Luangpoo rian

MI
MImedia at MI
ผู้สั่งสมบุญกุศล ผู้มีศีลธรรมอันดีงาม
แม้ว่าไปเกิดอุปสรรคความขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา
แล้วผู้นั้นอธิษฐานจิตถึงบุญถึงคุณที่ตนบาเพ็ญมา
หากบุญคุณของตนที่บาเพ็ญมามันมากพอ
มันก็จะไปดลจิตดลใจของเทวดาอินทร์พรหมให้ล่วงรู้ว่า
โอ้คนมีบุญผู้นี้กาลังประสบอุปสรรคขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
เราจาเป็นต้องลงไปช่วย ไม่ใช่เทวดาก็พญาอินทร์
ไม่ใช่ก็ท้าวมหาพรหมลงมาช่วย
มาช่วยแก้ไขอุปสรรคของผู้นั้นให้ลุล่วงไปด้วยดี
ผู้นั้นก็ถึงซึ่งความสุข ความเจริญ
นี่การที่เทวดาอินทร์ พรหมจะช่วยมนุษย์เราน่ะ
มนุษย์เราต้องช่วยตนเองให้เต็มที่เสียก่อน
ต้องสั่งสมบุญให้มากซะก่อน"
เราจะพึ่งคนอื่นไม่ได้
ตายเราก็ตายคนเดียว
ไม่มีใครมาช่วยตายด้วยเลย
คิดถึงความตายอย่างนี้
เมื่อเวลาความตายมาถึง..
ใครก็ช่วยไม่ได้
ญาติพี่น้องนั่งห้อมล้อมอยู่เต็มก็ช่วยไม่ได้เลย
มีแต่ตัวเองเท่านั้นแหล่ะ
ที่ช่วยประคองจิตใจตัวเองให้ตั้งมั่นอยู่
ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
ไปเกาะไปข้องอยู่ที่ต่างๆในโลกนี้
ไ่ม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ ปล่อยวางความอาลัย
ความเกี่ยวข้องทั้งหมดลงไป
นี่เรียกว่า
จะต้องฝึกตายเสียตั้งแต่ก่อนตาย
เมตตานี้จะต ้องให ้ยุติธรรม
ต ้องหวังให ้คนทั้งหลาย
ทั้งที่เป็ นมิตร ทั้งที่เป็ นศัตรู
วางจิตให ้เป็นกลางต่อคนสองจาพวกนี้
เราต ้องการให ้คนสองจาพวกเป็นสุขทั่วหน้ากัน
หลวงปู่ เหรียญ วรลาโภ
ก็เรานั่งภาวนา ก็หัดตายนั่นแหล่ะ
ตายที่เราไม่เอาอะไร
จิตใจหยุดคิดเลย หยุดปรุงแต่ง
เราอยากได้อันนั้น อยากได้อันนี้
ก็ไม่ให้มันมีเลย
สมมติว่าเราตายจากโลกอันนี้แล้ว
จิตมันหยุดคิดแล้วมันก็เหมือนกับว่า
ตายจากโลกนี้นั่นเอง
ให้ทาในใจอย่างนี้ มันจึงจะไม่สะดุ้งหวาดกลัว
เมื่อเวลาความตายมาถึงเข้า
ต้องเจริญความตายนี่บ่อยๆ
บางคนเขาก็ว่า
การนึกถึงความตายนี่
อายุมันจะสั้นเข้า
จะตายเร็ว
ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก...
บางคนก็เข้าใจผิดนะ คิดว่าเมื่อรู้แจ้งรู้เท่าตามเป็นจริงแล้ว
จะไม่ได้สัมผัสกับความทุกข์เสียเลย..
จิตที่ไม่ได้สัมผัสกับความทุกข์นั่นน่ะ
มีแต่จิตเข้านิโรธสมาบัติโน่น..
แต่ว่าท่านผู้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาได้แล้ว
ท่านก็ไม่เป็นทุกข์อย่างนี้นะ
ให้เข้าใจ รู้ทุกข์อยู่นั่นแหละ แต่ว่าจิตใจไม่เป็นทุกข์
ไม่กระวนกระวาย ไม่หวั่นไหว อดได้ทนได้
มีสติ รู้เท่าอยู่ตามธรรมดา
มีปัญญารู้แจ้งในขันธ์ ๕ ตามเป็นจริงอยู่
รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้มันแปรปรวน มันกาลังจะแตกจะดับ
ไม่ใช่เราแปรปรวน ไม่ใช่เราแตกเราดับ
เราไม่มีอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีอยู่ในเรา
ก็ต้องใช้ปัญญาสอนจิตอย่างนี้
มันเป็นความจริงนะ เรียกว่าสอนความจริง
ไม่ใช่ปั้นเรื่องเอาน่ะ
สตินี่ถ้าจะเปรียบแล้ว ก็เหมือนกับนายประตู
รักษาพระราชาอยู่ในพระราชวัง
ใครไปใครมา นายประตูนั้นต้องตรวจ ต้องรู้ทั้งนั้น
ถ้าเป็นคนไม่ดีก็ไม่ให้เข้า ถ้าเป็นคนดีก็ให้เข้าไป
อันสตินี้ก็เป็นเช่นนั้นแหละ คอยระวังรักษาจิตอยู่..
เพราะฉะนั้นสตินี้มันจาเป็นจริงๆ เราต้องใช้
เรียกว่าสตินี้บาเพ็ญเจริญให้มากเท่าไรยิ่งดี
แต่ว่าคุณธรรมอื่นๆ นั้น ถ้าเจริญมากเกินไปมันเสีย
อย่างสมาธิอย่างนี้ หากไปทาแต่สมาธิสงบอยู่นั่นแหละ
หน่อยหนึ่งก็เกิดความง่วงเหงาหาวนอน แล้วปัญญาก็ไม่มี
อย่างนั้นเรียกว่าสมาธิมันมากเกินไป
ดีชั่วมีจริง...จริงโดยสมมติ
มันปฏิเสธไม่ได้ มีอยู่
แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเฝ้าฝึกจิตใจ
ไม่ให้ไปยึดเอาดีเอาชั่วนั้นมาเป็นของตัว
เพราะมันเป็นของไม่เที่ยง ..
ทรงสอนให้ปล่อยวาง
ตาได้เห็นรูปก็สักแต่ว่าได้เห็น
หูได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยินเสียง เป็นต้น
อย่างนี้น่ะ ทาความรู้อย่างนี้ในใจ
สักแต่ว่าทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงเรื่องจังอะไร
"เราไม่กลัวใคร ใครด่ามาเราก็ต้องด่าตอบ ใครตีมาเราก็ตีตอบ"
"เราไม่กลัวใคร" ไอ้ความนึกคิดอย่างนี้ ท่านเรียกว่า "ทิฏฐิมานะ"
ความเห็นว่ามีตัวมีตน มีเรามีเขา
มันทาให้จิตกระด้างกระเดื่อง
ไม่ยอมสละสิ่งที่ชั่วร้ายออกจากจิตใจ..
ไม่วางตนให้เป็นไปตามคาสอนของพระพุทธเจ้า..
ประพฤติไปตามอานาจของมานะทิฏฐิ
มันก็ได้ทะเลาะวิวาทกันอยู่วันยันค่าอย่างนั้นแหละ ..
การฝึกใจให้หนักแน่นให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญในกุศล
ตั้งมั่นอยู่ในสติในปัญญานี้นะ จึงชื่อว่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคน
ผู้ต้องการความสุขอันเป็นแก่นสาร ผู้เบื่อหน่ายต่อความทุกข์
เราจะต้องพยายามฝึกจิตใจนี้ให้หนักแน่น ให้มีที่พึ่งอันมั่นคงไว้
เมื่อเวลาความตายมาถึงเข้า จิตใจนี้ก็จะไม่ได้หลงไม่ได้ลืมตัว
มันจะไม่หวั่นไหวไปตามทุกขเวทนาต่างๆนั้น
มันจะนึกถึงความดีได้
นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้
นึกถึงบุญกุศลที่ทามาได้..
.ถ้าผู้ใดตามจิตตัวเองตามรู้จิตใจตัวเองไปเสมออย่างนี้แล้ว
กิริยาอาการของจิตมันผิดปกติไปขณะไหนก็รู้ได้ขณะนั้นอย่างนี้นั่นละ
มันจึงมีทางรักษาสมาธิให้สม่าเสมอไปได้.
อุบายวิธีฝึกจิตนะ มันสาคัญแท้ๆ เรื่องการรักษาสมาธิจิตไว้ให้ได้นี่นะ
เมื่อรักษาสมาธิจิตไว้ได้แล้ว ปัญญานั้นมันก็มีอยู่ประจา อยู่กับจิตเสมอไป
ความรู้ในการเจริญวิปัสสนานี้ พระศาสดาก็ทรงสอน
ให้ยกขันธ์ห้านี้แหละขึ้นมาพิจารณาก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด
เพราะจิตใจมันยึดมั่นถือมั่นอยู่ในขันธ์ห้านี้
ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา
มันจะหลงละเมอไปในเรื่องต่างๆ ภายนอก
ก็เพราะมันหลงขันธ์ห้านี้ก่อน มันสาคัญผิดในขันธ์ห้านี้แล้ว
มันจึงได้หลงผิดไปในอารมณ์อื่นภายนอก...
ถ้ามันรู้แจ้งในขันธ์ห้านี้ตามเป็นจริง
มันไม่สาคัญว่าเป็นตัว เป็นตนเป็นเราเป็นเขาแล้ว
ปล่อยวางไว้ตามสภาพเหล่านี้แล้ว
มันจะไม่หลงผิดไปในเรื่องใดๆ ทั้งหมดเลย
การสร้างบารมี
มันก็อาศัยเหตุภายนอกมากระทบกระทั่ง เป็นเหตุให้อดให้ทน
การที่มีเหตุภายนอกมากระทบกระทั่ง
มาได้อดได้ทน ได้ละความยินดียินร้ายต่างๆนั้น
อันนั้นแหละเป็นบารมี
ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบกระทั่ง
จิตมันก็เฉยๆ ไปอย่างนั้นแหละ มันก็ไม่เป็นบารมี
เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ท่านจึงไม่โทษสิ่งต่างๆ ในโลก
สิ่งต่างๆ ได้ชื่อว่ามันช่วยให้ผู้มีปัญญานั้นเบื่อหน่าย
ถ้าไม่มีสิ่งนี้มากระทบกระทั่ง มันก็ไม่เบื่อหน่าย
หากว่าเราเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจริงๆ
มันก็ควรที่จะน้อมตัวลงสู่คาสอนของพระองค์
ละอัตตานุทิฏฐิลงไป ความเห็นว่ามีตัวตนมีเรามีเขานี่
ควรละจริงๆ เพียรละมันไปเรื่อยๆ
ถ้าไม่ปล่อยวางความเห็นอย่างว่านี้แล้ว จิตสงบลงไม่ได้เลย
จิตจะสงบลงไปได้ก็เพราะเราวางคาว่าตัวตนเราเขาลงไป
เมื่อวางลงได้อย่างนี้ สุข มันก็ไม่ยินดีไปตามสุข
ทุกข์เกิดขึ้น มันก็ไม่ยินร้ายไปตาม
มีสติคุมจิตให้เป็นกลางอยู่อย่างนั้น
รู้แบบสติปัฏฐานนี้เรียกว่า
รู้สิ่งที่มากระทบนั้น ก็สักแต่ว่า
ไม่ใช่สัตว์ตัวตนเราเขา...
เหตุนั้นจิตจึงไม่ยินดียินร้าย
ให้เข้าใจไว้บัดนี้
สติสัมปชัญญะนี้ก็เป็นเหมือนทานบ
ถ้ามีผู้สร้างขึ้นนะ ถ้าไม่สร้างขึ้น มันก็ไม่มีมีอยู่สติ แต่ว่ามันยังระลึกไปทางอื่น
ทางที่ไม่เป็นประโยชน์นั้นมากต่อมาก ความระลึกที่มันเกิดเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงก็คือ...
ระลึกเข้ามาดูอัตภาพร่างกายนี้แล้วก็ระลึกเข้ามาสกัดกั้นความคิดความนึกของดวงจิตนี้
ไม่ให้มันคิดซ่านออกไปข้างนอกนี้เป็นสติสัมปชัญญะที่มีประโยชน์ต่อตนเองมากมาย
สาหรับผู้ปฏิบัติธรรม
ทวนกระแสจิตเข้ามาภายในนี่แหละ
มาเพ่งพินิจทั้งกลางวันกลางคืน
ยืน เดิน นอน นั่ง ทาธุรกิจการงานใดๆ ก็ดี
อย่าไปลืมกายลืมจิต อันนี้ต้องหมั่นทบทวนอยู่เสมอๆ
ทบทวนให้ไตรลักษณญาณมันแจ่มแจ้งอยู่ในใจเสมอ ...
อันนี้นับว่าสาคัญมาก มันจะทาให้อริยมรรคนั้นแก่กล้าขึ้นไปโดยลาดับ
เพราะว่าผู้ปฏิบัติในอริยมรรคก็มุ่งหวัง
ให้เกิดญาณความรู้แจ้งในสังขารธรรมทั้งปวง นี่เองน่ะจุดสาคัญ
เมื่อมารู้แจ้งในสังขารธรรมทั้งปวงตามเป็นจริงแล้ว ก็จะปล่อยวาง
เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดควรถือ
เมื่อญาณความรู้เกิดขึ้นแล้ว มันจะมองเห็นแต่ของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
เห็นแต่ความแปรผันอ่อนไหวแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง
ทั้งภายในทั้งภายนอก ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด
อันใดก็มีสภาวะเหมือนกันหมด…
ผู้ที่ประกาศตนเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า
หรือเป็นบริษัทของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ถ้าได้ประกาศปฏิญาณตนอย่างนี้แล้ว
อย่าไปถือว่ามันพอแล้ว
ได้ที่พึ่งพอแล้วเท่านั้นก็เฉยเมยเสีย
ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไปเสียอย่างนี้ ไม่สมควร
เพียงแค่คากล่าวปฏิญาณตนถึงเท่านั้นน่ะ
มันไม่เป็นที่พึ่งอันมั่นคงได้
.หัดพิจารณาสอนจิตให้รู้เท่าตามเป็นจริงว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ทั้งฝ่ายดีก็ดี ฝ่ายชั่วก็ดี
ไม่มีอะไรที่จะเป็นแก่นเป็นสารอยู่ได้ ...
เมื่อมันเห็นแจ้งด้วยปัญญาอย่างนี้
ก็ไม่ได้ถือมั่นในเรื่องที่กระทบกระทั่งนั้น ...
เมื่อจิตไม่ยึดถือ ไม่หวั่นไหวตามแล้ว มันก็ดับไปเอง
ไม่ต้องไปกาหนดละอะไร
มันก็ดับไปเองแหละ...
คิดแล้วไม่หลงยินดีไม่หลงยินร้ายไปกับเรื่องที่คิดนั้น
...คิดเรื่องอะไรขึ้นมาก็รู้เท่าเรื่องนั้น
รู้อย่างไร..รู้ว่าเรื่องทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน
นี่แหละการ “รู้เท่าความคิด” รู้อย่างนี้เองนะ...
เมื่อรู้อย่างนี้อยู่เสมอจิตมันก็ไม่ยึดถือแล้ว
มันก็ปล่อยวางไปเรื่อยๆ
คิดเรื่องอะไรขึ้นมาไม่ยึดถือ แล้วมันก็ดับไป
จิตใจก็เป็น “อุเบกขาญาณทัสสนะ” อยู่อย่างนั้น
เราจะพึ่งคนอื่นไม่ได้ ตายเราก็ตายคนเดียว
ไม่มีใครมาช่วยตายด้วยเลย...
มีแต่ตัวเองเท่านั้นแหละที่ช่วยประคองจิตใจตัวเอง
ให้ตั้งมั่นอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเกาะไปข้องอยู่ที่ต่างๆในโลกนี้
ไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ ปล่อยวางความอาลัย
ความเกี่ยวข้องทั้งหมดลงไป นี่เรียกว่า
จะต้องฝึกตายเสียตั้งแต่ก่อนตาย
.ผู้ฉลาดก็รีบเร่งใช้ขันธ์ ๕ นี้ทาความดีเข้าไปไม่ปล่อยให้ขันธ์ ๕ นี้ทรุดโทรมไปเสียเปล่า...
คนไม่ฉลาด ก็เมื่อได้ขันธ์ ๕ มานี้แล้ว ก็มาชื่นชมกับขันธ์ ๕ นี้
ก็เพลิดเพลินมัวเมาอยู่แต่ในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ
ไม่มีโอกาสที่จะได้ฝึกตนเลย...
ความสงบเป็นสิ่งที่ปรารถนาของทุกคนในโลกนี้
แต่คนส่วนมากต้องการเฉยๆ แต่ไม่ทา
ไม่ทาเหตุที่จะให้เกิดความสงบก็เลยไม่ได้พบกับความสงบ..
ที่เป็นทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า ตัณหา นั่นเองแหละ
มันยั่วใจอยู่เสมอ ทาให้จิตใจนั้นดิ้นรนออกไปไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
ดังนั้นผู้ใดรู้ตัวอย่างนี้แล้วก็อย่าไปยอมตกเป็นทาสตัณหา
ตัณหามันจะชวนให้คิดไปไหนต่อไหนก็อย่าไปตามมัน
ต้องมีสติเข้ามาควบคุมจิตใจนี้ให้ตั้งอยู่ภายใน..
การที่เราหัดหมั่นระลึกเข้ามาหากายหาจิตนี้บ่อยๆ น่ะ
เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะให้มันแก่กล้าขึ้นในใจ
ถ้าผู้ใดไม่หมั่นเข้ามาเพ่งดูกายดูใจนี้บ่อยๆแล้ว
แสดงว่าผู้นั้นไม่ได้ฝึกสติให้แก่กล้า
ก็ไม่สามารถที่จะทาใจให้สงบอยู่นานได้เลย
สงบไปนิดๆ หน่อยๆ แล้วมันก็คิดเรื่อยเปื่อยไปอย่างนั้น
ก็เลยไม่ได้เรื่องอะไร ไม่ได้ความอุ่นใจเลย
จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ
มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย
มันก็ปล่อยวางอารมณ์ ไม่ส่งเสริม
ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก
ความสุขที่แท้จริง มันอยู่ที่การทาใจให้สงบ
ความสุขอย่างอื่นนั้นมันไม่แน่นอนหรอก
มันอิงอาศัยวัตถุต่างๆภายนอก
เมื่อวัตถุเหล่านั้นแปรปรวนไปแล้ว...
ความสุขนั้นมันก็หาย..
ส่วนความสุขอันเกิดจากความสงบนี่
ไม่ได้อิงอาศัยสิ่งใด อิงอาศัยแต่
“สติ” กับ “สัมปชัญญะ” นี่แหละ
1 of 24

Recommended

สมองกับความคิด 2003 by
สมองกับความคิด 2003สมองกับความคิด 2003
สมองกับความคิด 2003kruampare
163 views10 slides
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555 by
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
412 views16 slides
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่ by
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่ธรรมะอินเทรนด์ ธรรมะออนไลน์
392 views94 slides
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ by
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
326 views12 slides
Pra ajarn liam by
Pra ajarn liamPra ajarn liam
Pra ajarn liamMI
82 views12 slides
Luangpoo fun by
Luangpoo funLuangpoo fun
Luangpoo funMI
201 views15 slides

More Related Content

More from MI

คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก by
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกMI
780 views10 slides
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก by
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกMI
1.6K views10 slides
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต by
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตคำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตMI
726 views10 slides
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ by
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญคำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญMI
829 views10 slides
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน by
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนMI
2K views10 slides
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ by
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำคำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำMI
962 views7 slides

More from MI(20)

คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก by MI
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
MI780 views
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก by MI
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโกคำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คำสอนหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
MI1.6K views
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต by MI
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโตคำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำสอนหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
MI726 views
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ by MI
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญคำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
คำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
MI829 views
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน by MI
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
MI2K views
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ by MI
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำคำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
คำสอนแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
MI962 views
คำสอนบูรพาจารย์ by MI
คำสอนบูรพาจารย์คำสอนบูรพาจารย์
คำสอนบูรพาจารย์
MI325 views
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙ by MI
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของรัชกาลที่๙
MI570 views
Luangpoo lar by MI
Luangpoo larLuangpoo lar
Luangpoo lar
MI616 views
Luangpoo jarm by MI
Luangpoo jarmLuangpoo jarm
Luangpoo jarm
MI469 views
Luangta 11 by MI
Luangta 11Luangta 11
Luangta 11
MI363 views
Buddha's quotes by MI
Buddha's quotesBuddha's quotes
Buddha's quotes
MI166 views
Luangpor intawai 20 by MI
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20
MI179 views
Luangpor intawai 20 by MI
Luangpor intawai 20Luangpor intawai 20
Luangpor intawai 20
MI119 views
Luangpor intawai113 by MI
Luangpor intawai113Luangpor intawai113
Luangpor intawai113
MI249 views
Luangpor intawai112 by MI
Luangpor intawai112Luangpor intawai112
Luangpor intawai112
MI263 views
Great dharma masters1 by MI
Great dharma masters1Great dharma masters1
Great dharma masters1
MI185 views
Luangta mahabua3 by MI
Luangta mahabua3Luangta mahabua3
Luangta mahabua3
MI218 views
Luangta Mahabua2 by MI
Luangta Mahabua2Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2
MI351 views
Luangta mahabua1 by MI
Luangta mahabua1Luangta mahabua1
Luangta mahabua1
MI271 views

Luangpoo rian