SlideShare a Scribd company logo
1 of 31
Download to read offline
โครงการ
เรื่อง ปันนํ้าใจให้ผู้ป่ วย
จัดทําโดย
นายชัยวัฒน์ พลอยงาม เลขที่ 2
นายปิยเชษฐ์ มีความเจริญ เลขที่ 4
นางสาวจุติมา ประชาฉาย เลขที่ 22
นางสาวกัญณิฌา พรจิดาศิล เลขที่ 25
นางสาวภิญาดา เพ็ชรชาลี เลขที่ 27
นางสาวสิรีธร ขวัญอ่อน เลขที่ 29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
เสนอ
ครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
วิชา IS3 (I3 0903)
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
ก
เกี่ยวกับโครงการ
เรื่องโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ IS3
ผู้จัดทํา 1. นายชัยวัฒน์ พลอยงาม เลขที่ 2
2. นายปิยเชษฐ์ มีความเจริญ เลขที่ 4
3. นางสาวจุติมา ประชาฉาย เลขที่ 22
4. นางสาวกัญณิฌา พรจิดาศิล เลขที่ 25
5. นางสาวภิญาดา เพ็ชรชาลี เลขที่ 27
6. นางสาวสิรีธร ขวัญอ่อน เลขที่ 29
ครูที่ปรึกษา ครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม
สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
ปีการศึกษา 2558
ข
คํานํา
ประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีประชากรอยู่เป็นจํานวนมาก การใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นก็คลุกคลีอยู่กับ
มลภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ทําให้ประเทศไทยของเรามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆอยู่มาก ซึ่งก็มี
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับการรับการรักษาพยาบาลอยู่ เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์และยังมีภาระหน้าที่
อื่นๆที่ต้องรับผิดชอบ บางโรคก็ต้องใช้เงินในการรักษาเป็นจํานวนมาก ทําให้ผู้ป่วยขาดโอกาสในการรักษา
ไป จึงมีหน่วยงานต่างๆทั้งของภาครัฐและเอกชนที่จัดตั้งโครงการและกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้
เหล่านี้ให้ได้รับการรักษา
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทําโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความ
เดือดร้อนและเพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มของข้าพเจ้าหวังว่าโครงการนี้ คงจะมีประโยชน์ให้กับ
สังคมไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทํา
ค
กิตติกรรมประกาศ
ในการจัดทําโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยฉบับนี้สําเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่าน
ซึ่งไม่อาจจะนํามากล่าวได้ทั้งหมด ซึ่งผู้มีพระคุณที่คณะผู้จัดทําใคร่ขอกราบพระคุณคือ ท่านผู้อํานวยการ
โอภาส เจริญเชื้อ ที่ช่วยอํานวยสถานที่ในการรับเงินบริจาค คุณครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม ครูผู้สอนที่ได้ให้
ความรู้ คําแนะนําตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียน
โครงการฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด คุณครูอัมพร หวานใจ ที่ช่วยให้คําแนะนําในส่วนของรูปแบบการทําโครงการ
ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จัดตั้งกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์
คนไข้ยากจนนี้ขึ้นมาทําให้คณะผู้จัดทําได้ร่วมสมทบทุนกองทุนนี้ คุณพ่อจอมพล เพ็ชรชาลี และ คุณแม่
วาสนา เพ็ชรชาลี ที่ช่วยสนับสนุนในด้านการติดต่อและจัดหาสถานที่ในการทําโครงการเป็นอย่างดี คุณนํ้า
ทิพย์ นาคพยนต์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ที่ดําเนินการรับเงินบริจาคจากโครงการไปสมทบทุนกับกองทุน
พระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา คณะผู้จัดทําใคร่ขอกราบ
ขอบพระคุณเป็นอย่าสูง ไว้ณ โอกาส นี้
นอกจากนี้ คณะผู้จัดทําใคร่ขอขอบคุณผู้ปกครองของสามชิกในกลุ่มทุกคน รวมทั้งคณะครู
บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ทุกคนที่ร่วมบริจาคเงิน
สมทบทุนโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วย จึงทําให้โครงการฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
คณะผู้จัดทํา
สารบัญ
เนื้อหา หน้า
เกี่ยวกับโครงการ ก
คํานํา ข
กิตติกรรมประกาศ ค
บทที่ 1 โครงการ 1
หลักการและเหตุผล 1
การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โครงการ 1
วัตถุประสงค์ของโครงการ 2
สถานที่ดําเนินการ 2
วิธีการดําเนินการ 2
รายละเอียดงบประมาณของโครงการ 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 3
สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 4
ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 12
บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน
ขั้นตอนการวางแผน 13
ขั้นดําเนินงาน 13
บทที่ 4 ผลการดําเนินงาน 14
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผล
สรุปผลการดําเนินงาน 15
อภิปรายผลการดําเนินงาน 15
บรรณานุกรม 16
ภาคผนวก 17
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 2.1 ความเชื่อมโยงและพลวัตที่เกี่ยวกับสุขภาพ 4
ภาพที่ 2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของประเทศไทย 5
ภาพที่ 2.3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ.2503 – พ.ศ.2552 (ราคาตลาด) 6
ภาพที่ 2.4 สัดส่วนของเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ พ.ศ.2503-พ.ศ. 2552 7
ภาพที่ 2.5 สัดส่วนความยากจนของประเทศไทยวัดจากรายจ่าย พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 8
ภาพที่ 2.6 ตารางสัดส่วนคนจนวัดจากรายจ่าย จําแนกตามพิ้นที่ พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 9
ภาพที่ 2.7 ส่วนแบ่งรายได้ของประชาชนชาวไทย แยกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 10
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 4.1 ตารางแสดงจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคในแต่ละวัน 14
1
บทที่ 1
โครงการ
1. หลักการและเหตุผล
เราทุกคนต่างทราบว่าเรื่องเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขหรือชีวิตความเป็นอยู่ด้านสุขภาพของมนุษย์มี
ความจําเป็น เช่นเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบาย เกิดอุบัติเหตุหรืออื่น ๆ เราจําเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา
ทางการแพทย์เพื่อให้รอดพ้นจากโรคภัยนั้นๆและอยู่อย่างมีสุขภาพที่ดี และจากที่มีผู้ปกครองของสมาชิกใน
กลุ่มได้ทํางานอยู่ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาได้เห็นถึงว่ามีผู้ที่ขัดสนในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลอยู่
จํานวนไม่น้อย ทําให้ขาดโอกาสในการรักษาเช่น ชาวบ้านบางรายไม่ได้มีรายได้สูงและจําเป็นต้องใช้เงินใน
เรื่องอื่น ๆ บ้างต้องส่งลูกเรียนหรือบ้างมีบ้านอยู่ไกลต้องใช้เงินในการเดินทางหรือเดินทางลําบาก จึงเลี่ยงที่
จะนําเงินมารักษาตนไปใช้สอยกับบุคคลรอบข้าง จึงขาดโอกาสในการรับการรักษาไป
ทางโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาก็มีการจัดตั้งกองทุนสังคมสงเคราะห์ขึ้นทําให้คณะผู้จัดทํา
อยากมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งในโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขัดสนค่ารักษาพยาบาล จึงได้ทํา
กิจกรรมร่วมรับบริจาคจากผู้ที่สนใจและอยากร่วมช่วยเหลือโดยการนําเสนอข้อมูลของโครงการสังคม
สงเคราะห์
2. การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โครงการ
1. ความพอประมาณ คือ การเลือกช่วยผู้ป่วยเป็นบางรายที่เราสามารถช่วยเหลือได้
2. ความมีเหตุผล คือการร่วมรับบริจาคในครั้งนี้ เราเลือกรับบริจาคให้กับโรงพยาบาลประจําจังหวัด
ซึ่งมีผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาเป็นจํานวนมาก
3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีคือไม่ตั้งเป้ าหมายจํานวนผู้ป่วยที่จะช่วยเหลือเกินกําลังที่เราจะช่วยได้
เงื่อนไข
1. เงื่อนไขความรู้ ใช้ความรู้ความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้คนทั่วไปร่วมกันบริจาคเงิน
ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนค่ารักษาพยาบาล
2. เงื่อนไขคุณธรรมให้สมาชิกในกลุ่มรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและได้ตระหนักว่าเงินจํานวนเล็กน้อยที่เรา
รับบริจาคมาสามารถช่วยเหลือคนอื่นให้บรรเทาความเดือดร้อนได้
2
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อนําเงินที่ได้รับบริจาคไปช่วยสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน
2. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้
4. สถานที่ดําเนินการ
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
5. วิธีการดําเนินการ
1. ปรึกษาการทําโครงการกันภายในกลุ่ม
2. หาข้อมูลเลือกสถานที่ที่จะลงมือปฏิบัติ
3. ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่-สถานที่
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการลงมือปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติ
5. ติดตามการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วย
6. สรุปโครงการ
7. จัดทําเว็บไซด์เผยแพร่ข้อมูล
6. ระยะเวลาดําเนินงาน
เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2558
7. รายละเอียดงบประมาณของโครงการ
ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 120 บาท
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ที่มีความเดือดร้อน
2. ทําให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
3. รู้จักวางแผนการทํางานเป็นกลุ่ม
3
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
หลักการและเหตุผล
ในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรง
เยี่ยมโครงการตามพระราชดําริฯ และทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม มี
คณะแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้ร่วมออกหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อปริการ
ตรวจรักษาให้กับราษฎรที่เจ็บป่ วยเหล่านี้ได้หายจากโรคภัยต่างๆ ส่วนหนึ่งได้รับเข้าไว้เป็นคนไข้ใน
พระราชานุเคราะห์ แต่ยังมีราษฎรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีโอกาสดังกล่าว จึงได้พระราชทานเงินให้โรงพยาบาล
เหล่านั้นไว้สําหรับจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี" ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้โรงพยาบาลมีเงินทุนพอเพียงที่จะสงเคราะห์คนไข้ที่ยากจนได้
การดําเนินงาน
1. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินทุน จํานวนหนึ่งใน
การเริ่มก่อตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรม
ราชกุมารี" แก่ผู้แทนโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง
2. โรงพยาบาลดําเนินการจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี" โดยอนุโลมตามระเบียบราชการพร้อมทั้งกําหนดระเบียบ
วิธีการใช้จ่ายเงิน และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุตามพระราชประสงค์
4
3. ส่งเสริมให้ราษฎร และผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบในกองทุนดังกล่าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ให้การสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากจน ได้อย่างถูกต้องและทันการ
สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
สุขภาพมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆมากมาย ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการณ์และ
แนวโน้มปัญหาสุขภาพของไทยจึงต้องวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ทั้งด้าน
ปัจเจกบุคคล และทางด้านสภาพแวดล้อมทุกมิติที่จะกระทบต่อปัญหาสุขภาพ รวมทั้งตัวระบบบริการ
สุขภาพเอง
ภาพที่ 2.1 ความเชื่อมโยงและพลวัตที่เกี่ยวกับสุขภาพ
5
1.สถานการณ์และแนวโน้มด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในช่วง 3 ทศวรรษก่อน พ.ศ.2540 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7
ต่อปี มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นถึง 28 เท่า โดยเฉพาะมีการเพิ่มอย่างรวดเร็วมากตั้งแต่
ช่วง พ.ศ.2529 เป็นต้นมา แต่นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ทําให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่
เคยเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 กลับเป็นติดลบร้อยละ 1.7 ใน พ.ศ.2540 และติดลบร้อยละ 10.8 ใน พ.ศ.2541
(ภาพที่ 4.2) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตมวลรวมต่อหัว (ภาพ 4.3) ดังนั้น ประเทศไทยได้แก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจด้วยมาตรการทางการเงินและการคลัง ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวเป็นบวกด้วยอัตราร้อยละ
4.2 ใน พ.ศ.2542 เป็นร้อยละ7.1 ใน พ.ศ.2546 และต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลกใน พ.ศ.2551 ทําให้
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบร้อยละ 2.2 ใน พ.ศ.2552 และจะฟื้นตัวเป็น 7.0 ใน พ.ศ.2553 อัน
เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ภาพที่ 2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของประเทศไทย
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ : เป็นข้อมูลประมาณการ
6
ภาพที่ 2.3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ.2503 – พ.ศ.2552 (ราคาตลาด)
ที่มา :สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ :1.เป็นข้อมูลเบื้องต้น เป็นข้อมูลประมาณการ
2.ตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นต้นมามีการปรับข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใหม่
1.2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สัดส่วนของเศรษฐกิจใน
ภาคอุตสาหกรรมและบริการเติบโตเร็วกว่าภาคเกษตรกรรม (ภาพที่ 4.4) โดยตั้งแต่ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา
โครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน
มากนัก
7
ภาพที่ 2.4 สัดส่วนของเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ พ.ศ.2503-พ.ศ. 2552
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ : เป็นข้อมูลเบื้องต้น
1.3 การกระจายรายได้และความยากจน
สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยได้มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 5.70 ใน พ.ศ.2505 เป็นร้อยละ14.7
ในพ.ศ.2539 อันเนื่องมาจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว แต่
หลังจากวิกฤตเศรษฐกินในปีพ.ศ.2540 ทําให้สัดส่วนความยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ14.7 ในพ.ศ.2539 เป็น
ร้อยละ 20.9 ในพ.ศ.2543 และกลับมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.1 ในพ.ศ. 2552 อันเนื่องมาจากการ
ฟิ้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและถึงแม้ว่าความยากจนจะลดลงเป็นลําดับ แต่สัดส่วนคนจนในชนบท
มากกว่าในเขตเมืองถึง 3 เท่า
8
ภาพที่ 2.5 สัดส่วนความยากจนของประเทศไทยวัดจากรายจ่าย พ.ศ.2505-พ.ศ.2552
ที่มา :พ.ศ.2505/ พ.ศ.2506 - พ.ศ.2518/พ.ศ.2519 ได้จาก เอื่อย มีสุข ,Income,Consumption and Poverty
in Thailand,1962/63 to 1975/76.
พ.ศ.2531 -พ.ศ.2552 ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานัก
พัฒนาข้อมูลและตัวชี้ภาวะสังคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ : การศึกษาความภาะวะความยากจนของประเทศในแต่ละช่วงมีความแตกต่างในสมมติฐานของ
การศึกษา
9
ภาพที่ 2.6 ตารางสัดส่วนคนจนวัดจากรายจ่าย จําแนกตามพิ้นที่ พ.ศ.2505-พ.ศ.2552
ที่มา: พ.ศ.2505 /พ.ศ.2506- พ.ศ.2518/ พ.ศ.2519 ได้จาก เอื้อย มีสุข ,Income, Consumption and Poverty
in Thailand,1962/63 to 1975/76
พ.ศ.2531- พ.ศ.2552 ได้จากการสํารวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานัก
พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สํานักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สําหรับการกระจายรายได้ของไทย พบว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกลับขยายกว้างขึ้นมา
โดยตลอดและเมื่อวิกฤตเศรษฐกิจทําให้การกระจายรายได้มีความเหลื่อมลํ้ามากขึ้น กล่าวคือ กลุ่มคนที่จน
ที่สุด 20%มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากร้อยละ 4.2 ใน พ.ศ.2539 เป็นร้อยละ 3.9 ใน พ.ศ.2543 ในขณะที่คน
รวยสุด20% สุดท้ามีรายได้สูงขึ้นจาก56.7เป็น 57.6 ในช่วงเดียวกัน ส่วนใน พ.ศ.2544-พ.ศ.2552 การ
กระจายรายได้มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย
10
ภาพที่ 2.7 ส่วนแบ่งรายได้ของประชาชนชาวไทย แยกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
ที่มา : พ.ศ. 2505-พ.ศ. 2535 ได้จากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2552 ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสํานักงานสถิติ
แห่งชาติ ประมวลผลโดยสํานักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนาและสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัด
ภาวะสังคมสํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.4 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกและภูมิภาค
กระแสโลกาภิวัตน์ ทําให้โลกก้าวเข้าสู่การค้าเสรีและมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มการค้าภูมิภาค เพื่อสร้าง
อํานาจต่อรองเข้าด้วยกัน จึงมีความเคลื่อนไหวในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ไทเข้าร่วม
อยู่ด้วยเช่น AFTA (ASEAN Free Trade Area) ,APEC(Asia Pacific Economic Cooperation), ASEM(Asia-
Europe Meeting) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามเหลี่ยมใต้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม
แม่นํ้าโขง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา แม่โขง ด้านความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ได้แก่
NAFTA(North America Free Trade Area )นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระดับโลกก็เป็นเรื่องข้อตกลงทาง
11
การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นผู้ดูแลอยู่ ทําให้เกิดการเปิดตลาดการค้าเสรีขึ้น
และการแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีมาตรการ
กีดกันทางการค้าที่ไม่ใช้ภาษีเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้ากับประเทศที่กําลังพัฒนา
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทย ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ3.8ของGDP ใน พ.ศ.2523 เป็น
ร้อยละ6.48ของGPD ใน พ.ศ.2551
2. บทบาททั้งภาครัฐ/เอกชน ในการจัดบริการสุขภาพ พบว่าตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่รัฐบาลได้ดําเนิน
นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลให้ผู้ป่วยนอกออกมาใช้บริการภาครัฐเพิ่มขึ้น3เท่า
ในขณะที่ผู้ป่วยในใช้บริการภาครัฐแทบจะไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
3. การกระจายรายได้ที่เหลื่อมลํ้าระหว่างคนรวยและคนจน ทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการ
กระจายทรัพยากรสุขภาพ แม้ว่าทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในการจัดบริการจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหา
ความเหลื่อมลํ้าในการกระจายทรัพยากรยังมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ได้ดูดทรัพยากรบุคคลจากชนบทเข้าสู่เมือง และจากคนจนไปสู่คนรวย ซึ่งความไม่เท่าเทียมดังกล่าว ทํา
ให้กลุ่มด้อยโอกาสในชนบทที่ห่างไกลความเจริญและคนที่อยู่ในชุมชนแออัดมีโอกาสได้รับการดูแล
สุขภาพจากรัฐไม่ทั่วถึง
4.ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปแล้ว แต่ปัญหาสุขภาพจิตก็ยังมี
แนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
5.งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐผันแปรไปตาม
ภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ7.7ของงบประมาณประเทศ ขณะที่ในช่วง
วิกฤตเศรษฐกิจ กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณลดลง จนกระทั่ง ตั้งแต่พ.ศ.2544 เป็นต้นมา
รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้มีการจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพของ
รัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงบดําเนินการจึงทําให้งบประมาณกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขึ้น
6.การเปิดเสรีการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทําให้มีการแข่งขันทางการค้า
ตลอดจนมีการกีดกันทางการค้ามากขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
สุขภาพบางส่วน นอกจากนี้จะส่งผลให้เกิดการยกระดับความร่วมมือในมิติด้านสังคมและสาธารณสุข
12
มากขึ้น เช่นการร่วมมือแก้ไขปัญหาการป้ องกันและควบคุมโรคติดต่อในคนและสัตว์ ซึ่งหากไม่มีการ
เตรียมการรองรับที่ดีก็จะส่งผลกระทบให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคระหว่างประเทศ
ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 572 ถนนแสงชูโตใต้ ตําบลปากแพรก
อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ 60 ไร่ 2 งาน และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร
โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ที่ดินเลขที่ 60
ทิศใต้ ติดต่อกับ ทางหลวงแผ่นดินสายแสงชูโต อ.เมือง - อ.ท่าม่วง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทางส่วนบุคคล , ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทางสาธารณะประโยชน์
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา สร้างขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรี และได้
แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการเรี่ยไร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2493 โดยเชิญชวนข้าราชการ และ
ประชาชนทั่วประเทศ ให้มีส่วนร่วมบริจาคเงินสมทบเพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลและอนุสาวรีย์ ของพลเอก
พระยาพหลพลพยุหเสนา ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีของท่านที่มีต่อประเทศชาติขึ้นที่จังหวัด
กาญจนบุรี โดยใช้ชื่อว่า " โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา " ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทําพิธีเปิดฉลอง เมื่อ
วันที่ 3 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เดิมโรงพยาบาลมีพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะเคยเป็นที่ตั้งของทหาร
ญี่ปุ่น เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งโรงพยาบาลปรับปรุงตกแต่งจนราบเรียบและสวยงาม
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 และได้เริ่มเปิด
ดําเนินการและให้บริการแก่ผู้ป่วย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ขณะนี้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป
ขนาด 440 เตียง เมื่อเริ่มเปิดให้บริการนั้นมีอาคารเพียง 4 หลัง คือ
1. ตึกอํานวยการ จํานวน 1 หลัง
2. ตึกผ่าตัด จํานวน 1 หลัง
3. ตึกเอ็กซเรย์ จํานวน 1 หลัง
4. ตึกคนไข้ จํานวน 2 หลัง
13
บทที่ 3
วิธีการดําเนินงาน
ขั้นตอนการวางแผน
1. ประชุมสมาชิกเพื่อเลือกหัวข้อโครงการ
2. เลือกสถานที่ ที่จะดําเนินโครงการ
3. ติดต่อสถานที่
ขั้นดําเนินงาน
1. เตรียมอุปกรณ์ทํากล่องรับบริจาค
2. ทํากล่องรับบริจาค โดยเริ่มจาก
- นําลังเบียร์ 1 ลัง มาหุ้มด้วยกระดาษสี
- เขียนรายระเอียดโครงการแปะลงบนกล่องรับบริจาค
3. ทําการรับบริจาคจากบุคคลากรใน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ที่มีความสนใจที่จะร่วมบริจาค
4. รวบรวมเงินที่ได้จากการร่วมบริจาค ให้หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล พหลพยุหเสนา
5. สรุปผลการดําเนินงาน
14
บทที่ 4
ผลการดําเนินงาน
จากการรับบริจาคเงินจากคณะครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรี
นครินทร์ กาญจนบุรี ในโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยเพื่อสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้
ยากจน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 4.1 ตารางแสดงจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคในแต่ละวัน
วันที่ จํานวนเงินที่ได้รับบริจาค (บาท)
7 ก.ย. 58 138
8 ก.ย. 58 215
9 ก.ย. 58 109
10 ก.ย. 58 183
11 ก.ย. 58 355
รวม 1000
15
บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผล
สรุปผลการดําเนินงาน
จากการดําเนินงานโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยเพื่อหาเงินบริจาคสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อ
สงเคราะห์คนไข้ยากจน ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาได้เงินบริจาครวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1000 บาท
อภิปรายผลการดําเนินงาน
จากการทําโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยโดยเริ่มจากการสนใจปัญหาของผู้ป่วยที่มีความขาดแคลน
เงินในการรักษาพยาบาล กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย
ที่มีความขาดแคลนนี้ และพบว่ามีกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้เป็นจํานวนมาก เราจึงได้เลือก
กองทุนที่มีอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคือกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในโรงพยาบาล
พหลพลพยุหเสนาซึ่งก็เป็นโรงพยาบาลประจําจังหวัดที่มีผู้มาเข้ามารับการรักษาเป็นจํานวนมาก กลุ่มของ
ข้าพเจ้าได้ทําการทํากล่องรับบริจาคเงินจากคณะครู บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี เป็นระยะเวลา 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน ถึงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.
2558 ซึ่งรวมจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดเป็นจํานวน 1000 บาท กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนําเงินส่วนนี้
ทั้งหมดไปร่วมสมทบทุนในกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ณ โรงพยาบาลพหลพล
พยุหเสนา
16
บรรณานุกรม
สถานการณ์และแนวโน้มต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/THF2010T/ThailandHealthProfile5.pdf. 11
กันยายน 2558
กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.
(ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/THF2010T/ThailandHealthProfile5.pdf. 11
กันยายน 2558
ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:http://www3.phahol.go.th/home/index.php 11 กันยายน 2558
17
ภาคผนวก
ภาพที่ 1 ประชุมโครงการ
ภาพที่ 2 นําเสนอโครงการ
ภาพที่ 3 ดําเนินโครงการ
เตรียมอุปกรณ์สําหรับทํากล่องรับบริจาค
18
ภาพที่ 4 ทํากล่องรับบริจาค
ภาพที่ 5 รับบริจาคเงินจากนักเรียน
ภาพที่ 6 รับบริจาคเงินจากคณะครู
19
ภาพที่ 7 รวบรวมเงินทั้งหมดที่ได้รับบริจาคมา
ภาพที่ 8 นําเงินที่ได้รับบริจาคมาไปมอบให้กับกองทุน
ภาพ PPT นําเสนอโครงการ
20
21
ภาพ PPT สรุปโครงการ
22
23
ภาพเว็บไซด์โครงการ

More Related Content

What's hot

การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัว
การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัวการประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัว
การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัวsingha_koy
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)Iam Champooh
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาSophinyaDara
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำBengelo
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์พัน พัน
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดพัน พัน
 
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษา
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษาResume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษา
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษาMontree Dangreung
 
โครงการแต้มสีเติมฝัน
โครงการแต้มสีเติมฝันโครงการแต้มสีเติมฝัน
โครงการแต้มสีเติมฝันพัน พัน
 
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยSAKANAN ANANTASOOK
 
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้มmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ชาตะไคร้
ชาตะไคร้ชาตะไคร้
ชาตะไคร้Theyok Tanya
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พัน พัน
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดพัน พัน
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้Sompop Petkleang
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานnook868640
 

What's hot (20)

การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัว
การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัวการประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัว
การประเมิน ตอนที่ ๑ ประวัติส่วนตัว
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
 
2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ2557 โครงงานน้ำ
2557 โครงงานน้ำ
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
รายงานเชิงวิชาการสีย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
รายงานเชิงวิชาการสีย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดรายงานเชิงวิชาการสีย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
รายงานเชิงวิชาการสีย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
 
โครงการ เยี่ยมบ้าน
โครงการ     เยี่ยมบ้านโครงการ     เยี่ยมบ้าน
โครงการ เยี่ยมบ้าน
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษา
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษาResume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษา
Resume ประวัติส่วนตัว ครูพลศึกษา
 
โครงการแต้มสีเติมฝัน
โครงการแต้มสีเติมฝันโครงการแต้มสีเติมฝัน
โครงการแต้มสีเติมฝัน
 
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
 
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม
12 โครงการค่ายอาสาแบ่งปันรอยยิ้ม
 
ชาตะไคร้
ชาตะไคร้ชาตะไคร้
ชาตะไคร้
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติด
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 

Viewers also liked

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004Utai Sukviwatsirikul
 
รูปแบบโครงการ
รูปแบบโครงการรูปแบบโครงการ
รูปแบบโครงการskiats
 
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนMint NutniCha
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยNook Kanokwan
 
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลัก
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลักตัวอย่างการเขียนโครงการหลัก
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลักAlongkorn WP
 
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)Kannicha Ponjidasin
 

Viewers also liked (6)

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก ระดับ รพ.ชุมชน 2004
 
รูปแบบโครงการ
รูปแบบโครงการรูปแบบโครงการ
รูปแบบโครงการ
 
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
7 3 การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
 
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลัก
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลักตัวอย่างการเขียนโครงการหลัก
ตัวอย่างการเขียนโครงการหลัก
 
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย ([บทที่ 1-3)
 

Similar to โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย

punnamjai Present updates
punnamjai Present updatespunnamjai Present updates
punnamjai Present updatesSireetorn Phan
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้Kannicha Ponjidasin
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้Kannicha Ponjidasin
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้Kannicha Ponjidasin
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canadasoftganz
 
เรื่อง การดูแลสุขภาพร่างกาย11
เรื่อง  การดูแลสุขภาพร่างกาย11เรื่อง  การดูแลสุขภาพร่างกาย11
เรื่อง การดูแลสุขภาพร่างกาย11wichien wongwan
 
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพtassanee chaicharoen
 
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพtassanee chaicharoen
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdfปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf60919
 
รายการข่าว
รายการข่าวรายการข่าว
รายการข่าวWichuta Junkhaw
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นNamfon fon
 
อ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนอ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนNooa Love
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Vida Yosita
 

Similar to โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย (20)

punnamjai Present updates
punnamjai Present updatespunnamjai Present updates
punnamjai Present updates
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
 
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
ปั่นน้ำใจให้ผู้ป่วยยากไร้
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canada
 
เรื่อง การดูแลสุขภาพร่างกาย11
เรื่อง  การดูแลสุขภาพร่างกาย11เรื่อง  การดูแลสุขภาพร่างกาย11
เรื่อง การดูแลสุขภาพร่างกาย11
 
Summary tl2019
Summary tl2019Summary tl2019
Summary tl2019
 
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdfปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย+ศูนย์อนามัยที่+5.pdf
 
รายการข่าว
รายการข่าวรายการข่าว
รายการข่าว
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
 
Alter medpart2 n
Alter medpart2 n Alter medpart2 n
Alter medpart2 n
 
อ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนอ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อน
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 

โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย

  • 1. โครงการ เรื่อง ปันนํ้าใจให้ผู้ป่ วย จัดทําโดย นายชัยวัฒน์ พลอยงาม เลขที่ 2 นายปิยเชษฐ์ มีความเจริญ เลขที่ 4 นางสาวจุติมา ประชาฉาย เลขที่ 22 นางสาวกัญณิฌา พรจิดาศิล เลขที่ 25 นางสาวภิญาดา เพ็ชรชาลี เลขที่ 27 นางสาวสิรีธร ขวัญอ่อน เลขที่ 29 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เสนอ ครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา วิชา IS3 (I3 0903) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
  • 2. ก เกี่ยวกับโครงการ เรื่องโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ IS3 ผู้จัดทํา 1. นายชัยวัฒน์ พลอยงาม เลขที่ 2 2. นายปิยเชษฐ์ มีความเจริญ เลขที่ 4 3. นางสาวจุติมา ประชาฉาย เลขที่ 22 4. นางสาวกัญณิฌา พรจิดาศิล เลขที่ 25 5. นางสาวภิญาดา เพ็ชรชาลี เลขที่ 27 6. นางสาวสิรีธร ขวัญอ่อน เลขที่ 29 ครูที่ปรึกษา ครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ปีการศึกษา 2558
  • 3. ข คํานํา ประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีประชากรอยู่เป็นจํานวนมาก การใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นก็คลุกคลีอยู่กับ มลภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ทําให้ประเทศไทยของเรามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆอยู่มาก ซึ่งก็มี ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับการรับการรักษาพยาบาลอยู่ เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์และยังมีภาระหน้าที่ อื่นๆที่ต้องรับผิดชอบ บางโรคก็ต้องใช้เงินในการรักษาเป็นจํานวนมาก ทําให้ผู้ป่วยขาดโอกาสในการรักษา ไป จึงมีหน่วยงานต่างๆทั้งของภาครัฐและเอกชนที่จัดตั้งโครงการและกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ เหล่านี้ให้ได้รับการรักษา กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทําโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความ เดือดร้อนและเพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มของข้าพเจ้าหวังว่าโครงการนี้ คงจะมีประโยชน์ให้กับ สังคมไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทํา
  • 4. ค กิตติกรรมประกาศ ในการจัดทําโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยฉบับนี้สําเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่อาจจะนํามากล่าวได้ทั้งหมด ซึ่งผู้มีพระคุณที่คณะผู้จัดทําใคร่ขอกราบพระคุณคือ ท่านผู้อํานวยการ โอภาส เจริญเชื้อ ที่ช่วยอํานวยสถานที่ในการรับเงินบริจาค คุณครูทรงศักดิ์ โพธิ์เอี่ยม ครูผู้สอนที่ได้ให้ ความรู้ คําแนะนําตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียน โครงการฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด คุณครูอัมพร หวานใจ ที่ช่วยให้คําแนะนําในส่วนของรูปแบบการทําโครงการ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จัดตั้งกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์ คนไข้ยากจนนี้ขึ้นมาทําให้คณะผู้จัดทําได้ร่วมสมทบทุนกองทุนนี้ คุณพ่อจอมพล เพ็ชรชาลี และ คุณแม่ วาสนา เพ็ชรชาลี ที่ช่วยสนับสนุนในด้านการติดต่อและจัดหาสถานที่ในการทําโครงการเป็นอย่างดี คุณนํ้า ทิพย์ นาคพยนต์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ที่ดําเนินการรับเงินบริจาคจากโครงการไปสมทบทุนกับกองทุน พระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา คณะผู้จัดทําใคร่ขอกราบ ขอบพระคุณเป็นอย่าสูง ไว้ณ โอกาส นี้ นอกจากนี้ คณะผู้จัดทําใคร่ขอขอบคุณผู้ปกครองของสามชิกในกลุ่มทุกคน รวมทั้งคณะครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ทุกคนที่ร่วมบริจาคเงิน สมทบทุนโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วย จึงทําให้โครงการฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทํา
  • 5. สารบัญ เนื้อหา หน้า เกี่ยวกับโครงการ ก คํานํา ข กิตติกรรมประกาศ ค บทที่ 1 โครงการ 1 หลักการและเหตุผล 1 การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โครงการ 1 วัตถุประสงค์ของโครงการ 2 สถานที่ดําเนินการ 2 วิธีการดําเนินการ 2 รายละเอียดงบประมาณของโครงการ 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 3 สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 4 ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 12 บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน ขั้นตอนการวางแผน 13 ขั้นดําเนินงาน 13 บทที่ 4 ผลการดําเนินงาน 14 บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผล สรุปผลการดําเนินงาน 15
  • 7. สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า ภาพที่ 2.1 ความเชื่อมโยงและพลวัตที่เกี่ยวกับสุขภาพ 4 ภาพที่ 2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของประเทศไทย 5 ภาพที่ 2.3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ.2503 – พ.ศ.2552 (ราคาตลาด) 6 ภาพที่ 2.4 สัดส่วนของเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ พ.ศ.2503-พ.ศ. 2552 7 ภาพที่ 2.5 สัดส่วนความยากจนของประเทศไทยวัดจากรายจ่าย พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 8 ภาพที่ 2.6 ตารางสัดส่วนคนจนวัดจากรายจ่าย จําแนกตามพิ้นที่ พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 9 ภาพที่ 2.7 ส่วนแบ่งรายได้ของประชาชนชาวไทย แยกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 10
  • 8. สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 4.1 ตารางแสดงจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคในแต่ละวัน 14
  • 9. 1 บทที่ 1 โครงการ 1. หลักการและเหตุผล เราทุกคนต่างทราบว่าเรื่องเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขหรือชีวิตความเป็นอยู่ด้านสุขภาพของมนุษย์มี ความจําเป็น เช่นเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบาย เกิดอุบัติเหตุหรืออื่น ๆ เราจําเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา ทางการแพทย์เพื่อให้รอดพ้นจากโรคภัยนั้นๆและอยู่อย่างมีสุขภาพที่ดี และจากที่มีผู้ปกครองของสมาชิกใน กลุ่มได้ทํางานอยู่ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาได้เห็นถึงว่ามีผู้ที่ขัดสนในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลอยู่ จํานวนไม่น้อย ทําให้ขาดโอกาสในการรักษาเช่น ชาวบ้านบางรายไม่ได้มีรายได้สูงและจําเป็นต้องใช้เงินใน เรื่องอื่น ๆ บ้างต้องส่งลูกเรียนหรือบ้างมีบ้านอยู่ไกลต้องใช้เงินในการเดินทางหรือเดินทางลําบาก จึงเลี่ยงที่ จะนําเงินมารักษาตนไปใช้สอยกับบุคคลรอบข้าง จึงขาดโอกาสในการรับการรักษาไป ทางโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาก็มีการจัดตั้งกองทุนสังคมสงเคราะห์ขึ้นทําให้คณะผู้จัดทํา อยากมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งในโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขัดสนค่ารักษาพยาบาล จึงได้ทํา กิจกรรมร่วมรับบริจาคจากผู้ที่สนใจและอยากร่วมช่วยเหลือโดยการนําเสนอข้อมูลของโครงการสังคม สงเคราะห์ 2. การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โครงการ 1. ความพอประมาณ คือ การเลือกช่วยผู้ป่วยเป็นบางรายที่เราสามารถช่วยเหลือได้ 2. ความมีเหตุผล คือการร่วมรับบริจาคในครั้งนี้ เราเลือกรับบริจาคให้กับโรงพยาบาลประจําจังหวัด ซึ่งมีผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาเป็นจํานวนมาก 3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีคือไม่ตั้งเป้ าหมายจํานวนผู้ป่วยที่จะช่วยเหลือเกินกําลังที่เราจะช่วยได้ เงื่อนไข 1. เงื่อนไขความรู้ ใช้ความรู้ความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้คนทั่วไปร่วมกันบริจาคเงิน ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนค่ารักษาพยาบาล 2. เงื่อนไขคุณธรรมให้สมาชิกในกลุ่มรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและได้ตระหนักว่าเงินจํานวนเล็กน้อยที่เรา รับบริจาคมาสามารถช่วยเหลือคนอื่นให้บรรเทาความเดือดร้อนได้
  • 10. 2 3. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อนําเงินที่ได้รับบริจาคไปช่วยสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน 2. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ 4. สถานที่ดําเนินการ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 5. วิธีการดําเนินการ 1. ปรึกษาการทําโครงการกันภายในกลุ่ม 2. หาข้อมูลเลือกสถานที่ที่จะลงมือปฏิบัติ 3. ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่-สถานที่ 4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการลงมือปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติ 5. ติดตามการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วย 6. สรุปโครงการ 7. จัดทําเว็บไซด์เผยแพร่ข้อมูล 6. ระยะเวลาดําเนินงาน เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2558 7. รายละเอียดงบประมาณของโครงการ ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 120 บาท 8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ที่มีความเดือดร้อน 2. ทําให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 3. รู้จักวางแผนการทํางานเป็นกลุ่ม
  • 11. 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หลักการและเหตุผล ในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรง เยี่ยมโครงการตามพระราชดําริฯ และทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม มี คณะแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้ร่วมออกหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อปริการ ตรวจรักษาให้กับราษฎรที่เจ็บป่ วยเหล่านี้ได้หายจากโรคภัยต่างๆ ส่วนหนึ่งได้รับเข้าไว้เป็นคนไข้ใน พระราชานุเคราะห์ แต่ยังมีราษฎรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีโอกาสดังกล่าว จึงได้พระราชทานเงินให้โรงพยาบาล เหล่านั้นไว้สําหรับจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้โรงพยาบาลมีเงินทุนพอเพียงที่จะสงเคราะห์คนไข้ที่ยากจนได้ การดําเนินงาน 1. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินทุน จํานวนหนึ่งใน การเริ่มก่อตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรม ราชกุมารี" แก่ผู้แทนโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง 2. โรงพยาบาลดําเนินการจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี" โดยอนุโลมตามระเบียบราชการพร้อมทั้งกําหนดระเบียบ วิธีการใช้จ่ายเงิน และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุตามพระราชประสงค์
  • 12. 4 3. ส่งเสริมให้ราษฎร และผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบในกองทุนดังกล่าว ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้การสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากจน ได้อย่างถูกต้องและทันการ สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สุขภาพมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆมากมาย ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการณ์และ แนวโน้มปัญหาสุขภาพของไทยจึงต้องวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ทั้งด้าน ปัจเจกบุคคล และทางด้านสภาพแวดล้อมทุกมิติที่จะกระทบต่อปัญหาสุขภาพ รวมทั้งตัวระบบบริการ สุขภาพเอง ภาพที่ 2.1 ความเชื่อมโยงและพลวัตที่เกี่ยวกับสุขภาพ
  • 13. 5 1.สถานการณ์และแนวโน้มด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 1.1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วง 3 ทศวรรษก่อน พ.ศ.2540 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 ต่อปี มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นถึง 28 เท่า โดยเฉพาะมีการเพิ่มอย่างรวดเร็วมากตั้งแต่ ช่วง พ.ศ.2529 เป็นต้นมา แต่นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ทําให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ เคยเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 กลับเป็นติดลบร้อยละ 1.7 ใน พ.ศ.2540 และติดลบร้อยละ 10.8 ใน พ.ศ.2541 (ภาพที่ 4.2) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตมวลรวมต่อหัว (ภาพ 4.3) ดังนั้น ประเทศไทยได้แก้ไขปัญหา เศรษฐกิจด้วยมาตรการทางการเงินและการคลัง ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวเป็นบวกด้วยอัตราร้อยละ 4.2 ใน พ.ศ.2542 เป็นร้อยละ7.1 ใน พ.ศ.2546 และต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลกใน พ.ศ.2551 ทําให้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบร้อยละ 2.2 ใน พ.ศ.2552 และจะฟื้นตัวเป็น 7.0 ใน พ.ศ.2553 อัน เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ภาพที่ 2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของประเทศไทย ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ : เป็นข้อมูลประมาณการ
  • 14. 6 ภาพที่ 2.3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยเฉลี่ยต่อหัว พ.ศ.2503 – พ.ศ.2552 (ราคาตลาด) ที่มา :สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ :1.เป็นข้อมูลเบื้องต้น เป็นข้อมูลประมาณการ 2.ตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นต้นมามีการปรับข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใหม่ 1.2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สัดส่วนของเศรษฐกิจใน ภาคอุตสาหกรรมและบริการเติบโตเร็วกว่าภาคเกษตรกรรม (ภาพที่ 4.4) โดยตั้งแต่ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา โครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน มากนัก
  • 15. 7 ภาพที่ 2.4 สัดส่วนของเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ พ.ศ.2503-พ.ศ. 2552 ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ : เป็นข้อมูลเบื้องต้น 1.3 การกระจายรายได้และความยากจน สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยได้มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 5.70 ใน พ.ศ.2505 เป็นร้อยละ14.7 ในพ.ศ.2539 อันเนื่องมาจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ หลังจากวิกฤตเศรษฐกินในปีพ.ศ.2540 ทําให้สัดส่วนความยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ14.7 ในพ.ศ.2539 เป็น ร้อยละ 20.9 ในพ.ศ.2543 และกลับมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.1 ในพ.ศ. 2552 อันเนื่องมาจากการ ฟิ้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและถึงแม้ว่าความยากจนจะลดลงเป็นลําดับ แต่สัดส่วนคนจนในชนบท มากกว่าในเขตเมืองถึง 3 เท่า
  • 16. 8 ภาพที่ 2.5 สัดส่วนความยากจนของประเทศไทยวัดจากรายจ่าย พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 ที่มา :พ.ศ.2505/ พ.ศ.2506 - พ.ศ.2518/พ.ศ.2519 ได้จาก เอื่อย มีสุข ,Income,Consumption and Poverty in Thailand,1962/63 to 1975/76. พ.ศ.2531 -พ.ศ.2552 ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานัก พัฒนาข้อมูลและตัวชี้ภาวะสังคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ : การศึกษาความภาะวะความยากจนของประเทศในแต่ละช่วงมีความแตกต่างในสมมติฐานของ การศึกษา
  • 17. 9 ภาพที่ 2.6 ตารางสัดส่วนคนจนวัดจากรายจ่าย จําแนกตามพิ้นที่ พ.ศ.2505-พ.ศ.2552 ที่มา: พ.ศ.2505 /พ.ศ.2506- พ.ศ.2518/ พ.ศ.2519 ได้จาก เอื้อย มีสุข ,Income, Consumption and Poverty in Thailand,1962/63 to 1975/76 พ.ศ.2531- พ.ศ.2552 ได้จากการสํารวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานัก พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สํานักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สําหรับการกระจายรายได้ของไทย พบว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกลับขยายกว้างขึ้นมา โดยตลอดและเมื่อวิกฤตเศรษฐกิจทําให้การกระจายรายได้มีความเหลื่อมลํ้ามากขึ้น กล่าวคือ กลุ่มคนที่จน ที่สุด 20%มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากร้อยละ 4.2 ใน พ.ศ.2539 เป็นร้อยละ 3.9 ใน พ.ศ.2543 ในขณะที่คน รวยสุด20% สุดท้ามีรายได้สูงขึ้นจาก56.7เป็น 57.6 ในช่วงเดียวกัน ส่วนใน พ.ศ.2544-พ.ศ.2552 การ กระจายรายได้มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย
  • 18. 10 ภาพที่ 2.7 ส่วนแบ่งรายได้ของประชาชนชาวไทย แยกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ ที่มา : พ.ศ. 2505-พ.ศ. 2535 ได้จากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2552 ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสํานักงานสถิติ แห่งชาติ ประมวลผลโดยสํานักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนาและสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัด ภาวะสังคมสํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1.4 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกและภูมิภาค กระแสโลกาภิวัตน์ ทําให้โลกก้าวเข้าสู่การค้าเสรีและมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มการค้าภูมิภาค เพื่อสร้าง อํานาจต่อรองเข้าด้วยกัน จึงมีความเคลื่อนไหวในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ไทเข้าร่วม อยู่ด้วยเช่น AFTA (ASEAN Free Trade Area) ,APEC(Asia Pacific Economic Cooperation), ASEM(Asia- Europe Meeting) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามเหลี่ยมใต้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่นํ้าโขง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา แม่โขง ด้านความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ได้แก่ NAFTA(North America Free Trade Area )นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระดับโลกก็เป็นเรื่องข้อตกลงทาง
  • 19. 11 การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นผู้ดูแลอยู่ ทําให้เกิดการเปิดตลาดการค้าเสรีขึ้น และการแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีมาตรการ กีดกันทางการค้าที่ไม่ใช้ภาษีเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้ากับประเทศที่กําลังพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทย ดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ3.8ของGDP ใน พ.ศ.2523 เป็น ร้อยละ6.48ของGPD ใน พ.ศ.2551 2. บทบาททั้งภาครัฐ/เอกชน ในการจัดบริการสุขภาพ พบว่าตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่รัฐบาลได้ดําเนิน นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลให้ผู้ป่วยนอกออกมาใช้บริการภาครัฐเพิ่มขึ้น3เท่า ในขณะที่ผู้ป่วยในใช้บริการภาครัฐแทบจะไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง 3. การกระจายรายได้ที่เหลื่อมลํ้าระหว่างคนรวยและคนจน ทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการ กระจายทรัพยากรสุขภาพ แม้ว่าทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในการจัดบริการจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหา ความเหลื่อมลํ้าในการกระจายทรัพยากรยังมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ดูดทรัพยากรบุคคลจากชนบทเข้าสู่เมือง และจากคนจนไปสู่คนรวย ซึ่งความไม่เท่าเทียมดังกล่าว ทํา ให้กลุ่มด้อยโอกาสในชนบทที่ห่างไกลความเจริญและคนที่อยู่ในชุมชนแออัดมีโอกาสได้รับการดูแล สุขภาพจากรัฐไม่ทั่วถึง 4.ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปแล้ว แต่ปัญหาสุขภาพจิตก็ยังมี แนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 5.งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐผันแปรไปตาม ภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่งบประมาณด้านสุขภาพของรัฐจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ7.7ของงบประมาณประเทศ ขณะที่ในช่วง วิกฤตเศรษฐกิจ กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณลดลง จนกระทั่ง ตั้งแต่พ.ศ.2544 เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้มีการจัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพของ รัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงบดําเนินการจึงทําให้งบประมาณกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขึ้น 6.การเปิดเสรีการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทําให้มีการแข่งขันทางการค้า ตลอดจนมีการกีดกันทางการค้ามากขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ สุขภาพบางส่วน นอกจากนี้จะส่งผลให้เกิดการยกระดับความร่วมมือในมิติด้านสังคมและสาธารณสุข
  • 20. 12 มากขึ้น เช่นการร่วมมือแก้ไขปัญหาการป้ องกันและควบคุมโรคติดต่อในคนและสัตว์ ซึ่งหากไม่มีการ เตรียมการรองรับที่ดีก็จะส่งผลกระทบให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคระหว่างประเทศ ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 572 ถนนแสงชูโตใต้ ตําบลปากแพรก อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ 60 ไร่ 2 งาน และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ที่ดินเลขที่ 60 ทิศใต้ ติดต่อกับ ทางหลวงแผ่นดินสายแสงชูโต อ.เมือง - อ.ท่าม่วง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทางส่วนบุคคล , ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทางสาธารณะประโยชน์ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา สร้างขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรี และได้ แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการเรี่ยไร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2493 โดยเชิญชวนข้าราชการ และ ประชาชนทั่วประเทศ ให้มีส่วนร่วมบริจาคเงินสมทบเพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลและอนุสาวรีย์ ของพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีของท่านที่มีต่อประเทศชาติขึ้นที่จังหวัด กาญจนบุรี โดยใช้ชื่อว่า " โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา " ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทําพิธีเปิดฉลอง เมื่อ วันที่ 3 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เดิมโรงพยาบาลมีพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะเคยเป็นที่ตั้งของทหาร ญี่ปุ่น เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งโรงพยาบาลปรับปรุงตกแต่งจนราบเรียบและสวยงาม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 และได้เริ่มเปิด ดําเนินการและให้บริการแก่ผู้ป่วย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ขณะนี้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 440 เตียง เมื่อเริ่มเปิดให้บริการนั้นมีอาคารเพียง 4 หลัง คือ 1. ตึกอํานวยการ จํานวน 1 หลัง 2. ตึกผ่าตัด จํานวน 1 หลัง 3. ตึกเอ็กซเรย์ จํานวน 1 หลัง 4. ตึกคนไข้ จํานวน 2 หลัง
  • 21. 13 บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน ขั้นตอนการวางแผน 1. ประชุมสมาชิกเพื่อเลือกหัวข้อโครงการ 2. เลือกสถานที่ ที่จะดําเนินโครงการ 3. ติดต่อสถานที่ ขั้นดําเนินงาน 1. เตรียมอุปกรณ์ทํากล่องรับบริจาค 2. ทํากล่องรับบริจาค โดยเริ่มจาก - นําลังเบียร์ 1 ลัง มาหุ้มด้วยกระดาษสี - เขียนรายระเอียดโครงการแปะลงบนกล่องรับบริจาค 3. ทําการรับบริจาคจากบุคคลากรใน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ที่มีความสนใจที่จะร่วมบริจาค 4. รวบรวมเงินที่ได้จากการร่วมบริจาค ให้หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล พหลพยุหเสนา 5. สรุปผลการดําเนินงาน
  • 22. 14 บทที่ 4 ผลการดําเนินงาน จากการรับบริจาคเงินจากคณะครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรี นครินทร์ กาญจนบุรี ในโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยเพื่อสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ ยากจน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 4.1 ตารางแสดงจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคในแต่ละวัน วันที่ จํานวนเงินที่ได้รับบริจาค (บาท) 7 ก.ย. 58 138 8 ก.ย. 58 215 9 ก.ย. 58 109 10 ก.ย. 58 183 11 ก.ย. 58 355 รวม 1000
  • 23. 15 บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผล สรุปผลการดําเนินงาน จากการดําเนินงานโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยเพื่อหาเงินบริจาคสมทบทุนกองทุนพระราชทานเพื่อ สงเคราะห์คนไข้ยากจน ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาได้เงินบริจาครวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1000 บาท อภิปรายผลการดําเนินงาน จากการทําโครงการปันนํ้าใจให้ผู้ป่วยโดยเริ่มจากการสนใจปัญหาของผู้ป่วยที่มีความขาดแคลน เงินในการรักษาพยาบาล กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ที่มีความขาดแคลนนี้ และพบว่ามีกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้เป็นจํานวนมาก เราจึงได้เลือก กองทุนที่มีอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคือกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในโรงพยาบาล พหลพลพยุหเสนาซึ่งก็เป็นโรงพยาบาลประจําจังหวัดที่มีผู้มาเข้ามารับการรักษาเป็นจํานวนมาก กลุ่มของ ข้าพเจ้าได้ทําการทํากล่องรับบริจาคเงินจากคณะครู บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี เป็นระยะเวลา 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน ถึงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมจํานวนเงินที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดเป็นจํานวน 1000 บาท กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนําเงินส่วนนี้ ทั้งหมดไปร่วมสมทบทุนในกองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ณ โรงพยาบาลพหลพล พยุหเสนา
  • 24. 16 บรรณานุกรม สถานการณ์และแนวโน้มต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ.(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/THF2010T/ThailandHealthProfile5.pdf. 11 กันยายน 2558 กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/THF2010T/ThailandHealthProfile5.pdf. 11 กันยายน 2558 ประวัติโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:http://www3.phahol.go.th/home/index.php 11 กันยายน 2558
  • 25. 17 ภาคผนวก ภาพที่ 1 ประชุมโครงการ ภาพที่ 2 นําเสนอโครงการ ภาพที่ 3 ดําเนินโครงการ เตรียมอุปกรณ์สําหรับทํากล่องรับบริจาค
  • 26. 18 ภาพที่ 4 ทํากล่องรับบริจาค ภาพที่ 5 รับบริจาคเงินจากนักเรียน ภาพที่ 6 รับบริจาคเงินจากคณะครู
  • 27. 19 ภาพที่ 7 รวบรวมเงินทั้งหมดที่ได้รับบริจาคมา ภาพที่ 8 นําเงินที่ได้รับบริจาคมาไปมอบให้กับกองทุน ภาพ PPT นําเสนอโครงการ
  • 28. 20
  • 30. 22