SlideShare a Scribd company logo
1 of 47
Download to read offline
1
การพัฒนาเว็บไซต์
หลักการและทฤษฎีการสื่อสาร
การสื่อสาร ชีวิตเป็นเรื่องของการเรียนรู้และสิ่งหนึ่งที่สําคัญและต้องมีการเรียนรู้คือ ความสัมพันธ์
หรือ มนุษยสัมพันธ์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักเป็นบทเรียนของกันและกัน ถ้าไม่ใส่ใจเรียนรู้ซึ่งกันและ
กันก็จะอยู่ในโลกนี้ด้วยความยากลําบาก เพราะชีวิตจะมีคุณค่าและรู้สึกมีความสุขเมื่อได้แสดงออกอย่างที่รู้สึก
มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวและสิ่งใหม่ๆตามที่เราต้องการ
ดังนั้นความสําเร็จของมนุษย์ในการดํารงชีวิตทั่วไป จึงมักมีข้อกําหนดไว้อย่างกว้างๆว่า เราจะต้องเข้า
กับคนที่เราติดต่อด้วยให้ได้ และต้องเข้าให้ได้ดี ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาศัยวิธีการ
สื่อสารและหลักจิตวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของศิลปะ(Arts) มากกว่า
ศาสตร์(Science) ซึ่งก็หมายความว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว โดยขาด
ศาสตร์ของการสื่อสาร ย่อมขาดศิลปะในการนําไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้ประสบความสําเร็จได้
ความหมายของการสื่อสาร
ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม เช่น
จอร์จ เอ มิลเลอร์ : เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
จอร์จเกิร์บเนอร์: เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร
วิลเบอร์ ชแรมส์ : เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสาร
ไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสาร
โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญคือ ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร
(Reciever) ซึ่งมักเรียกกันว่า SMCR
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal Communication)
การคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication)
การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทําการสื่อสารกันอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง
2
การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group) Communication)
การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทําการสื่อสารเพื่อทํากิจกรรมร่วมกันแต่จํานวนไม่เกิน25 คน เช่นชั้น
เรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก
การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group Communication)
การสื่อสารระหว่างคนจํานวนมาก เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร ชั้นเรียน
ขนาดใหญ่
การสื่อสารในองค์กร(Organization Communication)
การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานให้สําเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อน
ร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง
การสื่อสารมวลชน(Mass Communication)
การสื่อสารกับคนจํานวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง เหมาะสําหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจํานวนมากๆในเวลา
เดียวกัน
การสื่อสารระหว่างประเทศ(International Communication)
การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม เช่น
การสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทําธุรกิจ
ประสิทธิภาพของการสื่อสาร
ตามองค์ประกอบของการสื่อสาร ทําให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการ
สื่อสารได้ ดังนั้นจึงควรต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างเพื่อช่วยในการวางแผนการสื่อสาร โดย
สามารถศึกษาได้จากแบบจําลองการสื่อสารของเบอร์โล
3
จากแนวคิดของเบอร์โล ได้พูดถึงองค์ประกอบต่างไว้ดังนี้
ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร (Sender and Receiver)ในตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีองค์ประกอบที่
สามารถช่วยให้การสื่อสารประสบความสําเร็จได้ อันได้แก่ทักษะในการสื่อสาร(Communication skill) อัน
ประกอบด้วยการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนและยังรวมถึงการแสดงออกทางท่าทางและกริยาต่าง เช่นการ
ใช้สายตา การยิ้ม ท่าทางประกอบ และสัญลักษณ์ต่าง การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร และรู้จักเลือกใช้ทักษะจะ
ช่วยส่งผลให้ประสบความสําเร็จในการสื่อสารได้ทางหนึ่ง ถัดมาก็คือทัศนคติ(Attitude) การมีที่ดีทัศนคติที่ดี
ต่อการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นต่อตนเอง ต่อเรื่องที่ทําการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งต่อช่องทางและตัวผู้รับสาร และ
ในทางกลับกันทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆก็สามารทําให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้ ในทาง
ตรงกันข้ามหากว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีแล้วก็ย่อมทําให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นกัน นอกจากนี้ความรู้
(Knowledge)ของตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีผลต่อการสื่อสาร ทั้งความรู้ในเนื้อหาที่จะสื่อสาร ถ้าไม่รู้จริงก็
ไม่สามารถสื่อสารให้ชัดเจนหรือทําให้ผู้รับสารเข้าใจได้ ผู้รับสารเองหากขาดความรู้ก็ไม่สามารถทําความเข้าใจ
ตัวสารได้ อีกด้านหนึ่งก็คือความรู้ในกระบวนการสื่อสาร ถ้าไม่รู้ในส่วนนี้ก็ไม่สามารถวางแผนทําการสื่อสารให้
สําเร็จได้เช่นกัน ในด้านสุดท้ายก็คือ สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม(Social and Culture)สถานภาพของ
ตัวเองในสังคมเช่นตําแหน่งหรือหน้าที่การงาน จะมามีส่วนกําหนดเนื้อหาและวิธีการในการสื่อสาร ด้าน
วัฒนธรรมความเชื่อ ค่านิยม วิถีทางในการดําเนินชีวิตก็จะมีส่วนในการกําหนดทัศนคติ ระบบความคิด ภาษา
การแสดงออกในการสื่อสารด้วยเช่นกัน เช่นสังคมและวัฒนธรรมของเอเชียและยุโรปทําให้มีรูปแบบการสื่อสาร
ที่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งสังคมเมืองกับสังคมชนบทก็มีความแตกต่างกัน
สาร (Message) ตัวสารก็คือ เนื้อหา ข้อมูล หรือความคิดที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร ซึ่งก็จะมี
องค์ประกอบอยู่คือ การเข้ารหัส(Code) จะเป็นกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เนื้อหา
(Content) ก็คือเนื้อหาสาระที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร และอีกส่วนหนึ่งก็คือ การจัดสาร(Treatment) เป็น
การเรียบเรียงรหัส และเนื้อหาให้ถูกต้อง เหมาะสม ได้ใจความ
ช่องทาง(Channel) ช่องทางและสื่อจะเป็นตัวเชื่อมผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าด้วยกัน การเลือกใช้สื่อ
สามารถเป็นตัวลดหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารได้ ในการเลือกสื่อต้องพิจารณาถึงความสามารของสื่อใน
การนําสารไปสู่ประสาทสัมผัสหรือช่องทางในการรับสาร ซึ่งก็ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น
การลิ้มรส
อ้างอิงจาก
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก
4
การประชาสัมพันธ์
องค์ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์(Public Relation)
วิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้กําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเกินกว่ากึ่ง
ศตวรรษแล้วโดยเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2476 เมื่อรัฐบาลได้ก่อตั้ง“กองโฆษณาการ”(กรมประชาสัมพันธ์
ในปัจจุบัน) เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและเพื่อ
เผยแพร่กิจกรรมต่างๆของทางราชการให้แก่ประชาชนจากนั้นการประชาสัมพันธ์ก็ได้พัฒนาขึ้น
เรื่อยๆได้เริ่มขยายด้วยการตั้งโรงเรียนการประชาสัมพันธ์เพื่อสอนและอบรมให้มีบุคลากรที่มี
ความรู้ความสามารถในงานด้านนี้ไปรับใช้สังคมมากขึ้นและมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีใน
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์บทบาทของการประชาสัมพันธ์จึงมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับใน
การที่ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่หน่วยงานในขณะเดียวกันการประชาสัมพันธ์เปรียบเสมือนประตู
ที่เปิดรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานนั้นๆปัจจุบันงานด้านประชาสัมพันธ์ได้เป็นที่
ยอมรับในภาครัฐรัฐวิสาหกิจเอกชนและสมาคมมูลนิธิต่างๆมากขึ้นหน่วยงานระดับกรมหรือ
เทียบเท่าของภาครัฐทุกสถาบันของรัฐวิสาหกิจหลายๆธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะสถาบันที่มีขนาด
ใหญ่หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนจํานวนมากต่างก็มีฝ่ายประชาสัมพันธ์และหรือ
ผู้ปฏิบัติงาน/เจ้าหน้าที่ที่ทํางานทางด้านนี้โดยตรงอย่างไรก็ตามจากอดีตถึงปัจจุบันการประชาสัมพันธ์
สามารถจําแนกได้เป็นสองลักษณะโดยในอดีตนั้นการประชาสัมพันธ์เป็นเพียงการเผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจข่าวสารข้อมูลและเรื่องราวต่างๆของสถาบันไปสู่ประชาชนหรืออาจสรุปได้ว่าเป็น
การสื่อสารทางเดียวในอันที่จะให้ประชาชนได้รับทราบมีความรู้ความเข้าใจเกิดความนิยมและ
ศรัทธาแต่ในปัจจุบันบทบาทของการประชาสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไปนอกจากจะมีความหมาย
และความสําคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดและการขายมีความสัมพันธ์กับการ
โฆษณาพร้อมๆกับมีบทบาทหน้าที่ในการสร้างบํารุงรักษาและแก้ภาพพจน์ให้แก่สถาบันแล้วการ
ประชาสัมพันธ์ยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับประชาชนให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการตระหนักและเคารพในความรู้ความคิดเห็นความต้องการและพฤติกรรมของ
ประชาชนที่เกี่ยวข้องมากขึ้นซึ่งยังผลให้การประชาสัมพันธ์มีลักษณะของการสื่อสารแบบยุควิถีหรือ
การสื่อสารสองทางไป– กลับ(two3way communication) ที่สมบูรณ์ขึ้น
1.ความหมายของการประชาสัมพันธ์
คําว่า “การประชาสัมพันธ์” มาจากคําว่า“ประชา” กับ“สัมพันธ์” ซึ่งตรงกับ
ภาษาอังกฤษว่า“public relations” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า“PR” ตามคําศัพท์นี้หมายถึงการมี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง
การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกันและถ้าจะขยายความหมายให้เป็นรูปธรรม
ยิ่งขึ้นจะหมายถึง“ความพยายามที่มีการวางแผนและเป็นการกระทําที่ต่อเนื่องในอันที่จะมีอิทธิพล
เหนือความคิดจิตใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยการกระทําสิ่งที่ดีมีคุณค่าให้กับสังคมเพื่อให้
ประชาชนเหล่านี้เกิดทัศนคติทีดีต่อหน่วยงานกิจกรรมและบริการหรือสินค้าของหน่วยงานนี้และ
เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนและร่วมมือที่ดีจากประชาชนเหล่านี้ในระยะยาว” อย่างไรก็ดีได้มีผู้ให้
ความหมายของการประชาสัมพันธ์ไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ด.ร.เสรีวงษ์มณฑา, 2540 ให้ความหมายว่า“การประชาสัมพันธ์เป็นความพยายามที่มีการ
5
วางแผนในการที่จะมีอิทธิพลเหนือความคิดจิตใจของสาธารณชนที่เกี่ยวข้องโดยกระทําสิ่งที่ดีที่มี
คุณค่ากับสังคมเพื่อให้สาธารณชนเหล่านั้นมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานองค์กรบริษัทห้างร้านหรือ
สมาคมตลอดจนมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆเหล่านั้นเพื่อให้หน่วยงานได้รับการ
สนับสนุนและความร่วมมือที่ดีจากสาธารณชนที่เกี่ยวข้องในระยะยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ”
สุพิณปัญญามาก, 2535 อธิบายไว้ว่า“ความพยายามที่มีแผนที่จะมีอิทธิพลต่อความคิด
และทัศนคติของประชาชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับหน่วยงาน”
สะอาดตัณศุภผล,2536 อาจารย์ผู้ซึ่งมีความสําคัญมากผู้หนึ่งในการวางรากฐานการเรียน
การสอนวิชาการประชาสัมพันธ์ของไทยในปัจจุบันได้กล่าว่า“การประชาสัมพันธ์คือวิธีการของ
สถาบันอันมีแผนการและกระทําต่อเนื่องกันไปในอันที่จะสร้างหรือยังให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับ
กลุ่มประชาชนเพื่อให้สถาบันและกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและให้การ
สนับสนุนร่วมมือกันและกันอันจะเป็นประโยชน์ให้สถาบันนั้นดําเนินงานไปได้ผลดีสมความมุ่ง
หมายโดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐานอันสําคัญด้วย”
จากตัวอย่างความหมายของการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ถึงมีความแตกต่างกันแต่ก็
พอสรุปความหมายได้4 ประเด็นคือ
1. มีการวางแผนการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่เป็นการกระทําที่จะทําเมื่อมีงานเกิดขึ้น
แล้วจึงต้องทําหรือจะกระทําการประชาสัมพันธ์เมื่อมีความต้องการจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือ
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทําแต่ที่ถูกนั้นการประชาสัมพันธ์เป็นการทํางานที่มีแผนเตรียมไว้อย่างรอบคอบ
ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างชัดเจนมีลําดับขั้นตอนในการทํางานโดยประกอบด้วยกิจกรรม
ต่างๆที่ประสานและสอดคล้องกันเพื่อบรรลุจดมุ่งหมายนั้น
2. เป็นการทํางานที่ต่อเนื่องและหวังผลระยะยาวการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็น
การกระทําที่ต่อเนื่องไม่มีวันจบสิ้นทั้งนี้เพราะประชาชนจําเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอยู่อย่าง
สม่ําเสมอและต่อเนื่องการขาดการรับรู้เกี่ยวกับข่าวสารและกิจกรรมนานๆจะเป็นสาเหตุของการ
เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและจะเป็นบ่อเกิดของความรู้สึกที่ไม่ดีซึ่งยังผลต่อปฏิกิริยาในทิศทางที่
เป็นผลเสียต่อหน่วยงานได้นอกจากนี้แล้วการประชาสัมพันธ์จะให้ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมได้จะต้อง
ใช้เวลาระยะหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการประชาสัมพันธ์และกลวิธีในการประชาสัมพันธ์ด้วย
3. มีอิทธิพลต่อความคิดและทัศนคติจุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์คือการ
โน้มน้าวจิตใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานกิจกรรมและการบริการหรือ
สินค้าของหน่วยงานการที่จะมีทัศนคติที่ดีนั้นหมายถึงการมีความรู้การเข้าใจที่ถูกต้องที่จะส่งผลให้มี
ความรู้สึกที่ดีและมีพฤติกรรมที่เป็นการสนับสนุนหรือร่วมมือ
4. มีความสัมพันธ์กับประชาชนถ้าหากไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับ
ประชาชนแล้วก็จะไม่มีการประชาสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ความสัมพันธ์นี้จะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องและ
มีคุณค่าแก่ประชาชนและขณะเดียวกันหน่วยงานก็ยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นและให้ความสําคัญ
ต่อปฏิกิริยาโต้ตอบของประชาชนด้วย
2 การสร้างภาพลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์ (IMAGE) หรือบางแห่งก็อาจใช้ว่าจินตภาพหรือภาพพจน์นี้มีความสําคัญต่อการ
ประชาสัมพันธ์มากจนอาจกล่าวได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการพูดถึงคําว่าการประชาสัมพันธ์เมื่อนั้นก็มักจะมีคําว่า
IMAGE หรือภาพลักษณ์นี้ไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอทั้งนี้เนื่องจากการประชาสัมพันธ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ
ภาพลักษณ์และเป็นงานที่มีส่วนเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานสถาบันหรือองค์การให้มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อ
6
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเพื่อผลแห่งชื่อเสียงความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนที่มีต่อตัวองค์การสถาบัน
นั่นเองตามหลักวิชาการประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือองค์การสถาบันต่างๆถึงเพียรพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้าง
ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่ตนเกี่ยวข้องอยู่รวมทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไปด้วย
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้มีความรู้สึกนึกคิดต่อองค์การสถาบันไปในทางที่ดีความพยายามดังกล่าวนี้ยังรวมไป
ถึงการสร้างสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามหรือบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆต่อสาธารณชนหรือสังคมส่วนรวมโดยมี
จุดมุ่งหมายให้ประชาชนเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงามต่อองค์การหรือสถาบันซึ่งความจริงนี้บรรดาผู้บริหารระดับสูง
ขององค์การต่างก็ทราบกันดีอยู่แก่ใจว่าการประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างภาพลักษณ์(IMAGE) และพัฒนา
ปรับปรุงภาพลักษณ์ของหน่วยงาน
ให้ดียิ่งขึ้นในสายตาของประชาชน
ที่มาของภาพลักษณ์นั้นมักจะเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ
1. ภาพลักษณ์ที่เกิดโดยธรรมชาติซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้
เช่นเกิดจากลักษณะของธุรกิจเองที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีอยู่แล้วโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการ
บริการสาธารณะหรืออาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งบังเอิญทั้งหลายเช่นการกระทําผิดพลาดโดยฝ่ายจัดการ
หรือโดยพนักงานหรือเกิดอุบัติเหตุและที่พบบ่อยครั้งคือการเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนหรือข่าวลือ
2. ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการปรุงแต่งโดยการกําหนดเอาไว้ล่วงหน้าว่าเรา
ต้องการให้สถาบันของเรามีภาพลักษณ์เช่นไรบ้างเช่นต้องการให้มีภาพลักษณ์ของความมั่นคงทาง
ธุรกิจต้องการให้มีภาพลักษณ์เช่นไรบ้างเช่นต้องการให้มีภาพลักษณ์ของความมั่นคงทางธุรกิจ,
ต้องการให้มีภาพลักษณ์ของความก้าวหน้าทันสมัยหรือต้องการให้มีภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการที่
มีความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองฯลฯ
จากลักษณะที่มาของภาพลักษณ์ทั้ง 2 ลักษณะนี้ภาพลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ
โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่เกิดโดยธรรมชาติซึ่งเราควบคุมไม่ได้การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันหรือ
แก้ไขภาพลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นจะต้อง
อาศัยหลักปฏิบัติพื้นฐานดังนี้
1.มีการติดตามตรวจสอบความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ําเสมอ
2. มีการตรวจสอบและประเมินข่าวสารที่ได้ปรากฏออกไปสู่ประชาชนอย่างใกล้ชิด
3. ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมหรือพฤติกรรมใดๆขององค์การจะต้องได้รับการชี้แจงให้
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเป็นหลักฐานเบื้องต้นเพราะความรู้เหล่านั้น
จะเป็นพื้นฐานของความรู้สึกและการสร้างความประทับใจต่อไป
4. ภาพลักษณ์อันพึงประสงค์เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่จะคงทนถาวรได้เองแต่จะต้องมี
การตอกย้ําและทํางานอย่างต่อเนื่องการหยุดกระทําในอันที่จะสร้างสรรค์หรือตอกย้ําอาจนํามาสู่
การเปิดโอกาสให้ภาพพจน์ที่ไม่พึงประสงค์เข้าแทรกแซงได้
5. การทํางานนั้นจะต้องมีการวางแผนกําหนดว่าควรทําอะไรบ้างในเวลาใดอย่างเหมาะสมการ
วางแผนที่ดีจะทําให้การทํางานประชาสัมพันธ์ทั้งการสร้างการบํารุงรักษาและการแก้ไขภาพลักษณ์เป็นไปอย่าง
มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพและสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปสําหรับการเกิดภาพลักษณ์ที่ดีนั้นจะต้องมาจากความ
ร่วมมือประสานงานและทํากิจกรรมที่สอดคล้องกันของบุคคลหลายๆฝ่ายบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ
ภาพลักษณ์จึงไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์แต่เพียงผู้เดียวต้องมาจากหลายฝ่ายเพียงแต่มีฝ่าย
ประชาสัมพันธ์เป็นผู้ที่เอาข่าวสารสาระต่างๆที่เกิดขึ้นจากฝ่ายต่างๆนําออกไปเผยแพร่สู่ประชาชน
กลุ่มเป้าหมายหน่วยงานหรือองค์การสถาบันใดก็ตามหากมีภาพลักษณ์ที่เป็นไปในทางที่เสื่อมเสียแล้ว
7
หน่วยงานหรือสถาบันนั้นย่อมไม่ได้รับความเชื่อถือหรือไว้วางใจจากประชาชนประชาชนอาจมีความระแวง
สงสัยหรือเกลียดชังต่อหน่วยงานนั้นรวมทั้งอาจไม่ให้ความร่วมมือสนับสนุนต่อหน่วยงานนั้นๆในทางตรงกัน
ข้ามหากหน่วยงานหรือองค์การสถาบันมีภาพลักษณ์ที่ดีภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนที่มีต่อหน่วยงาน
สถาบันนั้นย่อมเป็นภาพที่บรรเจิดสวยสดงดงามนั่นคือเป็นภาพของหน่วยงานสถาบันที่เป็นไปในทางดีมีความ
น่าเชื่อถือศรัทธาสมควรแก่การไว้วางใจหรือน่าคบหาสมาคมด้วย
ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งย่อมเป็นผลแห่งความเพียรพยายามด้วยเวลาอัน
ยาวนานขององค์การสถาบันนั้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีจึงไม่อาจทําได้ในเวลาอันรวดเร็วหรือใช้เวลาเพียงช่วง
สั้นๆได้เพราะภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทีละน้อยและสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นจนฝังรากฐานมั่นคงแน่นหนาอยู่ใน
จิตใจและทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชน
การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์การสถาบันเพื่อให้ประชาชนมีความนิยมและ
ประทับใจจึงเป็นงานที่ต้องใช้เวลาพอสมควรและเมื่อภาพลักษณ์นั้นตราตรึงอยู่ในจิตใจของประชาชนแล้วผลที่
ตามก็คือชื่อเสียงเกียรติคุณความเชื่อถือศรัทธาต่อองค์การสถาบันจะติดตามมาในที่สุดและประทับแน่นอยู่ใน
ความทรงจําของประชาชนตราบนานเท่านานตัวอย่างที่
พอจะสังเกตได้เห็นจะได้แก่ด้านการประชาสัมพันธ์ธุรกิจมีอยู่หลายกิจการที่ได้รับความนิยม
ชมชอบจากประชาชนประชาชนเชื่อถือไว้วางใจในสินค้าหรือบริการของบริษัทแห่งนั้นอย่าง
มั่นคงเพราะสินค้าและบริการของบริษัทนั้นๆเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
พอสมควรมีความซื่อสัตย์มีการประชาสัมพันธ์ที่ดีบริการดีไม่เอารัดเอาเปรียบประชาชนฯลฯ
บริษัทแห่งนี้จึงมีภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกนึกคิดของเราเสมอแม้จะมีสินค้าและบริการของบริษัท
อื่นๆออกมาแข่งขันในภายหลังโดยการพยายามโฆษณาว่าดีกว่าถูกกว่าคุ้มค่ากว่าหรือมีรางวัล
และของแถมล่อใจมากมายฯลฯแต่ทว่าเราก็ยังคงเป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์ของสินค้าหรือบริการจาก
บริษัทแรกอย่างมั่นคงไม่เสื่อมคลายสิ่งเหล่านี้เป็นผลแห่งการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีจากการกระทํา
หรือการประพฤติปฏิบัติของบริษัทนั่นเองภาพลักษณ์ที่บุคคลหรือประชาชนมีต่อองค์การสถาบันจะ
เป็นไปอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับประสบการณ์
ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับย่อมจะก่อตัวขึ้นเป็นความประทับใจซึ่งอาจจะเป็นความประทับใจ
ที่ดีหรือไม่ดีก็ได้สุดแล้วแต่พฤติกรรมหรือการกระทําขององค์การสถาบันการประชาสัมพันธ์เป็น
งานที่มีหน้าที่อีกประการหนึ่งในการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์องค์การสถาบันซึ่งเป็นงานที่จะต้อง
กระทําอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอเพื่อให้ภาพลักษณ์ที่แท้จริงขององค์การสถาบันเกิดขึ้นในความรู้สึก
สํานึกคิดจิตใจของประชาชนและการสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ดีโดยอาศัยการให้ข่าวสารความรู้
และประสบการณ์อย่างเพียงพอแก่ประชาชนเช่นภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์มั่นคงหรือมีการบริการที่ดีเยี่ยม
องค์การสถาบันก็ต้องประพฤติปฏิบัติในสิ่งดังกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้วจึงนําเสนอภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้แก่
ประชาชนสร้างภาพลักษณ์นี้ให้เกิดขึ้นในจิตใจประชาชนด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเกิด
ความประทับใจนิยมชมชอบในตัวของสถาบันการประชาสัมพันธ์ที่ดีนั้นองค์การสถาบันจึงต้องสร้างภาพลักษณ์
ที่แท้จริงตามที่ตนประสงค์ให้เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนเพื่อให้เกิดความประทับใจ
3.หลักสาคัญในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน
การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานองค์การสถาบันนักประชาสัมพันธ์และผู้ที่ทํางานด้านการ
ประชาสัมพันธ์ควรยึดถือหลักดังต่อไปนี้
1. ค้นหาจุดดีจุดด้อย:ค้นหาจุดดีและจุดบกพร่องหรือจุดอ่อนแห่งภาพลักษณ์
ของหน่วยงานที่มีอยู่ซึ่งจะเป็นการศึกษาวิเคราะห์หาลู่ทางและการวางแผนการดําเนินงานในขั้น
8
ต่อไปการค้นหานี้อาจทําได้โดยการรวบรวมทัศนคติท่าทีและความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มประชาชน
เป้าหมายรวมถึงอาจใช้การสํารวจวิจัยเข้าประกอบด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
2. วางแผนและกําหนดขอบเขตของภาพลักษณ์ที่องค์การสถาบันต้องจะสร้างให้เกิดขึ้นในจิตใจของ
ประชาชนเช่นถามตนเองดูว่าสถาบันคือใคร?ทําอะไร? จุดยืนของสถาบันคืออะไร? อยู่ที่ไหน? และต้องการให้
ประชาชนมีภาพลักษณ์ต่อหน่วยงานองค์การสถาบันเป็นไปในทางใดหรือต้องการให้มีความรู้สึกนึกคิดท่าทีต่อ
หน่วยงานสถาบันของเราอย่างไรบ้างเป็นต้นหลังจากนั้นก็นํามาพิจารณาประกอบการวางแผนเพื่อดําเนินงาน
ขั้นต่อไป
3. คิดหัวข้อ(THEMES) เพื่อใช้ในการสร้างภาพลักษณ์แก่ประชาชนซึ่งหัวข้อ
เหล่านี้ก็คือเนื้อหาข่าวสารที่เราจะใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อกลุ่มประชาชนอาจใช้เป็น
คําขวัญ(SPOGAN) หรือข้อความสั้นๆที่กินความและชวนให้จดจําได้ง่ายสิ่งสําคัญก็คือหัวข้อ
เหล่านี้จะต้องมีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจและอิทธิพลโน้มน้าวชักจูงประชาชนให้เกิด
ภาพลักษณ์ตามที่เราต้องการ
4. ใช้เครื่องสื่อสารต่างๆเข้าช่วยในการทํางานสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึง
ประชาชนเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้สื่อมวลชนต่างๆเข้าช่วยเช่นหนังสือพิมพ์วิทยุโทรทัศน์เป็นต้น
รวมทั้งการใช้การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์(PUBLICRELATION ADVERTISING) สิ่งพิมพ์ต่างๆเช่นจุลสาร
โปสเตอร์แผ่นพับเป็นต้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในองค์กรการ
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประชาชนหน่วยงานสถาบันจะไม่มีวันทําสําเร็จได้เลยถ้าหากปราศจากความร่วมมือจาก
บรรดาสมาชิกของหน่วยงานพนักงานเจ้าหน้าที่คนงานทุกคนซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องติดต่อกับประชาชนและมี
บทบาทมากในการที่จะสร้างความประทับใจหรือภาพลักษณ์ต่างๆให้เกิดขึ้นต่อความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของ
ประชาชนผู้มาติดต่องานด้วยกับองค์การภาพลักษณ์(IMAGE) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
กล่าวคืออาจเปลี่ยนจากภาพลักษณ์ที่ดีเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีหรืออาจเปลี่ยนแปลงจากภาพลักษณ์ที่ไม่ดีมาเป็น
ภาพลักษณ์ที่ดีฉะนั้นภาพลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่สร้างขึ้น
ได้การประชาสัมพันธ์จะมีบทบาทอย่างมากในการเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์นอกจากนี้การ
ประชาสัมพันธ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยังช่วยส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การสถาบันให้ดํารงยั่งยืน
ถาวรต่อไปซึ่งทั้งนี้ย่อมต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆเข้าประกอบด้วย
4.การโฆษณาสถาบัน(Institutional Advertising)
เป็นที่น่าสังเกตว่าการโฆษณาสินค้าในปัจจุบันนี้มิได้มุ่งเพื่อการขายสินค้าหรือ
บริการเพียงอย่างเดียวแต่มุ่งที่จะสร้างความประทับใจและสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่สังคม
ตลอดจนเป็นการมุ่งสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์การ/สถาบันการศึกษาการ
โฆษณาประเภทนี้เราเรียกว่าการโฆษณาสถาบัน/องค์การ (Institutional Advertising) หรือการ
โฆษณาบริษัท (Corporate Advertising)
5.วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสถาบันที่สาคัญมี3 ประการคือ
1. เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนการที่ผู้บริโภคจะให้การสนับสนุนกิจการของบริษัทหรือสถาบันด้วยความ
เต็มอกเต็มใจนั้นบริษัทหรือสถาบันจะต้องมีการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อได้ทราบการดําเนินงานของ
บริษัทนโยบาย, กิจกรรม, แผนงานและความสําเร็จของบริษัทเพื่อให้เกิดความยอมรับความนิยมความเลื่อมใส
และความศรัทธาแล้วย่อมบังเกิดความร่วมมือและความสนับสนุนในกิจกรรมของบริษัทอย่างแน่นอน
2. เพื่อการประชาสัมพันธ์ในบางครั้งการโฆษณาบริษัทจะมีลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้ง
ข่าวสารข้อมูลต่างๆจากบริษัทไปยังกลุ่มประชาชนเป้าหมายเช่นการฉลองครบรอบบริษัทการโฆษณาการแสดง
9
งบดุลประจําปีของบริษัทการบริจาคสินค้าของบริษัทให้แก่หน่วยงานต่างๆฯลฯโดยผ่านเครื่องมือและ
สื่อมวลชนประเภทต่างๆ
3. เพื่อบริการสาธารณะเป็นการโฆษณาที่แสดงจุดยืนหรือแนวความคิดต่อเรื่องสําคัญๆที่เป็น
ประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวมหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมักจะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยต่อ
ประเด็นหรือปัญหาของสังคม
6.กระบวนการดาเนินงานประชาสัมพันธ์
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ์นั้นตําราต่างๆมักอ้างคํากล่าวของสก๊อต
เอ็ม.คัทลิป (Soottm.utlip) และแอลเล็นเอช.เซ็นเตอร์ (Aiien H. Center) ผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิชาการ
ประชาสัมพันธ์ในช่วง 20 กว่าปีนี้ซึ่งทั้ง 2 ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างมี
ประสิทธิผลไว้ว่าการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ควรปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการวิจัย – การรับฟัง (Research-Listening) เป็นขั้นแรกของการดําเนินงาประชาสัมพันธ์
ซึ่งนักประชาสัมพันธ์จะต้องปฏิบัติโดยการสํารวจค้นหาปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นปฏิกิริยาอคติท่าที
ความรู้สึกและอื่นๆของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือนโยบายของสถาบันเพื่อประมวลข้อมูล
ที่ได้ซึ่งรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสถาบันด้วยอันจะนํามาซึ่งขั้นตอนต่อไปในการดําเนินงาน
ประชาสัมพันธ์
2. ขั้นตอนการวางแผนตัดสินใจ-เตรียมปฏิบัติงาน (Planning-Discision- Making) ขั้นตอนนี้เป็น
ขั้นตอนการนําเอาข้อมูลที่ได้จากขั้นที่หนึ่งมาเป็นตัวกําหนดนโยบายและโครงการของสถาบันเพื่อประโยชน์
ของทุกๆฝ่าย
3. ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร-การปฏิบัติการ (Communication-Action) เป็นขั้นตอนของการ
เผยแพร่ข่าวสารนโยบายท่าทีตลอดจนความรู้สึกและข้อเท็จจริงต่างๆไปยังกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง
4. ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายสําหรับการดําเนินการประชาสัมพันธ์ใน
การประเมินผลโครงการต่างๆตลอดจนเทคนิคทั้งหลายที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่
ไม่ได้ผลดีตามคาดหวังหรือเป็นแนวทางปฏิบัติในงาน
ประชาสัมพันธ์อื่นๆต่อไป
7.หลักในการวางแผนการประชาสัมพันธ์
การพิจารณาวางแผนนั้นมีหลักสําคัญๆดังต่อไปนี้คือ
1. การกําหนดวัตถุประสงค์จะต้องกําหนดหรือระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเพื่ออะไรบ้างเราต้องการ
สร้างสรรค์ความเข้าใจในสิ่งใดบ้างหรือต้องการแก้ปัญหาใดเป็นต้น
2. การกําหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมายจะต้องระบุให้แน่ชัดว่ากลุ่มประชาชนเป้าหมายคือใครมี
พื้นฐานการศึกษาหรือภูมิหลังอย่างไรรวมทั้งรายละเอียดต่างๆเช่นฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนด้าน
จิตวิทยาเช่นใครสามารถจะเป็นผู้นําความคิดเห็นมีอิทธิพลต่อการ
แพร่กระจายข่าวสารสู่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง
3. การกําหนดแนวหัวเรื่องจะต้องกําหนดให้แน่นอนว่าแนวหัวข้อเรื่องนั้นจะเน้นไปทางใดตลอดจน
การกําหนดสัญลักษณ์หรือข้อความสั้นๆเป็นคําขวัญต่างๆที่จดจําได้ง่ายหรือดึงดูดความสนใจและเตือนใจได้ดี
4. การกําหนดช่วงระยะเวลาจะต้องมีการกําหนดช่วงระยะหรือจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการ
ปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นจะเริ่มทําการเผยแพร่ล่วงหน้า(Advanced publicity) เพื่อเป็น
การอุ่นเครื่องหรือปูพื้นเสียก่อนเป็นการเรียกความสนใจและถึงวันรณรงค์เพื่อปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เมื่อไรวัน
เวลาอะไรสิ่งเหล่านี้จะต้องกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างแน่ชัด
10
5. การกําหนดสื่อและเทคนิคต่างๆจะต้องกําหนดลงไปว่าจะใช้สื่อหรือเครื่องมือใดบ้างรวมทั้งจะใช้
เทคนิคอื่นๆอะไรบ้างเข้าร่วมด้วยเป็นต้น
6. การกําหนดงบประมาณจะต้องกําหนดงบประมาณที่จะใช้ในการดําเนินการให้
ชัดเจนเพื่อมิให้เกิดปัญหาภายหลังเช่นงบประมาณไม่พอหรือต้องใช้จ่ายเกินงบประมาณไป
ฯลฯการกําหนดงบประมาณนี้ยังหมายรวมถึงกําลังบุคลากรต่างๆที่จะใช้ในการดําเนินการ
ด้วยการติดต่อสื่อสารเมื่อมีการวางแผนที่จะดําเนินการเรียบร้อยแล้วงานขั้นต่อไปก็คือการ
ติดต่อสื่อสารหรือการปฏิบัติการสื่อสารนั่นเองการดําเนินงานในขั้นนี้จึงเป็นการลงมือปฏิบัติการ
สื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชนที่เกี่ยวข้องโดยดําเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ที่วาง
ไว้รวมทั้งการเลือกเครื่องมือและวิธีการสื่อสารเข้ามาช่วยดําเนินงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดอัน
จะทําให้การติดต่อสื่อสารจากองค์การไปยังประชาชนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วฉับไวประหยัดและ
สะดวกยิ่งขึ้นในการปฏิบัติตามสื่อสารนี้จะต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์และทันการณ์จึงจะได้
ผลตอบสนองที่น่าพอใจอนึ่งการติดต่อสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้นเป็นการติดต่อสื่อสาร
แบบสองทางคือองค์การสถาบันสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนแล้วขณะเดียวกันก็รับฟัง
ความคิดเห็นปฏิกิริยาท่าทีของประชาชนที่มีต่อข่าวสารนั้นหรือต่อองค์การสถาบันด้วย
8.การเลือกใช้สื่อและเข้าถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมาย
การเลือกใช้สื่อเป็นกลยุทธ์ของการวางแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อที่จะเข้าถึงประชาชนเป้าหมายเมื่อ
ทราบว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครแล้วการหาวิธีการและการวางแผนการใช้สื่อที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องคํานึงถึง
ในการเลือกใช้สื่อโดยเฉพาะในกรณีที่ต้องซื้อสื่อผู้วางแผนต้องคํานึงถึงความคลอบคุม(COVERAGE) หรือจาก
ที่สื่อนั้นสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากน้อยเพียงใดโดยอาจจะพิจารณาจากยอดจําหน่ายหรือจากบท
บรรณาธิการว่ามีลักษณะและคุณภาพน่าเชื่อถือน่า
อ่านเพียงใดความครอบคลุมนี้หมายถึงการสื่อสารเข้าถึงประชาชนเป้าหมายณช่วงเวลาใดเวลา
หนึ่งเช่นณช่วงเวลาที่กําหนดไว้ประชาชนเป้าหมายควรได้มีโอกาสรับฟังข่าวสารอย่างน้อยหนึ่ง
ครั้งโดยทั่วไปจะกําหนดระยะเวลาประมาณ4 สัปดาห์นอกจากคํานึงถึงความครอบคลุมของการ
เลือกใช้สื่อเพื่อเผยแพร่ข่าวสารออกไปแล้วยังต้องคํานึงถึงความบ่อยครั้งหรือความถี่
(FREQUENCY) หมายถึงจํานวนครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนดที่ประชาชนได้รับฟังข่าวสารนั้น
(อย่างน้อยในช่วงระยะ4 สัปดาห์) และสิ่งที่สําคัญที่ต้องพิจารณาคือความต่อเนื่อง(CONTINUITY)
ความต่อเนื่องหมายถึงการใช้สื่อในการเผยแพร่ข่าวสารออกไปในช่วงระยะเวลาที่กําหนดไว้(เช่น
ในช่วงของการรณรงค์) ว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าใดซึ่งบางครั้งอาจใช้ฤดูกาลเทศกาลหรือวัน
สําคัญทางประเพณีเป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะใช้สื่อให้มีความต่อเนื่อง
อย่างไรนอกจากที่กล่าวมาแล้วควรพิจารณาด้วยว่าจะใช้สื่อตัวใดเนื่องจากสื่อชนิดเดียวกันมี
ความหลากหลายในเนื้อหารูปแบบกลุ่มเป้าหมายหรือสื่อวิทยุซึ่งมีหลายสถานีที่ทําการกระจายเสียง
และสื่อโทรทัศน์ซึ่งมีรายการในช่วงเวลาต่างๆมากมายแต่ละรายการอาจมีความหมายแตกต่างใน
ด้านกลุ่มเป้าหมายคือผู้อ่านผู้ฟังผู้ชมอันมีผลต่อการจัดเนื้อหารูปแบบการนําเสนอเพื่อออกอากาศ
เผยแพร่ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้สื่อจึงต้องมีความพิถีพิถัน
พอสมควรเพื่อให้การใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์นั้นได้ผลมากที่สุดหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ด้วย
3.ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media Theory)
Rataeli’s(1988) กล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารว่า“ปฏิสัมพันธ์ในการ
11
สื่อสารนั้นเป็นการแสดงออกของส่วนขยายของการแลกเปลี่ยนในการสื่อสารซึ่งการสื่อสารย้อยกลับ
ในครั้งต่อๆไปจะเกี่ยวพันกับความเข้มข้นในการสื่อสารที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ย้อนลงไปจนถึงการ
สื่อสารในครั้งแรก” (ปิยะวรรณหอมถวิล, 2541 : 28)
ลักษณะของกระบวนการสื่อสารแบบมีปฎิสัมพันธ์นี้มาจากการสื่อสารระหว่างบุคคลและ
มักเป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า(Face to Face Communication) โดยไม่ผ่านตัวกลางแต่ในปัจจุบัน
เทคโนโลยีการสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นจนทําให้รูปแบบของการปฎิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่าง
บุคเปลี่ยนไปโดยที่ผู้สื่อสารสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆได้เช่นระบบ
คอมพิวเตอร์เครือข่าย
คําอธิบายตามทฤษฎีนี้คือกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลโดย
ที่ผู้ร่วมสื่อสารไม่ได้มีการเผชิญหน้ากันและกันหากเป็นการสื่อสารต่างสถานที่เป็นการสื่อสารผ่าน
__ตัวกลางซึ่ง
ผู้ร่วมสื่อสารสามารถรับรู้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่เกิดขึ้นในการสื่อสารและ
สร้างปฎิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างกันได้โดยผ่านตัวกลางณที่นี้คือ“การสื่อสารผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์” (อดิศักดิ์อนันนับ, 2540 : 27)
3.1 ทฤษฎีมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์การใช้มัลติมีเดียโดยทั่วไปจะพิจารณาคุณสมบัติหลัก2
ประการคือการควบคุมการใช้งานและความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้การควบคุมการใช้
งานเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบมัลติมีเดียคือผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมระบบและขั้นตอนการ
นําเสนอได้ง่ายไม่ซับซ้อนความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้เป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมา
พร้อมๆกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์
ในรูปแบบต่างๆโดยคอมพิวเตอร์จะนําข้อมูลจากผู้ใช้ไปประมวลผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการโต้ตอบ
หรือใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
3.2 องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์มัลติมีเดียมีความสามารถในการรวบรวมการ
นําเสนอของสื่อต่างๆไว้ด้วยกันโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักโดยการใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรม
สร้างสื่อประสมในการนําเสนอฉะนั้นคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่
สําคัญ(กิดานันท์มลิทอง. 2548: 194-196; Linda. 1995: 4-6) ดังต่อไปนี้
1. ข้อความ(Text) หมายถึงตัวหนังสือและข้อความที่สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ
หลายขนาดการออกแบบให้ข้อความเคลื่อนไหวให้สวยงามแปลกตาและน่าสนใจได้ตามต้องการ
อีกทั้งยังสร้างข้อความให้มีการเชื่อมโยงกับคําสําคัญอื่นๆซึ่งอาจเน้นคําสําคัญเหล่านั้นด้วยสีหรือขีด
เส้นใต้ที่เรียกว่าไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) ซึ่งสามารถทําได้โดยการเน้นสีตัวอักษร(Heavy Index)
เพื่อให้ผู้ใช้ทราบตําแหน่งที่จะเข้าสู่คําอธิบายข้อความภาพถ่ายภาพวีดิทัศน์หรือเสียงต่างๆได้
2. ภาพกราฟิก(Graphic) หมายถึงภาพถ่ายภาพเขียนหรือนําเสนอในรูปไอคอน
ภาพกราฟิกนับว่าเป็นสิ่งสําคัญในสื่อประสมเนื่องจากเป็นสิ่งดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ชม
สามารถสร้างความคิดรวบยอดได้ดีกว่าการใช้ข้อความและใช้เป็นจุดต่อประสานในการเชื่อมโยง
หลายมิติได้อย่างน่าสนใจภาพกราฟิกที่ใช้ในสื่อประสมนิยมใช้กันมาก2 รูปแบบคือ
2.1 ภาพกราฟิกแบบบิตแม็ป(Bitmap Graphic) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าRaster Graphic
เป็นกราฟิกที่สร้างขึ้นโดยใช้ตารางจุดภาพ(Grid of Pixels) ในการวาดกราฟิกแบบบิตแม็ปจะเป็นการสร้าง
กลุ่มของจุดภาพแทนที่จะเป็นการวาดรูปทรงของวัตถุเพื่อเป็นภาพขึ้นมาการแก้ไขหรือปรับแต่งภาพจึงเป็นการ
แก้ไขครั้งละจุดภาพได้เพื่อความละเอียดในการทํางานข้อได้เปรียบของกราฟิกแบบนี้คือสามารถแสดงการไล่
เฉดสีและเงาอย่างต่อเนื่องจึงเหมาะสําหรับตกแต่งภาพถ่ายและงานศิลป์ต่างๆได้อย่างสวยงามแต่ภาพแบบบิต
12
แม็ปมีข้อจํากัดอย่างหนึ่งคือจะเห็นเป็นรอยหยักเมื่อขยายภาพใหญ่ขึ้นภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้าย
ด้วย.gif, .tiff, .bmp
2.2 ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์(Vector Graphic) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
Draw Graphic เป็นกราฟิกเส้นสมมติที่สร้างขึ้นจากรูปทรงโดยขึ้นอยู่กับสูตรคณิตศาสตร์ภาพกราฟิก
แบบนี้จะเป็นเส้นเรียบนุ่มนวลและมีความคมชัดหายขยายใหญ่ขึ้นจึงเหมาะสําหรับงานประเภทที่
ต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพเช่นภาพวาดลายเส้นการสร้างตัวอักษรและการออกแบบตรา
สัญลักษณ์ภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย.eps, .wmf, .pict
3. ภาพแอนิเมชัน(Animation) เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรม
แอนิเมชัน(Animation Program) ในการสร้างเราสามารถใช้ภาพที่วาดจากโปรแกรมวาดภาพ(Draw
Programs) หรือภาพจากClip Art มาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้โดยสะดวกโดยต้องเพิ่ม
ขั้นตอนการเคลื่อนไหวทีละภาพด้วยแล้วใช้สมรรถนะของโปรแกรมในการเรียงภาพเหล่านั้นให้
ปรากฏเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการนําเสนอ
4. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์(Full-Motion Video) เป็นการนําเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว
30 ภาพต่อวินาทีด้วยความคมชัดสูง(หากให้15-24 ภาพต่อวินาทีจะเป็นภาพคมชัดต่ํา)รูปแบบภาพเคลื่อนไหว
แบบวีดิทัศน์จะต้องถ่ายภาพก่อนด้วยกล้องวีดิทัศน์แล้วจึงตัดต่อด้วยโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวเช่นAdobe
Premiere และUlead Video Studio ปกติแล้วไฟล์ภาพลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่มากจึงต้องลดขนาดไฟล์ให้
เล็กลงด้วยการใช้เทคนิคการบีบอัดภาพ(Compression)รูปแบบที่ใช้ในการบีบอัดทั่วไปได้แก่Quicktime, AVI
และMPEC 1 ใช้กับแผ่นวีซีดีMPEC 2 ใช้กับแผ่นดีวีดีและMPEC 4 ใช้ในการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์และ
StreamingMedia
5. เสียง(Sound) เสียงที่ใช้ในมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดเสียงเพลงหรือเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆจะต้อง
จัดรูปแบบเฉพาะเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้งานได้โดยการบันทึกลงคอมพิวเตอร์และแปลงเสียง
จากระบบอนาล็อกให้เป็นดิจิทัลแต่เดิมรูปแบบเสียงที่นิยมใช้มี2รูปแบบคือเวฟ(WAV: Waveform) จะ
บันทึกเสียงจริงดังเช่นเสียงเพลงและเป็นไฟล์ขนาดใหญ่และมิดี้(MIDI: Musical Instrument Digital
Interface) เป็นการสังเคราะห์เสียงเพื่อสร้างเสียงใหม่ขึ้นมาจึงทําให้มีขนาดเล็กกว่าไฟล์เวฟแต่คุณภาพเสียงจะ
ด้อยกว่าในปัจจุบันไฟล์เสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอีกรูปแบบหนึ่งเนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กกว่ามากคือ
MP3
6. การปฏิสัมพันธ์(Interactive) นับเป็นคุณสมบัติที่มีความโดดเด่นกว่าสื่ออื่นที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับ
สื่อได้ด้วยตนเองและเลือกที่จะเข้าสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของการนําเสนอตามความพึงพอใจได้ทั้งนี้การปฏิสัมพันธ์
สามารถเชื่อมต่อกับองค์ประกอบของมัลติมีเดียชนิดต่างๆ
4 ทฤษฏีการรับรู้ (Perception Theory)
แนวคิดทฤษฎีการรับรู้การรับรู้ไม่ได้หมายถึงเพียงการมองเห็นแต่เป็นการรับรู้ผ่านประสาท
สัมผัสทั้งการเห็นการได้ยินการรับรสการได้กลิ่นและการสัมผัสโดยในเรื่องของการมองเห็น
(Vision) เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งเป็นการรับรู้สิ่งกระตุ้นโดยประสาทสัมผัสทางตาในส่วน
ของการรับรู้ทางการมองเห็นสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวความลึกการกําหนด
ตําแหน่งทิศทางและความกว้างของเส้นและขอบรวมไปถึงสีสันในการรับรู้รูปร่างสามมิติ
การเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจทางสายตาได้ดีซึ่งแสดงให้
เห็นว่าภาพต่างๆที่มีการเคลื่อนไหวจะเป็นสาเหตุให้เกิดความสนใจต่อการรับรู้ทางสายตาอย่างยิ่ง
13
นอกจากนี้การรับรู้สีสันและแสงมีอิทธิพลต่อการรับรู้เช่นกันโดยแสงและสีเป็นตัวกําหนดถึงคุณภาพของวัตถุที่
เราได้รับรู้
ในการศึกษาเรื่องการรับรู้ (Perception) พบว่าสิ่งที่มนุษย์ได้มีการรับรู้ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ได้
อิทธิพลจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาเช่นการเคยมีประสบการณ์ในการใช้สินค้าใดจะส่งผลต่อ
การตัดสินใจซื้อสินค้าในปัจจุบันและอนาคตด้วยรวมถึงการคาดหวังของมนุษย์ที่เป็นเรื่องของ
โครงสร้างทางจิตใจและความคิดที่มีต่อการรับรู้มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ในสิ่งที่เขาคาดว่าจะได้รับ
นอกจากนี้การรับรู้ของมนุษย์เป็นเรื่องของประสบการณ์ความรู้ความทรงจําและความสนใจโดย
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณการรับรู้ถึงตัวกระตุ้นที่ตรงกับความต้องการหรือความสนใจหาก
มนุษย์ไม่มีความตั้งใจที่จะสนใจต่อตัวกระตุ้นมนุษย์นั้นก็จะไม่เกิดความรู้อันนําไปสู่การรับรู้ได้โดย
มนุษย์มุ่งความสนใจต่อสิ่งที่เคลื่อนที่สิ่งที่มีขนาดใหญ่หนาชัดเจนสีสันสดใสและรูปทรงที่ไม่
ธรรมดาซึ่ง“มิติ” เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นความสนใจนําไปสู่การรับรู้ได้
ปัจจุบันมนุษย์ใช้ชีวิตในโลกที่เป็นสามมิติ (Three - dimensional world) โลกที่เต็มไปด้วย
เสียงกลิ่นแสงและเงาเหตุการณ์และวัตถุที่มีผิวที่หลากหลายมนุษย์ต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆจาก
โลกผ่านทางสายตาจากข้อมูลที่ผสมผสานด้วยจุดเส้นพื้นที่สัญลักษณ์สีเสียงความร้อนความเยน
การสัมผัสแรงกดข้อความฯลฯนําไปสู่การตีความหมายโดยการรับรู้เป็นการจัดระเบียบและ
วิเคราะห์ข้อมูลที่เราสนใจ
นอกจากนี้ในการบอกคุณภาพด้วยการรับรู้ (Perceptual qualities) การให้ขนาดน้ําหนักวัสดุ
พื้นผิวรูปร่างหรือตําแหน่งเป็นการทําให้วัตถุหรือภาพนั้นมีคุณภาพก่อให้เกิดความน่าสนใจขึ้นซึ่ง
ในการรับรู้สีและรูปทรง(Perception of colour and shape) ความลึก(Perception of depth) และการ
รับรู้ภาพ(Picture perception) ถือเป็นส่วนสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางสายตาโดยเฉพาะการรับรู้
ภาพที่เป็นภาพเสมือนสามมิติซึ่งเป็นภาพที่สามารถมองได้360 องศาการรับรู้ภาพเสมือนสามมิติสามารถให้
ความรู้สึกและความประทับใจของแต่ละคนในหลายมุมมองขึ้นอยู่กับประสบการณ์
(Experience) และความคาดหวัง(Expectations)
ในเรื่องของประสบการณ์ถูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือความรู้สึกจากการสัมผัส(Sensation)
และการรับรู้(Perception) ซึ่งความรู้สึกจากการสัมผัส(Sensation) เป็นกระบวนการทางสมองใน
ระดับต่ําที่ใช้นิยามการเรียนรู้สิ่งง่ายๆเช่นแสงสว่าง(brightness) ความหนาว(coldness) สีสัน
(colour) ความอบอุ่น(warmth) หรือความหวาน(sweetness) ส่วนการรับรู้(Perception) เป็น
กระบวนการทางสมองในระดับสูงที่เป็นการรับรู้ในสิ่งที่มีคุณลักษณะซับซ้อนโดยว่ากันว่ามนุษย์มี
ประสาทสัมผัส5 ส่วนแต่ในความเป็นจริงมนุษย์มีการสัมผัสที่มากกว่ามนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆผ่าน
อวัยวะรับประสาทสัมผัส(Sensory organs) รับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวแล้วส่งต่อไปยังการแปลความ
(Translates) โดยสมองแล้วนําไปสู่การจัดเก็บข้อมูลstore information ในส่วนของการจดจํา
(Memories)ในกระบวนการการได้มาซึ่งข้อมูลของมนุษย์(Human Information Processing) เป็น
กระบวนการที่ประสมประสานระหว่างกระบวนการของการรับรู้(Cognition) และระบบความจํา
(Memory) ซึ่งประกอบด้วยการเก็บข้อมูลด้วยอวัยวะรับประสาทสัมผัสsensory memory, ความทรง
จําระยะสั้นshort - term memory, and ความทรงจําระยะยาวlong - term memory
โดยการเก็บข้อมูลด้วยอวัยวะรับประสาทสัมผัส Sensory Memory หรือImmediate Memoryเป็น
กระบวนการของการรับรู้ข้อมูลโดยอัตโนมัติจากประสาทสัมผัสของมนุษย์ซึ่งคล้ายกับระบบ
sensorในหุ่นยนต์ที่ไม่จําเป็นต้องมีความฉลาดแต่ต้องให้ความสนใจในสิ่งรอบข้างองค์ประกอบ
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2
ข้อ 2

More Related Content

Similar to ข้อ 2

หล กการและทฤษฏ การส__อสาร
หล กการและทฤษฏ การส__อสารหล กการและทฤษฏ การส__อสาร
หล กการและทฤษฏ การส__อสารPoMpam KamOlrat
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
9789740330790
97897403307909789740330790
9789740330790CUPress
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุคKruBeeKa
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing schoolWC Triumph
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตAon Narinchoti
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8nattawad147
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8wanneemayss
 
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.peter dontoom
 
Se learn3
Se learn3Se learn3
Se learn3pakino
 
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556Kruthai Kidsdee
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรnakkee
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านprincess Thirteenpai
 
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์nang_phy29
 

Similar to ข้อ 2 (20)

หล กการและทฤษฏ การส__อสาร
หล กการและทฤษฏ การส__อสารหล กการและทฤษฏ การส__อสาร
หล กการและทฤษฏ การส__อสาร
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
9789740330790
97897403307909789740330790
9789740330790
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing school
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
 
Se learn3
Se learn3Se learn3
Se learn3
 
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556
การนำเสนอถูกใจกรรมการนครพนม9ธันวาคม2556
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
 
2562 final-project (1)
2562 final-project  (1)2562 final-project  (1)
2562 final-project (1)
 
2562 final-project 32
2562 final-project 322562 final-project 32
2562 final-project 32
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
 
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์
 

More from Ariaty KiKi Sang

More from Ariaty KiKi Sang (20)

Fff
FffFff
Fff
 
Reflection
ReflectionReflection
Reflection
 
Reflection
ReflectionReflection
Reflection
 
Reflection
ReflectionReflection
Reflection
 
บทความ
บทความบทความ
บทความ
 
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บวิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
 
ภาค 3 2
ภาค 3 2ภาค 3 2
ภาค 3 2
 
ภาค 3 1
ภาค 3 1ภาค 3 1
ภาค 3 1
 
ภาค 1 2
ภาค 1 2ภาค 1 2
ภาค 1 2
 
แผนชีวิต
แผนชีวิตแผนชีวิต
แผนชีวิต
 
งานนำเสนอ1 (1)
งานนำเสนอ1 (1)งานนำเสนอ1 (1)
งานนำเสนอ1 (1)
 
ภาค 1 2
ภาค 1 2ภาค 1 2
ภาค 1 2
 
ภาค 2
ภาค 2ภาค 2
ภาค 2
 
ภาค 1 1
ภาค 1 1ภาค 1 1
ภาค 1 1
 
แผนการเรียน
แผนการเรียนแผนการเรียน
แผนการเรียน
 
ภาค 2
ภาค 2ภาค 2
ภาค 2
 
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บวิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
วิเคราะห์เว็บ 5 เว็บ
 
แผนการเรียน
แผนการเรียนแผนการเรียน
แผนการเรียน
 
บทความ
บทความบทความ
บทความ
 
ตารางสังเคราะห์ 5 เว็บ
ตารางสังเคราะห์ 5 เว็บตารางสังเคราะห์ 5 เว็บ
ตารางสังเคราะห์ 5 เว็บ
 

ข้อ 2