SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง
ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์
อาจารย์ประจาภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ถอดความ : นายฮากีม ผูหาดา
กองบรรณาธิการ : นายฮากีม ผูหาดา, นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
รูปเล่ม : นายฮากีม ผูหาดา
ปีที่เผยแพร่ : มิถุนายน 2558
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญ
1. บทนา 1
2. ทุนทางสังคมตามทฤษฎีตะวันตก 2
2.1 มุมมองของความขัดแย้ง 2
2.2 มุมมองแบบชุมชนนิยม 4
3. ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง 6
4. สรุป 10
1
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง1
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์
อาจารย์ประจาภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. บทนา
ผมได้พบชาวบ้านมาเก็บไข่มดแดงในบ้านผม ผมจึงสงสัยว่ามาเก็บในบ้านผมได้อย่างไร เพราะบ้านผมเป็น
สถานที่ส่วนตัว แต่ก็มาเข้าใจว่าชาวบ้านไม่ได้คิดว่าไข่มดแดงเป็นเรื่องส่วนตัว แม้ต้นมะม่วงเป็นเรื่องส่วนตัวของผม
เป็นสิ่งที่ผมปลูก แต่ไข่มดแดงไม่ใช่ของส่วนตัว เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในบ้านใครก็
สามารถเก็บได้หมด กล่าวคือแม้ในพื้นที่ส่วนตัวก็มีพื้นที่ส่วนรวมซ้อนอยู่ ผมเลยเรียกว่าสิทธิเชิงซ้อน ความเข้าใจนี้ผม
ได้มาจากการสังเกตชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งนักวิชาการมักใช้ความคิดจากตะวันตกเสียหมด แต่ผมพบว่าในสังคมเราก็มี
ความคิดพวกนี้อยู่ ขึ้นอยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่ หากเห็นแค่การเก็บแค่ไข่มดแดงก็จะไม่รู้เรื่อง เมื่อสอบถามไปเรื่อยๆ
จึงทาให้ผมเข้าใจว่ามีเรื่องของการใช้สิทธิร่วมกันในพื้นที่ส่วนตัว เช่น ในทุ่งนาของคนอื่น สามารถจับปลาได้ เก็บผักใน
ที่คนอื่นได้ ไม่ใช่ว่านาใครนามัน แต่แน่นอนว่าต้นข้าวขโมยไม่ได้ กล่าวคือมีพื้นที่ส่วนรวมและส่วนตัวอยู่ในที่เดียวกัน
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความคิดที่ผมค้นพบ
ต่อมาผมได้พัฒนาเรื่องนี้มาเป็นความคิดที่เรียกว่าสิทธิชุมชน สิทธิส่วนรวม หรือ “หน้าหมู่” ที่มาจากภาษา
เหนือ "หน้าหมู่" ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ถ้าหากไม่มีการรักษาการใช้ทรัพยากรร่วมกันไว้ คล้ายๆ กับว่าเห็นแก่ตัว ไม่
มีความรู้สึกถึงความเป็นธรรม อย่างน้อยที่สุดถ้าชาวบ้านมาเก็บไข่มดแดงในบ้านเราได้ ถึงแม้จะรวยจนแตกต่างกัน ก็
ยังพออยู่ด้วยกันได้ ถึงแม้ว่าเราอาจจะรู้สึกว่าเขามาเก็บของในบ้านเรา แต่ถ้าเรารู้สึกว่า ถ้ามาเก็บไข่มดแดง แล้วเรา
ยอมรับได้ มันก็ทาให้อยู่ร่วมกันได้ แม้ความแตกต่างจะมีอยู่ อะไรทานองนี้ เราพบว่าในสังคมไทยก็มีความคิดเรื่องนี้อยู่
คือปัจจุบันนี้เราใช้เรื่องทุนทางสังคม แต่สมัยก่อนไม่มีคานี้มีคาอื่นๆ ที่ผมใช้ แต่ฝรั่งเรียกทุนทางสังคม เราก็ตามกัน ที่
จริงเราไม่ได้เรียกคานั้น มีคาอื่นตั้งมากมาย แต่เราก็ไม่เข้าใจ ผมพยายามถอดความเข้าใจจากประสบการณ์ที่อยู่ใน
ชนบท
จากนั้นมา ผมพยายามมองดูว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงไปก็มีการปรับปรุง ปรับพัฒนาความคิดเหล่านั้นให้เข้ากับ
การเปลี่ยนแปลงในยุคต่อๆ มา ซึ่งผมก็เรียกว่าเป็น กระบวนการสร้างคุณค่าใหม่ที่ต่อมาก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านเอา
ความคิดเหล่านี้มาเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวที่ผมมีส่วนคือการเคลื่อนไหวในเรื่องการต่อสู้เพื่อให้ได้ป่าชุมชน เรื่อง
ของส่วนรวมว่าจะทาอย่างไรจึงจะมีบทบาทร่วมกันจัดการสิ่งที่เป็นของส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าที่เป็นของที่ใช้
1
ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง “ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง” เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมโรงแรม
รามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา 9.30 - 12.00 น. จัดโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ภายใต้ศูนย์
ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.)
2
ร่วมกันมาก่อน ชาวบ้านจึงเอาเรื่องนี้เข้ามาเคลื่อนไหวที่จะต่อสู้ ขณะนั้นต่อสู้เพื่อให้ได้พระราชบัญญัติป่าชุมชน ซึ่งมี
กระบวนการต่างๆ เคลื่อนไหวเพื่อต่อรอง ประกอบกับมีความคิดเรื่องต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น เรื่องของศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ เรื่องของสิทธิชุมชน รวมถึงเรื่องของการแสดงอัตลักษณ์ หรือตัวตน เป็นต้น
เจ้าหน้าที่รัฐมักจะมองว่าส่วนใหญ่คนที่ตัดไม้ทาลายป่าคือชาวบ้าน แต่นั่นก็เป็นการมองเห็นเพียงด้านลบ
เท่านั้น แต่ไม่ได้มองว่าชาวบ้านก็มีทั้งด้านลบด้านบวกเหมือนคนอื่นๆ คนที่ตัดไม้ก็มี คนที่รักษาก็มี คนทาดีมักไม่ถูก
มองเห็น ฉะนั้นจึงเป็นประเภทที่ชอบให้รางวัลกับคนทาชั่ว แต่คนทาดีไม่มีรางวัลให้ คือมองไม่เห็นว่าเขาทาดี กลุ่มคน
เหล่านี้แสดงตัวตนผ่านพิธีกรรม ความเชื่อ เช่น พิธีการบวชป่า เพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านก็ทาในเรื่องเหล่านี้ได้ มา
รวมตัวกันเพื่อดูแลทรัพยากรส่วนรวมได้เหมือนกัน และทาให้อย่างไม่มีค่าตอบแทนด้วย แต่เราก็ไม่มีการให้รางวัล หาก
มีการยอมรับว่าชาวบ้านก็ทาได้ก็สนับสนุนต่อให้มีการกาหนดกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติ จะทาให้ขบวนการนี้
ขยายตัว เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเรามีแนวคิด แต่ไม่รู้ว่ายังมีเงื่อนไขอะไรที่จะทาให้แนวคิดเรื่องทุนทางสังคมมีการ
ขยายตัว กล่าวคือแค่ความคิด แต่ทาให้ขยายไม่เป็น เพราะคิดเพียงด้านลบ ไม่ค่อยให้ความสาคัญกับมุมมองด้านบวก
2. ทุนทางสังคมตามทฤษฎีตะวันตก
ผมได้ศึกษาว่าในทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคมในตะวันตก ในเวลานี้มีใครมองกันอย่างไรบ้าง หลาย
ท่านคงรู้บ้างแล้ว แต่ผมก็พยายามนามาสรุป เป็นการสรุปตามแนวทางของผมเอง ผมสนใจว่าเมื่อเขาคิดเช่นนี้แล้ว ผม
จะตีความอย่างไร เพราะวิชาการนั้นไม่ใช่ว่าฟังแล้วเชื่อหมด คืออ่านงานของใครจะต้องวิพากษ์วิจารณ์หรือนาเสนอ
แนวคิดเพิ่มเติมออกไปจึงจะทาให้ได้ความรู้ ความรู้นั้นไม่ใช่อ่านแล้วเชื่อ ความรู้นั้นต้องอ่านแล้วเถียงจึงจะได้ความรู้
ซึ่งก็เป็นปัญหาของวิชาการไทยคืออ่านแล้วเชื่อ ทั้งนี้ผมได้อ่านทฤษฎีเหล่านี้แล้วพบว่าทุนทางสังคมมี 2 แนว คือ
1. มุมมองของความขัดแย้ง 2. มุมมองแบบชุมชนนิยม
2.1 มุมมองของความขัดแย้ง
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่สุดในสายนี้คือ Pierre Bourdieu ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม แต่งานที่สาคัญคือ
Distinction ซึ่งเขาเป็นคนแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ที่นาเอาคาว่า social capital ขึ้นมาใช้ในภาษาอังกฤษ โดยเริ่มจาก
ภาษาฝรั่งเศสก่อน เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ social capital ในความเข้าใจของ Bourdieu คาว่าทุนทางสังคมมี 2
มิติ
มิติแรกคือมองไปในแง่ของโยงใยความสัมพันธ์ หรือเครือข่าย มองว่าทุนทางสังคมเป็นความสัมพันธ์ ผมได้
กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเป็นความคิดและความสัมพันธ์ ก่อนหน้านั้นผมไม่สนใจ Bourdieu แต่เรื่องที่ผมทาก็ใกล้เคียงกับ
ที่ Bourdieu พูดเรื่องนี้ ผมมาอ่านงานของ Bourdieu ในภายหลัง เพราะตอนนั้นยังไม่ได้แปล กล่าวคือต่างคนต่างทาใน
ทานองเดียวกัน เพียงทากันคนละสถานที่
มิติที่สองคือให้ความสาคัญว่าทุนทางสังคมไม่ใช่แค่สัมพันธ์กันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ถามว่าสัมพันธ์กันเพื่อ
เป้าหมายอะไร มีเป้าหมายทาอะไร กล่าวคือร่วมกันเพื่อกระทาการบางอย่างที่มีเป้าหมาย เพราะ Bourdieu ได้อิทธิพล
ความคิดมาจาก Karl Marx และ Max Weber เจ้าพ่อของทฤษฎีสังคมศาสตร์ และเนื่องจากเขาเป็นชาวฝรั่งเศส จึงได้
อิทธิพลของ Emile Durkheim อีกด้วย เขาได้รับอิทธิพลจาก 3 เจ้าพ่อทางสังคมศาสตร์ และนามาปรับใช้ใหม่
3
หากต้องการจะเข้าใจ 2 ความคิดของเขาดังกล่าว ต้องเข้าใจก่อนว่าเมื่อ Bourdieu มองสังคม เขามองว่าสังคม
เป็นสนาม(field) ทางสังคมที่มีลักษณะหลากหลาย เป็นพื้นที่/สนามของความสัมพันธ์ที่มีมิติหลากหลาย มีได้หลายทาง
และเขาเป็นคนแรกที่นาเอาแนวคิดเรื่องทุนที่ไม่ได้มองว่าเป็นเพียงทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น เขาได้เพิ่มทุนวัฒนธรรม
และทุนสังคม ทั้งยังมีทุนทางสัญลักษณ์อีกด้วย ซึ่งทุนทั้งหมดนั้นสามารถแปรรูปกลับไปกลับมาได้ หากมีทุนทาง
เศรษฐกิจมากก็สามารถแปรไปเป็นทุนทางสังคม หรือทุนทางวัฒนธรรมก็ได้ กล่าวคือทุนนั้นไม่คงที่ สามารถแปรรูปได้
เหล่านี้หมายความว่าสนามของความหลากหลาย คือไม่ได้มองอย่างยึดติด แต่เปลี่ยนแปลง/แปลงร่าง/แปรรูปได้
ตลอดเวลา ซึ่งการแปลงร่าง/แปรรูปก็เป็นสนามที่สาคัญของสังคมในการที่จะใช้พลิกแพลง และรักษาสถานภาพตัวเอง
ไม่ให้ตกต่า เช่น หากเราทาตัวตกต่าไปเรื่อยๆ ก็เป็น nobody แต่ nobody ก็สามารถเปลี่ยนเป็น somebody ถ้าเกิดมี
การแปรเปลี่ยน แม้จะมีทุนเศรษฐกิจน้อย แต่มีทุนอย่างอื่นมาก หมายความว่าไม่ใช่ว่าจะเป็น nobody ตลอดชีวิต ถ้า
คุณสามารถพลิกแพลง ใช้ทุนชนิดอื่นๆ ได้ ก็สามารถขยับตัวเองได้เหมือนกัน แม้อาจจะไม่ได้ขยับมาก แต่อย่างน้อยก็
ไม่ได้เป็น nobody เป็น somebody ก็ถือว่าได้แล้ว เป็นต้น เพราะฉะนั้น รูปแบบของทุนจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยทาให้
สามารถพลิกแพลง ขยับขยายตัวได้ในสนามต่างๆ แต่ในแต่ละสนามก็มีลักษณะของตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สนามได้ดี
แค่ไหน กล่าวคือต้องมีกลยุทธ์ หากมีลักษณะที่ passive หรือตั้งรับอยู่เสมอ ก็ไม่มีใครช่วยได้ แต่หากลุกขึ้นมา ถึงแม้
จะจน หรือไม่มีสมบัติมากมาย แต่รู้จักใช้ทุนบางอย่างที่มีอยู่ ก็สามารถเคลื่อนที่ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
รูปแบบของทุนต่างๆ ยังทาให้ agent/ผู้กระทาการ (คือมองคนว่าเป็นผู้กระทาการ มองคนในเชิงรุกไม่ใช่เชิง
รับ) หากรู้จักพลิกแพลง ก็มีโอกาสชนะในเกมนั้นได้ หรือเปลี่ยนเป็น somebody ได้ ดังนั้นหลังจากที่ Bourdieu มอง
สังคมเช่นนั้น จึงได้เขียนบทความ The act of resistant against the new myth of our time การอ่านงานของ
นักวิชาการคนหนึ่งจะอ่านงานของเขาชิ้นเดียวไม่ได้ ต้องอ่านงานหลายชิ้นเพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะ
นักวิชาการมักเปลี่ยนความคิดอยู่เสมอ หากใครก็ตามที่คิดว่าเก่งเหลือเกิน คงความคิดไว้เหมือนเดิม เช่นนั้นไม่เรียกว่า
เก่ง แต่ใช้ไม่ได้เลย นักวิชาการจะต้องเปลี่ยนความคิดตลอด ไม่ใช่ตะลบตะแลง เพราะสังคมเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา จะให้
ความคิดคงที่ไม่ได้ Bourdieu ก็เช่นกัน เป็นนักคิดที่เฉียบแหลมคนหนึ่ง และมักจะเปลี่ยนความคิดอยู่เรื่อยๆ
ในปี ค.ศ. 1998 Bourdieu ก็มองว่าทุนที่เขาคิดนั้นมี 3 มิติ ในแต่ละทุนก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับชนชั้น ทาง
เศรษฐกิจ มีหลายมิติ เขาให้ความสาคัญกับความหลากหลาย มองทุนในหลายมิติ ไม่ใช่มองทุนแล้วคิดในเชิงเศรษฐกิจ
เท่านั้น เพราะทุนสามารถใช้ได้หลายวิธี ไม่ใช่เชิงเดี่ยว ทุนทั้ง 3 ของ Bourdieu สามารถช่วยสร้างความชอบธรรม
ให้กับทุนทางสัญลักษณ์ได้อีก กล่าวคือมีการพลิกแพลงได้หลายลักษณะ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนกับว่าเวลานี้เราอยู่
ในมายาคติที่ทาให้เราคิดไปได้ทางเดียว ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น หากติดอยู่ในมายาคติของยุคสมัยของเทคโนโลยี IT
social media ฯลฯ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ออกมามีเพียงมิติเดียวเท่านั้น บางคนกล่าวว่ามีข้อมูลหลากหลาย แต่เมื่อเจาะลึก
แล้ว เบื้องหลังนั้นน้อยมาก เต็มไปด้วยการครอบงา เรามักคิดว่าเรามีข้อมูลมาก แต่ก็คิดไปในทางเดียวเท่านั้น ดังนั้น
สิ่งทีสาคัญมากกว่าคือการคิดหลายทาง การคิดทางเดียวจะง่ายกว่า และสะดวกสบายกว่า
ประการต่อมา Bourdieu ให้ความสาคัญกับเรื่องความขัดแย้ง และอานาจ เนื่องจากสังคมมีความขัดแย้งเป็น
เรื่องปกติธรรมดา แต่อานาจได้ครอบงาคนเพื่อลดความขัดแย้ง โดยให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่โลกจะต้องขัดแย้ง
เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง โลกก็ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการหยุดโลกจึงเป็นไปไม่ได้
Bourdieu ได้บอกว่า concept of social capital วางอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ที่ช่วยเสริมความสามารถ
ให้กับผู้กระทาการในการผลักดันวาระของตน ทุกคนมีวาระทั้งสิ้น ทั้งคนจน คนรวย และให้ความสาคัญกับ social
4
position คือตาแหน่งแห่งที่ทางสังคมของแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ล้วนแล้วแต่สร้างความชอบธรรมผ่านเรื่องของทุนทาง
สัญลักษณ์ ที่จริงแล้วสถานภาพในสังคมเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ ดังนั้น social capital ถึงได้กลายเป็นทรัพยากรที่ช่วย
ให้ผู้คนสามารถต่อสู้ เพื่อปรับเปลี่ยนไปในสนามที่หลากหลาย
ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ที่คิดเรื่องทุนทางสังคมจะคิดมากเรื่องของ trust ว่าเป็นหัวใจของสังคม เป็นฐานของการ
สร้างทุนทางสังคม หากมี trust มีความไว้วางใจก็จะทาให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี เพราะนักสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจท่าน
หนึ่ง (Mark Granovetter) ที่อยู่มหาวิทยาลัย Harvard ก็พูดเรื่องนี้ไว้มาก คือใช้ความคิดบวกกับ Karl Polanyi ที่ให้
ความสาคัญกับการยึดโยง โดยกล่าวว่าโลกปัจจุบันยึดโยงด้วยกับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นกันที่ใช้ทาธุรกิจ หรือ
อื่นๆ แต่ Bourdieu ไม่เล่นด้วยกับความคิดนี้ เพราะการมีหรือไม่มี trust ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ตัว trust เอง แต่
Bourdieu ไม่ได้พูดคานี้อย่างชัดเจน ดังนั้น Bourdieu คิดว่าควรจะมองเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง
2.2 มุมมองแบบชุมชนนิยม
แนวความคิดที่โต้แย้ง Bourdieu จะเป็นอีกแนวหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน คือมุมมอง
แบบชุมชนนิยม เมื่อผู้คนส่วนใหญ่พูดถึงคาว่าทุนทางสังคมก็จะหมายถึงกรอบของมุมมองนี้ นักวิชาการหลักของ
มุมมองนี้คือ James Coleman เขียนบทความ Social Capital in the Creation of Human Capital ในปี ค.ศ. 1988 ก็
ได้อ้างงานของ Bourdieu เช่นกัน โดยใช้คาว่าทุนทางสังคมจาก Bourdieu แต่ในรายละเอียดต่างกัน บทความของ
Coleman มีอิทธิพลมาก เพราะได้ลงพิมพ์ใน American Journal of Sociology โดยมองว่า social capital มี 2 ทาง
เช่นกัน คือ
1. Coleman กล่าวว่า social capital as a relational construct หมายความว่าต้องสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมา
ไม่ใช่ว่าความสัมพันธ์มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนดีของเขาในแง่ที่ว่าหลายคนคิดว่าทุนทางสังคมมีอยู่แล้ว แต่ที่จริงไม่ใช่
เพราะต้องสร้างด้วย หากไม่สร้างขึ้นมาก็ไม่ได้เป็นส้มหล่น ไม่ได้มีมาเอง
2. social capital as providing resources to others through relationships with individuals คือทุนทาง
สังคมเป็นทรัพยากรที่จะช่วยให้สามารถสัมพันธ์กับคนต่างๆ ได้
หากถาม Coleman ว่า social capital คืออะไร คาตอบคือ 3 คา network, trust, shared norm สาหรับ trust
ในสายชุมชนนิยมนี้จะไม่มีปัญหา เพราะ trust นี้ดีมาก ไม่มีการตั้งคาถาม แต่ Bourdieu ตั้งคาถามกับ trust และรู้สึกไม่
ไว้วางใจความไว้วางใจ สาหรับ shared norm คือความคิดที่มีอยู่ร่วมกัน กล่าวคือทุนทางสังคมจะต้องมีความคิดร่วมกัน
ต้องไปด้วยกันได้ ซึ่งต่างจากแนวของ Bourdieu ที่ว่าไม่ร่วมกันก็ไปได้ ต้องขัดแย้งถึงจะไปได้ ดังนั้นโดยพื้นฐานจึงมอง
ต่างกันอย่างมาก หากขุดต่อไปก็จะพบว่าในความคิดแบบชุมชนนิยมนั้น social capital เป็นทรัพยากรที่มี function มี
หน้าที่ในฐานะที่เป็นทรัพยากรของแต่ละคนที่จะเอาไปใช้ได้ หรือทรัพยากรที่นาไปใช้เพื่อประโยชน์ได้
การอ่านงานความคิดนั้น จะอ่านแค่ผิวเผินไม่ได้ แต่ต้องเจาะไปถึงฐานคิด หากขุดไปที่ฐานคิดของกลุ่มชุมชน
นิยม พบว่าเป็นฐานคิดที่เรียกว่าแบบ American communitarianism คือชุมชนนิยมแบบอเมริกัน ไม่ใช่ว่าเป็นที่ไหนก็
ได้ แต่เป็นแบบ American โดยเฉพาะ หากไม่เข้าใจบริบทของเอมริกาก็อาจจะไม่รู้ว่าเป็นมาอย่างไร เพราะนอกจาก
ความคิดของ Coleman แล้ว ยังมี Robert Putnam ที่เป็นหัวหอกในความคิดนี้
Putnam เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็นอีกคนซึ่งถูกอ้างอิงมาก ในกรณีของ Putnam นั้นเป็นนัก
รัฐศาสตร์ แต่ Coleman เป็นนักสังคมวิทยา Putnam บอกว่าความคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดในอเมริกาที่
5
พยายามจะรักษาความหลากหลาย pluralism ความเป็นพหุนิยม เพราะสังคมอเมริกาเป็นพหุนิยม หมายความว่า
อเมริกาเป็น melting pot ที่มีหลากหลายชาติพันธุ์มาอยู่ด้วยกัน และต้องการรักษาความหลากหลายไว้ ในแต่ละชุมชน
ก็อาจจะมีความเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นชุมชนเป็นเหมือนกับกระดูกสันหลังของอเมริกา เพราะอเมริกาไม่ใช่สร้าง
มาเป็นรัฐในตอนแรก แต่การสร้างรัฐเริ่มจากผู้คนหนีจากยุโรปแล้วมาตั้งเป็นชุมชน กล่าวคืออเมริกาในเริ่มแรกมาเป็น
ชุมชนเล็กแล้วมาสร้างเป็นชาติภายหลัง ซึ่งแตกต่างกับสังคมไทยที่สร้างชาติก่อน และสร้างชุมชนภายหลัง ฉะนั้นฐาน
ที่มาไม่เหมือนกัน คือฐานชุมชนของอเมริกาเข้มแข็งมาก แต่ก็เสื่อมไปช่วงหนึ่ง คือกลายมาเป็นปัจเจกชนมากขึ้น จึงได้
มีความพยายามฟื้นฟูความเป็นชุมชนกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้เป็นพลังในสังคม ในทางการเมือง เพราะการเลือกตั้งที่
แท้จริงจะต้องมีฐานท้องถิ่น/ชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ด้วยความเป็นนักรัฐศาสตร์ Putnam ตั้งสมมติฐานว่าที่การเมือง
อ่อนแอเป็นเพราะฐานชุมชนอ่อนแอเช่นกัน จึงพยายามปลุกให้ฐานชุมชนเข้มแข็งขึ้น เพื่อทาให้การเมืองดีขึ้น ดังนั้นจึง
มองเรื่องทุนทางสังคมในแง่ที่ว่าเป็นหน้าที่นิยม คือมีหน้าที่ในการบูรณาการทางสังคม
ชุมชนอเมริกาเคยเข้มแข็งในยุค 1950, 1960 แต่เมื่อช่วง 1970-1980 ก็เริ่มเสื่อม เพราะมีความขัดแย้งกันมาก
ตั้งแต่สงครามเวียดนามเอย ประกอบกับผู้คนกลายเป็นปัจเจกชนมากขึ้น ดังนั้นช่วงปี 1990 จึงพยายามที่จะฟื้นฟู แต่
ผมมองว่า จริงๆ แล้ว Putnam มองการเมืองแบบไร้การเมือง ส่วน Bourdieu ไม่ได้มองการเมือง แต่ความคิดเป็น
การเมือง ขณะที่นักรัฐศาสตร์จะต้องสนใจการเมือง กลับมองการเมืองที่ไม่มีการเมือง คือไม่มีอะไรเลย เหมือนว่าไป
ตามน้า ถ้าไปตามน้าก็ไม่เรียกการเมือง กล่าวคือการเมืองต้องขัดแย้ง ถ้าไม่ขัดแย้ง ไม่โต้เถียงกัน ก็จะไปตามน้า แต่
แนวของกระแสหลักมักจะเป็นลักษณะอย่าง Putnam ที่มองไม่เห็น conflict เลย เพราะ Putnam ได้รับอิทธิพลมาจาก
Alexis De Tocqueville เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่เดินทางไปเที่ยวอเมริกาในอดีต และได้เขียนหนังสือชื่อว่า Democracy
in America ซึ่งดังมาก และถูกอ้างถึงมาก ผู้คนต่างก็คิดว่าการเมืองอเมริกาเป็นเหมือนดังที่ De Tocqueville ว่า แต่ที่
จริงอเมริกาไม่ได้เป็นเช่นนั้น แม่แบบประชาธิปไตยอย่างเช่นอังกฤษ อเมริกานั้น ถ้ารู้ถึงเบื้องหลังแล้วจะรู้ว่าไม่ใช่
ประชาธิปไตยสักเท่าไหร่ หมายความว่ามีอานาจเบื้องหลังมากมาย แต่โฉมหน้าที่ De Tocqueville เห็นจากการ
เดินทางไปเที่ยวเท่านั้น ก็ romanticized American politics ผู้คนก็คิดว่าการเมืองอเมริกันดีอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงแล้ว
คือการพยายามที่จะรักษาสถานภาพเดิม คือไม่มีการขัดแย้งอะไรมาก
เมื่อมาอ่านหนังสือของ Putnam ซึ่งเขียนปี ค.ศ. 1993 ชื่อว่า Making Democracy Works หากประชาธิปไตย
ดีจริง คงไม่จาเป็นต้องเขียนหนังสือเล่มนี้ ขนาดอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1993 ยังต้องเขียนหนังสือเล่มนี้ และเราก็คิดว่า
อเมริกาเป็นแม่แบบประชาธิปไตย ซึ่ง Putnam บอกว่า social capital เป็นทรัพยากรร่วมที่สาคัญที่จะผลักดันให้
democracy work เพราะช่วงหลังสังคมอเมริกามีลักษณะเป็นปัจเจกชน นิยมสูงมาก หากช่วงนั้นใครเรียนรัฐศาสตร์ก็จะ
ทราบว่ามีคนเขียนวิพากษ์วิจารณ์ โดยกล่าวว่าปัจเจกชนนิยมไม่ใช่ปัญหา แต่ที่เป็นปัญหาคือ possessive
individualism คือเป็นปัจเจกชนนิยมที่เห็นแก่ตัว เพราะผู้คนต่างก็เป็นปัจเจกชนกันหมด แต่ปัจเจกชนที่มีจิตใจ มีความ
เสียสละก็มาก และคนที่ทางานเพื่อสังคมก็เป็นปัจเจกชนทั้งสิ้น ดังนั้น Putnam พยายามที่จะไม่พูดในเชิงปัจเจกชน แต่
กลับไปที่ชุมชน ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ทาให้แนวคิดของเขาเน้นด้านเดียวเกินไป ขณะที่ Bourdieu ให้ความสาคัญกับความ
ขัดแย้งและความหลากหลายมากกว่า
หนังสือเล่มที่สองของ Putnam เขียนในปี ค.ศ. 2000 ชื่อว่า Bowling Alone เขาจะแยกระหว่าง physical
capital, human capital และ social capital คือมอง capital มี 3 มิติ แต่ไม่ได้มองแบบ Bourdieu ที่ว่าเป็น economic
capital กับ cultural capital คือ Putnam ให้ความสาคัญกับ human capital ที่เป็นคุณสมบัติของปัจเจกชน ดังนั้นใน
6
ทฤษฎีของ Putnam มองว่า social capital เกี่ยวข้องกับ network และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือต้องมี
ความสัมพันธ์ร่วมกันจึงจะสามารถเกิด social capital ได้ ในขณะที่ Bourdieu ไม่ไว้วางใจ trust แต่ Putnam คิดว่า
trust มีคุณค่ามหาศาล หมายความว่า trust ไม่มีปัญหา ถ้ามี trust แล้วทุกอย่างจะดี ซึ่งมองต่างกัน trust ในความ
เข้าใจของ Putnam เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ network ไปได้ดี trust เป็นเหมือนกับกาวใจ ดังนั้นเพื่อจะทาให้เกิดชุมชนที่
เข้มแข็ง จึงต้องมี trust เป็นหัวใจ และ social capital จึงมีฐานคิดอยู่ตรงที่ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
Putnam เคยมาบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาพูดถึง democracy กับ social capital: what's the
connection และผมก็ได้สไลด์มาด้วย what is social capital? why is it important? เขากล่าวว่าเป็น social network
and norms of reciprocity และ core inside สาคัญคือ social network have value for individuals and for
communities ซึ่งดีกว่าบางคนที่มองไม่เห็นความสาคัญของ individual เลย Putnam ยังเห็นว่า individual สาคัญแต่
ต้องให้ทางานเพื่อสังคม ดังนั้น network ก็มีความสาคัญ ที่พูดถึง network มี 4 ประการ คือ
• Transmit information
• Help overcome dilemmas of collective action
• Encourage reciprocity and trust
• Influence identities and thus encourage altruism
หลายคนที่เอาความคิดของ Putnam ไปใช้มักเอาแต่ชื่อ เอาแต่คาว่า network เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่า
network ข้างในมีอะไร ดังนั้นในความคิดของ Putnam ข้างใน network หมายถึงอีก 4 ข้อข้างต้น ยังต้องให้ความสาคัญ
กับเรื่องอัตลักษณ์ แต่ไม่ใช่ว่าทาเพื่อตนเอง แต่ทาเพื่อคนที่ไม่รู้จักก็ได้ด้วย ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ Putnam เน้น ต่อมาเขา
บอกว่า different type also social capital ก็เหมือน human capital ก็มองได้หลายทาง ไม่ใช่มอง social capital ทาง
เดียวกันหมด social capital สามารถใช้ทั้งดีหรือไม่ดีก็ได้
สไลด์ต่อมา Putnam บอกว่า social capital เกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง คือหลายคนไปอ่านความคิดเขาแล้ว
ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร เขาบอกว่า social capital ไม่ได้มองแค่ social capital ต้องมองบริบทของ social capital ด้วย
หมายความว่า social capital จะใช้ better educational outcome หมายความว่าจะทาให้เกิดการศึกษาดีขึ้นด้วย คือมี
ประโยชน์ ทาให้สวัสดิการเด็กดีขึ้น ทาให้ลดอาชญากรรม ฯลฯ คือมอง social capital ด้านดี ด้านไม่ดีก็มีเช่นกัน แต่
ด้านดีมีมากกว่า
เหล่านี้เป็นมุมมองจากนักทฤษฎีที่พูดถึงเรื่อง social capital ใน 2 แนวทาง ที่เป็นแนวทางใหญ่ๆ อาจจะมีนัก
ทฤษฎีคนอื่นที่พูดเรื่องนี้อีก แต่เป็นระดับย่อยๆ ลงมา
3. ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง
ผมจะเข้าสู่เรื่องเมือง การเชื่อมต่อกันระหว่างทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง ทาให้ผมต้องมาอ่านเรื่อง
แนวคิดการพัฒนาเมือง เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาเมือง ต้องรู้ว่ามีการวิเคราะห์เรื่องเมืองอย่างไร ผมพยายามอ่านดูว่า
นักคิดหลักๆ ที่ผมชอบ และคิดว่างานที่สาคัญที่พูดถึงเมืองที่แตกต่างจากสาย urban planning หรือ regional planning
ผมก็รู้จักสายนี้มาก ที่มหาวิทยาลัย Cornell จะมี Department of Regional Planning ที่ใหญ่มาก และมีคนเรียน
มากมาย ซึ่งเป็นสายปกติหรือกระแสหลัก แต่ผมอยากรู้สายไม่ปกติ หรือสายวิพากษ์วิจารณ์ และบังเอิญไปเจอหนังสือ
ที่ออกในปี ค.ศ. 1970 ชื่อว่า The Urban Revolution เขียนโดย Henri Lefebvre เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศส แต่ถูกแปลเป็น
7
ภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ ช่วงปี 1990-2000 ซึ่ง Lefebvre กล่าวว่า urban society is not just in the city คือบาง
คนเมื่อพูดถึงเมืองก็นึกถึงแค่ตัวเมือง แต่ Lefebvre ไม่ได้พูดถึงเมือง เขาพูดถึง urban society คือสังคมเมือง ไม่ใช่ตัว
เมือง
Lefebvre บอกว่า urban คือความเป็นสังคมเมือง ไม่ได้มองเมืองเฉพาะตัวเมือง แต่มองที่บรรยากาศ มอง
สภาวะทั้งหมดของความเป็นเมือง ซึ่งบอกว่า urban phenomena นั้น จริงๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
สถาปนาสังคมอุตสาหกรรม Lefebvre พูดถึงฝรั่งเศสและตะวันตก โดยความเป็น urban ในสังคมตะวันตกเกิดใน
กระบวนการเดียวกับการสร้างอุตสาหกรรม เป็นการดูดทั้งทุนและแรงงาน สังคมเมืองเป็นการสร้างตัวดูดกระบวนการ
สถาปนาความเป็นสังคมเมืองที่สร้างเงื่อนไขเพื่อให้ทุนนิยมเดินได้ พูดง่ายๆ คือต้องการสร้างตัวดูดเพื่อให้การ
เคลื่อนไหวของทุน ที่สาคัญ คือว่าทาให้ทุน circulate และเดินได้/ทางานได้ หากทุนไม่มีศูนย์กลางก็ทางานไม่ได้ จึง
ต้องมีการรวมศูนย์ เพราะ Lefebvre เป็นมาร์กซิสต์ จึงมองเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่เขามองว่า urban เป็น in
between space คือเขาเป็นเจ้าพ่อของทฤษฎี production of space คาว่า “space” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า “พื้นที่”
อย่างการแปลเป็นภาษาไทย แต่ space หมายความถึงพื้นที่ของความสัมพันธ์ทางสังคม คล้ายๆ กับที่ Bourdieu พูดว่า
เป็น field แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยทาให้ความเข้าใจจึงจากัด เป็นปัญหาทางภาษา ดังนั้นเมื่อ Lefebvre พูดว่าเป็น in
between space ก็คือรอยต่อของความสัมพันธ์ของพื้นที่ต่างๆ เป็นรอยต่อ/ตัวเชื่อม
Lefebvre บอกว่า urban society ไม่ได้เป็น empirical fact เพราะเราเป็นนักสังคมศาสตร์ เรามองอะไรก็เป็น
ความจริงที่ปรากฏ ความจริงเชิงประจักษ์ เมื่อไปมองสังคมเมืองจึงมองในฐานะที่เป็นความจริงเชิงประจักษ์ แต่
Lefebvre มองว่าสังคมเมืองเป็นความคิด เป็นการเคลื่อนไหวทางความคิดเพื่อเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
บางอย่าง นั่นคือเป้าหมายของทุน การเป็นอุตสาหกรรม Lefebvre ไม่ได้มองว่าเป็นเพียงความจริงที่ปรากฏ แต่เป็น
การเคลื่อนไหวของความคิด ดังนั้นจะต้องเข้าใจ Lefebvre ก่อน ที่บอกว่า urban level ระดับของความเป็นเมืองขึ้นอยู่
กับการสร้างทิศทาง เงื่อนไขต่างๆ เพื่อจะขับเคลื่อนความคิด ตรงนี้จะคล้ายกับความคิดของ Karl Polanyi ที่เป็นนัก
เศรษฐศาสตร์สายสถาบันนิยม แต่เมืองไทยเป็น neo-classic หมด ไม่มีสถาบัน ทั้งๆ ที่ปัจจุบันคนเริ่มหันกลับมาอ่าน
Polanyi กันใหม่บ้างแล้ว
Polanyi มีความคิดหนึ่งที่เรียกว่า double movement หมายความว่าในตัวเมืองไม่ได้มีความคิดกระแสเดียว
หรือกระแสที่ครอบงา คือกระแสที่ต้องการจะสร้างเมืองเป็นศูนย์กลางของทุน แต่ภายในพื้นที่ของเมืองจะมี 2 กระแส
ต่อสู้กัน คือมีทั้งกระแสครอบงา และกระแสต่อต้าน เมื่อมองในแนวมาร์กซิสต์ต้องมองเป็น dialectic คือไม่มีอะไรที่
ไปทางเดียว วิภาษวิธีที่เราเรียกกัน แต่วิภาษวิธีก็มีหลายมิติ ซึ่งมิติหนึ่งที่สาคัญคือ ต้องมองทุกอย่างสองด้าน ห้ามมอง
ด้านเดียว เมืองก็มีสองด้าน เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ มีทั้งด้านครอบงา และด้านต่อต้าน ซึ่งด้านต่อต้านจะเรียกว่าเป็น
public space คือพื้นที่สาธารณะ เมื่อมองเมือง ต้องพยายามมองหาพื้นที่ต่อสู้ เพราะเราจะไม่เข้าใจความเป็นเมืองเลย
หากไม่สามารถ identify พื้นที่ที่คนมาโต้เถียงกัน หรือมาต่อสู้กัน ด้วยเมืองที่เคลื่อนไปนั้น ไม่ได้เคลื่อนเพราะคนที่
ครอบงาเท่านั้น แต่ที่เคลื่อนไปเพราะมีการต่อสู้กัน ทาให้รู้ว่าจะเคลื่อนไปทางไหน เพื่อลดการต่อสู้ หรือทาให้การต่อสู้
เคลื่อนไปสู่การพัฒนาเมืองสู่คุณภาพใหม่ เมืองที่พัฒนามาได้ เพราะว่ามีสู้กันมาตลอด แต่ถ้าไปมองเมืองแบบที่ไหลไป
ตามน้าก็จะไม่เห็นเมืองจริง ๆ การเปลี่ยนแปลงของทุกเมืองมักจะมาจากการถกเถียงกัน สู้กันจนหัวปักหัวปา ถึงได้มี
ความเปลี่ยนแปลง
8
หากต้องการจะศึกษาสังคมเมือง ต้องดูว่าประเด็นที่เขียนกันในสังคมเมืองคือประเด็นอะไร ประเด็นเหล่านั้น
ทาให้เข้าใจว่าจะพัฒนาเมืองไปทางไหน และผมก็พยายามที่จะโยงสิ่งที่ Lefebvre ว่าเป็น public space ก็เป็นส่วนหนึ่ง
ของทุนทางสังคมด้วย ดังนั้นทุนทางสังคมจึงไม่ใช่แค่ network หรือทรัพยากรต่างๆ เพราะทรัพยากรในการพัฒนาเมือง
อยู่ที่การเปิดพื้นที่ของการโต้เถียงมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าพื้นที่เหล่านั้นถูกปิด แน่นอนเมืองจะมีปัญหา ถ้าพื้นที่เปิด เมือง
จะเกิดการพัฒนา ดังนั้นทุนทางสังคมอยู่ตรงจุดนี้ด้วย เมื่อครู่ผมได้พูดถึงทฤษฎีทุนทางสังคมไปแล้ว พอพูดถึงทฤษฎี
เมืองบางครั้งก็ต่อไม่ติด แต่ปรากฏว่าเราต่อกันได้ ตัวเชื่อมที่สาคัญอยู่ตรงคาว่า public space และการเคลื่อนไหว
อีกคนหนึ่งที่เรียกว่าเป็นเจ้าพ่อเรื่องเมืองคือ Manuel Castells เป็นชาวสเปน แต่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส หนังสือ
เล่มแรกที่เขาเขียนเมื่อปี ค.ศ.1977 ชื่อ The Urban Question ก็เขียนล้อความคิดของ Lefebvre คือ Urban Revolution
โดย Castells บอกว่าสังคมเมืองเป็นอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม เขาฟันธงเลยว่าเมืองไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงเชิง
ประจักษ์ แต่เป็นอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม ที่มองเรื่องนี้ไม่ออก เพราะถูกแฝงอยู่/ซ่อนอยู่ ไม่ได้เห็นชัด แต่คนที่
ศึกษาสังคมเมืองแบบทั่วไปก็จะมองแค่สิ่งที่เห็น ซึ่งผมเคยเรียนประวัติศาสตร์สามารถจะบอกว่า ถ้าคุณเห็นเท่าที่เห็น
อย่าเห็นดีกว่า เพราะสิ่งที่เห็นเป็นเพียงสิ่งที่เรียกว่าปลายภูเขาน้าแข็งเท่านั้น ส่วนที่มองไม่เห็นข้างล่างใหญ่กว่ามาก
หากไม่มองแล้วจะเข้าใจสังคมเมืองได้อย่างไร ที่จริงแล้วพื้นที่เมืองเป็นที่ดึงดูดหาผลประโยชน์จากแรงงาน เพราะทาให้
ระบบทุนนิยมเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีแรงงานก็ไปไม่รอด
การเมืองของสังคมเมืองจึงอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างนโยบายการวางผังเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวทาง
สังคมระดับรากหญ้าในเมือง ก็จะตรงกับที่ Lefebvre พูดว่า public space แต่ส่วนใหญ่ผู้คนจะเรียนเรื่องสังคมเมืองผ่าน
นโยบายการวางผังเมือง ซึ่งเป็นกระแสหลัก แต่การต่อสู้ระหว่างนโยบายการวางผังเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวทาง
สังคมระดับรากหญ้าที่ต่อสู้กันต่างหากที่ทาให้เมืองพัฒนา ไม่ใช่คนวางผังเมือง แท้จริงแล้วตัวที่ขับเคลื่อนให้ตรงใจต้อง
เป็นการต่อสู้กันทางความคิด หากอยากจะรู้เรื่องเมืองจริงๆ ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาผู้คนในเมืองจากชีวิตประจาวัน
ถ้าเริ่มผิดที่เริ่มจากวางผังเมืองก็ไปอวกาศ คืออยู่เหนือความจริง หากเริ่มต้นว่าจะพัฒนาเมืองจริงๆ อย่างไร ต้อง
เริ่มต้นจากการดูว่าคนในเมืองใช้ชีวิตอย่างไร และคนในเมืองมีอยู่หลายลักษณะ บางครั้งก็ไปขับไล่หาบเร่แผงลอย แต่
ถ้าเกิดไม่มีคนเหล่านี้ แรงงานอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่กิน ที่อยู่กันได้ทุกวันนี้ก็เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เหล่านี้ก็เป็นปัญหา
กระบวนการพัฒนาเมืองจึงอยู่ที่ความขัดแย้งระว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม กลุ่มต่างๆ ต่างช่วงชิง ขับเคลื่อนจนดันให้เมือง
พัฒนาไปทางใดทางหนึ่ง เพราะสิ่งนี้เป็นตัวจักรสาคัญ แต่ผู้คนมองไม่เห็นพลังขับเคลื่อนนั้น เราคิดว่าการพัฒนามาจาก
นโยบายด้านผังเมือง เรียกได้ว่าเป็น urban question คือคาถามเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งมักจะถามผิด การพัฒนาจึงผิด
ที่ผิดทาง ผิดฝาผิดตัว ดังนั้นต้องถามให้ถูกที่ถึงจะพบว่าพลังขับเคลื่อนของเมืองแท้จริงแล้วอยู่ที่ไหน
Castells เขียนหนังสืออีกมากมาย แต่เล่มหลักมี 2 เล่ม ปี ค.ศ.1996 เขียนเรื่อง The Rise of Network
Society ทุกคนเข้าใจเรื่อง network แต่ network ของเขาหมายถึงสังคมเครือข่ายที่ไม่ได้หมายความถึงเครือข่ายที่
ทางานร่วมกัน Castells ให้ความสาคัญกับเครือข่ายว่าเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน
สามารถทาให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ได้ เล่มต่อมาปี ค.ศ.1997 เขาให้ความสาคัญกับ the power of identity
หมายความว่าคนเราที่เข้ามาสู่กระบวนการเคลื่อนไหวยังไม่รู้ตัวเองเป็นอย่างไร ไม่มีทางเคลื่อนไหวทางสังคมได้
เพราะการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นการแสดงถึงพลัง หรืออานาจของตัวตน เมื่อเขาพูดถึง identity เขาหมายถึงใน 3
รูปแบบ คือ legitimizing identity, resistant identity และ project identity แต่คนส่วนใหญ่มอง identity เพียงหนึ่งเดียว
และไม่รู้ความหมายอีกด้วย วิธีคิดทางวิชาการที่สาคัญที่สุดคือมองอะไรอย่าตีขลุมเหมารวม ต้องแยกแยะ เมื่อพูดถึงตัว
9
คนก็ต้องแยกแยะ คนเรามีตัวตนที่หลากหลาย การคิดว่าตัวตนมีหนึ่งเดียวทาให้ลดทอนความเข้าใจได้มาก ดังนั้น
ความคิดเกี่ยวกับการแยกแยะจึงสาคัญมาก
เมื่อพูดถึงพลังขับเคลื่อน หากเน้นสายชุมชนนิยมก็จะคิดว่าภาคประชาสังคม คิดอะไรไม่ออกก็ภาคประชา
สังคมก็ไปไม่รอด คงต้องคิดเรื่องอื่น ๆ ด้วย Lefebvre บอกว่ามีสิ่งหนึ่งที่เขาเรียกว่า communal resistant คือการ
รวมตัวเพื่อต่อสู้อะไรบางอย่าง อาจไม่ใช่เป็นเรื่องภาคประชาสังคมอย่างที่เราเข้าใจ คือรวมตัวกันเพื่อทาจิตสาธารณะ
หรือจิตอาสาก็เป็นอีกแนวหนึ่ง เพราะจิตอาสานั้นแคบมาก ทาได้เพียงเรื่องเล็กๆ ก็อาจจะต้องใช้การต่อสู้มากขึ้น ถึงจะ
ขับเคลื่อนไปได้มาก คือไม่สามารถไปแนวใดแนวหนึ่งได้ ต้องใช้หลายแนวเสริมกัน หนังสืออีกเล่มหนึ่งของ Lefebvre ที่
ดังคือปี ค.ศ.1991 คือ The Production of Space คาว่า space หมายถึงพื้นที่ ภาษาไทยเรียกว่าพื้นที่ แต่พื้นที่ทาง
สังคม หมายความว่าเป็น social product เป็นเหมือนกับพื้นที่ของการต่อสู้ที่เราใช้ว่า in between คือพื้นที่ของความ
ขัดแย้งที่อยู่ระหว่างความขัดแย้งที่คนมาปะทะความคิดกัน เมื่อเกิดการปะทะ เกิดจุดตัดของความคิด หากไม่มีพื้นที่
ปะทะหรือจุดตัดความคิดก็ไม่เกิดความคิดใหม่ขึ้นมา
การที่จะสร้าง urban space มันถึงมีพื้นฐานอยู่ที่การที่จะต้องคล้ายๆ กับว่า เริ่มเป็นที่ของทุนนิยม ทุนนิยมมี
ลักษณะครอบงา ถ้าเราต้องการจะผลักดัน ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองต่อไป จะปล่อยให้พลังที่มาครอบงาทางานอย่าง
เดียว คงขับเคลื่อนไม่ได้ เพราะจะขับเคลื่อนด้วยประโยชน์ของเขาเองอย่างเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว คงจะต้อง
พยายามหาพื้นที่ใหม่ ซึ่งผู้คนต่อ ๆ มาก็เอา Lefebvre มาใช้เหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ที่ดังมาก หนังสือเล่ม
ที่ดังเขียนถึงการพัฒนาเมืองใน LA เขียนโดย Edward Soja แต่ผมเอาอีกเล่มมาชื่อว่า Seeking Spatial Justice ซึ่ง
ทฤษฎีสาคัญคือแนวคิดเรื่อง third space พื้นที่ที่ 3 คือพื้นที่แรกคือพื้นที่ครอบงา พื้นที่ที่สองคือพื้นที่ต่อต้าน ดังนั้นทา
อย่างไรถึงจะสร้างพื้นที่ที่มันเกิดจุดปะทะกันได้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ แล้วความคิดใหม่ไม่ใช่ความคิดเดิม ไม่ใช่
ความคิดที่ครอบงาหรือต่อต้าน แต่มันเป็นความคิดที่สถาปนาขึ้นมาใหม่ พื้นที่นี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เขาบอกว่าพื้นที่
มันจะเกิดขึ้นภายใต้เรื่องของความคิด social justice คือเรื่องของความเป็นธรรมเชิงพื้นที่ ทีนี้คล้ายๆ กับว่าเขาผลักดัน
แนวคิดนี้ ด้วยการสืบทอดมาจากความคิดของ Lefebvre ที่พูดไปในเชิงทฤษฎีให้เห็นว่าทฤษฎีมันสาคัญ ถ้าเราไม่มี
ความตื่นตัวทางทฤษฎีก็จะคิดอะไรใหม่ลาบาก แต่ที่บอกคือฟังทฤษฎีแล้วไม่ใช่เราเชื่อ ฟังเพื่อจะได้ถกเถียงได้ แล้วเมื่อ
ถกเถียงได้ก็จะสร้างอะไรที่เป็นตัวของตัวเองได้ เพื่อเราจะได้เอามาใช้เพื่อการศึกษา เพราะสังคมไทยไม่ได้พัฒนาแบบ
เดียวกับที่เขาพัฒนาความคิดนี้จากตะวันตกที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองทุนนิยม เราพัฒนามาอย่างไรก็ต้องศึกษาเอา
ดังนั้นเมื่อปรับเอามาใช้กับสังคมไทย แล้วเอาสิ่งที่ผมได้พูดแล้ว จะดึงอะไรมาใช้ จะทาอย่างไร เนื่องจากผมไม่ค่อยได้
ศึกษาเรื่องเมือง ก็พยายามไปดูว่าทาอะไรได้บ้าง
ผมคิดว่าการพัฒนาเมืองเป็นการช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม เช่น เมื่อตอนที่เราสร้างรถไฟฟ้า BTS ช่วงแรกก็ไม่
สร้างลิฟท์ คนพิการก็ถามว่าเขามีสิทธิไหม? แล้ววันนี้ก็เริ่มมีการสร้างบันไดเลื่อน เริ่มมีลิฟท์ขึ้นมา สิ่งนี้ คนที่ลงทุนเขา
ไม่คิดหรอก คิดแค่จะหาเงินอย่างไรกับโครงการนี้ แต่เมื่อคนจน คนพิการลุกขึ้นมาตั้งคาถามก็มีการเคลื่อนไหว
เปลี่ยนแปลง มีการสร้างลิฟท์ ซึ่งก็เข้าหลักอย่างที่เราพูดมาแล้ว ทุนทางสังคมที่เราพูดถึงคือพลัง แต่เป็นพลังที่ใช้
ต่อรองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของ Edward Soja ผมก็พยายามถอดความคิดที่ว่า เอามาช่วยในการทา
ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา เพราะผมเข้าใจว่าวันนี้เรากาลังทาวิจัยเรื่องการพัฒนาเมือง หากเราจับประเด็นไม่ถูก
อาจจะติดอยู่ที่แค่เรื่องของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์มากเกินไป เราอาจจะจับจุดไม่ถูก ควรไปดูเมืองเพื่อที่จะเข้าใจความ
เคลื่อนไหวมากขึ้น ดูเมืองที่มีชีวิตมากขึ้น เมื่อเอามาใช้ก็เข้าหลักการต่อรองเพื่อคุณภาพชีวิต และต่อต้านการพัฒนาที่
10
ทาลายคุณภาพชีวิต ปฏิรูปเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัยของคนจน ก็เป็นการเคลื่อนไหว หากคนจนไม่ลุกมาเคลื่อนไหว มัน
ก็ไม่มีทางได้ การพัฒนาเมืองก็ทาในลักษณะเดียวเมื่อเจอสลัมก็ขับไล่ ก็มีอยู่ทางเดียว การขับไล่จึงง่าย แต่จะทา
อย่างไรถึงจะทาให้การขับไล่เป็นการพัฒนาเมืองได้อย่างแท้จริง ก็ต้องมีการคิดกันมากขึ้น
พื้นที่ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมจึงเป็นจุดตัดของประเด็นปัญหาต่างๆ คือประเด็นไหนที่ขัดแย้ง
กัน โต้กัน ก็เป็นจุดสาคัญที่จะไปมองว่ามีเบื้องหลังที่เป็นปัญหาอย่างไร จึงมาต่อสู้กัน คัดค้านกัน เช่น การคัดค้านการ
พัฒนาที่มีผลกระทบเชิงลบ ไม่ได้แปลว่าการสร้างอะไรในเมืองแล้วทุกอย่างจะดีหมด หากดีหมดก็ไม่มีคนค้าน แต่ที่มี
คนค้าน หากไปดูประเด็นที่ต่อสู้กัน คัดค้านกัน แล้วพยายามทาความเข้าใจเบื้องหลัง อาจจะเข้าใจทิศทางการพัฒนา
เมืองมากขึ้น เพราะจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางการพัฒนาเมือง ที่เป็นอย่างนั้น เพราะทาให้เกิดการมีส่วน
ร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตคนในเมืองมากขึ้น ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ผมจะถอดความคิดนั้นมาเป็นของผม
ผมเคยอยู่ในกลุ่มขบวนการคัดค้านไม่เอากระเช้าลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพ เคยมีส่วนอยู่ในเมืองเช่นกัน ไม่ได้
หมายความว่าโครงการอะไรมาดีหมด โครงการที่ดีก็มี โครงการเลวก็มี แต่เราชอบลดให้เหลือมิติเดียว เพราะเราบอก
มิติเดียวนั้นดีกว่า ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เราต้องพยายามพัฒนา และรักษามิติที่หลากหลาย ไม่ใช่ว่าพัฒนาเมืองมิติเดียว
อย่างที่เชียงใหม่ มีกลุ่มคนที่ติดเชื้อ HIV มากมาย เขาก็ลุกขึ้นมาต่อสู้ หมายความว่าถ้าเราพัฒนาเมือง แต่มองไม่เห็น
หัวของคนที่มีปัญหา ถามว่าพัฒนาเมืองไปเพื่อใคร หากเขาไม่ลุกขึ้นมาเรียกร้อง หรือแสดงอัตลักษณ์ของเขา เราก็
อาจจะไม่รู้ว่าคนเหล่านี้มีอยู่ เพราะคนในเมืองมีหลายกลุ่ม หลายลักษณะ ต้องพัฒนาเมืองภายใต้ความเข้าใจว่า
มองเห็นหัวของคนที่แตกต่างด้วย และเข้าใจชีวิตเขามากขึ้น ต้องพัฒนาในลักษณะที่เราต้องได้ด้วย คนอื่นก็ต้องได้ด้วย
ต้องมองเห็นหัวกันและกัน การสร้างระบบดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าใช้ระบบเดียวหมดเพื่อดูแลสุขภาพ เหล่านี้
เป็นประเด็นสาคัญ ในเมืองก็มีเรื่องแรงงานข้ามชาติ เราก็เกลียดคนพวกนี้มาก แต่เราก็ขาดพวกเขาไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่จริง
คนสามารถเป็นพลเมืองได้หลายมิติ พลเมืองทางเศรษฐกิจ พลเมืองทางวัฒนธรรม พลเมืองทางชาติพันธุ์ เป็นพลเมือง
ได้หลายรูปแบบ หากเราไม่ยอมรับความเข้าใจเช่นนี้ ก็อยู่กันไม่ได้
4. สรุป
ปัจจุบัน พื้นที่เมืองบางส่วนเป็นพื้นที่เชิงพิธีกรรม พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์พื้นที่ความเชื่อ แต่บางเมืองก็เปลี่ยนเป็น
พื้นที่ท่องเที่ยว เช่น ถนนคนเดินที่เชียงใหม่ คือมีการใช้พื้นที่เดียวกันในหลายอย่าง เราบอกพื้นที่หนึ่งใช้เพื่อเป้าหมาย
เดียว แต่คนหลายคนช่วงชิงการใช้พื้นที่เดียวกันในหลายอย่าง เราก็ต้องเข้าใจ เช่น พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
นักวางแผนเมืองจะทาให้พื้นที่สะอาด สวยงาม ทาให้นักท่องเที่ยวมาแล้วชื่นชม พื้นที่นี้สาหรับนักวางผังเมืองจึงเป็น
พื้นที่ที่ต้องสง่างาม สวยงาม เป็น grand avenue นักผังเมืองจะมองเช่นนั้น แต่คนในเมืองเชียงใหม่บางส่วนไม่ได้มอง
เช่นนั้นเลย เขามองว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เขาจะมาทาพิธีกรรม ไหว้สามกษัตริย์ ที่บอกว่าพัฒนาเมืองของนักวาง
ผังเมืองหรือของคนเมืองนั้น แท้จริงแล้วเป็นเมืองของใคร เพราะคนมองเมืองต่างกัน กรณีอย่างนี้ก็ถือเป็นการช่วงชิง
ความหมายของเมือง
เรื่องของทุนทางสังคมเป็นการเมืองของอัตลักษณ์ การเมืองของการช่วงชิงพื้นที่ของสังคมเมืองสมัยใหม่ ซึ่งก็
มีหลายมิติ ดังที่ได้พูดไปบ้างแล้ว สรุปว่าจริงๆ แล้ว การเมืองของการพัฒนาเมืองมีหลายมิติมาก แต่ปัญหาของการ
พัฒนาเมืองปัจจุบันคือการลดทอนความเป็นเมืองเหลือเพียงบางมิติ ลดลงเรื่อยๆ ยิ่งพัฒนายิ่งลดมิติ ในขณะที่เมืองใน
อดีตมีหลายมิติ การให้นักวางผังเมืองมาวางนั้นง่าย ทาให้สวย แต่ไม่มีชีวิต ดังนั้นจุดนี้จึงต้องการให้คนในเมืองมีส่วน
11
ร่วม เข้ามาเคลื่อนไหว ต่อสู้ เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจใหม่ๆ ทุนทางสังคมที่เราพูดถึง ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเครือข่าย
trust ตามที่นักทฤษฎีบางส่วนได้ว่าไว้ สาหรับผมแล้วทุนทางสังคมคือพื้นที่ของพลังชุมชนในการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนา
เมือง จริงๆ แล้ว ที่เราเรียกว่าทุนทางสังคมคืออะไร? ก็จะตอบว่าคือพื้นที่ที่คนต่างๆ ในสังคมในชุมชนเมือง มาแสดง
พลัง เพื่อจะบอกว่าตนเองต้องการอย่างไร เพราะถ้าไม่มีพื้นที่ให้เขาออกมาแสดงพลัง ก็ไม่มีทางที่เราจะสามารถ
ผลักดันการพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามความต้องการของคนเมืองได้
12
13

More Related Content

What's hot

โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดพัน พัน
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนsompriaw aums
 
หลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการหลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการKaratz Mee
 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์moemon12
 
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)Pear Pimnipa
 
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 20151.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015วิชา อาคม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์deliverykill
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...Suphot Chaichana
 
คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5T'Rak Daip
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กGed Gis
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาBream Mie
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราIam Champooh
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.Pongsa Pongsathorn
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557Utai Sukviwatsirikul
 
สามัคคีเสวก
สามัคคีเสวกสามัคคีเสวก
สามัคคีเสวกKruBowbaro
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพUtai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
 
หลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการหลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการ
 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)
โครงงานการดาษจากกาบ(กลุ่มที่6)
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 20151.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
 
คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
 
แผ่นพับ 3 อ.
แผ่นพับ 3 อ.แผ่นพับ 3 อ.
แผ่นพับ 3 อ.
 
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
การนำเสนอเพื่อรับการประเมินจาพ สรพ.
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
 
สามัคคีเสวก
สามัคคีเสวกสามัคคีเสวก
สามัคคีเสวก
 
ไอกรน Ppt.1
ไอกรน Ppt.1ไอกรน Ppt.1
ไอกรน Ppt.1
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
 
ใบงาน 2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
ใบงาน 2.1 ข้อมูลและสารสนเทศใบงาน 2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
ใบงาน 2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
 

Viewers also liked

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุFURD_RSU
 
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...Mahasarakham Business School, Mahasarakham University
 
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทย
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทยแนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทย
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทยFURD_RSU
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองFURD_RSU
 
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร ง
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร งReading comprehension ability using sq4 r techniquesจร ง
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร งBaifern Stayfarniiz
 
Lefebvre and Space
Lefebvre and SpaceLefebvre and Space
Lefebvre and Spaceshivraj negi
 
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014Kruthai Kidsdee
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013stiu
 
8 3 สังคมและวัฒนธรรมไทย
8 3  สังคมและวัฒนธรรมไทย8 3  สังคมและวัฒนธรรมไทย
8 3 สังคมและวัฒนธรรมไทยMint NutniCha
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015Klangpanya
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติTeetut Tresirichod
 
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรมWannarat Wattana
 
Partial least square path modeling
Partial least square path modelingPartial least square path modeling
Partial least square path modelingTeetut Tresirichod
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ FURD_RSU
 
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShareSlideShare
 
What to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareWhat to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareSlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 

Viewers also liked (19)

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
 
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...
Social-class (ชนชั้นทางสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค : บทที่ 5 ) สำหรับนิสิต วิชา...
 
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทย
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทยแนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทย
แนวคิดและประสบการณ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองต่างๆของไทย
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
 
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร ง
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร งReading comprehension ability using sq4 r techniquesจร ง
Reading comprehension ability using sq4 r techniquesจร ง
 
Lefebvre and Space
Lefebvre and SpaceLefebvre and Space
Lefebvre and Space
 
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014
Pdf essential vocabulary a z-k_itaya20142014
 
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
บทความ วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน แก้ไข29-5-2013
 
The production of space hi
The production of space hiThe production of space hi
The production of space hi
 
Culture and Consumer Behavior (Ch.3)
Culture and Consumer Behavior (Ch.3)Culture and Consumer Behavior (Ch.3)
Culture and Consumer Behavior (Ch.3)
 
8 3 สังคมและวัฒนธรรมไทย
8 3  สังคมและวัฒนธรรมไทย8 3  สังคมและวัฒนธรรมไทย
8 3 สังคมและวัฒนธรรมไทย
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
 
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
135 402 cross-cultural management11 การสื่อสารต่างวัฒนธรรม
 
Partial least square path modeling
Partial least square path modelingPartial least square path modeling
Partial least square path modeling
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
 
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
 
What to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareWhat to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์

แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม: แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:FURD_RSU
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมFURD_RSU
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciencesKruBeeKa
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาFURD_RSU
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารmontiya2530
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารwasamon2531
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2FURD_RSU
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21Anucha Somabut
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กAriaty KiKi Sang
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926CUPress
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีFURD_RSU
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817CUPress
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องKittichai Pinlert
 
หนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กPhanudet Senounjan
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ (20)

แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม: แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
Social network 54
Social network 54Social network 54
Social network 54
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817
 
Varasan
VarasanVarasan
Varasan
 
1
11
1
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
หนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็ก
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์

  • 1.
  • 3. บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ถอดความ : นายฮากีม ผูหาดา กองบรรณาธิการ : นายฮากีม ผูหาดา, นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร รูปเล่ม : นายฮากีม ผูหาดา ปีที่เผยแพร่ : มิถุนายน 2558 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. สารบัญ 1. บทนา 1 2. ทุนทางสังคมตามทฤษฎีตะวันตก 2 2.1 มุมมองของความขัดแย้ง 2 2.2 มุมมองแบบชุมชนนิยม 4 3. ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง 6 4. สรุป 10
  • 5. 1 ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง1 โดย ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ประจาภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. บทนา ผมได้พบชาวบ้านมาเก็บไข่มดแดงในบ้านผม ผมจึงสงสัยว่ามาเก็บในบ้านผมได้อย่างไร เพราะบ้านผมเป็น สถานที่ส่วนตัว แต่ก็มาเข้าใจว่าชาวบ้านไม่ได้คิดว่าไข่มดแดงเป็นเรื่องส่วนตัว แม้ต้นมะม่วงเป็นเรื่องส่วนตัวของผม เป็นสิ่งที่ผมปลูก แต่ไข่มดแดงไม่ใช่ของส่วนตัว เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในบ้านใครก็ สามารถเก็บได้หมด กล่าวคือแม้ในพื้นที่ส่วนตัวก็มีพื้นที่ส่วนรวมซ้อนอยู่ ผมเลยเรียกว่าสิทธิเชิงซ้อน ความเข้าใจนี้ผม ได้มาจากการสังเกตชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งนักวิชาการมักใช้ความคิดจากตะวันตกเสียหมด แต่ผมพบว่าในสังคมเราก็มี ความคิดพวกนี้อยู่ ขึ้นอยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่ หากเห็นแค่การเก็บแค่ไข่มดแดงก็จะไม่รู้เรื่อง เมื่อสอบถามไปเรื่อยๆ จึงทาให้ผมเข้าใจว่ามีเรื่องของการใช้สิทธิร่วมกันในพื้นที่ส่วนตัว เช่น ในทุ่งนาของคนอื่น สามารถจับปลาได้ เก็บผักใน ที่คนอื่นได้ ไม่ใช่ว่านาใครนามัน แต่แน่นอนว่าต้นข้าวขโมยไม่ได้ กล่าวคือมีพื้นที่ส่วนรวมและส่วนตัวอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความคิดที่ผมค้นพบ ต่อมาผมได้พัฒนาเรื่องนี้มาเป็นความคิดที่เรียกว่าสิทธิชุมชน สิทธิส่วนรวม หรือ “หน้าหมู่” ที่มาจากภาษา เหนือ "หน้าหมู่" ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ถ้าหากไม่มีการรักษาการใช้ทรัพยากรร่วมกันไว้ คล้ายๆ กับว่าเห็นแก่ตัว ไม่ มีความรู้สึกถึงความเป็นธรรม อย่างน้อยที่สุดถ้าชาวบ้านมาเก็บไข่มดแดงในบ้านเราได้ ถึงแม้จะรวยจนแตกต่างกัน ก็ ยังพออยู่ด้วยกันได้ ถึงแม้ว่าเราอาจจะรู้สึกว่าเขามาเก็บของในบ้านเรา แต่ถ้าเรารู้สึกว่า ถ้ามาเก็บไข่มดแดง แล้วเรา ยอมรับได้ มันก็ทาให้อยู่ร่วมกันได้ แม้ความแตกต่างจะมีอยู่ อะไรทานองนี้ เราพบว่าในสังคมไทยก็มีความคิดเรื่องนี้อยู่ คือปัจจุบันนี้เราใช้เรื่องทุนทางสังคม แต่สมัยก่อนไม่มีคานี้มีคาอื่นๆ ที่ผมใช้ แต่ฝรั่งเรียกทุนทางสังคม เราก็ตามกัน ที่ จริงเราไม่ได้เรียกคานั้น มีคาอื่นตั้งมากมาย แต่เราก็ไม่เข้าใจ ผมพยายามถอดความเข้าใจจากประสบการณ์ที่อยู่ใน ชนบท จากนั้นมา ผมพยายามมองดูว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงไปก็มีการปรับปรุง ปรับพัฒนาความคิดเหล่านั้นให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงในยุคต่อๆ มา ซึ่งผมก็เรียกว่าเป็น กระบวนการสร้างคุณค่าใหม่ที่ต่อมาก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านเอา ความคิดเหล่านี้มาเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวที่ผมมีส่วนคือการเคลื่อนไหวในเรื่องการต่อสู้เพื่อให้ได้ป่าชุมชน เรื่อง ของส่วนรวมว่าจะทาอย่างไรจึงจะมีบทบาทร่วมกันจัดการสิ่งที่เป็นของส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าที่เป็นของที่ใช้ 1 ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง “ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง” เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมโรงแรม รามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา 9.30 - 12.00 น. จัดโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ภายใต้ศูนย์ ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.)
  • 6. 2 ร่วมกันมาก่อน ชาวบ้านจึงเอาเรื่องนี้เข้ามาเคลื่อนไหวที่จะต่อสู้ ขณะนั้นต่อสู้เพื่อให้ได้พระราชบัญญัติป่าชุมชน ซึ่งมี กระบวนการต่างๆ เคลื่อนไหวเพื่อต่อรอง ประกอบกับมีความคิดเรื่องต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น เรื่องของศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ เรื่องของสิทธิชุมชน รวมถึงเรื่องของการแสดงอัตลักษณ์ หรือตัวตน เป็นต้น เจ้าหน้าที่รัฐมักจะมองว่าส่วนใหญ่คนที่ตัดไม้ทาลายป่าคือชาวบ้าน แต่นั่นก็เป็นการมองเห็นเพียงด้านลบ เท่านั้น แต่ไม่ได้มองว่าชาวบ้านก็มีทั้งด้านลบด้านบวกเหมือนคนอื่นๆ คนที่ตัดไม้ก็มี คนที่รักษาก็มี คนทาดีมักไม่ถูก มองเห็น ฉะนั้นจึงเป็นประเภทที่ชอบให้รางวัลกับคนทาชั่ว แต่คนทาดีไม่มีรางวัลให้ คือมองไม่เห็นว่าเขาทาดี กลุ่มคน เหล่านี้แสดงตัวตนผ่านพิธีกรรม ความเชื่อ เช่น พิธีการบวชป่า เพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านก็ทาในเรื่องเหล่านี้ได้ มา รวมตัวกันเพื่อดูแลทรัพยากรส่วนรวมได้เหมือนกัน และทาให้อย่างไม่มีค่าตอบแทนด้วย แต่เราก็ไม่มีการให้รางวัล หาก มีการยอมรับว่าชาวบ้านก็ทาได้ก็สนับสนุนต่อให้มีการกาหนดกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติ จะทาให้ขบวนการนี้ ขยายตัว เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเรามีแนวคิด แต่ไม่รู้ว่ายังมีเงื่อนไขอะไรที่จะทาให้แนวคิดเรื่องทุนทางสังคมมีการ ขยายตัว กล่าวคือแค่ความคิด แต่ทาให้ขยายไม่เป็น เพราะคิดเพียงด้านลบ ไม่ค่อยให้ความสาคัญกับมุมมองด้านบวก 2. ทุนทางสังคมตามทฤษฎีตะวันตก ผมได้ศึกษาว่าในทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคมในตะวันตก ในเวลานี้มีใครมองกันอย่างไรบ้าง หลาย ท่านคงรู้บ้างแล้ว แต่ผมก็พยายามนามาสรุป เป็นการสรุปตามแนวทางของผมเอง ผมสนใจว่าเมื่อเขาคิดเช่นนี้แล้ว ผม จะตีความอย่างไร เพราะวิชาการนั้นไม่ใช่ว่าฟังแล้วเชื่อหมด คืออ่านงานของใครจะต้องวิพากษ์วิจารณ์หรือนาเสนอ แนวคิดเพิ่มเติมออกไปจึงจะทาให้ได้ความรู้ ความรู้นั้นไม่ใช่อ่านแล้วเชื่อ ความรู้นั้นต้องอ่านแล้วเถียงจึงจะได้ความรู้ ซึ่งก็เป็นปัญหาของวิชาการไทยคืออ่านแล้วเชื่อ ทั้งนี้ผมได้อ่านทฤษฎีเหล่านี้แล้วพบว่าทุนทางสังคมมี 2 แนว คือ 1. มุมมองของความขัดแย้ง 2. มุมมองแบบชุมชนนิยม 2.1 มุมมองของความขัดแย้ง นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่สุดในสายนี้คือ Pierre Bourdieu ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม แต่งานที่สาคัญคือ Distinction ซึ่งเขาเป็นคนแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ที่นาเอาคาว่า social capital ขึ้นมาใช้ในภาษาอังกฤษ โดยเริ่มจาก ภาษาฝรั่งเศสก่อน เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ social capital ในความเข้าใจของ Bourdieu คาว่าทุนทางสังคมมี 2 มิติ มิติแรกคือมองไปในแง่ของโยงใยความสัมพันธ์ หรือเครือข่าย มองว่าทุนทางสังคมเป็นความสัมพันธ์ ผมได้ กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเป็นความคิดและความสัมพันธ์ ก่อนหน้านั้นผมไม่สนใจ Bourdieu แต่เรื่องที่ผมทาก็ใกล้เคียงกับ ที่ Bourdieu พูดเรื่องนี้ ผมมาอ่านงานของ Bourdieu ในภายหลัง เพราะตอนนั้นยังไม่ได้แปล กล่าวคือต่างคนต่างทาใน ทานองเดียวกัน เพียงทากันคนละสถานที่ มิติที่สองคือให้ความสาคัญว่าทุนทางสังคมไม่ใช่แค่สัมพันธ์กันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ถามว่าสัมพันธ์กันเพื่อ เป้าหมายอะไร มีเป้าหมายทาอะไร กล่าวคือร่วมกันเพื่อกระทาการบางอย่างที่มีเป้าหมาย เพราะ Bourdieu ได้อิทธิพล ความคิดมาจาก Karl Marx และ Max Weber เจ้าพ่อของทฤษฎีสังคมศาสตร์ และเนื่องจากเขาเป็นชาวฝรั่งเศส จึงได้ อิทธิพลของ Emile Durkheim อีกด้วย เขาได้รับอิทธิพลจาก 3 เจ้าพ่อทางสังคมศาสตร์ และนามาปรับใช้ใหม่
  • 7. 3 หากต้องการจะเข้าใจ 2 ความคิดของเขาดังกล่าว ต้องเข้าใจก่อนว่าเมื่อ Bourdieu มองสังคม เขามองว่าสังคม เป็นสนาม(field) ทางสังคมที่มีลักษณะหลากหลาย เป็นพื้นที่/สนามของความสัมพันธ์ที่มีมิติหลากหลาย มีได้หลายทาง และเขาเป็นคนแรกที่นาเอาแนวคิดเรื่องทุนที่ไม่ได้มองว่าเป็นเพียงทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น เขาได้เพิ่มทุนวัฒนธรรม และทุนสังคม ทั้งยังมีทุนทางสัญลักษณ์อีกด้วย ซึ่งทุนทั้งหมดนั้นสามารถแปรรูปกลับไปกลับมาได้ หากมีทุนทาง เศรษฐกิจมากก็สามารถแปรไปเป็นทุนทางสังคม หรือทุนทางวัฒนธรรมก็ได้ กล่าวคือทุนนั้นไม่คงที่ สามารถแปรรูปได้ เหล่านี้หมายความว่าสนามของความหลากหลาย คือไม่ได้มองอย่างยึดติด แต่เปลี่ยนแปลง/แปลงร่าง/แปรรูปได้ ตลอดเวลา ซึ่งการแปลงร่าง/แปรรูปก็เป็นสนามที่สาคัญของสังคมในการที่จะใช้พลิกแพลง และรักษาสถานภาพตัวเอง ไม่ให้ตกต่า เช่น หากเราทาตัวตกต่าไปเรื่อยๆ ก็เป็น nobody แต่ nobody ก็สามารถเปลี่ยนเป็น somebody ถ้าเกิดมี การแปรเปลี่ยน แม้จะมีทุนเศรษฐกิจน้อย แต่มีทุนอย่างอื่นมาก หมายความว่าไม่ใช่ว่าจะเป็น nobody ตลอดชีวิต ถ้า คุณสามารถพลิกแพลง ใช้ทุนชนิดอื่นๆ ได้ ก็สามารถขยับตัวเองได้เหมือนกัน แม้อาจจะไม่ได้ขยับมาก แต่อย่างน้อยก็ ไม่ได้เป็น nobody เป็น somebody ก็ถือว่าได้แล้ว เป็นต้น เพราะฉะนั้น รูปแบบของทุนจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยทาให้ สามารถพลิกแพลง ขยับขยายตัวได้ในสนามต่างๆ แต่ในแต่ละสนามก็มีลักษณะของตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สนามได้ดี แค่ไหน กล่าวคือต้องมีกลยุทธ์ หากมีลักษณะที่ passive หรือตั้งรับอยู่เสมอ ก็ไม่มีใครช่วยได้ แต่หากลุกขึ้นมา ถึงแม้ จะจน หรือไม่มีสมบัติมากมาย แต่รู้จักใช้ทุนบางอย่างที่มีอยู่ ก็สามารถเคลื่อนที่ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ รูปแบบของทุนต่างๆ ยังทาให้ agent/ผู้กระทาการ (คือมองคนว่าเป็นผู้กระทาการ มองคนในเชิงรุกไม่ใช่เชิง รับ) หากรู้จักพลิกแพลง ก็มีโอกาสชนะในเกมนั้นได้ หรือเปลี่ยนเป็น somebody ได้ ดังนั้นหลังจากที่ Bourdieu มอง สังคมเช่นนั้น จึงได้เขียนบทความ The act of resistant against the new myth of our time การอ่านงานของ นักวิชาการคนหนึ่งจะอ่านงานของเขาชิ้นเดียวไม่ได้ ต้องอ่านงานหลายชิ้นเพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะ นักวิชาการมักเปลี่ยนความคิดอยู่เสมอ หากใครก็ตามที่คิดว่าเก่งเหลือเกิน คงความคิดไว้เหมือนเดิม เช่นนั้นไม่เรียกว่า เก่ง แต่ใช้ไม่ได้เลย นักวิชาการจะต้องเปลี่ยนความคิดตลอด ไม่ใช่ตะลบตะแลง เพราะสังคมเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา จะให้ ความคิดคงที่ไม่ได้ Bourdieu ก็เช่นกัน เป็นนักคิดที่เฉียบแหลมคนหนึ่ง และมักจะเปลี่ยนความคิดอยู่เรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1998 Bourdieu ก็มองว่าทุนที่เขาคิดนั้นมี 3 มิติ ในแต่ละทุนก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับชนชั้น ทาง เศรษฐกิจ มีหลายมิติ เขาให้ความสาคัญกับความหลากหลาย มองทุนในหลายมิติ ไม่ใช่มองทุนแล้วคิดในเชิงเศรษฐกิจ เท่านั้น เพราะทุนสามารถใช้ได้หลายวิธี ไม่ใช่เชิงเดี่ยว ทุนทั้ง 3 ของ Bourdieu สามารถช่วยสร้างความชอบธรรม ให้กับทุนทางสัญลักษณ์ได้อีก กล่าวคือมีการพลิกแพลงได้หลายลักษณะ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนกับว่าเวลานี้เราอยู่ ในมายาคติที่ทาให้เราคิดไปได้ทางเดียว ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น หากติดอยู่ในมายาคติของยุคสมัยของเทคโนโลยี IT social media ฯลฯ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ออกมามีเพียงมิติเดียวเท่านั้น บางคนกล่าวว่ามีข้อมูลหลากหลาย แต่เมื่อเจาะลึก แล้ว เบื้องหลังนั้นน้อยมาก เต็มไปด้วยการครอบงา เรามักคิดว่าเรามีข้อมูลมาก แต่ก็คิดไปในทางเดียวเท่านั้น ดังนั้น สิ่งทีสาคัญมากกว่าคือการคิดหลายทาง การคิดทางเดียวจะง่ายกว่า และสะดวกสบายกว่า ประการต่อมา Bourdieu ให้ความสาคัญกับเรื่องความขัดแย้ง และอานาจ เนื่องจากสังคมมีความขัดแย้งเป็น เรื่องปกติธรรมดา แต่อานาจได้ครอบงาคนเพื่อลดความขัดแย้ง โดยให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่โลกจะต้องขัดแย้ง เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง โลกก็ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการหยุดโลกจึงเป็นไปไม่ได้ Bourdieu ได้บอกว่า concept of social capital วางอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ที่ช่วยเสริมความสามารถ ให้กับผู้กระทาการในการผลักดันวาระของตน ทุกคนมีวาระทั้งสิ้น ทั้งคนจน คนรวย และให้ความสาคัญกับ social
  • 8. 4 position คือตาแหน่งแห่งที่ทางสังคมของแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ล้วนแล้วแต่สร้างความชอบธรรมผ่านเรื่องของทุนทาง สัญลักษณ์ ที่จริงแล้วสถานภาพในสังคมเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ ดังนั้น social capital ถึงได้กลายเป็นทรัพยากรที่ช่วย ให้ผู้คนสามารถต่อสู้ เพื่อปรับเปลี่ยนไปในสนามที่หลากหลาย ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ที่คิดเรื่องทุนทางสังคมจะคิดมากเรื่องของ trust ว่าเป็นหัวใจของสังคม เป็นฐานของการ สร้างทุนทางสังคม หากมี trust มีความไว้วางใจก็จะทาให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี เพราะนักสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจท่าน หนึ่ง (Mark Granovetter) ที่อยู่มหาวิทยาลัย Harvard ก็พูดเรื่องนี้ไว้มาก คือใช้ความคิดบวกกับ Karl Polanyi ที่ให้ ความสาคัญกับการยึดโยง โดยกล่าวว่าโลกปัจจุบันยึดโยงด้วยกับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นกันที่ใช้ทาธุรกิจ หรือ อื่นๆ แต่ Bourdieu ไม่เล่นด้วยกับความคิดนี้ เพราะการมีหรือไม่มี trust ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ตัว trust เอง แต่ Bourdieu ไม่ได้พูดคานี้อย่างชัดเจน ดังนั้น Bourdieu คิดว่าควรจะมองเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง 2.2 มุมมองแบบชุมชนนิยม แนวความคิดที่โต้แย้ง Bourdieu จะเป็นอีกแนวหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน คือมุมมอง แบบชุมชนนิยม เมื่อผู้คนส่วนใหญ่พูดถึงคาว่าทุนทางสังคมก็จะหมายถึงกรอบของมุมมองนี้ นักวิชาการหลักของ มุมมองนี้คือ James Coleman เขียนบทความ Social Capital in the Creation of Human Capital ในปี ค.ศ. 1988 ก็ ได้อ้างงานของ Bourdieu เช่นกัน โดยใช้คาว่าทุนทางสังคมจาก Bourdieu แต่ในรายละเอียดต่างกัน บทความของ Coleman มีอิทธิพลมาก เพราะได้ลงพิมพ์ใน American Journal of Sociology โดยมองว่า social capital มี 2 ทาง เช่นกัน คือ 1. Coleman กล่าวว่า social capital as a relational construct หมายความว่าต้องสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมา ไม่ใช่ว่าความสัมพันธ์มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนดีของเขาในแง่ที่ว่าหลายคนคิดว่าทุนทางสังคมมีอยู่แล้ว แต่ที่จริงไม่ใช่ เพราะต้องสร้างด้วย หากไม่สร้างขึ้นมาก็ไม่ได้เป็นส้มหล่น ไม่ได้มีมาเอง 2. social capital as providing resources to others through relationships with individuals คือทุนทาง สังคมเป็นทรัพยากรที่จะช่วยให้สามารถสัมพันธ์กับคนต่างๆ ได้ หากถาม Coleman ว่า social capital คืออะไร คาตอบคือ 3 คา network, trust, shared norm สาหรับ trust ในสายชุมชนนิยมนี้จะไม่มีปัญหา เพราะ trust นี้ดีมาก ไม่มีการตั้งคาถาม แต่ Bourdieu ตั้งคาถามกับ trust และรู้สึกไม่ ไว้วางใจความไว้วางใจ สาหรับ shared norm คือความคิดที่มีอยู่ร่วมกัน กล่าวคือทุนทางสังคมจะต้องมีความคิดร่วมกัน ต้องไปด้วยกันได้ ซึ่งต่างจากแนวของ Bourdieu ที่ว่าไม่ร่วมกันก็ไปได้ ต้องขัดแย้งถึงจะไปได้ ดังนั้นโดยพื้นฐานจึงมอง ต่างกันอย่างมาก หากขุดต่อไปก็จะพบว่าในความคิดแบบชุมชนนิยมนั้น social capital เป็นทรัพยากรที่มี function มี หน้าที่ในฐานะที่เป็นทรัพยากรของแต่ละคนที่จะเอาไปใช้ได้ หรือทรัพยากรที่นาไปใช้เพื่อประโยชน์ได้ การอ่านงานความคิดนั้น จะอ่านแค่ผิวเผินไม่ได้ แต่ต้องเจาะไปถึงฐานคิด หากขุดไปที่ฐานคิดของกลุ่มชุมชน นิยม พบว่าเป็นฐานคิดที่เรียกว่าแบบ American communitarianism คือชุมชนนิยมแบบอเมริกัน ไม่ใช่ว่าเป็นที่ไหนก็ ได้ แต่เป็นแบบ American โดยเฉพาะ หากไม่เข้าใจบริบทของเอมริกาก็อาจจะไม่รู้ว่าเป็นมาอย่างไร เพราะนอกจาก ความคิดของ Coleman แล้ว ยังมี Robert Putnam ที่เป็นหัวหอกในความคิดนี้ Putnam เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็นอีกคนซึ่งถูกอ้างอิงมาก ในกรณีของ Putnam นั้นเป็นนัก รัฐศาสตร์ แต่ Coleman เป็นนักสังคมวิทยา Putnam บอกว่าความคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดในอเมริกาที่
  • 9. 5 พยายามจะรักษาความหลากหลาย pluralism ความเป็นพหุนิยม เพราะสังคมอเมริกาเป็นพหุนิยม หมายความว่า อเมริกาเป็น melting pot ที่มีหลากหลายชาติพันธุ์มาอยู่ด้วยกัน และต้องการรักษาความหลากหลายไว้ ในแต่ละชุมชน ก็อาจจะมีความเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นชุมชนเป็นเหมือนกับกระดูกสันหลังของอเมริกา เพราะอเมริกาไม่ใช่สร้าง มาเป็นรัฐในตอนแรก แต่การสร้างรัฐเริ่มจากผู้คนหนีจากยุโรปแล้วมาตั้งเป็นชุมชน กล่าวคืออเมริกาในเริ่มแรกมาเป็น ชุมชนเล็กแล้วมาสร้างเป็นชาติภายหลัง ซึ่งแตกต่างกับสังคมไทยที่สร้างชาติก่อน และสร้างชุมชนภายหลัง ฉะนั้นฐาน ที่มาไม่เหมือนกัน คือฐานชุมชนของอเมริกาเข้มแข็งมาก แต่ก็เสื่อมไปช่วงหนึ่ง คือกลายมาเป็นปัจเจกชนมากขึ้น จึงได้ มีความพยายามฟื้นฟูความเป็นชุมชนกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้เป็นพลังในสังคม ในทางการเมือง เพราะการเลือกตั้งที่ แท้จริงจะต้องมีฐานท้องถิ่น/ชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ด้วยความเป็นนักรัฐศาสตร์ Putnam ตั้งสมมติฐานว่าที่การเมือง อ่อนแอเป็นเพราะฐานชุมชนอ่อนแอเช่นกัน จึงพยายามปลุกให้ฐานชุมชนเข้มแข็งขึ้น เพื่อทาให้การเมืองดีขึ้น ดังนั้นจึง มองเรื่องทุนทางสังคมในแง่ที่ว่าเป็นหน้าที่นิยม คือมีหน้าที่ในการบูรณาการทางสังคม ชุมชนอเมริกาเคยเข้มแข็งในยุค 1950, 1960 แต่เมื่อช่วง 1970-1980 ก็เริ่มเสื่อม เพราะมีความขัดแย้งกันมาก ตั้งแต่สงครามเวียดนามเอย ประกอบกับผู้คนกลายเป็นปัจเจกชนมากขึ้น ดังนั้นช่วงปี 1990 จึงพยายามที่จะฟื้นฟู แต่ ผมมองว่า จริงๆ แล้ว Putnam มองการเมืองแบบไร้การเมือง ส่วน Bourdieu ไม่ได้มองการเมือง แต่ความคิดเป็น การเมือง ขณะที่นักรัฐศาสตร์จะต้องสนใจการเมือง กลับมองการเมืองที่ไม่มีการเมือง คือไม่มีอะไรเลย เหมือนว่าไป ตามน้า ถ้าไปตามน้าก็ไม่เรียกการเมือง กล่าวคือการเมืองต้องขัดแย้ง ถ้าไม่ขัดแย้ง ไม่โต้เถียงกัน ก็จะไปตามน้า แต่ แนวของกระแสหลักมักจะเป็นลักษณะอย่าง Putnam ที่มองไม่เห็น conflict เลย เพราะ Putnam ได้รับอิทธิพลมาจาก Alexis De Tocqueville เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่เดินทางไปเที่ยวอเมริกาในอดีต และได้เขียนหนังสือชื่อว่า Democracy in America ซึ่งดังมาก และถูกอ้างถึงมาก ผู้คนต่างก็คิดว่าการเมืองอเมริกาเป็นเหมือนดังที่ De Tocqueville ว่า แต่ที่ จริงอเมริกาไม่ได้เป็นเช่นนั้น แม่แบบประชาธิปไตยอย่างเช่นอังกฤษ อเมริกานั้น ถ้ารู้ถึงเบื้องหลังแล้วจะรู้ว่าไม่ใช่ ประชาธิปไตยสักเท่าไหร่ หมายความว่ามีอานาจเบื้องหลังมากมาย แต่โฉมหน้าที่ De Tocqueville เห็นจากการ เดินทางไปเที่ยวเท่านั้น ก็ romanticized American politics ผู้คนก็คิดว่าการเมืองอเมริกันดีอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงแล้ว คือการพยายามที่จะรักษาสถานภาพเดิม คือไม่มีการขัดแย้งอะไรมาก เมื่อมาอ่านหนังสือของ Putnam ซึ่งเขียนปี ค.ศ. 1993 ชื่อว่า Making Democracy Works หากประชาธิปไตย ดีจริง คงไม่จาเป็นต้องเขียนหนังสือเล่มนี้ ขนาดอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1993 ยังต้องเขียนหนังสือเล่มนี้ และเราก็คิดว่า อเมริกาเป็นแม่แบบประชาธิปไตย ซึ่ง Putnam บอกว่า social capital เป็นทรัพยากรร่วมที่สาคัญที่จะผลักดันให้ democracy work เพราะช่วงหลังสังคมอเมริกามีลักษณะเป็นปัจเจกชน นิยมสูงมาก หากช่วงนั้นใครเรียนรัฐศาสตร์ก็จะ ทราบว่ามีคนเขียนวิพากษ์วิจารณ์ โดยกล่าวว่าปัจเจกชนนิยมไม่ใช่ปัญหา แต่ที่เป็นปัญหาคือ possessive individualism คือเป็นปัจเจกชนนิยมที่เห็นแก่ตัว เพราะผู้คนต่างก็เป็นปัจเจกชนกันหมด แต่ปัจเจกชนที่มีจิตใจ มีความ เสียสละก็มาก และคนที่ทางานเพื่อสังคมก็เป็นปัจเจกชนทั้งสิ้น ดังนั้น Putnam พยายามที่จะไม่พูดในเชิงปัจเจกชน แต่ กลับไปที่ชุมชน ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ทาให้แนวคิดของเขาเน้นด้านเดียวเกินไป ขณะที่ Bourdieu ให้ความสาคัญกับความ ขัดแย้งและความหลากหลายมากกว่า หนังสือเล่มที่สองของ Putnam เขียนในปี ค.ศ. 2000 ชื่อว่า Bowling Alone เขาจะแยกระหว่าง physical capital, human capital และ social capital คือมอง capital มี 3 มิติ แต่ไม่ได้มองแบบ Bourdieu ที่ว่าเป็น economic capital กับ cultural capital คือ Putnam ให้ความสาคัญกับ human capital ที่เป็นคุณสมบัติของปัจเจกชน ดังนั้นใน
  • 10. 6 ทฤษฎีของ Putnam มองว่า social capital เกี่ยวข้องกับ network และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือต้องมี ความสัมพันธ์ร่วมกันจึงจะสามารถเกิด social capital ได้ ในขณะที่ Bourdieu ไม่ไว้วางใจ trust แต่ Putnam คิดว่า trust มีคุณค่ามหาศาล หมายความว่า trust ไม่มีปัญหา ถ้ามี trust แล้วทุกอย่างจะดี ซึ่งมองต่างกัน trust ในความ เข้าใจของ Putnam เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ network ไปได้ดี trust เป็นเหมือนกับกาวใจ ดังนั้นเพื่อจะทาให้เกิดชุมชนที่ เข้มแข็ง จึงต้องมี trust เป็นหัวใจ และ social capital จึงมีฐานคิดอยู่ตรงที่ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน Putnam เคยมาบรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาพูดถึง democracy กับ social capital: what's the connection และผมก็ได้สไลด์มาด้วย what is social capital? why is it important? เขากล่าวว่าเป็น social network and norms of reciprocity และ core inside สาคัญคือ social network have value for individuals and for communities ซึ่งดีกว่าบางคนที่มองไม่เห็นความสาคัญของ individual เลย Putnam ยังเห็นว่า individual สาคัญแต่ ต้องให้ทางานเพื่อสังคม ดังนั้น network ก็มีความสาคัญ ที่พูดถึง network มี 4 ประการ คือ • Transmit information • Help overcome dilemmas of collective action • Encourage reciprocity and trust • Influence identities and thus encourage altruism หลายคนที่เอาความคิดของ Putnam ไปใช้มักเอาแต่ชื่อ เอาแต่คาว่า network เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่า network ข้างในมีอะไร ดังนั้นในความคิดของ Putnam ข้างใน network หมายถึงอีก 4 ข้อข้างต้น ยังต้องให้ความสาคัญ กับเรื่องอัตลักษณ์ แต่ไม่ใช่ว่าทาเพื่อตนเอง แต่ทาเพื่อคนที่ไม่รู้จักก็ได้ด้วย ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ Putnam เน้น ต่อมาเขา บอกว่า different type also social capital ก็เหมือน human capital ก็มองได้หลายทาง ไม่ใช่มอง social capital ทาง เดียวกันหมด social capital สามารถใช้ทั้งดีหรือไม่ดีก็ได้ สไลด์ต่อมา Putnam บอกว่า social capital เกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง คือหลายคนไปอ่านความคิดเขาแล้ว ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร เขาบอกว่า social capital ไม่ได้มองแค่ social capital ต้องมองบริบทของ social capital ด้วย หมายความว่า social capital จะใช้ better educational outcome หมายความว่าจะทาให้เกิดการศึกษาดีขึ้นด้วย คือมี ประโยชน์ ทาให้สวัสดิการเด็กดีขึ้น ทาให้ลดอาชญากรรม ฯลฯ คือมอง social capital ด้านดี ด้านไม่ดีก็มีเช่นกัน แต่ ด้านดีมีมากกว่า เหล่านี้เป็นมุมมองจากนักทฤษฎีที่พูดถึงเรื่อง social capital ใน 2 แนวทาง ที่เป็นแนวทางใหญ่ๆ อาจจะมีนัก ทฤษฎีคนอื่นที่พูดเรื่องนี้อีก แต่เป็นระดับย่อยๆ ลงมา 3. ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง ผมจะเข้าสู่เรื่องเมือง การเชื่อมต่อกันระหว่างทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง ทาให้ผมต้องมาอ่านเรื่อง แนวคิดการพัฒนาเมือง เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาเมือง ต้องรู้ว่ามีการวิเคราะห์เรื่องเมืองอย่างไร ผมพยายามอ่านดูว่า นักคิดหลักๆ ที่ผมชอบ และคิดว่างานที่สาคัญที่พูดถึงเมืองที่แตกต่างจากสาย urban planning หรือ regional planning ผมก็รู้จักสายนี้มาก ที่มหาวิทยาลัย Cornell จะมี Department of Regional Planning ที่ใหญ่มาก และมีคนเรียน มากมาย ซึ่งเป็นสายปกติหรือกระแสหลัก แต่ผมอยากรู้สายไม่ปกติ หรือสายวิพากษ์วิจารณ์ และบังเอิญไปเจอหนังสือ ที่ออกในปี ค.ศ. 1970 ชื่อว่า The Urban Revolution เขียนโดย Henri Lefebvre เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศส แต่ถูกแปลเป็น
  • 11. 7 ภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ ช่วงปี 1990-2000 ซึ่ง Lefebvre กล่าวว่า urban society is not just in the city คือบาง คนเมื่อพูดถึงเมืองก็นึกถึงแค่ตัวเมือง แต่ Lefebvre ไม่ได้พูดถึงเมือง เขาพูดถึง urban society คือสังคมเมือง ไม่ใช่ตัว เมือง Lefebvre บอกว่า urban คือความเป็นสังคมเมือง ไม่ได้มองเมืองเฉพาะตัวเมือง แต่มองที่บรรยากาศ มอง สภาวะทั้งหมดของความเป็นเมือง ซึ่งบอกว่า urban phenomena นั้น จริงๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ สถาปนาสังคมอุตสาหกรรม Lefebvre พูดถึงฝรั่งเศสและตะวันตก โดยความเป็น urban ในสังคมตะวันตกเกิดใน กระบวนการเดียวกับการสร้างอุตสาหกรรม เป็นการดูดทั้งทุนและแรงงาน สังคมเมืองเป็นการสร้างตัวดูดกระบวนการ สถาปนาความเป็นสังคมเมืองที่สร้างเงื่อนไขเพื่อให้ทุนนิยมเดินได้ พูดง่ายๆ คือต้องการสร้างตัวดูดเพื่อให้การ เคลื่อนไหวของทุน ที่สาคัญ คือว่าทาให้ทุน circulate และเดินได้/ทางานได้ หากทุนไม่มีศูนย์กลางก็ทางานไม่ได้ จึง ต้องมีการรวมศูนย์ เพราะ Lefebvre เป็นมาร์กซิสต์ จึงมองเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่เขามองว่า urban เป็น in between space คือเขาเป็นเจ้าพ่อของทฤษฎี production of space คาว่า “space” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า “พื้นที่” อย่างการแปลเป็นภาษาไทย แต่ space หมายความถึงพื้นที่ของความสัมพันธ์ทางสังคม คล้ายๆ กับที่ Bourdieu พูดว่า เป็น field แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยทาให้ความเข้าใจจึงจากัด เป็นปัญหาทางภาษา ดังนั้นเมื่อ Lefebvre พูดว่าเป็น in between space ก็คือรอยต่อของความสัมพันธ์ของพื้นที่ต่างๆ เป็นรอยต่อ/ตัวเชื่อม Lefebvre บอกว่า urban society ไม่ได้เป็น empirical fact เพราะเราเป็นนักสังคมศาสตร์ เรามองอะไรก็เป็น ความจริงที่ปรากฏ ความจริงเชิงประจักษ์ เมื่อไปมองสังคมเมืองจึงมองในฐานะที่เป็นความจริงเชิงประจักษ์ แต่ Lefebvre มองว่าสังคมเมืองเป็นความคิด เป็นการเคลื่อนไหวทางความคิดเพื่อเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม บางอย่าง นั่นคือเป้าหมายของทุน การเป็นอุตสาหกรรม Lefebvre ไม่ได้มองว่าเป็นเพียงความจริงที่ปรากฏ แต่เป็น การเคลื่อนไหวของความคิด ดังนั้นจะต้องเข้าใจ Lefebvre ก่อน ที่บอกว่า urban level ระดับของความเป็นเมืองขึ้นอยู่ กับการสร้างทิศทาง เงื่อนไขต่างๆ เพื่อจะขับเคลื่อนความคิด ตรงนี้จะคล้ายกับความคิดของ Karl Polanyi ที่เป็นนัก เศรษฐศาสตร์สายสถาบันนิยม แต่เมืองไทยเป็น neo-classic หมด ไม่มีสถาบัน ทั้งๆ ที่ปัจจุบันคนเริ่มหันกลับมาอ่าน Polanyi กันใหม่บ้างแล้ว Polanyi มีความคิดหนึ่งที่เรียกว่า double movement หมายความว่าในตัวเมืองไม่ได้มีความคิดกระแสเดียว หรือกระแสที่ครอบงา คือกระแสที่ต้องการจะสร้างเมืองเป็นศูนย์กลางของทุน แต่ภายในพื้นที่ของเมืองจะมี 2 กระแส ต่อสู้กัน คือมีทั้งกระแสครอบงา และกระแสต่อต้าน เมื่อมองในแนวมาร์กซิสต์ต้องมองเป็น dialectic คือไม่มีอะไรที่ ไปทางเดียว วิภาษวิธีที่เราเรียกกัน แต่วิภาษวิธีก็มีหลายมิติ ซึ่งมิติหนึ่งที่สาคัญคือ ต้องมองทุกอย่างสองด้าน ห้ามมอง ด้านเดียว เมืองก็มีสองด้าน เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ มีทั้งด้านครอบงา และด้านต่อต้าน ซึ่งด้านต่อต้านจะเรียกว่าเป็น public space คือพื้นที่สาธารณะ เมื่อมองเมือง ต้องพยายามมองหาพื้นที่ต่อสู้ เพราะเราจะไม่เข้าใจความเป็นเมืองเลย หากไม่สามารถ identify พื้นที่ที่คนมาโต้เถียงกัน หรือมาต่อสู้กัน ด้วยเมืองที่เคลื่อนไปนั้น ไม่ได้เคลื่อนเพราะคนที่ ครอบงาเท่านั้น แต่ที่เคลื่อนไปเพราะมีการต่อสู้กัน ทาให้รู้ว่าจะเคลื่อนไปทางไหน เพื่อลดการต่อสู้ หรือทาให้การต่อสู้ เคลื่อนไปสู่การพัฒนาเมืองสู่คุณภาพใหม่ เมืองที่พัฒนามาได้ เพราะว่ามีสู้กันมาตลอด แต่ถ้าไปมองเมืองแบบที่ไหลไป ตามน้าก็จะไม่เห็นเมืองจริง ๆ การเปลี่ยนแปลงของทุกเมืองมักจะมาจากการถกเถียงกัน สู้กันจนหัวปักหัวปา ถึงได้มี ความเปลี่ยนแปลง
  • 12. 8 หากต้องการจะศึกษาสังคมเมือง ต้องดูว่าประเด็นที่เขียนกันในสังคมเมืองคือประเด็นอะไร ประเด็นเหล่านั้น ทาให้เข้าใจว่าจะพัฒนาเมืองไปทางไหน และผมก็พยายามที่จะโยงสิ่งที่ Lefebvre ว่าเป็น public space ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของทุนทางสังคมด้วย ดังนั้นทุนทางสังคมจึงไม่ใช่แค่ network หรือทรัพยากรต่างๆ เพราะทรัพยากรในการพัฒนาเมือง อยู่ที่การเปิดพื้นที่ของการโต้เถียงมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าพื้นที่เหล่านั้นถูกปิด แน่นอนเมืองจะมีปัญหา ถ้าพื้นที่เปิด เมือง จะเกิดการพัฒนา ดังนั้นทุนทางสังคมอยู่ตรงจุดนี้ด้วย เมื่อครู่ผมได้พูดถึงทฤษฎีทุนทางสังคมไปแล้ว พอพูดถึงทฤษฎี เมืองบางครั้งก็ต่อไม่ติด แต่ปรากฏว่าเราต่อกันได้ ตัวเชื่อมที่สาคัญอยู่ตรงคาว่า public space และการเคลื่อนไหว อีกคนหนึ่งที่เรียกว่าเป็นเจ้าพ่อเรื่องเมืองคือ Manuel Castells เป็นชาวสเปน แต่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส หนังสือ เล่มแรกที่เขาเขียนเมื่อปี ค.ศ.1977 ชื่อ The Urban Question ก็เขียนล้อความคิดของ Lefebvre คือ Urban Revolution โดย Castells บอกว่าสังคมเมืองเป็นอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม เขาฟันธงเลยว่าเมืองไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงเชิง ประจักษ์ แต่เป็นอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม ที่มองเรื่องนี้ไม่ออก เพราะถูกแฝงอยู่/ซ่อนอยู่ ไม่ได้เห็นชัด แต่คนที่ ศึกษาสังคมเมืองแบบทั่วไปก็จะมองแค่สิ่งที่เห็น ซึ่งผมเคยเรียนประวัติศาสตร์สามารถจะบอกว่า ถ้าคุณเห็นเท่าที่เห็น อย่าเห็นดีกว่า เพราะสิ่งที่เห็นเป็นเพียงสิ่งที่เรียกว่าปลายภูเขาน้าแข็งเท่านั้น ส่วนที่มองไม่เห็นข้างล่างใหญ่กว่ามาก หากไม่มองแล้วจะเข้าใจสังคมเมืองได้อย่างไร ที่จริงแล้วพื้นที่เมืองเป็นที่ดึงดูดหาผลประโยชน์จากแรงงาน เพราะทาให้ ระบบทุนนิยมเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีแรงงานก็ไปไม่รอด การเมืองของสังคมเมืองจึงอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างนโยบายการวางผังเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคมระดับรากหญ้าในเมือง ก็จะตรงกับที่ Lefebvre พูดว่า public space แต่ส่วนใหญ่ผู้คนจะเรียนเรื่องสังคมเมืองผ่าน นโยบายการวางผังเมือง ซึ่งเป็นกระแสหลัก แต่การต่อสู้ระหว่างนโยบายการวางผังเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคมระดับรากหญ้าที่ต่อสู้กันต่างหากที่ทาให้เมืองพัฒนา ไม่ใช่คนวางผังเมือง แท้จริงแล้วตัวที่ขับเคลื่อนให้ตรงใจต้อง เป็นการต่อสู้กันทางความคิด หากอยากจะรู้เรื่องเมืองจริงๆ ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาผู้คนในเมืองจากชีวิตประจาวัน ถ้าเริ่มผิดที่เริ่มจากวางผังเมืองก็ไปอวกาศ คืออยู่เหนือความจริง หากเริ่มต้นว่าจะพัฒนาเมืองจริงๆ อย่างไร ต้อง เริ่มต้นจากการดูว่าคนในเมืองใช้ชีวิตอย่างไร และคนในเมืองมีอยู่หลายลักษณะ บางครั้งก็ไปขับไล่หาบเร่แผงลอย แต่ ถ้าเกิดไม่มีคนเหล่านี้ แรงงานอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่กิน ที่อยู่กันได้ทุกวันนี้ก็เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เหล่านี้ก็เป็นปัญหา กระบวนการพัฒนาเมืองจึงอยู่ที่ความขัดแย้งระว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม กลุ่มต่างๆ ต่างช่วงชิง ขับเคลื่อนจนดันให้เมือง พัฒนาไปทางใดทางหนึ่ง เพราะสิ่งนี้เป็นตัวจักรสาคัญ แต่ผู้คนมองไม่เห็นพลังขับเคลื่อนนั้น เราคิดว่าการพัฒนามาจาก นโยบายด้านผังเมือง เรียกได้ว่าเป็น urban question คือคาถามเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งมักจะถามผิด การพัฒนาจึงผิด ที่ผิดทาง ผิดฝาผิดตัว ดังนั้นต้องถามให้ถูกที่ถึงจะพบว่าพลังขับเคลื่อนของเมืองแท้จริงแล้วอยู่ที่ไหน Castells เขียนหนังสืออีกมากมาย แต่เล่มหลักมี 2 เล่ม ปี ค.ศ.1996 เขียนเรื่อง The Rise of Network Society ทุกคนเข้าใจเรื่อง network แต่ network ของเขาหมายถึงสังคมเครือข่ายที่ไม่ได้หมายความถึงเครือข่ายที่ ทางานร่วมกัน Castells ให้ความสาคัญกับเครือข่ายว่าเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถทาให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ได้ เล่มต่อมาปี ค.ศ.1997 เขาให้ความสาคัญกับ the power of identity หมายความว่าคนเราที่เข้ามาสู่กระบวนการเคลื่อนไหวยังไม่รู้ตัวเองเป็นอย่างไร ไม่มีทางเคลื่อนไหวทางสังคมได้ เพราะการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นการแสดงถึงพลัง หรืออานาจของตัวตน เมื่อเขาพูดถึง identity เขาหมายถึงใน 3 รูปแบบ คือ legitimizing identity, resistant identity และ project identity แต่คนส่วนใหญ่มอง identity เพียงหนึ่งเดียว และไม่รู้ความหมายอีกด้วย วิธีคิดทางวิชาการที่สาคัญที่สุดคือมองอะไรอย่าตีขลุมเหมารวม ต้องแยกแยะ เมื่อพูดถึงตัว
  • 13. 9 คนก็ต้องแยกแยะ คนเรามีตัวตนที่หลากหลาย การคิดว่าตัวตนมีหนึ่งเดียวทาให้ลดทอนความเข้าใจได้มาก ดังนั้น ความคิดเกี่ยวกับการแยกแยะจึงสาคัญมาก เมื่อพูดถึงพลังขับเคลื่อน หากเน้นสายชุมชนนิยมก็จะคิดว่าภาคประชาสังคม คิดอะไรไม่ออกก็ภาคประชา สังคมก็ไปไม่รอด คงต้องคิดเรื่องอื่น ๆ ด้วย Lefebvre บอกว่ามีสิ่งหนึ่งที่เขาเรียกว่า communal resistant คือการ รวมตัวเพื่อต่อสู้อะไรบางอย่าง อาจไม่ใช่เป็นเรื่องภาคประชาสังคมอย่างที่เราเข้าใจ คือรวมตัวกันเพื่อทาจิตสาธารณะ หรือจิตอาสาก็เป็นอีกแนวหนึ่ง เพราะจิตอาสานั้นแคบมาก ทาได้เพียงเรื่องเล็กๆ ก็อาจจะต้องใช้การต่อสู้มากขึ้น ถึงจะ ขับเคลื่อนไปได้มาก คือไม่สามารถไปแนวใดแนวหนึ่งได้ ต้องใช้หลายแนวเสริมกัน หนังสืออีกเล่มหนึ่งของ Lefebvre ที่ ดังคือปี ค.ศ.1991 คือ The Production of Space คาว่า space หมายถึงพื้นที่ ภาษาไทยเรียกว่าพื้นที่ แต่พื้นที่ทาง สังคม หมายความว่าเป็น social product เป็นเหมือนกับพื้นที่ของการต่อสู้ที่เราใช้ว่า in between คือพื้นที่ของความ ขัดแย้งที่อยู่ระหว่างความขัดแย้งที่คนมาปะทะความคิดกัน เมื่อเกิดการปะทะ เกิดจุดตัดของความคิด หากไม่มีพื้นที่ ปะทะหรือจุดตัดความคิดก็ไม่เกิดความคิดใหม่ขึ้นมา การที่จะสร้าง urban space มันถึงมีพื้นฐานอยู่ที่การที่จะต้องคล้ายๆ กับว่า เริ่มเป็นที่ของทุนนิยม ทุนนิยมมี ลักษณะครอบงา ถ้าเราต้องการจะผลักดัน ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองต่อไป จะปล่อยให้พลังที่มาครอบงาทางานอย่าง เดียว คงขับเคลื่อนไม่ได้ เพราะจะขับเคลื่อนด้วยประโยชน์ของเขาเองอย่างเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว คงจะต้อง พยายามหาพื้นที่ใหม่ ซึ่งผู้คนต่อ ๆ มาก็เอา Lefebvre มาใช้เหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ที่ดังมาก หนังสือเล่ม ที่ดังเขียนถึงการพัฒนาเมืองใน LA เขียนโดย Edward Soja แต่ผมเอาอีกเล่มมาชื่อว่า Seeking Spatial Justice ซึ่ง ทฤษฎีสาคัญคือแนวคิดเรื่อง third space พื้นที่ที่ 3 คือพื้นที่แรกคือพื้นที่ครอบงา พื้นที่ที่สองคือพื้นที่ต่อต้าน ดังนั้นทา อย่างไรถึงจะสร้างพื้นที่ที่มันเกิดจุดปะทะกันได้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ แล้วความคิดใหม่ไม่ใช่ความคิดเดิม ไม่ใช่ ความคิดที่ครอบงาหรือต่อต้าน แต่มันเป็นความคิดที่สถาปนาขึ้นมาใหม่ พื้นที่นี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เขาบอกว่าพื้นที่ มันจะเกิดขึ้นภายใต้เรื่องของความคิด social justice คือเรื่องของความเป็นธรรมเชิงพื้นที่ ทีนี้คล้ายๆ กับว่าเขาผลักดัน แนวคิดนี้ ด้วยการสืบทอดมาจากความคิดของ Lefebvre ที่พูดไปในเชิงทฤษฎีให้เห็นว่าทฤษฎีมันสาคัญ ถ้าเราไม่มี ความตื่นตัวทางทฤษฎีก็จะคิดอะไรใหม่ลาบาก แต่ที่บอกคือฟังทฤษฎีแล้วไม่ใช่เราเชื่อ ฟังเพื่อจะได้ถกเถียงได้ แล้วเมื่อ ถกเถียงได้ก็จะสร้างอะไรที่เป็นตัวของตัวเองได้ เพื่อเราจะได้เอามาใช้เพื่อการศึกษา เพราะสังคมไทยไม่ได้พัฒนาแบบ เดียวกับที่เขาพัฒนาความคิดนี้จากตะวันตกที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองทุนนิยม เราพัฒนามาอย่างไรก็ต้องศึกษาเอา ดังนั้นเมื่อปรับเอามาใช้กับสังคมไทย แล้วเอาสิ่งที่ผมได้พูดแล้ว จะดึงอะไรมาใช้ จะทาอย่างไร เนื่องจากผมไม่ค่อยได้ ศึกษาเรื่องเมือง ก็พยายามไปดูว่าทาอะไรได้บ้าง ผมคิดว่าการพัฒนาเมืองเป็นการช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม เช่น เมื่อตอนที่เราสร้างรถไฟฟ้า BTS ช่วงแรกก็ไม่ สร้างลิฟท์ คนพิการก็ถามว่าเขามีสิทธิไหม? แล้ววันนี้ก็เริ่มมีการสร้างบันไดเลื่อน เริ่มมีลิฟท์ขึ้นมา สิ่งนี้ คนที่ลงทุนเขา ไม่คิดหรอก คิดแค่จะหาเงินอย่างไรกับโครงการนี้ แต่เมื่อคนจน คนพิการลุกขึ้นมาตั้งคาถามก็มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มีการสร้างลิฟท์ ซึ่งก็เข้าหลักอย่างที่เราพูดมาแล้ว ทุนทางสังคมที่เราพูดถึงคือพลัง แต่เป็นพลังที่ใช้ ต่อรองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของ Edward Soja ผมก็พยายามถอดความคิดที่ว่า เอามาช่วยในการทา ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา เพราะผมเข้าใจว่าวันนี้เรากาลังทาวิจัยเรื่องการพัฒนาเมือง หากเราจับประเด็นไม่ถูก อาจจะติดอยู่ที่แค่เรื่องของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์มากเกินไป เราอาจจะจับจุดไม่ถูก ควรไปดูเมืองเพื่อที่จะเข้าใจความ เคลื่อนไหวมากขึ้น ดูเมืองที่มีชีวิตมากขึ้น เมื่อเอามาใช้ก็เข้าหลักการต่อรองเพื่อคุณภาพชีวิต และต่อต้านการพัฒนาที่
  • 14. 10 ทาลายคุณภาพชีวิต ปฏิรูปเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัยของคนจน ก็เป็นการเคลื่อนไหว หากคนจนไม่ลุกมาเคลื่อนไหว มัน ก็ไม่มีทางได้ การพัฒนาเมืองก็ทาในลักษณะเดียวเมื่อเจอสลัมก็ขับไล่ ก็มีอยู่ทางเดียว การขับไล่จึงง่าย แต่จะทา อย่างไรถึงจะทาให้การขับไล่เป็นการพัฒนาเมืองได้อย่างแท้จริง ก็ต้องมีการคิดกันมากขึ้น พื้นที่ของการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมจึงเป็นจุดตัดของประเด็นปัญหาต่างๆ คือประเด็นไหนที่ขัดแย้ง กัน โต้กัน ก็เป็นจุดสาคัญที่จะไปมองว่ามีเบื้องหลังที่เป็นปัญหาอย่างไร จึงมาต่อสู้กัน คัดค้านกัน เช่น การคัดค้านการ พัฒนาที่มีผลกระทบเชิงลบ ไม่ได้แปลว่าการสร้างอะไรในเมืองแล้วทุกอย่างจะดีหมด หากดีหมดก็ไม่มีคนค้าน แต่ที่มี คนค้าน หากไปดูประเด็นที่ต่อสู้กัน คัดค้านกัน แล้วพยายามทาความเข้าใจเบื้องหลัง อาจจะเข้าใจทิศทางการพัฒนา เมืองมากขึ้น เพราะจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางการพัฒนาเมือง ที่เป็นอย่างนั้น เพราะทาให้เกิดการมีส่วน ร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตคนในเมืองมากขึ้น ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ผมจะถอดความคิดนั้นมาเป็นของผม ผมเคยอยู่ในกลุ่มขบวนการคัดค้านไม่เอากระเช้าลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพ เคยมีส่วนอยู่ในเมืองเช่นกัน ไม่ได้ หมายความว่าโครงการอะไรมาดีหมด โครงการที่ดีก็มี โครงการเลวก็มี แต่เราชอบลดให้เหลือมิติเดียว เพราะเราบอก มิติเดียวนั้นดีกว่า ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เราต้องพยายามพัฒนา และรักษามิติที่หลากหลาย ไม่ใช่ว่าพัฒนาเมืองมิติเดียว อย่างที่เชียงใหม่ มีกลุ่มคนที่ติดเชื้อ HIV มากมาย เขาก็ลุกขึ้นมาต่อสู้ หมายความว่าถ้าเราพัฒนาเมือง แต่มองไม่เห็น หัวของคนที่มีปัญหา ถามว่าพัฒนาเมืองไปเพื่อใคร หากเขาไม่ลุกขึ้นมาเรียกร้อง หรือแสดงอัตลักษณ์ของเขา เราก็ อาจจะไม่รู้ว่าคนเหล่านี้มีอยู่ เพราะคนในเมืองมีหลายกลุ่ม หลายลักษณะ ต้องพัฒนาเมืองภายใต้ความเข้าใจว่า มองเห็นหัวของคนที่แตกต่างด้วย และเข้าใจชีวิตเขามากขึ้น ต้องพัฒนาในลักษณะที่เราต้องได้ด้วย คนอื่นก็ต้องได้ด้วย ต้องมองเห็นหัวกันและกัน การสร้างระบบดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าใช้ระบบเดียวหมดเพื่อดูแลสุขภาพ เหล่านี้ เป็นประเด็นสาคัญ ในเมืองก็มีเรื่องแรงงานข้ามชาติ เราก็เกลียดคนพวกนี้มาก แต่เราก็ขาดพวกเขาไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่จริง คนสามารถเป็นพลเมืองได้หลายมิติ พลเมืองทางเศรษฐกิจ พลเมืองทางวัฒนธรรม พลเมืองทางชาติพันธุ์ เป็นพลเมือง ได้หลายรูปแบบ หากเราไม่ยอมรับความเข้าใจเช่นนี้ ก็อยู่กันไม่ได้ 4. สรุป ปัจจุบัน พื้นที่เมืองบางส่วนเป็นพื้นที่เชิงพิธีกรรม พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์พื้นที่ความเชื่อ แต่บางเมืองก็เปลี่ยนเป็น พื้นที่ท่องเที่ยว เช่น ถนนคนเดินที่เชียงใหม่ คือมีการใช้พื้นที่เดียวกันในหลายอย่าง เราบอกพื้นที่หนึ่งใช้เพื่อเป้าหมาย เดียว แต่คนหลายคนช่วงชิงการใช้พื้นที่เดียวกันในหลายอย่าง เราก็ต้องเข้าใจ เช่น พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นักวางแผนเมืองจะทาให้พื้นที่สะอาด สวยงาม ทาให้นักท่องเที่ยวมาแล้วชื่นชม พื้นที่นี้สาหรับนักวางผังเมืองจึงเป็น พื้นที่ที่ต้องสง่างาม สวยงาม เป็น grand avenue นักผังเมืองจะมองเช่นนั้น แต่คนในเมืองเชียงใหม่บางส่วนไม่ได้มอง เช่นนั้นเลย เขามองว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เขาจะมาทาพิธีกรรม ไหว้สามกษัตริย์ ที่บอกว่าพัฒนาเมืองของนักวาง ผังเมืองหรือของคนเมืองนั้น แท้จริงแล้วเป็นเมืองของใคร เพราะคนมองเมืองต่างกัน กรณีอย่างนี้ก็ถือเป็นการช่วงชิง ความหมายของเมือง เรื่องของทุนทางสังคมเป็นการเมืองของอัตลักษณ์ การเมืองของการช่วงชิงพื้นที่ของสังคมเมืองสมัยใหม่ ซึ่งก็ มีหลายมิติ ดังที่ได้พูดไปบ้างแล้ว สรุปว่าจริงๆ แล้ว การเมืองของการพัฒนาเมืองมีหลายมิติมาก แต่ปัญหาของการ พัฒนาเมืองปัจจุบันคือการลดทอนความเป็นเมืองเหลือเพียงบางมิติ ลดลงเรื่อยๆ ยิ่งพัฒนายิ่งลดมิติ ในขณะที่เมืองใน อดีตมีหลายมิติ การให้นักวางผังเมืองมาวางนั้นง่าย ทาให้สวย แต่ไม่มีชีวิต ดังนั้นจุดนี้จึงต้องการให้คนในเมืองมีส่วน
  • 15. 11 ร่วม เข้ามาเคลื่อนไหว ต่อสู้ เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจใหม่ๆ ทุนทางสังคมที่เราพูดถึง ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเครือข่าย trust ตามที่นักทฤษฎีบางส่วนได้ว่าไว้ สาหรับผมแล้วทุนทางสังคมคือพื้นที่ของพลังชุมชนในการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนา เมือง จริงๆ แล้ว ที่เราเรียกว่าทุนทางสังคมคืออะไร? ก็จะตอบว่าคือพื้นที่ที่คนต่างๆ ในสังคมในชุมชนเมือง มาแสดง พลัง เพื่อจะบอกว่าตนเองต้องการอย่างไร เพราะถ้าไม่มีพื้นที่ให้เขาออกมาแสดงพลัง ก็ไม่มีทางที่เราจะสามารถ ผลักดันการพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามความต้องการของคนเมืองได้
  • 16. 12
  • 17. 13