถานะเป็นก๊าซ คาร์บอน 5-18 อะตอมมีสถานะเป็นของเหลวและ
คาร์บอนมากกว่า18 อะตอมมีสถานะเป็นของแข็ง แอลคีนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงไม่ละลายในน้าแต่จะ
ละลายได้ดีในตัวทาละลายไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เป็นต้น สมบัติบางประการ
ของแอลคีนดังแสดงในตาราง 3.5
ตาราง 3.5 แสดงสมบัติทางกายภาพบางประการของแอลคีน
สูตรโครงสร้าง ชื่อ IUPAC จุดหลอมเหลว
(C)
จุดเดือด(C) ความหนาแน่น
(g/cm3
) ที่ 25C
CH2 = CH2
CH2 = CHCH3
CH2 = CHCH2CH3
CH3CH = CHCH3
CH3(CH2)7CH = CH3
ethene
propene
1 – butene
2 – butene
1 - decene
-169
-185.2
-185
-139
-66.3
-104
-47
-6.0
3.7
171
-
-
-
0.621
0.741
1.2 ปฏิกิริยาเคมี
แอลคีนเกิดปฏิกิริยาเคมีแตกต่างจากแอลเคนมาก แอลเคนเป็นสารประกอบที่เฉื่อย แต่แอลคีน
มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง ปฏิกิริยาที่สาคัญของแอลคีนได้แก่
1.2.1 ปฏิกิริยาการเติม(Addition)
C = C + A – B – C – C –
A B
เป็นปฏิกิริยาที่รีเอเจนต์A – B เติมลงไปที่ปลายทั้งสองข้างของพันธะคู่แล้ว
เกิดผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบอิ่มตัว ซึ่งประกอบด้วยอะตอมทุกอะตอมของตัวทา
ปฏิกิริยาที่สองตัว ปฏิกิริยาการเติมแบ่งได้ดังนี้
1.2.1.1 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา(Catalytic
hydrogenetion)
ไฮโดรเจนโมเลกุลสามารถเติมลงไปที่พันธะคู่ของแอลคีนได้เมื่อใช้ตัวเร่งที่
เหมาะสมได้ผลิตภัณฑ์เป้นแอลเคนปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โดยละลายแอลคีนในตัวทา
ละลายที่เหมาะสม เช่น เอทานอล เมทานอล และมีตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะเป็นแพล
ตินัม(Pt) นิกเกิล(Ni) หรือแพลเลเดียม (Pd) ที่เป้นผงละเอียดจากนั้นจึงผ่านก๊าซ
ไฮโดรเจนเข้าไปในส่วนผสมของปฏิกิริยาภายใต้ความดันต่า ไฮโดรเจนจะไม่สามรถ
เติมลงไปที่พันธะคู่ได้ถ้าไม่ใช้ตัวเร่ง แม้ว่าปฏิกิริยานี้จะเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
อย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะของไฮโ ดรเจนโมเลกุล
มีค่าสูงมาก ตัวเร่งจะดูดซับโมเลกุลของไฮโดรเจนและของแอลคีนเป็นชั้นบาง ๆ
เคลือบไว้ที่ผิวของตัวเร่งเป็นการช่วยให้ไฮโดรเจนแตกตัวออกเป็นอะตอมและ
เกิดปฏิกิริยากับแอลคีนที่ผิวของตัวเร่ง
1.2.1.2 ปฏิกิริยาการเติมฮาโลเจน(Halogenetion)
CH3CH = CH2 + Br2/CCl4 CH3CH CH2
Br Br
สีส้ม(สีน้าตาลแดง) ไม่มีสี
แอลคีนทาปฏิกิริยากิริยากับสารละลายโบรมีน หรือคลอรีนในคาร์บอนเต
ตระคลอไรด์ที่อุณหภูมิห้องได้ ไอโอดีนมีความว่องไวน้อยจึงไม่สามารถเกิดปฏิกิริยา
กับแอลคีนได้ ส่วนฟลูออไรด์นั้นว่องไวมากเกิดปฏิกิริยารุนแรงจึงเป็นรีเอเจนต์ที่ไม่
เหมาะสม ปฏิกิริยาการเติมโบรมีนสามารถใช้ทดสอบความไม่อิ่มตัวของสารประกอบ
ได้โดยการสังเกตสีที่เปลี่ยนไปเมื่อเกิดปฏิกิริยา โบรมีนเป็นของ เหลวสีส้มหรือสี
น้าตาลแดงเข้มเมื่อเกิดปฏิกิริยากับแอลคีนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสี ดังนั้นสารประกอบ
ไม่อิ่มตัวจึงฟอกสีโบรมีนได้
1.2.1.3 ปฏิกิริยาการเติมกรด
HX – C – C – (HX : HCl, HBr, HI)
H X
(แอลคิลเฮไลด์)
C = C H2SO4 – C – C –
H OSO3H
(แอลคิลไฮโดรเจนซัลเฟต)
H2O, H+
– C – C –
H OH
1.2.2 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน(Oxidation)
แอลคีนสามารถถูกออกซิไดซ์ที่พันธะคู่ได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของตัวออกซิไดซ์
และสภาวะ
ของปฏิกิริยา ปฏิกิริยาออกซิไดซ์ของแอลคีนเมื่อใช้ตัวออกซิไดซ์ที่อ่อน ได้แก่สารละลายโพแตสเซียม
เปอร์แมงกาเนตที่เป็นกลางหรือด่างเจือจางที่เย็นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นไกลคอล
3CH2 = CH2 + 2KMnO4 + H2O 3 CH2 – CH2 + 2MnO2 + 2KOH
OH OH
(ไกลคอล)
ปฏิกิริยานี้ใช้เป็นวิธีทดสอบความไม่อิ่มตัวของสารประกอบได้อีกวิธีหนึ่งเรียกว่า เบ
เยอร์เทสท์(Baeyer test) สารละลายโพแตสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีสีม่วงเมื่อเกิดปฏิกิริยากับแอลคีนสี
ม่วงจะหายไปและมีตะกอนสีน้าตาลของแมงกานีส(IV)ออกไซด์เกิดขึ้น ส่วนไกลคอลเป็นสารประกอบ
ไม่มีสี ปฏิกิริยานี้ถ้าเกิดในสภาวะที่รุนแรง เช่นในสารละลายกรด(pHต่า) และให้ความร้อน ไกลคอล
ที่เกิดขึ้นจะแตกตัวออก ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรดคาร์บอกซิลิก หรือคีโตน
ก็ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแอลคีนในปฏิกิริยา
1.2.3 พอลิเมอไรเซชัน(Polymerization) หรือปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์
สมบัติที่สาคัญอย่างหนึ่งของแอลคีนคือ ความสามารถในการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่
เรียกว่า
พอลิเมอร์ พอลิเมอไรเซชันเป็นกระบวนการที่โมเลกุลเล็ก ๆ เรียกว่า มอนอเมอร์(monomer)
เกิดปฏิกิริยารวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ เรียกว่า พอลิเมอร์(polymer) เช่น การเกิดพอลิเอธิลีน
CH2 = CH2 + CH2 = CH2 + CH2 = CH2 +………… [ CH2 – CH2 ]n
2. ไซโคลแอลคีน(Cycloalkene)
ถ้าในวงของสารประกอบมีพันธะคู่เพียง 1 พันธะ ให้นับคาร์บอนอะตอมที่สร้างพันธะคู่เป็น
ตาแหน่งที่ 1
และไม่จาเป็นจะต้องระบุตาแหน่งของพันธะคู่นั้น แต่ถ้ามีพันธะคู่2 พันธะจะต้องระบุตาแหน่งของ
พันธะทั้งสองด้วย
3. แอลไคน์ (Alkyne)
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะสามในโมเลกุลและถือว่าพันธะสามคือหมู่ฟังก์ชัน
ของแอลไคน์
การเรียกชื่อแอลไคน์จะเหมือนกับแอลคีนแต่ให้เปลี่ยนคาลงท้ายชื่อเป็น – ไอน์ ( - yne) ในกรณีที่ใน
โมเลกุลมีทั้งพันธะคู่และพันธะสาม โซ่หลักจะต้องมีทั้งพันธะคู่และพันธะสาม และคาลงท้ายชื่อจะ
เป็น - อีนไอน์ ( - enyne)
ส่วนในการนับตาแหน่งจะต้องให้พันธะคู่มีตัวเลขน้อยกว่า เช่น
CH3 1 2 3 4 5 6
HC C – CH – CH2 – CH3 CH2 = CH – CH2 – CH2 – C CH
1 2 3 4 5
3 – methyl – 1 – pentyne 1 – hexene – 5 – yne
แม้ว่าชื่อ IUPACของสารประกอบตัวแรกของแอลไคน์จะเป็นอีไทน์(ethyne) แต่มักนิยม
เรียกว่า อะเซทิลีน
(acetylene) และสารประกอบตัวแรก ๆ ของแอลไคน์ก็นิยมเรียกเป็นอนุพันธ์ของอะเซทิลีน โดย
พิจารณาว่าสารนั้น ๆ เกิดจากการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีนด้วยหมู่แอลคิล เช่น
HC CH CH3C CH CH3C CCH3
acetylene methylacetylene dimethylacetylene
3.1 สมบัติทางกายภาพ
แอลไคน์มีสมบัติทางกายภาพคล้ายคลึงกับแอลเคนและแอลคีน แอลไคน์ไม่ละลายน้า แต่
ละลายได้ในตัว
ทาละลายอินทรีย์ เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้า จุดเดือดเพิ่มขึ้น
ตามมวลโมเลกุล และมีค่าใกล้เคียงกับจุดเดือดของแอลเคนและแอลคีนที่มีโครงสร้างเหมือนกัน แอล
ไคนืที่มีคาร์บอน2-4 อะตอมมีสถานะเป็นก๊าซ 5-18 อะตอมมีสถานะเป็นของเหลว และคาร์บอน
มากกว่า18 อะตอมเป็นของแข็ง สมบัติบางประการของแอลไคน์ดังแสดงในตาราง3.6
ตาราง 3.6 แสดงสมบัติทางกายภาพของแอลไคน์บางชนิด
สูตรโครงสร้าง ชื่อ IUPAC จุดหลอมเหลว
(C)
จุดเดือด(C) ความหนาแน่น
(g/cm3
) ที่ 25C
CH CH
CH CCH3
CH CCH2CH3
CH
CHCH2CH2CH3
ethyne
propyne
1 – butyne
1 - pentyne
-82
-101.5
-122
-98
-75
-23
-
40
-
-
-
-
3.2 ปฏิกิริยาเคมี
แอลไคน์เกิดปฏิกิริยาทานองเดียวกับแอลคีน คือสามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมที่พันธะสามด้วยรี
เอเจนต์
ประเภทเดียวกันกับปฏิกิริยาการเติมที่พันธะคู่ของแอลคีน ต่างกันตรงปริมาณของรีเอเจนต์ที่ใช้ในการ
เกิดปฏิกิริยา
3.2.1 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา
3.2.2 ปฏิกิริยาการเติมฮาโลเจน
3.2.3 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนเฮไลด์
3.2.4 ปฏิกิริยาไฮเดรชัน
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(Aromatic hydrocarbon)
สารประกอบที่เป็นวงของคาร์บอน6 อะตอม และมีพันธะคู่กับพันธะเดี่ยวสลับกันไปเป็น
สารประกอบที่มีเสถียรภาพสูงและทาปฏิกิริยาแตกต่างไปจากสารประกอบแอลคีน สารประกอบเหล่านี้
หลาย ๆ สารที่พบในตอนแรกยังมีกลิ่นหอมอีกด้วยจึงจัดสารประกอบในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบอะโร
มาติกไฮโดรคาร์บอน
เบนซีน(Benzene) และอนุพันธ์ของเบนซีน
ในปี ค.ศ. 1825 Michael Faraday ได้แยกสารตัวอย่างออกจากก๊าซที่ได้จากการจุดไฟให้แสง
สว่าง ต่อมาเรียกว่า เบนซีน เนื่องจากสามารถสังเคราะ ห์ได้จากการกลั่นกรดเบนโซอิกกับแคลเซียม
ออกไซด์ นับเป็นตัวอย่างของสารอะโรมาติกตัวแรก ต่อมาในปี ค .ศ 1834 ได้ค้นพบสูตรโมเลกุลของ
เบนซีนเป็น C6H6 จากสูตรนี้แสดงให้เห็นว่าเบนซีนเป็นสารประกอบไม่อิ่มตัว แต่ในขณะนั้นไม่มีผู้ใด
เสนอสูตรโครงสร้างที่แท้จริงของเบนซีนว่าเป็นอย่างไร จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1865 Kekule/
ได้พยายาม
ค้นคว้าและเสนอสูตรโครงสร้างของเบนซีน โดยตั้งสมมติฐานว่าเบนซีนต้องประกอบด้วยวงรูปหก
เหลี่ยมที่แบนราบมีคาร์บอน 6อะตอมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยวและคาร์บอนแต่ละอะตอมต่างก็สร้างพันธะ
กับไฮโดรเจน 1 อะตอมดังรูป
H
H C H
C C
C C
H C H
H
และจากการศึกษาโครงสร้างของเบนซีนพบว่า ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมทุกพันธะมี
ความยาวเท่ากันคือ 1.39 แองสตรอม (A) ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ระหว่างคาร์บอนอะตอมพันธะคู่ ( 1.34 A)
และพันธะสาม ( 1.54 A) นั่นหมายความว่าพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลของเบนซีน
ไม่ได้เป็นพันธะเดี่ยวหรือพันธะคู่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ประกอบด้วยพันธะคู่ที่มีการเคลื่อนที่ไปรอบวง
จริง และจากการวัดมุมระหว่างพันธะของคาร์บอนแต่ละอะตอมเป็น 120  นักวิทยาศาสตร์เรียก
ปรากฎการณ์ทานองนี้ว่า เรโซแนนซ์ (resonamce) หมายถึงปรากฎการณ์ที่ไม่สามารถแสดงสูตรโครส
ร้างที่แท้จริงของสารได้ ดังนั้นจึงเขียนสูตรโครงสร้างอย่างย่อของเบนซีนได้ดังนี้
อนุพันธ์ของเบนซีน เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบนซีนถูกแทนที่ด้วยธาตุใดธาตุ
หนึ่ง หรือหมู่ธาตุใดหมู่ธาตุหนึ่ง สารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เป็นอนุพันธ์ของเบนซีนจึง
มีอยู่มากมายและการเรียกชื่อIUPACของอนุพันธ์เหล่านี้จะอ่านโดยใช้เบนซีนเป็นชื่อหลัก ดังต่อไปนี้
ถ้าเบนซีนมีหมู่แทนที่เพียงหมู่เดียวให้อ่านหมู่แทนที่แล้วตามด้วยชื่อหลักเบนซีน สารประกอบ
เหล่านี้โดยมากมีชื่อสามัญ และบางครั้งชื่อสามัญมักนิยมเรียกมากกว่าชื่อIUPAC เช่น
ถ้าหมู่ที่ต่อกับเบนซีนเป็นหมู่ที่ซับซ้อนมาก ๆ อาจจะเรียกชื่อเป็นสารประกอบของแอลเคน
หรือแอลคีน หรืออื่น ๆ แล้วเรียกเบนซีนเป็นหมู่แทนที่ เป็นหมู่ฟีนิล (phenyl group)
การระบุตาแหน่งทั้งสองที่หมู่เอทิลแทนที่อยู่อาจระบุแป้นตัวเลขก็ได้ หรือที่สะดวกและนิยม
มากกว่าคือใช้คานาหน้าว่า ortho – สาหรับตาแหน่ง 1, 2 meta – สาหรับตาแหน่ง 1, 3 และ para –
สาหรับตาแหน่ง 1, 4 โดยมักใช้เป็นตัวย่อ o – m – และ p – แทน ortho – meta – และ para – ตามลาดับ
แต่ถ้ามีหมู่แทนที่มากกว่า 2 หมู่ขึ้นไปจะระบุตาแหน่งที่แทนที่ด้วยตัวเลขอย่างปกติ เช่น
ถ้ามีวงอะโรมาติกมาเชื่อมต่อกันโดยมีด้านใดด้านหนึ่งร่วมกันเรียกว่าพอลินิวเคลียร์อะโรมาติก
ไฮโดรคาร์บอน ( polynuclear aromatic hydrocarbon) เช่น
Naphthalene
จุดหลอมเหลว 80C phenanthrene
(จุดหลอมเหลว 100C) anthracene (จุดหลอมเหลว 218C)
ประโยชน์ของเบนซีนและอนุพันธ์
เบนซีนเป็นตัวทาละลายและเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบต่าง ๆ แต่การสูดดมเบนซีน
ในปริมาณมาก ๆ ทาให้เกิดอาการคลื่นเหียนและอาจถึงตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว นอกจากนี้
การที่ต้องสัมผัสกับเบนซีนต่อเนื่องกันนาน ๆ จะทาให้ไขอ่อนในโพรงกระดูกซึ่งทาหน้าที่สร้างเม็ด
เลือดถูกทาลาย ดังนั้นห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเบนซีนจึงต้องมีระบบถ่ายเทอากาศอย่างดี และถ้าไม่
จาเป็นควรใช้โทลูอีนเป็นตัวทาละลายแทน
ในทางอุตสาหกรรมใช้โทลูอีนเป็นตัวทาละลายสาหรับแล็คเกอร์ ใช้ทาสี ยาและวัตถุระเบิด
ส่วนไซลีนนิยมใช้เป็นตัวทาละลายสาหรับน้ามัน นอกจากนี้ยังใช้ทาความสะอาดสไลด์และเลนส์กล้อง
จุลทรรศน์ ใช้ไนโตรเบนซีนในการผลิตอนิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสีย้อมและยาต่าง ๆ ฟีนอล
ใช้ในการผลิตสีย้อม ยารักษาโรค พลาสติก

More Related Content

What's hot

สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2nattapong01
 
สารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลสารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลkruaoijaipcccr
 
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1sailom
 
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรค
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรคใบงานที่18คาร์โบไฮเดรค
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรคTANIKAN KUNTAWONG
 
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)kruaoijaipcccr
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2Thanyamon Chat.
 
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์nn ning
 
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์ความหมายของประเภทสารอินทรีย์
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์Teerayut Jaronechai
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนkkrunuch
 
Wcs polymer-120402100823-phpapp01
Wcs polymer-120402100823-phpapp01Wcs polymer-120402100823-phpapp01
Wcs polymer-120402100823-phpapp01Triwat Talbumrung
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์oraneehussem
 
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุลเคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุลWichai Likitponrak
 
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์Wichai Likitponrak
 
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลแบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลmaechai17
 
สารและสมบัติของสาร
สารและสมบัติของสารสารและสมบัติของสาร
สารและสมบัติของสารkrumanop
 
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลบทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลoraneehussem
 

What's hot (20)

สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
 
สารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลสารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุล
 
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1
สารชีวโมเลกุล ตอนที่ 1
 
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรค
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรคใบงานที่18คาร์โบไฮเดรค
ใบงานที่18คาร์โบไฮเดรค
 
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
 
Biomolecule
BiomoleculeBiomolecule
Biomolecule
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
 
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์
 
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์ความหมายของประเภทสารอินทรีย์
ความหมายของประเภทสารอินทรีย์
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
 
Organicpds
OrganicpdsOrganicpds
Organicpds
 
Wcs polymer-120402100823-phpapp01
Wcs polymer-120402100823-phpapp01Wcs polymer-120402100823-phpapp01
Wcs polymer-120402100823-phpapp01
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
 
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุลเคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
 
Biochem 5ed
Biochem 5edBiochem 5ed
Biochem 5ed
 
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์
เคมีพื้นบท5พอลิเมอร์
 
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต
 
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลแบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
 
สารและสมบัติของสาร
สารและสมบัติของสารสารและสมบัติของสาร
สารและสมบัติของสาร
 
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลบทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
 

Hydrocarbon compound

  • 1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน(Hydrocarbon compound) สารอินทรีย์ที่โมเลกุลประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้นเรียกว่า สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลประกอบด้วยพันธะเดี่ยวระหว่างคาร์บอน- คาร์บอนเพียงอย่างเดียว เรียกว่า ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (Saturated hydrocarbon) ส่วนสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่หรือพันธะสามระหว่างคาร์บอน -คาร์บอนรวมอยู่ด้วย เรียกว่า ไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว(Unsaturated hydrocarbon) โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวหรือต่อกัน เป็นโซ่ตรง(Straight chain) หรือต่อกันเป็นสายยาวที่มีกิ่งสาขาแยกออกจากโซ่ตรง (Branch chain) โดยไม่มีวงของคาร์บอนในโมเลกุลนั้นเลยเรียกว่า อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic hydrocarbon) หรือแบบโซ่เปิด โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นวงและ อาจจะมีกิ่งแยกออกจากวงของคาร์บอนเรียกโมเลกุลประเภทนี้ว่าไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่ปิด หรืออะลิ ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (Alicyclic hydrocarbon) และโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีวง แหวนของเบนซีนเป็นโครงสร้างหลักเรียกว่า อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(Aromatic hydrocarbon) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว(Saturated hydrocarbon) 1. แอลเคน(Alkane) นักเคมีอินทรีย์เห็นว่าแอลเคนเป็นโครงสร้างของคาร์บอนที่ยึดอะตอมไฮโดรเจนไว้และ โครงสร้างที่ง่ายที่ สุดจะเป็นโซ่ของคาร์บอนอะตอมติดต่อกันโดยไม่มีโซ่กิ่ง สารประกอบเหล่านี้มีสูตรทั่วไปCnH2n+2 ดังนี้
  • 2. ตาราง 3.1 แสดงโครงสร้าง ชื่อ และสมบัติทางกายภาพของn-alkane โครงสร้าง ชื่อ จุดหลอมเหลว(C) จุดเดือด(C) CH4 CH3CH3 CH3CH2CH3 CH3CH2CH2CH3 CH3(CH2)3CH3 CH3(CH2)4CH3 CH3(CH2)5CH3 CH3(CH2)6CH3 CH3(CH2)7CH3 CH3(CH2)8CH3 Methane Ethane Propane n – butane n – pentane n – hexane n – heptane n – octane n – nonane n – decane -183 -172 -187 -135 -130 -94 -91 -57 -54 -30 -162 -89 -42 0 36 69 98 126 151 174 อย่างไรก็ตามเมื่อจานวนคาร์บอนอะตอมเพิ่มขึ้นจานวนไอโซเมอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น เฮกเซน จะมี 5 ไอโซเมอร์ เฮปเทนมี 8 ไอโซเมอร์ ทาให้การเรียกชื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีความ จาเป็นต้องตั้งระบบการเรียกชื่อขึ้น ระบบ IUPAC นักเคมีกลุ่มหนึ่งได้ประชุมกันที่เจนีวาในปี ค.ศ.1892 และได้ช่วยกันร่างกฎการ เรียกชื่อขึ้นมา เรียกว่าระบบIUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งมี ขั้นตอนในการเรียกดังนี้ 1. เลือกโซ่คาร์บอนที่ยาวที่สุดเป็นโซ่หลัก (parent name) 2. กาหนดตาแหน่งของคาร์บอนอะตอมในโซ่หลัก โดยให้ตาแหน่งของคาร์บอนที่มีหมู่ แทนที่(substituent) มีตัวเลขต่าสุด 3. หมู่แทนที่ต่ออยู่กับตาแหน่งใดของคาร์บอนอะตอมในโซ่หลักการอ่านชื่อก็จะระบุ ตาแหน่งของคาร์บอนอะตอมนั้นแล้วตามด้วยชื่อของหมู่แทนที่ 4. ในการเรียกชื่อจะเริ่มด้วยชื่อของหมู่แทนที่เรียงตามลาดับตัวอักษรแล้วตามด้วยชื่อหลัก ถ้า ในโมเลกุลมีหมู่แทนที่ชนิดเดียวกันมากกว่า1 หมู่ ให้เติมคาว่า di, tri, tetra ฯลฯ เพื่อ บอกถึงจานวนของหมู่แทนที่ด้วย และถ้าหมู่แทนที่ชนิดเดียวกันแทนที่อยู่ที่คาร์บอน อะตอมเดียวกันทั้ง2 หมู่ให้ระบุตัวเลขของตาแหน่งนั้นซ้าด้วย เช่น สาหรับหมู่แอลคิล(alkyl group) ซึ่งเป็นหมู่แทนที่นั้น เกิดจากการลดจานวนอะตอมของไฮโดรเจนใน แอลเคนลง 1 อะตอม จึงมีสูตรทั่วไป CnH2n+1
  • 3. 2. ไซโคลแอลเคน(Cycloalkane) การเรียกชื่อไซโคลแอลเคนจะเรียกทานองเดียวกับแอลเคน ยกเว้นแต่ชื่อหลักซึ่งบอกจานวน คาร์บอนในวง นั้นจะต้องนาหน้าด้วยคาว่า ไซโคล– (cyclo - ) การเขียนสูตรแสดงโมเลกุลของไซโคลแอลเคนนิยมเขียนเป็นรูปเรขาคณิตเพราะเขียนง่าย แต่การใช้ สูตรแบบนี้จะต้องระลึกเสมอว่าแต่ละอะตอมของคาร์บอน(ซึ่งเขียนแสดงเพียงมุมของรูปเหลี่ยมเท่านั้น) จะต้องสร้างพันธะกับไฮโดรเจน2 อะตอม และจากตาราง3.3 จะเห็นว่าไซโคลแอลเคนมีจุดเดือดสูง กว่า n – alkane ที่มีจานวนคาร์บอนเท่ากัน ไซโคลแอลเคนที่มีหมู่แอลคิลแทนที่จะเรียกชื่อเป็นอนุพันธ์ของไซโคลแอลเคน โดยถ้ามีการ แทนที่เพียง 1 หมู่ ก็ไม่จาเป็นต้องระบุตาแหน่งที่แทนที่ เพราะทุก ๆ ตาแหน่งในวงจะสมมาตรกันหมด เช่น CH3 CH2CH3 methylcyclobutane ethylcyclohexane แต่ถ้ามีการแทนที่ตั้งแต่ 2 ตาแหน่งขึ้นไป จาเป็นต้องระบุตาแหน่งที่มีการแทนที่ด้วย โดยทั่วไปให้มีการนับตาแหน่งที่มีการแทนที่ใด ๆ เป็นตาแหน่งที่ 1 แล้วนับวนไปจนรอบวงในทิศทาง ที่ทาให้หมู่แทนที่มีตัวเลขน้อยที่สุด เช่น CH3 CH3 CH3 CH2CH3 1, 3 – dimethylcyclopentane 1 – ethyl – 3 – methylcyclohexane ถ้าวงของไซโคลแอลเคนต่ออยู่กับหมู่แอลคิลที่มีโครงสร้างซับซ้อน มักนิยมเรียกหมู่ไซโคลแอลคิลเป็น หมู่แทนที่ต่อกับแอลเคน เช่น CH3 CH3 CH3 CH CH CH2 CH CH3 3 – cyclopentyl – 2, 5 - dimethylhexane
  • 4. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว(Unsaturated hydrocarbon) 1. แอลคีน(Alkene) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ พันธะคู่ในแอลคีนจัดเป็นหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งการเรียกชื่อโดยระบบ IUPAC นั้น ถ้ามีหมู่ฟังก์ชันจะต้องพิจารณาถึงหมู่ฟังก์ชันของ สารประกอบเพื่อใช้เป็นชื่อหลัก ในกรณีของแอลคีนมีขั้นตอนดังนี้ 1. เลือกโซ่คาร์บอนที่ยาวที่สุดและมีพันธะคู่อยู่ในโซ่นั้นด้วยเป็นชื่อหลัก แต่ในกรณีที่มี พันธะคู่มากกว่า1 พันธะ ให้เลือกโซ่ที่มีพันธะคู่มากที่สุดเป็นชื่อหลัก แม้ว่าจะไม่ใช่โซ่ที่ยาวที่สุดก็ตาม 2 กาหนดตาแหน่งคาร์บอนอะตอมในโซ่หลัก โดยให้พันธะคู่อยู่ในตาแหน่งที่มีเลขน้อย ที่สุด 3 ถ้ามีพันธะคู่เพียง 1 พันธะ ให้ลงท้ายชื่อว่า – อีน ( - ene) ถ้ามี 2 พันธะใช้– ไดอีน ( - diene) ฯลฯ 4 ตาแหน่งของพันธะคู่ให้ระบุด้วยตัวเลขของคาร์บอนอะตอมแรกที่สร้างพันธะคู่นั้น 5 ถ้ามีโซ่กิ่งให้ระบุทานองเดียวกันกับสารประกอบแอลเคน 1.1 สมบัติทางกายภาพ โดยทั่วไปสมบัติทางกายภาพของแอลคีนคล้ายคลึงกับของแอลเคนที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แอ ลคีนที่มีคาร์บอน 2-4 อะตอมมีสถานะเป็นก๊าซ คาร์บอน 5-18 อะตอมมีสถานะเป็นของเหลวและ คาร์บอนมากกว่า18 อะตอมมีสถานะเป็นของแข็ง แอลคีนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงไม่ละลายในน้าแต่จะ ละลายได้ดีในตัวทาละลายไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เป็นต้น สมบัติบางประการ ของแอลคีนดังแสดงในตาราง 3.5 ตาราง 3.5 แสดงสมบัติทางกายภาพบางประการของแอลคีน สูตรโครงสร้าง ชื่อ IUPAC จุดหลอมเหลว (C) จุดเดือด(C) ความหนาแน่น (g/cm3 ) ที่ 25C CH2 = CH2 CH2 = CHCH3 CH2 = CHCH2CH3 CH3CH = CHCH3 CH3(CH2)7CH = CH3 ethene propene 1 – butene 2 – butene 1 - decene -169 -185.2 -185 -139 -66.3 -104 -47 -6.0 3.7 171 - - - 0.621 0.741
  • 5. 1.2 ปฏิกิริยาเคมี แอลคีนเกิดปฏิกิริยาเคมีแตกต่างจากแอลเคนมาก แอลเคนเป็นสารประกอบที่เฉื่อย แต่แอลคีน มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง ปฏิกิริยาที่สาคัญของแอลคีนได้แก่ 1.2.1 ปฏิกิริยาการเติม(Addition) C = C + A – B – C – C – A B เป็นปฏิกิริยาที่รีเอเจนต์A – B เติมลงไปที่ปลายทั้งสองข้างของพันธะคู่แล้ว เกิดผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบอิ่มตัว ซึ่งประกอบด้วยอะตอมทุกอะตอมของตัวทา ปฏิกิริยาที่สองตัว ปฏิกิริยาการเติมแบ่งได้ดังนี้ 1.2.1.1 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา(Catalytic hydrogenetion) ไฮโดรเจนโมเลกุลสามารถเติมลงไปที่พันธะคู่ของแอลคีนได้เมื่อใช้ตัวเร่งที่ เหมาะสมได้ผลิตภัณฑ์เป้นแอลเคนปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โดยละลายแอลคีนในตัวทา ละลายที่เหมาะสม เช่น เอทานอล เมทานอล และมีตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะเป็นแพล ตินัม(Pt) นิกเกิล(Ni) หรือแพลเลเดียม (Pd) ที่เป้นผงละเอียดจากนั้นจึงผ่านก๊าซ ไฮโดรเจนเข้าไปในส่วนผสมของปฏิกิริยาภายใต้ความดันต่า ไฮโดรเจนจะไม่สามรถ เติมลงไปที่พันธะคู่ได้ถ้าไม่ใช้ตัวเร่ง แม้ว่าปฏิกิริยานี้จะเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน อย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะของไฮโ ดรเจนโมเลกุล มีค่าสูงมาก ตัวเร่งจะดูดซับโมเลกุลของไฮโดรเจนและของแอลคีนเป็นชั้นบาง ๆ เคลือบไว้ที่ผิวของตัวเร่งเป็นการช่วยให้ไฮโดรเจนแตกตัวออกเป็นอะตอมและ เกิดปฏิกิริยากับแอลคีนที่ผิวของตัวเร่ง 1.2.1.2 ปฏิกิริยาการเติมฮาโลเจน(Halogenetion) CH3CH = CH2 + Br2/CCl4 CH3CH CH2 Br Br สีส้ม(สีน้าตาลแดง) ไม่มีสี แอลคีนทาปฏิกิริยากิริยากับสารละลายโบรมีน หรือคลอรีนในคาร์บอนเต ตระคลอไรด์ที่อุณหภูมิห้องได้ ไอโอดีนมีความว่องไวน้อยจึงไม่สามารถเกิดปฏิกิริยา กับแอลคีนได้ ส่วนฟลูออไรด์นั้นว่องไวมากเกิดปฏิกิริยารุนแรงจึงเป็นรีเอเจนต์ที่ไม่ เหมาะสม ปฏิกิริยาการเติมโบรมีนสามารถใช้ทดสอบความไม่อิ่มตัวของสารประกอบ ได้โดยการสังเกตสีที่เปลี่ยนไปเมื่อเกิดปฏิกิริยา โบรมีนเป็นของ เหลวสีส้มหรือสี
  • 6. น้าตาลแดงเข้มเมื่อเกิดปฏิกิริยากับแอลคีนจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสี ดังนั้นสารประกอบ ไม่อิ่มตัวจึงฟอกสีโบรมีนได้ 1.2.1.3 ปฏิกิริยาการเติมกรด HX – C – C – (HX : HCl, HBr, HI) H X (แอลคิลเฮไลด์) C = C H2SO4 – C – C – H OSO3H (แอลคิลไฮโดรเจนซัลเฟต) H2O, H+ – C – C – H OH 1.2.2 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน(Oxidation) แอลคีนสามารถถูกออกซิไดซ์ที่พันธะคู่ได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของตัวออกซิไดซ์ และสภาวะ ของปฏิกิริยา ปฏิกิริยาออกซิไดซ์ของแอลคีนเมื่อใช้ตัวออกซิไดซ์ที่อ่อน ได้แก่สารละลายโพแตสเซียม เปอร์แมงกาเนตที่เป็นกลางหรือด่างเจือจางที่เย็นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นไกลคอล 3CH2 = CH2 + 2KMnO4 + H2O 3 CH2 – CH2 + 2MnO2 + 2KOH OH OH (ไกลคอล) ปฏิกิริยานี้ใช้เป็นวิธีทดสอบความไม่อิ่มตัวของสารประกอบได้อีกวิธีหนึ่งเรียกว่า เบ เยอร์เทสท์(Baeyer test) สารละลายโพแตสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีสีม่วงเมื่อเกิดปฏิกิริยากับแอลคีนสี ม่วงจะหายไปและมีตะกอนสีน้าตาลของแมงกานีส(IV)ออกไซด์เกิดขึ้น ส่วนไกลคอลเป็นสารประกอบ ไม่มีสี ปฏิกิริยานี้ถ้าเกิดในสภาวะที่รุนแรง เช่นในสารละลายกรด(pHต่า) และให้ความร้อน ไกลคอล ที่เกิดขึ้นจะแตกตัวออก ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรดคาร์บอกซิลิก หรือคีโตน ก็ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแอลคีนในปฏิกิริยา 1.2.3 พอลิเมอไรเซชัน(Polymerization) หรือปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ สมบัติที่สาคัญอย่างหนึ่งของแอลคีนคือ ความสามารถในการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ เรียกว่า พอลิเมอร์ พอลิเมอไรเซชันเป็นกระบวนการที่โมเลกุลเล็ก ๆ เรียกว่า มอนอเมอร์(monomer) เกิดปฏิกิริยารวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ เรียกว่า พอลิเมอร์(polymer) เช่น การเกิดพอลิเอธิลีน CH2 = CH2 + CH2 = CH2 + CH2 = CH2 +………… [ CH2 – CH2 ]n
  • 7. 2. ไซโคลแอลคีน(Cycloalkene) ถ้าในวงของสารประกอบมีพันธะคู่เพียง 1 พันธะ ให้นับคาร์บอนอะตอมที่สร้างพันธะคู่เป็น ตาแหน่งที่ 1 และไม่จาเป็นจะต้องระบุตาแหน่งของพันธะคู่นั้น แต่ถ้ามีพันธะคู่2 พันธะจะต้องระบุตาแหน่งของ พันธะทั้งสองด้วย 3. แอลไคน์ (Alkyne) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะสามในโมเลกุลและถือว่าพันธะสามคือหมู่ฟังก์ชัน ของแอลไคน์ การเรียกชื่อแอลไคน์จะเหมือนกับแอลคีนแต่ให้เปลี่ยนคาลงท้ายชื่อเป็น – ไอน์ ( - yne) ในกรณีที่ใน โมเลกุลมีทั้งพันธะคู่และพันธะสาม โซ่หลักจะต้องมีทั้งพันธะคู่และพันธะสาม และคาลงท้ายชื่อจะ เป็น - อีนไอน์ ( - enyne) ส่วนในการนับตาแหน่งจะต้องให้พันธะคู่มีตัวเลขน้อยกว่า เช่น CH3 1 2 3 4 5 6 HC C – CH – CH2 – CH3 CH2 = CH – CH2 – CH2 – C CH 1 2 3 4 5 3 – methyl – 1 – pentyne 1 – hexene – 5 – yne แม้ว่าชื่อ IUPACของสารประกอบตัวแรกของแอลไคน์จะเป็นอีไทน์(ethyne) แต่มักนิยม เรียกว่า อะเซทิลีน (acetylene) และสารประกอบตัวแรก ๆ ของแอลไคน์ก็นิยมเรียกเป็นอนุพันธ์ของอะเซทิลีน โดย พิจารณาว่าสารนั้น ๆ เกิดจากการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีนด้วยหมู่แอลคิล เช่น HC CH CH3C CH CH3C CCH3 acetylene methylacetylene dimethylacetylene 3.1 สมบัติทางกายภาพ แอลไคน์มีสมบัติทางกายภาพคล้ายคลึงกับแอลเคนและแอลคีน แอลไคน์ไม่ละลายน้า แต่ ละลายได้ในตัว ทาละลายอินทรีย์ เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้า จุดเดือดเพิ่มขึ้น ตามมวลโมเลกุล และมีค่าใกล้เคียงกับจุดเดือดของแอลเคนและแอลคีนที่มีโครงสร้างเหมือนกัน แอล
  • 8. ไคนืที่มีคาร์บอน2-4 อะตอมมีสถานะเป็นก๊าซ 5-18 อะตอมมีสถานะเป็นของเหลว และคาร์บอน มากกว่า18 อะตอมเป็นของแข็ง สมบัติบางประการของแอลไคน์ดังแสดงในตาราง3.6 ตาราง 3.6 แสดงสมบัติทางกายภาพของแอลไคน์บางชนิด สูตรโครงสร้าง ชื่อ IUPAC จุดหลอมเหลว (C) จุดเดือด(C) ความหนาแน่น (g/cm3 ) ที่ 25C CH CH CH CCH3 CH CCH2CH3 CH CHCH2CH2CH3 ethyne propyne 1 – butyne 1 - pentyne -82 -101.5 -122 -98 -75 -23 - 40 - - - - 3.2 ปฏิกิริยาเคมี แอลไคน์เกิดปฏิกิริยาทานองเดียวกับแอลคีน คือสามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมที่พันธะสามด้วยรี เอเจนต์ ประเภทเดียวกันกับปฏิกิริยาการเติมที่พันธะคู่ของแอลคีน ต่างกันตรงปริมาณของรีเอเจนต์ที่ใช้ในการ เกิดปฏิกิริยา 3.2.1 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 3.2.2 ปฏิกิริยาการเติมฮาโลเจน 3.2.3 ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนเฮไลด์ 3.2.4 ปฏิกิริยาไฮเดรชัน อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(Aromatic hydrocarbon) สารประกอบที่เป็นวงของคาร์บอน6 อะตอม และมีพันธะคู่กับพันธะเดี่ยวสลับกันไปเป็น สารประกอบที่มีเสถียรภาพสูงและทาปฏิกิริยาแตกต่างไปจากสารประกอบแอลคีน สารประกอบเหล่านี้ หลาย ๆ สารที่พบในตอนแรกยังมีกลิ่นหอมอีกด้วยจึงจัดสารประกอบในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบอะโร มาติกไฮโดรคาร์บอน เบนซีน(Benzene) และอนุพันธ์ของเบนซีน ในปี ค.ศ. 1825 Michael Faraday ได้แยกสารตัวอย่างออกจากก๊าซที่ได้จากการจุดไฟให้แสง สว่าง ต่อมาเรียกว่า เบนซีน เนื่องจากสามารถสังเคราะ ห์ได้จากการกลั่นกรดเบนโซอิกกับแคลเซียม
  • 9. ออกไซด์ นับเป็นตัวอย่างของสารอะโรมาติกตัวแรก ต่อมาในปี ค .ศ 1834 ได้ค้นพบสูตรโมเลกุลของ เบนซีนเป็น C6H6 จากสูตรนี้แสดงให้เห็นว่าเบนซีนเป็นสารประกอบไม่อิ่มตัว แต่ในขณะนั้นไม่มีผู้ใด เสนอสูตรโครงสร้างที่แท้จริงของเบนซีนว่าเป็นอย่างไร จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1865 Kekule/ ได้พยายาม ค้นคว้าและเสนอสูตรโครงสร้างของเบนซีน โดยตั้งสมมติฐานว่าเบนซีนต้องประกอบด้วยวงรูปหก เหลี่ยมที่แบนราบมีคาร์บอน 6อะตอมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยวและคาร์บอนแต่ละอะตอมต่างก็สร้างพันธะ กับไฮโดรเจน 1 อะตอมดังรูป H H C H C C C C H C H H และจากการศึกษาโครงสร้างของเบนซีนพบว่า ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมทุกพันธะมี ความยาวเท่ากันคือ 1.39 แองสตรอม (A) ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ระหว่างคาร์บอนอะตอมพันธะคู่ ( 1.34 A) และพันธะสาม ( 1.54 A) นั่นหมายความว่าพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลของเบนซีน ไม่ได้เป็นพันธะเดี่ยวหรือพันธะคู่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ประกอบด้วยพันธะคู่ที่มีการเคลื่อนที่ไปรอบวง จริง และจากการวัดมุมระหว่างพันธะของคาร์บอนแต่ละอะตอมเป็น 120  นักวิทยาศาสตร์เรียก ปรากฎการณ์ทานองนี้ว่า เรโซแนนซ์ (resonamce) หมายถึงปรากฎการณ์ที่ไม่สามารถแสดงสูตรโครส ร้างที่แท้จริงของสารได้ ดังนั้นจึงเขียนสูตรโครงสร้างอย่างย่อของเบนซีนได้ดังนี้ อนุพันธ์ของเบนซีน เกิดจากไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบนซีนถูกแทนที่ด้วยธาตุใดธาตุ หนึ่ง หรือหมู่ธาตุใดหมู่ธาตุหนึ่ง สารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เป็นอนุพันธ์ของเบนซีนจึง มีอยู่มากมายและการเรียกชื่อIUPACของอนุพันธ์เหล่านี้จะอ่านโดยใช้เบนซีนเป็นชื่อหลัก ดังต่อไปนี้ ถ้าเบนซีนมีหมู่แทนที่เพียงหมู่เดียวให้อ่านหมู่แทนที่แล้วตามด้วยชื่อหลักเบนซีน สารประกอบ เหล่านี้โดยมากมีชื่อสามัญ และบางครั้งชื่อสามัญมักนิยมเรียกมากกว่าชื่อIUPAC เช่น ถ้าหมู่ที่ต่อกับเบนซีนเป็นหมู่ที่ซับซ้อนมาก ๆ อาจจะเรียกชื่อเป็นสารประกอบของแอลเคน หรือแอลคีน หรืออื่น ๆ แล้วเรียกเบนซีนเป็นหมู่แทนที่ เป็นหมู่ฟีนิล (phenyl group)
  • 10. การระบุตาแหน่งทั้งสองที่หมู่เอทิลแทนที่อยู่อาจระบุแป้นตัวเลขก็ได้ หรือที่สะดวกและนิยม มากกว่าคือใช้คานาหน้าว่า ortho – สาหรับตาแหน่ง 1, 2 meta – สาหรับตาแหน่ง 1, 3 และ para – สาหรับตาแหน่ง 1, 4 โดยมักใช้เป็นตัวย่อ o – m – และ p – แทน ortho – meta – และ para – ตามลาดับ แต่ถ้ามีหมู่แทนที่มากกว่า 2 หมู่ขึ้นไปจะระบุตาแหน่งที่แทนที่ด้วยตัวเลขอย่างปกติ เช่น ถ้ามีวงอะโรมาติกมาเชื่อมต่อกันโดยมีด้านใดด้านหนึ่งร่วมกันเรียกว่าพอลินิวเคลียร์อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ( polynuclear aromatic hydrocarbon) เช่น Naphthalene จุดหลอมเหลว 80C phenanthrene (จุดหลอมเหลว 100C) anthracene (จุดหลอมเหลว 218C) ประโยชน์ของเบนซีนและอนุพันธ์ เบนซีนเป็นตัวทาละลายและเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบต่าง ๆ แต่การสูดดมเบนซีน ในปริมาณมาก ๆ ทาให้เกิดอาการคลื่นเหียนและอาจถึงตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว นอกจากนี้ การที่ต้องสัมผัสกับเบนซีนต่อเนื่องกันนาน ๆ จะทาให้ไขอ่อนในโพรงกระดูกซึ่งทาหน้าที่สร้างเม็ด เลือดถูกทาลาย ดังนั้นห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเบนซีนจึงต้องมีระบบถ่ายเทอากาศอย่างดี และถ้าไม่ จาเป็นควรใช้โทลูอีนเป็นตัวทาละลายแทน ในทางอุตสาหกรรมใช้โทลูอีนเป็นตัวทาละลายสาหรับแล็คเกอร์ ใช้ทาสี ยาและวัตถุระเบิด ส่วนไซลีนนิยมใช้เป็นตัวทาละลายสาหรับน้ามัน นอกจากนี้ยังใช้ทาความสะอาดสไลด์และเลนส์กล้อง จุลทรรศน์ ใช้ไนโตรเบนซีนในการผลิตอนิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสีย้อมและยาต่าง ๆ ฟีนอล ใช้ในการผลิตสีย้อม ยารักษาโรค พลาสติก